ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกมีอยู่มากมาย…แต่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริง เพราะมีสิ่งที่ต้องโฟกัสเยอะรอบด้าน บวกกับการเลี้ยงลูกด้วยกลัว ความกังวล และความไม่เข้าใจ จึงทำให้มองว่าการเลี้ยงลูกเป็นเรื่องยาก
ฟังวิธีการรับมือกับปัญหาพฤติกรรมต่างๆ โดยนักจิตวิทยา อาจารย์อลิสา รัญเสวะ นักจิตวิทยาคลินิก ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ศูนย์กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระรามเก้า
ด้วย Generation ที่เปลี่ยนไป เรากับลูก Generation ก็เริ่มห่างกันเยอะด้วยความที่เราเองอาจจะขาดความรู้ทั้งๆ ที่ความรู้มันเยอะแทบจะท่วมหัวเลยแต่ความรู้เหล่านั้นไม่มาประกอบกันได้ แล้วเราควรต้องทำแบบคนนี้คนนั้น หรือคนนู้นดี เลยเป็นเหตุให้เรารู้สึกว่าความรู้ที่เรามีอยู่มันเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่จริง
ทั้งหมดมันดีแต่พอมาประกอบกันเราไม่สามารถเป็นอย่างนั้นได้เลยมันยากเพราะเรามีโฟกัสเยอะ เรามีเรื่องงานหนัก ไหนจะเรื่องชีวิตคู่เราอีก พ่อแม่ที่เราต้องรับผิดชอบอีก ไหนจะลูกอีกทุกอย่างเข้ามาพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะในช่วงโควิด 2 ปีนี้หนักหนาสาหัสมาก เพราะทุกอย่างอยู่กับเราหมดเลยไม่ว่าจะเรื่องงานที่ยากขึ้น เรื่องของลูกที่ความเข้าใจของเราก็เหมือนจะไม่ค่อยเข้าใจเขาเท่าไหร่
จริงๆ โดยธรรมชาติเด็กไม่ได้เปลี่ยนไปเยอะก็คือเหมือนเดิม เหมือนเด็กเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เหมือนพวกเรา เพียงแต่ว่าพอเรามาเป็นพ่อแม่เองเรากลับรู้สึกว่ามันยากที่จะเข้าใจเหลือเกิน แล้วด้วยเหตุที่เราไม่เข้าใจเราก็กลัว พอเรากลัวบางครั้งเราก็เอาปมของเรามาแล้วเราก็จะไม่ทำอย่างที่เรามีปม เช่น ถ้าพ่อแม่เข้มงวดกับเรา เราก็ไม่อยากเข้มงวดกับลูก
แล้วเราก็ให้ทุกอย่างเพราะเราไม่เคยได้ อันนี้เราก็ถมปมตัวเองอีก แล้วเราก็ตามใจลูกเพราะรู้สึกว่าตอนเล็กๆ เราโดนพ่อแม่ขัดใจเราอยากจะถูกตามใจ เราเอาปมของเรามาเลี้ยงลูกยุคใหม่ ที่นี้ไปกันใหญ่เลยความเข้าใจก็ไม่ค่อยมี ความรู้ก็เอามารวมกันไม่ได้ สิ่งที่กลัวก็เยอะ เพราะฉะนั้นผลที่ออกมาเราจะเห็นว่า เด็กสมัยใหม่ทำให้เรารู้สึกว่าเราเลี้ยงเขายาก แต่จริงๆ เรารู้เทคนิคเด็กไม่ได้เลี้ยงยาก คนที่ยากทำให้เขายากคือเราเท่านั้นเอง
เยอะมาก สิ่งแรกก็คือการเรียนออนไลน์การเรียนรู้ของเด็กโดนฟรีสไป 2 ปี เรียนออนไลน์ไม่ค่อยเวิร์คเท่าไหร่กับเด็ก
สอง เรื่องพัฒนาการเริ่มเกิดเด็กพัฒนาการช้ามากขึ้นเพราะถูกขังไว้ในพื้นที่แคบมันเลยไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีกับเขา
สาม ปัญหาที่ตามมาจากโควิดอีกคือ การติดจอ ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามาอย่างรวดเร็วเด็กติดต่อสิ่งที่เกิดขึ้นคือเขาหมกมุ่นมากที่จะรอเวลาที่จะเล่น พอได้เล่นสิ่งนั้น Passion ในการใช้ชีวิตในการเรียนหนังสือในการทำสิ่งต่างๆ ก็หายไป
ปัญหาที่เข้ามาในโรงพยาบาลตอนนี้เยอะมากคือปัญหาพฤติกรรม ปัญหาทางด้านอารมณ์ ปัญหาทางด้านสมาธิ ปัญหาทางด้านการเรียนรู้ มาครบเลย เมื่อก่อนจะมาแค่ 1 ด้าน แต่ตอนนี้เด็ก 1 คนครบมากแล้วพอเป็นแบบนี้ก็ขาด Social Skill ปัญหาใหญ่เหมือนกันเพราะฉะนั้นตอนนี้คนที่มาถึงมือมีเรียงลำดับอายุ 3 ขวบ 6 ขวบ 10 ขวบ 13 ขวบ เจอโดนผลกระทบกันหมดเป็นเรื่องยากเหมือนกันของพ่อแม่ที่จะรับมือกับสิ่งนี้ที่จะช่วยลูก เลยทำให้สิ่งนี้ทำให้พ่อแม่เครียดมากไม่รู้จะจัดการอย่างไร 2. พ่อแม่ต้องปรับเรื่องไหนก่อน
