facebook  youtube  line

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกชัก

ชัก-อาการชัก-อาการชักในเด็ก-ลูกชัก-ชักกระตุก-ลูกชักทำอย่างไร-วิธีปฐมพยาบาล-วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกชัก

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกชัก

หากเจ้าตัวเล็กเกิดมีอาการชักกระตุก ตัวเกร็ง น้ำลายฟูมปาก ไม่รู้สึกตัว ปากเขียว ใบหน้าเขียว ไม่ว่าจะเป็นเพราะไข้ขึ้นสูง โรคลมชัก การติดเชื้อในสมอง หรืออุบัติเหตุ คุณพ่อคุณแม่สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นของอาการชักได้ด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
 


 

  1. ตั้งสติ: ลูกชักจะทำให้พ่อแม่ตื่นตกใจแน่นอน จำให้มั่นว่าพ่อแม่ต้องตั้งสติ ไม่กรี๊ดร้อง ฟูมฟาย หรือช้อกจนทำอะไรไม่ถูก เพราะสิ่งสำคัญคือการเข้าชาร์จและปฐมพยาบาลลูกทันที ให้นึกถึงตอนลูกล้มเรายังวิ่งเข้าไปดูทันที ตอนลูกชักก็ให้ตั้งสติและรีบเข้าปฐมพยาบาลเช่นกัน
     
  2. จับลูกนอนที่โล่งและนอนตะแคง: ให้ลูกนอนในที่โล่งเพื่ออากาศถ่ายเทและหายใจสะดวก จากนั้นจับนอนตะเคง เพื่อป้องกันเสมหะ อาหาร ลิ้น หรือน้ำลายอุดตันหลอดลม ควรให้ลูกนอนตะแคงศีรษะต่ำเล็กน้อย หรือนอนหงายแล้วหันศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง
     
  3. ห้ามใส่ของงัดปากหรือให้ลูกกัด: ใครที่เคยทำหรือเชื่อต่อกันว่าให้เอาช้อน ผ้าหรืออะไรนุ่มๆ งัดปากให้ลูกกัด ไม่เป็นความจริงเพราะจะยิ่งอันตราย เช่น ฟันหักหลุดไปอุดตันหลอดลมหายใจไม่ออกส่งผลให้พิการหรือเสียชีวิตได้ รวมถึงห้ามให้ใครมามุงด้วย
     
  4. ปลดเสื้อผ้าลูกให้หลวม: เพื่อระบายความร้อน หายใจสะดวก และง่ายต่อการปฐมพยาบาล
     
  5. เช็ดตัวด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง: เมื่อลูกชักเพราะไข้ตัวร้อน ควรเลี่ยงการเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น เพราะจะทำให้เส้นเลือดที่ผิวหนังหดตัว และไม่เกิดการถ่ายเทความร้อนออกภายนอก ควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง เช็ดแรงๆ จนผิวแดง ซึ่งจะช่วยลดไข้ได้
     
  6. รีบพาลูกส่งโรงพยาบาล: ถ้าชักเกิน 10 นาที หรือชักซ้ำ ขณะที่ลูกยังไม่ฟื้นเป็นปกติควรรีบนำลูกส่งโรงพยาบาล เพื่อหาสาเหตุและรักษาให้ถูกต้องต่อไป

 

558 2

Don'ts เมื่อลูกชักอย่าทำแบบนี้เด็ดขาด 

  • อย่าอุ้มเด็กขึ้นมากอดไว้ขณะเด็กชัก
  • อย่าเขย่าหรือตีลูก
  • อย่าใช้นิ้วมือของตัวเองสอดเข้าไปในปากลูก
  • อย่าฝืนง้างปากลูก เพราะอาจทำให้ฟันและขากรรไกรหักได้
     

หน่วยฉุกเฉิน 1669 เมื่อลูกชัก

ขณะที่คุณพ่อคุณแม่ปฐมพยาบาลเบื้องต้นอยู่นั้น หากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมสามารถโทรศัพท์แจ้งหน่วยฉุกเฉิน 1669 ให้เข้ามาช่วยเหลือได้ค่ะ (มีกระจายอยู่ทั่วไปทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด)

 

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกโดนพิษแมงกะพรุนไฟ

ล้างพิษแมงกะพรุนไฟ, วิธีปฐมพยาบาลพิษแมงกะพรุนไฟ, ล้างพิษแมงกะพรุนไฟยังไง, ปฐมพยาบาลเวลาโดนแมงกะพรุนไฟยังไง, พิษแมงกะพรุนไฟ, อันตรายของแมงกะพรุนไฟ, แมงกะพรุนไฟอันตรายยังไง, พิษแมงกะพรุนไฟทำให้ตายไหม, พิษแมงกะพรุนไฟร้านแรงแค่ไหน, เที่ยวทะเลระวังแมงกะพรุนไฟ, เล่นทะเลยังไงไม่ให้โดนแมงกะพรุนไฟ, แมงกะพรุน, แมงกะพรุนไฟ, ทะเล, เที่ยวทะเล, พาลูกเที่ยวทะเลย, เที่ยวปืเเทอม, พิษแมงกะพรุนไฟ, พิษของแมงกะพรุน
 

คุณพ่อคุณแม่ที่พาลูกไปเที่ยวทะเล ต้องระวังแมงกะพรุนไฟกันหน่อยนะคะ เพราะหากลูกไปสัมผัสแมงกะพรุนตัวร้ายเข้า อาจทำให้เกิดผื่นได้ ยิ่งเด็กๆ ผิวบอบบางมากๆ อาจมีแผลเป็นตามมาได้ค่ะ

วิธีสังเกตแมงกะพรุนที่มีพิษ หรือแมงกะพรุนไฟ

แมงกะพรุนชนิดที่มีพิษจะถูกเรียกรวมๆ กันว่า แมงกะพรุนไฟ ส่วนใหญ่มีลำตัวสีแดงหรือสีส้ม จะมีพิษที่บริเวณหนวดที่มีน้ำพิษ ใช้สำหรับเพื่อล่าเหยื่อและป้องกันตัว สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่สัมผัสได้ บริเวณที่ถูกกัดหรือสัมผัสนั้น จะปรากฏรอยคล้ายรอยไหม้เป็นผื่น

จากนั้นในอีก 20-30 นาทีต่อมา จะบวมนูนขึ้นเป็นทางยาวตามผิวหนัง ต่อไปจะเกิดเป็นแผลเล็กๆ และแตกออกเป็นแผลเรื้อรัง กล้ามเนื้อเกร็งและบังคับไม่ได้ จุกเสียด หายใจไม่ออก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการหลังโดนพิษ

หรือสัมผัสแมงกะพรุน ผื่นสัมผัสแมงกะพรุน เป็นปฏิกิริยาที่ผิวหนังเกิดความระคายเคือง หลังถูกแมงกะพรุนไฟมาสัมผัสร่างกาย ผิวหนังจะเกิดการระคายเคือง ซึ่งสารพิษบางตัวนอกจากจะทำให้เกิดผื่นแพ้แล้ว ยังมีพิษต่อหัวใจอีกด้วย เมื่อโดนแมงกะพรุนไฟ บริเวณที่สัมผัสกับหนวดจะเป็นสีแดง เจ็บ บวม เป็นตุ่มน้ำใส อาจมีเนื้อบางส่วนเน่าตาย และท้ายสุดจะกลายเป็นรอยแผลเป็น

ในคนที่แพ้พิษของแมงกะพรุนจะมีอาการอย่างรวดเร็วภายใน 10 - 15 นาที อาการ คือ ปวดท้อง คลื่นไส้ หายใจลำบาก ชัก หมดสติ ดังนั้น ถ้ามีอาการแพ้รุนแรงควรรีบน้ำส่งโรงพยาบาลทันทีเพราะมีโอกาสเสียชีวิตได้นะคะ

การดูแลแผล ปฐมพยาบาลเมื่อโดนพิษแมงกะพรุน
  1. ล้างแผลด้วยน้ำส้มสายชูนาน 30 วินาที หรืออาจใช้ผักบุ้งทะเลแทนได้
  2. ใช้น้ำทะเลราดบ่อยๆ และใช้สันมีดขูดกระเปาะพิษออก ไม่ควรราดแผลด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำจืด เพราะจะทำให้พิษออกมามากขึ้นค่ะ
  3. ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เนื่องจากแผลจากแมงกะพรุนเป็นแผลหายยาก จึงมีโอกาสที่จะทิ้งแผลเป็นไว้ตลอดชีวิต

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.ฐิตาภรณ์ วรรณประเสริฐ  เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังเด็ก

วิธีสังเกตมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กที่พ่อแม่ต้องรู้

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาด-โรคมะเร็ง-มะเร็งในเด็ก-ลูกป่วย-อาการโรคมะเร็ง-วิธีรักษาโรคมะเร็ง 

จากข่าวน้องชะเอม หนูน้อยวัย 6 ปีที่ต่อสู้โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมาตั้งแต่น้องอายุได้ 5 เดือนเท่านั้น ทางรักลูกคลับจึงได้ขออนุญาตทางคุณพ่อ เพื่อนำเรื่องราวของน้อง และความรู้เรื่องโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก มาให้ความรู้กับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านค่ะ

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือที่เรียกกันว่าลูคีเมีย โรคนี้จะพบได้ 25–30% ของโรคมะเร็งในเด็กทั้งหมดค่ะ  วิธีสังเกตมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก อาการที่พบบ่อย เด็กจะมีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนพุ่ง ตัวซีด เลือดออกผิดปกติ น้ำหนักลด หรือผู้ป่วยเด็กบางรายอาจมีผื่นหรือปื้นที่ผิวหนังร่วมด้วยค่ะ  

วิธีการตรวจโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย

เจาะตรวจไขกระดูก เพื่อนับจำนวนเซลล์ตัวอ่อน ตรวจย้อมการติดสีจำเพาะเพื่อจำแนกชนิดของมะเร็ง ตรวจโครโมโซมเพื่อประเมินระยะความเสี่ยงของโรค ตรวจเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดและเกร็ดเลือด รวมไปถึงค่าทางชีวเคมีเพื่อประเมินการทำงานของตับ ไต เกลือแร่ และกรดยูริค ตรวจค่าการแข็งตัวของเลือดในมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันบางชนิดที่มักมีความเสี่ยงต่อการเลือดออกง่าย เช่น AML-M3 เจาะตรวจน้ำไขสันหลังในกรณีที่สงสัยภาวะลุกลามเข้าระบบประสาท

การรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย
  1. ยาเคมีบำบัดซึ่งอาจให้ในรูปยาฉีดหรือยากินหรือทั้งสองแบบ ยาเคมีบำบัดจะเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ไขกระดูกสามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดปกติออกมาได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักต้องได้รับเลือดแดงหรือเกร็ดเลือดระหว่างรักษา รวมไปถึงยาปฎิชีวนะหากมีอาการติดเชื้อ

  2. การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเซลล์ผู้อื่น (Allogeneic stem cell transplantation) เป็นการรักษาที่สามารถทำให้โรคหายขาดได้ การรักษาแบบนี้ต้องทำในระยะที่โรคสงบหลังได้รับยาเคมีบำบัดแล้ว ทีมแพทย์จะให้คำแนะนำเรื่องการหาเซลล์ต้นกำเนิดที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเพื่อย่นระยะเวลาการรอปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

  3. การลดจำนวนเม็ดเลือดขาวอย่างรวดเร็วโดยการเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า (Leukapheresis) จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงมากหรือมีอาการของเม็ดเลือดขาวอุดตันตามหลอดเลือด (Hyperleukocytosis) เช่น หอบเหนื่อย ซึมสับสน

  4. การให้ยาเคมีบำบัดทางน้ำไขสันหลัง (Intrathecal chemotherapy) เฉพาะในรายมีการภาวะการลุกลามเข้าสมองหรือน้ำไขสันหลัง โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาให้ยาทางน้ำไขสันหลังจนกว่าจะไม่พบเซลล์มะเร็งในน้ำไขสันหลัง

  5. การฉายแสง (Radiation) จะพิจารณาให้ในผู้ป่วยบางรายที่มีมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันที่มีความเสี่ยงในการลุกลามเข้าสมอง 

ทางเราขอเป็นกำลังใจ และขอให้น้องชะเอม หนูน้อยจอมอึดหายไวๆ นะคะ น้องเก่งและเข้มแข็งมากที่สุด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อยากให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านได้ศึกษา และเรียนรู้เข้าใจถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว วิธีสังเกตทั้งหมด การตรวจ จนถึงขั้นตอนการรักษา รู้ไว้ ป้องกันก่อน เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกเรานะคะ 

 

ขอบคุณเรื่องราวจาก : คุณพ่อน้องชะเอม และ เพจ ชะเอมจอมอึดสู้มะเร็ง

 

ที่มา : โรงพยาบาลวัฒโนสถ โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางด้านโรคมะเร็งแห่งแรกของประเทศไทย

สมุนไพร ช่วยลูกหายป่วยได้

 สมุนไพร-แพทย์ทางเลือก- ยาสมุนไพร- การใช้ยาสมุนไพร- รักษาด้วยสมุนไพร- ใช้ยาสมุนไพร- พืชรักษาโรค

สมุนไพรไทย มีสรรพคุณมากมาย ทั้งยังช่วยในการลดและบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี สมัยก่อนหากมีอาการป่วยไข้เล็กน้อย ปู่ย่าตายายของเราจะรีบนำเอาสมุนไพรพื้นบ้าน มาบรรเทาอาการป่วยให้เราได้ ลองมาทบทวนกันดูดีกว่าว่าสมุนไพรชนิดใดสามารถนำมาบรรเทาอาการป่วยให้ลูกได้บ้าง

ตอนเด็ก ๆ เวลาเราเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ พ่อแม่ของหรือปู่ย่าตายาย จะบรรเทาอาการป่วยให้เสมอ ถ้าตัวร้อนจะเช็ดตัวให้ พอไอก็โดนกวาดยา หรือปวดท้องก็โดนจับทามหาหิงค์ แป๊บเดียวอาการเหล่านั้นก็หายไป ในเมื่อรู้อย่างนี้แล้วไม่คิดจะลองเป็นคุณหมอประจำบ้านกันดูบ้างหรือครับ

คุณสันติสุข โสภณสิริ คุณหมอแผนไทยจากมูลนิธิสุขภาพไทย เล่าถึงวิธีการรักษาพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงการใช้สมุนไพรไทยอย่างง่ายสำหรับเด็กให้ผมฟัง ผมจึงเรียงร้อยเรื่องราวจากคำบอกเล่านั้นมาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านดังนี้ ครับ

คุณหมอบอกกับผมว่า สมัยก่อน พ่อแม่เกือบทุกคนจะมีวิธีสังเกตอาการเจ็บป่วยของลูกและรู้ว่าอาการที่เกิดขึ้นจะรักษาได้อย่างไร

  1. เป็นไข้ตัวร้อน แก้ได้โดยการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นให้หาผ้าชุบน้ำอุ่น (ห้ามใช้น้ำเย็น นอกจากกรณีเลือดกำเดาออกเท่านั้น) เช็ดให้ทั่วตามซอกพับต่างๆ รักแร้ หน้าอก คอ และวางโปะไว้ที่หน้าผาก หลังจากนั้นคอยสังเกตดูว่าไข้ลดหรือไม่ ถ้าทำซ้ำหลายครั้งแต่ไข้ยังไม่ลด ค่อยนำส่งแพทย์ เพราะบางครั้งการที่เด็กเป็นไข้อาจเกิดจากโรคหัด ไข้หวัด หรือไข้ตามฤดูกาล ซึ่งรักษาเองได้ตามธรรมชาติ แต่ถ้าเด็กทำท่าจะเป็นหวัด คือมีน้ำมูกและคัดจมูกด้วย ให้นำหอมแดงมาบดพอละเอียด ละลายในน้ำอุ่นแล้วเช็ดตัวให้ลูกตามปกติ เสร็จแล้วให้นำหอมแดงที่บดแล้วห่อผ้าขาวบางวางไว้บนอก หรือบริเวณที่ลูกสูดหายใจเอากลิ่นหอมแดงเข้าไปได้ จะช่วยให้ไข้ลดและจมูกโล่งขึ้น

