facebook  youtube  line

วิธีสังเกตความเครียดในเด็ก พร้อมวิธีแก้ไขฉบับคุณหมอ

 
เด็กเครียดได้-ลูกเครียด-สาเหตุ เด็กเครียด-สังเกต อาการ เด็กเครียด-พ่อแม่ทำลูกเครียด-เด็กเก็บกด-ลูกซึมเศร้า-ป้องกันลูกเครียด-แก้ อาการ ลูกเครียด-วิธีสังเกตลูกเครียด-รักษาอาการเครียด-กดดันจนลูกเครียด-ทำไม เด็ก เครียด 
อาการเครียดในเด็กไม่ใช่เรื่องปกตินะคะ เพราะถ้าพ่อแม่สังเกตและช่วยแก้ไขไม่ทัน ลูกอาจได้รับผลกรัทบจากความเครียดในระยะยาว ที่มีผลต่อพัฒนาการทั้งร่างกาย และ สมอง รวมไปถึงอาจมีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งไปสู่การฆ่าตัวตายได้ค่ะ 

ความเครียดในเด็กเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาการเจ็บป่วย การแข่งขันด้านการเรียน ความรู้สึกได้รับแรงกดดันจากพ่อแม่ การถูกล้อเลียน (ฺBully) เป็นต้น ซึ่งความรุนแรงของความเครยีดในเด็กแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับพื้นฐานสภาพจิตใจ การดูแลจากคนรอบข้าง หรือแม้แต่การจัดการอารมณ์ตัวเอง

ความเครียดในเด็ก แบ่งเป็น 2 ระดับ   
  1. ระดับที่ 1 ภาวะเครียดฉับพลัน (Acute Stress) จะเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ  
  2. ระดับที่ 2 ภาวะเครียดเรื้อรัง (Chronic Stress) จะทำให้เด็กต้องทุกข์ทรมานเป็นเวลานานๆ และอาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงเคมีในสมอง (Brain Chemistry) และทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง   
อาการของเด็กที่มีความเครียด  
  • ร้องไห้และกรีดร้องบ่อยครั้ง
  • พฤติกรรมก้าวร้าว ดื้อดึง เกเร
  • พัฒนาการในการเรียนรู้เกิดความบกพร่องและ/หรือลดลง 
  • ทักษะการพูดอ่อน พูดติดอ่าง
  • ขาดความมั่นใจในตนเอง มีความวิตกกังวล หรือมีความกลัว
  • แยกตัวจากเพื่อน เล่นน้อยลง
  • ขี้หงุดหงิด ขี้แย 
  • กลัวการแยกจากคนหรือสิ่งของ
  • ไม่มีสมาธิ มีปัญหาด้านความจำ บ่นปวดศรีษะ
  • น้ำหนักน้อยหรือตกเกณฑ์ และไม่อยากอาหาร
  • ปวดท้อง หรือมีปัญหาในการย่อยอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท
  • ฝันร้าย   

นอกจากนี้ ยังรวมถึงพฤติกรรมถดถอย เช่น ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง (เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว) ที่เด็กเคยทำได้เองแล้วแต่กลับเรียกร้อง / ร้องขอให้พ่อแม่ช่วย หรือปฏิเสธที่จะทำด้วยตัวเอง หรือการกลับมามีปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น

 

เด็กเครียดได้-ลูกเครียด-สาเหตุ เด็กเครียด-สังเกต อาการ เด็กเครียด-พ่อแม่ทำลูกเครียด-เด็กเก็บกด-ลูกซึมเศร้า-ป้องกันลูกเครียด-แก้ อาการ ลูกเครียด-วิธีสังเกตลูกเครียด-รักษาอาการเครียด-กดดันจนลูกเครียด-ทำไม เด็ก เครียด
วิธีการลดความเครียดของเด็ก  
  1. การทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น ทานข้าวร่วมกัน ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ ให้เด็กได้ช่วยงานบ้านเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดี  มีความสุข ทำให้เด็กลืมเรื่องเครียด อีกทั้งยังทำให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัวด้วย  

2. การพูดอย่างสร้างสรรค์ และแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม พูดในทางบวก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญกับการพูดจากับเด็กให้มาก คือการพูดในทางบวก การชมเชยลูก การให้กำลังใจ ในการสอนลูก ควรใช้คำพูดที่สุภาพ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี และช่วยให้ความสัมพันธ์ของคุณและเด็กมีคุณภาพขึ้น   

3. การให้เด็กได้พบกับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ นอกจากการเรียน เสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้เด็ก ควรให้เด็กรู้จักความผิดพลาดบ้าง เพื่อทำให้เด็กเกิดความเรียนรู้ รู้จักปรับตัวและรู้จักแก้ไขปัญหา   

4. การยอมรับในความสามารถของเด็ก และไม่ควรบังคับเด็กให้ทำในสิ่งที่ยังไม่พร้อม ไม่เร่งเด็กในด้านวิชาการมากจนเกินไป และควรให้เวลากับเด็กในการเรียนรู้ปรับตัวด้านสังคมด้วย พ่อแม่ส่วนใหญ่มักมองข้ามและเร่งเด็กให้เรียนกวดวิชาเพิ่ม ทำให้ไม่มีโอกาสได้ใช้เวลาทำกิจกรรมอื่นหรือเล่นกับเพื่อน “ทำให้เด็กขาดทักษะการเข้าสังคม” เข้ากับเพื่อนไม่ได้ และไม่รู้ว่าการเข้ากับเพื่อนต้องทำอย่างไรบ้างเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น  

