facebook  youtube  line

​อาการไอของลูกรัก บอกอะไรคุณพ่อคุณแม่ได้บ้าง

 ไอ- อาการไอ- โรคเด็ก- อาการไอในเด็ก- ยาแก้ไอ 


เด็กมีอาการ 'ไอ' ได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบมีสาเหตุที่แตกต่างกันไป โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องพร้อมเรียนรู้วิธีสังเกตและการรักษา เพื่อสุขภาพของลูกรักนะคะ

อาการไอเกิดจากอะไร?
ไอเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในทางเดินหายใจ อาจจะเป็นฝุ่นละอองหรือเสมหะที่เกิดจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ ร่างกายจะกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ โดยการไอออกมา สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่่ทำให้ไอเรื้อรังคือ การมีเสมหะคั่งค้างในหลอดลม


อาการไอแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1.ไอแห้ง ไอแบบไม่มีเสมหะ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเย็นหรือมีอาการแพ้ เพื่อช่วยเคลียร์น้ำมูกที่สะสมในคอหรือการระคายเคืองจากการเจ็บคอ

2.ไอเปียก  ไอมีเสมหะ ซึ่งเป็นผลมาจากการติดเชื้อบริเวณหลอดลม ทำให้มีเสมหะ (ซึ่งประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค) ออกมารวมตัวกันที่ทางเดินหายใจ

วิธีการสังเกตอาการไอแต่ละแบบที่พ่อแม่ควรรู้ หากทำความเข้าใจการไอแต่ละแบบ อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือและดูแลลูกน้อยได้ดีขึ้นก่อนจะพาเด็กไปพบแพทย์ ซึ่งอาจพบอาการไอในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1.ไอเพราะไข้หวัดทั่วไป หรือไข้หวัดใหญ่

อาการไอ: ไอแห้ง

สัญญาณร่วม: คัดจมูก น้ำมูกไหล ระคายคอ เจ็บคอ

และอาจมีอาการ: น้ำมูกไหลต่อเนื่อง มีไข้ต่ำๆ กลางดึก

การรักษาเบื้องต้น: ในกรณีที่เด็กอายุต่ำกว่าหกเดือน สถาบันกุมารเวชศาสตร์อเมริกาแนะนำว่านอกจากนมแม่แล้ว แม่ไม่ควรให้ลูกกินอย่างอื่นเพื่อบรรเทาอาการไอทั้งสิ้น แต่สำหรับเด็กอายุหนึ่งขวบขึ้นไป น้ำผึ้งบริสุทธิ์ น้ำเกลือ ก็อาจจะช่วยให้เด็กไอน้อยลงได้

 

2.ไอเพราะหายใจลำบาก

เด็กๆ อาจตื่นขึ้นมาไอค่อกแค่กกลางดึก การไอเช่นนี้ในเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบมักมาพร้อมกับอาการไข้หวัด

อาการไอ: ไอแห้ง

สัญญาณร่วม: ได้ยินเสียงติดๆ ขัดๆ ขณะที่ลูกหายใจเข้า

การรักษาเบื้องต้น: เปิดฝักบัวทิ้งไว้ให้เกิดไอน้ำในห้องน้ำ แล้วลองให้ลูกหายใจในห้องที่มีไอน้ำ หรือหายใจในห้องที่มีเครื่องทำความชื้น อาการหายใจลำบากของเด็กควรหายไปภายใน 3-4 วัน ถ้านานเกินกว่านั้น ต้องรีบพาเด็กๆ ไปพบแพทย์แล้วล่ะ

 

3.ไอเพราะโรคปอดบวม

อาการไอ: ไอเปียก มีเสมหะ

สัญญาณร่วม: เด็กมีอาการไอต่อเนื่องจนหน้าซีดและเหนื่อยหอบ

การรักษาเบื้องต้น: รีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด


 

4.ไอเพราะโรคหอบหืด หรือหลอดลมอักเสบ

โดยทั่วไปแพทย์มีความเห็นพ้องกันว่าเด็กอายุต่ำกว่าสองปีไม่ควรเป็นโรคหอบหืด เว้นเสียแต่ว่าครอบครัวมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคหอบหืดมาก่อน ส่วนโรคหลอดลมอักเสบในเด็กอายุต่ำกว่าหนึ่งปีมักมาจากไวรัส RSV ซึ่งถ้าเกิดในเด็กอายุมากกว่าสามปีมันจะเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่ในเด็กทารกก็อาจรุนแรงถึงชีวิตได้

โรคหอบหืดในทารกอาจเริ่มจากการมีอาการหวัด ระคายเคืองตา หรือน้ำตาไหล และยังอาจจะมีอาการหอบจนหน้าอกยุบและโป่งจากการหายใจเข้าออกแต่ละครั้ง ส่วนโรคหลอดลมอักเสบที่มักพบในหน้าหนาวมักมาพร้อมกับอาการมีไข้ต่ำและเบื่ออาหาร

อาการไอ: ไอร่วมกับเสียงหายใจดังฟืดฟาด

การรักษาเบื้องต้น: สังเกตอัตราการหายใจของลูก หากถี่กว่า 50 ครั้ง/นาที ให้รีบพาไปโรงพยาบาลได้เลย

 

5.ไอเพราะโรคไอกรน

โรคไอกรนเคยเป็นโรคที่ทำให้ทารกเสียชีวิตได้ จนกระทั่งวัคซีน DTP ถูกนำมาใช้ โรคนี้ก็ค่อยๆ ถูกกำจัดออกไป ทว่าเมื่อไม่กี่ปีมานี้ โรคไอกรนก็กลับมาและรุนแรงกว่าเดิม

อาการไอ: ไอเสียงดังและไอติดต่อกัน

สัญญาณร่วม: บ่อยครั้งที่อาการไอนี้จะมาพร้อมกับตาเหลือก หน้าซีด หรือไอจนลิ้นออกมานอกปาก

การรักษาเบื้องต้น: โรคนี้ป้องกันง่ายกว่าด้วยการให้ทารกได้รับวัคซีนป้องกันตามที่แพทย์แนะนำ แต่ถ้าไม่ทัน และคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีโอกาสจะเป็นโรคไอกรนก็ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

 

6.ไอเพราะสิ่งแปลกปลอม

สาเหตุของการไอและสำลักในเด็ก ที่พบบ่อยที่สุดก็คืออาหารหรือของเล่นชิ้นเล็กๆ นี่แหละ เพราะฉะนั้นถ้าลูกอ้าปากค้างหรือไอขณะกินอาหาร หรือเล่นของเล่น คุณแม่ต้องรีบมองหาตัวการในปากของลูกก่อนเป็นอันดับแรก

อาการไอ: ไอเบาๆ แต่ไอไม่หยุด หรืออ้าปากค้าง

สัญญาณร่วม: เมื่อลูกเริ่มไอ และไอติดต่อกัน จนหายใจลำบากโดยไม่มีทีท่าว่าจะป่วยไข้มาก่อน เป็นไปได้ว่าอาจมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ในหลอดลม

การรักษาเบื้องต้น: ให้ใช้วิธี ‘ตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับกระแทกหน้าอก 5 ครั้ง’ (Five Back Blow and Five Chest Thrust)

 

คุณพ่อคุณแม่สามารถบรรเทาอาการไอของลูกได้หลายวิธีด้วยกันตามคำแนะนำต่อไปนี้

1.ใช้เครื่องทำความชื้นภายในห้องในตอนกลางคืน เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ หรืออาจให้ลูกนั่งอยู่ในห้องน้ำที่เปิดน้ำอุ่นประมาณ 2-3 นาที

2.หากลูกมีอายุมากกว่า 1 ปี ให้เด็กรับประทานน้ำผึ้งปริมาณ 1 ช้อนชาเพื่อบรรเทาอาการ

3.ใช้สารเมนทอลทาบริเวณหน้าอกของลูกน้อย เพื่อให้เด็กหายใจได้สะดวกขึ้น โดยควรเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและทารกโดยเฉพาะ

4.ไม่ใช้ยารักษาโรคไข้หวัดในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี เพราะอาจทำให้เสมหะเหนียวข้นและเป็นอันตรายต่อเด็กได้


 

หากพบว่าลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์

1.เด็กไอโดยมีอายุต่ำกว่า 4 เดือน

2.ไอแบบแห้ง ๆ โดยมีสาเหตุมาจากไข้หวัดติดต่อกันนานกว่า 5-7 วัน

3.ไอและมีไข้สูง

4.ไอเป็นเลือด

5.ป่วยและอ่อนล้าอย่างมาก

6.มีวัตถุแปลกปลอมติดอยู่ในช่องคอ

7.รู้สึกเจ็บหน้าอกเมื่อสูดหายใจเข้าลึก ๆ

8.หายใจมีเสียงหวีด และหายใจหรือพูดลำบาก

9.น้ำลายไหลหรือกลืนอาหารลำบาก

ที่มา : www.parents.com, www.pobpad.com

อาหารเป็นพิษในเด็ก อาการ และวิธีป้องกัน

714 1

อาหารเป็นพิษเป็นเรื่องที่เกิดได้กับทุกคน ผู้ใหญ่บางคนเป็นแล้วอาการยังหนัก แต่ถ้าลูกป่วยอาหารเป็นพิษอาจมีการรุนแรง พ่อแม่ต้องหาทางรับมืออาหารเป็นพิษในเด็กให้ได้ค่ะ

อาหารเป็นพิษในเด็ก อาการ และวิธีป้องกัน

คุณหมอสุภาพรรณ ตันตราชีวธร กุมารแพทย์ด้านโภชนาการเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลกล่าวว่าอาหารเป็นพิษคืออาการที่เกิดจากการกินอาหารที่มีพิษของเชื้อโรคเข้าไป เช่น พิษของเชื้อ Staphylococcus aureus , E.coli , Clostridium botulism ,Bacillus cereus เมื่อเรากินอาหารที่มีพิษของเชื้อเหล่านี้เข้าไปแล้ว ระยะฟักตัวจะเร็ว ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ลักษณะถ่ายเหลวเป็นน้ำ แต่ไม่มีไข้  

อาหารเป็นพิษเป็นเร็ว และหายเร็ว พอร่างกายขับพิษออกมาไม่ว่าจะเป็นการถ่าย หรืออาเจียนหลังจากนั้นอาการจะหายเป็นปลิดทิ้งได้ ซึ่งอาการท้องเสีย หรืออาเจียนจากอาหารเป็นพิษจะเป็นเพียง 1-2 วัน ช่วงนี้ควรให้ลูกกินยาแก้อาเจียน และดื่มน้ำเกลือแร่ชดเชยน้ำที่เสียไป ไม่จำเป็นต้องกินยาฆ่าเชื้อ ที่สำคัญไม่ควรให้ลูกกินยาระงับการขับถ่าย หรือยาแก้ท้องเสีย เพราะจะยิ่งทำให้สารพิษอยู่ในร่างกายนานขึ้น อาการต่างๆจะหายช้าลง

การดูแลเด็กที่มีอาการของอาหารเป็นพิษ

ควรให้ลูกกินยาแก้อาเจียนและดื่มน้ำเกลือแร่ชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่เสียไป ระหว่างนั้นควรสังเกตว่าลูกมีอาการขาดน้ำหรือไม่ อาการของการขาดน้ำได้แก่ ปากแห้ง กระบอกตาลึก กระหม่อมบุ๋ม ชีพจรเต้นเร็วและปัสสาวะน้อยลง ถ้าลูกไม่มีการขาดน้ำคุณอาจดูแลลูกที่บ้านเองได้ แต่ถ้าลูกมีอาการแสดงของการขาดน้ำควรรีบพาลูกไปหาหมอนะคะ ถ้าอาการเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ เราควรให้ลูกดื่มน้ำเกลือแร่ต่อไป และพยายามให้ลูกดื่มนมทีละน้อยๆ แต่บ่อยๆ เพื่อไม่ให้อาเจียน และควรให้กินอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้มจะเป็นการดีกว่าอาหารแข็งๆที่ย่อยยากค่ะ

714 2

ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อในอาหาร

เกิดการท้องเสียฉับพลัน หรืออาเจียน ซึ่งเป็นอาการคล้ายคลึงกับอาการของอาหารเป็นพิษ แต่มีไข้เพิ่มเข้ามาด้วย และถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด อย่างนี้ถือว่าลูกติดเชื้อโรคจำพวก Salmonella หรือ Shigella แล้วค่ะ ซึ่งมีอาการรุนแรงกว่าอาหารเป็นพิษ ทางที่ดีควรรีบพาลูกไปหาหมอรับยาฆ่าเชื้อ เพื่อยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรคเป็นการด่วน  

1. เชื้อโรค : Staphylococcus aureus

อาหาร : พบมากในเนื้อสัตว์ แฮม มันฝรั่ง สลัดไข่ แซนวิช

อาการ : ท้องเสีย อาเจียน มักเกิดอาการภายใน 1-6 ชั่วโมงหลังกินอาหาร

วิธีรักษา : ให้กินยาแก้อาเจียน และดื่มน้ำเกลือแร่  

2. เชื้อโรค : E.coli

อาหาร : พบมากในผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์

อาการ : ท้องเสีย อาเจียน มักเกิดอาการภายใน 1-4 วันหลังกินอาหาร

วิธีรักษา : ให้กินยาแก้อาเจียน และดื่มน้ำเกลือแร่  

3. เชื้อโรค : Botulism

อาหาร : ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในอาหารกระป๋องที่หมดอายุ หรือในเนยแข็ง น้ำผึ้ง ผักสด

อาการ : ท้องเสีย อาเจียน มักเกิดอาการภายใน 12-48 ชั่วโมงหลังกินอาหาร

วิธีรักษา : ให้กินยาแก้อาเจียน และดื่มน้ำเกลือแร่  

4. เชื้อโรค : Salmonella

อาหาร : ส่วนใหญ่จะพบในไข่ที่ปรุงไม่สุก หรือเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก หรือน้ำส้มคั้นที่ใส่ขวดเอาไว้ โดยไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ

อาการ : จะรุนแรงกว่าอาหารเป็นพิษ คือมีไข้ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายมีมูกได้

วิธีรักษา : ควรพบหมอ  

5. เชื้อโรค : Shigella

อาหาร : ส่วนใหญ่มักจะมีในผัก หรือผลไม้

อาการ : รุนแรงกว่าอาหารเป็นพิษ คือมีไข้ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายมีมูกเลือด

วิธีรักษา : ควรพบหมอเพื่อรับยาฆ่าเชื้อ  

 

อาหารเป็นพิษเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวลูกเรามาก พยายามปรุงอาหารให้สะอาด และสุกอยู่เสมอ รวมทั้งล้างมือก่อนและหลังกินข้าว รวมทั้งล้างพืช ผักผลไม้ด้วยวิธีให้น้ำไหลผ่าน และเลือกอาหารที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาอย่างดี รับรองได้ว่าอาหารเป็นพิษจะไม่เกิดกับลูกของเราอย่างแน่นอน

อาหารที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

ระวังสลัดจานใหญ่ที่ราดมายองเนสมากๆ เพราะข้างในอาจแฝงไปด้วยพิษของเชื้อโรคต่างๆอยู่ ผัก ผลไม้สดๆที่ล้างไม่สะอาด รวมทั้งเนื้อสัตว์ต่างๆที่อาจปนเปื้อนไปด้วยพิษของเชื้อโรค ควรกินไข่ที่สุกเท่านั้น กุ้ง หอย เช่น หอยแมลงภู่ น้ำผลไม้สดไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ ถั่วงอก นมสดที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ และเนยแข็ง อาหารกระป๋องที่หมดอายุ

714 4

วิธีป้องกัน

ควรล้างมือด้วยน้ำสบู่ก่อนทำกับข้าว และหลังทำกับข้าวเสร็จ ไม่ควรวางอาหารสด หรือผักผลไม้ทับรอยที่เนื้อสดๆ หรือไข่สดๆวางไว้ก่อนหน้านี้ เพราะเชื้อโรคจากเปลือกไข่ หรือจากเนื้อสัตว์อาจหลุดเข้ามาปะปนในอาหารนั้นๆได้ ไม่ควรทิ้งเนื้อสดๆไว้นอกตู้เย็น เพราะอุณหภูมิที่ร้อนจะเร่งให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว อย่าวางเนื้อสดๆ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู หรือปลาบริเวณชั้นบนของตู้เย็น เพราะน้ำจากเนื้อสดๆอาจหยดลงมาใส่อาหารอื่นๆได้ ล้างผัก และผลไม้ด้วยน้ำไหล ถ้าแช่ด่างทับทิมได้ควรแช่ไว้ประมาณ 15 นาทีก่อนล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งค่ะ ทุกครั้งที่ใช้เขียงเสร็จ ควรขัดให้สะอาดตามด้วยล้างด้วยน้ำอุ่นๆ หมั่นซักผ้าปูโต๊ะ 3 ครั้งต่ออาทิตย์ และหมั่นทำความสะอาดฟองน้ำล้างจานให้สะอาดอยู่เสมอ

