“Self คือตัวตน” ตัวตนที่แข็งแกร่ง เป็นเคล็ดลับให้ลูกอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย มั่นคงและอยู่รอด Self สร้างได้ และเริ่มต้นที่พ่อแม่ พบวิธีการสร้าง Self ตัวตนที่แข็งแกร่ง โดยครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
สำหรับครูหม่อมแปลเลยว่าคือความรู้สึกนึกคิดของคนๆ หนึ่ง self ก็คือตัวตนเขาต้องมีความรู้สึกนึกคิดของตัวเขาเอง เป็นความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงของตัวเองไม่ใช่ที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดที่มีใครมาครอบงำให้รู้สึกอย่างนั้นให้เป็นแบบนั้นเพราะฉะนั้นเรื่องของตัวตนเป็นเรื่องที่เราเป็นตัวเรา เรามีความคิดของเรา เรามีความรู้สึกของเรา เรากล้าที่จะรู้สึกแบบนั้น
Self ดีอย่างไร เรื่องนี้เหมือนที่เราคุยกันว่าถ้าเราให้ลูกรู้หมดทุกอย่าง กูเกิ้ลช่วยเราได้ทุกอย่างให้เรารู้ทุกอย่างบนโลกใบนี้แต่ไม่สามารถทำให้เรารู้จักตัวเองได้อันนี้เรื่องสำคัญ ซึ่งเราจำเป็นต้องมี Self เพราะเป็นแก่นของมนุษย์ว่าฉันรู้สึกมีตัวตนนี่เป็นจุดเริ่มต้น ถ้าเรารู้ว่าความรู้สึกนึกคิดของเราถูกได้ยิน ถูกได้ฟัง Self นี้ก็จะมีพัฒนาการขึ้นไปเรื่อยๆ ถามว่า Self ดีอย่างไร เมื่อเรารู้สึกว่าเรามีตัวตน เราจะต้องมีคุณค่าอีก 4 คุณค่า
1.ตัวตนนี้สำคัญกับคนที่รักไหม
คือตัวตนนี้มีคนรักไหม ตัวตนนี้มีคนให้ความสำคัญไหมมีคนรักมีคนให้ความสำคัญ ถ้าอย่างนั้นตัวตนนี้มีอยู่จริง
2.ตัวตนนี้มีความสำคัญกับตัวเองไหม
เราสามารถรักตัวเองได้ไหม เราสามารถภูมิใจในตัวเองได้ไหม เราสามารถชอบตัวเองได้ไหม
3.ตัวตนนี้มีคุณค่ากับคนอื่นไหม
เรียกว่า Self worth การรู้สึกมีคุณค่ากับคนอื่น คือตัวตนนี้ทำประโยชน์อะไรให้กับคนอื่นได้บ้าง เป็นที่ยอมรับของสังคมไหม
4.ตัวตนนี้มีหลักคิดในชีวิตไหม
เรียกว่าคุณค่าในชีวิตหมายความว่าถ้าตัวตนนี้ถูกเลี้ยงมาให้มีความรัก ความผูกพันในครอบครัวเขาก็จะยึดไว้เป็นหลักคิดในชีวิตว่าตัวตนนี้ต่อไปเขาก็จะต้องสร้างครอบครัวที่มีความรักความอบอุ่น สร้างจากสิ่งที่เขาเป็นไม่ใช่ว่าอยากเป็น คือรู้วิธีด้วยแล้วก็ใช้ประสบการณ์เดิมที่มีคุณภาพมาเป็นหลักคิดในชีวิตได้ด้วย ถ้าเกิดคุณพ่อคุณแม่ให้คุณค่าเรื่องของความกตัญญูตัวตนนี้ก็จะมีหลักคิดในชีวิตในเรื่องของการดำเนินชีวิตด้วยความกตัญญู รู้คุณ เป็นต้น
