
เรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยของลูก นับเป็นความกังวลที่สุดของคนเป็นพ่อแม่ค่ะ เพราะระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังไม่แข็งแรง เสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคที่อยู่รอบตัวได้ง่าย โดยเฉพาะโรคต่อไปนี้ ที่ต้องระวังเป็นพิเศษค่ะ
- โรคมือเท้าปาก
สาเหตุ: เกิดจากเชื้อไวรัส (Enterovirus 71, Coxsackie) พบได้ตลอดทั้งปี ซึ่งหาเป็นแล้วอาการมักหายได้เองภายใน 3-10 วัน
การติดต่อของโรค: ทางการไอ จาม น้ำลาย หรืออุจจาระ มีระยะฟักตัวของโรค 3 - 6 วัน
อายุกลุ่มเสี่ยง: เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
อาการ: มีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า มีแผลในปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก บางรายอาจมีผื่นที่ขา และก้นร่วมด้วย ซึ่งต้องระวังอย่าให้ลูกมีไข้สูง เพราะเสี่ยงภาวะชัก รวมถึงอาการแทรกซ้อนอื่นๆ
อาการต้องรีบพบแพทย์
: ซึม ไม่เล่น ไม่อยากอาหารหรือนม
: ปวดศีรษะมาก
: ปวดต้นคอ
: อาเจียน
: ตัวสั่น แขนหรือมือสั่นบ้าง
: พูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง
- โรคติดเชื้อไวรัส RSV
สาเหตุ: เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ สามารถพบเชื้อได้ตลอดทั้งปี
การติดต่อของโรค: ทางน้ำมูก น้ำลาย การไอ และละอองเสมหะของเด็กที่ป่วย
อายุกลุ่มเสี่ยง: เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
อาการ
: มีอาการหอบเหนื่อย และหายใจลำบาก
: หายใจเร็ว และมีเสียงครืดคราด ๆ จนสังเกตได้จากการยุบบุ๋มลงไป และโป่งพองขึ้นมา
: ไอหนักมาก
: มีเสียงหวีดในปอด จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว
: มีเสมหะมาก
: มีไข้
- โรคไข้หวัดใหญ่
สาเหตุ:ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เป็นโรคที่สามารถพบได้ตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝนเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคมากขึ้น
การติดต่อของโรค: ผ่านน้ำมูก หรือเสมหะของผู้ป่วย หรือการสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรคจากผ้าเช็ดหน้า ช้อน หรือแก้วน้ำที่ใช้ร่วมกัน
อายุกลุ่มเสี่ยง: เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
อาการ
: อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดธรรมดา ซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจในส่วนของจมูก ลำคอ และปอด แต่มีความรุนแรงมากกว่าและพัฒนาทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ คุณแม่สามารถสังเกตอาการที่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดา ได้ดังนี้
: มีไข้สูง ซึ่งมักเกิดอาการอย่างเฉียบพลัน และมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัด
: ปวดเมื่อย ตามกล้ามเนื้อ และรู้สึกอ่อนเพลียมาก
: ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อาจเกิดขึ้นได้ หากพบว่ามีอาการเข้าข่ายไข้หวัดใหญ่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์
- โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า

สาเหตุ: เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า
การติดต่อของโรค: ผ่านการหยิบอาหาร หรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก ซึ่งเกิดการแพร่ระบาดได้ง่าย
อายุกลุ่มเสี่ยง: เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
อาการ
: ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำและถ่ายบ่อยกว่าปกติ หรืออาเจียนร่วมด้วย
: เด็กเล็กอาจมีไข้
: ซึม มือเท้าเย็น
: ปัสสาวะออกน้อยลง
: ขาดน้ำ อาจเกิดภาวะช๊อกได้
: หากท้องร่วงไม่รุนแรงจะหายได้เองใน 3-7 วัน
การรักษา
: อุจจะระออกไปให้หมดเพื่อไล่เชื้อ
: ดื่มเกลือแร่หรือให้น้ำเกลือ

10 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกัน & ป้องกันลูกจาก 4 โรคร้าย
1. ฉีดวัคซีน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า
2. ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และกินอาหารที่ถูกต้องตามโภชนาการ
-
นอนหลับอย่างเพียงพอ ควรจัดห้องนอนให้มีบรรยากาศปลอดโปร่ง มืดสนิท มีเสียงรบกวน เพื่อให้ลูกน้อยนอนหลับสนิทตลอดคืน เพื่อการเจริญเติบโตที่สมวัยและมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรง
-
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น ออกไปวิ่ง ว่ายน้ำ เล่นกีฬา ทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ปอดและหัวใจแข็งแรง
-
ดื่มนมที่มีประโยชน์สูง เช่น นมแพะ เพราะมีกระบวนการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ ซึ่งพบในนมแม่และนมแพะเท่านั้น ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์น้ำนมหลุดออกมากับน้ำนมในปริมาณสูง จึงมีสารอาหารธรรมชาติสูง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ย่อยง่าย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก ไม่ป่วยง่าย
-
เสี่ยงไปสถานที่แออัด หรือสถานที่ที่เสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโรค
-
ล้างมือให้สะอาดเสมอ โดยล้างด้วยสบู่หรือน้ำยาล้างมือให้นานเพียงพอ
-
ทำความสะอาดของใช้เด็กอยู่เสมอ หมั่นเช็ดแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดของเล่นที่ลูกหยิบเข้าปากได้ หรือของใช้ของลูกให้สะอาดปลอดเชื้ออยู่เสมอ
-
แยกเด็กป่วยจากเด็กปกติ เมื่อสังเกตว่าลูกมีอาการผิดปกติ ให้รีบแยกลูกออกจากเด็กๆ ที่ปกติดี เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
-
พบแพทย์ เมื่อลูกมีอาการผิดปกติ ให้รีบแยกลูกออกจากเด็กๆ ที่ปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ และพาไปพบแพทย์ค่ะ
แม่หลายคนที่ต้องการซื้อยารักษาอาการป่วยให้ลูกเอง เพราะคิดว่าสะดวกเเละรวดเร็วกว่าการพาไปตรวจอาการที่โรงพยาบาล แต่คุณแม่ทราบไหมคะว่าการเลือกซื้อยาเอง อาจทำให้เกิดความเสี่ยงหรือตัวยาบางชนิดอาจเป็นอันตรายกับลูกได้ จะมียาอะไรบ้างที่อันตรายไม่ควรซื้อให้ลูกบ้างไปดูกันเลยค่ะ
5 ยาอันตรายที่คุณแม่ไม่ควรซื้อให้ลูกเอง
- ยากลุ่มซัลฟา
- เป็นยาต้านมาลาเรีย สังเกตหากลูกมีโรคประจำตัวจะทำให้เกิดโรคโลหิตจางตามมา
- ยากลุ่มเตตร้าไซคลิน หรือ ยาคลอแรมเฟนิคอล
- เป็นยาฆ่าเชื้อ เช่น ด็อกซีไซคลิน ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 8 ขวบ เพราะยากลุ่มนี้อาจมีผลทำให้สีของฟันมีสีดำอย่างถาวร และจะทำให้กระดูกหยุดการเจริญเติบโต
- ยากลุ่มแอสไพริน
- เป็นยาบรรเทาอาการปวด ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 8 ขวบ และสำหรับเด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส ควรระวังในการใช้ยาแอสไพริน เนื่องจากอาจทำให้เกิดรายส์ ซินโดรม (Reye’s syndrome) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
- ยากลุ่มโลเพอราไมด์
- เป็นยาบรรเทาอาการท้องเสีย ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และผู้สูงอายุ เพราะยากลุ่มโลเพอราไมด์ อาจส่งผลข้างเคียง ทำให้ปากแห้ง อาเจียน ปวดท้อง และท้องผูก
- ยากลุ่มเดกซ์โทรเมทอร์แฟน
- เป็นยาบรรเทาอาการไอ ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะยาบรรเทาอาการไอกลุ่มนี้ อาจส่งผลข้างเคียงกับระบบการหายใจได้
ข้อสังเกตก่อนให้ลูกกินยา
- หมั่นจดชื่อยาที่ลูกเคยแพ้ - หากลูกเคยแพ้มาก่อน เช่น เกิดอาการเป็นผดผื่นลมพิษ เมื่อใช้ซ้ำอาการแพ้อาจรุนแรงกว่าเดิม
- ห้ามใช้ยาสำหรับผู้ใหญ่กับเด็ก - เพราะเด็กภูมิคุ้มกันไม่เท่ากับผู้ใหญ่ หากใช้ยาเกินขนาด อาจทำให้กระเพาะลูกเป็นแผลได้
- สังเกตวันผลิตและวันหมดอายุของยา - ยาหมดอายุนอกจากฤทธิ์ยาในการรักษาจะเสื่อมลงแล้ว ตัวยาที่กินเข้าไปยังเป็นพิษกับร่างกายอีกด้วย
Tips
- ควรใช้ยาเท่าที่จำเป็น ไม่ซื้อยาเอง และไม่เชื่อตามคำโฆษณา
- ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรในการใช้ยาทุกครั้ง
- ให้รายละเอียดกับแพทย์ หรือเภสัชเกี่ยวกับประวัติการแพ้ยาของลูก
- อ่านฉลากให้ละเอียดทุกครั้งก่อนใช้ยา

