facebook  youtube  line

"เลือกโรงเรียนอย่างไรดี"

2250

มีคำถามเสมอว่าควรเลือกโรงเรียนอย่างไร ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่าชนชั้นกลางระดับกลางหรือสูงมีกำลังจ่ายค่าเล่าเรียนโรงเรียนทางเลือก หรือทำโฮมสคูลในขณะที่ชนชั้นกลางระดับกลางหรือล่าง รวมทั้งชนชั้นล่างไม่มีกำลังจ่าย รู้ทั้งรู้ว่าการศึกษาสมัยใหม่เป็นอย่างไรก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากนอกจากส่งเรียนโรงเรียนตามระบบ คือโรงเรียนรัฐบาลหรือโรงเรียนเอกชน

มีงานวิจัยจากต่างประเทศว่าเวลาและกิจกรรมที่พ่อแม่มีให้แก่กันในช่วงปฐมวัยมีความสำคัญมากกว่าชื่อเสียงโรงเรียน  มีงานวิจัยในระดับประถมทำนองนี้ด้วยแต่น้อยกว่า ผมมีคำแนะนำเพียงข้อเดียวเสมอนั่นคือ “เลือกโรงเรียนใกล้บ้าน”

ประสบการณ์ส่วนตัวผมส่งลูกสองคนเรียนใกล้บ้านจริงๆ ตอนปฐมวัยขับรถห้านาทีถึง ตอนประถมเดินไปกลับ ผมขับรถส่งลูกทุกวัน ห้านาทียังเล่นยิงขีปนาวุธใส่เต่าไฟกาเมร่าตามทางไม่เสร็จก็กลับถึงบ้านแล้ว ตอนเดินไปกลับผมเดินไปส่งทุกเช้าแล้วปล่อยสองพี่น้องเดินกลับเอง แต่ละจังหวัดต่างกัน

คำว่าใกล้บ้านควรมีความหมายว่า “เมื่อบวกลบปัจจัยทั้งหมดแล้ว เรามีเวลาคืนมาที่บ้านมากที่สุด” ปัจจัยต่างๆ ที่เอามาคิด ได้แก่ ระยะทางจากบ้านถึงโรงเรียน ระยะทางจากบ้านถึงที่ทำงานพ่อแม่ ระยะทางจากที่ทำงานพ่อแม่ถึงโรงเรียน จำนวนการบ้าน จำนวนกิจกรรมพิเศษของโรงเรียนทั้งที่เหลวไหลและมีสาระ เวลาทำโอทีของพ่อแม่ เป็นต้น

เหล่านี้บวกลบแล้วเหลือกี่ชั่วโมงต่อวันที่เราจะได้เล่นด้วยกัน และเหลือกี่ชั่วโมงในวันเสาร์อาทิตย์ที่เราจะได้เที่ยวด้วยกัน นั่นคือใกล้บ้าน

ภายใต้ข้อเท็จจริงอีกเช่นกันว่าทุกโรงเรียนมีจุดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนทางเลือก โฮมสคูล โรงเรียนรัฐบาลหรือโรงเรียนเอกชน เวลาที่คืนมาเราเอามาทำอะไรบ้าง?

หนึ่งคือเล่น อันนี้ต้องทำแน่ๆ เน้นย้ำอีกครั้งว่า “เล่นด้วยกัน” สองคือทำงานบ้าน เพราะงานบ้านสร้าง EF (Executive Function) ความสามารถระดับสูงของสมองเพื่อความสำเร็จในชีวิต อ่านนิทานก่อนนอน หรือเล่านิทาน หรือคุยกันก่อนนอน อันนี้เป็นกิจกรรมภาคบังคับ ต้องทำเช่นกัน ดังนั้นหาโรงเรียนที่การบ้านไม่มากนักเราจะได้มีเวลามีความสุขด้วยกันก่อนนอน

สำคัญที่สุดคือมีเวลาให้เราชดเชยความเสียหายที่ได้มาจากโรงเรียน พูดเช่นนี้มิได้หมายความว่าโรงเรียนไม่ดี แต่ชีวิตเป็นเรื่องทำนายไม่ได้ เราไม่รู้ว่าเด็กๆ พบอะไรในแต่ละวัน เขาตีความประสบการณ์ต่างๆ นานาเหล่านั้นอย่างไร สร้างความไม่สบายใจหรือคับข้องใจเพียงใด เพราะเราไม่รู้เราจึงต้องมีเวลาในแต่ละวันเหลือเอาไว้  “ล้างใจ”

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

"ไม่มีเงินมากพอ ไปโรงเรียนธรรมดาๆ ได้มั้ย"

2253

คำตอบคือ ได้ คนไทยส่วนใหญ่ไม่มีเงินมากพออยู่แล้ว คนส่วนใหญ่อยู่ได้ เราก็ควรอยู่ได้ อยู่กับเด็กส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งเป็นคนชั้นกลางระดับกลางถึงล่างและชนชั้นล่างมีข้อดีในตัว

แต่ควรรู้ทันว่าโรงเรียนทั่วไปมีข้อเสียอย่างไรด้วย เราอย่าดูดายเตรียมชดเชย และโรงเรียนทางเลือกมีข้อดีอย่างไรเราอย่าทำเฉย โรงเรียนทั่วไปมีข้อเสียที่ไม่มีเสรีภาพห้ามคิด ห้ามพูด และห้ามทดลอง แต่งตัวตามระเบียบ ไม่ให้ใส่เครื่องประดับ เข้าแถวตรงเวลา เรียนตามหลักสูตร ห้ามพูดในห้องเรียน ห้ามคิดนอกเหนือหลักสูตร และตอบข้อสอบให้ตรงคำเฉลย จึงจะเรียนจบได้เป็นเด็กดี

แม้ว่าโรงเรียนบางแห่งจะว่าให้คิดวิเคราะห์แต่ให้น้อยเกินไป ไม่สามารถคิดวิเคราะห์เกินกว่าเฉลยข้อสอบหรือข้อกำหนดทางวัฒนธรรม โรงเรียนแบบนี้ไม่เหมาะกับศตวรรษใหม่ที่เด็กๆ มีไอทีอยู่บนฝ่ามือ และการควบคุมตนเองจากภายในจึงเป็นวินัยที่แท้มิใช่การควบคุมจากภายนอกซึ่งมักไม่ได้ผล

ดังนั้นไปโรงเรียนทั่วไปได้แต่พ่อแม่เองที่ใจควรเปิดกว้าง อนุญาตให้ลูก คิด พูด ทำนอกกรอบได้ตามสมควรตราบเท่าที่มิได้ละเมิดกฎ 3 ข้อพื้นฐานคือห้ามทำร้ายคน ห้ามทำลายข้าวของ และห้ามทำร้ายตัวเอง

นอกเหนือจากสามข้อนี้ เรายินดีให้ลองแต่ แต่มีข้อแม้คือบ้านเราจะมีชั่วโมงหรือเวลานั่งผ่อนคลายคุยกันบ่อยๆ ว่าลูกทำอะไรไปจนถึงทำอะไรลงไป การพูดคุยนี้ตั้งอยู่บนบรรยากาศของความไว้วางใจ คือ trust เรายินดีฟังทุกเรื่องโดยไม่ตำหนิ ไม่สกัด หรือไม่เป็นลม เรามาพูดคุยและแลกเปลี่ยนเท่านั้น ภายใต้ข้อเท็จจริงว่าเด็กๆ เติบโตเองได้แล้ว

ถ้ามีอะไรที่เราต้องการหาข้อมูลหรือความรู้เพิ่มเติม เราช่วยชี้ช่อง หรือลุกขึ้นชวนไปหาด้วยกัน หาในอินเทอร์เน็ต หาในห้องสมุด หรือไปหาในสถานที่จริง เราควรสละเวลาไปและใช้งบประมาณ ใช้โอกาสนี้สอนลูกด้วยว่า “ข้อมูล” และ “ความรู้” เป็นสองสิ่งที่ไม่เหมือนกัน  ให้เขาเข้าใจว่าอะไรที่ได้มาเป็นข้อมูลหรือความรู้กันแน่  เป็น data หรือเป็น knowledge

