
ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่มีมีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์
เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการอุตสาหกรรม สามารถเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้ เป็นผลทําให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และโรคปอดต่างๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทําให้การทํางานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทําให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด
เมื่อรู้แล้วว่าฝุ่น PM 2.5 ส่งผลร้ายต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวแค่ไหน ก็ถึงเวลาที่เรา ต้องหันมาดูแลตัวเองและคนในครอบครัว ให้หลีกเลี่ยงฝุ่นอย่างจริงจัง มาดู 5 วิธีง่าย ๆ ที่ช่วยป้องกันฝุ่นร้ายกันดีกว่า
5 เรื่องต้องรู้ รับมือกับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5
1. ติดตามข่าวสารฝุ่น PM 2.5 อย่างใกล้ชิด
ในช่วงวิกฤตฝุ่นแบบนี้ ควรติดตามข่าวสารเป็นประจำ ไม่ว่าจะตามโทรทัศน์ วิทยุ และเว็บไซต์ข่าวต่างๆ หรือในยุค Thailand 4.0 แบบนี้แนะนำให้โหลดแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เพื่อเช็คมลพิษทางอากาศ ณ จุดที่อาศัยอยู่ได้เลย
2. สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5
ซึ่งจะต้องเป็น หน้ากากมาตรฐาน N95 เท่านั้น เพราะ หน้ากาก N95 จะมีเส้นใยพิเศษที่ช่วยกรองฝุ่นละออง หรือเชื้อโรคที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.3 ไมครอน ทำให้ป้องกันฝุ่นขนาด PM 2.5 ไมครอนได้
ดังนั้นสำหรับวิธีรับมือกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน สามารถทำได้โดยการ ‘สวมหน้ากาก’ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อกรองโมเลกุลของฝุ่นขนาดเล็กโดยเฉพาะ อย่าง 3M Nexcare Pollution & Haze Respirator หน้ากากรุ่น KN95 สามารถกรองอนุภาคของฝุ่น ฟูมโลหะ และละอองขนาดเล็กได้ ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน GB2626-2006 ประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคที่ไม่ใช่น้ำมัน ที่มีขนาด 0.3 ไมครอน ได้ 95%

3. นอนหลับให้เพียงพอ
จะช่วยให้ร่างกายไม่อ่อนแอ เพราะถ้าพักผ่อนน้อยจะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำและป่วยได้ง่าย
4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
อาหารเพื่อบำรุงสุขภาพ เช่น วิตามินซี ที่ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันร่างกายลดปัญหาจากภูมิแพ้ต่อระบบต่างๆ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ หรือโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นสารต้านการอักเสบ ช่วยป้องกันความเสื่อมของร่างกายจากการได้รับฝุ่น PM 2.5 นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายในที่ร่ม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
5. หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง
การอยู่ในอาคารเป็นการป้องกันไม่ให้ร่างกายสัมผัสกับฝุ่นภายนอกได้ และบางอาคารยังมีเครื่องฟอกอากาศ ที่ทำให้เราสามารถหายใจได้อย่างสะดวกมากขึ้น แต่ถ้าจำเป็นต้องออกนอกอาคารจริงๆ ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นทุกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองแบบละเอียด มีขนาดเล็กมากแม้เราจะมองไม่เห็นแต่การสูดหายใจเข้าไปมากๆก็ทำอันตรายแก่ร่างกายได้ ซึ่งหลายคนได้รับผลกระทบต่างๆ ทำให้เกิดอาการเบื้องต้นคือ หายใจลำบาก ไอ จาม มีน้ำมูก คัดจมูก แสบจมูก เจ็บคอ ดังนั้นการดูแลรักษาตัวเองหลังจากที่สูดควันต่างเข้าๆไปในแต่ละวันก็จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้
