8 วิธีคิด เลี้ยงลูกให้มีความสุขฉบับพ่อแม่ไทย จะเลี้ยงลูกยุคไหนก็ได้ใช้ได้ผล
8 วิธีคิด เลี้ยงลูกให้มีความสุขฉบับพ่อแม่ไทย จะเลี้ยงลูกยุคไหนก็ได้ใช้ได้ผล
ความสุขของลูกเป็นความสุขของพ่อแม่เช่นกันค่ะ แต่หลายครั้งความรักของพ่อแม่ก็อาจจะทำร้ายลูกได้ในแบบ “พ่อแม่รังแกฉัน” เลี้ยงลูกอย่างไรให้มีความสุขฉบับพ่อแม่ไทย เรามีคำแนะนำค่ะ
การเลี้ยงลูกให้มีความสุขเป็นอย่างไร
- ลูกมีความสุขในการเป็นตัวเอง แสดงความคิด ความรู้สึกของตัวเองได้ โดยพ่อแม่รับรู้ รับฟัง และแนะแนวทางอย่างถูกต้อง เพื่อสร้าง Self-Esteem ให้ลูกมีความมั่นใจในการลงมือำสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ดี พัฒนาศักยภาพรอบด้านได้อย่างดี
- พ่อแม่มีความสุขโดยไม่กดดันตัวเองให้เป็นพ่อแม่ที่ดีในสายตาคนอื่น ไม่เข้มงวดตึงมากจนตัวพ่อแม่เองไม่มีความสุขในการเลี้ยงลูก แต่เป็นพ่อแม่ยอมรับในสื่งที่ลูกทำ เข้าใจพัฒนาการตามวัย ส่งเสริมอย่างถูกต้องในฐานะผู้ประคับประคอง ซึ่งนอกจะทำให้ลูกมีความสุขแล้ว พ่อแม่เองก็มีความสุข
วิธีเลี้ยงลูกมีความสุขไม่มีสูตรสำเร็จตามตายตัวค่ะ ขึ้นอยู่กับวิธีคิดของพ่อแม่ สังคมที่อยู่ เราเลยได้เห็นคำแนะนำประเภทเลี้ยงลูกสไตล์พ่อแม่ญี่ปุ่น พ่อแม่ฝรั่ง ให้อ่านเยอะมาก แต่รู้ไหมคะว่าการเลี้ยงลูกให้มีความสุขสไตล์พ่อแม่ไทยก็ได้ผลไม่แพ้ชาติไหนในโลกนะคะ
8 วิธีคิด เลี้ยงลูกให้มีความสุขฉบับพ่อแม่ไทย จะเลี้ยงลูกยุคไหนก็ได้ใช้ได้ผล
- โลกนี้ไม่มีความสมบูรณ์แบบ
บ่อยครั้งที่เราเห็นหลายครอบครัวเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด กดดัน อยากให้ลูกได้แต่สิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต หรืออยากให้ลูกไปอยู่ในจุดสูงสุด ซึ่งในความเป็นจริงโลกนี้นไม่มีความสมบูรณ์แบบ มีแต่ความพอเหมาะ พอดี และเหมาะสม
ดังนั้น พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ผิดพลาดบ้าง ผ่อนคลายบ้าง ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ จะช่วยให้ลูกรู้สึกเป็นอิสระในการคิดและเรียนรู้ เป็นตัวของตัวเอง และมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ซึ่งทำให้เขาแสดงความสามารถได้เต็มที่มากกว่าถูกบังคับค่ะ พ่อแม่เองก็มีความสุขที่ได้เห็นความสำเร็จของลูกไปทีละขั้นเช่นกัน
- รับรู้ ตั้งสติ รับฟัง
เมื่อเกิดความผิดพลาดและรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น พ่อแม่ควรตั้งรับด้วยการตั้งสติค่ะ เพราะพบว่าหลายบ้านจะดุว่าลูกก่อนรับฟัง จนทำให้ลูกไม่กล้าพูดคุยด้วย ไม่กล้าเข้าหา ลุกลามไปจนถึงไม่กล้าทำอะไรอะไรเลยเพราะกลัวความผิดพลาด
ดังนั้น เมื่อเกิดผิดพลาด ให้เริ่มจากการรับรู้ก่อนว่าเกิดเรื่องขึ้น จากนั้นตั้งสติ และเปิดโอกาสให้ลูกได้อธิบาย แสดงความรู้สึกอย่างเต็มที่ แล้วพ่อแม่ค่อยอธิบายเพิ่มเติม แนะนำแนวทางให้ลูกนำไปใช้แก้ไขหรือป้องกันปัญหา ซึ่งช่วยทำให้ลูกกล้าเข้าหาพ่อแม่ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีขึ้นในครั้งต่อไป