5. รับฟังความคิดเห็นเด็ก เมื่อเด็กทำผิดสิ่งที่ควรทำคือรับฟังความคิดเห็น และถามถึงเหตุผลที่เด็กกระทำสิ่งนั้นว่าคืออะไร? ทำไมจึงทำ? เมื่อทราบสาเหตุจะทำให้เข้าใจถึงการกระทำของเด็ก ส่งผลให้เราสามารถพูดคุยและสอนเด็กได้อย่างถูกต้อง และส่งเสริมให้เด็กได้แก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้น  

“ความเครียดในเด็ก” ถือเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องเข้าใจและดูแล อย่าปล่อยปละละเลย หากพบว่าเด็กมีอาการซึมเศร้า ผิดปกติ พ่อแม่ได้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายในครอบครัวแล้วแต่ยังไม่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นก็ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาโดยเร็ว  


รักลูก Community of The Experts

พญ.เบญจพร อนุสนธิ์พรเพิ่ม
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

 

วิธีหยุดเด็กวัย 1-3 ปี อาละวาด

4039

อารมณ์ของเด็กวัย 1-3 ปี มีความแตกต่างกัน เด็กบางคนก็ใจเย็น แต่บางคนชอบเป็นที่หนึ่งและยอมไม่ได้ที่จะไม่เป็นจุดสนใจ ทำให้บางครั้งก็อาละวาด ร้องไห้ ทำให้คนรอบข้างประหลาดใจกันไปตามๆ กัน ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรมีกลยุทธ์วิธีหยุดลูกอาละวาดดังนี้

  • มีเวลาใกล้ชิดเด็กให้มาก พยายามเล่นกับลูกอย่างสนุกสนาน เพราะส่วนหนึ่งที่เด็กอาละวาด เนื่องจากพ่อแม่ละเลยไม่สนใจหรือใส่ใจเขานั่นเอง
  • หลีกเลี่ยงการพูดว่า “อย่า” “ไม่” “เดี๋ยวก่อน” รวมถึงการตะเบ็งเสียง เพราะจะยิ่งยั่วยุให้ลูกโมโหเพราะความขัดใจ แต่ควรพูดในเชิงบวกแทน เช่น “ลูกสามารถเล่นได้เต็มที่หลังจากอาบน้ำเสร็จแล้วนะ”
  • สังเกตช่วงเวลาที่เด็กอาละวาด เด็กบางคนมักงอแงตอนหิว ปวดท้อง หรือตอนก่อนนอน และอีกไม่น้อยที่รับรู้ความรู้สึกได้ว่าพ่อแม่กำลังทะเลาะกัน ดังนั้นลองจับสังเกตดีๆ และแก้ไขปัญหานั้น วิธีลงโทษด้วยการตีหรือการตะคอกใส่เป็นเรื่องต้องเลี่ยง เพราะจะทำให้เด็กยิ่งอาละวาดและโมโหหนักกว่าเดิมอีก

พ่อแม่ต้องหยุดการอาละวาดของเด็กวัย 1-3 ปีนี้ด้วยความใจเย็น และมีอารมณ์ที่นิ่งกว่าลูก ควรพูดให้ลูกเข้าใจสลับกับการปลอบโยน เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่นี้ไม่ใช่เรื่องที่ดี หรือเบี่ยงเบนด้วยการชวนไปเดินเล่นหรือเล่นของเล่น เพื่อให้ลืมเรื่องอารมณ์เสียนั้นไปก่อน







 

สร้างสารแห่งความสุข เพิ่มพัฒนาการสมองลูกขวบปีแรก

พัฒนาการสมองเด็ก, สารแห่งความสุข, เอนโดรฟิน, กระตุ้นสมองเด็ก, กระตุ้นสมอง ทารก, ทารกหัวเราะ, ทารก เล่น, เล่น กระตุ้นพัฒนาการสมอง, สารแห่งความสุขคืออะไร, เอนโดรฟีนสำคัญอย่างไร

ความสุขของพ่อแม่ทุกคนก็คือได้เห็นลูกน้อยมีความสุข การหลั่งสารแห่งความสุข (เอนดอร์ฟิน) ออกมา นอกจากจะทำให้ลูกมีใจที่เป็นสุขแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองให้กับลูกได้อีกด้วย

สร้างสารแห่งความสุข เพิ่มพัฒนาการสมองลูกขวบปีแรก

ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าสารเอนดอร์ฟิน เป็นสารที่มีคุณสมบัติในการเสริมพลังด้านบวก (Positive reinforcement) โดยปริมาณของสารเอนดอร์ฟินในพลาสมามีความสัมพันธ์กับความรู้สึกสบาย รู้สึกมีความสุข การมีอารมณ์ดี และการมีสุขภาพดี เป็นต้น

สาร Endorphins เอนดอร์ฟินสารแห่งความสุข คือสารที่มีคุณสมบัติคล้ายฝิ่นซึ่งพบอยู่ในร่างกายของเรา จัดเป็นสารประเภทเดียวกันกับมอร์ฟีนและเฮโรอีนที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมาค่ะ

