ฝนตกเมื่อไหร่ เด็กๆ มักชื่นชอบเป็นพิเศษ แต่สิ่งที่ไม่มีใครชอบ คือความเฉอะแฉะ และปัญหาน้ำเข้าบ้านจนเดือดร้อน อีกทั้งบรรดาสัตว์ใหญ่น้อยก็พากันหนีน้ำจ้าละหวั่น และสถานที่หลบภัย คือ...บ้านคน มาดูการเลี้ยงลูกเพื่อป้องกันภัยที่อาจจะเกิดในหน้าฝนกันค่ะ
ซึ่งไม่ได้เพียงสร้างความน่ารำคาญหรือขยะแขยงให้แก่ลูกๆ แต่มันอาจนำมาซึ่งการเสียชีวิต...! โดยเฉพาะสัตว์พิษร้ายทั้งหลายที่ซุกซ่อนอยู่ในที่ที่เราคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นใต้บันได ซอกตู้ กองผ้าที่รอซัก ใต้ผ้าห่ม แม้กระทั่งในถุงเท้านักเรียนของลูก หรือแม้แต่จู่ๆ ก็เลื้อยยั้วเยี้ยอย่างท้าทายเข้ามาในบ้านอย่างไม่ทันตั้งหลัก
สารพัดสัตว์มีพิษ
พิษของแมงป่องโดยทั่วไปจะทำให้ปวดบวม ยกเว้นบางพันธุ์ที่มีผลต่อระบบประสาทของร่างกาย พันธุ์ดุที่มีพิษร้ายแรงจะกระตุ้นเส้นประสาทสมองทำให้มีอาการกรอกตา ลิ้นสั่น กลืนไม่ได้ กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ไข้สูง หยุดหายใจได้ กระตุ้นระบบประสาททั่วไปของร่างกายทำให้กล้ามเนื้อมักจะหดเกร็ง กระทั่งเกิดการชัก มีการตายของเซลล์กล้ามเนื้อ เกิดปัสสาวะเข้ม และไตวายได้ แมงป่องชอบหมกอยู่ตามซอกหิน ซอกไม้ พอพลบค่ำช่วงหน้าฝนมักจะโผล่มาเห็นมากกว่าฤดูอื่น คุณต้องคอยสำรวจตรวจตราโดยเฉพาะตามผนังห้อง ห้องน้ำ ห้องครัว และท่อแอร์
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ให้ผู้ถูกกัดพยายามอยู่นิ่งๆ อย่าเคลื่อนไหวไปมา เพื่อไม่ทำให้พิษแผ่ซ่านอย่างรวดเร็วใช้น้ำแข็งห่อด้วยผ้า แล้ววางโปะบริเวณแผลที่โดนต่อย เพื่อให้เส้นเลือดหดตัว พิษจะกระจายช้าลงในรายที่มีอาการใจสั่น ไข้ขึ้น ชัก ปัสสาวะเข้ม ความผิดปกติทางระบบประสาทต้องรีบนำส่งพบแพทย์
เขตร้อนชื้นอย่างบ้านเรานั้นตะขาบชุกเสียด้วยซิครับ ยิ่งหน้าฝนยิ่งยั้วเยี้ย ตอนกลางวันก็เหมือนแมงป่องที่ชอบซุ่มอยู่ในที่เย็นๆ (โดยมากเป็นแถวใต้ก้อนหิน) กลางคืนถึงจะเลื้อยออกหาเหยื่อ เช่นแมลงต่างๆ พิษของตะขาบประกอบด้วยสารก่อปฏิกิริยาอักเสบต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวม ปวด แดง ร้อน หากบวมมากเช่นที่นิ้วมือหรือนิ้วเท้าอาจกดเส้นเลือด ทำให้นิ้วขาดเลือดมาเลี้ยง จนกระทั่งนิ้วดำ เนื้อตาย ต้องตัดทิ้งได้ โดยทั่วไปพิษตะขาบไม่รุนแรงถึงกับทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม มีรายงานการเสียชีวิตเพราะพิษตะขาบในเด็กหญิงฟิลิปปินส์อายุ 7 ปี 1 ราย
โดยทั่วไปข้อที่ควรระมัดระวัง คือ ต้องสอนลูกให้รู้จักตะขาบ และไม่ใช้มือไปสัมผัสอย่างเด็ดขาด สำหรับบ้านที่อยู่ใกล้ไร่นาป่าสวน ในฤดูฝน ต้องตรวจห้องนอน ห้องน้ำ ให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนอนกับพื้น เจ้าตะขาบอาจแอบอยู่ในผ้าห่ม หรือใต้ฟูกได้ หากพื้นถนนมีน้ำนองขัง หรือจำเป็นต้องเดินลุยเข้าไปในจุดที่น้ำท่วม ก็ควรใส่รองเท้าที่ห่อหุ้มเท้าไว้มิดชิด