- ทุกคนมีอิสระเสรีเท่ากันไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่
ทุกคนในบ้านสามารถคิด พูด แสดงออกในสิ่งที่ตัวเองชอบ ไม่ชอบได้อย่างอิสระ โดยทุกคนรับฟังกัน ยอบรับในกันและกัน สิ่งไหนดีก็ช่วยกันส่งเสริม สิ่งไหนไม่ควรก็ช่วยกันหาวิธีแก้ไข ปรับตัวไปด้วยกัน การให้อิสระและยอมรับกันจะทำให้มีความรู้สึกปลอดภัย ไว้ใจกันได้ค่ะ
- พูด-คุยกันได้
หลายบ้าน พ่อแม่ลูกพูดคุยกันไม่ได้ ลูกพูดพ่อแม่ก็ดุ จนลูกเกิดความรู้สึกอย่าง เช่น กลัว ไม่ปลอดภัย ไม่มีที่พึ่ง เก็บกด เป็นต้น ดังนั้น การเลี้ยงลูกให้มีความสุข คุณพ่อคุณแม่จะต้องสร้างบรรยากาศให้บ้านเราพูดคุยกันได้ เช่น ถามเรื่องที่โรงเรียน ถามความชอบ ถามความรู้สึก โดยคุณพ่อคุณแม่รับฟังอย่างตั้งใจ ชื่นชม หรือแนะนำลูกได้ จะทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่เป็นเซฟโซนที่เขาสามารถบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องกลัวอะไร
- ยอมรับในกันและกัน ยอมรับโลกที่เปลี่ยนแปลง
ใจเขา ใจเรา นั่นเองค่ะ พ่อแม่เติบโตมาในครอบครัวและสังคมแบบหนึ่ง ลูกก็กำลังเติบโตในครอบครัวที่พ่อแม่ต้องช่วยกันประคับประคอง เพื่อให้ลูกอยู่เป็น อยู่รอดในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงออก และยอบรับในสิ่งที่ลูกคิด พูด เป็น ในขณะที่พ่อแม่จะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุน และแนะนำแนวทางที่ถูกที่ควร โดยไม่บังคับ
- ปัญหาเกิดขึ้นได้ ช่วยกันแก้ได้
หาเกิดปัญหากับลูก ลูกเผลอทำความผิดพลาด หรือทำไปโดยไม่รู้ถูกผิด สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำคือ ให้โอกาสลูกได้อธิบายอย่างตรงไปตรงมา แล้วยอมรับให้ได้ว่าปัญหาเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ ช่วยกันแก้ปัญหา รวมทั้งหาวิธีรับมือ หลบเลี่ยง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเดิมซ้ำอีก ตำหนิกันได้ สอนกันได้ แต่ต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยกัน
- ทุกคนมีข้อดี ข้อเสีย ยอมรับกันให้ได้เพื่อก้าวผ่าน
ข้อนี้ใกล้เคียงกับการยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบค่ะ ในแต่ละคนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ลูกเราก็เช่นกัน เมื่อลูกมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวเอง พ่อแม่ควรเปิดใจยอมรับ โดยเฉพาะข้อเสีย ซึ่งจริง ๆ แล้ว สามารถช่วยลูกปรับข้อเสียนั้นได้ เช่น ลูกโมโหร้าย พ่อแม่อาจช่วยลูกด้วยการชวนทำกิจกรรมที่ฝึกสมาธิ ควบคุมอารณ์ได้ เช่น งานศิลปะ ไปค่ายแคมป์ อ่านหนังสือที่ชอบ เป็นต้น
- ไว้วางใจกันและกัน
ครอบครัวที่ไว้ในกันและกันได้ ลูกจะรู้สึกอบอุ่นหัวใจ ปลอดภัยค่ะ พ่อแม่ควรสร้างบรรยากาศที่ทำให้ลูกได้มีส่วนร่วมทั้งความคิด ความรู้สึก การแสดงออก การลงมือ ซึ่งจะทำให้ลูกเชื่อมั่นว่าคุณพ่อคุณแม่จะอยู่เสมอเมื่อเขาต้องการกำลังใจ ความรัก หรือที่พึ่งเมื่อเกิดปัญหา ดังนั้น พ่อแม่จะเป็นโซนที่ดีที่สุดของลูกค่ะ