ปรุงเนื้อสัตว์กี่นาทีถึงจะสุก 

เนื้อสัตว์ต่างๆ สุกไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อ และความหนาของชิ้นเนื้อที่เราหั่น แต่ตามหลักการแล้วเนื้อวัวจะสุกยากที่สุด รองลงมาคือเนื้อหมูและไก่ซึ่งจะสุกใกล้เคียงกัน สุดท้ายคือเนื้อปลาจะสุกง่ายที่สุด  

นอกจากนั้นขนาดของชิ้นเนื้อ ยิ่งหนาใหญ่ยิ่งสุกได้ยากกว่าชิ้นเนื้อบางๆ ส่วนกรรมวิธีในการปรุง ได้แก่ การต้มหรือนึ่งจะใช้อุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียส ส่วนการทอด หรือย่างอุณหภูมิจะสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส ดังนั้นการทำอาหารให้สุกโดยวิธีต้มในน้ำเดือด ทอด ย่าง หรือนึ่งโดยใช้เวลา 5-10 นาทีขึ้นไป ก็ไม่ต้องห่วงหรอกค่ะว่าเนื้อที่เรากำลังทำกับข้าวอยู่นั้นจะไม่สุกดี

เด็กต่างวัยรับมืออาหารเป็นพิษต่างกันไหม

อาการจะเหมือนกัน แต่เด็กเล็กอาจจะทนกับภาวะขาดน้ำได้น้อยกว่าเด็กโต ดังนั้นพ่อแม่ต้องให้น้ำเกลือแร่กับเด็กเล็กเร็วขึ้นกว่าเด็กโต อย่างไรก็ดีอาการของอาหารเป็นพิษจะรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่กินเข้าไป ถ้าคนกินมากจะมีอาการรุนแรงกว่าคนที่กินน้อย และคนที่ร่างกายแข็งแรงจะทนต่อการขาดน้ำได้ดีกว่าค่ะ

 

 

อีสุกอีใส โรคหน้าหนาว ที่เด็กและผู้ใหญ่เป็นแล้ว แต่เป็นซ้ำได้อีก

อีสุกอีใส-โรคอีสุกอีใส-โรคเด็ก-โรคในเด็ก

คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะ ว่าโรคอีสุกอีใส เป็นอีกหนึ่งโรคที่จะต้องระวังและติดตามสังเกตอาการให้ดี เพราะผู้ใหญ่อย่างเราหรือพ่อแม่ที่มั่นใจว่าฉีดวัคซีนอิสุกอีใสมาแล้วตั้งแต่เด็ก มั่นให้ดีใจว่าเคยเป็นอีสุกอีใสมาแล้วจะไม่เป็นอีก ลบความคิดนั้นออกไปได้เลยค่ะ เพราะถึงจะได้รับวัคซีนอีสุกอีใสแล้ว และเคยเป็นแล้ว แต่ก็เป็นอีกได้ แถมโรคอีสุกอีใสในผู้ใหญ่ในปัจจุบัน ค่อนข้างรุนแรงและอาจจะทิ้งรอยแผลเป็นอีสุกอีใสที่ยากจะลบเลือนอีกด้วย และจากการสำรวจโรคอีสุกอีใส สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากมีโรคแทรกซ้อนเช่น ปอดอักเสบ หรือ ตับอักเสบรุนแรง  

โรคอีสุกอีใสเกิดจากอะไร

โรคอีสุกอีใส หรือ Chickenpox เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ ไวรัส (Varicella zoster virus หรือ เรียกย่อว่า VZV/ วีซีวี ไวรัส) หรือ ฮิวแมนเฮอร์ปี่ไวรัส ชนิดที่ 3 (Human herpes virus type 3) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด

ร่างกายรับเชื้อไวรัสโรคอีสุกอีใสได้อย่างไร
  1. ไวรัสอีสุกอีใสติดต่อโดยการหายใจ ไอ จามรดกัน หรือการสัมผัสถูกตุ่มแผลสุกใส
  2. สัมผัสถูกของใช้ เช่น ที่นอน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ที่เปื้อนตุ่มแผลของผู้ป่วย หายใจเอาละอองของตุ่มน้ำผ่านเข้าไปทางเยื่อเมือก


อาการของโรคอีสุกอีใส

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสอีสุกอีใสแล้วจะมีระยะฟักตัว 10-20 วัน และจะแสดงอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัวคล้ายไข้หวัด ครั่นเนื้อครั่นตัว 2-4 วัน
  • หลังจากตุ่มน้ำใสขึ้นทั้งตัวแล้ว จะค่อย ๆ ยุบและแห้งลง และกลายเป็นสะเก็ดที่รอหลุด ระยะที่ตุ่มน้ำแห้งจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน และหลังจากนั้นจะเป็นเวลาที่สะเก็ดแผลจะค่อย ๆ แห้งขึ้นเรื่อย ๆ จนสะเก็ดหลุดออกเองและทำให้ผิวเป็นปกติ ซึ่งรวมระยะเวลาในการเป็นโรคอีสุกอีใสประมาณ 2 สัปดาห์
  • หลังจากผื่นขึ้นแล้วประมาณ 1-2 วัน ผื่นแดงกลายเป็นตุ่มแดง ตุ่มน้ำและตกสะเก็ด ตุ่มน้ำจะมีลักษณะคล้ายหยดน้ำอยู่บนผิวหนังที่แดง เมื่อตุ่มน้ำโตเต็มที่จะกลายเป็นตุ่มหนอง ช่วงเป็นตุ่มน้ำนี้อาจจะใช้เวลาในการทยอยขึ้นประมาณ 1 สัปดาห์
  • เริ่มมีผื่นแดงเกิดขึ้น และผื่นอีสุกอีใสจะทำให้คันมาก ผื่นจะเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้าและลำตัวก่อนแล้วค่อยๆ ลามไปยังแขนขา และอาจขึ้นในเยื่อบุช่องปาก และกับผิวหนังของอวัยวะเพศภายนอก ผื่นจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะต่างๆ อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง


วิธีรักษาและดูแลผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใสไม่มียารักษาที่ตรงกับโรค ผู้ป่วยสามารถทำได้เพียงฉีดวัคซีนป้องกันไว้ตั้งแต่ก่อนรับเชื้อ รวมถึงการประคองและรักษาไปตามอาการของโรค ดังนี้

  • แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคอีสุกอีใสออกจากผู้อื่น เช่น แยกห้องนอน รวมถึงแยกของใช้ของผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อจากการใช้ของร่วมกัน
  • เช็ดตัวลดไข้ ดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอกินยาลดไข้เฉพาะพาราเซตามอลเท่านั้น ห้ามกินยาลดไข้ชนิดแอสไพริน เนื่องจากทำให้ตับอักเสบรุนแรงได้


 

  • ควรอาบน้ำ ฟอกสบู่ให้สะอาด อาจใช้สบู่ที่มียาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
  • ควรตัดเล็บให้สั้น พยายามไม่แกะหรือเกาตุ่มคันซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อกลายเป็นตุ่มหนองได้
  • หากมีอาการคันมาก ควรทายาแก้คัน เช่น ยาคาลามาย (Calamine lotion)หรือ กินยาบรรเทาอาการคัน โดยปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยากินเองเสมอ
  • การรักษาแบบเจาะจง คือการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสอีสุกอีใส ซึ่งควรจะให้ในระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น ซึ่งเชื่อว่าการที่สามารถให้ยาได้ทันและมีปริมาณพอเพียง ในช่วงนี้สามารถทำให้การตก สะเก็ดของแผล ระยะเวลาของโรคสั้นลง การทำให้แผลตกสะเก็ดเร็วขึ้น โอกาสการเกิดแผลติดเชื้อหรือแผลที่ลึกมากก็น้อยลง
  • อาการโรคอีสุกอีใสจะค่อย ๆ ทุเลาภายใน 1 ถึง 3 อาทิตย์ ในระยะนี้ให้ระวังโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น แก้วหูอักเสบ ปอดอักเสบ ตับอักเสบ หรือ ติดเชื้อในสมอง ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหู หรือไอ หายใจเหนื่อย เจ็บหน้าอก หรือ ตาเหลืองตัวเหลือง (ดีซ่าน) หรือ ปวดศีรษะมาก ซึมลง ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาเพิ่มเติม


การป้องกันโรคอีสุกอีใส

การป้องกันโรคอีสุกอีใสเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไวรัสอีสุกอีใสให้ผู้อื่นได้ตั้งแต่ช่วงออกอาการไข้ไปจนถึงช่วงแผลแห้งตกสะเก็ด ดังนั้นทางป้องกันที่ดีที่สุดคือ การรักษาความสะอาดของร่างกายและของใช้ ที่สำคัญคือการฉีดวัคซีนอีสุกอีใส


 

  • วัคซีนอีสุกอีใสสามรถฉีดครั้งแรกได้ตั้งแต่อายุ 1 ปี สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย แนะนำให้รับวัคซีนเข็มแรกเมื่ออายุ 12 – 18 เดือน และเข็มที่สองเมื่ออายุ 4-6 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่พบติดเชื้อได้บ่อยที่สุด แต่หากมีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น เกิดการระบาด หรือเพิ่งรับเชื้อ ให้รับวัคซีนเข็มที่ 2 ทันที แต่ต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
  • วัคซีนโรคอีสุกอีใส นอกจากป้องกันโรคได้แล้ว ยังช่วยลดโอกาสเกิดแผลเป็น และช่วยลดความรุนแรงของโรคเมื่อเกิดเป็นโรคอีสุกอีใสหลังฉีดวัคซีนแล้ว
  • วัคซีนอีสุกอีใสสำหรับอายุ 13 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ รับวัคซีน 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน หรือ ภายใน 4-8 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนเข็มแรก
  • การรับวัคซีนอีสุกอีใสสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ที่ยังไม่เคยมีเป็นโรคอีสุกอีใส ให้รับ 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 3 เดือน

 

ความเชื่อเรื่องโรคอีสุกอีใส
  • ​โรคอีสุกอีใส เป็นเองก็หายเองได้ ไม่ต้องฉีดวัคซีน - เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะโรคอีสุกอีใสสามารถเกิดโรคแทรกซ้อนได้จากการติดเชื้อจากแผลที่เกิดขึ้น ทั้งตัว และอาจเสียชีวิตได้จากการโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปอดติดเชื้อ
  • อาบน้ำต้มผักชีช่วยให้อีสุกอีใสหายไว - ความเชื่อนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์และเผยแผ่ตามหลักวิชาการ แต่สรรพคุณของผักชีคือเป็นพืชธาตุเย็นที่ช่วยลดอาการผื่นแดง แต่สำหรับการใช้รักษาโรคอีสุกอีใสยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าได้ผลจริง
  • โรคอีสุกอีใสต้องกินยาเขียวหรือยาหม้อจะได้หายเร็ว - เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะในยาเขียว ยาหม้อที่อ้างสรรพคุณขับเชื้ออีสุกอีใสให้ออกมาจากตัวนั้น ล้วนแล้วแต่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ (Steroid) ซึ่งเป็นยากดภูมิคุ้มกันจนทำให้เชื้ออีสุกอีใสที่ดูเหมือนจะไม่มีพิษมีภัย ลามกระจายไปยังอวัยวะสำคัญในร่างกายจนถึงแก่ชีวิตได้
  • ฉีดวัคซีนอีสุกอีใสแล้วจะไม่เป็นอีสุกอีใส - เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะวัคซีนป้องกันได้ประมาณ 90% ซึ่งมีโอกาสเป็นอีสุกอีใสได้ เพียงแต่จะทำให้อาการน้อยลงและใช้เวลาในการเป็นโรคสั้นลง
  • โรคอีสุกอีใสเป็นแล้วจะไม่เป็นอีก - เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะปัจจุบันมีไวรัสโรคอีสุกอีใสสายพันธุ์ใหม่ที่ค่อนข้างรุนแรงกว่าเดิม จึงสามารถเป็นอีสุกอีใสได้อีกโดยเฉพาะในผู้ใหญ่
  • ถ้าเป็นโรคอีสุกอีใส ห้ามกินไข่เพราะจะเป็นแผลเป็น - เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะไม่มีอาหารชนิดใดเป็นของแสลงกับโรคอีสุกอีใส ที่สำคัญตือผิวต้องการการดูแลและการบำรุงจากโปรตีนมากขึ้น เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่างๆ เพื่อให้มีภูมิต้านทานโรค


หากคุณพ่อ คุณแม่ หรือลูก เป็นโรคอีสุกอีใส ควรไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาที่ถูกต้องนะคะ อย่าหาวิธีรักษาเอง เพราะอาการอาจแย่ลงได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กค่ะ





 

เกราะป้องกัน ลูก ถูกรังแกในโรงเรียน

 การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

เมื่อลูกถูกรังแก คนเป็นพ่อเป็นแม่คงจะไม่ยอม...และถึงแม้ต้องเตรียมทำใจว่าหลีกเลี่ยงยากอยู่เหมือนกัน แต่นี่ก็น่าจะเป็นการเตือนให้พ่อแม่เตรียมรับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และไม่มองว่าการรังแกกันในโรงเรียนเป็นเพียงการเล่นซนของเด็กเช่นกัน

ถ้าลูกมีอะไรก็เล่าให้เราฟังหมด ค่อยเบาใจว่ารู้ปัญหาเร็ว ช่วยแก้ได้ทันก่อนจะลุกลาม แต่ถ้าเราเป็นพ่อแม่ที่แค่ลูกอ้าปากก็ว้ากใส่ก่อนแล้ว หรือพอเล่าเรื่องให้ฟังกลับถูกตีซ้ำ เด็กก็จะปิดปากเงียบ ทนเจ็บเพียงลำพังดีกว่า ถ้าปล่อยเรื้อรังอาจอันตราย คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดใจและให้เวลากับลูก ต้องรับฟังด้วยท่าทีสนใจและให้กำลังใจเสมอ สำหรับเด็กที่ไม่กล้าบอก ก็พอจะสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของเขาได้  

สัญญาณเตือน..ลูกถูกรังแก

1.เด็กที่ถูกรังแกมักจะมีบุคลิกที่ดูบอบบาง อ่อนแอ ขี้ขลาด ขี้กังวล อ่อนไหว และขี้อาย

2.กลัวการไปโรงเรียน

3.จากที่ร่าเริงกลายเป็นเด็กที่ขี้อาย เก็บตัว ไม่พูดจา ไม่อยากเล่นกับใคร

4.ผลการเรียนตกต่ำ

5.กินน้อยหรือไม่อยากกินอาหาร

6.ร้องไห้ก่อนจะหลับเป็นประจำ

7.ไม่ค่อยมีเพื่อน

8.ทุกครั้งที่ถามว่ามีปัญหาอะไรก็จะบอกเพียงว่า "เปล่า" และอยู่ๆ ก็พูดเรื่องอยากหนีหายไปจากโลก  

หากพบพฤติกรรมเหล่านี้ ลองหาวันที่สบายๆ พูดคุยกับลูกเรื่องที่โรงเรียน ถามถึงเพื่อนๆ ของลูก หากเขายังไม่ปริปากพูด ก็คงต้องเข้าไปปรึกษาไถ่ถามกับคุณครูที่โรงเรียนกันแล้ว  

ช่วยลูกลุกขึ้นเมื่อถูกรังแก เมื่อรับรู้ว่าลูกมีปัญหา ถือโอกาสนี้บอกกับลูกว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาของสังคมที่ต้องมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกันอยู่ ลูกเป็นเด็กดี ส่วนคนที่มารังแกนั้นเป็นเด็กไม่ดี เพราะฉะนั้นอย่าแก้ไขปัญหาด้วยการทำตัวแบบเด็กไม่ดี

