facebook  youtube  line

“ไมอีลิน” ตัวช่วยเตรียมสมองลูกทันโลกยุคอนาคต

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-การเรียนรู้

“สมอง” เป็นอวัยวะที่มีบทบาทสำคัญในการรับรู้ การคิดวิเคราะห์ ความสามารถทางสติปัญญา การสื่อสาร และการเคลื่อนไหวของร่างกาย ดังนั้นสมองจึงถือว่ามีส่วนสำคัญต่อความเฉลียวฉลาด แต่คำถามที่ตามมาก็คือ ความฉลาดเกิดขึ้นได้อย่างไร นอกจากยีนส์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิดแล้ว การเลี้ยงดู ให้ความรัก และโภชนาการล้วนสำคัญกับพัฒนาการสมองของเจ้าตัวเล็กเช่นกัน


การทำงานของสมองต้องอาศัยสารสื่อประสาท

สำหรับเด็กทารกแหล่งอาหารที่ดีที่สุดก็คือ “น้ำนมแม่”  ในนมแม่มีสารอาหารหลากหลายเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารก ทั้งยังมีโปรตีนที่เป็นประโยชน์ เช่น แอลฟ่า-แล็คตัลบูมิน (Alpha-lactalbumin)1 ซึ่งเป็นแหล่งของกรดอะมิโนจำเป็น ที่ชื่อ ทริปโตเฟน” (Tryptophan) โดยร่างกายจะนำไปสังเคราะห์สารสื่อประสาทเซโรโทนิน2 (Serotonin) ที่มีบทบาทในด้านอารมณ์ และฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดการนาฬิกาชีวิต (Biological clock) หรือพูดให้ฟังง่ายขึ้นคือ เป็นตัวควบคุมวงจรการหลับการตื่นของคนเรานั่นเอง ดังนั้นจะสังเกตได้ว่า ทารกที่ได้รับนมแม่จะอารมณ์ดี และนอนหลับได้ดี เพราะมีสารตั้งต้นคือกรดอะมิโนในการสร้างสารสื่อประสาทและฮอร์โมนในสมองอย่างเพียงพอ
 
นอกจากนี้ในน้ำนมแม่ยังมีสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างสารสื่อประสาทอีกหลายชนิด เช่น โคลีน (Choline) เป็นวัตถุดิบในการสร้างสารสื่อประสาทอะซีติลโคลิน (Acetylcholine) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในด้านการเรียนรู้และความจำ3 เป็นต้น หรือสารอาหารในกลุ่มกรดไขมัน เช่น ดีเอชเอ (DHA; Docosahexaenoic acid) เป็นกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 (Omega-3 fatty acid) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีส่วนสำคัญในการพัฒนาจอประสาทตา (Retina) และสมองของมนุษย์ โดยเฉพาะในช่วงวัยทารกและวัยเด็กที่สมองและจอประสาทตามีการพัฒนาเป็นอย่างมาก
 
ที่สำคัญในนมแม่ยังมี สฟิงโกไมอีลิน ไขมันชนิดฟอสโฟไลปิด เป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญในการสร้างไมอีลิน ซึ่งไมอีลินนี้เองจะมีบทบาทในการส่งสัญญาณประสาทจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งอย่างรวดเร็ว เส้นใยประสาทที่มีไมอีลินจะส่งสัญญาณประสาทได้เร็วกว่าเส้นใยประสาทที่ไม่มีไมอิลิน โดยไมอีลินเริ่มสร้างตั้งแต่ทารกอยู่ในท้อง โดยเฉพาะ 3 เดือนก่อนคลอด และต่อเนื่องจนถึงช่วงวัยเด็ก
 
เลี้ยงลูกให้เหมาะสมกับช่วงวัย ช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลินและพัฒนาการสมองอย่างมีประสิทธิภาพ4-7
 
ขวบปีแรก ควรเน้นการกอดและสัมผัสตัวเด็กเพื่อกระตุ้นการสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทการรับสัมผัส ควรเลือกของเล่นที่มีสีสันให้ลูกเพื่อกระตุ้นการสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทการมองเห็น หรือการพูดคุยกับเด็กและการใช้เสียงดนตรีในการเล่นกับเด็ก เพื่อกระตุ้นการสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทการรับเสียงและภาษา
 
ช่วงอายุ 1-3 ปี ควรเน้นการกระตุ้นวงจรประสาทของภาษา เช่น การชี้อวัยวะบนใบหน้า การเรียกชื่อสิ่งของที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน การร้องเพลงหรือการเล่านิทานให้ลูกฟัง เพื่อเพิ่มการสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทของภาษา นอกจากนี้ยังควรฝึกทักษะของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ การต่อของเล่น การใช้ช้อนตักอาหาร เพื่อช่วยการสร้างปลอกไมอีลินของวงจรประสาทในการทำงานระหว่างกล้ามเนื้อมือและการมองเห็น ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเขียนหนังสือและทักษะทางมือต่อไป
 
รวมไปถึงการฝึกการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การจับคู่สิ่งของที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน เช่น ของที่รูปทรงเหมือนกันหรือสีเหมือนกัน หรือการส่งเสริมให้เด็กเล่นเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่ตัวเขาเห็นในชีวิตประจำวัน ก็จะช่วยให้มีการสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทในส่วนของการเรียนรู้ได้
 
เด็กวัย 3 ปีขึ้นไป การฝึกให้เด็กรู้จักแก้ไขปัญหาที่เจอในชีวิตประจำวัน รวมถึงการสอนความเป็น “เหตุ” และ “ผล” ของสิ่งต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน การสอนให้รู้จักอดทนและรอคอย ก็จะช่วยให้การสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทในส่วนของการทำงานขั้นสูงของสมองเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรากฐานของการเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรม การคิดวิเคราะห์ การวางแผน การควบคุมตนเอง และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่จะมีการพัฒนาต่อไปในช่วงวัยเด็กโตและวัยรุ่น
 
เพราะการทำงานของสมองในด้านกระบวนการทางสติปัญญาและความเฉลียวฉลาด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการทำงานของเซลล์ประสาทในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง หรือสมองเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่ต้องอาศัยการติดต่อเชื่อมโยงวงจรประสาทระหว่างสมองหลาย ๆ ส่วนให้มาทำงานร่วมกัน จึงจะช่วยให้มนุษย์สามารถคิด วิเคราะห์ วางแผน ยับยั้งและควบคุมตนเองได้
 
ซึ่งการส่งเสริมการส่งสัญญาณประสาทผ่านวงจรประสาทสามารถกระทำได้โดยการฝึกหรือการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ นอกจากนี้การได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม จะทำให้สมองมีวัตถุดิบเพียงพอในการนำไปใช้สร้างเซลล์ในระบบประสาท ใช้ในการสร้างสารสื่อประสาทและสารเคมีอื่น ๆ รวมไปถึงการสร้างปลอกไมอีลิน อันเป็นพื้นฐานในการส่งสัญญาณประสาทอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
 
ทำไมต้อง“สฟิงโกไมอีลิน”?
 
เมื่อไมอีลิน เป็นตัวช่วยสมองส่งกระแสสัญญาณประสาทเพื่อการส่งข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
สฟิงโกไมอีลิน ก็คือสารอาหารตัวหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลินค่ะ แต่ไม่ใช่มีแค่สฟิงโกไมอีลินเท่านั้นนะ สารอาหารอื่นๆที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลิน เช่น ดีเอชเอ ธาตุเหล็ก โคลีน วิตามิน บี12  โปรตีน เป็นต้น8
 
แต่ถ้าพูดถึงสฟิงโกไมอีลินแล้ว จะไปหารับประทานได้จากไหนบ้างล่ะ เพราะเป็นสารอาหารที่แม่ๆอย่างเราคงยังไม่คุ้นชินหูเท่าไหร่นัก
 
คำตอบคือ การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่หลากหลายเป็นประจำ ไข่ นม ครีม ชีส ก็เป็นแหล่งอาหารที่คุณแม่มั่นใจได้ว่าลูกจะได้รับสฟิงโกไมอีลินอีกทางหนึ่งค่ะ
 
Reference:

  1. Heine WE, Klein PD, Reeds PJ. The importance of alphalactalbumin in infant nutrition; American Institute of Nutrition. Received 24 September 1990. Accepted 27 November 1990: 277-283
  2. MARKUS ET AL. Whey protein rich in alpha-lactalbumin increases the ratio of plasma tryptophan to the sum of the other large neutral amino acids and improves cognitive performance in stress-vulnerable subjects. Am J Clin Nutr 2002;75:1051–6
  3. The Structures of Neurotransmitters. Compound Interest 2015 - www.compoundchem.com
  4. Mind’s Machine, 2e, Figure 2.1 The Major Parts of the Neuron. https://2e.mindsmachine.com/figures/02/02.01.html. Textbook Reference: The Nervous System Is Composed of Cells, p. 22
  5. Hiroaki Asou, et al. Development of Oligodendrocyte and Myelination in the Central Nervous System. Keio J Med 44(2), 47-52 (1995)
  6. Otwin Linderkamp, Ludwig Janus, et al. Time Table of Normal Foetal Brain Development. Int. J. Prenatal and Perinatal Psychology and Medicine Vol. 21 (2009) No. 1/2, pp. 4–16
  7. Purves D, Augustine GJ, Fitzpatrick D, et al., editors. Increased Conduction Velocity as a Result of Myelination Neuroscience. 2nd edition. Sunderland (MA): Sinauer Associates; 2001
  8. Georgieff MK. The American Journal of Clinical Nutrition,Volume 85, Issue 2, 1 February 2007, Pages 614S–620S

5 วิธีสร้าง EF ดีในบ้าน

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

ทักษะสมอง EF พัฒนาได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นค่ะ และจะพัฒนาได้ดียิ่งขึ้นหากได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงที่หลากหลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยชี้ว่า EF เริ่มพัฒนาขึ้นในเวลาไม่นานหลังปฏิสนธิ กลไกของการพัฒนาทักษะ EF ด้านต่างๆ ในแต่ละช่วงวัย เช่น Working Memory จะพัฒนาตอนอายุ 6 เดือน ส่วน Inhibition พัฒนาช่วงขวบปีที่สอง และจะพัฒนาได้มากขึ้นในช่วง 3-6 ปี
 

 


