การเล่น "เปียโน" ลูกจะได้ฝึกสมอง การถอดรหัสตัวโน้ต การทำงานประสานกันของนิ้วมือ สายตา และสมองไปพร้อมกัน
มีผลการศึกษาในเด็กที่มีการฝึกดนตรี และเล่นเปียโน มีสมองในส่วนที่ทำหน้าที่เรื่องการวางแผน การเคลื่อนไหว จะมีขนาดใหญ่มากกว่าคนที่ไม่ได้เล่นดนตรี
แสดงว่าถ้าสมองส่วนนี้มีการทำงานมากขึ้น มีการปรับตัวให้มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมถึงมีการเชื่อมโยงในเรื่องของการรับความรู้สึก การมองเห็น ได้ยินเสียง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยรวมแล้วการที่เด็กได้มีโอกาสเล่นดนตรี ก็เป็นอีกกระบวนการที่สมองได้มีการกระตุ้นอย่างเหมาะสม ให้สมดุลกันทั้งซีกซ้าย ซีกขวา และเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ ของสมอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.ชวนลูกเล่นดนตรีอย่าง สม่ำเสมอ การเปลี่ยนแปลงสมองได้ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
2.ท้าทาย ลูกให้สนุกกับการเล่นดนตรี เมื่อเด็กทำโจทย์ในสิ่งที่เขาทำได้แล้ว ต้องปรับโจทย์ให้ยากมากขึ้น ตัวโน๊ตที่มากขึ้น จังหวะที่มากขึ้น ทำให้วงจรประสาท การรับรู้เสียง จะมีการพัฒนามากขึ้นเช่นกัน
ทั้งหมดนี้ควรดำเนินไปไดเโดยการที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ ไม่มีการบังคับ เด็กเขาชอบและอยากจะทำด้วยตัวเอง ก็จะเป็นการทำให้การเล่นดนตรีในสิ่งที่เด็กชอบมีประสิทธิภาพนั่นเอง
รศ. ดร. นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์
กุมารแพทย์โรคระบบประสาท ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
สนับสนุนการเรียนรู้โดย The One Smart Piano
FB: The One Smart Piano Thailand
Web: http://theonesmartpiano.com
(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)