ดังนั้นอย่างแรกที่คุณแม่ต้องทำคือตั้งสติ ชวนลูกมานั่งวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเพื่อหาทางออกร่วมกัน คิดว่านี่เป็นโอกาสทองที่ลูกจะได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้กล้าเผชิญกับปัญหาอื่นๆ ต่อไปได้ พ่อแม่ต้องเป็นตัวช่วยและเป็นกำลังใจให้ลูก แนะนำลูกทำวิธีนี้ โดยต้องให้ลูกลองทำเอง พ่อแม่เป็นเพียงพี่เลี้ยงก็พอ  

  • ไม่ต้องไปใส่ใจกับเสียงหัวเราะที่เพื่อนแกล้งด่าว่าเรา เพราะการมีอารมณ์ตอบโต้เป็นอาวุธที่ดีสำหรับเด็กที่ชอบข่มขู่หรือรังแกเพื่อน พวกเขามองว่าเป็นเรื่องสนุก ถ้าทำเฉยๆ ซะให้เขาผิดหวังครั้งต่อไปก็ไม่แกล้งแล้วเพราะหมดสนุก  

  • ไม่ต้องฟังเพื่อนที่ชอบเหน็บแนม ให้เดินหนี หรือตอบว่า "ไม่"แล้วเดินไป  

  • ไปไหนมาไหนกับเพื่อนเป็นกลุ่มๆ อย่าแยกเดินคนเดียว  

  • หาเพื่อนที่ไว้ใจได้ คบกันเป็นกลุ่ม เพราะการมีพวกทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น  

  • ถ้าถึงขั้นรุนแรงก็ควรบอกคุณครู หรือผู้ใหญ่  

  • อย่าตอบโต้ด้วยกำลังเด็ดขาด เพราะผลจะได้ไม่คุ้มเสีย

สร้างเกราะป้องกัน ภูผาไม่หวั่นด้วยแรงลมฉันใด เด็กที่เข้มแข็งทั้งกายและใจ ย่อมไม่หวั่นต่อการถูกรังแกฉันนั้น  

ในระยะยาว เด็กที่ถูกรังแกอาจกลายเป็นคนไม่เชื่อมั่นในตัวเอง และอาจเป็นโรคซึมเศร้า จนถึงขั้นฆ่าตัวตาย ดังนั้นผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่หรือครูจึงต้องจัดการกับปัญหานี้ตั้งแต่แรก และสอนให้เด็กเรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมให้ได้ด้วยตัวเองไปพร้อมๆกัน ด้วยการสร้างลูกให้เข้มแข็งโดยการบ่มเพราะฮีโร่ในตัวเขาให้กลายเป็นอาวุธถาวร

เพราะเด็กที่ถูกรังแกจะสูญเสียความมั่นใจ ต้องเรียกขวัญและกำลังใจกลับมาให้เขามองเห็นคุณค่าของตนเสียก่อน ให้เขามองเข้าไปภายในและภูมิใจในความเป็นตัวเอง แม้จะตัวเล็ก ผิวดำ ผมหยิก พูดน้อย ไม่เก่งเลข เขาก็ยังเป็นลูกรักของพ่อและแม่เสมอ ชี้ให้เขามีทัศนคติที่ดีต่อตัวเองและผู้อื่น  

แม้ปัจจุบันหลายโรงเรียนมีมาตรการในเรื่องนี้ ทั้งตักเตือน ทำโทษ ไล่ออก แต่ถ้าไม่มีการรังแกกันเกิดขึ้นเลยคงดีกว่าจะได้ช่วยลดภาวะการใช้ความรุนแรงที่ล้นโลกอยู่ในขณะนี้ได้ไม่น้อยทีเดียว  

แล้วใครล่ะที่จะกอบกู้สถานการณ์โลกแห่งความรุนแรงนี้ได้ ถ้าไม่ใช่...คุณครูและพ่อแม่ ช่วยกันคนละไม้ละมือค่ะ

 

เคล็ดลับ! ​เลือกรองเท้าอย่างไร ให้เหมาะกับช่วงวัยลูกน้อย แถมช่วยพัฒนาการดี

 ของใช้เด็ก-ของใช้เด็กนักเรียน-ของใช้เด็กเล็ก-รองเท้า-รองเท้าเด็ก-การเลือกรองเท้าลูก

คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะ ว่าการดูแลเท้าของลูกเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะการการเลือกรองเท้า ควรให้เหมาะกับรูปเท้าและกิจกรรมต่าง ๆ ของลูก เพราะรองเท้ามีส่วนช่วยให้ลูกมีพัฒนาการสมวัยได้

นพ.กฤษฎิ์ พฤกษะวัน ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลเวชธานี บอกไว้ว่า เท้าเป็นพื้นฐานสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็กทุกคน เพราะเด็กจะเรียนรู้ด้วยการมอง ฟัง และเดินไปสัมผัสสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้น หากเด็กมีสุขภาพเท้าที่ดี มีขาที่แข็งแรง ทำให้มีความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งใหม่และมีพัฒนาการสมวัย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา

“นอกจากการดูแลเท้าของลูกให้แข็งแรงและถูกอนามัยแล้ว สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องใส่ใจและให้ความสำคัญมาก ๆ นั่นคือการเลือกรองเท้าให้เหมาะกับลูก เพราะเด็กแต่ละช่วงวัยจะมีการพัฒนากระดูกเท้าที่แตกต่างกัน รวมถึงกิจกรรมที่ต้องใช้เท้าแต่ละช่วงอายุก็แตกต่างกันด้วย ซึ่งเท้าเด็กจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว พ่อแม่จึงควรตรวจเช็คความคับหรือหลวมของรองเท้าอยู่เสมอ บางครั้งอาจต้องเปลี่ยนรองเท้าถึง 3 ไซส์ ในช่วง 1 ปี”

นอกจากนี้ ผู้ปกครองต้องคอยสังเกตรอยแดงบริเวณข้อเท้าเด็กอยู่เสมอ หากพบรอยแดงใต้ส้นเท้าแสดงว่ารองเท้านั้นสั้นไป ถ้ามีรอยแดงนอกส้นเท้าในส่วนข้อต่อด้านบนแสดงว่ารองเท้าเตี้ยไป ถ้ามีรอยแดงที่ขอบนอกหรือขอบด้านในเท้าแสดงว่ารองเท้าแคบไป ซึ่งรองเท้าที่พอดีควรมีความยาวมากกว่าเท้าประมาณ 2/3 นิ้ว เพื่อให้มีพื้นที่มากพอในการป้องกันการบีบของนิ้วเท้า โดยควรเลือกซื้อหรือลองรองเท้าในช่วงบ่ายเพราะเป็นช่วงที่เท้าจะขยายขนาดและบวมจากการใช้งานมานาน เพื่อป้องกันการซื้อรองเท้าที่คับเกินไป

การเลือกรองเท้าตามช่วงอายุของเด็ก แบ่งเป็นดังนี้
  • เด็กอายุ 0-1 ปี (Infancy) ช่วงนี้เด็กยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้รองเท้า เพียงแต่อาจใช้ถุงเท้าใส่เดินเพื่อป้องกันความร้อนหรือเย็น

  • เด็กอายุ 1-2 ปี (Young Infant) เด็กจะเริ่มหัดเดิน โดยธรรมชาติของการพัฒนากระดูกเท้าแล้ว ในระยะนี้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้รองเท้า การใช้รองเท้าในระยะนี้มีจุดประสงค์เพียงป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อมภายนอก รองเท้าที่เหมาะสมในระยะนี้ควรจะนิ่มและยืดหยุ่นได้ดี เพื่อให้เกิดอิสระในการเดิน คล้ายกับการไม่สวมรองเท้า รองเท้าที่หนาหรือแข็งเกินไปจะเพิ่มแรงกดที่เท้าและส่งผลกระทบต่อพัฒนาการกระดูกเท้าของเด็ก

  • เด็กอายุ 2-4 ปี (Middle aged Infant) ช่วงนี้เด็กจะเดินเยอะ ตามกฎธรรมชาติของการเจริญเติบโตของกระดูกเท้านั้น เท้าและข้อเท้ามีการอาการเอียงและแบนได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้รองเท้าที่มีอุ้งเท้าหรือแก้เท้าแบน

  • เด็กอายุ 4-6 ปี (Late Infant age) เป็นช่วงที่เด็กมีกิจกรรมทางกีฬามากขึ้น ทั้งกระโดด ปีนป่าย กระดูกเท้าจึงมีการพัฒนาและปรับตัวทางด้านรูปทรงของเท้าอย่างรวดเร็ว รองเท้าที่แนะนำในระยะนี้คือ รองเท้าหุ้มข้อเท้าและล็อคข้างใต้ข้อเท้าได้ โดยต้องไม่ยวบจนเกินไป แต่ไม่จำเป็นต้องมีซิลิโคนเสริมส้นเท้าเพื่อรองรับแรงกระแทก เพราะเด็กมีไขมันใต้ส้นเท้าที่รับแรงกระแทกได้ดีอยู่แล้ว ดังนั้น รองเท้าควรเป็นแบบพื้นราบและช่วงปลายเท้าควรยืดหยุ่นได้ดี โดยสังเกตได้จากการเดินไปข้างหน้า ส่วนปลายรองเท้าควรงอ แต่ต้องไม่งอตรงส่วนกลางของรองเท้า

  • เด็กอายุ 6-10 ปี (Elementary School age) กระดูกเท้าปรับตัวเข้ารูปมากขึ้น โดยในผู้ชายจะมีการขยายที่ข้อกลางเท้าและในผู้หญิงรูปเท้าจะปรับเรียวมากขึ้น ทั้งนี้ มีการศึกษาพบว่าในระยะนี้จะมีแรงกดกระทำต่อกระดูกส้นเท้ามากขึ้นจากกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น จึงควรเลือกรองเท้าที่ส่วนของส้นเท้ายกสูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้น้ำหนักถ่ายเทมาที่ปลายเท้าแทน

  • เด็กอายุ 12-15 ปี (Late School age) กระดูกมีการพัฒนาและปรับตัวจนสมบูรณ์ ในผู้หญิงกระดูกเท้าจะโตเต็มที่ช่วงอายุ 12-13 ปี ขณะที่ผู้ชายกระดูกเท้าโตเต็มที่อายุประมาณ 14-15 ปี ดังนั้น การเลือกรองเท้าในวัยนี้จึงคล้ายกับการเลือกใช้รองเท้าในผู้ใหญ่

การเลือกรองเท้าให้เด็กในแต่ละช่วงอายุมีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยธรรมชาติของการพัฒนากระดูกเท้านั้นจำเป็นต้องมีแรงกดจากน้ำหนักตัวที่พอเหมาะต่อกระดูกเท้า เพื่อเลียนแบบการเจริญที่ปกติจากการเดินเท้าเปล่า (Barefoot) จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้รองเท้าหรืออุปกรณ์ดัดเท้าเสริมในรองเท้าเด็กที่ไม่มีปัญหาความผิดปกติ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111

เคลือบหลุมร่องฟันคืออะไร ดียังไง ทำไมต้องทำให้ลูก

เคลือบหลุมร่องฟันคืออะไร- เคลือบหลุมร่องฟัน- ทำไมต้องเคลือบหลุมร่องฟัน- เคลือบหลุมร่องฟันดีไหม- เคลือบหลุมร่องฟันให้ลูก 

เคลือบหลุมร่องฟันคืออะไร ดียังไง ทำไมต้องทำให้ลูก ?

รู้แล้วจะทำให้ลูก! เคลือบหลุมร่องฟันคืออะไร ดียังไง ทำไมต้องทำให้ลูก คุณหมอตุ๊กตา เจ้าของเพจฟันน้ำนมมีคำตอบค่ะ

Q : "การเคลือบหลุมร่องฟันคืออะไร ฟันไม่ผุเสียหน่อย ทำไมต้องทำด้วย"

A : การเคลือบหลุมร่องฟันคือการนำวัสดุทางทันตกรรม (ส่วนใหญ่เป็นเรซิน) มาเคลือบทับบนหลุมร่องฟันที่ลึกและทำความสะอาดได้ยาก เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ เพื่อช่วยให้ทำความสะอาดฟันซี่นั้นได้ง่ายขึ้น ป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุได้ง่าย ๆ

เด็กอายุประมาณ 5.5-7 ขวบจะเริ่มมีฟันกรามแท้ซี่แรกขึ้นมาในช่องปาก ฟันซี่นี้เสี่ยงในการเกิดฟันผุสูงเพราะขึ้นมาเร็วและอยู่ด้านใน ทำความสะอาดลำบาก และลักษณะทางกายภาพด้านบดเคี้ยวของฟันกรามนั้นมีหลุมร่องฟันที่ค่อนข้างลึกและซับซ้อนทำให้มีเศษอาหารติดได้ง่ายและทำความสะอาดได้ยาก การเคลือบหลุมร่องฟันจะช่วยทำให้หลุมร่องฟันตื้นขึ้น ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุทางด้านบดเคี้ยว

Q : "จำเป็นต้องเคลือบหลุมร่องฟันในฟันน้ำนมหรือไม่"

A : ทันตแพทย์จะพิจารณาตามความเสี่ยงในการเกิดฟันผุของผู้ป่วยเป็นรายบุคคล โดยทั่วไปแล้วฟันกรามน้ำนมจะมีหลุมร่องฟันไม่ลึกและไม่ซับซ้อนเท่าผู้ใหญ่ ในเด็กที่มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุต่ำไม่จำเป็นต้องเคลือบหลุมร่องฟันก็ได้ แต ถ้าหมอพิจารณาดูแล้วเด็กมีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูง แนะนำให้เคลือบหลุมร่องฟันในฟันน้ำนมค่ะ

ในเด็กแต่ละคนมีความจำเป็นในการเคลือบหลุมร่องฟันแตกต่างกันไป หากต้องการทราบว่าลูกจำเป็นต้องเคลือบหลุมร่องฟันหรือไม่ (ไม่ว่าในฟันแท้หรือฟันน้ำนม ไม่ว่าลูกอายุเท่าไร) ต้องพาลูกไปพบหมอฟันเพื่อตรวจฟัน และปรึกษานะคะ

 

รักลูก Community of The Experts

ทพญ. ปวีณา คุณนาเมือง
ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก
เจ้าของเพจ "ฟันน้ำนม"

เช็กลิสต์พัฒนาการเด็กวัย 5-6 ปี พ่อแม่ต้องส่งเสริมอย่างไรให้ลูกเติบโตดี สมวัย

4424 2 

ลูกอายุ 5-6 ขวบมีพัฒนาการทั้งร่างกาย สมอง และอารมณ์ดีไปถึงขั้นไหนแล้ว คุณแม่มาเช็คพัฒนาการลูกวัย 5-6 ปีได้ตรงนี้พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กค่ะ

เช็กลิสต์พัฒนาการเด็กวัย 5-6 ปี พ่อแม่ต้องส่งเสริมอย่างไรให้ลูกเติบโตดี สมวัย

นักจิตวิทยา เดวิด เมลตัน กล่าวว่า “ในช่วง 5 ปีแรกของลูก พ่อแม่ต้องอุทิศเวลาให้การศึกษาอบรมลูก ก่อนที่โลกภายนอก เช่น ครู เพื่อนและโทรทัศน์ จะเข้ามายึดครองลูกไว้วันละหลายชั่วโมง”

การดูแลเอาใจใส่เด็กเป็นอย่างดีในช่วงเวลาสั้นๆ จะทำให้พัฒนาไปเป็น เด็กที่ตื่นตัว อยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ และเด็กจะเป็นคนที่มีความรัก ใส่ใจผู้อื่น ฉลาด และมีความคิดสร้างสรรค์จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่

 

พัฒนาการทางร่างกายและการส่งเสริม

การเจริญเติบโตของร่างกายส่วนต่างๆ จะยังไม่เท่ากัน ปอดจะยังมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ หัวใจจะเจริญเติบโตเร็วมาก เด็กวัยนี้ จะเต็มไปด้วยพลัง และเคลื่อนไหวมาก เพราะกล้ามเนื้อมัดใหญ่นั้นพัฒนาเร็วกว่ากล้ามเนื้อมัดเล็ก

