facebook  youtube  line

6 สิ่ง ที่ต้องฝึกลูกอยู่ให้เป็น แล้วจะเอาตัวรอดได้ ไม่คอยแต่พึ่งพาผู้อื่น

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

6 สิ่ง ที่ต้องฝึกลูกอยู่ให้เป็น แล้วจะเอาตัวรอดได้ ไม่คอยแต่พึ่งพาผู้อื่น

การที่ลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ พึ่งพาตัวเองเป็น ก็ต้องอาศัยการเลี้ยงดูเชิงบวกมาตั้งแต่เล็ก ๆ ที่มีพ่อแม่เป็นแบบอย่าง คอยสอน อบรม ให้ความรัก เพื่อลูกเป็นคนน่ารัก รู้จักวางตัว ยิ่งทุกวันนี้สังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีที่มาแรงและมาเร็ว ทำให้ต้องปรับตัวอย่างมาก และสิ่งที่น่ากลัวที่สุดก็คือ ลูกไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ พึ่งพาตัวเองไม่ได้ ต้องคอยพึ่งพาพ่อแม่ เพื่อน ไปจนเติบโตนั่นเอง แบบนี้มาสอนให้ลูกอยู่เป็นกับทั้ง 6 อย่าง ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตกันเลยค่ะ

6 วิธีการเลี้ยงลูกให้อยู่เป็น กับสิ่งรอบตัว

1. ฝึกลูกอยู่กับตัวเองให้เป็น

เมื่อเริ่มเห็นแววว่าลูกชอบทำอะไร พ่อแม่ต้องคอยส่งเสริมไปให้สุด เพื่อเป็นการสอนให้ลูกรู้จักตัวเอง ซึ่งจะนำไปสู่การมีเป้าหมายที่ชัดเจนในชีวิต รู้ว่าตัวเองมีความถนัด ความชอบ และความสามารถในด้านใด เช่น ลูกชอบวาดรูป ก็ส่งเสริมให้เรียนศิลปะเพิ่มเติม ลูกชอบดนตรี ก็ซื้อเครื่องดนตรีให้และส่งเรียนเพิ่มเติมในสิ่งที่ลูกสนใจ เพราะการที่ลูกจะรู้จักตัวเอง ลูกต้องเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ลองผิดลองถูก เพื่อนำไปสู่การรู้จักตัวเอง เป็นรากฐานสำคัญในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับตัวเอง


2. อยู่กับผู้อื่นให้เป็น

พ่อแม่ต้องเข้าสังคมเพื่อฝึกลูกให้อยู่ร่วมกันกับผู้อื่น เช่น ไปเจอญาติผู้ใหญ่ ไปบ้านเพื่อพ่อแม่ หรือ พาลูกไปทำกิจกรรมที่ได้เจอผู้คน เช่น ค่ายสิ่งแวดล้อม ศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็ก แต่ในเด็กบางคนอาจไม่ชอบเข้าสังคม แต่ก็ต้องพาไป เพื่อให้รู้จักการวางตัวกับผู้ใหญ่ เพื่อน หรือคนที่อายุน้อยกว่า เป็นต้น อย่างน้อยลูกก็รู้จักการปรับตัว รู้จักวางตัว กำหนดใจให้เหมาะสมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ให้เกียรติผู้อื่น มีมารยาท อ่อนน้อมถ่อมตนเมื่อเจอผู้ใหญ่

3. อยู่กับธรรมชาติให้เป็น

พ่อแม่ควรพูดคุยกับลูกเรื่องธรรมชาติและมนุษย์ ให้คำแนะนำว่าลูกควรจะอยู่อย่างไรกับธรรมชาติ ยกตัวอย่าง พาไปผจญภัยป่าเขา น้ำตก ทะเล สอนลูกเรื่องการทิ้งขยะให้เป็นที่ การไม่ทำลายธรรมชาติ การทำเพื่อส่วนรวมเรื่องลดสภาวะโลกร้อน รวมถึงการใช้พลังงานธรรมชาติทุกชนิดอย่างรู้คุณค่าและประหยัด เพื่อให้ลูกมีจิตใจอ่อนโยน ทำเพื่อส่วนรวม และไม่เห็นแก่ตัวเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ควรเริ่มปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็กเล็กกันได้เลย



4. อยู่ที่ไหนก็ได้

เคยไหม เด็กไม่มีหมอนใบนี้นอนไม่ได้ ไม่มีจานใบนี้ไม่กินข้าว ไม่ไปทัศนศึกษาถ้าไม่มีพ่อแม่ เป็นต้น กรณีแบบนี้เพราะลูกไม่ถูกฝึกให้ยืดหยุ่น ไม่สามารถอยู่ที่ไหนได้ถ้าไม่เป็นไปตามที่ใจอยากได้ ในยุคนี้มีความจำเป็นมาก ที่จะฝึกให้ลูกอยู่ที่ไหนบนโลกนี้ก็ได้โดยไม่มีพ่อแม่ ไม่มีวัตถุยึดติด ควรฝึกทักษะให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง ให้ลูกรู้จักความลำบาก ให้ช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด มั่นใจในตัวเอง ฝึกให้มีทักษะเรื่องการอยู่รอด ซึ่งเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญที่จะทำให้เขาเติบโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพด้วย เช่น ฝึกให้กินข้าวเอง ให้เลือกเสื้อผ้าเอง ให้นอนเอง ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ เป็นต้น

5. อยู่กับเทคโนโลยีให้เป็น

โลกยุคดิจิทัลเต็มไปด้วยเทคโนโลยี เด็กที่เกิดมาในยุคนี้ล้วนแล้วแต่เป็นเด็ก Digital Native (พลเมืองยุคดิจิทัล) การฝึกให้ลูกรู้เท่าสื่อ ใช้สื่อดิจิทัลให้เป็น ไม่ใช่เป็นทาสของเทคโนโลยี เพราะเด็กยุคนี้จะพึ่งพาเทคโนโลยีแทบจะตลอดเวลา และมีแต่ความสะดวกสบายล้อมรอบตัว จึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ควรชี้ให้ลูกเห็นถึงข้อดีข้อเสีย และมีกติกาเรื่องเทคโนโลยีที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยของลูก เช่น เล่นเกมได้แต่พ่อแม่ต้องได้เล่นด้วย จำกัดเล่นวันละ 3 ชั่วโมง และพูดคุยกันหลังเล่นมือถือว่าวันนี้ใช้กูเกิ้ลทำอะไรบ้าง เป็นต้น