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ไม่มีวิธีเฉพาะเจาะจง เพียงกินยาแก้ปวดประคบด้วยน้ำเย็นเท่านั้น แต่ถ้าถูกกัดที่นิ้วแล้วปวดบวมมากต้องรีบไปพบแพทย์ ถ้านิ้วบวมเนื้อเริ่มดำไม่ควรทิ้งไว้เพราะอาจต้องตัดนิ้วภายหลังได้
งูพิษบ้านเราที่คุ้นชื่อ คือ งูเห่า งูจงอาง งูแมวเซา งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา งูกะปะ งูทะเล และงูเขียวหางไหม้ พิษของพวกมันแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
หากลูกถูกงูกัด ให้ทำความสะอาดแผล เช็ดให้แห้ง ใช้ผ้ายืด (ที่ใช้กับนักกีฬา) พันรัดรอบเหนือแผลก่อนแล้วพันลงทับรอบแผล หลังจากนั้นใช้ไม้ดามรอบแผล เพื่อลดการเคลื่อนไหว เป็นการลดโอกาสการแผ่ซ่านของพิษเข้าสู่กระแสโลหิต และนำส่งพบแพทย์ต่อไป
ถ้าเป็นไปได้ก็ควรทราบว่าเป็นงูพันธุ์ใด หรือจำลักษณะเด่นๆของมันให้ได้ เพื่อคุณหมอที่รักษาจะได้รักษาหรือจ่ายยาได้ถูกตรงกับการแก้พิษของงูชนิดนั้นๆ หรือถ้าจัดการฆ่างูตัวนั้นได้ ก็นำไปให้คุณหมอดูด้วย (แต่ต้องมั่นใจว่ามันตายสนิทแล้วจริงๆ เพราะเคยมีกรณีที่ตีจนงูแน่นิ่งไปแล้ว จนมีคนชะล่าใจ เอามือไปลูบๆ คลำๆ มันเข้า มันก็กลับฟื้นคืนสติ และฉกกัดคนลูบเข้าให้อย่างรวดเร็ว)
หน้าฝนระวัง...ไฟช๊อต ! ไฟดูด !
เตรียมรับหน้าฝนโดยการสำรวจระบบไฟฟ้าในบ้าน ระบบที่ปลอดภัยต้องมีการต่อสายดินและติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วที่มีมาตรฐานครับ หมั่นใช้ไขควงเช็คไฟที่หาซื้อได้ตามห้างหรือร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยทั่วไป ซึ่งราคาไม่แพงแต่มีประโยชน์มาก ใช้นำมาแตะเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นในบ้าน หากแตะชิ้นใดปุ๊บมีไฟแดงขึ้นที่ด้ามปั๊บ นั่นย่อมหมายถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นมีไฟรั่ว จะต้องตามช่างหรือส่งซ่อมโดยทันที
สำรวจหลังคา อย่าปล่อยให้หลังคารั่ว กำแพงร้าว จนน้ำฝนซึมเข้าบ้าน เพราะเสี่ยงกับการโดนไฟช๊อตไฟดูด โดยเฉพาะเต้าเสียบไฟที่เปียกชื้น น้ำที่ขังหรือนองบริเวณที่ตั้งของตู้เย็นเครื่องซักผ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าสารพัด นอกจากนั้นต้องอย่าลืมสอนลูกให้รู้และปฏิบัติเสมอว่า หากตัวเปียก มือเปียก หรือนิ้วเปียก ไม่ว่าจะเพราะเพิ่งตากฝนมา หรือเพิ่งอาบน้ำเสร็จ (แต่ยังเช็ดตัวไม่แห้ง) ห้ามกดสวิตซ์ไฟ ห้ามเสียบสายไฟ ห้ามแตะต้องเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังเสียบปลั๊กไฟ เพราะมันเสี่ยงอย่างยิ่งกับการโดนไฟดูดไฟช๊อต ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ร่างกายที่เปียกทำให้ความต้านทานต่อไฟฟ้าของเราลดลง กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านร่างกายได้ง่ายขึ้นและแรงขึ้นจนถึงกับเสียชีวิตได้
หน้าฝนระวัง...ฟ้าผ่า!!
