facebook  youtube  line

ท้องแล้วแท้ง แม่ท้องต้องรู้ว่ามีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ


แท้งลูก, แท้งบุตร, ยุติการตั้งครรภ์, เงินชดเชยแท้งลูก, เงินชดเชย ยุติการตั้งครรภ์, แท้งลูก เบิกค่ารักษาประกันสังคมได้ไหม, ท้องแล้วแท้ง เบิกประกันสังคมได้ไหม, ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง, เงินประกันสังคม, เงินช่วยเหลือแม่ท้อง, สิทธิประโยชน์สำหรับแม่ตั้งครรภ์
คุณแม่ท้องที่ทำประกันสังคมไว้ หากแท้งลูกจะมีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยกรณีแท้งลูก ยุติการตั้งครรภ์ได้ตามกฎหมาย ซึ่งทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

ท้องแล้วแท้ง แม่ท้องต้องรู้ว่ามีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยกรณ๊แท้งบุตร ยุติการตั้งครรภ์จากประกันสังคมได้นะ

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่แท้งลูกมีสิทธิ์ได้รับเงินประกันสังคมนะคะ ทั้งนี้คุณแม่จะต้องเป็นผู้ประกันตนในเงื่อนไขที่กำหนด โดยเงินที่ได้รับคือ เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ซึ่งเป็นสิทธิ์อยู่แล้ว ลองมาดูกันว่าเงื่อนไขในการรับเงินในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์แท้งลูกมีอะไรบ้าง

คำถาม: ผู้ประกันตนหญิงตั้งครรภ์มีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ต่อมาแท้งบุตร ยุติการตั้งครรภ์ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้หรือไม่

คำตอบ: ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรได้ เนื่องจากการตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ไม่ว่าทารกจะมีชีวิตรอดหรือไม่ถือเป็นกรณีคลอดบุตร

คุณแม่สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือ SSO สายด่วน:1506 ค่ะ

-------------------------------------------------------------------------------------------


ขอบขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และหากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ  SSO สายด่วน 1506 หรือสามารถคลิกรูปภาพด้านล่างเพื่อดูสิทธิที่คุณพ่อคุณแม่ต้องได้รับจากประกันสังคมในกรณีอื่นๆ กันค่ะ

************************************************

เช็กทุกสิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีลูกเล็ก เงินสงเคราะห์บุตร ได้ที่นี่

  1. ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง รับค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,000 บาท 
  2. คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่รู้และเคลมสิทธิ์นี้กันแล้วหรือยัง 
  3. มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน 
  4. รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท 
  5. พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม 
  6. แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน 
  7. คลอดลูกคนละร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดจากประกันสังคมได้ไหม 
  8. ท้องแล้วแท้ง มีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ 

ประกันสังคมเหมาจ่ายค่าคลอดให้แม่ท้อง 15,000 บาท และค่าฝากครรภ์ 1,500 บาท

สิทธิ์ประกันสังคมแม่ตั้งครรภ์, ประกันสังคมคนท้อง, ค่าฝากครรภ์, ค่าฝากครรภ์เท่าไหร่, ค่าฝากครรภ์ 1,500, ประกันสังคม ค่าคลอดลูก, ค่าคลอดลูก 15,000, เบิกค่าคลอด ประกันสังคม ได้กี่ครั้ง, เบิกค่าคลอด ประกันสังคม ที่ไหน ยังไง, แบ่งจ่าย ค่าฝากครรภ์
 

 

แม่ท้องที่มีประกันสังคมสามารถเบิกค่าคลอด ค่าฝากครรภ์ได้เท่าไหร่ ได้ทุกครั้งที่ตั้งครรภ์ไหม ได้ครั้งเดียวทั้งก้อนหรือแบ่งจ่าย มาเช็กกันตรงนี้ค่ะ

ประกันสังคมเหมาจ่ายค่าคลอดให้แม่ท้อง 15,000 บาท และค่าฝากครรภ์ 1,500 บาท

แต่เดิมสำนักงานประกันสังคมมีการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีฝากครรภ์และคลอดบุตร ให้แก่ผู้ประกันตนในการฝากครรภ์ 3 ครั้ง 1,000 บาท คลอดลูก 13,000 บาท ล่าสุดได้มีการปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์และค่าบุตรให้คุณแม่ได้ชื่นใจแล้วค่ะ โดยสิทธิประโยชน์ที่แม่ท้องจะได้รับเพิ่มเติมคือ ค่าตรวจ-ฝากครรภ์ในอัตราเหมาจ่าย 5 ครั้ง 1500 บาท ดังนี้ค่ะ