6. อยู่แบบมีคุณค่า

ฝึกให้ลูกรักและเคารพในตัวเอง ด้วยการสอนให้ลูกรู้จักตัวเอง มีความถนัดอะไร ลูกสามารถทำอะไรได้บ้าง ที่เก่งและทำได้ดี เพื่อให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเอง เช่น พาลูกไปประกวดการวาดภาพ หลังจากเรียนและฝึกมานาน พาลูกไปแสดงดนตรีหลังจากฝึกมานาน หรือพาไปทำจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่นตามที่วัยของลูกทำได้ เมื่อลูกรู้ว่าตัวเองเก่งอะไร ทำอะไรได้บ้าง ลูกมีความสุขกับชีวิตของตัวเองให้ได้ ไม่ต้องรอให้ใครมาเติมเต็ม และลูกจะอยู่แบบเห็นคุณค่าของตัวเอง และเห็นคุณค่าของผู้อื่นด้วย

6 ข้อนี้ ทำไม่อยากเลยใช่ไหมคะ เพียงเอาใจใส่ ให้ความรัก และคอยอบรมสั่งสอนลูก เพียงเท่านี้ก็ช่วยส่งเสริมลูกให้รู้จักตัวเอง และอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างมีความสุขด้วยตัวเองแล้ว


 

9 วิธีสร้างทักษะชีวิตให้ลูก

ทักษะชีวิต, เลี้ยงลูก, การเลี้ยงลูก, ทักษะการเรียนรู้, ทักษะการเอาตัวรอด, พ่อแม่มีอยู่จริง, พ่อแม่มือใหม่

9 วิธีสร้างทักษะชีวิตให้ลูก

เมื่อทุกคนต่าง อยู่กับตัวเองมากขึ้น ทำให้การพึ่งพาและดูแลกันน้อยลง ครอบครัวไทยในสมัยนี้เป็นครอบครัวที่อยู่กันแบบกระจัดกระจาย พ่อ แม่ ลูก ต่างหากินหาใช้กันเอง ลูกต้องวางอนาคตของตัวเองโดยไม่ต้องการคำชี้แนะจากครอบครัวอีกต่อไป

บางครั้งเด็ก ๆ จึงเลือกเดินทางผิดไปเพราะไม่มีใครชี้ ทางให้ อย่างไรก็ตาม อยากให้พ่อแม่ได้ตระหนักว่า หน้าที่ที่สำคัญนอกจากการเลี้ยงดูลูกก็คือการสร้างพื้นฐานเพื่อนำไปสู่อนาคต ที่สดใสมั่นคงให้ ผู้เขียนจึงขอแนะนำวิธีที่คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกลูกให้พร้อมสำหรับการเผชิญ ชีวิตในอนาคตได้อย่างดี 

9 ทักษะชีวิต สอนลูกไว้ติดตัว ให้พร้อมเผชิญชีวิตได้ในอนาคต

1.สอนมารยาทการเข้าสังคม

การเคารพผู้ใหญ่ การกล่าวคำทักทาย คำขอโทษ คำขอบคุณ การพูดมีหางเสียง สอนลูกชายให้เป็นสุภาพบุรุษและลูกสาวให้เป็นสุภาพสตรี สิ่งนี้ต้องฝึกให้ทำจนติดเป็นนิสัย อย่าเมินเฉยหากลูกไม่ปฏิบัติ เพราะจะทำให้เขาคิดว่าไม่สำคัญ แต่จริงๆแล้วมันสำคัญมากในการที่ลูกอยู่ในสังคมและจะเป็นที่รักใคร่เอ็นดู ของผู้อื่น และง่ายต่อการเข้าสังคมอีกด้วย

 

2.สอนลูกให้ทำงาน

การให้ช่วยเหลืองานบ้านเป็นการสร้างนิสัยให้มีความรับผิดชอบ ให้เห็นคุณค่าของการทำงาน ให้รู้ว่าการที่จะทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้สำเร็จต้องลงมือทำ การอยู่เฉย ๆ อย่างไร้ประโยชน์จะทำให้ตนเองไม่มีคุณค่า และไม่มีความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งใด ๆ ได้ เพราะเคยชินกับการที่ไม่ต้องทำหรือมีคนทำให้แทน จึงอาจทำให้ชีวิตจะต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่เรื่อยไป

 

3.สอนลูกให้เลือกทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี

การสอนให้ลูกฉลาดเลือกเป็นสิ่งจำเป็น เพราะชีวิตจะดีหรือไม่ดีอยู่ที่การเลือกของเราทั้งนั้น ลองปล่อยให้ลูกได้เลือกทำในสิ่งที่เขาต้องการ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือไม่ดี แล้วให้เวลาดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เขาเลือก เมื่อผลลัพธ์นั้นแย่สำหรับตัวเขา เขาจะรู้เองว่าเขาจะต้องไม่เลือกแบบนี้อีก เขาจะได้เรียนรู้จากบทเรียนที่ผิดพลาดนั้นและไม่ทำอีก และจะได้รู้ว่าทางที่ดีที่ควรเลือกทำแล้วจะทำให้ชีวิตดีนั้นคือทางใด

 

4.การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ

ให้ลูกเห็นความสำคัญของการเรียน ยกตัวอย่างคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ส่วนใหญ่มีเบื้องหลังจากการเรียน มีการศึกษาที่ดี และมีความใฝ่รู้ในสิ่งที่ทำ อย่าให้ลูกติดเทคโนโลยีมากเกินไป ให้รู้จักรับผิดชอบการเรียน การทำการบ้าน การขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติม จัดตารางเวลาสำหรับการเรียนให้ลูกอย่างเหมาะสม ไม่มากไม่น้อยเกินไป

