facebook  youtube  line

6 วิธีผสมเทียม สำหรับคนมีลูกยากแต่อยากมีลูก

การผสมเทียม, มีลูกยาก, อยากมีลูก, อิ๊กซี่, ทำกิฟท์, เด็กหลอดแก้ว, บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์, IUI, GIF, ZIFT, IVF& ET, ICSI, Blastocyst Culture, อยาก มี ลูก แต่ มี ยาก, มี ลูก ยาก อยาก มี ลูก, อยาก มี ลูก มี ลูก ยาก, ติด ลูก ยาก, อยาก มี ลูก แต่ มี ลูก ยาก, มี ลูก ยาก, อยากมีลูกแต่มียาก, มีลูกยากอยากมีลูก, ติดลูกยาก, อยากมีลูกแต่มีลูกยาก, มีลูกยาก, เทคโนโลยี ตั้งครรภ์, เทคโนโลยี ช่วยมีลูก

การผสมเทียม เด็กหลอดแก้ว เป็นเทคโนโลยีช่วยให้ผู้มีบุตรยาก ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น การผสมเทียมเพื่อตั้งครรภ์มีวิธีอะไรบ้าง เรามีคำแนะนำค่ะ

6 วิธีผสมเทียม สำหรับคนมีลูกยากแต่อยากมีลูก

การผสมเทียมคืออะไร

การผสมเทียม คือ การนำน้ำอสุจิฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงโดยไม่มีการร่วมเพศ การผสมเทียม นี้พบว่ามีโอกาสตั้งท้องได้ประมาณร้อยละ 50 ซึ่งปัจจุบันมี การผสมเทียม สามารถทำได้ทั้งการนำ อสุจิ และ ไข่ มาผสมภายนอกก่อนแล้วจึงนำไปใส่ในมดลูกู และการฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก แต่ก่อนที่คู่สามีภรรยาจะตั้งครรภ์ด้วยวิธีผสมเทียม จำเป็นต้องรู้ข้อกฏหมายบางข้อที่สำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 เช่น

  1. การผสมเทียมจะต้องใช้อสุจิและไข่ของคู่ สามี ภรรยา ตามกฏหมาย (จดทะเบียนสมรส)

  2. หากจำเป็นต้องใช้อสุจิหรือไข่ของบุคคลอื่น จะต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือทั้งผู้รับบริจาคและผู้บริจาค

  3. ห้ามไม่ให้ผู้หญิงโสดทำการผสมเทียมเพื่อป้องกันการรับจ้างท้อง อุ้มบุญในเชิงธุรกิจ และช่วยปกป้องสิทธิ์ของเด็กที่เกิดจากการผสมเทียมด้วยเหตุผลที่ไม่ถูกต้องด้วย 

การผสมเทียมเหมาะกับสามีภรรยาที่มีปัญหาอะไร 

  1. ผู้มีปัญหา มี ลูก ยาก โดยประเมินเบื้องต้นจากการมีเพศสัมพันธ์กันสม่ำเสมอ แล้วยังไม่ตั้งครรรภ์ได้ในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งมีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้น ถือว่าเข้าข่ายการมีลูกยาก ซึ่งควรไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษา

  2. ฝ่ายชายมีปัญหาสุขภาพ เช่น อวัยวะสืบพันธุ์ผิดปกติ แต่กำเนิด (สามีอวัยวะเพศสั้นทำให้มีลูกยากจริงไหม อ่านต่อคลิก) ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ พันธุกรรมผิดปกติไม่สามารถสร้างตัวอสุจิได้หรือสร้างได้น้อยมาก การได้รับสารเคมีที่ส่งผลต่ออสุจิ (เช่น ยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว สารประกอบเบนซีน รวมถึงการใช้ยาบางชนิด) สูบบุหรี่เป็นประจำ มีโรคประจำตัวบางอย่างที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ (เช่น เบาหวาน) เป็นโรคคางทูมในวัยเด็ก ได้รับอุบัติเหตุ เป็นต้น

  3. ฝ่ายหญิงมีปัญหาสุขภาพ เช่น อายุมาก สูบบุหรี่เป็นประจำ อวัยวะสืบพันธุ์ผิดปกติแต่กำเนิด เนื้องอกของมดลูกขนาดใหญ่หรืออยู่ในโพรงมดลูก ท่อนำไข่ตัน มีเยื่อพังผืดในอุ้งเชิงกรานหรือเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ รังไข่ทำงานไม่ได้ตามปกติ มีซิสต์หรือเนื้องอกของรังไข่ มีความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกายที่ส่งผลต่อการตกไข่ เป็นต้น

เมื่อคู่สามีภรรยาที่ปัญหาการตั้งครรภ์ยากที่ต่างกันจากหลายสาเหตุ การเลือกวิธีผสมเทียมจึงมีหลายวิธีเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละคู่เช่นกัน นี่คือ 6 วิธีผสมเทียมเพื่อการตั้งครรภ์ สำหรับคนมีลูกยากที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยได้ค่ะ 


 การผสมเทียม, มีลูกยาก, อยากมีลูก, อิ๊กซี่, ทำกิฟท์, เด็กหลอดแก้ว, บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์, IUI, GIF, ZIFT, IVF& ET, ICSI, Blastocyst Culture, อยาก มี ลูก แต่ มี ยาก, มี ลูก ยาก อยาก มี ลูก, อยาก มี ลูก มี ลูก ยาก, ติด ลูก ยาก, อยาก มี ลูก แต่ มี ลูก ยาก, มี ลูก ยาก, อยากมีลูกแต่มียาก, มีลูกยากอยากมีลูก, ติดลูกยาก, อยากมีลูกแต่มีลูกยาก, มีลูกยาก, เทคโนโลยี ตั้งครรภ์, เทคโนโลยี ช่วยมีลูก

วิธีที่ 1: การฉีดเชื้อหรือการผสมเทียม (Intra Uterine Insemination หรือ IUI)

คือ การนำเชื้ออสุจิของฝ่ายชายมาคัดเชื้อที่มีคุณภาพโดยเลือกตัวที่วิ่งเร็ว แข็งแรง และรูปร่างดีที่สุด ฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกในวันที่ไข่ตก โดยแพทย์จะใช้ฮอร์โมนจากภายนอกช่วยฉีดเข้าไปหรืออาจมีการอัลตราซาวนด์ด้วย แล้วลองดูว่าการทำลักษณะนี้แล้วได้ผลหรือไม่

โดยปกติแล้วการผสมเทียมจะทำไม่เกิน 3 ครั้ง ถ้าเกิน 3 ครั้งแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ก็ต้องเปลี่ยนวิธีไปทำกิฟท์ ซึ่งความสำเร็จแต่ละครั้งประมาณ 15-20% วิธีนี้ใช้ในกรณีฝ่ายชายมีเชื้ออสุจิไม่แข็งแรงหรือมีปริมาณน้อย ฝ่ายหญิงไม่มีมูกที่ปากมดลูกหรือมูกเหนียวข้น และไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้เพียงพอต่อการผลิตไข่ที่สมบูรณ์ได้ ซึ่งอาจต้องใช้ฮอร์โมนเพิ่มและกระตุ้นการตกไข่


 การผสมเทียม, มีลูกยาก, อยากมีลูก, อิ๊กซี่, ทำกิฟท์, เด็กหลอดแก้ว, บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์, IUI, GIF, ZIFT, IVF& ET, ICSI, Blastocyst Culture, อยาก มี ลูก แต่ มี ยาก, มี ลูก ยาก อยาก มี ลูก, อยาก มี ลูก มี ลูก ยาก, ติด ลูก ยาก, อยาก มี ลูก แต่ มี ลูก ยาก, มี ลูก ยาก, อยากมีลูกแต่มียาก, มีลูกยากอยากมีลูก, ติดลูกยาก, อยากมีลูกแต่มีลูกยาก, มีลูกยาก, เทคโนโลยี ตั้งครรภ์, เทคโนโลยี ช่วยมีลูก

วิธีที่ 2: การทำกิฟท์ (Gamete IntraFollopain Transfer หรือ GIF)

คือ การเก็บเซลล์สืบพันธุ์ทั้งไข่และอสุจิมาผสมกัน จากนั้นจึงใส่กลับเข้าสู่ท่อนำไข่ทันที โดยให้อสุจิและไข่ปฏิสนธิกันเองตามธรรมชาติในร่างกายของแม่ โอกาสตั้งครรภ์ประมาณ 30-40%

วิธีนี้ใช้ในกรณี ฝ่ายชายมีเชื้ออสุจิอ่อนแอไม่มากนัก ฝ่ายหญิงมีท่อนำไข่ที่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือมีพังผืดมาก อาจใช้สำหรับคู่สมรสที่ไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยาก


 การผสมเทียม, มีลูกยาก, อยากมีลูก, อิ๊กซี่, ทำกิฟท์, เด็กหลอดแก้ว, บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์, IUI, GIF, ZIFT, IVF& ET, ICSI, Blastocyst Culture, อยาก มี ลูก แต่ มี ยาก, มี ลูก ยาก อยาก มี ลูก, อยาก มี ลูก มี ลูก ยาก, ติด ลูก ยาก, อยาก มี ลูก แต่ มี ลูก ยาก, มี ลูก ยาก, อยากมีลูกแต่มียาก, มีลูกยากอยากมีลูก, ติดลูกยาก, อยากมีลูกแต่มีลูกยาก, มีลูกยาก, เทคโนโลยี ตั้งครรภ์, เทคโนโลยี ช่วยมีลูก

วิธีที่ 3: การทำซิฟท์ (Zygote IntraFollopain Transfer หรือ ZIFT)

คือการผสมกันระหว่างไข่กับอสุจิคล้ายการทำกิ๊ฟท์ แต่ต่างกันตรงที่ต่างจากการทำกิฟท์ตรงที่เป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกายก่อน แล้วจึงนำตัวอ่อนในระยะ Zygote ใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ โอกาสตั้งครรภ์แต่ละครั้งประมาณ 20-30%

วิธีนี้ใช้ในกรณี ฝ่ายชายมีเชื้ออสุจิน้อยกว่าปกติ ฝ่ายหญิงที่ท่อนำไข่ไม่ตัน แต่ทำงานไม่ปกติ มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และมีพังผืดมาก และคู่สมรสที่ไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยากด้วย 


การผสมเทียม, มีลูกยาก, อยากมีลูก, อิ๊กซี่, ทำกิฟท์, เด็กหลอดแก้ว, บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์, IUI, GIF, ZIFT, IVF& ET, ICSI, Blastocyst Culture, อยาก มี ลูก แต่ มี ยาก, มี ลูก ยาก อยาก มี ลูก, อยาก มี ลูก มี ลูก ยาก, ติด ลูก ยาก, อยาก มี ลูก แต่ มี ลูก ยาก, มี ลูก ยาก, อยากมีลูกแต่มียาก, มีลูกยากอยากมีลูก, ติดลูกยาก, อยากมีลูกแต่มีลูกยาก, มีลูกยาก, เทคโนโลยี ตั้งครรภ์, เทคโนโลยี ช่วยมีลูก

