facebook  youtube  line

คุณแม่จอมขัดใจ คุณแม่ช่างห้ามทำลูกขาด EF ไปจนโต

การควบคุมอารมณ์-ทักษะสมองEF
 

คุณแม่จอมขัดใจ คุณแม่ช่างห้ามทำลูกขาด EF ไปจนโต

คุณแม่ที่ไม่เคยสังเกตลูก ว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกสนใจ หรือชอบสั่งให้ลูกทำตามสิ่งที่ตัวเองต้องการ พอลูกไม่ทำ ไม่เชื่อฟัง ก็ไปทำให้เอง แต่ทำให้แบบบ่นว่าไป ไม่ได้สอนหรือคุยกับลูกด้วยเหตุผล แต่ต้องทำตามที่ตัวเองสั่งเท่านั้น เป็นคุณแม่ที่ชอบขัดใจลูกไปซะทุกอย่างไม่สนใจว่าจริง ๆ แล้วลูกต้องการอะไรกันแน่ แบบนี้จะทำให้ลูกมีปัญหาได้ค่ะ

 

“ลูกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ”

เพราะลูกของคุณแม่ไม่ได้มีโอกาสสื่อสารหรือทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ นั่นจะบ่มเพาะให้เด็ก กลายเป็นคนเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ เพราะเวลาที่ไม่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบหรือสนใจ การจดจ่อใส่ใจจะน้อย ทำให้เด็กไม่สามารถทำสิ่งนั้น ๆ จนสำเร็จได้ เวลาเกิดอะไรขึ้นมาก็ไม่บอก แต่ใช้วิธีโกหกหรือแก้ตัว เพื่อให้พ่อแม่พอใจ แต่พอลับหลังก็จะไปแอบทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ

 

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ

1. รับฟังความคิดเห็นของลูกหรือคนรอบข้างให้มากขึ้น

2. เปลี่ยนการออกคำสั่งเป็นการถามความเห็น

3. เลิกบ่นซ้ำ ๆ แต่เปลี่ยนเป็นการสื่อสารให้ตรงจุดถึงสิ่งที่ต้องการจะบอกกับลูก  

 

EF (Executive Functions) คืออะไร

EF ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้าของมนุษย์ทุกคน ที่ใช้ในการกำกับความคิด ความรู้สึกและการกระทำ เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ EF เป็นทักษะที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียน การงาน การอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ การคิดสร้างสรรค์ และการจัดการทุกด้านตลอดชีวิต

Executive Functions (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย

Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน 

ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ

 

Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

เป็นความสามารถในการเพิกเฉยต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่จะทำให้เราหลุดออกจากการทำงานที่อยู่ตรงหน้าได้ รวมไปถึงความสามารถในการทนต่อสิ่งยั่วยุทางอารมณ์จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควรได้ เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก” เด็กที่มี Inhibitory Control จะสามารถควบคุมตนเองระหว่างอยู่ในห้องเรียนไม่ให้พูดโพล่งระหว่างครูสอน 

 

Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด

สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบได้

 

Focus / Attention การใส่ใจจดจ่อ

มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่วอกแวก

 

Emotional Control การควบคุมอารมณ์

ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และแสดงออกอย่างเหมาะสม ไม่หุนหันพลันแล่น รู้จักจัดการกับความเครียด ความหงุดหงิดใจและใช้เวลาไม่นานในการคืนอารมณ์สู่ภาวะปกติ

 

Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ

ความสามารถในการตั้งเป้าหมายและจัดลำดับความสำคัญ การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน

 

Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง

ความสามารถในการตรวจสอบ ประเมินผลงานตนเอง เพื่อหาข้อดีและข้อบกพร่อง ตลอดจนประเมินผลกระทบจากพฤติกรรมของตนเองที่มีต่อผู้อื่น และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร

 

Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด

เมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง สามารถลงมือทำด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีคนคอยบอก มีทักษะการคิดและลงมือสร้างสรรค์ให้สิ่งที่คิดเป็นจริงหรือสำเร็จตามที่คิดไว้ได้

 

Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย

เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ ก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ

 

คุณแม่จอมบงการ แม่ชอบสั่ง แม่ชอบบังคับทำลูก EF ต่ำ เป็นเด็กเก็บกด

แม่จอมบงการ-แม่ชอบบังคับ-แม่ชอบสั่ง-เด็กเก็บกด-ลูกเก็บกด

คุณแม่จอมบงการ แม่ชอบสั่ง แม่ชอบบังคับทำลูก EF ต่ำ เป็นเด็กเก็บกด

สำหรับคุณแม่ที่มองข้ามไม่ให้ความสำคัญกับความต้องการหรือความรู้สึกของลูก เป็นแม่ที่มีลักษณะเผด็จการ ชอบบงการลูก จะทำให้ลูกไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้

ต้องระวัง!!

ว่าลูกๆ ของคุณแม่จะกลายเป็นคนเก็บกด เมื่อควบคุมอารมณ์ไม่ได้ก็จะเป็นเด็กที่ก้าวร้าว เวลาโกรธแล้วไม่รู้จักควบคุมความโกรธ ไม่สนใจใคร ไม่รู้จักกาลเทศะ ไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ความคิดของตัวเองให้คงที่ได้เด็กจะกลายเป็นคนเครียดง่าย ๆ จิตตก ขี้กังวล ที่สำคัญเด็กจะกลายเป็นคนที่ไม่รู้ว่าตกลงตอนนี้ตัวเองรู้สึกอย่างไรกันแน่ เพราะอารมณ์จะแปรผันไปตามคนรอบข้าง ไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้จักความรู้สึกที่แท้จริง    

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
  1. ต้องมีสติควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้ มีวิธีจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง
  2. ยอมรับความผิดพลาด ไม่มีใครไม่เคยทำผิด หมั่นเข้าใจและให้อภัย
  3. ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการควบคุมอารมณ์ให้กับลูก
  4. สอนลูกให้รู้จักอารมณ์ของตัวเอง เช่น อารมณ์แบบนี้เรียกว่าโกรธ แบบนี้เรียกว่าเสียใจ แล้วชวนให้ลูกได้ลองคิดว่า
  5. ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้จะแก้ปัญหาอย่างไร ก็จะช่วยฝึกการควบคุมอารมณ์และแก้ปัญหาให้กับลูกได้
  6. พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบ ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินสิ่งต่าง ๆให้กับลูก แต่ใช้เหตุผลในการคุยกัน
EF (Executive Functions) คืออะไร

EF ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้าของมนุษย์ทุกคน ที่ใช้ในการกำกับความคิด ความรู้สึกและการกระทำ เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ EF เป็นทักษะที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียน การงาน การอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ การคิดสร้างสรรค์ และการจัดการทุกด้านตลอดชีวิต

Executive Functions (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย

  1. Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน
  2. Inhibitory Control การยั้งคิด
  3. Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด
  4. Focus / Attention การใส่ใจจดจ่อ
  5. Emotional Control การควบคุมอารมณ์
  6. Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
  7. Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง
  8. Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด
  9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย
 

จับคู่เงาของรถแบบต่าง ๆ กันเถอะ - ดาวน์โหลด Learning Sheet

เกมจับคู่ภาพ, เกมจับคู่เงา, เกมหาเงา, เกมลากเส้น, เกมสำหรับเด็ก, เกมฝึกทักษะ, เกมเด็กอนุบาล, learning sheet, ดาวน์โหลดแบบฝึกหัดเด็ก, ดาวน์โหลดเกมเด็กฟรี, Download เกมสำหรับเด็ก

จับคู่เงาของรถแบบต่าง ๆ กันเถอะ - ดาวน์โหลด Learning Sheet

ระดับ: ก่อนอนุบาล, อนุบาล

วิธีเล่น

  • ลากเส้นจับคู่ยานพาหนะ กับเงา

สิ่งที่เด็กเรียนรู้

  • ฝึกทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การคิดเชื่อมโยง
  • ฝึกสมาธิ และการจดจ่อ  ( Focus and Attention )

บทบาทพ่อแม่ / ผู้ปกครอง

  • พูดคุยเกี่ยวกับวิธีการหาเงาของรูป
  • เล่นสร้างเงาจากมือ หรือสิ่งของใกล้ตัว

หมวดการเรียนรู้ / ทักษะ

  • ทักษะสมอง EF
  • การสังเกตจดจำ
  • การเชื่อมโยงความสัมพันธ์

 

ดาวน์โหลด Learning Sheet : ความรู้สึกของฉันเป็นอย่างไร บอกหน่อยซิ

ดาวน์โหลด, เกมสำหรับเด็ก, เรียนรู้เรื่องอารมณ์, เรียนรู้เรื่องความรู้สึก, ศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล, Activity Sheet

หนูกำลังรู้สึกยังไง ชวนคุณแม่ดาวน์โหลดกิจกรรมน่ารักสอนลูกเรียนรู้ความรู้สึกของตัวเองผ่านภาพน่ารัก ที่นอกจากจะช่วยให้ลูกรู้และรับมือกับความรู้สึกตัวเองแล้ว ยังใช้สังเกตคนรอบข้างได้ด้วย