1.พ่อแม่ต้องปรับทัศนคติตัวเองใหม่ก่อน
ตั้งสติดีๆ ก่อน เวลาที่ปัญหามันเข้ามาหาเราเยอะเราจะรู้สึกแพนิคและวิตกกังวลมันเยอะไปหมดไม่รู้จะจัดการอย่างไร จริงเริ่มที่เรา เราตั้งสติให้ดีแล้วเราเปลี่ยน Mindset ว่าเราจะไม่ทำเหมือนเดิมแล้วนะ
ถ้าเราทำเหมือนเดิมผลก็คือเหมือนเดิมเราต้องเปลี่ยนกระบวนการเลี้ยง เมื่อก่อนเราอาจจะเลี้ยงเขาแบบหนึ่ง ตอนนี้สิ่งที่เราเน้นเสมอเลยว่าตอนนี้ถ้าเราจะแก้มาจดจ่ออยู่กับลูกอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมงอย่างมี Quality Time อยู่กับเขาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเขา ตอนนี้เราเครียดเราก็เอากลับมาให้เขาแล้วเราก็รู้สึกกดดันเขา คาดหวังเขา เราคาดหวังในการเรียนออนไลน์ของเขาอย่างหนัก คำว่า คาดหวังอย่างหนัก พอเราเห็นเขานั่งไม่อยากเรียนเราก็รู้สึกหงุดหงิด พอเขาเปิดจอ 2 จอ 3 จอ 4 เราก็รู้สึกเครียด
เราต้องปรับ Mindset ใหม่ว่าเด็กคือมนุษย์คนหนึ่ง คิดถึงตัวเองเมื่อตอนเราเป็นเด็กมันก็ควบคุมทุกอย่างยาก 1. คือการเรียนออนไลน์เราต้องยอมรับแล้วว่าไม่เวิร์คมันได้ 50% ตั้งใจเกือบตายก็ได้แค่นี้ เพราะฉะนั้นเลิกกดดันลูก เลิกคาดหวังจากลูกเสียที
2.ตั้งสติ
แล้วดูปัญหาของลูกว่าตอนนี้เขากินอยู่หลับนอนเขาช่วยเหลือตัวเองได้หรือเปล่า ช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันเป็นการกระตุ้นพัฒนาการที่ดีมากๆ กระตุ้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ อย่างใส่เสื้อตัวต้องตั้งขึ้นมากล้ามเนื้อทั้งแท่งของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้ใช้ แขนได้ใช้ ขาได้ใช้ กล้ามเนื้อมัดเล็กได้ใช้ นิ้วได้ใช้จับเสื้อติดกระดุม เรื่องของภาษาได้ใช้เพราะเวลาเราบอกลูกหยิบอันนั้น หยิบอันนี้ เขาต้องฟังต้องเข้าใจมีการสื่อสาร
ในเรื่องของการแก้ปัญหาก็เกิดเพราะฉะนั้นเราต้องกลับไปดูใหม่แล้วว่าการกินอยู่หลับนอนที่เราเคยทำให้ ที่เราเคยให้พี่เลี้ยงทำให้เราต้องเปลี่ยนทัศนคติแล้วโลกโหดร้ายกว่าที่เราคิดถ้าเขาช่วยตัวเองไม่ได้แค่เรื่องง่ายๆ แค่นี้เขาจะผ่านไปสู่เรื่องยากได้อย่างไร
เพราะฉะนั้นในชีวิตประจำวันถ้าเขาสามารถดูแลตัวเองได้เขาก็จะภูมิใจในตัวเองและเราเองก็จะเบาลง พอเราเบาลงเขาทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเองกินได้ด้วยตัวเองได้ สามารถอยู่กับตัวเองเป็น สามารถนอนได้โดยไม่ไปรบกวนคนอื่น พวกนี้กิจวัตรประจำวันทำได้เองเพิ่มเรื่องของการช่วยเหลือคนอื่นหน้าที่งานบ้านมันคือความรับผิดชอบต่อสังคมต่อคนอื่นต้องปลูกฝัง เพราะถ้าเราตามตอนนี้สังคมโหดร้ายมากดูข่าวเด็ก
เอาแต่ตัวเองโฟกัสแต่ตัวเองแล้วเราก็ให้ลูกไปโฟกัสแต่ตัวเองทุกวันนี้เป็นแบบนี้ มันเปลี่ยนไปมากเมื่อก่อนเราจะเป็นห่วงเป็นใยความรู้สึกของคนอื่นเราจะโพสต์เชียลเราจะแคร์ว่าเมนท์ไปแล้วเดี๋ยวเขาเสียใจเดี๋ยวนี้เราไม่มีความแคร์อันนี้เลยเราอยากจะพูดอะไร พิมพ์อะไร เมนท์อะไรเราก็ตรงๆ แรงๆ เราใส่อารมณ์ใส่ความรู้สึกเข้าไปโดยไม่แคร์คนอื่น