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ตัวตนนี้มันจะเติบโตขึ้นมามีตัวตนแล้วตัวตนจะมีคุณค่ากับคนที่รักอย่างไร มีคุณค่ากับตัวเองอย่างไร มีคุณค่ากับผู้อื่นอย่างไร มีคุณค่าในการดำเนินชีวิตอย่างไร นี่คือหลักในการดำเนินชีวิต ถามว่ามีแล้วดีอย่างไร มีแล้วคือตัวเรามีคุณค่า มันคือคุณค่าของตัวตนเราแต่มันจะแบ่งออกเป็น 4 คุณค่า
หากว่าเด็กขาดคุณค่าใดคุณค่าหนึ่งไป ลองคิดดูว่าถ้าเราดำเนินชีวิตไปแล้วเรารู้สึกไม่มีคุณค่ากับคนที่เรารักเลยเสียSelf ไหม เสีย Self ดำเนินชีวิตไปสักพักหนึ่งเรารู้แล้วว่าคุณแม่ให้ความสำคัญรู้ว่าเป็นที่รักของคุณพ่อคุณแม่ แต่คุณพ่อคุณแม่ทำทุกอย่างให้หมดเลยมองไปที่ตัวเองฉันไม่เคยทำอะไรเองเลยฉันไม่เคยมีความสามารถเลย พอจะทำอะไรคุณพ่อคุณแม่บอกไม่ต้องทำเดี๋ยวเลอะ เดี๋ยวแม่ทำให้เดี๋ยวพ่อทำให้ อาจจะมีคุณค่าแบบที่ 1 มีคุณค่าต่อคนรัก แต่เขาจะไม่มีคุณค่าต่อตัวเองหรือ Self esteem ความภาคภูมิใจในตัวเองหรือการเคารพตัวเองได้เลย
ดำเนินชีวิตไปสักพักหนึ่งเช่นเดียวกันไม่เคยมีจิตสาธารณะไม่เคยไปร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้อื่นไม่เคยทำตัวเองให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น Self นี้ก็จะไม่สบายใจอีก รู้สึกภูมิใจในตัวเองแต่ไม่เคยเป็นที่ยอมรับในสังคม ก็ต้องหาการเติบโตของ Self นี้อีกในด้าน Self worth การรู้สึกมีคุณค่าต่อผู้อื่นของชีวิตนี้
ดำเนินชีวิตสักพักหนึ่งมีลูกหลานหรือมีหลักการในการดำเนินชีวิต ดำเนินชีวิตไปเพื่ออะไร เรา Value เรื่องอะไรเราจะหาเจอไม่ได้เลยถ้าเราไม่เคยถูกสืบทอดมาจากวิธีการที่คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเรา เพราะฉะนั้นถามว่า Self นี้มีประโยชน์อย่างไร สำหรับครูหม่อมคือ Self คือตัวของเราถ้ามีแล้วพัฒนานั่นคือแก่นของการใช้ชีวิต
เวลาที่เราบอกว่าเด็กบางคนมีตัวตนมากไปหรือเปล่าใหญ่คับบ้าน สั่งชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้ คือกลับไปอยู่ในตัวตนสี่ด้านที่ครูหม่อมบอก คุณค่าในสี่ด้าน เขาอาจจะมีคุณพ่อคุณแม่รู้แล้วว่าเป็นที่ยอมรับ เป็นที่รักเป็นเลเวลเริ่มต้นของเด็กเล็กๆ ชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้แต่ทำไมยัง Act Out หรือยังสั่งคนทั้งบ้านเรียกร้องความสนใจอยู่ เป็นไปได้ที่เขาอาจยังไม่เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง ตัวเองเป็นที่รักแต่ตัวเองยังไม่เห็นว่าทำอะไรได้