ประกันสังคมค่าตรวจและฝากครรภ์

ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท

ครั้งที่ 2 อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท

ครั้งที่ 3 อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท

ครั้งที่ 4 อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท

ครั้งที่ 5 อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท

ประกันสังคมค่าคลอดบุตร

สำหรับแนวทางการขอรับประโยชน์ทดแทนคุณพ่อคุณแม่สามารถใช้หลักฐานการเข้ารับบริการฝากครรภ์จากสถานพยาบาลที่ไปใช้บริการ ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในส่วนค่าตรวจ และรับฝากครรภ์เพิ่มเติมได้โดยไม่ต้องรอให้มีการคลอดบุตรค่ะ นอกจากนี้สำนักงานประกันสังคมยังได้ปรับเพิ่มค่าคลอดบุตร จาก 13,000 บาท เป็น 15,000 บาท

โดยผู้ประกันตนไปคลอดบุตร ที่โรงพยาบาลใดก็ได้ สามารถเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราใหม่จำนวน 15,000 บาท ซึ่งสามารถใช้สิทธิ์นี้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

 

************************************************

เช็กทุกสิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีลูกเล็ก เงินสงเคราะห์บุตร ได้ที่นี่
  1. ประกันสังคมเหมาจ่ายค่าคลอดให้แม่ท้อง 15,000 บาท และค่าฝากครรภ์ 1,500 บาท
  2. คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 15,000 บาท คุณแม่รู้และเคลมสิทธิ์นี้กันแล้วหรือยัง 
  3. มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน 
  4. รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท 
  5. พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม 
  6. แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน 
  7. คลอดลูกคนละร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดจากประกันสังคมได้ไหม 
  8. ท้องแล้วแท้ง มีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ 

พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม

พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส, ไม่จดทะเบียนสมรส ได้เงินสงเคราะห์บุตรไหม, ไม่จดทะเบียน ได้เงินค่าคลอดไหม, ค่าทำคลอด, เงินสงเคราะห์บุตร, ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง, เงินช่วยเหลือสำหรับแม่ท้อง, สิทธิ์ประโยชน์สำหรับแม่ตั้งครรภ์
ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่ยังไม่จดทะเบียนสมรส ยังมีสิทธิตามกฏหมายที่จะเบิกค่าคลอดได้ แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขต่อไปนี้ค่ะ

พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม

พ่อแม่ทำงานส่งเงินเข้าประกันสังคมทั้งคู่ แต่อยู่กินกันแบบไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อคลอดลูกยังมีสิทธิ์ได้รับค่าเหมาจ่ายคลอดบุตร เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร และเงินสงเคราะห์บุตรอยู่ไหม เพราะตามข้อกำหนดที่ระบุต้องต้องยื่นสำเนาทะเบียนสมรสเพื่อขอรับเงินนี้ด้วย

คำถาม: สามีภรรยาอยู่กินกันโดยเปิดเผย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันภรรยาสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้หรือไม่ กรณีที่สามีเป็นผู้ประกันตนและมีภรรยาเพียงคนเดียว

คำตอบ: สามารถเบิกเงินดังกล่าวได้ โดยในการยื่นคำขอให้ใช้หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสแทนทะเบียนสมรส

-------------------------------------------------------------------------------------------

ขอบขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และหากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ  SSO สายด่วน 1506 หรือสามารถคลิกรูปภาพด้านล่างเพื่อดูสิทธิที่คุณพ่อคุณแม่ต้องได้รับจากประกันสังคมในกรณีอื่นๆ กันค่ะ 

************************************************

เช็กทุกสิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีลูกเล็ก เงินสงเคราะห์บุตร ได้ที่นี่

  1. ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง รับค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,000 บาท 
  2. คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่รู้และเคลมสิทธิ์นี้กันแล้วหรือยัง 
  3. มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน 
  4. รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท 
  5. พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม 
  6. แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน 
  7. คลอดลูกคนละร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดจากประกันสังคมได้ไหม 
  8. ท้องแล้วแท้ง มีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ 

มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน

ค่าคลอด, เงินชดเชยลาคลอด, ลาคลอด เงินเดือน, ลาคลอด เงินประกันสังคม, ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง, สิทธิ์ประโยชน์สำหรับแม่ตั้งครรภ์, เงินประกันสังคม, ชดเชยการคลอด

แม่ลาคลอด 3 เดือน มีสิทธิ์ได้เงิน 50% ของเงินเดือนจากประกันสังคมด้วยนะ ต้องทำยังไงให้ได้เงินช่วงลาคลอด เรามีคำแนะนำค่ะ

แม่ท้องลาคลอด 3 เดือน รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน

นอกจากสิทธิ์ในการเบิกค่าคลอดลูกจากประกันสังคม 15,000 บาท แล้ว คุณแม่ลาคลอด 98 วันก็ยังมีสิทธิ์รับเงินจากประกันสังคมได้อีก 50% จากฐานเงินเดือนโดยเฉลี่ยในช่วงลาคลอดด้วยนะคะ เรามาดูกันว่าการจะรับสิทธิ์รับเงินช่วงลาคลอดจากประกันสังคมมีหลักเกณฑ์อะไร ต้องใช้เอกสารอะไร ยื่นที่ไหน และคำนวณอย่าางไร ไปดูกันเลย

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร

  1. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
  2. สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน สำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิ์เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน

วิธีคำนวณเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดลูก

  1. คำนวณจากค่าจ่ายเฉลี่ย คือ ผู้ที่มีฐานเงินเดือนตั้งแต่ 1,650 บาท - 15,000 บาท
  2. นำเงินเดือนที่อยู่ในฐานข้อ 1 หาร 2 (50% ของเงินเดือน) จากนั้นคูณ 3 (3 เดือน หรือ 90 วัน)

ตัวอย่าง: เงินเดือน 15,000/2 = 7,500 x 3 = 22,500 บาท

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  3. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้

           1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
           2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
           3) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
           4) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
           5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
           6) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
           7) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
           8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย   
           9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
         10) ธนาคารออมสิน 
         11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

สถานที่ยื่นเรื่องการเบิกค่าคลอดลูกจากประกันสังคม

  • ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ เช่น ขอรับประโยชน์ทดแทน หรือ การสั่งจ่ายกรณีพิเศษ คุณแม่สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือ SSO สายด่วน:1506 ค่ะ

************************************************

เช็กทุกสิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีลูกเล็ก เงินสงเคราะห์บุตร ได้ที่นี่

  1. ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง รับค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,000 บาท 
  2. คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่รู้และเคลมสิทธิ์นี้กันแล้วหรือยัง 
  3. มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน 
  4. รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท 
  5. พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม 
  6. แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน 
  7. คลอดลูกคนละร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดจากประกันสังคมได้ไหม 
  8. ท้องแล้วแท้ง มีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ 

รวมสิทธิประโยชน์ที่คนมีลูก แม่ท้องต้องเบิกจ่ายได้จากประกันสังคม

ประกันสังคมคนท้อง, ประกันสังคมค่าคลอด, ประกันสังคมค่าตรวจครรภ์, เงินสงเคราะห์บุตร, สิทธิ์ลาคลอด, เบิกค่าคลอด, ชดเชยค่าแท้งลูก, ลาคลอด 98 วัน, ค่าคลอด 15,000 บาท, เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท, ค่าฝากครรภ์, ค่าตวรจครรภ์

แม่ท้อง แม่ที่มีลูกจะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรจากประกันสังคมบ้าง ค่าคลอด ค่าตรวจครรภ์ เงินสงเคราะห์บุตร เบิกอย่างไร ได้เมื่อไหร่ เรามีคำตอบค่ะ

5 สิทธิประโยชน์ที่คนมีลูก แม่ท้องต้องเบิกจ่ายได้จากประกันสังคม

1. ประกันสังคมจ่ายสิทธิประโยชน์ค่าตรวจ-ฝากครรภ์ 1,500 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม: ประกันสังคม จ่ายค่าตรวจ ฝากครรภ์ 1,500 บาท

 

2. ได้เงินสงเคราะห์บุตร 800 ต่อเดือน จากประกันสังคมตั้งแต่ลูกแรกเกิดไปจบครบ 6 ปี  รวมทั้งหมด 43,200 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม: รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท

3. สิทธิลาเพื่อคลอดบุตร 98 วัน จากเดิมมีสิทธิลา 90 วัน และยังได้รับค่าจ้างระหว่างลา 45 วันจากนายจ้าง (ตัวอย่าง : แม่เงินเดือน 15,000 + 7,500 = 22,500 บาท)
รายละเอียดเพิ่มเติม: แม่ท้องเฮ ประกันสังคมให้สิทธิ์ลาคลอด 98 วัน

4. คุณแม่ลาคลอด 90 วัน มีสิทธิ์รับเงินจากประกันสังคมได้อีก 50% จากฐานเงินเดือนโดยเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (ตัวอย่าง : แม่เงินเดือน 15,000/2 = 7,500 x 3 = 22,500 บาท)
รายละเอียดเพิ่มเติม: ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน

5. คุณแม่สามารถเบิกค่าคลอดลูกจากประกันสังคมได้ 15,000 บาท
(ส่วนกรณีแท้งบุตร มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรได้ เนื่องจากการตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์)
รายละเอียดเพิ่มเติม: คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 15,000 บาท

หากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมที่จะได้รับ สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมประจำจังหวัด หรือ สายด่วน 1506 นะคะ

 

รวมสิทธิ์ฟรี! จากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่แม่ท้องใช้ได้โดยไม่ต้องจ่ายสักบาท

ประกันสุขภาพสำหรับแม่ตั้งครรภ์, บัตรทองสำหรับแม่ตั้งครรภ์, สิทธิ์ประกันสุขภาพของแม่ท้อง, บัตร 30 บาท คนท้อง, ประกันสุขภาพถ้วนหน้า คนท้อง, แม่ท้องตรวจครรภ์ฟรี, สิทธิ์ตามกฎหมายของแม่ตั้งครรภ์, แม่ท้องตรวจอะไรฟรีได้บ้าง, คัดกรองดาวนืซินโดรม, คัดกรองธาลัสซีเมีย, คลอดฟรี บัตรทอง

บัตรทองหรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) แม่ท้องสามารถนำไปใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลได้หลายสิทธิ์เลยค่ะ สิทธิ์บัตรทองสำหรับคนท้องทำอะไรได้บ้าง เรารวมมาให้แล้วค่ะ

รวมสิทธิ์ฟรี! จากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่แม่ท้องใช้ได้โดยไม่ต้องจ่ายสักบาท

 แม่ท้องได้ใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลฟรีด้วยบัตรทอง! โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

  1. การฝากครรภ์ ไม่จำกัดจำนวนครั้งขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ฝากครรภ์พิจารณา 
  2. ตรวจช่องปากและฟัน
  3. ตรวจยืนยัน “โลหิตจางธาลัสซีเมีย” ในหญิงตั้งครรภ์และสามี
  4. ตรวจซิฟิลิส HIV ไวรัสตับอักเสบบี
  5. ตรวจคัดกรอง “ดาวน์ซินโดรม” ในหญิงตั้งครรภ์ อายุ 35 ปีขึ้นไป
  6. ตรวจคัดกรอง “ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์” ในเด็กแรกเกิด
  7. การป้องกัน “การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย”
  8. ได้รับยาต้าน HIV (กรณีแม่ท้องติดเชื้อ HIV)
  9. คลอดฟรี ทั้งธรรมชาติและผ่าคลอด ในโรงพยาบาลของรัฐ (สิทธิ์คลอดฟรีนี้สำหรับคุณแม่ที่ไม่ได้ทำประกันสังคมหรือเป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ)
  10. การคุมกำเนิดกึ่งถาวร การใส่ห่วงอนามัย หรือฝังยาคุมกำเนิด ในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี
  11. บริการคุมกำเนิดกึ่งถาวร การใส่ห่วงอนามัย หรือฝังยาคุมกำเนิด ในหญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป กรณีหลังยุติการตั้งครรภ์
  12. การตรวจคัดกรอง “มะเร็งปากมดลูก”
  13. แม่ท้องที่อายุครรภ์มากกว่า 4 เดือนขึ้นไป และเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ยังมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลด้วยค่ะ
  14. สามีของแม่ท้องได้สิทธิตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียและซิฟิลิส
  15. ได้รับการตรวจหลังคลอด