หน้าที่ของสาร Endorphins 

  1. ลดความเจ็บปวด
    เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บจะช่วยทำให้รู้สึกชาและลดความเจ็บปวดได้ 

  2. ลดความเครียด
    เมื่อเราเครียดสารเอนดอร์ฟินจะถูกสร้างและหลั่งออกมาพร้อมๆ กันกับฮอร์โมนเครียดเพื่อช่วยให้เราผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวลและความเครียด

นอกจากนี้ยังทำให้เรารู้สึกสบายและมีความสุข มีงานวิจัยพบว่าสารเอนดอร์ฟินจะหลั่งมากขึ้นเมื่อมีความรัก เมื่อได้หัวเราะ การลูบสัมผัสผิวกาย การนวด การออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีรสหวาน เช่น ช็อคโกแลต เป็นต้

กิจกรรมเสริมสร้างความสุขให้ลูกน้อย กระตุ้นพัฒนาการสมองสำหรับลูกวัยแรกเกิดถึงขวบปีแรก 

  1. เวลาช่วงที่ให้นมลูก สบตา ยิ้ม พูดคุย ร้องเพลง และเล่านิทานให้ลูกฟัง

  2. สัมผัสไปตามเนื้อตัวของลูก
    เพราะการสัมผัสผิวกาย การกอดและการนวดตัวลูกเป็นอีกวิธีที่ทำให้ลูกรู้สึกสบาย อบอุ่นใจ มีความสุขและสร้างความผูกพันระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกน้อยด้วยค่ะ

  3. ขณะทำกิจกรรมกับลูกคุณแม่อาจเปิดเพลงบรรเลงเบา ๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกสงบและผ่อนคลาย สำหรับลูกวัยนี้ ความรักของคุณพ่อคุณแม่ที่สื่อไปถึงลูกน้อยผ่านการเลี้ยงดู เป็นสิ่งสำคัญในการกระตุ้นสารแห่งความสุขให้หลั่งในสมองของลูก ทำให้ลูกมั่นใจว่าเขาเป็นที่รักของทุกคนในครอบครัว


เด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่มีความสุขจะมีความภาคภูมิใจในตนเอง พอใจในตนเอง ไม่รู้สึกว่าตัวเองขาดความรักความอบอุ่น เพราะครอบครัวเป็นภูมิคุ้มกันอย่างดีที่จะช่วยป้องกันลูกให้ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ 

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงมีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิด ให้ความรัก ความอบอุ่น การทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวอย่างมีความสุข การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้ลูกได้ซึมซับความสุขสงบจากธรรมชาติรอบตัว เพียงเท่านี้ก็ทำให้ลูกได้ค้นพบความสุขจากภายในตัวเองจากสารเอนดอร์ฟินที่หลั่งออกมาแล้ว

เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ : ผศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล โครงการวิจัยชีววิทยาระบบประสาทและพฤติกรรม สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่าน เล่น ทำงาน ดีต่อพัฒนาการลูก

2850

คุณหมอคะ ทำไมคุณหมอพูดอยู่เรื่อยๆ เรื่องการอ่าน การเล่น การทำงาน เหมือนอะไรก็จะแก้ไขได้ด้วย 3 คำนี้

ใช่ครับ อะไรๆ ก็จะแก้ไขได้ด้วยสามคำนี้จริงๆ เวลาเราพบปัญหาพฤติกรรมในบ้าน ปัญหาที่เห็นมักเป็นยอดภูเขาน้ำแข็งเสมอ ใต้น้ำยังมีปัญหาอีกหลายข้อรอผุดขึ้นมา นี่เป็นเรื่องที่ควรรู้

บ้านเราชอบไล่แก้ปัญหาปลายเหตุ  เด็กดื้อก็อบรมสั่งสอน เด็กไม่มีวินัยก็อบรมสั่งสอน พอเด็กโวยวายหนักข้อขึ้นก็ไทมเอาท์ เหล่านี้เป็นการจัดการที่ปลายเหตุ ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง แล้วรอปัญหาใหม่ที่จะตามมา อ่าน เล่น ทำงาน จึงเป็นการแก้ต้นเหตุ กวาดทุกปัญหาหายไปในหมัดเดียว

อ่าน เพื่อให้แม่มีอยู่จริง
อ่านนิทานก่อนนอนทุกคืน พยายามให้ตรงเวลา สม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นหลักประกันว่าแม่จะมีอยู่จริงแน่นอน หากคุณพ่ออยากจะมีอยู่จริงในสายตาลูกก็ควรลงไปอ่านนิทานก่อนนอนด้วยตนเอง พยายามให้ตรงเวลา ทุกๆ คืนเรามีอยู่จริง เราจึงจะสั่งสอนเด็กได้ พูดคำไหนคำนั้นได้มากกว่า หากคนพูดไม่มีอยู่เสียแล้ว คำพูดจะมีอยู่ได้อย่างไร เราจึงได้ปัญหาเด็กไม่ฟังมากขึ้นๆ เพราะพ่อแม่ออกไปทำงานมากขึ้น ส่งลูกไปโรงเรียนเร็วขึ้น การบ้านมีมากขึ้น