เพราะฉะนั้นอาจจะต้องแล้วแต่บ้านอาจจะต้องเพิ่มให้เขาหน่อยว่าควรเพิ่มด้านไหนบ้าง หรือเป็นไปได้ว่าสั่งชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้แต่นั่นแปลว่าเฉพาะแต่เวลาที่อยู่กับคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะอยู่ด้วย 10 นาทีต่อวันก็ได้นั่นแปลว่าหนูจะรู้สึกมีตัวตนอยู่ 10 นาทีนี้ นอกจากนั้นแล้วคุณพ่อคุณแม่อยู่ไหนก็ไม่รู้ก็เป็นได้
เพราะฉะนั้นการเช็กว่าตัวตนสำคัญไหมเวลาที่เราบอกว่าเราอยากให้ลูกรู้ว่าตัวเองมีตัวตนก็คือการรู้ว่าความรู้สึกนึกคิดของเขาถูกฟัง ถูกฟังเมื่อไหร่ตัวตนที่หนึ่งจะเกิดต่อมาเขาจะเริ่มรู้แล้วว่าเขามีตัวตน ตัวตนนี้เป็นที่รักที่ยอมรับของพ่อแม่กับคนที่รัก หากเขาอยากทำอะไรแล้วคุณพ่อคุณแม่ส่งเสริม เรียนรู้ด้วย และมองเห็นว่าเขาทำอะไรได้บ้าง Value ที่สองของตัวตนเกิดเราค่อยๆ ดูไปทีละ Value
กว่าคนๆ หนึ่งจะมีความรู้สึกนึกคิดเป็นตัวของตัวเองมีพัฒนาการ 3 ขั้นด้วยกัน เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึง 6 เดือน เด็กแรกเกิดจะยังไม่รู้ว่าตัวเองมีตัวตนคือยังไม่รู้ว่าตัวเองมีความรู้สึกนึกคิดปฏิกิริยาต่างๆ เกิดจากการทำงานของสมองอัตโนมัติเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดก่อน รวมถึงการเตรียมพร้อมการทำงานของสมองที่จะให้ออกมารับรู้เรื่องรูปรสกลิ่นเสียงต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลสะสมเอาไว้ก่อนที่จะรับรู้ว่าตัวเองมีตัวตน เพราะฉะนั้นเด็กตั้งแต่แรกเกิดจะยังไม่รู้ว่าตัวเองมีตัวตน ยังไม่รู้ว่าตัวเองมีความรู้สึกนึกคิด
พอถึงประมาณ 6 เดือน จะเป็นขั้นที่หนึ่งของพัฒนาการด้าน Self ก็คือขั้นวัตถุมีอยู่จริงเราก็ต้องอ้างอิงคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์อีกแล้วเพราะคุณหมอใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย
ขั้นแรกที่เราเรียกว่าวัตถุมีอยู่จริง
วัตถุแรกที่ควรมีอยู่จริงคือแม่ แม่ต้องมีอยู่จริงและคำว่าแม่ของคุณหมอประเสริฐก็ไม่ได้หมายความว่าแม่ที่เป็นแม่จริงๆ ด้วยก็คือผู้เลี้ยงดูตัวจริงอาจจะเป็นปู่ย่าตายายก็ได้ คุณพ่อก็ได้หรือคุณพ่อมีอยู่จริงได้เหรอ ได้ ก็คือพ่อมีอยู่จริงแม่มีอยู่จริงใครสักคนหนึ่งมีอยู่จริงวัตถุมีอยู่จริง
คำว่าวัตถุมีอยู่จริงหมายความว่าอะไรที่อยู่ในสายตาสำหรับเด็กเล็กคือมีอยู่ อะไรที่ไม่อยู่ในสายตาแปลว่าไม่มี 6 เดือนนี้ที่สิ่งที่เกิดการทำซ้ำคือ ร้องไห้คุณแม่เดินมา มองหน้า โอบอุ้ม สัมผัส ให้กินนมลิ้มรสจากที่หิวเปลี่ยนเป็นอิ่มรู้สึกฟิน
