facebook  youtube  line

เปิดเทอมนี้พร้อม! เตรียมความรู้ปูพื้นฐานให้ลูกรัก

เปิดเทอม-นักเรียน-โรงเรียน-การเลี้ยงลูก

เด็ก ๆ ใกล้จะเปิดเทอมกันแล้ว คุณพ่อคุณแม่และเจ้าตัวเล็กพร้อมหรือยังเอ่ย? ภารกิจแรกวันนี้ ขอเสนอกับช่วงเตรียมความรู้ปูพื้นฐานให้ลูกก่อนไปโรงเรียนกันค่ะ จะต้องเตรียมตัวอย่างไร สอนลูกให้เรียนรู้อะไรบ้าง มาดูกันเลยยย!  

ทักษะพื้นฐานวัยอนุบาล

การเตรียมตัวลูกน้อย ก่อนเข้าเรียนชั้นอนุบาล เรื่องการปูพื้นฐานความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่พ่อแม่ต้องสอนลูกนะคะ 

  1. ทักษะการเขียน เริ่มจากการซื้อหนังสือหัดเขียน ก-ฮ โดยมีคุณแม่หรือคุณพ่อ จับมือลูกเขียนตามรอยเส้นปะ หลังจากนั้นพอลูกเริ่มสามารถเขียนเองได้แล้ว สอนลูกให้เขียนชื่อจริง นามสกุล และชื่อเล่นของตัวเอง พร้อมกับให้อ่านออกเสียง

  2. ทักษะการท่องจำ นอกจากการสอนลูกให้เขียนตามรอยปะ ต้องสอนให้ลูกอ่าน พยัญชนะ ก-ฮ และอักษรภาษาอังกฤษ A-Z  โดยมีคุณพ่อคุณแม่เป็นคุณครูคนแรกค่ะ ปัจจุบันได้มีโปสเตอร์ ที่มีรูปภาพและคำประกอบ ภาษาไทย อังกฤษ เมื่อเรากด จะมีเสียงของคำนั้นๆ ออกมาด้วยค่ะ ง่ายต่อการเรียนรู้มากๆ 

  3. ทักษะการบวกเลขง่ายๆ เช่น 1+1 = 2 เป็นต้น เรื่องการบวกเลข ลบเลข เรื่องนี้จะไม่บังคับหรือเครียดกับลูกมากเกินไป ถ้าลูกตอบไม่ได้นะคะ เราควรต้องให้เวลาให้ลูกได้เรียนรู้ ยกตัวอย่างการสอน เรื่องสัญลักษณ์การบวก เท่ากับเพิ่มขึ้น สัญลักษณ์ลบ เท่ากับลบออก ลองหยิบผลไม้มาเป็นตัวช่วยดูสิ แอปเปิ้ล 1 ผล บวกกับ แอปเปิ้ล 1 ผล เท่ากับเท่าไหร่ค่ะ ถ้าลูกตอบได้ อาจมีรางวัลเล็กๆ ให้ลูกพอดีใจ เพื่อเป็นกำลังใจในการเรียนรู้ครั้งต่อไปนะคะ

ทักษะพื้นฐานวัยปฐมต้น

ผ่านชั้นอนุบาลมาได้แล้ว การเตรียมตัวขั้นตอนไปคือการขึ้นชั้น ป.1 อีกหนึ่งก้าวของความสำเร็จของลูก ดีใจด้วยนะคะ ต่อไปเป็นก้าวที่สองแล้ว เรามาเตรียมทบทวนความรู้ที่เคยเรียน พร้อมเสริมวิชาใหม่ๆ ให้ลูก เพื่อเพิ่มความรู้คูณสองกันค่ะ

  1. ทักษะการเขียน  ทบทวนวิชาภาษาไทย โดยมีคุณพ่อกับคุณแม่เป็นคุณครูสอนนะคะ เริ่มจากการเขียนชื่อ นามสกุล และชื่อเล่นของเจ้าตัวเล็กให้ถูกต้อง ถึงแม้ลูกอาจยังเขียนผิดๆ ถูกๆ บ้าง หากพ่อแม่คอยสอนทบทวน เรื่องความรู้ที่ลูกเรียนในแต่ละวัน สอนการเขียนคำที่ถูกต้อง ไม่นานค่ะ ลูกจะเริ่มจำและเรียนรู้ จนสามารถอ่านออก เขียนได้ถูกต้องทุกคำ

  2. ทักษะการท่องจำ  ซื้อหนังสือนิทาน บัตรคำศัพท์มาคอยให้ลูกได้ฝึกฝนคำศัพท์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษค่ะ ในเวลาว่างช่วงปิดเทอม ช่วยลูกเล่นเกมส์ทายสิอะไรเอ่ย ให้ทายคำภาษาไทย แล้วพูดเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าทายถูกต้องรับไปเลย 1 ดาว แค่นี้ลูกก็มีกำลังใจและอยากจะเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกแน่นอนค่ะ

  3. ทักษะตัวเลข สอนลูกท่องจำเรื่องตัวเลข การเขียน สัญลักษณ์การลบ บวก คูณ เด็กวัยนี้ต้องเริ่มท่องสูตรคูณแล้วนะคะ อาจเริ่มที่ง่ายๆ ก่อน คือ แม่ 2 สอนลูกให้ท่องสูตรคูณก่อนนอน หรือตื่นเช้ามาท่อง เพื่อให้เขาได้จำ แล้วคุณแม่อย่าลืมทดสอบความจำของลูกด้วยนะคะ 

การปูพื้นฐานให้ลูกก่อนไปโรงเรียนถือเป็นเรื่องที่ดีนะคะ เป็นการเตรียมความพร้อมของลูกกับการเรียนต่างๆ ฝึกให้เขาคุ้นชินกับการท่องจำ การฝึกพูด อ่าน เขียน ภาษาไทยให้ถูกต้อง คนที่มีความรู้ก่อน มักจะได้เปรียบคนอื่นเสมอค่ะ หวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้ ข้อแนะนำดี ๆ ที่มีประโยชน์ให้หลายครอบครัวนำไปใช้ เพื่ออนาคตที่ดีของลูกนะคะ

 

เพจหมอเตือน! อย่าขู่ลูก พร้อมแนะนำวิธีการพูดกับลูกที่พ่อแม่ควรรู้

 การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

โรงพยาบาลติดป้าย! " ขอความกรุณา!! อย่าขู่เด็กว่าจะฉีดยา " เพื่อให้เด็กมีความร่วมมือที่ดี และลดการต่อต้านการรักษาในอนาคต เภสัชฯ ใจดีมาก ๆ และฉีดยาไม่เป็นครับ :)

การขู่ลูกเป็นวิธีที่ง่าย ไม่ต้องใช้ความรุนแรง แค่ทำเสียงเข้มขึ้นนิด ทำหน้าจริงจังอีกหน่อย ลูกก็จะหยุดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ได้ แต่การหยุดเหล่านั้น ไม่ถาวรและก็มีผลเสียตามมาแบบที่เราอาจจะไม่เคยคิดเลยทีเดียว ! เคยมั้ยที่เคยขู่ลูกเช่นนี้

-เดี๋ยวให้ตำรวจจับเลย 

-เดี๋ยวผีมาหลอกนะ 

-เดี๋ยวพาไปหาหมอ ให้หมอฉีดยาเลย..

-ไม่รักแล้ว อีกหนึ่งคำขู่ยอดฮิต “ถ้าหนูทำแบบนี้ แม่จะไม่รักแล้วนะ”

ทุกๆ อย่างที่แกล้งพูดขู่เด็กไป เป็นสิ่งที่จะฝังลงไปในความรู้สึกของเขา เขาจะรู้สึกกลัวอย่างไร้เหตุผล และกลัวในสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องกลัว

อุปสรรคต่อความเข้มแข็งของเด็กคือความกลัว (FEAR) ซึ่งก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในจิตใจ ว้าวุ่น หวาดกลัว ไม่มั่นใจในตัวเอง และพาลเป็นผลเสียต่อสุขภาพ จึงต้องพยายามเลี้ยงลูกอย่าให้เป็นคนขี้กลัว กลัวอะไรโดยไม่มีเหตุผล

ผลกระทบ หากหลอกให้ลูกกลัว

1.ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจอย่างมาก

2.ความกลัวจะฝังแน่นในความรู้สึก ส่งผลมากกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า ยิ่งทำให้เด็กกลัวการมาพบแพทย์

3.ทำให้เสียบุคลิกภาพ เป็นคนขี้ระแวงจนเกินเหตุ

4.ฝึกนิสัยการโกหก หลอกลวงเด็ก ไม่พูดความจริงกับเด็ก

5.ทำให้เด็กชอบโทษคนอื่น 

 
วิธีที่ถูกต้องที่ควรทำ

1.ให้คำชมแทน  เช่น ถ้าทำแบบนี้คุณแม่จะไม่ชมเชยหนูนะ หรือ ถ้าหนูไม่ทำหนูจะเป็นเด็กดีของแม่เลย เป็นต้น

2.คุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่างที่ดี คือถ้าอยากให้ลูกใส่รองเท้าเวลาออกจากบ้าน คุณแม่ต้องใส่เสมอ แล้วบอกลูกว่าเห็นมั้ยคุณแม่ก็ยังใส่เลย

3.บอกผลที่จะเกิดขึ้น  ถ้าลูกอยากทำอะไรที่เสี่ยงต่อการเจ็บตัว แล้วคุณแม่ดูว่าไม่อันตรายมากนัก ก็บอกเงื่อนไขให้ลูกรู้ค่ะว่าถ้าปีนเก้าอี้แล้วตกลงมาเจ็บคุณแม่จะไม่โอ๋ไม่ช่วยนะลูก เพื่อให้ลูกรู้ว่าถ้ายังตัดสินใจจะเล่น ตกลงมาเจ็บก็ห้ามเรียกร้องความสนใจ และคุณแม่ก็จะต้องไม่โอ๋จริงๆ นะคะ เพื่อให้ลูกรู้จักรับผิดชอบตัวเอง

4.ให้รางวัล ถ้าลูกทำตามที่เราบอกอาจจะให้รางวัลที่ลูกชอบค่ะ

5.งดของชอบ เพื่อเป็นการทำโทษ  เช่น วันนี้หนูดื้อกับแม่ แม่จะไม่ให้กินขนม 1 วัน แล้วคุณแม่ห้ามใจอ่อน ต้องทำจริงๆ

6.บอกรักลูก  เปลี่ยนจากการพูดว่าคุณแม่ไม่รักแล้ว มาเป็น คุณแม่เสียใจนะ คุณแม่โกรธแล้วนะที่ลูกทำแบบนี้ แต่ต้องย้ำให้ลูกรู้ว่าแม่ยังรักเขาอยู่ ลูกยังเป็นที่รักในสายตาแม่เสมอ แต่ว่าหากทำผิดก็ต้องโดนทำโทษ ซึ่งเป็นกฎตามปกติ

7.สอนเด็กถึงความเป็นจริง ลูกไม่สบาย ต้องไปหาคุณหมอ คุณหมอจะช่วยหนูให้หาย เดี๋ยวหมอจะเจาะเลือดหนู เจ็บนิดหน่อย ต้องอดทนนะลูก จะได้หายป่วย ให้กำลังใจลูก ลูกทำได้อยู่แล้ว คนเก่งของแม่

เมื่อน้องทำได้ดี เช่นไม่ร้อง ให้ความร่วมมือกับหมอ ต้องชื่นชม เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดี “แม่ภูมิใจในตัวหนู ที่เป็นเด็กดี ให้คุณหมอตรวจ”

8.เวลาลูกหกล้ม ก็อย่าไปโทษพื้นตีพื้น  ต้องบอกลูกตรงๆ ว่า หนูล้มเพราะหนูวิ่งเร็ว ไม่ระวัง ต่อไปจะเดินจะวิ่งต้องช้าๆ ระวัง ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเจ็บอีกนะคะ

จริงๆ แล้วเรายังใช้วิธีขู่ลูกได้ แต่ต้องขู่ด้วยความจริง ด้วยเหตุและผล เพื่อให้เด็กรับรู้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง มีโอกาสตัดสินใจ และทำให้ลูกได้ตระหนักเมื่อโตขึ้นว่าพ่อแม่คือคนที่พูดความจริงกับเขามาอย่างสม่ำเสมอและยังเป็นการสร้างลูกให้เป็นคนมีเหตุผลด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพ : เพจInfectious ง่ายนิดเดียว

เมื่อลูกขี้อาย พ่อแม่จะทลายกำแพงนี้ยังไง

 
 ลูกขี้อาย-ขี้อาย-นิสัย-พัฒนาการ-พฤติกรรม

คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงเจอปัญหาเรื่องลูกขี้อาย ไม่กล้าแสดงความสามารถต่อหน้าคนอื่น หรือไม่มั่นใจในตัวเอง ซึ่งธรรมชาติของเด็กขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก มักเป็นเด็กที่คิดเยอะ ระวังตัว ไม่มั่นใจในการตัดสินใจของตนเอง มีความกังวลสูงกว่าเด็กที่ไม่ขี้อาย เขาจึงสร้างกรอบให้ตนเอง ดังนั้นการพาลูกออกจากกรอบของตนเอง จึงต้องเริ่มจากการทำลายกรอบที่ผู้ใหญ่สร้างให้เขาก่อนค่ะ 


ลองปล่อยให้ลูกช่วยเหลือตนเองตามวัยที่เขาสามารถทำได้ตั้งแต่เล็ก เช่น ปล่อยให้ลูกกินข้าวเอง แม้จะหกเลอะเทอะบ้าง หรือถ้าเป็นเด็กโตก็ปล่อยให้ลูกจัดกระเป๋าไปโรงเรียนเอง จัดกระเป๋าเวลาไปเที่ยวต่างจังหวัดเอง เป็นต้น