สำหรับอาหารลดไข้ ให้ใช้ฟักเขียวตัดเอาเนื้อบริเวณขั้วลงไปประมาณ 4 นิ้ว นำเจ้าส่วนนั้นมาต้มแล้วบดให้ละเอียด ผสมในน้ำนมให้เด็กดื่มจะช่วยลดไข้ได้เพราะฟักมีคุณสมบัติเย็น ลดไข้ได้เร็วมาก

  1. ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีทั้งยาทาและยากิน ยาทาก็จำพวกมหาหิงค์ ใช้ง่าย เพียงนำมาทาท้องเด็กก็ช่วยได้ แต่ถ้าลูกไม่ชอบเพราะมีกลิ่นเหม็น อาจใช้ขมิ้นผงผสมนม หรือน้ำผึ้งให้ลูกกิน สามารถบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ดีทีเดียวครับ

บางคนอาจคิดว่าลูกคงกินขมิ้นที่มีสีและกลิ่นแปลกๆ ได้ยาก ลองใช้กล้วยน้ำว้าดิบ มาหั่นเป็นแว่น นำไปตากแดด แล้วบดผสมนมหรือน้ำผึ้ง หรือละลายน้ำกิน แบบนี้ช่วยแก้อาการได้เช่นกัน แถมกล้วยน้ำว้านั้นยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกสารพัด คือช่วยไม่ให้เพลีย และแก้ท้องเสียได้ด้วย

  1. ไอและเจ็บคอ หากลูกไอติดต่อเรื้อรัง กลัวว่าจะเป็นหลอดลมอักเสบ รักษาด้วยวิธีไทย ๆ นำใบพลูสัก 4-5 ใบ มาอังไฟจากเตาถ่าน หรือถ้าบ้านใครมีเตาแก๊ส ก็หากระทะเคลือบมารองโดยทาน้ำมันพืชไว้ที่กระทะ เอาใบพลูอังพอร้อนแล้วมาโปะที่หน้าอกเด็ก น้ำมันในใบพลูจะซึมเข้าไปในผิวหนังช่วยให้หยุดไอ และสารที่มีอยู่ในใบพลูยังจะช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

  2. อาเจียน สังเกตดูว่าลูกอาเจียนแบบใด ถ้าอาเจียนพุ่งแบบนี้อันตรายครับ ต้องรีบนำส่งแพทย์โดยด่วนเพราะอาจเกิดจากอาการทางสมอง แต่ถ้าลูกอาเจียนธรรมดา แก้ได้โดย ใช้ลูกยอดิบหรือใกล้สุกมาฝาน ย่างไฟแล้วตำจนละเอียด นำมาผสมน้ำผึ้งหรือนมให้เด็กดื่ม หยุดการอาเจียนได้ดี

นี่เป็นเพียงตัวอย่างส่วนเล็กๆที่นำมาเล่าให้ฟัง เชื่อหรือยังครับว่าสมุนไพรไทยมีประโยชน์อย่างมากมาย แถมผลข้างเคียงหรืออันตรายจากการใช้สมุนไพรนั้นแทบจะไม่มีเลย มีที่ต้องระวังบ้างคือ หลักในการดูอาการของลูกและการเลือกยามารักษา พ่อแม่ต้องอาศัยความรู้และการสังเกต ในกรณีที่จะรักษาด้วยพืชสมุนไพร พ่อแม่ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสมุนไพรนั้นอยู่แล้ว

อย่าลองใช้ยาหรือสมุนไพรเพราะคำโฆษณาชวนเชื่อ แต่เราต้องศึกษาก่อน จากผู้รู้หรือจากตำรา ผมคิดว่าถ้าเราสามารถรักษาลูกๆ ได้เองเหมือนคนสมัยก่อน ความผูกพันในครอบครัวก็จะเพิ่มพูนขึ้นตามไปด้วย จะดีสักแค่ไหนถ้าลูกรู้สึกว่าเวลาเขาเจ็บป่วย มีพ่อแม่คอยดูแลรักษาได้ และเขาก็จะจดจำภูมิปัญญาไทยเหล่านี้สืบทอดต่อไปครับ

สมุนไพรใกล้ตัวที่พ่อแม่ควรรู้
  1. ใบฝรั่ง ลูกฝรั่งดิบ นำมาบดและต้มกินน้ำ แก้ท้องเสีย
  2. ลูกยอดิบ นำมาฝานย่างไฟ แล้วบดผสมนมหรือน้ำผึ้ง แก้อาเจียน
  3. น้ำมันกะเพรา ช่วยฆ่าเชื้อในกระเพาะอาหาร ส่วนใบกะเพรานำมาต้มกินน้ำ ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้
  4. ใบพลู อังไฟวางไว้บนหน้าอกช่วยแก้ไอ
  5. ข่าไม่แก่ไม่อ่อน นำมาโขลกคั้นน้ำ ให้ลูกจิบแก้ไอ อาจผสมน้ำผึ้งด้วยเพื่อกินได้ง่ายขึ้น
  6. กล้วยน้ำว้าดิบ นำมาบดผสมเครื่องดื่มของเด็ก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  7. อบเชย ต้มน้ำให้ลูกดื่ม แก้คลื่นเหียน วิงเวียน
  8. ดอกแค นำมาต้มกินน้ำ แก้ไข้หัวลม (ไข้ที่เกิดช่วงหมดฤดูฝนเข้าฤดูหนาว)
  9. ยาแสงหมึก นำมากวาดคอ แก้เสมหะ ซาง
  10. ดีปลี นำมาผสมน้ำผึ้งในปริมาณน้อย แก้เจ็บคอละลายเสมหะ
  11. หอมแดง ทุบห่อผ้าดมแก้หวัด (ในการนำสมุนไพรมาปรุงให้เด็กกินต้องคำนึงถึงรสชาติเป็นสำคัญ เพราะเด็กอาจไม่ชอบรสขมของยาไทย พ่อแม่ควรหาทางให้รสชาติดีขึ้นด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น ผสมน้ำผึ้ง นม หรืออาหารมีประโยชน์ที่เด็กชอบ)
ข้อควรระวังในการรักษาเอง

1.พ่อแม่ต้องมั่นใจว่าลูกป่วยเป็นอะไร และรู้วิธีรักษาที่ถูกต้อง

2.มีความรู้เรื่องยา หรือสมุนไพรที่จะใช้เป็นอย่างดี

3.หากรักษาสักระยะหนึ่ง ประมาณวันสองวันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นต้องนำส่งแพทย์

4.อย่าเชื่อคำโฆษณาที่เกินจริงเกี่ยวกับยา

5.การซื้อยาให้ลูกกินต้องอ่านฉลาก หรือรู้สรรพคุณที่แน่นอนรวมทั้งผลข้างเคียงหรือพิษของยานั้น ๆ

6.โรคที่รักษาเองไม่ได้ คือ มีไข้และชัก อาเจียนพุ่ง ไข้ขึ้นๆ ทรงๆ เพราะอาจเป็นไทฟอยด์ หรือไข้เลือดออก ไข้สูงเกี่ยวกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะมีอาการเกร็งและคอแข็งร่วมด้วย กรณีเหล่านี้ต้องพาส่งแพทย์ด่วน

 

ขอขอบคุณ : คุณสันติสุข โสภณสิริ คุณหมอแผนไทยจากมูลนิธิสุขภาพไทยที่เอื้อเฟื้อข้อมูล

สังเกต ลูกชอบจับ หรือ คันก้น อย่าชะล่าใจ ใช่พยาธิหรือเปล่า?

คันก้น, ลูกคันก้น, อาการคัน, คันพยาธิ, พยาธิ, พยาธิเข็มหมุด, พยาธิเส้นด้าย, พยาธิก้น, รักษาพยาธิ, ป้องกันพยาธิ, พยาธิไช, พยาธิเข้า
ลูกน้อยวัยซนคันก้นเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าอาการคันเกิดขึ้นบริเวณทวารหนัก (Anal pruritus) อาจเป็นผลจากการมีการระคายเคืองต่อผิวหนังบริเวณรูเปิดทวารหนัก และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งสาเหตุของการคันอาจเกิดได้จาก การได้รับสารที่ฤทธิ์ระคายเคืองเช่น
 

  • การรับประทานอาหารรสจัด
  • ยาปฏิชีวนะบางชนิด
  • การสัมผัสสิ่งกระตุ้นให้ระคายเคืองเช่น การใช้กระดาษชำระที่มีผลต่อการระคายเคืองเนื้อเยื่อรอบทวารหนัก
  • การระคายเคืองจากสารบางชนิดในอุจจาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท้องเสียหรือถ่ายอุจจาระบ่อยกว่าปกติ
  • การมีริดสีดวงทวารหนัก
  • ผื่นจากโรคทางผิวหนัง
  • การติดเชื้ออื่น ๆ บริเวณทวารหนักเช่น พยาธิเข็มหมุด เชื้อรา ยีสต์บางชนิด และหูดเป็นต้น

 

อาการคันจาก "พยาธิ" สำหรับในเด็ก

การติดเชื้อที่สำคัญและพบบ่อยคือ การติดเชื้อจากพยาธิเข็มหมุด (Pinworm) หรือบางครั้งเรียกว่าพยาธิเส้นด้าย (Threadworm)

 

พยาธิเข็มหมุด (Enterobius vermicularis) คืออะไร

พยาธิเข็มหมุดคือพยาธิตัวกลมชนิดหนึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 2-10 มิลลิเมตรสีซีด รูปร่างคล้ายเข็มหมุดหรือเส้นด้ายเมื่อมองด้วยตาเปล่า จึงทำให้เรียกกันว่าพยาธิเข็มหมุดหรือพยาธิเส้นด้าย อาศัยในทางเดินอาหารโดยเฉพาะทางเดินอาหารส่วนล่าง พยาธิชนิดนี้จะแย่งกินอาหารของคน และทำให้เกิดอาการคันรอบทวารหนัก พบมากในเด็กวัยเรียนอายุประมาณ 5-8 ปีและพบมากในกลุ่มเด็กที่อยู่รวมกันเช่นเด็กในสถานเลี้ยงเด็ก หรือโรงเรียนประจำ



พยาธิเข็มหมุดติดต่อได้อย่างไร

เมื่อพยาธิเข็มหมุดเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ในระบบทางเดินอาหารของคนแล้ว พยาธิตัวผู้จะตายไป ส่วนพยาธิตัวเมียจะออกมาวางไข่บริเวณรูเปิดทวารหนักโดยเฉพาะในเวลากลางคืน หลังจากนั้น 4-6 ชั่วโมงไข่จะสามารถเจริญเป็นไข่ระยะติดต่อได้เมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสม การที่มีไข่พยาธิบริเวณทวารหนักจะกระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังบริเวณนั้น ทำให้คัน เมื่อเด็กหรือผู้ติดเชื้อเกาบริเวณทวารหนัก ไข่ของพยาธิจะติดไปตามเล็บ ง่ามนิ้วมือ หรืออาจตกลงไปบนที่นอน ผ้าห่ม เสื้อผ้าได้ การติดต่อของพยาธิเข็มหมุดเกิดได้หลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อม

  1. จากการรับประทาน หลังจากที่เด็กเกาบริเวณทวารหนัก ไข่ระยะติดต่อจะติดอยู่ตามง่ามนิ้วมือ เล็บและสามารถกลับสู่ทางเดินอาหารได้เมื่อเด็กเอามือเข้าปาก อมนิ้ว หรือการหยิบอาหารเข้าปากเป็นต้น นอกจากนี้ไข่พยาธิที่ติดอยู่ตามเสื้อผ้า ผ้าห่มของใช้ในบ้านก็เป็นตัวกลางให้เด็กจับและนำมาเข้าปากได้เช่นกัน
  1. จากการหายใจ ไข่พยาธิที่ตกบนเตียง ที่นอนสามารถฟุ้งกระจายในอากาศ และเมื่อสูดดมก็ทำให้ได้รับไข่พยาธิเข้าไปในทางเดินหายใจ เนื่องจากทางเดินหายใจและทางเดินอาหารมีบางส่วนต่อเนื่องกัน ทำให้เด็กกลืนไข่พยาธิลงไปในทางเดินอาหารได้
  1. จากการติดเชื้อย้อนกลับทางทวารหนัก ในสภาวะที่เหมาะสม ไข่พยาธิสามารถทนอยู่ได้นานถึง 3 สัปดาห์และเจริญต่อเป็นตัวอ่อนซึ่งจะชอนไชกลับเข้าไปทางทวารหนักและทางเดินอาหารต่อไปได้
อาการจากการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดเป็นเช่นไร

ส่วนมากมักไม่ทำให้เกิดอาการ ในกรณีที่มีอาการ อาการที่พบบ่อยคือ

คันบริเวณทวารหนักโดยเฉพาะในเวลากลางคืน ทำให้เด็กนอนหลับไม่สนิท กระสับกระส่าย ร้องกวน เกามากทำให้เกิดแผลถลอกและเป็นสาเหตุให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ ถ้ามีพยาธิจำนวนมากชอนไชในเยื่อบุลำไส้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุผนังลำไส้ มีอาการปวดท้อง เบื่ออาหาร ในบางกรณีที่มีการติดเชื้อย้อนกลับโดยกลับเข้าทางช่องคลอดในเพศหญิง พยาธิจะชอนไชไปในช่องคลอด มดลูกทำให้เกิดการอักเสบทางอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงโดยมีอาการคันและตกขาวร่วมด้วย

วินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดได้อย่างไร

จากประวัติข้างต้น การตรวจร่างกายที่มีลักษณะการอักเสบบริเวณผิวหนังรอบทวารหนัก และการตรวจทางห้องปฏิบัติเพื่อหาไข่พยาธิ โดยใช้สก๊อตเทปติดบริเวณทวารหนักหลังตื่นนอนตอนเช้าทันที แล้วนำมาตรวจโดยกล้องจุลทรรศน์

รักษาการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดอย่างไร

ให้ยาถ่ายพยาธิ Albendazole 400 mg หรือ Mebendazole 100 mg หนึ่งครั้ง หลังจากนั้นให้ยาซ้ำอีกภายใน 2 สัปดาห์เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ สำหรับยาถ่ายพยาธิชนิดนี้ควรหลีกเลี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี นอกจากนี้ควรให้ยารักษาทั้งครอบครัว ถึงแม้ว่าบุคคลในครอบครัวจะยังไม่มีอาการก็ตามเพราะโรคนี้ติดต่อกันได้ง่าย

ป้องกันการแพร่กระจายของโรคได้อย่างไร

รักษาความสะอาดร่างกายและของใช้ต่าง ๆ เช่นเสื้อผ้า ผ้าห่ม ที่นอน หมอน ตัดเล็บมือให้สั้น ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะเวลาก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ อาบน้ำตอนเช้าเพื่อลดการสัมผัสไข่พยาธิและหลีกเลี่ยงการเกาบริเวณทวารหนัก



พญ.เปรมจิต ไวยาวัจมัย  ภาควิชาปรสิตวิทยา Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