เพราะฉะนั้นแปลว่าตอนนี้เราเคารพแต่ตัวเองเราไม่เคารพความรู้สึกของคนอื่น อันนี้ Self Esteem คือการที่เรารู้จักตัวเองรักตัวเองเป็นแล้วต้องรักคนอื่นได้ด้วยเราต้องมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เราต้องมีความเมตตากับคนอื่น
ตอนนี้แทบไม่มีเลยคอมเมนท์ไม่มีความเมตตาเลยแล้วตามด้วย Cyber Bullying อีกปัญหายาวมาก คุณพ่อคุณแม่ตั้งสติก่อนเริ่มที่บ้านและตอนนี้เราพึ่งโรงเรียนไม่ได้เราต้องพึ่งตัวเองเราต้องเป็นครูของลูก เราต้องหากระบวนการเรียนรู้ที่มันใช้ได้จริงวิชาการหรืออินเตอร์เนทไปอ่านมาคนหนึ่งก็ไปทิศหนึ่งอีกคนก็ไปทิศหนึ่ง
บางคนบอกเราว่าต้องทุ่มเทเวลาทั้งหมด แล้วกินอะไรคำถามง่ายๆ แล้วกินอะไร แล้วพอลูกเรียนจบจะอยู่อย่างไรละ ความภาคภูมิใจของเราละ ชีวิตของเราละ พอลูกอายุ 15 ลูกก็ไม่เอาเราแล้วลูกก็ไปอยู่กับแฟน ลูกก็สนใจเพื่อน แล้วเราจะอยู่อย่างไรเราจะเหงาไหมเราจะขาดสังคมหรือเปล่า
ความจริงคือมันต้องไปด้วยกันเราคือมนุษย์หนึ่งคน ลูกคือมนุษย์หนึ่งคนอยู่กันอย่างไรให้เป็นความจริงที่สุดว่าเราอยู่ร่วมกันเรารับผิดชอบเขา เขารับผิดชอบตัวเองและมีปัญหาให้น้อยที่สุด การจะมีปัญหาให้น้อยที่สุดมันต้องเริ่มตั้งแต่ขวบปีแรกได้ปัญหาทุกอย่างมันจะเบาและน้อยที่สุดถ้าเริ่มด้วยความเข้าใจและความรู้ที่แท้จริงในการเลี้ยง
เราตั้ง Mindset ว่า เราฝากลูกไว้กับครูยากแล้วสิ่งที่สำคัญคือพ่อแม่เองเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกด้วยในเรื่องของอารมณ์ในเรื่องของวุฒิภาวะเวลาปกติเราเครียดเราวี๊ดเราก็ลงไปทีเขาเลย เพราะฉะนั้นเราอยากให้เขาโตขึ้นมีเหตุผลเราต้องทำสิ่งนั้นให้เขาเห็นด้วยว่าพ่อแม่ก็เป็นแบบนั้นลูกก็จะได้มีโมเดลที่ดี
ส่วนปัญหาที่มันมามากมายค่อยๆ โฟกัส จริงๆ ลูกไม่ได้แย่หลายๆ คนนั่งมาร์คจุดด้อยของลูกมีเป็นร้อยแต่ตัวเองก็จะมองกลับไปลองดูสิ่งที่เขาทำได้สิ จริงๆ แล้วเขาไม่ได้แย่ขนาดนั้น แต่เราลองมาดูว่าเขาทำอะไรไม่ได้เราก็สอนเขาให้เขาทำได้อะไรที่เป็นปัญหาหนักมือเราทำไม่ได้แล้วต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญก็หาความช่วยเหลือ
หาข้อมูลที่สามารถทำได้จริงเป็นไปได้เราเข้ากับข้อมูลอันนั้นเป็นข้อมูลที่คลิ๊กกับเรา เราจะรู้เลยว่าข้อมูลนี่เป็นไปได้เราทำได้ เพราะนั้นตั้งสติเปลี่ยน Mindset ว่าอย่าพึ่งคนอื่นพึ่งตัวเอง
3. สร้างบ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของลูก
เพราะจริงๆ เมื่อก่อนเราส่งลูกไปที่โรงเรียนแล้วลูกก็อยู่ที่โรงเรียนถึงเย็น เราก็คาดหวังว่าคุณครูจะให้ลูกกลับมา 1 2 3 4 ลูกต้องเพอร์เฟคสำหรับฉันแต่ตอนนี้หน้าที่อยู่ที่พ่อแม่หมดเลย แล้วโรงเรียนก็น่าสงสารในตอนนั้นอย่าลืมว่าในห้องคุณครูต้องสอนวิชาการแล้วคุณครูก็ต้องสอนกติกา
คุณครูก็ต้องสอนมารยาท ต้องให้ Social Skill ลูก เพราะเด็กในห้องเรียนหนึ่ง 30 คน หมอทำกรุ๊ปเด็กเพื่อทำพัฒนา Social Skill รับไม่เกิน 5 คน เพราะเราดูละเอียด เด็กในเรื่องของ Social Skill ไม่ใช่ 30 คนแล้วเราสามารถพัฒนาได้ อยู่ที่บ้านเราทำกับลูกที่บ้านได้เลยเราสามารถพัฒนาเขาได้ทุกๆ ด้าน พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่เราทำได้ที่บ้าน กระโดดโลดเต้นหากิจกรรมเคลื่อนที่ในที่แคบให้ลูกทำ
พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กใช้ศิลปะได้ ใช้การเล่นของเล่นได้ พัฒนาการทางด้านภาษาพูดเป็นเพื่อนกับลูกก่อนได้ในช่วงนี้ เราจะเน้นมากช่วงนี้เด็กเวลาคุยไม่ค่อยมองหน้าไม่ค่อยสบตาเพราะเวลาเราคุยกับลูกเราเล่นมือถือ ลูกก็ไม่รู้ว่าต้องมองหน้า
ซึ่งความสัมพันธ์ที่แท้จริงของมนุษย์ที่มันต่างกับอย่างอื่นคือมองหน้า สบตา พูดคุย อันนี้ต้องให้เกิดทักษะสังคม เบสิกอันนี้ต้องเกิดก่อนรู้จักมองหน้าคน รู้จักมองตา สบตา พูดคุย อันนี้เริ่มที่บ้านได้ทำเลยมีเวลา 1 ชั่วโมง สร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกเล่นกับลูกเราก็ต้องรู้ด้วยว่าจะเล่นอะไร บางครั้งการเล่นเราก็เป็นแม่เกินไป เราก็เป็นครูเกินไปหรือบางทีเราก็เป็นเพื่อเกินไป มันพอดี
เข้าใจก่อนว่าการเป็นเพื่อนเล่นของลูกกับการเลี้ยงลูกเหมือนเพื่อนไม่เหมือนกัน ในช่วงแรกของชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนเข้าวัยรุ่นเลี้ยงลูกให้เป็นลูกได้ ไม่ต้องเป็นเพื่อน
เพราะเราต้องสอน ต้องสั่ง ต้องออกคำสั่ง เราต้องให้เขาเชื่อฟังเรา แต่หลังจากวัยรุ่นไปแล้ว 10 ขวบไปแล้วเราต้องเลี้ยงเขาแบบเพื่อนเราจะหยุดการสอน
เราจะพูดคุยเราจะใช้เหตุผล เราจะแสดงความเห็นที่ต่างกันได้เราจะรับฟังกันมากขึ้น เพราะฉะนั้น 10 ปีนี้ เวลาที่เล่นคือเล่น เวลาที่เลี้ยงคือเลี้ยง เวลาที่สอนคือสอน แต่เวลาสอนก็ไม่ใช่พูดเรื่องเดิม เราต้องรู้แล้วว่าเราสอนเขามา 5 ปี ในเรื่องนี้เราพูดเหมือนเดิมประโยคเดิมอารมณ์เดิมเขารู้แล้วที่เขาไม่ทำเพราะยังพูดเหมือนเดิมอารมณ์เดิมประโยคเดิมเราไม่เรียนรู้แต่ลูกเรียนรู้
คนฉลาดคือคนที่ต้องเรียนรู้ว่าสิ่งไหนไม่เวิร์คต้องหยุด เพราะฉะนั้นเราพูดจ้ำจี้จ้ำไชมาไม่เกิดผลเราต้องหาวิธีใหม่ วิธีจ้ำจี้จ้ำไชก็ไม่น่าใช่วิธีที่เหมาะกับลูกเรา เราก็ต้องตั้งสติดีๆ ว่าอะไรถึงจะพอดีออกคำสั่งชัดๆ เด็ดขาดแต่ไม่ได้ใช้อารมณ์ อย่างเช่น ไปอาบน้ำ ธรรมดา ลูกบอกว่าเดี๋ยว ก็ค่อยๆอารมณ์เพดาน ขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเป็นตัวเองก็จะให้แค่ 3 ครั้ง ที่จะไปอาบน้ำ รอบที่สอง ไปอาบน้ำ ให้เสียงต่ำลง สูงขึ้นคือใช้อารมณ์
เวลาเราจะกดดันใครให้เราใช้เสียงต่ำ เวลาเราโกหกเราจะใช้เสียงสูงเราจะใช้อารมณ์ ครั้งที่ 3 ไม่พูดลากไปเลยค่ะ คือการกระทำที่ชัดเจนเด็ดขาดว่าแม่ให้แค่นี้ แค่นี้คือแค่นี้ทำไปสัก 2-3 ครั้งเกิดการเรียนรู้ คือลูกเกิดการเรียนรู้ดีกว่าผู้ใหญ่
สังเกตไหมบางคนมีลูกมา 10 แล้วมาเรียนรู้เลยยังใช้วิธีเดิมแต่ลูกเรียนรู้ตลอดเวลา ปรับเพื่อจะสู้กับเราตลอดเวลา แล้วการต่อลองเป็นการดึงที่เขาต้องการ เช่น การบอกว่าเดี๋ยว อีกแป๊บหนึ่ง อีกหน่อยหนึ่ง อีก 10 นาที อีก 5 นาที เหมือนได้ตลอดเลยไม่เคยเดี๋ยว
เพราะฉะนั้นเขาเรียนรู้และรู้จักใช้วิธีแต่เราไม่ได้เรียนรู้เราใช้วิธีเดิม พอรอบที่ 1 ไม่ได้เราก็ใช้ประโยคเดิมซ้ำเดิมแล้วเราก็วี้ด เสียงก็สูงขึ้นๆ อารมณ์ก็สูงขึ้นด้วย ถามว่าแล้วใครได้ประโยชน์ ลูกได้สิ่งที่ลูกต้องการไม่ใช่เรา กลับมาใหม่ว่า
พอดี คืออะไร พอดี คือพูดน้อยๆ ชัดๆ เด็ดขาด ให้เขารู้ว่าทำคือต้องทำการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันคือเรื่องซีเรียส แต่เวลาเล่นกับลูก เล่นแบบเพื่อนไม่ใช่เล่นแบบออกคำสั่ง ไม่ใช่เป็นครูไม่ใช่เป็นพ่อแม่ เล่นแบบเพื่อนหมายความว่าอย่างไรเราเป็นคนหนึ่งที่ให้เขาเรียนรู้กติกามีการสลับพลัดเปลี่ยนกันถึงตาลูก ถึงตาแม่มีความสนุก