เปิดโอกาสให้ลูกคิด ให้ลูกตัดสินใจอะไรด้วยตนเอง เช่น เลือกเสื้อผ้า รองเท้าเองเวลาจะออกไปเที่ยว งดการตำหนิเมื่อการตัดสินใจและการช่วยเหลือตนเองของลูกเกิดความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ และให้กำลังใจด้วยการชมเชยเมื่อลูกทำอะไรได้ดี ถูกต้องและแสดงน้ำใจ อัธยาศัยที่ดีต่อผู้อื่น
ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น เปิดตนเองต่อโลกภายนอกและได้เรียนรู้ว่าความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกลัว

ส่วนการสร้างแรงเสริมอีกทาง ด้วยการสนับสนุนจากพ่อแม่ ได้แก่

การหากิจกรรมให้ลูกพบความสามารถหรือจุดเด่นของตนเองได้พบเพื่อนและสร้างความผ่อนคลายไปด้วย เช่น การทำหรือเรียนกิจกรรมศิลปะ กีฬา ดนตรี แบบเป็นกลุ่ม 

การให้ลูกได้พบ ได้เล่นกับเด็กกล้าแสดงออก มีมนุษยสัมพันธ์ดีบ่อยๆจะทำให้เด็กได้เห็นวิธีการสร้างสัมพันธภาพและเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านี้ได้ง่ายกว่าการบอกหรือสอนโดยผู้ใหญ่
 
การให้โอกาสลูกในการฝึกสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นการผูกสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ใช่เรื่องง่าย จึงต้องอาศัยคุณพ่อ คุณแม่ในการหยิบยื่นโอกาส พาลูกออกไปเจอโลกภายนอก ให้ลูกได้มีประสบการณ์ร่วมกับเด็กหรือผู้ใหญ่นอกครอบครัวบ่อยๆ 

เด็กวัยอนุบาลนิสัยต่างๆ เริ่มพัฒนามาเป็นบุคลิกภาพ และเด็กๆ เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองที่ชัดเจนขึ้น การแสดงความต้องการ หรือการปฏิเสธอะไร จะมีความชัดเจน มีจุดยืน ไม่ถูกโน้มน้าวให้เปลี่ยนใจได้ง่ายๆ เหมือนสมัยเล็กๆ  

การปรับพฤติกรรมลูกจึงต้องอาศัยความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของพฤติกรรมเหล่านี้ ใช้เวลานานและต้องอาศัยความพยายามอย่างแยบยลของพ่อแม่มากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้นสำหรับเด็กขี้อายคือเปิดโอกาสให้ลูกได้พูดและรับฟังลูกให้มาก เพื่อให้เราได้เข้าใจมุมมองของลูก และเพื่อให้ลูกเข้าใจว่า พ่อแม่คือคนที่พร้อมจะรับฟังและอยู่เคียงข้างลูก แล้วกรอบกำแพงในใจของลูกจะค่อยๆ ทลายลงค่ะ
 

 


 
 

เมื่อลูกนอนละเมอ ต้องทำอย่างไร

 นอนละเมอ-การนอน-ละเมอ-พัฒนาการ

โรคนอนละเมอเกิดได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ สำหรับการนอนละเมอในเด็กอาจจะไม่ใช่เป็นโรค แต่เกิดเพราะสาเหตุที่แตกต่างกันไป อาการละเมอมักเกิดขึ้นกับเด็กช่วง 4-5 ขวบขึ้นไปค่ะ

 

สาเหตุลูกนอนละเมอ ละเมอร้อง เดินละเมอ
  1. พันธุกรรม อาจพบว่าพ่อแม่เคยมีอาการนอนละเมอตอนเด็กๆ เช่นกัน
  2. การเจ็บป่วย เด็กอาจมีไข้สูง
  3. ความกังวล กลัวถูกลงโทษ หรือได้ยิน ได้เห็นเรื่องตื่นเต้นตกใจ เช่น ดูหนังผี หรืออ่านหนังสือน่ากลัวฝังใจ
  4. ภาวะความเครียดในจิตใจ 

 

วิธีแก้ไขลูกนอนละเมอ ละเมอร้อง เดินละเมอ
  • พ่อแม่ควรเสาะหาต้นเหตุที่ทำให้เด็กมีอาการละเมอ เพื่อแก้ไขต้นเหตุปัญหาที่แท้จริง
  • ถ้าเด็กมีอาการละเมอจากการเล่น หรือได้รับการกระตุ้นมากเกินไปในตอนกลางวัน ควรจำกัดเวลาเล่นอย่างเหมาะสม
  • การนอนละเมอที่เกิดจากภาวะความเครียดในจิตใจ ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้เด็กเกิดภาวะโรคเครียดตามมา หรือส่งผลกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ค่ะ ควรช่วยกันแก้ไขว่าเด็กมีความเครียดจากอะไร ถ้ามีอาการอื่นของโรคประสาท หรือโรคจิตร่วมด้วยควรปรึกษาแพทย์
  • คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวล ถ้าไม่ได้เกิดจากสาเหตุความเครียด หรืออาการเจ็บป่วย โดยปกติอาการละเมอจะหายไปเองตามธรรมชาติ
  • ถ้าลูกมีอาการละเมอ ควรจัดห้องนอน สถานที่ให้มีความปลอดภัยป้องกันลูกนอนละเมอและเกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิด เช่น มีที่กั้นเตียง ที่กั้นบันได ปิดประตูห้อง ปิดหน้าต่าง ระเบียงให้เรียบร้อย

 

พ่อแม่ที่เคยเจอลูกมีอาการละเมอบ้างไม่ต้องกังวลไปค่ะ อาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ เด็กบางคนหากวันไหนได้รับการกระตุ้นหรือเล่นมากไปก็ทำให้ละเมอได้ แต่ในเด็กที่มีอาการบ่อย ๆ อาจจะต้องหาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไรกันแน่ เพราะถ้าลูกมีอาการละเมอถึงขั้นว่าเดินหลับ หรือ ละเมอลุกขึ้นจากเตียงอาจเกิดอันตราย อุบัติเหตุได้

 

เมื่อลูกเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, สุขภาพเด็ก, สุขภาพ 

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่มักเกิดขึ้นได้ในเด็ก เนื่องจากธรรมชาติของเด็กวัยนี้มักห่วงเล่น จนทำให้ดื่มน้ำน้อย และอั้นปัสสาวะเพราะกลัวว่าจะเล่นไม่ทันเพื่อน ร่วมกับเด็กๆ ยังไม่รู้วิธีในการดูแลสุขลักษณะในการเข้าห้องน้ำที่ถูกต้องจนพานให้เจ้าเชื้อแบคทีเรียเข้าไปก่อกวนกระเพาะปัสสาวะของลูกได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้

ผศ.พญ.วนัทปรียาพงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลศิริราช จะมาไขความสงสัยเกี่ยวกับสาเหตุ พฤติกรรมที่ก่อโรค และวิธีป้องกัน (ด้วยตัวลูกเอง) เพื่อช่วยให้ลูกห่างไกลจากอาการแสบ (และสารพัดอาการอื่นๆ) จากโรคนี้กันค่ะ

รู้จักกระเพาะปัสสาวะกันก่อน

จะลงลึกเรื่องโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับระบบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะเพื่อจะได้เข้าใจเรื่องโรคนี้อย่างถึงกึ๋นกันก่อนค่ะ

ระบบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะนั้นเริ่มจากไตมาที่ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และมาที่ท่อปัสสาวะ ปกติไตจะเป็นตัวทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายแล้วขับออกมาเป็นปัสสาวะ จากไตสองข้างปัสสาวะจะไหลมาที่ท่อไตแล้วก็ลงมาที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงบางๆ หน้าที่กระเพาะปัสสาวะคือกักเก็บปัสสาวะ หากไม่มีกระเพาะปัสสาวะปัสสาวะก็จะไหลออกมาตลอดเวลาค่ะ และเมื่อน้ำถูกกักเก็บในกระเพาะปัสสาวะจนกระเพาะปัสสาวะขยายตัวประมาณหนึ่งแล้วก็จะเกิดการกระตุ้นให้เกิดการปวดปัสสาวะขึ้นมาค่ะ

ซึ่งเมื่อปวดปัสสาวะขึ้นมาแล้วในผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็คงจะต้องรีบแจ้นไปเข้าห้องน้ำใช่ไหมคะ แต่สำหรับเด็กๆ ที่ยังเล็กและไม่รู้จักดูแลตัวเองในเรื่องสุขลักษณะในการเข้าห้องน้ำนั้นไม่ได้ประพฤติเหมือนเรา หากแต่… ‘ชอบกลั้น’ และ ‘ไม่ดื่มน้ำ’ เพราะติดเล่น ร่วมกับการรักษาความสะอาดหลังการเข้าห้องน้ำไม่ดีพอ คราวนี้ละค่ะปัญหาของโรคจึงบังเกิด

แบคทีเรียตัวร้าย… ทำกระเพาะปัสสาวะลูกอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหากแปลตรงตัวก็คือการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งส่วนใหญ่ในเด็กเกือบ 100% จะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียค่ะ ซึ่งปกติในกระเพาะปัสสาวะไม่ควรมีเชื้อโรคใดๆ อยู่เลย แต่ในเด็กโดยเฉพาะเด็กผู้หญิงจะเป็นได้ง่าย เนื่องจากช่องในการขับถ่ายปัสสาวะของเด็กผู้หญิงจะอยู่ใกล้ช่องคลอดและรูทวารหนัก ซึ่งบริเวณนี้จะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่จำนวนมาก และเชื้อแบคทีเรียจากบริเวณเหล่านี้อาจเล็ดลอดผ่านช่องปัสสาวะและเข้าไปในท่อปัสสาวะได้ง่ายกว่าเด็กผู้ชายค่ะ

โดยทั่วไปหากเชื้อแบคทีเรียมีปริมาณเล็กน้อย ร่วมกับเด็กๆ ดื่มน้ำและปัสสาวะออกมาบ่อยๆ ก็อาจขับเชื้อแบคทีเรียนั้นออกมาได้ แต่กรณีที่เชื้อแบคทีเรียเข้าไปในปริมาณมาก หรือเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงมากก็อาจทำให้เด็กเกิดอาการขึ้นมาได้ค่ะ

‘แสบ ปวดขัด’ อาการหลักปัสสาวะอักเสบ

สำหรับอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ทั้งจากการบ่นของลูก ร่วมกับพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ค่ะ

บ่นแสบ บ่นปวด เมื่อเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จะทำให้เกิดการอักเสบบริเวณช่องปัสสาวะ และบริเวณท้องน้อย ดังนั้นเมื่อเด็กๆ เข้าห้องน้ำก็อาจบ่น “แสบ” ร่วมกับการปวดท้องน้อยได้ค่ะ เข้าห้องน้ำบ่อยผิดปกติ พร้อมบ่นอุบอิบ “ฉี่ไม่ค่อยออก” เนื่องจากมีอาการปัสสาวะขัดร่วมด้วย ปัสสาวะราดซะเฉยๆ กรณีที่เด็กๆ สามารถควบคุมเรื่องการขับถ่ายได้แล้ว แต่จู่ๆ ก็มีปัญหาปัสสาวะรดที่นอน ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ก็ถือเป็นอาการของโรคได้เช่นกัน

นอกจากพฤติกรรมข้างต้นแล้วคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการอื่นๆ ร่วมด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นปัสสาวะมีกลิ่นแรงกว่าปกติ มีสีที่แปลกไปคือมีสีขุ่นหรือสีออกส้มๆ ซึ่งหากลูกมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ก็ควรพาลูกมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ ซึ่งคุณหมอจะใช้การสังเกตอาการร่วมกับการตรวจปัสสาวะเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งภายในไม่กี่นาทีก็ทราบผลค่ะว่าเจ้าหนูเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือไม่ หากกรณีที่พบว่าเป็นแล้ว คุณหมอก็จะให้ยาฆ่าเชื้อมาทานเพื่อรักษาอาการ ซึ่งเด็กๆ จะหายเป็นปกติดีภายใน 7-10 วันค่ะ

ป้องกันได้ชัวร์ถ้า (ลูก)รู้วิธี

สำหรับวิธีป้องกันไม่ให้เจ้าหนูเกิดเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะขึ้นมานั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือการฝึกให้ลูกมีสุขลักษณะที่ดีในการเข้าห้องน้ำที่ถูกต้องค่ะ ซึ่งคุณสามารถสอนพวกเขาได้ดังนี้…

  1. สอนให้เด็กๆ ไม่กลั้นปัสสาวะ และควรให้เข้าห้องน้ำจนเป็นนิสัยอย่างน้อยที่สุดคือ 3 เวลาหลังอาหาร และก่อนนอน การปัสสาวะบ่อยๆ นี้ก็จะช่วยชะล้างแบคทีเรียออกไปได้ค่ะ
  1. หลังจากเข้าห้องน้ำไม่ว่าจะปัสสาวะ หรืออุจจาระ ควรสอนให้เด็กๆ เรียนรู้วิธีการทำความสะอาด รวมไปถึงวิธีการเช็ดทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศที่ถูกต้อง คือเช็ดจากข้างหน้าไปข้างหลังและทิ้งทันที ไม่นำมาเช็ดวนซ้ำ และไม่เช็ดย้อนทาง เพราะจะทำให้เชื้อโรคเล็ดลอดเข้าไปยังท่อปัสสาวะได้โดยง่ายค่ะ
  1. พยายามดูแลไม่เห็นเด็กเกิดปัญหาท้องผูกเพราะเด็กจะไม่ค่อยเข้าห้องน้ำ ทำให้การติดเชื้อเกิดขึ้นจากพฤติกรรมนี้ได้ค่ะ เนื่องจากกรณีที่เด็กท้องผูกมากๆ อาจทำให้อุจจาระไปกดทับกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดโรคนี้ตามมาได้ค่ะ

