facebook  youtube  line

Do ดี มี EF

เปียโน เครื่องดนตรีกระตุ้น EF สนุก เพลิน สมองได้พัฒนา

5311

การเล่น "เปียโน" ลูกจะได้ฝึกสมอง การถอดรหัสตัวโน้ต การทำงานประสานกันของนิ้วมือ สายตา และสมองไปพร้อมกัน

เปียโน เครื่องดนตรีกระตุ้น EF สนุก เพลิน สมองได้พัฒนา

มีผลการศึกษาในเด็กที่มีการฝึกดนตรี และเล่นเปียโน มีสมองในส่วนที่ทำหน้าที่เรื่องการวางแผน การเคลื่อนไหว จะมีขนาดใหญ่มากกว่าคนที่ไม่ได้เล่นดนตรี

แสดงว่าถ้าสมองส่วนนี้มีการทำงานมากขึ้น มีการปรับตัวให้มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมถึงมีการเชื่อมโยงในเรื่องของการรับความรู้สึก การมองเห็น ได้ยินเสียง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยรวมแล้วการที่เด็กได้มีโอกาสเล่นดนตรี ก็เป็นอีกกระบวนการที่สมองได้มีการกระตุ้นอย่างเหมาะสม ให้สมดุลกันทั้งซีกซ้าย ซีกขวา และเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ ของสมอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลูกชอบเล่นเปียโน พ่อแม่จะส่งเสริม กระตุ้นและต่อยอดได้อย่างไรบ้าง

1.ชวนลูกเล่นดนตรีอย่าง สม่ำเสมอ การเปลี่ยนแปลงสมองได้ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง

2.ท้าทาย ลูกให้สนุกกับการเล่นดนตรี เมื่อเด็กทำโจทย์ในสิ่งที่เขาทำได้แล้ว ต้องปรับโจทย์ให้ยากมากขึ้น ตัวโน๊ตที่มากขึ้น จังหวะที่มากขึ้น ทำให้วงจรประสาท การรับรู้เสียง จะมีการพัฒนามากขึ้นเช่นกัน

ทั้งหมดนี้ควรดำเนินไปไดเโดยการที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ ไม่มีการบังคับ เด็กเขาชอบและอยากจะทำด้วยตัวเอง ก็จะเป็นการทำให้การเล่นดนตรีในสิ่งที่เด็กชอบมีประสิทธิภาพนั่นเอง

 

รศ. ดร. นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์

กุมารแพทย์โรคระบบประสาท ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

สนับสนุนการเรียนรู้โดย The One Smart Piano

FB: The One Smart Piano Thailand

Web: http://theonesmartpiano.com

 5298 1

(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)

 

 

 

ทักษะสมอง EF

  • Hits: 3793

โน้ตเสียงสูงต่ำ สร้างมาเพื่อพัฒนาทักษะสมองลูก

ดนตรี, โน้ตดนตรี, เสียงสูง, เสียงต่ำ, ดนตรีพัฒนาสมองอย่างไร, ให้ลูกเรียนดนตรีดีไหม, ให้ลูกเรียนดนตรีที่ไหนดี, โรงเรียนสอนเปียโน, The ONE Smart Piano Thailand, เปียโน 

โน้ตดนตรีสูงต่ำไม่ใช่แค่ฟังเพลินนะคุณแม่ แต่ลูกเรากำลัง Play & Learn ทั้งร่างกายและสมองไปพร้อมกัน ดนตรีกระตุ้นและพัฒนาสมองลูกได้อย่างไร ทำไมเด็กควรได้เล่นดนตรี ผู้เชี่ยวชาญมีคำแนะนำค่ะ

โน้ตเสียงสูงต่ำ สร้างมาเพื่อพัฒนาทักษะสมองลูก

เรื่องของดนตรีและสมองเป็นความลับของธรรมชาติอย่างหนึ่ง คนเราสามารถรับรู้ความถี่ต่างกัน ถ้าเราเล่นดนตรีแล้วใช้โน้ตเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงแตกต่างกัน การทำงานของสมองจะใช้คนละส่วนในการประมวลผลครับ ดังนั้นหากเด็ก ๆ ได้ฟังเสียงดนตรี เด็กก็จะใช้สมองหลายส่วนในการรับรู้เสียงสูงเสียงต่ำ ความถี่ที่มีความแตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ด้านภาษาของมนุษย์