มีการทำให้ลูกเห็นว่าเราไม่ได้เก่งไปทุกอย่าง ไม่ได้ชนะลูกทุกครั้ง สลับกันแพ้สลับกันชนะ แกล้งแพ้บ้าง แกล้งชนะบ้าง แกล้งเสมอบ้าง เพื่อให้เขาปรับตัวว่าจริงๆ ไม่เป็นไร เราเป็นตัวอย่างให้ดูว่าแพ้ไม่เป็นไร ชนะอย่าเยาะเย้ยลูก ชนะอย่าโห่ฮิ้วมากแล้วเขาจะรู้สึกเยอะ
เพราะฉะนั้นเราก็เล่นให้เขาเรียนรู้กติกา ว่าการเล่นมีกติกาอยู่ เขาสนุกกับเราได้เวลาที่เขาเล่น อย่างของหมอก็จะมีชั่วโมงเรียกว่า Happy Time คือการอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ไม่ต้องมีอะไรไม่ต้องสอนไม่ต้องมีกติกา เป็นยังไง วันนี้ไปเจออะไรมาบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าชั่วโมงนั้นเราจะเอาความทุกข์ไปไว้ที่ลูกไปเราว่าวันนี้แม่เจอความเครียด ไม่ใช่
หรือพ่อแม่บางคนชอบจะเอาความทุกข์ไปใส่ไว้ที่ลูก เช่น ทะเลาะกับพ่อของเขาไปว่าพ่อให้ลูกฟัง ไปบอกลูกว่าพ่อนิสัยไม่ดียังไง หรือพ่อเองก็มาว่าแม่ให้ลูกฟังสิ่งนี้ไม่ควรทำ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ ความทุกข์เรื่องงาน ความทุกข์เรื่องเงิน
เด็กไม่ควรต้องมารับผิดชอบเรื่องนี้ในเวลาที่เขาเป็นเด็ก คุณกำลังจะดับฝันเขาเหมือนคุณกำลังจะบอกเขาว่าชีวิตไม่ได้มีความสุขเลยจริงๆ แล้วมีความทุกข์หนักมาก แล้วเราก็เอาความทุกข์เราไปไว้ในใจเขา เวลาเด็กที่เขาซับเอาความทุกข์ไปเขาไม่เหมือนเรา เขาไม่รู้ว่าความทุกข์สามารถหยุดได้หมดได้ แต่เขาจะเก็บเอาไว้แล้วก็ซึมซับความทุกข์นั้นไว้จนเป็นอารมณ์ตัวเองแล้วก็ไม่อนุญาตให้ตัวเองมีความสุข
เช่น คุณแม่บอกว่าวันนี้แม่ทุกข์ทรมานต่างๆ นาๆ ลูกก็จะรู้สึกว่าฉันมีความสุขไม่ได้ ฉันอยู่หลังแม่ฉันเด็กจะไม่ยอมให้ตัวเองมีความสุข มันก็ส่งผลกระทบไปที่เขาเพราะฉะนั้น Happy Time คือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน พูดคุยกัน ผ่อนคลาย พยายามรับฟังเขา
จริงๆ เป็นช่วงติดตามว่าเทรนด์ของเขา เขาสนใจอะไรกำลังโฟกัสอะไร เขาสามารถเล่าเรื่องทุกอย่างให้เราฟังได้นะ เราเป็นคนที่เขาไว้ใจได้แล้วก็ยังไม่ต้องสอนอะไรเก็บเอาไว้ เวลาเขาเล่าอะไรหรือไปทำอะไรมาก็แล้วแต่คุณพ่อคุณแม่มักใจร้อนเผลอสอน
พอดี หมายความว่า รอเวลาที่พอดีที่จะสอน แล้วการรับฟังไม่ใช่ว่า แม่หนูไปทำอันนี้มา ลูกไม่ควรทำแบบนั้นนะแล้วก็สอนไปยาว แล้วใครจะเล่าให้คุณฟังเพราะมันก็จะมีตำหนิตามมา
พอดี คือ คิดถึงใจตัวเองไว้ว่าถ้าเราเป็นเขาเราอยากได้อะไรคิดถึงใจเราถ้าไม่ใช่เวลาสอนก็อย่าสอนตลอดเวลา สอนให้เป็นเวลาแล้วพูดให้น้อย เพราะเวลาที่เราพูดเยอะๆ เด็กจะเข้าใจว่าเราบ่น เขาจะรู้สึกว่านี่คือบ่นแล้วไม่มีสาระแล้วโทนเสียงระดับเกินมาตรฐานของแม่คือการที่แม่พร่ำเพ้อแล้วลูกก็จะดับหูก็จะไม่อยากฟังเลี้ยงลูกจริงๆ ต้องมีจิตวิทยาเยอะมาก มีดีเทลเยอะ
เป็นแบบอย่างให้ลูก แต่พอช่วงวัยรุ่นมันเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงหมดเลย หยุดสอน ฟังให้เยอะ พูดให้น้อย คอนเซปต์ของการเลี้ยงวัยรุ่น 4. ซ่อมแซม Learning Loss ในมุมมองของนักจิตวิทยา