คุณพ่อคุณแม่ควรเน้นฝึกทักษะเหล่านี้ตั้งแต่ช่วงขวบปีแรก ผ่านการเล่น การเลี้ยงดู การจัดสิ่งแวดล้อม รวมถึงกิจกรรมต่างๆ จึงอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาส่งเสริมทักษะ EF ให้เจ้าตัวเล็กวัยขวบปีแรก 

5 วิธีง่ายๆ สร้าง EF ที่ได้ผล ซึ่งทำได้ทุกวันที่บ้าน

1.กินดี จุดเริ่มต้นพัฒนาการสมอง
              
การพัฒนาสมองของทารกในวันแรกของชีวิตนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จึงต้องอาศัยสารอาหาร ร่วมไปกับการเรียนรู้ในการพัฒนาโครงสร้างและการทำงานของสมองให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ซึ่งสารอาหารที่ครบถ้วนเหมาะสมตามช่วงวัย มีช่วยให้สมองและร่างกายของลูกได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นฐานสำคัญเพื่อต่อยอดการฝึกฝนทักษะ EF ให้มีศักยภาพมากขึ้น

กินแบบไหนสร้าง EF

ดื่มนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และหลังอายุ 7 เดือนสามารถกินนมแม่กับอาหารเสริมตามวัยจนถึง 2 ขวบ โดยเริ่มด้วยข้าวบดทีละน้อย จากนั้นค่อยเป็นอาหารหยาบและหลากหลายขึ้น เช่น ข้าวบดหยาบ ผักบดและผลไม้บด

กินอาหารที่ครบถ้วน 5 หมู่ เลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการร่างกายและพัฒนาการสมอง ทั้งโปรตีน วิตามิน ดีเอชเอ โอเมาก้า ธาตุเหล็ก แคลเซียม ไอโอดิน และแร่ธาตุต่างๆ ที่ดี ซึ่งกระบวนการพัฒนาสมองและการพัฒนาทักษะ EF ที่ดีขึ้นอยู่กับโภชนาการที่เหมาะสมด้วยค่ะ

สัมผัสและสัมพันธ์ระหว่างกินนม ให้คุณแม่อุ้มลูกแนบชิดตัว สบตา พูดคุย เห่กล่อมด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน  ลูกจะรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาทักษะ EF ที่ดีเมื่อโตขึ้น

ฝึกลูกรอคอยระหว่างกินเมื่อถึงวัยอาหารเสริมให้ลูกได้ลองกลืนอาหารจากช้อน คุณพ่อคุณแม่ร่วมกินอาหารกับลูก ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอยบ้างระหว่างการกิน เพื่อฝึกการยับยั้งชั่งใจ

หยิบอาหารด้วยตัวเอง เมื่อเข้าสู่วัย 10-12 เดือน คุณพ่อคุณแม่ใช้โอกาสนี้ฝึกลูกให้หยิบอาหารใส่ปากเอง หรือให้ดื่มน้ำจากถ้วย นอกจากช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นให้เขาได้รู้จักทักษะการช่วยเหลือตัวเองด้วยค่ะ   
 

2.นอนเพียงพอ เพิ่มพลังสมอง
 
ช่วงที่ลูกนอนหลับสนิทตลอดคืน คือช่วงเวลาที่สมองจะพัฒนาเต็มที่ เมื่อสมองพร้อมลูกก็สามารถต่อยอดการเรียนรู้ในทุกๆ วันได้ดียิ่งขึ้น
 

นอนแบบไหนสร้าง EF

นอนเพียงพอตามวัย ช่วงวัย 0-3 เดือนลูกควรได้นอนอย่างเพียงพอ 14-17 ชั่วโมงต่อวัน และตั้งแต่ 4 เดือน- 12 เดือน ควรเริ่มฝึกให้ลูกงดนมมื้อดึก เพื่อให้นอนตอนกลางคืนได้นานขึ้นรวมวันละ 12- 15 ชั่วโมง และนอนกลางวัน  2 ครั้งต่อวัน

จัดที่นอนของลูกให้เป็นสัดส่วน แต่ยังอยู่ในห้องเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ได้  ห้องนอนควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก ป้องกันการเกิดภูมิแพ้จากอากาศและฝุ่นละออง ไม่เปิดไฟให้แสงไฟสว่างเกินไป เพราะการนอนหลับสนิมตลอดคืน เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการสร้างฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (Growth Hormone)

แยกห้องนอนวัย10-12 เดือน หากคุณแม่จะแยกห้องนอนลูก ควรอยู่เป็นเพื่อนลูกในห้องนอนก่อน ชวนพูดคุย อยู่เพื่อสร้างความคุ้นเคย สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ให้ลูกค่อยๆ ปรับได้ในที่สุด

หลับลึก กระตุ้น EF การนอนกลางคืนเป็นช่วงที่สำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตทางสมอง เพราะร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นส่วนต่างๆ ของสมองในการเรียนรู้ จดจำ เป็นรากฐานเพื่อพัฒนาและฝึกฝนทักษะ EF ต่อไป 
 

3.กอดสร้างรักและผูกพัน

ความใกล้ชิดและอ้อมกอดของแม่คือความทรงจำแรกที่บันทึกไว้ในสมองของลูกค่ะ  ทักษะ Working memory จึงเกิดขึ้นตั้งแต่วัยทารก และจะพัฒนาเป็นความผูกพัน(attachment)  ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทักษะ EF
 

นอนแบบไหนสร้าง EF

อุ้ม-กอดสร้าง attachmentวัยนี้คุณแม่ควรหมั่นอุ้มกอด สัมผัสลูกอย่างอ่อนโยน หรือสบตาระหว่างให้นม เพราะสมองลูกจะรับรู้ข้อมูลที่คุ้นเคย จนเกิดการเรียนรู้อารมณ์ต่างๆ ผ่านความใกล้ชิดและการตอบสนองจากแม่ ซึ่งความผูกพันนี้เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะ  EF อย่างได้ผลในอนาคนต

ตอบสนองลูกไว ทำเสียงหรือทำหน้าตาให้ลูกสนใจ ตอบสนองต่อท่าทางที่แสดงถึงความต้องการของลูก จะช่วยให้เด็กมีฐาน ความมั่นคงในจิตใจ ในการจะก้าวต่อไป สู่การพัฒนา EF ในระดับสูงขึ้นไป 

สังเกตพฤติกกรรมลูก คอยสังเกตพฤติกกรรมที่สัมพันธ์กับพัฒนาการของทักษะสมอง EF เช่น ลูกมีการหยุดคิดและตอบสนองหน้าตาหรือน้ำเสียงแม่  เริ่มมองดูผู้คนที่รู้จัก ไม่สนใจสิ่งที่ทำให้เสียสมาธิ  


4.เล่น = เรียนรู้

การเล่นคือการสร้าง EF ให้เด็กที่ได้ผลดี โดยผ่านกระบวนการเล่นแบบมีอุปกรณ์และไม่มีอุปกรณ์ โดยเฉพาะวัยขวบปีแรก ไม่ต้องพึ่งของเล่นราคาแสนแพง แค่ได้เล่นกับพ่อและแม่ ทักษะ EF ก็เกิดตั้งแต่เริ่มเล่นแล้วค่ะ
 

เล่นแบบไหนสร้าง EF

ใช้ใบหน้าเล่นกับลูก พูดคุยหยอกล้อและเล่นกับลูก ให้มองตามหน้าพ่อแม่ หรือเคลื่อนของเล่นสีสดใสไปมา กระตุ้นการใช้สายตา รู้จักแยกแยะสี  สามารถจดจำใบหน้าและเสียงของพ่อแม่ได้

ให้ลูกได้เล่นคนเดียวบ้าง ให้ลูกพลิกตัวคว่ำ-หงาย ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย หรือใช้ของเล่นชิ้นใหญ่ ล่อให้ลูกขยับคว้า ให้ได้ใช้มือคว้า หยิบจับ และปล่อยของเล่น

ฝึกเล่นแก้ปัญหา ฝึกให้ลูกเล่นนิ้วมือ เช่น จับปูดำ แมงมุมลาย

ให้ลูกมีโอกาสเลือกเล่นเองจัดวางของเล่นให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ลูกได้ฝึกหยิบและฝึกการเก็บของเล่นเอง
 

5.เล่าสนุก กระตุก EF

การเล่านิทานหรือร้องเพลงกับเด็กๆ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยพัฒนาอารมณ์ จิตใจให้ร่าเริง มีสมาธิ ซึ่งถือเป็นหนึ่งกิจกรรมที่ดีในการพัฒนา EF ที่ได้ผล 

เล่าแบบไหนสร้าง EF

ใช้เสียงสูงเสียงต่ำ วัย 0-3 เดือน ยิ้มสื่อสาร พูดคุย ท่องโคลง กลอน เล่าหรืออ่าน นิทานกับลูกโดย พูดคุยช้าๆ ชัดๆ ใช้เสียงสูงเสียงต่ำ มีจังหวะหยุดให้ลูก ยิ้มหรือส่งเสียงตอบ 

ชวนเล่าชวนคุยถึงสิ่งรอบตัวเพื่อให้รู้จักคำศัพท์จากสิ่งรอบตัว และให้รู้จักคำศัพท์ที่แสดงความต้องการของตนเอง เพราะช่วง 4-12 เดือน เป็นช่วงที่สมองเด็กสามารถเรียนรู้ได้ หลายภาษา รวมถึงภาษาถิ่นด้วย 

เล่านิทาน สร้าง EF การอ่านช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษา ฝึกการได้ยิน ลูกจะได้รู้จักภาษาและจดจำคำศัพท์ใหม่ๆ ขณะที่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ให้ลูกนั่งบนตัก จับมือลูกชี้ไปตามรูปภาพ ฝึกความเชื่อมโยงรูปภาพกับวิธีเล่า รวมถึงน้ำเสียงและท่าทีมีส่วนทำให้ลูกมีสมาธิจดจ่อกับเสียงกับเรื่องราวในนิทานที่แม่กำลังเล่า

ร้องเพลง ร้องเพลงเป็นวิธีหนึ่งค่ะที่คล้ายการเล่านิทาน แต่จะสนุกและทำให้ลูกจดจำได้ง่ายขึ้น ด้วยจังหวะของทำนองเพลง เสียงสูงเสียงต่ำของแม่ ส่งเสริมเรื่องคำศัพท์จากคำคล้องจองในเนื้อเพลง ช่วยให้จดจำเพลงได้ง่าย        
         