3 วิธีสอนลูกให้รู้จักป้องกันตัวเองจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบไม่ใช่เรื่องยากเลยใช่ไหมคะ ดังนั้นนอกจากสังเกตอาการเจ้าหนูคงไม่พอ จะให้ดีสอนวิธีป้องกันตัวเองให้พวกเขาเสียเลยคงจะดีกว่าการรอให้ลูกเป็นโรคแล้วมานั่งรักษากันภายหลัง คิดเหมือนกันไหมคะ…

เรียนฟรี 15 ปี เด็กไทยได้อะไรบ้าง

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-โรงเรียน-เรียนฟรี-เรียนฟรี15ปี

เรียนฟรี 15 ปี เด็กไทยได้อะไรบ้าง

เคยได้ยินมาตลอดเกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี 15 ปี แต่คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่าในปีแต่ละปีนั้นรัฐจ่ายอะไรให้กับการศึกษาของลูกเราบ้าง และแต่ละปี เด็กจะได้รับการสนับสนุนเท่าไหร่ เรามาดูกันค่ะ 

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ซึ่งแต่ละปีการศึกษาจะมีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนใน 5 หมวด ได้แก่


ค่าเล่าเรียนแบ่งเป็น
 

 
 

ก. การศึกษาในระบบที่เด็กนักเรียนจะได้รับการสนับสนุนต่อหัวอยู่ที่
 

  • อนุบาลคนละ 1,700 บาทต่อปี
  • ประถมศึกษา คนละ 1,900 บาทต่อปี
  • มัธยมต้น คนละ 3,500 บาทต่อปี
  • มัธยม ปลาย คนละ 3,800 บาทต่อปี
  • ปวช.(ช่างอุตสาหกรรม) คนละ 6,500 บาทต่อปี,
    (พาณิชยกรรม) คนละ 4,900 บาทต่อปี,
    (คหกรรม) คนละ 5,500 บาทต่อปี
    (ศิลปกรรม) คนละ 6,200 บาทต่อปี
    (เกษตรกรรมทั่วไป) คนละ 5,500 บาทต่อปี
    (เกษตรกรรมปฏิรูป) คนละ 11,900 บาทต่อปี
  • ปวช.คนละ 4,240 บาทต่อปี

หมายเหตุ :
 

  1. มีการเพิ่มการอุดหนุนแก่นักเรียนอนุบาล 3 ขวบในโรงเรียนเอกชน
  2. ปรับเพิ่มอัตราอุดหนุนให้โรงเรียนดอกชนอีกร้อยละ 10

 

หนังสือเรียน



กระทรวงศึกษาธิการฯ จะจัดสรรงบประมาณค่าหนังสือเรียนให้สถานศึกษาเป็นผู้บริหารจัดการเอง แต่ต้องกำหนดวิธีการให้ถูกต้องตามระเบียบของราชการ และให้มีการทำระบบหนังสือยืมเรียนเพื่อส่งต่อให้นักเรียนรุ่นต่อรุ่น หากหนังสือขาดหรือหายก็ต้องมีคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาคัดเลือกหนังสือใหม่เพิ่มเข้ามา สำหรับเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่าหนังสือเรียนตามรายหัว ต่อปี โดย
 

  •  
     
    อนุบาล คนละ 200 บาท
  • ประถมศึกษาปีที่ 1 คนละ 656 บาท
  • ประถมศึกษาปีที่ 2 คนละ 650 บาท
  • ประถมศึกษาปีที่ 3 คนละ 653 บาท
  • ประถมศึกษาปีที่ 4 คนละ 707 บาท
  • ประถมศึกษาปีที่ 5 คนละ 846 บาท
  • ประถมศึกษาปีที่ 6 คนละ 859 บาท
  • มัธยมศึกษาปีที่ 1 คนละ 808 บาท
  • มัธยมศึกษาปีที่ 2 คนละ 921 บาท
  • มัธยมศึกษาปีที่ 3 คนละ 996 บาท
  • มัธยมศึกษาปีที่ 4 คนละ 1,384 บาท
  • มัธยมศึกษาปีที่ 5 คนละ 1,326 บาท
  • มัธยมศึกษาปีที่ 6 คนละ 1,164 บาท
  • ปวช.คนละ 2,000.00 บาท

 

อุปกรณ์การเรียน



ในส่วนนี้พ่อแม่สามารถนำใบเสร็จจากการซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ของลูกมาเป็นหลักฐานในการเบิกเงินสดได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วหลายๆ โรงเรียนจะจัดสรรให้นักเรียนตามงบประมาณที่ได้แล้ว ได้แก่ แบบฝึกหัด สมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ เครื่องมือเรขาคณิต วัสดุฝึกด้านคอมพิวเตอร์ (เช่น แผ่นซีดี) กระดาษ A4 สีเทียน ดินน้ำมัน เป็นต้น

สำหรับเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่าอุปกรณ์การเรียนตามรายหัว มีดังนี้
 

  • อนุบาล คนละ 200 บาทต่อปี
  • ประถมศึกษา คนละ 390 บาทต่อปี
  • มัธยมต้น คนละ 420 บาทต่อปี
  • มัธยมปลาย คนละ 460 บาทต่อปี
  •  
     
    ปวช.คนละ 460 บาทต่อปี

 

เครื่องแบบชุดนักเรียน



กระทรวงศึกษาธิการจัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษาดำเนินการจัดทำบัญชีจ่ายเงินสดให้แก่ผู้ปกครองนักเรียนตามเกณฑ์ค่าใช้จ่ายรายหัว โดยผู้ปกครองและนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดซื้อเครื่องแบบนักเรียนด้วยตนเอง และให้นำใบเสร็จรับเงินที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าเงินสดนั้น มาเป็นหลักฐานแสดงกับสถานศึกษา โดยมีการตรวจสอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและภาคี 4 ฝ่ายอีกชั้นหนึ่ง

สำหรับเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่าเครื่องแบบนักเรียนตามรายหัว ดังนี้
 

  • อนุบาล คนละ 300 บาต่อปี
  • ประถมศึกษา คนละ 360 บาทต่อปี
  • มัธยมต้น คนละ 450 บาทต่อปี
  • มัธยมปลาย คนละ 500 บาทต่อปี
  • ปวช.คนละ 900 บาทต่อปี

ทั้งนี้ เครื่องแบบนักเรียนจำกัดให้เด็ก คนละ 2 ชุดต่อปี ตามราคามาตรฐาน หากพ่อแม่ซื้อเครื่องแบบนักเรียนที่มีราคาสูงกว่าก็ต้องจ่ายส่วนต่างนั้นไป

ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษา สำหรับบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้เองตามวัตถุประสงค์ใน 4 กิจกรรม ได้แก่
 

  1.  
     
    กิจกรรมวิชาการ โดยจัดอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อคนต่อปี
  2. กิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม เช่น ค่ายลูกเสือ ยุวกาชาด เนตรนารี โดยจัดอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อคนต่อปี
  3. ทัศนศึกษานอกสถานที่ โดยจัดอย่างน้อย 1 ครั้งต่อคนต่อปี
  4. บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคอมพิวเตอร์ โดยจัดอย่างน้อย 40 ชั่วโมง ต่อคนต่อปี


ส่วนเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีดังนี้

  • อนุบาล คนละ 215 บาทต่อภาคเรียน
  • ประถมศึกษา คนละ 240 บาทต่อภาคเรียน
  • มัธยมต้น คนละ 440 บาทต่อภาคเรียน
  • มัธยมปลาย คนละ 475 บาทต่อภาคเรียน
  • ปวช.คนละ 475 บาทต่อภาคเรียน

 


สำหรับโรงเรียนเอกชน เด็กๆ นักเรียนโรงเรียนเอกชนก็ได้รับการสับสนุนเช่นเดียวกับเด็กโรงเรียนของรัฐค่ะ แต่คุณพ่อคุณแม่อาจต้องจ่ายส่วนต่างเพิ่มมากกว่าโรงเรียนรัฐบาลสักหน่อยค่ะ   



4686 2




ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 




 

เรียนรู้และส่งเสริม 5 ทักษะของลูก ด้วย 5 กิจกรรมที่ทำได้ในบ้าน

กิจกรรม-กิจกรรมครอบครัว-ของเล่นเสริมพัฒนาการ

เด็กแต่ละคนมีความชื่นชอบ และมีทักษะอันโดดเด่นแตกต่างกัน หากคุณพ่อคุณแม่เห็นแววความสามารถนั้นและส่งเสริมได้อย่างถูกต้อง ลูกเราจะใช้ทักษะเฉพาะตัวได้อย่างเต็มที่และเสริมสร้างอนาคตของเค้าได้เป็นอย่างดีเลยนะคะ

พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก รพ.เวชธานี กรุงเทพฯ กล่าวว่า เด็กไทยยุคใหม่ควรมีโอกาสได้รับการส่งเสริมทักษะสำคัญ 5 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ทักษะด้านตัวเลขและIT ทักษะทางด้านภาษา ทักษะด้านพละกำลัง ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะด้านการอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่น หากได้รับการฝึกฝน พัฒนา และส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่ในด้านที่ลูกชื่นชอบ ทักษะเหล่านี้อาจพัฒนาเป็นความสามารถพิเศษที่โดดเด่นประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างมากในอนาคต และเด็กทุกคนควรสามารถใช้ทั้ง 5 ทักษะร่วมกันได้อย่างลงตัว

คุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากได้กิจกรรมง่ายๆ ที่ช่วยส่งเสริมการใช้ทั้ง 5 ทักษะได้อย่างลงตัว เรามีกิจกรรมมาแนะนำค่ะ

 

กิจกรรมที่ 1: พับผ้า และจัดเป็นหมวดหมู่ให้ถูกต้อง ส่งเสริมทักษะด้านตัวเลขและIT และ ทักษะด้านพละกำลัง

คุณแม่ควรให้ลูกพับเก็บเสื้อผ้า แขวนเสื้อผ้า จัดลิ้นชักเสื้อผ้า หรือของใช้ตัวเองได้อย่างเป็นหมวดหมู่ โดยอาจแยกตามความต่างของสีเสื้อผ้า ความยาวของเสื้อผ้า และประเภทของเสื้อผ้าได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงการใช้มือและแขนได้อย่างคล่องแคล่วในการพับผ้า ใช้กำลังในการเอื้อมแขวนผ้าในตู้ นอกจากนี้ลูกยังได้ฝึกฝนเรื่องระเบียบวินัยและความรับผิดชอบด้วยค่ะ

 

กิจกรรมที่ 2: ตัวต่อสารพัดนึก ส่งเสริมทักษะด้านตัวเลขและIT ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะด้านการอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่น

การเล่นตัวต่อสามารถเล่นได้ตั้งแต่ลูกเล็กอายุ 2 ปีจนไปถึงลูกโตค่ะ ลูกจะใช้เรียนรู้เรื่องรูปทรง เหลี่ยมมุมของตัวต่อแต่ละชิ้นใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการคิดรูปร่างที่ตัวเองกำลังพยายามต่อออกมาโดยไม่มีถูกผิด คุณพ่อคุณแม่อาจให้โจทย์ในการเล่นตัวต่อในแต่ละครั้ง เช่น ต่อเป็นสัตว์ในจินตนาการ ต่อเป็นบ้านที่หนูอยากมี ฯลฯ ยิ่งถ้าได้เล่นกับเพื่อนทำให้การเล่นสนุกขึ้น และช่วยกันสร้างตัวต่อรูปทรงแปลกตาขึ้น

 

กิจกรรมที่ 3: สมุดภาพปะติด ส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะด้านการอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่น

ในแต่ละสัปดาห์ ให้ลูกได้ลองหาและตัดรูปที่ชอบจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือแผ่นพับต่างๆ มาปะติดในสมุดศิลปะ โดยให้เขาได้ใช้จินตนาการในการสร้างเรื่องราวต่างๆ จากภาพที่มี รวมถึงให้ลูกเขียนเรื่องราว ประโยคสั้นๆ เพื่อบรรยายภาพ คล้ายกับการสร้างหนังสือนิทานด้วยตัวเอง หากคุณแม่กระตุ้นให้ลูกเล่าเกี่ยวกับภาพหรือนิทานนั้นได้ จะยิ่งทำให้ลูกกล้าแสดงออก สื่อสารเก่ง และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อนได้อย่างไม่เขินอายค่ะ

 

กิจกรรมที่ 4: งานบ้านเล็กน้อยก็ต้องช่วยกัน ส่งเสริมทักษะด้านตัวเลขและIT ทักษะด้านพละกำลัง และทักษะด้านการอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่น

คุณพ่อคุณแม่ควรมอบหมายงานบ้านบางอย่างให้ลูกอย่างจริงจัง เช่น ถ้าลูกยังเล็กให้ช่วยเหลือตัวเองง่ายๆ ถอดเสื้อผ้าเองและไปใส่ในตะกร้า เก็บของเล่นเอง เมื่อโตขึ้นฝึกให้ลูกช่วยงานบ้านส่วนรวม ลูกมีหน้าที่กรอกน้ำใส่ขวด กวาดห้องนอนตัวเอง รดน้ำต้นไม้หน้าบ้าน ซักถุงเท้าตัวเอง ฯลฯ งานบ้านเหล่านี้จะส่งเสริมให้ลูกได้ใช้ทักษะด้านพละกำลังในการออกแรงทำงานบ้านละอย่าง ใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นตอนว่าควรจะทำทำอะไรก่อนหลัง และเป็นการทำงานร่วมกันกับพ่อแม่แบบทีมเวิร์คที่จะช่วยแบ่งเบาภาระซึ่งกัน นอกจากนี้ การให้ลูกช่วยทำงานบ้านยังฝึกความรับผิดและรู้หน้าที่ของตัวเองที่จะเป็นพื้นฐานนิสัยสำคัญในการทำงานในอนาคตด้วยค่ะ

