การมองเห็นของลูกทารกเริ่มตอนไหน ทารกมองเห็นตอนอายุกี่เดือน มาเช็กพัฒนาการการมองของทารกที่บทความนี้เลยค่ะ
การมองเห็นของทารก ทารกมองเห็นตอนไหน มาเช็กพัฒนาการเด็กกันค่ะ
พัฒนาการการมองลูกทารก มีตั้งแต่อยู่ในครรภ์
ถ้าคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาเสพติด มีโอกาสสูงที่ลูกที่เกิดมาจะมีประสาทตาฝ่อ มองไม่เห็นทั้ง 2 ตาเลย ในปัจจุบันมีการค้นพบว่า หากในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่มีการกินยาแอสไพรินหรือยาแก้ปวดลดไข้ก็จะทำให้เด็กมีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนดได้ ทำให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย ซึ่งก็ส่งผลต่อตาเช่นกัน อันดับแรกก็คือ อาจจะมีจอประสาทตาเสื่อม อันดับสองคือ พบภาวะสายตาสั้น สายตาเอียง ตาเหล่ มากกว่าเด็กทั่วๆ ไป
ดังนั้นอาหารที่แม่ตั้งครรภ์ควรกินเพื่อส่งเสริมพัฒนาการสายตาลูกในท้อง คือ อาหารที่ครบ 5 ห้าหมู่ สารอาหารที่สำคัญ คือ โฟเลท ถ้ามีการวางแผนที่จะเตรียมตัวมีลูกก็ควรเริ่มกินตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพราะโฟเลทมีผลต่อการผลิตท่อสมอง เมื่อเริ่มมีการปฏิสนธิ เซลล์ต่างๆ ก็จะเริ่มแตกตัว ฉะนั้นถ้าจะให้ดีเราควรกินโฟเลทแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะนมที่เป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะซึ่งมีโฟเลทสูง แล้วช่วงที่สำคัญที่สุดก็คือ 2 สัปดาห์แรกหลังการปฏิสนธิซึ่งตัวอ่อนกำลังมีการสร้างตัวและฟอร์มท่อสมองขึ้นมา ฉะนั้นหากกินโฟเลทหลังจากที่รู้ว่าตั้งครรภ์ อาจเลยช่วงเวลาทอง 2 สัปดาห์แรกมาแล้ว
กระตุ้นการมองเห็นของลูกทารก
- การมองเห็นของลูกทารก 2-3 วันแรก
เด็กจะยังไม่มอง ไม่มีโฟกัส คุณพ่อคณแม่ไม่ต้องตกใจไป เพราะ 2-3 วันแรกเด็กจะยังโฟกัสไม่ได้ เมื่อมองหน้าแม่ก็จะเห็นเป็นแบบรางๆ เท่านั้นเองส่วนใหญ่ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีการตรวจตาเด็กตั้งแต่วันแรกที่เด็กคลอดออกมา เพราะจริงๆ แล้วเราสามารถตรวจพบภาวะต้อกระจกได้ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งถ้าต้อกระจกนี้เกิดขึ้นในเด็กแล้วจะส่งผลให้เด็กเกิดภาวะตาเหล่ ตาสั่น(ตาไม่อยู่นิ่ง สั่นตลอดเวลา) ภาวะตาขี้เกียจ หรือพัฒนาไปเป็นต้อหินได้
- การมองเห็นของลูกทารกสัปดาห์แรก
เด็กจะมองเห็นเป็นสีเทาๆ เห็นหน้าแม่รางๆ เราพบว่าถ้าแม่เลี้ยงลูกด้วยการให้นมแม่ ให้นมทางซ้ายบ้างทางขวาบ้าง โดยที่แม่ไม่ได้เปลี่ยนทรงผมมาก เด็กจะจำหน้าแม่ได้เร็ว แล้วสิ่งนั้นจะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กมาก แล้วด้วยความที่เด็กยังมองเห็นไม่ชัด เป็นแค่โครงร่างสีเทาๆ เมื่อเด็กเห็นโครงหน้าแม่แบบเดิมๆ เขาก็จะจำได้ แล้วเมื่อมีคนอื่นที่ไม่ใช่แม่มาอุ้มเขาก็จะรู้ว่านี่ไม่ใช่แม่