กระบวนการสร้าง EF จำเป็นต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ ซึ่งในช่วงแรกบทบาทของพ่อแม่จึงสำคัญที่สุดที่จะดูแลให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ไว้วางใจ และมั่นคงทางจิตใจ รวมถึงได้รับโภชนาการที่ดี ได้นอนอย่างเพียงพอและได้เล่นสนุกตามวัย เมื่อพัฒนาทักษะ EF อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นและสร้างประสบการณ์ที่ท้าทายมากขึ้น จากประสบการณ์ก็จะกลายเป็นนิสัย เป็นบุคลิก สามารถคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่รวมกับคนอื่นเป็น ตลอดจนสามารถนำพาชีวิตให้บรรลุตามเป้าหมายได้สำเร็จ

  

6 วิธีรับมือลูกทารกร้องไห้ไม่หยุด ลูกอารมณ์ดีง่ายๆ ด้วยมือมือแม่

ทารก ร้องไห้, ลูก ร้อง ไม่ หยุด, ทารก ร้อง ไม่ หยุด, ลูก ร้องไห้ ไม่มี สาเหตุ, วิธีทำให้ลูกหยุดร้องไห้, วิธีทำให้ทารกหยุดร้องไห้, ทำไม ทารกร้องไห้บ่อย, ทารก ร้องไห้งอแง, ทำยังไงให้ลูกทารกหยุดร้อง, ทำยังไงให้ลูกหยุดร้องไห้

ลูกทารกร้องไห้บ่อย ร้องไห้ไม่หยุด คุณแม่ไม่ต้องร้อนใจ ลองนำ 6 วิธีนี้ไปใช้กัน จะช่วยให้ลูกอารมณ์ดีขึ้นได้ง่าย ๆ ค่ะ 

6 วิธีรับมือลูกทารกร้องไห้ไม่หยุด ลูกอารมณ์ดีง่ายๆ ด้วยมือมือแม่

  1. กระดิ่งลม
    แขวนเจ้านี่ไว้ที่ประตูบ้าน ส่วนที่ลมพัดผ่านได้ เสียงดังกังวานและความเคลื่อนไหวของกระดิ่งช่วยเบนความสนใจและทำให้ลูกสงบขึ้นได้

  2. สัมผัสบรรยากาศนอกบ้าน
    พอเริ่มเตาะแตะแล้ว เด็ก ๆ มักจะชอบออกนอกบ้าน เพราะมีหลายสิ่งรอบตัวแปลกตา ดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี

  3. ห่อตัวทารก
    เด็กเล็กส่วนใหญ่ชอบการห่อตัวค่ะ เพราะทำให้ลูกรู้สึกเหมือนอยู่ในท้องแม่ที่คุ้นเคย

  4. นั่งหน้ากระจก
    จับลูกนั่งตักหน้ากระจกเงาบานใหญ่ เบี่ยงเบนความสนใจได้ดีเชียว เพราะเด็กๆ ชอบที่จะเห็นปฏิกิริยาของตัวเองอยู่แล้วฅ

  5. สถานที่ไร้สิ่งรบกวน
    พาลูกไปที่ที่สงบ ไม่มีสิ่งรบกวนใดๆ เพราะบางครั้งลูกก็งอแงเพราะมีสิ่งกระตุ้นเร้าเกินไป

  6. เสียงของแม่
    อุ้มลูกไว้แนบอกแล้วคุยกับเขา เสียงนุ่มๆ ของแม่ลดอาการหงุดหงิดของลูกได้ค่ะ

 

6 วิธีสร้าง EF ให้ลูกวัยเบบี๋

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

วัย 0-1 ปี เป็นวัยที่ต้องได้รับการตอบสนองทันที เมื่อได้รับการตอบสนองที่ดี ลูกจะมีอารมณ์มั่นคง เมื่อก้าวเข้าสู่วัย 1 ปี ก็จะเริ่มพัฒนาความสามารถเรื่องการตั้งเป้าหมาย พัฒนาความคิดได้ดี มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ และพัฒนาการใช้ภาษาได้ดีขึ้น ซึ่งการใช้คำพูด จะเป็นพื้นฐานให้เด็กๆ ได้คิดและฝึกการวางแผนที่ดีด้วย
กิจกรรมกระตุ้นทักษะ EF

1. ทำเสียงอ้อแอ้ลูกน้อยวัย 4 เดือน เริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ ให้แม่ส่งเสียงโต้ตอบ พูดคุยกับลูก โดยทำเสียงแปลกๆ ให้ลูกสนใจฟัง และหันตามเสียงนั้น

พัฒนา EF: Working Memory ...การสนทนาโต้ตอบไปมา จะช่วยให้สมองสร้างเซลล์ประสาทเชื่อมต่อกันมากขึ้น เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ภาษาและการสื่อสารได้ดี

2. ขยับแข่งขยับขา พาเต้นรำ แม้ลูกจะยังพูดหรือเดินไม่ได้ ลองเปิดเพลงเบาๆ แล้วอุ้มลูกเต้นรำหมุนตัวไปมา หรือจับแขนลูกยกไปมาตามจังหวะเพลง จะช่วยให้ร่างกายลูกได้เคลื่อนไหว ได้บริหารกล้ามเนื้อไปด้วย

พัฒนา EF: Working Memory และ Focus/Attention...การที่ลูกได้เคลื่อนไหวร่างกาย มีความสนใจเสียง และจังหวะดนตรี จะเป็นพื้นฐานการฟังเสียง และส่งเสริมทักษะการอ่านในอนาคตได้ดี

3. จ๊ะเอ๋ ของอยู่นี่ลูกวัย 6-7 เดือน เริ่มนั่งและคืบคลานได้ ให้ลูกได้คว้าจับสิ่งของหรือของเล่นชิ้นโปรดด้วยตัวเอง หรือเล่นซ่อนของ โดยเอาของเล่น หรือใช้มือแม่ซ่อนใต้ผ้าห่ม ให้ลูกลองหา เมื่อลูกเจอก็พูดว่า “จ๊ะเอ๋” ลูกจะรู้สึกแปลกใจ และสนุก
           
พัฒนา EF:Working Memory และ Shift Cognitive Flexibility...การนำของไปซ่อน และหาเจอจะทำให้ลูกได้เรียนรู้ถึงการมีสิ่งของนั้น รับรู้ว่าสิ่งของนั้นมีอยู่จริง เป็นการพัฒนาความจำของ

4. พูดคุยถึงสภาพอากาศ ก่อนนอนชวนลูกพูดคุยถึงสภาพอากาศในวันนี้ และเรื่องราวต่างๆ ที่พ่อแม่เจอมาให้ลูกฟัง เช่น วันนี้ฝนตก อากาศเย็น แม่จะห่มผ้าให้นะจ๊ะ มีการสื่อสารโต้ตอบกัน ลูกจะสนใจฟังเสียงแม่ 

พัฒนา EF: Working Memory...การเล่าเรื่องราวต่างๆ ของแม่ จะทำให้ลูกเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ พัฒนาทักษะการสื่อสาร และช่วยให้สมองมีการจดจำที่ดีมากขึ้น

5. ต้องตอบสนองความต้องการของลูกได้ แม่ควรเตรียมของใช้ทุกอย่างของลูกให้พร้อม เวลาที่ลูกมองตาม หรือส่งเสียงร้องไห้ ต้องเข้าไปตอบสนองความต้องการ และสังเกตว่าลูกต้องการอะไร หรือคอยส่งเสียงเรียกอยู่ตลอด เพื่อให้ลูกรู้ว่าแม่ไม่ได้ไปไหน อยู่ใกล้ๆ นี่เอง

พัฒนา EF:Emotional Control...การตอบสนองความต้องการของลูก จะช่วยให้ลูกมีอารมณ์มั่นคง มั่นใจ อารมณ์ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดี รู้จักยั้งคิดและไตร่ตรองสิ่งต่างๆ ก่อนลงมือทำได้

6. ทำเสียงตลก ขบขัน ขณะที่เปลี่ยนผ้าอ้อม เปลี่ยนเสื้อให้ลูก หวีผม เช็ดตัว อาบน้ำ ขณะที่ทำนั้นลองทำเสียงตลกๆ หรือทำเสียงแปลก ให้ลูกได้ยิ้มและหัวเราะ โดยองหน้าและพูดคุยด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนไปด้วย

พัฒนา EF:Working Memory...การพูดคุย และมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันนั้น จะกระตุ้นให้เซลล์ประสาททำงานได้ดี พัฒนาความจำ และทักษะด้านภาษาได้ดี

กิจกรรมของลูกวัย 0-1 ปีนี้ จะกระตุ้นทักษะด้าน Working Memory ได้ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนา EF ด้านอื่นๆ ได้ดีต่อไปค่ะ 
 
 

7 เทคนิคบริหารสมองทารก ส่งเสริมพัฒนาการทารกตามวัย


สมองเด็กทารก, พัฒนาการสมองทารก, ส่งเสริมพัฒนาการสมองทารก, กระตุ้นสมองทารก, เล่นอะไร กระตุ้นสมองทารก, สมองทารก พัฒนายังไง, เล่นพัฒนาสมองทารก, บริหารสมองทารก, ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย
มากระตุ้นพัฒนาการสมองลูกทารกกันเถอะค่ะ เพราะสมองลูกกำลังมีการพัฒนาอย่างสูงและต้องการการส่งเสริมพัฒนาการตามวัยอย่างถูกต้อง