นี่คือรูปแบบการเรียนรู้สมัยใหม่ ที่เหมาะกับการเพิ่มพูนทักษะการไม่ยึดติดและพร้อมทดลองสิ่งใหม่  ประเมินผล คิดวิเคราะห์  แล้วปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่าไปโรงเรียนทางเลือก จะได้ใช้กระบวนการเหล่านี้ร่วมกับเพื่อน แต่ก็ไม่เสมอไปโรงเรียนทางเลือกบางแห่งมิได้ใส่ใจการทำงานเป็นทีมมากเท่าที่ควร

ดังนั้นแม้ว่าเด็กๆ จะทำโครงงานมากกว่าโรงเรียนทั่วไป แต่ก็ยังคงเป็นการฉายเดี่ยวอยู่ดี เป็นที่ทราบกันแล้วว่าการฉายเดี่ยวคนเดียวจะคิดวิเคราะห์อย่างไรก็ไปได้เท่าที่คนคนหนึ่งจะไปได้

แต่การทำงานเป็นทีมคิดวิเคราะห์เป็นทีม คือ collaboration มีพลังขับเคลื่อนการเรียนรู้มากกว่านั้นสมองของเด็กๆ 1+1 จะมิใช่ได้เพียง 2 แต่มากกว่า 2 และการทำงานเป็นกลุ่ม 1+1+1+1+1 บนความหลากหลายจะได้มากกว่า 5

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล




 

10 จุดอันตราย ระวังอุบัติเหตุในโรงเรียนลูก

โรงเรียน-จุดเสี่ยงในโรงเรียน-10จุดเสี่ยงในโรงเรียน

เมื่อถึงวัยที่ต้องส่งลูกเข้าโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงกังวลใจไม่น้อย หลายครอบครัวไม่เคยต้องห่างจากลูก แต่เมื่อถึงเวลาพาลูกไปโรงเรียนก็ต้องมั่นใจว่าโรงเรียนที่เราเลือกมั่นใจได้ว่าจะดูแลลูก ๆ ของเราได้อย่างดีทั้งเรื่องการเรียน และที่สำคัญคือเรื่องความปลอดภัย ในโรงเรียนเป็นที่ที่เด็กๆ วัยซนมารวมกันอยู่มากมาย ดังนั้นอุบัติเหตุในเด็กอาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องคอยย้ำเตือนลูกๆ ให้ดูแลตัวเองให้ได้ หลีกเลี่ยงจากจุดที่จะเกิดอันตราย หรืออุบัติเหตุได้ สำหรับจุดอันตรายที่ต้องระมัดระวังในโรงเรียนมีอะไรบ้าง ลองมาดูกันค่ะ

10 จุดอันตรายในโรงเรียน
  1. ประตูรั้วโรงเรียน รั้วประตูโรงเรียนเป็นจุดหนึ่งที่เราอาจจะเคยเห็นข่าวกันมาบ้าง ว่ามีประตูล้มทับนักเรียน ซึ่งต้องระมัดระวังไม่ให้เด็กๆ เล่นปีนป่าย หรือขย่ม เขย่ารั้วโรงเรียน เพราะหากประตูชำรุดอาจเกิดอุบัติเหตุได้
  1. เครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น สวรรค์ของเด็กๆ เลยค่ะ เครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น แต่เจ้าเครื่องเล่นทั้งหลายนี่แหละค่ะที่ทำให้เด็กๆ เสียน้ำตากันแทบทุกวัน เด็กหลายคนเล่นกันรุนแรง หรือสนุกไม่ทันระวังตัว ลื่นสไลเดอร์ขาหัก ตกชิงช้าแขนหัก หัวเข้าไปติดในช่องบันได หรือแม้แต่เครื่องเล่นบางชนิดที่ชำรุดไม่ได้รับการดูแลก็อาจทำให้เด็กๆ ได้รับบาดเจ็บได้
  1. บันได เด็กๆ หลายคนยังเดินขึ้นลงบันไดได้ไม่คล่อง ดังนั้นโรงเรียนอนุบาลมักต้องมีครูพี่เลี้ยงคอยดูแลนักเรียนขึ้นลง และให้นักเรียนค่อยๆ เดิน ห้ามวิ่งขึ้นลงบันได ราวจับต้องบันไดต้องออกแบบให้เด็กๆ จับได้ ขั้นบันไดต้องมีความสูงพอเหมาะกับเด็ก
  1. สระว่ายน้ำ ปัจจุบันหลายๆโรงเรียนมีสระว่ายน้ำในโรงเรียน และเป็นอีกที่ที่อาจเกิดอุบัติเหตุเด็กพลัดตก หรือจมน้ำได้ โรงเรียนควรต้องมีประตู หรือรั้วปิด มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลไม่ให้เด็กเข้าไปเล่นที่สระว่ายน้ำโดยพลการ
  1. ระเบียงอาคารเรียน ระเบียงควรมีราวที่แข็งแรง มั่นคง มีลูกกรงป้องกันเด็กๆ วิ่งซุกซนตกลงมา หรือช่องราวระเบียงก็ต้องไม่กว้างมากจนเด็กเอาตัว เอาหัวลอดหลุดออกไปได้
  1. ห้องน้ำ ห้องน้ำต้องสะอาดถูกสุขลักษะ และออกแบบให้ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ ไม่มีถังน้ำ หรืออ่างน้ำที่เด็กๆ อาจจะเกิดอุบัติเหตุจมน้ำได้
  1. เหลี่ยมมุมเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ จุดอันตรายเหลี่ยมมุมต่างๆ ถ้าเป็นโรงเรียนที่มีเด็กเล็กต้องลบเหลี่ยม หรือมีวัสดุบุกันกระแทกตามผนัง หรือมุมโต๊ะ เก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ป้องกันการชนกระแทก
  1. สายไฟ ปลั๊กไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า โรงเรียนต้องคอยดูแล ปิดช่องปลั๊กสายไฟ และตรวจดูเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ไม่ให้ชำรุดหรือมีไฟรั่วได้
  1. พื้นโรงเรียน พื้นโรงเรียนแต่ละจุดต้องออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการใช้งาน เช่น สนามเด็กเล่นถ้าพื้นเป็นปูนแข็ง หรือลื่น ก็มีความเสี่ยงให้เด็กๆ ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุได้มาก
  1. ของเล่น ของเล่นในโรงเรียนควรให้เด็กๆ เล่นให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย อย่างของเล่นที่มีชิ้นส่วนเล็กๆ ถ้าเด็กเอาเข้าปาก เข้าจมูก อาจจะเป็นอันตรายได้
เตรียมตัวให้พร้อม รับมืออุบัติเหตุของลูก
  1. สอนลูกให้ระมัดระวังและป้องกันตัวเองได้ พ่อแม่ควรสอนลูกตั้งแต่เล็กๆ ว่าสิ่งไหนอันตราย เล่นได้ ไม่ควรเล่น และต้องรู้จักกลัวอันตราย เช่น ห้ามเล่นสายไฟ ปลั๊กไฟ ห้ามลงเล่นน้ำถ้าไม่มีผู้ใหญ่อยู่ด้วย หรือสอนให้ลูกว่ายน้ำให้เป็น สอนการปฐมพยาบาลเบื้องต้

  2. คอยหมั่นเป็นหูเป็นตาช่วยคุณครูสังเกต ในโรงเรียนเป็นหน้าที่ของครูที่จะดูแลลูกๆ ดังนั้นพ่อแม่ต้องไว้ใจคุณครูว่าจะดูแลลูกๆ ให้ปลอดภัยได้ แต่ก็ต้องคอยหมั่นสังเกต คอยดูที่โรงเรียนด้วยว่ามีจุดไหน หรือบริเวณไหนที่อาจเป็นอันตรายกับเด็กๆ หรือลูกๆ ได้