สังเกต สีปัสสาวะลูกน้อยแบบไหนผิดปกติ

940 1

ถ้าปัสสาวะลูกมีสีเปลี่ยนไป อาจเป็นสัญญาณบอกว่าลูกน้อยของคุณกำลังเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ และหากร้ายแรงกว่านั้น อาจกำลังเป็นโรคไตอยู่ได้นะคะ โดยปกติปัสสาวะจะมีสีเหลืองใส แต่ถ้าอยู่ๆ สีก็เปลี่ยนไป นั่นเป็นการส่งสัญญาณที่ไม่ดีแล้วค่ะ แล้วสีของปัสสาวะของลูกแบบไหนที่คุณแม่ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ

สังเกต สีปัสสาวะลูกน้อยแบบไหนผิดปกติ

 

1. ปัสสาวะสีเข้ม

ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มหรืออ่อน ขึ้นอยู่กับปริมาณนมและน้ำที่ดื่มเข้าไป หากดื่มนมและน้ำมาก ปัสสาวะก็จะมีสีเหลืองใส แต่ถ้าดื่มน้อยก็จะมีสีเหลืองเข้ม

ยิ่งมีสีเข้มมากๆ รวมกับอาเจียนหรือท้องเสีย แสดงว่าร่างกายของลูกน้อยเกิดภาวะขาดน้ำ หรือเกิดภาวะติดเชื้ออยู่ ต้องรีบพาไปพบคุณหมอ

2. ปัสสาวะสีขุ่น และมีกลิ่นเหม็นฉุน

แสดงว่าลูกน้อยอาจมีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ควรพาไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

3. ปัสสาวะมีเลือดปน

เป็นสัญญาณว่าลูกติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ หรืออาจเป็นโรคไตอักเสบ โรคไตชนิดอื่น หรือเป็นโรคนิ่วค่ะ ในกรณีที่ปัสสาวะแล้วมีเลือดปนออกมาด้วย แสดงว่ามีอาการค่อนข้างรุนแรง ดังนั้น ต้องรีบไปพบคุณหมอโดยด่วนเพื่อรักษาค่ะ

นอกจากจะสังเกตลักษณะสีของปัสสาวะแล้ว คุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เวลาปัสสาวะแล้วลูกร้องไห้โยเย พร้อมกับมีไข้สูง อาจมีอาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

ลูกน้อยติดเชื้อได้อย่างไร

การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ

1. เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย คือมีไต กรวยไต หรือท่อไตผิดปกติ

2. ชอบกลั้นปัสสาวะ บางครั้งเกิดจากการที่ลูกกลัวการเข้าห้องน้ำ ไม่กล้าเข้าห้องน้ำคนเดียว จึงกลั้นไว้ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย

3. ใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปทั้งวันทั้งคืน ทำให้เกิดการอับชื้น มีโอกาสติดเชื้อง่ายขึ้น

4. ทำความสะอาดไม่ถูกวิธี คือเช็ดจากหลังไปหน้า ซึ่งจะทำให้ติดเชื้อจากอุจจาระได้ง่ายมาก

วิธีเช็ดที่ถูกต้อง คือเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เช็ดจากอวัยวะเพศไปก้น แล้วใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้งก่อนจะใส่ผ้าอ้อมหรือกางเกง

สาเหตุจากร่างกายมีความผิดปกติเองนั้น พบได้ร้อยละ 20-30% ส่วนสาเหตุจากการดูแลทำความสะอาดไม่ดี พบได้ถึงร้อยละ 60-70% ทีเดียว

ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ใส่ใจดูแล ทำความสะอาดอย่างถูกสุขลักษณะ เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยบ่อยๆ อย่าให้เกิดความอับชื้น ก็จะเป็นการช่วยป้องกันภาวะติดเชื้อได้ทางหนึ่งค่ะ

ติดเชื้อที่ไหน เป็นโรคอะไร

สีของปัสสาวะที่เปลี่ยนไปเป็นสัญญาณบอกว่าลูกน้อยเกิดภาวะติดเชื้อ ซึ่งเกิดได้ตั้งแต่แรกเกิด เมื่อพบสัญญาณดังกล่าวคุณหมอจะนำปัสสาวะไปตรวจหาความเข้มข้นดูว่ามีโปรตีน มีน้ำตาลในปัสสาวะหรือไม่

นอกจากนี้ ยังต้องนำปัสสาวะไปส่องกล้อง เพื่อเช็กดูว่ามีระดับเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงเกินเกณฑ์ปกติไหม มีเชื้อแบคทีเรียหรือไม่ หากพบบว่ามีเชื้อแบคทีเรีย หรือมีระดับเม็ดเลือดขาวและแดงเกินเกณฑ์ปกติ แสดงว่ามีภาวะติดเชื้อแล้วค่ะ ถ้าลูกมีภาวะติดเชื้อ ให้พาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียดจะได้รักษถูกต้อง

ภาวะติดเชื้อแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. ติดเชื้อที่กรวยไต ส่วนใหญ่มีอาการไข้สูง หนาวสั่น ไม่ยอมกินนม ร้องไห้งอแงผิดปกติ โดยไม่มีอาการปัสสาวะผิดปกติใดๆ เลย ในเด็กเล็กถ้าอยู่ๆ มีอาการไข้ขึ้นสูง โดยไม่มีอาการไอ ไม่ได้เป็นหวัด ให้สงสัยว่าอาจเป็นโรคกรวยไตอักเสบค่ะ

2. ติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ สังเกตได้ง่ายกว่าการติดเชื้อที่กรวยไต เพราะมีอาการที่แสดงให้เห็นชัดเจนมากกว่า ในเด็กเล็กเวลาปัสสาวะมักจะร้องไห้เพราะเขารู้สึกเจ็บแสบ และปัสสาวะมีสีขุ่นหรือเข้มกว่าปกติ แต่ถ้าลูกพูดได้แล้ว เขาจะบอกว่าหนูปัสสาวะแล้วเจ็บ ปัสสาวะไม่สุด หรือมีอาการปัสสาวะบ่อย กะปริดกะปรอย อาจเกิดจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบค่ะ

หากลูกมีอาการดังกล่าว ให้รีบไปพบคุณหมอนะคะ และห้ามซื้อยามาให้ลูกกินเองเด็ดขาด เพราะภาวะติดเชื้อในเด็กไม่เหมือนผู้ใหญ่ที่กินยาแล้วหายกลับบ้านได้ แต่ต้องกินยาตามที่คุณหมอสั่งให้ครบ และต้องตรวจให้ละเอียดว่าเป็นสาเหตุการเกิดโรคไตชนิดอื่นๆ หรือไม่ เพราะถ้าปล่อยไว้และมีอาการอักเสบบ่อยๆ อาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้

อร่อยแต่อันตราย! ซีเรียล ไส้กรอก มันฝรั่งถุง กินบ่อยเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

 อาหารแปรรูปสูง, อาหารแปรรูปน้อย, ผัก, ผลไม้, ถั่ว, เนื้อ, นม, ไข่, อาหารแปรรูป, ชีส, ขนมปังทำเอง, เบียร์, ไวน์, หมูรมควัน, เบคอน, อาหารแปรรูปสูง, อาหารกึ่งสำเร็จรูปแช่แข็ง, ไส้กรอก, มายองเนส, มันฝรั่งถุง, พิซซ่า, คุกกี้, ช็อกโกเลต, เครื่องดื่ม, น้ำอัดลม, อาหารแต่งกลิ่นแต่งสี, โรคหัวใจและหลอดเลือด

เรียกว่าเป็นของโปรดของเด็ก ๆ เลยก็ว่าได้ ทั้ง ซีเรียล ไส้กรอกแฮม มายองเนส มันฝรั่งถุง พิซซ่า คุกกี้ ช็อกโกแลต แต่อันตรายนะคะถ้ากินอย่างสม่ำเสมอ

ล่าสุดมีผลการศึกษาถึง 2 ชิ้น ได้ยืนยันถึงอันตรายของกาทานอาหารประเภทนี้ ที่เชื่อมโยงกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ผลการศึกษาจากประเทศสเปน ทีมนักวิจัยได้เก็บข้อมูลของผู้เข้าร่วม ทั้ง ไลฟ์สไตล์ กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน น้ำหนัก สุขภาพ และความถี่ของการบริโภคอาหารประเภทต่างๆ จำนวน 200,000 คน จากโปรเจกต์ Seguimiento Universidad de Navarra (SUN)

แบ่งอาหารแต่ละประเภทได้ดังนี้...
  1. อาหารไม่แปรรูปหรือแปรรูปน้อย เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว เนื้อ นม ไข่ ฯลฯ

  2. กลุ่มอาหารแปรรูป (Processed Food) เช่น ชีส ขนมปังทำเอง เบียร์ ไวน์ หมูรมควัน เบคอน

  3. อาหารแปรรูปสูง (Ultra-Processed Food) เช่น อาหารกึ่งสำเร็จรูปแช่แข็ง ไส้กรอก มายองเนส มันฝรั่งถุง พิซซ่า คุกกี้ ช็อกโกเลต เครื่องดื่มและอาหารประเภทแต่งกลิ่นแต่งสี

อาหารเหล่านี้จัดเป็นอาหารที่มีคุณภาพต่ำ อุดมด้วยไขมันเลวสูง มีปริมาณน้ำตาล และเกลือสูง อีกทั้งวิตามินและไฟเบอร์ต่างๆ ยังมีน้อย

เมื่อนำทุกอย่างมาวิเคราะห์ ก็พบว่าการบริโภคอาหารแปรรูปสูงมากเกินกว่า 4 หน่วยบริโภคต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 62 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคนที่กินน้อยกว่า ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาอีกชิ้นของประเทศฝรั่งเศส เรื่องการกินอาหารแปรรูปสูง มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

รู้แบบนี้แล้วก็อย่าทานอาหารแปรรูปสูงบ่อย และหันมาทานอาหารเพื่อสุขภาพ ให้เด็ก ๆ ทานผัก ผลไม้ ที่สะอาดกันด้วยนะคะ 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.facebook.com/thestandardth


 

​อาการไอของลูกรัก บอกอะไรคุณพ่อคุณแม่ได้บ้าง

 ไอ- อาการไอ- โรคเด็ก- อาการไอในเด็ก- ยาแก้ไอ 


เด็กมีอาการ 'ไอ' ได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบมีสาเหตุที่แตกต่างกันไป โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องพร้อมเรียนรู้วิธีสังเกตและการรักษา เพื่อสุขภาพของลูกรักนะคะ

อาการไอเกิดจากอะไร?
ไอเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในทางเดินหายใจ อาจจะเป็นฝุ่นละอองหรือเสมหะที่เกิดจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ ร่างกายจะกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ โดยการไอออกมา สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่่ทำให้ไอเรื้อรังคือ การมีเสมหะคั่งค้างในหลอดลม


อาการไอแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1.ไอแห้ง ไอแบบไม่มีเสมหะ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเย็นหรือมีอาการแพ้ เพื่อช่วยเคลียร์น้ำมูกที่สะสมในคอหรือการระคายเคืองจากการเจ็บคอ

2.ไอเปียก  ไอมีเสมหะ ซึ่งเป็นผลมาจากการติดเชื้อบริเวณหลอดลม ทำให้มีเสมหะ (ซึ่งประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค) ออกมารวมตัวกันที่ทางเดินหายใจ

วิธีการสังเกตอาการไอแต่ละแบบที่พ่อแม่ควรรู้ หากทำความเข้าใจการไอแต่ละแบบ อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือและดูแลลูกน้อยได้ดีขึ้นก่อนจะพาเด็กไปพบแพทย์ ซึ่งอาจพบอาการไอในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1.ไอเพราะไข้หวัดทั่วไป หรือไข้หวัดใหญ่

อาการไอ: ไอแห้ง

สัญญาณร่วม: คัดจมูก น้ำมูกไหล ระคายคอ เจ็บคอ

และอาจมีอาการ: น้ำมูกไหลต่อเนื่อง มีไข้ต่ำๆ กลางดึก

การรักษาเบื้องต้น: ในกรณีที่เด็กอายุต่ำกว่าหกเดือน สถาบันกุมารเวชศาสตร์อเมริกาแนะนำว่านอกจากนมแม่แล้ว แม่ไม่ควรให้ลูกกินอย่างอื่นเพื่อบรรเทาอาการไอทั้งสิ้น แต่สำหรับเด็กอายุหนึ่งขวบขึ้นไป น้ำผึ้งบริสุทธิ์ น้ำเกลือ ก็อาจจะช่วยให้เด็กไอน้อยลงได้

 

2.ไอเพราะหายใจลำบาก

เด็กๆ อาจตื่นขึ้นมาไอค่อกแค่กกลางดึก การไอเช่นนี้ในเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบมักมาพร้อมกับอาการไข้หวัด

อาการไอ: ไอแห้ง

สัญญาณร่วม: ได้ยินเสียงติดๆ ขัดๆ ขณะที่ลูกหายใจเข้า

การรักษาเบื้องต้น: เปิดฝักบัวทิ้งไว้ให้เกิดไอน้ำในห้องน้ำ แล้วลองให้ลูกหายใจในห้องที่มีไอน้ำ หรือหายใจในห้องที่มีเครื่องทำความชื้น อาการหายใจลำบากของเด็กควรหายไปภายใน 3-4 วัน ถ้านานเกินกว่านั้น ต้องรีบพาเด็กๆ ไปพบแพทย์แล้วล่ะ

 

3.ไอเพราะโรคปอดบวม

อาการไอ: ไอเปียก มีเสมหะ

สัญญาณร่วม: เด็กมีอาการไอต่อเนื่องจนหน้าซีดและเหนื่อยหอบ

การรักษาเบื้องต้น: รีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด


 

4.ไอเพราะโรคหอบหืด หรือหลอดลมอักเสบ

โดยทั่วไปแพทย์มีความเห็นพ้องกันว่าเด็กอายุต่ำกว่าสองปีไม่ควรเป็นโรคหอบหืด เว้นเสียแต่ว่าครอบครัวมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคหอบหืดมาก่อน ส่วนโรคหลอดลมอักเสบในเด็กอายุต่ำกว่าหนึ่งปีมักมาจากไวรัส RSV ซึ่งถ้าเกิดในเด็กอายุมากกว่าสามปีมันจะเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่ในเด็กทารกก็อาจรุนแรงถึงชีวิตได้

โรคหอบหืดในทารกอาจเริ่มจากการมีอาการหวัด ระคายเคืองตา หรือน้ำตาไหล และยังอาจจะมีอาการหอบจนหน้าอกยุบและโป่งจากการหายใจเข้าออกแต่ละครั้ง ส่วนโรคหลอดลมอักเสบที่มักพบในหน้าหนาวมักมาพร้อมกับอาการมีไข้ต่ำและเบื่ออาหาร

อาการไอ: ไอร่วมกับเสียงหายใจดังฟืดฟาด

การรักษาเบื้องต้น: สังเกตอัตราการหายใจของลูก หากถี่กว่า 50 ครั้ง/นาที ให้รีบพาไปโรงพยาบาลได้เลย

 

5.ไอเพราะโรคไอกรน

โรคไอกรนเคยเป็นโรคที่ทำให้ทารกเสียชีวิตได้ จนกระทั่งวัคซีน DTP ถูกนำมาใช้ โรคนี้ก็ค่อยๆ ถูกกำจัดออกไป ทว่าเมื่อไม่กี่ปีมานี้ โรคไอกรนก็กลับมาและรุนแรงกว่าเดิม

อาการไอ: ไอเสียงดังและไอติดต่อกัน

สัญญาณร่วม: บ่อยครั้งที่อาการไอนี้จะมาพร้อมกับตาเหลือก หน้าซีด หรือไอจนลิ้นออกมานอกปาก

การรักษาเบื้องต้น: โรคนี้ป้องกันง่ายกว่าด้วยการให้ทารกได้รับวัคซีนป้องกันตามที่แพทย์แนะนำ แต่ถ้าไม่ทัน และคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีโอกาสจะเป็นโรคไอกรนก็ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

 