เมื่อลูกเป็นไข้ มีไข้สูง ลูกตัวร้อน ลูกไม่สบาย ต้องรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ถูกวิธี เพื่อบรรเทาอาการป่วยให้มากที่สุด
5 วิธีลดไข้ให้ลูก ดูแลลูกตัวร้อนอย่างได้ผล
ไม่ว่าจะฤดูไหน ลูกก็เป็นไข้ ไม่สบาย ตัวร้อน ได้ทุกฤดู สาเหตุหนึ่งจากเชื้อโรคที่มีอยู่ทุกที่ค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าภูมิคุ้มกันในร่างกายลูกจะอ่อนแอเมื่อไหร่ เจ้าเชื้อโรค หรือไข้หวัดก็ทำให้ป่วยได้เสมอ และเมื่อลูกมีไข้ ลูกตัวร้อน คุณแม่ควรช่วยลดไข้ให้ลูกด้วยวิธีใดบ้างถึงจะได้ผลให้ลูกกลับมาแข็งแรง เรามีวิธีลดไข้สำหรับเด็กมาฝากค่ะ
วิธีสังเกตอาการเมื่อลูกเป็นไข้ โดยปกติแล้วอุณหภูมิร่างกายของเราจะอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส แต่เมื่อไม่สบาย เป็นไข้ หรือตัวร้อน อุณหภูมิในร่างกายก็จะสูงขึ้นเพราะร่างกายจะต้องต่อสู้กับเชื้อโรคที่อยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งถ้าอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียสจะถือว่ามีอาการไข้ ตัวร้อน คุณแม่จึงควรมีปรอทวัดไข้สำหรับเด็กประจำบ้านไว้ด้วย และเมื่อลูกมีไข้ เป็นไข้ ตัวร้อน จะได้รีบดูแลกันได้ทันค่ะ
5 วิธีลดไข้ ลดอาการตัวร้อน ดูแลเมื่อลูกเป็นไข้
1. ให้ลูกพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะระหว่างที่นอนหลับร่างกายจะนำสารอาหารต่าง ๆ ไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ขับของเสียออกจากอวัยวะต่าง ๆ เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และฟื้นฟูพลังงาน ทำให้อาการเป็นไข้ ตัวร้อนลดลงและหายไข้ได้ไวขึ้น
2. อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับหรือร้อนเกินไป ช่วงที่ลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อน ลูกไม่สบาย เขาจะไม่สบายตัว รวมถึงการหายใจที่ไม่ค่อยสะดวก เพราะมีความร้อนออกมาจากลมหายใจด้วย ดังนั้นคุณแม่ควรให้ลูกนอนในที่อากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อช่วยให้ลูกรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย และห้องโปร่ง ๆ ยังช่วยไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคเพิ่มเติมด้วย
3. หากลูกมีไข้สูงให้ปฐมพยาบาลด้วยการเช็ดตัวลูก ลองเช็ดตัวลดไข้ ลดตัวร้อนให้ลูกด้วยการผสมน้ำอุ่นกับน้ำมะนาว แล้วใช้ผ้าเช็ดตัวผืนเล็กหรือผ้าอ้อมผืนนุ่ม ๆ มาชุบน้ำ บิดหมาด เช็ดถูตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น หน้าผาก ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ และข้อพับต่างๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตที่ผิวหนัง และช่วยลดไข้ ลดอาการตัวร้อน
4. ดื่มน้ำมาก ๆ พยายามให้ลูกดื่มน้ำเยอะๆเพราะน้ำจะช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย และยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังชุ่มชื่นด้วย
5. ให้ลูกกินยาลดไข้ Paracetamol เมื่อลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อนสูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ไม่สบายตัว หรือปวดตัว ให้เลือกยาลดไข้สำหรับเด็กที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอล ซึ่งเป็นตัวยาที่เหมาะสำหรับการลดไข้เด็กมากที่สุด

เคล็ดลับการป้อนยาลูกให้เป็นเรื่องง่าย
สำหรับลูกที่ไม่ชอบกินยา กินยายาก คุณแม่ลองเลือกยาลดไข้สำหรับเด็กชนิดน้ำ ยาลดไข้สำหรับเด็กกลิ่นผลไม้หอมหวาน จะช่วยให้ลูกกินยาลดไข้ง่ายขึ้นค่ะ ควรให้ลูกกินยาลดไข้สำหรับเด็กในปริมาณและระยะเวลาที่กำหนด โดยคำนวณจากน้ำหนักตัวของเด็กหรืออายุเป็นหลัก คือกินยาลดไข้ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และกินทุก 4-6 ชั่วโมง
วิธีดูแลลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อน
คุณพ่อคุณแม่ลงมือทำได้เองเบื้องต้น ทั้งการสังเกตอุณหภูมิร่างกายการลดไข้ รวมถึงการใช้ยาลดไข้สำหรับเด็กที่ควรจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญค่ะ
หากลูกยังมีอาการไข้ ตัวร้อนหลายวัน หรือมีไข้ต่อเนื่องหลายวัน คุณแม่รีบพาลูกไปหาหมอ เพื่อตรวจดูอาการอย่างละเอียด เพราะลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อน อาจเกิดจากการติดเชื้อโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่ไข้หวัดปกติธรรมดาค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
10 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อลูกมีไข้ ตัวร้อน

สำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่ ลูกคือแก้วตาดวงใจ เมื่อลูกมีอาการไม่สบายแม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้กังวลใจ คิดไปต่างๆ นานา แต่ถ้าเราทำความรู้จักและเข้าใจโรคให้มากขึ้น รู้อาการ รู้แนวทางป้องกันรักษา ก็น่าจะทำให้คลายความกังวลลงได้
“RSV” ไวรัสตัวร้าย ป้องกันได้ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย
บทความตอนนี้ พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา โรงพยาบาลนวเวช จึงได้นำความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ที่มักเกิดกับเด็กเล็กมาให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้จัก ซึ่งหลายคนก็อาจสับสนระหว่าง RSV ไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดธรรมดา คุณหมอก็เลยมีข้อมูลมาให้เปรียบเทียบด้วยว่าแต่ละโรคมีความแตกต่างกันอย่างไร
RSV (Respiratory Syncytial Virus) เชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจในเด็ก เชื้อไวรัส RSV สามารถติดต่อกันผ่านสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย ผ่านการไอ จาม และสัมผัสกันโดยตรง
อาการ
• อาการเริ่มแรกเหมือนไข้หวัดทั่วไป คือ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล ซึ่งในรายที่มีอาการเล็กน้อย ของทางเดินหายใจส่วนต้น สามารถหายได้เองภายใน 5-7 วัน
• เด็กบางคนมีอาการมากกว่าไข้หวัด คือ อาการไปถึงทางเดินหายใจส่วนล่าง จะมีอาการไอแบบมีเสมหะร่วมด้วย ไอมากจนอาเจียน อาจมีหายใจเร็ว แรง หายใจลำบาก หรือหายใจแบบมีเสียงวี๊ด (wheezing) ได้ในรายที่มีอาการหนัก การรักษา • การรักษาอาการทั่วไป ให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำ ให้ออกซิเจน ล้างจมูก ไปจนถึงช่วยดูดระบายเสมหะในกรณีที่น้ำมูกหรือเสมหะอุดตันมาก
• การรักษาแบบเฉพาะที่ พ่นยาขยายหลอดลม พ่นน้ำเกลือเข้มข้นชนิดพิเศษ เพื่อลดภาวะหลอดลมเกร็ง หายใจมีเสียงวี๊ด
• การใช้ยา Montelukast มีส่วนช่วยในการลดความรุนแรงในช่วงแรกของการหายใจหอบเหนื่อยแบบมีเสียงวี๊ด และให้ใช้ยาต่อเนื่องเพื่อลดการกลับเป็นซ้ำของโรค
การป้องกัน
- ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ดังนั้นจึงเน้นการป้องกันโดยการเพิ่มภูมิต้านทานธรรมชาติ โดยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แออัด
- ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง และล้างมือบ่อย ๆ
ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ต่างกับไข้หวัดธรรมดาอย่างไร?
อาการระยะเริ่มคล้ายกันมาก แต่ไข้หวัดใหญ่นั้นอาการรุนแรงกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยมีไข้สูง(39-40 องศาเซลเซียส) ปวดศีรษะ ไอมาก อ่อนเพลียอย่างรุนแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ ไข้หวัดใหญ่ยังติดต่อกันได้ง่ายมาก จากการหายใจเอาเชื้อที่กระจายอยู่ในละอองฝอยจากการไอ จาม หรือการอยู่ใกล้ชิด สัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนกับผู้ป่วย และนำเชื้อเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สำคัญอย่างไร
- ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและการเสียชีวิต สำหรับบุคคลกลุ่มเสี่ยง
- ลดอัตราการลาป่วยและการเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาล
- ลดอัตราการขาดงาน ขาดโรงเรียน หรือรบกวนแผนการเดินทาง
- ลดการเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ต่อสมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือผู้ร่วมงานต่าง ๆ
โรคระบบทางเดินหายใจที่มีอาการใกล้เคียงกัน
โรคระบบทางเดินหายใจ |
อาการ |
ระยะเวลาหาย |
เชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจในเด็ก
(RSV)
|
- มีไข้ไอจามน้ำมูกไหล
- ไอแบบมีเสมหะร่วมด้วย
- ไอมากจนอาเจียน
- อาจมีหายใจเร็ว แรง หายใจลำบาก
- หายใจแบบมีเสียงวี๊ด (wheezing)ในรายที่มีอาการหนัก
|
- มักหายได้เองภายใน 5-7วัน
- ในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 3 ปีที่มีการติดเชื้อเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างอาจมีเสมหะได้ถึง 2 สัปดาห์
|
ไข้หวัดธรรมดา
(Common cold)
|
|
- มักหายได้เองภายใน 3-5 วัน
|
ไข้หวัดใหญ่
(Influenza)
|
- มีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส
- มีไข้ไอจามน้ำมูกไหล
- ปวดศีรษะ ไอมาก อ่อนเพลียอย่างรุนแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย
|
- มักหายได้เองภายใน 5-7 วัน
- จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสในกลุ่มที่มีความเสี่ยง
|
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรค RSV หรือมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เกี่ยวกับเด็ก สามารถขอรับคำปรึกษาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลนวเวช โทร. 0 2483 9999 www.navavej.com

พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา
โรงพยาบาลนวเวช
สวัสดีค่ะคุณแม่รักลูกทุกท่าน กลับมาพบกันอีกเช่นเคยกับสาระความรู้ดีๆ วันนี้เราจะพามารู้จักกับโรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือ Systemic Lupus Erythematosus เรียกสั้นๆ กันว่า SLE ค่ะ อย่าเพิ่งคิดว่าเป็นโรคที่ไกลตัวนะคะ เพราะเด็กข้างบ้านของแม่แอดมินจากเด็กสดใสร่าเริง ดูสุขภาพแข็งแรง จู่ๆ ก็มาล้มป่วยเป็นโรคนี้ได้เหมือนกันค่ะ
โรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือ SLE คืออะไร?
เป็นโรคที่มีความบกพร่องของภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่ง โดยตัวภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า แอนติบอดี้ ซึ่งมักจะอยู่ในเม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่คอยกำจัดสิ่งแปลกปลอม และต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย แต่ว่าร่างกายของคนนั้น มีภูมิคุ้มกันตัวนี้ทำงานหนักเกินไป จึงทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า แถมยังมีการสร้างแบบอัตโนมัติ แบบควบคุมการทำงานไม่ได้ จึงทำลายระบบอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายไปด้วย และถ้าไปเผลอทำลายโดยอวัยวะที่สำคัญเข้า ก็ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
ขอเปรียบเทียบบให้เห็นภาพชัดๆ ของความแตกต่างระหว่างโรค SLE ในเด็กและในผู้ใหญ่กันดีกว่าค่ะ
จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วย SLE ที่เป็นเด็กมีอยู่ร้อยละ 15-20 จะมีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ซึ่งจะมีอาการของโรคได้ตั้งแต่หลังคลอดจนถึงวัยผู้ใหญ่ ส่วนมากพบในช่วงอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ อายุ 15-19 ปี และ 5-9 ปี ตามลำดับ
โดยทั่วไปอาการของโรคตามระบบจะพบว่า อาการทางข้อ ผิวหนัง ไต และอาการทางประสาท จะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งโรค SLE ในเด็กพบว่ามีอาการรุนแรงมากกว่า และอาการจะกำเริบเร็วกว่าผู้ใหญ่ ทำให้ช่วงระยะเวลาในการรักษาจะต้องเร็วกว่าผู้ใหญ่เพื่อหลีกเลี่ยงผลร้ายในระยะยาว
ปัจจัยเสี่ยงของ“โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE หรือโรคพุ่มพวง”
1.พันธุกรรม หากทางฝั่งพ่อหรือแม่ มีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้แล้วละก็ ลูกก็จะมีความเสี่ยงได้ค่ะ โดยเฉพาะในฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าแฝดไข่คนละใบ
2.การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เชื้อ Ebstein-Barr Virus (EBV) ซึ่งเป็นไวรัสที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้าง Auto immune ได้ นอกจากนี้ยังมีไวรัสตัวอื่น เช่น Cytomegalovirus หรือแม้แต่เชื้อเริม ก็อาจกระตุ้นได้เช่นกัน
3.เพศหญิง ฮอร์โมนเพศหญิง เอสโตรเจน หรือโครโมโซม X ที่มีมากกว่าเพศชาย แต่ถ้าหากเป็นโรค Klinefelter’s syndrome ที่มีโครโมโซมผิดปกติเป็น XXY ก็มีโอกาสที่จะเป็น SLE ได้เช่นกันค่ะ
4.แสงแดด รังสีอัลตร้าไวโอเลต ทำให้มีผลต่อผิวหนังตรงบริเวณที่โดนแดด
5.ยาบางชนิด ยาคุมกำเนิด(เฉพาะที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน) ยาปฏิชีวนะ เช่น กลุ่ม Penicillins, Tetracycline, Isoniacid, Quinidine, Griseofulvin ยากันชัก Phenetoin Carbamazipine ยาไทรอยด์ ยาลดไขมันกลุ่ม Statins เป็นต้น
6.สารเคมีบางชนิด สารเคมีที่พบได้ในสิ่งแวดล้อม เช่น สีย้อมผม ยาฆ่าแมลง ควันบุหรี่ เป็นต้น
5 สัญญาณอันตราย “โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE หรือโรคพุ่มพวง”
1.มีไข้เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ และอ่อนเพลียมากผิดปกติเป็นเวลานาน
2.ลูกมีอาการเบื่ออาหาร สังเกตน้ำหนักลูกบ่อยๆ ว่าน้ำหนักลดลงหรือไม่ หรือใช้วิธีสังเกตจากสัดส่วน เสื้อผ้าของลูก
3.มีผื่นขึ้นโดยเฉพาะที่หน้า และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งไม่ได้เกิดจากอาการแพ้ต่างๆ
4.มีอาการปวด บวมตามข้อ ตามตัว โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน
5.ผมลูกร่วงมากผิดปกติ
ส่วนการรักษานั้น การใช้ยาจะมีความแตกต่างจากในผู้ใหญ่ เพราะต้องคำนึงถึงผลระยะยาวที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของเด็ก โดยเฉพาะผลทางด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ตลอดจนผลข้างเคียงที่แก้ไขไม่ได้หากเกิดขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยเด็กจะมีการตอบสนองต่อการรักษาและผลข้างเคียงของยากดภูมิคุ้มกันแตกต่างจากผู้ใหญ่ การตอบสนองต่อยาบางชนิดดีกว่าถ้าได้รับการบำบัดในระยะแรก ๆ ของโรค ก็จะสามารถลดผลข้างเคียงของโรคและยาได้ดีกว่า
ไม่ต้องเป็นซูเปอร์ฮีโร่ คุณแม่ก็ปกป้องลูกได้ค่ะ.. คุณแม่เพียงแค่หมั่นสังเกตลูกบ่อยๆ นะคะ หากมีอาการดังข้างต้นแล้ว ให้รีบพาลูกไปหาคุณหมอเพื่อให้ได้รับการวินิจฉัย และรักษาได้อย่างถูกต้องตามอาการค่ะ หากพบว่าเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง คุณหมอจะให้ยาเพื่อกดภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม กับระดับความรุนแรงของโรค เนื่องจากยาที่รักษาโรคนี้เป็นยาที่มีผลข้างเคียงสูง และควรได้รับการติดตามผลการรักษาโดยแพทย์ จึงไม่ควรซื้อยาเพื่อรับประทานเองนะคะ
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข, พญ.ศิริสุชา โศภนคณาภรณ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ลูกเป็นไข้ หกล้ม หัวโน 3 อาการที่เด็กแทบทุกคนต้องเจอทั้งที่แม่ป้องกันดีแล้วเชียว คุณหมอมีเทคนิคปฐมพยาบาลและดูแลลูกจาก 3 อาการนี้มาแนะนำค่ะ
Top 3 อาการเจ็บป่วยที่ลูกเล็กต้องเจอ มีไข้ หกล้ม หัวโน พร้อมวิธีรับมือดูแลแบบแม่มือโปร
สิ่งที่พ่อแม่ต้องจำให้ขึ้นใจคือ "ห้ามงดกิจกรรมสำหรับเด็ก" เพราะเป็นวิธีที่ผิดในการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเด็กค่ะ แต่นั่นจะยิ่งขัดขวางและไม่ส่งเสริมพัฒนาการที่สมวัยของเขา สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของลูก รวมทั้งรู้วิธีปฐมพยาบาลอุบัติเเหตุ อย่าง หกล้อม หัวโน หรืออาการไข้ตัวร้อน
3 สิ่งที่พ่อแม่ต้องเผชิญ คือลูก “มีไข้” “หกล้ม” “หัวโน”
- ลูกมีไข้ ตัวร้อน
เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ที่เป็นไข้ ตัวร้อนมักเกิดจากการติดเชื้อ เพราะเด็กมักมีความเสี่ยงที่เลี่ยงไม่ได้ ทั้งจากการไปโรงเรียน ไปเล่นนอกบ้าน หรือการที่ผู้ใหญ่ พี่น้องในบ้านเจ็บป่วย
- ลูกหกล้ม
เมื่อลูกหกล้มมักทำให้เกิดแผลถลอก หรือเด็กบางคนก็เกิดเป็นรอยฟกช้ำ เนื่องจากมีเลือดคั่งใต้ชั้นผิวหนัง จากสถิติพบว่า “การพลัดตกหกล้ม” เป็นอาการของคนไข้เด็กที่พบบ่อยที่สุดในห้องฉุกเฉิน และเป็นเหตุให้ต้องนอนโรงพยาบาลถึงร้อยละ 30 เพราะเด็กเล็กจะชอบวิ่งเร็ว ๆ วิ่งไล่จับ คล่องตัวมากน้อยต่างกัน แถมเด็กยังแยกแยะไม่ได้ ว่าพื้นแบบไหนวิ่งง่ายหรือยาก ของวางเกะกะหรือไม่ สาเหตุที่สําคัญของการพลัดตกหกล้ม คือ บันได เฟอร์นิเจอร์ในบ้าน หน้าต่างและระเบียง เครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น การใช้รถหัดเดินเด็ก (infant walker)
- ลูกหัวโน
เด็กหัวโน เกิดจากการได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ มักไม่รุนแรง แต่อาจจะเห็นรอยปูดนูน ฟกช้ำ โดยเฉพาะที่หน้าผากจะเห็นได้ชัด เพราะผิวหนังบางและมีเลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นค่อนข้างมาก อาการหัวโนพบได้บ่อยในเด็กเพราะเมื่อเริ่มเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ก็อดไม่ได้ที่จะปีนป่าย หรือทดสอบสมรรถภาพร่างกายของตนเอง อีกทั้งเด็กยังมีสัดส่วนของศีรษะเทียบกับตัวมากกว่าผู้ใหญ่ จึงมีโอกาสที่ศีรษะกระแทกพื้นหรือสิ่งของต่าง ๆ ได้ง่าย

พ่อแม่ควรป้องกัน ลูกเป็นไข้ ลูกหกล้ม ลูกหัวโน ได้อย่างไร
การป้องกันอุบัติเด็กในเด็ก และอาการเจ็บป่วย ทำได้ด้วยการยจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยให้คำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้ค่ะ
-
ความสะอาด เช่น การทำความสะอาดของเล่น การฝึกลูกให้มีสุขอนามัยที่ดี การล้างมือ เป็นต้น เพื่อลดโอกาสติดเชื้อของลูก
-
ความปลอดภัย เช่น การออกแบบบันไดให้เหมาะสมกับการก้าวเดินของเด็ก เช่น ซี่ระเบียงไม่ห่างเกินไป ทําประตูทิศทางเดียว(เปิดเข้าด้านใน) สอนเด็กไม่ให้เล่นบนบันได ขอบผนัง ประตู หรือเฟอร์นิเจอร์ อาจจะต้องบุนวมหรือใช้วัสดุป้องกันขอบ
-
ไม่ปล่อยให้มีน้ำหรือของเหลวที่ทำให้พื้นเปียก หากมีควรรีบทำความสะอาดทันที
-
พื้นในบริเวณที่เด็กเล่น ควรหลีกเลี่ยงพื้นเคลือบเงาที่อาจทำให้มีการลื่นหกล้มได้ง่าย นอกจากนั้น ทางเดินควรปราศจากของเล่นหรือสิ่งของต่าง ๆ
-
หลีกเลี่ยงการใช้รถหัดเดิน เพราะเด็กจะไถลไปได้ไกลและมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
-
มีอุปกรณ์ป้องกันขณะขับขี่จักรยาน เช่น หมวกกันน๊อค สนับเข่า สนับแขน เป็นต้น

