facebook  youtube  line

แก้หมันให้มีลูก หมอสูติฯ แนะนำ 10 ปัจจัยแก้หมันต้องทำยังไงให้สำเร็จ

วิธีแก้หมัน, แก้หมันแล้วมีลูกได้จริงมั้ย, แก้หมันได้มั้ย, แก้หมันหญิง, แก้หมันชาย, วิธีแก้หมัน, แก้หมัน ยังไง, แก้หมัน จะสำเร็จมั้ย, แก้หมันแล้ว ทำไมไม่มีลูก, แก้หมันแล้วมีลูกยากมั้ย, แก้หมันราคาเท่าไหร่, อยากมีลูกหลังทำหมัน

การแก้หมันเพื่อให้มีลูกได้อีกครั้งสามารถทำได้ แต่ต้องอาศัยปัจจัยดังต่อไปนี้ เพื่อให้การแก้หมันทำได้สำเร็จและสามารถมีลูกได้ง่าย

แก้หมันให้มีลูก หมอสูติฯ แนะนำ 10 ปัจจัยแก้หมันต้องทำยังไงให้สำเร็จ

คุณแม่หลายคนที่มีลูกและทำหมันแล้ว แต่เปลี่ยนใจอยากมีลูกอีก ทำให้พยายามหาวิธีเพื่อจะผ่าตัดแก้หมัน ซึ่งในทางการแพทย์สามารถทำได้ แต่ไม่มีการการันตีว่าเมื่อแก้หมันแล้วจะสามารถมีลูกได้ทุกคน โดยมีตัวเลขประสบความสำเร็จมีลูกได้หลังแก้หมัน ประมาณร้อยละ 20-80

การแก้หมันมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

  1. ได้รับการดูแลและการผ่าตัดแก้หมันโดยแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
  2. มีงบประมาณพอเพียง ไม่จำกัด สำหรับการแก้หมันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
  3. อายุคนแก้หมันน้อยกว่า 35 ปี หากอายุมากกว่า 40 ปี จะมีโอกาสแก้หมันสำเร็จน้อยกว่า
  4. ร่างกายต้องแข็งแรง ไม่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคตับ โรคไต โรคปอด โรคหัวใจ โรคสมอง โรคเลือด เป็นต้น หากมีโรคเรื้อรังไม่ควรแก้หมัน และแม้จะแก้ได้ก็อาจมีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำ หรือมีอันตราย
  5. ไม่มีโรคของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกรังไข่  เป็นต้น เพราะทำให้การแก้หมันไม่ประสบความสำเร็จ
  6. ไม่มีปัญหาทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล เป็นต้น
  7. การตั้งครรภ์ก่อนทำหมันไม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ไม่มีโรคครรภ์เป็นพิษ ไม่มีการตกเลือดก่อนคลอดและหลังคลอด ไม่มีเด็กทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น
  8. ทำหมันมาไม่เกิน 5 ปี
  9. การทำหมันที่ผ่านมา ท่อนำไข่ถูกตัดไปไม่ถึงร้อยละ 50 หากครั้งนี้แก้หมันแล้วท่อนำไข่ที่ตัดต่อใหม่สั้นเกิน5 เซนติเมตร โอกาสท้องหลังแก้หมันต่ำ
  10. หลังผ่าตัดทำหมันสามารถพักผ่อนได้ ไม่ทำงานหนักอย่างน้อย 1 เดือน

วิธีแก้หมัน, แก้หมันแล้วมีลูกได้จริงมั้ย, แก้หมันได้มั้ย, แก้หมันหญิง, แก้หมันชาย, วิธีแก้หมัน, แก้หมัน ยังไง, แก้หมัน จะสำเร็จมั้ย, แก้หมันแล้ว ทำไมไม่มีลูก, แก้หมันแล้วมีลูกยากมั้ย, แก้หมันราคาเท่าไหร่, อยากมีลูกหลังทำหมัน

เรื่องควรรู้ก่อนแก้หมัน

  1. ค่าผ่าตัดแก้หมันค่อนข้างสูง รพ.รัฐบาลมีค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000-30,000 บาท รพ.เอกชนมีค่าใช้จ่ายประมาณ 50,000 บาทขึ้นไปจนถึงหลักแสน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลแต่ละแห่ง ความเชี่ยวชาญของแพทย์ และความยากง่ายของแต่ละเคสผ่าตัด

  2. ค่าใช้จ่ายในการแก้หมันไม่รวมอยู่ในสิทธิประโยชน์ของบัตรประกันสุขภาพ

  3. การเตรียมร่างกายและใจให้พร้อมก่อนผ่าตัด และ การดูแลตัวเองอย่างเครงครัดหลังผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญ จะต้องไม่รีบร้อนแต่ต้องพร้อมที่สุดถึงจะได้ผลสำเร็จที่ดี

  4. การแก้หมันไม่มีการการันตีใดๆ ทั้งสิ้นว่าจะทำให้กลับมาตั้งครรภ์ใหม่ได้อีก เพราะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุของสามีภรรยา การฟื้นตัวของท่อนำไข่ การตกไข่ ความแข็งแรงของอสุจิ เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลการแก้หมันจาก: นพ.อำนาจ เอื้ออารีมิตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเอกชัย และสูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลเอกชัย
 

แก้ไขยังไงเมื่อมีลูกยากเพราะไข่ไม่แข็งแรง มีช็อกโกแลตซีสต์

ช็อกโกแลตซีสต์
 

แก้ไขยังไงเมื่อ มี ลูก ยาก เพราะ ไข่ไม่แข็งแรง มี ช็อกโกแลตซีสต์

การ มีลูกยาก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ปัญหาการ มีลูกยาก จึงพบในฝ่ายหญิงมากถึง 40 - 50% ฝ่ายชาย 30% และหาสาเหตุไม่ได้  20 - 30% หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดสำหรับคน มี ลูก ยาก คือ ไข่ของผู้หญิงไม่แข็งแรง ไข่ผิดปกติ หรือมีช็อกโกแลตซีสต์ รวมถึงความผิดปกติของมดลูกอย่างเนื้องอกมดลูก หากฝ่ายหญิงตรวจพบอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาอย่างถูกต้องเพื่อให้สามารถมีลูกได้ค่ะ
 

ทำไมไข่ของผู้ญิงไมถึงไม่แข็งแรง

ผู้หญิงมีเซลล์ไข่จำนวนมากเก็บรักษาอยู่ในรังไข่ทั้งสองข้างตั้งแต่เกิดจนถึงเวลาที่ผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน เซลล์ไข่ใบแรกเริ่มถูกนำมาใช้เป็นรอบ ๆ ดังนั้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ไข่จึงถูกดึงมาใช้ไปเรื่อย ๆ ทำให้ปริมาณไข่ลดลงตามอายุขัย นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็มีส่วนสำคัญ ทำให้ไข่เสื่อมคุณภาพได้ด้วย 

ปัจจัยที่ส่งผลให้รังไข่ทำงานไม่สมบูรณ์ ไข่ไม่ตก ไข่ทำงานไม่มีคุณภาพ

  • ฮอร์โมนไม่สมดุล จากความเครียด น้ำหนักไม่ปกติ ไทรอยด์ เบาหวาน
  • สูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสมีบุตรยากถึง 13% และทำให้ไข่เสื่อมเร็วไป 10 ปี
  • ช็อกโกแลตซีสต์หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคติดเชื้อในรังไข่ ท่อนำไข่อักเสบ เป็นปัจจัยเร่งให้ไข่เสื่อมคุณภาพและหมดเร็ว ควรพบแพทย์เพื่อรีบรักษา

 

ช็อกโกแลตซีสต์

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ ภาวะ มีลูกยาก

หนึ่งในปัญหาของผู้หญิงที่ มี ลูก ยาก เกิดจากช็อกโกแลตซีสต์หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตอยู่นอกโพรงมดลูกหรือแทรกในผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งจะพบมากในผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป

ช็อกโกแลตซีสต์มีลักษณะเป็นถุงน้ำรังไข่ที่บรรจุของเหลวคล้ายช็อกโกแลต ขนาดจะใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จากการถูกเติมเต็มในรอบเดือนแต่ละเดือน การใหญ่เร็วหรือช้าขึ้นกับหลายปัจจัย ทำให้เกิดพังผืดหนาขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีอาการหลัก คือ ปวดประจำเดือนมากและนาน ปวดท้องน้อยเป็นประจำก่อน ระหว่าง และหลังมีประจำเดือน และมีบุตรยาก 
 
สูตินรีแพทย์สามารถวินิจฉัยได้โดยเห็นภาพรอยของโรคได้ชัดเจนจากการตรวจอัลตราซาวนด์ การรักษาขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน มีทั้งการใช้ยา ฮอร์โมนรักษา และการผ่าตัดผ่านกล้อง (MIS Laparoscopic Surgery) ซึ่งเป็นวิธีทันสมัย ช่วยให้เจ็บน้อย แผลเล็ก โอกาสเกิดพังผืดหลังผ่าตัดน้อย ฟื้นตัวไว กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง

รักษาภาวะมีบุตรยากจาก ช็อกโกแลตซีสต์

เบื้องต้นแพทย์ผู้ชำนาญการจะแนะนำให้ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง มีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไข่ตกเพื่อให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากที่สุด แต่หากยังไม่ประสบความสำเร็จก็มีการใช้เทคนิคเข้ามาช่วยในการมีบุตร ได้แก่ การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง การทำกิฟท์ การทำเด็กหลอดแก้ว หรือการปฏิสนธินอกร่างกาย
 
ความสำเร็จในการตั้งครรภ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะอายุและสุขภาพของคุณพ่อและคุณแม่ ดังนั้นการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานจึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตร เพราะหากประสบกับภาวะมีบุตรยากจากการเป็นช็อกโกแลตซีสต์หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่จะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที
 
การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานคือจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสในมีบุตร ยิ่งถ้าตรวจพบความผิดปกติได้โดยเร็ว ย่อมช่วยเพิ่มทางเลือกการวางแผนการมีบุตรให้เป็นไปอย่างราบรื่น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: นพ.พูลศักดิ์ ไวความดี สูติ-นรีแพทย์ สาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ

สอบถามเพิ่มเติม: ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร. 0 2310 3005, 0 2755 1005 หรือ โทร. 1719

แม่(อยาก)ท้องต้องรู้ ! เช็กให้ดี ไม่มีลูกสักทีอาจเพราะสามีไม่มีตัวอสุจิ

อสุจิไม่แข็งแรง, ไม่มีอสุจิ, น้ำเชื้อไม่มีอสุจิ, การตรวจน้ำเชื้อ, การตรวจอสุจิ, ผู้ชายเป็นหมัน, มีลูกยาก, อยากมีลูก, ผู้ชายมีลูกไม่ได้, สามีไม่มีอสุจิ, สามีอสุจิไม่แข็งแรง, มีเซ็กซ์บ่อย อสุจิไม่แข็งแรง, ผู้ชายมีลูกยาก, ผู้ชายเป็นหมัน

หากปัญหาการมีลูกยากของเราเกิดจากฝ่ายอสุจิไม่แข็งแรง หรือ ในน้ำเชื้อไม่มีตัวอสุจิ แบบนี้จะต้องรักษาอย่างไรเพื่อให้สามารถมีลูกได้เป็นปกติ

แม่(อยาก)ท้องต้องรู้ ! เช็กให้ดี ไม่มีลูกสักทีอาจเพราะสามีไม่มีตัวอสุจิ

ภาวะการมีบุตรยาก คือ การที่คู่สมรส ไม่สามารถมีลูกได้ หลังจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่ได้คุมกำเนิดอย่างน้อยเป็นเวลา 12 เดือน 

ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติ

  • ฝ่ายชายสามารถสร้างตัวอสุจิที่มีจำนวน รูปร่าง และการเคลื่อนไหวในเกณฑ์ปกติ
  • ท่อนำอสุจิของฝ่ายชายไม่มีการอุดตัน
  • ฝ่ายชายมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศ และสามารถหลั่งน้ำอสุจิเข้าไปในช่องคลอดได้
  • ตัวอสุจิต้องเคลื่อนที่เข้าไปถึงปากมดลูก ผ่านปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูก และเข้าไปตามท่อนำไข่ เพื่อปฏิสนธิกับไข่ได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
  • ฝ่ายหญิงสามารถผลิตไข่ที่ปกติได้ และมีการตกไข่เข้าไปในท่อนำไข่ได้
  • ไข่ที่ถูกผสมเป็นตัวอ่อนที่ปกติแล้ว ต้องเคลื่อนเข้าไปในโพรงมดลูกได้ และมีการฝังตัวเข้าไปในเยื่อบุโพรงมดลูกที่พร้อมรองรับการฝังตัว
  • ตัวอ่อนที่ฝังตัวแล้ว สามารถเจริญเป็นทารกต่อไป 

สาเหตุของการมีบุตรยาก

การมีบุตรยากอาจเกิดจากฝ่ายหญิง ฝ่ายชาย หรือร่วมกันทั้งสองหญิงก็ได้ สาเหตุของการมีบุตรยาก มีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แบ่งได้  3 กลุ่มคือ
  1. สาเหตุจากฝ่ายหญิง พบได้ประมาณ ร้อยละ  40-50
  2. สาเหตุจากฝ่ายชาย พบได้ประมาณ ร้อยละ  30-40
  3. ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ พบได้ประมาณ ร้อยละ  10-20
การมีลูกยากจากสาเหตุของฝ่ายชายเกิดได้หลายลักษณะ ซึ่งทางการแพทย์สามารถตรวจและรักษาได้ โดยมีขั้นตอนการตรวจดังนี้ (อ่านหน้าต่อไป)
 

 

การตรวจวิเคราะห์ น้ำอสุจิ (Semen Analysis)

โดยทั่วไปก่อนเก็บน้ำอสุจิเพื่อส่งตรวจแนะนำให้ฝ่ายชายงดร่วมเพศเป็นเวลาอย่างน้อย 3-5 วัน เพราะถ้ามีการร่วมเพศภายในช่วงเวลา 3-5 วัน ก่อนมีการส่งตรวจอาจทำให้ความเข้มข้นของอสุจิมีค่าต่ำกว่าปกติ และหากงดมีเพศสัมพันธ์เกินกว่า 5 วัน จะมีการสร้าง ageing sperm cell เพิ่มมากขึ้นจาก epididymis ซึ่งจะทำให้อสุจิดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ลดลง

การตรวจน้ำอสุจิควรตรวจในห้องตรวจที่มีอุณหภูมิห้องหรืออุณหภูมิร่างกาย (หากเป็นการตรวจทาง microscopic ควรตรวจที่อุณหภูมิร่างกาย คือ 37 องศา) ทันทีที่มีการหลั่งอสุจิจะมีการแข็งตัวโดย protien seminine ที่สร้างมาจากต่อมลูกหมาก เพื่อให้น้ำอสุจิขังอยู่ในช่องคลอด หลังจากนั้นประมาณ 20-30 นาที น้ำอสุจิจะกลายเป็นของเหลวอีกครั้งเพื่อให้ตัวอสุจิสามารถผ่านเข้าสู่ปากมดลูกได้ 

ในกรณีที่น้ำอสุจิแข็งตัวนานกว่าปกติ และไม่กลายเป็นของเหลว จะทำให้อสุจิไม่สามารถผ่านเข้าสู่ช่องคลอดและเป็นสาเหตุให้มีบุตรยากได้

ค่าปกติของ ผลการวิเคราะห์น้ำอสุจิ ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก

  • ปริมาณมากกว่า 2 ซีซี
  • จำนวนความเข้มข้นมากกว่า 20 ล้านตัวต่อซีซี
  • จำนวนน้ำเชื้อทั้งหมดมากกว่า 40 ล้าน
  • อัตราการวิ่งมากกว่า 50 %
  • รูปร่างปกติมากกว่า 30 %
  • จำนวนมีชีวิตมากกว่า 75 %
  • จำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า  1 ล้านต่อต่อซีซี
  • Ph  >=7.2
  • ถ้ามีความเข้มข้นของอสุจิน้อยกว่า 20 ล้านตัวต่อ มล. เรียกว่ามีภาวะ oligospermia 
  • ภาวะที่ตัวอสุจิเคลื่อนไหวได้ น้อยกว่าร้อยละ 50  เรียกว่า asthenozoospermia
  • ภาวะที่มีตัวอสุจิที่ลักษณะปกติ (normal  morphology) น้อยกว่าร้อยละ 30 เรียกว่า teratozoospermia

 

คำแนะนำเมื่อฝ่ายชายอสุจิไม่แข็งแรง หรือไม่มีอสุจิ

  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้การผลิตฮอร์โมนเพศชายลดลง
  • งดสูบบุหรี่จะทำให้จำนวนน้ำเชื้อลดลง
  • ควบคุมน้ำหนักตัว  เพราะไขมันในร่างกายจะปล่อยเอนไซม์  aromatase ซึ่งจะเปลี่ยนฮอร์โมน เพศชายเป็นเอสโตรเจนเป็นผลให้ลดฮอร์โมน testosterone และจำนวนน้ำเชือลดลง
  • หลีกเลี่ยงอัณฑะต้องอยู่ในที่ร้อนเช่น การอาบน้ำร้อนและซาวน่า
  • ลดความเครียดมีผลให้รูปร่างน้ำเชื้อไม่ดี

ปัจจัยที่มีผลต่อความแข็งแรงของอสุจิ

  1. มีการทำลายฃองอัณฑะ เช่น มีการติดเชื้อ เป็นมะเร็งที่อัณฑะ มีการบาดเจ็บหรือได้รับการผ่าตัดที่อัณฑะ 

  2. การใช้ยาสเตียรอยด์ จะทำให้จำนวนและการเคลื่อนไหวของอสุจิลดลงประวัติการได้รับยาบางชนิดเช่น cimetidine, spironolactone, nitrofurans, sulfasalazine, erythromycin, tetracyclines,anabolic steroids และยาเคมีบำบัดต่างๆ จะทำให้ทั้งคุณภาพและปริมาณของอสุจิลดลง

  3. ประวัติการได้รับสารเสพติดเช่น โคเคน กัญชา สารเสพติดเหล่านี้จะทำให้ปริมาณของอสุจิและระดับ      testosterone ลดลง กัญชาสามารถลดการหลั่งของ GnRH และสามารถกดการทำงานของระบบสืบพันธุ์ทั้งในสามีและภรรยา โคเคนจะทำให้การสร้างอสุจิลดลง

  4. มีภาวะเส้นเลือดขอดที่อัณฑะ

  5. การประเมินทางพันธุกรรม  (Genetic evaluation) พบว่าผู้ชายที่มี Y chromosome  submicroscopic deletions มักมีความเข้มข้นของอสุจิต่ำกว่าปกติ (oligospermia) 
กลุ่มของยีนที่ขาดหายไปและสัมพันธ์กับภาวะ azoospermia หรือ oligospermia  เรียกว่า deleted in azoospermia (DAZ) นอกจากนี้ยังพบว่ามีบริเวณที่จำเพาะบน Y chromosome ที่สัมพันธ์กับภาวะ azoospermia เรียกว่า  azoospermic factors

ซึ่งมีทั้งหมด 3 ตำแหน่ง คือ AZFa, AZFb และ AZFc  ผู้ชายที่มีตัวอสุจิน้อยมาก มักจะมีการขาดหายไปของยีนบริเวณ  AZFb และ AZFc ซึ่งอยู่บนแขนข้างยาวของ Y chromosome เนื่องจากภาวะดังกล่าวสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกได้ในกรณีที่ทำ intracytoplasmic sperm injection (ICSI) ดังนั้นจึงควรมีการตรวจสอบหาความผิดปกติของ Y chromosome ในผู้ชายที่มีภาวะ oligospermia  ก่อน ที่จะแนะนำให้ทำ icsi
 

สาเหตุมีบุตรยากในฝ่ายชาย 

  1. เกิดขึ้นเนื่องจากมีความผิดปกติที่อัณฑะเอง เช่น การหยุดทำงานของอัณฑะอย่างถาวร (testicilar atrophy) ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักพบว่ามี FSH, LH สูงแต่มี testosterone ต่ำ หรืออยู่ในเกณฑ์ปกติ 

  2. ผู้ป่วยในกลุ่ม ที่ ระดับฮอร์โมน มี FSH, LH และ testosterone ต่ำ ซึ่งแสดงถึงความผิดปกติของสมองทำให้มีการสร้างหรือหลั่ง FSH และ LH  มากระตุ้นการทำงานของอัณฑะได้น้อย จึงเป็นผลให้ระดับ testosterone มีค่าต่ำ

    ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ควรได้รับการตรวจพิเศษ เช่น CT-scan หรือ MRI เพื่อวินิจฉัยแยกภาวะร้ายแรงต่างๆ เช่น เนื้องอกของสมองออกไป ก่อนได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนซึ่งพบว่าการใช้ pulsatile GnRH หรือ HCG ร่วมกับ HMG สามารถรักษาภาวะพร่อง GnRH ได้ผลดี ส่วนในกรณีของภาวะพร่อง gonadotropins ควรให้การรักษาด้วย HCG อย่างเดียวหรือร่วมกับ HMG
    1. ความพิการแต่กำเนิด (Congenital syndromes) ได้แก่ ภาวะที่อัณฑะค้างอยู่ในช่องท้อง (cryptorchid), หรือภาวะ Klinefelter syndrome เป็นต้น
    2. การติดเชื้อของอัณฑะ เช่น  mumps orchitis จากการติดเชื้อคางทูม
    3. การได้รับสารที่มีผลเสียต่ออัณฑะ เช่น สารพิษที่พบในสิ่งแวดล้อม อาหาร และยาบางชนิดที่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย เช่น cimetidine, spironolactone และ flutamide เป็นต้น  สารฆ่าแมลงบางชนิด เช่น dibromochloropropane ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายต่ออัณฑะได้  เช่นเดียวกับเคมีบำบัดหลายชนิด เช่น cyclophosphamide, busulfan, methotrexate และ chlorambucil เป็นต้น

  3. เกิดจากการอุดตันหรือ dysfunction ของระบบสืบพันธุ์ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาความเข้มข้นของอสุจิต่ำกว่าปกติ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีระดับของ FSH, LH และtestosterone อยู่ในเกณฑ์ปกติ แม้ว่าส่วนใหญ่ของผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับขบวนการสร้างอสุจิก็ตาม แต่ก็พบว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการอุดตันของ epididymis หรือ vas deferens   
ส่วนในกรณีที่ผู้ชายไม่มีตัวอสุจิในน้ำอสุจิเลยซึ่งถือว่าเป็นหมัน ปัจจุบันสามารถนำเอาอสุจิออกจากอัณฑะ (TESE) หรือจากท่อนำน้ำอสุจิส่วนต้น (MESA,PESA) แล้วนำมาทำ ICSI ได้แล้ว หากพบว่าเริ่มเข้าข่ายมีลูกยาก ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาการมีบุตรยากนะคะ 

บทความโดย : แพทย์หญิง วรประภา ลาภิกานนท์ สูตินรีแพทย์

แม่ท้องต้องรู้ ! ก่อนจะมีลูก ต้องเตรียมตัว วางแผน อย่างไร

 5059

แม่ท้องต้องรู้ ! ก่อนจะมีลูก ต้องเตรียมตัวล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน 

เพราะการ เตรียมพร้อม ก่อน ตั้ง ครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นของ การ ตั้งครรภ์ที่มี คุณภาพ ปลอดภัย และ ทำให้ ลูก มี ความสมบูรณ์ และ แข็งแรง ซึ่งสามีภรรยาที่อยากมีลูกต้องเตรียมตัวดังต่อไปนี้

ขั้นแรก

  • ควบคุมน้ำหนัก ตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

  • งดการสูบบุหรี่ และ งดดื่มเหล้า

  • หลีกเลี่ยง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • แนะนำคุณผู้หญิงให้กินยา folic acid วันละ 1 เม็ดก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อ ป้องกันภาวะความพิการทางสมองของเด็ก

ขั้นที่สอง

  • พบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าพ่อแม่มี ความเสี่ยงต่อการมีลูกยาก หรือไม่ เนื่องจากประวัติบางอย่างที่สำคัญ เช่น ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาผิดปกติ โรคประจำตัวที่เป็น เช่น เบาหวาน ถ้าคุมน้ำตาลไม่ดีก็จะมีความเสี่ยงเด็กพิการได้

  • ตรวจภายใน อัลตราซาวน์ ดูมดลูกและรังไข่ ดูความผิดปกติ

ขั้นที่สาม

ตรวจเลือดเบื้องต้นซึ่งโรงพยาบาลหลายแห่งมีโปรแกรมการตรวจดังต่อไปนี้

  • ตรวจความผิดปกติของเม็ดเลือดและปริมาณฮีโมโกลบิน (CBC /Hb typing) ที่ได้ยินบ่อยๆ คือโรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia) สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปให้ลูกได้ ถ้ารุนแรง ส่งผลให้เด็กมีภาวะซีด ตับโต ต้องให้เลือดบ่อยๆ หรือบางรายเสียชีวิตระหว่างตั้งครรภ์ได้

  • หมู่เลือด และ ชนิดหมู่เลือด (Blood group ABO and Rh) ในกรณีที่เป็นหมู่เลือดหายากและมีความจำเป็นต้องใช้เลือดในระหว่างคลอดจะได้มีการเตรียมเลือดได้ทันท่วงที

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น การติดเชื้อ HIV  ซิฟิลิส เป็นต้น

  • การตรวจหาโรคและภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) ถ้าแม่ติดเชื้อ ก็จะมีความเสี่ยงติดไปยังลูกได้ โดยถ้าเด็กได้รับเชื้อนี้ ก็จะส่งผลต่อการเกิดภาวะตับอักเสบและตับแข็งในอนาคต ในกรณีที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน แพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนรวม 3 เข็มก่อนการตั้งครรภ์

  • การตรวจหาภูมิต้านทานต่อ หัดเยอรมัน (Rubella) ถ้าติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์โอกาสเด็กพิการสูงมาก ถ้าไม่มีภูมิต้านทาน แนะนำให้ฉีดวัคซีน 1 เข็มและหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนหลังฉีดเนื่องจากเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (live attenuated vaccine)

สำหรับคู่สมรสที่ปล่อยมีบุตรมาแล้วเกิน 1 ปี ถือว่าอยู่ในภาวะมีบุตรยาก หมอแนะนำให้เพิ่มการตรวจน้ำเชื้ออสุจิฝ่ายชายร่วมด้วย เนื่องจากพบเป็นสาเหตุได้ถึงร้อยละ 40 เลยครับ

 

รักลูก Community of The Experts

นพ.กฤตยะ กฤตย์ประชา 

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช และการรักษาผู้มีบุตรยาก

แม่ท้องต้องรู้ ! กินโฟลิกก่อนท้องและช่วงไตรมาสแรก ช่วยป้องกันโรคหลอดประสาทไม่ปิด

5058

แม่ท้องต้องรู้! กินโฟลิกก่อนท้อง และ ช่วงไตรมาสแรก ช่วยป้องกันโรคหลอดประสาทไม่ปิดได้

มีหลักฐานทางการแพทย์จำนวนมากบ่งบอกว่า การขาดโฟลิกทำให้เกิดโรคหลอดประสาทไม่ปิด เช่น ผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มีฤทธิ์ต้านโฟลิก เช่น ยากันชัก หรือยาเคมีบำบัดกลุ่ม Metrotrexate ที่มีส่วนประกอบของ Dihydrofolate reductase inhibitor เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดประสาทไม่ปิด และผู้หญิงที่มีลูกเป็น โรคหลอดประสาทไม่ปิด มักมีโฟลิกในเม็ดเลือดแดงต่ำ

โรคหลอดประสาทไม่ปิด เป็นความพิการแต่กำเนิดที่รุนแรง เกิดจากความบกพร่องของการปิดของหลอดประสาทที่ปลายด้านบนหรือล่างในสัปดาห์ที่ 3-4 หลังการตั้งครรภ์ และมีโอกาสเกิดได้กับประชากรทั่วโลก ในทวีปยุโรปมีความชุกประมาณ 1 ราย ต่อการเกิด 1,000 ราย

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยทางการแพทย์รับรองว่า การเสริมโฟลิก ในช่วงก่อนตั้งครรภ์ และการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกจะช่วยลดการเกิด โรคหลอดประสาทไม่ปิดในทารกได้มากถึง 72%

ดังนั้นการให้โฟลิกเสริมกับผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์หรือตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกจึงมีประโยชน์อย่างมาก ทั้งยังหารับประทานได้ง่ายและราคาไม่แพง โดยแนะนำให้รับประทานโฟลิกวันละ 0.4 มิลลิกรัม อย่างน้อย 30 วันก่อนตั้งครรภ์และในไตรมาสแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด โรคหลอดประสาทไม่ปิดในเด็กทารก ได้แก่

• เคยมีลูกเป็นโรคหลอดประสาทไม่ปิด

• พ่อของลูกเป็น Spina bifida

• ญาติพี่น้องใกล้ชิด เป็นโรคหลอดประสาทไม่ปิด

• ใช้ยากันชัก (Anticonvulsants): Valproic acid หรือ Carbamazepine

• เป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์

• โรคอ้วน (ดัชนีมวลกาย > 35 kg/m2)

• ใช้ ยาที่มีฤทธิ์ต้านโฟลิก (Metrotrexate, sulfonamide เป็นต้น)

• กลุ่มอาการดูดซึมอาหารได้น้อย (Malabsorption syndromes) เช่น ผู้ที่เคยผ่าตัดลำไส้ รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ที่เคยผ่าตัดรักษาโรคอ้วน

ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูงควรรับประทานโฟลิกวันละ 4 มิลลิกรัมอย่างน้อย 30 วันก่อนตั้งครรภ์ และในไตรมาสแรก โดยการรับประทานโฟลิกวันละ 0.4 มิลลิกรัม เป็นเวลานานเป็นปีนั้นไม่มีอันตรายใดๆ ต่อสุขภาพ แม้ในประเทศที่มีการเสริมสารอาหารที่จำเป็นลงในอาหาร ทั้งนี้ประโยชน์ของการรับประทานโฟลิกเสริมไม่เพียงแต่ลดความเสี่ยงของ โรคหลอดประสาทไม่ปิด แต่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ปากแหว่ง เพดานโหว่ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย การคลอดก่อนกำหนด และ Autism ได้อีกด้วย

ถึงตอนนี้ สาวๆ คนไหนวางแผนจะเป็นคุณแม่อยู่ เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับลูกน้อยในอนาคต ด้วยการรับประทานโฟลิกกันตั้งแต่วันนี้เลยค่ะ

 

รักลูก Community of The Experts

พญ.พลอยนิล พุทธาพิทักษ์พงศ์

ศูนย์สูตินรีเวช ศูนย์วินิฉัยทารกในครรภ์ โรงพยาบาลพระรามเก้า

แม่อุ้มบุญ ท้องแทนคนอื่น อย่างไรไม่ให้ผิดกฏหมาย

อุ้มบุญ, แม่อุ้มบุญ, อุ้มบุญ ผิดกฏหมายไหม, อุ้มบุญ ถูกกฏหมาย, อุ้มบุญ ทำได้ไหม, อุ้มบุญ คืออะไร, ขั้นตอนการอุ้มบุญ, กฏหมายอุ้มบุญ, มีลูกแทนคนอื่น, ตั้งท้องแทนคนอื่น, ใคร อุ้มบุญได้, ให้ญาติอุ้มบุญ, ทำไมต้องอุ้มบุญ, วิธีอุ้มบุญ, อุ้มบุญ ยังไง ให้ถูกกฏหมาย

อยากมีลูกด้วยการอุ้มบุญทำได้มากน้อยแค่ไหนกับพ่อแม่และกฏหมายในประเทศไทย คนอยากมีลูกด้วยการอุ้มบุญ แม่ที่รับอุ้มบุญแทนคนอื่นก็ต้องรู้ไว้นะ

แม่อุ้มบุญ ท้องแทนคนอื่น อย่างไรไม่ให้ผิดกฏหมาย

การอุ้มบุญ คือ การให้ผู้หญิงคนอื่นตั้งครรภ์แทนคู่สามีภรรยาที่ไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ โดยการนำไข่และเชื้ออสุจิของคู่สามีภรรยาที่ผสมกันแล้วฝังลงไปในมดลูกของแม่อุ้มบุญ เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น และเมื่อทารกคลอดออกมาก็จะถือเป็นลูกของคู่สามีภรรยาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

สำหรับผู้ที่อยากมีลูกแต่มีปัญหาสุขภาพที่ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ การอุ้มบุญจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนอยากมีลูก แต่ในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 เกิดขึ้น เพื่อคุ้มครองเด็กจากการค้ามนุษย์ รวมไปถึงศีลธรรมและความรู้สึก ดังนั้นผู้ที่ต้องการมีลูกด้วยการอุ้มบุญจึงควรรู้ไว้ก่อนว่า จะต้องทำอย่างไรเพื่อให้การอุ้มบุญไม่ผิดกฎหมาย

อุ้มบุญอย่างไรให้ถูกกฎหมาย (อย่างย่อ)

  • สามีและภรรยาจะต้องจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และภรรยาไม่สามารถมีบุตรได้ หากต้องการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนจะต้องมีสัญชาติไทย แต่หากแต่งงานต่างสัญชาติต้องจดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี

  • หญิงที่ตั้งครรภ์แทน ต้องไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบเชื้อสายของคู่สามีภรรยา

  • หญิงที่ตั้งครรภ์แทนต้องเป็นญาติที่สืบเชื้อสายเดียวกับสามีหรือภรรยา แต่หากไม่มีก็สามารถให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนได้

  • หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องเคยมีบุตรมาก่อน และหากมีสามีอยู่แล้วก็ต้องให้สามียินยอม 

  • การอุ้มบุญทำได้ 2 วิธี คือการใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีและไข่ของภรรยา หรือการใช้ตัวอ่อนจากอสุจิสามีหรือไข่ภรรยาไปผสมกับไข่หรืออสุจิของผู้อื่น โดยมีข้อห้ามไม่ให้ใช้ไข่ของหญิงที่อุ้มบุญ

  • ห้ามไม่ให้มีการรับจ้างตั้งครรภ์หรือทำเพื่อประโยชน์ทางการค้าใด ๆ

  • เด็กที่เกิดมาด้วยการอุ้มบุญจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีภรรยาคู่ดังกล่าว

  • กรณีอุ้มบุญให้คู่รักชายรักชาย จะต้องใช้อสุจิของคนใดคนหนึ่ง นำมาปฏิสนธิกับไข่ที่อาจได้รับบริจาคมาด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้วเช่นกัน แล้วให้หญิงอุ้มบุญตั้งครรภ์แทนจนกว่าจะคลอด อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย การอุ้มบุญให้คู่รักชายรักชายที่ต้องการมีบุตรยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ

     


 อุ้มบุญ, แม่อุ้มบุญ, อุ้มบุญ ผิดกฏหมายไหม, อุ้มบุญ ถูกกฏหมาย, อุ้มบุญ ทำได้ไหม, อุ้มบุญ คืออะไร, ขั้นตอนการอุ้มบุญ, กฏหมายอุ้มบุญ, มีลูกแทนคนอื่น, ตั้งท้องแทนคนอื่น, ใคร อุ้มบุญได้, ให้ญาติอุ้มบุญ, ทำไมต้องอุ้มบุญ, วิธีอุ้มบุญ, อุ้มบุญ ยังไง ให้ถูกกฏหมาย

ขั้นตอนการอุ้มบุญ

  1. รับคำปรึกษา
    คู่สามีภรรยาที่ไม่สามารถมีบุตรได้และต้องการใช้วิธีอุ้มบุญควรปรึกษากับผู้ให้คำแนะนำด้านการมีบุตร เพื่อทราบถึงข้อดีและข้อเสียของการอุ้มบุญ รวมถึงผลกระทบต่อความสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้แม่อุ้มบุญแทนตนเอง เพื่อช่วยให้พิจารณาและตัดสินใจได้อย่างรอบคอบยิ่งขึ้น

  2. เลือกแม่อุ้มบุญ
    ขั้นตอนต่อมาคือการคัดหาผู้ที่จะมาตั้งครรภ์แทน ซึ่งตามกฎหมายกำหนดจะต้องเป็นญาติที่สืบเชื้อสายเดียวกัน ไม่รวมบุพการีหรือผู้สืบเชื้อสาย หากไม่มีญาติจึงจะสามารถให้ผู้อื่นตั้งครรภ์แทน นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังได้แนะนำว่าแม่อุ้มบุญที่เหมาะสมควรจะมีคุณสมบัติ ดังนี้
    • มีอายุระหว่าง 21-45 ปี
    • เคยตั้งครรภ์มาก่อนโดยไม่เกิดอาการแทรกซ้อนใด ๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ และบุตรที่คลอดออกมามีสุขภาพแข็งแรงดี
    • มีครอบครัวที่คอยสนับสนุนและพึ่งพาได้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
    • การตรวจสุขภาพ คู่สามีภรรยาและหญิงที่ตั้งครรภ์แทนควรได้รับ
    • การตรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิตเบื้องต้น เหตุที่ต้องตรวจสุขภาพจิตนั้นเนื่องจากการอุ้มบุญเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและอาจทำให้มีปัญหาหญิงอุ้มบุญไม่ยอมคืนเด็ก ปัญหาความวิตกกังวลของคู่สามีภรรยาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการอุ้มบุญ หรือปัญหาอื่น ๆ ได้

  3. ทำสัญญาข้อตกลง
    สามีภรรยาที่ต้องการให้ผู้อื่นตั้งครรภ์แทน ควรจ้างทนายที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายหรือคดีอุ้มบุญให้เขียนข้อตกลงร่วมกันที่สามารถคุ้มกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้ โดยอธิบายถึงรายละเอียดข้อสำคัญต่าง ๆ เช่น การชดเชยค่าเสียหาย สิทธิความเป็นบิดามารดา สิทธิในการดูแลเด็ก การกำหนดว่าเด็กจะคลอดที่ไหน การทำสัญญาส่งมอบระหว่างบุคคลที่สาม ขอบเขตการคุ้มครองในการประกันภัย และการควบคุมการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาทางแพทย์ระหว่างที่ตั้งครรภ์ของหญิงอุ้มบุญ เป็นต้น

  4. สร้างตัวอ่อน
    ตัวอ่อนที่ฝังในครรภ์ของหญิงอุ้มบุญเกิดจากวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว โดยนำเอาอสุจิของฝ่ายชายและรังไข่ของฝ่ายหญิงมาผสมให้ปฏิสนธิกันภายนอกร่างกายแล้วใส่เข้าไปฝังตัวในมดลูกของหญิงอุ้มบุญจนเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น 

  5. กระบวนการปฏิสนธิภายนอก
    หญิงที่รังไข่ถูกนำมาใช้และหญิงที่จะตั้งครรภ์แทนต่างได้รับยาเพื่อปรับรอบเดือนให้มาพร้อมกัน เพื่อให้มดลูกของหญิงที่ตั้งครรภ์แทนพร้อมสำหรับตัวอ่อนทันทีที่ไข่ของหญิงอีกคนตกและถูกนำไปปฏิสนธิกับอสุจิ

  6. รับยากระตุ้นการตกไข่
    หญิงที่เป็นเจ้าของไข่จะได้รับยากระตุ้นการตกไข่ (Gonadotropins) เพื่อให้ไข่ตกหลายใบและเมื่อไข่เจริญเติบโตเต็มที่พร้อมปฏิสนธิ แพทย์ก็จะนำไข่และอสุจิที่ผลิตขึ้นในเวลาเดียวกันนี้มาปฏิสนธิกันในภาชนะในห้องปฏิบัติการแล้วฝังไปที่มดลูกของหญิงอุ้มบุญเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น

 อุ้มบุญ, แม่อุ้มบุญ, อุ้มบุญ ผิดกฏหมายไหม, อุ้มบุญ ถูกกฏหมาย, อุ้มบุญ ทำได้ไหม, อุ้มบุญ คืออะไร, ขั้นตอนการอุ้มบุญ, กฏหมายอุ้มบุญ, มีลูกแทนคนอื่น, ตั้งท้องแทนคนอื่น, ใคร อุ้มบุญได้, ให้ญาติอุ้มบุญ, ทำไมต้องอุ้มบุญ, วิธีอุ้มบุญ, อุ้มบุญ ยังไง ให้ถูกกฏหมาย

อุ้มบุญในแง่ของความผูกพัน

ในแง่ของจิตใจ แน่นอนว่าการตั้งครรภ์ย่อมเกิดสิ่งที่เรียกว่าความผูกพันขึ้นระหว่างแม่อุ้มบุญกับทารกในครรภ์ เพราะแม้ว่าจะเป็นทารกที่เกิดจากไข่และอสุจิของสามีภรรยาผู้ว่าจ้าง แต่ด้วยความผูกพันทางร่างกายที่ส่งถึงกันตลอดเวลาตั้งครรภ์ก็มักทำให้เกิดกรณีที่ว่า แม่อุ้มบุญรักทารกเหมือนลูกตัวเอง ผูกพันมากจนไม่ยอมมอบทารกให้แก่คู่สามีภรรยาจนเกิดการฟ้องร้องกันในที่สุด

เรื่องของการอุ้มบุญเป็นเรื่องที่พูดยากทั้งในแง่ของความต้องการ ธรรมชาติ และศีลธรรม เพราะสามีภรรยาบางคู่ก็ไม่สามารถมีบุตรเองได้ในทุก ๆ วิธี และการรับเด็กมาเลี้ยงก็อาจทำให้รู้สึกแคลงใจในหลาย ๆ เรื่องเพราะไม่ใช่เลือดเนื้อเชื้อไขของตัวเอง การอุ้มบุญจึงอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายคนตั้งต้นคิดและศึกษาถึงผลดีผลเสียต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มาเติมเต็มชีวิตครอบครัวให้สมบูรณ์

ท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือ การคิดคำนวณถึงความต้องการของตัวเอง รวมไปถึงในเรื่องของความรักความผูกพันในฐานะพ่อแม่และครอบครัว

คลิกอ่านข้อกำหนดอุ้มบุญได้ที่ >>> พรบ.อุ้มบุญ

ไม่รู้มาก่อน! 'ไข่' ผู้หญิงมีจำกัดแค่ 2-5 แสนฟอง แถมไข่ลดลงตามอายุ อยากมีลูกต้องรีบ!

3225

ไข่ของผู้หญิงมีจำกัดแค่ 2-5 แสนฟอง และยังลดลงตามอายุอีกด้วย

ทราบไหมคะว่า  ไข่ของผู้หญิง จำนวนจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น

ไข่ของผู้หญิงแม้จะเล็กจิ๋ว แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเล็กนะคะ เพราะการที่ผู้หญิงจะมีลูกได้ขึ้นอยู่กับไข่เลยล่ะค่ะ โดยไข่ทั้งหมด(ตลอดชีวิต)ของผู้หญิงจะถูกเก็บสะสมอยู่ในรังไข่ทั้งสองข้าง และติดตัวมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ 5 เดือน ทารกเพศหญิงจะมีไข่จะติดตัวมาจำนวนสูงถึง 6-7 ล้านฟอง แต่จะค่อย ๆ สลายตัวไปเหลือเพียง 2 ล้านฟองในวัยแรกเกิด

จากนั้นจะลดลงเรื่อย ๆ จนเข้าสู่วัยรุ่นจะเหลืออยู่ประมาณ 2-5 แสนฟอง แต่ทั้งนี้จะมีไข่ที่มีผลทำให้ตั้งครรภ์ได้เพียง 400-500 ฟองเท่านั้น เพราะการตกไข่แต่ละครั้งจะมีไข่เพียงฟองเดียวที่สมบูรณ์ พร้อมจะให้อสุจิเข้ามาผสมได้ เพื่อสร้างทารก และอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ไข่บางส่วนจะฝ่อสลายไปตามกาลเวลา 

สาเหตุมีลูกยาก เพราะอายุมากขึ้น จำนวนไข่ลดลง

  1. เมื่อผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป อัตราการฝังตัวอ่อนจะลดลง จากที่การฝังตัวยากอยู่แล้ว จะยากขึ้นไปอีก

  2. เมื่อผู้หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป ประจำเดือนก็มีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้โอกาสน้อย และแพทย์ไม่แนะนำให้มีลูกตอนอายุมากขนาดนี้

  3. อายุมากขึ้น เสี่ยงกับการแท้งมากขึ้น และจะมีความผิดปกติด้านโครโมโซมของไข่ และการขาดหายไปของไมโตคอนเดรีย

  4. จะมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้การทำงานของรังไข่ลดลง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะขาดสารอาหาร ความเครียด โรคทาง autoimmune  การใช้ยาต้านซึมเศร้า การอักเสบที่อุ้งเชิงกราน ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่ เป็นต้น

  5. ผู้หญิงมีเนื้องอกในมดลูก และติ่งเนื้อในโพรงมดลูกพบมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

  6. เมื่ออายุมากขึ้นจำนวนไข่ก็จะลดลง มีการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน และ Inhibin B มีการเพิ่มขึ้นของ FSH

รู้เรื่องความสำคัญของไข่แล้วนะคะ คนที่อยากมีลูกก็อย่าชะล่าใจปล่อยเวลานาน เพราะไข่ของผู้หญิงมีจำนวนจำกัดแค่ 2-5 แสนฟอง และทุกใบไม่ใช่ว่าจะสร้างทารกได้ทั้งหมดด้วยค่ะ พอรู้แบบนี้แล้ว ขอเป็นกำลังใจให้คนที่อยากมีลูกนะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.วรประภา ลาภิกานนท์ สูตินรีแพทย์

  • 1
  • 2