 

5.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

อย่าอ้างความไม่มีเวลาแล้วเลี้ยงให้ลูกกินแต่อาหารขยะหรืออาหารที่ไม่มีคุณค่า เพราะร่างกายต้องการอาหารที่ช่วยบำรุงสมองและสร้างร่างกายให้เจริญเติบโต แข็งแรง ควรฝึกให้ลูกรู้จักเลือกในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ5หมู่ สอนให้กินอย่างพอดีในแต่ละมื้อ ไม่ตักหรือซื้อมาจนกินไม่หมดและสอนให้รับประทานทุกอย่างให้หมดอย่ากินทิ้ง ขว้าง สอนวิธีการถนอมอาหารและการปรุงอาหาร เพื่อให้รู้จักคุณค่าของอาหารแต่ละจาน

 

6.สอนให้รู้จักการใช้เงิน

ควรสอนเรื่องการใช้จ่ายเงินอย่างพอเพียงกับรายได้ที่ได้รับ และการเก็บออมเพื่อสะสมทุนไว้สำหรับการใช้จ่ายในอนาคต ชี้แนะให้เห็นว่าการใช้จ่ายอย่างเหมาะสมจะไม่ทำให้เกิดปัญหาหนี้สิน ซึ่งอาจทำให้เกิดความทุกข์ในชีวิต สอนให้ลูกรู้จักคำว่าพอเพียง คือใช้เท่าที่มี ถ้าไม่มีก็ต้องทำงาน ต้องขยัน เพื่อจะได้มีใช้ และอย่าใช้ในสิ่งที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นในชีวิตและไม่ต้องอยากมีอยากได้ เหมือนอย่างใครๆเขา ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์อะไรกับชีวิตของเรา

 

7.สอนลูกให้รักษาใจตนเอง

ให้ดำเนินชีวิตด้วยใจที่ชื่นบาน ใจที่ถ่อม ใจที่เมตตา ใจที่ไม่ร้อนรน ให้รักษาใจเพราะใจคือชีวิต เมื่อเรามีใจที่ดีชีวิตก็จะดี ให้รู้จักการผ่อนคลาย สงบ ทบทวนถึงสิ่งที่ทำในแต่ละวันและเริ่มต้นใหม่ด้วยใจที่ดีในวันพรุ่งนี้ เพื่อทุกๆวันจะเป็นวันที่ดีสำหรับเรา

 

8.สอนลูกให้รักตัวเอง

ดูแลสุขภาพตัวเองมีความสุขกับตัวเอง ชื่นชมและให้กำลังใจตัวเอง เพื่อว่าในวันที่ลูกต้องเผชิญปัญหา หรือประสบกับความยากลำบาก ลูกจะพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ และจะอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างมีความสุข

 

9.สอนลูกให้รักษ์โลก

ธรรมชาติถูกทำลายไปอย่างมากมาย แต่ทุกชีวิตต่างต้องพึ่งพาธรรมชาติ ดังนั้น เราควรสอนลูกให้รู้จักการรักธรรมชาติ ช่วยกันลดมลพิษ ทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง สอนลูกเรื่องการแยกขยะชนิดต่างๆ ช่วยกันลดภาวะโลกร้อน และเมื่อเห็นเศษขยะควรเก็บและนำไปทิ้งในที่จัดไว้ สอนให้ลูกรู้ว่าโลกนี้จะอยู่ไม่ได้หากเราไม่ช่วยกันดูแล

 

คำสอนที่เราสอนลูกทุกอย่างนี้ จะทำให้ลูกสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงได้อย่าง มั่นคงและมีความสุข เราไม่สามารถอยู่กับลูกได้ตลอดชีวิตของเขา แต่คำสอนที่ดีและการใช้เวลาร่วมกันอย่างคุ้มค่าในทุกๆวินาที จะทำให้ลูกซึมซับถึงความรักและความอบอุ่นเอาไว้เพื่อจะช่วยให้ลูกมีกำลังใจ ที่จะสู้และดำเนินชีวิตของเขาต่อไปในอนาคตได้อย่างดีแน่นอน

 

ที่มา : สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต

 

 

บทความทักษะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

1.สอนลูกรักตัวกลัวตาย สกิลการข้ามถนนอย่างไรให้ปลอดภัย 

2.สอนลูกรักตัวกลัวตาย 13 สกิลป้องกันภัยจากคนแปลกหน้า 

รักตัวกลัวตาย สกิลนี้ต้องสอนลูก

เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอดในสังคม-ทักษะสอนลูกเอาตัวรอด-ทักษะเอาตัวรอด-สอนลูกให้เอาตัวรอด-ทักษะปลอดภัยเมื่ออยู่ท้องถนน-ทักษะปลอดภัยเมื่ออยู่โรงเรียน-ทักษะปลอดภัยจากคนแปลกหน้า-สอนลูกเอาตัวรอดจากอุบัติเหตุ-สอนลูกเอาตัวรอดจากอันตราย-ทักษะสอนลูกเอาตัวรอด-สอนลูกรักตัวกลัวตาย

­­รักตัวกลัวตาย สกิลนี้ต้องสอนลูก

เดี๋ยวนี้อันตรายมีอยู่รอบตัว ทั้งจากความประมาทเลินเล่อของตัวเองและภัยจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวต่างๆ ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดของลูก พ่อแม่ต้องสอนทักษะเหล่านี้ให้กับเขาค่ะ 