7 เทคนิคบริหารสมองทารก ส่งเสริมพัฒนาการทารกตามวัย

  1. สบตา...ใสปิ๊ง
    ช่วงเวลาให้นม เปลี่ยนผ้าอ้อม ทำความสะอาดจุ๊ดจู๋หรือจุ๋มจิ๋มของหนู หรืออาจเป็นช่วงป้อนข้าวป้อนน้ำ ก็อย่าลืมสบตาประสานใจกับหนูหน่อย เชื่อมั้ยว่าสายตาของแม่ (พ่อ) ทำให้หนูสัมผัสได้ถึงความรัก ความอบอุ่นอย่างท่วมท้น
  2. คุยกับหนู...บ้างถึง
    แม้ว่าหนูยังนอนแบเบาะ ได้แต่หัวเราะเอิ๊กอ๊าก หรือไม่ก็ยิ้มเห็นเหงือกแดงแจ๋ ไม่ยอมโต้ตอบด้วยคำพูดกับแม่ (พ่อ) แต่หนูก็รับรู้ในสิ่งที่พ่อกับแม่พูดแล้วนะ แม้ว่ายังไม่เข้าใจความหมายก็ตามเหอะ แต่อย่างน้อยก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีใช่มั้ยล่ะที่หนูจะได้เก็บเกี่ยวท่วงทำนองภาษา จังหวะ และน้ำเสียงการพูดของพ่อกับแม่ไว้ในส่วนหนึ่งของสมองน้อยๆ ที่สำคัญหนูยังได้เรียนรู้การสื่อสารและสังคมรอบๆไปในตัวอีกด้วย

  3. สัมผัสเนื้อตัว...หน่อยนะ
    ชอบที่สุดเลยเวลาพ่อกับแม่ลูบไล้สัมผัสเนื้อสัมผัสตัวของหนู แหม! มันกระตุ้นการรับรู้น่าดู ถ้ามีเวลาเมื่อไหร่หาเกมสนุกๆ ใช้อุปกรณ์คือนิ้วมือของพ่อกับแม่นั่นแหละจิ้มวนไปวนมารอบๆพุงกะทิของหนู หรือบีบๆนวดๆตามผิวเนียนนุ่มก็ไม่ว่ากันค่ะ เพราะหนูมีความสุขที่สุดเลยที่สำคัญขอสารภาพว่าอยากให้ทำแบบนี้บ่อยๆ จัง

  4. หนูก็มีดนตรี...ในหัวใจ
    เวลาที่แม่ (พ่อ) เปิดเพลงคลาสสิกแสนหวานหรือเพลงสนุกๆที่หนูชอบ อยากให้แม่ (พ่อ) ฮัมเพลงตามไปด้วยนะ หรือจะแถมด้วยลีลาท่าทางสนุกๆให้หนูได้เห็นก็ยิ่งดีใหญ่ นี่ล่ะเคล็ดลับให้หนูหัวเราะ

  5. พาหนู...ไปด้วยซิ
    ถ้าหนูหลับอยู่ละก็อย่าอึกทึกครึกโครมเชียว แต่เมื่อไหร่ที่หนูลืมตาตื่นอย่าปล่อยให้หนูนอนจ้องเพดานหรือโมบายล์ (กิจกรรมนี้สำหรับแค่ช่วง 3เดือนแรกของชีวิตก็เกินพอแล้วจ้ะ) หรือนั่งเล่นอยู่กับของเล่นเพียงอย่างเดียว กระเตงหนูเข้าสะเอวไปไหนต่อไหน (ในบ้าน) ด้วยนะ เช่น ถ้าแม่ซักผ้าอยู่ ก็จับหนูให้นั่งอยู่ไม่ไกลนัก (แต่อย่าใกล้เกินไป) หรือถ้าแม่พับผ้ารีดผ้า หนูก็ขอเอี่ยวเล่นของเล่นอยู่ใกล้ๆละกัน เพราะการได้เห็นแม่ทำงานบ้านหรือทำกิจกรรมที่แตกต่าง เป็นวิธีหนึ่งที่หนูจะเรียนว่าโลกเรานี้หนอมีอะไรอีกมากมายมากกว่าเพดานขาวๆ หรือหีบเพลงที่หัวเตียง

  6. นั่งรถ...ชมวิว
    ต้องมีสักวันละน่าที่พ่อกับแม่พาหนูติดรถไปไหนต่อไหนด้วย ก็อย่าลืมอาศัยช่วงเวลาที่อยู่ในรถเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ให้หนู เช่น พูดคุยกับหนู ชี้ชวนชมนกชมไม้ ร้องเพลงให้หนูฟังเพลินๆควบคู่ไปกับช่วงเวลาที่สายตาหนูสอดส่ายไปตลอดทาง อ๋อ!อย่าลืมเคารพกฎกติกา ห้ามจับหนูมานั่งเบาะหน้าเด็ดขาด เพราะถึงแม้จะนั่งเบาะหลังแต่หนูก็เรียนรู้ได้เท่าเทียมแถมปลอดภัยกว่ากันเยอะเลย

  7. โมบายล์...รอบบ้าน
    เนรมิตบ้านน้อยให้เป็นสวรรค์แห่งการเรียนรู้ของหนูด้วยการแขวนโมบายล์แบบและเสียงต่างๆไว้รอบๆบ้าน ในห้องนอน หรือเตียงของหนู และอย่าลืมของเล่นเพื่อเสริมพัฒนาการให้หนูด้วย ของเล่นที่ว่านี้ก็ประเภทของเล่นมีเสียง ของเล่นไม้ ของเล่นประเภทตี ฯลฯ แต่สำหรับลูกวัย 0-12 เดือนนี้ควรเน้นของเล่นมีเสียงเป็นหลักเพื่อดึงดูดความสนใจให้เจ้าตัวเล็กค่ะ

 

8 ทักษะฝึก Working Memory ให้ลูกวัยอนุบาล

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

Working memory คือความจำที่นำมาใช้งาน หรือ ความสามารถในการเก็บประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ เช่น การทำอาหาร การคิดเลขในใจ การเขียนหนังสือ อ่านหนังสือ ฯลฯ 


ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถฝึก Working Memory ให้ลูกได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้ค่ะ 

1. ทำอาหารร่วมกัน
สอนให้ลูกรู้จักวัตถุดิบต่าง เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ เครื่องปรุงต่างๆ พาลูกไปจ่ายตลาดเพื่อให้เห็นของที่หลากหลายและแยกเป็นหมวดหมู่ และรู้จักรอคอย เช่นรอจ่ายเงินหรือรอให้พ่อแม่ซื้อของให้เสร็จ จากนั้นคือขั้นตอนของการทำอาหาร ที่ลูกจะได้เห็นแต่ละขั้นตอน ทำอะไรก่อนหลัง และอดใจรอเมื่ออาหารเสร็จแล้ว

2. พาลูกไปเจอสัตว์เป็นๆ และอยู่กับธรรมชาติ
เด็กๆ มักจำสิ่งที่เป็นของจริงได้มากกว่าเห็นแค่รูปภาพหรือภาพในทีวี การให้เด็กได้สัมผัสประสบการณ์จริง จะทำให้เขาจำเรื่องเล็กน้อยๆ ลักษณะพิเศษของสิ่งๆ นั้นได้มากกว่า ทั้งจำได้ถึงประสบการณ์ร่วมของตัวเอง พ่อแม่ และสิ่งที่พบเจอได้ด้วย

3. เบี่ยงเบนความสนใจเวลาที่ลูกอารมณ์ไม่ดี
เช่น ขณะแม่ขับรถอยู่ และลูกนั่งในคาร์ซีท หากลูกอารมณ์ไม่ดีร้องไห้งอแงจะออกจากคาร์ซีท พ่อแม่อาจชี้ชวนให้ลูกดูสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้นับ 1 – 10 ให้นับเสาไฟ ให้นับนกที่บินผ่าน หรือแม้แต่บอกสีรถคันที่ขับผ่านมา จะช่วยให้ลูกเกิดความยับยั้งชั่งใจ ทั้งช่วยตอกย้ำความจำในเรื่องต่างๆ ได้ด้วย

4. ให้ลูกเรียนรู้จากความผิดพลาด
เช่น พ่อแม่ห้ามลูกไม่ให้กระโดดลงจากม้านั่ง เตือนแล้วว่าถ้ากระโดดลงมาแล้วล้ม เจ็บแล้วจะไม่มีคนโอ๋ หากลูกยังดึงดัน พ่อแม่ก็ต้องทำตามที่พูด ลูกจะเรียนรู้ด้วยตัวเองถึงผลของการกระทำของตัวเอง แต่ต้องพิจารณาเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ

5. ปล่อยให้ลูกรู้จักการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
การขอร้องให้ลูกช่วยเรื่องต่างๆ หรือสร้างสถานการณ์ เพื่อสร้างโอกาสให้ลูกรู้จักและฝึกแก้ปัญหา ซึ่งการแก้ปัญหาของลูกในสถานการณ์ที่เหมือนกันนั้น อาจเหมือนหรือแตกต่างกันไปในแต่ละครั้งได้

6. ให้ลูกฝึกคิดเลขได้มากกว่าการคิดเลข
การซื้อของไปแจกเพื่อนๆ ในห้อง อาจจะได้มากกว่าแค่ถามลูกว่าเพื่อนมีกี่คน ต้องซื้อของกี่ชิ้นจึงจะพอ เช่น ขนมมีซองละ 5 ชิ้น ในห้องรวมลูกแล้วมี 21 คน ลูกจะมี 2 ทางเลือก ว่าจะซื้อ 4 ซอง 20 ชิ้น หรือ 5 ซอง 25 ชิ้น ลูกอาจจะบอกว่าซื้อแค่ 4 ซองพอ เขาไม่กินก็ได้ เสียสละให้เพื่อน นอกจากจะได้เรื่องคณิตศาสตร์ ยังแสดงให้เห็นว่าลูกคิดอะไรอยู่อีกด้วย

7. ฝึกความจำด้วยกิจกรรม 3 อย่าง
ให้ลูกลองทำภารกิจ เช่น ให้ลูกไปเอาน้ำในตู้เย็น ขนมในถุง และกระดาษทิชชู่ แล้วคอยดูว่าลูกจะเอามาให้ได้ทั้งหมดหรือไม่ นอกจากลูกจะต้องจำภารกิจให้ครบหมดแล้ว ยังต้องรู้จักวางแผนให้การเดินไปเอาด้วยว่า จะหยิบอะไรก่อนหลัง หรือถือแค่สองมือไม่พอ ต้องเอามาวางก่อนแล้วกลับไปเอาอีกที เป็นต้น

