คนท้องนอนท่านไหนถึงจะดี นอนหลับง่ายสบายตัว และความเชื่อเรื่องการนอนหงายนอนตะแคงที่ส่งผลถึงลูก มาเช็กท่านอนคนท้องกันได้ตรงนี้ค่ะ
ยิ่งอายุครรภ์เพิ่มมากขึ้น รูปร่างและขนาดของก็ยิ่งขยายใหญ่ขึ้นมากค่ะ นี่คือสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์นอนยากขึ้น ทั้งการเอนตัวลงนอน การลุกนั่งจากท่านอน หรือ แม้แต่ท่านอนของแม่ท้องก็มีผลทำให้รู้สึกไม่สบายตัว เพราะ เมื่อมดลูกโตขึ้นจะดึงรั้งปีกมดลูก เส้นเอ็นปีกมดลูกก็จะตึง มดลูกยิ่งโตเอ็นปีกมดลูกก็ยิ่งตึง คุณแม่ตั้งครรภ์จึงอาจมีอาการเสียดท้องน้อยทางด้านข้างได้บ่อย ๆ ช่วงนี้หากล้มตัวลงนอน หรือลุกขึ้นจากท่านอนไม่ดีก็จะทำให้เจ็บเสียดท้องน้อยได้ง่ายค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์อ่อน มดลูกยังไม่ขยายตัวใหญ่เต็มที่ แต่ก็จะมีตัวทารกในครรภ์ รก น้ำคร่ำ รวมอยู่ในท้องแล้ว การนอนตะแคงซ้าย หรือ ขวา อาจจะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึดปวกตึงปีกมดลูกอีกด้านหนึ่ง เช่น หากนอนตะแคงขวาช่วงตั้งครรภ์อ่อน ทำให้น้ำหนักเทลงมดลูกขวา แล้วดึงรั้งปีกมดลูกซ้ายให้รู้สึกตึง ยิ่งถ้านอนตะแคงไปจนเช้าอาจตื่นมาพร้อมอาการเสียดได้ค่ะ ดังนั้น ท่านอนคนท้องในช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ ควรเป็นท่านอนหงายจะสบายตัวกว่า หรือ หากนอนตะแคงก็ควรพลิกตัวบ่อย ๆ เพื่อลดอาการปวดตึง
ท่านอนคนท้องช่วงตั้งครรภ์ ควรเป็นท่าที่ทำให้นอนสบาย หลับได้ทั้งคืน เพราะน้ำหนักตัวที่เพิ่มากขึ้นทำให้แม่ตั้งครรภ์ปวดหลัง ปวดขา ปวดเท้า ส่งผลให้นอนยากขึ้น ท่านอนช่วงตั้งครรภ์แก่ควรเป็นท่านอนตะแคง เพราะมดลูกขยายตัวเต็มพื้นที่แล้วจึงไม่เสียดด้านใดด้านหนึ่งเหมือนตอนท้องอ่อน ๆ โดยมีเทคนิคท่านอนคนท้องแก่ให้นอนสบายดังนี้ค่ะ
*คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องแก่ที่นอนหงายอาจทำให้น้ำหนักของมดลูกที่มากขึ้นกดทับลงบนเส้นเลือดใหญ่ทางด้านหลัง ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดีนัก ซึ่งอาจส่งผลให้หลับไม่สบาย ตื่นมาไม่สดชื่น หรือ ช่วงที่ลุกขึ้นหลังจากตอนนอนมีอาการเวียนหัว หน้ามืดได้ค่ะ
ท่านอนคนท้องไม่ว่าจะนอนตะแคงซ้าย หรือ ตะแคงขวาก็ดีทั้งนั้นค่ะ ขอให้เป็นท่านอนคนท้องที่สบายตัว ไม่ปวดหลัง ไม่ปวดขา หลับยาวได้ทั้งคืน นอกจากนี้การนอนตะแคงแล้วทับเส้นเลือดใหญ่ก็เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องซะทีเดียว เพราะเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจก็จะออกจากทางด้านบนของหัวใจแล้วตีโค้งยาวลงมาข้างล่าง พออยู่ในช่องท้องก็จะอยู่ค่อนไปทางด้านขวา ท่านอนคนท้องตะแคงซ้ายหรือขวาจึงไม่ได้ทับเส้นเลือดใหญ่แต่อย่างใดค่ะ
คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนสังเกตว่าลูกมักจะดิ้นเยอะตอนที่นอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง เลยสงสัยว่านอนทับลูกหรือเปล่า ความจริงแล้วลูกนอนอยู่ในถุงน้ำคร่ำ ถุงน้ำคร่ำก็จะมีน้ำคร่ำบรรจุอยู่ โดยน้ำคร่ำที่ว่านี้จะมีปริมาตรคงที่ตลอด ถ้านอนตะแคงด้านไหน ลูกก็จะกลิ้งหมุนไปในถุงน้ำคร่ำแล้วไปปูดอยู่อีกด้านของท้อง แล้วมีน้ำคร่ำประคองตัวไว้ ดังนั้น ท่านอนตะแคงของแม่ท้องไม่ได้ทำให้นอนทับลูกในท้องค่ะ
ยิ่งท้องแก่ แม่ท้องยิ่งนอนหลับยาก นอนได้น้อย เพราะขนาดท้องใหญ่ ปวดหลัง ปวดขา เท้าบวม รวมไปถึงอาการตะคริวที่เกิดบ่อยมาก ดังนั้น ท่านอนคนท้องที่จะช่วยให้แม่ตั้งครรภ์นอนหลับได้ไม่ปวดหลัง ไม่ปวดหลัง ตื่นมาเท้าไม่บวม และลดการเกิดตะคริวตอนหลับ ควรนอนท่านี้ค่ะ