เล่น เพื่อระบายส่วนเกิน
เด็กดื้อ เด็กไม่เชื่อฟัง เด็กเป็นอะไรก็ไม่รู้ เรามักเสียเวลาหาสาเหตุ หาถูกบ้างหาผิดบ้าง เดาก็มาก โทษกันไปมาก็บ่อย แทนที่เราจะหมดเวลาไปกับเรื่องพวกนั้น เราควรใช้เวลาที่มีน้อยนิดลงไปเล่นก่อนการเล่นคือการเปิดวาล์วนิรภัย เด็กใกล้ระเบิดด้วยพลังไอน้ำที่อัดแน่น เราเล่นกับเขา เล่นจริงๆ ลงไปเล่นที่พื้น  วิ่งเล่นในสนามพลังส่วนเกินจะถูกระบายออกไปทันที แล้วเด็กมักจะกลับสู่สมดุลได้เร็วกว่าอย่างง่ายๆ การเล่นใช้เวลาของพ่อแม่มากกว่าการอ่าน แต่รับรองได้ว่าเวลาที่เสียไปคุ้มค่ามากมาย ที่จะได้คืนมาคือพ่อแม่ที่มีอยู่จริง สายสัมพันธ์ที่แข็งแรงมากกว่าเดิม  มากกว่านี้ทักษะการแก้ปัญหาและคิดยืดหยุ่นที่ดีกว่าเดิม 

ทำงาน เพื่อฝึกการควบคุมตนเอง
การทำงานไม่สนุกเหมือนการเล่น การทำงานใช้นิ้วมือ 10 นิ้วเหมือนการเล่น จึงพัฒนาสมองเหมือนการเล่น เล่นมาก ทำงานมาก สมองดีกว่า ทำให้ EF ดีกว่า แต่การทำงานเป็นเรื่องไม่สนุก หากเราเอาการทำงานมาขวางทางการเล่น เด็กๆ จะต้องฝึกฝนการควบคุมตนเองให้ทำงานจนกว่างานจะเสร็จเพื่อจะได้ไปเล่น

เด็กจะได้ฝึกความสามมรถอดเปรี้ยวไว้กินหวาน คือ delayed gratification  รู้จักอดทนต่อความลำบากก่อนที่จะลิ้มรสความสุขที่เกิดจากการทำงานเสร็จอ่าน เล่น ทำงาน จึงได้ทั้งหมด

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล


 

เด็กทารกกินยาแก้แพ้ทำให้พัฒนาการล่าช้า จริงหรือ?

ยาแก้แพ้-ยาแก้แพ้เด็ก-เด็กเป็นภูมิแพ้-เด็กมีอาการแพ้-เด็กทานยาแก้แพ้-ลูกป่วยภูมิแพ้

เมื่อลูกไม่สบายสามารถกินยาแก้แพ้ได้หรือไม่ ยาแก้แพ้เด็กส่งผลอะไรกับลูกไหม มาหาคำตอบกัน 

เด็กทารกกินยาแก้แพ้ทำให้พัฒนาการล่าช้า จริงหรือ?

 

ถึงเป็นเด็กทารกก็มีโอกาสแพ้ หากครอบครัวมีประวัติภูมิแพ้ แม่ผ่าคลอดและไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ด้วยข้อจำกัดทางด้านสุขภาพ หรือสาเหตุอื่น ๆ ก็เพิ่มโอกาสให้ลูกป่วยภูมิแพ้ได้มากขึ้น และเมื่อเด็กมีอาการแพ้ สามารถกินยาแก้แพ้เด็กได้มั้ย กินแล้วจะมีผลข้างเคียงหรือไม่ ล่าสุดมีการส่งต่อความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยาแก้แพ้เด็ก ว่าหากให้เด็กทารกกินยาแก้แพ้ตลอดจะทำให้พัฒนาการช้า

 

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การให้เด็กทานยาแก้แพ้ตามขนาดและปริมาณที่เหมาะสมโดยแพทย์ไม่ได้ส่งผลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็ก เนื่องจากการทานยาแก้แพ้กลุ่ม Antihistamine จะมีสองกลุ่มคือกลุ่มที่ทำให้ง่วง เช่น chlorpheniramine, hydroxyzine ในกลุ่มนี้จะแนะนำให้ทานเฉพาะช่วงที่มีอาการเพียงสั้น ๆ และกลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วง เช่น cetirizine จะใช้ในกลุ่มเด็กโต

 

สรุปแล้วจากการศึกษาในปัจจุบันนี้การกินยาแก้แพ้ไม่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก อย่างไรก็ตามการกินยาแก้แพ้ในเด็กควรปรึกษาแพทย์ในการใช้ยา ไม่ควรซื้อยากินเอง

 

ที่มา : 

https://childrenhospitalfoundation.org/blogs/2023_03_22_09669/

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมทางการแพทย์ที่น่าทึ่ง มีการพัฒนาเทคโนโลยีและวิธีการรักษาที่ทันสมัย เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าในการวิจัยและพัฒนายา การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการวินิจฉัยและรักษาโรคและส่งเสริมสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังส่งเสริมให้กลุ่มผู้ป่วยและประชาชนเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพและบริการด้านสุขภาพได้อย่างสะดวกรวดเร็ว นวัตกรรมทางการแพทย์ของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกและมีผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลก นวัตกรรมทางการแพทย์มักสนับสนุนคาสิโนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก: The Venetian Macao, B2YClub, MGM Grand Casino เป็นต้น