กล้ามเนื้อมัดใหญ่

  1. ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดี วิ่งเร็วขึ้น ปีนป่าย ลื่นไถล โหนตัวไปมา กระโดดได้ไกล ยืนและวิ่งบนปลายเท้าได้นาน เดินเป็นเส้นตรงได้
  2. โยน รับ เตะลูกบอลได้ดี ชำนาญในการไล่จับลูกบอลในสนามกว้างๆ
  3. จะทรงตัวได้ดีกว่าเดิม และชอบเต้นรำ
  4. ขี่จักรยานสามล้อได้ดี พัฒนาจนจนขี่จักรยานสองล้อได้คล่อง
  5. จะชอบเล่นโลดโผนทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย ชอบตีลังกา กระโดดสูงๆ

 กล้ามเนื้อมัดเล็ก

  1. ใช้มือได้ดี จับดินสอ พู่กัน สีเทียนได้ถูกต้อง
  2. ใช้ช้อนส้อมได้คล่อง กินอาหารเลอะเทอะน้อยลง
  3. สามารถวาดรูปตามแบบได้ วาดรูปคนมีส่วนหัว แขน ขา ลำตัวได้ วาดรูปบ้านมีประตู หน้าต่าง และหลังคาได้
  4. คัดลอกพยัญชนะบางตัวได้ แต่ยังไม่พร้อมสำหรับการเขียนหนังสือ
  5. บอกได้ว่าข้างไหนมือซ้ายหรือขวาของตัวเอง
  6. ร้อยไหมพรมในแผ่นที่เจาะเป็นรูได้ หรือ ร้อยลูกปัดได้
  7. อาบน้ำเองได้ดีขึ้น แต่งตัวเองได้ โดยติดกระดุมเม็ดใหญ่ได้ แต่เม็ดเล็กๆ ยังติดไม่ได้
 

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-พัฒนาการเด็ก-กระตุ้นพัฒนาการ

 

การส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัย 5-6 ปี

  1. ปล่อยให้เด็กได้เล่นโลดโผน เพื่อปลดปล่อยพละกำลังเต็มที่ แต่ควรเลือกสถานที่เล่นให้เหมาะสม
  2. ให้เล่นดินน้ำมัน หรือปั้นแป้งตามแต่จินตนาการของเด็ก 

 

สุขภาพฟันของเด็กวัย 5-6 ปี

ฟันเด็กวัย 5-6 ปี จะเริ่มมีฟันแท้ขึ้น และฟันแท้ซี่แรกคือ ฟันกรามซี่ล่าง ถือเป็นฟันชุดที่ 2 หรือ ฟันแท้ ซึ่งจะขึ้นซี่แรกเมื่อเด็กอายุประมาณ 5-6 ปี โดยขึ้นต่อจากตำแหน่งของฟันกรามน้ำนมซี่สุดท้ายเข้าไปด้านใน ส่วนฟันแท้ซี่อื่นๆ จะทะยอยขึ้นมาแทนฟันน้ำนม

ฟันกรามแท้จะมีรูปร่างคล้ายฟันกรามน้ำนม แต่ฟันกรามแท้จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ และประมาณ 6 เดือนต่อมา ฟันกรามแท้คู่บนจึงจะขึ้น ฟันกรามแท้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นฟันซี่ที่สำคัญที่สุดในการบดเคี้ยวอาหารเพราะต้องใช้เคี้ยวอาหารไปตลอดชีวิต

ฟันกรามแท้มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในวัยเรียนเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อฟันกรามแท้ขึ้น เด็กบางคนจะรู้สึกเจ็บระบมที่เหงือก อาจเคี้ยวอาหารไม่สะดวก จึงทำให้เด็กเกิดการเบื่ออาหารได้

หากฟันซี่นี้ผุ เด็กมักจะมีร่างกายผอม ไม่แข็งแรง จะเจ็บคอและเป็นหวัดบ่อย ในเด็กบางคนอาจมีผลทำให้ขาดอาหารได้ เพราะใช้ฟันเคี้ยวอาหารได้ไม่สะดวก เด็กจะไม่แจ่มใส จะมีผลต่อการเรียนและอนาคตของเด็ก

และฟันแท้ซี่นี้เป็นแนวทางให้ฟันแท้ซี่อื่นๆ ที่จะขึ้นต่อไป สามารถขึ้นได้ตรงตามตำแหน่ง ทำให้การสบฟันทั้งปากเป็นปกติ เป็นการป้องกันการเกิดฟันเก และฟันซ้อนในเด็ก

 

การส่งเสริมสุขภาพฟันของเด็กวัย 5-6 ปี

เมื่อเด็กมีอายุ 5-6 ปี พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูมักเข้าใจผิด เรื่องการดูแลสุขภาพภายในช่องปากของเด็ก เพราะคิดว่าเด็กสามารถช่วยตัวเองได้แล้ว จึงปล่อยให้เด็กแปรงฟันเอง โดยไม่ช่วยดูว่า เด็กแปรงฟันสะอาดหรือไม่ ดังนั้นจึงควรเอาใจใส่ดูแล คอยตักเตือนเรื่องการทำความสะอาดฟัน และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก

  1. แปรงฟันให้ถูกวิธี วันละ 2 ครั้ง
  2. เลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม เพื่อช่วยดูแลสุขภาพเหงือกและฟันของเด็ก
  3. ควรดูแลเรื่องอาหารการกิน ให้ดีมีประโยชน์ ต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพฟัน
  4. หลังจากกินขนมหวาน หรือดื่มนม ควรให้เด็กแปรงฟันหรืออย่างน้อยก็บ้วนปากทุกครั้ง เพื่อป้องกันฟันผุ
  5. ใช้ฟลูออไรด์ ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ตัวฟัน
  6. เมื่อฟันกรามแท้ขึ้น ควรพาไปพบทันตแพทย์ เพื่อเคลือบหลุมร่องฟัน ป้องกันฟันผุ เนื่องจากด้านบดเคี้ยวของฟันกรามมีหลุมร่องมากมาย ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำตามระยะเวลาที่เหมาะสม
  7. สอนให้เด็กใช้ฟันให้ถูกหน้าที่ ไม่ควรใช้ฟันกัดเล็บ กัดดินสอ กัดของเล่นที่เป็นพลาสติกแข็งๆ เป็นต้น
  8. ฝึกวิธีการตรวจฟันด้วยตัวเอง และหมั่นตรวจฟันให้เด็กเป็นประจำ

 

พัฒนาการทางภาษาและการส่งเสริม

ในลำดับขั้นตอนพัฒนาการทางภาษาของเด็กอายุ 5 -6 ปี จะอยู่ในระยะตอบสนอง (Responding Stage) มีพัฒนาการทางภาษาสูงขึ้น จากการเข้าสังคมมากขึ้น เช่น ในโรงเรียนอนุบาล เด็กจะได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยคอย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ และการใช้ภาษามีแบบแผนมากขึ้น

 

พัฒนาการทางภาษา เด็กอายุ 5 - 6 ปี

พูดได้ชัดเจน และเข้าใจได้ง่ายขึ้น สนใจคำศัพท์ใหม่ๆ พยายามค้นหาความหมายของคำ โดยเฉพาะคำที่เป็นนามธรรม ด้วยการถามความหมายของคำนั้น ใช้คำถามแบบเป็นเรื่องเป็นราวและมีจุดมุ่งหมายมากขึ้น เช่น นี่เอาไว้ทำอะไร หรือ อันนี้ทำงานยังไง เป็นต้น เริ่มมีพัฒนาการทางด้านภาษามากขึ้น สามารถเข้าใจคำพูด ข้อความยาวๆ ของผู้ใหญ่ได้ บอกความหมายของคำนามได้จากการลงมือใช้หรือลงมือทำจริงๆ เช่น นมสำหรับดื่ม ลูกบอลเอาไว้โยน เป็นต้น พยายามพูดยาวๆ เลียนแบบผู้ใหญ่ จะพูดได้คล่องและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ออกเสียงพยัญชนะบางตัวไม่ชัด เช่น ส ว ฟ บอกชื่อนามสกุล และที่อยู่ได้ บอกได้ว่า ชอบ หรือ ไม่ชอบ อะไร วัยนี้ช่างเล่า ชอบเล่าเรื่องที่โรงเรียนให้พ่อแม่ฟัง และชอบเล่าเรื่องที่บ้านให้ครูฟัง ชอบท่องหรือร้องเพลงที่มีจังหวะและเนื้อร้องที่มีคำสัมผัสกัน ชอบฟังและอ่านนิทาน จดจำเรื่องโปรด และแสดงท่าทางประกอบเมื่ออยู่กับเพื่อนหรืออยู่คนเดียว แม้จะพอใจที่คนอื่นอ่านหนังสือให้ฟัง แต่ก็ชอบแยกไปนั่งตามลำพังเพื่อดูหรืออ่านหนังสือตามแบบของตัวเอง ชอบเรื่องตลกขบขัน โดยเฉพาะเรื่องสัตว์ที่ทำอะไรได้เหมือนกับคน ชอบฟังนิทานประเภทเทพนิยาย เริ่มเรียนรู้ทักษะทางภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาพูด ได้แก่ ภาษาอ่าน ภาษาเขียน มีทักษะด้านความจำหรือพูดโต้ตอบได้อย่างดี อาจใช้วิธีจำสัญลักษณ์หรือตัวหนังสือที่เขียนเป็นคำๆ ท่องจำเลข 1-10 หรือ 1-50 ได้ แต่ขาดความเข้าใจในเรื่องการเรียงลำดับ การเพิ่มจำนวน หรือจำนวนพื้นฐาน การส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กวัย 5-6 ปี


4424 3

พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนให้กับเด็ก

ด้วยวิธีการเชื่อมโยงจากความเข้าใจพื้นฐาน ไม่เน้นการอ่านแบบท่องจำหรือการเขียนให้ถูกต้องสวยงาม เด็กควรได้เรียนรู้เรื่องพื้นฐานระบบเสียงที่เชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ ซึ่งหมายถึงการสะกดคำอย่างง่ายๆ ให้ความสำคัญในเรื่องทักษะพื้นฐานที่สำคัญทางภาษา เพื่อการเรียนรู้อีกเรื่องหนึ่ง คือ จำนวนและตัวเลข ส่งเสริมความเข้าใจในเรื่องของจำนวนหรือตัวเลข และเรื่องการเรียงลำดับ การเพิ่มจำนวน หรือจำนวนพื้นฐาน ให้เรียนรู้หลักการของจำนวน 1-10 หรือ 20 ให้ได้ ก่อนที่จะหัดให้บวกลบเลขจากโจทย์

 

พัฒนาการทางสติปัญญาและการส่งเสริม

สมองของเด็กวัยนี้ พัฒนาการดีขึ้นเป็นลำดับ สำหรับเด็กที่ผ่านการฝึกระเบียบและความอดทนรอคอยจากพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูหรือครูในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอเด็กจะสามารถควบคุมตัวเองได้ดี และเมื่อเด็กเรียนรู้ จดจำประสบการณ์ในเชิงลบ ทั้งจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และการถูกทำโทษ สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งช่วยเตือนไม่ให้เด็กซนหรือทำผิดซ้ำอีก ดังนั้นเด็กในวัยนี้ จะซุกซนน้อยลง มีสมาธิมากขึ้น

 

พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กอายุ 5 - 6 ปี

นับนิ้วจากมือข้างหนึ่งต่อเนื่องไปอีกข้างหนึ่งได้ เข้าใจเรื่องขนาดและคำที่แสดงปริมาณ จับคู่จำนวนกับสิ่งของได้ จัดแยกกลุ่มได้ตามขนาด สี รูป ร่าง และอะไรคู่กับอะไร ชอบการฝึกสมองลองปัญญา และคิดล่วงหน้าได้ เช่น คิดว่าจะต่อบล็อกเป็นรูปอะไร หรือจะวาดรูปเป็นรูปอะไร ชอบเล่นเกมต่อภาพ และสามารถต่อภาพจิ๊กซอว์ขนาด 26 ชิ้นได้สำเร็จ เข้าใจจังหวะดนตรี แสดงความสนใจในอาชีพต่างๆ เช่น อาจบอกว่า “หนูอยากเป็นหมอ” เริ่มสนใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากกว่านิทานหรือเรื่องที่เคยชอบ เริ่มเรียนรู้ที่จะประสานสิ่งที่รู้กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้เข้ากับประสบการณ์ที่เคยผ่านมา การส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กวัย 5-6 ปี

พูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ เล่านิทาน อ่านหนังสือให้เด็กฟัง และทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกับเด็ก เลือกรายการโทรทัศน์ที่ช่วยเส่งเสริมความรู้รอบตัว และสร้างจินตนาการให้กับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กเล่นบทบาทสมมติได้ทุกเมื่อ

 

พัฒนาการทางสังคมและการส่งเสริม

เด็กเริ่มออกจากบ้านไปสู่หน่วยสังคมอื่น คือ โรงเรียน เด็กจะได้เรียนรู้การเป็นสมาชิกของกลุ่มเพื่อนรุ่นเดียวกัน สัมพันธภาพที่มีต่อเพื่อนจะสอนการเป็นอยู่ในสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่นจะสร้างลักษณะนิสัยการแข่งขัน และสอนให้เด็กรู้จักการร่วมมือกับผู้อื่น กลุ่มจึงมีความสำคัญต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กในวัยนี้ ดังนั้น พ่อแม่ควรจะสนับสนุนให้เด็กได้เข้ากลุ่มที่เหมาะสมกับสภาพของตัวเอง

 

พัฒนาการทางสังคมของ เด็กอายุ 5 - 6 ปี

อยากทำให้พ่อแม่และผู้ใหญ่พึงพอใจ สัมพันธ์ใกล้ชิดกับพ่อได้ดี และเชื่อฟังพ่อมากกกว่าแม่ รู้จักการให้ การรับ และการแบ่งปัน มีความอดทน รู้จักรอคอยมากขึ้น รู้จักแสดงออก แสดงความสนใจและการผูกมิตร คบหาเพื่อนได้ดี เล่นคนเดียวหรือเล่นกับกลุ่มเพื่อน 1-3 คนได้ รู้จักการเป็นผู้นำ การเสนอความคิดเห็น สนใจเรื่องสนุกขบขัน การส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมของเด็กวัย 5-6 ปี

ฝึกฝนระเบียบวินัย ให้เด็กอยู่ในกฎเกณฑ์ที่ตกลงกันในบ้าน เตรียมความพร้อมด้านจิตใจให้กับเด็กก่อนเข้าโรงเรียน เช่น หัดให้มีความอดทน รู้จักรอคอย สามารถจากพ่อแม่และอยู่กับคนที่ไม่รู้จัก ได้นานหลายชั่วโมงในแต่ละวัน เตรียมความพร้อมทางร่างกาย ก่อนเด็กเข้าโรงเรียน เช่น สร้างเสริมให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงดี มีทักษะในการใช้ตาและมือขั้นพื้นฐานบางอย่าง เช่น ควรรู้จักเรื่องรูปร่าง รูปทรง สี ควรเปิดหนังสือได้ เป็นต้น เลือกโรงเรียนให้เหมาะสมกับเด็ก

พัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจและการส่งเสริม

เด็กวัยนี้ จะยังมีความกรวนกระวายใจและรู้สึกกลัวอย่างไร้เหตุผลอยู่ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วพวกเขาจะมีความมั่นคงทางอารมณ์ และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง

การควบคุมอารมณ์ (Impulse control) เด็กในระยะแรกเกิดจนถึงอายุ 5 - 6 ปี จะควบคุมอารมณ์ไม่ได้ดี รู้สึกอย่างไรจะแสดงออกทันที จึงเห็นว่าบางครั้ง เด็กเล็กๆ จะมีพฤติกรรมสลับไปมาในการแสดงออกของความรัก ความโกรธ ความเกลียด หรือ อาละวาดให้เห็นอยู่เสมอๆ

พอถึงวัย 5 - 6 ปี เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญาดีขึ้น มีความคิดเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น ก็จะไม่แสดงออกในทันที มีภาวะสงบของอารมณ์ดีขึ้น ทำให้เด็กพร้อมที่จะเรียนหนังสือได้

 

พัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจของ เด็กอายุ 5 - 6 ปี

รู้จักกลัว เช่น กลัวความสูง กลัวสัตว์ กลัวตาย เป็นต้น และสามารถอธิบายความกลัวหรือความวิตกกังวลได้ดีขึ้น สนใจเรื่องการเกิด การแต่งงาน การตาย มีความรู้สึกกลัวตาย ชอบเป็นอิสระ อยากให้ทุกคนปฏิบัติตัวเหมือนเขาเป็นผู้ใหญ่ แสดงออกถึงความตั้งใจและมั่นใจในตัวเอง และต้องการตัดสินใจด้วยตัวเอง ยอมรับการลงโทษที่ยุติธรรม เมื่อโกรธ เหนื่อย หรือถูกขัดใจ จะอาละวาด กรีดร้อง แต่ร้องไห้น้อยลง เวลาเครียดจะชอบดึงจมูก กัดเล็บ ปิดจมูก กะพริบตาถี่ๆ สั่นหัว หรือทำเสียงเครือๆ ในคอ เป็นต้น การส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจของเด็กวัย 5-6 ปี

 

หากเด็กวัยนี้ยังติดการดูดนิ้วหัวแม่มือ ควรให้เด็กได้เล่นกับเด็กรุ่นเดียวกันหรือเด็กที่โตกว่า เพราะเด็กจะเลิกดูดนิ้วเมื่อถูกเพื่อนๆ แสดงท่าทีไม่ยอมรับหรือไม่ชอบเด็กที่ยังดูดนิ้ว ต้องช่วยส่งเสริมบทบาทของพี่ต่อน้อง จะช่วยให้เด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน แบ่งปันกัน เด็กจะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีปัญหาหรือมีนิสัยขี้อิจฉา แข่งขันกับเพื่อนหรือคนรัก ช่วยให้เด็กเรียนรู้ ยอมรับความจริง และเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเกิดกับทุกคน โดยเฉพาะเรื่องความรู้สึกกลัวตายและความตายที่เด็กกำลังกลัวอยู่ เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับความตายก่อนที่เด็กจะได้สัมผัสกับความตายในชีวิตจริง และให้เด็กได้มีกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องความตาย แบบค่อยเป็นค่อยไป

 

 

เช็กเลย เรากำลังเป็น Dysfunctional Family ที่ทำร้ายและทำลายลูกหรือเปล่า

Dysfunctional Family, ครอบครัวพร่องหน้าที่, Dysfunctional Family คืออะไร, ครอบครัวมีปัญหา, ปัญหาครอบครัว, การเลี้ยงลูก, ปัญหาการเลี้ยงลูก

เช็กเลย เรากำลังเป็น Dysfunctional Family ที่ทำร้ายและทำลายลูกหรือเปล่า

Dysfunctional Family ครอบครัวบกพร่องหน้าที่ เป็นเรื่องที่พบได้ทุกวันและเกิดได้ทุกครอบครัว โดยที่พ่อแม่ส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่ากำลังก่อปัญหาที่ทำร้ายและทำลายลูกโดยไม่รู้ตัว

 

สัญญาณเตือนว่าเรากำลังเป็น “ครอบครัวบกพร่องหน้าที่” 

 

1. คนในครอบครัวมีพฤติกรรมเสพติดอะไรบางอย่าง (Addiction) : เช่น ติดเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ติดงาน ชอปปิง ติดเกม เสพสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ 

2. เลี้ยงลูกแบบผิด ๆ และเพิกเฉย (Abuse & Neglect) : ปล่อยปละละเลยลูก ไม่ให้ความรักความอบอุ่น พ่อแม่สนใจแต่เรื่องตัวเอง ไม่มี Family Attachment (สายสัมพันธ์ในครอบครัว)

3. พ่อแม่มีปัญหาบุคลิกภาพ (Personality Disorders) : พ่อแม่ต่อต้านสังคม เก็บตัว ย้ำคิดย้ำทำ หวาดระแวง หลงตัวเอง หูเบา ชอบพูดเกินจริง เรียกร้องความสนใจ อารมณ์รุนแรง ใช้ความรุนแรง กลัวถูกทิ้ง

4. พ่อแม่เลี้ยงลูกให้เป็นเพื่อน เป็นที่ปรึกษา (Emotional Incest หรือ Convert Incest) : พูดคุยกับลูกในเรื่องที่ไม่เหมาะสม ไม่ให้ความสำคัญกับขอบเขตลูก ไม่ให้ความสำคัญกับขอบเขตของครอบครัวที่ควรจะเป็นที่พึ่ง แต่กลับให้ลูกเป็นที่พึ่ง

5. พ่อแม่เลี้ยงลูกเป็นพิษ (Toxic Parents) : พ่อแม่ทะเลาะกันต่อหน้าลูก เกลียดกัน พาลเกลียดพ่อหรือเกลียดแม่แล้วมาลงที่ลูก 

6. สภาพแวดล้อมที่บ้านมีความขัดแย้งสูง (Hight-Conflict Home Environments) : พ่อแม่มีความต่างกันมาก ทั้งด้านอายุ การเงิน ทัศนคติ วิถีชีวิต ค่านิยม ความเชื่อ การศึกษา เครือญาติไม่ถูกกัน

7. การชักใย (ชักจูง) เชิงอารมณ์ (Emotional Manipulation) : การทำให้อีกฝ่ายรู้สึกแย่ รู้สึกผิด รู้สึกกลัว กลั่นแกล้ง ทำให้อับอาย

 

 Dysfunctional Family, ครอบครัวพร่องหน้าที่, Dysfunctional Family คืออะไร, ครอบครัวมีปัญหา, ปัญหาครอบครัว, การเลี้ยงลูก, ปัญหาการเลี้ยงลูก

Dysfunctional Family ครอบครัวบกพร่องหน้าที่ มีด้วยกัน 8 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. ครอบครัวแบบควบคุม

หมายถึง พ่อแม่คอยควบคุมอย่างรอบด้านทั้งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ความรู็สึก คำพูด การแสดงออก เพราะต้องการให้ลูกทำตัวให้ได้ดั่งใจ ไม่ทำสิ่งที่น่าอับอายต่อหน้าคนอื่น 

2. ครอบครัวแบบสมบูรณ์แบบนิยม

หมายถึง พ่อแม่ที่ตั้งกฏและมีการวัดมาตรฐานของทุกสิ่งเพื่อให้ผลออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด เช่น ลูกต้องทำสอบได้ที่ 1 เท่านั้น ห้องนอนต้องเป็นระเบียบที่สุด เป็นต้น เพราะต้องการให้ครอบครัวเป็นที่ยอมรับของสังคม

3. ครอบครัวแบบตำหนิ

หมายถึง พ่อแม่ช่างตำหนิ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากครอบครัวแบบควบคุม เมื่อหลายอย่างไม่เป็นไปตามการควบคุม จะเริ่มโทษคนอื่น โทษลูกทันที เพราะต้องการหาที่มาของความผิดพลาดที่ทำไม่ได้ดั่งใจ

4. ครอบครัวแบบปฏิเสธ

หมายถึง พ่อแม่ที่ Say no ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลพวงมาจากครอบครัวแบบสมบูรณ์แบบนิยม ที่ “ห้าม/ไม่” ทำสิ่งที่จะทำให้ความเรียบร้อยสมบูรณ์แบบนั้นผิดไปจากแผนที่ตั้งไว้ ดังนั้นจะมีกฏข้อห้ามเยอะมาก จนลูกแทบทำอะไรไม่ได้เลยนอกจากสิ่งที่พ่อแม่บอก

5. ครอบครัวแบบมีกฏห้ามพูด

หมายถึง พ่อแม่มีกฎ 'ห้ามพูดคุย' ห้ามแสดงความรู้สึก แสดงความคิดเห็น ความต้องการ ทุกคนต้องการซ่อนความรู้สึก ความต้องการไว้ในใจ หรือความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง จนในที่สุดครอบครัวก็ไม่มีความใกล้ชิด คุยกันไม่ได้ทุกเรื่อง

6. ครอบครัวแบบสร้างมายา

หมายถึง พ่อแม่ที่คิดว่าทุกเรื่องไม่ใช่ปัญหา มองความจริงที่ปรากฏตรงหน้าเป็นเรื่องไร้สาระ มองหาแต่เรื่องดีมาใส่ครอบครัว ทำให้ปัญหาสะสม ลูกก็เลยรู้สึกไปด้วยว่าปัญหา ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ไม่ต้องใส่ใจ

7. ครอบครัวแบบไม่แก้ปัญหา

หมายถึง พ่อแม่ที่เจอปัญหาแล้วอารมณ์รุนแรง หัวเสีย หาที่มาของปัญหาไม่ได้จนเกิดความสับสนไปหมด แล้วก็ไม่หาทางแก้ปัญหา ไม่ว่าตอนอารมณ์ยังร้อนหรือเย็นลงแล้วก็ตาม

8. ครอบครัวแบบเชื่อถืออะไรไม่ได้

หมายถึง พ่อแม่มักจะบอกว่าอย่าเชื่อใคร อย่าเชื่อใจใคร รวมถึงตัวพ่อแม่เองก็ทำสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เมื่อลูกมีปัญหา พ่อแม่เป็นที่พึ่งให้ลูกได้เลยทั้งการปฏิสัมพันธ์ คำพูด หรือการอยู่เคียงข้าง

(คลิกอ่านเรื่อง Dysfunctional Family เพิ่มเติม)

 

Dysfunctional Family แต่ละแบบก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแนวคิดของพ่อแม่ ความเครียด สภาพแวดล้อม แต่ทุกแบบมักจะมีสัญญาณเตือนให้พอรู้ตัวว่า เรากำลังเป็น Dysfunction Family ลองมาเช็กกันหน่อยค่ะว่าครอบครัวเราเข้าข่าย ครอบครัวพร่องหน้าที่หรือไม่

 

คุณพ่อคุณแม่ลองเช็กดูนะคะว่าตัวเองกำลังทำสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นหรือเปล่า ถ้าใช่… ถึงเวลาที่เราต้องยอมรับและปรับเปลี่ยนตัวเองแบบยกเครื่องใหม่ เพื่อทำให้ครอบครัวเรากลับมา Functional Family ให้ได้

เชื้อดื้อยาในเด็ก อันตราย ไม่ใช่เรื่องเล็กที่มองข้ามได้

 
การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-การเรียนรู้

คุณพ่อคุณแม่เคยได้ยินกันใช่ไหมคะ ที่คุณหมอบอกว่า "ดื้อยา" เลยป่วยหายช้าและบางครั้งลุกลามมากขึ้น สาเหตุก็มาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านแบคทีเรียมากจนเกินความจำเป็น จึงทำให้เชื้อแบคทีเรียพัฒนาตัวเองจนสามารถสู้กับยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งหากใช้ยาผิดประเภทกับเด็กนั้น ยิ่งเป็นอันตรายมาก ดังนั้นไม่ควรเอายาที่มีอยู่ให้เด็กทานหรือไปซื้อยาเองมาให้เด็กทาน ควรทำความเข้าใจอาการป่วยดังนี้เลยค่ะ


ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ เพราะการอักเสบแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. ติดเชื้อแบคทีเรีย รักษาได้ด้วยยาต้านแบคทีเรีย ที่ไม่ใช่ยาแก้อักเสบ เช่น ปวดบวมตามข้อ

2. อักเสบแบบไม่ติดเชื้อ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านแบคทีเรีย ร่างกายมีภูมิที่สามารถหายเองได้ หากพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ แต่การกินยากันไว้โดยไม่จำเป็นอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยาได้ง่ายขึ้น

การรับประทานยาปฏิชีวนะ ต้องเฉพาะเมื่อมีอาการเจ็บป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดจากการติดเชื้อ และโรคติดเชื้อแต่ละชนิดมีสาเหตุจากเชื้อโรคที่แตกต่างกัน แพทย์ต้องเป็นผู้วินิจฉัยโรคติดเชื้อก่อนที่จะสั่งยาปฏิชีวนะให้กับผู้ป่วย ไม่ใช่ว่าจะสามารถทานยาปฏิชีวนะตัวใดก็ได้ เช่น ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียก็ต้องใช้ยาต้านแบคทีเรีย ถ้าติดเชื้อไวรัสก็ต้องใช้ยาต้านไวรัส เป็นต้น ฉะนั้นหากป่วยอย่าซื้อยาทานเอง ให้ไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการก่อนจะดีกว่าค่ะ

10 พฤติกรรม ที่เป็นต้นเหตุเชื้อดื้อยา

1. ซื้อยาต้านแบคทีเรียมากินตามคนอื่น

2. หยุดกินยาต้านแบคทีเรียเมื่ออาการดีขึ้น กลไกการทำงานของยามีผลต่อเชื้อโดยตรง ไม่ได้มีผลต่อคน ดังนั้นต้องกินยาจนหมดตามที่กำหนด เพราะเชื้อยังถูกกำจัดจากร่างกายไม่หมด จึงเป็นเหตุให้กลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยาได้

3. ซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง ตามที่เคยได้รับจากบุคลากรทางการแพทย์ครั้งก่อนๆ การกินยานั้นต้องให้ตรงกับโรคที่เป็น ควรให้แพทย์วินิจฉัยไม่ควรไปซื้อยากินเอง

4. เคยอมยาอมที่ผสมยาปฏิชีวนะต้านเชื้อโรค ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยา เพราะเป็นการใช้ยาในขนาดที่ไม่เหมาะสมแล้วยังเป็นการใช้ยาเกินจำเป็นด้วย

5. เปลี่ยนไปใช้ยาต้านแบคทีเรียที่แรงกว่าเดิม เพราะเห็นว่ากินแล้วไม่หาย การรักษาต้องใช้เวลาพอสมควรจึงจะดีขึ้น ดังนั้นการเปลี่ยนยาที่แรงขึ้นอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้

6. เคยเอายาต้านแบคทีเรียมาโรยแผล นอกจากจะเป็นการรักษาที่ผิดวิธีแล้วยังส่งผลให้แผลติดเชื้อและเชื้อในแผลพัฒนาตัวเองไปสู่การดื้อยา

7. ใช้ยาต้านแบคทีเรียผสมในอาหารสัตว์ เป็นการใช้ยาที่ผิดและไม่ได้ผล ทำให้เนื้อสัตว์ที่เรากินเข้าไปอาจจะเป็นเนื้อสัตว์ที่ป่วยจากเชื้อดื้อยาก็เป็นได้

8. ใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่ทราบชื่อสามัญของยา พฤติกรรมนี้เสี่ยงต่อการแพ้ยาและใช้ยาไม่ตรงกับเชื้อโรคด้วย

9. เคยไปซื้อยาแก้อักเสบมากินเอง เพราะหากเป็นการอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ ก็ไม่ควรกินยาแก้อักเสบเพื่อรักษาอาการ

10. การไม่แนะนำผู้ที่ใช้ยาต้านแบคทีเรียให้ใช้ยาอย่างเหมาะสม ทำให้ประชาชนในสังคมขาดความรู้ในการใช้ยาและพัฒนาไปสู่การป่วยเชื้อดื้อยาได้



ข้อมูลจาก : www.matichon.co.thwww.thaihealth.or.th


 

เด็ก 3 ขวบ ควรฝึกระเบียบวินัย การรอคอย การเข้าสังคม มากกว่าการเรียนเขียนอ่าน

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

เด็ก 3 ขวบ ควรฝึกระเบียบวินัย การรอคอย การเข้าสังคม มากกว่าการเรียนเขียนอ่าน

เนื่องจากปัจจุบันหลักเกณฑ์ใหม่ในการรับเด็กอนุบาล 1 เริ่มต้นที่อายุ 3 ขวบจากเดิมกำหนดที่ 4 ขวบ ก็ทำให้จิตแพทย์เป็นห่วงว่าเด็กจะเข้าเรียนเร็วเกินไป ขาดการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในอีกหลายๆ ด้าน เพราะปัจจุบันพ่อแม่ผู้ปกครองก็มีการแข่งขันความสามารถของลูกว่าใครสามารถอ่านออกเขียนได้ก่อน โดยให้ลูกฝึกเรียนเขียนอ่านตั้งแต่ยังเล็กนั้นจะเป็นปัญหาระยะยาวตามมา
       
โดย พญ.กาญจนา คูณรังษีสมบูรณ์ บอกถึงเรื่องนี้ว่า หากเด็กอายุ 3 ขวบ เข้าโรงเรียนแล้ว การเรียนการสอนก็ควรเป็นเรื่องของการฝึกระเบียบวินัย ฝึกการเข้าสังคม รู้จักการรอคอย การเข้าคิวต่างๆ เพราะเป็นการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งการฝึกพื้นฐานเหล่านี้ตั้งแต่เด็กก็จะติดตัวเขาไปจนโต
       