8. สร้างเงื่อนไขสร้างนิสัยดี
เด็กวัยนี้หากอยากได้อะไรแล้วไม่ได้ดั่งใจ มักมีอารมณ์หงุดหงิด โกรธ และโมโห พ่อแม่ควรสร้างเงื่อนไขที่แก้ไขอารมณ์ลูก และสร้างนิสัยดีไปพร้อมๆ กันได้ เช่น แม่กำลังล้างจานอยู่ แต่ลูกจะให้แม่หยิบขนมให้ แม่ยังหยิบไม่ได้ เลยบอกลูกว่าให้ลูกรอแม่ล้างจานเสร็จก่อน และต้องพูดเพราะๆ กับแม่ด้วย ถ้าลูกยังดื้อไม่ทำตาม แม่ก็ล้างจานต่อไป เมื่อไหร่ที่ลูกยอมทำตามเงื่อนไขของแม่แล้ว ลูกก็จะได้เรียนรู้จักหักห้ามใจตัวเอง และทำตามเงื่อนไขที่วางไว้ด้วย



           
 ef module2

 

Mom's Issue EP 24 (Rerun) : นิทานก่อนนอน ช่วยหนูอ่านออก

 

“นิทาน” คือฮีโร่ในสถานการณ์ที่ต้อง Learn from home อย่างแท้จริง

ปรากฎการณ์ Learning Loss ที่เกิดขึ้น ทักษะด้านภาษาเป็นอีกหนึ่งทักษะที่ขาดหายไป โดยเฉพาะในเรื่องการอ่านที่สร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่เป็นอย่างมาก

 

ฟังเทคนิคจากแม่ดอยและป้าปอย ที่จะทำให้นิทานช่วยให้เจ้าหนูอ่านออก

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Mom's Issue EP.09 : นิทานก่อนนอน ช่วยหนูอ่านออก

 

“นิทาน” คือฮีโร่ในสถานการณ์ที่ต้อง Learn from home อย่างแท้จริง ปรากฎการณ์ Learning Loss ที่เกิดขึ้น ทักษะด้านภาษาเป็นอีกหนึ่งทักษะที่ขาดหายไป โดยเฉพาะในเรื่องการอ่านที่สร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่เป็นอย่างมาก

 

ฟังเทคนิคจากแม่ดอยและป้าปอย ที่จะทำให้นิทานช่วยให้เจ้าหนูอ่านออก

✅ Apple Podcast :https://apple.co/3m15ytB

✅ Spotify :https://spoti.fi/3cvAVcX

✅ YouTube Channel :https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

การรักษาด้วย “ยา” ในเด็กพิเศษ

ยารักษาเด็กพิเศษ-ยาสำหรับเด็กพิเศษ

เมื่อกล่าวถึงการรักษาเด็กพิเศษ คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่านคงนึกถึงรูปแบบการฝึกกระตุ้นพัฒนาการ และการจัดการเรียนการสอนให้กับน้องๆ เหล่านี้ อย่างไรก็ดี มีเด็กพิเศษจำนวนไม่น้อยที่ได้รับยามารับประทานด้วย คำถามคือยาเหล่านี้คือยาอะไร และส่งผลอย่างไรต่อตัวเขา รวมไปถึงว่ายาเหล่านี้ทำให้เด็กๆ หายจากตัวโรคได้หรือไม่ เรามาติดตามกันครับ


ก่อนจะตอบคำถามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หมอขออนุญาตอธิบายกลไกทางสมองที่ส่งผลต่อพัฒนาการให้ทราบกันก่อนนะครับ คือสมองของคนเราตอนแรกเกิดนี่ยังสร้างมาไม่ถึงครึ่งทางเลย ต้องมาเติบโตต่อข้างนอกท้องแม่อีกมาก ทีนี้การสร้างสมองในช่วงแรกจะมีการพัฒนาในส่วนหน้าที่พื้นฐานก่อน เช่น การมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว
 

หลังจากนั้นจึงเริ่มมีการพัฒนาในส่วนของภาษาและการเรียนรู้ โดยมีหลักการว่า วงจรประสาทไหนใช้งานบ่อยจะถูกเก็บไว้ ส่วนวงจรประสาทไหนไม่ค่อยได้ใช้งานก็จะถูกทำลาย เพื่อเอาวัตถุดิบมาสร้างส่วนที่จำเป็นในการทำงานมากกว่า โดยประเด็นสำคัญคือ การพัฒนาสมองในแต่ละส่วนจะต้องอาศัยการโปรแกรมจากยีนร่วมกับการเลี้ยงดูจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งในเด็กพิเศษ กระบวนการสร้างสมองอาจจะเกิดขึ้นได้ไม่ดีนัก ทำให้เด็กเหล่านี้มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า
 

อย่างไรก็ดี ปัจจัยภายนอกคือการเลี้ยงดู การเล่นกับเด็ก โภชนาการ และความอบอุ่นใจที่ได้รับจากพ่อแม่ จะสามารถช่วยฟื้นฟูสมองส่วนที่มีการพัฒนาล่าช้านี้ได้ จึงเป็นที่มาของการฝึกกระตุ้นพัฒนาการ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้งานวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และทักษะต่างๆ เพื่อให้สมองของเด็กทราบว่า วงจรเหล่านี้จำเป็นนะ วงจรเหล่านี้สำคัญนะ สมองจะได้เก็บรักษามันเอาไว้ และช่วยส่งเสริมในการส่งสัญญาณในวงจรประสาทเหล่านี้ดีขึ้นด้วย
 

บางท่านอาจจะสงสัยว่า การกระตุ้นวงจรประสาทเหล่านี้สามารถกระทำได้โดยตรงไหม จะได้กระตุ้นสมองให้ตรงจุดไปเลย คำตอบคือตอนนี้นักวิจัยด้านสมองหลายกลุ่มทั่วโลกกำลังสนใจทำวิจัยเรื่องนี้กันอยู่ครับ และมีแนวโน้มว่าจะเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นสมองในรูปแบบต่างๆ หรือการรักษาทางพันธุกรรมในบางโรค แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดยังไม่ใช่การรักษามาตรฐาน จึงต้องอาศัยเวลาอีกสักหน่อยเพื่อให้ข้อมูลชัดเจนมากกว่านี้จึงจะนำมาใช้ได้ครับ
 

กลับมาที่คำถามสำคัญคือ “ยา” สามารถไปปรับหรือกระตุ้นวงจรประสาทได้หรือไม่ คำตอบคือ “ได้” ครับ เพียงแต่การปรับด้วยยาจะเป็นการปรับ “สารสื่อประสาท” อันหมายถึงสารเคมีที่เซลล์สมองใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันเป็นหลัก แต่ยาไม่สามารถไปกระตุ้นวงจรประสาทการเรียนรู้และทักษะต่างๆ ให้มีการพัฒนาได้หากปราศจากการกระตุ้นด้วยการฝึก
 

ดังนั้น การรักษาด้วยยาจึงเป็นการไปปรับสารสื่อประสาทเพื่อควบคุมอาการบางอย่างในกลุ่มเด็กพิเศษ ซึ่งจะทำให้เด็กเหล่านั้นสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น แต่ยาไม่ได้ไปทำให้ระดับพัฒนาการดีขึ้นโดยตรง ดังนั้นการฝึกกระตุ้นพัฒนาการจึงยังคงสำคัญที่สุดในการพัฒนาเด็กพิเศษครับ
 
ในส่วนของยาที่มีการใช้รักษาเด็กพิเศษ อาจจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ประกอบไปด้วย ยาที่ใช้ในโรคซนสมาธิสั้น หรือที่มักจะเรียกกันว่า ยาสมาธิ กับ ยาที่ใช้ในการปรับพฤติกรรมเด็ก

ยาสมาธิ จะเป็นยาที่ช่วยให้เด็กที่มีปัญหาด้านสมาธิจดจ่อ กลับมานั่งเรียนได้ โดยไม่ซนและไม่ยุกยิก รวมถึงไม่ไปแหย่เพื่อน ประเด็นสำคัญคือ ยาสมาธิไม่ได้ทำให้โรคซนสมาธิสั้นหายนะครับ เพราะยาจะแค่ช่วยทำให้เด็กอยู่นิ่งพอที่จะเรียนได้เท่านั้น เพื่อไม่ให้เด็กเสียโอกาสในการเรียนรู้ในชั้นเรียน ดังนั้นการให้ยาสมาธิจะให้กินเฉพาะเวลาที่ต้องการให้เด็กอยู่นิ่งๆ โดยเฉพาะวันที่ต้องไปโรงเรียน เพราะยาสมาธิที่ใช้กันบ่อยๆ มักจะทำให้เกิดผลข้างเคียงคือ การเบื่ออาหารและนอนไม่หลับ ซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กได้ จึงควรมีช่วงเวลาที่เด็กไม่ต้องกินยาบ้าง เพื่อลดผลข้างเคียงของยาดังกล่าวครับ
 
ยาที่ใช้ในการปรับพฤติกรรมเด็ก ซึ่งมักจะเป็นเรื่องของความก้าวร้าว หรืออาการย้ำคิดย้ำทำ รวมไปถึงการมีพฤติกรรมชอบทำอะไรซ้ำๆ ในเด็กที่เป็นโรคออทิสซึมหรือโรคอื่นๆ โดยยาในกลุ่มนี้จะมีหลายชนิด การเลือกชนิดของยาและการให้ยาจะขึ้นกับความรุนแรงของอาการและตัวโรคพื้นฐาน ในรายที่อาการไม่รุนแรงนักคุณหมอที่ดูแลมักจะไม่ได้ให้ยา แต่จะเน้นที่การฝึกแทน ส่วนในรายที่อาการรุนแรง หรือตัวโรคดั้งเดิมค่อนข้างเป็นเยอะ
 

คุณหมอที่ดูแลอาจจะให้ยาร่วมด้วย แต่ก็ต้องอาศัยการฝึกร่วมด้วยเช่นกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไม่ว่าปัญหาพฤติกรรมของเด็กพิเศษจะน้อยหรือมาก แต่การฝึกจะถือเป็นการรักษาหลัก การให้ยาจะมีวัตถุประสงค์ในการปรับระดับสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเหล่านี้เพื่อให้สามารถฝึกเด็กได้ดียิ่งขึ้น
 

อย่างไรก็ดี ยาที่ใช้ในการปรับพฤติกรรมเหล่านี้มักจะต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง และต้องมีการค่อยๆ ปรับขนาดยาขึ้นทีละน้อย เพื่อให้เด็กสามารถรับยาได้โดยไม่มีผลข้างเคียงมากนัก คุณพ่อคุณแม่ที่ดูแลน้องๆ เด็กพิเศษจึงควรเช็ควิธีการกินยาให้ถูกต้อง และเฝ้าติดตามผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ที่สำคัญคือห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นครับ
 