กระตุ้นพัฒนาการลูก วิธีที่จะช่วยกระตุ้นการมองเห็นเมื่อแรกเกิดที่ดีคือแม่ควรเป็นคนเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง แล้วก็เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ควรเปลี่ยนทรงผมบ่อย ควรทำทรงผมทรงเดิม ลูกจะจดจำได้ง่ายขึ้น
- การมองเห็นของลูกทารก 1 เดือน
ในช่วง 1 เดือนแรกลูกอาจมีอาการตาเหล่ได้นิดหน่อย ทั้งตาเหล่เข้าในและออกนอก แต่ภาวะนี้จะหายไปเองเมื่ออายุ 2- 3 เดือน ยกเว้นว่าเหล่แบบที่ตาดำหายไปเลย อาการนี้ต้องรีบพาไปพบแพทย์
กระตุ้นพัฒนาการลูก ควรตกแต่งห้องด้วยสีสว่างๆ แขวนปลาตะเพียนหรือโมบายที่เป็นสีสันสดใส โดยเฉพาะสีแดง สีส้ม สีเหลือง สีเขียว ซี่งเด็กจะสามารถมองเห็นได้ดี ให้ขยับไปขยับมาในระยะประมาณ 1 ฟุต จะเป็นการกระตุ้นการมองเห็นของเด็กได้
- การมองเห็นของลูกทารก 2-3 เดือน
จากภาพที่เห็นลางๆ ก็จะเริ่มมองเห็นได้ดีขึ้น เริ่มเป็นรูปร่าง เริ่มกลอกตาซ้ายขวาได้ การมองเห็นก็จะเริ่มดีขึ้น ในช่วงวัยนี้เด็กควรจะมองหน้าแม่แล้ว พอแม่ยิ้มเขาควรจะยิ้มตอบ ภาวะตาเหล่นิดหน่อยที่เห็นในช่วงเดือนแรกควรจะหายไป ตาควรจะอยู่ตรงกลาง ไม่ควรมีอาการตาสั่น เพราะถ้ายังสั่นน่าจะมีพยาธิสภาพเกิดขึ้น อาจเกิดจากลูกตาหรือระบบประสาท ถ้ายังมีอาการอยู่ควรพาไปพบแพทย์
กระตุ้นพัฒนาการลูก ควรหาวัสดุใหม่ๆ เข้ามาแต่งห้องให้มีสีสันเพิ่มมากขึ้น คุณแม่ควรจะพูดกับลูก เวลาเราเดินไปรอบๆ ห้องควรพูดกับเขาด้วย เพื่อฝึกเด็กในเรื่องการได้ยินและการมองตามคุณแม่
- การมองเห็นของลูกทารก 4-6 เดือน
เด็กจะเห็นภาพได้คมชัดดีใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ และมีพัฒนาการในการมองควบคู่กับการใช้มือหยิบจับ ในประเทศที่พัฒนาแล้วแนะนำให้เด็กได้รับการตรวจตา ถามว่าทำไมเด็กตัวแค่นี้ต้องตรวจตาด้วย เพราะอาจจะพบอุบัติการณ์ของมะเร็งจอตาได้ เพื่อการรักษาที่รวดเร็วหากเจอตั้งแต่เริ่มต้น ยังเป็นแค่จุดเล็กๆ เราสามารถรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ก็อาจจะหายได้
กระตุ้นพัฒนาการลูก ของเล่นต่างๆ ควรวางในระยะที่เขาเอื้อมถึงก็จะเป็นการกระตุ้นการมองเห็นของเขา เป็นทั้งการฝึกการมองและกล้ามเนื้อของเขา แล้วเขาก็จะเรียนรู้พื้นผิวของของเล่น ฉะนั้นของเล่นควรเลือกแบบพื้นผิวไม่เรียบ และสีก็เป็นแบบปราศจากสารพิษตกค้าง
- การมองเห็นของลูกทารก 7-12 เดือน
การมองเห็นเริ่มดีขึ้น ตา 2 ข้างเริ่มทำงานประสานกัน มีการทำงานของมือที่ประสานกับการทำงานของตาได้ดีขึ้น