การล้างจมูก เป็นการชะล้างเอาสิ่งสกปรกในจมูกให้หลุดออกไป โดยการใช้น้ำเกลืออุ่นๆ กับจุกล้างจมูก เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก แสบจมูก น้ำมูกไหล โดยควรใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% เพราะมีคุณสมบัติช่วยลดความเหนียวของน้ำมูกและทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
ดังนั้น คุณแม่เองก็ต้องดูแลตัวเองและครอบครัวให้เคร่งครัดด้วยนะคะ หากพบว่ามลพิษเกินมาตรฐาน พยายามอยู่ในอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงฝุ่น และหากจำเป็นต้องออกนอกบ้าน แนะนำให้สวมหน้ากากกันฝุ่น รุ่นที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ มีทั้งขนาดผู้ใหญและสำหรับเด็กเลยค่ะ ป้องกันไว้อีกทาง ก็จะช่วยลดโอกาสการสัมผัสกับสารพิษที่จะส่งผลร้ายต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกได้ค่ะ
มีงานวิจัยยืนยัน PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อแม่ท้องและทารกในครรภ์ ถึงขั้นพิการแต่กำเนิด หรืออาจเสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอด
PM 2.5 ฝุ่นร้ายอันตรายถึงลูกในท้อง เสี่ยงพิการ-ตาย ตั้งแต่แรกคลอด
นักวิจัยเผยมลพิษทางอากาศสามารถผ่านจาก 'แม่' สู่ 'ทารกในครรภ์' มลพิษทางอากาศของประเทศไทยมีอยู่หลายรูปแบบค่ะ ทั้งมลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม หรือเกิดจากการเผาไหม้ขยะมูลฝอยค่ะ และที่สำคัญคือฝุ่น PM 2.5 ที่สร้างความอันตรายให้กับแม่ตั้งครรภ์มากที่สุดค่ะ
วารสาร Nature Communications ตีพิมพ์งานวิจัยที่ระบุว่า ทีมวิจัยตรวจสอบพบอนุภาคขนาดเล็กอย่างคาร์บอนสีดำอยู่ภายในรกจำนวนมหาศาลต่อทุกๆ ลูกบาศก์เมตรในเนื้อเยื่อของตัวอย่างรกทุกชิ้นที่นำมาตรวจวิเคราะห์ โดยอธิบายว่าอนุภาคดังกล่าวที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงสามารถผ่านเข้าไปสู่ทารกในครรภ์ได้ด้วยการแทรกซึมผ่านลมหายใจของมารดา
ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นนี้เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และไม่เคยสูบบุหรี่ ภายในเมือง Hasselt ประเทศเบลเยียมซึ่งเป็นเมืองที่มีระดับมลพิษต่ำกว่าข้อกำหนดของสหภาพยุโรป แต่สูงกว่าข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก โดยนักวิจัยเลือกใช้เทคนิคเลเซอร์เพื่อตรวจจับอนุภาคคาร์บอนสีดำ ก่อนจะพบว่าจำนวนของอนุภาคที่กีดขวางอยู่ในรกสัมพันธ์กับระดับมลพิษทางอากาศที่มารดาได้รับ
รศ.รพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล แสดงผลการศึกษาผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 กับแม่ท้องว่าหากต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่น PM2.5 สูง นอกจากจะเสี่ยงต่อทารกที่คลอดมาน้ำหนักตัวน้อยและเจ็บป่วยง่ายแล้ว ยังเสี่ยงต่อความพิการแรกคลอด โดยเฉพาะกลุ่มโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
มีการศึกษาชิ้นสำคัญ เผยแพร่ในวารสารของสมาคมหัวใจแห่งอเมริกา ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2023 คณะผู้วิจัยได้นำเสนอข้อมูลที่รวบรวมมาจาก 30 จังหวัดในประเทศจีน ระหว่างปี 2557-2560 ซึ่งมีเด็กทารกที่คลอดในช่วงเวลานั้นจำนวน 1,434,998 คน พบเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 7,335 คน จึงได้ทำการเปรียบเทียบปริมาณ PM2.5 ที่แม่ของทารกดังกล่าวได้รับเข้าไปในช่วงที่อุ้มท้อง ระหว่างกลุ่มที่ทารกปกติกับกลุ่มที่ทารกมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด พบว่าค่าเฉลี่ย PM2.5 ที่แม่กลุ่มนี้ได้รับเฉลี่ยในหนึ่งปีคือ 56.51 (อยู่ในช่วงตั้งแต่ 10.95 - 182.13) ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าสูงมากที่เดียว