เมื่อลูกวัยทอง 2 ขวบ ชอบขว้างปาสิ่งของ

 ลูกชอบปาของ-ลูกวัย 2 ขวบ ชอบปาข้าวของ-พัฒนาการลูกวัย 2 ขวบ-วัยทอง 2 ขวบ-พัฒนาการเด็กวัย 2 ขวบ-2 ขวบ ชอบปาของ-terrible two-ลูกชอบปาข้าวของทำไงดี-ทำไมลูกชอบปาของ-ทำยังไงไม่ให้ลูกปาของ

เมื่อลูกวัยทอง 2 ขวบ ชอบขว้างปาสิ่งของ

ลูกชอบขว้างปาสิ่งของ ห้ามก็ไม่ฟัง สอนก็ไม่เคยจำ ยิ่งเข้าสู่ช่วงวัยทอง 2 ขวบด้วยแล้ว ดื้อเป็นที่หนึ่ง พ่อแม่ต้องทำอย่างไร รักลูกมีคำแนะนำมาฝากค่ะ

ลูกปาสิ่งของ เป็นเรื่องปกติของวัย

ธรรมชาติของเด็กวัย 1-2 ปี จะชอบอยากรู้อยากเห็น อยากเล่นอยากลอง ยิ่งเด็กวัย 2 ขวบ ยิ่งมีความเป็นตัวของตัวเองสูง และเมื่อสองสิ่งนี้มารวมกัน เราก็จะได้เห็นการทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ของเด็กวัย 2 ขวบ เช่น เห็นอะไรที่ไม่รู้จักก็จะหยิบขึ้นมากัดดูว่ารสชาติเป็นอย่างไร ขว้างปาออกไปเพื่อดูว่าเมื่อมันตกพื้นแล้วจะเป็นอย่างไร หรือแม้กระทั่งเอาของไปทิ้งน้ำเพื่อดูว่าจะเกิดอะไรตามมา

วิธีแก้ ลูกชอบปาสิ่งของ
  1. พูดอย่างเดียวไม่พอต้องทำด้วย เด็กที่ฉลาดจะรู้ว่าเพียงแค่คำพูดอย่างเดียวนั้นไม่ได้น่ากลัวอะไรแม้จะเป็นการดุก็ตาม หากแม่ดุหรือสอนลูกแล้วลูกยังไม่ทำตาม สิ่งที่ควรทำมากที่สุด คือ เก็บของที่ลูกไม่ควรเล่น (แต่ชอบเอามาปา) ทั้งหมดให้พ้นมือเขา
  2. เลือกของเล่นให้เหมาะกับลูก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ คือ แทนที่จะห้ามไม่ให้ลูกปาสิ่งของ เปลี่ยนเป็นของเล่นนุ่มๆ เช่น ตุ๊กตา ลูกบอลยาง มาขว้างเล่นกับลูก ลูกยังขว้างปาได้ค่ะ แต่ต้องเป็นของที่ไม่มีอันตราย เพราะสิ่งที่ลูกทำนั้นเขาเพียงต้องการเล่น
  3. สอนให้ลูกพูดให้ได้ไวๆ เนื่องจากว่าหากลูกพูดเก่งขึ้น เขาจะเรียนรู้ด้วยการทดลองหรือลงมือทำน้อยลง ยิ่งลูกพูดได้มากเท่าไหร่ ลูกจะยิ่งเรียนรู้ด้วยการถามมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น หากลูกพูดได้มากขึ้น เขาอาจจะถามพ่อแม่เองว่า “อันนี้อะไร” แทนที่จะเอาของสิ่งนั้นมาอมหรือขว้างปาค่ะ
  4. หากลูกขว้างปาสิ่งของขณะที่กำลังโกรธ พ่อแม่ต้องใจเย็นๆ พูดกับลูกด้วยคำพูดและท่าทีที่สงบ ว่าลูกจะทำแบบนี้ไม่ได้ เช่น แม่รู้ว่าหนูโกรธมาก หนูโกรธได้นะ แต่โกรธแล้วต้องไม่ขว้างปาข้าวค่ะ เป็นต้น

เมื่อโลกเปลี่ยนไป self-control ยิ่งสำคัญ

3001

หนูพยายามให้ปู่ย่า(หรือตายาย) อ่านที่คุณหมอเขียนหรือที่คุณหมอท่านอื่นๆ เขียนเพจ ท่านไม่ยอมอ่านบอกว่าเหลวไหลไร้สาระ พวกชั้นเลี้ยงแกมาแบบนี้ไม่เห็นจะเป็นอะไร ป้อนข้าว ดูทีวี ไม่ให้เล่นสกปรก พวกแกก็โตมาได้

จุดตัดสำคัญน่าจะอยู่ที่ปี 2000 คือเริ่มต้นสหัสวรรษใหม่ เป็นช่วงเวลาโดยประมาณที่ประเทศไทยมีอินเทอร์เน็ตแบบมีสาย มีเราต์เตอร์ มีเกมออฟไลน์ ก่อนที่จะพัฒนาเป็นอินเทอร์เน็ตไร้สาย มีไวไฟ มีเกมออนไลน์ ตามด้วยโซเชียลเน็ตเวิร์คเริ่มจากไฮไฟว์มาจนถึงเฟซบุ๊คโลกเปลี่ยนไปแล้ว