ทักษะปลอดภัยเมื่ออยู่บนท้องถนน

1. มองซ้าย-ขวาก่อนข้ามถนน

2. ข้ามถนนตรงทางม้าลาย สะพานลอย หรือที่มีสัญญาณจราจร

3. จูงมือผู้ใหญ่ทุกครั้งที่เดินข้ามถนน

4. ไม่เดินผ่านหน้าหรือหลังรถในระยะประชิด

5. ขึ้นรถแล้วต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง

6. สวมหมวกกันน็อคให้ลูกทุกครั้งที่ขับขี่รถจักรยานยนต์

7. ไม่เดินบนฝาท่อ

8. เวลาเดินบนฟุตปาธลูกควรอยู่ด้านในสุด และจูงมือผู้ใหญ่ตลอดเวลา

9. เวลารถจอดไม่สนิทอย่าเพิ่งลง ให้ผู้ใหญ่ลงก่อนเพื่อเช็กความปลอดภัย

10. เด็กโต อย่าก้มหน้ากดมือถือตอนเดินคนเดียว

11. เด็กโต ให้คอยหันหลังเสมอเมื่อเดินในที่เปลี่ยวลำพัง

12. คอยสังเกตข้างทางและคนที่เดินสวนในที่เปลี่ยว

13. ไม่ข้ามถนนตรงทางโค้ง

ทักษะปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน

1. ล็อคประตูห้องนอน ถึงแม้จะไม่ได้อยู่บ้านคนเดียวก็ตาม

2. (สำหรับพ่อแม่ )ไม่ปล่อยลูกเล็กอยู่บ้านตามลำพัง แม้จะแค่ออกไปซื้อของปากซอยเพียง 5 นาทีก็ตาม

3. สอนลูกให้ระวังคำถามจากคนไม่รู้จัก เช่น อยู่บ้านคนเดียวหรือหนูอยู่กับใคร พ่อแม่จะกลับมากี่โมง

4. เคาะรองเท้าก่อนสวมทุกครั้ง

5. ยกฝารองชักโครกขึ้นทุกครั้งก่อนทำธุระ เพื่อเช็กสัตว์มีพิษแฝงตัวอยู่ในห้องน้ำ

6. ปิดฝาชักโครกทุกครั้งก่อนกดน้ำชำระ เพื่อสุขอนามัยที่ดี

7. เวลากินอาหารที่มีไม้เสียบควรกินจากด้านข้าง ไม่ควรจิ้มไม้เข้าปากตรงๆ

8. ปิดวาล์วแก๊สทุกครั้งหลังทำกับข้าวเสร็จ

9. ไม่วางหม้อหรือภาชนะใส่ของร้อนในที่หมิ่นเหม่ ตกหล่นง่าย 

10. ใช้มีดเสร็จแล้วควรเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย 

ทักษะปลอดภัยเมื่ออยู่ในโรงเรียน

เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอดในสังคม-ทักษะสอนลูกเอาตัวรอด-ทักษะเอาตัวรอด-สอนลูกให้เอาตัวรอด-ทักษะปลอดภัยเมื่ออยู่ท้องถนน-ทักษะปลอดภัยเมื่ออยู่โรงเรียน-ทักษะปลอดภัยจากคนแปลกหน้า-สอนลูกเอาตัวรอดจากอุบัติเหตุ-สอนลูกเอาตัวรอดจากอันตราย-ทักษะสอนลูกเอาตัวรอด-สอนลูกรักตัวกลัวตาย

1. ไม่ยืนอยู่ใกล้หรือเล่นปีนป่ายประตูโรงเรียน 

2. ลูกอนุบาล ถ้าจะเข้าห้องน้ำให้บอกครูทุกครั้ง

3. ลูกโต ถ้าจะเข้าห้องน้ำควรชวนเพื่อนไปด้วยทุกครั้ง

4. อย่าวิ่งขึ้นลงบันได ให้จับราวบันไดทุกครั้งที่ขึ้นลง

5. ไม่ปีนป่ายระเบียง หรือโต๊ะเก้าอี้

6. ไม่เล่นเครื่องเล่นแบบผาดโผน อันตราย

7. ไม่แอบเข้าไปเล่นในจุดที่ครูห้าม เช่น ห้องครัว สระว่ายน้ำ ห้องเก็บของ

8. บอกลูกให้อยู่ห่างสระว่ายน้ำในกรณีที่ไม่มีครูหรือผู้ใหญ่อยู่ด้วย

9. ไม่อยู่ตามลำพัง หรืออยู่ในที่ลับตาครู


เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอดในสังคม-ทักษะสอนลูกเอาตัวรอด-ทักษะเอาตัวรอด-สอนลูกให้เอาตัวรอด-ทักษะปลอดภัยเมื่ออยู่ท้องถนน-ทักษะปลอดภัยเมื่ออยู่โรงเรียน-ทักษะปลอดภัยจากคนแปลกหน้า-สอนลูกเอาตัวรอดจากอุบัติเหตุ-สอนลูกเอาตัวรอดจากอันตราย-ทักษะสอนลูกเอาตัวรอด-สอนลูกรักตัวกลัวตาย
ทักษะปลอดภัยจากคนแปลกหน้า

1. ไม่รับของจากคนแปลกหน้า

2. ไม่อยู่กับคนแปลกหน้าตามลำพัง

3. ถ้ามีคนมาถามทางให้ถอยหลัง 1-2 ก้าว​ เพื่อป้องกันการประชิดตัวเกินไป

4. ไม่อยู่ตามลำพังกับผู้ใหญ่ไม่ว่าลูกจะรู้จักหรือไม่ก็ตาม

5. สอนลูกใช้รหัสลับเช่น 1 แปลว่าปลอดภัยหรือ 2 ต้องการความช่วยเหลือ

ทักษะปลอดภัยในที่สาธารณะ

1. อย่ายืนคาระหว่างประตูลิฟต์

2. ไม่เดินบนบันไดเลื่อน และควรจับราวทุกครั้ง

3. ผูกเชือกรองเท้าให้แน่น เพื่อป้องกันการสะดุดและปลายเชือกติดซอกหลืบต่างๆ

4. เสียบธนบัตรใส่ไว้ในกระเป๋าลูก เผื่อฉุกเฉิน

5. เขียนเบอร์โทรพ่อแม่ติดไว้ในกระเป๋าเสื้อผ้าและกระเป๋าส่วนตัวลูก

6. อย่าก้มหน้าก้มตากดมือถือตอนเดินคนเดียว

7. ไม่เดินกินลูกชิ้นปิ้งหรืออาหารที่เสียบไม้

8. สอนลูกให้รู้จัก รปภ. พนักงานห้าง แม่บ้าน ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ที่ลูกสามารถพึ่งพาได้เมื่อหลงทาง

