facebook  youtube  line

ลูกอารมณ์ดี สมองดี EF ดี

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

สมองไม่ใช่แค่เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายเท่านั้น หากแต่ยังเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนผ่านการคิด การไตร่ตรอง แยกแยะผิดถูก อารมณ์ ความรู้สึก และสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ

สมองของทารกแรกเกิด เมื่อครบกำหนดคลอดจะมีน้ำหนัก 500 กรัม และมีเซลล์สมองประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ โดยไม่มีการสร้างเพิ่มเติมอีก แต่ด้วยสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่เหมาะสมของพ่อแม่นั้นมีอิทธิพลต่อการพัฒนาสมองอย่างยิ่ง

ลูกอารมณ์ดี สมองดีจริงหรือ

นพ.อุดม เพชรสังหาร จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง กล่าวถึงนิยามสมองดีและอารมณ์ดีว่า "อารมณ์ดีเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ เมื่อรู้สึกว่าตัวเองรอดปลอดภัย แล้วมนุษย์ถึงจะเรียนรู้ หากไม่รู้สึกว่าปลอดภัย ก็จะไม่รับไม่เรียนรู้อะไรทั้งนั้น เช่นเดียวกับเด็ก การจะทำให้ลูกอารมณ์ดีก็ต้องเริ่มต้นจากพ่อแม่"

เพราะการแสดงอารมณ์แจ่มใสร่าเริงให้เด็กรับรู้ ถือเป็นสัญญาณหนึ่ง ที่ทำให้เด็กรับรู้ได้ว่าเขาปลอดภัย เหมือนเวลาเราเห็นหมาแยกเขี้ยวกับหมากระดิกหาง ก็รู้ได้ว่าอันไหนคุกคามหรือเป็นมิตร เมื่อเด็กรู้สึกปลอดภัยแล้ว ระบบลิมบิกก็ทำงาน ส่งให้ฮอร์โมนที่เป็นสุขเกิดขึ้น วงจรเกี่ยวกับความสุข (Reward Circuit) ก็ทำงาน พอเด็กมีความสุขการเรียนรู้ก็จะเกิด"
 
"Safety Need เป็นความต้องการสำคัญของเด็ก เมื่อเขารู้สึกปลอดภัย การเรียนรู้ของเขาก็จะเป็นการเรียนรู้ที่จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นการเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเอง

แต่หากไม่มีจะกลายเป็นการเรียนรู้เพียงเพื่อเอาตัวรอดจากอันตรายนั้น แต่จะไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ เหมือนเด็กที่เรียนเก่ง IQ ดี จะกังวลอยู่กับเกรด จะไม่ค่อยมองสิ่งรอบตัว มีเพื่อนแต่จะไม่รู้ว่าคนนี้มาจากไหน เป็นคนยังไง ขณะเดียวกันก็จะคิดว่าเพื่อนคนนี้จะช่วยเราได้ยังไง มองอยู่แค่นี้ไม่มองเรื่องอื่นๆ เพราะเขาไม่มีความรู้สึกปลอดภัยในตัวเอง"
 
ด้วยเหตุนี้ นิยามคำว่าอารมณ์ดีของเด็กจึงเปลี่ยนไป จากที่วัดกันจากรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ เปลี่ยนเป็นการสร้างความรู้สึกปลอดภัยอบอุ่น แล้วลูกจะเกิดความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือมิติที่ก่อให้เกิดพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ได้มากกว่า 

5 เทคนิคให้ลูกน้อยอารมณ์ดี

1. นวดให้สบายตัว การนวดช่วยกระตุ้นให้โลหิตไหลเวียนได้ดี ช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่อนคลาย ลูกจะรู้สึกสงบสุขมากขึ้น และจะรับรู้ได้ถึงความรัก ความอบอุ่นที่ส่งผ่านมา ลูกก็จะอุ่นใจและมั่นใจว่าจะเติบโตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างมีความสุข

2. ฟังเพลงให้สบายใจการเปิดเพลงจังหวะเบาๆ สบายๆ ให้ลูกฟัง จะช่วยเรียกความสนใจของลูกให้จดจ่ออยู่กับท่วงทำนอง สงบนิ่ง และไม่โยเย อีกทั้งดนตรียังเป็นหนึ่งในหลายวิธีที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของสมอง ทำให้เส้นใยประสาทแตกแขนงมากขึ้น ซึ่งพ่อแม่อาจจะร้องให้ลูกฟังเองก็ได้