6.ไอเพราะสิ่งแปลกปลอม

สาเหตุของการไอและสำลักในเด็ก ที่พบบ่อยที่สุดก็คืออาหารหรือของเล่นชิ้นเล็กๆ นี่แหละ เพราะฉะนั้นถ้าลูกอ้าปากค้างหรือไอขณะกินอาหาร หรือเล่นของเล่น คุณแม่ต้องรีบมองหาตัวการในปากของลูกก่อนเป็นอันดับแรก

อาการไอ: ไอเบาๆ แต่ไอไม่หยุด หรืออ้าปากค้าง

สัญญาณร่วม: เมื่อลูกเริ่มไอ และไอติดต่อกัน จนหายใจลำบากโดยไม่มีทีท่าว่าจะป่วยไข้มาก่อน เป็นไปได้ว่าอาจมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ในหลอดลม

การรักษาเบื้องต้น: ให้ใช้วิธี ‘ตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับกระแทกหน้าอก 5 ครั้ง’ (Five Back Blow and Five Chest Thrust)

 

คุณพ่อคุณแม่สามารถบรรเทาอาการไอของลูกได้หลายวิธีด้วยกันตามคำแนะนำต่อไปนี้

1.ใช้เครื่องทำความชื้นภายในห้องในตอนกลางคืน เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ หรืออาจให้ลูกนั่งอยู่ในห้องน้ำที่เปิดน้ำอุ่นประมาณ 2-3 นาที

2.หากลูกมีอายุมากกว่า 1 ปี ให้เด็กรับประทานน้ำผึ้งปริมาณ 1 ช้อนชาเพื่อบรรเทาอาการ

3.ใช้สารเมนทอลทาบริเวณหน้าอกของลูกน้อย เพื่อให้เด็กหายใจได้สะดวกขึ้น โดยควรเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและทารกโดยเฉพาะ

4.ไม่ใช้ยารักษาโรคไข้หวัดในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี เพราะอาจทำให้เสมหะเหนียวข้นและเป็นอันตรายต่อเด็กได้


 

หากพบว่าลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์

1.เด็กไอโดยมีอายุต่ำกว่า 4 เดือน

2.ไอแบบแห้ง ๆ โดยมีสาเหตุมาจากไข้หวัดติดต่อกันนานกว่า 5-7 วัน

3.ไอและมีไข้สูง

4.ไอเป็นเลือด

5.ป่วยและอ่อนล้าอย่างมาก

6.มีวัตถุแปลกปลอมติดอยู่ในช่องคอ

7.รู้สึกเจ็บหน้าอกเมื่อสูดหายใจเข้าลึก ๆ

8.หายใจมีเสียงหวีด และหายใจหรือพูดลำบาก

9.น้ำลายไหลหรือกลืนอาหารลำบาก

ที่มา : www.parents.com, www.pobpad.com

อาหารเป็นพิษในเด็ก อาการ และวิธีป้องกัน

714 1

อาหารเป็นพิษเป็นเรื่องที่เกิดได้กับทุกคน ผู้ใหญ่บางคนเป็นแล้วอาการยังหนัก แต่ถ้าลูกป่วยอาหารเป็นพิษอาจมีการรุนแรง พ่อแม่ต้องหาทางรับมืออาหารเป็นพิษในเด็กให้ได้ค่ะ

อาหารเป็นพิษในเด็ก อาการ และวิธีป้องกัน

คุณหมอสุภาพรรณ ตันตราชีวธร กุมารแพทย์ด้านโภชนาการเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลกล่าวว่าอาหารเป็นพิษคืออาการที่เกิดจากการกินอาหารที่มีพิษของเชื้อโรคเข้าไป เช่น พิษของเชื้อ Staphylococcus aureus , E.coli , Clostridium botulism ,Bacillus cereus เมื่อเรากินอาหารที่มีพิษของเชื้อเหล่านี้เข้าไปแล้ว ระยะฟักตัวจะเร็ว ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ลักษณะถ่ายเหลวเป็นน้ำ แต่ไม่มีไข้  

อาหารเป็นพิษเป็นเร็ว และหายเร็ว พอร่างกายขับพิษออกมาไม่ว่าจะเป็นการถ่าย หรืออาเจียนหลังจากนั้นอาการจะหายเป็นปลิดทิ้งได้ ซึ่งอาการท้องเสีย หรืออาเจียนจากอาหารเป็นพิษจะเป็นเพียง 1-2 วัน ช่วงนี้ควรให้ลูกกินยาแก้อาเจียน และดื่มน้ำเกลือแร่ชดเชยน้ำที่เสียไป ไม่จำเป็นต้องกินยาฆ่าเชื้อ ที่สำคัญไม่ควรให้ลูกกินยาระงับการขับถ่าย หรือยาแก้ท้องเสีย เพราะจะยิ่งทำให้สารพิษอยู่ในร่างกายนานขึ้น อาการต่างๆจะหายช้าลง

การดูแลเด็กที่มีอาการของอาหารเป็นพิษ

ควรให้ลูกกินยาแก้อาเจียนและดื่มน้ำเกลือแร่ชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่เสียไป ระหว่างนั้นควรสังเกตว่าลูกมีอาการขาดน้ำหรือไม่ อาการของการขาดน้ำได้แก่ ปากแห้ง กระบอกตาลึก กระหม่อมบุ๋ม ชีพจรเต้นเร็วและปัสสาวะน้อยลง ถ้าลูกไม่มีการขาดน้ำคุณอาจดูแลลูกที่บ้านเองได้ แต่ถ้าลูกมีอาการแสดงของการขาดน้ำควรรีบพาลูกไปหาหมอนะคะ ถ้าอาการเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ เราควรให้ลูกดื่มน้ำเกลือแร่ต่อไป และพยายามให้ลูกดื่มนมทีละน้อยๆ แต่บ่อยๆ เพื่อไม่ให้อาเจียน และควรให้กินอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้มจะเป็นการดีกว่าอาหารแข็งๆที่ย่อยยากค่ะ

714 2

ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อในอาหาร

เกิดการท้องเสียฉับพลัน หรืออาเจียน ซึ่งเป็นอาการคล้ายคลึงกับอาการของอาหารเป็นพิษ แต่มีไข้เพิ่มเข้ามาด้วย และถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด อย่างนี้ถือว่าลูกติดเชื้อโรคจำพวก Salmonella หรือ Shigella แล้วค่ะ ซึ่งมีอาการรุนแรงกว่าอาหารเป็นพิษ ทางที่ดีควรรีบพาลูกไปหาหมอรับยาฆ่าเชื้อ เพื่อยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรคเป็นการด่วน  

1. เชื้อโรค : Staphylococcus aureus

อาหาร : พบมากในเนื้อสัตว์ แฮม มันฝรั่ง สลัดไข่ แซนวิช

อาการ : ท้องเสีย อาเจียน มักเกิดอาการภายใน 1-6 ชั่วโมงหลังกินอาหาร

วิธีรักษา : ให้กินยาแก้อาเจียน และดื่มน้ำเกลือแร่  

2. เชื้อโรค : E.coli

อาหาร : พบมากในผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์

อาการ : ท้องเสีย อาเจียน มักเกิดอาการภายใน 1-4 วันหลังกินอาหาร

วิธีรักษา : ให้กินยาแก้อาเจียน และดื่มน้ำเกลือแร่  

3. เชื้อโรค : Botulism

อาหาร : ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในอาหารกระป๋องที่หมดอายุ หรือในเนยแข็ง น้ำผึ้ง ผักสด

อาการ : ท้องเสีย อาเจียน มักเกิดอาการภายใน 12-48 ชั่วโมงหลังกินอาหาร

วิธีรักษา : ให้กินยาแก้อาเจียน และดื่มน้ำเกลือแร่  

4. เชื้อโรค : Salmonella

อาหาร : ส่วนใหญ่จะพบในไข่ที่ปรุงไม่สุก หรือเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก หรือน้ำส้มคั้นที่ใส่ขวดเอาไว้ โดยไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ

อาการ : จะรุนแรงกว่าอาหารเป็นพิษ คือมีไข้ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายมีมูกได้

วิธีรักษา : ควรพบหมอ  

5. เชื้อโรค : Shigella

อาหาร : ส่วนใหญ่มักจะมีในผัก หรือผลไม้

อาการ : รุนแรงกว่าอาหารเป็นพิษ คือมีไข้ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายมีมูกเลือด

วิธีรักษา : ควรพบหมอเพื่อรับยาฆ่าเชื้อ  

 

อาหารเป็นพิษเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวลูกเรามาก พยายามปรุงอาหารให้สะอาด และสุกอยู่เสมอ รวมทั้งล้างมือก่อนและหลังกินข้าว รวมทั้งล้างพืช ผักผลไม้ด้วยวิธีให้น้ำไหลผ่าน และเลือกอาหารที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาอย่างดี รับรองได้ว่าอาหารเป็นพิษจะไม่เกิดกับลูกของเราอย่างแน่นอน

อาหารที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

ระวังสลัดจานใหญ่ที่ราดมายองเนสมากๆ เพราะข้างในอาจแฝงไปด้วยพิษของเชื้อโรคต่างๆอยู่ ผัก ผลไม้สดๆที่ล้างไม่สะอาด รวมทั้งเนื้อสัตว์ต่างๆที่อาจปนเปื้อนไปด้วยพิษของเชื้อโรค ควรกินไข่ที่สุกเท่านั้น กุ้ง หอย เช่น หอยแมลงภู่ น้ำผลไม้สดไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ ถั่วงอก นมสดที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ และเนยแข็ง อาหารกระป๋องที่หมดอายุ

714 4

วิธีป้องกัน

ควรล้างมือด้วยน้ำสบู่ก่อนทำกับข้าว และหลังทำกับข้าวเสร็จ ไม่ควรวางอาหารสด หรือผักผลไม้ทับรอยที่เนื้อสดๆ หรือไข่สดๆวางไว้ก่อนหน้านี้ เพราะเชื้อโรคจากเปลือกไข่ หรือจากเนื้อสัตว์อาจหลุดเข้ามาปะปนในอาหารนั้นๆได้ ไม่ควรทิ้งเนื้อสดๆไว้นอกตู้เย็น เพราะอุณหภูมิที่ร้อนจะเร่งให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว อย่าวางเนื้อสดๆ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู หรือปลาบริเวณชั้นบนของตู้เย็น เพราะน้ำจากเนื้อสดๆอาจหยดลงมาใส่อาหารอื่นๆได้ ล้างผัก และผลไม้ด้วยน้ำไหล ถ้าแช่ด่างทับทิมได้ควรแช่ไว้ประมาณ 15 นาทีก่อนล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งค่ะ ทุกครั้งที่ใช้เขียงเสร็จ ควรขัดให้สะอาดตามด้วยล้างด้วยน้ำอุ่นๆ หมั่นซักผ้าปูโต๊ะ 3 ครั้งต่ออาทิตย์ และหมั่นทำความสะอาดฟองน้ำล้างจานให้สะอาดอยู่เสมอ

ปรุงเนื้อสัตว์กี่นาทีถึงจะสุก 

เนื้อสัตว์ต่างๆ สุกไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อ และความหนาของชิ้นเนื้อที่เราหั่น แต่ตามหลักการแล้วเนื้อวัวจะสุกยากที่สุด รองลงมาคือเนื้อหมูและไก่ซึ่งจะสุกใกล้เคียงกัน สุดท้ายคือเนื้อปลาจะสุกง่ายที่สุด  

นอกจากนั้นขนาดของชิ้นเนื้อ ยิ่งหนาใหญ่ยิ่งสุกได้ยากกว่าชิ้นเนื้อบางๆ ส่วนกรรมวิธีในการปรุง ได้แก่ การต้มหรือนึ่งจะใช้อุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียส ส่วนการทอด หรือย่างอุณหภูมิจะสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส ดังนั้นการทำอาหารให้สุกโดยวิธีต้มในน้ำเดือด ทอด ย่าง หรือนึ่งโดยใช้เวลา 5-10 นาทีขึ้นไป ก็ไม่ต้องห่วงหรอกค่ะว่าเนื้อที่เรากำลังทำกับข้าวอยู่นั้นจะไม่สุกดี

เด็กต่างวัยรับมืออาหารเป็นพิษต่างกันไหม

อาการจะเหมือนกัน แต่เด็กเล็กอาจจะทนกับภาวะขาดน้ำได้น้อยกว่าเด็กโต ดังนั้นพ่อแม่ต้องให้น้ำเกลือแร่กับเด็กเล็กเร็วขึ้นกว่าเด็กโต อย่างไรก็ดีอาการของอาหารเป็นพิษจะรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่กินเข้าไป ถ้าคนกินมากจะมีอาการรุนแรงกว่าคนที่กินน้อย และคนที่ร่างกายแข็งแรงจะทนต่อการขาดน้ำได้ดีกว่าค่ะ

 

 

อีสุกอีใส โรคหน้าหนาว ที่เด็กและผู้ใหญ่เป็นแล้ว แต่เป็นซ้ำได้อีก

อีสุกอีใส-โรคอีสุกอีใส-โรคเด็ก-โรคในเด็ก

คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะ ว่าโรคอีสุกอีใส เป็นอีกหนึ่งโรคที่จะต้องระวังและติดตามสังเกตอาการให้ดี เพราะผู้ใหญ่อย่างเราหรือพ่อแม่ที่มั่นใจว่าฉีดวัคซีนอิสุกอีใสมาแล้วตั้งแต่เด็ก มั่นให้ดีใจว่าเคยเป็นอีสุกอีใสมาแล้วจะไม่เป็นอีก ลบความคิดนั้นออกไปได้เลยค่ะ เพราะถึงจะได้รับวัคซีนอีสุกอีใสแล้ว และเคยเป็นแล้ว แต่ก็เป็นอีกได้ แถมโรคอีสุกอีใสในผู้ใหญ่ในปัจจุบัน ค่อนข้างรุนแรงและอาจจะทิ้งรอยแผลเป็นอีสุกอีใสที่ยากจะลบเลือนอีกด้วย และจากการสำรวจโรคอีสุกอีใส สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากมีโรคแทรกซ้อนเช่น ปอดอักเสบ หรือ ตับอักเสบรุนแรง  

โรคอีสุกอีใสเกิดจากอะไร

โรคอีสุกอีใส หรือ Chickenpox เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ ไวรัส (Varicella zoster virus หรือ เรียกย่อว่า VZV/ วีซีวี ไวรัส) หรือ ฮิวแมนเฮอร์ปี่ไวรัส ชนิดที่ 3 (Human herpes virus type 3) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด

ร่างกายรับเชื้อไวรัสโรคอีสุกอีใสได้อย่างไร
  1. ไวรัสอีสุกอีใสติดต่อโดยการหายใจ ไอ จามรดกัน หรือการสัมผัสถูกตุ่มแผลสุกใส
  2. สัมผัสถูกของใช้ เช่น ที่นอน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ที่เปื้อนตุ่มแผลของผู้ป่วย หายใจเอาละอองของตุ่มน้ำผ่านเข้าไปทางเยื่อเมือก