ดาวน์โหลด Learning Sheet : ความรู้สึกของฉันเป็นอย่างไร บอกหน่อยซิ

ระดับ

  • อนุบาล

วิธีเล่น

  • ตัดภาพใบหน้าแสดงอารมณ์ Sad (เสียใจ, เศร้า) และ Happy (มีความสุข) วางตรงช่องสี่เหลี่ยมให้ถูกต้อง

สิ่งที่เด็กเรียนรู้

  • เรียนรู้เรื่องอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง และคนอื่น
  • เรียนรู้คำศัพท์ไทย-อังกฤษเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก

บทบาทพ่อแม่ / ผู้ปกครอง

  • สอนให้ลูกรู้จักอารมณ์ต่างๆ เพิ่มเติม และวิธีจัดการกับอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเชิงบวก

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • การเข้าใจผู้อื่น, ทักษะทางอารมณ์และสังคม, ภาษาอังกฤษ, ความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory)

ปรบมือแปะๆ สร้าง EF ด้วยกันปะ

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

ช่วงแรกเกิดถึง 1 ปี เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสร้างพื้นฐาน EF ให้กับลูกอย่างแน่นหนาเลยค่ะ ซึ่งนอกจากการให้นมแม่จะเป็นการส่งเสริม EF ให้ลูกแล้ว การจัดสิ่งแวดล้อม การทำกิจกรรมและการละเล่นต่างๆ ก็ช่วยสร้าง EFให้ลูกได้เช่นกัน 


การเล่นปรบมือกับลูก แม้เด็กวัย 6-12 เดือน จะยังไม่เข้าใจจังหวะ แต่การตบแปะๆ ก็ช่วยให้ลูกมี Working Memory ค่ะ

"ตบมือแปะๆ จะได้กินนม นมไม่หวาน ใส่น้ำตาล น้ำอ้อย ใส่นิดหน่อย อร่อยจังเลย" 

เพลงง่ายๆ ที่ร้องประกอบการตบมือกับลูก เมื่อลูกได้ยินเสียงพ่อแม่ร้องเพลงนี้พร้อมกับตบมือแปะๆ ไปด้วย Working Memory จะทำงานไปด้วย เพราะลูกจะจำได้ว่าเมื่อพ่อแม่ร้องเพลงนี้เขาต้องตบมือ หรือต้องทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น กินนม กินข้าว เล่น หรืออาบน้ำ เป็นต้น 

ซึ่งนอกจากการเล่นตบมือกับลูกแล้ว กิจกรรมอื่นๆ ก็ช่วยส่งเสริม EF ให้กับลูกวัยเตาะแตะได้เช่นกัน อย่างการเล่นจ๊ะเอ๋ เล่นซ่อนของ เล่นเป่ายิ้งฉุบ เป็นต้น 


 

ปีนป่ายช่วยพัฒนาสมองลูก

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

พ่อแม่หลายคนกลัวลูกจะเป็นอันตราย หรือได้รับบาดเจ็บเวลาที่ลูกเล่นปีนป่ายเครื่องเล่นต่างๆ ซึ่งจริงๆ แล้วการเล่นปีนป่ายมีประโยชน์กับสมองมาก ส่วนอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นพ่อแม่สามารถป้องกันให้ลูกได้ค่ะ  
ลูกได้ขบคิดเมื่อปีนป่าย

ถ้ามองจากภายนอกเด็กได้ใช้ร่างกาย ไม่ว่าจะกล้ามเนื้อมัดใหญ่หรือมัดเล็ก แต่ถ้ามองเข้าไปในสมองของเด็กจะเห็นเลยว่า การปีนใช้ความคิดอย่างมาก เด็กไม่ได้ปีนแบบไม่คิด แต่เด็กคิดตลอดเวลา 


ในแต่ละวันเด็กก็อาจจะตั้งเป้าหมายว่า วันนี้อยากจะปีนไปถึงตรงไหน ตรงกลาง ปีนไปกี่ขั้นแล้วพอ เป็นต้น ซึ่งกระบวนการตรงนี้คือการตั้งเป้าหมายด้วยตัวเอง

ที่มาของการตั้งเป้าหมายนั้นเกิดจากการที่เด็กประเมินตัวเองว่า “น่าจะทำได้” โดยคิดจากประสบการณ์เดิม เช่น เมื่อวานเคยปีนได้ 3 ขั้น วันนี้อยากปีนให้ได้ 6 ขั้น อันนี้คือการประเมินความสามารถตนเอง และเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองเคยทำได้ว่าวันนี้น่าจะทำได้มากกว่านั้น วันรุ่งขึ้นอาจจะปีนไปถึงจุดสูงสุดก็ได้ ทั้งหมดนี้มาจากกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมองของเด็กค่ะ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดเร็วมากกับการตัดสินใจไปตามเป้าหมายที่เด็กตั้งเอาไว้   
นอกจากนั้นเด็กจะต้องคิดอีกว่าจะไปถึงเป้าหมายด้วยวิธีใด ต้องปีนแบบไหน เพราะฉะนั้นเขาจะเอาประสบการณ์เดิมมาใช้เพื่อให้ก้าวข้ามไปให้ได้ นอกจากนี้พอเริ่มปีนเด็กต้องโฟกัสมาก มีสมาธิ มีการจดจ่อกับมือกับเท้า จะปล่อยมือนี้แล้วไปจับอะไรต่อ เรียกว่าทุกจังหวะปีนมีการจดจ่อ มีการวางแผนการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

ปีนป่ายแบบปลอดภัย

  • ดูแลเรื่องความปลอดภัย แต่ต้องไม่ให้กระทบโอกาสของเด็ก เช่น ไปยืนใกล้ๆ แต่ไม่ต้องกำกับ เช่น จับดีๆ นะ เอามือนั้นจับตรงนี้ เอาขาไว้แบบนี้สิลูก เพราะเมื่อเราเป็นคนกำกับตรงนี้เท่ากับเราเป็นคนสั่งการ ก็จะไปปิดโอกาสสมองของเด็กที่จะได้คิด ทักษะสมองก็จะไม่เกิดและพ่อแม่สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่ลูกกำลังจะทำนั้นน่ากลัว
  • ลองปล่อยให้ลูกได้ลองได้ตัดสินใจ  โดยยืนอยู่ใกล้ๆ ด้วยสีหน้าที่สบายใจ ผ่อนคลาย คุณพ่อคุณแม่จะได้เห็นว่าบางทีเด็กกำลังจะก้าวไปแล้วแต่ก็ถอยกลับด้วยตัวเอง นั่นคือเด็กประเมินตัวเองแล้วว่ายังไม่เอาดีกว่าเดี๋ยวค่อยลองใหม่ แต่ไม่มีเด็กคนไหนเลิกไปเลย เด็กยังมีความมุ่งมั่นที่จะเผชิญใหม่จะพิชิตมันให้ได้ ทักษะเหล่านี้มีความหมายมากตอนโตเวลาที่เด็กต้องเจอกับเรื่องยากหรืออุปสรรค ถ้าเราเลี้ยงลูกให้ขี้กลัว พอเจออุปสรรคเด็กจะถอยหนีหมด ไม่สู้ หนีปัญหา


ไม่ใช่แค่การปีนป่าย จริงๆ แล้วการฝึกให้ลูกได้คิดและแก้ปัญหา เริ่มได้ตั้งแต่เป็นทารก เช่นเวลาที่เด็กอยากได้ลูกบอลหรืออยากได้ขวดนม เด็กจะเกิดความมุ่งมั่นที่จะคว้ามาให้ได้ และจะค้นหาว่าตัวเองจะไปแบบไหนเพื่อจะไปหาเป้าหมาย ซึ่งถ้าตั้งแต่เล็กๆ พ่อแม่ทำให้หมด เด็กจะไม่เรียนรู้ที่จะทำอะไรด้วยตัวเองค่ะ

ถ้าอยากให้ลูกมุ่งมั่น มีเป้าหมาย ทำอะไรได้ด้วยตัวเอง ต้องให้เด็กได้คิดและแก้ปัญหาผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ลูกเล่นค่ะ 



"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

พ่อแม่ขี้บ่น ทำลูก EF ต่ำไม่รู้ตัว

ทักษะสมอง EF-EF- การฝึก EF-พัฒนาการเด็ก-เลี้ยงลูกให้มี EF-แม่ขี้บ่น-ลูกดื้อ-ลูก EF ต่ำ

เวลาลูกดื้อ ต่อต้าน เอาแต่ใจ พ่อแม่ก็มักจะพูดซ้ำๆ บ่นซ้ำๆ บางทีก็บ่นจนโมโหและดุลูก และยิ่งถ้าเป็นแบบนี้บ่อยๆ ไม่แปลกเลยที่ลูกจะต่อต้านค่ะ

พ่อแม่ขี้บ่น ทำลูก EF ต่ำไม่รู้ตัว

พ่อแม่บางคนชอบใช้คำสั่งด้วยการ "พูดไปเรื่อย ๆ" โดยที่ตนเองก็ไม่ทันสังเกตว่าลูกสนใจในเรื่องที่ตนเองพูดอยู่หรือเปล่า เช่น แม่นั่งทำงานอยู่ ลูกกำลังนั่งเล่นของเล่น พอถึงเวลากินข้าว แม่พูดกับลูกว่า "เก็บของได้แล้วลูก" "เก็บให้เรียบร้อยนะ" "มากินข้าวได้แล้ว" "ถ้าไม่เก็บ ไม่ต้องกินข้าวนะ" พูดโดยที่ไม่หันไปดูหรือไม่ได้ไปช่วยลูกเก็บเลย นั่งพูดไปเรื่อยๆ พูดซ้ำแล้วซ้ำอีก พอหันไปเห็นว่าลูกยังไม่เก็บ ก็เกิดอารมณ์เสีย เสียงดังใส่ลูก ดุลูกว่าทำไมยังไม่เก็บอีก บอกให้เก็บตั้งนานแล้ว เป็นต้น