 

วิธีการสมัครบัตรทองสำหรับแม่ตั้งครรภ์

  1. มีสัญชาติไทย
  2. มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
  3. ไม่มีสิทธิ์ประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ ได้แก่ สิทธิ์ตามกฎหมายประกันสังคม สิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ / พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือ สิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการการเมือง

วิธีสมัครบัตรทอง บัตรประกันสุขภาพ

  1. ลงทะเบียนด้วยตนเอง
    1. กรณีต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 – 12
    2. กรณีในกรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กทม. จุดรับลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่สำนักงานเขต 19 เขตของกรุงเทพมหานคร สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

  2. ลงทะเบียนทางโทรศัพท์ ตรวจสอบสิทธิอัตโนมัติ โทร.1330 กด 2 ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กด # กดโทรออก

  3. ลงทะเบียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ สปปช. www.nhso.go.th หรือ app สปสช. (หากลูกอายุไม่เกิน 5 ปี พ่อแม่สามารถลงทะเบียนแทนได้)

เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนบัตรทอง

  1. บัตรประจำตัวประชาชน ในกรณีที่ลูกอายุต่ำกว่า 15 ปี ถ้าให้ใช้ใบสูติบัตร หรือใบเกิดแทน

  2. หนังสือรับรองการพักอาศัย (กรณีที่อยู่ไม่ตรงตามบัตรประจำตัวประชาชน) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าตนเองนั้นอาศัยอยู่จริง เช่น ใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟ สัญญาเช่าที่พัก ฯลฯ

  3. แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ขอได้ ณ จุดรับลงทะเบียน)

อยากย้ายสิทธิบัตรทองทำได้ไหม

สามารถทำได้โดยการการขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ หรือ การย้ายสิทธิ์การรักษา สามารถทำได้ 4 ครั้งต่อปีงบประมาณ วิธีการคือต้องเตรียมหลักฐานเหมือนกับ เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนบัตรทองค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

************************************************

เช็กทุกสิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีลูกเล็ก เงินสงเคราะห์บุตร ได้ที่นี่
  1. ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง รับค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,000 บาท 
  2. คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่รู้และเคลมสิทธิ์นี้กันแล้วหรือยัง 
  3. มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน 
  4. รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท 
  5. พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม 
  6. แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน 
  7. คลอดลูกคนละร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดจากประกันสังคมได้ไหม 
  8. ท้องแล้วแท้ง มีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ 

เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินทุกเดือน

เงินสงเคราะห์บุตร, เงินช่วยเหลือบุตร, เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม, สงเคราะห์บุตร 800 บาท, เงินช่วยเหลือบุตร 800 บาท, เงินสงเคราะห์ประกันสังคม, เบิกเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคม, เบี้ยสงเคราะห์บุตร, ประกันสังคม, สิทธิ์ประกันสังคมแม่ท้อง, สิทธิ์ประกันสังคมแม่ที่มีลูก
การยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ยื่นที่ไหน และจ่ายย้อนหลังได้ไหมสำหรับคนที่ยื่นช้า เรามีคำตอบค่ะ

เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินทุกเดือน

สำหรับคุณแม่ที่ใช้สิทธิ์ประกันสังคมอยู่ เมื่อคลอดลูกแล้วอย่าลืมยื่นเรื่องขอสิทธิ์ในการรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800  บาทจากประกันสังคมตั้งแต่ลูกแรกเกิดไปจบครบ 6 ปีนะคะ เรามาดูกันว่าคุณแม่ที่ได้รับสิทธิ์นี้ต้องอยู่ในเงื่อนไขอะไร ต้องมีเอกสารอะไรบ้างเพื่อเตรียมตัวกันให้พร้อมค่ะ และเรายังมีคำถามที่พบบ่อยๆ เกี่ยวกับเงินสงเคราะห์บุตรที่พ่อแม่ต้องรู้ด้วย เริ่ม!!!