วิธีปฐมพยาบาลและดูแล ลูกเป็นไข้ตัวร้อน ลูกหกล้ม ลูกหัวโน
- วิธีลดไข้เด็ก
วิธีลดไข้เด็กที่พ่อแม่ทำได้เองก่อน คือ เช็ดตัวอย่างถูกต้อง ให้ยาลดไข้ (ตามคำแนะนำบนฉลากยา) หรือสามารถใช้เจลระบายความร้อน (Cooling Gel) หรืออุปกรณ์ประคบเย็นและร้อน (Cold Hot Pack) ประคบบริเวณหน้าผาก เพื่อลดไข้และลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย แต่หากลูกมีไข้สูงมาก ควรพบแพทย์ค่ะ
- วิธีปฐมพยาบาลลูกหกล้ม และ ลูกหัวโน การดูแลขึ้นกับอาการ อายุ และความรุนแรงของอุบัติเหตุ เมื่อเกิดอุบัติเหตุลูกมักจะร้องไห้จนพ่อแม่ตกใจ ให้ตั้งสติไว้นะคะ แล้วทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ค่ะ
- ลองปลอบและให้นั่งพัก พร้อมกับการใช้อุปกรณ์ประคบเย็นและร้อน (Cold Hot Pack) ประคบบริเวณที่ฟกช้ำ หัวโน ครั้งละประมาณ 2-5 นาที (ขึ้นกับว่าลูกน้อยจะร่วมมือมากน้อยแค่ไหน) แล้วพักเป็นระยะ ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพื่อให้เส้นเลือดหดตัวและรอยนูนที่ศีรษะหรือบริเวณที่บวมยุบลง
- 24 ชั่วโมงต่อมา เปลี่ยนเป็นประคบร้อน โดยใช้อุปกรณ์ประคบเย็นและร้อน (Cold Hot Pack)ประคบบริเวณที่โนหรือฟกช้ำ เพื่อลดอาการปวด
- หากมีรอยแผลหรือถลอก อาจใช้ยาทาฆ่าเชื้อ หรือ ถ้าฟกช้ำมากอาจใช้เป็นขี้ผึ้งลดอาการอักเสบ เป็นต้น อาจพิจารณาให้ยาแก้ปวดสำหรับเด็กร่วมด้วย
- ถ้าการบาดเจ็บบริเวณศีรษะรุนแรง หรือลูกไม่หยุดร้องไห้ หรือซึมลง ทรงตัวไม่ได้ อ่อนแรง อาเจียน ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที
พ่อแม่ที่มีลูกเล็กทั้งหลายคงปฎิเสธไม่ได้ว่าการเลี้ยงลูกวัยนี้ เราอาจจะไม่สามารถป้องกันอุบัติเหตุให้ลูกได้ 100% การมีสติและศึกษาวิธีการปฐมพยาบาลลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอุปกรณ์ หรือผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นควรมีไว้ติดบ้าน เช่น ยาสามัญประจำบ้าน (กลุ่มยาแก้ปวดลดไข้ ยาขับลม ครีมทาฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ล้างแผล น้ำเกลือพลาสเตอร์กันน้ำ ฯลฯ) รวมถึง ชุดทำแผล หรืออุปกรณ์ประคบเย็นและร้อน (cold hot pack)
ที่เห็นชัดเจนคือ อุปกรณ์ประคบเย็นและร้อน (cold hot pack) ข้อดี คือสามารถใช้ได้ทั้งประคบร้อน และเย็น สามารถใช้บรรเทาอาการบาดเจ็บ บวม อักเสบ และรวมถึงลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย ใช้ได้ทุกวัย ระยะเวลาการใช้งานหลายปี และสามารถนำมาใช้ซ้ำได้
อุปกรณ์ประคบเย็นและร้อน (cold hot pack)การเลือกใช้ตามขนาดตัวของเด็ก หรือบริเวณบาดแผลฟกช้ำ ก็จะได้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น เช่น
- ขนาดเล็ก- เหมาะสำหรับการแปะลดไข้เด็ก หรือประคบบริเวณที่บวมอักเสบหลังผ่าตัด หรือแผลขนาดเล็ก เช่น การทำศัลยกรรมบริเวณใบหน้า เป็นต้น)
- ขนาดกลาง- เหมาะสำหรับการลดอาการบวม อักเสบ จากการเล่นกีฬา เช่น ข้อเท้าแพลง เป็นต้น
- ขนาดใหญ่- เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประคบเป็นบริเวณกว้าง เช่น ปวดหลัง ปวดไหล่ หรือ ปวดประจำเดือน เป็นต้น
นอกจากนั้น แต่ละบ้าน ควรมีอุปกรณ์ประคบเย็นและร้อน (cold hot pack อย่างน้อย 2 ชิ้นเพื่อใช้ปฐมพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และทดแทนกันเมื่อความร้อน/เย็นหมดไปขณะปฐมพยาบาล และการการป้องกันอุบัติเหตุในเด็กยังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้น พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กควรระมัดระวังและเรียนรู้พัฒนาการตามวัย เพื่อใช้มาตรการป้องกันอุบัติเหตุที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ
รักลูก Community of The Ecxperts
สนับสนุนการดูแลทุกครอบครัวโดย
3M Nexcare
https://www.facebook.com/NexcareThailand/videos/390131301604255
(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)
เพจกรมอนามัย โพสต์ข้อความ ข้อควรระวังในการสวมหน้ากากให้กับเด็ก อะไรควรทำ ไม่ควรทำค่ะ ลองดูกันนะคะ
ข้อควรระวัง! ในการสวมหน้ากากอนามัยให้กับเด็ก
สิ่งที่ไม่ควรทำ
- เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรสวมใส่หน้ากาก
- ขณะเด็กนอนหลับ ไม่ควรสวมหน้ากาก
สิ่งที่ควรทำ
- เลือกขนาดหน้ากากให้เหมาะสมกับหน้าเด็ก
- ถ้าเด็กรู้สึกอึดอัด ให้ถอดเป็นระยะ ๆ ได้
ในกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง หรือระบบทางเดินทางหายใจ ไม่ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย เพราะเด็กไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
ที่มา : กรมอนามัย

กรมควบคุมโรค ให้เฝ้าระวังสถานการณ์โรคคางทูมในประเทศไทย หลังพบผู้ป่วยคางทูมแล้ว 1,466 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากสุด คือ กลุ่มอายุ 15-24 ปี และพบมากในกลุ่มนักเรียนร้อยละ 39.6 แนะพ่อแม่พาไปฉีดวัคซีนป้องกัน
อาการของโรคคางทูม
โรคคางทูมเกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจและการสัมผัสน้ำลายของผู้ป่วย ส่วนมากจะเป็นในเด็กวัยเรียน อาการระยะเริ่มแรกจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ และอ่อนเพลียภายใน 12-24 ชั่วโมงต่อมา
จะมีอาการปวดบริเวณข้างแก้มและใบหู มีอาการปวดมากขึ้นเวลาขยับขากรรไกร หรือเวลาที่กินอาหารที่มีรสเปรี้ยว ต่อมน้ำลายบริเวณขากรรไกรบวมและลามไปยังหลังใบหู ต่อมน้ำลายจะบวมมากขึ้นในเวลา 1-3 วัน ส่วนใหญ่มักเริ่มข้างเดียวก่อน แล้วเป็นที่ต่อมน้ำลายอีกข้างตามมา หลังจากนั้นอาการบวมจะค่อย ๆ ลดลงภายใน 3-7 วัน อาการต่าง ๆ จะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน
การรักษา
เป็นการรักษาตามอาการ ควรมีการแยกผู้ป่วยประมาณ 10 วันหลังจากเริ่มมีต่อมน้ำลายโต และควรหยุดไปโรงเรียนหรือหยุดงานเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
กรมควบคุมโรค ขอแนะนำประชาชนว่า วิธีป้องกันโรคคางทูมที่มีประสิทธิภาพ คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค โดยเป็นรูปแบบวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน (MMR) ในเด็กเล็กควรรับวัคซีนป้องกันโรค 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน และให้ซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุ 2 ปี 6 เดือน

ไข้หวัดกับโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือที่เรามักเรียกกันว่า “แพ้อากาศ” มีอาการไม่ต่างกันนัก แต่แพ้อากาศนั้น บางครั้งอาจจะมีความรุนแรงมากกว่า ซึ่งหากคุณแม่คุณพ่อมีความเข้าใจในโรคภูมิแพ้ ก็สามารถปกป้องและดูแลลูกในเบื้องต้นได้ค่ะ
น้ำมูกไหล สัญญาณหวัด?
ฮั้ดเช้ยยยยย!
ฝนมาหวัดก็มา คุณพ่อคุณแม่อาจไม่แน่ใจว่าน้ำมูกที่ไหลออกมาจากจมูกลูกนั้นใช่อาการหวัดจริงๆหรือไม่ แม้ว่าไข้หวัดกับโรคแพ้อากาศจะมีอาการคล้ายๆ กัน แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียว คุณพ่อคุณแม่สามารถแยกความต่างของทั้ง 2 โรคนี้ได้ เพื่อจะได้รักษาลูกได้อย่างถูกวิธี ดังนี้
ทุกครั้งที่อากาศเปลี่ยนแปลง เด็กหลายคนจะมีอาการหายใจเสียงดัง คัดจมูก น้ำมูกไหล บางครั้งก็จามติดกันบ่อย ๆ จนคุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าลูกป่วยเป็นไข้หวัด ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ เพราะโดยปกติไข้หวัดมักเกิดในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เด็กจะมีอาการไอมีเสมหะ จาม เจ็บคอ เสียงแหบ รวมถึงมีไข้ต่ำๆ และปวดศีรษะร่วมด้วย ไข้หวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ มักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน ก็หายค่ะ
ทั้งนี้อาการน้ำมูกใส ๆ ไหล อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคแพ้อากาศ ก็ได้นะคะ โดยเฉพาะถ้าลูกมีอาการเหมือนเป็นหวัดเรื้อรัง โดยที่ไม่มีไข้
แล้ว ไข้หวัด กับ แพ้อากาศต่างกันอย่างไร? มาดูกันค่ะ
ความแตกต่างของ หวัด กับแพ้อากาศ