การพูดซ้ำเรื่อยๆ ทำให้เด็กเกิดการเบื่อหน่ายและจับประเด็นไม่ถูก ไม่รู้ว่าพ่อแม่จะให้ทำอะไร ต้องการอะไร ไม่เข้าใจว่าคุณแม่จะสั่งเขาเรื่องอะไร ทำให้ลูกเบื่อหน่าย หรืออาจจะมีปัญหาความสัมพันธ์ และนำไปสู่การมีปัญหาทางอารมณ์กับลูก ถ้าพูดบ่อยแล้วไม่ทำตามที่แม่พูดก็ดีหรือดุ ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้ลูกเกิดพฤติกรรมต่อต้าน เช่น ไม่ยอมทำ อาละวาด ร้องไห้ โวยวาย หรือขว้างข้าวของ กลายเป็นเด็กขี้หงุดหงิด และอารมณ์รุนแรงได้ค่ะ

ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ลูกอารมณ์รุนแรง ขี้หงุดหงิดง่ายละก็ ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้กับลูกดูค่ะ

1. พูดประโยคสั้นๆ ชัดเจน 

เน้นประเด็นสำคัญเข้าใจง่าย และที่สำคัญควรพูดเป็นรูปธรรม เช่น ถ้าหนูไม่ทำแบบนั้นเดี๋ยวบาปนะ ซึ่งการพูดเป็นนามธรรม เด็กจะงง และไม่เข้าใจว่าบาปคืออะไรดังนั้น ต้องพูดให้ชัดเจน ว่าหนูควรทำอะไร แล้วมีผลอย่างไรซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการที่ดีกว่าค่ะ

 

2. ใช้เทคนิคการพูดแบบให้เลือก 

ถ้าอยากให้ลูกทำอะไรก็ให้เขาเลือก แต่สิ่งที่จะให้ลูกเลือกก็ควรอยู่ในบริบทที่จัดไว้ให้แล้ว เช่น หนูจะแปรงฟันก่อนหรืออาบน้ำก่อนดี เพราะไม่ว่าเขาจะเลือกอะไรก่อนก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่วางแผนไว้แล้วว่าลูกจะต้องทำทั้งสองอย่าง แต่ลูกสามารถมีโอกาสที่จะเลือก ได้แสดงความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งเด็ก ๆ จะชอบวิธีแบบนี้มากกว่า

 

3. พูดควบคู่ไปกับการกระทำ 

ถ้าต้องการให้ลูกเข้านอนจากที่เคยพูดสั่งว่าเข้านอนได้แล้ว ให้เปลี่ยนเป็นการตกลงกันว่าลูกจะเข้านอนกี่โมง แล้วชวนลูกทำเป็นตารางเวลา เป็นกิจวัตรประจำวัน ให้เขามีส่วนร่วมในการรับรู้ แล้วให้ตกลงกันว่าต้องทำแบบนี้ ถ้าลูกทำได้ก็ชมเขา หรือมีรางวัลให้เขาด้วยค่ะ ที่สำคัญต้องเน้นความสม่ำเสมอ ว่าต้องเข้านอนเวลานี้ทุกวันถ้าลูกไม่เข้านอนจะมีผลอย่างไร หรือมีบทลงโทษอะไรที่จะเกิดขึ้นกับเขา เช่น ของที่เขาเคยได้ หรือเคยตกลงกันไว้ว่าจะซื้อให้ลูกก็จะไม่ได้แล้วนะ ซึ่งจะทำให้เขาเชื่อฟังและรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองอีกด้วย

 

4. การใช้น้ำเสียง 

ขึ้นอยู่เหตุการณ์ด้วย เช่น บอกให้ลูกมาอาบน้ำ แล้วอยากให้เขาสนุกกับการอาบน้ำ การใช้น้ำเสียงควรจะสนุก ตื่นเต้น หาของเล่นมาเล่นกับลูก เพื่อให้เขามีความสุขกับการอาบน้ำมากขึ้น แต่ถ้าเขาไม่ทำตาม เริ่มงอแง ให้ใช้น้ำเสียงนิ่ง และค่อย ๆ เข้มขึ้นและจริงจังมากขึ้น แสดงสีหน้าจริงจัง แต่ไม่ใช่ตวาดหรือดุจนเขากลัว เพราะจะทำให้ลูกเข็ดขยาดกับการอาบน้ำได้

การฝึก EF ไม่ได้ฝึกแค่เฉพาะเด็กๆ ค่ะ พ่อแม่อย่างเราเองก็ต้องมี EF ในตัวเองด้วย

 

พ่อแม่ต้องรู้ ลูกคิดเป็น วางแผนเก่ง ต้องส่งเสริมกิจกรรมในทุกวัน

3459 1
 

ปัจจุบัน โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและการทำงานในอนาคตจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เด็กยุคนี้จะต้องเรียนรู้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง Coding ซึ่งจะทำให้เยาวชนไทยใช้ชีวิตก้าวทันโลกในศตวรรษที่ 21

สำหรับเด็กที่เริ่มเข้าโรงเรียนช่วงอายุประมาณ 3-9 ปี เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ สมอง และสังคม และที่โดดเด่นที่สุดคือ การเรียนรู้ เพราะเป็นช่วงวัยที่สังเกต คิด วิเคราะห์ เชื่อมโยงจนกลายเป็นชุดความรู้และประสบการณ์ใหม่ได้แล้ว ซึ่งกระบวนการนั้นเรียกว่า Pre Coding การเตรียมความพร้อมกระบวนการคิดและวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนนั่นเอง

พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม แนะนำว่า เพื่อส่งเสริม Pre Coding ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมกระบวนการคิดและวางแผนของลูก พ่อแม่จำเป็นต้องรู้ด้วยว่า ลูกวัย 3-9 ปี มีพัฒนาการด้านการเรียนรู้อย่างไร เพื่อส่งเสริมและจุดประกายให้ลูกเกิดการเรียนรู้ในระยะยาว


 

พัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่โดดเด่นของเด็กเล็กเพื่อต่อยอดเรื่อง Pre Coding

1. “คิดเป็น” เด็กๆ จะชอบการสังเกต ทดลอง และเรียนรู้ เช่น รูปทรง ขนาด สี ความเหมือน ความแตกต่าง หรือการมองเพื่อจดจำและทำตามอย่างเป็นขั้นตอน เช่น ดูวิธีที่คุณแม่ทำไข่เจียว แล้วคิดตาม จดจำขั้นตอนจนสามารถทำเองได้ เป็นต้น

2. “เชื่อมโยงได้” สิ่งต่างๆ กับความหมายได้ เช่น สัญลักษณ์กากบาทหมายถึง ผิด หรือ ห้าม เชื่อมโยงความหมายไปถึงสีแดงของสัญญาณไฟจราจรที่หมายถึง หยุด ห้ามไป และเชื่อมโยงสีแดงไปในความหมายว่า อันตราย การเตือนภัย เช่น ถังดับเพลิง เป็นต้น

3. “วางแผนเป็น” โดยเฉพาะช่วง 3-7 ปี เด็กจะรู้จักกติกา รู้จักวางแผน เริ่มสนใจเล่นเกมกระดาน บางครั้งอาจมีช่วงเวลาที่อยากคิดและเล่นคนเดียวบ้าง และเริ่มเลือกกลุ่มเพื่อนที่จะเล่นด้วย เมื่ออายุเข้า 8-12 ปี จะเริ่มชอบการแข่งขัน มีเป้าหมายชัดเจนเป็นของตัวเองมากขึ้น เป็นตัวของตัวเอง

4. “ร่างกายทำงานประสานกันเพื่อการเรียนรู้” ตา มือ และสมองทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ สังเกตจากกิจกรรมง่ายๆ เช่น วาดรูป ตัดกระดาษ การประดิษฐ์ การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ เป็นต้น และตั้งแต่ช่วง 9 ปีขึ้นไปจะเริ่มคำนวณในใจง่ายๆ ได้ เริ่มใช้เหตุผลมาอธิบายเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วสรุปเป็นหลักการทั่วไปได้เอง (Inductive Reasoning)

บอร์ดเกม กิจกรรม Pre Coding ปูพื้นฐานการคิด วางแผน และสร้างสรรค์

เมื่อเรารู้แล้วว่าลูกวัย 3-9 ปี คิดเป็น วางแผนได้ แถมยังชอบความท้าทายที่มีเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา บอร์ดเกมจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นทักษะ Pre Coding ได้เป็นอย่างดี เพราะมีทั้งการใช้ความคิด การวางแผน การแก้ไขปัญหา หรือแม้แต่การกำหนดคำสั่งให้ผู้ที่เล่นด้วยได้ทำตามโจทย์ไปยังเป้าหมายเดียวกัน