 

กิจกรรมที่ 5: เกมล่าสมบัติ ส่งเสริมทักษะการด้านตัวเลขและIT ทักษะทางด้านภาษา ทักษะด้านพละกำลัง ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะด้านการอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่น

กิจกรรมนี้คุณแม่จะเป็นคนซ่อนสมบัติและวาดแผนที่ง่ายๆ นำทาง แล้วให้ลูกกับคุณพ่อออกหาสมบัติโดยมีคำใบ้ต่างๆ เช่น เดินกี่ก้าวแล้วจะเจอ บวกลบคูณหารเลขเพื่อบอกพิกัดของที่ซ่อน หรือวาดรูปเป็นสัญลักษณ์แทนว่าสมบัติซ่อนอยู่ที่ไหน ซึ่งกิจกรรมนี้ลูกจะใช้ทักษะทั้ง 5 ครบถ้วน คือ การนับหรือคำนวนเพื่อไปถึงจุดซ่อนสมบัติ การพูดคุยสื่อสารกับคุณพ่อเพื่อปรึกษากัน การเดินออกตามหาสมบัติ การใช้จินตนาการตีความจากรูปในแผนที่ที่คุณแม่ให้ไว้ และการได้ร่วมมือกันหาสมบัติกันกับคุณพ่อนั่นเอง

 

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทั้ง 5 ของลูกยังมีอีกมายมากที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างสรรค์ขึ้นได้เองโดยไม่จำกัดรูปแบบค่ะ แต่ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมจะเล็กหรือใหญ่ เราเชื่อว่าทุกกิจกรรมจะมีทักษะทั้ง 5 นี้ผสมผสานกันอยู่แล้วไม่มากก็น้อยค่ะ อย่าลืมจุดประสงค์ของกิจกรรมในการปล่อยให้ลูกเรียนรู้ นอกจากการได้สร้างสัมพันธภาพที่ดีของคนในครอบครัว ยังเป็นการช่วยให้ลูก ค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบ และพัฒนาทักษะต่างๆ ไปได้เต็มศักยภาพนะคะ

 

 

ติดตามข้อมูลสนับสนุนการเรียนรู้ของลูกได้ที่ : https://www.facebook.com/OvaltineThailand

(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)

เรียนรู้ได้...แม้โดนเพื่อนแกล้ง

4907

สาเหตุหนึ่งของอาการงอแงไม่อยากไปโรงเรียนคือ มาจากการโดนเพื่อนรังแก คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้เรื่องนี้สอนลูก และเป็นผู้ช่วยในการให้ลูกก้าวผ่านสถานการณ์เหล่านี้ไปได้ ถือเป็นอีกหนึ่งบทเรียนในการสอนให้ลูกมีทักษะที่พร้อมจะเติบโตได้ในอนาคตค่ะ

รับฟัง

คุณพ่อคุณแม่รับฟังปัญหาลูกก่อนค่ะ ลูกอาจจะเสียใจ กลัว หรือเจ็บ ควรปลอบ ให้กำลังใจลูกก่อน ขั้นนี้อย่าเพิ่งตัดสินใจและอย่าเพิ่งให้ความเห็นหรือหาทางออก แค่รับฟัง ปลอบโยน สร้างขวัญกำลังใจให้กลับมาก่อน

สอนให้เข้าใจ

สอนลูกรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สอนให้ลูกเข้าใจเพื่อน เห็นอกเห็นใจ และให้อภัยเพื่อน ขั้นนี้อาจจะยาก เพราะเพิ่งโดนเพื่อนแกล้งมา แต่ด้วยท่าทีของแม่ที่มั่นคง ไม่เลือกฝ่ายเพื่อนหรือตำหนิใคร และทำให้ลูกเห็นว่าแม่อยู่เคียงข้างพร้อมที่จะช่วยเหลือทุกสถานการณ์

สิ่งที่ต้องระมัดระวังคืออย่าสอนให้ลูกโต้ตอบด้วยความรุนแรงหรือทำไปเพราะความโกรธ แต่ก็ไม่ได้สอนให้ยอมเพราะความกลัว และหากจะโดนทำร้ายให้เดินออกมาก่อน จากนั้นเข้าไปพาครู เพื่อช่วยลดความรุนแรงของสถานการณ์และทำให้เด็กคลายความกลัวและกังวลก่อน

ให้ลูกหาทางออก

ฝึกให้ลูกแก้ปัญหาด้วยตัวเองโดยให้ลูกออกความคิดเห็น โดยคุณแม่ทำหน้าที่เป็นเพื่อนคู่คิด ช่วยบอกข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธีว่าจะเกิดผลอย่างไร จากนั้นให้ลูกเลือกวิธีการด้วยตัวเอง ให้โอกาสลูกได้ทดลองทำตามและติดตามผล โดยระหว่างทางคุณแม่ต้องหมั่นคอยสังเกตอาการลูกว่าเป็นอย่างไรบ้าง หากลูกทำได้สำเร็จอย่าลืมชมเชยให้กำลังใจด้วยนะคะ

จัดการหลังบ้าน

แจ้งครูและปรึกษาร่วมกัน โดยขอความร่วมมือจากครูให้ดูแลอยู่ห่างๆ โดยได้ลูกได้ทดลองใช้วิธีการของตัวเองไปก่อน แต่หากมีความรุนแรง ต้องให้ครูแก้ไขสถานการณ์จัดการความรุนแรงลง

ทั้งนี้ทั้งนั้นหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่ต้องปรึกษาครู และครอบครัวของเด็กอีกคน เพื่อร่วมกันหาทางออก รีบแก้ไขเพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดผลกระทบด้านลบกับพัฒนาการของเด็กค่ะ

ลูกได้เรียนรู้อะไรบ้าง

  • เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ซึ่งใช้เหตุการณ์นี้เป็นพื้นที่ทดลองถูกและผิดโดยยังมีพ่อแม่อยู่เคียงข้าง
  • รู้ว่ามีหลายวิธีในการแก้ปัญหา ไม่ใช่แค่ความรุนแรงหรือหนีปัญหา
  • สร้างทักษะการใช้ชีวิตในอนาคต เพราะในอนาคตลูกจะต้องเจอกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว วันหนึ่งลูกจะสามารถเผชิญและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
  • เรียนรู้การปรับตัวและสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก เพราะในอนาคตต้องเจอกับสถานการณ์ที่หลากหลายเกินคาดเดา

ที่มา : ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย

เล่นจ๊ะเอ๋กับลูก สร้าง EF ได้ทุกที่ทุกเวลา

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

ดูเหมือนเป็นกิจกรรมธรรมดา แต่รู้มั้ยคะว่า การเล่นจ๊ะเอ๋มีความสําคัญกับการสร้าง EF อย่างมาก เพราะการรับรู้ของเด็กวัยทารก แค่พ่อแม่ปิดหน้าลูกจะเข้าใจทันทีว่าพ่อแม่หายไปแล้ว พอเปิดหน้ามาเขาจะสงสัยว่าพ่อแม่มาได้อย่างไร ตรงนี้เป็นพื้นฐานเป็นบันไดขั้นแรก ในการเรียนรู้ สมองจะทํางานประสานกันหมด

 
สมมติคุณแม่เอาผ้าบังหน้าไว้ เขาก็จะเรียนรู้ที่จะเอาผ้าออกก็ จะเจอหน้าแม่ สิ่งเหล่านี้ช่วยฝึกทักษะการแก้ปัญหา... เรียนรู้ที่จะบังคับร่างกายให้สามารถหยิบจับสิ่งต่างๆ กล้ามเนื้อมือและสมองทํางานประสานกัน การเล่นง่ายๆ อย่างจ๊ะเอ๋หรือเอาของไปซ่อนใต้ผ้า ช่วยปลูกฝังให้ลูกเราได้รู้จักคิด แก้ปัญหา และมี EFที่ดี
 
กระบวนการสร้างEF จำเป็นต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่เด็กยังเล็กซึ่งในช่วงแรกบทบาทของพ่อแม่สำคัญที่สุดที่จะดูแลให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ไว้วางใจ และมั่นคงทางจิตใจ รวมถึงได้รับโภชนาการที่ดี ได้นอนอย่างเพียงพอและได้เล่นสนุกตามวัย เมื่อลูกโตขึ้นจากวัยเบบี้เป็นวัยเตาะแตะหรือวัยอนุบาล
 
อีก 2 กุญแจสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกทำได้ที่บ้าน คือการช่วยเหลือตัวเอง และการช่วยทำงานบ้าน เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้เจอกับ ประสบการณ์หลากหลาย ที่ท้าทายมากขึ้น ให้ลูก ได้ลองผิดลองถูก ช่วยให้ลูกได้พัฒนาทักษะ EF เมื่อ ลูกได้ฝึกฝนประสบการณ์อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ก็จะเกิดเป็นทักษะ EF ที่แข็งแรงติดตัวลูกไปจนโต
 

เล่นแล้วเก็บ! ฝึกลูกมีวินัยด้วยเทคนิค 3 ข้อ

4344 1  

อยากให้ลูกเก็บของเล่นให้เป็นระเบียบไม่ยาก ลองนำเทคนิค 3 ข้อนี้ไปปรับใช้กันดูค่ะ  

 

เล่นแล้วเก็บ! ฝึกลูกมีวินัยด้วยเทคนิค 3 ข้อ

เด็กกับของเล่นเป็นของคู่กัน ธรรมชาติของเด็กมักให้ความสนใจกับของเล่นที่เขาชอบ ซึ่งเมื่อลูกเจอของเล่นอื่นที่น่าสนใจกว่า ลูกจะไปสนใจของเล่นชิ้นใหม่และวางชิ้นเก่าโดยไม่เก็บให้เข้าที่จนทำให้ คุณแม่หงุดหงิดใจทุกครั้ง คงดีไม่น้อยหากลูกเก็บของเล่นได้เองจนเป็นนิสัย วันนี้เรามีทิปส์ง่ายๆ ที่คุณแม่สามารถสอนให้ลูกเป็นเด็กมีวินัยการเก็บของเล่นชิ้นโปรดทุกครั้งหลังเลิกเล่นของเล่นมาฝาก

 

ข้อที่ 1 สอนลูกเล่นแล้วเก็บ : ชี้แนะด้วยวิธีการพูดให้ลูกเล่นแล้วเก็บ

ลูกจะไม่เชื่อฟังหากคุณแม่ออกคำสั่งโดยการดุเสียงดัง ซึ่งจะยิ่งสร้างความก้าวร้าวกับตัวลูกเอง คุณแม่ควรค่อยๆ แทรกตัวไปคุยกับลูกหรือมีส่วนร่วมในการเล่นของเล่นสักพักและระหว่างลูกกำลังเล่น แล้วชี้แนะด้วยวิธีพูดคุยแบบประนีประนอม พูดถึงเหตุผลประโยชน์ของการเล่นแล้วเก็บ เช่น ยื่นขอเสนอว่าจะมีรางวัลตอบแทน เป็นการเล่านิทาน พาลูกไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะ ฯลฯ

 

ข้อที่ 2 สอนลูกเล่นแล้วเก็บ : ชื่นชมเมื่อลูกเก็บของเล่นเป็นที่

คุณแม่ควรพูดชื่นชมในการทำดี ไม่ว่าลูกจะทำอะไรก็ตาม หรือตบมือชื่นชมยินดีเพื่อสร้างกำลังใจเมื่อลูกเล่นของเล่นแล้วเก็บเป็นที่ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยสร้างระเบียบวินัยให้ลูกในการเก็บของเล่นให้เรียบร้อย

 

ข้อที่ 3 สอนลูกเล่นแล้วเก็บ : เกมสนุกสอนลูกเก็บของเล่น

การบังคับลูกให้เก็บของเล่นยิ่งจะทำให้เด็กดื้อรั้นไม่ทำตาม คุณแม่ลองพลิกสถานการณ์ให้สร้างความตื่นเต้นกับลูกดีกว่า โดยคุณแม่ควรจัดเป็นเกมแข่งขันระหว่างลูกกับคุณแม่หรือคนในครอบครัว เช่น เล่นจับเวลาและแข่งกันว่าใครเก็บของเสร็จก่อน เพื่อให้ลูกได้มีความกระตือรือร้นและสนุกในการเก็บของเล่น แต่คุณแม่ไม่ควรคาดหวังกับลูกจนกินไป คุณแม่ควรช่วยลูกเก็บของเล่นที่หนักเกินกำลังลูก เช่น เก็บหนังสือกลับไปไว้บนชั้น และปล่อยให้ลูกทำอะไรง่ายๆ เช่น เก็บตัวต่อลงกล่อง เก็บตุ๊กตา ฯลฯ

 

คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกวินัยให้ลูกตั้งแต่ยังเด็กเพื่อปลูกฝังความมีระเบียบวินัยไปใช้ในอนาคต โดยเริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆ เพียงแค่นี้คุณพ่อคุณแม่ก็จะสามารถปลูกฝังความมีระเบียบวินัยให้กับลูกได้แล้ว

เลิกเถอะ! 5 ประโยคไม่ควรพูด เมื่อพาลูกไปหาหมอฟัน

 พาลูกไปหาหมอฟัน-ประโยคที่ไม่ควรพูดกับลูกเมื่อต้องพาไปหาหมอฟัน-ลูกกลัวหมอฟัน-หมอฟันเด็กใจดี-ทำไมลูกกลัวหมอฟัน-วิธีทำให้ลูกไม่กลัวหมอฟัน-ลูกร้องไห้ตอนไปหาหมอฟัน