วิธีที่ 4: การทำเด็กหลอดแก้ว (InVitro Fertilization and Embryo Transfer หรือ IVF& ET)

คือการเอาไข่ 10-20 ใบ ออกมาผสมกับอสุจิในจานหรือในหลอดแก้ว พอผสมกันแล้วจะรู้เลยว่าจะมีการปฏิสนธิหรือไม่ แล้วก็ต้องเลี้ยงตัวอ่อนประมาณ 3-5 วัน แล้วจึงใส่กลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิง โอกาสตั้งครรภ์สูงสุดคือ 30-50% 

วิธีนี้ใช้ในกรณี ฝ่ายชายมีเชื้ออสุจิที่ไม่แข็งแรง ฝ่ายหญิงมีท่อนำไข่อุดตันทั้ง 2 ข้าง และมีพังผืดในอุ้งเชิงกราน

 


 การผสมเทียม, มีลูกยาก, อยากมีลูก, อิ๊กซี่, ทำกิฟท์, เด็กหลอดแก้ว, บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์, IUI, GIF, ZIFT, IVF& ET, ICSI, Blastocyst Culture, อยาก มี ลูก แต่ มี ยาก, มี ลูก ยาก อยาก มี ลูก, อยาก มี ลูก มี ลูก ยาก, ติด ลูก ยาก, อยาก มี ลูก แต่ มี ลูก ยาก, มี ลูก ยาก, อยากมีลูกแต่มียาก, มีลูกยากอยากมีลูก, ติดลูกยาก, อยากมีลูกแต่มีลูกยาก, มีลูกยาก, เทคโนโลยี ตั้งครรภ์, เทคโนโลยี ช่วยมีลูก

วิธีที่ 5: การทำอิ๊คซี่ (IntraCytoplasmic Sperm Injection หรือ ICSI)

เป็นการต่อยอดจากเด็กหลอดแก้ว โดยเอาเข็มที่มีเชื้อสเปิร์มอยู่หนึ่งตัวเจาะเข้าไปในไข่ เป็นการช่วยตัวเชื้อสเปิร์มที่ไม่แข็งแรง และไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ โอกาสตั้งครรภ์ประมาณ 25-30%

วิธีนี้ใช้ในกรณี ฝ่ายชายมีเชื้ออสุจิผิดปกติอย่างมาก ฝ่ายหญิงมีรังไข่ผิดปกติ ไม่มีการตกไข่ และไข่กับอสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกันเองได้


 การผสมเทียม, มีลูกยาก, อยากมีลูก, อิ๊กซี่, ทำกิฟท์, เด็กหลอดแก้ว, บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์, IUI, GIF, ZIFT, IVF& ET, ICSI, Blastocyst Culture, อยาก มี ลูก แต่ มี ยาก, มี ลูก ยาก อยาก มี ลูก, อยาก มี ลูก มี ลูก ยาก, ติด ลูก ยาก, อยาก มี ลูก แต่ มี ลูก ยาก, มี ลูก ยาก, อยากมีลูกแต่มียาก, มีลูกยากอยากมีลูก, ติดลูกยาก, อยากมีลูกแต่มีลูกยาก, มีลูกยาก, เทคโนโลยี ตั้งครรภ์, เทคโนโลยี ช่วยมีลูก

วิธีที่ 6: บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์ (Blastocyst Culture)

เป็นขั้นตอนเลี้ยงตัวอ่อนก่อนจะใส่กลับเข้าไปในมดลูก โดยจะเลี้ยงตัวอ่อนประมาณ 3-5 วัน ซึ่งวันที่ 3 ของการเลี้ยงจะเป็นระยะของการแตกเซลล์ วันที่ 5 จะเป็นระยะบลาสโตซิสท์ ซึ่งตัวอ่อนที่โตมาถึงระยะบลาสโตซิสท์จะมีคุณภาพดีระดับหนึ่ง

วิธีนี้ใช้ในกรณีที่ไข่ของผู้หญิงไม่สมบูรณ์หรือไม่แข็งแรง ซึ่งจะเป็นการเพาะเลี้ยงภายนอกจนตัวอ่อนแข็งแรงพร้อมที่สุดที่จะเกาะผนังมดลูก แล้วจึงค่อยนำกลับไปใส่ในมดลูกเพื่อเจริญเติบโตต่อไป

 

ปล่อยแล้ว ไม่คุมกำเนิด แต่ไม่ท้องสักที แบบนี้เข้าข่ายมีลูกยากหรือยัง

มีลูกยาก, มีบุตรยาก, ภาวะมีบุตรยาก, มีลูกยาก สาเหตุ, มีบุตรยาก สาเหตุ, ภาวะมีลูกยาก สาเหตุ, อยากมีลูก, ปล่อยท้องแต่ไม่ท้อง, แม่ท้องต้องรู้, รักลูก Community of The Experts

ปล่อยท้องมาเป็นปีแต่ไม่ตั้งครรภ์สักที อาจเป็นไปได้ว่าเราเข้าข่ายภาวะมีบุตรยากนะคะ ภาวะมีบุตรยากจากทั้งฝ่ายชายและหญิงเกิดจากอะไร คุณหมอมีคำตอบค่ะ

ปล่อยแล้ว ไม่คุมกำเนิด แต่ไม่ท้องสักที แบบนี้เข้าข่ายมีลูกยากหรือยัง

สำหรับใครที่กำลัง อยากมีลูก แต่ปล่อยท้องเท่าไหร่ก็ยังไม่สำเร็จสักที เลยเริ่มสงสัยว่าเข้าข่าย มีลูกยาก หรือเปล่า คุณหมอจะมาตอบให้ค่ะว่าแบบไหนที่เรียกว่า มีลูกยาก

ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) คือ ภาวะที่คู่แต่งงานยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ด้วยวิธีธรรมชาติในระยะเวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป แบบนี้ก็เข้าข่ายการมีภาวะ มีลูกยาก แล้วค่ะ 

ภาวะบุตรยากแบ่งเป็น 2 ประเภท

  1. ภาวะบุตรยากปฐมภูมิ (Primary Infertility) คือ ไม่เคยมีการตั้งครรภ์ ภายในระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี

  2. ภาวะบุตรยากทุติยภูมิ (Secondaryinfertility) หมายถึง เคยต้ังครรภ์และการตั้งครรภ์น้ันอาจสิ้นสุดด้วยการคลอด การแท้ง หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก แล้วไม่เคยตั้งครรภ์อีก อย่างน้อย 1 ปี

สาเหตุมีบุตรยากจากฝ่ายชาย

เนื่องจากน้ำเชื้อปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ น้อยกว่า 20 ล้านตัวต่อ CC ตัววิ่งมีน้อย และรูปร่างเชื้อไม่ดีทำให้ยากในการปฏิสนธิของไข่

ปัจจัยที่มีผลต่อความแข็งแรงของน้ำเชื้อ

  • อัณฑะมีการอักเสบ ติดเชื้อ เช่น คางทูม เคยได้รับการผ่าตัด เป็นมะเร็ง เป็นเส้นเลือดขอด เคยได้รับการฉายแสง

  • การทำงานในที่ร้อนใส่กางเกงรัดๆ

  • มีการอุดตันของท่อนำอสุจิ

  • มีความผิดปกติทางฮอร์โมนขาดฮอร์โมนเพศชาย

  • สาเหตุทางพันธุกรรม โครโมโซมเพศผิดปกติ

  • ยาที่มีผลต่อภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชาย เช่นยา sulfasalazine ที่รักษาเรื่องโรคข้อ rheumatoid   ยาเสตียรอยด์ ยาเคมีบำบัด การใช้กัญชา โคเคนทำให้น้ำเชื้อคุณภาพแย่ลง

  • อายุมากกว่า 40 ปี  การสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช การดื่ม แอลกอฮอล์  ภาวะอ้วน ความเครียด

 สาเหตุมีบุตรยากจากฝ่ายหญิง

  • อายุมากขึ้น

  • การสูบบุหรี่ (ทำให้เพิ่มอัตราการแท้ง)

  • การดื่มแอลกอฮอล์

  • น้ำหนักตัวที่มากขึ้น

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำให้ท่อนำไข่ไม่ดี

  • สัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์

  • ภาวะเครียด ซึ่งทำให้มีผลต่อกระบวนการตกไข่

  • ความผิดปกติที่รังไข่ เช่น ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนดคือหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี กลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่หลายๆใบ (pcos)

  • ภาวะโปรแลคตินในเลือดสูง ซึ่งมีผลต่อกระบวนการตกไข่

  • โรคไทรอยด์

  • ปัญหาจากท่อนำไข่ เนื้องอกที่มดลูก ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่

  • การใช้ยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nsaids) การใช้ยาแอสไพรินนานๆ

  • การได้เคมีบำบัด การได้รับการฉายแสง การใช้สารเสพติด

หากไม่คุมกำเนิด 1 ปี แต่ไม่มีลูก ต้องไปตรวจกับคุณหมอนะคะ อาจมีอาการหรือสาเหตุมาจากที่คุณหมอกล่าวข้างต้น เพื่อที่จะได้รักษา แก้ไข และมีลูกน้อยได้นั่นเองค่ะ

บทความโดย: แพทย์หญิง วรประภา ลาภิกานนท์ สูตินรีแพทย์

มดลูกคว่ำทำให้มีลูกยากจริงไหม คนอยากมีลูกต้องรู้จักมดลูกตัวเองด้วย

มดลูกคว่ำ, มดลูกคว่ำ ผิดปกติไหม, มดลูกคว่ำ มีลูกยาก, มดลูกคว่ำ อยากมีลูก, มดลูกคว่ำ มีลูกได้ไหม, ทำไมมดลูกคว่ำ, มดลูกปกติเป็นยังไง, มดลูกผิดปกติ, มดลูกมีปัญหา, มีลูกยาก, อยากมีลูก, มี ลูก ยาก, มี บุตร ยาก

มดลูกคว่ำเป็นเกิดจากมีพังผืดดึงรั้งบริเวณด้านหลังของมดลูก ทำให้มดลูกคว่ำไปด้านหลัง หลายคนจึงเข้าใจว่ามดลูกคว่ำทำให้มีลูกยาก เรามีคำแนะนำมาบอกค่ะ

มดลูกคว่ำทำให้มีลูกยากจริงไหม คนอยากมีลูกต้องรู้จักมดลูกตัวเองด้วย

อยาก มี ลูก จังเลย แต่พอไปตรวจภายในเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์พบว่า "มดลูกคว่ำ" ซึ่งทำให้เกิดความกังวลและสงสัยขึ้นมาทันทีว่า มดลูกคว่ำ แปลว่าจะ มี ลูก ยาก อสุจิสามี ไม่เกาะ ใช่ไหม เรามาหาคำตอบเรื่องนี้กันจากผู้เชี่ยวชาญค่ะ 