 

กระบวนการคือ ไม่ใช่แค่ฟังเท่านั้น แต่ต้องมีการฝึกเล่นดนตรีด้วย เป็นการเชื่อมโยงของ 2 ระบบ คือ

  • ระบบการรับเสียง
  • ระบบการเคลื่อนไหว

การเล่นดนตรีเด็ก ๆ จะได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก ควบคุมนิ้วมือไปตามจังหวะ เพื่อทำให้เกิดเสียงที่ตรงกัน ซึ่งตรงกับหลักการของทักษะ EF (EXECUTIVE FUNCTIONS) ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ คือกระบวนการทำงานสมองส่วนหน้าของมนุษย์ ใช้กำกับความคิด ความรู้สึกและการกระทำ เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

 

เพราะฉะนั้นเด็กคนหนึ่งถ้าได้มีการฝึกเล่นดนตรี ทำให้เกิดการพัฒนาการของวงจรประสาทการรับเสียง การเคลื่อนไหว ซึ่งการสร้างวงจรประสาทเหมือน EF โดยการเชื่อมกันของสมองหลาย ๆ ส่วน กระตุ้นการพัฒนาของสมองให้เติบโตได้อย่างมีศักยภาพ

 

 

 

 

รศ. ดร. นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์

กุมารแพทย์โรคระบบประสาท ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

สนับสนุนการเรียนรู้โดย The One Smart Piano

FB: The One Smart Piano Thailand

Web: http://theonesmartpiano.com

5298 1

(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)

 

ทักษะสมอง EF

  • Hits: 3575

เลือกโรงเรียนอย่างไรให้ลูกมี EF

 486 1

เลือกโรงเรียนอย่างไรให้ลูกมี EF

เมื่อลูกถึงวัยเข้าอนุบาล คนเป็นพ่อเป็นแม่ย่อมหาสิ่งที่ดีให้กับลูก อย่างหาโรงเรียนดีๆ หรือที่เรียนพิเศษ เรียนเสริมงานอดิเรกนอกจากวิชาการ ส่วนที่เพิ่งเกิดหรืออยู่ในท้อง พ่อแม่ก็เริ่มสอดส่ายสายตาหาโรงเรียนกันแล้ว

การเลือกโรงเรียน สำคัญมาก ทั้งต่อพ่อแม่และตัวเด็กเอง เพราะโรงเรียนก็เป็นส่วนสำคัญ ในการพัฒนาเด็ก ให้เติบโตในวันข้างหน้า  พ่อแม่จำนวนมาก เมื่อคิดถึงการช่วยให้ลูกประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่  มักคิดแค่จะเอาลูกไปเรียนโรงเรียนที่สอนสองภาษา สามภาษายิ่งดี...
โลกศตวรรษที่ 21  ต้องการทักษะอย่างน้อย 4  ด้านใหญ่ๆ เรียกว่า 4Cs :

  1. คิดวิเคราะห์(Critical Thinking)  
  2. คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่(Creativity)
  3. ร่วมงานกับคนอื่นเป็น(Collaboration)
  4. สื่อสารได้(Communication) และยังรวมไปถึงทักษะที่ต้องใช้ในการทำงานอื่นๆอีก เช่น การปรับตัว ความรับผิดชอบ การเป็นผู้นำ ฯลฯ

โรงเรียนที่ดีอาจจะไม่ใช่ โรงเรียนดังมีชื่อเสียง แต่อาจจะเป็นโรงเรียนที่มีการสอนแบบ Active Learning ที่ส่งเสริมพัฒนาการและ Executive Functions ที่เน้นให้ลูกได้เรียนรู้ด้วยการฝึกคิด ลงมือทำ เด็กจะได้มีประสบการณที่หลายรูปแบบ  

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่ที่มีต่อลูกด้วย เพราะสถาบันการศึกษาก็เป็นเพียงอีกด้านที่พัฒนาจะ EF ของลูก แต่สถาบันครอบครัวนั้นสำคัญต่อเด็กมากเหมือนกัน

486 2

EF (Executive Functions) คืออะไร
EF ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้าของมนุษย์ทุกคน ที่ใช้ในการกำกับความคิด ความรู้สึกและการกระทำ เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ EF เป็นทักษะที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียน การงาน การอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ การคิดสร้างสรรค์ และการจัดการทุกด้านตลอดชีวิต