วิธีทำและเล่นบอร์ดเกมบันไดงูกับลูก
 


1. หาไฟล์ภาพเกมบันไดงูที่ลูกชอบ หรือเกมแบบอื่น เช่น เส้นทางขับรถกลับบ้าน สวนสัตว์ เป็นต้น 

 


2. เชื่อมต่อ Wifi โทรศัพท์มือถือเข้ากับปริ้นเตอร์เพื่อปริ้นท์ภาพบอร์ดเกมบันไดงู 

 


3. อธิบายกติกาการเล่นให้ชัดเจน คือ
  • ผลัดกันทอยลูกเต๋าคนละ 1 ครั้งและเดินตามช่องเกมตามจำนวนแต้มลูกเต๋าที่ทอยได้
  • หากไปตกช่องที่มีหัวงู ให้เดินตามลำตัวงูลงมาช่องที่มีหาง หรือ หากตกช่องที่มีโจทย์เพิ่มก็ให้ทำตามโจทย์

4. การชนะเกมนี้ได้คือ ต้องไปถึงจุดหมายปลายทาง ดังนั้น ลูกจะคิดคำนวณว่าต้องทอยให้ได้กี่แต้มเพื่อไม่ให้เดินตกช่องงู หรือ ต้องทอยให้ได้กี่แต้มหรือจะไปตกช่องที่ทำให้เดินต่อได้อีก

5. ในการเล่นครั้งต่อไปลองท้าทายลูกด้วยการเปลี่ยนรูปแบบเกมให้ยากขึ้น เช่น เพิ่มการเดินหมากเป็น 3 ตัวแต่สีเดียวกัน โดยมีกติกาว่า ให้พาหมากสีตัวเองไปถึงเป้าหมายให้ได้ทีละตัวจนครบทั้ง 3 ตัว หากทีมสีไหนถึงครบ 3 ตัวก่อนจะชนะเกม เป็นต้น 
 


สนับสนุนการเรียนรู้โดย
HP DeskJet Ink Advantage 3700
https://www8.hp.com/th/th/printers/ink-advantage.html?jumpid=sc_dm9w7pik6g
(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)


 

ภารกิจเขาวงกตพาเด็กไก่ไปหาแม่ไก่ - ดาวน์โหลดฟรี Learning Sheet

เกมหาสิ่งของในภาพ, เกมจับคู่, เกมจับผิดภาพ, เกมสำหรับเด็ก, เกมฝึกทักษะ, เกมเด็กอนุบาล, learning sheet, ดาวน์โหลดแบบฝึกหัดเด็ก, ดาวน์โหลดเกมเด็กฟรี, Download เกมสำหรับเด็ก

ภารกิจเขาวงกตพาเด็กไก่ไปหาแม่ไก่ - ดาวน์โหลดฟรี Learning Sheet

ระดับ: ก่อนอนุบาล, อนุบาล, ประถมศึกษาตอนต้น

วิธีเล่น

  • ลากเส้นในเขาวงกตเพื่อพาเด็กไก่กลับไปหาแม่ไก่

สิ่งที่เด็กเรียนรู้

  • ฝึกการสังเกต ความจำ
  • กระตุ้นการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า

บทบาทพ่อแม่ / ผู้ปกครอง

  • ให้เด็กทดลองทำสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยทำ หรือให้อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องแก้ปัญหา เพื่อฝึกความอดทนมากขึ้น

หมวดการเรียนรู้ / ทักษะ

  • ทักษะสมอง EF
  • การคิดแก้ปัญหา
  • การสังเกตจดจำ
  • การเชื่อมโยงความสัมพันธ์

 

ภูเขาของเล่น มาหาของเล่น 10 ชิ้นให้เจอนะ - ดาวน์โหลด Learning Sheet

เกมหาสิ่งของในภาพ, เกมจับคู่, เกมจับผิดภาพ, เกมสำหรับเด็ก, เกมฝึกทักษะ, เกมเด็กอนุบาล, learning sheet, ดาวน์โหลดแบบฝึกหัดเด็ก, ดาวน์โหลดเกมเด็กฟรี, Download เกมสำหรับเด็ก

ภูเขาของเล่น มาหาของเล่น 10 ชิ้นให้เจอนะ - ดาวน์โหลด Learning Sheet

ระดับ: อนุบาล, ประถมศึกษาตอนต้น

วิธีเล่น  หาของเล่น 10 อย่างด้านบนว่าซ่อนอยู่ตรงไหนในกองของเล่น

สิ่งที่เด็กเรียนรู้

  • ฝึกทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การคิดเชื่อมโยง
  • ฝึกสมาธิ และการจดจ่อ

บทบาทพ่อแม่ / ผู้ปกครอง

  • ชวนเด็กๆ พูดคุยเรื่องการเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบ 

หมวดการเรียนรู้ / ทักษะ

  • ทักษะสมอง EF
  • การสังเกตจดจำ
  • ความจำเพื่อใช้งาน
  • สี และรูปทรง

 

มองภาพจากมุมสูง - ดาวน์โหลดฟรี Learning Sheet

เกม Coding, เกมสำหรับเด็ก, แบบฝึกหัดสำหรับเด็ก,  Download แบบฝึกหัดสำหรับเด็ก, เกมเด็กฟรี,  กิจกรรมสำหรับเด็ก, เกมฝึกทักษะ, ดาวน์โหลดเกมเด็กฟรี, เกมฝึกสมองสำหรับเด็ก, เกมพัฒนาสมองเด็ก, กิจกรรมสำหรับเด็ก, เกมฝึกทักษะ

มองภาพจากมุมสูง - ดาวน์โหลดฟรี Learning Sheet

 เกมที่เด็กได้ฝึกสมอง ฝึกการสังเกต คิดแก้ปัญหา ส่งเสริมทักษะสมอง EF และทักษะพื้นฐานเรื่อง Coding 

 ระดับ

  • อนุบาล, ประถมศึกษาตอนต้น

 วิธีเล่น

สังเกตรายละเอียดในภาพใหญ่ แล้วหาว่าตรงกับรูปในสี่เหลี่ยมรูปไหนถ้ามองจากมุมสูง 

 สิ่งที่เด็กเรียนรู้

  • ฝึกทักษะพื้นฐานเรื่อง coding
  • ฝึกการสังเกตจดจำ
  • ฝึกการคิดวิเคราะห์ คิดเชิงเหตุผล 

 บทบาทพ่อแม่ / ผู้ปกครอง

  • ชวนเด็กคิดหาวิธี ขั้นตอนที่ใช้ในการหาคำตอบ เพื่อสรุปการเรียนรู้การคิดอย่างเป็นระบบตามความถนัดของเด็ก

 หมวดการเรียนรู้ / ทักษะ

Coding, ทักษะสมอง EF, การคิดเชิงเหตุผล, การคิดแก้ปัญหา, การสังเกตจดจำ

มาช่วยกันหาหน่อย เด็กผู้หญิงซื้อปลาตัวไหนไปนะ - ดาวน์โหลด Learning Sheet

เกมจับผิดภาพ, เกมหาความต่างในภาพ, เกมหาสิ่งของในภาพ, เกมสำหรับเด็ก, เกมฝึกทักษะ, เกมเด็กอนุบาล, learning sheet, ดาวน์โหลดแบบฝึกหัดเด็ก, ดาวน์โหลดเกมเด็กฟรี, Download เกมสำหรับเด็ก

มาช่วยกันหาหน่อย เด็กผู้หญิงซื้อปลาตัวไหนไปนะ - ดาวน์โหลด Learning Sheet

ระดับ: อนุบาล, ประถมศึกษาตอนต้น

วิธีเล่น

  • สังเกตปลาที่อยู่ในตู้ใบแรกด้านซ้าย
  • ดูว่าปลาตัวไหนไม่อยู่แล้วในตู้ใบที่สอง 
  • วงกลมรอบตัวปลาที่หายไปนั้น

สิ่งที่เด็กเรียนรู้

  • ฝึกทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การวิเคราะห์ แยกแยะ การคิดเชื่อมโยง
  • ฝึกสมาธิ และการจดจ่อ ( Focus and Attention )

บทบาทพ่อแม่ / ผู้ปกครอง

  • ชวนเด็กๆ พูดคุยเกี่ยวกับการเลี้ยงปลา หรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ 

หมวดการเรียนรู้ / ทักษะ

  • ทักษะสมอง EF
  • เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ และสัตว์เลี้ยง
  • การสังเกตจดจำ
  • การเชื่อมโยงความสัมพันธ์

 

รักลูก The Expert Talk EP 89 : “Self ดี EF ดี แบบนี้ดีต่อใจ นิทานชุดในสวนกับย่าติ่ง”

รักลูก The Expert Talk Ep.89 : Self ดี EF ดี แบบนี้ดีต่อใจ นิทานในสวนกับย่าติ่ง สุภาวดี หาญเมธี

 

นิทานชุดในสวนของย่า เรื่อง “แบบนี้ดีต่อใจ” จะช่วยให้พ่อแม่มองเห็นความสำคัญของการสร้างความสุขให้กับเด็กผ่านต้นชมพู่มะเหมี่ยว เพราะเมื่อเด็กมีความสุข Self ของเด็กจะดีและมีทักษะ EF

ชวนฟังหลักคิดเพื่อนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงลูกจากนิทานย่าติ่ง คุณสุภาวดี หาญเมธี สุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันรักลูกเลิร์นนิ่ง กรุ๊ป