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับเงินสงเคราะห์บุตร

  1. ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
    • มาตรา 33 คือ ผู้ที่ทำงานมีรายได้ประจำ โดยลูกจ้างและนายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคมคนละ 5% ของฐานเงินเดือนเฉลี่ย
    • มาตรา 39 คือ เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงานเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)
  2. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิ์ที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
  3. ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
  4. อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
  2. กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิ์แล้วและประสงค์จะใช้สิทธิ์สำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิ์บุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
  3. กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ์
    • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด
  4. กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ์
    • สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
    • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)
  5. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
  6. กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด
  7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 11 ธนาคาร ดังนี้
             1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
             2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
             3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
             4) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
             5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
             6) ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
             7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
             8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
             9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)
            10) ธนาคารออมสิน
            11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรห์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  8. เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

ขั้นตอนการยื่นเรื่องเพื่อรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร

  1. ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
  3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
  4. พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

สถานที่ยื่นเรื่องรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)  

-------------------------------------------------------------------------------------------


ขอบขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และหากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ  SSO สายด่วน 1506 หรือสามารถคลิกรูปภาพด้านล่างเพื่อดูสิทธิที่คุณพ่อคุณแม่ต้องได้รับจากประกันสังคมในกรณีอื่นๆ กันค่ะ

************************************************

เช็กทุกสิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีลูกเล็ก เงินสงเคราะห์บุตร ได้ที่นี่

  1. ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง รับค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,000 บาท 
  2. คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่รู้และเคลมสิทธิ์นี้กันแล้วหรือยัง 
  3. มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน 
  4. เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินทุกเดือน
  5. พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม 
  6. แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน 
  7. คลอดลูกคนละร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดจากประกันสังคมได้ไหม 
  8. ท้องแล้วแท้ง มีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ 

แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน


ค่าคลอด, เงินสงเคราะห์บุตร, ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง, เงินช่วยเหลือสำหรับแม่ท้อง, สิทธิประโยชน์ของแม่ตั้งครรภ์, เงินชดเชยหยุดงาน, เงินประกันสังคม
แม่ทำงานฟรีแลนซ์แต่ยังจ่ายเงินประกันสังคมแบบสมัครใจ จะได้ค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรไหม เรามีคำตอบค่ะ

แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน

คุณแม่เคยทำงานประจำลาออกแล้ว คุณแม่ทำงานอิสระ ทำงานฟรีแลนซ์แต่ยังสมัครใจที่จะจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคมจะได้สิทธิ์อะไรเกี่ยวกับการคลอดลูกและเงินชดเชยช่วงหยุดงานเหมือนคุณแม่ที่ทำงานประจำและจ่ายเงินประกันสังคมปกติหรือไม่ เรามีคำตอบค่ะ

คุณแม่ที่ลาออกจากงานหรือทำงานอิสระโดยสมัครใจจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคมเองเราจะเรียกว่า "ผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39" ภายใต้เงื่อนไขดังนี้

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน
  2. ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม  

 การยื่นใบสมัคร

  1. ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน
  2. สถานที่ยื่นใบสมัคร
    1. กรุงเทพฯ - ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่
    2. ภูมิภาค - ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)  

หลักฐานการสมัครมาตรา 39

  1. แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
  2. บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

เงินสมทบที่ต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคมเดือนละ 432 บาทต่อเดือน

  • เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน) โดยจ่ายได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมแบบส่งเงินสมทบฯ (สปส. 1-11)
     
  • ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33

คุณแม่ผู้สมัครมาตรา 39 มีสิทธิ์รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเท่าไหร่

  1. รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาท
  2. รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของเงินเดือนเฉลี่ยของผู้สมัครมาตรา 39 เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน
    คือ 4,800/2 = 2,400 x 3 =7,200 บาท
-------------------------------------------------------------------------------------------


ขอบขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และหากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ  SSO สายด่วน 1506 หรือสามารถคลิกรูปภาพด้านล่างเพื่อดูสิทธิที่คุณพ่อคุณแม่ต้องได้รับจากประกันสังคมในกรณีอื่นๆ กันค่ะ

************************************************

เช็กทุกสิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีลูกเล็ก เงินสงเคราะห์บุตร ได้ที่นี่

  1. ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง รับค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,000 บาท 
  2. คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่รู้และเคลมสิทธิ์นี้กันแล้วหรือยัง 
  3. มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน 
  4. รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท 
  5. พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม 
  6. แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน 
  7. คลอดลูกคนละร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดจากประกันสังคมได้ไหม 
  8. ท้องแล้วแท้ง มีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