5 ประโยค ที่ไม่ควรพูดกับลูก เมื่อพาลูกมาหาหมอฟัน

เมื่อลูกต้องไปหาหมอฟัน คุณพ่อคุณแม่หลายท่านก็อดเป็นห่วงว่าลูกจะเจ็บ จะกลัว ไม่กล้าพบหมอ โดยใช้คำพูดที่ทำให้เด็กสบายใจ ไม่ดีเลยค่ะ จากใจคุณหมอขอร้องคุณพ่อคุณแม่กับ 5 ประโยคที่ไม่ควรพูดกับลูก เมื่อต้องพามาหาหมอ พูดไม่ได้แล้วต้องพูดแบบไหนละ คุณหมอตุ๊กตา เพจฟันน้ำนม มีคำแนะนำมาให้แล้วค่ะ

1.หยุดร้องเลย ถ้าไม่หยุดจะให้หมอถอนฟัน

นี่คือการขู่แบบไร้ตรรกะ ไม่มีเหตุผล ไม่เป็นความจริง ไม่มีหมอฟันคนไหนจับเด็กร้องไห้ไปถอนฟันเล่นหรอกค่ะ เด็กร้องไห้เป็นเรื่องปกติ หมอฟันรับได้ ไม่มีปัญหา ไม่ต้องเกรงใจ ไม่ต้องกังวลค่ะ

พูดแบบนี้ดีกว่า : ทำฟันนิดนึงนะ หมอจะช่วยให้หนูมีฟันแข็งแรง หมอจะช่วยให้หนูหายปวดฟัน

 

2. ไหน ๆ ใครแกล้ง

ไม่มีใครแกล้ง มีแต่คนจะช่วยให้เด็กมีฟันที่ดี ช่วยให้เด็กหายปวดฟัน อย่าสร้างภาพให้หมอฟันเป็นนางมารร้ายเลยนะคะ

พูดแบบนี้ดีกว่า : คุณหมอจะช่วยให้หนูมีฟันที่ดีและแข็งแรงนะ

 

3.วันนี้ไม่ทำอะไร ดูอย่างเดียว (แต่จริง ๆ ต้องถอนฟัน)

อย่าโกหก อย่าทำให้ลูกไม่ไว้วางใจ เพราะสุดท้ายหลังจากถอนฟันเสร็จ แม่คิดว่าเค้าจะรู้สึกอย่างไร ไหนบอกว่าจะดูอย่างเดียว แล้วต่อไปเค้าจะเชื่ออะไรแม่ได้มั๊ย

พูดแบบนี้ดีกว่า : วันนี้ต้องหยิบฟันออกนะ หมอจะช่วยให้หนูหายปวดฟันนะ

 

4. ไม่ต้องกลัว ถ้าเจ็บเดี๋ยวแม่ตีหมอ

อย่าสอนให้ลูกแก้ปัญหาด้วยการทำร้ายคนอื่น หมอฟันจะช่วยให้รักษาฟันให้ ไม่สอนให้ลูกตีหมอนะคะ

พูดแบบนี้ดีกว่า : เจ็บแป๊บเดียว เดี๋ยวก็หาย หมอฟันจะช่วยให้หนูไม่ปวดฟันอีกนะ

 

5. โอ๋ ๆ แม่จะไม่พามาอีกแล้ว

อย่าสร้างภาพให้หมอฟันน่ากลัว อย่าโยนความผิดให้หมอฟันที่ทำลูกเจ็บ ย้อนกลับไปถึงสาเหตุนะคะ ที่ลูกฟันผุเพราะใคร เพราะอะไร เมื่อถึงวันนี้ที่ลูกฟันผุลุกลามจนต้องถอนฟัน ได้โปรดอย่ากล่าวโทษว่าเป็นความผิดของหมอฟันเลยค่ะ

พูดแบบนี้ดีกว่า : เดี๋ยวทำฟันเสร็จหมด หนูจะมีฟันที่สวยแข็งแรงแล้วนะ

หลายครั้งที่พ่อแม่พูดออกมาแบบไม่คิดอะไร แค่อยากปลอบให้ลูกหยุดร้องไห้ แต่คำพูดที่พูดออกมามันส่งผลเสียมากมายกับเด็ก และบั่นทอนจิตใจหมอฟันจริง ๆ ปรับประโยคการพูดอีกนิด ปรับวิธีการโอ๋ลูกอีกหน่อย เพื่อปรับทัศนคติเรื่องการทำฟันของเด็ก ๆ นะคะ จากใจหมอฟันหลายคนที่หลายครั้งก็อ่อนล้าเหลือเกินค่ะ

 

รักลูก Community of The Experts

ทพญ. ปวีณา คุณนาเมือง
ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก
เจ้าของเพจ "ฟันน้ำนม"

 

เลี้ยงผิดชีวิตลูกเปลี่ยน! 4 ปัญหาที่ลูกเจอแน่ ถ้าคนหนึ่งเข้มงวด คนหนึ่งสปอยล์

การเลี้ยงลูก, เลี้ยงลูกคนละทาง, พ่อดุ แม่ใจดี, พ่อดุ แม่ใจดี ลูกมีปัญหา, ปัญหาการเลี้ยงลูก, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกรักพ่อมากกว่า, ลูกรักแม่มากกว่า, ลูกไม่ฟัง

กำลังเข้มงวดสอนลูก อยู่ ๆ มีคนในบ้านพูดว่า "ไม่เป็นไรลูก ไม่ต้องทำก็ได้" รู้ไหมว่าถ้ายังไม่ปรับวิธีเลี้ยงลูกให้ถูกทาง ลูกเจอปัญหาแน่นอน

เลี้ยงผิดชีวิตลูกเปลี่ยน! 4 ปัญหาที่ลูกเป็นแน่ ถ้าคนหนึ่งข้มงวด คนหนึ่งสปอยล์

เชื่อว่าหลายบ้านกำลังเจอเรื่องนี้ค่ะ

  • แม่เข้มงวดมาก พอพ่อเห็นก็บอกว่า ไม่เป็นไร ไม่ต้องทำได้
  • พ่อกำลังสอนอยู่ดี ๆ แม่เข้ามากอด มาสปอยล์ลูก ทำให้ลูกไม่ได้ฟังที่พ่อสอนซะดื้อ ๆ 
  • พ่อแม่อยากให้ลูกรู้จักดูแลตัวเอง คนหนึ่งเข้มงวดมีตารางเวลาชัดเจน อีกคนสอนแบบทำไปด้วยกัน ลูกกำลังทำได้ดีอยู่แล้วเชียว ไปค้างบ้านคุณย่าไม่กี่วัน คุณย่าตามใจหนักมากว่าไม่ต้องทำก็ได้เพราะกลัวหลานไม่รัก

เอาล่ะสิคะ การเลี้ยงลูกแบบที่เป้าหมายเดียวกัน แต่วิธีการเข้าหาและสอนลูกต่างกันมันอาจทำให้ลูกสับสนได้นะว่า ตกลงต้องทำหรือไม่ต้องทำกันแน่ และถ้าทุกคนในบ้านยังไม่จับเข่าคุยกันเพื่อหาแนวทางการเลี้ยงลูกที่ Balance ทุกด้าน ลูกอาจเจอ 4 ปัญหานี้

1. ทำให้ลูกสับสน

หากครอบครัวไหนคุณแม่เป็นคนเข้มงวด ไม่ตามใจ ส่วนคุณพ่อตามใจลูกทุกอย่าง ลูกจะเกิดความสับสนว่าควรทำตัวอย่างไร ต้องอดทนหรือควรงอแงเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการมาค่ะ

วิธีแก้ไข: พ่อแม่ควรพูดคุยและตกลงกันให้เป็นเสียงเดียวก่อนว่าจะฝึกสอนลูกแบบไหน หากยังคิดเห็นไม่ตรงกันให้บอกกับลูกว่า “พ่อแม่ขอปรึกษากันก่อน แล้วจะให้คำตอบทีหลัง” ดีกว่ามาทะเลาะหรือเถียงกันต่อหน้าลูกนะคะ

 

2. ทำให้ลูกเลือกข้างคนที่ตามใจ

เมื่อเกิดปัญหาขึ้นลูกจะเลือกเข้าหาคนที่ตามใจ ทำให้ลูกเลือกที่จะไม่ฟังคนเข้มงวด ยิ่งสอนลูกยากค่ะ

วิธีแก้ไข: พ่อแม่ต้องใช้วิธีการคุยเพื่อขอให้อีกฝ่ายไม่เข้ามาแทรกแซงระหว่างที่สอนลูก ยกตัวอย่างเช่น “ในช่วงที่แม่สอนลูก แม่ขอให้พ่อไม่เข้ามาแทรกแซงต่อหน้าลูก ถ้าพ่อไม่ชอบใจตรงไหน ขอให้เก็บมาคุยกันตอนหลัง” แต่หลีกเลี่ยงการพูดในลักษณะออกคำสั่งนะคะ

 

3. ทำให้ลูกควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้

หากลูกร้องไห้แล้วคุณพ่อตามใจ แต่คุณแม่ไม่ให้ ไม่ตามใจ ความรู้สึกของลูกเดี๋ยวได้เดี๋ยวไม่ได้ ส่งผลกับอารมณ์โดยตรง พอไม่ได้ดั่งใจลูกก็จะหงุดหงิด และอารมณ์แปรปรวนง่าย

วิธีแก้ไข: เลือกเวลาสบายๆ ของคุณพ่อคุณแม่พูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการเลี้ยงลูกและตั้งเป้าหมายไปที่ ‘การแก้ปัญหา’ ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่ควรพูดว่า “วันนี้แม่อยากคุยเรื่องวิธีควบคุมการใช้หน้าจอของลูก” แทนการพูดตำหนิอีกฝ่ายว่า “พ่อให้ลูกดูการ์ตูนมากเกินไป ลูกจะสายตาเสีย และเรียกมากินข้าวยากมาก ๆ เพราะพ่อตามใจ”

 

4. ทำให้ลูกดื้อและต่อต้าน

ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูก ทำให้ลูกไม่เชื่อฟัง ดื้อ และต่อต้าน เพราะคุณพ่อคุณแม่สอนคนละแบบ

วิธีแก้ไข: คุณพ่อคุณแม่ควรหาบทสรุปการเลี้ยงลูก ก่อนที่ลูกจะไม่เชื่อฟังและต่อต้าน อาจใช้วิธีเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายเสนอแนวคิด และรับฟังด้วยท่าทางเปิดรับ

คุณพ่อคุณแม่ลองนำไปปรับใช้ดูนะคะ หาเวลาคุยกันทั้งสองฝ่ายว่าเราจะเลี้ยงลูกแบบไหนกันดี เพราะการเลี้ยงลูกคนละทางนอกจากจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกเปลี่ยนไป ยังส่งผลต่อลูกเราโดยตรง เปลี่ยนเพื่อลูก พ่อแม่ทำได้อยู่แล้วค่ะ

 

    เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนติดดิน

    4772 1

    อยากให้ลูกให้เป็นคนติดดิน กินง่าย นอนง่าย และไม่เห็นแก่ตัวเมื่อโตขึ้น ต้องสอนอย่างไรดี? ความคาดหวังของพ่อแม่ทุกคนก็ต้องอยากให้ลูกนั้นเติบโตมาเป็นคนดี แต่การที่ลูกจะเป็นคนดีนั้น ต้องมีพ่อแม่เป็นต้นแบบที่ดีก่อน และจะต้องเริ่มสอนกันตั้งแต่เด็ก ๆ เลยค่ะ

    1. สอนลูกให้ทำงานบ้าน

    ฝึกได้ตั้งแต่สามขวบเลยนะคะ ให้ลูกช่วยทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น กวาดบ้าน เช็ดโต๊ะ รดน้ำต้นไม้ พับเสื้อผ้า อย่าให้ลูกเรียนหนังสืออย่างเดียว หรืออยู่กับโลกโซเชี่ยลมากเกินไป คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ต้องสร้างนิสัยให้ลูกเป็นคนมีความรับผิดชอบด้วย

    2. สอนลูกให้พอเพียง

    เริ่มฝึกได้จากเรื่องใกล้ตัว เช่น เข้มงวดให้ลูกปิดไฟเมื่อไม่ใช้ไฟ ปิดก๊อกน้ำหลังใช้งาน ตักข้าวแค่พอทานและทานข้าวให้หมดจาน ไม่กินทิ้งกินขว้าง เป็นการสอนลูกให้เป็นคนรู้จักใช้สิ่งของ และทรัพยากรอย่างประหยัด

    4772 2

    3. สอนลูกให้ใช้เงินเป็น

    คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักการเก็บออม เริ่มจากอยากได้อะไรให้เก็บเงินซื้อเอง จะได้เห็นคุณค่าของเงิน และไม่ได้อะไรมาง่าย ๆ และพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีกับลูกในการใช้จ่าย ไม่ฟุ่มเฟือยเกินฐานะ

    4. สอนลูกให้รู้จักหน้าที่ตัวเอง

    สอนให้ลูกเห็นความสำคัญของการเรียน มีความรับผิดชอบ การศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญ เราจะเห็นได้ว่าคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ส่วนใหญ่มีเบื้องหลังมาจากการเป็นคนที่รักการเรียนรู้และมีการศึกษาที่ดี

    4772 3

    5. สอนลูกให้เป็นคนอ่อนน้อม

    ควรสอนลูกให้เป็นคนสุภาพเรียบร้อย ให้เกียรติผู้อื่น อ่อนโยน เพราะคนที่อ่อนน้อมถ่อมตนไปอยู่ในสังคมใด ก็มักจะเป็นที่รักใคร่เอ็นดู ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกให้เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนทั้งทางกายวาจาใจอยู่เสมอ

    6. สอนลูกให้เป็นคนไม่เห็นแก่ตัว

    คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกให้เป็นคนที่มีจิตใจเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการเสียสละ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้จักให้ และรับให้น้อย เช่น สอนให้ลูกดูแลสัตว์เลี้ยงและต้นไม้ สอนให้ลูกช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาส ปลูกฝังให้ลูกเป็นคนที่มีจิตอาสาในการช่วยเหลือ