  3. ทำประกันอุบัติเหตุไว้ให้ลูก เพื่อเป็นหลักประกันว่าหากเกิดอุบัติเหตุก็ยังมีประกันดูแลค่าใช้จ่าย เพราะเด็กๆ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทุกวันอยู่แล้วค่ะ ถึงแม้จะระมัดระวังแค่ไหน ดังนั้นเตรียมตัวรับมือไว้ให้พร้อมเลยดีกว่าค่ะ

ประกันอุบัติเหตุสำหรับลูกควรเลือกแบบครอบคลุมได้ทั้งอุบัติเหตุและโรคภัยไข้เจ็บที่เด็กเป็นกันบ่อยๆ เช่น ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ อาหารเป็นพิษ เพราะนอกจากอุบัติเหตุแล้ว โรงเรียนเป็นแหล่งที่เด็กๆ มีโอกาสเจ็บป่วยได้มากเช่นกัน ประกันสำหรับลูกควรเลือกที่มีเบี้ยประกันน้อย แต่วงเงินในการคุ้มครองสูงหรือแบ่งเบาภาระทางการเงินในค่ารักษาพยาบาลให้ครอบคลุมทั้งหมด เพราะค่าใช้จ่ายของครอบครัวก็สูงอยู่แล้ว ควรเลือกประกันที่คุ้มครองถึงพ่อแม่ เช่น ในกรณีที่พ่อแม่เสียชีวิต ลูกจะได้รับเงินมรดก เงินช่วยเหลือจากการทำประกันด้วยเพื่อเป็นหลักประกันให้กับชีวิตลูกได้ ประกันสำหรับลูก ควรเลือกแบบที่สามารถคุ้มครองลูกตั้งแต่อายุ 1 ขวบ จนถึงวัยทำงาน ประกันสำหรับลูก ควรเลือกแบบเมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาล ไม่ต้องสำรองเงินจ่ายก่อน แต่ประกันสามารถจ่ายได้เลย

เด็กเป็นวัยที่กำลังซุกซน เรียนรู้ สิ่งต่างๆ รอบตัว ดังนั้นอุบัติเหตุมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สิ่งที่พ่อแม่ และผู้ใหญ่จะทำได้คือคอยดูแลสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวเด็กให้ปลอดภัยที่สุด ไม่ว่าจะที่บ้าน ที่โรงเรียน เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนา ทักษะและการเรียนรู้ต่างๆ ได้อย่างไม่สะดุด และเติบโตอย่างแข็งแรง มั่นคง ปลอดภัย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

ผลิตภัณฑ์ประกันอุบัติเหตุเพื่อลูกรัก ธนชาต Happy PA for Child

(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)

10 วิธีเลือกโรงเรียนอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อลูก

 551 2

10 วิธีเลือกโรงเรียนอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อลูก

โรงเรียนเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ควรมีความปลอดภัยสำหรับลูกรองจากบ้าน ดังนั้นการเลือกโรงเรียนที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราจึงมีคำแนะนำให้พ่อแม่ทุกท่าน ก่อนตัดสินใจเลือกโรงเรียนให้ลูกค่ะ  

10 วิธีเลือกโรงเรียนให้ปลอดภัยต่อลูก
  1. รถโรงเรียนมีมาตรการดูแลที่ดี คุณผู้ปกครองควรซักถามเกี่ยวกับนโยบายของทางโรงเรียน ว่ามีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ เกี่ยวกับการจ้างบุคคลหรือบริษัทที่เข้ามาให้บริการรับส่งนักเรียน ครูผู้ดูแล ประกันชีวิต สภาพรถ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ

  2. ไม่มีแหล่งน้ำที่หนู ๆ จะจมน้ำได้ ระดับน้ำที่สูงท่วมหัวอาจทำให้หนูจมน้ำได้ ควรมีรั้วกั้นรอบแหล่งน้ำทุกด้าน ที่มีความสูงเพียงพอ ป้องกันเหล่าจอมซนปีนเข้าไปได้

  3. สนามกีฬาหรือพื้นที่วิ่งเล่นไม่ใช่ที่จอดรถหรือรถวิ่งผ่าน กรณีเจ้าตัวเล็กถูกรถชนหรือทับในบริเวณโรงเรียนนั้นพบเห็นได้ไม่ยาก เพราะหนูๆมีความสูงน้อยกว่ากระจกมองหลัง โรงเรียนที่ปลอดภัยจะจัดพื้นที่เล่นของเด็กแยกขาดจากทางเดินหรือพื้นที่จอดรถ

  4. ห้องครัว ห้ามเข้า ป้องกันเจ้าตัวร้ายเล่นมีดหรือวิ่งชนหม้อน้ำเดือด

  5. สำรวจอาคารเรียน เช่นระเบียงมีที่กั้นป้องกันจอมซนตกลงมา พื้นอาคารมีความต่างระดับให้สะดุดง่ายหรือเป็นวัสดุลื่นทำให้หนู ๆ หกล้มได้ง่าย ๆ บันไดชันทำให้ตกลงมาได้หรือเปล่า

  6. เฟอร์นิเจอร์หรือส่วนประกอบของอาคาร เช่น ตู้หนังสือขนาดใหญ่ ประตู หน้าต่างควรอยู่ในสภาพดีไม่ชำรุดและมีที่ยึดพอที่จะไม่ล้มลงมาทับเจ้าหนูวัยซนทั้งหลายได้

  7. ของเล่นต้องเหมาะสมกับอายุ ในโรงเรียนเด็กเล็ก ของเล่นต้องสร้างด้วยวัสดุและสีที่ไม่มีพิษภัย ไม่มีของเล่นชิ้นเล็กที่จะอุดตันทางเดินหายใจ ของเล่นที่มีคมหรือความแรง เช่น ปาลูกดอก ปืนมีกระสุน

  8. มีสนามเด็กเล่นที่ปลอดภัย เพราะเป็นจุดที่หนูๆเล่นซนกันมากที่สุด เครื่องเล่นที่ปลอดภัยจึงควรมีความมั่นคงแข็งแรง ไม่สึกกร่อนหรือมีความสูงไม่มากเกินไปนัก ไม่วางชิดกันกับขอบรั้ว วัสดุแข็ง ๆ หรือเครื่องเล่นอื่น ที่สำคัญควรมีพื้นผิวรองรับที่มั่นคง เครื่องเล่นปีนป่าย และชิงช้าที่วางบนพื้นแข็ง อย่างพื้นปูน

  9. ห้องน้ำสะอาดปลอดภัย มีที่จับ มีกันลื่น ไม่อยู่ในมุมอับ สามารถมองเห็นได้
  10. เช็กประวัติโรงเรียนย้อนหลัง จากกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองที่เคยส่งลูกเรียนโรงเรียนต่าง ๆ เช็กจากโซเชียลมีเดีย และข่าวทางสื่อออนไลน์ย้อนหลัง

 

นอกจากการเลือกโรงเรียนที่ดีให้ลูกแล้ว ในบางครั้งพ่อแม่รู้สึกว่าโรงเรียนที่เราเลือกให้ลูกคือโรงเรียนที่ดีที่สุด แต่อาจไม่ใช่แบบนั้นค่ะ รักลูกมีสัญญาณเตือนเมื่อลูกถูกทำร้ายที่โรงเรียนมาฝากค่ะ 

สัญญาณเตือนลูกถูกทำร้าย   
  • โหยหาพ่อแม่ ถ้าปกติลูกไม่เคยโผเข้ากอดพ่อแม่หลังไปรับ แต่จู่ ๆ ลูกวิ่งเข้าหาพ่อแม่แบบโหยหา หรือร้องไห้เข้าใส่ ให้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าอาจมีเหตุไม่ปกติเกิดขึ้นกับลูก (บางครั้งลูกอาจแสดงอาการงอแงทันทีที่ถึงบ้านเพราะอยู่ต่อหน้าครูที่โรงเรียนแล้วไม่กล้า)