ตอนนี้ปัญหาเข้ามารอบด้าน กรูเข้ามาทุกทางสมัยก่อนปัญหาก็เยอะแต่ทำไมไม่กรูหาเด็กขนาดนี้ ไม่มาหาเราขนาดนี้ ที่มาเยอะเพราะโซเชียลมีเดีย เพราะการรับข้อมูลเยอะแล้วช่องรับมันเร็ว กว้างและเร็ว มันอิมแพคเร็วมากในการที่มี Respond ของสังคม
การที่ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไรรู้หมด เพราะฉะนั้นตอนนี้เรากลับรู้สึกว่าอยู่ยากขึ้นหนักขึ้น ตัวเด็กเองก็ยากขึ้นหนักขึ้นเช่นกัน แต่ว่าคนที่เป็นผู้ใหญ่ต้องตั้งสติก่อนว่าบางครั้งตัวเราเองเมื่อความรู้ไม่มากพอความกลัวที่เยอะเราก็จะมองมันใหญ่เกินที่จะเป็นจริง
เวลาที่ Learning Loss เกิดขึ้น เวลาจะ Loss อะไรมันมักจะ Loss เป็นชุดใหญ่ๆ มันไม่มีการ Loss ที่มันค่อยๆ แต่พอมัน Impact แล้วมันก็ Impact ในหลายๆ ระบบเหมือนพัฒนาการที่พอมันช้า 1 ก็โดนกระทบไปหมด เด็ดดอกไม้ก็สะเทือนไปถึงดวงดาว
ตั้งสติว่าสิ่งที่เราต้องให้ลูกในเบสิกของชุดกระบวนความคิดของสมองของลูกมันไม่ใช่ว่าจะต้องให้ข้อมูลที่เยอะแต่เราต้องให้กระบวนการคิดที่ดี ถ้าเด็กมีกระบวนการคิดที่ดีเขาจะดีทุกเรื่อง
ถ้ามีกระบวนการคิด มี Process ในการคิดว่าต้องทำสิ่งนั้นต้องทำสิ่งนี้มีกระบวนการคิดที่ดีจะแก้ปัญหาทุกปัญหาได้หมด อย่างเช่น เขาเรียนแล้วเขาไม่ตั้งใจ ถ้าเขามีกระบวนการคิดที่ดีเรื่องนี้จะเป็นปัญหาน้อยมากเพราะเขารู้ว่าเขาจะตั้งใจยังไง จะมีกระบวนการเรียนรู้ยังไง ในชีวิตประจำวันกระบวนการคิดถ้าได้เกิด ได้สร้างจะทำเขาสามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของเขาได้
ในการเรียนหนังสือแก้ปัญหาโจทย์ใช้กระบวนการความคิดหมดเลย รวมไปถึงการโตเป็นผู้ใหญ่อย่างเรากระบวนการคิดสำคัญมากถ้าเราไม่เคยถูกใช้พวกนี้มันจะไม่พัฒนา แล้วใครทำให้กระบวนความคิดอันนี้เกิด เกิดน้อย หรือไม่เกิดก็คือพ่อแม่
ปัญหาสังคมตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเพศ ยาเสพติด อาชญากร โซเชียลมีเดียที่ส่งผลต่ออารมณ์เด็กพวกนี้กระบวนความคิดของเด็กคนนั้นไม่พอที่จะหยุดคิดว่าสิ่งนั้นควรทำหรือไม่ควรทำ สิ่งนั้นดีหรือไม่ดี อย่างยาเสพติดเรารู้เราเรียนแต่ทำไมยังมีกลุ่มที่ติดยาเสพติด เพราะกลุ่มพวกนั้นมีกระบวนความคิดอีกแบบหนึ่ง กลุ่มพวกนั้นไปโฟกัสสิ่งที่ได้จากยาเสพติด
เห็นไหมว่าเด็กมีกระบวนความคิดที่ไม่เหมือนกัน ทำไมเราถึงไม่ยุ่งเพราะเรามีกระบวนการคิดว่ามันไม่เป็นประโยชน์กับเรามันเป็นโทษมากกว่าประโยชน์เราเลือกจะไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษมากกว่าประโยชน์ อันนี้เป็นกระบวนความคิดทั้งหมดเลย
ถ้าเราใส่กระบวนการเรียนรู้ กระบวนความคิดที่ถูก จะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ลูกจะเลือกเพื่อนเป็น ลูกจะเลือกสื่อเป็น ลูกจะเลือกทำในสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำก่อน ลูกจะเลือกสิ่งต่างๆ เข้ามาในชีวิตเป็นสิ่งที่ดีไม่ใช่สิ่งที่แย่
ถามว่าแล้วพ่อแม่จะสนับสนุนให้เกิดกระบวนความคิดนี้ได้อย่างไร คุณต้องหยุดคิดแทนทำแทน ต้องหยุดตอบสนองเกินความจำเป็น สอนให้ลูกคิดเป็น วิธีการง่ายๆ สอนให้ลูกคิดเป็น คุณคิดอย่างไรคุณก็พูดให้ลูกฟัง
เช่น เราเลือกของเล่นให้ลูกมีของเล่นอยู่ 2 ชิ้น แล้วเราเลือกชิ้นนี้มาเราก็บอกเขาว่าชิ้นนี้มันดีกว่ามันคุ้มกว่าอย่างไร ของเล่นเช่นนี้มันทำให้หนูได้เรียนรู้เรื่องของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้สร้างสมอง มีเสียงด้วย ราคาเท่านี้ มันเล่นได้สามปี กับของเล่นชิ้นที่แพงมากแล้วสวยมากแต่เล่นได้ฟังก์ชั่นเดียวแล้วก็พังง่าย