อาการของโรคอีสุกอีใส

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสอีสุกอีใสแล้วจะมีระยะฟักตัว 10-20 วัน และจะแสดงอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัวคล้ายไข้หวัด ครั่นเนื้อครั่นตัว 2-4 วัน
  • หลังจากตุ่มน้ำใสขึ้นทั้งตัวแล้ว จะค่อย ๆ ยุบและแห้งลง และกลายเป็นสะเก็ดที่รอหลุด ระยะที่ตุ่มน้ำแห้งจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน และหลังจากนั้นจะเป็นเวลาที่สะเก็ดแผลจะค่อย ๆ แห้งขึ้นเรื่อย ๆ จนสะเก็ดหลุดออกเองและทำให้ผิวเป็นปกติ ซึ่งรวมระยะเวลาในการเป็นโรคอีสุกอีใสประมาณ 2 สัปดาห์
  • หลังจากผื่นขึ้นแล้วประมาณ 1-2 วัน ผื่นแดงกลายเป็นตุ่มแดง ตุ่มน้ำและตกสะเก็ด ตุ่มน้ำจะมีลักษณะคล้ายหยดน้ำอยู่บนผิวหนังที่แดง เมื่อตุ่มน้ำโตเต็มที่จะกลายเป็นตุ่มหนอง ช่วงเป็นตุ่มน้ำนี้อาจจะใช้เวลาในการทยอยขึ้นประมาณ 1 สัปดาห์
  • เริ่มมีผื่นแดงเกิดขึ้น และผื่นอีสุกอีใสจะทำให้คันมาก ผื่นจะเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้าและลำตัวก่อนแล้วค่อยๆ ลามไปยังแขนขา และอาจขึ้นในเยื่อบุช่องปาก และกับผิวหนังของอวัยวะเพศภายนอก ผื่นจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะต่างๆ อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง


วิธีรักษาและดูแลผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใสไม่มียารักษาที่ตรงกับโรค ผู้ป่วยสามารถทำได้เพียงฉีดวัคซีนป้องกันไว้ตั้งแต่ก่อนรับเชื้อ รวมถึงการประคองและรักษาไปตามอาการของโรค ดังนี้

  • แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคอีสุกอีใสออกจากผู้อื่น เช่น แยกห้องนอน รวมถึงแยกของใช้ของผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อจากการใช้ของร่วมกัน
  • เช็ดตัวลดไข้ ดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอกินยาลดไข้เฉพาะพาราเซตามอลเท่านั้น ห้ามกินยาลดไข้ชนิดแอสไพริน เนื่องจากทำให้ตับอักเสบรุนแรงได้


 

  • ควรอาบน้ำ ฟอกสบู่ให้สะอาด อาจใช้สบู่ที่มียาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
  • ควรตัดเล็บให้สั้น พยายามไม่แกะหรือเกาตุ่มคันซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อกลายเป็นตุ่มหนองได้
  • หากมีอาการคันมาก ควรทายาแก้คัน เช่น ยาคาลามาย (Calamine lotion)หรือ กินยาบรรเทาอาการคัน โดยปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยากินเองเสมอ
  • การรักษาแบบเจาะจง คือการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสอีสุกอีใส ซึ่งควรจะให้ในระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น ซึ่งเชื่อว่าการที่สามารถให้ยาได้ทันและมีปริมาณพอเพียง ในช่วงนี้สามารถทำให้การตก สะเก็ดของแผล ระยะเวลาของโรคสั้นลง การทำให้แผลตกสะเก็ดเร็วขึ้น โอกาสการเกิดแผลติดเชื้อหรือแผลที่ลึกมากก็น้อยลง
  • อาการโรคอีสุกอีใสจะค่อย ๆ ทุเลาภายใน 1 ถึง 3 อาทิตย์ ในระยะนี้ให้ระวังโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น แก้วหูอักเสบ ปอดอักเสบ ตับอักเสบ หรือ ติดเชื้อในสมอง ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหู หรือไอ หายใจเหนื่อย เจ็บหน้าอก หรือ ตาเหลืองตัวเหลือง (ดีซ่าน) หรือ ปวดศีรษะมาก ซึมลง ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาเพิ่มเติม


การป้องกันโรคอีสุกอีใส

การป้องกันโรคอีสุกอีใสเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไวรัสอีสุกอีใสให้ผู้อื่นได้ตั้งแต่ช่วงออกอาการไข้ไปจนถึงช่วงแผลแห้งตกสะเก็ด ดังนั้นทางป้องกันที่ดีที่สุดคือ การรักษาความสะอาดของร่างกายและของใช้ ที่สำคัญคือการฉีดวัคซีนอีสุกอีใส


 

  • วัคซีนอีสุกอีใสสามรถฉีดครั้งแรกได้ตั้งแต่อายุ 1 ปี สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย แนะนำให้รับวัคซีนเข็มแรกเมื่ออายุ 12 – 18 เดือน และเข็มที่สองเมื่ออายุ 4-6 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่พบติดเชื้อได้บ่อยที่สุด แต่หากมีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น เกิดการระบาด หรือเพิ่งรับเชื้อ ให้รับวัคซีนเข็มที่ 2 ทันที แต่ต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
  • วัคซีนโรคอีสุกอีใส นอกจากป้องกันโรคได้แล้ว ยังช่วยลดโอกาสเกิดแผลเป็น และช่วยลดความรุนแรงของโรคเมื่อเกิดเป็นโรคอีสุกอีใสหลังฉีดวัคซีนแล้ว
  • วัคซีนอีสุกอีใสสำหรับอายุ 13 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ รับวัคซีน 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน หรือ ภายใน 4-8 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนเข็มแรก
  • การรับวัคซีนอีสุกอีใสสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ที่ยังไม่เคยมีเป็นโรคอีสุกอีใส ให้รับ 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 3 เดือน

 

ความเชื่อเรื่องโรคอีสุกอีใส
  • ​โรคอีสุกอีใส เป็นเองก็หายเองได้ ไม่ต้องฉีดวัคซีน - เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะโรคอีสุกอีใสสามารถเกิดโรคแทรกซ้อนได้จากการติดเชื้อจากแผลที่เกิดขึ้น ทั้งตัว และอาจเสียชีวิตได้จากการโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปอดติดเชื้อ
  • อาบน้ำต้มผักชีช่วยให้อีสุกอีใสหายไว - ความเชื่อนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์และเผยแผ่ตามหลักวิชาการ แต่สรรพคุณของผักชีคือเป็นพืชธาตุเย็นที่ช่วยลดอาการผื่นแดง แต่สำหรับการใช้รักษาโรคอีสุกอีใสยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าได้ผลจริง
  • โรคอีสุกอีใสต้องกินยาเขียวหรือยาหม้อจะได้หายเร็ว - เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะในยาเขียว ยาหม้อที่อ้างสรรพคุณขับเชื้ออีสุกอีใสให้ออกมาจากตัวนั้น ล้วนแล้วแต่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ (Steroid) ซึ่งเป็นยากดภูมิคุ้มกันจนทำให้เชื้ออีสุกอีใสที่ดูเหมือนจะไม่มีพิษมีภัย ลามกระจายไปยังอวัยวะสำคัญในร่างกายจนถึงแก่ชีวิตได้
  • ฉีดวัคซีนอีสุกอีใสแล้วจะไม่เป็นอีสุกอีใส - เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะวัคซีนป้องกันได้ประมาณ 90% ซึ่งมีโอกาสเป็นอีสุกอีใสได้ เพียงแต่จะทำให้อาการน้อยลงและใช้เวลาในการเป็นโรคสั้นลง
  • โรคอีสุกอีใสเป็นแล้วจะไม่เป็นอีก - เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะปัจจุบันมีไวรัสโรคอีสุกอีใสสายพันธุ์ใหม่ที่ค่อนข้างรุนแรงกว่าเดิม จึงสามารถเป็นอีสุกอีใสได้อีกโดยเฉพาะในผู้ใหญ่
  • ถ้าเป็นโรคอีสุกอีใส ห้ามกินไข่เพราะจะเป็นแผลเป็น - เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะไม่มีอาหารชนิดใดเป็นของแสลงกับโรคอีสุกอีใส ที่สำคัญตือผิวต้องการการดูแลและการบำรุงจากโปรตีนมากขึ้น เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่างๆ เพื่อให้มีภูมิต้านทานโรค


หากคุณพ่อ คุณแม่ หรือลูก เป็นโรคอีสุกอีใส ควรไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาที่ถูกต้องนะคะ อย่าหาวิธีรักษาเอง เพราะอาการอาจแย่ลงได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กค่ะ





 

เช็กลูกด่วน! 3 อาการอันตรายช่วงค่าฝุ่นสูง ต้องรีบพาไปหาหมอ

 PM2.5- ฝุ่น- ค่าฝุ่น- ฝุ่นอันตรายต่อสุขภาพอย่างไร- วิธีดูแลสุขภาพ

เช็กลูกด่วน! 3 อาการอันตรายช่วงค่าฝุ่นสูง ต้องรีบพาไปหาหมอ

ต้อนรับเปิดเทอมด้วยค่าฝุ่น PM2.5 สูง คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมให้เด็ก ๆ ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นกันด้วยนะคะ แล้วอย่าลืมเช็กอาการของลูก ว่ามี 3 อาการอันตรายต่อไปนี้หรือไม่ ถ้าใช่..รีบพาไปหาคุณหมอด่วนค่ะ

เมื่อเด็กได้รับฝุ่นละอองในปริมาณเกินมาตรฐานมาก หรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวนในช่วงนี้ ทำให้การทำงานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด เยื่อบุหลอดลมร่วมกับภาวะผิดปกติที่หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ

 
3 อาการสัญญาณอันตราย

1.หายใจมีเสียงหวีด

2.หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

3.มีอาการไอผิดปกติ ไอเพิ่มขึ้นเป็นเวลานาน

หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพาลูกไปโรงพยาบาล เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาได้อย่างถูกต้องค่ะ

 
7 วิธีดูแลสุขภาพลูก ให้ปลอดภัยจากฝุ่นPM2.5
  1. เช็กค่าฝุ่นทุกเช้าก่อนพาลูกไปโรงเรียน ในช่วงวิกฤตฝุ่นแบบนี้ ควรติดตามข่าวสารเป็นประจำ ไม่ว่าจะตามโทรทัศน์ วิทยุ และเว็บไซต์ข่าวต่างๆ หรือในยุค Thailand 4.0 แบบนี้แนะนำให้โหลดแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เพื่อเช็คมลพิษทางอากาศ ณ จุดที่อาศัยอยู่ได้เลย

  2. วางแผนหรือวิธีการเดินทางเพื่อลดระยะเวลาการสัมผัสฝุ่นให้น้อยที่สุด เช่น จากการเดินให้เปลี่ยนมาใช้รถสาธารณะ

  3. สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นให้เด็กที่มีขนาดที่เหมาะสมกับใบหน้า หน้ากากมาตรฐาน N95 เท่านั้น เพราะ หน้ากาก N95 จะมีเส้นใยพิเศษที่ช่วยกรองฝุ่นละออง หรือเชื้อโรคที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.3 ไมครอน ทำให้ป้องกันฝุ่นขนาด PM 2.5 ไมครอนได้

  4. สำหรับเด็กที่มีโรคประจำตัว ควรเตรียมยาให้พร้อมและแจ้งผู้ดูแลหรือครู หากมีอาการผิดปกติ ให้พาไปพบแพทย์

  5. นอนหลับให้เพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายไม่อ่อนแอ เพราะถ้าพักผ่อนน้อยจะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำและป่วยได้ง่าย 

  6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์  อาหารเพื่อบำรุงสุขภาพ เช่น วิตามินซี ที่ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันร่างกายลดปัญหาจากภูมิแพ้ต่อระบบต่างๆ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ หรือโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นสารต้านการอักเสบ ช่วยป้องกันความเสื่อมของร่างกายจากการได้รับฝุ่น PM 2.5 นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายในที่ร่ม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

  7. หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง  การอยู่ในอาคารเป็นการป้องกันไม่ให้ร่างกายสัมผัสกับฝุ่นภายนอกได้ และบางอาคารยังมีเครื่องฟอกอากาศ ที่ทำให้เราสามารถหายใจได้อย่างสะดวกมากขึ้น แต่ถ้าจำเป็นต้องออกนอกอาคารจริงๆ ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นทุกครั้ง

ดังนั้น คุณแม่เองก็ต้องดูแลตัวเองและครอบครัวให้เคร่งครัดด้วยนะคะ หากพบว่ามลพิษเกินมาตรฐาน พยายามอยู่ในอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงฝุ่น และหากจำเป็นต้องออกนอกบ้าน แนะนำให้สวมหน้ากากกันฝุ่น รุ่นที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ มีทั้งขนาดผู้ใหญ่และสำหรับเด็กเลยค่ะ ป้องกันไว้อีกทาง ก็จะช่วยลดโอกาสการสัมผัสกับสารพิษที่จะส่งผลร้ายต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกได้ค่ะ

 

ที่มา : กรมอนามัย, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์

เด็กท้องผูก แก้ได้ไม่ยาก มารู้วิธีป้องกันและแก้ไขกันเลย

ลูกท้องผูก-ท้องผูก-อาการท้องผูก-ให้ลูกกินยาถ่ายดีมั้ย-ลูกกินยาถ่ายได้มั้ย-ยาถ่ายเด็ก Psntip-ลูกถ่ายไม่ออก-สวนก้น-การสวนก้นลูก-สวนก้นให้ลูก-ลูกถ่ายไม่ออก-ลูกขี้แข็ง-ถ่ายอุจจาระไม่ออก-ยาแก้ท้องผูก-แก้ท้องผูก-ท้องผูกเกิดจาก-อุจจาระแข็ง-ขี้แข็ง-ขี้แข็งมาก-ขี้แข็งขี้ไม่ออก-ถ่ายยาก-ท้องผูกถ่ายยาก-สาเหตุท้องผูก-ท้องผูกถ่ายไม่ออก-ถ่ายยากมาก-ยาถ่ายท้องผูก-แก้ปัญหาท้องผูก-ท้องผูกสาเหตุ-ถ่ายอุจจาระยาก-ไม่ถ่ายอุจจาระ-โรคท้องผูกสาเหตุ-ขี้ยาก-ท้องผูกเกิดจากสาเหตุใด-ท้องผูกเกิดจากสาเหตุใด-ขี้ยาก-โรคท้องผูกสาเหตุ-ไม่ถ่ายอุจจาระ-ถ่ายอุจจาระยาก-ยาท้องผูก-ยาแก้อุจจาระแข็ง-ยาท้องผูก-ปัญหาท้องผูก-ทำอย่างไรให้ลูกอึง่าย-วิธีทำให้ลูกอึ

เด็กท้องผูก แก้ได้ไม่ยาก มารู้วิธีป้องกันและแก้ไขกันเลย

เมื่อลูกถึงวัยที่ต้องดื่มนมเสริม ก็มักจะมีปัญหาท้องผูก อึแข็ง ถ่ายยากตามมาด้วย นอกจากการกินผัก ผลไม้ ดื่มน้ำ เพื่อช่วยเรื่องระบบขับถ่ายแล้ว การเลือกดื่มนมแพะที่มีพรีไบโอติก (Prebiotics) หรือใยอาหารชนิดน้ำ Oligosaccharide ก็เป็นตัวช่วยที่ดีมาก เพราะสารอาหารเหล่านี้จำเป็นต่อการย่อยและระบบขับถ่ายในร่างกายมนุษย์ ช่วยลดและป้องกันอาการท้องผูก ส่งผลให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี และช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยค่ะ

2 ใยอาหาร ที่ช่วยป้องกันท้องผูก

อินนูลิน (Inulin)

คือ คาร์โบไฮเดรต จัดเป็นใยอาหารประเภทที่ละลายได้ในน้ำ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยได้ในระบบทางเดินอาหารและไม่ให้พลังงาน แต่ถูกย่อยได้ด้วยแบคทีเรียที่อยู่ในส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ มีสมบัติเป็นพรีไบโอติก (Prebiotic) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ คือเป็นอาหารของแบคทีเรียในกลุ่มโปรไบโอติก (Probiotic) ซึ่งอยู่ในลำใส้ใหญ่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ บิฟิดิโอแบคทีเรีย (bifidobacteria)  

