พ่อแม่คนไหนที่มีลูกเล็กมักจะลุ้นไปกับ “ครั้กแรก” ของลูก หรือที่เรียกว่าพัฒนาการเด็กที่สำคัญในแต่ละช่วงอายุกันใช่ไหมคะ และถ้ามีลูกเล็กวัย 6-12 เดือนซึ่งเป็นช่วงที่เขาเริ่มเคลื่อนไหวได้คล่องตัวและสนุกมากขึ้น พ่อแม่อย่างเรายิ่งต้องตามติดเป็นพิเศษ เราลองมาเช็ดสุดยอดพัฒนาการสำคัญของลูกวัย 6-12 เดือนกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ลูกได้อย่างไรบ้าง
1.เด็กอายุ 6 เดือน
พัฒนาการเด็ก อายุ 6 เดือน
- พลิกคว่ำเองได้คล่อง
- ชันตัวได้ในท่านอนคว่ำเหมือนพยายามโหย่งตัว
- ทรงตัวในการนั่งได้ดีแต่ต้องมีหมอนพิง
- จับถือขวดนมหรือของเล่นได้อยู่มือ
การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
- เตรียมพื้นที่คลานให้ลูกด้วยแผ่นรองคลานหรือผ้านุ่มๆ
- วางหมอนป้องกันไว้รอบๆ พื้นที่เพื่อไม่ให้ลูกพลิกแล้วตกที่นอนหรือแผ่นรอง
- หมั่นตรวจดูผ้าอ้อมลูกไม่ให้ตุง เพราะถ้าผ้าอ้อมตุง หนัก บวม จะทำให้ลูกพลิกตัวยาก
2.เด็กอายุ 7 เดือน
พัฒนาการเด็ก อายุ 7 เดือน
- ยันตัวในท่าคลานหรือเริ่มคืบไปข้างหน้าได้ทีละนิด
- จับของเพื่อดึงตัวเองขึ้นยืนได้
- อาจยกตัวขึ้นนั่งได้จากท่านอน
- ถ้ามีคนพยุงจะยืนทรงตัวและก้าวขาสั้นๆ ได้
การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
- จัดการกับเหลี่ยมมุมในบ้าน โต๊ะ เก้าอี้ ปลั๊กไฟเพื่อให้ลูกไม่ให้ลูกคืบหรือเกาะไต่ไปโดน
- ควรลองพาลูกไปหัดคลานหรือเดินนอกบ้าน เช่น ในสวน เพื่อให้เขาได้สัมผัสธรรมชาติและสนุกกับการคลานมากขึ้น
- เลือกเสื้อผ้าที่ไม่รุงรัง ไม่รัดจนทำให้ลูกคลานหรือยืนไม่คล่องตัว
3.เด็กอายุ 8 เดือน
พัฒนาการเด็ก อายุ 8 เดือน
- คลานได้
- ยืนเกาะไต่และก้าวขาไปได้เรื่อยๆ ทีละก้าวสั้นๆ
- นั่งได้มั่นคง ไม่ล้มหงายหลัง ไม่ต้องมีหมอนพิง
- สามารถเปลี่ยนจากการคลานไปนั่งเองได้ด้วยการยันแขนขึ้น
การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
- ควรจัดพื้นที่คลานในบ้านให้กว้างขึ้น เช่น ย้ายเฟอนิเจอร์ ปูพื้นที่คลาน หรือส่วนไหนที่คลานไปไม่ได้ก็ให้หาฉากหรือคอกกั้น
- จับมือพยุงให้ลูกยืนและก้าวเดินบ่อยๆ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่จะช่วยให้ขาลูกแข็งแรงและพัฒนาการเดินได้ไวขึ้น
- เลือกผ้าอ้อมที่กระชับกับตัวลูก เพื่อให้ลูกคลานได้คล่องตัว ไม่เกิดการเสียดสี
4.เด็กอายุ 9 เดือน
พัฒนาการเด็ก อายุ 9 เดือน
- คลานคล่องแคล่ว คลานไว หรืออาจคลานขึ้นบันไดได้
- จับของยืนเองได้และยืนได้นานโดยไม่มีคนพยุง
- บางคนลุกยืนเองได้โดยไม่ต้องจับเครื่องเรือน
- นั่งลงได้จากท่ายืนโดยไม่ล้ม
การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
- ช่วงนี้ควรเลือกผ้าอ้อมแบบกางเกงที่บางกระชับ เพื่อให้ลูกเคลื่อนไหวได้แบบไม่ติดขัด
- จับให้ลูกได้เกาะโซฟาแล้วไต่เดินเองเพื่อเพิ่มพลังขา
- ช่วงที่จะใส่กางเกงให้ลูกถือเป็นจังหวะฝึกยืน โดยให้ลูกยืนเกาะไหล่แม่พยุงตัวไว้และใส่กางเกงแทนการนั่งใส่เหมือนเดิม
5.เด็กอายุ 10 เดือน
พัฒนาการเด็ก อายุ 10 เดือน
- ลุกขึ้นยืนจากท่านั่งได้โดยไม่ต้องจับเครื่องเรือน
- ยืนได้โดยไม่ต้องจับอะไร