กล่าวโดยสรุป การรักษาด้วยยาในกลุ่มเด็กพิเศษจะมีความแตกต่างกันในแต่ละโรค โดยการให้ยาจะเป็นการช่วยปรับหรือจัดการพฤติกรรมบางอย่างของเด็กให้สามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น แต่การให้ยาไม่สามารถนำมาใช้แทนการฝึกและการกระตุ้นพัฒนาการได้ สิ่งสำคัญคือการกินยาอย่างสม่ำเสมอตามที่คุณหมอแนะนำและหมั่นเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา หากมีข้อสงสัย ห้ามหยุดยาเอง แต่ให้รีบปรึกษาคุณหมอที่ดูแลเพื่อวางแผนในการแก้ไขนะครับ


ผศ.นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์
กุมารแพทย์ด้านโรคสมอง 


 

ปรบมือแปะๆ สร้าง EF ด้วยกันปะ

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

ช่วงแรกเกิดถึง 1 ปี เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสร้างพื้นฐาน EF ให้กับลูกอย่างแน่นหนาเลยค่ะ ซึ่งนอกจากการให้นมแม่จะเป็นการส่งเสริม EF ให้ลูกแล้ว การจัดสิ่งแวดล้อม การทำกิจกรรมและการละเล่นต่างๆ ก็ช่วยสร้าง EFให้ลูกได้เช่นกัน 


การเล่นปรบมือกับลูก แม้เด็กวัย 6-12 เดือน จะยังไม่เข้าใจจังหวะ แต่การตบแปะๆ ก็ช่วยให้ลูกมี Working Memory ค่ะ

"ตบมือแปะๆ จะได้กินนม นมไม่หวาน ใส่น้ำตาล น้ำอ้อย ใส่นิดหน่อย อร่อยจังเลย" 

เพลงง่ายๆ ที่ร้องประกอบการตบมือกับลูก เมื่อลูกได้ยินเสียงพ่อแม่ร้องเพลงนี้พร้อมกับตบมือแปะๆ ไปด้วย Working Memory จะทำงานไปด้วย เพราะลูกจะจำได้ว่าเมื่อพ่อแม่ร้องเพลงนี้เขาต้องตบมือ หรือต้องทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น กินนม กินข้าว เล่น หรืออาบน้ำ เป็นต้น 

ซึ่งนอกจากการเล่นตบมือกับลูกแล้ว กิจกรรมอื่นๆ ก็ช่วยส่งเสริม EF ให้กับลูกวัยเตาะแตะได้เช่นกัน อย่างการเล่นจ๊ะเอ๋ เล่นซ่อนของ เล่นเป่ายิ้งฉุบ เป็นต้น 


 

ปีนป่ายช่วยพัฒนาสมองลูก

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

พ่อแม่หลายคนกลัวลูกจะเป็นอันตราย หรือได้รับบาดเจ็บเวลาที่ลูกเล่นปีนป่ายเครื่องเล่นต่างๆ ซึ่งจริงๆ แล้วการเล่นปีนป่ายมีประโยชน์กับสมองมาก ส่วนอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นพ่อแม่สามารถป้องกันให้ลูกได้ค่ะ  
ลูกได้ขบคิดเมื่อปีนป่าย

ถ้ามองจากภายนอกเด็กได้ใช้ร่างกาย ไม่ว่าจะกล้ามเนื้อมัดใหญ่หรือมัดเล็ก แต่ถ้ามองเข้าไปในสมองของเด็กจะเห็นเลยว่า การปีนใช้ความคิดอย่างมาก เด็กไม่ได้ปีนแบบไม่คิด แต่เด็กคิดตลอดเวลา 


ในแต่ละวันเด็กก็อาจจะตั้งเป้าหมายว่า วันนี้อยากจะปีนไปถึงตรงไหน ตรงกลาง ปีนไปกี่ขั้นแล้วพอ เป็นต้น ซึ่งกระบวนการตรงนี้คือการตั้งเป้าหมายด้วยตัวเอง

ที่มาของการตั้งเป้าหมายนั้นเกิดจากการที่เด็กประเมินตัวเองว่า “น่าจะทำได้” โดยคิดจากประสบการณ์เดิม เช่น เมื่อวานเคยปีนได้ 3 ขั้น วันนี้อยากปีนให้ได้ 6 ขั้น อันนี้คือการประเมินความสามารถตนเอง และเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองเคยทำได้ว่าวันนี้น่าจะทำได้มากกว่านั้น วันรุ่งขึ้นอาจจะปีนไปถึงจุดสูงสุดก็ได้ ทั้งหมดนี้มาจากกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมองของเด็กค่ะ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดเร็วมากกับการตัดสินใจไปตามเป้าหมายที่เด็กตั้งเอาไว้   
นอกจากนั้นเด็กจะต้องคิดอีกว่าจะไปถึงเป้าหมายด้วยวิธีใด ต้องปีนแบบไหน เพราะฉะนั้นเขาจะเอาประสบการณ์เดิมมาใช้เพื่อให้ก้าวข้ามไปให้ได้ นอกจากนี้พอเริ่มปีนเด็กต้องโฟกัสมาก มีสมาธิ มีการจดจ่อกับมือกับเท้า จะปล่อยมือนี้แล้วไปจับอะไรต่อ เรียกว่าทุกจังหวะปีนมีการจดจ่อ มีการวางแผนการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

ปีนป่ายแบบปลอดภัย

  • ดูแลเรื่องความปลอดภัย แต่ต้องไม่ให้กระทบโอกาสของเด็ก เช่น ไปยืนใกล้ๆ แต่ไม่ต้องกำกับ เช่น จับดีๆ นะ เอามือนั้นจับตรงนี้ เอาขาไว้แบบนี้สิลูก เพราะเมื่อเราเป็นคนกำกับตรงนี้เท่ากับเราเป็นคนสั่งการ ก็จะไปปิดโอกาสสมองของเด็กที่จะได้คิด ทักษะสมองก็จะไม่เกิดและพ่อแม่สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่ลูกกำลังจะทำนั้นน่ากลัว
  • ลองปล่อยให้ลูกได้ลองได้ตัดสินใจ  โดยยืนอยู่ใกล้ๆ ด้วยสีหน้าที่สบายใจ ผ่อนคลาย คุณพ่อคุณแม่จะได้เห็นว่าบางทีเด็กกำลังจะก้าวไปแล้วแต่ก็ถอยกลับด้วยตัวเอง นั่นคือเด็กประเมินตัวเองแล้วว่ายังไม่เอาดีกว่าเดี๋ยวค่อยลองใหม่ แต่ไม่มีเด็กคนไหนเลิกไปเลย เด็กยังมีความมุ่งมั่นที่จะเผชิญใหม่จะพิชิตมันให้ได้ ทักษะเหล่านี้มีความหมายมากตอนโตเวลาที่เด็กต้องเจอกับเรื่องยากหรืออุปสรรค ถ้าเราเลี้ยงลูกให้ขี้กลัว พอเจออุปสรรคเด็กจะถอยหนีหมด ไม่สู้ หนีปัญหา


ไม่ใช่แค่การปีนป่าย จริงๆ แล้วการฝึกให้ลูกได้คิดและแก้ปัญหา เริ่มได้ตั้งแต่เป็นทารก เช่นเวลาที่เด็กอยากได้ลูกบอลหรืออยากได้ขวดนม เด็กจะเกิดความมุ่งมั่นที่จะคว้ามาให้ได้ และจะค้นหาว่าตัวเองจะไปแบบไหนเพื่อจะไปหาเป้าหมาย ซึ่งถ้าตั้งแต่เล็กๆ พ่อแม่ทำให้หมด เด็กจะไม่เรียนรู้ที่จะทำอะไรด้วยตัวเองค่ะ

ถ้าอยากให้ลูกมุ่งมั่น มีเป้าหมาย ทำอะไรได้ด้วยตัวเอง ต้องให้เด็กได้คิดและแก้ปัญหาผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ลูกเล่นค่ะ 



"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

รักลูก The Expert Talk EP.102 (Rerun) : ชวนพ่อแม่ “รู้” และ “เท่าทัน” สื่อ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.102 : ชวนพ่อแม่ "รู้" และ "เท่าทัน" สื่อ

 

รับมือเมื่อลูกเข้าสู่โลกดิจิตอล พ่อแม่ต้องรู้เท่าทันอย่างไร

 

ฟัง The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

นักวิชาการด้านสื่อ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เพื่อให้เรารู้เทคนิค วิธีการที่จะรับมือกับทั้งสื่อ จอ และ Content หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ใช้สื่ออย่างรู้เท่าทัน

  

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.110 (Rerun) : รักลูกเชิงบวก “สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง"

รักลูก The Expert Talk Ep.110 :  รักลูกเชิงบวก "สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง" 

เลี้ยงลูกให้ได้ดี ลูกต้องมี “SELF” เพราะตัวตนที่แข็งแกร่ง จะทำให้ลูกเติบโตและอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย มั่นคงและอยู่รอด

 

ชวนสร้าง SELF กับครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.124 : “พ่อแม่ขาดทักษะการใช้สื่อ กระทบสมองลูก”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.124 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 5 พ่อแม่ขาดทักษะการใช้สื่อกระทบสมองลูก

 

งานวิจัยพบว่าเด็กที่ใช้สื่อเย็นเซลล์สมองจะเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ได้มากกว่า

ขณะที่สื่อร้อนการเชื่อมต่อของเซลล์ที่ชั้นเปลือกสมองจะทําได้น้อย กระทบกับพัฒนาการของสมอง โดยเฉพาะทักษะสมอง EF

 

ไม่อยากให้ลูกติดจอ พ่อแม่ทำได้

ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริบอกแนวทางการฝึกทักษะให้พ่อแม่มี Digital Literacy เพื่อรับมือและรู้เท่าทันก่อนสื่อหน้าจอจะทำลายสมองลูก

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke 

รักลูก The Expert Talk EP.125 : Cybercrime คืออะไร? รู้ไว้ก่อนลูกถูกลวง

 

รักลูก The Expert Talk Ep.125 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 6 Cybercrime คืออะไร? รู้ไว้ก่อนลูกถูกลวง