พอคุณแม่เดินไปล้างขวดนมสำหรับลูกคือกำพร้า ไม่มีแม่ แม่หาย เหงาร้องไห้ แม่เดินมาหาใหม่ พอแม่เดินมาหาใหม่มองสบตา โอบอุ้ม ปลอบประโลม จากที่กลัวกลายเป็นไม่กลัว มีแม่มีพ่อ แม่เดินไปล้างจานไม่มีอีกละ อาศัยการร้องไห้ การสื่อสารคุณแม่เดินมาทำให้ลูกเปลี่ยนจากกลัวเป็นไม่กลัว เปลี่ยนจากหิวเป็นอิ่ม ไม่สบายตัวเป็นสบายตัว ไม่ปลอดภัยเป็นปลอดภัย
ผ่านไป 6 เดือน ร้องไห้หิวนมคุณแม่แค่ส่งเสียงมาลูกหยุดร้องไห้ได้ นั่นคือสัญญาณแรกของการที่ลูกรู้ว่าวัตถุมีอยู่จริงหรือว่าแม่มีอยู่จริง คำถามก็คือว่าทำไมเด็ก 6 เดือนถึงหยุดร้องไห้ได้เพราะเขามีภาพอยู่ในหัวว่า 6 เดือนที่ผ่านมาคุณแม่มาตอบสนองความต้องการพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นขั้นที่หนึ่งก็คือแม่มีอยู่จริง
ขั้นที่สองเกิดขึ้นประมาณ 8 เดือน
คือการสร้างความผูกพันคือต้องมีวัตถุก่อนถึงจะสร้างความผูกพันได้ ความผูกพันนี้ก็จะมีไปตั้งแต่ 8 เดือนเป็นต้นไป ความผูกพันนี้มีคุณภาพด้วย มีคุณภาพแบบ Secure Attachment คือความผูกพันแบบปลอดภัยคือเกิดจากการเลี้ยงดูที่มีความสม่ำเสมอตอบสนองความต้องการพื้นฐานได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีความสม่ำเสมอ ลูกคาดเดาได้ว่าถ้าทำแบบนี้แม่จะทำอย่างไร อันนี้รู้สึกมั่นคงปลอดภัยไว้ใจได้ แต่ก็มีแบบรู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งมีอยู่สองอย่างเกิดจากการตอบสนองเชิงลบคือไว้ใจได้ว่าแม่ตีหรือแม่ตะวาด ก็คือรู้สึกไม่ปลอดภัยไม่ใช่ไว้ใจว่าเดี๋ยวแม่มาปลอบ
แบบไม่ปลอดภัยก็จะแบ่งออกเป็นแบบนี้ค่ะมาทีไรมาเชิงลบมาชวนลูกบวกตั้งแต่เบบี๋ กับแบบที่สองคือทิ้งขว้าง ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าการเรียกร้องความต้องการอันนี้ที่ร้องไห้ออกไป สื่อสารออกไปจะรับการตอบสนองกลับมาหรือไม่ แต่แบบไม่ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ก็คือรูปแบบรุนแรงหรือรูปแบบๆ คาดเดาไม่ได้ ก็จะเป็นการทำให้เด็กเกิดการพัฒนาเรื่อง Defense Mechanisms อีกเช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้นการตอบสนองแบบไม่ปลอดภัยหรือว่าการคาดเดาไม่ได้ ปล่อยปละละเลยมาบ้างไม่มาบ้างก็แล้วแต่ว่าเมื่อมาปะทะกันแล้วลูกเราจะสู้ ถอย หรือสมยอม ซึ่งอันนี้ไปฟังได้ใน EP เลี้ยงลูกเชิงบวก ไม่ให้พร้อมบวก ทีนี้พอเราสร้างความผูกพันแบบมั่นคงปลอดภัยไว้ใจได้แล้วก็จะไปสู่ขั้นตอนที่สามของพัฒนาการด้าน Self จะเกิดขึ้นประมาณ 2 ขวบไป 3 ขวบ นั่นคือ
ขั้นตอนที่สามหนูมีอยู่จริงเป็นขั้นที่แยกตัวตนออกจากพ่อแม่