โดยทุก ๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรที่ปริมาณฝุ่นสูงขึ้น จะพบโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเพิ่มขึ้น 2% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเภทผนังกั้นห้องหัวใจมีรูรั่ว คำนวณเป็นความเสี่ยงได้ 1.04 เท่า สำหรับผลร้ายของฝุ่นต่อหัวใจทารกนี้จะพบมากขึ้น ถ้าแม่ได้รับฝุ่นเข้าไปมากตั้งแต่ช่วงก่อนการปฏิสนธิ นอกจากนี้แม่ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี และแม่ที่มีฐานะยากจน จะพบความเสี่ยงนี้ได้มากขึ้น
ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนพบความเชื่อมโยงของ PM 2.5 กับภาวะตายคลอด (Stillbirth) หรือภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิต ภาวะทารกตายคลอด (stillbirth) หมายถึงภาวะที่ทารกคลอดออกมาแล้วไม่มีอาการแสดงของการมีชีวิต เช่น ไม่มีการหายใจ ไม่มีการเต้นของหัวใจ ไม่มีการเคลื่อนไหว รวมถึงทารกที่คลอดออกมาแล้วตายทันทีด้วย
ในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีการตีพิมพ์งานวิจัยผ่านเว็บไซต์ Nature Communications เรื่องมลพิษทางอากาศมีความเชื่อมโยงกับภาวะตายคลอด การวิจัยดังกล่าวได้เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 2541-2559 (ค.ศ.1998 - ค.ศ.2016) จากประเทศรายได้ต่ำและปานกลางครอบคลุม 137 ประเทศทั่วโลก โดย 54 ประเทศในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา เป็นพื้นที่ที่มีการตายคลอดสูงถึง 98% และเป็นกลุ่มประเทศที่แม่ท้องมีการสัมผัส PM2.5 สูงกว่าระดับ WHO กำหนด
WHO กำหนดระดับการสัมผัส PM 2.5 ที่ไม่อันตรายคือค่าที่ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในปี 2558 มีสถิติการตายคลอดสูงถึง 2.09 ล้านคน โดยแม่ท้องประมาณ 950,000 คน มีภาวะตายคลอดจากการสัมผัส PM 2.5 เกินระดับ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
Tao Xue นักวิทยาศาสตร์จาก Peking University ประเทศจีนผู้ศึกษาความเชื่อมโยงนี้ระบุว่า การสัมผัส PM 2.5 ของแม่ท้องอาจทำให้อนุภาคของมลพิษทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวอ่อนที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อรกซึ่งทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหารและออกซิเจนจากแม่สู่ลูกTao Xue ให้ความเห็นว่า นโยบายอากาศสะอาดที่จีนและบางประเทศประกาศใช้สามารถป้องกันการตายคลอดได้ นอกจากนี้ การสวมหน้ากากอนามัย การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ การหลีกเลี่ยงการออกไปนอกบ้านขณะที่ค่า PM 2.5 สูง ๆ ก็ช่วยปกป้องแม่ท้องจากฝุ่น PM 2.5 ได้ เช่นกัน
ข้อปฏิบัติเมื่อค่า PM2.5 ในขณะนั้น (ค่ารายชั่วโมง) ขึ้นสูงเกินเกณฑ์
1. สูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กลุ่มเสี่ยง (เด็ก คนท้อง ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคปอด-หัวใจ-ไต-สมองเรื้อรัง) งดทำกิจกรรมกลางแจ้ง คนทั่วไปลดและปรับเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
2. สูงกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกคนต้องงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่บริการสาธารณะ ให้ใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา
3. สูงกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกคนควรอยู่ในตัวอาคารซึ่งติดตั้งระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่บริการสาธารณะ ให้ใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา และจำกัดช่วงเวลาปฏิบัติงานไม่ให้เกินครั้งละ 60 นาที