 

แบบนี้ดีต่อใจและได้เรียนรู้

เป็นนิทานที่เล่าเรื่องของต้นมะเหมี่ยว ซึ่งเป็นต้นไม้ใหญ่ต้นเดียวในบ้านทําให้บ้านเย็น เวลาที่ทําสวนข้างบนมันร้อนก็จะได้อาศัยร่มเงาเขา ก็เป็นประเด็นว่าอยากเสนอเรื่องความสุข เพราะว่าเวลารณรงค์เรื่องEFอย่างที่เรารู้ว่าการทํางานของสมอง สมองส่วนคิดจะทํางานได้ดี หรือEFจะทํางานได้ดีก็ต่อเมื่อ Selfดี มีสมองส่วนอารมณ์ เบิกบาน ปลอดภัย เพราะฉะนั้นคนที่จะมีความสุขคือคนที่มี Selfดี ต้องมีความสุข จะมีความสุขเพราะว่ารู้สึกดีกับตัวเอง แล้วก็สามารถที่จะไปรู้สึกดีกับสิ่งอื่นๆได้ เพราะว่าเขามีความสุขอยู่ในตัว

เพราะฉะนั้นการที่เด็กจะมีความสุขได้ มันเริ่มจากหลายอย่างแต่อันหนึ่งก็คือการมองเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายหรือความสุขมาจากการที่ เราทําอะไรได้ด้วยตัวเองสําเร็จ ความสุขจากการที่รู้สึกว่ามีคนรักเรา มีคนเอื้อเฟื้อเรา เรากําลังทุกข์ใจก็มีคนมากอดเรา มีคนมาให้ความช่วยเหลือ ความสุขก็ค่อยๆ ฟื้นคืนกลับมา เพราะฉะนั้นกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขมันก็ต้องค่อยๆ สะสม ถ้าคิดแบบปรัชญาก็คือว่าทุกข์เป็นของตาย ยังไงเราก็มีความทุกข์ นี่เป็นของตายตามหลักศาสนาหรือปรัชญา แต่ว่าจริงๆมนุษย์ก็ต้องมีจังหวะเวลาโอกาสที่จะต้องมีความสุขเพื่ออะไรเพื่อให้มันประคองชีวิตไปได้ คนที่มีแต่ทุกข์อยู่ตลอดแล้วไม่รู้สึกมีความสุขเลยเนี่ยมันชีวิตเดินหน้าไม่ได้ชีวิตจะไม่มีพลัง

ทำแบบนี้ดีต่อใจลูก

เพราะฉะนั้นการที่เด็กจะมีพลังพ่อแม่หรือคุณครูต้องทำให้

1.เด็กรู้สึกดีกับตัวเองให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีดี เด็กทุกคนมีดีอยู่ที่ว่าเราจะเห็นดีของเขาหรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าเขารู้สึกดีกับตัวเอง ถือแก้วน้ําได้แล้ว เดินหยิบขยะไปทิ้งที่ถังขยะได้ เล่นเองแล้วเก็บของเล่นเองได้ จะทำให้ระหว่างทางเขามีความสุขเกิดขึ้น

2.ส่งเสริม ชื่นชม กระตุ้น สนับสนุนเขา ความรู้สึกที่มีความสุขจากการที่ตัวเองมีดีมันจะเป็นฐานที่เมื่อเขาผ่านสถานการณ์ที่ไม่ถูกใจ แต่ถ้าเขาปรับตัวได้หรือพลิกมุมมองบางอย่าง เช่น ต้นแม่มะเหมี่ยวก็จะมีเสียงที่คอยยุแยงตะแคง คอยถาม มาทำให้รําคาญ แต่ก็มีวิธีมองคือมองเรื่องเล็ก ๆ ว่าไม่เป็นปัญหา เรื่องดีมันมีมากกว่านั้นอีก ขี้นกตกเยอะก็ไม่เป็นไรเดี๋ยวฝนมาขี้นกมันก็หายไป

3.ฝึกลูกอยู่ง่าย กินง่าย ปรับตัวง่าย มองโลกให้มีความสุขเรื่องพวกนี้ก็จะไม่รบกวนเขามากถึงวันที่มันมีเรื่องใหญ่จริงๆ ทุกข์จริงๆ เขาก็จะเอาความสุขที่มีอยู่ในตัวเขาที่มีพลังไปแก้ปัญหาคือวิธีแบบนี้ไม่ได้แปลว่าโลกสวย แต่เราต้องให้เด็กอยู่กับความจริง อะไรที่เป็นสุขก็คือเป็นสุข อะไรที่เป็นทุกข์ก็ต้องยอมรับว่ามันคือความทุกข์มันจะได้ไปแก้ปัญหา เพียงแต่ว่าการมีมุมมองที่บวก Positive Thinking มันคือการพลิกมุมมอง อย่างขี้นกตกใส่รถแทนที่จะโวยวายก็พลิกสถานการณ์จากลบให้เป็นบวกจะได้ชวนลูกบ้างรถ ไม่ได้แปลว่าเราไม่เห็นว่าขี้นกเป็นปัญหาเราเห็นมันเป็นปัญหา แต่เราหยิบปัญหามาเป็นสถานการณ์ที่เป็นการเรียนรู้

ปลายทางของมันคืออะไรคือทําให้เด็กอยู่ง่าย ทําให้เขามีความสุขง่าย มีอะไรก็ดีได้ไม่ต้องยาก แล้ววันที่เขาไปเจอของยากจริงๆ ของแย่จริงๆ เจออุปสรรคที่มันใหญ่จริงๆ ความสุขเหล่านี้มันจะเป็นฐานให้เขาไปแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น คือคนที่จะแก้ปัญหาอะไรยากๆ ถ้าเป็นคนที่คิดลบตลอดจะแก้ปัญหาไม่ได้ เด็กควรโตมาแบบที่เห็นว่าเรื่องยากทั้งหลายมันไม่ยากเกินกําลังแล้วเราก็เคยผ่านมาแล้วเคยจัดการเรื่องเหล่านี้มาแล้วก็สําเร็จมาทีละเล็กทีละน้อย คือมนุษย์มีศักยภาพที่จะหาความสุข สร้างความสุข เราไม่ต้องไปตัดศักยภาพของเด็กทําให้กลายเป็นคนที่รู้จักแต่ความทุกข์อย่างนี้ไม่แฟร์กับเด็กเราต้องให้เขามีโอกาสที่จะหาความสุขด้วย ให้เขามีทักษะมีวิธีมองมีประสบการณ์ไหมคะก็เหมือนกับเรื่องทักษะEF มองยืดหยุ่นความคิดไปอีกมุมหนึ่ง พลิกมุมจากความทุกข์เป็นความสุขได้ คือวิธีคิดที่ดีก็จะนํามาซึ่งความสุข แต่ขณะเดียวกันความสุขก็จะทําให้เรามีโอกาสมีวิธีคิดที่ดีมันเป็นสิ่งที่มันคู่กัน

ถ้าเด็กเป็นคนมีความสุข โดยเฉพาะเป็นความสุขที่มาจากการที่เขาประสบความสําเร็จ ได้รับคําชื่นชมเขาจะใช้ประสบการณ์ที่มีคุณภาพที่มีความสุขเหล่านี้ไปแก้ปัญหาได้เยอะจะรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ มันมีสถานการณ์แบบนั้นในชีวิตเราเยอะมากที่เราควรที่จะต้องหยิบมาแล้วก็ฝึกให้เขามองว่าถ้ามองอีกแบบหนึ่ง มองแล้วไม่เป็นทุกข์เป็นอย่างไรแล้วพอ คือเวลาที่มันเกิดจากเรื่องที่ไม่ถึงกับยาก ถ้าเราฝึกเขาไว้ในวันที่เขาเจอเรื่องยากเขาจะหยิบประสบการณ์พวกนี้ไปทดลองคิด แต่ถ้าเราไม่เคยให้ลูกทุกข์เลยเพอร์เฟกต์ไม่ต้องคิดอะไรของไม่ดีก็ทิ้งไป เขาก็จะรู้วิธีเดียวหรือแบบที่ตัดปัญหาไป แต่จริงๆ ในชีวิตจริงเราทําให้ดีกว่านั้นได้เราไม่จําเป็นต้องทําแบบนั้น กระบวนการคิด ที่มันค่อยๆซับซ้อนและประณีตขึ้น มันจะเกิดขึ้นได้จากการที่เราชวนเขามองเรื่องอย่างนี้ไปก่อน เริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆ

EF ทำให้ลูกอยู่รอด

แม้โลกไม่ VUCA อย่างไรก็ต้องใช้ทักษะ EF เพราะว่าEFคือทักษะที่เกิดจากสมองส่วนหน้า ส่วนที่เราแตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นความสามารถนี้ก็ พิสูจน์มาตลอดว่าเราใช้ EF ในการแก้ปัญหา ปรับตัว สร้างสรรค์และพัฒนา ยังไงเราก็ต้องเจอกับปัญหาที่มันหนักขึ้นเรื่อยๆ โลกร้อนนี่ก็เรื่องหนึ่งนะคะ หรือเทคโนโลยีที่เข้ามา อย่างตอนนี้มีแชท GPT มนุษย์ก็ต้องเก่งต้องพัฒนาเพื่อที่จะรับมือแล้วก็จัดการชีวิตเรา ชีวิตครอบครัวเรา ชีวิตสังคมเราได้