    จริง ๆ เด็กทุกคนมีความติดดินเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ชอบเล่นอะไรง่าย ๆ กินขอที่พ่อแม่กิน และธรรมชาติของเด็กจะน่ารัก แต่ส่วนใหญ่ก็อยู่ที่พฤติกรรมของพ่อแม่ด้วย เพราะเด็ก ๆ จะซึมซับจากพ่อแม่เป็นหลัก ฉะนั้น อย่าลืมเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกนะคะ แล้วเขาจะเป็นเด็กติดดิน ว่านอนสอนง่ายแบบที่พ่อแม่คาดหวังเลยค่ะ

    เลี้ยงลูกอย่างไรให้โตไปไม่โกง แบบทำได้จริง รู้จักผิดชอบจริง

     

    โตไปไม่โกง จะไม่ใช่แค่คำพูดให้ดูเท่ ดูเก๋ ถ้าพ่อแม่สอนลูกด้วยวิธีที่ได้ผลจริง แค่เริ่มจากตัวเองค่ะ เพราะทุกวันนี้จิตสำนึกของคนเราหายไปเยอะมาก ไม่ว่าเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ ทั้ง โกงข้อสอบ โกงเงิน โกงการงาน เห็นข่าวก็บ่อยครั้ง ฉะนั้นมาเร่ิมที่สถาบันครอบครัวกันก่อนเลยค่ะ ว่าจะสอนเด็กๆ อย่างไรดี ให้โตไปไม่โกง

    5 วิธีสอนลูกให้โตไปไม่โกง

    1. ซื่อสัตย์สุจริตให้ลูกเห็น

    การยึดมั่นในความสัตย์จริง และสิ่งที่ถูต้องดีงาม รู้จักแยกแยะถูกผิด ปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นโดยชอบ ไม่คดโกง เช่น สอนให้เขาไม่หยิบของของคนอื่น ซื่อสัตย์ต่อการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพราะปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เราพบกันบ่อยคือ การไม่ซื่อสัตย์ต่อเวลางาน ไม่รับผิดชอบต่องาน ทำให้งานที่ออกมาไม่มีคุณภาพ   

    2. สอนให้ลูกรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง

    มีจิตสำนึกในบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง และปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เคารพกฎเกณฑ์กติกา พร้อมให้ตรวจสอบการกระทำได้เสมอ หากมีการทำผิดก็พร้อมที่จะยอมรับและแก้ไข ที่สำคัญคือรับผิดชอบต่อผลของการกระทำของตนเอง เช่น เมื่อทำความผิด เมื่อลูกยอมรับว่าหนูเป็นคนทำเอง พ่อแม่ต้องบอกว่าไม่เป็นไร แล้วก็ช่วยกันแก้ไข ซึ่งจะทำให้เขารับผิดชอบกับสิ่งที่เขาทำ    

    3. มีความเป็นธรรมทางสังคม

    การปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันอย่างมีเหตุผล โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อเพศ เชื้อชาติ ชนชั้น สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และการที่ไม่เอาเปรียบใคร เพราะคนที่ทุจริตคือคนที่เอาเปรียบคนอื่น คนไม่เคารพกฎเกณฑ์กติกา นึกถึงตัวเองเป็นหลัก ดังนั้น การจะสอนเด็กๆ ให้เข้าใจได้ด้วยเรื่องง่ายๆ เช่น เรื่องการเคารพกติกา ไฟแดง ไฟเขียว มีไว้เพื่ออะไร เพื่อที่จะผลัดกันใช้ คนที่ใช้รถก็ต้องเคารพคนที่เดินถนน คนที่เดินถนนก็ต้องให้ผู้ใช้รถไปด้วย เป็นการจัดการให้สังคมเป็นระบบระเบียบมากขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม

    หรือสอนเรื่องพื้นฐานง่ายๆ อย่างในโรงเรียน ทำไมห้องสมุดต้องเงียบ ก็เพราะว่าเพื่อนเราอ่านหนังสืออยู่ ทำไมห้ามกินขนม เพราะว่ามดหรือแมลงสาบจะไปทำลายหนังสือ เด็กๆ ก็จะไม่กินขนม เพราะกลัวว่าหนังสือของเขาจะเสียหาย หรือการเรียงแถวรับขนม เพื่อให้รู้จักความเป็นธรรม การมาก่อนมาหลัง ได้สิทธิ์ตามนั้น ก็จะเป็นการปลูกฝังความเป็นธรรมให้เด็กได้

    4. มีจิตสาธารณะ

    การมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ตระหนักรู้และนึกถึงสังคมส่วนรวม มีความรับผิดชอบในการกระทำของตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียหายต่อส่วนรวม และพร้อมที่จะเสียสละส่วนตนเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม การทำเพื่อส่วนรวม คือการอาสา ที่มีภาระส่วนตัวด้วย แต่ก็ต้องทำ เพราะว่าเราแคร์ส่วนรวม เช่น มีคนทำน้ำหก แม้เราจะไม่ได้ทำ แต่เด็กดีจะรับอาสามาช่วยเช็ดน้ำให้ อาจจะเซ็งบ้าง แต่ก็ทำ แม้การช่วยผู้อื่นมันคือภาระอย่างหนึ่งแต่ก็เป็นความเมตตากรุณาในสังคม เมื่อโตไป เวลามีเรื่อง หรือเห็นใครเดือนร้อนเขาก็จะเข้าไปช่วยทันที

    5. เป็นอยู่อย่างพอเพียง

    การดำเนินชีวิตโดยยึดหลักความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่ละโมบโลภมาก รู้จักยับยั้งชั่งใจ และไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้เราระลึกได้ว่า เงินไม่ใช่คำตอบทุกอย่าง มันคือการที่เรามีความสุข อยู่กับตัวเอง อยู่กับครอบครัวพอใจกับสิ่งที่มี สิ่งที่เป็น  

    เมื่อพ่อแม่สอนให้ลูกรู้จักความดี รู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น และปลูกฝังด้วยกระบวนการเหล่านี้แล้ว เด็ก ๆ จะซาบซึ้ง และซึมซับความดีงามได้อย่างง่าย ๆ เลยค่ะ

     

    เลี้ยงลูกให้แข็งแรง ด้วย 7 สารอาหารสำคัญในนมแม่

    4917

     

    เลี้ยงลูกให้แข็งแรง ด้วย 7 สารอาหารสำคัญในนมแม่

    การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งนมแม่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อลูกทารก และเปรียบเหมือนวัคซีนหยดแรกที่สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกด้วย

     

    สารอาหารสำคัญในนมแม่ ได้แก่

    โปรตีน
    • ปริมาณสัดส่วนพอเหมาะ ย่อยง่าย ไตทำงานน้อย

    • มีโปรตีนป้องกันเชื้อโรคและพัฒนาการสมอง

    • ไม่มีเบต้าแลกโตโกลบุลินที่ทำให้เกิดภูมิแพ้

    ไขมัน
    • อุดมด้วยโอมีก้า 3,6 คือ DHA และ AA

    • มีคอเลสเตอรอลสร้างเส้นใยประสาท

    • มีน้ำย่อยไขมันไลเปสช่วยในการย่อยและดูดชึมไปใช้ได้ดี

    คาร์โบไฮเดรต
    • มีน้ำตาลนม (แล็กโตส) สูง ช่วยเสริมพัฒนาการสมอง

    • มีโอลิโกแซคคาไรด์สูงมาก ช่วยส่งเสริมสุขภาพของลำไส้

    วิตามินและแร่ธาตุ
    • ดูดซึมได้ดีกว่า โดยเฉพาะธาตุเหล็ก (ดูดซึม 50 - 75%) สังกะสีและแคลเชียม

    • มีซิลีเนียมที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

    สารป้องกันเชื้อโรค
    • มีเม็ดเลือดขาวและภูมิคุ้มกันโรคจำนวนมาก

    สารช่วยการเจริญเติบโต
    • มีสารช่วยการเจริญเติบโตของสมองและอวัยวะต่าง ๆ

    น้ำย่อยและฮอร์โมน
    • มีน้ำย่อยมากมาย เช่น น้ำย่อยไขมันและแป้ง

    • มีฮอร์โมนนานาชนิด

    ประโยชน์ของนมแม่

    • นมแม่เป็นสุดยอดอาหารที่อุดมไปด้วย ไขมัน โปรตีน แคลอรี่

    • มีเอนไซม์ (Enzyme) ช่วยฆ่าเชื้อโรค

    • ลดภูมิแพ้ ลดการเกิดการแพ้โปรตีนนมวัว

    • มีสารอาหารที่ช่วยพัฒนาเซลล์สมอง

    นอกจากนมแม่จะมีประโยชน์ต่อลูก ยังมีประโยชน์กับแม่ด้วยนั่นคือ ป้องกันการตกเลือดหลังคลอด ลดการเกิดมะเร็งเต้านม รังไข่ มดลูก และสร้างความผูกพันระหว่างแม่กับลูกอย่างลึกซึ้ง

    ขอบคุณข้อมูลโดย :พญ.คัคณางค์ มิ่งมิตรพัฒนะกุล สูตินรีแพทย์ประจำศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพ

    ศูนย์สุขภาพสตรีกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร. 0 2310 3005, 0 2755 1005 หรือ โทร. 1719

    เลี่ยงได้เลี่ยง! 7 อาการของลูก ที่ถูกพ่อแม่สปอยล์มากเกินไป จนเสียคน

    1100 1

    เลี่ยงได้เลี่ยง! 7 อาการของลูก ที่ถูกพ่อแม่สปอยล์มากเกินไป จนเสียคน

    คุณพ่อคุณแม่กำลังสปอยล์ หรือเอาใจลูกจนเกินไปหรือเปล่า แต่หลายคนอาจจะคิดว่า ไม่ใช่หรอกมั้ง ไม่จริงนะ ไม่ได้ตามใจ คำตอบแบบนี้คงอยู่ในใจคุณพ่อคุณแม่หลายคนใช่ไหมคะ งั้นเรามาดูกันว่าลูกน้อยของคุณเริ่มมีอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่

    7 อาการของลูก ที่ถูกสปอยล์มากเกินไป

    1. อารมณ์ร้อนเกรี้ยวกราดบ่อยครั้ง

    หากหนูน้อยเริ่มมีอาการหงุดหงิดบ่อยๆ กรีดร้อง เกรี้ยวกราด ชักสีหน้าแสดงอาการให้รู้ว่าไม่พอใจ นับเป็นหนึ่งอาการที่เป็นสัญญาณเตือนแล้วว่า ลูกเริ่มถูกสปอยล์มากไปแล้วนะ

    2. เถียงคำไม่ตกฟาก

    คำนี้เราๆ คงได้ยินมาแต่โบราณรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย หากมีเด็กพูดเถียง ไม่ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองทำผิด หรือผู้ใหญ่พูดเตือนอะไรแล้วเถียงกลับทันที แบบนี้ที่เขาเรียกว่าเถียงคำไม่ตกฟาก เป็นการแสดงอาการของเด็กที่ไม่น่ารัก แต่ถ้าลูกน้อยไม่ได้ทำผิดแล้วพยายามอธิบาย นับว่าเป็นคนละสาเหตุกันนะคะ

    3. จอมบงการเสียจริง

    หากพ่อแม่ที่มัวแต่ตามใจลูกจนทำให้ทุกอย่าง หรือจ้างพี่เลี้ยงส่วนตัวดูแลทุกฝีก้าว จนลูกไม่สามารถทำอะไรได้เองเลยนั้น เมื่อถึงเวลาที่คุณอยากให้ลูกลองทำสิ่งใหม่ๆ ดูบ้าง ลูกจะไม่ยอมที่จะทำเผลอๆ จะสั่งกลับให้คุณทำให้แทนเสียด้วยซ้ำ

    4. ขายหน้าทุกทีที่ต้องออกไปข้างนอก

    เมื่อคุณสปอยล์ลูกมากเกินไป อาการเหล่านี้จะตามมาแน่นอน เช่น หากลูกกรีดร้องอยากได้สิ่งของที่ชอบ หรือขนมที่ถูกอกถูกใจ แต่เมื่อไม่ได้จะแสดงอาการร้องไห้ กรีดร้อง ลงไปดิ้นลงกับพื้น เพื่อเรียกร้องความสนใจทันที แล้วถ้าคุณยิ่งให้สิ่งของกับเขาเพื่อตัดปัญหา นั้นจะยิ่งทำให้ลูกเคยชินเข้าไปอีก อาการนี้เรียกว่าถูกสปอยล์มากไปแล้วค่ะ

    5. หวงของ ไม่รู้จักแบ่งปันคนอื่น

    เมื่อลูกน้อยได้รับมากๆ เราควรจะบอกให้เขารู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่นบ้าง เด็กสามารถรับรู้การแบ่งปันได้ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป เป็นช่วงวัยที่เขาเริ่มเข้าใจหลายสิ่งมากขึ้น เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่บ่งบอกถึงทักษะทางด้านอารมณ์และจิตใจ หากเขารู้จักแบ่งปัน อาการที่ถูกสปอยล์หรือการถูกเอาแต่ใจจะค่อยๆ ดีขึ้นค่ะ

    6. ต้องมีข้อแลกเปลี่ยนเสมอ

    เมื่อไหร่ที่ลูกไม่ยอมทำหน้าที่ของตนเอง เช่น เล่นของเล่นแล้วไม่ยอมเก็บ ปล่อยให้บ้านรก เมื่อคุณสั่งให้เก็บแต่ลูกยังดื้อรั้นไม่ยอมเก็บอีก และหากคุณใช้เงื่อนไขว่า “เก็บของเล่นแล้วแม่จะพาไปเที่ยว” การใช้เงื่อนไขแบบนี้บ่อยๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดนะคะ ควรสอนให้ลูกยอมรับว่านี่คือหน้าที่ของเขา มากกว่าใช้เงื่อนไขเพื่อแลกเปลี่ยน

