ความฟุ้งของแป้งเป็นภัยเงียบที่คาดไม่ถึง โดยเฉพาะถ้าสูดดมเข้าไปมาก ๆ อาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของลูกได้
เวลาใช้แป้งจะมีคำแนะนำว่าห้ามโรยบนตัวลูก และใบหน้าคือบริเวณที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด เพราะ หากลูกสูดดมละอองแป้งเข้าไป โดยเฉพาะแป้งที่มีส่วนผสมของทัลคัม แม้จะเพียงน้อยนิด แต่เป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง อาจเกิดการสะสมในปอดจนทำให้ระบบทางเดินหายใจของลูกผิดปกติได้ค่ะ
ช่วงเวลาที่คุณแม่โรยแป้งทาตัวลูก ฝุ่นแป้งจะลอยฟุ้งในอากาศ ถ้าลูกเป็นภูมิแพ้และสูดหายใจเข้าไปจะทำน้ำมูกไหล คัดจมูก หรือมีอาการจามได้
หากสูดดมบ่อย ๆ จะเกิดการสะสมในปอด ทำให้ลูกมีปัญหาเรื่องการหายใจ ไอเรื้อรัง และหอบหืดได้
ถ้าลูกสูดดมฝุ่นแป้งในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการสะสมในปอด โดยเฉพาะเด็กทารกที่มีโรคระบบทางเดินหายใจ อาจส่งผลให้ปอดอักเสบและเสียชีวิตได้เลยค่ะ
เมื่อลอง เปรียบเทียบเนื้อสัมผัส ปริมาณการใช้และการติดผิวของแป้ง โดยนำแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวโพด และแป้งทัลคัมมาเทียบกัน พบว่า
เนื้อแป้งสีขาวนวล เมื่อทาแป้งทัลคัมลงบนผิวพบว่า เนื้อแป้งกลืนไปกับผิวได้ดี แต่ผงแป้งไม่คลอบคลุมผิว ต้องใช้ในปริมาณกว่าแป้งชนิดอื่น
แป้งเนื้อเนียนละเอียดสีขาวนวลมีความลื่นผิว เมื่อลองทาลงไปกับผิวพบว่า เนื้อแป้งกระจายตัวไปรอบ ๆ บริเวณที่ทา ไม่เนียนไปกับผิว ปริมาณการใช้จะน้อยกว่าแป้งทัลคัมเกือบครึ่งนึง
แป้งข้าวเจ้ามีเนื้อสัมผัสมีความฝืด ไม่ลื่นมาก เมื่อเทียบกับแป้งที่มีส่วนผสมของทัลคัม เนื้อแป้งละเอียดกว่ามาก สามารถทาได้คลอบคลุมพื้นที่ผิวได้มากกว่าแป้งชนิดอื่น ปริมาณการใช้เหลือแค่ 1/3 ของแป้งทัลคัม ติดผิวได้ดี เนื้อแป้งมีความเนียนกลืนไปกับผิว เหมาะกับการใช้หลังทาครีมให้ลูกเพื่อช่วยลดความเหนอะหนะ ให้ผิวนุ่มเนียน สบายตัว พร้อมสนุกกับทุก ๆ กิจกรรม
เห็นได้ชัดว่าแป้งทั้ง 3 ชนิด เมื่อใช้ในปริมาณที่เท่ากัน แป้งทัลคัมนั้นเนื้อแป้งไม่ค่อยละเอียด ติดผิวได้ไม่ค่อยดี ขณะที่เนื้อแป้งข้าวโพดนั้นเนื้อแป้งกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ ไม่ได้เนียนไปกับผิว ส่วนแป้งข้าวเจ้าถือว่าเป็นแป้งที่เนื้อละเอียด เคลือบผิวได้ดี
1. ไม่โรยแป้งฝุ่นลงบนตัวโดยตรง แต่ให้ค่อย ๆ โรยแป้งบนมือก่อน แล้วค่อยทาบนตัวลูก เพื่อป้องกันฝุ่นแป้งฟุ้งกระจายแล้วลูกสูดดมเข้าไป
2. ใช้ปริมาณน้อย ลูบไล้เป็นบริเวณกว้าง หรือใช้พัฟท์เพื่อลดการฟุ้งกระจาย
3. ไม่ใช้แป้งโรยสะดือเด็กแรกเกิด หรือบริเวณจุดซ่อนเร้น เช่น อวัยวะเพศโดยตรง
4. ไม่โรยแป้งบนใบหน้าลูกเพื่อป้องกันผงแป้งเข้าตา จมูก ปาก
5. ระวังอย่าให้ลูกถือกระป๋องแป้งหรือเขย่าเล่น เพราะอาจทำให้แป้งหกหรือเผลอสูดดมเข้าไปจนสำลัก เนื่องจากแป้งเข้าปอด อาจทำให้ปอดอักเสบได้
6. เลือกแป้งที่ปลอดภัยกว่า ย่อยสลายได้
ในท้องตลาดมีแป้งเด็กให้เลือกหลายแบบ การเลือกแป้งข้าวเจ้าที่มีส่วนผสมจากพืชธรรมชาติ 100% ไม่มีทัลคัม ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกห่างไกลจากโรคระบบทางเดินหายใจได้ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก www.reiscare.com
ตรวจสอบข้อมูลโดย นพ.ชาญสิริ เสกสรรค์วิริยะ โสต ศอ นาสิกแพทย์ อนุสาขาเวชศาสตร์การนอนหลับ โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี
(พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์)