เพราะฉะนั้นสถานการณ์เหล่านี้มันต้องการความสามารถของสมองสิ่งที่เรากําลังทำคือฝึกเด็กเรื่องEF ให้เขารู้จักคิด มีทักษะที่จะคิด มีความรู้สึกดีที่จะคิด มีความรู้สึกอยากลองได้ลองผิดลองถูก กระบวนการฝึก EFในเด็กเล็กที่เราพยายามรณรงค์กันคือเพื่อให้เขามั่นใจว่าเขามีทักษะเหล่านี้ดีขึ้น เข้มแข็งขึ้นแล้วฝังอยู่ในสมองเป็นชิปที่เมื่อไหร่ก็ตามที่เจอกับอะไรเขาก็จะสามารถค่อยๆคิดวิเคราะห์ค่อยๆหาคําตอบ จนในที่สุดเรื่องยากเรื่องใหญ่มันก็จะเข้ามาในลูปของเส้นใยประสาทแบบนี้เหมือนกัน ถ้าเด็กของเราจํานวนมากเป็นอย่างนี้เราก็มั่นใจได้ว่าเขาจะช่วยกันคิด พากันแก้ปัญหา

สิ่งที่สําคัญก็คือว่าเวลานี้เราพบมากไปกว่านั้นว่าไม่ใช่แค่เด็กคิดเก่งเท่านั้นที่จะสามารถพัฒนาตัวเองไปได้ดี แต่เราพบว่าเขาจะคิดเก่งคิดดีได้ ก็ต้องมีฐานใจที่ดีด้วยเช่นเดียวกัน ฐานสมอง ฐานใจก็ต้องเสริมกัน เพราะฉะนั้พอเราจะมาทําเรื่องส่งเสริมEFให้เด็ก เราต้องส่งเสริมเรื่องSelfเขาไปด้วย เพราะว่าSelfที่ดีจะทําให้เขาพัฒนาEFได้ กล้าคิด กล้าพูด กล้าทํา กล้าไปเผชิญโลก กล้าไปเจอปัญหา แต่ถ้าSelfไม่ดี เขาก็จะกลัวไปหมดทั้งโลกมันน่ากลัว ทั้งโลกมันมืดมนทั้งโลกไม่มีโอกาส เพราะฉะนั้นต่อให้เขาคิดอย่างไรก็ไปต่อไม่ได้จึงต้องทำสองเรื่องนี้ไปคู่กัน แล้วพอมีโควิดก็ทําให้เห็นว่าฐานกายก็ต้องไปด้วยกัน คือสุขภาพที่ดีจึงจะทําให้เขาสามารถไปคิดไปสร้างไปอะไรได้แล้วก็จะทําให้จิตใจของเขาดีได้ด้วย

เพราะฉะนั้นราต้องทำให้เด็กแข็งแรงทั้งสมอง จิตใจ ร่างกายก็คือครบองค์รวมได้ประโยชน์ครอบคลุม แทนที่เราจะไปทําเรื่องคุณธรรมก็ไม่ใช่ไม่ทําแต่ว่าไม่ใช่โฟกัสเรื่องเดียวคือคุณธรรม สมองที่คิดได้ดีที่ยับยั้งตัวเองได้ดีนั่นแหละคุณธรรมก็เกิด ไม่จําเป็นต้องไปไล่บอกว่าคุณต้องฝึกคุณธรรมอย่างโน้นอย่างนี้ อย่างนั้น จริงๆ EFที่ดีมีการยั้งคิดไตร่ตรองก็มีศีลในตัวเอง เพราะฉะนั้นเราจะทําอะไรก็ตามทําให้มันเป็นทําเรื่องเดียวแล้วมันได้ทุกเรื่อง

ทำEFได้คุณธรรมแน่นอน ได้การคิดเก่งแน่นอน ได้IQ ได้ EQด้วย เวลานี้เราผลักดันอยากเชิญชวนพ่อแม่ทําเรื่องส่งเสริมEF ส่งเสริมSelfแล้วก็ผ่านกิจกรรมทางกายด้วย พาลูกออกกําลังกายเยอะๆ แต่ถ้าไปพาเรื่องเรียนเก่งอย่างเดียวจะมาเสียใจทีหลังว่า ลูกไม่มีSelf ลูกซึมเศร้า ลูกอยากฆ่าตัวตาย เมื่อตอนเป็นวัยรุ่น หรือเอาแต่ลูกเรียนหนังสืออย่างเดียว ปรากฏว่าก็ไม่มีปฏิภาณที่จะแก้ปัญหาในชีวิต สรุปแล้วก็ไม่คุ้มทําสามเรื่องนี้ดีกว่าแล้วก็ยาวไปตลอดชีวิตของเขา

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

รักลูก The Expert Talk EP.124 : “พ่อแม่ขาดทักษะการใช้สื่อ กระทบสมองลูก”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.124 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 5 พ่อแม่ขาดทักษะการใช้สื่อกระทบสมองลูก

 

งานวิจัยพบว่าเด็กที่ใช้สื่อเย็นเซลล์สมองจะเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ได้มากกว่า

ขณะที่สื่อร้อนการเชื่อมต่อของเซลล์ที่ชั้นเปลือกสมองจะทําได้น้อย กระทบกับพัฒนาการของสมอง โดยเฉพาะทักษะสมอง EF

 

ไม่อยากให้ลูกติดจอ พ่อแม่ทำได้

ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริบอกแนวทางการฝึกทักษะให้พ่อแม่มี Digital Literacy เพื่อรับมือและรู้เท่าทันก่อนสื่อหน้าจอจะทำลายสมองลูก

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke 

รักลูก The Expert Talk EP.125 : Cybercrime คืออะไร? รู้ไว้ก่อนลูกถูกลวง

 

รักลูก The Expert Talk Ep.125 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 6 Cybercrime คืออะไร? รู้ไว้ก่อนลูกถูกลวง

เมื่อพ่อแม่ให้โทรศัพท์ แท็บแล็ตหรือสร้างแอคเคาท์บนโซเชียลมีเดียให้ลูก เราอาจจะคิดว่าอินเทอร์เน็ตมันเป็นโลกของข้อมูลความรู้

แต่ถ้าลองคิดในมุมกลับกัน เมื่อให้ลูกเข้าถึงโลกทั้งใบ โลกทั้งใบก็เข้าถึงลูกของเราได้เหมือนกัน…การเกิดอาชญากรรมออนไลน์จึงเกิดขึ้นได้ง่าย

 

รู้กลลวงของเหล่ามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์เพื่อรับมืออย่างเท่าทัน ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke 

รักลูก The Expert Talk EP.126 : Cybercrime รับมือได้ พ่อแม่ต้องเท่าทัน

 

รักลูก The Expert Talk Ep.126 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 7 Cybercrime รับมือได้ พ่อแม่ต้องเท่าทัน

 

เมื่อลูกถูมิจฉาชีพหลอกลวง พ่อแม่จะช่วยลูกและรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

 

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke 

รักลูก The Expert Talk Ep.83 : สร้างทุนชีวิต แก้วิกฤตเด็กปฐมวัย

 

รักลูก The Expert Talk Ep.83 : สร้างทุกชีวิต แก้วิกฤตเด็กปฐมวัย

การลงทุนกับเด็กไม่ใช่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของ “เวลาคุณภาพ” และ “ความเข้าใจลูก” และมีอีกหลายเรื่อง ที่พ่อแม่สามารถทำได้ มีอะไรบ้าง

 

ชวนฟัง The Expert ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข นายกสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.95 (Rerun) : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว “ไม่จับจด ไม่เอาแต่ใจ รู้ผิดชอบชั่วดี”

รักลูก The Expert Talk Ep.95 (Rerun) : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว "ไม่จับจด ไม่เอาแต่ใจ รู้ผิดชอบชั่วดี"

ผลลัพธ์ของการเลี้ยงทั้ง 3แบบเด็กจะเป็นอย่างไร หากกำลังเลี้ยงลูกแบบ 3 วิธีการนี้ ลูกจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร และต้องปรับแนวทางการเลี้ยงลูกอย่างไร ฟัง The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

เราเลี้ยงลูกบนความไม่เข้าใจบางเรื่องเป็นความปรารถนาดีอยากให้ลูกมีความสุข ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่ความปรารถนาบางครั้งต้องให้ลูกเจอความผิดหวัง เช่น ลูกผิดหวังไม่ได้เลยก็ต้องสอนให้ลูกผิดหวังบางครั้งพ่อแม่เจ็บปวดที่ลูกร้องไห้เพราะไม่ได้ดั่งหวังซึ่งไม่ผิด แต่เราปรับจูนความเข้าใจกันว่าจะมีจังหวะไหนที่ผ่อน จังหวะไหนที่ตึงบางเรื่องแล้วทำให้พ่อแม่รู้เท่าทันว่าบางเรื่องเราต้องถอยบางเรื่องรักษาระยะห่างเป็นการเรียนรู้ร่วมกันแต่จะผิดคือบกพร่องหน้าที่พ่อแม่

เลี้ยงปกป้องเกินไป เด็กขาดความมั่นใจ (Over Protection)