    7. กระทืบเท้า ปิดประตูเสียดัง

    เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นแล้วแสดงถึงความไม่พอใจถึงขั้นกระทืบเท้า ร้องไห้เสียงดัง เดินหนีเข้าห้อง ปิดประตูเสียงดังใส่ อาการแบบนี้ต้องแก้ไขแล้วล่ะค่ะ การโกรธ โมโหไม่ใช้เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ แต่หากปล่อยให้ลูกมีอารมณ์โมโหอยู่บ่อยครั้ง ถึงขั้นทำสิ่งเหล่านี้กับผู้ใหญ่ในบ้านแล้ว ไม่มีการช่วยเหลือเขา จะส่งผลถึงตอนโตได้ แก้ไขตอนโตยากยิ่งกว่าแก้ตั้งแต่เด็ก ดั่งคำที่ว่า "ไม่อ่อนดัดง่าย ไม่แก่ดัดยาก"

    ความรักที่พ่อแม่ให้ไม่มีคำว่าสิ้นสุด แต่ถ้าให้จนสุดเกินลิมิต ทำให้ลูกต้องเสียนิสัยเกินไปจะไม่น่ารักนะคะ เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาวอยู่ที่เราจะใส่สีมากน้อยแค่ไหน ใส่ให้พอเหมาะกับวัยก็เพียงพอแล้วค่ะ

    เสริมทักษะตามวัยให้ลูกอนุบาล ฝึกแบบนี้ดีกับพัฒนาการ

     

    ลูกวัยอนุบาล หรือในช่วง การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-สอนลูกเรื่องวินัย-วินัยเชิงบวก3-6 ขวบ เป็นช่วงที่ลูกเริ่มเข้าโรงเรียนและเริ่มมีสังคม เริ่มเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น ทักษะตามวัยที่สามารถฝึกฝนหรือช่วยกระตุ้นลูกได้ในช่วงวัยอนุบาลมีอะไรบ้าง แต่ละอย่างเหมาะกับช่วงอายุที่แตกต่างกันเพราะจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการตามแต่ละช่วงวัย

    กิจกรรมเสริมทักษะวัย 3 ขวบ

    สำหรับเด็กวัยนี้เป็นช่วงวัยอนุบาล เด็กบางคนเริ่มเข้าเรียนแล้ว ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ต้องสามารถทำตามคำสั่งได้ และสามารถเรียบเรียงพูดเป็นประโยคต่างๆ รู้เรื่องแล้ว และสามารถจัดดินสอวาดเขียนได้บ้างแล้ว  

    ฝึกทักษะการสื่อสาร การฟังและรับคำสั่งต่างๆ เช่น ใช้คำพูดสั่งพร้อมกับช่วยให้ลูกทำตามคำสั่งง่ายๆ เช่น เปิดประตูให้แม่หน่อย ให้ลูกหยิบของต่างๆ เป็นต้น ฝึกวาดวงกลม หยิบกระดาษ สีเทียน ออกมาให้ลูกได้ขีดเขียนตามใจ และวาดวงกลมให้ลูกค่อยๆ วาดตาม อาจจะค่อยๆ จับมือลูกวาดตามก่อนในช่วงแรก แล้วลองบอกให้ลูกวาดด้วยตัวเอง สอนให้ลูกเปลี่ยนเสื้อผ้า เริ่มจากง่ายๆ เช่น การถอดกางเกง และการใส่กางเกง โดยค่อยๆ บอกเป็นขั้นตอนให้ลูกทำตามช้าๆ และคอยช่วยเหลือบ้าง ทำเป็นประจำให้ลูกเรียนรู้และทำเองได้

    กิจกรรมเสริมทักษะวัย 4 ขวบ

    วัยนี้ลูกเริ่มเรียนรู้เรื่องเพศ เริ่มรู้จักความแตกต่างของเพศ ของเด็กชาย เด็กหญิง ลูกควรสามารถแยกความแตกต่างของขนาด ของระยะต่างๆ ได้ เช่น ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ โดยพ่อแม่สามารถส่งเสริมทักษะ หรือพัฒนาการลูกในวัยนี้ได้ดังนี้  

    ใหญ่หรือเล็ก สอนเรื่องขนาดให้กับลูก โดยใช้ของเล่น 2 ขนาด บอกลูกว่า “ชิ้นนี้ใหญ่” “ชิ้นนี้เล็ก” แล้วให้ลูกลองเปรียบเทียบของชิ้นอื่นๆ ดูบ้าง กรรไกรตัดกระดาษ ฝึกฝนการบังคับกล้ามเนื้อมัดเล็ก และสอนเรื่องรูปทรงต่างๆ ลูกควรใช้กรรไกรตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมได้ โดยอาจจะค่อยๆ จับมือลูกก่อนในช่วงแรก และค่อยๆ ให้ลูกลองใช้กรรไกรตัดเอง เลือกใช้กรรไกรสำหรับเด็กที่ไม่อันตราย ทายสิ หญิงหรือชาย สอนให้ลูกรู้ถึงความแตกต่างของเพศชายและหญิง โดยอาจจะใช้จากพื้นฐานการเรียนรู้ง่ายๆ ที่ยังไม่ต้องซับซ้อนมาก เช่น ดูจากการแต่งตัว ทรงผม ลักษณะภายนอก และบอกให้ลูกรู้ว่าตัวเองเป็นเพศอะไร แล้วลองให้ลูกทายโดยการชี้ที่เด็กคนอื่นๆ ว่าเป็นเด็กหญิง หรือเด็กชาย แม่อาจจะค่อยๆ เริ่มสอนเรื่องอวัยวะต่างๆ ที่แสดงความเป็นเด็กชาย เด็กหญิง ตอนอาบน้ำให้ลูกไปด้วย

    กิจกรรมเสริมทักษะวัย 5 ขวบ

    วัยนี้เริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง รู้จักเรียนรู้ เลียนแบบพฤติกรรมต่างๆ รอบตัว  

    เล่นบทบาทสมมติ ให้ลูกเรียนรู้บทบาทของผู้ใหญ่ หรือของตัวเองผ่านการเล่น บทบาทสมมติ กับเพื่อนๆ เช่น เล่นเป็นหมอ คนไข้ หรือ เล่นขายของ เล่นเป็นพ่อแม่ เล่นเป็นครู เพื่อส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้กับลูก หรือถ้าลูกเล่นกับเพื่อนแล้วทะเลาะกัน เป็นเรื่องธรรมดาในวัยนี้ พ่อแม่ควรลองเฝ้าดูห่างๆ ให้เด็กๆ แก้ปัญหาด้วยตัวเองก่อน ฝึกเล่าเรื่อง สื่อสารเป็นเรื่องราว พ่อแม่ส่งเสริมให้ลูกได้ฝึกการสื่อสาร บอกเล่าเรื่องราวที่ซับซ้อนหรือเป็นเรื่องยาวขึ้น เช่น เมื่อเล่านิทาน หรือให้ลูกดูการ์ตูนแล้ว ให้ลูกเล่าเรื่องในนิทานให้ฟัง หรือพูดคุยเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เช่น ที่โรงเรียนเกิดอะไรขึ้นบ้าง พยายามคุยโต้ตอบ ให้ลูกสามารถถ่ายทอดความรู้สึก ความต้องการของตัวเองได้มากที่สุด

    กิจกรรมเสริมทักษะวัย 6 ขวบ

    เด็กในวัยนี้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น สามารถคิดหาเหตุผล แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมากขึ้น  

    บอร์ดเกม ฝึกแก้ปัญหา เลือกเกมที่เหมาะกับวัย และเล่นด้วยกันได้ทั้งครอบครัว บอร์ดเกมจะช่วยลูกฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา และยังช่วยให้ลูกห่างจากหน้าจอ ห่างจาก YouTube อีกด้วย พาลูกไปเล่นกีฬา ลูกๆ วัยนี้กล้ามเนื้อต่างๆ มีความสมบูรณ์แข็งแรงขึ้นมาก สามารถเล่นกีฬาที่ต้องออกแรงใช้พละกำลังได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เรียนรู้ กฎ กติกา มารยาท ระเบียบต่างๆ ได้ด้วย ช่วยทำงานบ้าน เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักความรับผิดชอบ ลองมอบหมายหน้าที่ประจำให้ลูก เช่น กวาดบ้าน หรือดูแลรดน้ำต้นไม้

     
    ทิปส์  

    เลือกกิจกรรมที่ลูกสนใจ และรู้สึกสนุก จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาทักษะลูกได้มากกว่าการบังคับ ไม่ต้องใช้ของเล่นราคาแพง เลือกของที่มีอยู่ในบ้านมาใช้เล่นกับลูก เพราะเด็กๆ อาจจะยังไม่มีสมาธิหรือจดจ่อได้นานพอ

    ลูกวัยอนุบาลในวัยที่กำลังเรียนรู้ ควรได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ในนมแพะมีสารอาหารครบถ้วนที่มีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง นมแพะมีโปรตีนและไขมันที่ย่อยและดูดซึมได้ง่าย จึงทำให้ลูกน้อยเจริญเติบโตแข็งแรง มีน้ำหนักตัวดี ที่สำคัญนมแพะมีพรีไบโอติก ที่มีพรีไบโอติก (Prebiotics) หรือใยอาหาร ชนิด Oligosaccharides เช่น Inulin & Oligofructose เป็นใยอาหารที่จะไม่ถูกย่อย และไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร แต่จะถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ อย่างแล็กโทบาซิลลัส และไบฟิโดแบคทีเรีย ทำให้จุลินทรีย์สุขภาพเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้น จึงช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหารให้ทำงานได้เป็นปกติ ขับถ่ายง่าย ลดอาการท้องผูก และที่สำคัญยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้ลูกได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ลูกน้อยเจริญเติบโตแข็งแรงเต็มที่ มีพัฒนาการดีสมวัย

    เหาระบาดหนัก แนะนำ 10 วิธีกำจัดเหาให้หายขาด

    วิธีกำจัดเหาให้หายขาด-วิธีกำจัดเหา-ลูกเป็นเหา-เด็กเป็นเหา-กำจัดเหา-หาเหาใส่หัว-วิธีกำจัดไข่เหา-ไข่เหา-ใบยอกำจัดเหา-ใบสะเดากำจัดเหา-มะกรูดกำจัดเหา-ยาฆ่าเหา

    ลูกเป็นเหา กำจัดเหายังไงให้หายขาด โดยเฉพาะช่วงเปิดเทอม ที่เด็ก ๆ มักจะเล่นคลุกคลีตีโมง หัวติดกันบ่อย ๆ

    เหาระบาดหนัก แนะนำ 10 วิธีกำจัดเหาให้หายขาด

    เมื่อเด็กเป็นเหาผลกระทบที่ตามมาคืออาการคัน เมื่อคันมาก ๆ ก็เกา พอเกาหนักเข้าทำให้เกิดแผล อาจเกิดการติดเชื้อได้ กรณีที่ติดเชื้อรุนแรงอาจลุกลามทำให้มีต่อมน้ำเหลืองหลังหู ท้ายทอย หรือที่คอโต นอกจากนี้ อาจพบเป็นแผลแฉะ มีสะเก็ดกรังบริเวณศีรษะ ที่สำคัญ เจ้าเหานี่มักจะรบกวนเด็กเวลานอนและทำให้ขาดสมาธิในเวลาเรียนด้วยค่ะ   

    10 วิธีกำจัดเหาให้หายขาด

    1. ใช้ใบน้อยหน่ากำจัดเหา โขลกให้ละเอียด ผสมน้ำนิดหน่อย หมักผมทิ้งไว้อย่างน้อยครึ่งวัน ล้างน้ำออก รอจนผมแห้งใช้หวีเสนียดสางผม ตัวเหาจะหล่นออกมา ทำไปเรื่อยๆ หลายๆครั้งจนกว่าเหาจะหายไปจากชีวิต

    2. ใช้มะกรูดกำจัดเหา นำผลมะกรูดที่แก่จัดไปเผาไฟหรือย่างไฟให้สุกทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นนำมาคลึงเพื่อให้มีน้ำมากๆ แล้วผ่าครึ่ง บีบน้ำลงบนศีรษะขยี้ให้ทั่ว แล้วใช้หวีสางเส้นผมให้เหาและไข่เหาหลุดติดออกมา อาทิตย์นึงควรทำติดต่อกัน 3 ครั้ง

    3. ใช้ใบสะเดากำจัดเหา นำใบสะเดาแก่ ๆ ประมาณ 2-3 กำ โขลกให้ละเอียด ผสมน้ำพอเล็กน้อยแล้วนำมาหมักให้ทั่วศีรษะ ปล่อยให้แห้ง ก่อนจะล้างออกและสระผมด้วยแชมพู

    ​4. ผลมะตูมสุกกำจัดเหา ใช้ยางมะตูมสุกทาผมแล้วหวีให้ทั่วทั้งศีรษะ ปล่อยไว้จนแห้ง เหาก็จะตายหมด จากนั้น ล้างทำความสะอาดด้วยแชมพู แล้วใช้หวีเสนียดสางเหาที่ตายออก

    5. ใช้ใบยอกำจัดเหา เอาใบยอสดมาล้างให้สะอาด คัดเอาจำนวนตามต้องการ จากนั้นหั่นใบยอหยาบ ๆ และตำให้ละเอียด บีบคั้นใช้ผ้าขาวบางกรองเอาเฉพาะน้ำใบยอออกมา และนำไปใส่ขวดเปล่าให้ลูกสระผมวันละครั้งตอนเช้า สระได้ 2 วันแล้วให้ใช้หวีเสนียดสางเส้นผม จะพบว่ามีตัวเหาที่ตายติดออกมามากมาย ให้สางผมจนเหาหมดจะหายได้ในที่สุด