3. จัดบ้านเพื่อลูกน้อย สภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ดี จะทำให้ลูกอารมณ์ดี เนื่องจากมีอากาศถ่ายเท ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป มีพื้นที่ให้ได้สำรวจ ได้เล่นอย่างสนุกสนานและปลอดภัย 
 
4. เล่นกับลูกบ่อยๆของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูกวัยขวบปีแรกก็คือพ่อแม่ การเล่นแบบง่าย ๆ เช่น จ๊ะเอ๋ เก็บของ การเอาของเล่นสุดโปรดไปวางไว้ตรงหน้าให้ได้เอื้อม ไขว่คว้า เป็นการบริหารกล้ามเนื้อลำตัว แขน ขา และยังช่วยฝึกการใช้ประสาทตาให้สัมพันธ์กับมืออีกด้วย ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมทางร่างกายให้แข็งแรง ความพร้อมของกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่าง ๆ ไว้สำหรับการเคลื่อนไหว และมีความพร้อมทางอารมณ์ สำหรับการออกสู่โลกกว้างในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นต่อไป
 
5. พ่อแม่ก็ต้องอารมณ์ดีและมีการแสดงออกต่อลูกอย่างเหมาะสม สัมผัสลูกด้วยความอ่อนโยน พูดจาด้วยน้ำเสียงที่อบอุ่น และมีตอบสนองต่อความต้องการลูก เช่น เมื่อร้องก็มีคนมาโอบอุ้ม เมื่อหิวก็มีคนมาดูแล ลูกก็จะรู้สึกปลอดภัย และพร้อมต่อพัฒนาการต่าง ๆ ได้ดี


 

 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

สร้างสารแห่งความสุข เพิ่มพัฒนาการสมองลูกขวบปีแรก

พัฒนาการสมองเด็ก, สารแห่งความสุข, เอนโดรฟิน, กระตุ้นสมองเด็ก, กระตุ้นสมอง ทารก, ทารกหัวเราะ, ทารก เล่น, เล่น กระตุ้นพัฒนาการสมอง, สารแห่งความสุขคืออะไร, เอนโดรฟีนสำคัญอย่างไร

ความสุขของพ่อแม่ทุกคนก็คือได้เห็นลูกน้อยมีความสุข การหลั่งสารแห่งความสุข (เอนดอร์ฟิน) ออกมา นอกจากจะทำให้ลูกมีใจที่เป็นสุขแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองให้กับลูกได้อีกด้วย

สร้างสารแห่งความสุข เพิ่มพัฒนาการสมองลูกขวบปีแรก

ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าสารเอนดอร์ฟิน เป็นสารที่มีคุณสมบัติในการเสริมพลังด้านบวก (Positive reinforcement) โดยปริมาณของสารเอนดอร์ฟินในพลาสมามีความสัมพันธ์กับความรู้สึกสบาย รู้สึกมีความสุข การมีอารมณ์ดี และการมีสุขภาพดี เป็นต้น

สาร Endorphins เอนดอร์ฟินสารแห่งความสุข คือสารที่มีคุณสมบัติคล้ายฝิ่นซึ่งพบอยู่ในร่างกายของเรา จัดเป็นสารประเภทเดียวกันกับมอร์ฟีนและเฮโรอีนที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมาค่ะ

หน้าที่ของสาร Endorphins 

  1. ลดความเจ็บปวด
    เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บจะช่วยทำให้รู้สึกชาและลดความเจ็บปวดได้ 

  2. ลดความเครียด
    เมื่อเราเครียดสารเอนดอร์ฟินจะถูกสร้างและหลั่งออกมาพร้อมๆ กันกับฮอร์โมนเครียดเพื่อช่วยให้เราผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวลและความเครียด

นอกจากนี้ยังทำให้เรารู้สึกสบายและมีความสุข มีงานวิจัยพบว่าสารเอนดอร์ฟินจะหลั่งมากขึ้นเมื่อมีความรัก เมื่อได้หัวเราะ การลูบสัมผัสผิวกาย การนวด การออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีรสหวาน เช่น ช็อคโกแลต เป็นต้