9. ชี้จุดแลนด์มาร์กให้ลูกเห็น หากหลงทางให้มาเจอกันบริเวณนี้

10. นาฬิกาโทรศัพท์ติดตามตัวใช้ได้ผลเสมอเมื่อออกนอกบ้าน  

11. สอนลูกให้รู้จักป้ายสัญลักษณ์ เช่น ป้ายทางหนีไฟ ป้ายเขตห้ามเข้า ป้ายวัตถุไวไฟ สัญลักษณ์กะโหลกไขว้ ป้ายระวังลื่น ฯลฯ

 

นอกจากทักษะเหล่านี้แล้ว เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภาวะอันตรายต่างๆ ลูกต้องมีสติด้วย เพราะฉะนั้นนอกจากจะบอกหรือสอนลูกแล้ว การย้ำคิดย้ำทำ หรือจำลองสถานการณ์กับลูกก็ช่วยให้ลูกรับมือกับปัญหาเหล่านั้นได้ หากต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์จริง 

รักลูก The Expert Talk EP.120 : สมองลูกไว พร้อมสำหรับอนาคต

 

รักลูก The Expert Talk Ep.120 : สมองลูกไว พร้อมสำหรับอนาคต

 

AI แย่งงานคน มหาวิทยาลัยยกเลิกการสอนวิชา… เพราะโลกเปลี่ยนทุกวัน เราไม่สามารถคาดเดาถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ การเตรียมลูกให้พร้อมสำหรับอนาคตจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ

ฟัง The Expert อาจารย์ พญ.ลลิต ลีลาทิพย์กุล กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกวิธีการเตรียมลูกให้พร้อมสำหรับอนาคตในทุกด้าน

พ่อแม่ต้องทำอย่างไรเพื่อให้ลูกสมองไวพร้อมได้ตั้งแต่วันนี้

 

รายการรักลูก The Expert Talk อาจารย์ พญ.ลลิต ลีลาทิพย์กุล

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke  

สอนลูกรักตัวกลัวตาย 11 ทักษะปลอดภัยในที่สาธารณะ

ทักษะชีวิต, ทักษะการเอาตัวรอด , ทักษะ, การเลี้ยงลูก, สอนลูก, สอนลูกเรื่องความปลอดภัย, สอนลูกเรื่องการใช้ชีวิต, การแก้ไขปัญหา, แก้ไขปัญหา, สอนลูกรู้จักการแก้ไขปัญหา

สอนลูกรักตัวกลัวตาย 11 ทักษะปลอดภัยในที่สาธารณะ

Life skills เป็นวิชาสำคัญมากที่สุด ที่คนเป็นพ่อแม่ต้องสอนลูกค่ะ ยุคนี้เด็กคนไหนที่มีทักษะชีวิตเมื่อเจอปัญหาเหตุการณ์ร้าย ลูกจะสามารถคิดแก้ปัญหา และเอาตัวรอดได้ 

ทักษะปลอดภัยในที่สาธารณะ

  1. อย่ายืนคาระหว่างประตูลิฟต์

  2. ไม่เดินบนบันไดเลื่อน และควรจับราวทุกครั้ง

  3. ผูกเชือกรองเท้าให้แน่น เพื่อป้องกันการสะดุดและปลายเชือกติดซอกหลืบต่างๆ

  4. เสียบธนบัตรใส่ไว้ในกระเป๋าลูก เผื่อฉุกเฉิน

  5. เขียนเบอร์โทรพ่อแม่ติดไว้ในกระเป๋าเสื้อผ้าและกระเป๋าส่วนตัวลูก

  6. อย่าก้มหน้าก้มตากดมือถือตอนเดินคนเดียว

  7. ไม่เดินกินลูกชิ้นปิ้งหรืออาหารที่เสียบไม้

  8. สอนลูกให้รู้จัก รปภ. พนักงานห้าง แม่บ้าน ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ที่ลูกสามารถพึ่งพาได้เมื่อหลงทาง

  9. ชี้จุดแลนด์มาร์กให้ลูกเห็น หากหลงทางให้มาเจอกันบริเวณนี้

  10. นาฬิกาโทรศัพท์ติดตามตัวใช้ได้ผลเสมอเมื่อออกนอกบ้าน

  11. สอนลูกให้รู้จักป้ายสัญลักษณ์ เช่น ป้ายทางหนีไฟ ป้ายเขตห้ามเข้า ป้ายวัตถุไวไฟ สัญลักษณ์กะโหลกไขว้ ป้ายระวังลื่น ฯลฯ

นอกจากทักษะเหล่านี้แล้ว เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภาวะอันตรายต่างๆ ลูกต้องมีสติด้วย เพราะฉะนั้นนอกจากจะบอกหรือสอนลูกแล้ว การย้ำคิดย้ำทำ หรือจำลองสถานการณ์กับลูกก็ช่วยให้ลูกรับมือกับปัญหาเหล่านั้นได้ หากต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์จริง

 

บทความทักษะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

1.สอนลูกรักตัวกลัวตาย สกิลการข้ามถนนอย่างไรให้ปลอดภัย 

2.สอนลูกรักตัวกลัวตาย 13 สกิลป้องกันภัยจากคนแปลกหน้า 

 

สอนลูกรักตัวกลัวตาย 13 สกิลป้องกันภัยจากคนแปลกหน้า

5318

สอนลูกรักตัวกลัวตาย 13 สกิลป้องกันภัยจากคนแปลกหน้า

ข่าวเด็กโดนทำร้ายจากคนแปลกหน้ามีให้เห็นอยู่บ่อยๆ เด็กบางคนโชคดีสามารถเอาตัวรอดได้ แต่หลายคนก็ไม่มีโอกาสได้กลับมาเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่แล้ว ดังนั้นก่อนจะเกิดเหตุไม่คาดฝันกับลูก พ่อแม่ควรสอนทักษะเอาตัวรอดจากคนแปลกหน้าให้ลูกค่ะ