Executive Functions (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย

  1. Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน
  2. Inhibitory Control การยั้งคิด
  3. Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด
  4. Focus / Attention การใส่ใจจดจ่อ
  5. Emotional Control การควบคุมอารมณ์
  6. Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
  7. Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง
  8. Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด
  9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย

นอกจากการเลือกโรงเรียนสอน ยังมีตัวช่วยดีๆ เป็นชุดนิทานเพื่มเสริมการพัฒนา EF ให้กับคุณลูกด้วยนะคะ


สั่งจอง หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Line@ : @ruklukeselect
www.raklukeselect.com

ทักษะสมอง EF, โรงเรียน

  • Hits: 7404

4 พฤติกรรม แย่ ที่พ่อแม่สร้างให้ลูก

EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด, Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning, Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง, Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้

4 พฤติกรรมแย่ที่พ่อแม่สร้างให้ลูก

ก่อนเริ่มต้นสอนหรือปลูกฝังอะไรแก่เด็กนั้น พื้นฐานจำเป็นเปรียบเสมือนการเตรียมดินที่ดีเพื่อให้ต้นไม้ได้งอกงาม คือการให้ความรัก ความอบอุ่นอย่างสม่ำเสมอ จนสามารถสร้างสัมพันธภาพที่แนบแน่นระหว่างพ่อแม่และเด็กได้ (Secure Attachment)

สิ่งนี้สำคัญมากสำหรับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัย 0-3 ปี หากกระบวนการนี้เป็นไปด้วยดี เด็กจะมีการพัฒนาของเซลล์สมองและเส้นใยประสาทอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีรอบด้านทั้งร่างกายและจิตใจ การสร้างความผูกพันทางจิตใจที่แนบแน่นนี้ ควรเริ่มสร้างตั้งแต่ตั้งครรภ์ พ่อแม่ควรมีอารมณ์แจ่มใส

เมื่อเด็กคลอดออกมาแล้วพ่อแม่ควรมีเวลาเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง ด้วยอารมณ์ที่แจ่มใส ให้ความรักความเอาใจใส่กับลูกสม่ำเสมอ ตอบสนองความต้องการได้ทันทีจะทำให้สร้างสัมพันธภาพทางจิตใจที่แนบแน่นกับเด็กได้ดี เด็กที่มีความผูกพันทางจิตใจที่แนบแน่นกับพ่อแม่ จะรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่รัก เห็นคุณค่าของตน สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นได้ และสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดี 

 

ปัญหาที่พบบ่อยของเด็กในยุคปัจจุบัน ที่ทำให้พ่อแม่หนักใจและมาปรึกษาหมอบ่อยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรตระหนักและให้การดูแลปลูกฝังอย่างเหมาะสม มีดังนี้

1. การเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าว 

มักพบสาเหตุมาจากพ่อแม่และผู้ดูแล หากพ่อแม่มีอารมณ์เหวี่ยงง่าย ขี้หงุดหงิด  ใช้อารมณ์ดุว่าและทำโทษเด็กอย่างไม่เหมาะสม จะส่งผลให้เด็กเครียด เก็บกด และเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวได้  

เช่น หมอเคยพบเด็กบางคนที่ครูขอให้แม่พามาพบแพทย์ด้วยพฤติกรรมหยิกครูและเพื่อนร่วมชั้นเวลาหงุดหงิด แม่ก็กลุ้มใจที่เด็กมีพฤติกรรมดังกล่าว แต่พอสอบถามในรายละเอียด พบว่าแม่เองก็มักหงุดหงิดง่ายและลงโทษเด็กด้วยวิธีการหยิกเช่นกัน เด็กจึงเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวจากการกระทำของแม่ไปใช้กับคนอื่น

พ่อแม่ควรมีเวลาดูแลลูกและไม่ควรใช้สื่อเป็นเครื่องมือเลี้ยงลูกแทนตนเอง โดยเฉพาะเด็กวัย 0-2 ปี  พ่อแม่ควรดูแลด้วยการชวนคุย เล่นกระตุ้นพัฒนาการ ไม่ควรปล่อยให้เด็กเสพสื่อเพียงลำพัง เพราะจะทำให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวจากสื่อที่มีเนื้อหาก้าวร้าวได้ นอกจากนี้เด็กจะขาดการกระตุ้นและมีพัฒนาการที่ล่าช้าได้

