facebook  youtube  line

ไม่อยากให้ลูกเป็น โรคซึมเศร้าตั้งแต่เด็ก พ่อแม่ต้องทำ 7 ข้อนี้ให้ได้

ไม่อยากให้ลูกเป็นโรคซึมเศร้าตั้งแต่เด็ก-โรคซึมเศร้า-โรคซึมเศร้า อาการ-โรคซึมเศร้าในเด็ก-พ่อแม่ทำลูกเป็นโรคซึมเศร้า-วิธีป้องกันโรคซึมเศร้า-ลูกเป็นโรคซึมเศร้า-เด็กเป็นโรคซึมเศร้า

 

หลายครั้ง ความรักก็ส่งไปไม่ถึงลูก ยิ่งไปกว่านั้น การไม่ชอบสื่อสาร ไม่ชอบแสดงออก อาจทำให้ลูกน้อยใจจนคิดไปเอง

ไม่อยากให้ลูกเป็น โรคซึมเศร้าตั้งแต่เด็ก พ่อแม่ต้องทำ 7 ข้อนี้ให้ได้

พ่อแม่ทุกคนรักลูกเสมอ แต่หลาย ๆ ครั้ง ความรักก็ส่งไปไม่ถึงลูก ยิ่งไปกว่านั้น การไม่ชอบสื่อสาร ไม่ชอบแสดงออก พูดจาตรง และรุนแรง อาจทำให้ลูกน้อยใจจนคิดไปเองได้

รวมถึงการกระทำที่ไม่คิดของพ่อแม่ อาจนำลูกไปสู่โรคซึมเศร้าได้ง่าย ๆ ดังนั้นวิธีป้องกันโรคซึมเศร้าที่เป็นภัยเงียบนี้ พ่อแม่ควรแสดงออกว่ารักลูกให้มาก ๆ ลองทำตามทั้ง 7 ข้อนี้เลยค่ะ 

1. เล่นกับลูก ให้เวลากับลูกให้มากที่สุด 

ชวนลูกเล่นตัวต่อ จิ๊กซอว์ แป้งโดว์ หรือเล่นเกมไปกับลูก พูดคุยกันถึงวันที่ผ่านมา เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวได้ ว่างก็คลุกคลีตีโมงกับลูก กอดหอมกันไปมา เป็นการแสดงความรักขั้นพื้นฐานที่ดีที่สุด หากพ่อแม่ไม่ใช้เวลากับลูกเลย อาจเกิดระยะห่างระหว่างกันได้

2. คุยกับลูกด้วยรอยยิ้ม พยายามใจเย็นเสมอ

หากทบทวนตัวเองแล้ว เวลาไม่พอใจลูก ลูกไม่ได้ดั่งใจ มักจะตหวาด ดุดัน เร่งเร้า ตำหนิ บ่น กับลูกใช่หรือไม่ ไม่ควรทำแบบนั้นนะคะ ควรจะหันมายิ้มให้ลูก พูดกันด้วยความเข้าใจ ให้กำลังใจกัน ย่อมมีความสุขมากกว่า และให้ผลที่ดีกว่ามาก

3. ตั้งใจฟังลูก และบอกลูกว่าพ่อแม่ฟังลูกอยู่

การไม่ฟังลูกพูด นั่นอาจเป็นครั้งสุดท้ายที่เขาจะบอกเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตให้พ่อแม่ฟังก็เป็นได้ การฟังเป็นเรื่องง่ายมากนะคะ บางครั้ง การฟังลูกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ หรือ ระบายความรู้สึกให้ฟัง ก็เป็นการแสดงออกให้ลูกรู้ได้ถึงความรักที่คุณมีให้เขาแล้ว โดยที่พ่อแม่ไม่ต้องแนะนำอะไรเลยก็ได้


ไม่อยากให้ลูกเป็นโรคซึมเศร้าตั้งแต่เด็ก-โรคซึมเศร้า-โรคซึมเศร้า อาการ-โรคซึมเศร้าในเด็ก-พ่อแม่ทำลูกเป็นโรคซึมเศร้า-วิธีป้องกันโรคซึมเศร้า-ลูกเป็นโรคซึมเศร้า-เด็กเป็นโรคซึมเศร้า

4. แสดงความรักบ่อย ๆ กับลูก

ลูกต้องการความรักเสมอ แม้จะเขินบ้างเวลาพ่อแม่แสดงออก แต่ทำไปเถอะค่ะ เดี๋ยวลูกก็โตไปหาเพื่อนแล้ว ตอนเด็ก ๆ อยู่กับลูกบอกรัก กอด หอม จูงมือ หยอกเหย้าให้มาก ๆ ทำให้ชิน ให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้เลยนะคะ

5. ให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

การตัดสินใจแทนลูกทุกอย่าง เป็นข้อที่เข้าใจผิดกันอย่างมาก และไม่ดีต่อพัฒนาการลูกเลยค่ะ การให้โอกาสลูกในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกซึ่งความต้องการของตัวเอง ก็เป็นวิธีการแสดงความรักและแสดงออกถึงการยอมรับในตัวลูกอย่างหนึ่ง พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามนะคะ

6. ชื่นชมลูกเมื่อทำสำเร็จ ปลอบใจเมื่อล้มเหลว

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ หรือเรื่องใหญ่ ๆ หากเป็นเรื่องราวที่ดีของลูกนั้น การให้กำลังใจและชื่นชมกันคือเรื่องที่ดีมาก หากลูกแพ้ก็ให้กำลังใจ อยู่ข้าง ๆ ลูก สิ่งนี้แหละที่เป็นหัวใจสำคัญของความรักที่มีต่อลูก

7. รักษาสัญญากับลูก ขอโทษลูกได้เมื่อพ่อแม่ผิด

การโกหก หรือการไม่รักษาสัญญากับลูก เป็นจุดสำคัญที่สร้างบาดแผลและความไม่เชื่อใจทีละเล็กทีละน้อยนะคะ หากทำอะไรไม่ได้ควรบอกเหตุผลจำเป็น ขอโทษลูก และควรอธิบายลูกให้เข้าใจ เพราะสำหรับเด็ก ๆ คำพูดของพ่อแม่นั้นมีน้ำหนักต่อความรู้สึกของลูกมากกว่าที่เราคิดค่ะ





 

ไวรัส RSV ภัยร้ายที่มากกว่าโรคหวัด

โรคในเด็ก-โรคRSV-rsv-อาการโรคrsv 

ไวรัส RSV เป็นไวรัสซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่กลัวมาก เนื่องจากไวรัส RSVยังไม่มีทั้งยารักษาและวัคซีนป้องกัน และไวรัส RSVมักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน เราเลยขอนำเรื่องไวรัส RSV ไวรัสร้ายตัวนี้มาบอกกล่าวกันอีกครั้งค่ะ

ไวรัส RSV คืออะไร

Respiratory Syncytial virus หรือ RSV เป็นเชื้อไวรัสที่รู้จักกันมานานในวงการแพทย์ ซึ่ง RSV เป็นสาเหตุของอาการหรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก

ร่างกายได้รับไวรัส RSV ได้อย่างไร

ไวรัส RSV จะพบมากและเจริญเติบโตได้ดีในช่วงที่มีอากาศชื้นโดยเฉพาะหน้าฝน แถมยังติดต่อกันได้ง่ายเพียงการสัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางตาหรือจมูก และทางลมหายใจ   

ไวรัส RSV ทำให้เกิดอาการอย่างไร RSV ก่อโรคในทางเดินหายใจ แบ่งอาการเป็น 3 กลุ่มคือ
  1. ทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบ ทำให้มีอาการคล้ายหวัด มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล คออักเสบ
  2. ทางเดินหายใจส่วนล่างอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ ซึ่งมักเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
  3. ในบางรายมีอาการรุนแรง ไข้สูง หอบเหนื่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัส RSV ตั้งแต่ 40 –90 % รวมไปถึงปอดบวม  
ไวรัส RSV ต่างจากหวัดธรรมดาอย่างไร

หวัดธรรมดาจะมีอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล กินน้ำ กินนมได้ ซึ่งจะหายได้ใน 5-7 วัน แต่อาการที่เกิดจากไวรัส RSV มีอาการหอบ เหนื่อย บางคนหอบมากจนเป็นโรคปอดบวม หรือหายใจมีเสียงวี้ดแบบหลอดลมฝอยอักเสบ บางรายไอมากจนอาเจียน ซึมลง ตัวเขียว กินข้าว กินน้ำ กินนมไม่ได้  

รักษา ไวรัส RSV อย่างไร

ระวังเรื่องการขาดนน้ำ เพราะจะยิ่งทำให้เสมหะเหนียวข้นและเชื้อลงปอด อาจต้องใช้ยาพ่นร่วมกับ oxygen เพื่อช่วยขยายหลอดลม รับประทานยาลดไข้ตามอาการทุก 4 – 6 ชั่วโมงพร้อมกับเช็ดตัวลดไข้ นอนพักผ่อนเยอะๆ ร่างกายก็จะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 7 – 14 วัน จึงจะหาย  

วิธีป้องกัน ไวรัส RSV
  • การล้างมือให้เด็กเล็กบ่อยๆ และพี่เลี้ยงเด็กก็ต้องล้างมือบ่อยๆ เช่นกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสเด็กที่สงสัยว่าเป็นหวัด และใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเอาไว้
  • เมื่อมีเด็กป่วย หากเป็นไปได้ให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน แต่หากไม่สามารถรับกลับบ้านได้ ให้แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการจูบและหอมเด็ก เพราะอาจเป็นการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว ไม่พาบุตรหลานไปที่ชุมชมสถานที่ที่มีคนเยอะ

ถ้ามองเผิน ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าน้องเป็นหวัดธรรมดา แต่ถ้าไม่สังเกตอาการให้ดีและปล่อยไว้นานอาจจะกลายเป็นโรคร้ายที่อันตรายต่อชีวิตเด็ก ๆ ได้ค่ะ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ มีโอกาสที่จะเกิดซ้ำอีกได้ถ้าน้อง ๆ ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งจะกระตุ้นอาการหอบจนทำให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในที่สุดค่ะ