มดลูกคว่ำ เป็นลักษณะตามธรรมชาติของแต่ละบุคคล หรืออาจเกิดจากมีพังผืดดึงรั้งบริเวณด้านหลังของมดลูก ทำให้มดลูกคว่ำไปด้านหลัง แทนที่จะโค้งมาด้านหน้าตามที่พบในคนส่วนใหญ่

มดลูกคว่ำ ของผู้หญิง ไม่มีผลกับการตั้งครรภ์ยากแต่อย่างใดโดยทั่วไปแล้วมดลูกอาจอยู่ในลักษณะคว่ำหน้า คว่ำหลัง หรืออยู่ตรงกลางก็ได้อยู่แล้ว แต่การตั้งครรภ์ได้นั้นก็มีหลายปัจจัย เช่น ความแข็งแรงของมดลูก ไข่สมบูรณ์ อสุจิมีตัวและแข็งแรง เป็นต้น ดังนั้นหากใครตรวจพบว่ามดลูกคว่ำและยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดเพื่อหาปัจจัยอื่นและแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

มดลูกคว่ำมดลูกคว่ำ, มดลูกคว่ำ ผิดปกติไหม, มดลูกคว่ำ มีลูกยาก, มดลูกคว่ำ อยากมีลูก, มดลูกคว่ำ มีลูกได้ไหม, ทำไมมดลูกคว่ำ, มดลูกปกติเป็นยังไง, มดลูกผิดปกติ, มดลูกมีปัญหา, มีลูกยาก, อยากมีลูก, มี ลูก ยาก, มี บุตร ยาก
ขอบคุณข้อมูลจาก: น.พ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ และ อ.นพ.ประภัทร วานิชพงษ์พันธ์ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

รวบตึง 15 เรื่องถามตอบการแก้หมันที่คนอยากมีลูกอยากรู้ที่สุด

วิธีแก้หมัน, แก้หมันหญิง, แก้หมันชาย, แก้หมันให้มีลูก, แก้หมัน ราคา, แก้หมันกี่เดือนท้อง, เป็นหมัน อยากมีลูก, มีลูกยาก, มีบุตรยาก, แก้หมัน อย่างไร, แก้หมันเจ็บไหม, แก้หมันสำเร็จไหม, แก้หมันแล้วท้องเลยไหม, ทำไมต้องแก้หมัน

แก้มหมันทำยังไง เจ็บไหม แพงหรือเปล่า แก้หมันแล้วมีลูกได้เลยไหม มีโรคประจำตัว อายุเยอะแล้วยังแก้หมันได้ใช่ไหม ทุกคำถาม เรามีคำตอบค่ะ

รวบตึง 15 เรื่องถามตอบการแก้หมันที่คนอยากมีลูกอยากรู้ที่สุด

ทำยังไงดี อยากมีลูก อีกสักคนแต่ทำหมันไปแล้ว แก้หมัน ได้ไหม แก้หมัน แล้วจะมีลูกได้เลยใช่ไหม แก้หมัน แพงไหม คำถามเหล่านี้เรารวบรวมมาตอบให้โดย สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะค่ะ 

  1. การแก้หมันมีหลักการอย่างไร 
    ตอบ: พูดถึงหลักการทำหมันก่อน(ผู้หญิง) คือ การตัดท่อนำไข่ออก และผูกสองข้างไว้ ทำให้ไข่ของสตรีไม่สามารถผ่านท่อรังไข่ไปได้ ไม่สามารถผสมกับตัวเชื้อผู้ชายได้ การแก้หมันก็คือ การนำท่อสองท่อที่ตัดออกมาเชื่อมกันโดยการผ่าตัด

  2. หมันแบบไหนที่สามารถแก้ได้
    ตอบ: ทั่วโลกมีการทำหมันวิธีเดียวคือการตัดท่อนำไข่ สามารถต่อได้ ขึ้นอยู่กับว่าแพทย์ที่ทำให้หมันให้ตัดท่อนำไข่ไปมากน้อยแค่ไหน เหลือส่วนท่อนำไข่ทำการต่อได้แค่ไหน ผลสำเร็จมันขึ้นอยู่กับตรงนั้น

  3. การแก้หมันได้มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
    ตอบ: ต้องดูคนไข้มีปัญหากสุขภาพอะไรบ้าง เช่น มีโรคประจำตัวหรือไม่ มีปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ มีความเสี่ยงกับภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ รวมถึงปัจจัยเรื่องอายุด้วย หากอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แม้จะแก้หมันได้แต่ก็อาจจะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยลง

  4. แก้หมันต้องนอนโรงพยาบาลนานเท่าไร
    ตอบ: ส่วนใหญ่ที่มาทำประมาณ 2-3 คืน

  5. ค่าใช้จ่ายในการแก้หมัน
    ตอบ: ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลรัฐบาลอาจะอยู่ในระดับ 10,000-30,000 บาท ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนจะอยู่ที่ 60,000 บาทขึ้นไปจนถึงระดับแสนบาท ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล ความเชี่ยวชาญของแพทย์ รวมถึงการดูแลหากมีภาวะแทรกซ้อน

  6. แก้หมัน สามารถตั้งครรภ์ได้เลยไหม
    ตอบ: หลังแก้หมันแล้ว แพทย์จะนัดคนไข้มาเพื่อฉีดสีนัดดูท่อนำไข่ประมาณ 2 เดือนหลังแก้หมัน ถ้าท่อนำไข่เปิดก็ปล่อยให้ตั้งครรภ์ได้

  7. อายุมากสามารถแก้หมันได้ไหม
    ตอบ: วัยไหนก็สามารถแก้ได้ แต่หากผู้หญิงอายุเกิน 40 ปี โอกาสตั้งครรภ์จะน้อยลง แต่ก็มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ฮอร์โมน หรือภาวะไข่ตก


    วิธีแก้หมัน, แก้หมันหญิง, แก้หมันชาย, แก้หมันให้มีลูก, แก้หมัน ราคา, แก้หมันกี่เดือนท้อง, เป็นหมัน อยากมีลูก, มีลูกยาก, มีบุตรยาก, แก้หมัน อย่างไร, แก้หมันเจ็บไหม, แก้หมันสำเร็จไหม, แก้หมันแล้วท้องเลยไหม, ทำไมต้องแก้หมัน

  8. ทำหมันมานานแล้วสามารถแก้ได้ไหม
    ตอบ: แก้ได้

  9. ถ้าหาหมอเสร็จแล้วจะสามารถทำการผ่าตัดได้เลยไหม
    ตอบ: ต้องนัดทำการผ่าตัดอีกครั้ง เพราะก่อนผ่าตัดจะต้องตรวจภายในคนไข้ก่อนว่ามีมะเร็งปากมดลูกไหม มีเนื้องอกมดลูกไหม และต้องตรวจผู้ชายด้วยว่ามีตัวเชื้อไหม ต้องตรวจสุขภาพทั้งผู้ชายและผู้หญิง พร้อมทั้งต้องตรวจความพร้อมในการมีบุตร

  10. ทำหมันต้องพาแฟนมาด้วยไหม
    ตอบ: ควรพาสามีมาเพื่อรับทราบว่า ภรรยาต้องเตรียมตัวการผ่าตัด แล้วให้รู้ว่าคุณผู้ชายต้องตรวจอะไรบ้าง ตรวจเลือด ตรวจสเปิร์ม หรือน้ำเชื้อว่าแข็งแรงดีไหม

  11. มีโอกาสแก้หมันสำเร็จกี่เปอร์เซ็นต์
    ตอบ: ค่าในการแก้หสันสำเร็จเฉลี่ยประมาณ 50 -70 % ขึ้นอยู่กับภาวะของคนไข้ ขึ้นอยู่กับภาวะการผ่าตัดครั้งก่อน ขึ้นอยู่กับอายุคนไข้

  12. ตอนนี้เป็นไทรอยด์ที่คอ สามารถแก้หมันได้ไหม
    ตอบ: หากคนไข้มีโรคประจำตัว หรือ จากที่แจ้งว่าเป็นไทรอยด์ ก็จำเป็นต้องรักษาก่อนเข้าผ่าตัดแก้หมัน รวมถึงแพทย์จะต้องตรวจอย่างละเอียดว่าโรคที่เป็นอยู่สามารถผ่าตัดได้ไหม มีปัญหาเรื่องการบล็อกหลังหรือดมยาสลบไหม ถ้ามีความเสี่ยงใดๆ แพทย์จะแจ้งให้คนไข้ทราบเพื่อหาวิธีรักษาก่อน

  13. เคยผ่าคลอดมาแล้ว 2 ครั้ง สามารถทำการแก้หมันได้ไหม
    ตอบ: เคยผ่าคลอดมาแล้วก็สามารถแก้หมันได้ 

  14. หลังแก้หมันกี่เดือนถึงตั้งครรภ์ได้
    ตอบ: ขึ้นอยู่กับว่าคนไข้หลังผ่าตัดฟื้นตัวดีแค่ไหน ต้องนัดมาฉีดสี เอ็กซเรย์ดูว่าท่อนำไข่เปิดไหม ประมาณ 2-3 เดือนก็ปล่อยให้ตั้งครรภ์ได้

  15. แก้หมันเจ็บไหม แผลผ่าตัดใหญ่ไหม
    ตอบ: คนไข้จะเจ็บหลังการผ่าตัดเสร็จ ถ้าคนเคยผ่าตัดคลอดก็ต้องผ่าแผลเดิม ถ้าไม่เคยผ่าตัด ต้องผ่าตัดบริเวณหัวหน่าว ใกล้เคียงกับแผลผ่าคลอดแต่จะเล็กกว่าแผลผ่าคลอด

ขอบคุณข้อมูลจาก: นพ.อำนาจ เอื้ออารีมิตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเอกชัย และสูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลเอกชัย

 

สามีอวัยวะเพศสั้น อวัยวะเพศชายสั้นทำให้มีลูกยากจริงไหม

อวัยวะเพศสั้น มีลูกยาก, ผู้ชายอวัยวะเพศสั้น มีลูกยาก, จู๋สั้น มีลูกยากจริงไหม, ผู้ชายมีลูกยาก, สาเหตุ ผู้ชายมีลูกยาก, อยากมีลูก, วิธีมีลูกง่าย, วิธีทำลูก, ยกสะโพกสูง หลังมีเซ็กส์ มีลูกง่าย

อวัยวะเพศชายสั้น ไม่ได้มีผลกับการตั้งครรภ์ยากง่ายค่ะ แต่เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งท้องมากขึ้น บ้านไหนที่สามีอวัยวะเพศสั้นจึงควรทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อให้มีลูกง่าย