การเลี้ยงลูกด้วยตนเองโดยไม่ใช้อารมณ์ รู้จักกระตุ้นพัฒนาการ และป้องกันอันตรายจากสื่อ เปรียบได้กับการรดน้ำและใส่ปุ๋ยปลอดสารพิษให้แก่ต้นไม้

 

2. พฤติกรรมงอแง เอาแต่ใจมากเกินไป 

เด็ก 0-3 ปี เป็นวัยที่มักงอแงเอาแต่ใจง่าย หากพ่อแม่เลี้ยงลูกแบบตามใจมากเกินไป เช่น ลูกร้องไห้อยากได้ของเล่น หรือสิ่งต่างๆ พ่อแม่ก็จัดหาให้ตลอดโดยไม่มีกรอบกติกา เด็กจะเรียนรู้ว่าการร้องงอแงทำให้พ่อแม่ใจอ่อนและตามใจ เด็กจะกลายเป็นคนเอาแต่ใจ

ดังนั้นการดูแลเด็กในวัยนี้ควรมีการวางกรอบกติกาที่เหมาะสม เช่น พ่อแม่ควรตกลงกับเด็กว่าใน 1 สัปดาห์ เด็กจะมีสิทธิ์ได้รับของเล่นหรือสิ่งต่างๆ ได้กี่ชิ้น และพยายามกำกับดูแลให้เด็กทำตามกติกาที่ตกลงกัน โดยไม่ใจอ่อนตามความงอแงของเด็ก เมื่อเด็กทำได้ตามกติกา พ่อแม่ก็ให้แรงเสริมโดยแสดงความชื่นชม สิ่งนี้จะช่วยสอนให้เด็กรู้จักระงับความอยาก ความงอแงที่เกินพอดี และทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะทำตามกติกาได้ 

การเลี้ยงลูกอย่างมีกรอบกติกา เปรียบได้กับการตกแต่งกิ่งต้นไม้ให้แลดูเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ระเกะระกะ

 

3. เด็กไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ตามวัย

มักพบบ่อยในครอบครัวที่พ่อแม่ปู่ย่าตายาย หรือพี่เลี้ยง คอยทำอะไรทุกอย่างให้ โดยไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกทักษะที่จำเป็นตามวัย เช่น เด็กวัย 2 ปี จะสามารถจับช้อนได้เอง พ่อแม่อาจค่อยๆ สอนให้ลองตักข้าวกินเองบ้าง แม้เด็กจะทำได้ไม่เต็มที่ อาจหกเลอะเทอะ หรือกินช้า ก็ควรสนับสนุนให้เด็กทำเอง

นอกจากนี้เด็กวัยนี้ยังสามารถช่วยหยิบของที่ไม่เป็นอันตรายส่งให้พ่อแม่ได้ ซึ่งพ่อแม่ก็ควรฝึกหัดและชื่นชมเมื่อเด็กทำได้ ก็จะช่วยให้เด็กมีทักษะที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามวัยและเป็นเด็กที่มีน้ำใจรู้จักช่วยเหลือพ่อแม่

การเลี้ยงลูกให้ช่วยเหลือตนเองได้ตามวัย เปรียบได้กับการสร้างรากแก้วของต้นไม้ให้แตกแขนงยืนหยัดได้ดี

 

4. เด็กขาดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

เพราะถูกปิดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เด็กวัยนี้จะเป็นวัยที่เริ่มแสดงความเป็นตัวของตัวเอง อยากเล่น อยากลองริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ ด้วยตนเอง ชอบซักถามในสิ่งที่เขาสงสัย

ซึ่งหากพ่อแม่เอาแต่ดุหรือห้ามปรามด้วยความกังวล เด็กจะกลัว และไม่กล้าริเริ่มทำสิ่งต่างๆ ในทางตรงข้าม หากพ่อแม่สนับสนุนให้เด็กได้ทำอะไรใหม่ๆ ที่เขาอยากทำ (ถ้าสิ่งนั้นเป็นประโยชน์และไม่มีอันตราย) ได้สำเร็จ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้ซักถามในสิ่งที่เขาสงสัยใคร่รู้ เด็กจะมีจินตนาการ มีความกล้าคิดกล้าทำ กล้าเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ดี