ตอนแรกลูกจะคิดว่าตัวเองกับพ่อแม่เป็นคนเดียวกัน แต่มันมีที่มาที่ไปคุณพ่อคุณแม่ลองดูตอนที่ลูกเป็นเบบี๋ถ้าเราจะไปธนาคารเราจะคุยกับลูกไหม เราบอกลูกไหมว่าเดี๋ยวจะไปธนาคาร หรือเราลงจากรถมาปวดฉี่อยากเข้าห้องน้ำเราก็ถือตะกร้าลูกมาเราก็วางตะกร้าลูกไว้แล้วก็วิ่งไปเข้าห้องน้ำ เพราะฉะนั้นการสื่อสารอะไรแบบนี้จะยังไม่รู้
ทีนี้ให้เรานึกถึงตอนเราเป็นลูกอยู่ในตะกร้าเวลาเราจะไปไหนเราจะไปตามพ่อแม่ เพราะฉะนั้นลูกจะรู้ยากมากว่าตัวเองมีความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง หรือถ้าเราเคยบดข้าวให้ลูกกินเวลาที่เราบดผัก บดผลไม้ บดตับ มีไหมที่ลูกไม่ชอบ ลูกเคยแหวะออกมาไหม แล้วทำอย่างไร ก็ป้อนเข้าไปอีก ลองนึกถึงถ้าเราเป็นลูก อะไรมันเข้าปาก ไม่ชอบเลยก็แหวะออกมารู้สึกตัวอีกทีอยู่ในปากอีกแล้ว เพราะฉะนั้นลูกจะแยกออกยากว่าอันไหนคือฉันอันไหนคือเขา
ฉะนั้นตรงนี้มันมีที่มาที่ไป เกิดการสะสมประมาณ 2 ขวบไป 3 ขวบ ที่ลูกเริ่มรู้ว่าตัวเองแยกตัวตนออกจากพ่อแม่ นั่นก็เพราะว่าลูกพูดได้หรือยัง 2 ขวบ วิ่งได้หรือยัง ได้แล้ววิ่งไปไหนต่อไหน พ่อแม่เพิ่งจะเดินตามมา เพราะฉะนั้นฉันอยู่ตรงนี้มองไปพ่อแม่อยู่ตรงนู้น เริ่มรู้แล้วว่าฉันกับพ่อแม่เป็นคนละคน เวลาที่พ่อแม่บอกไปอาบน้ำ หนูไม่อาบ พ่อแม่โมโห หนูกับพ่อแม่เป็นคนละคนความอยากความต้องการคนละอย่างกัน
ฉะนั้นเขาจะเริ่มรู้แล้วว่าตัวเองมีความรู้สึกนึกคิดของตัวเองที่แตกต่างจากพ่อแม่ มีความสามารถที่ทำให้พ่อแม่โมโหได้ เวลาที่ลูก 2 ขวบ 3 ขวบ เป็นช่วงที่เขาเริ่มเดินได้ทำอะไรด้วยตัวเองได้เขากำลังเห่อความสามารถ เพราะฉะนั้นถ้าเขาทำให้พ่อแม่โมโหได้เขาก็เห่อ การเห่อคือการอยากอวดอยากใช้ พ่อแม่ต้องไม่เป็นเหยื่อ ดีใจไปกับลูกอย่าลืมร่วมทุกข์ร่วมสุข ดีใจและภูมิใจในเผ่าพันธุ์ของตัวเองว่าลูกเรามีความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง
วันไหนที่บอกลูกนั่ง ลูกก็นั่ง ลูกยืน ลูกก็ยืน ลูกหันมาถามให้เดินไปตรงไหนอีก แบบนี้ให้กังวลได้เลยเป็นปัญหาอย่างมากด้วย เพราะฉะนั้นถ้าลูกเริ่มมีตัวตนเราเริ่มสอนลูกได้แล้วเราเริ่มใส่ Value ก็คือ Sense of Belonging การรู้สึกว่าเป็นที่รักของคนสำคัญ Self Esteem ความรู้สึกภูมิใจ ภาคภูมิใจในตัวเอง แต่ต้องมี Self ก่อน
เพราะฉะนั้น 3 ขั้นนี้จะเห็นว่าเริ่มตั้งแต่ 6 เดือน ขั้นพ่อแม่มีอยู่จริง วัตถุมีอยู่จริง ขั้นที่สองความผูกพัน และขั้นที่สาม หนูมีอยู่จริง สิ่งที่ครูหม่อมอยากจะพูดคืออันนี้เป็นการพัฒนาเรื่องของตัวตนสำหรับเด็กแรกเกิด