แม่ท้องควรทำอย่างไรเพื่อเลี่ยงฝุ่น PM 2.5 ที่อันตรายต่อทารกในครรภ์
- ให้อยู่ภายในอาคารบ้านเรือน หากไม่จำเป็นอย่าออกนอกบ้าน
- ปิดประตูหน้าต่าง ป้องกันฝุ่นเข้า หากปิดไม่ได้ให้ใช้ผ้าชุบน้ำทำเป็นม่านปิดแทน
- หากต้องออกนอกบ้าน ให้ใส่หน้ากากที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5
- ให้ดื่มน้ำมาก ๆ ในช่วงที่มีปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก
- ผู้หญิงตั้งครรภ์ จะต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศที่มีฝุ่นละออง
อันตรายจากมลพิษทางอากาศ กระทบทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ค่ะ ดังนั้นคุณแม่ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น หรือถ้าต้องออกไปจริงๆ ควรส่วมใส่หน้ากากอนามัยที่ป้องกันได้จริงนะคะ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่เอง และเจ้าตัวน้อยในครรภ์นะคะ
ที่มา:
กระทรวงสาธารณสุข
https://www.theguardian.com/environment/2019/sep/17/air-pollution-particles-found-on-foetal-side-of-placentas-study
https://edition.cnn.com/2019/03/05/health/100-most-polluted-cities-2018-intl/index.html
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0LmHYaREiSZwrwrtq23Lne9aBycWCXEUiC3GfyKDWgrmSPs7irEPaB2FmrzZ7DMdwl&id=100002870789106
https://www.ahajournals.org/doi/epub/10.1161/CIRCULATIONAHA.122.061245?fbclid=IwAR1Wcgi1eY_63WPzLgNj5rc-OB2uVqu0a41hc6XVXUcrACmQqlu98Zco8Z4
คุณแม่ระวัง! มลพิษทางอากาศ PM 2.5 ทำให้ลูกน้อยในท้องเสี่ยง โรคออทิสซึม
ปัจจุบัน ฝุ่น PM 2.5 กลายเป็นปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นทุกปี และส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างชัดเจนค่ะ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ การสูดอากาศที่มี ฝุ่น PM 2.5 ไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตัวเองเท่านั้น แต่ผลงานวิจัยล่าสุดพบว่า ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลไปถึงพัฒนาการทารกในครรภ์มากด้วยค่ะ
ผลวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จากสหรัฐ บอกว่า ผู้หญิงท้องที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษมาก มีโอกาสเสี่ยง 2 เท่า ที่จะทำให้ลูกในท้องเป็น โรคออทิสซึม เมื่อเทียบกับคนที่อยู่ในพื้นที่อากาศปกติหรือมีมลพิษน้อย โดยโรคดังกล่าวจะทำให้สมองของเด็กผิดปกติ หรือ อาจเป็นหนึ่งในตัวการทำให้เกิด อาการออทิสติก ได้ ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรป้องกันตัวเองจากการสูดรับ ฝุ่น PM 2.5 อย่างถึงที่สุดเพื่อปกป้องลูกน้อยจากการรับอันตรายจากฝุ่นพิษค่ะ
แนวทางการป้องกันฝุ่น PM 2.5 สำหรับแม่ตั้งครรภ์
- หลีกเลี่ยงการออกจากบ้านในช่วงที่มี ฝุ่น PM 2.5 มีความหนาแน่นสูง เช่น ช่วงสินปี และ ต้นปี หรือ ช่วงที่มีรายงานข่าวเกี่ยวกับไฟไหม้ป่า การเผาขยะ เป็นต้น
- หากกจำเป็นต้องออกจากบ้าน ต้องสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถกรอง ฝุ่น PM 2.5 ได้ เช่น หน้ากากชนิด N 95 หรือชนิดที่ระบุว่ากรอง ฝุ่น PM 2.5 ได้
- หากมีงบประมาณสักหน่อย อาจซื้อเครื่องกรองอากาศมาใช้ในบ้าน เพื่อช่วงฟอกและกรอง ฝุ่น PM 2.5ในบ้าน
ฝุ่น PM 2.5 อาจจะยังอยู่กับเราไปแบบนี้ทุกปีนะคะ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ที่มีลูกเล็ก หรือ ลูกโต การปรับตัวและเลือกใช้เครื่องป้องกัน ฝุ่น PM 2.5 เป็นแนวทางที่ดีที่สุดค่ะ

เช็กรายชื่อปิด 103 โรงเรียนสังกัด กทม. หนีฝุ่น PM 2.5 พุ่งเกินมาตรฐาน กทม.