สองอย่างนี้พอเทียบกันแล้วแม่เลยเลือกชิ้นนี้ให้ลูก คุณสามารถทำแบบนี้ได้กับทุกๆ อย่าง เช่น คุณเลือกซื้อนมให้เขา นมมีหลายยี่ห้อทำไมแม่เลือกนมอันนี้ กระเป๋ามีหลายยี่ห้อทำไม่แม่เลือกใบนี้ มือถือมีหลายยี่ห้อทำไมแม่เลือกอันนี้ ความคุ้มค่าของมันที่เราต้องสอนลูกว่าเหตุผลวิธีการคิดของเราที่วางแผนในหัวเราพูดมันออกมา
แค่ชีวิตประจำวันทำไมต้องแปรงฟันก่อนล้างหน้า ทำไมต้องล้างหน้าก่อนแปรงฟัน แต่ละบ้านทำไม่เหมือนกัน แต่เราก็ให้ลูกทำเหมือนที่เราทำ เพราะบางทีเราก็ไม่ได้คิด แต่ทุกอย่างเราต้องใส่กระบวนความคิด เขาจะตั้งคำถามขึ้นมาทันทีถ้าเราให้เหตุผลกับทุกอย่างที่เขาทำ เขาจะถามว่าทำไมไม่ทำอย่างนั้น เพราะอะไรต้องทำอย่างนี้
ถ้าคุณถูกฝึกจนชินคุณจะอธิบายเหตุผลได้จนลูกยอมรับ ซึ่งการฟังเหตุผลมันก็วางแผนไปยิ่งวัยรุ่นด้วยว่าถ้ามีสิ่งที่เราต้องคุยกับเขา สังคมการเมือง รุนแรงมากขึ้น วันหนึ่งลูกเราอาจไปอยู่สถานการณ์คับขันที่เราก็พูดไม่ได้ไม่รู้จะสอนอย่างไรไม่รู้จะให้ข้อมูลอย่างไร เพราะอัลกอลิทึ่มของเราไม่เหมือนกัน นอกจากว่าถ้าเราปลูกฝังเหตุผลแล้วเราบอกเขาว่าในมุมของแม่แม่คิดอย่างนี้เราก็สามารถให้เหตุผลกับสิ่งที่เราต้องการได้แล้วลูกเองก็ให้เหตุผลกลับมาในสิ่งที่เขาต้องการได้เช่นกัน
เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มนุษย์อยู่รอดตอนนี้คือการสร้างกระบวนการคิดให้เกิดขึ้นก่อนโดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่สร้างได้ที่บ้านเลยว่าทำไมคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกอาบน้ำแล้ว ทำไมอยากให้อาบเดี๋ยวนี้พูดไปเลยสอนกระบวนการคิดไปเลย
ปกติเราใช้อารมณ์ อาบน้ำได้แล้วลูก แล้วไม่เคยบอกลูกเลยว่าทำไมต้องอาบตอนนี้ ทำไมลูกถึงใช้คำว่าเดี๋ยวเพราะเขาไม่คิดว่าต้องเป็นตอนนี้ การจะทำให้ลูกเชื่อเรา เราต้องมีเหตุผล ทำไมหมอเองเวลามีคนไข้แล้วคนไข้จะชอบมาเจอมาคุยเพราะเรามีวิธีการคิดแล้วเราคิดให้ฟัง
เราไม่ได้บอกว่าสิ่งนี้ดีเพราะสิ่งนี้ดีเราจะบอกเหตุผลว่าทำไมเราคิดว่าสิ่งนี้ดีทุกคนต้องการเหตุผล ไม่ใช่ดีเพราะพ่อแม่บอก พ่อแม่ก็อยากรู้ว่าในความคิดของเรามุมมองของเราเหตุผลคืออะไร ไม่ใช่เราบอกว่าต้องทำสิ่งนี้นะต้องทำสิ่งนั้นนะ เราไม่เคยทำอย่างนั้นเลยแต่เราจะบอกว่าทำไมเหตุผลคืออะไรทำไมต้องทำ ไม่ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร ทำแล้วไม่ได้อะไร เลือกเลยข้อมูลคุณมีแล้วเราอยากให้มีกระบวนความคิดเหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าคุณมีกระบวนการคิดที่ดี Product ของคุณก็จะดีด้วย
ใช่ คือพื้นฐานเลย Learning Loss หรืออะไร ก็แก้ได้หมด จริงๆ เริ่มได้ตั้งแต่ 3 ขวบเลยการสร้างกระบวนความคิด 3 ขวบสมัยนี้ กับเรา 3 ขวบ ไม่เหมือนกันเลยนะ ชิพสมอง 3 ขวบสังเกตเรา ฟังเรา ฟังว่าเราพูดอะไร สังเกตว่าเราทำอะไร เก็บมาแล้วมาใช้กับเรา ในขณะที่เราตอนเด็กๆ รู้สึกว่าชิพของเรามันช้า
กว่าจะฟังว่าพ่อแม่คิดอะไร 7 ขวบ กว่าที่เราจะพยายามฟังว่าเขาต้องการอะไร คิดอะไร ทำอะไร แล้วเราอยากเลียนแบบหรือเราอยากจะสู้ ต่อต้าน สมัยนี้ 3 ขวบหูผึ่งเลยเวลาเราคุยกับสามีเขาก็ฟังว่าวิธีการคิดของเราคืออะไร เรากำลังทำอะไรกับเขาอยู่ เวลาเอาเด็กมาที่ห้องบำบัด เวลาเราอยู่ด้วยกันเราจะสังเกตเลยว่าลูกมักจะแอบฟังอย่างตั้งใจ แต่เราก็รู้สึกว่าเขาฟังได้แล้วเขาควรจะได้ฟังเพราะเรามีเหตุผล ซึ่งถ้าฝึกการใช้เหตุผลมาตั้งแต่เด็กๆ โตขึ้นก็ไม่มีปัญหาที่จะใช้เหตุผล พ่อแม่วางแผนเลี้ยงลูกตั้งแต่ยังเด็ก
การเลี้ยงเด็กมันยากและเยอะ อยากให้ตั้งสติดูเขาปีต่อปีเพราะเด็ก 1 ขวบปีก็เปลี่ยน อัตราการเปลี่ยนเขาสูงกว่าผู้ใหญ่ เราผู้ใหญ่ 29 กับ 30 ไม่ต่างกัน แต่เด็ก 1 ขวบ กับ 2 ขวบ ต่างกัน เราไม่จำเป็นต้องไปเสพข้อมูลที่เยอะมาก เวลาใครเข้ามาเราจะบอกว่า สมมติลูก 9 เดือน เราจะมองไปที่ 12 เราจะมองไปแค่ 1 ปีนี้
เพราะฉะนั้นเวลาที่เราเสพข้อมูล เราก็ดูว่า 1 ปีนี้มันนาน 1 ปี คือ 12 เดือน ทำให้มันนี้ในหนึ่งปีนี้วางแผนหาข้อมูลใน 1 ขวบปี 2 ขวบปี ต่อยอดไปเรื่อยๆ อย่าไปมองว่าต้องรู้ทั้งหมด คุณไม่มีทางรู้ทั้งหมดได้เพราะ 1 ปีนี้ในปีนี้ กับ 1 ปีนี้ในปีหน้า
ปัญหาเปลี่ยน สถานการณ์แวดล้อมอย่างโรคระบาดก็เปลี่ยนเขาเปลี่ยนเรา โฟกัสช่วงสั้นๆ มองว่าสิ่งที่เราต้องการวางเป้าให้ชัดว่าเราเลี้ยงลูกต้องการอะไรอยากได้อะไรเพื่อให้เขารอด ไม่ใช่อยากได้อะไรเพื่อให้เรามีความสุข
เราต้องมองว่าอะไรจะเป็นเครื่องมือให้เขาอยู่ได้ถ้าไม่มีเรานี่คือเป้าหมาย หากระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้องถ้าไม่รู้ก็หาผู้เชี่ยวชาญ ถ้าให้แนะนำก็เป็นนักจิตวิทยาคลินิกเด็กและจิตแพทย์ 2 อาชีพนี้ทำงานไม่เหมือนกัน
นักจิตวิทยามีหลายๆ สาขา แต่ในเรื่องของการตรวจวินิจฉัยและบำบัดจะต้องเป็นนักจิตวิทยาคลินิก คำว่า คลินิก คือโรงพยาบาลที่มี License มีใบประกอบวิชาชีพในการตรวจวินิจฉัย ต่างกันกับจิตแพทย์อย่างไร ต่างกันกับคุณหมอพัฒนาการอย่างไร
นักจิตวิทยาคลินิกจะมีเครื่องมือที่สามารถตรวจ เครื่องมือคือแบบทดสอบทางจิตวิทยาสามารถตรวจพัฒนาการได้ สามารถตรวจการทำงานของสมองได้ สามารถตรวจเรื่องของอารมณ์ได้ สามารถตรวจ EQ ได้ นี่ก็คือการตรวจ ที่มีเครื่องมือซึ่งมีความแม่นยำสูงมากผลออกมาเหมือนตรวจเลือดออกมาเป็นตัวเลข
มีรายละเอียดให้เห็นว่า Picture ข้างในของลูกมันคืออะไร เรารักษาด้วยการไม่ใช้ยา แต่จิตแพทย์หรือคุณหมอพัฒนาการรักษาด้วยการใช้ยา ซึ่งนักจิตวิทยาคลินิกก็จะมีเครื่องมือโดยไม่ต้องใช้ยาเลย เช่น ลูกสมาธิสั้นเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก้ไขปัญหาสมาธิสั้นได้
ลูกมีปัญหาการเรียนรู้ก็สามารถแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ได้ คือ ซ่อม สร้างได้โดยไม่ใช้ยา เพราะก็คงไม่มียาที่กินเข้าไปแล้วเด็กฉลาด มันใจในตัวเอง Self Esteem ดี ไม่มีพวกนี้ต้องสร้างเอง นักจิตวิทยาคลินิกเขาจะมีวิธีการบำบัดรักษาการใส้ทรีทเม้นท์เขาไปให้สิ่งนี้เกิด เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากใช้ยาก็มาที่นักจิตวิทยาคลินิกเด็ก
แต่ถ้าอยากใช้ยาก็ไปตรวจกับจิตแพทย์ ทำงานไม่เหมือนกันแต่คล้ายกัน แต่ถ้าสมมติว่าลำบากก็สามารถหาช่องทางที่ใกล้บ้าน หาคนที่คลิกกับเราไม่บังคับว่าต้องมาหาเราเอาคนที่เราคุยแล้วรู้สึกว่ามันเป็นไปได้สำหรับเรา คุยแล้วมีแนวโน้มว่าเราจะทำมันได้ตามที่เขาแนะนำเรา
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u