ส่วนการให้ฝึกเรียนเขียนอ่านตั้งแต่อายุ 3 ขวบ หรือบังคับให้ลูกเรียนเขียนอ่านตั้งแต่อายุน้อยๆ เลยนั้น เพราะกังวลว่าลูกจะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ หรือสู้ลูกคนอื่นไม่ได้ ตรงนี้ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะเป็นการฝืนธรรมชาติของเด็ก ซึ่งเด็กวัยนี้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเขายังต้องได้รับการพัฒนา จึงควรให้เขาได้ขีดเขียนอย่างเป็นอิสระ เพื่อเปิดให้เด็กได้คิดจินตนาการด้วย ไม่ใช่การบังคับให้เขาฝึกเขียนตัวอักษร ซึ่งสุดท้ายก็จะเป็นการปิดกั้นเรื่องความคิดจินตนาการและพัฒนาการของเขา
 
ทั้งนี้ ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เพราะตามอายุแล้วให้เขาเริ่มเรียนเขียนอ่านตอนอายุ 5 ขวบ เด็กก็ยังอ่านออกเขียนได้อยู่ดี จึงไม่ต้องรีบฝึกให้ลูกหัดเขียนอ่าน ซึ่งไม่เป็นผลดีแก่ตัวเด็กเอง สำหรับการฝึกภาษาที่สองให้แก่ลูก เช่น ภาษาอังกฤษ ก็ยึดหลักการคล้ายกัน คือพยายามใช้ภาษาที่สองกับลูกในชีวิตประจำวัน เด็กก็จะรู้สึกถึงความแปลกใหม่ของภาษาและได้เรียนรู้ แต่ไม่ต้องจับมาฝึกเขียนอ่านเช่นเดียวกับภาษาไทย
 
 
พญ.กาญจนา คูณรังษีสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์

เด็กๆ ก็ทำได้! 5 วิธีสอนเด็กให้รักธรรมชาติ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

สถานการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของโลกเราตอนนี้ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเราทุกคน โดยเฉพาะสำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่เริ่มสอน และปลูกฝังความรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของทุกชีวิตบนโลกใบนี้

รักโลก รักอนาคต มาช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมนะคะ

5 วิธีสอนเด็กให้รักสิ่งแวดล้อม

1.แต่งตั้งตัวเล็กทำหน้าที่เป็น "ผู้ควบคุมไฟ" ในบ้าน คอยช่วยเปิดปิดไฟทุกครั้งที่ออกจากบ้าน และปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งาน

2.ทำให้การรีไซเคิลเป็นเรื่องสนุกใกล้ตัว ให้เด็กๆ เล่นเกมแยกแยะวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว สร้างนิสัยการรีไซเคิล เป็นต้น

3.ประหยัดน้ำ คุณพ่อคุณแม่ปิดน้ำทุกครั้ง ระหว่างการแปรงฟันเช้า-เย็นให้เด็กๆ เห็น

4.ปลูกต้นไม้กันเถอะ พ่อแม่ปลูกต้นไม้กับลูก ทำให้เด็กละเอียดอ่อน รักธรรมชาติ นำผลผลิตที่ปลูกได้มารับประทาน

5.วิ่งเล่นนอกบ้าน ลดการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ประหยัดพลังงาน ลดค่าใช้จ่าย

คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มปลูกฝังเด็กๆ ตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อให้เขารู้คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมทั้งปลูกฝังให้ช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมต่อไปในวันข้างหน้า




ที่มา : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม




 

เด็กชอบกลั้นอึ เพราะติดเล่น รู้ไหม! อันตรายถึงชีวิต พ่อแม่ควรสังเกตและแก้ไข

กลั้นอุจจาระ, อุจจาระ, กลั้นอึ, ชอบกลั้นอึ, ลูกชอบกลั้นอึ, ชอบอั้นฉี่, เด็กชอบกลั้นอึ, ไม่ชอบอึนอกบ้าน, กลั้นอุจจาระ, อันตรายถึงชีวิต, ไม่ยอมขับถ่ายอุจจาระ, สาเหตุที่เด็ก ๆ ชอบกลั้นอึ, ทำอย่างไรไม่ให้ลูกกลั้นอึ,สี อึ, สี อึ ลูก, อึ สี เขียว, สี อึ ทารก, อึ เป็น สี เขียว, สี อึ ของ ลูก, ลูก อึ สี เขียว, สี อึ เด็ก, ทารก อึ สี เขียว, อึ ลูก สี เขียว, สี ของ อึ, สี อึ ของ ทารก, อึ เขียว, อึ ทารก สี เขียว, สี อึ เด็ก ทารก, ลูก อึ เป็น สี เขียว, ลูก อึ เขียว, ทารก อุ จา ระ สี เขียว
กลั้นอึ อันตราย เด็ก ๆ ควรฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา

คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะ ว่าเด็ก ๆ ที่ชอบกลั้นอึ อันตรายมากเลยนะคะ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกและคอยหมั่นถามว่าวันนี้ลูก poop บ้างหรือยัง เพราะในหนึ่งวันปกติเด็กจะมีการถ่ายอุจจาระ หรืออึ ประมาณวันละ 1-2 ครั้ง ถ้าไม่อึเลยใน 2 วัน แปลว่าผิดปกติแล้วค่ะ

 
สาเหตุที่เด็ก ๆ ชอบกลั้นอึ มีดังนี้
  1. แปลกที่ นั่งไม่ได้

โดยเฉพาะเด็กที่เปลี่ยนจากการนั่งกระโถนมาเป็นนั่งชักโครก เด็กบางคนเมื่อถึงวัยที่ควรนั่งชักโครกได้แล้ว เมื่อถูกหัดให้นั่งชักโครกก็มักจะเกิดความกลัว ไม่กล้านั่งและไม่กล้าขับถ่าย

  1. ติดเล่น อั้นไว้ก่อนดีกว่า

สำหรับเด็กที่ติดเล่นมากเกินไปจนไม่สามารถละจากของเล่นหรือความสนใจ ณ ขณะนั้นได้ ก็มักจะอั้นอึเอาไว้ก่อนค่ะ บางครั้งลืมอึไปเลยก็มี

  1. ห้องน้ำไม่สะอาด ไม่กล้าเข้า

คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้เมื่อพาลูกไปเข้าห้องน้ำสาธารณะหรือห้องน้ำโรงเรียนที่มีคนใช้มาก ๆ แล้วมีกลิ่น มีคราบสกปรกอยู่ ก็เป็นสาเหตุให้ลูกอั้นอึได้เหมือนกัน

  1. เด็กไม่กินผัก ผลไม้ เลยท้องผูกบ่อยครั้ง

ลูกไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้ หรือดื่มน้ำน้อยเกินไป มักมีอาการท้องผูก ซึ่งทำให้รู้สึกปวดท้องมากและมีอาการเจ็บที่บริเวณหูรูดเมื่อพยายามขับถ่าย จึงมักจะไม่ชอบการอึ และหลีกเลี่ยงความเจ็บนี้ ด้วยการไม่ขับถ่ายเลย



 
ทำอย่างไรไม่ให้ลูกกลั้นอึ 
  1. ฝึกให้ทำความสะอาด ตั้งแต่ยังเล็ก ๆ 

ฝึกการขับถ่ายเมื่อลูกพร้อมแล้ว นั่นก็คือเมื่อเขาสามารถบอกเราได้ว่าปวดอึ ปวดฉี่ และลูกสามารถรับรู้เรื่องความสะอาดและสุขลักษณะได้พอสมควร โดยในช่วงแรกคุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเรื่องการทำความสะอาดของลูกก่อน และหลังจากนั้นเมื่อลูกสามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือเข้าโรงเรียนแล้ว จึงค่อยสอนวิธีการทำความสะอาดให้กับลูก

  1. สอนรักษาความสะอาด

สอนให้ลูกรู้จักสุขลักษณะในการเข้าห้องน้ำ ให้ลูกราดน้ำหรือเช็ดชักโครกก่อนใช้งาน ล้างมือหลังจากทำธุระเสร็จแล้ว เป็นต้น

  1. ฝึกขับถ่ายเป็นเวลา

ฝึกให้ลูกเข้าห้องน้ำเป็นเวลา และฝึกการขับถ่ายให้เป็นนิสัย เช่น ให้ลูกฉี่ก่อนนอน และถ่ายอุจจาระตอนเช้าทุกครั้ง

 
อันตรายเมื่อไม่ยอมอึ
  1. เมื่อไม่อึ น้ำที่อยู่ในอุจจาระก็จะถูกดูดกลับไปใช้ในร่างกาย สารพิษและเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เจริญเติบโตขึ้นภายในอุจจาระ ก็จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดไปด้วย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานหนัก จนอ่อนเพลีย ปวดหัว ท้องอืด ผิวหนังอักเสบ

  2. เสี่ยงโรคผนังลำไส้อักเสบ เมื่อเราไม่ขับถ่ายและอุจจาระสะสมอยู่ในลำไส้ สิ่งที่ตามมาก็คือ ผนังลำไส้ในส่วนที่อ่อนแอจะเกิดการโป่งพอง ติดเชื้อกลายเป็นโรคผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ จนอาจทำให้เกิดเลือดออกในลำไส้ เป็นหนอง ผนังลำไส้ทะลุ หรือลำไส้อุดตันได้

 

คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมคอยหมั่นถามว่าวันนี้ลูกว่า หนูอึ บ้างหรือยังนะ ถ้าไม่อึเลยภายใน 2 วัน แปลว่าผิดปกติแล้วค่ะ มาแก้ไขพฤติกรรมลูกกันเถอะ

เด็กป่วยเบาหวานเยอะ เบาหวานในเด็กต้องสังเกตอาการได้ แบบไหนสัญญาณอันตราย

 โรคเบาหวานในเด็ก-เบาหวานในเด็ก-เด็กป่วยเบาหวาน-เด็กอ้วน-ลูกเป็นเบาหวาน-ป้องกันลูกจากโรคเบาหวาน-ชนิดของโรคเบาหวานในเด็ก-เบาหวานชนิดที่ 1-เบาหวานชนิดที่ 2-อาการของเด็กที่เป็นโรคเบาหวาน-อาการเด็กป่วยเบาหวาน-เบาหวานในเด็ก อาการ-การรักษาเบาหวานในเด็ก

โรคเบาหวาน ไม่ได้เป็นแต่แค่ผู้ใหญ่นะคะ เด็กเองก็เป็นได้ แต่อย่าเพิ่งตกใจกันไปค่ะ เพราะโรคเบาหวานในเด็กมักจะเกิดกับเด็กอ้วนหรือเด็กที่มีน้ำหนักมาก

เด็กป่วยเบาหวานเยอะ เบาหวานในเด็กต้องสังเกตอาการได้ แบบไหนสัญญาณอันตราย

โรคเบาหวานในเด็ก เป็นภาวะที่มีน้ำตาลสูงในเลือด เกิดจากความผิดปกติของเมตาบอลิสมของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เพราะร่างกายมีการหลั่งอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่เพียงพอ หรือมีความผิดปกติของอวัยวะเป้าหมายของอินซูลิน ได้แก่ ตับ กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อไขมันร่วมด้วย ซี่งอาการเบาหวานในเด็กนั้นไม่ต่างจากเบาหวานในผู้ใหญ่ และเด็กสามารถป่วยเป็นโรคเบาหวานได้ทั้ง 2 ชนิดเลยค่ะ 

ชนิดของโรคเบาหวานในเด็กมี 2 ชนิด

เบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น เกิดจากการที่เซลล์ตับอ่อนที่เรียกว่า  “บีต้าเซลล์” ถูก ทำลาย เป็นผลจากกระบวนการทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลินเท่านั้น และมักเริ่มเป็นโรคเมื่ออายุยังน้อย

เบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes) พบมากขึ้นในเด็กและวัยรุ่นปัจจุบันและมักพบร่วมกับโรคอ้วนหรือภาวะโภชนาการเกินและการขาดการออกกำลังกายในอดีตเชื่อว่าเป็นโรคที่พบในผู้ใหญ่เท่านั้น เบาหวานชนิดที่ 2 นี้ ต้องรักษาด้วยยากินและบางรายต้องใช้การฉีดอินซูลิน นอกจากนี้เบาหวานชนิดที่ 2 ยังอาจรวมถึงผู้ป่วยบางโรคที่ได้รับยาที่ทำให้เกิดน้ำตาลสูงในเลือดชั่วคราว ด้วย เช่น ยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น


โรคเบาหวานในเด็ก-เบาหวานในเด็ก-เด็กป่วยเบาหวาน-เด็กอ้วน-ลูกเป็นเบาหวาน-ป้องกันลูกจากโรคเบาหวาน-ชนิดของโรคเบาหวานในเด็ก-เบาหวานชนิดที่ 1-เบาหวานชนิดที่ 2-อาการของเด็กที่เป็นโรคเบาหวาน-อาการเด็กป่วยเบาหวาน-เบาหวานในเด็ก อาการ-การรักษาเบาหวานในเด็ก

ลักษณะอาการของเด็กที่เป็นโรคเบาหวาน

เป็นเบาหวานชนิดที่ 1

  • มีอาการปัสสาวะมากและบ่อย
  • ดื่มน้ำมาก
  • กินเก่ง แต่น้ำหนักลด ผอมลง บางรายน้ำหนักอาจลดได้ถึง 10 กิโลกรัม
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
  • มีภาวะเลือดเป็นกรด
  • หายใจเหนื่อยหอบ


เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 

  • มีภาวะอ้วน
  • มีปื้นดำหนาที่คอ รักแร้ ขาหนีบ ขัดถูไม่ออก
  • มีการติดเชื้อราที่ผิวหนัง
  • น้ำหนักลด
  • มีอาการปัสสาวะมาก
  • ดื่มน้ำมาก
  • อาจมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในหลอดเลือดสูง นอนกรน ปวดข้อ


หากพบความผิดปกติที่ลูกอาจเป็นโรคเบาหวานในเด็ก ให้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไปนะคะ ไม่อยากให้ลูกเสี่ยงเป็นเบาหวานในเด็ก แนะนำในการปรับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ต้องควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เลือกกินอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด มันจัด กินให้ถูกหลักโภชนาการ ระวังเรื่องความเครียดของลูก ให้ลูกออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอย่าลืมพาลูกไปตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วยนะคะ 



ขอบคุณข้อมูลจาก : อาจารย์แพทย์หญิง เปรมฤดี  ภูมิถาวร กุมารแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเบาหวานในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล



 

เด็กเล็กติดเกม ต้องโทษพ่อแม่อย่างเดียว นี่คือ 4 วิธีแก้ไข เริ่มที่ตัวพ่อแม่ก่อน

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-เด็กติดเกม-ลูกติดเกม-ลูกติดมือถือ-ลูกติดโทรศัพท์

เด็กติดเกมเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากนะคะ ล่าสุดองค์การอนามัยโลก ได้บรรจุอาการผิดปกติในการเล่นเกม หรือการติดเกม เป็นโรคชนิดหนึ่งแล้ว เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงปัญหา หากลูกเป็นโรคติดเกมขึ้นมาอย่าเอาแต่โทษลูกอย่างเดียว ให้ตั้งคำถามกับตัวเองก่อน ว่าลูกยังเล็กอยู่ใครยื่นเทคโนโลยีให้ลูก ใครยื่นสมาร์ทโฟนให้ลูก ใครกันไม่ควบคุมลูก และอีกหลายคำถามที่พ่อแม่ต้องถามตัวเองก่อน เพื่อที่จะได้แก้ไขให้ถูกจุด

  1. พ่อแม่ต้องปรับทัศนคติ

พ่อแม่ต้องปรับทัศนคติตัวเองก่อน ว่าโทรศัพท์มือถือ ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 9 ขวบ ให้คิดว่าสมาร์ทโฟน แทบเล็ต ก็เป็นอุปกรณ์ที่ยังไม่ปลอดภัย ยังไม่ควรให้ลูกใช้จนกว่าจะถึงวัยที่เหมาะสม

  1. อย่าให้มือถือเป็นพี่เลี้ยงลูก

การให้ลูกเล่นสมาร์ทโฟน ลูกจะอยู่เงียบๆ ไม่กวน การปล่อยให้มือถือเป็นพี่เลี้ยงลูกแบบนี้ คุณกำลังเป็นพ่อแม่ที่ทำร้ายลูกอยู่นะคะ และกำลังส่งเสริมให้ลูกติดมือถือแบบทางตรงเลย หากลูกเล็กๆ ติดเกม ติดมือถือ นั่นไม่ใช่ความผิดลูกเลย