  • หวาดกลัว ไม่อยากไปโรงเรียน ยิ่งถ้าปกติลูกเป็นเด็กร่าเริงแล้วอยู่ ๆ ไม่พูด เงียบ ไม่ร่าเริง งอแง และร้องไห้ไม่ยอมไปโรงเรียน คราวนี้ให้ถามลูกได้เลยค่ะว่าเกิดอะไรขึ้น

  • พัฒนาการช้า ถดถอย ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยกว่าที่ควรเป็นตามวัย งอแง ขี้ตกใจ

  • ผวา ละเมอ ให้สังเกตตอนที่ลูกนอนว่ามีอาการผวา หรือละเมอร้องไห้หรือไม่

  • มีรอยเขียวช้ำตามตัว คุณแม่ควรสังเกตตามตัวลูกว่ามีรอยแผลเขียวช้ำหรือเปล่า โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นเป็นประจำ และคุณแม่ควรเช็กในบริเวณร่มผ้าด้วยเพราะส่วนใหญ่พี่เลี้ยงมักทำร้ายในที่ที่คุณแม่มองเผิน ๆ ไม่เห็น

ทำอย่างไร..ถ้าลูกถูกทำร้ายที่โรงเรียน  

-เมื่อสอบถามลูกแล้วพบว่าถูกทำร้ายให้รีบพาลูกไปตรวจร่างกาย เพื่อให้คุณหมอเช็กความผิดปกติ ถ่ายรูปร่องรอยที่ถูกทำร้ายและเก็บหลักฐานทางการแพทย์ไว้

-ปรึกษาพ่อแม่ของเด็กนักเรียนคนอื่นในห้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

-แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและศูนย์ดำรงธรรมหรือมูลนิธิคุ้มครองเด็กให้เข้ามาดูแล

-แจ้งครูใหญ่หรือผู้อำนวยการรับทราบ

-หากไม่มีความคืบหน้าควรย้ายโรงเรียน เพื่อป้องกันเหตุลูกถูกทำร้ายอีก

 

ถึงอยู่ห่างกัน พ่อแม่ก็ปกป้องหนูได้ นโยบายสร้างความปลอดภัยในโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่ควรมีส่วนร่วมโดยการช่วยเป็นหูเป็นตา แนะนำและร่วมกันหาหนทางแก้ไข ให้โรงเรียนจัดโครงสร้างที่มีความปลอดภัยครับ ยามที่คุณพ่อคุณแม่ต้องไกล การปลูกฝังนิสัยไม่ประมาท ระมัดระวังอันตราย ให้เจ้าตัวน้อยดูแลตัวเองก็เป็นอีกวิธีที่ดีเช่นเดียวกัน

 

 

9 จุดเสี่ยงในโรงเรียน

 การเลี้ยงลูก-ความปลอดภัย-สนามเด็กเล่น-สถานที่อันตรายในโรงเรียน

โรงเรียนก็มีส่วนพื้นที่ที่อันตรายอยู่ค่ะ เพื่อความสบายใจคุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจสอบพื้นที่เหล่านี้ได้นะคะ เพื่อรีเช็กสร้างความปลอดภัยให้กับเด็ก ๆ ร่วมกันค่ะ

9 จุดเสี่ยงในโรงเรียน

1.อาคารเรียน

 ราวบันไดต้องมั่นคงแข็งแรง ไม่วางสิ่งของกีดขวางทางเดิน จัดทำลูกกรงเหล็กกั้นระเบียงหน้าต่าง

2.สนามเด็กเล่น

พื้นสนามเรียบ และปูด้วยพื้นยางสังเคราะห์ ยึดติดเครื่องเล่นกับพื้นอย่างแน่นหนา ตรวจสอบเครื่องเล่นให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง

3.ตู้น้ำดื่ม

ติดตั้งสายดินป้องกันไฟฟ้ารั่ว ให้เด็กใช้แก้วรองน้ำจากก๊อกตู้น้ำดื่ม

4.โต๊ะ / เก้าอี้

อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและไม่โยกเยก ไม่มีตะปูยื่นออกมา

5.ประตูหน้าโรงเรียน

ตรวจสอบรางและล้อเลื่อนให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ติดตั้งเสาครอบประตู ตรวจสอบกำแพงไม่ให้ทรุดตัว

6.ท่อน้ำ / รางน้ำ

จัดให้มีฝาครอบหรือตะแกรงปิดกั้นมิดชิด

7.สระน้ำ / บ่อน้ำ

จัดทำรั้วล้อมรอบแหล่งน้ำ ติดป้ายเตือนอันตรายบริเวณริมน้ำ จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยเหลือคนตกน้ำ

8.สนามกีฬา

แบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน แยกตามประเภทกีฬา ตรวจสอบพื้นที่สนาม และอุปกรณกีฬาให้อยู่ในสภาพปลอดภัย

9.ถนนหน้าโรงเรียน

จัดให้มีผู้ดูแลความปลอดภัยในการรับ-ส่งเด็ก ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจอำนวยการจราจรบริเวณหน้าโรงเรียน

 

ขอบคุณข้อมูล : กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย

Mom's Issue EP 19 : "รับมืออย่างไรในวันที่ลูกเจอความรุนแรง"

 

วันที่ลูกถูกรังแก ใจแม่อยากให้ลูกไปลุยซะเหลือเกิน แต่ความรุนแรงไม่ได้แก้ไขด้วยความรุนแรง แม่ดอยและป้าปอยมาชวนคุยหลักคิด หลักการและ How to ที่จะช่วยเตือนทั้งพ่อแม่และไกด์แนวทางให้ลูกไปด้วยกัน 

 

ชวนฟัง Mom’s Issues รับมือในวันที่ลูกถูกเพื่อนแกล้ง

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

ดูเรื่องราวของ Instagram โดยไม่ระบุชื่อ ส่องสตอรี่ไอจี

Mom's Issue EP 25 (Rerun) : เปิดเทอมใหม่ทำอย่างไรไม่ให้หัวใจว้าวุ่น

 

เทคนิคการเตรียมตัวรับมือเปิดเทอมโดยครูก้า กรองทอง บุญประคอง ครูผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก และผู้ก่อตั้งและผู้บริหารโรงเรียนจิตตเมตต์ (ปฐมวัย)

 

เทคนิคดีๆ เตรียมลูกให้พร้อม เตรียมใจแม่ให้หนักแน่นกับความอ่อนไหวในช่วงแรกของการเปิดเทอม

ฟังตอนนี้ยังไม่สาย เพราะสำหรับน้องอนุบาล1 ทุกๆ เช้าจะยังเป็นเหมือนเปิดเทอมวันแรกนะคะ ^^

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Mom's Issue EP 26 (Rerun) : เนื้อหา บทเรียนที่ยากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้ของเด็กบ้าง

 

นอกจากประเด็นเรื่องความยากง่ายของการบ้าน มีสิ่งที่มากไปกว่านั้นคือ ระดับการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็ก

หากเด็กเรียนรู้สิ่งที่ยากเกินไป ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กอย่างไรบ้าง รวมไปถึงหลากหลายประเด็นที่คาใจพ่อแม่ ทั้งการเรียนที่ยากและการบ้านที่ต้องทำ

 

ฟังมุมมองนักวิชาการด้านศึกษา ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า อาจารย์สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Mom's Issue EP.08 (Rerun) “เนื้อหา บทเรียนที่ยากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้ของเด็กบ้าง”

 

นอกจากประเด็นเรื่องความยากง่ายของการบ้าน มีสิ่งที่มากไปกว่านั้นคือ ระดับการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็ก หากเด็กเรียนรู้สิ่งที่ยากเกินไปส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กอย่างไรบ้าง รวมไปถึงหลากหลายประเด็นที่คาใจพ่อแม่ ทั้งการเรียนที่ยากและการบ้านที่ต้องทำ

 

ฟังมุมมองนักวิชาการด้านศึกษา ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า อาจารย์สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

Mom's Issue EP.10 (Rerun) : เทคนิคป้องกันลูกจากสื่อร้ายในโลกโซเชียล

 

กลับมาเรียนออนไลน์กันแบบลักปิดลักเปิด แม่ก็ยังวางใจจากโลกออนไลน์ไม่ได้

ชวนฟังวิธีการป้องกันลูกจากสื่อร้ายในโลกโซเชียล แม่ดอยและป้าปอยมาบอกวิธีให้พ่อแม่

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

Mom's Issue EP.11 (Rerun) : เปิดเทอมยุคโควิด พ่อแม่ต้องพร้อมแค่ไหน ลูกได้หรือเสีย?