 

ทักษะปลอดภัยจากคนแปลกหน้า

1. ไม่รับของจากคนแปลกหน้า

2. ไม่อยู่กับคนแปลกหน้าตามลำพัง

3. ถ้ามีคนมาถามทางให้ถอยหลัง 1-2 ก้าว เพื่อป้องกันการประชิดตัวเกินไป

4. ไม่อยู่ตามลำพังกับผู้ใหญ่ไม่ว่าลูกจะรู้จักหรือไม่ก็ตาม

5. สอนลูกใช้รหัสลับเช่น 1 แปลว่าปลอดภัยหรือ 2 ต้องการความช่วยเหลือ

6. ถ้ากลับถึงบ้าน แล้วพ่อแม่ยังไม่กลับ ให้ขอเข้าไปอยู่กับเพื่อนบ้านที่ไว้ใจได้ก่อน

7. เวลารอพ่อแม่มารับที่โรงเรียน อย่าอยู่คนเดียว ให้เล่นกับเพื่อน หรืออยู่กับครู

8. ฝึกให้ลูกเป็นคนช่างสังเกต อาจให้ลูกบรรยายรายละเอียดของคนที่พบเจอบ่อยๆ เช่น เพื่อนคนนี้มีผมเป็นอย่างไร ผิวสีอะไร อ้วน ผอม สูง เตี้ย ลักษณะร่างกายเป็นอย่างไร เพื่อเป็นพื้นฐานการจดจำรายละเอียดของคนแปลกหน้า

9. ไม่เขียนชื่อลูกติดสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว เพราะคนร้ายจะสบโอกาสจดจำชื่อลูก และเข้ามาตีสนิทได้

10. หากเล่นอยู่ในสนามเด็กเล่น หรือสวนสนุก ควรอยู่รวมตัวกับเด็กคนอื่นๆ ไม่เล่นคนเดียว

11. ฝึกให้ลูกบอกหรือขออนุญาตพ่อแม่ทุกครั้งก่อนจะไปเล่นบ้านคนอื่น ที่สำคัญพ่อแม่ต้องรู้จัก หรือให้พ่อแม่ไปรับไปส่ง

12. จำลองสถานการณ์ให้ลูกได้ฝึกไหวพริบเพื่อเอาตัวรอดจากคนแปลกหน้า

13. เล่าข่าวเกี่ยวกับการลักพาตัวเด็ก ทำร้ายเด็ก ให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกรู้สถานการณ์ และระมัดระวังตนเอง และควรถามลูกทุกครั้งว่าหากเกิดขึ้นกับลูกเขาจะรับมืออย่างไร เพื่อฝึกทักษะการเอาตัวรอด

 

 

สอนลูกรักตัวกลัวตาย สกิลการข้ามถนนอย่างไรให้ปลอดภัย

เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอดในสังคม, ทักษะสอนลูกเอาตัวรอด, ทักษะเอาตัวรอด, สอนลูกให้เอาตัวรอด, ทักษะปลอดภัยเมื่ออยู่ท้องถนน, ทักษะปลอดภัยเมื่ออยู่โรงเรียน, ทักษะปลอดภัยจากคนแปลกหน้า, สอนลูกเอาตัวรอดจากอุบัติเหตุ, สอนลูกเอาตัวรอดจากอันตราย, ทักษะสอนลูกเอาตัวรอด, สอนลูกรักตัวกลัวตาย, ข้ามถนน, สอนลูกข้ามถนน

สอนลูกรักตัวกลัวตาย สกิลการข้ามถนนอย่างไรให้ปลอดภัย

อันตรายบนท้องถนนมีอยู่รอบตัว เพื่อความอยู่รอดของลูก พ่อแม่ต้องสอนทักษะข้ามถนนให้กับเขาตั้งแต่เล็ก ๆ เพราะการข้ามถนนเป็นสกิลสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตของพวกเขาในระยะยาวค่ะ

ทักษะปลอดภัยเมื่ออยู่บนท้องถนน

1. มองซ้าย-ขวาก่อนข้ามถนน และควรข้ามถนนเมื่อรถจอดสนิทแล้ว

2. ข้ามถนนตรงทางม้าลาย สะพานลอย หรือที่มีสัญญาณจราจร

3. เมื่อต้องข้ามถนนที่มีหลายเลน หากยังไม่ถึงอีกฝั่งแล้วมีรถจอดอยู่ ควรหยุดชะโงกมองซ้ายขวาทีละเลน ป้องกันรถที่ขับมาเร็วชน

4. จูงมือผู้ใหญ่ทุกครั้งที่เดินข้ามถนน

5. ไม่เดินผ่านหน้าหรือหลังรถในระยะประชิด

6. ไม่เดินบนฝาท่อ

7. ไม่ข้ามถนนตรงทางโค้งหรือขณะอยู่บนสะพาน

8. เวลาเดินบนฟุตปาธลูกควรอยู่ด้านในสุด และจูงมือผู้ใหญ่ตลอดเวลา

9. คอยสังเกตข้างทางและคนที่เดินสวนในที่เปลี่ยว

10. ไม่ควรพูดคุยหรือก้มหน้ากดมือถือตอนเดินข้ามถนน

11. เด็กโต ให้คอยหันหลังเสมอเมื่อเดินในที่เปลี่ยวลำพัง

12. ไม่หยุดหรือยืนริมถนนมากเกินไป เพราะอาจถูกรถเฉี่ยวชนได้

เรื่องทักษะการข้ามถนน เป็นเรื่องใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องสอนลูกตั้งแต่เนิ่น ๆ ค่ะ เพื่อความอยู่รอดในสังคมและความปลอดภัยต่อชีวิตของลูกเรานะคะ

 

เลี้ยงลูกแบบเอาใจใส่ ปูทางคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น เอาตัวรอด และมีความสุข

