Dysfunctional Family ครอบครัวบกพร่องหน้าที่ เป็นเรื่องที่พ่อแม่คนไทยไม่ค่อยคุ้นหูค่ะ แต่ถ้าเป็นเรื่องการของเลี้ยงลูกแบบ Dysfunctional Family เราทำและมีกันมานานแล้ว แค่ยังไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง
เลี้ยงลูกแบบควบคุมทุกอย่าง เลี้ยงลูกแบบปล่อยปละ หรือ เลี้ยงลูกแบบตำหนิทุกอย่าง โดยให้เหตุผลว่า เพราะรักลูกถึงได้เลี้ยงแบบนี้ ทั้งที่ลูกอาจจะไม่ได้รู้สึกถึงความรัก แต่กลายเป็นความกดดันซึ่งส่งผลต่อทั้งร่างกาย จิตใจ วิธีคิด และพฤติกรรมของลูกค่ะ
อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลเรื่อง Dysfunctional Family ครอบครัวบกพร่องหน้าที่ ไว้น่าสนใจ ซึ่งจะช่วยเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ลองตรวจสอบตัวเองด้วยค่ะ
Dysfunctional Family ครอบครัวบกพร่องหน้าที่ คือ สภาวะที่พ่อแม่ไม่ทำหน้าที่ในการเลี้ยงดูลูกอย่างถูกต้อง ตามความต้องการทางร่างกาย จิตใจ และพฤกติกรรมของเด็กแต่ละคน
โดยสอดคล้องกับ รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ที่กล่าวว่า “เด็กคือผ้าหลากสี” เขาเกิดมาโดยมีสีพื้นที่ต่างกัน ซึ่งสังเกตง่าย ๆ เช่น เด็กบางคนเลี้ยงง่ายมาก เด็กบางคนร้องงอแงตลอด เด็กบางคนเลี้ยงง่ายบ้างยากบ้างสลับกันไปในแต่ละวัน จึงเป็นที่มาว่า พ่อแม่จำเป็นต้องรู้พื้นฐานของลูก แล้วเลี้ยงดู ส่งเสริม สนับสนุน และนำทางไปได้อย่างถูกต้อง โดยไม่ยึดตัวพ่อแม่เป็นศูนย์กลางเพียงอย่างเดียว
หมายถึง พ่อแม่คอยควบคุมอย่างรอบด้านทั้งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ความรู็สึก คำพูด การแสดงออก เพราะต้องการให้ลูกทำตัวให้ได้ดั่งใจ ไม่ทำสิ่งที่น่าอับอายต่อหน้าคนอื่น
หมายถึง พ่อแม่ที่ตั้งกฏและมีการวัดมาตรฐานของทุกสิ่งเพื่อให้ผลออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด เช่น ลูกต้องทำสอบได้ที่ 1 เท่านั้น ห้องนอนต้องเป็นระเบียบที่สุด เป็นต้น เพราะต้องการให้ครอบครัวเป็นที่ยอมรับของสังคม
หมายถึง พ่อแม่ช่างตำหนิ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากครอบครัวแบบควบคุม เมื่อหลายอย่างไม่เป็นไปตามการควบคุม จะเริ่มโทษคนอื่น โทษลูกทันที เพราะต้องการหาที่มาของความผิดพลาดที่ทำไม่ได้ดั่งใจ
หมายถึง พ่อแม่ที่ Say no ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลพวงมาจากครอบครัวแบบสมบูรณ์แบบนิยม ที่ “ห้าม/ไม่” ทำสิ่งที่จะทำให้ความเรียบร้อยสมบูรณ์แบบนั้นผิดไปจากแผนที่ตั้งไว้ ดังนั้นจะมีกฏข้อห้ามเยอะมาก จนลูกแทบทำอะไรไม่ได้เลยนอกจากสิ่งที่พ่อแม่บอก
หมายถึง พ่อแม่มีกฎ 'ห้ามพูดคุย' ห้ามแสดงความรู้สึก แสดงความคิดเห็น ความต้องการ ทุกคนต้องการซ่อนความรู้สึก ความต้องการไว้ในใจ หรือความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง จนในที่สุดครอบครัวก็ไม่มีความใกล้ชิด คุยกันไม่ได้ทุกเรื่อง
หมายถึง พ่อแม่ที่คิดว่าทุกเรื่องไม่ใช่ปัญหา มองความจริงที่ปรากฏตรงหน้าเป็นเรื่องไร้สาระ มองหาแต่เรื่องดีมาใส่ครอบครัว ทำให้ปัญหาสะสม ลูกก็เลยรู้สึกไปด้วยว่าปัญหา ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ไม่ต้องใส่ใจ
หมายถึง พ่อแม่ที่เจอปัญหาแล้วอารมณ์รุนแรง หัวเสีย หาที่มาของปัญหาไม่ได้จนเกิดความสับสนไปหมด แล้วก็ไม่หาทางแก้ปัญหา ไม่ว่าตอนอารมณ์ยังร้อนหรือเย็นลงแล้วก็ตาม
หมายถึง พ่อแม่มักจะบอกว่าอย่าเชื่อใคร อย่าเชื่อใจใคร รวมถึงตัวพ่อแม่เองก็ทำสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เมื่อลูกมีปัญหา พ่อแม่เป็นที่พึ่งให้ลูกได้เลยทั้งการปฏิสัมพันธ์ คำพูด หรือการอยู่เคียงข้าง
ลองสังเกตครอบครัวเรานะคะว่า ตอนนี้เข้าข่ายครอบครัวพร่องหน้าที่อยู่หรือเปล่า เพราะไม่ว่าเข้าข่ายแบบไหนก็ตามก็ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ และการบวนการพัฒนาสมองของลูกเราแน่นอน หากรู้ก่อน ยอมรับก่อน ก็แก้ไขได้ก่อนลูกจะเสียคนนะคะ