 

ตัวเลขและจำนวนผู้ติดเชื้อยังสูงอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าเจ้าโควิดมีสายพันธุ์ใหม่มาให้รับมือตลอด มาย้ำวิธีการดูแลตัวเองในสถานการณ์นี้กันอีกสักครั้งค่ะ โดยคำแนะนำจาก รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

Mom's Issue EP.12 : ชวนลูก Outdoor แก้ปัญหา Indoor Generation

 

แม่ดอยและป้าปอย แนะนำไอเดียพาลูกออกไปทำกิจกรรม Outdoor ที่ไม่ใช่การเดินห้าง ชวนออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์ สัมผัส สายลมและแสงแดด ทุกที่ล้วนกระตุ้นพัฒนาการและแก้ปัญหา Indoor Generation มีที่ไหนไปได้บ้าง

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

Mom's Issue EP.14 : เรียนพิเศษ!! แก้ปัญหาหรือเพิ่มปัญหา

 

ความหวาดกลัวของผลกระทบของ Learning Loss ทำให้พ่อแม่ต้องการเสริม เติม เพิ่ม และอุดรอยโหว่ของพัฒนาการที่หายไป

ป้าปอยและแม่ดอยชวนคุยแลกเปลี่ยนมุมมองกัน และการทำแบบนี้เป็นการแก้ปัญหาหรือเพิ่มปัญหากันแน่ ฟังแนวคิดจากนักวิชาการด้านการศึกษา ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า รองคณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

 

การท่องเที่ยวทางการแพทย์ในประเทศไทยกลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการรับการรักษาทางการแพทย์ที่มีคุณภาพในประเทศไทย โดยที่ไทยเป็นที่รู้จักในระดับสากลว่าเป็นประเทศที่มีระบบการแพทย์ที่เชื่อถือได้และคุณภาพสูง นอกจากนี้ การท่องเที่ยวทางการแพทย์ในประเทศไทยยังมีความเป็นไปได้ที่จะรับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลที่ทันสมัยและมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย การผสมผสานระหว่างการรักษาทางการแพทย์และการเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามของประเทศไทย ทำให้มีความน่าสนใจและเป็นประสบการณ์ที่หลากหลายสำหรับผู้ที่เดินทางมาที่นี่ เจ้าของคาสิโนระดับโลก เช่น The Venetian Macao, Lockdown168, Cosmolot เป็นต้น ก็มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเช่นกัน เนื่องจากเป็นเรื่องปกติทั่วโลกและสำหรับประชากรทุกกลุ่ม

Mom’s Issue EP 05. ตอน “เนื้อหา บทเรียนที่ยากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้ของเด็กบ้าง”

 

นอกจากประเด็นเรื่องความยากง่ายของการบ้านมีสิ่งที่มากไปกว่านั้นคือ ระดับการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็ก หากเด็กเรียนรู้สิ่งที่ยากเกินไปส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กอย่างไรบ้าง

รวมไปถึงหลากหลายประเด็นที่คาใจพ่อแม่ ทั้งการเรียนที่ยากและการบ้านที่ต้องทำ

 

ฟังมุมมองนักวิชาการด้านศึกษา ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า

อาจารย์สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ติดตามรายการรักลูก podcast ได้ที่

Apple podcast : Rakluke Podcast

Spotify : Rakluke Podcast

YouTube Channel : Rakluke Club

Mom’s Issue EP 07. ตอน เทคนิคป้องกันลูกจากสื่อร้ายในโลกโซเชียล

 

ลูกเรียนออนไลน์ไม่ได้เปิดแค่โปรแกรมเรียนเท่านั้น เพราะหลายครั้งจะต้องใช้เว็บไซต์ค้นหาความรู้ไปด้วย จะให้ลูกท่องเว็บยังไงให้ไกลจากบรรดาเว็บไม่เหมาะสม ทั้งเว็บโป๊ เว็บพนัน เว็บขายของหลอกลวง พร้อมการป้องกันที่ดีที่สุดคือการให้ลูกมี Digital Literacy จะสอนและทำได้อย่างไร แม่ดอยและป้าปอยมีวิธีการบอก

 

ติดตามรายการรักลูก podcast ได้ที่

Apple podcast : Rakluke Podcast

Spotify : Rakluke Podcast

YouTube Channel : Rakluke Club

ก้าวแรกของหนูน้อยอนุบาล กับ 5 ข้อที่พ่อแม่ต้องเตรียมตัวให้ลูก

 เปิดเทอม- เปิดเทอมวันแรก- เตรียมตัวก่อนเปิดเทอม- อุปกรณ์การเรียน- ชุดนักเรียน- ตำราเรียน-รับมือเปิดเทอม- ลูกเปิดเทอม-เด็กเปิดเทอม-เตรียมเข้าอนุบาล- การเรียนรู้- วัยอนุบาล 

สำหรับครอบครัวไหนที่กำลังมีลูกเข้าเรียนอนุบาล เพื่อเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น มาดูวิธีการรับมือของพ่อแม่ในการจัดการก่อนเปิดเทอมวันแรกของลูกกัน

  1. เตรียมร่างกายลูกให้พร้อม เพราะในโรงเรียนอนุบาลลูกต้องเจอกับเพื่อนใหม่ ๆ อันดับแรกคือต้องเตรียมลูกให้แข็งแรงไว้ ฉีดวัคซีนต่าง ๆ อย่างครบถ้วน ให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ สอนลูกเกี่ยวกับเรื่องสุขอนามัยพื้นฐาน เช่น การล้างมืออย่างไรให้สะอาด เป็นต้น
  1. ฝึกให้รู้จักการปรับตัวเข้ากับคนอื่น เด็กอนุบาลหลายคนเวลาเปิดเทอม เข้าเรียนเป็นครั้งแรกปัญหาที่เจอคืองอแงไม่ยอมไปโรงเรียน แต่ละคนจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับการปรับตัวได้ของเด็ก ถ้าเด็ก ๆ ปรับตัวได้ดี เข้ากับเพื่อนได้เร็วก็จะหมดปัญหางอแงเวลาพ่อแม่ไปส่งหน้าโรงเรียนในเร็ววันค่ะ การฝึกฝนนั้นทำได้ เช่น การพาลูกออกไปข้างนอกพบปะผู้คนหลากหลายเช่น พาไปพบญาติ ๆ หรือเพื่อนฝูงของพ่อแม่
  1. ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง การฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองเป็นเรื่องที่ต้องค่อย ๆ ฝึกมาในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ทานอาหารด้วยตัวเอง การขับถ่าย การแต่งตัวใส่เสื้อผ้า หรือรับผิดชอบสิ่งของ กระเป๋าตัวเอง เพราะการเริ่มฝึกด้วยเรื่องเล็ก ๆ เหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสร้างความรับผิดชอบให้กับตัวของลูกเมื่อเขาค่อย ๆ โตขึ้น และอยู่ในสังคมที่ดีต่อไปค่ะ  