  1. เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก

ไม่ให้ลูกเล่น แต่พ่อแม่จะเล่นเกมอย่างสนุกสนานต่อหน้าลูกไม่ได้นะคะ พ่อแม่เป็นอย่างไร ลูกก็จะเป็นแบบนั้น การเป็นแบบอย่างที่ดี จะช่วยสร้างรากฐานระเบียบวินัยให้กับเด็กๆ ได้ด้วย อย่าเป็นสังคมก้มหน้าในครอบครัวเลยนะคะ

  1. หากิจกรรมทำกับลูกเสมอ

การสร้างรากฐานที่ดีให้กับลูกช่วงปฐมวัยสำคัญที่สุด การส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมที่หลากหลาย และฝึกทักษะที่จำเป็น ต้องเริ่มจากพ่อแม่ ที่ต้องทำกิจกรรมร่วมกับลูก จะเป็นกิจกรรมในบ้าน หรือนอกบ้านที่มีความเคลื่อนไหวก็ได้ ลูกจะสนุกและมีความสุขกับพ่อแม่มากกว่ามือถือแน่

หากปล่อยให้ลูกเล่นมือถือไปแล้ว นี่คือวิธีสังเกตลูกว่าติดเกมหรือไม่
  1. มีความต้องการที่จะเล่นมากขึ้น ชอบต่อรองการเล่น และเพิ่มเวลาในการเล่นมากขึ้น

  2. ขอเล่นเกมที่ยากขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น ขอใช้เครื่องที่มีความเร็วและแรงขึ้น 

  3. เด็กเริ่มตัดขาดจากโลกภายนอก ไม่คุยกับพ่อแม่ ไม่เล่นกับเพื่อนฝูง ไม่เข้าสังคม หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เด็กในวัยนี้ควรทำเลย

  4. เคยกินนอนเป็นเวลา ก็จะไม่ยอมกิน ห่วงเล่นเกม ไม่นอนก็ได้ กระสับกระส่าย อยากเล่นเกม

  5. โกรธ เมื่อจำกัดเวลาในการเล่นหรือห้ามเล่น มีพฤติกรรมที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น ขว้างข้าวของ อารมณ์เปลี่ยนแปลง ภาวะจิตใจเปลี่ยน

เด็กเล็กติดเกมหรือมือถือ ต้องโทษพ่อแม่ผู้ปกครองอย่างเดียวเลยค่ะ เพราะพ่อแม่เป็นคนหยิบยื่นให้ลูกเอง และเด็กติดเกมตั้งแต่เล็ก ๆ มีแนวโน้มจะติดเกมระดับรุนแรงเมื่อโตขึ้นด้วย สิ่งที่เด็กจะขาดคือ “โอกาส” และ “ทักษะ” ที่จำเป็นอีกหลายด้าน อย่าให้ลูกเล่นมือถือเลยนะคะ

 

ข้อมูลจาก : ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน


 

เตรียมความพร้อมลูกวัย 3-6 ปีก่อนเข้าโรงเรียนอนุบาล

เตรียมความพร้อมก่อนเข้าอนุบาล-สอนลูก-การเลี้ยงลูก-โรงเรียน

การเตรียมความพร้อมก่อนไปโรงเรียนให้กับเด็กถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่พ่อแม่จะต้องทำ ทั้งการเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย และการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจมีความสำคัญมากที่สุด

เด็กที่เตรียมความพร้อมมาได้ดี จะปรับตัวได้เร็ว มีความสุขกับการไปโรงเรียน สนุกสนานกับกิจกรรม เล่นกับเพื่อนได้เป็นอย่างดี ส่วนเด็กที่ไม่ได้เตรียมความพร้อม เด็กอาจจะปรับตัวได้ยาก งอแง ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่เล่นกับเพื่อน ไม่สนุกกับกิจกรรมใดๆ ดังนั้น ก่อนไปโรงเรียน เป็นช่วงสำคัญที่ต้องเตรียมกันให้พร้อม สิ่งที่พ่อแม่จะช่วยเตรียมตัวความพร้อมก่อนไปโรงเรียน มีดังนี้

 

1.ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง

พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กดูแลตัวเอง ทำสิ่งง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง เพราะเมื่ออยู่ที่โรงเรียนเด็กจะต้องดูแลตัวเองมากขึ้น แม้ว่าครูจะคอยดูแล และพยายามฝึกเด็กให้ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ที่โรงเรียนก็มีเด็กจำนวนมากที่ครูต้องดูแล เด็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ ก็ต้องรอความช่วยเหลือจากครู

ดังนั้น พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กทำได้หลายๆ อย่าง ดังนี้

 

  • ฝึกการกินอาหาร
  1. ฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับการนั่งกินข้าวที่โต๊ะเป็นเวลา และร่วมโต๊ะกับผู้ใหญ่
  2. เด็กจะได้พยายามเลียนแบบ ฝึกให้เด็กตักกินเอง
  3. แม้ว่าจะหกเลอะเทอะก็ต้องปล่อยให้ฝึกไป
  4. หาจานช้อนชามที่มีสีสันน่ารักชวนกินและหยิบจับได้สะดวกเหมาะมือของเด็ก
  5. ชมเชยให้กำลังใจ เด็กทุกครั้ง
  • เคล็ดลับฝึกลูกแต่งตัว
  1. ฝึกให้เด็กแต่งตัวเองได้ อาจจะติดกระดุมได้บ้าง
  2. ฝึกให้เด็กใส่รองเท้าเองได้
  3. จัดตู้เสื้อผ้าให้หยิบง่าย สะดวก และให้เด็กหัดเลือกเสื้อผ้าใส่เอง
  4. แนะนำการแต่งตัวไปตามลำดับ เช่น เริ่มจากเสื้อ กางเกง ถุงเท้า รองเท้า
  • ฝึกการขับถ่าย ใช้ห้องน้ำ
  1. เตือนให้ไปเข้าห้องน้ำเมื่อถึงเวลา โดยต้องประมาณเวลาสัก 2 - 3 ชั่วโมงหลังจากดื่มนม-น้ำ สอนเด็กว่า ค่อยกลับมาเล่นใหม่ได้ ให้เข้าห้องน้ำให้ทัน
  2. อธิบายให้ฟังถึงขั้นตอนการใช้ห้องน้ำ เมื่อต้องไปเข้าห้องน้ำเอง ไปลำดับ เริ่มตั้งแต่กอดกางเกง นั่ง ทำความสะอาด สวมกางเกง
  3. กดน้ำ ล้างมือทุกครั้ง
  4. สอนให้เด็ทำความสะอาดด้วยตัวเอง อื่นๆ
  • ฝึกให้มีความคล่องแคล่วว่องไว
  1. สามารถวิ่งเล่นได้
  2. เล่นเครื่องเล่นสนามได้
  3. ฝึกให้เด็กรู้จักระมัดระวัง ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ  

พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กดูแลตัวเองให้เหมาะสมตามวัย เพราะการที่เด็กดูแลตัวเองได้ เด็กจะรู้สึกว่าพึ่งตัวเองได้ นำไปสู่ความรู้สึกมั่นคงและเป็นสุข และที่สำคัญในการฝึกพ่อแม่ต้องให้คำชมเชยแก่เด็ก ให้กำลังใจ ทำให้การฝึกเป็นเรื่องสนุกสนาน ไม่ใช่ฝึกไป ตำหนิไป เด็กจะเบื่อ ไม่ชอบ ที่จะช่วยเหลือตัวเองไปเลย

 

2.ฝึกให้เด็กบอกความต้องการได้

พ่อแม่ต้องฝึกให้เด็กบอกถึงความต้องการของตัวเอง บอกความรู้สึกแบบง่ายๆ ได้ พ่อแม่ต้องใจเย็น อดทน ไม่ทำอะไรให้โดยที่เด็กยังไม่ร้องขอ เพราะเมื่อเด็กไปโรงเรียนใหม่ๆ ครูจะยังไม่รู้ว่าเด็กแต่ละคนเป็นอย่างไร ชอบอะไร ต้องการอะไร รู้สึกอย่างไร ดังนั้นต้องฝึกให้เด็กรู้จักที่จะบอกความต้องการของตัวเอง

บอกความต้องการ

  1. ต้องไม่ทำให้เด็กจนกว่า เด็กจะบอกว่าต้องการอะไร
  2. ไม่เดาใจ ไม่พูดแทนเด็ก แต่ใช้วิธีตั้งคำถามกลับให้เด็กตอบ ให้เด็กบอกความรู้สึกออกมาด้วยการค่อย ๆ ถามไถ่ เพื่อให้ค่อยๆ พูดออกมา
  3. ฝึกให้เด็กรู้จักพูด พูดบอกคนอื่นได้ว่า ตัวเองต้องการอะไร เช่น อยากเข้าห้องน้ำ หิวน้ำ หิวนม ถุงเท้าหาย เพื่อนแกล้ง
  4. เมื่อเด็กพูดไม่ชัด พ่อแม่และคนในครอบครัวจะต้องพูดคำที่ถูกต้องกับเด็ก หัดให้เด็กพูดให้ชัด เพราะเมื่อไปโรงเรียนแล้ว ไม่มีใครสามารถเดาคำศัพท์แปลกๆ ของเด็กได้
  5. ฝึกให้เด็กรู้จักฟังคนอื่นพูด จะได้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างสนุกสนาน ควรฝึกการออกคำสั่งที่ชัดเจนสั้นๆ ให้เด็กปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง เมื่อลูกทำได้ก็ให้ทำตามคำสั่งต่อเนื่อง ซับซ้อนขึ้น เช่น หยิบเสื้อ กระโปรง เอาไปวางบนโต๊ะแล้วหยิบรองเท้าถุงเท้ามาให้แม่
  6. ฝึกการฟังด้วยการเล่านิทานก่อนนอน พ่อแม่ต้องตั้งคำถาม เพื่อฝึกการจับใจความ ฝึกการคิด ดังนั้น คำถามไม่ควรเป็นคำถามที่ตอบแค่ใช่หรือไม่ใช่ ฝึกให้แก้ปัญหาด้วยตนเอง อย่ารีบช่วยคิด หรือช่วยแก้ปัญหา
  7. พ่อแม่จะต้องดูจังหวะที่จะเข้าไปช่วย เพราะเด็กจะขาดทักษะในการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
  8. เมื่อเด็กทำไม่ได้ให้ใช้วิธีชี้แนะแต่ไม่ใช่ทำให้ พ่อแม่ควรให้กำลังใจและชมเชยเมื่อเด็กแก้ปัญหาได้เอง
 
3.ฝึกการรอคอย และการยอมรับกติกา

เมื่อไปอยู่ที่โรงเรียนเด็กจะต้องรอคอยแน่นอน เพราะห้องในเรียนมีเด็กหลายคน ดังนั้นต้องเริ่มฝึกตั้งแต่การรอคอยระยะสั้นๆ ไม่นานนัก และเริ่มให้รอเพื่อทำสิ่งที่เด็กสนใจ

  • ต้องไม่ตอบสนองในทันทีที่เด็กต้องการ
  • บอกให้รู้ว่าเมื่อรอ แล้วอีกไม่นานก็จะได้ ให้เด็กไปเล่นร่วมกับเด็กอื่น ๆ ที่ต้องการการเข้าคิว ต่อแถว หรือชี้ให้เห็น เมื่อต้องมีการเข้าคิวเวลาออกไปทำธุระนอกบ้าน เพื่อให้เด็กเห็นเป็นตัวอย่างและเข้าใจชัดเจนขึ้น
  • ฝึกการรอคอย หัดรอแม่ทำอะไรบางอย่างให้ โดยที่แม่ตั้งเงื่อนไขที่จะให้รางวัลกับเด็ก หากเด็กรอด้วยความอดทน ไม่งอแง เช่น “แม่เจียวไข่เสร็จแล้ว เราไปเล่นลูกบอลด้วยกัน” ซึ่งแม่ต้องรักษาสัญญา การฝึกนี้จึงจะได้ผล เพื่อให้เด็กไว้ใจในคำมั่นสัญญา ฝึกให้เด็กรอได้มีความสำคัญมาก เพราะยังหมายถึงการรอให้ถึงเวลากลับบ้านด้วย ซึ่งนี่เป็นเรื่องใหญ่ของเด็กเมื่อไปโรงเรียนใหม่ๆ การรักษาคำพูดของพ่อแม่ต้องเป็นเรื่องที่ลูกมั่นใจได้ ผึกเตรียมใจสำหรับการจากกัน เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะมีผลกระทบด้านจิตใจ

ดังนั้นเมื่อพ่อแม่จะออกจากบ้านไปทำงานหรือไปไหน จะต้องบอกเด็กว่าจะไปไหนและจะกลับเมื่อไหร่ แม้ว่าเด็กจะร้องตามหรือร้องไห้ แต่เมื่อทำจนคุ้นเคย เด็กจะเรียนรู้ว่า แม้จะร้องไห้ยังไงพ่อแม่ก็ต้องไป แต่พ่อแม่ก็จะกลับมาตามเวลาที่บอกไว้

  • ฝึกการยอมรับกติกา เมื่อออกคำสั่งให้เด็กทำอะไร จะต้องบอกว่าทำเพื่ออะไร หรือทำเพราะอะไร ใช้คำอธิบายที่ไม่ซับซ้อนเพื่อปูพื้นฐานให้เด็กรู้จักเหตุและผล และรู้ถึงผลของสิ่งที่จะปฏิบัติ และให้โอกาสเด็กได้แสดงความคิดเห็น และ ร่วมตั้งกติกาด้วยจะช่วยให้เด็กเต็มใจทำยิ่งขึ้น

เมื่อฝึกให้เด็กได้เรียนรู้และยอมรับกฎกติกาอย่างเต็มใจ เมื่อไปโรงเรียนเด็กจะยอมรับในกฎ ข้อบังคับ ข้อห้ามของครูได้ หมั่นพาเด็กไปสถานที่ใหม่ๆ เพื่อให้โอกาสเด็กได้ปรับตัวกับสถานที่และกติกาของที่นั้นๆ ให้เด็กได้มีโอกาสพบและเล่นกับเด็กในวัยเดียวกัน เช่น พาไปสนามเด็กเล่น ไปบ้านเพื่อน บ้านญาติที่มีเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน สร้างทัศนคติที่ดีต่อโรงเรียน สร้างความคุ้นเคยกับสถานที่และบรรยากาศใหม่ๆ โดยหาโอกาสพาเด็กไปเที่ยวโรงเรียนที่คาดว่าจะให้เด็กไปเรียน ให้รู้สึกเหมือนกับการไปเที่ยว เด็กๆ มักจะติดใจและอยากไปโรงเรียนอีก เพราะโรงเรียนมีสนามเด็กเล่นและมีของเล่นให้เล่นสนุก พ่อแม่ควรจะพูดคุยกับถึงสิ่งที่จะได้พบที่โรงเรียน เช่น กิจกรรมสนุกสนาน ครู เพื่อน ของเล่น สนามเด็กเล่น และกิจกรรมต่างๆ ที่จะได้ทำที่โรงเรียน ทำไมจะต้องไปโรงเรียน



4.สร้างบรรยากาศ อยากไปโรงเรียน
  1. ให้พี่หรือญาติเป็นตัวอย่าง พ่อแม่เพียงย้ำให้เด็กรู้ว่า อีกไม่นานก็จะได้ไปโรงเรียน ได้แต่งชุดนักเรียนสวยๆ หล่อๆ เหมือนกับพี่ๆ
  2. หาหนังสือนิทานที่มีเรื่องราวสนุกสนานเกี่ยวกับโรงเรียน หรือข้อเสียของการที่ไม่ได้เรียนหนังสือมาอ่านให้ฟัง
  3. ชวนคุยถึงเรื่องการไปโรงเรียน อยากไปเล่นที่สนามเด็กเล่นหรือไปนั่งชิงช้าเล่นกับเพื่อนๆ อีกไหม หรือเล่นสมมติเป็นครูนักเรียน เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับการโรงเรียน
  4. ฝึกเด็กให้อยู่ร่วมกับแปลกหน้า เพราะการที่ต้องแยกจากพ่อแม่ ไปอยู่กับครูที่เด็กไม่คุ้นเคยกันมาก่อน ย่อมจะทำให้เด็กกลัวการพลัดพราก โดยในขณะที่เด็กจะไม่มีพ่อแม่อยู่ด้วยหรือไปด้วยในบางครั้ง จะต้องบอกเด็กให้รู้ว่า พ่อแม่จะไม่อยู่ด้วย แต่เดี๋ยวก็จะกลับมาใหม่
  5. ปรับเรื่องของเวลา กิน นอน การทำกิจวัตรประจำวัน ให้สอดคล้องกับช่วงเปิดเทอมของเด็กให้มากที่สุด โดยเฉพาะเวลาเข้านอนและเวลาตื่น จัดจำนวนมื้ออาหารให้ใกล้เคียงกับที่โรงเรียนจะจัดให้
  6. ชวนเด็กไปเลือกซื้อของใช้ต่างๆ ทั้งกระเป๋า รองเท้า ถุงเท้า กระติกน้ำ สีเทียน สีไม้ เครื่องเขียนประจำตัว และอื่นๆ