สามีอวัยวะเพศสั้น อวัยวะเพศชายสั้นทำให้มีลูกยากจริงไหม

ใครที่วางแผนตั้งครรภ์มาตั้งนาน แต่ก็ยังไม่ท้องสักที พอมาสำรวจกันเองก็แอบตั้งข้อสงสัยว่า "สามีอวัยวะเพศสั้น" ทำให้มีลูกยาก อสุจิวิ่งไม่ถึงไข่หรือเปล่า เพื่อแก้ความสงสัยนี้ เรามาดูกันว่าเรื่องนี้จริงเท็จแค่ไหน

ขณะนี้ยังไม่มีรายงาน และ งานวิจัยทางวิชาการใดๆ รองรับว่า อวัยวะเพศชายที่มีขนาดเล็กหรือสั้นส่งผลให้มีลูกยาก เพียงแต่อวัยวะชายสั้นผิดปกติก็อาจทำให้โอกาสตั้งครรภ์น้อย หรือ ช้าลง เพราะน้ำอสุจิที่หลั่งออกมาเข้าไปไม่ถึงปากมดลูก หรือเมื่อหลั่งแล้วจะอยู่แต่บริเวณแคมอวัยวะเพศหญิง แล้วไหลออกหมด 

ส่วนการ มี ลูก ยาก เป็นภาวะที่เกิดได้ทั้งชายและหญิง ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น น้ำเชื้อไม่มีตัวอสุจิ อสุจิไม่แข็งแรง การตกไข่ผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งภาวะนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการดูแลและช่วยในการมีลูกได้อย่างถูกต้อง

สามีอวัยวะเพศสั้นต้องทำยังไงถึงจะมีลูกง่าย

  1. ใช้ท่ามีเพศสัมพันธ์ที่ทำให้อวัยวะเพศชายเข้าได้ลึกที่สุด เช่น ท่ามิชชั่นนารี ท่าเข้าข้างหลัง (Doggy) เป็นต้น

  2. สามีควรปล่อยอสุจิในขณะที่อวัยวะเพศเข้าไปลึกที่สุด แล้วกดค้างไว้ รอให้อสุจิออกหมดก่อนแล้วค่อยถอนตัวออก

  3. เพิ่มโอกาสให้อสุจิวิ่งเข้าได้ลึกขึ้นและไม่ไหลออกด้วยการใช้ หมอนหนุนก้นฝ่ายหญิงไว้ขณะที่เพศสัมพันธ์ และ อย่าเพิ่มเรีบลุกหลังมีการหลั่งเรียบร้อยแล้ว (ยกสะโพกสูงหลังมีเพศสัมพันธ์ช่วยให้มีลูกง่ายจริงไหมอ่านต่อคลิก)

นอกจากการปรับเปลี่ยนวิธีการแล้ว ก็ควรดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงด้วยค่ะ เช่น พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการดื่มแอลกอฮอลและสูบบุหรี่ กินอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเลือกมีเพศสัมพันธ์ที่มีโอกาสในตั้งครรภ์มากที่สุด เช่น ช่วงวันตกไข่ เป็นต้น 

 

อยากมีลูกต้องรู้ ! ไข่ของผู้หญิงมีจำกัด ยิ่งอายุมากขึ้นจำนวนไข่ก็ลดลงแถมไข่แก่อีกด้วย

ไข่ของผู้หญิง, ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก, ท้องตอนอายุเยอะ, ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี, ท้องตอนอายุ 35 ปี, ท้องตอนแก่, ไข่ของผู้หญิงมีจำนวนจำกัด, ไข่ รังไข่ แก่, มีลูกยาก, ภาวะมีบุตรยาก,  อยากมีลูก, แม่ท้องต้องรู้

รู้ไหมคะ ว่ายิ่งผู้หญิงอายุมากขึ้น โอกาสในการตั้งครรภ์จะต่ำลง โดยทั่วไปการตั้งครรภ์จะยากขึ้นเมื่อ อายุ 35 ปีขึ้นไป

ไข่ของผู้หญิงมีจำกัด ยิ่งอายุมากขึ้น จำนวนไข่ก็ลดลง แถมไข่แก่อีกด้วย 

รู้ไหมคะ ว่ายิ่งผู้หญิงอายุมากขึ้น โอกาสในการตั้งครรภ์จะต่ำลง โดยทั่วไปการตั้งครรภ์จะยากขึ้นเมื่อ อายุ 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากผู้หญิงเกิดมาพร้อมกับจำนวนไข่ในรังไข่ที่มีจำกัด และเซลล์ไข่จะค้างการแบ่งตัวอยู่ที่ระยะไมโอซิส I (Meiosis I) จนกระทั่งตกไข่จึงจะมีการแบ่งตัวต่อจนสมบูรณ์

นอกจากนั้น ไข่บางส่วนจะฝ่อสลายไปตามกาลเวลา ดังนั้นเมื่ออายุมากขึ้น จึงมีโอกาสที่จะเหลือไข่ที่มีความสมบูรณ์จำนวนน้อยลง และมีโอกาสที่การแบ่งตัวต่อของเซลล์ไข่มีความผิดพลาดได้ และเกิดเป็นเซลล์ไข่ที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากและภาวะแท้ง รวมถึงหากตั้งครรภ์ต่อไปก็อาจมีตัวอ่อนที่มีความผิดปกติของโครโมโซม เหล่านี้รวมเรียกว่าเป็นการแก่ตัวของไข่ (ovarian aging) และการลดลงของไข่ที่สะสม (ovarian reserve) 

เมื่ออายุมากขึ้นความสามาถในการมีลูกก็ลดลง จำนวนไข่ก็ลดลง 

  • อัตราการฝังตัวอ่อนจะลดลงเมื่ออายุ  35 ปีขึ้นไป เมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไปประจำเดือนก็มีการเปลี่ยนแปลง

  • อายุมากขึ้นก็จะเสี่ยงกับการแท้งมากขึ้น มารดาอายุมากขึ้นจะมีความผิดปกติด้านโครโมโซมของไข่ และการขาดหายไปของไมโตคอนเดรีย

  • มีปัจจัยบางอย่างและสาเหตุที่ทำให้การทำงานของรังไข่ลดลง เช่นการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะขาดสารอาหาร ความเครียด โรคทาง autoimmune  การใช้ยาต้านซึมเศร้า การอักเสบที่อุ้งเชิงกราน ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่

  • เนื้องอกในมดลูกและติ่งเนื้อในโพรงมดลูกพบมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

  • เมื่ออายุมากขึ้นจำนวนไข่ก็จะลดลง มีการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน และ inhibin b มีการเพิ่มขึ้นของ fsh

ฮอร์โมนที่ทดสอบเกี่ยวกับการทำงานของรังไข่

  1. ฮอร์โมน  fsh ( follicle stimulating hormone ) ถ้าระดับฮอร์โมนสูง แสดงว่ารังไข่ทำงานได้ไม่ดี ถ้าระดับ FSH

     
  2. ระดับ estradiol ระดับ ค่าที่น้อยกว่า 80 pg/mL. ในช่วงวันที่ 3 ของประจำเดือนจะเป็นผลดี

     
  3. Anti-mullerian hormone (AMH) anti-Mullerian hormone (AMH) เป็นglycoprotein dimer ผลิตโดย granulosa cells ของไข่ ถ้าค่าเกิน 1 ก็จะดี ถ้าค่าต่ำกว่า 1 ng/ml จะมีการลดลงของการทำงานของรังไข่ ค่าต่ำคือ < 0.2–0.7 ng/mL คือรังไข่จะตอบสนองต่อการกระตุ้นไข่ได้น้อยลง ถ้าค่า AMH สูง > 6.7 ng/mL จะสัมพันธ์กับภาวะถุงน้ำรังไข่มาก

ไข่ของผู้หญิง, ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก, ท้องตอนอายุเยอะ, ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี, ท้องตอนอายุ 35 ปี, ท้องตอนแก่, ไข่ของผู้หญิงมีจำนวนจำกัด, ไข่ รังไข่ แก่, มีลูกยาก, ภาวะมีบุตรยาก,  อยากมีลูก, แม่ท้องต้องรู้

อาการแสดงถึงรังไข่เริ่มจะเสื่อม

  1. ประจำเดือนเริ่มไม่สม่ำเสมอจากการลดลงของจำนวนไข่

  2. มีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน fsh fsh เป็นฮอร์โมนที่ทำนายเรื่องรังไข่เสื่อม มีการลดลงของ estradiol และ inhibin

  3. เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการลดลงของ AMH จำนวนไข่ก็จะลดลง

  4. Inhibin b ผลิตมาจากรังไข่ จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
  

ปัจจัยที่มีผลกับการทำงานของรังไข่

  1. ปัจจัยด้านพันธุกรรม มีการเปลี่ยนแปลงของยีนบางตัวในหญิงที่หมดประจำเดือนก่อนวัย

  2. ความผิดปกติของโครโมโซมมากขึ้นเมื่อมารดาอายุมากขึ้น (aneuploidy) ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม (Chromosome abnormality) ความเสี่ยงของการเกิดจำนวนโครโมโซมผิดปกติ (aneuploidy) เพิ่มขึ้นตามอายุของสตรีตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น

    ความผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดคือ autosomal trisomy สาเหตุเกิดจากการที่เซลล์ไข่แบ่งตัวค้างอยู่ในระยะ metaphase I ขณะอยู่ในครรภ์ ซึ่งในระยะดังกล่าว โครโมโซมจะถูกเรียงอยู่ตรงกลางเซลล์ และเมื่อมีการตกไข่ จะเกิดการแบ่งตัวต่อ โดยมีการแยกขาของโครโมโซมออกจากกันอายุที่เพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ แบบที่เรียกว่า non-disjunction นั่นคือ ขาของโครโมโซมไม่แยกกัน ทำให้เซลล์ที่แบ่งตัวเสร็จสิ้น มีจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติ นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากการสะสมสารอนุมูลอิสระ การลดลงของจำนวนเซลล์ไข่ที่มีคุณภาพ และการสั้นลงของเทโลเมียร์ (telomere) ของเซลล์ไข่ด้วย

  3. ดีเอนเอ มีการแตกทำลายและมีความเสียหายมากขึ้น อายุมากขึ้นพบกับสารอนุมูลอิสระมากขึ้น มีบุตรยากขึ้น

  4. โรคออโต้อิมมูน โรค sle โรค thyroid

ไข่ของผู้หญิง, ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก, ท้องตอนอายุเยอะ, ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี, ท้องตอนอายุ 35 ปี, ท้องตอนแก่, ไข่ของผู้หญิงมีจำนวนจำกัด, ไข่ รังไข่ แก่, มีลูกยาก, ภาวะมีบุตรยาก,  อยากมีลูก, แม่ท้องต้องรู้

ผลต่อคุณแม่ในการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากขึ้น

  1. ความผิดปกติของรก (Placental problems)