เมื่อพ่อแม่ให้โทรศัพท์ แท็บแล็ตหรือสร้างแอคเคาท์บนโซเชียลมีเดียให้ลูก เราอาจจะคิดว่าอินเทอร์เน็ตมันเป็นโลกของข้อมูลความรู้

แต่ถ้าลองคิดในมุมกลับกัน เมื่อให้ลูกเข้าถึงโลกทั้งใบ โลกทั้งใบก็เข้าถึงลูกของเราได้เหมือนกัน…การเกิดอาชญากรรมออนไลน์จึงเกิดขึ้นได้ง่าย

 

รู้กลลวงของเหล่ามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์เพื่อรับมืออย่างเท่าทัน ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke 

รักลูก The Expert Talk EP.126 : Cybercrime รับมือได้ พ่อแม่ต้องเท่าทัน

 

รักลูก The Expert Talk Ep.126 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 7 Cybercrime รับมือได้ พ่อแม่ต้องเท่าทัน

 

เมื่อลูกถูมิจฉาชีพหลอกลวง พ่อแม่จะช่วยลูกและรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

 

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke 

รักลูก The Expert Talk EP.63 : "กล้าพอไหมเปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล"

 

รักลูก The Expert Talk Ep.63 : "กล้าพอไหม เปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล"

 

Series : เข้าใจ “วัยทอง” ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง

วัยอนุบาลหรือช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาทองของการเรียนรู้ เป็นวัยตั้งต้นของชีวิต เด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ หลากหลายปัญหาหนักใจ ครูก้าจะมาช่วยคลี่คลาย ช่วยหาทางออก และบอกวิธีการรับมือ

ชวนพ่อแม่เข้าใจช่วงวัยอนุบาลหรือช่วงปฐมวัย วัยตั้งต้นของชีวิต เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้

 

เต็มอิ่ม 4 EP กับครูก้าที่จะทำให้เข้าใจเด็กมากขึ้นพร้อมวิธีรับมือแบบไม่ให้เกิดศึกกลางบ้าน EP1 "กล้าพอไหมเปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล" ชวนมาแก้ 3ปัญหาหนักใจที่ทุกบ้านต้องเจอ แก้ไขได้ด้วยวิธีที่ครูก้ามั่นใจว่าพ่อแม่ทำได้ไม่ยากเกินไป และติดตาม EP ต่อไปกับ EP2 คุยเรื่อง "เล่น" เรื่องใหญ่ของวัยอนุบาล, EP3 เปลี่ยน “วัยทอง” เจ้าปัญหา เป็น “วัยทอง” แห่งการเรียนรู้, EP4 ไม่ใช่แค่ "เรียน" แต่วัยอนุบาลต้อง “เรียนรู้” เข้าใจการเรียนรู้แบบเด็ก "ปฐมวัย" เพื่อให้จัดการเรียนรู้ให้ลูกได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการ

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Используйте уникальный промокод фонбет беларусь и играйте так, как вы давно хотели этого!

รักลูก The Expert Talk Ep.82 : วิกฤตซ้อนวิกฤต คลี่คลายอย่างไรในช่วงปฐมวัย

 

รักลูก The Expert Talk Ep.82 : วิกฤตซ้อนวิกฤต คลี่คลายอย่างไรในช่วงปฐมวัย

เด็กปฐมวัยทั่วประเทศมีพัฒนาการล่าช้า 25% หลังสถานการณ์โควิดยิ่งทำให้พัฒนาการของเด็กล่าช้า และถดถอยไปมากกว่าเดิม

ความรักความหวังดีจากพ่อแม่ และครูที่ไม่เข้าใจพัฒนาการและปัญหาที่แท้จริง ยิ่งซ้ำเติมปัญหาพัฒนาการของเด็กให้มากยิ่งขึ้น แล้วเราจะทำกันอย่างไร เพื่อฟื้นฟูวิกฤตซ้อนวิกฤตนี้

 

ชวนคุยกับ The Expert ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข นายกสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย

 

รู้วิกฤต รู้ปัญหาและเห็นทางออกเพื่อฟื้นฟูพัฒนาการให้เด็ก 

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.92 : ติดจอ ต้นตอทำลูกซึมเศร้า

 

รักลูก The Expert Talk Ep.92 : ติดจอ ต้นตอทำลูกซึมเศร้า

 

ติดจอใสทำลายพัฒนาการมากกว่าที่พ่อแม่คิด ตั้งแต่ออทิสติกและอาการสมาธิสั้นที่น่ากังวล ซ้ำยังส่งผลไปถึงพัฒนาการด้านอารมณ์ ซึ่งหากพ่อแม่ไม่รู้เท่าทัน อาจจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้า และนำไปสู่การฆ่าตัวตายในอนาคต

 โดย The Expert ศ.นพ.วีรศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าสาขาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

"จอใส" กระทบพัฒนาการ

เริ่มจากการวิจัยที่ผมเองก็มีการติดตามเด็กในระยะยาวตั้งแต่เด็กอายุ 6เดือน ติดตามไปเรื่อยๆ จนตอนนี้เด็กที่อยู่ในโครงการอายุ10ขวบแล้ว ผลพบว่าเด็กอายุตั้งแต่6เดือน-18เดือน แนวโน้มถ้าเขาอยู่บริเวณสื่อหน้าจอซึ่งในยุคนั้นเป็นแค่ทีวี พบว่าเด็กจํานวนหนึ่งมีพฤติกรรมไปทางเด็กออทิสติก มากขึ้น แล้วเรื่องของเด็กออทิสติกก็มีข้อมูลงานวิจัยของต่างประเทศพบมากขึ้นว่า ยิ่งให้มากให้เร็วตั้งแต่ตอนเล็กๆ จะทําให้เด็กเนี่ยมีความเสี่ยงไปทางเด็กออทิสติก คืออยู่ในโลกส่วนตัวมากขึ้น ขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านสังคมและอารมณ์ ในงานวิจัยนั้นยังพบอีกว่า เด็กที่ดูหรือว่าได้รับสื่อประเภทพวกทีวีค่อนข้างมาก มีโอกาสที่เขาจะมีปัญหาพฤจิกรรมก้าวร้าวเพิ่มขึ้น มีปัญหาทางด้านปฏิกิริยาทางด้านอารมณ์เพิ่มขึ้น หมายความว่าเวลาหงุดหงิดไม่พอใจก็จะวีนเหวี่ยง ใช้อารมณ์

ซึ่งก็สอดคล้องเลยว่าหลังจากช่วงที่โควิดเคสคต่างๆ เริ่มกลับม คุณพ่อคุณแม่ก็จะเล่าว่าจากที่เคยดีมาโดยตลอด แล้วพอเราเริ่มให้ใช้จอก็จะรู้สึกเหมือนว่าหงุดหงิด ไม่พอใจอะไรต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ขอจอคืน ถึงเวลาต้องไปทํากิจวัตรประจําวันก็ม่ได้ทํา แล้วในงานศึกษายังเจออีกว่าสัมพันธ์กับเรื่องของพฤติกรรม และสมาธิสั้นมากขึ้นด้วย

ต้องเรียนว่าการใช้สื่อจอใสแบบไม่ค่อยเหมาะสม ปัจจุบันมันไม่ใช่แค่ทีวีก็มีสื่ออื่นๆมากมาย มือถือหรือว่าโซเชียลมีเดียต่างๆ ในการศึกษาทั้งในเด็กเริ่มโตขึ้นมาวัยก่อนเรียน วัยอนุบาลหรือว่าในช่วงวัยเรียน รวมถึงวัยรุ่นพบว่ามีความสัมพันธ์กับปัญหาทางด้านอารมณ์เยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือเด็กบางคนปถึงขั้นมีความคิดหรือความพยายามอยากฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น หรือมีปัญหาโรคทางด้านจิตเวชต่างๆ เพิ่มขึ้น พบเด็กมีปัญหาเรื่องของการรับประทานอาหารผิดปกติเพิ่มสูงขึ้น เช่น ถ้าเรียกทางการแพทย์เรียกEating Disorder เช่น ทําไมบางคนเรียกเป็นโรคคลั่งผอมเพราะว่าเราก็คือเข้าไปเสพสื่อประเภทนี้ แต่ก็ไม่อยากให้มองว่าสื่อมันไม่ดีอย่างเดียว จริงๆ เราสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้

เด็กที่เล่นสื่อเยอะๆ ถ้ามองอีกมุมหนึ่งคืออยู่กับความเบื่อไม่เป็น ความเบื่อเป็นอารมณ์อย่างหนึ่งของเราเหมือนกันหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่เหมือนกันบางทีเราก็ไม่รู้จะทําอะไร ทุกวันนี้ทุกคนก็เล่นมือถือตลอดเวลา เพราะว่าเรารู้สึกว่าเราดึงเอาใจไปอยู่ทางอื่นเพราะว่าเราอยู่กับความเบื่อไม่ได้ ซึ่งพออยู่กับความเบื่อไม่ได้เนี่ย ลูกๆก็ไม่รู้จะทํายังไง ซึ่งถ้าจะเป็นสมัยก่อนที่เราไม่มีสื่อเหล่านี้ พอเบื่อเราก็ต้องชวนกันมาเล่น มาคุยกัน ร้องเพลง อ่านหนังสือ แต่เด็กไม่รู้จะทําอะไรดี ก็เลยเข้าไปอยู่กับสื่อหน้าจอมากขึ้น แล้วพอลไม่ได้ดูก็โวยวาย หัวร้อนง่าย

ใช้สื่อกับลูกอย่างไร

  1. Background Media คีย์เวิร์ดสําคัญเลยเด็กถ้าอายุเกินสองปีเล่นได้ แต่ถ้าอายุน้อยกว่าสองปีมีข้อมูลพบว่ากระทบกับพัฒนาการ มีงานวิจัยจากสิงคโปร์รายงานว่าแค่เสียงทีวีที่เปิดทิ้งไว้ สามารถเปลี่ยนคลื่นสมองเด็กได้สัมพันธ์กับการเป็นสมาธิสั้นเพิ่มขึ้น เพราะว่าสื่อต่างๆ เวลาเปิดมันจะเข้าไปเร้าระบบประสาทรับความรู้สึกต่างๆ เพราะสื่อมันมีทั้งภาพและเสียง เมื่อเข้าไปกระตุ้นมากทำให้สมาธิสั้นเพิ่มขึ้นแม้จะไม่ได้ดู และส่วนใหญ่เป็นรายการสําหรับผู้ใหญ่ ซึ่งที่เราศึกษาวิจัยก็พบว่ามีผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก ถ้าเปรียบเทียบกับบ้านที่เปิดBackground Mediaน้อย สติปัญญาของเด็กที่เปิดน้อยกว่ามีแนวโน้มสติปัญญาดีกว่าและพัฒนาการดีเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก

  2. เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมตามวัยและต้องลองเข้าไปดูเนื้อหาก่อน ปัจจุบันมีเว็บไซต์ต่างประเทศที่สามารถเข้าไปเช็กได้ที่ www.commonsense.org/education (Common Sense Media) นอกจากนี้ต้องกําหนดกฎกติกา ถ้าจะให้ลูกใช้หน้าจอก็ต้องหลังจากที่เขารับผิดชอบงานที่ควรจะทำก่อน เช่น กิจวัตรประจําวันเสร็จแล้ว การบ้านเสร็จ รับผิดชอบงานบ้านแล้ว นอกจากเรื่องกฎกติกาแล้ว เด็กต้องเรียนรู้ผลที่ตามมาว่าถ้าไม่ทําตามกฎกติกาจะเกิดอะไรขึ้นบ้างด้วย

  3. ทำข้อตกลงก่อนให้ลูกใช้งาน บ้านที่กำลังจะซื้อจอให้ลูก ต้องมีการทําสัญญากับลูกตั้งแต่เริ่มแรกเลย เช่น มือถือเครื่องนี้เป็นมือถือของแม่ซื้อมาให้ลูก ลูกจะสามารถเล่นได้ตอนไหนบ้าง ถ้าลูกไม่สามารถทําตามกฎอันนี้ได้มือถือเครื่องนี้แม่สามารถริบคืนได้ พ่อแม่มีสิทธิ์เด็ดขาดและให้ลูกเซ็นชื่อกํากับด้วย ซึ่งเด็กบางคนก็ยอมเซ็นไปก่อน แต่ต้องอย่าลืมที่จะบอกถึงผลที่ตามมาและต้องทำตามข้อตกลงร่วมกัน หรือบอกถึงผลกระทบถ้าใช้งานนานเกินไป เช่น หาวบ่อย ปวดต้นคอ ปวดมือ

  4. ดูไปพร้อมกับลูก อยากให้คุณพ่อคุณแม่มีโอกาสเข้าไปดูสื่อกับลูกด้วย เพราะเดี๋ยวนี้จะมี pop up ขึ้นมาระหว่างที่ลูกดูคลิปต่างๆ ซึ่งมันจะทำให้เข้าสู่คอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสมกับวัย อีกเรื่องหนึ่งกฎกติกาที่ว่า หมอคิดว่าเราอาจจะต้องมองกันที่สถานที่ภายในบ้านด้วยว่าตรงที่ไหนที่เราไม่ควรจะใช้สื่อหน้าจอ รวมไปถึงเวลาช่วงไหนที่เราไม่ควรจะใช้ เช่น ห้ามใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างด้วย และในห้องนอนก็ไม่ควรจะใช้สื่อหน้าจอ

นอกจากนี้หน้าจอจะมีแสงสีน้ำเงินออกมาที่เรียกว่า Bluelight ซึ่งแสงเหล่านี้จะไปรบกวนการหลั่งฮอร์โมนการนอนหลับที่ชื่อว่า "ฮอร์โมนเมลาโทนิน" ทําให้เด็กจะนอนหลับยากขึ้น รวมถึงต้องงดเล่นเกม ดูคอนเทนต์ที่เร้าอารมณ์ความสนุก เพราะถ้าเด็กนอนหลับไม่ดีก็ส่งผลต่อเรื่องของการคุมอารมณ์ระหว่างวันด้วย สิ่งที่พ่อแม่ควรทําก็คือ อย่าให้มาก อย่าให้เร็ว

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

ลูกรักประสบความสำเร็จได้ เพราะรู้จักจดจ่อและใส่ใจ

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF  

Focus / Attention หรือ การจดจ่อใส่ใจ  คือทักษะ 1 ใน 9 ด้านของ Executive Functions (EF) หรือ ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ 


เวลาที่คนเราจะจดจ่ออะไรสักอย่าง เราจะต้องมีการจดจำว่าเราจดจ่อเพื่ออะไร จำได้ว่าทำไมเราต้องจดจ่อ เช่นเวลาที่คุณครูบอกเด็กๆ ว่า “นั่งทำงานเงียบๆ นะเด็กๆ ทำเสร็จเดี๋ยวครูมาตรวจ” คำว่า ทำงานเงียบๆ ทำให้เสร็จ จะกลายเป็นความจำที่อยู่ในสมอง เด็กจะจำคำสั่ง และรู้ว่าทำไมตัวเองถึงต้องจดจ่อทำงานให้เสร็จ

นอกจากนั้นต้องมีความยั้งใจ เมื่อเด็กรู้ว่าเราต้องทำงานนี้ให้เสร็จ เดี๋ยวคุณครูจะกลับมาตรวจ เด็กก็จะต้องจดจ่อกับคำสั่งนี้ และยั้งใจของตัวเองว่าจะไม่ไปทำในสิ่งอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือคำสั่งนี้  เช่น  เพื่อนชวนไปวิ่งเล่น เด็กก็จะบอกเพื่อนว่า คุณครูบอกว่าให้ทำงานให้เสร็จ เขาก็จะไม่ไปวิ่งเล่น 

แรงจูงใจที่ทำให้เด็กเกิด Attention

1. การรู้คำสั่ง รู้ความหมายของการที่จะต้องจดจ่อ เช่น เด็กรู้ว่าครูสั่งให้ทำงานให้เสร็จ ครูจะกลับมาตรวจ เด็กก็จะจดจ่อทำสิ่งนั้น

2. เป็นเรื่องที่ชอบเวลาที่เด็กทำอะไรด้วยความชอบ เช่น ชอบต่อบล็อก วาดรูป เล่นเกม เขาก็จะมีความสุขกับสิ่งที่ทำ มีไอเดียที่จะทำ อยากทำ สนุกกับการต่อโน่นต่อนี่ หรือทดลองรื้อใหม่ ถ้าเขามีความสุข ก็จะมี Attention กับสิ่งนั้นได้ดี 

3. การมีเป้าหมาย เช่น ถ้าเด็กรู้ว่าเขาวาดรูปนี้สำเร็จ เอาไปให้แม่ ก็จะตั้งใจวาดตั้งใจทำ ดังนั้นเป้าหมายของเขาคือ "จะให้" รูปที่วาดกับแม่ ไม่ใช่เป็นการวาดรูปเพียงอย่างเดียว มีความหมายที่มากกว่า เช่น อยากทำดีให้แม่ชื่นใจ 
 
4. มีความสงสัยใคร่รู้ ความอยากรู้ของเด็กจะทำให้เด็ก มีใจจดจ่อ พ่อแม่ต้องค่อยๆ เติม ค่อยๆ กระตุ้นความอยากรู้ เด็กจะได้ทั้งฝึก  Attention และตอบโจทย์ความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นทักษะหนึ่งของมนุษย์เหมือนกัน ที่จะทำให้มีความช่างคิดวิเคราะห์  ช่างสังเกตเกิดขึ้น

ฝึกลูกให้มีสมาธิ จดจ่อ ใส่ใจ ไม่ยาก

ให้เด็กได้ใช้เวลากับตัวเองเงียบๆ เช่น ต่อบล็อก  เล่นทราย วาดรูป ระบายสี ตัดกระดาษ ฉีกกระดาษ เป็นต้น

สร้างเสริมประสบการณ์ในบ้าน เช่น  พาลูกไปเดินเล่นดูต้นไม้ดูรอบๆ บ้าน ดอกไม้ ต้นไม้ ก้อนหิน ทำนู่นทำนี่ที่จะชวนให้เขาจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะที่นาน  การจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะที่นานนั้นต้องตื่นตัว สำหรับเด็กคือต้องให้เขาเคลื่อนไหวอย่างจดจ่อ  หยิบ  จับ  เล่น แต่เป็นการเคลื่อนไหวบนความจดจ่ออยู่ในเรื่องเหล่านั้น 

มีตัวช่วยในการเรียนรู้ ไม่ต้องเป็นของเล่นสำเร็จ แต่เป็นของใกล้ตัวก็ได้ เช่น เก็บใบไม้มารูปร่างแปลกๆ มาเรียง ชวนลูกทำกับข้าว เล่นหม้อข้าวแกง เป็นต้น

อย่าไปคาดหวังว่าต้องได้ชิ้นผลงานแต่ควรปล่อยลูกเล่นอิสระในพื้นที่ที่ปลอดภัย วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่อันตราย เช่น กระดาษหนึ่งแผ่นสองแผ่น   ช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ ฯลฯ เด็กก็เล่นได้ ไม่จำเป็นต้องวาดรูปออกมาหนึ่งชิ้น หรือต้องประดิษฐ์สิ่งของได้หนึ่งอย่าง 
 

เมื่อเด็กมี Attention

การที่เด็กจดจ่อหมายความว่ามีเรื่องราวอะไรที่เขาสนใจ เด็กกำลังเรียนรู้อะไรบางอย่าง  กำลังเก็บรับประสบการณ์ ทำความรู้จักกับสิ่งๆ นั้น  กำลังพัฒนาคอนเซ็ปต์เกี่ยวสิ่งเหล่านั้นในสมอง

เมื่อเด็กมี  Attention เขาจะมีระยะเวลาของการคิดที่เป็นกระบวนการ พูดง่ายๆ คือคอนเซ็ปต์ของสิ่งเหล่านั้นกำลังเกิดขึ้นในสมอง เกิดการเรียนรู้  ทำให้ได้พัฒนาความอยากรู้อยากเห็น ทำให้เขารู้จักการแก้ปัญหา ถ้าเขาตั้งใจและใส่ใจกับมัน เขาก็จะทำงานสำเร็จได้ เด็กจะแก้ปัญหาได้ จะเข้าใจและเห็นกระบวนการ ที่สำคัญเขาจะมีความสุข  เพราะเขาจัดการสิ่งที่เขาทำได้ หรือได้ผลงานออกมา และได้คำชมจากพ่อแม่นั่นเอง 


  • 1
  • 2