กิจกรรมเสริมสร้างความสุขให้ลูกน้อย กระตุ้นพัฒนาการสมองสำหรับลูกวัยแรกเกิดถึงขวบปีแรก 

  1. เวลาช่วงที่ให้นมลูก สบตา ยิ้ม พูดคุย ร้องเพลง และเล่านิทานให้ลูกฟัง

  2. สัมผัสไปตามเนื้อตัวของลูก
    เพราะการสัมผัสผิวกาย การกอดและการนวดตัวลูกเป็นอีกวิธีที่ทำให้ลูกรู้สึกสบาย อบอุ่นใจ มีความสุขและสร้างความผูกพันระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกน้อยด้วยค่ะ

  3. ขณะทำกิจกรรมกับลูกคุณแม่อาจเปิดเพลงบรรเลงเบา ๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกสงบและผ่อนคลาย สำหรับลูกวัยนี้ ความรักของคุณพ่อคุณแม่ที่สื่อไปถึงลูกน้อยผ่านการเลี้ยงดู เป็นสิ่งสำคัญในการกระตุ้นสารแห่งความสุขให้หลั่งในสมองของลูก ทำให้ลูกมั่นใจว่าเขาเป็นที่รักของทุกคนในครอบครัว


เด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่มีความสุขจะมีความภาคภูมิใจในตนเอง พอใจในตนเอง ไม่รู้สึกว่าตัวเองขาดความรักความอบอุ่น เพราะครอบครัวเป็นภูมิคุ้มกันอย่างดีที่จะช่วยป้องกันลูกให้ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ 

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงมีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิด ให้ความรัก ความอบอุ่น การทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวอย่างมีความสุข การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้ลูกได้ซึมซับความสุขสงบจากธรรมชาติรอบตัว เพียงเท่านี้ก็ทำให้ลูกได้ค้นพบความสุขจากภายในตัวเองจากสารเอนดอร์ฟินที่หลั่งออกมาแล้ว

เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ : ผศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล โครงการวิจัยชีววิทยาระบบประสาทและพฤติกรรม สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

เมื่อลูกช่างถาม ทำอย่างไรให้เป็นเด็กช่างคิด

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF
 
เพราะการตั้งคำถามของลูกไม่ใช่แค่ความสงสัยใคร่รู้ตามวัย หากแต่เป็นความความช่างสังเกต ช่างคิด ช่างสงสัย ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ค่ะ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งเบื่อที่ลูกตั้งคำถาม แต่ควรชวนลูกหาคำตอบเพื่อสร้างนักคิดแทนค่ะ  
How to ปั้นลูกช่างถามให้เป็นเด็กช่างคิด 

1. ตอบคำถามลูกด้วยคำถาม ไม่ใช่การปัดความรับผิดชอบค่ะ หากแต่เป็นการกระตุ้นให้ลูกคิดหาคำตอบด้วยตัวเอง เช่น เมื่อลูกถามว่าทำไมน้ำทะเลถึงเค็ม พ่อแม่อาจตอบลูกว่า แล้วลูกคิดว่าทำไมล่ะ จากนั้นอาจจะต่อยอดด้วยการชวนลูกหาข้อมูลจากที่ต่างๆ เช่น สถานที่จริง พิพิธภัณฑ์ หนังสือ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น

2. ชวนลูกหาคำตอบด้วยกิจกรรมที่เข้าใจง่ายบางคำถามพ่อแม่ไม่จำเป็นต้องตอบก็ได้ แต่ให้ลูกได้หาคำตอบเอง เช่น ทำไมรถถึงเคลื่อนไปข้างหน้า แทนที่จะตอบว่าเพราะมีคนขับ หรือเพราะเราเติมน้ำมัน แต่ถ้าหากิจกรรมวิทยาศาสตร์สนุกๆ เกี่ยวกับเรื่องแรงและการเคลื่อนที่มาทดลองเล่นกับลูก นอกจากจะได้คำตอบสนุกๆ ที่สร้างสรรค์แล้ว ยังกระตุ้นให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ด้วย

3.ตั้งคำถามกับลูกจากเรื่องใกล้ตัว “อะไร ทำไม ยังไง” เช่น ทำไมหมาต้องเห่าด้วย ลูกอาจจะตอบว่าเพราะหมาเห็นคนแปลกหน้า หมากำลังดีใจ หรือมีคนร้าย ตามแต่ประสบการณ์ของเขา แล้วพ่อแม่อาจจะถามต่อว่าต้องทำอย่างไรให้หมาหยุดเห่า ลูกก็จะคิดหาคำตอบและวิธีแก้ปัญหา

4. ชวนทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น ทำอาหาร ทำของใช้ DIY ในระหว่างขั้นตอนการทำจะได้พูดคุยกัน อย่างการทำอาหาร ให้ลูกลองชิม แล้วถามว่าอร่อยหรือยัง อยากใส่อะไรเพิ่มอีก หรือคุณแม่แนะนำส่วนประกอบต่างๆ ทำให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์ และกระตุ้นให้เกิดการถามตอบ เป็นการพัฒนาทักษะการพูดได้ดี

5. ตั้งคำถามสร้างจินตนาการ เพราะการใช้จินตนาการก็เหมือนการบริหารสมองอย่างหนึ่ง ลองถามคำถามที่ดูเกินจริงหรืออยู่ในโลกสมมติบ้างเช่น ถ้าเหาะได้ หนูจะเหาะไปที่ไหน ถ้ามีพลังแบบเจ้าหญิงเอลซ่าหนูจะทำยังไง ถ้าโดราเอม่อนมีจริง อยากได้ของวิเศษอะไรที่สุด          


เจ้าหนูจำไมอาจน่าเบื่อบ้าง แต่เพราะนั่นคือพัฒนาการตามวัยของเขา บางครั้งหากตอบคำถามลูกไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดหรือต้องหงุดหงิดค่ะ เพราะสิ่งที่สำคัญมากกว่าคำตอบก็คือกระบวนการให้ได้มาซึ่งคำตอบ นั่นคือการเรียนรู้ระหว่างทาง

 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

เลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี พัฒนาการสมองจะดีตามไปด้วย... จริงไหม

เลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี, เด็กอารมณ์ดี, ทารกอารมณ์ดี, พัฒนาการสมองเด็ก, กระตุ้นสมองเด็ก, อารมณ์ดี สมองดี จริงไหม, อยากให้ลูกสมองดี ต้องทำยังไง, อยากให้ลูกอารมณ์ดี ต้องทำยังไง, ทำยังไงให้เด็กอารมณ์ดี, ลูกอารมณ์ไม่ดี, ทารกอารมณ์ไม่ดี

ใคร ๆ ก็อยากให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์ดี ถ้าลูกทารกอารมณ์ดี พัฒนาการสมองจะดีตามไปด้วย ทำให้เฉลียวฉลาดจริงไหม เรามีคำตอบค่ะ

เลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี พัฒนาการสมองจะดีตามไปด้วย... จริงไหม

พัฒนาการทางสมองของลูกขวบปีแรก

สมอง ไม่ใช่แค่เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายเท่านั้น หากแต่ยังเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนผ่าน การคิด การไตร่ตรอง แยกแยะสิ่งผิดถูก อารมณ์ ความรู้สึก และสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ไว้มากมาย

สมองของทารกแรกเกิด เมื่อครบกำหนดคลอดจะมีน้ำหนัก 500 กรัม และมีเซลล์สมองประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ โดยไม่มีการสร้างเพิ่มเติมอีก แต่ด้วยสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่เหมาะสมของพ่อแม่นั่นเอง มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสมองอย่างยิ่ง

เลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี พัฒนาการสมองจะดีตามไปด้วย... จริงไหม

นพ.อุดม เพชรสังหารจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง กล่าวถึงนิยามและอารมณ์ดีว่า

“อารมณ์ดีเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ เมื่อรู้สึกว่าตัวเองรอดปลอดภัยแล้วมนุษย์ถึงจะเรียนรู้ หากไม่รู้สึกว่าปลอดภัย ก็จะไม่รับไม่เรียนรู้อะไรทั้งนั้น เช่นเดียวกับเด็ก การจะทำให้ลูกอารมณ์ดีก็ต้องเริ่มต้นจากแม่ เพราะการแสดงอารมณ์แจ่มใสร่าเริงให้เด็กรับรู้ ถือเป็นสัญญาณหนึ่ง ที่ทำให้เด็กรับรู้ได้ว่าเขาปลอดภัย เหมือนเวลาเราเห็นหมาแยกเขี้ยวกับหมากระดิกหาง ก็รู้ได้ว่าอันไหนคุกคามหรือเป็นมิตร เมื่อเด็กรู้สึกปลอดภัยแล้ว ระบบลิมบิกก็ทำงาน ส่งให้ฮอร์โมนที่เป็นสุขเกิดขึ้น วงจรเกี่ยวกับความสุข (Reward Circuit) ก็ทำงาน พอเด็กมีความสุขการเรียนรู้ก็จะเกิด”