เมื่อมีจุลินทรีย์สุขภาพในปริมาณมากก็ดีกับระบบทางเดินอาหาร ช่วยป้องกันการติดเชื้อ การอักเสบในทางเดินอาหาร รวมถึงช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายและลดปัญหาท้องผูกอีกด้วย อินนูลินยังมีผลช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ในเลือด และลดระดับคอเรสเตอรอลจึงดีกับสุขภาพไม่ทำให้อ้วน

โอลิโกฟรุคโตส (Oligofructose)

เป็นโอลิโกแซ็กคาไรด์ (Oligosaccharide) ซึ่งเป็นใยอาหาร หรืออาหารของจุลันทรีย์ชนิดดีในส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ ที่จะช่วยดูแลระบบขับถ่ายให้ทำงานได้ปกติ ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ อินนูลินและโอลิโกฟรุคโตส เป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ของลูกเรา

เมื่อลูกดื่มนมแพะที่มีใยอาหาร 2 ชนิดนี้ จุลินทรีย์ก็มีอาหาร จึงเพิ่มจำนวนขึ้นเยอะ และเมื่อจุลินทรีย์มีจำนวนมากก็จะช่วยกันทำงานให้ลำไส้ใหญ่และระบบขับถ่ายดี ขับถ่ายเป็นเวลา ลดการสะสมของของเสีย ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้เต็มที่ กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันการติดเชื้อได้นั่นเอง และนี่คือเหตุว่าทำไมเด็กที่ดื่มนมแพะถึงไม่ท้องผูก เพราะในนมแพะมีใยอาหารสุดเจ๋งนั่นเองค่ะ  

จริงๆ แล้วลูกของเราได้รับอินนูลินและโอลิโกฟรุคโตสตั้งแต่วันแรกที่เกิดแล้ว เพราะเด็กๆ ทุกคนที่ดื่มนมแม่จะได้รับสารอาหารครบถ้วนกว่า 200 ชนิด อินนูลินและโอลิโกฟรุคโตสก็เป็นหนึ่งในสารอาหารที่ลูกได้รับจากนมแม่เช่นกัน สังเกตง่ายๆ ว่าเด็กนมแม่ทุกคนจะขับถ่ายดี อึนุ่ม อึไม่แข็ง และไม่ท้องผูก เมื่อลูกถึงวัยเริ่มอาหารเสริม คุณแม่จึงควรให้ลูกกินอาหารครบ 5 หมู่ ดื่มนมที่เหมาะกับวัยเพื่อสุขภาพที่ดีต่อยอดไปถึงพัฒนาการในอนาคตค่ะ






 

เตือน! เด็กไม่ควรใช้ยาแก้ท้องอืด 'ดอมเพอริโดน' หากมีน้ำหนักน้อยกว่า 35 กิโลกรัม

ยาดอมเพอริโดน-Domperidone-ดอมเพอริโดน-ยาแก้ท้องอืด-ยาอันตรายกับเด็ก-ยาเด็ก-ยาแก้กรดไหลย้อน-ยาแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน-ท้องอืด-ท้องเฟ้อ-แน่นท้อง-อาหารไม่ย่อย-ทานยาเกินขนาด-ลูกท้องอืด ท้องเฟ้อขท้องเฟ้อ-อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ท้องเฟ้อ คือ-ท้องเฟ้อ อาการ-อาการ ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ทารก ท้องอืด-แน่นท้อง-ท้องอืด บ่อย-ท้องอืด อาการ-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง-ท้องอืด เกิด จาก-ลูก ท้องอืด-อาการ แน่นท้อง-ท้องอืด pantip-ลูก 1 ขวบ ท้องอืด-ทอง อืด-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง แข็ง-ท้องอืด บ่อยๆ

เตือน! เด็กไม่ควรใช้ยาแก้ท้องอืด 'ดอมเพอริโดน' หากมีน้ำหนักน้อยกว่า 35 กิโลกรัม

คุณพ่อกับคณแม่หรือผู้ปกครอง อย่ามองข้ามเรื่องขนาดการให้ยาเด็ก เพราะยาดอมเพอริโดนชนิดน้ำสำหรับเด็กมีผลข้างเคียงอันตราย สรรพคุณของยาชนิดนี้ คือใช้แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย เดิมใช้เป็นยารักษาโรคกรดไหลย้อนในทารกได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้ยาตัวนี้ในการรักษากรดไหลย้อนในทารก เนื่องจากต้องกินยาวันละหลายครั้ง ไม่สะดวกเท่าการใช้ยาตัวอื่นที่กินวันละครั้งเดียว

แพทย์เตือนห้ามใช้ยาเกินขนาดเพราะผลข้างเคียงรุนแรง

เพราะยาดอมเพอริโดนหาซื้อได้เองจากร้านขายยาปกติ พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่ซื้อมาใช้ก็จะไม่ค่อยสนใจขนาดยาตามที่เภสัชกรบอก จะแค่กะปริมาณเอาเองว่าใกล้เคียงแล้วให้เด็กกินเลย แต่กับยาดอมเพอริโดนนั้นผลข้างเคียงรุนแรงไม่ควรให้เกินขนาดเด็ดขาด

ขนาดการรับประทานสำหรับเด็ก

ทารกและเด็กเล็ก หากมีน้ำหนักน้อยกว่า 35 กิโลกรัม ไม่ควรรับประทานยานี้ หากจำเป็นจริงๆ ควรรับประทานก่อนอาหารเวลา 15-30 นาที ครั้งละ ¼ ช้อนชาต่อน้ำหนักตัว 5 กิโลกรัม วันละ 3-4 ครั้ง  จนกว่าอาการต่างๆ จะดีขึ้น หากลืมหรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับปริมาณยาควรสอบถามจากเภสัชกรทันที

ผลข้างเคียงที่ควรรีบนำเด็กไปโรงพยาบาล หากทานยาเกินขนาด อาจมีอาการวิงเวียน สับสน ปากแห้ง ปวดศีรษะ ผื่นลมพิษ รู้สึกร้อนตามผิว คันผิวหนัง ตาแดง บวมและคัน และหัวใจเต้นผิดปกติ

เมื่อลูกเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, สุขภาพเด็ก, สุขภาพ 

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่มักเกิดขึ้นได้ในเด็ก เนื่องจากธรรมชาติของเด็กวัยนี้มักห่วงเล่น จนทำให้ดื่มน้ำน้อย และอั้นปัสสาวะเพราะกลัวว่าจะเล่นไม่ทันเพื่อน ร่วมกับเด็กๆ ยังไม่รู้วิธีในการดูแลสุขลักษณะในการเข้าห้องน้ำที่ถูกต้องจนพานให้เจ้าเชื้อแบคทีเรียเข้าไปก่อกวนกระเพาะปัสสาวะของลูกได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้

ผศ.พญ.วนัทปรียาพงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลศิริราช จะมาไขความสงสัยเกี่ยวกับสาเหตุ พฤติกรรมที่ก่อโรค และวิธีป้องกัน (ด้วยตัวลูกเอง) เพื่อช่วยให้ลูกห่างไกลจากอาการแสบ (และสารพัดอาการอื่นๆ) จากโรคนี้กันค่ะ

รู้จักกระเพาะปัสสาวะกันก่อน

จะลงลึกเรื่องโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับระบบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะเพื่อจะได้เข้าใจเรื่องโรคนี้อย่างถึงกึ๋นกันก่อนค่ะ

ระบบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะนั้นเริ่มจากไตมาที่ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และมาที่ท่อปัสสาวะ ปกติไตจะเป็นตัวทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายแล้วขับออกมาเป็นปัสสาวะ จากไตสองข้างปัสสาวะจะไหลมาที่ท่อไตแล้วก็ลงมาที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงบางๆ หน้าที่กระเพาะปัสสาวะคือกักเก็บปัสสาวะ หากไม่มีกระเพาะปัสสาวะปัสสาวะก็จะไหลออกมาตลอดเวลาค่ะ และเมื่อน้ำถูกกักเก็บในกระเพาะปัสสาวะจนกระเพาะปัสสาวะขยายตัวประมาณหนึ่งแล้วก็จะเกิดการกระตุ้นให้เกิดการปวดปัสสาวะขึ้นมาค่ะ

ซึ่งเมื่อปวดปัสสาวะขึ้นมาแล้วในผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็คงจะต้องรีบแจ้นไปเข้าห้องน้ำใช่ไหมคะ แต่สำหรับเด็กๆ ที่ยังเล็กและไม่รู้จักดูแลตัวเองในเรื่องสุขลักษณะในการเข้าห้องน้ำนั้นไม่ได้ประพฤติเหมือนเรา หากแต่… ‘ชอบกลั้น’ และ ‘ไม่ดื่มน้ำ’ เพราะติดเล่น ร่วมกับการรักษาความสะอาดหลังการเข้าห้องน้ำไม่ดีพอ คราวนี้ละค่ะปัญหาของโรคจึงบังเกิด

แบคทีเรียตัวร้าย… ทำกระเพาะปัสสาวะลูกอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหากแปลตรงตัวก็คือการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งส่วนใหญ่ในเด็กเกือบ 100% จะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียค่ะ ซึ่งปกติในกระเพาะปัสสาวะไม่ควรมีเชื้อโรคใดๆ อยู่เลย แต่ในเด็กโดยเฉพาะเด็กผู้หญิงจะเป็นได้ง่าย เนื่องจากช่องในการขับถ่ายปัสสาวะของเด็กผู้หญิงจะอยู่ใกล้ช่องคลอดและรูทวารหนัก ซึ่งบริเวณนี้จะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่จำนวนมาก และเชื้อแบคทีเรียจากบริเวณเหล่านี้อาจเล็ดลอดผ่านช่องปัสสาวะและเข้าไปในท่อปัสสาวะได้ง่ายกว่าเด็กผู้ชายค่ะ

โดยทั่วไปหากเชื้อแบคทีเรียมีปริมาณเล็กน้อย ร่วมกับเด็กๆ ดื่มน้ำและปัสสาวะออกมาบ่อยๆ ก็อาจขับเชื้อแบคทีเรียนั้นออกมาได้ แต่กรณีที่เชื้อแบคทีเรียเข้าไปในปริมาณมาก หรือเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงมากก็อาจทำให้เด็กเกิดอาการขึ้นมาได้ค่ะ

‘แสบ ปวดขัด’ อาการหลักปัสสาวะอักเสบ

สำหรับอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ทั้งจากการบ่นของลูก ร่วมกับพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ค่ะ

บ่นแสบ บ่นปวด เมื่อเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จะทำให้เกิดการอักเสบบริเวณช่องปัสสาวะ และบริเวณท้องน้อย ดังนั้นเมื่อเด็กๆ เข้าห้องน้ำก็อาจบ่น “แสบ” ร่วมกับการปวดท้องน้อยได้ค่ะ เข้าห้องน้ำบ่อยผิดปกติ พร้อมบ่นอุบอิบ “ฉี่ไม่ค่อยออก” เนื่องจากมีอาการปัสสาวะขัดร่วมด้วย ปัสสาวะราดซะเฉยๆ กรณีที่เด็กๆ สามารถควบคุมเรื่องการขับถ่ายได้แล้ว แต่จู่ๆ ก็มีปัญหาปัสสาวะรดที่นอน ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ก็ถือเป็นอาการของโรคได้เช่นกัน

นอกจากพฤติกรรมข้างต้นแล้วคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการอื่นๆ ร่วมด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นปัสสาวะมีกลิ่นแรงกว่าปกติ มีสีที่แปลกไปคือมีสีขุ่นหรือสีออกส้มๆ ซึ่งหากลูกมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ก็ควรพาลูกมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ ซึ่งคุณหมอจะใช้การสังเกตอาการร่วมกับการตรวจปัสสาวะเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งภายในไม่กี่นาทีก็ทราบผลค่ะว่าเจ้าหนูเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือไม่ หากกรณีที่พบว่าเป็นแล้ว คุณหมอก็จะให้ยาฆ่าเชื้อมาทานเพื่อรักษาอาการ ซึ่งเด็กๆ จะหายเป็นปกติดีภายใน 7-10 วันค่ะ

ป้องกันได้ชัวร์ถ้า (ลูก)รู้วิธี

สำหรับวิธีป้องกันไม่ให้เจ้าหนูเกิดเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะขึ้นมานั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือการฝึกให้ลูกมีสุขลักษณะที่ดีในการเข้าห้องน้ำที่ถูกต้องค่ะ ซึ่งคุณสามารถสอนพวกเขาได้ดังนี้…

  1. สอนให้เด็กๆ ไม่กลั้นปัสสาวะ และควรให้เข้าห้องน้ำจนเป็นนิสัยอย่างน้อยที่สุดคือ 3 เวลาหลังอาหาร และก่อนนอน การปัสสาวะบ่อยๆ นี้ก็จะช่วยชะล้างแบคทีเรียออกไปได้ค่ะ
  1. หลังจากเข้าห้องน้ำไม่ว่าจะปัสสาวะ หรืออุจจาระ ควรสอนให้เด็กๆ เรียนรู้วิธีการทำความสะอาด รวมไปถึงวิธีการเช็ดทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศที่ถูกต้อง คือเช็ดจากข้างหน้าไปข้างหลังและทิ้งทันที ไม่นำมาเช็ดวนซ้ำ และไม่เช็ดย้อนทาง เพราะจะทำให้เชื้อโรคเล็ดลอดเข้าไปยังท่อปัสสาวะได้โดยง่ายค่ะ
  1. พยายามดูแลไม่เห็นเด็กเกิดปัญหาท้องผูกเพราะเด็กจะไม่ค่อยเข้าห้องน้ำ ทำให้การติดเชื้อเกิดขึ้นจากพฤติกรรมนี้ได้ค่ะ เนื่องจากกรณีที่เด็กท้องผูกมากๆ อาจทำให้อุจจาระไปกดทับกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดโรคนี้ตามมาได้ค่ะ

3 วิธีสอนลูกให้รู้จักป้องกันตัวเองจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบไม่ใช่เรื่องยากเลยใช่ไหมคะ ดังนั้นนอกจากสังเกตอาการเจ้าหนูคงไม่พอ จะให้ดีสอนวิธีป้องกันตัวเองให้พวกเขาเสียเลยคงจะดีกว่าการรอให้ลูกเป็นโรคแล้วมานั่งรักษากันภายหลัง คิดเหมือนกันไหมคะ…

เมื่อลูกเป็นเยื่อบุตาอักเสบ

4608

 

หากลูกน้อยมีอาการตาแดง มีขี้ตาแฉะคันตา ขยี้ตาบ่อย ๆ อย่าวางใจนะคะ เพราะนี่คืออาการเริ่มแรกของโรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือโรคตาแดงที่อาจลุกลามทำให้กระจกตาอักเสบได้ค่ะ

 

เยื่อบุตาอักเสบ เป็นได้ง่าย ๆ

เยื่อบุตาอักเสบ หรือที่เราคุ้นเคยกันดีในชื่อโรคตาแดง แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

1.ชนิดติดเชื้อ จากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะติดต่อจากการสัมผัส โดยเฉพาะเด็กเล็กซึ่งเริ่มหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวได้เองเชื้ออาจติดมากับมือ แล้วมาจับหน้า เอามือเข้าปากหรือเอามือขยี้ตาทำให้ได้รับเชื้อ เป็นสาเหตุที่เด็กเป็นโรคตาแดงง่ายและเป็นมากกว่าผู้ใหญ่ค่ะ

2.ชนิดไม่ติดเชื้อ อาจเกิดจากการที่ลูกน้อยมีโรคประจำตัวอื่น เช่น โรคภูมิแพ้ มีอาการคันตาทำให้ขยี้ตาบ่อย ๆ จนเกิดการอักเสบและติดเชื้อตามมาภายหลัง หรืออาจจะมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในเปลือกตา เกิดอุบัติเหตุ เกิดจากการแพ้ยา ทำให้มีการระคายเคือง เผลอขยี้ตา จนเปลือกตาถลอก และเกิดการอักเสบติดเชื้อได้