ไข้หวัดธรรมดา
-
มีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ
-
มีอาการจาม คัดจมูก มีน้ำมูกไหล (น้ำมูกใส)
-
มีอาการไอ เจ็บคอ
-
อาการเป็นทั้งวัน และอาจมีอาการมากตอนกลางคืน
-
มีอาการไม่เกิน 1-2 สัปดาห์
แพ้อากาศ
-
คันจมูก จาม คัดจมูก มีน้ำมูกใสไหล เป็นๆหายๆ ช่วงเช้า หรือ กลางคืนนาน 4 สัปดาห์ขึ้นไป
-
ไอเรื้อรัง มีเสมหะในช่วงเช้า หรือกลางคืน
-
อาจมีอาการคันตา น้ำตาไหล ตาแดง ตาบวม คันในเพดานปาก หู และผื่นคันที่ผิวหนัง ร่วมด้วย
-
มีอาการคล้ายหวัดเรื้อรัง โดยไม่มีไข้
-
มีอาการผิดปกติทางผิวหนัง เช่น ผิวแห้ง คัน เป็นผื่น ผิวหนังอักเสบ
-
อ่อนเพลีย ง่วงซึม รู้สึกไม่สบายตัว หรือหงุดหงิดง่าย เพราะนอนไม่เพียงพอ
อาการไข้หวัดกับอาการแพ้อากาศค่อนข้างคล้ายคลึงกันมาก คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการและดูแลลูกได้ในเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อลูกไม่สบายมาก ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อการวินิจฉัยโรคและการรักษาที่ถูกต้องค่ะ
การดูแลเด็กที่มีอาการแพ้อากาศ
-
หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ อย่างเคร่งครัด
-
ให้ลูกรับประทานยาแก้แพ้หรือพ่นยาตามคำแนะนำของแพทย์
-
ใช้น้ำเกลือปราศจากเชื้อล้างจมูกเมื่อลูกมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล
-
หากหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ไม่ได้ หรือการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล โรคแพ้อากาศสามารถรักษาด้วยการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ได้ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาในการรักษาด้วยวิธีนี้ต่อไปค่ะ
วิธีลดความเสี่ยงการเกิดอาการแพ้อากาศ
อาการแพ้อากาศ คืออาการภูมิแพ้อย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อเป็นแล้ว อาจเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับอาการแพ้อื่น ๆ เช่น หอบหืด ที่อาจจะตามมาได้ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันได้แต่เนิ่น ๆ ด้วยการดูแลสภาพแวดล้อมและการหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ ดังนี้ค่ะ
1. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ลูกแพ้
โดยเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กตาขนที่อาจมีไรฝุ่น รวมถึงฝุ่นในบ้าน สัตว์เลี้ยง หรือสารกระตุ้นต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ ควันธูป น้ำหอม สเปรย์ ควรทำความสะอาดบ้านโดยเฉพาะห้องนอนของลูกเป็นประจำทุกวัน เปิดหน้าต่างให้แสงเข้าบ้าง ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ของลูกได้
2. เช็กสภาพอากาศก่อนพาลูกออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน
เพื่อหลีกเลี่ยงความชื้น มลภาวะ ฝุ่นละอองโดยเฉพาะฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ควันพิษ ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้ลูกเกิดอาการแพ้ และเมื่อพาลูกกลับจากทำกิจกรรมนอกบ้านแล้วควรให้รีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที
3. การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในสัดส่วนที่สมดุล
หากลูกน้อยของคุณแม่ยังทานนมแม่อยู่ ก็ควรทานนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เพราะในนมแม่มีโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน ถูกทำให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กแล้ว จึงช่วยลดโอกาสการกระตุ้นให้เกิดการแพ้ อีกทั้งยังมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ อย่างเช่น บิฟิดัส บีแอล และแอลจีจี ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงให้กับร่างกายของลูกได้อีกด้วย
แต่ในบางกรณีจำเป็นที่ทำให้คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง คุณแม่สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ในเรื่องของ โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนที่ทำจากเวย์ 100% หรือ H.A. (Hypoallergenic) ตามคำแนะนำจากแนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคภูมิแพ้จากสมาคมโรคภูมิแพ้ และวิทยาคุ้มกันแห่งประเทศไทย
เมื่อถึงวัยเริ่มอาหารเสริมตามวัยตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารจำพวกโปรตีน ผักและผลไม้ และอาหารที่มีการเติมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ อย่าง บิฟิดัส บีแอล จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงให้กับร่างกายของลูกได้ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจไปกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ แต่ให้ทานในสัดส่วนที่สมดุล ไม่มากเกินไป ก็จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย ค่อย ๆ ปรับตัวเข้ากับอาหารใหม่ ๆ ได้ค่ะ

4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดี เพราะหากร่างกายลูกพักผ่อนไม่พอ อ่อนเพลียบ่อยๆ ภูมิต้านทานจะต่ำลง ทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย เพราะฉะนั้นควรให้ลูกนอนหลับไม่ต่ำกว่าวันละ 8-10 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยประมาณวันละ 30 นาที นอกจากจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยแล้ว การออกกำลังกายร่วมกันยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัวอีกด้วยค่ะ
ในช่วงที่เข้าฤดูฝนเช่นนี้ แม้ว่าจะมีปัจจัยกระตุ้นอาการภูมิแพ้ของลูกมากมาย หากคุณแม่คุณพ่อดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวลูก ชวนลูกออกกำลังกายทุกวัน และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะช่วยปกป้องลูกจากอาการภูมิแพ้ได้ส่วนหนึ่งแล้ว เมื่อลูกมีสุขภาพแข็งแรง ไม่แพ้ เค้าก็พร้อมที่จะออกไปเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ในทุก ๆ วันค่ะ แต่หากลูกมีอาการภูมิแพ้กำเริบเยอะ ก็ควรไปพบแพทย์นะคะ
อยากรู้ว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงภูมิแพ้แค่ไหน ทำแบบทดสอบเบื้องต้นได้เลยที่ https://www.nestlemomandme.in.th/sensitive-expert/sensitive-check
#SensitiveExpert #ผู้เชี่ยวชาญด้านความบอบบางของลูกน้อย

ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลพระรามเก้า
พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์
“ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง” หรือ “Atopic Dermatitis” โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคที่มีอาการผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ จากปฏิกิริยาภูมิแพ้และปัจจัยหลาย ๆ อย่างร่วมกันทำให้ผิวหนังแห้ง ระคายเคืองง่าย เกิดผื่นแดงคันตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในเด็ก อุบัติการณ์ของโรคนี้ในเด็กไทยพบประมาณร้อยละ 10-20 ของประชากรเด็กทั้งหมด
ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันทน์ หัวหน้าภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทุกวันที่ 14 กันยายนของทุกปี เป็น World Atopic Dermatitis Day หรือ วันโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังโลก วงการแพทย์จึงอยากรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนในวงกว้างเกี่ยวกับโรคนี้
ลักษณะอาการของผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในผู้ป่วยมี 3 แบบ
1.ผื่นระยะเฉียบพลัน คือมีผื่นบวมแดงมากและคัน มีตุ่มแดง ตุ่มน้ำ บางรายอาจมีน้ำเหลืองไหลซึมออกมา
2.ระยะกึ่งเฉียบพลัน คือผื่นและตุ่มแดง คัน มีขุย อาจมีตุ่มน้ำบ้าง แต่ไม่พบน้ำเหลืองไหลซึมบนผื่น
3.ระยะเรื้อรัง คือผื่นจะมีสีไม่แดงมากหรือออกสีน้ำตาล อาจนูนหนา คัน มีขุย และเห็นร่องผิวหนังชัดเจน
ตำแหน่งที่พบผื่นแตกต่างกันได้ตามวัยของผู้ป่วย ในวัยทารก มักจะพบผื่นผิวหนังอักเสบบ่อยบริเวณใบหน้า ซอกคอ และด้านนอกของแขนขา เนื่องจากเป็นบริเวณที่ถูไถกับหมอน ผ้าปูที่นอนเพราะคันมาก ส่วนในเด็กวัยเรียน ผื่นผิวหนังอักเสบจะพบบ่อยบริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา และคอ
สำหรับในรายที่เป็นมาก ๆ ผื่นจะเกิดทั่วร่างกายได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะภูมิแพ้ทางจมูก ตา หรือ หอบหืดร่วมด้วย หรือบางรายอาจพบรอยโรคผิวหนังอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น กลากน้ำนม ขอบตาคล้ำและมีรอยย่นใต้ตา ริมฝีปากแห้งเป็นขุย เส้นลายมือชัดลึก ขนคุด ผิวสากเหมือนหนังไก่ ผิวบริเวณหน้าแข้งแตกแห้งเป็นแผ่น เป็นต้น
การรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
1.การหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้อาการกำเริบ
2.การทาสารเพิ่มความชุ่มชื้นผิวหนัง ป้องกันผิวแห้ง เช่น โลชั่น ครีมบำรุงผิว ควรทาหลังอาบน้ำทันที และไม่ควรอาบน้ำบ่อยเกินไป เพราะจะทำให้ผิวแห้งยิ่งขึ้น
คำแนะนำสำหรับการใช้ยาทาลดการอักเสบของผิวหนัง ควรทาบริเวณผื่นที่มีอาการเห่อแดงอักเสบ เมื่อควบคุมอาการได้ควรลดการใช้ยาหรือหยุดยา ในรายที่ผื่นเป็นมากและเป็นบริเวณกว้าง แพทย์อาจให้ยารับประทาน และในปัจจุบันมีการรักษาโดยยาฉีด ซึ่งเป็นความก้าวหน้าทางการรักษาในโรคนี้ โดยแพทย์จะเลือกใช้ในรายที่มีอาการในระดับปานกลางถึงรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยวิธีทั่วไป ซึ่งควรอยู่ในการดูแลรักษาของแพทย์
กรณีที่ผู้ป่วยสงสัยว่ามีอาการโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง จะช่วยป้องกันการกำเริบของผื่นได้ สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต และทำให้ผู้ป่วยเข้าร่วมสังคมได้อย่างปกติ
อาการตาแดงหรือเยื่อตาอักเสบ เกิดจากเชื้อไวรัส กลุ่มอดิโนไวรัส ที่มักจะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วย ติดผ่านมือแล้วมาสัมผัสหน้าตาโดยตรง ไม่ติดต่อทางการสบตา ทางอากาศ หรือจากการกินอาหารร่วมกัน
โรคตาแดงสามารถติดต่อได้ง่ายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ พบได้ในทุกฤดูกาลแต่มักระบาดในช่วงหน้าฝน เนื่องจากเชื้ออดิโนไวรัส (Adenovirus) จะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงหน้าฝนและแฝงตัวอยู่ในละอองฝนที่มีน้ำสกปรกหรือฝุ่นปนเปื้อน และเมื่อปลิวเข้าตาก็จะทำให้เกิดโรคตาแดงได้
โรคตาแดงพบได้บ่อยในเด็กเล็กและนักเรียนชั้นประถมศึกษา เนื่องจากการทำกิจกรรมที่โรงเรียน การเล่นคลุกคลีกับเพื่อน รวมถึงเด็กนักเรียนยังไม่สามารถดูแลสุขอนามัยส่วนตัวได้ดีเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ โดยอาการของโรคจะเกิดได้ภายใน 1-2 วัน และมีระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน แม้จะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มป่วย อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้ตาพิการได้
ลักษณะอาการโรคตาแดง
-
รู้สึกไม่สบายตาหรือรู้สึกเหมือนมีบางสิ่งอยู่ในตา แสบตา น้ำตาไหล
-
ดวงตาและภายในเปลือกตามีสีแดง แพ้แสง หนังตาบวม รู้สึกเจ็บ
-
ตาแฉะหรือมีขี้ตาเป็นหนอง
-
ขนตาพันกันและติดกันตอนตื่นนอน ลืมตาไม่ได้ หรืออาจมองไม่ชัด
-
คันและมีน้ำตาไหล (กรณีที่เป็นตาแดงจากภูมิแพ้)
วิธีรับมือโรคตาแดง
-
ทำความสะอาดบริเวณดวงตาของลูกอย่างระมัดระวัง ด้วยผ้าก็อซหรือสำลีก้อนชุบน้ำอุ่น
-
ประคบเย็นที่ดวงตา
-
ให้ลูกกินยาพาราเซตามอลหรือยาแก้อักเสบเพื่อบรรเทาอาการปวด (ควรอ่านฉลากให้ละเอียดหรือปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อให้ลูกกินยาในปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสม)
** หากเป็นเด็กแรกเกิด ควรรีบพาไปพบแพทย์ (เพราะอาจต้องรักษาด้วยการหยอดยาปฏิชีวนะหรือใช้ขี้ผึ้งป้ายตา)
อาการนี้ต้องรีบพบแพทย์
-
รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หรือตาแดงนานเป็นสัปดาห์กรณีที่ไม่ได้รักษา
-
ตาแดงรุนแรงมากขึ้น
-
เปลือกตาบวมมากขึ้น
-
ลูกบ่นว่าเจ็บตาอย่างรุนแรง
-
การมองเห็นเปลี่ยนไป
-
ตามีความไวต่อแสง
-
มีอาการเจ็บหู (อาการตาแดงและหูอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้พร้อมกัน)
การป้องกันโรคตาแดง
-
ล้างมือให้สะอาดเสมอ โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสดวงตาผู้ป่วย
-
ไม่ใช้เสื้อคลุมอาบน้ำ ผ้าเช็ดตัว ปลอกหมอนร่วมกัน
-
ปรึกษาแพทย์หากมีอาการคัน ตาแฉะ หรือตาแดงบ่อยๆ ซึ่งอาจเกิดจากอาการภูมิแพ้ และหากทราบสาเหตุแน่ชัดแล้วว่าอาการตาแดงเกิดจากภูมิแพ้ ควรลดปัจจัยก่อโรคโดย
ทำความสะอาดและดูดฝุ่นเสมอ ปิดหน้าต่างและประตูหากบริเวณรอบๆ บ้านมีละอองเกสรดอกไม้ฟุ้งกระจาย หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอม สเปรย์ปรับอากาศ หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ผสมน้ำหอม หลีกเลี่ยงบริเวณที่จะได้รับควันบุหรี่
การป้องกันโรคตาแดงไม่ให้ระบาด
- ถ้าต้องออกไปนอกบ้าน ควรใส่แว่นตาเพื่อป้องกันลม และฝุ่นละออง
- ผู้ป่วยควรนอนแยกจากสมาชิกในครอบครัว และไม่ใช้สิ่งของส่วนตัว เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา และเครื่องนอนร่วมกันผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
- ผู้ป่วยโรคตาแดง ควรหยุดงาน หรือหยุดเรียน พักรักษาตัวที่บ้าน เพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลามหรือติดต่อสู่ชุมชน
ถ้ามีอาการปวดตารุนแรง ตาพร่า แขนขาเป็นอัมพาต หรืออาการตาแดงไม่ทุเลาภายใน 7 วัน รีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านเพื่อรับการรักษา

เคยสังเกตไหมคะ ว่าลูกวัยกำลังซนของเรานั้น ฟกช้ำ เลือดออกง่ายมาก ไม่ว่าจะ หกล้ม มีดบาด เลือดกำเดาไหลบ่อย เลือดจะหยุดไหลยากอีก
ทำให้พ่อแม่อดห่วงไม่ได้ว่าลูกอาการเข้าข่ายโรคอะไรหรือไม่ วันนี้เรามีโรคมาให้ทำความรู้จักกันชื่อโรคว่า โรควอนวิลลิแบรนด์ (von Willebrand disease) ที่เด็ก ๆ เลือดออกง่ายอาจเป็นโรคนี้ได้ค่ะ
โรควอนวิลลิแบรนด์ หรือ โรคเลือดออกง่าย คือโรคอะไร
โรควอนวิลลิแบรนด์ คือโรคทางกรรมพันธุ์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะทางคลินิกคือ การมีเลือดออกผิดปกติ โดยเกิดจากความผิดปกติของการเกาะยึดและก่อตัวรวมกันของเกล็ดเลือด ผู้ป่วยโรคนี้จึงมีภาวะการมีเลือดออกง่าย ในบริเวณของผิวหนังหรือเยื่อบุผิวต่าง ๆ หลังจากเกิดการบาดเจ็บของหลอดเลือด เช่น จากอุบัติเหตุ หรือการผ่าตัด
โรควอนวิลลิแบรนด์ วินิจฉัยโรคได้จากประวัติการมีเลือดออกผิดปกติของผู้ป่วย และคนในครอบครัว ร่วมกับการตรวจวัดระดับหรือการทำงานของ vWF และสามารถให้การรักษาได้ด้วยยา desmopressin หรือการให้ vWF ในเลือดบริจาค เป็นต้น