  2. ความชุกของโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นตามอายุของคุณแม่ตั้งครรภ์ อัตราการเกิดโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ (overt DM) และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational DM) เพิ่มขึ้น 3-6 เท่าในคุณแม่อายุ 40 ปีขึ้นไป เมื่อเทียบกับคุณแม่อายุน้อย ซึ่งการมีโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ จะสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติทางกายภาพของทารกในครรภ์ อัตราการทุพลภาพและอัตราตายปริกำเนิดเพิ่มขึ้น

  3. แม่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มีภาวะความดันโลหิตสูงก่อนการตั้งครรภ์ สูงกว่าผู้หญิงอายุ 30-34 ปี 2-4 เท่า และอัตราการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ เพิ่มขึ้น 2-3 เท่าในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 40 ปี และเพิ่มขึ้น 10 เท่าในคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 50 ปี

  4. ภาวะทุพพลภาพของคุณแม่และภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม โรคทางอายุรกรรมที่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในการตั้งครรภ์ ที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ซึ่งมีความชุกสูงขึ้นในผู้หญิงอายุมาก โดยเฉพาะในคนที่มีน้ำหนักตัวมากและสูบบุหรี่
    1. ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental abruption) มีความชุกเพิ่มขึ้นในคุณแม่อายุมากและเคยตั้งครรภ์หลายครั้ง
    2. ภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta previa) ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นในคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมาก แต่ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

  5. การคลอดและการผ่าตัดคลอด (Labor & cesarean section) คุณแม่ตั้งครรภ์อายุมากมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะคลอดติดขัด (labor dystocia) ซึ่งเกิดจากภาวะมดลูกหดรัดตัวผิดปกติ (uterine dysfunction) ทำให้คุณแม่กลุ่มนี้มักลงเอยด้วยการผ่าตัดคลอด สาเหตุของการผ่าตัดคลอด ได้แก่ การมีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมของสตรีอายุมาก การชักนำการคลอดไม่สำเร็จ ทารกไม่อยู่ในท่าหัว ความต้องการของมารดา และการตัดสินใจของแพทย์ผู้รักษา

  6. Perinatal morbidity สตรีตั้งครรภ์อายุมาก มีความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด และทารกน้ำหนักน้อยเพิ่มขึ้น

  7. Fetal death สตรีตั้งครรภ์อายุมาก เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดทารกเสียชีวิตในครรภ์อย่างมีนัยสำคัญ สตรีตั้งครรภ์อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เพิ่ม ความเสี่ยงของการเกิดภาวะทารกเสียชีวิตในครรภ์มากกว่าสตรีตั้งครรภ์อายุน้อยร้อยละ 65 โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ

  8. Neonatal death แม้สตรีตั้งครรภ์อายุมากจะมีความเสี่ยงของการเกิดทารกเสียชีวิตในครรภ์ แต่อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกคลอดนั้นต่ำลงแปรผกผันกับอายุมารดาที่เพิ่มขึ้น โดยจากการเก็บข้อมูลในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดหลายการศึกษา พบว่า อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกคลอดลดลงเมื่ออายุมารดาเพิ่มขึ้น

  9. Maternal mortality สตรีตั้งครรภ์อายุมากมีความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์สูงขึ้น ในประเทศกำลังพัฒนาจะมีความเสี่ยงสูงกว่า เนื่องจากมีอัตราการเสียชีวิตของสตรีตั้งครรภ์สูงอยู่แล้ว โดยสาเหตุหลักเกิดจากการเข้าถึงการดูแลรักษาระหว่างตั้งครรภ์และระหว่างคลอดไม่เพียงพอ การที่สตรีตั้งครรภ์มีอายุมากและตั้งครรภ์หลายครั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมที่สำคัญ
 

 ไข่ของผู้หญิง, ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก, ท้องตอนอายุเยอะ, ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี, ท้องตอนอายุ 35 ปี, ท้องตอนแก่, ไข่ของผู้หญิงมีจำนวนจำกัด, ไข่ รังไข่ แก่, มีลูกยาก, ภาวะมีบุตรยาก,  อยากมีลูก, แม่ท้องต้องรู้

แนวทางการดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมาก

การดูแลขณะตั้งครรภ์ไตรมาส 1 และ 2
  1. คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับทราบความเสี่ยงของการเกิดทารกมีความผิดปกติของโครโมโซม (aneuploidy) ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับคำแนะนำในการค้นหาความผิดปกติดังกล่าว ซึ่งมี 2 วิธี
    • Invasive methods ได้แก่การเจาะน้ำคร่ำหรือการเจาะชิ้นเนื้อรก ซึ่งเป็นการวินิจฉัย

    • Non-invasive methods ได้แก่การเจาะเลือดมารดาเพื่อตรวจหาระดับฮอร์โมน หรือการตรวจหาเซลล์ จากทารก (Cell-free fetal DNA) ร่วมกับการอัลตราซาวด์ดูอวัยวะสำคัญในร่างกายของทารกอย่างละเอียด ซึ่งวิธีนี้เป็นการตรวจคัดกรอง หากพบความผิดปกติ จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยต่อไป

  2. ในคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมาก แนะนำให้ทำ Non-invasive prenatal testing โดยใช้วิธีการเจาะเลือดมารดาเพื่อตรวจหาเซลล์ทารก (Cell-free fetal DNA) เนื่องจากมีความไวสูงและมีผลบวกลวงต่ำเมื่อเทียบกับวิธีอื่น และมีความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์

  3. คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์อย่างละเอียดในช่วงไตรมาส 2 เพื่อค้นหาความผิดปกติของอวัยวะสำคัญของทารก โดยเฉพาะหัวใจ

  4. คุณแม่ตั้งครรภ์อายุมาก โดยเฉพาะในรายที่มีน้ำหนักเกิน ควรได้รับการตรวจคัดกรองหาภาวะเบาหวาน(ก่อนการตั้งครรภ์หรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์) ตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ ควรให้ความรู้ในการปฏิบัติตัว และเฝ้าระวังการเกิดภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงตลอดการตั้งครรภ์

การดูแลขณะตั้งครรภ์ไตรมาส 3

การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับการอัลตราซาวด์ในช่วงอายุครรภ์ 38-39 สัปดาห์เพื่อประเมินปริมาณน้ำคร่ำ และควรทำ antepartum testing สัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยทำสลับกันระหว่าง nonstress test และ biophysical profile (BPP) ร่วมกับการนับลูกดิ้น เน้นความสำคัญของการนับลูกดิ้นว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ 

บทความโดย: แพทย์หญิง วรประภา ลาภิกานนท์ สูตินรีแพทย์

อิ๊กซี่ วิธีผสมเทียมมีลูกสำหรับคนมีลูกยาก เป็นหมันก็มีลูกได้

การทำอิ๊กซี่, อิ๊กซี่ คืออะไร, ICSI, Intracytoplasmic Sperm Injection, เป็นหมัน, มีลูกยาก, ภาวะมีบุตรยาก, ผสมเทียมมีลูก, เด็กหลอดแก้ว, เป็นหมันมีลูกได้ไหม, เป็นหมัน อยากมีลูก, รักษาหมันยังไง, รักลูก Community of The Experts, อยากมีลูก, แม่ท้องต้องรู้

เป็นหมันก็ยังสามารถตั้งครรภ์มีลูกได้ด้วยกระบวนการทำอิ๊กซี่ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) ขั้นตอนการทำอิ๊กซี่มีอะไรบ้าง คุณหมอมีคำแนะนำค่ะ

อิ๊กซี่ วิธีผสมเทียมมีลูกสำหรับคนมีลูกยาก เป็นหมันก็มีลูกได้

มีใครบ้างคะที่อยากมีลูก แต่หลังจากการตรวจสุขภาพพบว่า "เป็นหมัน" แต่อย่าเพิ่งท้อนะคะ เพราะถึงจะเป็นหมันก็ยังสามารถตั้งครรภ์ได้ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า การทำอิ๊กซี่ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) 

การที่ฝ่ายหญิงเป็นหมัน

จากการที่มีพังผืดที่ท่อนำไข่ เช่น จากการผ่าตัด มดลูก รังไข่ และภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่ ผ่าตัดท้องนอกมดลูก  ถ้าฝ่ายหญิงเป็นหมัน จากท่อนำไข่ตัน ก็สามารถมีลูกได้ โดยการต่อหมันหรือใช้วิธีการทำเด็กหลอดแก้ว โดยใส่ตัวอ่อนเข้าไปในโพรงมดลูก

กรณีฝ่ายชายเป็นหมัน

คือไม่มีตัวอสุจิออกมาในน้ำเชื้อที่หลั่งออกมาเลย เช่น จากฮอร์โมนผิดปกติ จากการได้รับเคมีบำบัด การติดเชื้อที่ระบบสืบพันธ์  เป็นมะเร็ง การได้รับการฉายแสง มีการอุดตันที่ท่อนำอสุจิ ได้รับการผ่าตัดหรือทำหมันชาย หรือไม่มีท่ออสุจิตั้งแต่กำเนิดไ หรือมีปัญหาของการหลั่ง หรือตัวอสุจิที่หลั่งออกมาตายหมด หรือมีการอักเสบของอัณฑะเนื่องจากเชื้อไวรัสคางทูม

ฝ่ายชายเป็นหมันแต่ยังสามารถมีบุตรได้

โดยกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว แต่ในปัจจุบัน สามารถช่วยให้ฝ่ายชายที่ประสบปัญหาเหล่านี้  สามารถมีบุตรของตนเองได้ โดยการใช้เข็มเจาะดูดเอาอสุจิจากท่อนำอสุจิส่วนต้น หรือโดยการตัดชิ้นเนื้อที่อัณฑะเพียงเล็กน้อยมาบดหาตัวอสุจิ (TESE) ซึ่งส่วนใหญ่พบว่ามักจะยังมีการสร้างตัวอสุจิอยู่

กระบวนการนำอสุจิมาทำอิ๊กซี่ มีดังนี้

  1. วิธีการ PESA ( percutaneous epididymal sperm aspiration) คือการใช้เข็ม แทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในท่อพักน้ำเชื้อ แล้วดูดตัวอสุจิ 

  2. มีซ่า (MESA =microsurgical epididymal sperm aspiration) คือ การผ่าตัดเข้าไปหาท่อพักน้ำเชื้อส่วน epididymis แล้วจึงใช้เข็มแทงเข้าไป และดูดตัวอสุจิออกมา

  3. ทีซ่า (TESA =testicular sperm aspiration) คือ การใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในลูกอัณฑะ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา

  4. ทีซี่ (TESE = Testicular epididymal sperm extraction) คือ การผ่าตัดเอาเนื้ออัณฑะออกบางส่วน แล้วแยกตัวอสุจิที่ค้างอยู่ในเนื้ออัณฑะออกมา จากนั้นนำอสุจิที่พบมาทำวิธีอิ๊กซี่ได้
     

ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) การทำอิกซี่ เป็นการคัดไข่ 1 ใบ และอสุจิ 1 ตัว ที่แข็งแรงและสมบูรณ์มาผสมกัน ด้วยวิธีใช้เข็มฉีดอสุจิเข้าไปที่ไข่โดยตรง เป็นการให้ปฏิสนธิกันภายนอก จากนั้นจึงนำไข่ที่ผสมกันเรียบร้อยแล้วกลับไปที่โพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ตามปกติ

บทความโดย : แพทย์หญิง วรประภา ลาภิกานนท์ สูตินรีแพทย์

 

แม่(อยาก)ท้องต้องรู้ ! เช็กให้ดี ไม่มีลูกสักทีอาจเพราะสามีไม่มีตัวอสุจิ

อสุจิไม่แข็งแรง, ไม่มีอสุจิ, น้ำเชื้อไม่มีอสุจิ, การตรวจน้ำเชื้อ, การตรวจอสุจิ, ผู้ชายเป็นหมัน, มีลูกยาก, อยากมีลูก, ผู้ชายมีลูกไม่ได้, สามีไม่มีอสุจิ, สามีอสุจิไม่แข็งแรง, มีเซ็กซ์บ่อย อสุจิไม่แข็งแรง, ผู้ชายมีลูกยาก, ผู้ชายเป็นหมัน

หากปัญหาการมีลูกยากของเราเกิดจากฝ่ายอสุจิไม่แข็งแรง หรือ ในน้ำเชื้อไม่มีตัวอสุจิ แบบนี้จะต้องรักษาอย่างไรเพื่อให้สามารถมีลูกได้เป็นปกติ

แม่(อยาก)ท้องต้องรู้ ! เช็กให้ดี ไม่มีลูกสักทีอาจเพราะสามีไม่มีตัวอสุจิ

ภาวะการมีบุตรยาก คือ การที่คู่สมรส ไม่สามารถมีลูกได้ หลังจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่ได้คุมกำเนิดอย่างน้อยเป็นเวลา 12 เดือน 

ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติ

  • ฝ่ายชายสามารถสร้างตัวอสุจิที่มีจำนวน รูปร่าง และการเคลื่อนไหวในเกณฑ์ปกติ
  • ท่อนำอสุจิของฝ่ายชายไม่มีการอุดตัน
  • ฝ่ายชายมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศ และสามารถหลั่งน้ำอสุจิเข้าไปในช่องคลอดได้
  • ตัวอสุจิต้องเคลื่อนที่เข้าไปถึงปากมดลูก ผ่านปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูก และเข้าไปตามท่อนำไข่ เพื่อปฏิสนธิกับไข่ได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
  • ฝ่ายหญิงสามารถผลิตไข่ที่ปกติได้ และมีการตกไข่เข้าไปในท่อนำไข่ได้
  • ไข่ที่ถูกผสมเป็นตัวอ่อนที่ปกติแล้ว ต้องเคลื่อนเข้าไปในโพรงมดลูกได้ และมีการฝังตัวเข้าไปในเยื่อบุโพรงมดลูกที่พร้อมรองรับการฝังตัว
  • ตัวอ่อนที่ฝังตัวแล้ว สามารถเจริญเป็นทารกต่อไป 

สาเหตุของการมีบุตรยาก

การมีบุตรยากอาจเกิดจากฝ่ายหญิง ฝ่ายชาย หรือร่วมกันทั้งสองหญิงก็ได้ สาเหตุของการมีบุตรยาก มีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แบ่งได้  3 กลุ่มคือ
  1. สาเหตุจากฝ่ายหญิง พบได้ประมาณ ร้อยละ  40-50
  2. สาเหตุจากฝ่ายชาย พบได้ประมาณ ร้อยละ  30-40
  3. ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ พบได้ประมาณ ร้อยละ  10-20
การมีลูกยากจากสาเหตุของฝ่ายชายเกิดได้หลายลักษณะ ซึ่งทางการแพทย์สามารถตรวจและรักษาได้ โดยมีขั้นตอนการตรวจดังนี้ (อ่านหน้าต่อไป)
 

 

การตรวจวิเคราะห์ น้ำอสุจิ (Semen Analysis)

โดยทั่วไปก่อนเก็บน้ำอสุจิเพื่อส่งตรวจแนะนำให้ฝ่ายชายงดร่วมเพศเป็นเวลาอย่างน้อย 3-5 วัน เพราะถ้ามีการร่วมเพศภายในช่วงเวลา 3-5 วัน ก่อนมีการส่งตรวจอาจทำให้ความเข้มข้นของอสุจิมีค่าต่ำกว่าปกติ และหากงดมีเพศสัมพันธ์เกินกว่า 5 วัน จะมีการสร้าง ageing sperm cell เพิ่มมากขึ้นจาก epididymis ซึ่งจะทำให้อสุจิดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ลดลง

การตรวจน้ำอสุจิควรตรวจในห้องตรวจที่มีอุณหภูมิห้องหรืออุณหภูมิร่างกาย (หากเป็นการตรวจทาง microscopic ควรตรวจที่อุณหภูมิร่างกาย คือ 37 องศา) ทันทีที่มีการหลั่งอสุจิจะมีการแข็งตัวโดย protien seminine ที่สร้างมาจากต่อมลูกหมาก เพื่อให้น้ำอสุจิขังอยู่ในช่องคลอด หลังจากนั้นประมาณ 20-30 นาที น้ำอสุจิจะกลายเป็นของเหลวอีกครั้งเพื่อให้ตัวอสุจิสามารถผ่านเข้าสู่ปากมดลูกได้ 

ในกรณีที่น้ำอสุจิแข็งตัวนานกว่าปกติ และไม่กลายเป็นของเหลว จะทำให้อสุจิไม่สามารถผ่านเข้าสู่ช่องคลอดและเป็นสาเหตุให้มีบุตรยากได้

ค่าปกติของ ผลการวิเคราะห์น้ำอสุจิ ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก

  • ปริมาณมากกว่า 2 ซีซี
  • จำนวนความเข้มข้นมากกว่า 20 ล้านตัวต่อซีซี
  • จำนวนน้ำเชื้อทั้งหมดมากกว่า 40 ล้าน
  • อัตราการวิ่งมากกว่า 50 %
  • รูปร่างปกติมากกว่า 30 %
  • จำนวนมีชีวิตมากกว่า 75 %
  • จำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า  1 ล้านต่อต่อซีซี
  • Ph  >=7.2
  • ถ้ามีความเข้มข้นของอสุจิน้อยกว่า 20 ล้านตัวต่อ มล. เรียกว่ามีภาวะ oligospermia 
  • ภาวะที่ตัวอสุจิเคลื่อนไหวได้ น้อยกว่าร้อยละ 50  เรียกว่า asthenozoospermia
  • ภาวะที่มีตัวอสุจิที่ลักษณะปกติ (normal  morphology) น้อยกว่าร้อยละ 30 เรียกว่า teratozoospermia

 

คำแนะนำเมื่อฝ่ายชายอสุจิไม่แข็งแรง หรือไม่มีอสุจิ

  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้การผลิตฮอร์โมนเพศชายลดลง
  • งดสูบบุหรี่จะทำให้จำนวนน้ำเชื้อลดลง
  • ควบคุมน้ำหนักตัว  เพราะไขมันในร่างกายจะปล่อยเอนไซม์  aromatase ซึ่งจะเปลี่ยนฮอร์โมน เพศชายเป็นเอสโตรเจนเป็นผลให้ลดฮอร์โมน testosterone และจำนวนน้ำเชือลดลง
  • หลีกเลี่ยงอัณฑะต้องอยู่ในที่ร้อนเช่น การอาบน้ำร้อนและซาวน่า
  • ลดความเครียดมีผลให้รูปร่างน้ำเชื้อไม่ดี

ปัจจัยที่มีผลต่อความแข็งแรงของอสุจิ

  1. มีการทำลายฃองอัณฑะ เช่น มีการติดเชื้อ เป็นมะเร็งที่อัณฑะ มีการบาดเจ็บหรือได้รับการผ่าตัดที่อัณฑะ 

  2. การใช้ยาสเตียรอยด์ จะทำให้จำนวนและการเคลื่อนไหวของอสุจิลดลงประวัติการได้รับยาบางชนิดเช่น cimetidine, spironolactone, nitrofurans, sulfasalazine, erythromycin, tetracyclines,anabolic steroids และยาเคมีบำบัดต่างๆ จะทำให้ทั้งคุณภาพและปริมาณของอสุจิลดลง

  3. ประวัติการได้รับสารเสพติดเช่น โคเคน กัญชา สารเสพติดเหล่านี้จะทำให้ปริมาณของอสุจิและระดับ      testosterone ลดลง กัญชาสามารถลดการหลั่งของ GnRH และสามารถกดการทำงานของระบบสืบพันธุ์ทั้งในสามีและภรรยา โคเคนจะทำให้การสร้างอสุจิลดลง

  4. มีภาวะเส้นเลือดขอดที่อัณฑะ

  5. การประเมินทางพันธุกรรม  (Genetic evaluation) พบว่าผู้ชายที่มี Y chromosome  submicroscopic deletions มักมีความเข้มข้นของอสุจิต่ำกว่าปกติ (oligospermia) 
กลุ่มของยีนที่ขาดหายไปและสัมพันธ์กับภาวะ azoospermia หรือ oligospermia  เรียกว่า deleted in azoospermia (DAZ) นอกจากนี้ยังพบว่ามีบริเวณที่จำเพาะบน Y chromosome ที่สัมพันธ์กับภาวะ azoospermia เรียกว่า  azoospermic factors

ซึ่งมีทั้งหมด 3 ตำแหน่ง คือ AZFa, AZFb และ AZFc  ผู้ชายที่มีตัวอสุจิน้อยมาก มักจะมีการขาดหายไปของยีนบริเวณ  AZFb และ AZFc ซึ่งอยู่บนแขนข้างยาวของ Y chromosome เนื่องจากภาวะดังกล่าวสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกได้ในกรณีที่ทำ intracytoplasmic sperm injection (ICSI) ดังนั้นจึงควรมีการตรวจสอบหาความผิดปกติของ Y chromosome ในผู้ชายที่มีภาวะ oligospermia  ก่อน ที่จะแนะนำให้ทำ icsi
 

สาเหตุมีบุตรยากในฝ่ายชาย 

  1. เกิดขึ้นเนื่องจากมีความผิดปกติที่อัณฑะเอง เช่น การหยุดทำงานของอัณฑะอย่างถาวร (testicilar atrophy) ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักพบว่ามี FSH, LH สูงแต่มี testosterone ต่ำ หรืออยู่ในเกณฑ์ปกติ 