 เอาใจใส่ลูก, วิธีเลี้ยงลูกที่ดีที่สุด, วิธีเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กดี คนดี, พ่อแม่เอาใจใส่ลูก, ครอบครัวอบอุ่น, เลี้ยงลูกให้มีความสุข, แนวทางการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง, เลี้ยงลูกยังไงให้มีความสุข, ยุค สมัยนี้ ต้องเลี้ยงลูกยังไง, functional Family, dysfunctional family, ครอบครัวบกพร่องหน้าที่

เลี้ยงลูกแบบเอาใจใส่ ปูทางคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น เอาตัวรอด และมีความสุข

เป็นสไตล์การเลี้ยงดูที่สมดุลที่สุด ระหว่างความเข้มงวดกับความยืดหยุ่น พ่อแม่ที่ใช้สไตล์นี้จะ มีระเบียบวินัย แต่ก็เปิดใจรับฟังลูก และให้เหตุผลในการสอนเสมอ ส่งผลให้ลูกเติบโตอย่างมั่นใจ มีความรับผิดชอบ และสามารถพัฒนาตัวเองได้ดี

ลักษณะการเลี้ยงแบบเอาใจใส่

  1. มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนและมีเหตุผล
    พ่อแม่กำหนดกฎระเบียบที่เหมาะสม และอธิบายเหตุผลให้ลูกเข้าใจ

  2. ส่งเสริมความเป็นอิสระ แต่ยังคงมีขอบเขต
    เปิดโอกาสให้ลูกได้คิดและตัดสินใจเองภายในกรอบที่เหมาะสม

  3. ใช้การสื่อสารที่ดี
    พ่อแม่รับฟังความคิดเห็นของลูก ไม่ใช่แค่สั่งให้ทำตาม

  4. ให้ความรักและการสนับสนุน
    พ่อแม่แสดงความรักและให้กำลังใจลูกเสมอ

  5. สอนด้วยเหตุผลมากกว่าการลงโทษรุนแรง
    หากลูกทำผิด จะมีการอธิบายและช่วยให้ลูกเรียนรู้จากความผิดพลาด
Mange mænd oplever udfordringer med erektil dysfunktion, og behovet for en effektiv behandling har aldrig været større. I takt med at flere søger diskrete og hurtige løsninger, er der opstået en stigende interesse for generiske alternativer til de klassiske potensmidler. Cenforce er en af de mest populære generiske versioner af Viagra, og det anvendes af mænd over hele verden, der ønsker en pålidelig løsning til at forbedre deres seksuelle præstation. Fordelen ved at vælge et generisk produkt er, at det indeholder den samme aktive ingrediens som originalen, men ofte kan købes til en lavere pris. For dem, der søger en hurtig og sikker løsning, er det muligt at køb Cenforce i Danmark på apoteket, hvilket giver mulighed for at få adgang til medicinen uden lange ventetider og unødige besværligheder. Mange vælger at handle online for at sikre sig en hurtig og diskret levering direkte til døren, hvilket gør processen langt mere bekvem end traditionelle apoteksbesøg.

 

ข้อดีของการเลี้ยงลูกแบบเอาใจใส่

⭐ มีความมั่นใจในตัวเอง เพราะได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่

⭐ มีวินัยและความรับผิดชอบ เพราะพ่อแม่สอนให้รู้จักหน้าที่และผลของการกระทำ

⭐ มีทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ เพราะพ่อแม่เปิดโอกาสให้ลูกคิดและเลือกเอง

⭐ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เพราะเติบโตมาในสิ่งแวดล้อมที่เปิดกว้างและอบอุ่น

⭐ ประสบความสำเร็จในชีวิต งานวิจัยพบว่าลูกที่ถูกเลี้ยงดูแบบนี้มักมีผลการเรียนดีและมีสุขภาพจิตที่แข็งแรง

 

วิธีเลี้ยงลูกแบบเอาใจใส่

  1. สร้างกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน แต่ต้องสมเหตุสมผลและอธิบายให้ลูกเข้าใจ

  2. เปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็น และสอนให้คิดอย่างมีเหตุผล

  3. ใช้การพูดคุยและให้กำลังใจแทนการลงโทษรุนแรง

  4. ให้ความรักและสนับสนุนลูกเสมอ ไม่ใช่แค่ในเรื่องการเรียน แต่รวมถึงด้านอารมณ์ด้วย 

  5. เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น เพราะเด็กเรียนรู้จากการกระทำของพ่อแม่มากกว่าคำพูด

Authoritative Parenting = ความรัก + ระเบียบวินัย + การสื่อสารที่ดี พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบนี้จะช่วยให้ลูกเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และสามารถดูแลตัวเองได้ในอนาคต

 

Ett av de mest underskattade problemen inom manlig sexualitet är för tidig utlösning, vilket kan påverka både självförtroendet och relationen med partnern. Många tror att detta är något som inte kan behandlas, men det finns effektiva läkemedel som hjälper till att förlänga samlagets varaktighet och förbättra kontrollen. Ett av de bästa alternativen på marknaden är att köpa Priligy online, ett läkemedel som är speciellt utvecklat för att motverka för tidig utlösning och ge bättre uthållighet. Genom att använda detta kan män känna sig tryggare och mer avslappnade i sin intimitet, vilket leder till en mer tillfredsställande upplevelse för båda parter. Tack vare onlinebeställning slipper du långa apoteksbesök och får istället din behandling levererad direkt hem på ett snabbt och diskret sätt.