วันที่ 22 ม.ค.2568 มีรายงานว่า ล่าสุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีประกาศคำสั่งปิดโรงเรียน เนื่องจากสถานการณ์ ค่าฝุ่น PM 2.5 สูง คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 103 โรงเรียน
เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 มากกว่ามาตรฐาน ซึ่งส่งผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจ และการทำงานของสมอง เด็ก ๆ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดอันตรายได้ง่าย เนื่องจากตัวเล็ก ปอดกำลังพัฒนา ชอบเล่นในที่กลางแจ้ง อัตราการหายใจเร็ว มีแนวโน้มมีโอกาสได้รับฝุ่นจำนวนมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวมากกว่าผู้ใหญ่ในช่วงเวลาเท่ากัน
ค่าฝุ่น PM 2.5 ปริมาณเท่าไหร่อันตรายอย่างไร?
0-25 อากาศดีมาก ทำกิจกรรมได้ปกติ
26-37 อากาศดี กลุ่มเสี่ยงต้องเริ่มระวังตัว
38-50 อากาศปานกลาง ประชาชนและกลุ่มเสี่ยงเริ่มระวังตัว หลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้ง
När det gäller potensmedel letar många efter alternativ som inte bara är effektiva utan också enkla att ta. Tabletter fungerar för vissa, men för dem som föredrar en snabbare och mer flexibel lösning finns det flytande alternativ. Ett av de mest populära alternativen är att
köpa Kamagra Oral Jelly, en produkt som snabbt absorberas i kroppen och ger effekt på så lite som 15–30 minuter. Den största fördelen med denna form av potensmedel är att det är enkelt att använda och inte kräver vatten eller tabletter att svälja. Många män väljer detta alternativ eftersom det ger en snabb och pålitlig effekt samtidigt som det erbjuder olika smaker, vilket gör upplevelsen mer behaglig. Genom att köpa online kan man säkerställa att produkten är tillgänglig när den behövs och att den levereras diskret utan onödiga frågor.