การเลี้ยงลูกตามมีตามเกิดเป็นเรื่องที่น่าจะทำได้ในจังหวัดพระนครที่มีทีวีสองช่องคือช่องสี่บางขุนพรหมและช่องเจ็ดกองทัพบก ที่จังหวัดเชียงรายเมื่อปี พศ.2526 มีช่องเดียวคือช่องเจ็ดสีทีวีเพื่อคุณ แต่การเลี้ยงลูกบนโลกที่มีทีวีมากกว่า 200 ช่องและโซเชียลเน็ตเวิร์คที่มีพลังทะลักทะลวงเข้าหาลูกของเราใต้ผ้าห่มตอนตีสองหรือในห้องส้วมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ประเทศไทยเปลี่ยนไปแล้ว

เด็กสมัยก่อนอาจจะไม่ต้องมีความสามารถควบคุมตนเอง self-control หรือกำกับตนเอง self-regulation อะไรมากมาย เดินป้อนข้าว ดูทีวี เลี้ยงมดไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม พวกเขาก็อาจจะรอดได้ เพราะในน้ำมีปลาในนามีข้าวแผ่นดินของเราร่วมด้วยช่วยกัน

แต่วันนี้เด็กที่ไม่มี EF ไร้ความสามารถที่จะบังคับตนเองไปในทิศทางที่ถูกต้อง พวกเขาไม่น่าจะรอด ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่าในน้ำไม่มีปลาในนาไม่มีข้าว มีไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด น้ำพิษและหมอกควันพิษ เราไม่ช่วยกันอีกต่อไปแล้ว รัฐยังไม่ช่วยเราเลย ใครดีใครได้

การป้อนข้าวกลายเป็นประเด็น เราพบว่าเด็กที่นั่งกินข้าวด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะด้วยช้อนหรือด้วยมือ จะมีความสามารถควบคุมตนเองได้ดีกว่าในวันหน้า และพัฒนาการด้านอื่นๆ ดีๆตามๆกันมาเสมือนโดมิโน่

การดูทีวีก่อน 2 ขวบกลายเป็นประเด็น ทีวีมิได้มีแค่ทีวีแต่ยังมีหน้าจอทุกชนิดคือคลิป ยูทู้บ และบิลบอร์ดบนถนน เหล่านี้กระทบการก่อร่างสร้างตัวของวงจรประสาทและการวางขดลวด (wiring) ของเส้นประสาทในสมอง ซึ่งเปรียบเสมือนฐานราก สถานี ชานชาลา และรางรถไฟที่ดีของ EF ในอนาคต

ปู่ย่าตายายเป็นผู้มีพระคุณ ท่านรักหลานโดยไม่มีเงื่อนไขแต่ประโยคที่ว่า “รักลูกให้ถูกทาง” ยังคงเป็นความจริงเสมอ ปู่ย่าตายายเป็นบุคคลที่เราสมควรเคารพและแสดงความกตัญญู

แต่ประโยคที่ว่า “รักพ่อแม่ให้ถูกทาง” ก็มีประเด็นด้วย การที่เราสปอยล์ (spoil) ปู่ย่าตายายมากเกินไปสามารถก่อปัญหาอื่นตามมาได้เช่นกัน ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่าไวไฟและสมาร์ทโฟนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของปู่ย่าตายายด้วย มิเพียงโลกที่เปลี่ยนไป ปู่ย่าตายายก็เปลี่ยนไป

เราควรเจรจาต่อรองกับปู่ย่าตายาย เจรจาต่อรองหมายถึงการแลกเปลี่ยนสินค้า สินค้าบางชนิดเราไม่ควรเอาไปแลก เช่น การป้อนข้าว การดูหน้าจอ สินค้าบางชนิดเราอาจจะพอแลกได้บ้าง เช่น เลี้ยงลูกมดไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม การแลกเปลี่ยนสินค้ามิได้หมายถึงการแลก 1 ต่อ 1 แต่เราพิจารณามูลค่าของสินค้าได้ด้วย

 

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ไกลจากโรคสมาธิสั้น

5086 1

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ไกลจากโรคสมาธิสั้น

ปัจจุบันมีแนวโน้มเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นมากขึ้น ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าเด็กไทยป่วยสมาธิสั้นกว่า 1 ล้านคน และกว่าครึ่งจะมีปัญหาสุขภาพจิตตามมา โรคสมาธิสั้นเรียกย่อๆ ว่า ADHD มาจากชื่อในภาษาอังกฤษว่า Attention deficit/hyperactivity disorder

โรคสมาธิสั้นคืออะไร

โรคสมาธิสั้นมักพบในเด็กอายุก่อน 7 ปี และมีอาการต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือน โดยสาเหตุหลักมาจาก

พันธุกรรม โรคสมาธิสั้นสามารถถ่ายทอดภายในครอบครัวได้ถึงร้อยละ 57

ความผิดปกติทางสมอง เมื่อสารสื่อประสาทไม่สมดุล ทำให้สมองส่วนหน้าส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมเรื่องสมาธิ การจดจ่อ การยับยั้งชั่งใจ และการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำงานน้อยกว่าปกติ จึงทำให้เด็กไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย อยู่ไม่นิ่ง

การดูแลตั้งแต่ในครรภ์และการเลี้ยงดู แม่สูบบุหรี่ ดื่มสุราระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากทำให้ลูกเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติแล้ว ก็มีโอกาสทำให้ลูกสมาธิสั้นได้ด้วย รวมถึงการเลี้ยงดูที่พ่อแม่ปล่อยปละละเลย ตามใจลูกจนขาดระเบียบวินัย ปล่อยให้อยู่กับจอ เช่น โทรทัศน์ ไอแพด แท็บเล็ต มือถือ เป็นเวลานานๆ

โรคสมาธิสั้นนั้นหากไม่ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ อาจส่งผลต่อพัฒนาการต่างๆ เช่น มีอาการซุกซน ไม่อยู่นิ่ง ควบคุมตัวเองได้ยาก หุนหันพลันแล่น มีปัญหาเกี่ยวกับการคิด การวางแผน และการจัดลำดับสิ่งต่างๆ จนส่งผลต่อการเรียนรู้และการทำกิจวัตรประจำวัน เมื่อถึงวัยเข้าโรงเรียนก็จะส่งผลกระทบต่อการเรียน การมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่นด้วย ซึ่งอาจติดตัวไปจนถึงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่

แนวทางการรักษาโรคสมาธิสั้น

5086 2

เมื่อสังเกตพบว่าลูกมีแนวโน้มเป็นเด็กสมาธิสั้น ซึ่งจะแสดงอาการ วอกแวก เหม่อลอย จดจ่ออะไรนานๆ ไม่ได้ ขี้ลืม ขี้เบื่อ ไม่ค่อยรอบคอบ ไม่ชอบทำงานที่ต้องอาศัยสมาธิ ยุกยิกตลอดเวลา ชอบคุยเสียงดังๆ เล่นกับเพื่อนแรงๆ ใจร้อน วู่วาม หุนหันพลันแล่น ชอบพูดแทรก รอคอยอะไรไม่ค่อยได้ ให้รีบปรึกษาแพทย์และพาลูกเข้ารับการรักษาทันทีค่ะ

การรักษาโรคสมาธิสั้นด้วยยา แพทย์จะจ่ายยาที่ช่วยเพิ่มสมาธิ เป็นยาในกลุ่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท เช่น Methylphenidate ซึ่งตัวยาเข้าไปกระตุ้นให้สมองหลั่งสารสื่อประสาทเพิ่มขึ้น ช่วยลดอาการสมาธิสั้นต่างๆ ได้

การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกได้ดังนี้

5086 3

  1. พ่อแม่ควรปรับทัศนคติที่มีต่อลูกให้เป็นบวก ทำความเข้าใจว่าโรคสมาธิสั้นเป็นความผิดปกติในการทำงานของสมอง ลูกไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้
  2. ต้องไม่ทำลายความรู้สึกที่มีคุณค่าในตัวเองของลูกให้ลดลง
  3. ใช้การสื่อสารที่สั้น กระชับ ตรงไปตรงมา ทีละคำสั่ง และให้ลูกมองหน้าสบตาพ่อแม่ ทวนสิ่งที่พ่อแม่พูดหรือสั่ง เพื่อเช็กว่าลูกรับฟังได้ครบและเข้าใจถูกต้อง
  4. ทำตารางกิจกรรมที่ชัดเจนในแต่ละวัน เช่น ระบุว่าเวลาไหนต้องทำอะไรบ้าง และติดไว้ในที่ที่ลูกมองเห็นได้ชัด
  5. ปรับบรรยากาศการทำการบ้านของลูกให้สงบ ไม่มีเสียงโทรทัศน์ ไม่มีอุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องมาทำให้วอกแวก
  6. พาลูกออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านเพื่อให้ได้ออกแรงและใช้พลังงานอย่างเหมาะสม เช่น ชวนลูกปั่นจักรยาน เล่นกีฬา ออกกำลังกายเป็นประจำ
  7. ไม่บ่นจู้จี้ถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูกในอดีต
  8. จำกัดการดู ไอแพด แท็บเล็ต หรือโทรทัศน์ วันละไม่เกิน 1 ชั่วโมง และพ่อแม่ควรอยู่กับลูกในขณะที่เขากำลังใช้จอเพื่อดูความเหมาะสมของเนื้อหาต่างๆ ด้วย
  9. ชื่นชมเมื่อลูกทำได้ดี อาจใช้ตารางสะสมดาวเพื่อกระตุ้นให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดี
  10. อย่าใช้อารมณ์ในการลงโทษลูก หากต้องมีการลงโทษ ควรใช้การจำกัดสิทธิ เช่น ลดค่าขนม ลดเวลาในการเล่นเกม
  11. พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีเรื่องของความมีระเบียบวินัย การรู้จักอดทนรอคอย รวมถึงการใช้ไอแพด แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ ด้วย
Omega 3 & DHA เสริมสร้างสารสื่อประสาทให้สมองเด็ก

โอเมก้า 3 คือกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย และต้องได้รับจากการกินอาหารเท่านั้น ซึ่งโอเมก้า 3 นี้เป็นตัวช่วยให้เซลล์ประสาทและสมองของลูกทำงานเป็นปกติ พัฒนาจอประสาทตา แถมยังเป็นสารตั้งต้นในการผลิต DHA ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาท ระบบสายตา และทำงานเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาท ทำหน้าที่ในการสร้างปลอกหุ้มใยประสาท ส่งผลให้เซลล์สมองส่งกระแสไฟฟ้าถึงกันและกันได้รวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพ ทำให้ลูกมีพัฒนาการการเรียนรู้ ความคิด และความจำที่ดีนั่นเอง

