facebook  youtube  line

คลอดลูกคนละ รพ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดบุตร 15,000 ได้ไหม

คลอดลูกคนละโรงพยาบาลประกันสังคม, คลอดลูกนอกโรงพยาบาลประกันสังคม, คลอดลูก โรงพยาบาลที่ไม่ใช่ประกันสังคม, คลอดลูกคนละโรงพยาบาล ได้ค่าคลอดไหม, ค่าทำคลอด, ค่าทำคลอด 15, 000 บาท, ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง, เงินประกันสังคม, สิทธิประโยชน์ของแม่ตั้งครรภ์, คลอดลูกโรงพยาบาลประกันสังคม

แม่ท้องมีประกันสังคมไว้กับโรงพยาบาลหนึ่ง แต่ต้องไปคลอดอีกโรงพยาบาลหนึ่งที่ไม่ได้ทำประกันสังคมไว้ แบบนี้คุณแม่ยังมีสิทธิ์เบิกค่าคลอดบุตรเหมายจ่ายจากประกันสังคมได้ไหม

คลอดลูกคนละร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดบุตร 15,000 จากประกันสังคมได้ไหม

คำถาม: กรณีฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ์ได้หรือไม่ และยังเบิกค่าคลอดบุตร 15,000 บาทได้ไหม

คำตอบ: สามารถฝากครรภ์และคลอดบุตร ณ โรงพยาบาลใดก็ได้ที่สะดวก โดยสำรองเงินจ่ายไปก่อน แล้วนำเอกสารหลักฐาน มายื่นเรื่องเบิกค่าคลอดบุตรได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา  

คุณแม่สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือ SSO สายด่วน:1506 ค่ะ
 

-------------------------------------------------------------------------------------------

ขอบขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และหากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ  SSO สายด่วน 1506 หรือสามารถคลิกรูปภาพด้านล่างเพื่อดูสิทธิที่คุณพ่อคุณแม่ต้องได้รับจากประกันสังคมในกรณีอื่นๆ กันค่ะ

 

ท้องแล้วแท้ง แม่ท้องต้องรู้ว่ามีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ


แท้งลูก, แท้งบุตร, ยุติการตั้งครรภ์, เงินชดเชยแท้งลูก, เงินชดเชย ยุติการตั้งครรภ์, แท้งลูก เบิกค่ารักษาประกันสังคมได้ไหม, ท้องแล้วแท้ง เบิกประกันสังคมได้ไหม, ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง, เงินประกันสังคม, เงินช่วยเหลือแม่ท้อง, สิทธิประโยชน์สำหรับแม่ตั้งครรภ์
คุณแม่ท้องที่ทำประกันสังคมไว้ หากแท้งลูกจะมีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยกรณีแท้งลูก ยุติการตั้งครรภ์ได้ตามกฎหมาย ซึ่งทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

ท้องแล้วแท้ง แม่ท้องต้องรู้ว่ามีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยกรณ๊แท้งบุตร ยุติการตั้งครรภ์จากประกันสังคมได้นะ

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่แท้งลูกมีสิทธิ์ได้รับเงินประกันสังคมนะคะ ทั้งนี้คุณแม่จะต้องเป็นผู้ประกันตนในเงื่อนไขที่กำหนด โดยเงินที่ได้รับคือ เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ซึ่งเป็นสิทธิ์อยู่แล้ว ลองมาดูกันว่าเงื่อนไขในการรับเงินในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์แท้งลูกมีอะไรบ้าง

คำถาม: ผู้ประกันตนหญิงตั้งครรภ์มีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ต่อมาแท้งบุตร ยุติการตั้งครรภ์ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้หรือไม่

คำตอบ: ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรได้ เนื่องจากการตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ไม่ว่าทารกจะมีชีวิตรอดหรือไม่ถือเป็นกรณีคลอดบุตร

คุณแม่สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือ SSO สายด่วน:1506 ค่ะ

-------------------------------------------------------------------------------------------


ขอบขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และหากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ  SSO สายด่วน 1506 หรือสามารถคลิกรูปภาพด้านล่างเพื่อดูสิทธิที่คุณพ่อคุณแม่ต้องได้รับจากประกันสังคมในกรณีอื่นๆ กันค่ะ