โรคเลือดออกง่าย แบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
ชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่พบมากที่สุดโดยจะพบผู้ป่วย 70-80% ของผู้ป่วยทั้งหมด และถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาการของภาวะเลือดออกง่ายในผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีตั้งแต่รุนแรงน้อย ไปจนถึงอาการรุนแรงปานกลาง
ชนิดที่ 2 พบประมาณ 5% ของผู้ป่วยทั้งหมด มีอาการเกล็ดเลือดต่ำ โดยหากมีภาวะที่ก่อให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เช่น ตั้งครรภ์ หรือผ่าตัด ก็จะแสดงอาการเลือดออกง่าย ภาวะเลือดออกง่ายชนิดนี้มีความรุนแรงแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก
ชนิดที่ 3 พบได้น้อยมาก โดยจะพบผู้ป่วยชนิดนี้ 1 ราย ในประชากร 250,000 ราย จากการศึกษาผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ในประเทศอิหร่านชนิดนี้ จำนวน 385 คน พบว่ามีเลือดออกในข้อ กล้ามเนื้อ ช่อง ปาก และเลือดกำเดาไหล คิดเป็นร้อยละ 37, 52, 70 และ 77 ตามลำดับ
วิธีสังเกตว่าลูกเป็น “โรคเลือดออกง่าย” หรือไม่
พ่อแม่สามารถสังเกตอาการผิดปกติได้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ ได้ดังนี้
- มีรอยจ้ำฟกช้ำเกิดขึ้นเอง
- มีเลือดกำเดาไหลบ่อย
- ในขณะที่เลือดกำเดาไหล เลือดจะไหลนาน และมีปริมาณมาก
- หากเป็นผู้หญิงจะมีประจำเดือนมามากและนาน
- มีปัญหาเลือดออกง่ายจากเยื่อบุต่าง ๆ และเกิดเป็นซ้ำบ่อย ๆ
หากพบว่าลูกน้อยมีอาการเลือดออกง่าย ตามข้างต้นแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์นะคะ เพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไปค่ะ
ข้อมูลจาก :
อ.นพ.สันติ สิลัยรัตน์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
รศ.พญ.ดารินทร์ ซอโสตถิกุล ภาควชิากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย
พ่อแม่ควรรู้วิธีรับมือ แผลในปาก 4 ชนิด ที่เด็กมักจะเป็น
แผลในปาก ส่วนใหญ่แล้วจะหายไปได้เอง แต่ก็สร้างความเจ็บปวดให้เด็ก ๆ อย่างมาก ดังนั้นคุณพ่อกับคุณแม่ต้องรู้จักอาการของแผลในปากแต่ละชนิดนะคะ เพื่อรักษาให้ถูกวิธีค่ะ
แผลในปาก มี 4 ประเภท
-
แผลร้อนใน
เป็นแผลที่พบได้บ่อยที่สุด ลักษณะจะเป็นแผลเดี่ยว ขอบชัด ดูก้นแผลมีสีขาว ๆ เจ็บมาก แต่ในเด็กบางคนอาจเป็นมากกว่า 1 แผล แผลร้อนในประเภทนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่าเกิดจากอะไร อาจเป็นการติดเชื้อไวรัสชนิดใดชนิดหนึ่ง หรืออาจเกิดจากหลายสาเหตุปนกันระหว่างที่ระบบภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง เช่น กำลังไม่สบาย เป็นหวัดแผลชนิดนี้มักจะจู่โจมและเกิดในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ
การรักษา
หากลูกเป็นแผลในปากแบบแผลเดี่ยว ถ้าดูแล้วเห็นเป็นแผลเล็ก ๆ แผลเดียวหรือ 2 แผล แต่ลูกยังแข็งแรงดี ไม่มีอาการอื่น ๆ ก็อาจไม่ต้องทำอะไร ปล่อยให้หายเองได้ค่ะ ไม่มีอันตรายใด ๆ
แต่หากลูกเจ็บมากอาจซื้อยาป้ายแผลในปากประเภทยาสเตียรอยด์ที่มีขาย เช่น Kenalog in Orabase แต่ต้องระวังไม่ควรใช้มากเกินไป ควรใช้เพียงเท่าหัวไม้ขีดไฟ อาจใส่ยาที่ปลายไม้พันสำลีแล้วป้ายไปให้ตรงตำแหน่งของแผล ภายใน 2-3 วัน อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไป หากใช้ยาแล้วไม่ดีขึ้นใน 1-2 วัน ควรไปพบแพทย์เพื่อดูว่าเป็นโรคอื่นหรือไม่
-
แผลจากเชื้อเริม
เชื้อเริมเป็นเชื้อที่พบบ่อย ๆ ในคนทั่วไป โดยเชื้ออาจอยู่ในน้ำลายหรืออยู่บนแผล จะเป็นตุ่มใส ๆ หรือตุ่มแตกเป็นแผลเหมือนแผลร้อนใน เด็กบางคนเป็นหลาย ๆ แผลในปาก ทั้งบนลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดาน แผลเหล่านี้มักเจ็บมากจนรับประทานอะไรไม่ได้เลย
การได้รับเชื้อส่วนใหญ่มักบอกไม่ได้ว่าได้รับเชื้อจากที่ไหน เพราะคนที่แพร่เชื้อให้มักไม่ค่อยมีอาการ หรือมีอาการน้อย แต่บางครั้งอาจพอทราบได้ เช่น ผู้ใหญ่ที่มีแผลเริมไปหอมเด็ก เด็กก็จะติดเชื้อได้ หรือบางครั้งเด็ก ๆ ก็ติดกันเองจากของเล่น เวลาที่เด็กเล่นด้วยกัน หรืออาจติดจากการดื่มน้ำแก้วเดียวกัน ดูดน้ำจากหลอดเดียวกัน เป็นต้น
การรักษา
แผลชนิดนี้จะหายได้เอง แต่จะเจ็บมากอยู่หลายวัน ดังนั้น จึงควรพาลูกไปหาหมอถ้าสงสัยว่าจะเป็นแผลในปากจากเชื้อเริม ในกรณีที่เป็นมากคุณหมอจะสั่งยาฆ่าไวรัสให้ แต่หากเป็นไม่มากนัก คุณหมอจะให้ยาทาเพื่อลดความเจ็บปวด
-
แผลจากโรคมือเท้าปาก
โรคนี้เกิดจากเชื้อเอ็นเทอโรไวรัส ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ และมีหลายชนิดที่ทำให้เกิดโรคได้ ลักษณะคือ มีแผลเหมือนแผลร้อนในหลายแผลในปาก กระพุ้งแก้ม เพดาน แต่มักจะไม่มาถึงริมฝีปาก และมีผื่นแดงหรือตุ่มน้ำใสขึ้นที่ฝ่ามือ และฝ่าเท้าด้วย อาจมีไข้หรือไม่มีก็ได้ เด็กจะรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ และบางครั้งอาจมีเพียงแผลในปากโดยไม่มีผื่นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าก็ได้ บางคนมีผื่นที่ลำตัวร่วมด้วย
แม้โรคมือเท้าปากโดยทั่วไปจะไม่มีอะไรรุนแรง มีเด็กบางรายที่ติดเชื้อจากสายพันธุ์ที่รุนแรง คือเอ็นเทอโรไวรัส เบอร์ 71 (EV-71) เพราะเชื้อชนิดนี้บางครั้งจะขึ้นสมองและทำให้เด็ก ๆ เป็นโรคสมองอักเสบที่รุนแรงมาก ๆ ได้ โดยเด็กจะมีไข้ มักมีอาการอาเจียน ซึม และชัก
การรักษา
สำหรับโรคมือเท้าปากจะไม่มียารักษาจำเพาะ ต้องปล่อยให้หายเองและรักษาตามอาการ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ก็จะหายเป็นปกติ แต่หากเด็กรับประทานอาหารไม่ได้ จนร่างกายขาดน้ำ ก็ต้องพาไปให้น้ำเกลือ และถ้าเด็กมีอาการไข้ ซึม อาเจียน ควรให้แพทย์ดูแลอย่างไกล้ชิด
-
แผลจากสาเหตุอื่น ๆ
คนที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ก็สามารถเกิดแผลในปากขึ้นได้ เช่น แผลในปากซึ่งเป็นอาการของโรคอื่น ๆ เช่น แผลในปากที่สัมพันธ์กับโรค SLE โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือแผลในปากที่สัมพันธ์กับโรคเม็ดเลือดขาวต่ำ แผลในปากที่สัมพันธ์กับโรคภูมิต้านทานบกพร่อง หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น นอกจากนี้ ยาบางชนิดก็ทำให้เกิดแผลในปากได้ด้วย
อาการของแผลในปากในเด็กนั้น มักจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก คือ เป็นเป็นแผลขาว ๆ ในปากเหมือนกัน แต่อาจสังเกตได้โดยดูอาการทั่ว ๆ ไป และดูตำแหน่งของแผล คือ ถ้าอาการทั่ว ๆ ไปดีมาก จำนวนแผลมีแค่ 1 แผล ไม่มีไข้
การักษา
อาการจะดีขึ้นได้ โดยไม่ต้องไปพบคุณหมอ แต่หากมีหลายแผล รวมทั้งมีไข้ร่วมด้วย หรือเด็กมีอาการซึมลง รับประทานอาหารได้น้อย ควรพาไปหาคุณหมอ สำหรับเด็กอ่อน แผลในปากอาจเกิดจากเชื้อรา ควรให้แพทย์ตรวจเพื่อสั่งยาฆ่าเชื้อราให้ค่ะ
ภัยเงียบที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม! ลูกนอนน้อย ส่งผลพัฒนาการช้า ไม่ฉลาด
ลูกนอนดึก ไม่ยอมนอน ติดมือถือ ปัญหาเหล่านี้เป็นภัยเงียบที่อาจส่งผลร้ายต่อลูก
การอดนอนทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็ก เนื่องจากฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโตถูกสร้างน้อยลง รวมไประบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกรบกวนอีกด้วย ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากการอดนอน
ผลเสียของการอดนอน
1. เด็กรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา ทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ได้ ความง่วงทำให้สมองล้า โดยสมองส่วน hippocampus (สมองส่วนที่จะช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว) ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เมื่อสมองส่วน hippocampus บันทึกความจำระยะสั้นให้เป็นความจำระยะยาวไม่ได้ ไม่นานความรู้นี้ที่เรียนมาก็จะเลือนหายไป ไม่สามารถใช้ประโยชน์หรือต่อยอด นำไปคิดสร้างสรรค์อะไรได้
ชั่วโมงการนอนที่แตกต่างกันตามช่วงอายุ ดังนี้
เด็กแรกเกิด 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
อายุ 1 ปี 14 ชั่วโมงต่อวัน
อายุ 2 ปี 12-14 ชั่วโมงต่อวัน
อายุ 3-5 ปี 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
อายุ 6-13 ปี 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
อายุ 14-17 ปี 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
ผู้ใหญ่ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
7 เคล็ดลับให้ลูกนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
1. จัดเวลาเข้านอนให้ลูก ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน และนอนหลับให้ได้ประมาณ 12 ชั่วโมง
2. ไม่ควรนำสิ่งของที่รบกวนการพักผ่อน เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดแสง สี เสียง มาไว้ในห้องนอนลูก
3. หลีกเลี่ยงการให้ลูกดูโทรทัศน์ ดูจอ ก่อนเข้านอน
4. จัดสรรเวลาการเล่นมือถือของลูก ว่าให้ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่ควรให้ลูกเล่นมือถือก่อนนอนเด็ดขาด เพราะจะทำให้ลูกติดอยู่กับมือถือจนไม่ยอมนอนค่ะ
5. ไม่ทำให้ลูกเครียดก่อนนอน พ่อแม่อาจเล่านิทานหรือพูดคุยเรื่องสนุก ผ่อนคลาย เพื่อให้เด็กรู้สึกสบายใจและนอนหลับได้สนิทนะคะ
6. ให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟีอีนก่อนนอน
7. พ่อแม่ควรสอนลูกจัดลำดับความสำคัญ ควรทำอะไรก่อนหลัง ให้ลูกทำการบ้านให้เสร็จตั้งแต่หัวค่ำ
เด็ก ๆ ควรนอนอย่างน้อย 12 ชม ขึ้นไป เพราะฉะนั้นเวลาที่เหมาะสมอย่างช้าที่สุดไม่ควรเกิน 3 ทุ่มค่ะ และตอนเช้าตื่นก็ควรตื่น ประมาณ 6 โมงเช้า เพื่อ อาบน้ำ แต่งตัว ทานข้าว ไปโรงเรียนได้อย่างมีความสุขนะคะ

ยาแก้ไอสำหรับเด็ก เลือกอย่างไรดี
การไอ เป็นปฏิกิริยาหนึ่งที่ร่างกายใช้ตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ เช่น สูดดมฝุ่น ควัน เกสรดอกไม้ มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลัน พูดคุยเสียงดังจนทำให้รู้สึกเจ็บคอ หรือมีการติดเชื้อในทางเดินหายใจ เป็นต้น
ปกติแล้วเมื่อเด็กมีอาการไอจะต้องปรึกษาเภสัชกรก่อนเพื่อเลือกยาที่ถูกต้อง ซึ่งข้อมูลที่เภสัชกรจะถามก็คือ อายุของลูก น้ำหนักตัว บางคนจะซักถามถึงอาการไอด้วย จากนั้นจึงจะจัดยาและแนะนำวิธีการใช้ให้อย่างละเอียด
ทั้งนี้ยาแก้ไอสำหรับเด็กเป็นเพียงตัวช่วยบรรเทาอาการ ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุ ยาบางชนิดไม่ควรใช้ในเด็ก เช่น Acetylcysteine เพราะต้องระวังในผู้ป่วยโรคหอบหืด หรือยาที่มีฤทธิ์กดอาการไอ เช่น Dextromethorphan เพราะอาจเกิดอาการข้างเคียงและเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้นก่อนซื้อยาแก้ไอเด็กให้ลูก พ่อแม่ต้องทราบสาเหตุการไอของลูกก่อน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากลักษณะของการไอ
1. ไอเนื่องจากหวัด ลูกอาจมีไข้ น้ำมูกไหล ระคายคอ และไอได้ ปกติแล้วเมื่อหวัดหาย อาการไอก็จะหายตามไปด้วย
2. ไอมีเสมหะด้วย อาจเกิดจากหลอดลมอักเสบ หรือมีการติดเชื้อ
3. ไอก้องๆ อาจบ่งถึงการอักเสบที่ท่อลมขนาดใหญ่ เช่น ที่กล่องเสียง หรือไอจนติดเป็นนิสัย
4. ไอแล้วเสียงแบบหมาเห่า อาจเกิดจากโรคครูป (Croup) อาการติดเชื้อทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบ บวมที่กล่องเสียงและหลอดลม สาเหตุของภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน
5. ไอต่อเนื่องกันเป็นชุดๆ อาจสำลักสิ่งแปลกปลอม การติดเชื้อคลามัยเดีย เชื้อไอกรน
6. ไอมากเวลากลางคืน อาจเป็นไซนัสอักเสบหรือโรคหอบหืด
7. ไอในตอนเช้า อาจเกิดจากโรคหลอดลมโป่งพอง
8. ไอเพราะเจ็บคอ เพราะชอบพูดคุยนเสียงดัง ชอบร้องตะโกน หรือร้องกรี๊ด
เลือกยาแก้ไอแบบไหนให้ลูกดี
1. เลือกยาแก้ไอเด็กให้ตรงกับอาการ คือ ถ้าไอแบบมีเสมหะ กับไม่มีแสมหะกรณีที่ลูกไอแบบมีเสมหะเหนียว ควรใช้ยาแก้ไอที่ช่วยละลายเสมหะเพื่อให้ลูกสบายคอหายใจสะดวกขึ้น ถ้ามีอาการไอแบบแห้ง ๆ หรือไม่มีเสมหะ ใช้เพียงยาระงับอาการไอก็พอ
2. เลือกยาแก้ไอชนิดน้ำ เพราะกินง่ายกว่าชนิดเม็ด เหมาะกับเด็กที่ไม่ชอบกินยา เพราะยาน้ำกลืนง่ายกว่า
3. ควรเลือกยาแก้ไอเด็กที่มีส่วนผสมของน้ำตาลให้น้อยที่สุด หรือปราศจากน้ำตาลเลยได้ก็ดีค่ะ
4. ยาแก้ไอเด็กไม่ควรมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม
นอกจากนี้ เอกสารกำกับยาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อบ่งใช้ยาชนิดนั้น ๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องอ่านเอกสารให้ถี่ถ้วนก่อนให้ลูกกินยาแก้ไอเสมอค่ะ
รวมเทคนิค-ข้อระวังเมื่อต้องเลี้ยงลูกในห้องแอร์
อากาศร้อนแบบนี้จะไม่ให้ลูกเล็กนอนในห้องแอร์ก็คงยาก เพราะเมื่อเขาไม่สบายตัวก็ส่งผลให้หลับยาก รักลูกจึงมีวิธีรับมือเมื่อลูกต้องนอนห้องแอร์มาฝากค่ะ
เทคนิคเปิดแอร์ในห้องลูกเล็ก
1.ปรับอุณหภูมิให้ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ที่ประมาณ 25-27 องศาเซลเซียส
2.ตั้งปรับพัดลมของแอร์ให้เป็นระบบ Auto Swing และตั้ง Sleep โหมด เพื่อทำให้อุณหภูมิในห้องกระจายความเย็นทั่วห้อง
3.หลีกเลี่ยงการเปิดแอร์ในตอนเช้าและตอนกลางคืน เพราะอากาศค่อนข้างเย็นอยู่แล้ว
4.ปรับที่นอนของลูกไม่ให้อยู่ในระดับทางลมแอร์พัดโดยตรง เพราะเมื่อลมแอร์ตกลงที่ศีรษะเด็กอย่างจัง อาจทำให้เจ้าตัวเล็กไม่สบายได้
5.เปิดห้องให้อากาศบริสุทธิ์ภายนอกไหลเวียนเข้ามาบ้าง อย่างน้อยวันละ 3-4 ชั่วโมงขึ้นไป รวมทั้งเปิดม่านให้แดดส่องเพื่อฆ่าเชื้อโรคในห้อง
6.ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดเฟอร์นิเจอร์ให้ปราศจากฝุ่นดีกว่าการปัดฝุ่น เพราะการปัดจะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายยิ่งขึ้น
ข้อควรระวังเมื่อต้องเลี้ยงลูกในห้องแอร์
- อย่าปรับแอร์จ่อไปที่ลูกโดยตรง และพยายามให้ห่างจากที่นอนของเจ้าตัวเล็กด้วย โดยคุณแม่ต้องเตรียมผ้าห่มเพื่อปิดบริเวณท้อง หน้าอก ข้อต่อ เพื่อให้ลมความเย็นจากเครื่องปรับอากาศถูกส่วนอื่น
- อย่าพาลูกเข้าห้องแอร์ทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ หรือพาลูกเดินเข้าออกระหว่างห้องแอร์กับอากาศภายนอกบ่อยๆ เพราะจะทำให้ร่างกายของลูกปรับอุณหภูมิไม่ทันจนไม่สบายได้
- ควรล้างแอร์และแผ่นกรองอากาศเป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เปิดหน้าต่างให้อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวกและไม่ควรเลี้ยงลูกในห้องแอร์ตลอดเวลาให้เขาได้ออกไปสัมผัสอากาศทำธรรมชาติด้านนอกบ้าง
- คุณแม่ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนาจนเกินไปให้ลูก แม้จะอยู่ในห้องแอร์ เพราะบ้านเราก็ไม่ใช่เมืองหนาว ใส่ผ้าฝ้ายธรรมดาระบายอากาศได้ดี จะทำให้เจ้าหนูสบายตัวมากกว่า
สิ่งที่ควรเตรียมเมื่อลูกต้องนอนในห้องแอร์
ผ้าห่อแบบไม่ต้องหนาจนเกินไป น้ำ 1 แก้ว (เพื่อไม่ให้อากาศในห้องแห้งจนเกินไป) เมื่อต้องพาลูกออกไปด้านนอกคุณแม่ควรนำเสื้อคลุมบางๆ ติดไปด้วย
หากคุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติตามคำแนะนำรับรองว่าเจ้าตัวเล็กจะสุขภาพดีแม้ต้องเลี้ยงในห้องแอร์ค่ะ
เคยสังเกตหรือไม่ว่า เวลาปิดเทอม เจ้าตัวเล็กจะร่าเริงเป็นพิเศษ แถมไม่ค่อยป่วยซะด้วย แต่เปิดเทอมทีไร จะเป็นหวัดหรือไม่ค่อยสบายอยู่บ่อยๆ นั่นเป็นเพราะในห้องเรียนของลูกอาจจะมีเชื้อโรคแฝงตัวอยู่ อาจทำให้ลูกเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาได้ง่ายๆ ค่ะ โดยเฉพาะ 5 เชื้อโรคยอดฮิต ต่อไปนี้
โรคนี้คุณพ่อคุณแม่หลายคนเป็นกันมาแล้ว เพราะติดกันง่ายมาก แค่ภายใน 2-3 วัน เพียงเด็กๆ ไป แตะโดนตัวเพื่อนที่กำลังเป็นอีสุกอีใส หรือเผลอไอใส่หน้ากันเท่านั้นก็เรียบร้อยค่ะ
อาการเริ่มแรก ลูกจะปวดหัว เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว กินข้าวไม่ค่อยลง และเริ่มมีตุ่มแดงขึ้นตามตัว แขนขา และขึ้นที่หน้า หลังจากนั้น ตุ่มแดงจะกลายเป็นตุ่มใสขอบแดง และเมื่อใกล้หาย จะเปลี่ยนเป็นตุ่มขาวๆ แล้วตกสะเก็ดและค่อยๆ หลุดออกไป เหลือไว้แค่รอยแผลเป็นดำๆ ซึ่งโรคนี้เป็นเอง ก็หายได้เอง
แต่เด็กบางคนเป็นมากกว่านั้น เพราะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดแผลเป็นหนอง และเด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานไม่ดี อาจรุนแรงจนทำให้มีอาการปอดบวม สมองอักเสบ เยื่อสมองอักเสบ ถึงขั้นเสียชีวิตได้
- อันดับ 4 โรคท้องร่วงจากไวรัส
โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสเข้าปากลูกโดยตรง ซึ่งมีทั้ง “โรต้าไวรัส” เด็กเล็กอายุไม่เกิน 5 ปีจะเป็นกันบ่อย “อดีโนไวรัส , แอสโตรไวรัส”และ“โนโรไวรัส ก็สามารถมาจู่โจมเด็กๆ รวมทั้งผู้ใหญ่ได้ คุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการของลูกได้จากลูกท้องเสียเป็นน้ำ ไม่มีมูกเสียปน คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งปวดท้อง ปวดหัว มีไข้ หรือมีน้ำมูกและไอด้วย นี่คืออาการที่เป็นน้อย
เด็กบางคนเมื่อท้องเสียหลายวัน อาจทำให้ลูกท้องอืด ก้นแดง เพราะผิวของลำไส้ถูกทำลาย การดูดซึมอาหารไม่ดีเหมือนเดิม รวมทั้งอาจถ่ายเหลว เพราะเอนไซม์แลกเตสที่ใช้ย่อยน้ำตาลแลคโตสทำงานไม่เต็มที่
หากรุนแรงจนกระทั่งถ่ายเหลวมากๆ ร่างกายของลูกจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่ บวกกับลูกกินข้าวไม่ได้เลย ทำให้ช็อกได้ และถ้ารักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปโรงพยาบาลถ้าลูกถ่ายเหลวมากๆ
เรียกว่า ฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมืองเลยล่ะกับโรคมือเท้าปาก ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 5 คน จะเป็นโรคนี้ถึง 4 คนทีเดียว โดยจะมีอาการไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย หลังจากนั้น 2-3 วันจะเจ็บปาก ไม่ยอมกินข้าว เพราะในปากมีตุ่มแดงทั้งที่ลิ้น เพดานปากและกระพุ้งแก้ม แล้วกลายเป็นตุ่มพองใส มีการอักเสบและแดงบริเวณรอบๆ ตุ่ม เมื่อตุ่มแตกออกจะเป็นแผลหลุมตื้นๆ นอกจากนี้ยังพบตุ่มหรือผื่นขึ้นที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และก้น แต่จะไม่คัน โรคนี้ไม่มีความรุนแรง โดยที่อาการไข้ขึ้นนั้นจะลงภายใน 3 วัน อาการของเด็กก็จะค่อยๆ ดีขึ้น และหายเป็นปกติภายใน 7-10 วันค่ะ
โรคนี้มีทั้งสายพันธุ์ A และ B จะติดต่อกันได้ง่าย โดยเฉพาะเวลาที่อยู่กันเยอะๆ ซึ่งติดต่อผ่านทางลมหายใจ ไอ จาม และไข้หวัดใหญ่ ยังสามารถติดต่อได้ทางละอองฝอยของน้ำมูกและน้ำลาย รวมทั้งจากมือของเด็กที่มีเชื้อโรค แล้วนำมือเข้าปากหรือป้ายจมูก เชื้อโรคก็วิ่งเข้าสู่ร่างกายของเด็กๆ แล้วค่ะ
คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการที่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาได้คือ ลูกจะมีไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดหัว เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว อ่อนเพลียมาก อาจคัดจมูก และเจ็บคอ แต่หากเป็นอยู่นานลูกอาจไอได้ เพราะหลอดลมอักเสบ มักหายภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากมีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคปอดอักเสบระหว่างการเป็นไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้เสียชีวิตได้
เด็กเล็กๆ สามารถเป็นไข้หวัดได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะฤดูฝน หรือฤดูหนาว เฉลี่ยแล้วเด็กๆ จะเป็นไข้หวัดกัน 3-8 ครั้งต่อปี ที่เป็นบ่อยๆ เพราะโรคไข้หวัดมีเชื้อไวรัสหลายสายพันธุ์ เวลาเป็นไข้หวัด จะเกิดจากเชื้อโรคเพียงชนิดเดียว เมื่อเขาหายแล้ว ร่างกายก็จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อที่เคยป่วย แต่ก็เป็นได้อีกค่ะ
อาการของไข้หวัด จะคัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ จามบ่อย คอแห้ง หรือเจ็บคอเล็กน้อย เป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอโตขึ้น ไอแห้งๆ หรือไอแบบมีเสมหะเล็กน้อยและเป็นสีขาว แต่มีน้ำมูกหรือเสมหะเกิน 4 วัน อาจจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียว เพราะอาจมีเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ แทรกอยู่ได้ เด็กบางคนอาจเกิด ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักสบ หรือ ปอดอักเสบได้ ในเด็กเล็กอาจชักเพราะพิษไข้ได้ด้วย
จริงๆ แล้วเชื้อโรคมีอยู่ทุกที่ แต่สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ต้องดูลูกน้อยให้มีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อจะไม่ป่วยง่ายหรือถ้าป่วยแล้วมีอาการน้อยที่สุด ซึ่งการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงนั้นยังส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนที่ดีของลูกอีกด้วย
จากการสัมภาษณ์ : พญ.รังสิมา โล่ห์เลขา กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลลาดพร้าว