เบบี้เป็นแล้วรุนแรง

ในเด็กแรกเกิดหรือวัย 1 เดือน ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้จากตอนคลอด คือแม่อาจมีเชื้ออยู่ที่ช่องคลอด ขณะลูกผ่านช่องคลอดออกมาจึงติดเชื้อ แต่โอกาสเกิดขึ้นน้อย เพราะก่อนคลอดคุณแม่ต้องทำการตรวจสุขภาพตามระยะเวลาที่แพทย์นัดตลอด หากพบว่ามีเชื้อก็ต้องรักษาให้หายก่อนคลอด

ถ้าทารกเกิดการติดเชื้อระหว่างคลอด นอกจากจะส่งผลทำให้เป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบแล้ว อาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงอื่น ๆ ได้ เพราะทารกแรกเกิดภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง เมื่อได้รับเชื้อมาแล้วอาจ แพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระจายไปสู่สมอง ทำให้เกิดเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ถ้าไปสู่ปอดก็อาจจะทำให้เป็นปอดอักเสบในกรณีที่รุนแรงจริง ๆ ที่ได้รับเชื้อบางอย่างอาจจะลุกลามไปที่กระจกตา และทำให้เกิดการตาบอดตั้งแต่กำเนิดได้ค่ะ

อาการเมื่อลูกเป็นเยื่อบุตาอักเสบ

คันตา ขยี้ตาบ่อย อยู่ ๆ ก็มีอาการตาแดง เปลือกตาบวมแดง มีขี้ตาแฉะ เยิ้ม ๆ ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียจะมีสีเหลืองอมเขียว ตาสู้แสงไม่ได้ น้ำตาไหล ตาพร่ามัว (ถ้าลูกน้อยบอกได้)

การรักษาเยื่อบุตาอักเสบ

คุณแม่ควรพาลูกไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจดูว่าเป็นเยื่อบุตาอักเสบชนิดไหน ได้รับเชื้ออะไรมา ถ้าได้รับเชื้อแบคทีเรียซึ่งพบได้บ่อย จะรักษาด้วยการใช้ยาหยอดตาเพื่อทำการฆ่าเชื้อ และคอยประคบเย็น เพื่อลดอาการบวมของเปลือกตา ให้รู้สึกสบายตามากขึ้น ประคบครั้งละ 5-10 นาที วันละ 2-3 ครั้ง ประมาณ 5-6 วันอาการจะดีขึ้น

แต่บางคนอาจจะมีอาการรุนแรง คือเป็นเรื้อรัง 3-4 สัปดาห์ก็ยังไม่หาย โดยเฉพาะถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสลุกลามเกิดการอักเสบไปที่กระจกตาดำร่วมด้วย ซึ่งต้องใช้เวลาเกือบเดือนกว่าอาการถึงจะดีขึ้น

แม้ไม่ใช่โรคที่รุนแรงอะไรนัก แต่ถ้าเป็นนาน ๆ จะส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อยได้เด็ก ๆ จะรู้สึกรำคาญ มองอะไรไม่ค่อยชัดเพราะตาพร่ามัว จะหยิบจับหรือเล่นอะไรก็ไม่ค่อยถนัดไม่ยอมกินข้าว ทำให้อารมณ์เสีย หงุดหงิดได้ง่าย ๆ

หากเกิดจากเชื้อไวรัส ต้องรักษาตามอาการ เพราะยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรง และต้องพาลูกไปตรวจอาการอยู่เรื่อย ๆ การรักษาอาจใช้วิธีหยอดน้ำตาเทียม ควบคู่กับการประคบเย็นลดอาการบวม ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ก็ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อรักษาเสริมควบคู่กันไป

ในรายที่มีอาการรุนแรง มีการติดเชื้อไปยังกระจกตาดำ ต้องใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ร่วมด้วยจนกว่าอาการจะดีขึ้น ที่สำคัญต้องคอยทำความสะอาดตาอย่างถูกวิธีด้วยค่ะ

วิธีทำความสะอาดตา ถ้าลูกน้อยมีน้ำตาหรือขี้ตาควรใช้สำลีชุบน้ำหรือใช้ทิชชูเช็ดเบา ๆ เช็ดแล้วทิ้งเลย ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็จะเป็นวิธีการช่วยป้องกันการติดต่อได้

ป้องกันก่อนอาการลุกลาม

ทารกแรกเกิด วิธีการป้องกันคือ เมื่อลูกน้อยคลอดออกมาแล้วจะป้ายขี้ผึ้งที่ตาของทารกทุกคน เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ เมื่อกลับบ้านแล้วคุณแม่ต้องคอยสังเกต ถ้าหากลูกน้อยมีอาการตาแดงผิดปกติให้รีบพามาพบแพทย์ทันที

ในเด็กวัยซน ให้ล้างมือบ่อย ๆ ออกกำลังกายและกินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง

 

ที่สำคัญ ถ้าหากคนในบ้านหรือเพื่อนที่โรงเรียนมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ ต้องแยกลูกของเราออกมาก่อน ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน และคอยสังเกตถ้าลูกมีอาการผิดปกติให้รีบพามาพบแพทย์ค่ะ

ให้ลูกล้างมือบ่อย ๆ ไม่ใกล้ชิดกับคนที่ติดเชื้อจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงได้ เพื่อลูกน้อยจะมีดวงตาใสปิ๊งพร้อมเรียนรู้เรื่องดี ๆ ที่อยู่รอบตัวค่ะ

เหาระบาดหนัก แนะนำ 10 วิธีกำจัดเหาให้หายขาด

วิธีกำจัดเหาให้หายขาด-วิธีกำจัดเหา-ลูกเป็นเหา-เด็กเป็นเหา-กำจัดเหา-หาเหาใส่หัว-วิธีกำจัดไข่เหา-ไข่เหา-ใบยอกำจัดเหา-ใบสะเดากำจัดเหา-มะกรูดกำจัดเหา-ยาฆ่าเหา

ลูกเป็นเหา กำจัดเหายังไงให้หายขาด โดยเฉพาะช่วงเปิดเทอม ที่เด็ก ๆ มักจะเล่นคลุกคลีตีโมง หัวติดกันบ่อย ๆ

เหาระบาดหนัก แนะนำ 10 วิธีกำจัดเหาให้หายขาด

เมื่อเด็กเป็นเหาผลกระทบที่ตามมาคืออาการคัน เมื่อคันมาก ๆ ก็เกา พอเกาหนักเข้าทำให้เกิดแผล อาจเกิดการติดเชื้อได้ กรณีที่ติดเชื้อรุนแรงอาจลุกลามทำให้มีต่อมน้ำเหลืองหลังหู ท้ายทอย หรือที่คอโต นอกจากนี้ อาจพบเป็นแผลแฉะ มีสะเก็ดกรังบริเวณศีรษะ ที่สำคัญ เจ้าเหานี่มักจะรบกวนเด็กเวลานอนและทำให้ขาดสมาธิในเวลาเรียนด้วยค่ะ   

10 วิธีกำจัดเหาให้หายขาด

1. ใช้ใบน้อยหน่ากำจัดเหา โขลกให้ละเอียด ผสมน้ำนิดหน่อย หมักผมทิ้งไว้อย่างน้อยครึ่งวัน ล้างน้ำออก รอจนผมแห้งใช้หวีเสนียดสางผม ตัวเหาจะหล่นออกมา ทำไปเรื่อยๆ หลายๆครั้งจนกว่าเหาจะหายไปจากชีวิต

2. ใช้มะกรูดกำจัดเหา นำผลมะกรูดที่แก่จัดไปเผาไฟหรือย่างไฟให้สุกทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นนำมาคลึงเพื่อให้มีน้ำมากๆ แล้วผ่าครึ่ง บีบน้ำลงบนศีรษะขยี้ให้ทั่ว แล้วใช้หวีสางเส้นผมให้เหาและไข่เหาหลุดติดออกมา อาทิตย์นึงควรทำติดต่อกัน 3 ครั้ง

3. ใช้ใบสะเดากำจัดเหา นำใบสะเดาแก่ ๆ ประมาณ 2-3 กำ โขลกให้ละเอียด ผสมน้ำพอเล็กน้อยแล้วนำมาหมักให้ทั่วศีรษะ ปล่อยให้แห้ง ก่อนจะล้างออกและสระผมด้วยแชมพู

​4. ผลมะตูมสุกกำจัดเหา ใช้ยางมะตูมสุกทาผมแล้วหวีให้ทั่วทั้งศีรษะ ปล่อยไว้จนแห้ง เหาก็จะตายหมด จากนั้น ล้างทำความสะอาดด้วยแชมพู แล้วใช้หวีเสนียดสางเหาที่ตายออก

5. ใช้ใบยอกำจัดเหา เอาใบยอสดมาล้างให้สะอาด คัดเอาจำนวนตามต้องการ จากนั้นหั่นใบยอหยาบ ๆ และตำให้ละเอียด บีบคั้นใช้ผ้าขาวบางกรองเอาเฉพาะน้ำใบยอออกมา และนำไปใส่ขวดเปล่าให้ลูกสระผมวันละครั้งตอนเช้า สระได้ 2 วันแล้วให้ใช้หวีเสนียดสางเส้นผม จะพบว่ามีตัวเหาที่ตายติดออกมามากมาย ให้สางผมจนเหาหมดจะหายได้ในที่สุด

6. ใช้แชมพู ครีมนวดกำจัดเหา หาซื้อที่ร้านขายยา หมักทิ้งไว้ 1 วัน แล้วล้างออก รอจนผมแห้ง ใช้หวีเสนียดหรือหวีซี่ถี่ ๆ หวีผม เตรียมหาผ้ารองไว้ เหาจะคลานออกมา ทำไปเรื่อยๆ เว้น 3 วันแล้วสระซ้ำ จนกว่าตัวเหาและทายาทจะสิ้นซาก

7. ใช้หอมแดงกำจัดเหา นำหัวหอมแดง 4-5 หัวมาปั่นให้ละเอียด คั้นเอาน้ำหัวหอมแดงมาหมักผมทิ้งไว้ประมาณประมาณ 2 ชั่วโมงแล้วล้างออกให้สะอาด ก่อนใช้ไดร์เป่าผมให้แห้งและใช้หวีเสนียดสางอีกครั้ง  

8. เบบี้ออยด์และน้ำส้มสายชูกำจัดเหา โดยชโลมเบบี้ออยล์ลงบนศีรษะและเส้นผม จากนั้นใช้หวีเสนียดสางเหาให้ทั่วก่อนสระผมอีกครั้ง จากนั้นให้ชโลมเส้นผมด้วยน้ำส้มสายชู ใช้ผ้าหรือหมวกอาบน้ำคลุม แล้วหมักทิ้งไว้ข้ามคืน ตื่นเช้ามาให้ลูกสระผมด้วยแชมพูทั่วไป แล้วสางด้วยหวีเสนียดอีกครั้ง

9. ใช้ยาฆ่าเหาโดยเฉพาะ เป็นยาทาที่ใช้ได้ดีต่อตัวเหาและไข่เหา คือ permethrin lotion, pyrethrins หรือ malathion คุณแม่ควรสวมถุงมือยาง ก่อนทายาให้ทั่วศีรษะลูก จากนั้นทิ้งไว้ 5-10 นาทีแล้วล้างออก หลังจากนั้นควรใช้หวีซี่ถี่ ๆ หวีตัวเหา และไข่เหาออก ทำอีกครั้งในอีก 7 วันเหาก็จะค่อยๆ หายไป 

10. ปรึกษาแพทย์ บางรายที่เกิดอาการคันมากจนไปซื้อยามาใช้เอง ทางที่ดีเราควรไปหาหมอหรือพบแพทย์ก่อนที่เราจะซื้อยามาใช้เองเพื่อความปลอดภัยของลูกด้วยค่ะ 

 

และเมื่อกำจัดเหาได้แล้ว ก็ควรสอนลูกให้รักษาความสะอาด และทุกคนในบ้านต้องใส่ใจสุขอนามัยให้มากยิ่งขึ้น งดเว้นการใช้เครื่องนุ่งห่มด้วยกัน ที่นอน หมอน ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ควรทำความสะอาดอาทิตย์ละครั้ง ขณะเดียวกันควรแยกเด็กที่เป็นเหาออกจากกันด้วย เพื่อป้องกันการติดซ้ำ

แนะนำ 5 นม Lactose Free แก้เด็กกินนมวัวแล้วท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย

Lactose Free-นมแลคโตสฟรี-นมวัวแลคโตสฟรี-นม-แลคโตสฟรี-นม Lactose Free-แพ้นมวัว-นมวัว-อาการแพ้นมวัว-ท้องอืด-ท้องเฟ้อ-ท้องเสีย-ดื่มนมวัวไม่ได้-นมที่กินแล้วไม่ท้องอืด-แลคโตส-แลคโตสฟรี คืออะไร-ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ท้องเฟ้อ-อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ท้องเฟ้อ คือ-ท้องเฟ้อ อาการ-อาการ ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ทารก ท้องอืด-แน่นท้อง-ท้องอืด บ่อย-ท้องอืด อาการ-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง-ท้องอืด เกิด จาก-ลูก ท้องอืด-อาการ แน่นท้อง-ท้องอืด pantip-ลูก 1 ขวบ ท้องอืด-ทอง อืด-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง แข็ง-ท้องอืด บ่อยๆ 

แนะนำ 5 นม Lactose Free แก้เด็กกินนมวัวแล้วท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย

คุณพ่อคุณแม่เคยสังเกตไหมคะ ว่าลูกกินนมวัวเสริมแล้วมักจะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เสียดท้อง ไปจนถึงท้องเสีย หากเด็กๆ มีอาการแบบนี้แปลว่ากำลังแพ้น้ำตาลแลคโตสอยู่นะคะ เพราะร่างกายไม่สามารถย่อย “น้ำตาลแลคโตส” ที่อยู่ในนมวัวได้นั่นเองค่ะ

นมแลคโตสฟรี คืออะไร นมแลคโตสฟรี หรือ นม 0% น้ำตาลแลคโตส คือ นมโคแท้ 100% ที่ผ่านกระบวนการย่อยด้วยเอนไซม์ธรรมชาติ แลคเตส ทำให้น้ำตาลแลคโตสในนมหมดไป มีขนาดโมเลกุลเล็กลง ดื่มแล้ว ย่อยง่าย สบายท้อง ดูดซึมไปใช้งานได้ทันที ได้คุณประโยชน์เทียบเท่านมสดธรรมชาติทั่วไป

หากเด็กๆ ทานนมวัวแล้วย่อยยาก ท้องเสีย แต่คุณพ่อคุณแม่อยากให้ได้สารอาหารในนมวัว เราแนะนำให้ดื่ม "นมแลคโตสฟรี" นะคะ เรามียี่ห้อนมแลคโตสฟรีมาแนะนำดังนี้เลยค่ะ

1. mMilk นมแลคโตสฟรี

mMilk มีรูปแบบของนมพาสเจอร์ไรซ์ และ UHT หาซื้อได้ตามเซเว่นอีเลฟเว่นและห้างสรรพสินค้าทั่วไป

ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่  https://www.facebook.com/mMilkbrand.official/


Lactose Free-นมแลคโตสฟรี-นมวัวแลคโตสฟรี-นม-แลคโตสฟรี-นม Lactose Free-แพ้นมวัว-นมวัว-อาการแพ้นมวัว-ท้องอืด-ท้องเฟ้อ-ท้องเสีย-ดื่มนมวัวไม่ได้-นมที่กินแล้วไม่ท้องอืด-แลคโตส-แลคโตสฟรี คืออะไร-ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ท้องเฟ้อ-อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ท้องเฟ้อ คือ-ท้องเฟ้อ อาการ-อาการ ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ทารก ท้องอืด-แน่นท้อง-ท้องอืด บ่อย-ท้องอืด อาการ-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง-ท้องอืด เกิด จาก-ลูก ท้องอืด-อาการ แน่นท้อง-ท้องอืด pantip-ลูก 1 ขวบ ท้องอืด-ทอง อืด-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง แข็ง-ท้องอืด บ่อยๆ