  2. ผู้ป่วยในกลุ่ม ที่ ระดับฮอร์โมน มี FSH, LH และ testosterone ต่ำ ซึ่งแสดงถึงความผิดปกติของสมองทำให้มีการสร้างหรือหลั่ง FSH และ LH  มากระตุ้นการทำงานของอัณฑะได้น้อย จึงเป็นผลให้ระดับ testosterone มีค่าต่ำ

    ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ควรได้รับการตรวจพิเศษ เช่น CT-scan หรือ MRI เพื่อวินิจฉัยแยกภาวะร้ายแรงต่างๆ เช่น เนื้องอกของสมองออกไป ก่อนได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนซึ่งพบว่าการใช้ pulsatile GnRH หรือ HCG ร่วมกับ HMG สามารถรักษาภาวะพร่อง GnRH ได้ผลดี ส่วนในกรณีของภาวะพร่อง gonadotropins ควรให้การรักษาด้วย HCG อย่างเดียวหรือร่วมกับ HMG
    1. ความพิการแต่กำเนิด (Congenital syndromes) ได้แก่ ภาวะที่อัณฑะค้างอยู่ในช่องท้อง (cryptorchid), หรือภาวะ Klinefelter syndrome เป็นต้น
    2. การติดเชื้อของอัณฑะ เช่น  mumps orchitis จากการติดเชื้อคางทูม
    3. การได้รับสารที่มีผลเสียต่ออัณฑะ เช่น สารพิษที่พบในสิ่งแวดล้อม อาหาร และยาบางชนิดที่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย เช่น cimetidine, spironolactone และ flutamide เป็นต้น  สารฆ่าแมลงบางชนิด เช่น dibromochloropropane ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายต่ออัณฑะได้  เช่นเดียวกับเคมีบำบัดหลายชนิด เช่น cyclophosphamide, busulfan, methotrexate และ chlorambucil เป็นต้น

  3. เกิดจากการอุดตันหรือ dysfunction ของระบบสืบพันธุ์ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาความเข้มข้นของอสุจิต่ำกว่าปกติ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีระดับของ FSH, LH และtestosterone อยู่ในเกณฑ์ปกติ แม้ว่าส่วนใหญ่ของผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับขบวนการสร้างอสุจิก็ตาม แต่ก็พบว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการอุดตันของ epididymis หรือ vas deferens   
ส่วนในกรณีที่ผู้ชายไม่มีตัวอสุจิในน้ำอสุจิเลยซึ่งถือว่าเป็นหมัน ปัจจุบันสามารถนำเอาอสุจิออกจากอัณฑะ (TESE) หรือจากท่อนำน้ำอสุจิส่วนต้น (MESA,PESA) แล้วนำมาทำ ICSI ได้แล้ว หากพบว่าเริ่มเข้าข่ายมีลูกยาก ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาการมีบุตรยากนะคะ 

บทความโดย : แพทย์หญิง วรประภา ลาภิกานนท์ สูตินรีแพทย์

แม่ท้องต้องรู้ ! ก่อนจะมีลูก ต้องเตรียมตัว วางแผน อย่างไร

 5059

แม่ท้องต้องรู้ ! ก่อนจะมีลูก ต้องเตรียมตัวล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน 

เพราะการ เตรียมพร้อม ก่อน ตั้ง ครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นของ การ ตั้งครรภ์ที่มี คุณภาพ ปลอดภัย และ ทำให้ ลูก มี ความสมบูรณ์ และ แข็งแรง ซึ่งสามีภรรยาที่อยากมีลูกต้องเตรียมตัวดังต่อไปนี้

ขั้นแรก

  • ควบคุมน้ำหนัก ตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

  • งดการสูบบุหรี่ และ งดดื่มเหล้า

  • หลีกเลี่ยง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • แนะนำคุณผู้หญิงให้กินยา folic acid วันละ 1 เม็ดก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อ ป้องกันภาวะความพิการทางสมองของเด็ก

ขั้นที่สอง

  • พบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าพ่อแม่มี ความเสี่ยงต่อการมีลูกยาก หรือไม่ เนื่องจากประวัติบางอย่างที่สำคัญ เช่น ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาผิดปกติ โรคประจำตัวที่เป็น เช่น เบาหวาน ถ้าคุมน้ำตาลไม่ดีก็จะมีความเสี่ยงเด็กพิการได้

  • ตรวจภายใน อัลตราซาวน์ ดูมดลูกและรังไข่ ดูความผิดปกติ

ขั้นที่สาม

ตรวจเลือดเบื้องต้นซึ่งโรงพยาบาลหลายแห่งมีโปรแกรมการตรวจดังต่อไปนี้

  • ตรวจความผิดปกติของเม็ดเลือดและปริมาณฮีโมโกลบิน (CBC /Hb typing) ที่ได้ยินบ่อยๆ คือโรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia) สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปให้ลูกได้ ถ้ารุนแรง ส่งผลให้เด็กมีภาวะซีด ตับโต ต้องให้เลือดบ่อยๆ หรือบางรายเสียชีวิตระหว่างตั้งครรภ์ได้

  • หมู่เลือด และ ชนิดหมู่เลือด (Blood group ABO and Rh) ในกรณีที่เป็นหมู่เลือดหายากและมีความจำเป็นต้องใช้เลือดในระหว่างคลอดจะได้มีการเตรียมเลือดได้ทันท่วงที

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น การติดเชื้อ HIV  ซิฟิลิส เป็นต้น

  • การตรวจหาโรคและภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) ถ้าแม่ติดเชื้อ ก็จะมีความเสี่ยงติดไปยังลูกได้ โดยถ้าเด็กได้รับเชื้อนี้ ก็จะส่งผลต่อการเกิดภาวะตับอักเสบและตับแข็งในอนาคต ในกรณีที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน แพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนรวม 3 เข็มก่อนการตั้งครรภ์

  • การตรวจหาภูมิต้านทานต่อ หัดเยอรมัน (Rubella) ถ้าติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์โอกาสเด็กพิการสูงมาก ถ้าไม่มีภูมิต้านทาน แนะนำให้ฉีดวัคซีน 1 เข็มและหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนหลังฉีดเนื่องจากเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (live attenuated vaccine)

สำหรับคู่สมรสที่ปล่อยมีบุตรมาแล้วเกิน 1 ปี ถือว่าอยู่ในภาวะมีบุตรยาก หมอแนะนำให้เพิ่มการตรวจน้ำเชื้ออสุจิฝ่ายชายร่วมด้วย เนื่องจากพบเป็นสาเหตุได้ถึงร้อยละ 40 เลยครับ

 

รักลูก Community of The Experts

นพ.กฤตยะ กฤตย์ประชา 

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช และการรักษาผู้มีบุตรยาก

แม่อุ้มบุญ ท้องแทนคนอื่น อย่างไรไม่ให้ผิดกฏหมาย

อุ้มบุญ, แม่อุ้มบุญ, อุ้มบุญ ผิดกฏหมายไหม, อุ้มบุญ ถูกกฏหมาย, อุ้มบุญ ทำได้ไหม, อุ้มบุญ คืออะไร, ขั้นตอนการอุ้มบุญ, กฏหมายอุ้มบุญ, มีลูกแทนคนอื่น, ตั้งท้องแทนคนอื่น, ใคร อุ้มบุญได้, ให้ญาติอุ้มบุญ, ทำไมต้องอุ้มบุญ, วิธีอุ้มบุญ, อุ้มบุญ ยังไง ให้ถูกกฏหมาย

อยากมีลูกด้วยการอุ้มบุญทำได้มากน้อยแค่ไหนกับพ่อแม่และกฏหมายในประเทศไทย คนอยากมีลูกด้วยการอุ้มบุญ แม่ที่รับอุ้มบุญแทนคนอื่นก็ต้องรู้ไว้นะ

แม่อุ้มบุญ ท้องแทนคนอื่น อย่างไรไม่ให้ผิดกฏหมาย

การอุ้มบุญ คือ การให้ผู้หญิงคนอื่นตั้งครรภ์แทนคู่สามีภรรยาที่ไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ โดยการนำไข่และเชื้ออสุจิของคู่สามีภรรยาที่ผสมกันแล้วฝังลงไปในมดลูกของแม่อุ้มบุญ เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น และเมื่อทารกคลอดออกมาก็จะถือเป็นลูกของคู่สามีภรรยาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

สำหรับผู้ที่อยากมีลูกแต่มีปัญหาสุขภาพที่ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ การอุ้มบุญจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนอยากมีลูก แต่ในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 เกิดขึ้น เพื่อคุ้มครองเด็กจากการค้ามนุษย์ รวมไปถึงศีลธรรมและความรู้สึก ดังนั้นผู้ที่ต้องการมีลูกด้วยการอุ้มบุญจึงควรรู้ไว้ก่อนว่า จะต้องทำอย่างไรเพื่อให้การอุ้มบุญไม่ผิดกฎหมาย

อุ้มบุญอย่างไรให้ถูกกฎหมาย (อย่างย่อ)

  • สามีและภรรยาจะต้องจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และภรรยาไม่สามารถมีบุตรได้ หากต้องการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนจะต้องมีสัญชาติไทย แต่หากแต่งงานต่างสัญชาติต้องจดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี

  • หญิงที่ตั้งครรภ์แทน ต้องไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบเชื้อสายของคู่สามีภรรยา

  • หญิงที่ตั้งครรภ์แทนต้องเป็นญาติที่สืบเชื้อสายเดียวกับสามีหรือภรรยา แต่หากไม่มีก็สามารถให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนได้

  • หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องเคยมีบุตรมาก่อน และหากมีสามีอยู่แล้วก็ต้องให้สามียินยอม 

  • การอุ้มบุญทำได้ 2 วิธี คือการใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีและไข่ของภรรยา หรือการใช้ตัวอ่อนจากอสุจิสามีหรือไข่ภรรยาไปผสมกับไข่หรืออสุจิของผู้อื่น โดยมีข้อห้ามไม่ให้ใช้ไข่ของหญิงที่อุ้มบุญ

  • ห้ามไม่ให้มีการรับจ้างตั้งครรภ์หรือทำเพื่อประโยชน์ทางการค้าใด ๆ

  • เด็กที่เกิดมาด้วยการอุ้มบุญจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีภรรยาคู่ดังกล่าว

  • กรณีอุ้มบุญให้คู่รักชายรักชาย จะต้องใช้อสุจิของคนใดคนหนึ่ง นำมาปฏิสนธิกับไข่ที่อาจได้รับบริจาคมาด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้วเช่นกัน แล้วให้หญิงอุ้มบุญตั้งครรภ์แทนจนกว่าจะคลอด อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย การอุ้มบุญให้คู่รักชายรักชายที่ต้องการมีบุตรยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ

     