51-90 อากาศเริ่มแย่ ประชาชนและกลุ่มเสี่ยง ไม่ควรทำกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5
91 ขึ้นไป ประชาชนและกลุ่มเสี่ยง งดทำกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5
ครอบครัวไหนที่ยังต้องไปทำงาน ลูกไปโรงเรียน ควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ดื่มน้ำเยอะ และเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งนะคะ
รายชื่อโรงเรียน 103 โรงเรียนในสังกัด กทม.ที่ประกาศคำสั่งปิด
- โรงเรียนวัดอุดมรังสี เขตหนองแขม ปิดเรียน 5 วัน (20-25 ม.ค. 68)
- โรงเรียนประชาบำรุง เขตหนองแขม ปิดเรียน 5 วัน (20-25 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ ปิดเรียน 3 วัน (20-22 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดแป้นทอง (สามวาวิทยา) เขตคลองสามวา ปิดเรียน 2 วัน (20-21 ม.ค. 68)
- โรงเรียนมนต์จรัสอนุสรณ์ เขตหนองแขม ปิดเรียน 4 วัน (20-21, 23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราชบูรณะ) เขตหนองแขม ปิดเรียน 4 วัน (20-21, 23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล เขตหนองแขม ปิดเรียน 4 วัน (20-21, 23-24 ม.ค. 68
- โรงเรียนวัดบางเสาธง เขตบางกอกน้อย ปิดเรียน 2 วัน (20-21 ม.ค. 68)
- โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์) เขตบางแค ปิดเรียน 2 วัน (20-21 ม.ค. 68)
- โรงเรียนบ้านขุนประเทศ เขตหนองแขม ปิดเรียน 4 วัน (20-21, 23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดปทุมคงคา เขตสัมพันธวงศ์ ปิดเรียน 2 วัน (20-21 ม.ค. 68)
- โรงเรียนศาลาคู้ เขตมีนบุรี ปิดเรียน 2 วัน (21-22 ม.ค. 68)
- โรงเรียนรัตนะจีนอุทิศ เขตราษฎร์บูรณะ ปิดเรียน 2 วัน (20-21 ม.ค. 68)
- โรงเรียนมีนบุรี เขตมีนบุรี ปิดเรียน 2 วัน (21-22 ม.ค. 68)
- โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน เขตมีนบุรี ปิดเรียน 2 วัน (21-22 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ ปิดเรียน 1 วัน (21 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส เขตราษฎร์บูรณะ ปิดเรียน 1 วัน (21 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ปิดเรียน 3 วัน (21-23 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดสน เขตราษฎร์บูรณะ ปิดเรียน 1 วัน (21 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดสารอด เขตราษฎร์บูรณะ ปิดเรียน 1 วัน (21 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดแจงร้อน เขตราษฎร์บูรณะ ปิดเรียน 1 วัน (21 ม.ค. 68)
- โรงเรียนฉิมพลี เขตตลิ่งชัน ปิดเรียน 2 วัน (20-21 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดกก เขตบางขุนเทียน ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดท่าข้าม เขตบางขุนเทียน ปิดเรียน 2 วัน (23 - 24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ) เขตบางขุนเทียน ปิดเรียน 2 วัน (23 - 24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดบัวผัน เขตบางขุนเทียน ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ เขตบางเขน ปิดเรียน 3 วัน (22-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์) เขตบางเขน ปิดเรียน 3 วัน (22-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนประชาภิบาล เขตบางเขน ปิดเรียน 3 วัน (22-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ) เขตบางเขน ปิดเรียน 3 วัน (22-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดนิมมานรดี เขตภาษีเจริญ ปิดเรียน 2 วัน (22-23 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม เขตภาษีเจริญ ปิดเรียน 2 วัน (22-23 ม.ค.)
- โรงเรียนวัดโคนอน เขตภาษีเจริญ ปิดเรียน 2 วัน (22-23 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดทองศาลางาม เขตภาษีเจริญ ปิดเรียน 2 วัน (22-23 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ) เขตภาษีเจริญ ปิดเรียน 2 วัน (22-23 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี เขตภาษีเจริญ ปิดเรียน 2 วัน (22-23 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีน ปานขำ) เขตภาษีเจริญ ปิดเรียน 2 วัน (22-23 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดกำแพง เขตภาษีเจริญ ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดมหาธาตุ เขตพระนคร ปิดเรียน 3 วัน (22-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดสุทัศน์ เขตพระนคร ปิดเรียน 3 วัน (22-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์ฯ เขตพระนคร ปิดเรียน 3 วัน (22-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม เขตบางพลัด ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์) เขตบางพลัด ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี เขตบางพลัด ปิดเรียน 2 วัน (23-4 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ) เขตบางพลัด ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณฺโณ) เขตบางพลัด ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์ เขตบางพลัด ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์ เขตบางพลัด ปิดเรียน 2 วัน (23 - 24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดรวก เขตบางพลัด ปิดเรียน 2 วัน (23 - 24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดวิมุตยาราม เขตบางพลัด ปิดเรียน 2 วัน (23 - 24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส เขตบางพลัด ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม เขตบางพลัด ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนบ้านเกาะ เขตมีนบุรี ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ) เขตทวีวัฒนา ปิดเรียน 3 วัน (22-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย เขตสายไหม ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดยางสุทธาราม เขตบางกอกน้อย ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมอนุสรร์) เขตสายไหม ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค.68)