กระตุ้นพัฒนาการลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้ด้วยการคลานเล่นกับลูก แล้วก็หาของเล่นที่มีสีสันแต่ไม่แหลมคม เช่น บล็อกไม้ ตัวต่อ เด็กก็จะรู้สึกสนุก และอยากที่จะเล่น เอาของเล่นวางไว้แล้วให้ลูกคลานไปหยิบ ก็เป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เมีการเคลื่อนไหวด้วย
- การมองเห็นของลูกอายุ 1-2 ปี
เด็กเริ่มหัดเดิน การมองเห็นต่างๆ ก็จะเริ่มดีขึ้น ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่มาก แต่ช่วงวัยนี้สิ่งที่เราจะพบเจอได้บ่อยก็คือ ภาวะตาเหล่ ซึ่งเกิดจากภาวะสายตายาว ซึ่งถ้าพบตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด อาจจะให้ใส่แว่นสายตาเพื่อปรับระยะการมองเห็น
กระตุ้นพัฒนาการลูก หาของเล่นบล็อคไม้รูปทรงต่างๆ ให้ลูกหยิบบล็อคไม้ใส่ให้ถูกช่อง
- การมองเห็นของลูกอายุ 2-3 ขวบ
เป็นช่วงวัยที่เด็กจะเริ่มแสดงความผิดปกติทางสายตาออกมาให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยปัญหาสายตาในเด็กเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1. กรรมพันธุ์ 2. สิ่งแวดล้อม
- กรรมพันธุ์ ถ้าพ่อแม่สายตาสั้น ลูกมีโอกาสถึง 50 เปอร์เซ็นต์ที่จะมีสายตาสั้น
- สิ่งแวดล้อม เราพบว่าเด็กไทย จีน สิงคโปร์ ที่มีการเรียนแบบเข้มข้นมาก ต้องเรียนพิเศษเพื่อจะเข้าเรียน ป.1 เราพบว่าปัญหาสายตาของเด็กเอเชียมีมากกว่าเด็กฝรั่ง ของไทยนี่อาจจะเจอได้ถึง 40-50 เปอร์เซ็นต์ แต่มื่อเทียบกับเด็กต่างชาติที่มีสายตาสั้นเพียง 20-25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง เพราะเขาเน้นการเรียนในห้องเรียนรู้นอกตำราและนอกห้องเรียนมากกว่า
ฉะนั้นเราพบว่า ถ้าการใช้ชีวิตด้วยการเรียนอย่างหนัก การเล่นเกม เล่นคอมพิวเตอร์ ก็มีผลต่อการเกิดภาวะสายตาสั้นได้ ถามว่าอันตรายไหม ถ้าปัญหาสายตาสั้นนั้นไม่มาก คือไม่เกิน 1000 ก็ไม่มีอันตรายอะไร แต่ถ้ามากกว่านั้นก็อาจส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา เช่น ต้อหิน จอประสาทตาลอก
กระตุ้นพัฒนาการลูก เอารูปภาพสัตว์ต่างๆ มาเล่นกับลูก แม่นั่งอยู่ในระยะห่างระดับต่างๆ เปิดภาพแล้วให้ลูกตอบว่าเป็นสัตว์อะไร ดูว่าลูกสามารถตอบได้ถูกต้องหรือไม่ มองเห็นชัดหรือเปล่า
สัญญาณอันตรายสู่ปัญหาสายตา ลูกทารกมีปัญหาการมองเห็น
น้ำตาไหลมาก ไหลตลอดเวลา ซึ่งอาจจะเกิดจากท่อน้ำตาตัน หรือภาวะต้อหินภาวะหนังตาบวม เด็กที่คลอดออกมา โดยเฉพาะคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ ต้องผ่านช่องคลอด หรือไม่ได้คลอดในห้องคลอดที่ถูกต้อง สิ่งสัมผัสที่สกปรกก็อาจทำให้เด็กเกิดการติดเชื้อที่ตาได้ตาเหล่สู้แสงไม่ ได้ เจอแสงน้ำตาไหลตลอดเวลาเห็นจุดขาว ๆ ในตาดำเด็กไม่ยอมลืมตา หรือลืมแค่ข้างเดียว อาจเกิดจากพัฒนาการของหนังตาที่พัฒนาได้ไม่ดี
|