 อุ้มบุญ, แม่อุ้มบุญ, อุ้มบุญ ผิดกฏหมายไหม, อุ้มบุญ ถูกกฏหมาย, อุ้มบุญ ทำได้ไหม, อุ้มบุญ คืออะไร, ขั้นตอนการอุ้มบุญ, กฏหมายอุ้มบุญ, มีลูกแทนคนอื่น, ตั้งท้องแทนคนอื่น, ใคร อุ้มบุญได้, ให้ญาติอุ้มบุญ, ทำไมต้องอุ้มบุญ, วิธีอุ้มบุญ, อุ้มบุญ ยังไง ให้ถูกกฏหมาย

ขั้นตอนการอุ้มบุญ

  1. รับคำปรึกษา
    คู่สามีภรรยาที่ไม่สามารถมีบุตรได้และต้องการใช้วิธีอุ้มบุญควรปรึกษากับผู้ให้คำแนะนำด้านการมีบุตร เพื่อทราบถึงข้อดีและข้อเสียของการอุ้มบุญ รวมถึงผลกระทบต่อความสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้แม่อุ้มบุญแทนตนเอง เพื่อช่วยให้พิจารณาและตัดสินใจได้อย่างรอบคอบยิ่งขึ้น

  2. เลือกแม่อุ้มบุญ
    ขั้นตอนต่อมาคือการคัดหาผู้ที่จะมาตั้งครรภ์แทน ซึ่งตามกฎหมายกำหนดจะต้องเป็นญาติที่สืบเชื้อสายเดียวกัน ไม่รวมบุพการีหรือผู้สืบเชื้อสาย หากไม่มีญาติจึงจะสามารถให้ผู้อื่นตั้งครรภ์แทน นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังได้แนะนำว่าแม่อุ้มบุญที่เหมาะสมควรจะมีคุณสมบัติ ดังนี้
    • มีอายุระหว่าง 21-45 ปี
    • เคยตั้งครรภ์มาก่อนโดยไม่เกิดอาการแทรกซ้อนใด ๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ และบุตรที่คลอดออกมามีสุขภาพแข็งแรงดี
    • มีครอบครัวที่คอยสนับสนุนและพึ่งพาได้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
    • การตรวจสุขภาพ คู่สามีภรรยาและหญิงที่ตั้งครรภ์แทนควรได้รับ
    • การตรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิตเบื้องต้น เหตุที่ต้องตรวจสุขภาพจิตนั้นเนื่องจากการอุ้มบุญเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและอาจทำให้มีปัญหาหญิงอุ้มบุญไม่ยอมคืนเด็ก ปัญหาความวิตกกังวลของคู่สามีภรรยาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการอุ้มบุญ หรือปัญหาอื่น ๆ ได้

  3. ทำสัญญาข้อตกลง
    สามีภรรยาที่ต้องการให้ผู้อื่นตั้งครรภ์แทน ควรจ้างทนายที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายหรือคดีอุ้มบุญให้เขียนข้อตกลงร่วมกันที่สามารถคุ้มกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้ โดยอธิบายถึงรายละเอียดข้อสำคัญต่าง ๆ เช่น การชดเชยค่าเสียหาย สิทธิความเป็นบิดามารดา สิทธิในการดูแลเด็ก การกำหนดว่าเด็กจะคลอดที่ไหน การทำสัญญาส่งมอบระหว่างบุคคลที่สาม ขอบเขตการคุ้มครองในการประกันภัย และการควบคุมการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาทางแพทย์ระหว่างที่ตั้งครรภ์ของหญิงอุ้มบุญ เป็นต้น

  4. สร้างตัวอ่อน
    ตัวอ่อนที่ฝังในครรภ์ของหญิงอุ้มบุญเกิดจากวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว โดยนำเอาอสุจิของฝ่ายชายและรังไข่ของฝ่ายหญิงมาผสมให้ปฏิสนธิกันภายนอกร่างกายแล้วใส่เข้าไปฝังตัวในมดลูกของหญิงอุ้มบุญจนเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น 

  5. กระบวนการปฏิสนธิภายนอก
    หญิงที่รังไข่ถูกนำมาใช้และหญิงที่จะตั้งครรภ์แทนต่างได้รับยาเพื่อปรับรอบเดือนให้มาพร้อมกัน เพื่อให้มดลูกของหญิงที่ตั้งครรภ์แทนพร้อมสำหรับตัวอ่อนทันทีที่ไข่ของหญิงอีกคนตกและถูกนำไปปฏิสนธิกับอสุจิ

  6. รับยากระตุ้นการตกไข่
    หญิงที่เป็นเจ้าของไข่จะได้รับยากระตุ้นการตกไข่ (Gonadotropins) เพื่อให้ไข่ตกหลายใบและเมื่อไข่เจริญเติบโตเต็มที่พร้อมปฏิสนธิ แพทย์ก็จะนำไข่และอสุจิที่ผลิตขึ้นในเวลาเดียวกันนี้มาปฏิสนธิกันในภาชนะในห้องปฏิบัติการแล้วฝังไปที่มดลูกของหญิงอุ้มบุญเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น

 อุ้มบุญ, แม่อุ้มบุญ, อุ้มบุญ ผิดกฏหมายไหม, อุ้มบุญ ถูกกฏหมาย, อุ้มบุญ ทำได้ไหม, อุ้มบุญ คืออะไร, ขั้นตอนการอุ้มบุญ, กฏหมายอุ้มบุญ, มีลูกแทนคนอื่น, ตั้งท้องแทนคนอื่น, ใคร อุ้มบุญได้, ให้ญาติอุ้มบุญ, ทำไมต้องอุ้มบุญ, วิธีอุ้มบุญ, อุ้มบุญ ยังไง ให้ถูกกฏหมาย

อุ้มบุญในแง่ของความผูกพัน

ในแง่ของจิตใจ แน่นอนว่าการตั้งครรภ์ย่อมเกิดสิ่งที่เรียกว่าความผูกพันขึ้นระหว่างแม่อุ้มบุญกับทารกในครรภ์ เพราะแม้ว่าจะเป็นทารกที่เกิดจากไข่และอสุจิของสามีภรรยาผู้ว่าจ้าง แต่ด้วยความผูกพันทางร่างกายที่ส่งถึงกันตลอดเวลาตั้งครรภ์ก็มักทำให้เกิดกรณีที่ว่า แม่อุ้มบุญรักทารกเหมือนลูกตัวเอง ผูกพันมากจนไม่ยอมมอบทารกให้แก่คู่สามีภรรยาจนเกิดการฟ้องร้องกันในที่สุด

เรื่องของการอุ้มบุญเป็นเรื่องที่พูดยากทั้งในแง่ของความต้องการ ธรรมชาติ และศีลธรรม เพราะสามีภรรยาบางคู่ก็ไม่สามารถมีบุตรเองได้ในทุก ๆ วิธี และการรับเด็กมาเลี้ยงก็อาจทำให้รู้สึกแคลงใจในหลาย ๆ เรื่องเพราะไม่ใช่เลือดเนื้อเชื้อไขของตัวเอง การอุ้มบุญจึงอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายคนตั้งต้นคิดและศึกษาถึงผลดีผลเสียต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มาเติมเต็มชีวิตครอบครัวให้สมบูรณ์

ท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือ การคิดคำนวณถึงความต้องการของตัวเอง รวมไปถึงในเรื่องของความรักความผูกพันในฐานะพ่อแม่และครอบครัว

คลิกอ่านข้อกำหนดอุ้มบุญได้ที่ >>> พรบ.อุ้มบุญ

ไม่รู้มาก่อน! 'ไข่' ผู้หญิงมีจำกัดแค่ 2-5 แสนฟอง แถมไข่ลดลงตามอายุ อยากมีลูกต้องรีบ!

3225

ไข่ของผู้หญิงมีจำกัดแค่ 2-5 แสนฟอง และยังลดลงตามอายุอีกด้วย

ทราบไหมคะว่า  ไข่ของผู้หญิง จำนวนจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น

ไข่ของผู้หญิงแม้จะเล็กจิ๋ว แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเล็กนะคะ เพราะการที่ผู้หญิงจะมีลูกได้ขึ้นอยู่กับไข่เลยล่ะค่ะ โดยไข่ทั้งหมด(ตลอดชีวิต)ของผู้หญิงจะถูกเก็บสะสมอยู่ในรังไข่ทั้งสองข้าง และติดตัวมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ 5 เดือน ทารกเพศหญิงจะมีไข่จะติดตัวมาจำนวนสูงถึง 6-7 ล้านฟอง แต่จะค่อย ๆ สลายตัวไปเหลือเพียง 2 ล้านฟองในวัยแรกเกิด

จากนั้นจะลดลงเรื่อย ๆ จนเข้าสู่วัยรุ่นจะเหลืออยู่ประมาณ 2-5 แสนฟอง แต่ทั้งนี้จะมีไข่ที่มีผลทำให้ตั้งครรภ์ได้เพียง 400-500 ฟองเท่านั้น เพราะการตกไข่แต่ละครั้งจะมีไข่เพียงฟองเดียวที่สมบูรณ์ พร้อมจะให้อสุจิเข้ามาผสมได้ เพื่อสร้างทารก และอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ไข่บางส่วนจะฝ่อสลายไปตามกาลเวลา 

สาเหตุมีลูกยาก เพราะอายุมากขึ้น จำนวนไข่ลดลง

  1. เมื่อผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป อัตราการฝังตัวอ่อนจะลดลง จากที่การฝังตัวยากอยู่แล้ว จะยากขึ้นไปอีก

  2. เมื่อผู้หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป ประจำเดือนก็มีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้โอกาสน้อย และแพทย์ไม่แนะนำให้มีลูกตอนอายุมากขนาดนี้

  3. อายุมากขึ้น เสี่ยงกับการแท้งมากขึ้น และจะมีความผิดปกติด้านโครโมโซมของไข่ และการขาดหายไปของไมโตคอนเดรีย

  4. จะมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้การทำงานของรังไข่ลดลง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะขาดสารอาหาร ความเครียด โรคทาง autoimmune  การใช้ยาต้านซึมเศร้า การอักเสบที่อุ้งเชิงกราน ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่ เป็นต้น

  5. ผู้หญิงมีเนื้องอกในมดลูก และติ่งเนื้อในโพรงมดลูกพบมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

  6. เมื่ออายุมากขึ้นจำนวนไข่ก็จะลดลง มีการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน และ Inhibin B มีการเพิ่มขึ้นของ FSH

รู้เรื่องความสำคัญของไข่แล้วนะคะ คนที่อยากมีลูกก็อย่าชะล่าใจปล่อยเวลานาน เพราะไข่ของผู้หญิงมีจำนวนจำกัดแค่ 2-5 แสนฟอง และทุกใบไม่ใช่ว่าจะสร้างทารกได้ทั้งหมดด้วยค่ะ พอรู้แบบนี้แล้ว ขอเป็นกำลังใจให้คนที่อยากมีลูกนะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.วรประภา ลาภิกานนท์ สูตินรีแพทย์