เป็นหน้าที่พ่อแม่ที่ต้องปกป้องลูกแต่ถ้ามากเกินไปมีปัญหาคือไม่ปกป้องเลย เช่น ตอนเป็นเด็กลูกร้องไห้ ปัสสาวะ อุจจาระราดที่บอกว่าเด็กร้องไห้ไม่ต้องสนใจ จริงๆแล้วเด็กอายุน้อยกว่า 6เดือนไม่มีมารยาไม่มีอารมณ์ไม่มีเงื่อนไขแต่รู้สึกไม่สบายตัวจึงร้องไห้ออกมา พ่อแม่ต้องรีบไปดูทันทีเพื่อปกป้องแต่พ่อแม่ไม่ทำนี่คือบกพร่องต่อหน้าที่ หิวก็ปล่อยลูกร้องอายุน้อยกว่า 6เดือน ซึ่งถ้าน้อยกว่า6เดือนไม่มีเงื่อนไขนอกจากหิวไม่สบายตัวจริงๆ

หรือที่ชัดกว่านี้คือเมื่อเด็กมีอารมณ์แต่พ่อแม่น็อตหลุดแทนที่จะเป็นการปกป้องกลายเป็นทารุณกรรมนี่เป็นปัญหา ซึ่งมีหลากหลาย Under Protection แย่ บกพร่อง มีปัญหา และ Over Protectionก็มีปัญหา เช่น เด็กที่ไปเที่ยวแล้วก็ถามว่า “รู้ไหมชั้นลูกใคร” แล้วพ่อแม่ตามไปปกป้อง แม้กระทั่งลูกทำผิดกฎหมายก็ยังเข้าข้าง ปกป้องคุ้มครองจนไม่รู้รับผิดชอบชั่วดี

หรือกรณีที่ด็กอนุบาลแกล้งกันเด็กจบแล้วแต่พ่อแม่ไม่จบบิวท์อารมณ์กันผ่านSocial mediaใช้อารมณ์ของลูกเป็นตัวตั้งจนยกพวกตีกันในรร.อนุบาล แต่ลูกกำลังเห็นโมเดลว่าพ่อแม่กำลังทำอะไร คือยิ่งมีลูกน้อยลงพ่อแม่จะรักแบบเทหมดใจ ซึ่งดีแต่มันเยอะเกินไปผลคือเด็กไม่รู้ผิดชอบชั่วดี

เลี้ยงอ้วน เด็กเอาแต่ใจ (Overfeeding)

คำว่าอ้วนเอาแต่ใจมาจากระดับโภชนาการและเรื่องการซื้อของ มีอันจะกิน มีข้าวกิน มีอาหาร มีของครบตามความจำเป็นหมวดนี้คือการบริโภคนิยมและทุนนิยมอ้วนเอาแต่ใจ เป็นประเภทที่เยอะ แต่ถ้าบกพร่องคือข้าวไม่มีกินคือเกิดปัญหาเราเห็นเด็กที่มีปัญหาภาวะขาดอาหารทุพภาวะโภชนาการ ส่วนอีกกลุ่มตรงกันข้ามคือ มีอันจะกิน กินทิ้งกินขว้าง กินไม่เลือก กินได้ตลอดเวลา จึงขึ้นว่าอ้วนเอาแต่ใจ

มีเคสหนึ่งที่พ่อจบป.เอกถามหมอว่าสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น แล้วถ้าลูกผมดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์แล้วจู่ๆ จะให้ยกเลิกการดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์ก็เท่ากับว่าผมไปบล็อกความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งลูกอายุ 8ขวบแล้วหมอตกใจมากที่ยังดูดนมอยู่คือไม่ต้องคิดว่าอ้วน ฟันผุ ฟันเหยินหรือไม่ หมอจึงบอกพ่อคนนั้นว่าเป็นหน้าที่ของพ่อไหมต้องสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น หรือพอจะตอบหมอได้ไหมว่าจะอยู่จนชั่วชีวิตลูกจะหาไม่ไหม

Overfeed คือการให้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นการผิดหลักEQทั้งหมดจะเห็นว่าเด็กเอาแต่ใจ ยับยั้งอารมณ์ไม่ได้ ไม่ซื้อของลงไปดิ้นกลางห้าง โตมาหน่อยก็กรี๊ดสนั่นหรือพ่อแม่ที่ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมไม่อั้นลูกก็ซึมซับ ปากเราพูดอย่างแต่เราทำอีกแบบ ลูกเห็นว่าพ่อแม่ก็ไม่ยั้งตัวเองจับจ่ายอย่างสนุกซื้ออาหารเต็มที่เพราะว่ารวย กินทิ้งกินขว้างไม่มี dog bag คือเหลือเอาเก็บมากิน ลักษณะนี้เรียกว่า อ้วนเอาแต่ใจ มีปัญหาEQ โตมาเป็นคนที่บริโภคนิยมทุนนิยมใช้เงินซื้อทั้งหมดเราคงไม่อยากฝึกลูกให้เป็นแบบนี้ การยั้งตัวเองแล้วทำให้ดูมีประสิทธิภาพ กว่าใช้ปากพูดแล้วสอนให้ลูกเป็นแต่วิธีการทำเป็นอีกแบบมันทำไม่ได้พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบ

เลี้ยงอวดรวย (Multiple homes)

หลักการคือการไม่มีบ้านก็เป็นเด็กเร่ร่อนคือบกพร่องไม่มีบ้านอยู่ ส่วนมีหลายบ้านคือมีทั้งบ้านและคอนโด จันทร์ถึงศุกร์อยู่คอนโดเสาร์อาทิตย์อยู่บ้าน ผลคือลูกไม่รู้จักข้างบ้าน ไม่มีการร่วมทุกข์ร่วมสุข ซึ่งเมื่อก่อนเราเติบโตมาเป็นชุมชนมีรากเหง้าเราจะเรียนรู้ซึมซับร่วมทุกข์ร่วมสุขไปกับชุมชนจะรักและเรียนรู้รากเหง้าของเราเองว่าเราเป็นคนจังหวัดนี้ พอย้อนกลับไปก็ภูมิใจว่าบ้านเราเมื่อก่อนเจริญแต่เด็กยุคนี้ไม่มี

การอยู่หลายที่ทำให้ความรักในรากเหง้าการเรียนรู้อยู่ในชุมชนจะอ่อนแอไปด้วย ผลลัพธ์คือโตเป็นคนจับจด เปลี่ยนที่ได้ง่ายเวลาเข้ามาทำงานก็ทำงานตามค่าตอบแทนที่สูงกว่า ความมั่นคงในจิตใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขในองค์กรไม่มี อาจจะบอกว่านี่เป็นเทรนด์ใหม่ของโลกก็เพราะสถานการณ์บีบบังคับจึงทำให้ได้เทนรด์ใหม่ของโลกในลักษณะนี้ แต่เราจำเป็นต้องเติมไม่งั้นจะเป็นประเด็นเกิดขึ้นได้แน่นอน

สร้างวิถีใหม่ปรับเปลี่ยนแนวทางการเลี้ยงลูก

1.เรียนรู้ว่าความรักกับความถูกต้องคนละเรื่องกัน รักลูกก็จริงแต่ผิดลูกก็ต้องเรียนรู้ไม่ปกป้องแม้จะผิด

2.ต้องระมัดระวัง มีบันยะบันยัง วิธีการคือเราเองต้องเป็นต้นแบบที่ดี ทั้งการเลือกกิน เลือกซื้อของ คือหลักพอเพียง หัดเบรคตัวเองมีแล้วหรือยังลูกก็จะเรียนรู้ว่าพ่อแม่ไม่ใช่คนฟุ่มเฟือย

3.ต้องเปิดใจให้ลูกเรียนรู้ อยู่ร่วมกับการมีหลายบ้านให้รักรากเหง้าทำให้ลูกเป็นผู้ให้ในหมู่บ้าน ชุมชนในคอนโด ก็จะทำให้เกิดการรักรากเหง้าร่วมทุกข์ร่วมสุขในชุมชนได้

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รับมือลูกป่วนนอกบ้าน ด้วย EF

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

ลูกเราอาจไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในวัย Terrible ด้วยแล้ว เมื่อไหร่ที่ลูกเกิดอาการน๊อตหลุดขึ้นมา พ่อแม่ต้องรีบรับมือกับลูกและสถานการณ์รอบข้างให้ได้ค่ะ 


สงบสติตัวเอง เมื่อลูกดื้อ

อย่าเพิ่งใช้อารมณ์กับลูก เมื่ออยู่ต่อหน้าคนอื่นไม่ใช่เวลาที่จะมาสอนลูกตรงนั้น หลายครั้งที่ลูกดื้อ ซน พ่อแม่ก็ยิ่งพยายามสอน พยายามดุลูก เพื่อแสดงให้คนรอบข้างเห็นว่าตัวเองได้ทำหน้าที่แล้ว แต่ลูกไม่ฟังเอง ช่วยไม่ได้ การทำแบบนี้ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นค่ะ แต่ถ้าพ่อแม่สงบเงียบ คุยกับลูกด้วยเหตุผล ว่าการส่งเสียงดังของลูก รบกวนผู้อื่น ลูกจะสงบนิ่ง และเชื่อฟังพ่อแม่มากขึ้น 