************************************************

เช็กทุกสิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีลูกเล็ก เงินสงเคราะห์บุตร ได้ที่นี่

  1. ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง รับค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,000 บาท 
  2. คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่รู้และเคลมสิทธิ์นี้กันแล้วหรือยัง 
  3. มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน 
  4. รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท 
  5. พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม 
  6. แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน 
  7. คลอดลูกคนละร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดจากประกันสังคมได้ไหม 
  8. ท้องแล้วแท้ง มีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ 

พ่อแม่ตกงาน ว่างงาน ลาออก ลูกยังได้รับเงินสงเคราะห์บุตรไหม

เงินสงเคราะห์บุตร, เงินอุดหนุนเด็ก, เช็ค เงิน สงเคราะห์ บุตร, เงินสงเคราะห์เด็ก ประกันสังคม, เงินอุดหนุนเด็ก พม., เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท, เงินอุดหนุนเด็ก 600, ตกงาน ว่างงาน ได้เงินสงเคราะห์บุตรไหม, ตกลงาน ว่างงาน ได้เงินอุดหนุนเด็ดไหม, ลาออก เงินอุดหนุนเด็ก เงินสงเคราะห์บุตร, ผู้ประกันตนมาตรา 33 39, เงิน สงเคราะห์ บุตร กรณี ว่างงาน

เมื่อพ่อแม่ตกงาน ว่างงาน ลาออก ซึ่งพ้นจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และไม่ได้ส่งเงินสบทบ จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรต่อค่ะ

พ่อแม่ตกงาน ว่างงาน ลาออก ลูกยังได้รับเงินสงเคราะห์บุตรไหม

พ่อแม่ที่ทำงานและเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เมื่อตกงาน ลาออก โดยไม่ได้ส่งเงินสบทบต่อ จะถือว่าหมดสิทธิ์ในการรับเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมค่ะ แต่หากพ่อแม่ได้งานใหม่ก็สามารถยื่นเรื่องและส่งเงินสมทบเพื่อรับสิทธิ์เงินสงเคราะห์บุตรต่อได้ทันที

พ่อแม่เปลี่ยนมาทำงานอิสระ ยังส่งเงินสมทบเพื่อรับสิทธิ์ประกันสังคมและเงินสงเคราะห์บุตรได้ไหม

ทำได้ค่ะ เรายังสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจ มาตรา 39 ได้ โดยส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท เราก็จะได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองใน 6 กรณี ได้แก่

  • ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย
  • ทุพพลภาพ
  • ตาย
  • คลอดบุตร
  • สงเคราะห์บุตร
  • ชราภาพ

พ่อแม่ที่ต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถดาวน์โหลดเอกสารและยื่นได้ที่เว็บไซต์ประกันสังคมค่ะ

พ่อแม่ตกงาน ว่างงาน ลาออก ยังได้รับเงินอุดหนุนเด็กไหม

เงินอุดหนุนเด็กคือ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมความมั่นคงของมนุษย์ ที่รัฐจะช่วยออกค่าเลี้ยงดูบุตรให้คนละ 600 บาทต่อเดือน จนเด็กมีอายุถึง 6 ขวบ โดยมีเงื่อนไขว่า

  • เด็กต้องมีสัญชาติไทย
  • เด็กต้องเกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป ได้รับเงินจนกว่าจะอายุครบ 6 ปี
  • ครอบครัวเด็กต้องมีรายได้น้อยเมื่อหารจำนวนคนทั้งหมด รายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี
  • ผู้ปกครองที่รับอุปการะมาก็สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ 
  • บุคลากร เจ้าหน้าที่รัฐ รายได้ไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคนต่อปี ก็สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ 
  • เด็กต้องอาศัยอยู่กับผู้รับสิทธิ์เท่านั้น 
  • ระหว่างตั้งครรภ์จะไม่สามารถลงทะเบียนได้ ต้องรอคลอดก่อนเท่านั้น 