  2. ฝึกลูกวัยอนุบาลให้รู้จักใช้ภาษาสื่อสาร เมื่อลูกต้องออกไปยังสังคมภายนอก ถึงแม้จะเป็นเพียงโรงเรียนอนุบาล แต่ทักษะการสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นเพราะ ลูกต้องสื่อสารกับเพื่อน กับคุณครูเพื่อบอกความต้องการของตัวเองให้ได้ ว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร อยากได้อะไร อยากทำอะไร เช่น อยากไปห้องน้ำ หรือไม่สบาย ปวดหัว ปวดท้อง ฯลฯ

  1. ฝึกเรื่องความอดทนให้กับลูก เวลาที่ลูกอยู่โรงเรียน ลูกจะไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการทันทีทันใดเหมือนกับตอนที่อยู่บ้าน ในการฝึกให้ ลูกนี้เราต้องค่อย ๆ ฝึกทีละน้อยค่ะ ให้ลูกรอในสิ่งที่เขารอแล้วได้ ไม่ใช่รอแล้วไม่ได้ลูกก็จะรู้สึกผิดหวัง เช่น ลูกจะเล่นอะไรบางอย่างที่ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลา คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะให้เขารอสักครู่หนึ่ง และระหว่างนั้นพ่อแม่ก็อาจจะให้ความสนใจในตัวเขา ชวนเขาคุย ก็จะช่วยทำให้เขารอคอยได้มากขึ้น

เตรียมตัวไว้ก่อน ย่อมดีกว่าเสมอค่ะ คุณแม่พร้อมหรือยังคะ ที่ให้ลูกออกไปเผชิญโลกภายนอก โดยที่ไม่มีพ่อแม่ บางครั้งก็รู้สึกใจหายที่ต้องห่างลูก แต่แม่แอดมินเชื่อเหลือเกินค่ะว่า ลูกเราจะต้องเป็นเด็กดีที่เข้าสังคมได้ เติบโตไปเป็นเด็กที่มีคุณภาพแน่นอน โรงเรียนจะเป็นสถานที่สอนทุกอย่างให้ลูกของเรา และมีพ่อแม่คอยอยู่เคียงข้าง และเป็นกำลังใจให้ลูกเสมอนะคะ

ดูแลลูกหลังเลิกเรียน

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

ด้วยปัญหาการจราจรในบ้านเรา ทำให้การเดินทางไปและกลับจากโรงเรียน ต้องเผื่อเวลาเดินทางไม่ต่ำกว่า30-40 นาทีค่ะ ปัญหาการเดินทางทำให้เด็กเล็กยิ่งเหนื่อยมากกว่าผู้ใหญ่อีกนะคะ

สิ่งที่พ่อแม่ต้องระวังคือ ความเครียด ความเมื่อยล้าและความกังวลของเด็กๆ ซึ่งเด็กอาจจะไม่แสดงออกมาให้เห็น แต่พ่อแม่ต้องหมั่นคอยสังเกตอาการของลูกด้วยนะคะ ทั้งนี้เพื่อให้ช่วงเวลาหลังเลิกเรียนลูกได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เทคนิคเหล่านี้ช่วยได้ค่ะ


• แบ่งเวลาให้ชัดเจน ช่วงไหนลูกจะทำอะไรและทำอะไรก่อน-หลัง

เช่น เรื่องการดูแลตนเอง ทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ สระผม การรับประทานอาหารเย็น การเตรียมตัวสำหรับวันรุ่งขึ้น เช่น จัดของใช้ที่ต้องนำไปโรงเรียน เตรียมชุดนักเรียน ตลอดจนของใช้ส่วนตัวอื่นๆ ให้พร้อมก่อนเข้านอน

• แบ่งเวลาทบทวนบทเรียน รวมถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน

ถึงแม้ลูกจะทำการบ้านเสร็จแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ควรใช้เวลาประมาณ15-20 นาที พูดคุยกับลูก ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันนี้ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น โปรแกรมทัศนศึกษาของโรงเรียน สิ่งที่จะทำร่วมกันของครอบครัวในช่วงวันหยุด และชวนลูกคุยเรื่องเพื่อน เป็นต้น

ประการสำคัญเมื่อพูดคุยเรื่องราวต่างๆ กับลูก และรู้ว่าลูกทำสิ่งดีๆ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบให้คำชมเชยเลยนะคะ

ทำความรู้จัก 6 ประเภทโรงเรียนประถมฯ ความแตกต่างที่พ่อแม่ต้องรู้

โรงเรียน-ประเภทโรงเรียน-โรงเรียนมีกี่แบบ

ส่งลูกเรียนโรงเรียนแบบไหนดี? ชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักโรงเรียนประถมแบบต่าง ๆ กับความแตกต่างที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ ช่วยการตัดสินใจเลือกโรงเรียนให้ลูกได้แน่นอน!

6 ประเภทโรงเรียนประถมศึกษาเป็นอย่างไร

1.โรงเรียนสองภาษา Bilingual (BI)

โรงเรียน Bilingual คือ โรงเรียนที่จัดการสอนเป็นสองภาษา ภาษาแม่และเพิ่มอีก 1 ภาษา ซึ่งในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นภาษาไทย-อังกฤษ การเรียนการสอนวิชาต่างๆ จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อให้เด็กได้รับความรู้ตามสาระการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ สอนโดยครูต่างชาติเจ้าของภาษาในรายวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพลศึกษา โดยคำนึงถึงความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาของศาสตร์นั้นควบคู่กับภาษาอังกฤษ

2.โรงเรียนนานาชาติ

เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนที่กลุ่มเป้าหมายหลักเป็นชาวต่างชาติ โดยนักเรียนในโรงเรียนนานาชาติเกินกว่า 50% จะเป็นชาวต่างชาติแทบทั้งสิ้นครับ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีคนไทยที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนนานาชาติด้วยเช่นกัน

โรงเรียนนานาชาติจะแบ่งหลักสูตรออกเป็น แบบอังกฤษ จะมุ่งเน้นการศึกษาวิชาหลักคือ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แบบอเมริกัน โรงเรียนส่วนใหญ่ในไทยจะใช้หลักสูตรนี้เป็นหลัก โดยเด็กจะได้รับการเรียนการสอนตามหลักสูตรครอบคลุมพื้นฐานทั่วไป แบบนานาชาติ ที่มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาความคิดแบบใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาครับ

3.โรงเรียนคาทอลิก

เป็นกลุ่มโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑล โดยมีปรัชญาในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งอบรมพัฒนาเด็กทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่จะกล่อมเกลาค่านิยมแก่เด็กๆ ทุกคน เน้นให้เด็กรู้จักบังคับตัวเอง มีระเบียบวินัย โดยถือว่าการบังคับตัวเองนั้น จะนำไปสู่ความสำเร็จทางโลกและทางจริยธรรม จุดมุ่งหมายของโรงเรียนคาทอลิกจึงมุ่งเน้นที่จะให้เด็กมีวินัยในการดำเนินชีวิตอย่างเคร่งครัด

4.โรงเรียนสาธิต

โรงเรียนสาธิต เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การดูแลของคณะศึกษาศาสตร์หรือคณะครุศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยต่างๆ และด้วยการที่ขึ้นตรงกับคณะที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการศึกษาของมหาวิทยาลัยโรงเรียนสาธิตถือได้ว่ามีความโดดเด่นทางการเรียนการสอน และความเข้าใจในตัวเด็กได้เป็นอย่างดี

โดยการเรียนการสอนจะเน้นไปที่กิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก นักเรียนมีโอกาสเลือกเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ให้อิสระในการแสดงความคิดเห็นกับเด็กเป็นอย่างมาก มีเป้าหมายที่จะสอนให้เด็กเป็นคนที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ



5.โรงเรียนสามัญทั่วไป

เป็นกลุ่มโรงเรียนที่มีจำนวนโรงเรียนมากที่สุด แบ่งกว้างๆ ได้เป็นโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนรัฐบาล โดยสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรการเรียนการสอนจึงใช้หลักสูตรแกนกลางเป็นหลักประกอบไปด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ศิลปะ การงาน สังคม ศาสนา วัฒนธรรม พลศึกษา