- โรงเรียนเสนานิคม เขตจตุจักร ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม) เขตสายไหม ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์) เขตสายไหม ปิดเรียน 2 วัน เรียน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม เขตพระนคร ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดพระยาทำ เขตบางกอกน้อย ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม เขตสายไหม ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดหนองใหญ่ เขตสายไหม ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดสะแกงาม เขตบางขุนเทียน ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดราชนัดดา เขตพระนคร ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดเจ้าอาม เขตบางกอกน้อย ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง) เขตจตุจักร ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดสุวรรณาราม เขตบางกอกน้อย ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนบ้ายนายสี เขตบางบอน ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนบ้านนายเหรียญ เขตบางบอน ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์) เขตบางบอน ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดราชสิงขร เขตบางคอแหลม ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง) เขตบางบอน ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี เขตบางกอกน้อย ปิดเรียน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดไทร เขตบางคอแหลม ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา) เขตบางขุนเทียน ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร) เขตบางแค ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนซอยแอนเนกซ์ (กาญจนาภิเษก 2) เขตสายไหม ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดอัมพวา เขตบางกอกน้อย ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดราษฏร์ศรัทธาธรรม เขตพระโขนง ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก เขตบางกอกน้อย ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนคงโครัดอุทิศ เขตบางบอน ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดใหม่อมตรส เขตพระนคร ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดตรีทศเทพ เขตพระนคร ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนประชานุกูล เขตสายไหม ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ เขตห้วยขวาง ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ เขตบางขุนเทียน ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม-เชื่อมนุกูล) เขตบางขุนเทียน ปิดเรียน 2 วัน (23-24 มค. 68)
- โรงเรียนวัดศรีสุดาราม เขตบางกอกน้อย ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา เขตลาดกระบัง ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดอินทรวิหาร เขตพระนคร ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดจันทร์ใน เขตบางคอแหลม ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนบางแค (เนี่องสังวาลย์อนุสรณ์) เขตบางแค ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ เขตบางบอน ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดจันทร์นอก เขตบางคอแหลม ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี เขตบางกอกใหญ่ ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย เขตภาษีเจริญ ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์) เขตพระโขนง ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดนินสุขาราม เขตบางบอน ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดลาดบัวขาว เขตบางคอแหลม ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
- โรงเรียนวัดราชโกษา เขตลาดกระบัง ปิดเรียน 2 วัน (23-24 ม.ค. 68)
Potensproblem kan ha många orsaker, men lösningen behöver inte vara komplicerad. För de som letar efter ett kraftfullt alternativ till klassiska potensmedel finns
https://medicin-se.com/cenforce/, ett läkemedel som erbjuder starka och långvariga erektioner. Cenforce innehåller samma aktiva substans som Viagra, men kan köpas till ett mer konkurrenskraftigt pris och utan recept. Många väljer denna produkt eftersom den ger pålitliga resultat och har en snabbare effekt än vissa andra alternativ. Genom att beställa Cenforce online slipper man onödiga frågor från läkare eller apotekspersonal och kan istället få medicinen levererad direkt hem i en neutral förpackning. Ett annat stort plus är att det finns flera olika styrkor att välja mellan, vilket gör det lättare att anpassa behandlingen efter individuella behov. För män som vill ha en kostnadseffektiv och bekväm lösning på sina potensproblem är detta ett av de bästa alternativen på marknaden.