“Safety Need เป็นความต้องการอันสำคัญของเด็ก อย่างบอกว่าเมื่อเขารู้สึกปลอดภัย การเรียนรู้ของเขาก็จะเป็นการเรียนรู้ที่จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นการเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเอง แต่หากไม่มีจะกลายเป็นการเรียนรู้เพียงเพื่อเอาตัวรอดจากอันตรายนั้น แต่จะไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ เหมือนเด็กที่เรียนเก่ง IQ ดี จะกังวลอยู่กับเกรด จะไม่ค่อยได้มองสิ่งรอบตัว มีเพื่อนจะไม่รู้ว่าคนนี้มาจากไหน เป็นคนยังไง แต่จะไปคิดว่าเพื่อนคนนี้จะช่วยเราได้ยังไง มองอยู่แค่นี้ไม่มองเรื่องอื่นๆ เพราะเขาไม่มีความรู้สึกปลอดภัยในตัวเอง”

ด้วยเหตุนี้ นิยามคำว่าอารมณ์ดีของเด็กจึงเปลี่ยนไป จากที่วัดกันจากรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ เปลี่ยนเป็นการสร้างความรู้สึกปลอดภัยอบอุ่น แล้วลูกจะเกิดความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือมิติที่ก่อให้เกิดพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ได้มากกว่า

5 เทคนิคเลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี

  1. นวดให้สบายตัว
    เพียงการลูบไล้หลังอาบน้ำไปตามกล้ามเนื้อช่วงแขนช่วงขา มือ และเท้าของลูกเบาๆ โดยลงน้ำหนักบริเวณอุ้งมือและหัวแม่มือ อาจจะใช้โลชั่น(ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ ไม่เหนียวเหนอะตัว) ด้วยก็ได้ ขณะที่นวดอย่าลืมพูดคุยกับลูกด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน อารมณ์ที่ดีของคุณแม่ด้วย

    การนวดช่วยกระตุ้นให้โลหิตไหลเวียนได้ดี ช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่อนคลาย ลูกจะรู้สึกสงบสุขมากขึ้น และจะรับรู้ได้ถึงความรัก ความอบอุ่นที่ส่งผ่านมา ลูกก็จะอุ่นใจและมั่นใจว่าจะเติบโตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างมีความสุข

  2. ฟังเพลงให้สบายใจ
    การเปิดเพลงจังหวะเบาๆ สบายๆ ให้ลูกฟัง จะช่วยเรียกความสนใจของลูกให้จดจ่ออยู่กับท่วงทำนอง สงบนิ่ง และไม่โยเย อีกทั้งดนตรียังเป็นหนึ่งในหลายวิธีที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของสมอง ทำให้เส้นใยประสาทแตกแขนงมากขึ้น ซึ่งคุณแม่อาจจะร้องให้ลูกฟังเองก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

  3. จัดบ้านเพื่อลูกน้อย
    สภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ดี ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ลูกอารมณ์ดีได้ โดยอยู่ในที่อากศถ่ายเท ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป มีพื้นที่ให้ได้สำรวจ ได้เล่นอย่างสนุกสนานและปลอดภัย โดยเลือกใช้สีให้เหมาะสม เช่น สีส้ม จะสดใสเหมาะแก่การเล่นและเรียนรู้

  4. มาเล่นกันดีกว่า
    ของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูกวัยขวบปีแรกก็คือคุณพ่อคุณแม่ โดยการเล่นแบบง่ายๆ เช่น จ๊ะเอ๋ เก็บของ การเอาของเล่นสุดโปรด ไปวางไว้ตรงหน้าให้ได้เอื้อม ไขว่คว้า เป็นการบริหารกล้ามเนื้อลำตัว แขน ขา และยังช่วยฝึกการใช้ประสาทตาให้สัมพันธ์กับมืออีกด้วย ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมทางร่างกายให้แข็งแรง ความพร้อมของกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่างๆ ไว้สำหรับการเคลื่อนไหว และมีความพร้อมทางอารมณ์ สำหรับการออกสู่โลกกว้างในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นต่อไป