 

2. Meiji นมแลคโตสฟรี



Meiji มีขายตามเซเว่นอีเลฟเว่นทั่วประเทศ
ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ https://www.facebook.com/cpmeijithailand/



Lactose Free-นมแลคโตสฟรี-นมวัวแลคโตสฟรี-นม-แลคโตสฟรี-นม Lactose Free-แพ้นมวัว-นมวัว-อาการแพ้นมวัว-ท้องอืด-ท้องเฟ้อ-ท้องเสีย-ดื่มนมวัวไม่ได้-นมที่กินแล้วไม่ท้องอืด-แลคโตส-แลคโตสฟรี คืออะไร-ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ท้องเฟ้อ-อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ท้องเฟ้อ คือ-ท้องเฟ้อ อาการ-อาการ ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ทารก ท้องอืด-แน่นท้อง-ท้องอืด บ่อย-ท้องอืด อาการ-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง-ท้องอืด เกิด จาก-ลูก ท้องอืด-อาการ แน่นท้อง-ท้องอืด pantip-ลูก 1 ขวบ ท้องอืด-ทอง อืด-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง แข็ง-ท้องอืด บ่อยๆ

3. โทฟุซัง นมแลคโตสฟรี



โทฟุซัง 
กับนมวัว Essentially แบบใหม่ หาซื้อได้ตามเซเว่นอีเลฟเว่นทั่วประเทศ
ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ https://www.facebook.com/tofusan/


Lactose Free-นมแลคโตสฟรี-นมวัวแลคโตสฟรี-นม-แลคโตสฟรี-นม Lactose Free-แพ้นมวัว-นมวัว-อาการแพ้นมวัว-ท้องอืด-ท้องเฟ้อ-ท้องเสีย-ดื่มนมวัวไม่ได้-นมที่กินแล้วไม่ท้องอืด-แลคโตส-แลคโตสฟรี คืออะไร-ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ท้องเฟ้อ-อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ท้องเฟ้อ คือ-ท้องเฟ้อ อาการ-อาการ ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ทารก ท้องอืด-แน่นท้อง-ท้องอืด บ่อย-ท้องอืด อาการ-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง-ท้องอืด เกิด จาก-ลูก ท้องอืด-อาการ แน่นท้อง-ท้องอืด pantip-ลูก 1 ขวบ ท้องอืด-ทอง อืด-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง แข็ง-ท้องอืด บ่อยๆ

4. ไทย-เดนมาร์ค นมแลคโตสฟรี



แบรนด์ที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มีขายตามเซเว่นอีเลฟเว่นและห้างสรรพสิ้นค้าทั่วไป ตอนนี้มีโปรโมชั่นด้วนนะคะ
ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ https://www.facebook.com/ThaiDenmarkOfficial/



Lactose Free-นมแลคโตสฟรี-นมวัวแลคโตสฟรี-นม-แลคโตสฟรี-นม Lactose Free-แพ้นมวัว-นมวัว-อาการแพ้นมวัว-ท้องอืด-ท้องเฟ้อ-ท้องเสีย-ดื่มนมวัวไม่ได้-นมที่กินแล้วไม่ท้องอืด-แลคโตส-แลคโตสฟรี คืออะไร-ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ท้องเฟ้อ-อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ท้องเฟ้อ คือ-ท้องเฟ้อ อาการ-อาการ ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ทารก ท้องอืด-แน่นท้อง-ท้องอืด บ่อย-ท้องอืด อาการ-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง-ท้องอืด เกิด จาก-ลูก ท้องอืด-อาการ แน่นท้อง-ท้องอืด pantip-ลูก 1 ขวบ ท้องอืด-ทอง อืด-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง แข็ง-ท้องอืด บ่อยๆ

5. นมแมกโนเลีย พลัส แลคโตสฟรี



มีรสวานิลลาไวท์ช็อกโกแลต, รสเปปเปอร์มิ้นต์ บราวนี่ และรสจืด มีขายที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำทุกสาขาค่ะ ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ https://www.facebook.com/MagnoliaMilkandDairiesThailand/

Lactose Free-นมแลคโตสฟรี-นมวัวแลคโตสฟรี-นม-แลคโตสฟรี-นม Lactose Free-แพ้นมวัว-นมวัว-อาการแพ้นมวัว-ท้องอืด-ท้องเฟ้อ-ท้องเสีย-ดื่มนมวัวไม่ได้-นมที่กินแล้วไม่ท้องอืด-แลคโตส-แลคโตสฟรี คืออะไร-ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ท้องเฟ้อ-อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ท้องเฟ้อ คือ-ท้องเฟ้อ อาการ-อาการ ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ทารก ท้องอืด-แน่นท้อง-ท้องอืด บ่อย-ท้องอืด อาการ-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง-ท้องอืด เกิด จาก-ลูก ท้องอืด-อาการ แน่นท้อง-ท้องอืด pantip-ลูก 1 ขวบ ท้องอืด-ทอง อืด-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง แข็ง-ท้องอืด บ่อยๆ

นม Lactose Free ลองหามาลองดื่มดูนะคะ จะได้ไม่ท้องอืด ท้องเฟ้อ เสียดท้อง ท้องเสีย แถมได้สารอาหารไปเต็ม ๆ อีกด้วยค่ะ



ขอบคุณภาพจาก : Meiji, mMilk, ไทย-เดนมาร์ค, โทฟุซัง Magnolia

โรคจูบ (kissing disease) คืออะไร อันตรายอย่างไร

4478

ข้อมูลมีประโยชน์ของโรคที่หลายคนไม่รู้จัก และไม่คิดว่ามีอยู่จริงๆ หรือ โรคจูบ หรือ kissing disease เป็นชื่อโรคที่ ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ออกมาโพสต์ให้ข้อมูลในโอกาสวันแห่งความรักหรือวันวาเลนไทน์

โรคจูบ ชื่อโรคทุกคนคงสนใจ ที่จริงก็คือ infectious mononucleosis (IM) ซึ่งเกิดจากไวรัส Ebstein Barr หรือย่อว่า EB ไวรัส ติดต่อได้ทางสัมผัส และทางน้ำลาย ส่วนใหญ่การติดเชื้อ EB ในประเทศไทย จากการศึกษา ของศูนย์เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาคลีนิค โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จะเกิดขึ้นใน 2 ขวบปีแรก โดยไม่มีอาการของโรค หลังจากนั้นจะมีเชื้อ ซ่อนเร้นอยู่ในร่างกายแบบไม่แสดงอาการ (latent infection) แต่สำหรับในเด็กโตนั้น เมื่อได้รับเชื้อจะมีอาการรุนแรงขึ้น แม้ไม่เคยมีการติดเชื้อมาก่อน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อในวัยรุ่น ที่เกิดจากการจูบ โดยสัมผัสจากน้ำลาย

อาการโรคจูบ (kissing disease) ผู้ป่วยจะมีอาการไข้หลายวันถึงสัปดาห์ ต่อมน้ำเหลืองโต ม้ามโต ต่อมทอลซิลโต มีฝ้าขาว หายใจลำบาก หรือต้องหายใจทางปาก มีผื่น แต่อาการทั้งหมดนี้ จะสามารถหายได้เอง โรคนี้จึงนับเป็นอีกโรคหนึ่งที่ติดต่อได้ทางน้ำลาย

โรคเบาจืดในเด็ก เป็นแล้วรักษาไม่หาย ภัยร้ายมากกว่าที่คิด!

โรคเบาจืด- โรคเบาจืดในเด็ก- โรคเด็ก- อาการโรคเบาจืด- วิธีสังเกตอาการโรคเบาจืด- สาเหตุของโรคเบาจืด- ความแตกต่างของโรคเบาจืดกับเบาหวาน- โรคเบาจืดคือโรคอะไร

คุณแม่เคยได้ยินโรคเบาจืดไหมคะ? อาการของโรคอาจดูไม่ร้ายแรง แต่ความจริงอันตรายมากกว่าที่คิด หากลูกเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ ที่แย่กว่านั้นคือลูกต้องกินยาไปตลอดชีวิตค่ะ เรามาดูวิธีสังเกตอาการของโรคเบาจืดกัน 

โรคเบาจืด คืออะไร

เบาจืด (Diabetes Insipidus) คือโรคที่ร่างกายสูญเสียความสมดุลของน้ำ โดยมีผลมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (Antidiuretic Hormone) ซึ่งก่อให้เกิดอาการกระหายน้ำอย่างรุนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากผิดปกติ และปัสสาวะออกมามาก ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจถึงขั้นปัสสาวะมากถึงวันละ 20 ลิตรได้ ซึ่งคนปกติจะปัสสาวะเพียงวันละประมาณ 1-2 ลิตรเท่านั้น โดยปัสสาวะที่ออกมาจะไม่มีกลิ่น ไม่มีสี และมีรสจืด จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคเบาจืด" สาเหตุมาจากการดื่มน้ำในปริมาณมากจนส่งผลให้สารต่าง ๆ ที่ก่อสีและกลิ่นในปัสสาวะเจือจางลงมากจนปัสสาวะเกือบมีลักษณะเหมือนน้ำแท้ ๆ

โรคเบาจืด ทำให้เกิดอาการอย่างไร
  1. ผู้ป่วยจะกระหายน้ำบ่อย
  2. ปัสสาวะบ่อย และครั้งละมาก ๆ ปัสสาวะมักไม่มีสี หรือกลิ่น
  3. เด็กมีภาวะการเจริญเติบโตช้า น้ำหนักขึ้นไม่ดี
  4. อาจมีการปวดบริเวณเอว ท้องน้อย เนื่องจากการคั่งของปัสสาวะ 
สาเหตุ
  1. ร่างกายขาดฮอร์โมนเก็บน้ำจากโรคต่อมใต้สมอง
  2. ไตไม่ตอบสนองกับฮอร์โมนเก็บน้ำ มักเป็นความผิดปกติ แต่กำเนิดหรือถ่ายทอดทางพันธุกรรม
รักษาโรคเบาจืดอย่างไร
  1. ใช้ยาตามแพทย์สั่งให้ครบ และตรงเวลาสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาหรืองดยาไปเอง ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  2. ดื่นน้ำให้เพียงพอ
  3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม
โรคเบาจืด ต่างจากโรคเบาหวานอย่างไร

โรคเบาจืด (Diabetes insipidus) เป็นคนละโรคกับโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) เพียงแต่มีชื่อคล้าย ๆ กัน และมีความผิดปกติทางด้านปัสสาวะเหมือนกันทั่งคู่ การแยกโรคทั้ง 2 นี้ ในเบื้องต้นสามารถกระทำได้โดยการตรวจปัสสาวะ ซึ่งจะพบลักษณะจำเพาะ ของโรคแต่ละโรค ถ้าเป็นเบาจืดจะตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี และไม่ได้มีเกลือแร่  ส่วนผู้ที่เป็นเบาหวานนั้นจะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะค่ะ

วิธีป้องกัน
  1. การระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุทางสมองหรือที่ศีรษะ 
  2. ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง 
  3. ร่วมไปกับการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและรักษาสุขภาพจิตให้ดี

คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าน้องปวดปัสสาวะธรรมดา กระหายน้ำปกติ แต่ถ้าไม่สังเกตอาการให้ดีและปล่อยไว้นานอาจจะกลายเป็นโรคร้ายที่อันตรายต่อเด็กๆ ได้ค่ะ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาจืดแล้ว จะไม่มีทางรักษาให้หาย และที่สำคัญต้องกินยาตลอดชีวิตค่ะ

ไวรัส RSV ภัยร้ายที่มากกว่าโรคหวัด

โรคในเด็ก-โรคRSV-rsv-อาการโรคrsv 

ไวรัส RSV เป็นไวรัสซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่กลัวมาก เนื่องจากไวรัส RSVยังไม่มีทั้งยารักษาและวัคซีนป้องกัน และไวรัส RSVมักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน เราเลยขอนำเรื่องไวรัส RSV ไวรัสร้ายตัวนี้มาบอกกล่าวกันอีกครั้งค่ะ

ไวรัส RSV คืออะไร

Respiratory Syncytial virus หรือ RSV เป็นเชื้อไวรัสที่รู้จักกันมานานในวงการแพทย์ ซึ่ง RSV เป็นสาเหตุของอาการหรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก

ร่างกายได้รับไวรัส RSV ได้อย่างไร

ไวรัส RSV จะพบมากและเจริญเติบโตได้ดีในช่วงที่มีอากาศชื้นโดยเฉพาะหน้าฝน แถมยังติดต่อกันได้ง่ายเพียงการสัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางตาหรือจมูก และทางลมหายใจ   

ไวรัส RSV ทำให้เกิดอาการอย่างไร RSV ก่อโรคในทางเดินหายใจ แบ่งอาการเป็น 3 กลุ่มคือ
  1. ทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบ ทำให้มีอาการคล้ายหวัด มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล คออักเสบ
  2. ทางเดินหายใจส่วนล่างอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ ซึ่งมักเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
  3. ในบางรายมีอาการรุนแรง ไข้สูง หอบเหนื่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัส RSV ตั้งแต่ 40 –90 % รวมไปถึงปอดบวม  
ไวรัส RSV ต่างจากหวัดธรรมดาอย่างไร

หวัดธรรมดาจะมีอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล กินน้ำ กินนมได้ ซึ่งจะหายได้ใน 5-7 วัน แต่อาการที่เกิดจากไวรัส RSV มีอาการหอบ เหนื่อย บางคนหอบมากจนเป็นโรคปอดบวม หรือหายใจมีเสียงวี้ดแบบหลอดลมฝอยอักเสบ บางรายไอมากจนอาเจียน ซึมลง ตัวเขียว กินข้าว กินน้ำ กินนมไม่ได้  

รักษา ไวรัส RSV อย่างไร

ระวังเรื่องการขาดนน้ำ เพราะจะยิ่งทำให้เสมหะเหนียวข้นและเชื้อลงปอด อาจต้องใช้ยาพ่นร่วมกับ oxygen เพื่อช่วยขยายหลอดลม รับประทานยาลดไข้ตามอาการทุก 4 – 6 ชั่วโมงพร้อมกับเช็ดตัวลดไข้ นอนพักผ่อนเยอะๆ ร่างกายก็จะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 7 – 14 วัน จึงจะหาย  

วิธีป้องกัน ไวรัส RSV
  • การล้างมือให้เด็กเล็กบ่อยๆ และพี่เลี้ยงเด็กก็ต้องล้างมือบ่อยๆ เช่นกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสเด็กที่สงสัยว่าเป็นหวัด และใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเอาไว้
  • เมื่อมีเด็กป่วย หากเป็นไปได้ให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน แต่หากไม่สามารถรับกลับบ้านได้ ให้แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการจูบและหอมเด็ก เพราะอาจเป็นการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว ไม่พาบุตรหลานไปที่ชุมชมสถานที่ที่มีคนเยอะ

ถ้ามองเผิน ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าน้องเป็นหวัดธรรมดา แต่ถ้าไม่สังเกตอาการให้ดีและปล่อยไว้นานอาจจะกลายเป็นโรคร้ายที่อันตรายต่อชีวิตเด็ก ๆ ได้ค่ะ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ มีโอกาสที่จะเกิดซ้ำอีกได้ถ้าน้อง ๆ ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งจะกระตุ้นอาการหอบจนทำให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในที่สุดค่ะ