การส่งเสริมให้ลูกกล้าคิดริเริ่ม จะทำให้ลูกมีความสามารถรอบด้าน เปรียบเสมือนการนำต้นไม้ออกจากถุงเพาะชำและปลูกลงดิน เพื่อให้แตกกิ่งก้านสาขาได้มากมาย เพราะหากเราจำกัดพื้นที่ให้อยู่ในกระถางแคบๆ ต้นไม้ก็จะแตกกิ่งก้านได้น้อยและแคระแกร็น

การปลูกต้นไม้ให้เติบโตงอกงามก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยที่ดีที่ผู้ปลูกใส่ลงไป การเลี้ยงดูเด็กก็เช่นกันครับ หมอคิดว่าทุกคนคงอยากให้ลูกเติบโตโดยมีคุณลักษณะดีๆ ที่พ่อแม่อยากให้เป็น เช่นเป็นเด็กที่มีอารมณ์แจ่มใส มีน้ำใจ รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สามารถควบคุมอารมณ์ ไม่เอาแต่ใจ และทำตามกรอบกติกาได้

รวมทั้งสามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามวัย มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งการเลี้ยงดูเด็กให้มีลักษณะดังกล่าวได้ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการดูแลและปลูกฝังที่คุณอบรมสั่งสอนให้เขา ดังนั้นเด็กจึงเปรียบเสมือนภาพสะท้อนของวิธีการดูแลและปลูกฝังจากพ่อแม่

 

นอกจากการสร้างความผูกพันทางจิตใจที่แนบแน่นนี้ ควรเริ่มสร้างตั้งแต่ตั้งครรภ์ พ่อแม่ควรมีอารมณ์แจ่มใสแล้ว ยังมีตัวช่วยดีๆ เป็นชุดนิทานเสริมให้กับคุณลูกด้วยนะคะ เพื่อให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองผ่านการอ่านและดูรูปภาพจากหนังสือนิทานได้อีกด้วยค่ะ

สอบถามและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...

Line : @raklukeselect

 

 
 

ทักษะสมอง EF, การเลี้ยงลูก

  • Hits: 18115

ลูกขาดความมั่นใจ เมื่อคุณแม่ช่างติ

ลูกไม่มีความมั่นใจ-ลูกขาดความมั่นใจ-ช่างติ-ช่างดุ

ลูกขาดความมั่นใจ เมื่อคุณแม่ช่างติ

คุณแม่ที่มีความคิดว่าการติเตียนลูกบ่อยๆ หรือแสดงพฤติกรรมออกมาในเชิงดูถูกความสามารถหรือความตั้งใจของลูก อาจจะอยากท้าทายลูก หรือไม่อย่าให้ท้ายลูกจนเกินไป เพื่อหวังว่าลูกอาจจะฮึดสู้ขึ้นมาจนได้   แต่ช้าก่อนค่ะ!! การกระทำดังกล่าวอาจจะส่งผลในทางที่ลบและอาจจะทำให้ลูกๆ ของคุณแม่กลายเป็นเด็กขาดความมั่นใจได้ค่ะ เพราะสมองเด็กมักจะเลือกจำในสิ่งที่แม่ฝังหัว ว่าตัวเองทำไม่ได้เด็กจะรู้สึกไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะทำอะไรได้สำเร็จหรือไม่ เด็กจะไม่สามารถทำงานใหญ่ได้ เพราะไม่มีเป้าหมาย ไม่มีแรงจูงใจ โดนชักจูงได้ง่าย  

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ

ในอันดับแรกคุณแม่ต้องเชื่อมั่นในตัวลูกๆ ให้กำลังใจ และแก้ไขจุดบกพร่องของลูกๆ ค่ะ คุณแม่ต้องไม่คาดหวังลูกมากจนเกินไปค่ะ คุณแม่ควรให้ลูกได้ทำอะไรที่ท้าทาย และทำให้ถึงเป้าหมาย โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ฝึกให้ลูกคนที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ ถึงแม้จะอุปสรรคแต่ก็จะไม่ย่อท้อ นอกจากคุณแม่ต้องเชื่อมั่นในตัวลูกๆ ให้กำลังใจ และแก้ไขจุดบกพร่องของลูกๆ แล้ว ยังมีตัวช่วยดีๆ เป็นชุดนิทานเสริมพัฒนาได้ด้วยการอ่านให้กับคุณลูกด้วยนะคะ

สอบถามและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...

Line@ : @raklukeselect

ทักษะสมอง EF

  • Hits: 6705