อ่านต่อ การเลี้ยงลูก 4 รูปแบบ

  1. ทราบแล้วเปลี่ยน! การเลี้ยงลูก 4 สไตล์ที่ส่งผลถึงวิธีคิดและกำหนดอนาคตของลูก

  2. เลี้ยงลูกแบบปล่อยปละ ละเลย ทอดทิ้ง ทำลูกเรียนแย่ มีพฤติกรรมเสพติด

  3. เลี้ยงลูกแบบเผด็จการ เข้มงวด ทำลูกผวากลัวผิด หวาดระแวง มีแนวโน้มซึมเศร้า

  4. ลูกแบบตามใจ สปอยล์ลูก ทำลูกแก้ปัญหาเองไม่ได้ อนาคตอาจเอาตัวไม่รอด

  5. เลี้ยงลูกแบบเอาใจใส่ ปูทางคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น เอาตัวรอด และมีความสุข

โลกนี้ช่างโหดร้าย เลี้ยงลูกด้วย 4 ทักษะนี้ ให้เขาเข้มแข็งและเอาตัวรอดในสังคมได้

ทักษะชีวิต, ทักษะการเอาตัวรอด, ทักษะการใช้ชีวิต, สอนลูก, สอนลูกเรื่องทักษะการเอาตัวรอด, เอาตัวรอดเป็นยอดดี, การกลั่นแกล้ง, สอนลูกให้เข้มแข็ง, สอนลูกให้เอาตัวรอดในสังคม,

โลกนี้ช่างโหดร้าย เลี้ยงลูกด้วย 4 ทักษะนี้ เพื่อให้เขาเข้มแข็งและเอาตัวรอดในสังคมได้จริง

ทักษะเอาตัวรอดในสังคมจะช่วยให้ลูกของเราโตขึ้นมาเป็นคนที่มีจิตใจที่เข้มแข็ง ไม่ว่าเจออุปสรรคใด ๆ ในชีวิต ก็สามารถลุกขึ้นยืนและต่อสู้กับชีวิตได้อีกครั้งโดยที่ไม่ต้องเป็นห่วงอีกต่อไปค่ะ

4 ทักษะเอาตัวรอดในสังคม  

1.ปลูกจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้กับลูก

พ่อแม่ควรสอนลูกเรื่องส่วนรวม เพราะว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เเละให้เหตุผลหลังบอกกล่าวเสมอ เช่น สอนให้ลูกทิ้งขยะในถังที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว้ จะทำให้บ้านเมืองสะอาด น่าอยู่  เรารักบ้านของเราอย่างไร  เราก็ควรรักชุมชนแบบนั้น เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เป็นต้น

 

2.เรียนรู้วิธีเอาตัวรอดในสถานการณ์คับขัน

เด็กที่รู้จักคิดและช่วยเหลือตนเองได้ มาจากการฝึกฝนวิธีคิดตั้งแต่เล็กๆ โดยคนสำคัญที่ช่วยให้ลูกมีปฏิภาณไหวพริบดี เอาตัวรอดในสถานการณ์คับขันได้ คือพ่อแม่นั่นเอง ซึ่งการที่เด็กมีปฏิภาณไหวพริบจะช่วยให้เขาเอาตัวรอดจากเหตุการณ์คับขัน หรือสามารถช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย ลองมาดู 5 วิธีที่จะสร้างลูกให้มีปฏิภาณไหวพริบกันค่ะ 

 

3.ฝึกให้เป็นเด็กช่างสังเกต

Vladimir Sloutsky ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยามหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท อธิบายใน ScienceDaily.com ว่า  “ผู้ใหญ่มีสมาธิ 2-3 ชั่วโมง ในการจดจำรายละเอียด โดยไม่เสียสมาธิ แต่เด็กจะมีสมาธิเพียงไม่กี่นาทีต่อครั้ง จึงทำให้เด็กจดจำรายละเอียดได้ดีในช่วงที่มีสมาธิอยู่ “

ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครอบครัวในการสร้างบรรยากาศของบ้าน ให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น ให้เหมาะสมแก่การเรียนรู้

 

4.รู้จักและเข้าใจเรื่องความปลอดภัย และความไม่ปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

สอนให้ลูก "ขออนุญาต" ก่อนเสมอ วิธีนี้ต้องปลูกฝังตั้งแต่ลูกเริ่มเข้าใจคำพูดของพ่อแม่ คือ ทุกครั้งที่ลูกจะรับของจากใคร กินอะไร ไปไหน จะต้องหันหน้ามาถามพ่อแม่ก่อนเสมอ หากพ่อแม่อนุญาตถึงทำได้ หากไม่อนุญาตก็จะไม่ได้ทำ เช่น คุณป้า(พี่สาวพ่อ)ให้ขนม ลูกจะยังไม่รับแม้จะโดนคะยั้นคะยอจากป้า แต่จะหันมามองหาพ่อแม่ แล้ววิ่งมาขออนุญาตก่อน หรือ หากมีใครจับแขนหรือมือให้มารับของหรือพาเดิน ลูกจะรู้ว่าต้องขัดขืนไว้ เพราะพ่อแม่ยังไม่อนุญาตให้ไป

 

สิ่งที่ลูกจะได้รับจากเรียนรู้ตำราและโลกความจริงไปพร้อมกัน
  1. ค้นพบความสามารถและความชอบใหม่ๆ เพิ่มเติมจากความรู้ในตำรา
  1. ลดความเครียดที่เกิดจากการเรียน ลดแรงกดดันที่จะต้องแข่งขันเรื่องการเรียนด้วยการเสริมความสามารถในทักษะอื่นๆ
  1. มีเพื่อน มีสังคม รู้จักปรับตัว และช่วยเหลือกัน
  1. รู้จักลำดับความสำคัญ เช่น การเรียนก็ไม่ทิ้ง กิจกรรมก็แบ่งเวลาทำได้สนุก รู้จักควบคุมตัวเอง เป็นต้น

 

สร้างความ "ทึ่ง" ให้พ่อแม่

เพราะเด็กทุกคนมีศักยภาพหลายด้าน การที่ลูกได้ทำกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากการเรียนจะทำให้เขามีโอกาสแสดงความสามารถให้พ่อแม่เห็น และอาจส่งเสริมให้ลูกไปในทิศทางนั้นได้ เช่น การเป็นนักกีฬา นักออกแบบ เชฟทำอาหาร เป็นต้น

แล้วจะทำยังไงให้ลูกมีทักษะชีวิตเจ๋งๆ และเก่งเรียนเรียนไปพร้อมกัน พ่อแม่สามารถสอนได้ทีละเรื่องและง่ายๆ ด้วย EF ( Executive Functions) ตามไปดูวิธีการสอนที่ลิงค์นี้ค่ะ >>>

ทักษะสมอง EF

 

บทความแนะนำ

รักตัวกลัวตาย สกิลนี้ต้องสอนลูก