หากคุณแม่สนใจ อยากหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OMEGA3 & DHA หรือเรื่องสมาธิสั้นของเด็กๆ สามารถดูข้อมูลเพิ่มได้ที่ https://www.facebook.com/sevenseasthailand/

#SevenSeasThailand #บำรุงร่างกายให้ลูกน้อย #Omega3และDHAจากน้ำมันตับปลา

แบบประเมินพัฒนาการเด็กทารกอายุ 9 เดือน ลูกเราต้องทำอะไรได้บ้าง

พัฒนาการทารก 9 เดือน, ทารก 9 เดือน, ของเล่น เสริม พัฒนาการ 9 เดือน, พัฒนาการ 9 เดือน, เด็ก 9 เดือน พัฒนาการ, ทารก 9 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร, ส่งเสริมพัฒนาการทารก 9 เดือน, ลูกวัย 9 เดือน, เด็กทารก 9 เดือน ทำอะไรได้บ้าง, เช็กพัฒนาการเด็ก 9 เดือน

ลูกทารกวัย 9  เดือนของเรามีพัฒนาการแต่ละด้านเป็นอย่างไรบ้าง แม่ต้องส่งเสริมอะไร มาเช็กกันที่บทความนี้ค่ะ 

แบบประเมินพัฒนาการเด็กทารกอายุ 9 เดือน ลูกเราต้องทำอะไรได้บ้าง

  1. เด็กทารกวัย 9 เดือน จับลูกนั่งแล้ว ลูกนั่งอยู่ได้นานโดยไม่ต้องใช้มือยันพื้น : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทารก
    • จับลูกนั่งบนพื้น วางของเล่นไว้ข้างหน้าให้เล่นโดยเล่นกับลูกด้วย และคอยเปลี่ยนท่านั่งให้ลูก เช่น นั่งพับเพียบ ไม่ควรปล่อยให้ลูกนั่งท่าเดียวนาน ๆ

  2. เด็กทารกวัย 9 เดือน จับลูกนั่ง ให้ลูกมองของเล่นที่มีสีสดใสและไม่มีเสียง เช่น ผ้า เศษกระดาษ เมื่อปล่อยของให้ตกพื้นสามารถมองตามของเล่นที่ทำตกได้ : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทารก
    • จับลูกนั่งเก้าอี้ หรือบนตัก เขย่าของเล่นสีสดใส มีเสียง ตรงระดับสายตาขณะลูกกำลังจ้องมองปล่อยของเล่นให้ตกลงพื้น ถ้าลูกไม่มองหาของเล่นที่ตก กระตุ้นให้มองหา
    • ใช้วัตถุไม่มีเสียง เช่น ผ้าสีสด ฟองน้ำ สอนเช่นเดียวกับข้อหนึ่ง
    • ในขณะที่อาบน้ำให้ลูก ใช้ของเล่นที่ลอยน้ำได้

  3. เด็กทารกวัย 9 เดือน โผเข้าหา หรือยื่นแขนให้เมื่อเรียกและทำท่าอุ้ม : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทารก
    • ให้ทำท่ายื่นแขนทั้งสองข้างไปที่ตัวลูกทุกครั้งที่จะพาไปทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อาบน้ำ กินนม พร้อมพูดกับลูกว่า “อุ้ม” หรือ”ลุกขึ้น”
    • ถ้าลูกเฉยให้จับแขนยื่นมาที่แขนของผู้อุ้ม ก่อนจะอุ้มเด็กขึ้นทุกครั้ง
    • เมื่อต่อไปไปจะอุ้มลูก ถ้าลูกยื่นแขนออกมาเองให้กล่าวชมเชยพร้อมอุ้มขึ้นมากอด

  4. เด็กทารกวัย 9 เดือน พูดเสียงซ้ำ ๆ เช่น บาบา ดาดา หม่ำ ๆ จ๋าจ๊ะ : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทารก
    • การสอนพูด เราไม่สามารถช่วยเหลือด้วยวิธีจับปากให้ลูก แต่การได้ยินการพูดคุยเป็นประจำในชีวิตประจำวัน จะเป็นสิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการพูด ถ้าลูกยังไม่ส่งเสียงคุย ให้ตรวจสอบความสนใจ และการตอบสนองต่อผู้อื่นของลูก
    • ออกเสียง 2 พยางค์ ให้เด็กเลียนเสียงตาม เช่น มามา ดาดา บาบา หม่ำ ๆ

  5. เด็กทารกวัย 9 เดือน จ้องมอง หรือร้องไห้เมื่อเห็นคนแปลหน้า : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทารก
    • พาลูกไปเยี่ยมบ้านญาติ หรือเพื่อนสนิท เพื่อให้ได้พบสิ่งแวดล้อมที่แปลก ๆ ใหม่ ๆ
    • เมื่อ ลูกแสดงท่าทางกลัวหรือร้องไห้ ต้องอุ้มลูกและปลอบโยนทุกครั้งว่าไม่ต้องกลัว…. ไม่มีใครทำอะไร…. พยายามชี้ชวนพูดคุยให้ดูผู้คน และของเล่นแปลก ๆ ใหม่ ๆ

สรุปผลการประเมินพัฒนาการทารกเบี้องต้น

( 1 ข้อเท่ากับ 1 คะแนน) ** กรณีทำได้มากกว่า 3 ข้อ ถือว่าปกติ **