  5. พ่อแม่ก็ต้องอารมณ์ดี
    และมีการแสดงออกต่อลูกอย่างเหมาะสม สัมผัสลูกด้วยความอ่อนโยน พูดจาด้วยน้ำเสียงที่อบอุ่น และมีตอบสนองต่อความต้องการลูก เช่น เมื่อร้องก็มีคนมาโอบอุ้ม เมื่อหิวก็มีคนมาดูแล ลูกก็จะรู้สึกปลอดภัย และพร้อมต่อพัฒนาการต่างๆ ได้ดี

Window of Opportunity หรือหน้าต่างแห่งโอกาสของลูกจะอยู่ในช่วง 6 ปีแรก หากคุณพ่อคุณแม่ตอบสนองลูกได้อย่างเหมาะสม เริ่มต้นแต่เนิ่นๆ และดูแลให้ราบรื่นไปตลอดก็มั่นใจได้ว่า ลูกน้อยจะเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กที่เก่ง ดี และมีความสุขแน่นอน

 

ให้ลูกกินข้าวเอง ก็ฝึก EF ได้

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

เด็กเล็ก ถึงวัยหนึ่งก็ชอบใช้มือหยิบจับอาหารเอง คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งห้ามหรือกลัวลูกทำเลอะเทอะนะคะ ลองให้เขาได้ใช้มือหยิิบจับอาหารเองดูบ้าง แล้วจะรู้ว่าการกินข้าวเองนั้นเป็นความสุขอย่างหนึ่งของลูกค่ะ และที่สำคัญ ลูกจะได้ฝึกทักษะ EF ด้วยค่ะ เช่น
  • จำเพื่อใช้งาน – ลูกจะได้จดจำได้ว่าจาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ หรือช้อนกลางใช้อย่างไร และใช้ทำอะไร เช่น ช้อนใช้ตักข้าว ส้อมใช้ช่วยเขี่ยและจิ้มอาหาร
  • การริเริ่มและลงมือทำ – ลูกได้ฝึกฝนการกินข้าวด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอให้พ่อแม่ป้อน
  • การกำกับตัวเอง– ลูกจะได้รู้กิจวัตรประวันในการกินอาหารว่า เมื่อถึงเวลาจะต้องกินข้าวได้เอง

ถ้าอาหารในแต่ละมื้อปรับเปลี่ยนเสมอ ลูกจะยิ่งได้ใช้ทักษะในการไตร่ตรอง ยืดหยุ่น และวางแผนด้วย เช่น วันนี้กินข้าวใช้ช้อนส้อม พรุ่งกินก๋วยเตี๋ยวที่ต้องใช้ตะเกียบ ลูกจะได้เรียนรู้เครื่องมือและวิธีใหม่ๆ หรือแม้แต่การใช้ช้อนส้อมกินก๋วยเตี๋ยวด้วยวิธีที่ถูกต้องได้เช่นกัน

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะได้เห็นจากการเปิดโอกาสให้ลูกได้กินข้าวด้วยตัวเองแบบไม่กลัวหก ไม่กลัวเลอะ จะทำให้ลูกรู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้น มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของตัวเอง มีความพยายาม มุ่งมั่น ลูกจะรู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ได้ทำกิจวัตรประจำวันง่ายๆ ได้เองเหมือนผู้ใหญ่ การเปิดโอกาสให้ลูกคือประตูบานแรกของการพัฒนา EF เลยนะคะ


 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

ได้เวลาแม่เตรียมลูกสมองไว ให้พร้อมรับมือ โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

5914 1

ได้เวลาแม่เตรียมลูกสมองไว ให้พร้อมรับมือ โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

พ่อแม่ทุกคนต่างอยากให้ลูกสมองไว พัฒนาการดี เติบโตมั่นคงแข็งแรง แต่ทราบมั้ยคะ สิ่งเหล่านี้เราสามารถสร้างให้ลูกได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เลยค่ะ

 