แต่ครูหม่อมอยากให้จำรูปแบบของความสัมพันธ์ หากคุณพ่อคุณแม่มีลูกที่โตแล้วและลูกเราเสีย Self ทำอย่างไร เราไม่ต้องย้อนลูกกลับไปแรกเกิด แต่อยากให้พ่อแม่ทำอย่างไรก็ได้ให้เป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริงให้กับลูกและสร้างความผูกพันมั่นคงปลอดภัยไว้ใจได้ใหม่ แล้วลูกจะรู้สึกว่าตัวเองมีตัวตนเป็นคนสำคัญ
ยิ่งเมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น ทำไมเรากับลูกถึงมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีจำแพทเทิร์นนี้ไว้เลยค่ะ อย่างไรก็ตามทำได้เริ่มต้นใหม่ได้เสมอ ทำอย่างไรก็ได้ให้เขารู้ว่าตัวเองมีตัวตน ตัวเองมีตัวตนแล้วเพิ่ม Value เข้าไป อยู่กับเราแล้วเขารู้สึกว่าเป็นที่รักของเราไหม เราสื่อสารความรักอย่างไรถ้าเกิดว่าเขารู้สึกว่าเขาเป็นที่รักของพ่อแม่ แล้วพ่อแม่เป็นฐานที่มั่นทางใจ เป็นที่ปลอดภัยของเขา เขาก็จะมีตัวตน ส่งเสริมให้เขามีความสามารถไหม
คำพูดพ่อแม่ที่บอกว่าศักดิ์สิทธิ์เพราะมันไปกระทบกับ Self ของลูก ถ้าเราบอกลูกดื้อ ทำอะไรก็ไม่ดีเขาจะไม่สามารถชอบตัวเองได้เลย เพราะแม้แต่คนที่เขารักยังไม่ชอบเลย เขาจะชอบตัวเองได้อย่างไร แล้วถ้ายิ่งเขาเองไม่รู้ว่าตัวเองมีความสามารถอะไร จะไปช่วยเหลือคนอื่นต้องคิดเยอะอีก ยากเข้าไปอีกชีวิตนี้ ถามว่าแล้วจะมีหลักคิดในการดำเนินชีวิตอย่างไร มองหันหลังกลับมาประสบการณ์เดิม พ่อด่าแม่ตี ไล่ออกจากบ้านแล้วฉันจะต้องเป็นคนอย่างไร ฉันควรจะดำเนินชีวิตอย่างไร
หรือบางคนที่มี Self ปลอมสร้างให้มาเป็นที่รักของคนอื่นแต่ไม่ใช่ตัวเองจริงถือเป็นโรคทางจิต อาจเป็นโรคของคนที่มีบุคลิกภาพเสีย การมีหลายบุคลิกภาพ การสร้างบุคลิกภาพปลอมขึ้นมาเพื่อที่จะสามารถเข้ากับคนอื่นได้ สร้างแต่ว่าไม่ได้เป็นมันก็ต้องใช้ Energy เยอะเหมือนกัน ใช้แรงโกหกเยอะ แรงที่จะต้องสร้างให้เห็นว่าฉันเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้นเวลาที่เรามีคำว่า True Self เป็นเรื่องที่ต้องสะสม แล้วสิ่งที่สะสมเหล่านี้ก็คือเกิดจากคำว่าต่อเนื่อง หากว่าเราจะเริ่มสร้าง Self ใหม่กับลูก เพิ่มความมั่นคงปลอดภัยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูก สำหรับลูกที่โตแล้วสิ่งที่มันยากขึ้นแค่เวลาเท่านั้นเอง ไม่เหมือนกับเริ่มสร้างแต่ไม่ได้แปลว่ามันจะเป็นแบบนั้นตลอดไป แปลว่าเราสามารถกลับมาแก้ใหม่ได้แต่ต้องใช้ Energy เพิ่มมากขึ้น แต่ครูหม่อมว่าไม่มีพลังอะไรที่จะกล้าแกร่งได้เท่าพลังพ่อแม่อีกแล้ว
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u