อย่าสั่ง ถ้าอยากให้ลูกเชื่อฟัง 
ลูกอยู่ในวัยที่กำลังเป็นตัวของตัวเอง การสั่งลูกเหมือนเป็นการจำกัดสิทธิ ลูกยิ่งรู้สึกไม่ชอบและอยากท้าท้าย แต่ถ้าลองเปลี่ยนจากคำสั่งเป็นการฝึกให้ลูกคิด สร้างคำถามให้ลูกตอบ ให้ทางเลือกกับลูก เช่น เมื่อลูกกำลังจะร้องเพลงเสียงดัง พ่อแม่อาจให้ทางเลือกลูกว่า หนูร้องเพลงได้นะแต่ต้องร้องเสียงเบาลงหน่อยเพราะการส่งเสียงทำให้รบกวนคนอื่น หรือ หนูคิดว่าเวลากินข้าวเราต้องอยู่ที่ไหนคะ แล้วเด็กดีต้องทำยังไงเวลากิน ถ้าพ่อแมเคยสอนเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหารเด็กจะตอบได้ทันทีว่าต้องทำอย่างไร 

ฟังลูก ฟังให้เข้าใจลูก
ไม่ใช่แค่ฟังให้ได้ยินเท่านั้น อีกทั้งท่าทีในการฟังก็แต่พ่อแม่ต้องแสดงให้ลูกเห็นว่าคุณสนใจ ไม่ใช่ฟังแต่ไม่สนใจลูก ให้ลูกได้พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาต่างๆ โดยไม่จำกัดความคิดของลูก ให้เขาค่อยๆคิดแก้ปัญหาด้วยตนเองไปทีละขั้นตอน ให้โอกาสและเวลาเด็กได้ฝึกคิดและ ทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง จะทำให้เขามีทักษะและภูมิใจในตนเอง เช่น กินข้าวเอง ตักอาหารเอง รวมทั้งเวลามีปัญหาอย่ารีบช่วยเหลือหรือบอกว่าเขาควรทำอะไร แต่ให้ถามว่า "หนูจะทำอย่างไร"

ขจัดอารมณ์ที่ไม่ดีของลูก 
​เริ่มจากพ่อแม่อย่าคิดแทนลูก อย่าสั่งลูก เช่น ขอบคุณสิลูก อิ่มแล้วใช่ไหม ลูกไม่ชอบอันนี้ใช่ไหม หรือเมื่อลูกมีปัญหาให้ถามลูกว่าเกิดอะไรขึ้น รอให้ลูกตอบ ไม่ใช่พ่อแม่จัดการให้หมดทุกอย่างทันที ลองถามลูกก่อน เพื่อให้เขาได้ฝึกคิด เพราะถ้าพ่อแม่คิดแทนลูกทั้งหมด เมื่อเขาโตขึ้น เขาจะคิดแก้ปัญหาไม่เป็น เจอปัญหาก็แก้ไม่ได้ ไม่มั่นใจ และจะกลายเป็นเด็กพึ่งพิงตลอด โตขึ้นก็ต้องคอยพึ่งพิงพ่อแม่ ไม่เห็นค่าในตนเอง ขอความช่วยเหลือคนอื่นตลอด

สกัดตัวป่วนตั้งแต่อยู่ที่บ้าน
การทำข้อตกลงกันก่อนออกจากบ้านเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเซฟปัญหาตัวป่วนนอกบ้านให้ลดลงได้ เมื่อลูกเริ่มดื้อ ซน พ่อแม่สามารถพูดได้ว่า เราตกลงกันแล้วนะ ว่าถ้าวิ่งเล่นทั่วร้าน แม่เตือนแล้วไม่เชื่อฟัง เราจะกลับบ้านทันที  

เมื่อพาลูกออกไปนอกบ้าน พ่อแม่ต้องคำนึงถึงสิทธิคนอื่นในที่สาธารณะด้วย เราอาจจะมองว่าลูกงอแงเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ หรือลุกลามจนคนทำให้คนอื่นเดือดร้อน ต้องพาลูกออกไปจากสถานการณ์นั้นให้ลูกสงบก่อน

คนส่วนใหญ่เข้าใจธรรมชาติของเด็กว่า ดื้อ ซน เป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่ต้องการคือความรับผิดชอบ และคำขอโทษจากพ่อแม่เท่านั้นค่ะ หลายครั้งที่คนไม่พอใจคือ การนิ่งเฉย และไม่รับผิดชอบของพ่อแม่ ดังนั้นเอ่ยคำขอโทษด้วยความจริงใจ เมื่อลูกทำความเดือดร้อนให้คนอื่น นอกจากจะผ่อนคลายให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังเป็นแบบอย่างในการสอนให้ลูกอีกด้วยค่ะ
 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

 

 

ลูก “ดื้อ” รับมือให้ได้



3095

คุณหมอครับ คำถามอะไรที่คุณหมอได้รับบ่อยเป็นอันดับ 1 ?

"ดื้อ" คือคำตอบสุดท้าย

ดื้อแปลได้มากมาย โดยรวมๆ คือพูดไม่ฟัง มากกว่านี้คือมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ยกตัวอย่างเช่นพฤติกรรม x y หรือ z ยกตัวอย่างไปเถอะ
การจัดการเด็กดื้อแต่โบราณเราใช้หลักการของจิตวิทยาคลาสสิกคือการวางเงื่อนไข (conditioning) ได้แก่การทำโทษ การเพิกเฉย และการให้รางวัล

การทำโทษ มีหลายวิธี ดุ ด่า กักขัง ตี เหล่านี้เราพบว่าไม่ได้ผลดีเท่าไรนัก สร้างบาดแผลและมักทำให้พฤติกรรม xyz หายไปชั่วคราว มันจะกลับมาใหม่ด้วยความซับซ้อนและร้ายกาจกว่าเดิมเสมอ ไม่นับว่าการตีเด็กในหลายประเทศผิดกฎหมาย ครูตีก็ผิด พ่อแม่ตีก็ผิด

การเพิกเฉย มีตั้งแต่ทำไม่เห็นรอเขาหายเองไปจนถึงการไทมเอาท์สมัยใหม่บางตำราแผลงเป็นไทมอินเพื่อเน้นย้ำว่าเรามิได้กักขัง ทอดทิ้ง หรือเดินหนี ไทมเอาท์เท่ากับการนั่งลงเป็นเพื่อน สงบสติด้วยกัน รอเขาสงบลง แล้วจึงปลอบหรือกอด ทำให้เด็กรู้ว่ากริยาเมื่อสักครู่ไม่มีประโยชน์อะไรเลย เขาก็จะค่อยเรียนรู้และเลิกทำในที่สุด

การให้รางวัล เป็นวิธีที่ดี ช่วยให้เด็กรู้ว่าควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไรเด็กจะพัฒนาจากการทำความดีเพราะพ่อแม่ปลื้มไปจนถึงทำความดีเพราะเป็นเรื่องสมควรทำตามพัฒนาการของวิธีคิดเชิงรูปธรรมไปสู่นามธรรม  การทำความดีมีข้อแม้อยู่บ้างแต่โดยรวมๆ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดี ดีมากเมื่อเราชมเชยให้มากกว่าตำหนิ จะช่วยให้เด็กมีเซลฟ์เอสตีมรู้ว่าตนเองทำดีก็ได้มิได้แย่เสมอไป แล้วทิศทางพัฒนาการจะไปในทางที่ดีเอง

จิตวิทยาคลาสสิกเริ่มอ่อนกำลังลง มาถึงจิตวิทยาเชิงบวก (positive psychology) จิตวิทยาเชิงบวกใช้หลักการเคารพและเชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์  ประกอบด้วยวิธีการต่างๆ ที่ช่วยให้เด็กได้เห็นความสามารถของตนเอง การกำหนดทางเลือกการตัดสินใจ แล้วรับผลลัพธ์ที่ตนเองเลือก ล่วงรู้อารมณ์ตนเอง แล้วพัฒนาต่อไป

จิตวิทยาเชิงบวกมิใช่การพูดหวานๆ แต่เป็นศาสตร์ที่มีหลักการและวิธีการที่จำเพาะ ชัดเจน และได้ผล ต้องการผู้เชี่ยวชาญที่รู้จริงช่วยชี้แนะ
แล้วเราก็มาถึงยุคที่ชีวิตมีทางเลือกมากมายเพราะไอที เด็กจะเลือกทำหรือไม่ทำ จะไปหรือไม่ไป กลายเป็นเรื่องยากที่พ่อแม่จะเข้าไปกะเกณฑ์บังคับเหมือนสมัยก่อน 

เด็กสมัยใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้ควบคุมตนเองได้ บริหารความจำใช้งานได้ดี แล้วคิดยืดหยุ่นได้หลากหลาย จากนั้นนำพาชีวิตของตนเองไปสู่จุดหมายที่ตนเองกำหนด คือ Executive Function(EF)

หากเด็กคนหนึ่งควบคุมตนเองและคิดยืดหยุ่นได้  พ่อแม่สมัยใหม่จะยินดีนั่งดูมากกว่าเข้าไปบังคับ ยินดีเดินตามแล้วคอยแนะนำหรือช่วยเหลือตามความจำเป็น  

เช่นนี้คำว่าดื้อก็จะเลือนหายไป

 

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล