คนท้อง 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน ลูกในท้องตัวเท่ามะพร้าวและเริ่มหมุนกลับหัว
พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน แม่ตั้งครรภ์ 7 เดือน ลูกในท้อง ตัวเท่ามะพร้าว อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ( ปลายเดือนที่ 7 ทางจันทรคติหรือ 6 1/2 เดือนตามปฏิทิน)
- ความยาวของตัวทารกตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 35 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 1,000 กรัม
- ต่อมไขมันเริ่มทำงานแล้ว ช่วงนี้ผิวลูกในท้องจึงเริ่มมีความชุ่มชื่นมากขึ้น
- ทารกในท้องลืมตาได้เองแล้ว
- ช่วงนี้พื้นที่ในท้องแม่แคบลงเพราะลูกตัวใหญ่ขึ้น เมื่อลูกเริ่มยืดแขนขาแม่จึงรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นแรง ดิ้นบ่อย
- ทารกในท้องบางคนจะเริ่มหมุนตัวเอาส่วนหัวลงในลักษณะคล้ายเตรียมตัวคลอดแล้ว
- ทารกมีการกลืนน้ำคร่ำ และฝึกการดูดนมด้วยเช่นกัน สำหรับน้ำคร่ำที่ถูกดูดกลืนเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะประมาณ 500 มล.ต่อวัน
อาการคนท้อง 7 เดือน ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร
- การตั้งครรภ์เข้าไตรมาสที่ 3 นี้คุณแม่จะเหนื่อยและเพลียง่ายมากเพราะทั้งตัวลูกที่ใหญ่ขึ้น ท้องใหญ่ขึ้น น้ำหนักตัวแม่ที่เพิ่มมากขึ้น เดินนิดหน่อยก็จะเหนื่อย ง่วงนอน
- แม่เริ่มจะปวดหลังมากขึ้น นอนไม่ค่อยหลับเพราะท้องใหญ่ไม่สบายตัว รวมทั้งลูกอาจจะตื่นมาถีบท้องแม่ตอนกลางคืนทำให้ไม่ค่อยได้นอน ท่านอนคนท้องที่ช่วยให้สบายตัวคือท่านอนตะแคงกอดหมอนข้าง หรือคุณแม่ลองนอนโดยใช้หมอนแม่ท้องช่วยประคองหลัง ประคองท้อง นอนในท่าเอนหลังแบบกึ่งนั่งกึ่งนอน และใช้วิธีงีบหลับระหว่างวันช่วยได้
- คุณแม่บางคนเริ่มมีน้ำนมไหล คุณแม่อาจเริ่มสังเกตว่ามีน้ำสีขุ่น ๆ ไหลออกมาจากหัวนม น้ำนี้มีความใสกว่าน้ำนม มีรสหวาน เรียกว่า "โคลอสตรัม" (Colostrum) เพื่อให้ทารกได้กินเป็นอาหารในช่วง 3-4 มื้อแรกก่อนที่น้ำนมจริง ๆ จากเต้านมจะไหลออกมานั่นเอง
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น คุณแม่จะเริ่มมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้นมาอีก หลังจากหายไปเมื่อเลย 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์แล้ว คราวนี้อาการปัสสาวะบ่อยนั้นเกิดจากมดลูกที่โต และทารกที่อยู่ภายในเริ่มมีแรงกดต่อกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการดังกล่าว
- รู้สึกเจ็บจี๊ดตรงอวัยวะเพศ เป็นอาการปกติที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของทารกในครรภ์มาที่กระดูกเชิงกราน ทำให้กระทบกับเส้นประสาทในมดลูก จนทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บจี๊ดที่บริเวณหัวหน่าวและอวัยวะเพศนั่นเอง
อาหารคนท้อง 7 เดือน
- อาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี จะช่วยให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมแก่ทารก
- ช่วงนี้วิตามินซีมีความจำเป็นมาก เพราะนอกจากจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กแล้ว ยังช่วยสร้างเม็ดเลือดให้กับทารกด้วย
- แคลเซียมยังเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่นเดียวกับวิตามินเค ที่จะช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้นและช่วยบรรเทาอาการปวดหลังให้แก่คุณแม่ได้
*************************************************
เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ได้ที่นี่
- ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน
- ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน
- ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน
- ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน
- ตั้งครรภ์ 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน
- ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน
- ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน
- ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน
- ตั้งครรภ์ 9 เดือน อายุครรภ์ 9 เดือน

ท้องกลม ท้องแหลม ท้องป่าน ลักษณะท้องแม่ทำนายเพศลูกได้จริงไหม ต้องพิสูจน์!
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความเชื่อจากโบราณบอกต่อๆ กันมาว่า ลักษณะท้องของแม่ตั้งครรภ์สามารถทำนายเพศลูกในท้องได้แม่นนัก เรามาลองดูกันค่ะว่า เรื่องนี้ชัวร์หรือมั่วนิ่มกันแน่ โดย พญ.กันดาภา ฐานบัญชา สูติแพทย์ โรงพยาบาลบี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์
ทำไมแม่ตั้งครรภ์มีลักษะท้องและขนาดท้องต่างกัน
เหตุที่ลักษณะท้องของแม่ท้องแตกต่างกันมาจากสรีระของตัวแม่ตั้งครรภ์ค่ะ ที่มักพบได้บ่อยคือ ท้องแหลม ท้องกลม หรือท้องป้าน ซึ่งการจะมีลักษณะท้องแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับ 2 เหตุผลต่อไปนี้
- รูปร่างและลักษณะของมดลูก - คุณแม่ที่มีมดลูกคว่ำมาทางด้านหน้า เมื่อตั้งครรภ์จะทำให้ท้องแหลมยื่นออกมาด้านหน้า ส่วนคุณแม่ที่มีลักษณะมดลูกคว่ำค่อนไปทางด้านหลัง ท้องจะมีลักษณะท้องกลม
- กล้ามเนื้อหน้าท้อง - หากคุณแม่มีกล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรงเกิดจากการออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ เมื่อตั้งครรภ์ ท้องจะกลมเพราะกล้ามเนื้อส่วนหน้ามีความกระชับ ส่วนคุณแม่ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย กล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรง หรือเป็นท้องที่ 2 หรือ 3 แล้ว กล้ามเนื้อเคยยืดขยายมาแล้วส่งผลให้ท้องยื่นออกมาด้านหน้ามาก หรือที่เราเรียกว่าท้องแหลม
อายุครรภ์กับขนาดท้องของแม่ท้อง
- ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 (ประมาณ 0-12 สัปดาห์) ขนาดมดลูกยังไม่ขยาย แต่บางคนที่รู้สึกว่าท้องใหญ่ขึ้นนั้นเป็นเพราะท้องอืด เพราะฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ทำให้แพ้ท้องและมีท้องอืดร่วมด้วย
- ขนาดท้องแม่ตั้งครรภ์อายุครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 10-12 จะเริ่มคลำขนาดมดลูกที่หน้าท้องได้เหนือหัวหน่าวเล็กน้อย
- ขนาดท้องแม่ตั้งครรภ์อายุครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 14 มดลูกจะอยู่ 2 ใน 3 นับจากสะดือไปถึงหัวหน่าว (เวลาแบ่งช่วงหน้าท้องทางการแพทย์จะแบ่งจากใต้สะดือเป็น 3 ส่วน เหนือสะดือเป็น 4 ส่วน)
- ขนาดท้องแม่ตั้งครรภ์อายุครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 20 ยอดมดลูกจะอยู่ที่ระดับสะดือพอดี ขนาดท้องแม่ตั้งครรภ์หลังจากสัปดาห์ที่ 20 ขนาดของมดลูกจะมีขนาดเท่ากับอายุสัปดาห์ เช่น ถ้าอายุครรภ์ 23 สัปดาห์ จะวัดยอดมดลูกจากเหนือนหัวหน่าวได้ 23ซม.พอดี ซึ่งเป็นวิธีที่หมอสูติใช้ตรวจว่าขนาดมดลูกด้วยว่าเจริญเติบโตเท่ากับอายุหรือไม่
- ขนาดท้องแม่ตั้งครรภ์อายุครรภ์หลังจาก 37 สัปดาห์ (หรืออาจจะมากกว่านี้กับคุณแม่บางคน) คุณแม่จะรู้สึกว่าท้องเริ่มลด นั่นเป็นเพราะลูกกำลังกลับศีรษะลงในอุ้งเชิงกราน จึงทำให้รู้สึกเหมือนท้องลด ถือเป็นสัญญาณใกล้คลอดให้คุณแม่ได้ด้วย แต่หากเด็กตัวใหญ่มาก ไม่ยอมกลับศีรษะ แต่ใช้ส่วนนำเป็นก้น แม่จะรู้สึกแน่น ตึง เพราะมดลูกค้ำอยู่กรณีนี้จะต้องผ่าคลอด

ลุ้นเพศของลูกในครรภ์ได้ ตอนอายุครรภ์กี่เดือน
แม่ตั้งครรภ์คงลุ้นกันน่าดูเลยนะคะว่า ลูกในท้องจะเป็นลูกชายหรือลูกสาวกันแต่ มาเช็กกันหน่อยค่ะว่า เราสามารถทราบเพศลูกในท้องได้ตอนอายุครรภ์กี่เดือน และลูกพัฒนาการในการสร้างอวัยวะระบุเพศได้ในช่วงไหนของการตั้งครรภ์บ้าง
ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 กำลังสร้างเป็นอวัยวะที่สมบูรณ์
- อายุครรภ์ 7-8 สัปดาห์: ปกติแล้วทารกจะถูกกำหนดว่าเป็นเพศไหน ตั้งแต่ช่วงที่มีการปฏิสนธิและการฝังตัวอ่อนแล้ว โดยเพศชายจะมีโครโมโซม xy ส่วนเพศหญิงโครโมโซม xx ซึ่งช่วงไตรมาสแรก จะเป็นช่วงที่อวัยวะกำลังเริ่มก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาเป็นรูปร่าง ผิวหนังบริเวณขาหนีบเริ่มมีลักษณะนูนๆ ขึ้นมา และเริ่มมีการสร้างส่วนประกอบต่างๆ ของอวัยวะแล้ว เพียงแต่ยังเห็นไม่ชัดเจน
- อายุครรภ์ 9-10 สัปดาห์: อวัยวะเริ่มมีการพัฒนา สร้างเป็นรูปร่างมากขึ้น ถ้าเป็นผู้ชายจะมีลูกอัณฑะ โดยมีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ นูนขึ้นมา แต่ถ้าเป็นผู้หญิงจะมีลักษณะเป็นแคมเล็กๆ เกิดขึ้น
- อายุครรภ์ 11-12 สัปดาห์ที่: อวัยวะเริ่มมีลักษณะชัดเจนขึ้น มีรูปร่างเห็นได้ชัดเจน ในเด็กผู้ชายอวัยวะจะเริ่มมีการยื่นยาวขึ้น ลูกอัณฑะพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ ส่วนผู้หญิงมีแคมนอกชัดเจน มีการสร้างรังไข่ มดลูกเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 แม่รู้สักที...หนูเพศไหน
- อายุครรภ์ 15-16 สัปดาห์: คุณแม่สามารถตรวจเช็กเพศของลูกน้อย และรู้ได้แล้วว่าจะได้ลูกชายหรือหญิง ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์ หรือตรวจน้ำคร่ำ ซึ่งอวัยวะลูกน้อยจะเริ่มมีการสะสมของไขมัน ทำให้อวัยวะมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้น ในเพศชายบริเวณอวัยวะเริ่มมีผิวหนังย่น เป็นรูปทรงมากขึ้น ส่วนเพศหญิงแคมนอกเริ่มมีการนูนขึ้น
ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 อวัยวะหนูพัฒนาสมบูรณ์แล้ว
- อายุครรภ์ 30 สัปดาห์: อวัยวะมีการสะสมของไขมันมากขึ้น โครงสร้างมีลักษณะชัดเจน ในเพศชายกว่า 98% ลูกอัณฑะจะลงถุงหมดแล้ว เป็นรูปทรงชัดเจน ผิวหนังหนา และมีขนาดยาวขึ้น ส่วนผู้หญิงแคมนอกแคมในเริ่มมีการแยกอย่างชัดเจน มีขนอ่อนๆ ขึ้นบริเวณรอบๆ อวัยวะแล้ว
เคล็ดลับดูแลครรภ์
ในช่วงไตรมาสที่ 1 หรือสัปดาห์ที่ 11-13 เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดที่อวัยวะของลูกน้อยมีการพัฒนา ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่ไม่จำเป็น การเดินทางท่องเที่ยวไกลๆ ที่อาจทำให้เกิดการกระทบกระเทือน หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเกิดการกระทบกระเทือนและทำให้การส่งเลือดไปที่ลูกน้อยมีปัญหา ส่งผลให้การพัฒนาอวัยวะต่างๆ รวมทั้งการสร้างอวัยวะเพศของลูกมีปัญหาได้ด้วย แต่ถ้าพ้นช่วงไตรมาสที่ 1 ไปแล้ว เป็นระยะปลอดภัยที่คุณแม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้มากขึ้น เพราะอวัยวะต่างๆ ของลูกมีการสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: นพ.พูนศักดิ์ สุชนวณิช สูติแพทย์

แม่ท้องอยากรู้ไหมคะ ว่าลูกในท้องตอนนี้ตัวยาวแค่ไหนแล้ว เพราะเรื่องพัฒนาการทารกในครรภ์เป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องให้ความสำคัญและอยากติดตามอยู่ทุกวันแน่นอน ถึงแม้ตอนนี้ลูกยังไม่คลอดออกมา ยังไม่เห็นลูกชัด ๆ แต่เราเช็กพัฒนาการลูกในท้องได้ค่ะ มาดูกันเลยว่าตอนนี้ลูกในท้องตามอายุครรภ์ มีความยาวของลำตัวเท่าไหร่กันแล้ว
อายุครรภ์ 1 เดือน |
1x1 |
ความยาวตัว 1 ซม. |
อายุครรภ์ 2 เดือน |
2x2 |
ความยาวตัว 4 ซม. |
อายุครรภ์ 3 เดือน |
3x3 |
ความยาวตัว 9 ซม. |
อายุครรภ์ 4 เดือน |
4x4 |
ความยาวตัว 16 ซม. |
อายุครรภ์ 5 เดือน |
5x5 |
ความยาวตัว 25 ซม. |
อายุครรภ์ 6 เดือน |
6x5 |
ความยาวตัว 30 ซม. |
อายุครรภ์ 7 เดือน |
7x5 |
ความยาวตัว 45 ซม. |
อายุครรภ์ 8 เดือน |
8x5 |
ความยาวตัว 40 ซม. |
อายุครรภ์ 9 เดือน |
9x5 |
ความยาวตัว 45 ซม. |
อายุครรภ์ 10 เดือน |
10x5 |
ความยาวตัว 50 ซม. |
ภายใน 5 เดือนแรก ให้เอาจำนวนเดือนของการตั้งครรภ์ (หรือเดือนทางจันทรคติ) ยกกำลังสอง และตั้งแต่เดือนที่ 6 ขึ้นไปให้เอา 5 คูณจำนวนเดือน ก็จะได้ความยาวลำตัวทารกในครรภ์เป็นเซนติเมตร
อ้างอิงจาก : คู่มือตั้งครรภ์และการเตรียมคลอด (ฉบับปรับปรุงใหม่) สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊กส์

คนท้องสามารถคำนวณอายุครรภ์และกำหนดคลอดได้เองแบบง่าย ๆ ด้วยการนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายค่ะ
วิธีคำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง คำนวณกำหนดคลอดจากอายุครรภ์
วิธีคำนวณอายุครรภ์
-
คำนวณอายุครรภ์จากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
วิธีคำนวณอายุครรภ์แบบนี้เหมาะสำหรับคนที่ประจำเดือนมาปกติ สม่ำเสมอทุก 28 วัน โดยมีวิธีคำนวณ คือ นับจากวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาจนถึงปัจจุบัน เช่น
- วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายคือ 1 มีนาคม และ ปัจจุบันวันที่ 13 มิ.ย.
- ขณะนี้ตั้งครรภ์แล้ว 73+วัน หรือ อายุครรภ์ 10+สัปดาห์ หรือ อายุครรภ์ 2+เดือน
หมายเหตุ: + หมายถึงมีจำนวนเศษวันซึ่งอาจยังไม่ครบ 7 วันที่นับเป็น 1 สัปดาห์ หรือ กำลังจะเข้าสู่อายุครรภ์ครบสัปดาห์ถัดไป
2. คำนวณอายุครรภ์จากการฟังคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวนด์
วิธีคำนวณอายุครรภ์แบบนี้ใช้สำหรับผู้ที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่สม่ำเสมอ หรือ มากกว่า 28 วันตามรอบประจำเดือนปกติ
-
- ใช้วัดขนาดของถุงการตั้งครรภ์ Gestational sac ซึ่งจะวัดได้ในช่วงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 สัปดาห์
- ใช้วัดความยาวตัวทารกในครรภ์ ซึ่งวัดได้ในช่วงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 6-14 สัปดาห์
วิธีคำนวณวันคลอดลูก กำหนดคลอดจากอายุครรภ์
1. คำนวณวันคลอด กำหนดคลอดด้วยวิธีนับไปข้างหน้า 9 เดือน และ บวก 7 วัน เช่น
-
- วันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายคือ วันที่ 1 มี.ค. นับไปให้ครบ 9 เดือน คือ 1 ธ.ค.
- บวก 7 วัน = กำหนดคลอดคร่าว ๆ คือ ประมาณช่วงวันที่ 8 ธ.ค.
2. คำนวณวันคลอด กำหนดคลอดด้วยวิธีนับถอยหลัง 3 เดือน และ บวก 7 วัน เช่น
-
- วันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายคือ วันที่ 1 มี.ค. ถอยหลัง 3 เดือน คือ 1 ธ.ค.
- บวก 7 วัน = กำหนดคลอดคร่าว ๆ คือ ประมาณช่วงวันที่ 8 ธ.ค.
หมายเหตุ: กำหนดคลอดอาจมีการคลาดเคลื่อนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การนับอายุครรภ์ที่คลาดเคลื่อน ภาวะแทรกซ้อน ความพร้อมในการคลอด เป็นต้น