เช็กลูกด่วน! 3 อาการอันตรายช่วงค่าฝุ่นสูง ต้องรีบพาไปหาหมอ
ต้อนรับเปิดเทอมด้วยค่าฝุ่น PM2.5 สูง คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมให้เด็ก ๆ ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นกันด้วยนะคะ แล้วอย่าลืมเช็กอาการของลูก ว่ามี 3 อาการอันตรายต่อไปนี้หรือไม่ ถ้าใช่..รีบพาไปหาคุณหมอด่วนค่ะ
เมื่อเด็กได้รับฝุ่นละอองในปริมาณเกินมาตรฐานมาก หรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวนในช่วงนี้ ทำให้การทำงานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด เยื่อบุหลอดลมร่วมกับภาวะผิดปกติที่หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ
3 อาการสัญญาณอันตราย
1.หายใจมีเสียงหวีด
2.หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
3.มีอาการไอผิดปกติ ไอเพิ่มขึ้นเป็นเวลานาน
หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพาลูกไปโรงพยาบาล เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาได้อย่างถูกต้องค่ะ
7 วิธีดูแลสุขภาพลูก ให้ปลอดภัยจากฝุ่นPM2.5
-
เช็กค่าฝุ่นทุกเช้าก่อนพาลูกไปโรงเรียน ในช่วงวิกฤตฝุ่นแบบนี้ ควรติดตามข่าวสารเป็นประจำ ไม่ว่าจะตามโทรทัศน์ วิทยุ และเว็บไซต์ข่าวต่างๆ หรือในยุค Thailand 4.0 แบบนี้แนะนำให้โหลดแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เพื่อเช็คมลพิษทางอากาศ ณ จุดที่อาศัยอยู่ได้เลย
-
วางแผนหรือวิธีการเดินทางเพื่อลดระยะเวลาการสัมผัสฝุ่นให้น้อยที่สุด เช่น จากการเดินให้เปลี่ยนมาใช้รถสาธารณะ
-
สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นให้เด็กที่มีขนาดที่เหมาะสมกับใบหน้า หน้ากากมาตรฐาน N95 เท่านั้น เพราะ หน้ากาก N95 จะมีเส้นใยพิเศษที่ช่วยกรองฝุ่นละออง หรือเชื้อโรคที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.3 ไมครอน ทำให้ป้องกันฝุ่นขนาด PM 2.5 ไมครอนได้
-
สำหรับเด็กที่มีโรคประจำตัว ควรเตรียมยาให้พร้อมและแจ้งผู้ดูแลหรือครู หากมีอาการผิดปกติ ให้พาไปพบแพทย์
-
นอนหลับให้เพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายไม่อ่อนแอ เพราะถ้าพักผ่อนน้อยจะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำและป่วยได้ง่าย
-
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารเพื่อบำรุงสุขภาพ เช่น วิตามินซี ที่ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันร่างกายลดปัญหาจากภูมิแพ้ต่อระบบต่างๆ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ หรือโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นสารต้านการอักเสบ ช่วยป้องกันความเสื่อมของร่างกายจากการได้รับฝุ่น PM 2.5 นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายในที่ร่ม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
-
หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง การอยู่ในอาคารเป็นการป้องกันไม่ให้ร่างกายสัมผัสกับฝุ่นภายนอกได้ และบางอาคารยังมีเครื่องฟอกอากาศ ที่ทำให้เราสามารถหายใจได้อย่างสะดวกมากขึ้น แต่ถ้าจำเป็นต้องออกนอกอาคารจริงๆ ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นทุกครั้ง
ดังนั้น คุณแม่เองก็ต้องดูแลตัวเองและครอบครัวให้เคร่งครัดด้วยนะคะ หากพบว่ามลพิษเกินมาตรฐาน พยายามอยู่ในอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงฝุ่น และหากจำเป็นต้องออกนอกบ้าน แนะนำให้สวมหน้ากากกันฝุ่น รุ่นที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ มีทั้งขนาดผู้ใหญ่และสำหรับเด็กเลยค่ะ ป้องกันไว้อีกทาง ก็จะช่วยลดโอกาสการสัมผัสกับสารพิษที่จะส่งผลร้ายต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกได้ค่ะ
ที่มา : กรมอนามัย, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์