ในยามฝนฟ้าคะนองอย่าอยู่ในที่โล่งแจ้งเช่น กลางสนามหญ้า ทุ่งนา ชายทะเล ใต้ต้นไม้สูง หรือใกล้รั้วที่ขึงด้วยลวดหนาม แม้แต่บริเวณกำแพงในที่โล่งก็อย่ายืนใกล้ ควรหลบไปอยู่ในที่ร่มเช่น ในบ้าน ในรถที่ปิดกระจกทุกบาน ในอาคารที่มีสายล่อฟ้า หรือในถ้ำ (กรณีที่ไปท่องป่า)
ในวันฝนตกฟ้าคะนอง ควรตรวจเช็คทันที ว่าตัวของเรานั้นได้ประดับประดาไปด้วยวัสดุโลหะเช่น แหวน เข็มขัด กำไล สายสร้อย ฯลฯ ที่ทำจากทองเหลือง ทองแดง เงิน นาก หรือไม่ ถ้ามี ก็ควรถอดทิ้ง หรือเอาไปเก็บไว้ใกล้ตัว เพราะเหล่านี้ล้วนเป็นสื่อล่อสายฟ้าเป็นอย่างดี
หากอยู่ในบ้าน ในวันที่ฟ้าร้องฟ้าผ่า เพื่อความไม่ประมาทไม่ควรเปิดทีวี เปิดคอมพิวเตอร์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ แม้แต่จะอาบน้ำก็ไม่ควรเปิดเครื่องทำน้ำอุ่น อย่าอยู่ใกล้ท่อน้ำที่เป็นโลหะ และอย่าอยู่ใกล้หน้าต่าง
นอกจากเรื่องต้องระวังเบื้องต้นแล้วที่ขาดไม่ได้เลยคือ ระวังหกล้มศีรษะกระแทก พื้นเปียกแฉะทำให้ลูกๆ อาจลื่นล้มแขนขาหรือหัวฟาดพื้น และถ้าบ้านมีระเบียบผู้ใหญ่จะต้องล็อคประตูไม่ให้ออกไปที่ระเบียงอย่างเด็ดขาดครับ เคยเกิดกรณีเด็ก 3 ขวบไปวิ่งเล่นหน้าระ เบียงของคอนโดแห่งหนึ่ง ในขณะที่พื้นเปียกไปหมด ผลคือ... เด็กพลัดลื่นแล้วลอดราวระเบียงร่วงหล่นลงมาจากชั้นที่ 22 ! นอกจากเพราะพื้นที่เปียกฝนแล้ว ซี่เหล็กราวระเบียงก็ยังมีความห่างระหว่างซี่เกินกว่า 9 เซนติเมตร ถึงเด็กจะไม่ตกทั้งตัว แต่หัวก็ติดในท่าแขวนคอได้ครับ
ปลอดภัยไว้ก่อน
คุณต้องหมั่นเช็ดถูพื้นให้แห้งเสมอ บรรดาผ้าปูพื้น เช็ดพื้นก็เช่นกันหลายบ้านปล่อยให้เปียกชื้น หรือชุ่มน้ำ ยิ่งกรณีหากพื้นตรงระเบียงบ้านเปียกน้ำ จะต้องห้ามไม่ให้ลูกออกไปเล่น ถ้าลูกยังเล็กการห้ามอย่างเดียวจะไม่ได้ผล
จำไว้เสมอครับว่า เมื่อใดที่ฝนมานอกจากพาเอาความสดชื่น มันยังนำมาซึ่งภัยเล็กๆ น้อยๆ กระมั่งมหันตภัยเลยทีเดียว!...