ในปัจจุบันทั้งโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนรัฐบาลเริ่มเปิดสอนในหลักสูตร English Program มากขึ้นแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเป้าหมายการเรียนการสอนก็ยังคงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

6.โรงเรียนรัฐบาล

โรงเรียนที่เป็นอีกหนึ่งที่ตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เพราะทั้งกฎระเบียบที่ค่อนข้างเข้มงวดตั้งแต่เรื่องทรงผมและเครื่องแบบ ที่จะช่วยฝึกวินัยและความเป็นระเบียบให้ลูกของคุณ เรียนรู้สังคมที่หลากหลาย ตลอดจนการเรียนการสอนที่เข้มข้นไม่แพ้โรงเรียนประเภทอื่น รวมถึงค่าเทอมที่ถือว่าย่อมเยาว์อีกด้วย


 
 

ทำอย่างไรดี เมื่อลูกถูกเพื่อนแกล้ง

538 1 

ทำอย่างไรดี เมื่อลูกถูกเพื่อนแกล้ง

เมื่อลูกเข้าโรงเรียน หนึ่งในสิ่งที่พ่อแม่กังวลใจ คือ กลัวลูกถูกเพื่อนแกล้ง หรือลูกไปแกล้งเพื่อน อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยที่มองข้ามได้นะคะ เพราะปัญหานี้อาจจะฝังใจและอยู่กับเด็ก ๆ ไปจนโตได้ค่ะ หากมีเรื่องแกล้งกันขึ้นมา ควรรีบหาทางแก้ปัญหากับครูที่โรงเรียนเลยค่ะ

การแก้สถานการณ์เฉพาะหน้า

บทบาทของครู

ถ้าเห็นเด็กรังแกกัน ให้แยกสองฝ่ายออกจากกันในระยะเวลาสั้นๆ ก่อน เพื่อให้อารมณ์ของเขาเย็นลง หากรู้ทีหลัง ต้องรีบแจ้งผู้ปกครองของเด็กที่ถูกแกล้งทันที ให้คำมั่นสัญญาอย่างแข็งขันให้เด็กที่ถูกรังแกอุ่นใจ เช่น "ครูรักหนูนะ ครูจะปกป้องหนูเหมือนคุณพ่อคุณแม่ดูแลหนู ไม่ให้ใครมารังแกหนูอีก"  ปรับพฤติกรรมของเด็กจอมรังแก สอนให้เขารู้จัก 'ขอโทษ' และบอกถึงผลเสียเมื่อรังแกผู้อื่น ให้เขาสำนึกผิดจากใจ สอนผู้ที่ถูกรังแกให้รู้จัก 'การให้อภัย' เพราะจะช่วยพัฒนาทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เพื่อตัวเขาเองจะได้ไม่ผูกใจเจ็บจนบั่นทอนพัฒนาการ อาจให้ทั้งสองฝ่ายช่วยเสนอแนะทางออก โน้มน้าวให้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ขอโทษกันและสัญญากับครูว่าจะไม่ทำอีก อย่ายื่นข้อเสนอให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ควรให้ผู้ปกครองเป็นคนหาทางออกที่พึงพอใจก่อน ครูต้องเป็นกลาง

ครูต้องสื่อสารกับทางบ้าน  

สังเกตขอบเขตการถูกรังแกของเด็กว่ารุนแรงและบ่อยแค่ไหน ถ้ามีพฤติกรรมทำซ้ำหรือร้ายแรงจนน่าห่วง ขอให้คุณครูรีบสื่อสารกับพ่อแม่ของเด็กทันที ท่าทีในการสื่อสารของคุณครูก็สำคัญค่ะ ใช้วิธีพูดคุยในทำนองบอกเล่าเรื่องราวและปรึกษา แต่อย่าปกปิดเหตุการณ์ หรือแทรกแซงสถานการณ์ อย่าตำหนิย้ำถึงปมด้อยของเด็กทั้งสองฝ่าย เพราะจะทำให้พ่อแม่ร้อนใจ ให้หาทางออกที่ดีต่อเด็กและพ่อแม่ของเด็กที่ถูกรังแกมากที่สุด

บทบาทของพ่อแม่  

มีท่าทีที่ดี เมื่อคุณครูบอกเล่าถึงพฤติกรรมของลูกเมื่ออยู่โรงเรียน เพราะนั่นแสดงว่าคุณครูดูแลเอาใจใส่ลูกคุณเป็นอย่างดี อย่าติดป้ายเด็กคู่กรณีว่าเป็นเด็กมีปัญหา แต่เขาอาจทำผิดพลาดได้ และมีโอกาสที่จะสำนึกผิดได้ ควรหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน ด้วยการพูดคุย เล่ารายละเอียด เพื่อร่วมกันหาทางออก หากเหตุการณ์รุนแรงมาก และอีกฝั่งไม่ได้มีท่าทีสำนึกผิดใดๆ ต้องให้กฎหมายเข้าช่วยปรับพฤติกรรมเด็ก เพื่อเป็นตัวอย่างว่าอย่าไปแกล้งใครรุนแรงแบบนี้ และอาจย้ายโรงเรียนลูกไปในที่ๆ ดีกว่า เป็นทางออกสุดท้ายค่ะ

การกลั่นแกล้ง-bully-ลูกโดนแกล้ง-ลูกโดนเพื่อนแกล้ง

เพื่อนที่ดีที่สุด คือตัวหนูเอง  

บอกลูกอย่าอยู่ใกล้ๆ เพื่อนที่ชอบแกล้งตอนที่ไม่มีเพื่อนหรือคุณครูอยู่ด้วย เพราะจอมแกล้งเขาอาจจะหมั่นเขี้ยว อยากรังแกเพื่อนคนเดิมซ้ำอีก ไม่ตอบโต้ด้วยการใช้กำลังหรือคิดแก้แค้น เพราะจะยิ่งทำให้เรื่องไปกันใหญ่ หากเจอเหตุการณ์รุนแรงมาก เด็กที่ถูกรังแกต้องได้รับการเยียวยาจิตใจกับจิตแพทย์เด็ก

การแก้ไขปัญหา BULLY ในโรงเรียนแบบระยะยาว

ทั้ง พ่อแม่และคุณครู ล้วนเป็นแรงสำคัญที่จะช่วยสร้างกำลังใจให้เด็ก สอนเด็ก ๆ ให้มีความเชื่อมั่น และกล้าปกป้องตัวเองเมื่อถูกรังแก

ย้ำกับเด็กว่า 'ถึงเพื่อนคนนั้นจะชอบรังแกหนู แต่เพื่อนคนอื่นกับครูรักหนูมากนะ' แต่อย่าลืมว่าต้องไม่ใช่การยุหรือผลักดันให้หนูตอบโต้ หรือหันมาใช้พฤติกรรมไม่น่ารักเหมือนที่เขาถูกเพื่อนทำนะคะ แต่งตั้งให้เด็กที่รังแกผู้อื่น เป็นผู้ช่วยคุณครูดูแลเพื่อนๆ เขาจะได้แก้นิสัยของตัวเองและเพื่อนที่เป็นจอมรังแกได้ ครูต้องดูแลเด็กๆ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว หัวรุนแรง ควรได้รับการเฝ้ามองพฤติกรรมมาก

หากลูกถูกแกล้งไม่ว่าจะรุนแรงหรือไม่รุนแรงมาก พ่อแม่คือพื้นที่ปลอดภัยของลูก หาทางออกของผู้ใหญ่แล้ว อย่าลืมรักษาจิตใจของลูกด้วยนะคะ เพราะการถูกแกล้งส่งผลกระทบต่อจิตใจเด็กในระยะยาวมาก ๆ ค่ะ

รวม 8 เรื่องที่พ่อแม่ต้องระวังเมื่อลูกเปิดเทอม ไปโรงเรียน

4879 

เตรียมพร้อมลูก Back to School แบบวิถีใหม่ สำหรับคุณพ่อคุณอย่างเรา ๆ ต้องมีการเตรียมพร้อมอย่างไร เพื่อให้ลูก ๆ ไปเรียนได้อย่างปลอดภัย และห่างไกลจากโควิด-19 เรามีคำแนะนำดี ๆ มาฝากค่ะ