ดังนั้น หากพ่อแม่ที่ลาออกจากงาน ตกงาน และทำอาชีพอิสระที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์นี้ได้ค่ะ โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารยื่นของสิทธิ์ได้ที่เว็บไซต์โครงการค่ะ >>> https://csg.dcy.go.th

พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม

พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส, ไม่จดทะเบียนสมรส ได้เงินสงเคราะห์บุตรไหม, ไม่จดทะเบียน ได้เงินค่าคลอดไหม, ค่าทำคลอด, เงินสงเคราะห์บุตร, ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง, เงินช่วยเหลือสำหรับแม่ท้อง, สิทธิ์ประโยชน์สำหรับแม่ตั้งครรภ์
ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่ยังไม่จดทะเบียนสมรส ยังมีสิทธิตามกฏหมายที่จะเบิกค่าคลอดได้ แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขต่อไปนี้ค่ะ

พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม

พ่อแม่ทำงานส่งเงินเข้าประกันสังคมทั้งคู่ แต่อยู่กินกันแบบไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อคลอดลูกยังมีสิทธิ์ได้รับค่าเหมาจ่ายคลอดบุตร เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร และเงินสงเคราะห์บุตรอยู่ไหม เพราะตามข้อกำหนดที่ระบุต้องต้องยื่นสำเนาทะเบียนสมรสเพื่อขอรับเงินนี้ด้วย

คำถาม: สามีภรรยาอยู่กินกันโดยเปิดเผย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันภรรยาสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้หรือไม่ กรณีที่สามีเป็นผู้ประกันตนและมีภรรยาเพียงคนเดียว

คำตอบ: สามารถเบิกเงินดังกล่าวได้ โดยในการยื่นคำขอให้ใช้หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสแทนทะเบียนสมรส

-------------------------------------------------------------------------------------------

ขอบขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และหากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ  SSO สายด่วน 1506 หรือสามารถคลิกรูปภาพด้านล่างเพื่อดูสิทธิที่คุณพ่อคุณแม่ต้องได้รับจากประกันสังคมในกรณีอื่นๆ กันค่ะ 

************************************************

เช็กทุกสิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีลูกเล็ก เงินสงเคราะห์บุตร ได้ที่นี่

  1. ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง รับค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,000 บาท 
  2. คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่รู้และเคลมสิทธิ์นี้กันแล้วหรือยัง 
  3. มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน 
  4. รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท 
  5. พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม 
  6. แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน 
  7. คลอดลูกคนละร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดจากประกันสังคมได้ไหม 
  8. ท้องแล้วแท้ง มีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ 

รวบตึงมาตอบ 10 คำถามเรื่องเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาทที่พ่อแม่อยากรู้มากที่สุด

เงินสงเคราะห์บุตร, เงินช่วยเหลือบุตร, เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม, สงเคราะห์บุตร 400 บาท, เงินช่วยเหลือบุตร 400 บาท, เงินสงเคราะห์ประกันสังคม 

รวบตึงมาตอบ 10 คำถามเรื่องเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาทที่พ่อแม่อยากรู้มากที่สุด

คุณพ่อคุณแม่ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาทจากประกันสังคมกันแล้วหรือยังเอ่ย ตอนนี้เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคมให้เพิ่มเป็น 800 บาท บางคนอาจจะกำลังยื่นเรื่อง บางคนงงมากเพราะตัวเองไม่ตรงตามเงื่อนไขหลักเลยยังไม่ยื่น มาค่ะ มาเคลียร์ทุกความสงสัย ทุกปัญหาเรื่องการยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ทดแทนเงินสงเคราะห์บุตรที่พ่อแม่อยากรู้และถามมากที่สุด เริ่ม!!!

10 คำถามเรื่องเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาทที่พ่อแม่อยากรู้มากที่สุด
  1. ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วกี่เดือน จึงจะใช้สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรได้

คำตอบ: ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิต่อเมื่อได้มีการนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่ได้รับสิทธิ


  1. สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรจ่ายให้บุตรที่มีอายุกี่ปี

คำตอบ: ผู้ประกันตนสามารถขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์


  1. กรณีเป็นผู้ประกันตนทั้งสามีและภรรยา สามารถใช้สิทธิสงเคราะห์บุตรทั้ง 2 ฝ่าย ได้หรือไม่

คำตอบ: สามารถใช้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น 


  1. บุตรบุญธรรมสามารถนำมายื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้หรือไม่

คำตอบ: บุตรบุญธรรมไม่สามารถนำมาเบิกสงเคราะห์บุตรได้


  1. ผู้ประกันตนมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตรได้กี่ครั้ง

คำตอบ: ใช้สิทธิเบิกได้คราวละไม่เกิน 3 คน 


  1. ถ้าผู้ประกันตนมีบุตรอายุ 3 ปี แต่ไม่ได้ยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์บุตร สามารถยื่นขอรับเงินย้อนหลังได้หรือไม่  สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายย้อนหลังให้หรือไม่ / อย่างไร

คำตอบ: การเบิกสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตรทางสำนักงานประกันสังคมจะต้องทำการตรวจสอบ การนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน  หากมีการนำส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนบุตรคลอด จึงจะมีการย้อนหลังให้ไม่เกิน 1 ปี  ตามที่กฎหมายกำหนด ยกเว้น กรณีผู้ประกันตนมิได้นำส่งเงินสมทบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินให้ผู้ประกันตน  ณ วันที่สิทธิเกิดขึ้นเท่านั้น


  1. พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ยังสามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมได้ไหม

คำตอบ: สำหรับคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนอยู่แล้ว และเป็นผู้ยื่นเรื่อง สามารถยื่นขอเงินสงเคราะห์บุตรได้ด้วยการใช้หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสแทนทะเบียนสมรส สำหรับคุณพ่อเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้ว และเป็นผู้ยื่นเรื่อง จะต้องมีหนังสือรับรองบุตรก่อน ขอขอรับสิทธิ์สงเคราะห์บุตร ต้องไปที่เขต/อำเภอที่เราอาศัยครับ แล้วร้องขอรับรองบุตรก่อน โดยยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต และใช้เอกสารดังนี้ บัตรประจำตัวประชาชน ของบิดา มารดา สูติบัตรของบุตร / พยานบุคคลจำนวน 2 คน


  1. พ่อหรือแม่เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 สามารถใช้สิทธิเบิกเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมได้ไหม

คำตอบ: ได้ แต่ต้องเป็นในเงื่อนไข คือ เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ใน 36 เดือน โดยจ่ายเงินสมทบ 9% จากฐานเงินเดือนเฉลี่ยที่ 4,800 บาท (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)


  1. เงินสงเคราะห์บุตรเข้าทุกวันที่เท่าไหร่

คำตอบ: โดยปกติแล้วจะได้รับทุกสิ้นเดือน แต่หากมีตรงกับวันหยุดอาจจะมีการเลื่อนออกไปบ้างเล็กน้อย หากเงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้าบัญชี สามารถติดต่อประกันสังคมสาขาที่เคยยื่นเรื่องไว้ หรือโทรสอบถามกับสายด่วนประกันสังคม 1506 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลให้อีกครั้ง


  1. ไม่ได้ยื่นเรื่องขอเงินสงเคราะห์บุตร ยื่นเรื่องและขอเบิกย้อนหลังได้ไหม

คำตอบ: ได้ แต่ทางสำนักงานประกันสังคมจะต้องทำการตรวจสอบ การนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน หากมีการนำส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนบุตรคลอดจึงจะมีการย้อนหลังให้ไม่เกิน 1 ปีตามที่กฎหมายกำหนด ยกเว้น กรณีผู้ประกันตนมิได้นำส่งเงินสมทบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินให้ผู้ประกันตน  ณ วันที่สิทธิเกิดขึ้นเท่านั้น


ขอบขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และหากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ  SSO สายด่วน 1506 

รวมสิทธิประโยชน์ที่คนมีลูก แม่ท้องต้องเบิกจ่ายได้จากประกันสังคม

ประกันสังคมคนท้อง, ประกันสังคมค่าคลอด, ประกันสังคมค่าตรวจครรภ์, เงินสงเคราะห์บุตร, สิทธิ์ลาคลอด, เบิกค่าคลอด, ชดเชยค่าแท้งลูก, ลาคลอด 98 วัน, ค่าคลอด 15,000 บาท, เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท, ค่าฝากครรภ์, ค่าตวรจครรภ์

แม่ท้อง แม่ที่มีลูกจะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรจากประกันสังคมบ้าง ค่าคลอด ค่าตรวจครรภ์ เงินสงเคราะห์บุตร เบิกอย่างไร ได้เมื่อไหร่ เรามีคำตอบค่ะ

5 สิทธิประโยชน์ที่คนมีลูก แม่ท้องต้องเบิกจ่ายได้จากประกันสังคม

1. ประกันสังคมจ่ายสิทธิประโยชน์ค่าตรวจ-ฝากครรภ์ 1,500 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม: ประกันสังคม จ่ายค่าตรวจ ฝากครรภ์ 1,500 บาท

 

2. ได้เงินสงเคราะห์บุตร 800 ต่อเดือน จากประกันสังคมตั้งแต่ลูกแรกเกิดไปจบครบ 6 ปี  รวมทั้งหมด 43,200 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม: รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท

3. สิทธิลาเพื่อคลอดบุตร 98 วัน จากเดิมมีสิทธิลา 90 วัน และยังได้รับค่าจ้างระหว่างลา 45 วันจากนายจ้าง (ตัวอย่าง : แม่เงินเดือน 15,000 + 7,500 = 22,500 บาท)
รายละเอียดเพิ่มเติม: แม่ท้องเฮ ประกันสังคมให้สิทธิ์ลาคลอด 98 วัน

4. คุณแม่ลาคลอด 90 วัน มีสิทธิ์รับเงินจากประกันสังคมได้อีก 50% จากฐานเงินเดือนโดยเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (ตัวอย่าง : แม่เงินเดือน 15,000/2 = 7,500 x 3 = 22,500 บาท)
รายละเอียดเพิ่มเติม: ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน

5. คุณแม่สามารถเบิกค่าคลอดลูกจากประกันสังคมได้ 15,000 บาท
(ส่วนกรณีแท้งบุตร มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรได้ เนื่องจากการตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์)
รายละเอียดเพิ่มเติม: คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 15,000 บาท

หากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมที่จะได้รับ สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมประจำจังหวัด หรือ สายด่วน 1506 นะคะ

 

สรุปง่าย ๆ เงินอุดหนุนบุตร l เงินสงเคราะห์บุตร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

เงินอุดหนุนบุตร, เงินสงเคราะห์บุตร, เงินเด็กแรกเกิด, เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด, เงิน อุดหนุน บุตร, เงิน อุดหนุน เด็ก แรก เกิด, เงิน เด็ก แรก เกิด, เงิน อุดหนุน, เงิน อุดหนุน จาก รัฐบาล, เงิน สงเคราะห์ บุตร, เงิน อุดหนุน บุตร 2563, เงิน อุดหนุน บุตร 2563 เข้า วัน ไหน

เงินอุดหนุนบุตร l เงินสงเคราะห์บุตร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

เงินอุดหนุนบุตร เหมือนหรือต่างจากเงินสงเคราะห์บุตรหรือไม่ มาหาคำตอบพร้อมทำความรู้จักกับเงิน 2 แบบนี้กันดีกว่าค่ะ

  • เงินอุดหนุนบุตร 

เงินอุดหนุนบุตร หรือที่แม่ ๆ ชอบเรียกกันว่า เงินเด็กแรกเกิด,เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด แท้จริงแล้วคือชื่อ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จะได้รับเงินอุดหนุนบุตรเดือนละ 600 บาท นับแต่เดือนที่มาลงทะเบียน จนเด็กมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์

หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะได้รับ 

1.ครอบครัวรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 3,000 บาทต่อคน และต่อเดือน หรือต่ำกว่า 36,000 บาทต่อคนต่อปี โดยนำรายได้ของสมาชิกในบ้านทั้งหมดในครอบครัว หารด้วยจำนวนสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว ซึ่งก็รวมถึงเด็กแรกเกิดด้วย

เช่น

  • รายได้พ่อ 5,000 บาท 
  • รายได้แม่ 5,000 บาท

5,000 + 5,000 = 10,000 บาทต่อเดือน (10,000*12เดือน = 120,000บาท)

นำรายได้ทั้งปี 120,000 บาทมาหาร 4 คน (พ่อแม่และลูกอีก 2 คน) = 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้เงินอุดหนุนบุตร

2.เด็กต้องเกิดวันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป และมีสัญชาติไทย พ่อและแม่ก็ต้องมีสัญชาติไทย

3.ไม่ได้เป็นผู้ได้รับสวัสดิการของรัฐ หรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น เงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคม เงินสวัสดิการข้าราชการ เป็นต้น

ดังนั้นจึงหมายความว่า โครงการอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินสงเคราะห์บุตรจากสำนักประกันสังคมแน่นอนค่ะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

facebook : https://www.facebook.com/CSGProjectOfficial/

Web : https://csg.dcy.go.th/

 

  • เงินสงเคราะห์บุตร

เงินสงเคราะห์บุตร จะได้รับเดือนละ 800 บาท  จากประกันสังคมตั้งแต่ลูกแรกเกิดไปจบครบ 6 ปี

หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร

 1.ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39

  • มาตรา 33 คือ ผู้ที่มีรายได้ประจำ โดยลูกจ้างและนายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคมคนละ 5% ของฐานเงินเดือนเฉลี่ย 
  • มาตรา 39 คือ ผู้ที่เคยมีรายได้ประจำ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน

2.ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น

3.จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Web :  www.sso.go.th หรือ สายด่วน 1506

 

 บทความที่เกี่ยวข้อง

10 คำถามเรื่องเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาทที่พ่อแม่อยากรู้มากที่สุด 

HOW TO เช็กเงินอุดหนุนบุตร กับ 4 ขั้นตอนง่าย ๆ คุณแม่ทำได้!

เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินทุกเดือน

เงินสงเคราะห์บุตร, เงินช่วยเหลือบุตร, เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม, สงเคราะห์บุตร 800 บาท, เงินช่วยเหลือบุตร 800 บาท, เงินสงเคราะห์ประกันสังคม, เบิกเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคม, เบี้ยสงเคราะห์บุตร, ประกันสังคม, สิทธิ์ประกันสังคมแม่ท้อง, สิทธิ์ประกันสังคมแม่ที่มีลูก
การยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ยื่นที่ไหน และจ่ายย้อนหลังได้ไหมสำหรับคนที่ยื่นช้า เรามีคำตอบค่ะ

เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินทุกเดือน

สำหรับคุณแม่ที่ใช้สิทธิ์ประกันสังคมอยู่ เมื่อคลอดลูกแล้วอย่าลืมยื่นเรื่องขอสิทธิ์ในการรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800  บาทจากประกันสังคมตั้งแต่ลูกแรกเกิดไปจบครบ 6 ปีนะคะ เรามาดูกันว่าคุณแม่ที่ได้รับสิทธิ์นี้ต้องอยู่ในเงื่อนไขอะไร ต้องมีเอกสารอะไรบ้างเพื่อเตรียมตัวกันให้พร้อมค่ะ และเรายังมีคำถามที่พบบ่อยๆ เกี่ยวกับเงินสงเคราะห์บุตรที่พ่อแม่ต้องรู้ด้วย เริ่ม!!!

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับเงินสงเคราะห์บุตร

  1. ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
    • มาตรา 33 คือ ผู้ที่ทำงานมีรายได้ประจำ โดยลูกจ้างและนายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคมคนละ 5% ของฐานเงินเดือนเฉลี่ย
    • มาตรา 39 คือ เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงานเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)
  2. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิ์ที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
  3. ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
  4. อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
  2. กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิ์แล้วและประสงค์จะใช้สิทธิ์สำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิ์บุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
  3. กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ์
    • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด
  4. กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ์
    • สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
    • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)
  5. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
  6. กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด
  7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 11 ธนาคาร ดังนี้
             1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
             2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
             3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
             4) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
             5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
             6) ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
             7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
             8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
             9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)
            10) ธนาคารออมสิน
            11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรห์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  8. เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

ขั้นตอนการยื่นเรื่องเพื่อรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร

  1. ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
  3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
  4. พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

สถานที่ยื่นเรื่องรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)  

-------------------------------------------------------------------------------------------


ขอบขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และหากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ  SSO สายด่วน 1506 หรือสามารถคลิกรูปภาพด้านล่างเพื่อดูสิทธิที่คุณพ่อคุณแม่ต้องได้รับจากประกันสังคมในกรณีอื่นๆ กันค่ะ

************************************************

เช็กทุกสิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีลูกเล็ก เงินสงเคราะห์บุตร ได้ที่นี่

  1. ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง รับค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,000 บาท 
  2. คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่รู้และเคลมสิทธิ์นี้กันแล้วหรือยัง 
  3. มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน 
  4. เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินทุกเดือน
  5. พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม 
  6. แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน 
  7. คลอดลูกคนละร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดจากประกันสังคมได้ไหม 
  8. ท้องแล้วแท้ง มีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ 

แม่ท้องได้สิทธิ์ลาคลอด 98 วัน แถมยังได้เงินเดือนจากนายจ้างและประกันสังคม

สิทธิ์ลาคลอดลูก, ลาคลอดลูกได้กี่วัน, ลาคลอด 98 วัน, ลาคลอด 90 วัน, ค่าจ้างช่วงลาคลอดลูก, สิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์, วันลาคลอดลูกนับยังไง, ลา คลอด ประกัน สังคม, ลา คลอด ได้ เงินเดือน ไหม, ลาคลอด ประกันสังคมจ่ายเงินไหม

คุณแม่ Working Mom ยิ้มแป้นมากขึ้นอีกนิด เพราะเราสามารถใช้สิทธิ์ลาคลอดลูก (Maternity Leave) ได้ 98 วัน จากเดิม 90 วัน ส่วนเงินเดือนก็ยังได้จากทั้งบริษัท นายจ้าง และ ประกันสังคม ทำให้ช่วงลาคลอดเต็มอิ่มสุด ๆ ไปเลยค่ะ 

แม่ท้องได้สิทธิ์ลาคลอด 98 วัน แถมยังได้เงินเดือนจากนายจ้างและประกันสังคม

โดยกฏหมาย ประกันสังคมปรับสิทธิ์ลาคลอดลูก (Maternity Leave) สำหรับหญิงผู้ประกันตนกันประกันสังคม โดยจากเดิมลาคลอดได้ 90 วัน ปรับเพิ่มเป็น 98 วัน และเราเชื่อมั่นว่า 8 วันที่เพิ่มขึ้นมาจะเป็นช่วงเวลาคุณภาพของการให้นมแม่และ Family Attachment สำหรับลูกแรกเกิดของเราเลยล่ะค่ะ

นอกจากนี้คุณแม่ยังจะได้รับค่าจ้างระหว่างลา 45 วันจากนายจ้าง และอีก 45 วันไปรับจากกองทุนประกันสังคมได้เลยค่ะ สำหรับ 8 วันที่เพิ่มขึ้นมา ถ้าคุณแม่ลาครบ 98 วัน นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างระหว่างลา หรือไม่ก็แล้วแต่จะตกลงกัน

ทั้งนี้วันลาที่ได้เพิ่มมานั้น รวมวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนจะคลอดด้วย ซึ่งปัญหาที่ผ่านพบว่า การลาเพื่อคลอดบุตรบางฝ่ายตีความว่า ต้องคลอดก่อนจึงจะมีสิทธิ์ลา หรือ ตีความว่า ไม่รวมการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดจึงต้องเขียนให้ชัดเจน อีกทั้งหากวันลาคลอด 98 วัน ไปตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณีหรือวันหยุดพักร้อน หรือ พักผ่อนประจำปี ก็ให้นับรวมวันหยุดดังกล่าวในระหว่างลาคลอดด้วย 