- เดินได้หลายก้าวขึ้นแต่ยังต้องจับเครื่องเรือนไต่เดินไปรอบๆ
- ปีนขึ้นลงเก้าอี้เองได้
การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
- ร้องเรียกหรือปรบมือให้ลูกเดินเข้ามาหาเพื่อฝึกการเดินให้มั่นคง
- บอกให้ลูกลองลุกนั่งบ่อยๆ เพื่อฝึกการทรงตัวจากการยืนนั่งและนั่งยืน
- ลองนำของเล่นที่เขาชอบไปวางไวในมุมปลอดภัยต่างๆ หรือในสวน แล้วให้เขาเดินไปหยิบเพื่อฝึกการมอง การเดิน การทรงตัว
6.เด็กอายุ 11 เดือน
พัฒนาการเด็ก อายุ 11 เดือน
- เดินได้เองโดยจับมือคนอื่นหนึ่งหรือสองมือ
- ลุกขึ้นยืนจากท่านั่งยองๆ ได้
- ลุกขึ้นยืนได้โดยใช้มือยันพื้นแล้วดันตัวขึ้นยืนตรง
- จับของเล่นส่งต่อมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่งได้โดยของไม่ตก
การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
- เดินจูงมือลูกให้ก้าวเดินไปพร้อมกับแม่เพื่อกระตุ้นความสนุกและอยากเคลื่อนไหว
- หาของเล่นที่มีพื้นผิวและขนาดที่หลากหลายเพื่อให้ลูกได้จับและส่งจากมือหนึ่งไปมือหนึ่งได้คล่องมากขึ้น
7.เด็กอายุ 12 เดือน
พัฒนาการเด็ก อายุ 12 เดือน
- ลุกนั่งได้คล่องแคล่ว
- คลานขึ้นลงบันไดได้
- ใช้มือขณะเดินได้ เช่น โบกมือ ถือของ
- เริ่มก้าวได้ก้าวขึ้น เร็วขึ้นจนเกือบเหมือนวิ่งเพราะสนุกที่จะเดินไปหาของที่อยากไปเล่น
การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
- ช่วงนี้ลูกจะสนุกกับการคลาน แม่ควรเลือกเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีเพื่อระบายความร้อนจากร่างกาย
- ควร เลือกผ้าอ้อมที่ซึมซับได้ดีเพื่อให้ลูกคลานได้นานขึ้นและไม่รั่วซึม รวมถึงควรเป็นผ้าอ้อมที่ไม่ตุงเทอะทะ เพราะน้ำหนักของผ้าอ้อมอาจจะถ่วงให้ลูกคลานได้ช้าลง ไม่สบายตัว

พัฒนาการทางร่างกายของลูกวัย 6-12 เดือนเริ่มเปลี่ยนจากการนอนเฉยๆ หรือดิ้นไปมากับที่ ไปเป็นการพยายามเคลื่อนไหวไปยังที่ต่างๆ ด้วยการพลิกตัว คลาน ยืน และเดิน ซึ่งถือว่าเป็นช่วงพัฒนาการสำคัญที่แม่ทุกคนไม่อยากจะพลาดเลยสักวินาทีเดียว แต่นั่นหมายถึงคุณแม่จะต้องช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายที่เหมาะสมกับเขาด้วย เช่น การจัดพื้นที่ การสร้างบรรยาการ การพูดกระตุ้นให้กำลังใจ การเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสม

รวมไปถึงการเลือกผ้าอ้อมที่แม่หลายคนลืมให้ความสำคัญ เพราะจริงๆ ถ้าคุณแม่เลือกผ้าอ้อมได้ดี เช่น ผ้าอ้อมบาง ไม่หนาตุง ไม่เทอะทะ ผ้าอ้อมกระชับกับตัวลูก เป็นเสมือนอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายลูกน้อย และต้องระบายอากาศได้ดีไม่อับชื้น ซึ่งถ้าคุณแม่เลือกใช้ผ้าอ้อมที่บางแต่ซึมซับดี ซึมซับไว ไม่รั่วซึม ไม่เปียกชื้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกสบายตัว ไม่น่ารำคาญ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกน้อยอารมณ์ดีจนอยากเล่น อยากคลาน และทำให้มีผลไปถึงพัฒนาการทางการเคลื่อนไหวที่ดีของเขานั่นเองค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Huggies Ultra Pants ยิ่งบาง ยิ่งพลิ้ว .. บางกว่า แต่ซึมซับดีเยี่ยม
(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)