รวม 8 เรื่องที่พ่อแม่ต้องระวังเมื่อลูกเปิดเทอม 

1.ระวังเชื้อโรค ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือเป็นประจำ สอนลูกให้มีระยะห่างจากเพื่อน ๆ ก็เป็นเรื่องที่ดีค่ะ อธิบายให้ลูกเข้าใจด้วยนะคะ

2.ระวังเปียกฝน ช่วงเปิดภาคเรียนตรงกับช่วงฤดูฝนพอดี อย่างที่รู้กันว่าการเปียกฝนทำให้เจ็บป่วยได้ โดยเฉพาะกับเด็กวัยอนุบาล อายุต่ำกว่า 6 ขวบ เพราะมีภูมิต้านทานน้อยกว่าผู้ใหญ่ จึงเป็นวัยที่ป่วยง่ายเมื่อต้องเจอกับเชื้อโรค อาการป่วยที่พบได้บ่อยคือ โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น ควรเตรียมอุปกรณ์กันฝนให้กับเด็ก ๆ พร้อมสอนวิธีการใช้ เช่น การใส่เสื้อกันฝน รวมถึงระวังอย่าให้เด็กออกมาเล่นน้ำฝนด้วย

3.ระวังไปสาย เมื่อโรงเรียนเปิดพร้อม ๆ กัน ก็ทำการจราจรติดขัดมากพออยู่แล้ว หากฝนตกด้วย ก็มีโอกาสที่จะเจอน้ำท่วมผิวการจราจรทำให้สัญจรได้ลำบากมากขึ้น และยังมีโอกาสจะพบอุบัติเหตุข้างทางด้วย ก็เสี่ยงที่จะไปส่งบุตรหลานที่โรงเรียนสายกว่าเวลาโรงเรียนเข้า และพ่อแม่ผู้ปกครองก็จะไปทำงานสายด้วยเช่นกัน ฉะนั้น ควรเผื่อเวลาในการเดินทางเสียหน่อย ที่สำคัญการไม่ระวังเรื่องเวลา ก็อาจจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กกลายเป็นคนไม่รักษาเวลาได้ด้วย

4.ระวังอาหารการกิน ช่วงหน้าฝน จะมีความชื้นและอุณหภูมิอบอุ่นที่พอเหมาะ เป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ จึงมีโอกาสสูงที่เด็กจะได้กินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค และอาหารที่โรงเรียนก็ใช่ว่าจะสะอาด ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ รวมถึงอาหารบางอย่างที่เด็กมีอาการแพ้ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรสอนให้เด็ก ๆ รู้จักอาหารที่ตนเองแพ้ เพื่อที่จะได้ให้เด็กหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านั้น รวมถึงควรสอนให้เด็ก ๆ รักษาสุขอนามัยของตนเอง ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากทำธุระส่วนตัวในห้องน้ำ ถ้าจะให้ดีควรสอนวิธีเลือกกินอาหารให้เด็กด้วย ไม่ควรกินอาหารที่ดูไม่สะอาด อาหารไม่สุก อาหารที่ขายตามข้างทาง เป็นต้น

5.ระวังโรคติดต่อ ที่โรงเรียน เด็กต้องอยู่รวมกันหลายคน ซึ่งมีเด็กคนไหนที่มีอาการป่วยบ้างก็ไม่อาจรู้ได้ โรคติดต่อ เช่น ไข้หวัด ไข้เลือดออก ตาแดง มือเท้าปาก เหา เป็นต้น อีกทั้งช่วงนี้ COVID-19 ก็ยังไม่สิ้นสุดการระบาด ผู้ปกครองจึงต้องระวังเด็ก ๆ จะติดโรคกลับมาจากโรงเรียน ควรสอนและฝึกให้เด็กสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่โรงเรียนหรือบนรถนักเรียน สอนล้างมือบ่อย ๆ และเตรียมข้าวของเครื่องใช้ให้เด็ก ๆ ให้พร้อม เพื่อที่จะได้ไม่ต้องใช้ของร่วมกับผู้อื่น

6.ระวังคนแปลกหน้า บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินข่าวการลักพาตัวเด็ก โดยเฉพาะบริเวณรอบ ๆ โรงเรียน ซึ่งเมื่อนำตัวเด็กไปได้แล้ว ส่วนใหญ่ก็จะนำเด็กเหล่านี้ไปขายแรงงาน หรือพาไปล่วงละเมิดทางเพศ ฉะนั้น พ่อแม่ผู้ปกครอง และครูต้องช่วยกันสอดส่องบุคคลน่าสงสัยบริเวณโรงเรียนและเส้นทางกลับบ้านของเด็ก ๆ สอนเด็กให้รู้จักขอความช่วยเหลือเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน อย่าไว้ใจคนแปลกหน้า อย่าไปไหนกับคนแปลกหน้า และอย่ารับอาหารจากคนแปลกหน้า

7.ระวังอุบัติเหตุ เด็ก ๆ มักเล่นซนตามวัย อาจจะปีนป่าย แกล้งกัน เอาของเล่นเข้าปาก มุดเข้าไปเล่นในซอกในหลืบ แหย่มือเข้าไปในเครื่องจักรที่หมุน ๆ รวมถึงการข้ามถนนโดยที่ไม่มีผู้ใหญ่ไปด้วย ซึ่งถ้าผู้ใหญ่ประมาทเลินเล่อ ไม่ดูแลเด็กให้ดี ก็ทำให้เด็ก ๆ เกิดอุบัติเหตุ เจ็บตัว พิการ หรือที่ร้ายแรงสุดคือเสียชีวิต ดังนั้นผู้ใหญ่ควรจับตาดูแลเด็กเป็นอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเด็กที่มีแนวโน้มจะเล่นซนกว่าเด็กคนอื่น และพ่อแม่ควรจะสอนลูกด้วยว่าอย่าเล่นหรือทำอะไรที่เสี่ยงอันตราย

8.ระวังลืมเด็กไว้ในรถ เป็นเรื่องที่ต้องระวังมากที่สุด เพราะจากข้อมูลของสำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ที่เคยเก็บสถิติในช่วงปี 2557-2561 รวมระยะเวลา 5 ปี มีเหตุการณ์ที่เด็กถูกลืมไว้ในรถมากถึง 106 เหตุการณ์ ในนี้มีเด็กเสียชีวิต 5 ราย ซึ่งทั้งหมดถูกลืมทิ้งไว้บนรถนานกว่า 6 ชั่วโมง โดยเฉพาะรถที่จอดทิ้งไว้กลางแดด

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เด็กที่ถูกลืมไว้ในรถเสียชีวิตไม่ได้มากจากขาดอากาศหายใจ แต่มาจากภาวะฉุกเฉินจากความร้อน (Heat stroke) รถที่จอดตากแดดอุณหภูมิภายในรถจะสูงมาก อากาศภายในรถแย่ จนเด็กเกิดภาวะเลือดเป็นกรด ช็อก หมดสติ สมองบวม หยุดหายใจ อวัยวะทุกส่วนหยุดทำงาน และเสียชีวิตในที่สุด

ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียกับครอบครัวใดอีก ผู้ใหญ่ต้องรอบคอบในการพาเด็กขึ้นรถ นับจำนวนเด็กที่ขึ้น-ลงรถทุกครั้ง ตรวจตราบนรถว่ามีเด็กเหลืออยู่หรือไม่ทุกครั้งก่อนล็อกประตู อย่าประมาททิ้งเด็กไว้ในรถตามลำพัง และควรสอนให้เด็กรู้จักขอความช่วยเหลือหากติดอยู่ในรถ เช่น กดแตรรถ วิธีปลดล็อกประตู วิธีลดกระจก เป็นต้น

 

  • 1
  • 2