    6. ใช้แชมพู ครีมนวดกำจัดเหา หาซื้อที่ร้านขายยา หมักทิ้งไว้ 1 วัน แล้วล้างออก รอจนผมแห้ง ใช้หวีเสนียดหรือหวีซี่ถี่ ๆ หวีผม เตรียมหาผ้ารองไว้ เหาจะคลานออกมา ทำไปเรื่อยๆ เว้น 3 วันแล้วสระซ้ำ จนกว่าตัวเหาและทายาทจะสิ้นซาก

    7. ใช้หอมแดงกำจัดเหา นำหัวหอมแดง 4-5 หัวมาปั่นให้ละเอียด คั้นเอาน้ำหัวหอมแดงมาหมักผมทิ้งไว้ประมาณประมาณ 2 ชั่วโมงแล้วล้างออกให้สะอาด ก่อนใช้ไดร์เป่าผมให้แห้งและใช้หวีเสนียดสางอีกครั้ง  

    8. เบบี้ออยด์และน้ำส้มสายชูกำจัดเหา โดยชโลมเบบี้ออยล์ลงบนศีรษะและเส้นผม จากนั้นใช้หวีเสนียดสางเหาให้ทั่วก่อนสระผมอีกครั้ง จากนั้นให้ชโลมเส้นผมด้วยน้ำส้มสายชู ใช้ผ้าหรือหมวกอาบน้ำคลุม แล้วหมักทิ้งไว้ข้ามคืน ตื่นเช้ามาให้ลูกสระผมด้วยแชมพูทั่วไป แล้วสางด้วยหวีเสนียดอีกครั้ง

    9. ใช้ยาฆ่าเหาโดยเฉพาะ เป็นยาทาที่ใช้ได้ดีต่อตัวเหาและไข่เหา คือ permethrin lotion, pyrethrins หรือ malathion คุณแม่ควรสวมถุงมือยาง ก่อนทายาให้ทั่วศีรษะลูก จากนั้นทิ้งไว้ 5-10 นาทีแล้วล้างออก หลังจากนั้นควรใช้หวีซี่ถี่ ๆ หวีตัวเหา และไข่เหาออก ทำอีกครั้งในอีก 7 วันเหาก็จะค่อยๆ หายไป 

    10. ปรึกษาแพทย์ บางรายที่เกิดอาการคันมากจนไปซื้อยามาใช้เอง ทางที่ดีเราควรไปหาหมอหรือพบแพทย์ก่อนที่เราจะซื้อยามาใช้เองเพื่อความปลอดภัยของลูกด้วยค่ะ 

     

    และเมื่อกำจัดเหาได้แล้ว ก็ควรสอนลูกให้รักษาความสะอาด และทุกคนในบ้านต้องใส่ใจสุขอนามัยให้มากยิ่งขึ้น งดเว้นการใช้เครื่องนุ่งห่มด้วยกัน ที่นอน หมอน ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ควรทำความสะอาดอาทิตย์ละครั้ง ขณะเดียวกันควรแยกเด็กที่เป็นเหาออกจากกันด้วย เพื่อป้องกันการติดซ้ำ

    เฮอร์แปงไจนา โรคตุ่มแผลในปากเด็ก

    โรคเฮอร์แปงไจนา (Herpangina), โรคตุ่มแผลในปากเด็ก, โรคมือ เท้า ปาก, เชื้อไวรัส, ตุ่มน้ำในปาก, โรคระบาด, การติดเชื้อ, การป้องกันโรค, ผื่นในเด็ก

    เฮอร์แปงไจนา โรคตุ่มแผลในปากเด็ก

    โรคเฮอร์แปงไจน่า เป็นโรคที่ติดเชื้อจากไวรัสชนิดเดียวกันกับมือ เท้า ปาก ถือว่าเป็นโรคระบาด ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรทำความรู้จัก เพื่อหาแนวทางในการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้กับลูกน้อยค่ะ  

    สาเหตุของโรคเฮอร์แปงไจนา

    เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ได้รับเชื้อแพร่กระจายทางปาก ระบบทางเดินหายใจ การใช้ของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าขนหนู แก้วน้ำ และของเล่น เป็นต้น

     

     

    ภาพ : diseasespictures.com

    อาการของโรคเฮอร์แปงไจนา
    1. มีไข้สูงเฉียบพลัน
    2. ไม่ดื่มนม ไม่ทานข้าว
    3. น้ำลายไหลยืด
    4. อาเจียน
    5. จะเริ่มพบจุดแดงๆ บริเวณลิ้นไก่ ลิ้น และในลำคอ และจะกลายเป็นตุ่มน้ำ  

     

    วิธีป้องกันโรคเฮอร์แปงไจนา
    1. หมั่นให้ลูกล้างมือออยู่เสมอ
    2. ระวังการสัมผัสจากน้ำลาย น้ำมูก
    3. ไม่ควรให้ลูกเล่นของเล่นของเด็กที่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน  

     

    วิธีรักษาโรคเฮอร์แปงไจนา
    1. ไม่มีการรักษาโรคที่แน่ชัด เพราะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง เด็กสามารถหายเองและดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์  แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถรักษาตามอาการได้ดังนี้ค่ะ
    2. เช็ดตัวลดไข้
    3. ให้ยาบรรเทาอาการต่างๆ เช่น ปวดหัวก็ให้กินยาพาราเซตามอล
    4. ดื่มน้ำให้มากๆ
    5. ถ้าทานข้าวไม่ลงก็ให้ทานของเหลวทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง  

     

    หากเด็กมีอาการปกติ หรือมีอาการรุนแรง ทางที่ดีขอแนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันทีนะคะ อย่าปล่อยทิ้งไว้หรือรอดูอาการด้วยการทดลองยาผิด ๆ ถูก ๆ วิธีนี้นอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อชีวิตด้วยค่ะ


     

    แกล้งเพื่อน VS โดนเพื่อนแกล้ง เด็กทั้ง 2 กลุ่มโตไปอาจเสี่ยงมีพฤติกรรมที่ทำให้พ่อแม่เสียใจแบบนี้

    ลูกโดนเพื่อนแกล้ง, ลูกโดนเพื่อทำร้าย, ลูกโดนเพื่อนด่า, ลูกแกล้งเพื่อน, ลูกทำร้ายเพื่อน, ลูกทำร้ายคนอื่น, ลูกพูดไม่ดีกับเพื่อน, Bully ในโรงเรียน, ความรุนแรงในโรงเรียน, ปัญหาเด็กอนุบาล, ปัญหาพฤติกรรมเด็ก, ชอบแกล้งเพื่อน, ชอบทำร้ายเพื่อน, ลูกไม่อยกาไปโรงเรียน 

    แกล้งเพื่อน VS โดนเพื่อนแกล้ง เด็กทั้ง 2 กลุ่มโตไปอาจเสี่ยงมีพฤติกรรมที่ทำให้พ่อแม่เสียใจแบบนี้



    เด็กชอบแกล้งเพื่อน และ เด็กที่มักถูกเพื่อนแกล้ง ปัญหานี้เกิดขึ้นจากหลายๆ ปัจจัย เช่น ไม่รู้วิธีเข้าหาเพื่อน ความไม่เข้าใจในความแตกต่าง ไม่รู้วิธีควบคุมอารมณ์ ความกลัว หรืออาจจะเคยเห็นจากสื่อต่างๆ สิ่งเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่หรือแม้แต่ครูก็ต้องคอยสังเกตและแนะนำเพื่อช่วยปรับพฤติกรรมของเด็กๆ ให้เขาสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขค่ะ

    หลายครั้งที่เราเห็นว่าปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข พ่อแม่ต้องพาลูกย้ายโรงเรียนเพราะสภาพจิตใจย้ำแย่ พ่อแม่ต้องไม่รู้วิธีปรับอารมณ์ที่รุนแรงของลูกเพื่อให้ลดการทำร้ายคนอื่นทั้งการกระทำและคำพูด หากเรายังปล่อยให้ปัญหานี้เกิดขึ้นกับเด็กทั้ง 2 กลุ่ม นี่คือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกเมื่อโตขึ้น



    ลูกโดนเพื่อนแกล้ง, ลูกโดนเพื่อทำร้าย, ลูกโดนเพื่อนด่า, ลูกแกล้งเพื่อน, ลูกทำร้ายเพื่อน, ลูกทำร้ายคนอื่น, ลูกพูดไม่ดีกับเพื่อน, Bully ในโรงเรียน, ความรุนแรงในโรงเรียน, ปัญหาเด็กอนุบาล, ปัญหาพฤติกรรมเด็ก, ชอบแกล้งเพื่อน, ชอบทำร้ายเพื่อน, ลูกไม่อยกาไปโรงเรียน


    พ่อแม่ และครูควรทำอย่างไร
    • พ่อแม่ควรเปิดใจและเปิดโอกาสให้ลูกได้พูดถึงความรู้สึก การกระทำ โดยยังไม่ต้องตัดสินว่าถูกหรือผิด เพื่อให้รับรู้ว่าลูกรู้สึกอย่างไร ทำอะไรลงไปเพราะอะไร ก่อนหาทางช่วยปรับแก้
       
    • พ่อแม่ต้องใจเย็น อดทน เพราะอาจจะต้องใช้เวลาก่อนที่ลูกจะเปิดใจบอกความรู้สึก ควรให้เวลากับลูก ถามทุกวันว่าวันนี้เป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร "ต้องไม่เบื่อที่จะถาม" แม้บางครั้งจะทำให้เรารู้สึกหงุดหงิดที่ถามเท่าไหร่ลูกก็ไม่ยอมพูดซะที
       
    • เมื่อลูก "แกล้งเพื่อน" หรือ "โดนแกล้ง" ควรสอบถามข้อเท็จจริงก่อน และเปิดใจที่จะคุยกับพ่อแม่ของเด็กที่ถูกแกล้ง และครู เพื่อหาทางออกร่วมกัน เพราะหลายๆ ครั้ง ปัญหามักเกิดจาก เด็กๆ ไม่เข้าใจกัน ยังควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ยังไม่รู้ว่าคำพูดที่ใช้พูดกันอาจทำให้อีกฝ่ายเสียใจ หรืออาจทำอะไรที่อีกฝ่ายไม่ชอบโดนไม่รู้ตัว ดังนั้นพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายก็ควรใช้สติเข้าหากัน
       
    • ลองหาโอกาสหรือกิจกรรมที่ให้เด็กๆ ได้ทำร่วมกัน เช่น พาไปเที่ยวด้วยกัน มาเล่นที่บ้าน ฯลฯ จะทำให้เด็กๆ รู้จักปรับตัวเข้าหากัน เข้าใจกัน เพราะจริงๆ แล้วเด็กยังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ตัวเอง เรียนคนอื่นไปพร้อมๆ กับความผิดพลาดต่างๆ ที่แก้ไขได้ โดยมีพ่อแม่เป็นคนไกด์ให้
       
    • คุณครูควรใช้วิธีพูดคุยในลักษณะแนะนำและปรึกษากับเด็กและพ่อแม่ ไม่ตำหนิหรือกล่าวโทษชี้เฉพาะไปที่ใคร  พยายามหาทางออกร่วมกัน เช่น เมื่อเห็นเด็กแกล้งกันควรเข้าไปแยกด้วยการใช้เสียงปกติ หากมีการทำร้ายกันควรให้เด็กรู้จักขอโทษกันที่ทำอีกฝ่ายบาดเจ็บ เสียใจ และสอนให้รู้จักให้อภัย แต่คุณครูเองก็ต้องฟังเหตุผลของการทะเลาะของเด็กๆ ด้วยค่ะ
       
    • สำหรับการแก้ไขและป้องกันปัญหาเด็กๆ ทะเลาะและแกล้งกับในโรงเรียนแบบระยะยาว คุณพ่อคุณแม่คือปัจจัยสำคัญค่ะ โดยต้องทำให้ลูกเห็นและเข้าใจว่าการแกล้งหรือทำร้ายคนอื่นทำให้เกิดผลเสียอย่างไร เพื่อนเสียใจ เพื่อนบาดเจ็บ ลูกจะโดนตำหนิ ถูกทำโทษ รวมถึงการสอนให้ลูกรู้จักสิทธิของคนอื่นที่เราจะละเมิดไม่ได้ เช่น ลูกยังไม่ชอบที่มีใครมาแกล้ง มาตีให้เจ็บ คนอื่นก็ไม่อยากโดนแกล้งเหมือนกัน เป็นต้น 
       
    • หากเด็กๆ ตกเป็นผู้โดนแกล้ง พ่อแม่และครู จะต้องคอยแนะนำทางแก้ไขและหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าวให้เด็กด้วย เช่น เลี่ยงที่จะไม่เล่นกับเพื่อนคนนั้นไปก่อน ถ้าจะเล่นด้วยกันควรมีเพื่อนคนอื่นๆ เล่นด้วยเป็นกลุ่ม หรือหากยังโดนแกล้งอยู่ตลอดควรให้เด็กบอกคุณครู เพื่อช่วยกันปรับพฤติกรรม เพราะเด็กบางคนแกล้งเพื่อนจากความไม่รู้วิธีเข้าหา เป็นต้น 


    นอกจากนี้ อย่าลืมสอนลูกเรื่องการขอโทษ การให้อภัย และการยิ้มนะคะ เพราะจะทำให้ลูกเรามีเกราะป้องกัน "หัวใจ" ตัวเองได้ดีเยี่ยม เขาจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่รู้ควร ไม่ควร และเข้าใจความเป็นมนุษย์มากขึ้นว่า ทุกคนสามารถทำเรื่องผิดพลาดได้ แต่เราก็รู้จกการให้อภัย แก้ไข และปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขค่ะ