ต่อไปนี้ 98 วันของการลาคลอดลูกของเราจะเต็มไปด้วยความรักและทุ่มเทอย่างเต็มที่ของคุณแม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกฎหมาย รวมถึงการดูแลจากนายจ้างด้วยนะคะ 

ที่มา: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

************************************************

รวบรวมบทความเพื่อให้คุณแม่ได้ เช็กทุกสิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีลูกเล็ก เงินสงเคราะห์บุตร ได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ค่ะ

  1. ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง รับค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,000 บาท (คลิกที่นี่)
  2. คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่รู้และเคลมสิทธิ์นี้กันแล้วหรือยัง (คลิกที่นี่) 
  3. มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือ (คลิกที่นี่) 
  4. รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท (คลิกที่นี่) 
  5. พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม (คลิกที่นี่) 
  6. แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน (คลิกที่นี่) 
  7. คลอดลูกคนละ ร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดจากประกันสังคมได้ไหม (คลิกที่นี่) 
  8. ท้องแล้วแท้ง มีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้น (คลิกที่นี่) 

แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน


ค่าคลอด, เงินสงเคราะห์บุตร, ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง, เงินช่วยเหลือสำหรับแม่ท้อง, สิทธิประโยชน์ของแม่ตั้งครรภ์, เงินชดเชยหยุดงาน, เงินประกันสังคม
แม่ทำงานฟรีแลนซ์แต่ยังจ่ายเงินประกันสังคมแบบสมัครใจ จะได้ค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรไหม เรามีคำตอบค่ะ

แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน

คุณแม่เคยทำงานประจำลาออกแล้ว คุณแม่ทำงานอิสระ ทำงานฟรีแลนซ์แต่ยังสมัครใจที่จะจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคมจะได้สิทธิ์อะไรเกี่ยวกับการคลอดลูกและเงินชดเชยช่วงหยุดงานเหมือนคุณแม่ที่ทำงานประจำและจ่ายเงินประกันสังคมปกติหรือไม่ เรามีคำตอบค่ะ

คุณแม่ที่ลาออกจากงานหรือทำงานอิสระโดยสมัครใจจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคมเองเราจะเรียกว่า "ผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39" ภายใต้เงื่อนไขดังนี้

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน
  2. ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม  

 การยื่นใบสมัคร

  1. ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน
  2. สถานที่ยื่นใบสมัคร
    1. กรุงเทพฯ - ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่
    2. ภูมิภาค - ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)  

หลักฐานการสมัครมาตรา 39

  1. แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
  2. บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

เงินสมทบที่ต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคมเดือนละ 432 บาทต่อเดือน

  • เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน) โดยจ่ายได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมแบบส่งเงินสมทบฯ (สปส. 1-11)
     
  • ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33

คุณแม่ผู้สมัครมาตรา 39 มีสิทธิ์รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเท่าไหร่

  1. รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาท
  2. รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของเงินเดือนเฉลี่ยของผู้สมัครมาตรา 39 เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน
    คือ 4,800/2 = 2,400 x 3 =7,200 บาท
-------------------------------------------------------------------------------------------


ขอบขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และหากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ  SSO สายด่วน 1506 หรือสามารถคลิกรูปภาพด้านล่างเพื่อดูสิทธิที่คุณพ่อคุณแม่ต้องได้รับจากประกันสังคมในกรณีอื่นๆ กันค่ะ

************************************************

เช็กทุกสิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีลูกเล็ก เงินสงเคราะห์บุตร ได้ที่นี่

  1. ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง รับค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,000 บาท 
  2. คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่รู้และเคลมสิทธิ์นี้กันแล้วหรือยัง 
  3. มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน 
  4. รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท 
  5. พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม 
  6. แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน 
  7. คลอดลูกคนละร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดจากประกันสังคมได้ไหม 
  8. ท้องแล้วแท้ง มีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