สมองลูกไวตั้งแต่แรกคลอด

ขวบปีแรกของลูกเป็นช่วงเวลาสำคัญมาก ช่วงนี้สมองของลูกจะเติบโตและพัฒนาสูงสุด โดยหลังคลอดเด็กทารกจะมีเซลล์สมองอยู่ประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ และในทุก ๆ วินาทีเซลล์ประสาทเหล่านี้จะทำงานเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งเซลล์สมอง 1 แสนล้านเซลล์นี้จะไม่เพิ่มขึ้นหลังคลอด แต่จะมีแขนงรับ-ส่งข้อมูลและจุดเชื่อมประสาทเพิ่มขึ้น ในช่วงอายุ 2 – 3 ขวบ ซึ่งจะมากกว่าสมองของผู้ใหญ่ประมาณ 2 เท่า1

และปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้สมองของเด็กทารกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นคือกระบวนการสร้างไมอีลิน (Myelination) ยิ่งเซลล์ประสาทมีปลอกไมอีลินมากเท่าไหร่ การเชื่อมโยงข้อมูลในสมองยิ่งรวดมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกลไกที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของลูก ยิ่งพ่อแม่เริ่มให้ลูกเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น เพราะพัฒนาการสมองที่ดีในวัยเด็ก ถือเป็นรากฐานสำคัญในวัยอื่น ๆ

 5914 2

นมแม่กับโภชนาการสร้างลูกสมองไว

การจะสร้างสมองลูกให้ไว พ่อแม่สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ให้ลูกได้รับโภชนาการที่เหมาะสม และนมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดของลูก องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำคุณแม่ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น เพราะในนมแม่มีสารอาหารสำคัญมากกว่า 200 ชนิดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก โดยเฉพาะสฟิงโกไมอีลินที่พบในนมแม่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการสร้างปลอกไมอิลีน ทำให้สมองของทารกสามารถสื่อสารเชื่อมโยงกันได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ลูกเกิดการจดจำและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ไว และยิ่งสมองสามารถเชื่อมโยงผ่านกันด้วยความเร็วสูงเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการกระบวนการเรียนรู้ของลูกสูงมากเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อทักษะการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ของลูกตลอดชีวิต

 

 5914 3

สฟิงโกไมอิลีนเสริมการทำงานของสมองเด็กได้อย่างไร

สฟิงโกไมอีลิน (sphingomyelin) คือไขมันกลุ่มฟอสโฟไลปิด เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างปลอกไมอิลีน พบที่เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทในสมองและพบมากในนมแม่ มีการวิจัยพบว่าปลอกไมอิลีนนั้นมีส่วนช่วยให้สมองสามารถเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด สมองจึงสามารถประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ2 ทำให้ลูกเกิดการเรียนรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ไว

ดังนั้นการที่เด็กทารกดื่มนมแม่ที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่าง สฟิงโกไมอีลินและดีเอชเอ มีปริมาณไมอีลินที่สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่อย่างมีนัยสำคัญ4 โดยสฟิงโกไมอีลินพบมากใน นมแม่และผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ครีม ชีส เป็นต้น

นอกจากโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย การให้ลูกดื่มนมแม่ตั้งแต่แรกคลอดและโภชนาการเมื่อลูกเริ่มทานอาหารมื้อหลัก แล้ว การชวนลูกเล่นและทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ฝึกความจำและทักษะการแก้ปัญหาต่างๆ ตามวัย จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านสมอง การเรียนรู้และการจดจำของลูกได้

เพราะอนาคตไม่แน่ไม่นอน โลกเปลี่ยนแปลงไวกว่าที่คิด การเตรียมพร้อมลูกตั้งแต่เนิ่น ๆ เลี้ยงดูด้วยความรักและเอาใจใส่จะช่วยสร้างรากฐานของลูกให้แข็งแรงมั้นคง สามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสามารถรับมือกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปแค่ไหน ลูกเราจะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพแน่นอน

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเรียนรู้อยากให้ลูกมีพัฒนาการเด็ก สมองไวและพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสฟิงโกไมอีลิน และสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อย เข้าชมได้ที่ S-Mom Club ที่เว็บไซต์ https://www.s-momclub.com/และสามารถสมัครสมาชิกเพื่อปรึกษาทีมพยาบาลผู้เชี่ยวชาญได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

อ้างอิง

1. https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=685

2. Bethesda (MD): National Institutes of Health (US); 2007.

3. Deoni S, 2012.

4. Kar P, et al. Neuroimage. 2021 Aug 1:236:118084.

 

  • 1
  • 2