 

ข้อสำคัญคือ ต้องวางแผนลางาน หรืออาจต้องหยุดงานเพื่อให้เวลากับลูกในช่วงแรกของการไปโรงเรียน เพื่อคอยดูเด็กในช่วงแรก ฝึกให้เด็กเข้านอนเร็วขึ้น เพื่อให้ได้พักผ่อนเต็มที่ ตื่นขึ้นมาตอนเช้าจะได้สดใสพร้อมไปโรงเรียน สำหรับวันไปโรงเรียนจริงๆ วางแผนการจัดเตรียมอาหาร เวลาอาบน้ำแต่งตัวของเด็ก และเผื่อเวลาสำหรับการเดินทาง พ่อแม่ต้องมีท่าทีที่สบายๆ ดูไม่กังวลหรือเครียด จะช่วยให้เด็กรู้สึกว่าการไปโรงเรียนเป็นเรื่องปกติ และไม่น่ากลัวอะไร

 

 

เตือน! เด็กติดเกม สู่โรคซึมเศร้า เรียนรู้คำแนะนำก่อนลูกคิดฆ่าตัวตาย

 3008 1

เตือน! เด็กติดเกม สู่โรคซึมเศร้า เรียนรู้คำแนะนำก่อนลูกคิดฆ่าตัวตาย

ลูกติดเกม ทำอย่างไรดี? คุณพ่อคุณแม่หลายท่านข้อความเข้ามาถามทางรักลูกบ่อยครั้ง เล่าถึงปัญหาว่าลูกไม่ยอมไปโรงเรียน หรือโดดเรียนไปเล่นเกม มีพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อไม่ยอมให้เล่นเกม

วันนี้เราจึงรวบรวมข้อมูลของโรคติดเกม พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกติดเกมมาแนะนำค่ะ 

โรคติดเกม องค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมจัดให้ความผิดปกติจากการเล่นเกมหรือติดเกม เป็นอาการทางสุขภาพจิตร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษา และได้ถูกบัญญัติให้เป็นโรคชนิดหนึ่ง เรียกว่า ภาวะการติดเกม จัดอยู่ในกลุ่มโรคย้ำคิดย้ำทำ และต้องการการบำบัดรักษา จากสถิติทั่วโลกพบว่าเด็กติดเกมจะมีผลเสียต่อสุขภาพ

วิธีสังเกตลูกว่าติดเกมหรือไม่? 

3008 2

สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยวัยไม่กี่ขวบเริ่มติดเกมจนกลายเป็นปัญหา และต้องการแนวทาง “การช่วยเหลือ” ที่ชัดเจนจากผู้ปกครอง

  1. มีความต้องการที่จะเล่นมากขึ้น ชอบต่อรองการเล่นและเพิ่มเวลาในการเล่นมากขึ้น
  2. ขอเล่นเกมที่ยากขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น ขอใช้เครื่องที่มีความเร็วและแรงขึ้น 
  3. เด็กเริ่มตัดขาดจากโลกภายนอก ไม่คุยกับพ่อแม่ ไม่เล่นกับเพื่อนฝูง ไม่เข้าสังคม หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เด็กในวัยนี้ควรทำเลย
  4. เคยกินนอนเป็นเวลา ก็จะไม่ยอมกิน ห่วงเล่นเกม ไม่ทำการบ้าน ไม่นอนก็ได้ นั่งเล่นดึกดื่นได้ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย อยากจะตื่นมาเล่นเกม
  5. โกรธ เมื่อจำกัดเวลาในการเล่นหรือห้ามเล่น มีพฤติกรรมที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น ทุบตีพ่อแม่ ขว้างข้าวของ อารมณ์เปลี่ยนแปลง ภาวะจิตใจเปลี่ยน มีพฤติกรรมก้าวร้าวกับพ่อแม่และคนรอบข้างได้

4 โรคแทรกซ้อนจากพฤติกรรมการติดเกม

  1. สายตาสั้น  การจ้องจอนานๆ จะมีผลต่อสายตา เพราะแสงและสีของภาพที่ฉูดฉาด การเคลื่อนที่เร็ว จะส่งผลให้เด็กๆ เป็นโรคสายตาสั้น และยังทำให้ปวดกล้ามเนื้อตา ตาอักเสบได้

  2. ขัดพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่  เพราะเด็กๆ จะใช้นิ้วกดเล่น มีการเกร็งกล้ามเนื้อมือและแขน ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต้นคอ ไหล่ กล้ามเนื้ออักเสบ ส่งผลให้ร่างกายเจริญเติบโตไม่เต็มที่

  3. การสื่อสารบกพร่อง การมองแต่จอโดยไม่สนใจหรือมองสิ่งรอบข้าง ทำให้เด็กสื่อสารทางเดียว มองทางเดียว เล่นคนเดียว ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง พูดช้าลง หรืออาจนำไปสู่การเป็นโรคสมาธิสั้นได้

  4. โรคอ้วน  การที่เด็กๆ มองแต่จอ และนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานวันละหลายชั่วโมง ไม่มีการออกกำลังกาย พักผ่อนน้อย มีภาวะเครียดจากการเล่นเกม ต้องการเอาชนะ ทำให้กระบวนการทำงานของร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดโรคอ้วนและอาจนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานในอนาคตได้

เตือน! เด็กไม่ควรใช้ยาแก้ท้องอืด 'ดอมเพอริโดน' หากมีน้ำหนักน้อยกว่า 35 กิโลกรัม

ยาดอมเพอริโดน-Domperidone-ดอมเพอริโดน-ยาแก้ท้องอืด-ยาอันตรายกับเด็ก-ยาเด็ก-ยาแก้กรดไหลย้อน-ยาแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน-ท้องอืด-ท้องเฟ้อ-แน่นท้อง-อาหารไม่ย่อย-ทานยาเกินขนาด-ลูกท้องอืด ท้องเฟ้อขท้องเฟ้อ-อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ท้องเฟ้อ คือ-ท้องเฟ้อ อาการ-อาการ ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ-ทารก ท้องอืด-แน่นท้อง-ท้องอืด บ่อย-ท้องอืด อาการ-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง-ท้องอืด เกิด จาก-ลูก ท้องอืด-อาการ แน่นท้อง-ท้องอืด pantip-ลูก 1 ขวบ ท้องอืด-ทอง อืด-ท้องอืด แน่นท้อง ท้อง แข็ง-ท้องอืด บ่อยๆ

เตือน! เด็กไม่ควรใช้ยาแก้ท้องอืด 'ดอมเพอริโดน' หากมีน้ำหนักน้อยกว่า 35 กิโลกรัม

คุณพ่อกับคณแม่หรือผู้ปกครอง อย่ามองข้ามเรื่องขนาดการให้ยาเด็ก เพราะยาดอมเพอริโดนชนิดน้ำสำหรับเด็กมีผลข้างเคียงอันตราย สรรพคุณของยาชนิดนี้ คือใช้แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย เดิมใช้เป็นยารักษาโรคกรดไหลย้อนในทารกได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้ยาตัวนี้ในการรักษากรดไหลย้อนในทารก เนื่องจากต้องกินยาวันละหลายครั้ง ไม่สะดวกเท่าการใช้ยาตัวอื่นที่กินวันละครั้งเดียว

แพทย์เตือนห้ามใช้ยาเกินขนาดเพราะผลข้างเคียงรุนแรง

เพราะยาดอมเพอริโดนหาซื้อได้เองจากร้านขายยาปกติ พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่ซื้อมาใช้ก็จะไม่ค่อยสนใจขนาดยาตามที่เภสัชกรบอก จะแค่กะปริมาณเอาเองว่าใกล้เคียงแล้วให้เด็กกินเลย แต่กับยาดอมเพอริโดนนั้นผลข้างเคียงรุนแรงไม่ควรให้เกินขนาดเด็ดขาด

ขนาดการรับประทานสำหรับเด็ก

ทารกและเด็กเล็ก หากมีน้ำหนักน้อยกว่า 35 กิโลกรัม ไม่ควรรับประทานยานี้ หากจำเป็นจริงๆ ควรรับประทานก่อนอาหารเวลา 15-30 นาที ครั้งละ ¼ ช้อนชาต่อน้ำหนักตัว 5 กิโลกรัม วันละ 3-4 ครั้ง  จนกว่าอาการต่างๆ จะดีขึ้น หากลืมหรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับปริมาณยาควรสอบถามจากเภสัชกรทันที

ผลข้างเคียงที่ควรรีบนำเด็กไปโรงพยาบาล หากทานยาเกินขนาด อาจมีอาการวิงเวียน สับสน ปากแห้ง ปวดศีรษะ ผื่นลมพิษ รู้สึกร้อนตามผิว คันผิวหนัง ตาแดง บวมและคัน และหัวใจเต้นผิดปกติ

เตือนพ่อแม่ คอยสังเกตลูก แมลง-ยุง กัด อาจเสี่ยงป่วยโรคเนื้อเน่าได้

โรคเนื้อเน่า, โรคเด็ก, โรคที่มากับยุง, การเลี้ยงลูก 

กรมควบคุมโรค เตือนพ่อแม่ ให้คอยสังเกตลูก หากถูกแมลงและยุงกัดหรือมีบาดแผลเพียงเล็กน้อย ขอให้ดูแลแผลให้สะอาด เพราะอาจเสี่ยงป่วยด้วยโรคเนื้อเน่าได้ หากแผลเกิดการอักเสบ ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน

จากกรณี "บอย" ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ พระเอกหนุ่ม ถูกแมลงกัดขณะไปแช่ออนเซ็นที่ประเทศญี่ปุ่น แล้วเกิดอาการคัน แต่ภายหลังการเกิดเหตุไม่นาน กลับเกิดแผลอักเสบและลามถึง 2 ฝ่ามือ จนแพทย์ต้องขอผ่าตัดด่วน ล่าสุด ผ่าตัดเรียบร้อยและอาการปลอดภัยแล้วนั้น

กรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลว่าโรคเนื้อเน่า หรือเรียกว่า เนคโครไทซิ่ง แฟสเชียไอติส เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนในแผล ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิด คือ Streptococcus pyogenes และ Staphylococcus aureus โดยมีการติดเชื้อบริเวณผิวหนังและชั้นไขมันใต้ผิวหนังอย่างรุนแรง 

โรคนี้พบบ่อยในช่วงฤดูฝน มักพบในผู้ที่มีบาดแผลเล็กๆ น้อยๆ หรือแผลจากการถูกแมลงหรือยุงกัด แล้วสัมผัสกับแบคทีเรียที่อยู่ในดินหรือในน้ำ และอาจดูแลแผลไม่ดี จนแผลลาม ทำให้แผลติดเชื้อซ้ำซ้อน

สำหรับการป้องกันโรค ขอให้หลีกเลี่ยงการลุยน้ำ และทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่ และใส่ยาฆ่าเชื้อ ระวังอย่าให้มีสิ่งสกปรกเข้าไปในบาดแผล โดยเฉพาะบาดแผลที่เกิดจากวัสดุที่สกปรก เช่น ตะปู หนาม ไม้ที่อยู่ในน้ำ ทิ่มแทง ควรไปพบแพทย์หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน ทั้งนี้ ถ้าปวดบริเวณแผล บวม ร้อน แดงมากขึ้น หรือมีไข้ร่วมด้วย อาจเกิดการติดเชื้อได้ ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัย ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาได้ 

สอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

เทคนิคง่าย ๆ สอนให้พี่น้องรักกัน ไม่สร้างปมให้พี่รู้สึกน้อยใจอิจฉาน้อง

พี่อิจฉาน้อง, อิจฉา, พี่คนโต, พี่ไม่รักน้อง, พี่เกลียดน้อง, น้องไม่รักพี่, พี่ไม่ชอบน้อง, พี่รังแกน้อง, พี่ชอบตีน้อง, พี่ชอบตบหัวน้อง, พี่ด่าน้อง, พี่เบื่อน้อง, พี่น้องไม่รักกัน, พี่น้องเกลียดกัน, สอนยังไงให้พี่รักน้อง, แก้ไขพี่ไม่รักน้อง, พี่น้องทะเลาะกัน

เทคนิคง่าย ๆ สอนให้พี่น้องรักกัน ไม่สร้างปมให้พี่รู้สึกน้อยใจอิจฉาน้อง

“ตอนนี้หนูกำลังจะได้เป็นพี่คนโตแล้ว เพราะมีน้องเล็กอีกคนอยู่ในท้องคุณแม่” ความรู้สึกหนึ่งของพี่คนโตก็ดีใจ แต่อีกใจกลัวว่าจะตกกระป๋อง และอาจเลยเถิดไปถึงขั้นอิจฉาน้องได้ แบบนี้มาช่วยส่งเสริมให้พี่คนโตสวมบทพี่ตัวจริงด้วยความมั่นใจ ภูมิใจ และไม่อิจฉาน้องกันค่ะ

เข้าใจพี่ก่อนมีน้อง

สำหรับเด็กวัย 4-5 ขวบ การมีสมาชิกเพิ่มเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเขา เด็กรู้สึกว่าทุกคนในบ้านเปลี่ยนไปเทคะแนนให้เจ้าตัวเล็กอีกคนกันหมด พอจะเข้าไปดูน้องหรือร่วมวงสนทนาด้วย ก็ถูกกีดกันออกมาเพราะกลัวว่าเขาจะไปทำให้น้องร้องไห้ สุดท้ายเลยต้องอยู่หัวเดียวกระเทียมลีบ แล้วก็นึกโทษว่าเป็นเพราะน้องที่แย่งทุกอย่างจากเขาไป

หลังจากนั้นพี่จะเริ่มเรียกร้องความสนใจ ทำพฤติกรรมเหมือนเด็กทารก พัฒนาการถดถอย เช่น ขอดูดนมแม่ ไม่ได้ดังใจก็ร้องไห้โวยวายหรือร้องให้อุ้ม ร้องไห้แข่งกับน้อง แต่ถ้าพ่อแม่เริ่มวางแผนรับมือแต่เนิ่น ๆ เหตุการณ์ทั้งหมดข้างต้นจะไม่เกิดขึ้น ลองนำเทคนิคต่าง ๆ นี้ไปใช้ดู

เทคนิคสอนพี่คนโตให้รักน้อง

1. ยิ่งบอกเร็วยิ่งดี

เนื่องจากลูกวัยนี้มีพัฒนาการทางอารมณ์ซับซ้อนขึ้น เช่น โกรธ น้อยใจ โมโห เหงา จึงต้องการระยะเวลาในการปรับตัวและปรับอารมณ์ เพราะฉะนั้นถ้าคุณวางแผนจะมีน้องอยู่แล้ว ลองเริ่มถามลูกดูว่า อยากมีน้องไหม ถ้ามีแล้วใครจะช่วยเลี้ยงน้อง

 

พี่อิจฉาน้อง, อิจฉา, พี่คนโต, พี่ไม่รักน้อง, พี่เกลียดน้อง, น้องไม่รักพี่, พี่ไม่ชอบน้อง, พี่รังแกน้อง, พี่ชอบตีน้อง, พี่ชอบตบหัวน้อง, พี่ด่าน้อง, พี่เบื่อน้อง, พี่น้องไม่รักกัน, พี่น้องเกลียดกัน, สอนยังไงให้พี่รักน้อง, แก้ไขพี่ไม่รักน้อง, พี่น้องทะเลาะกัน

2. หน้าที่ดูแลน้องเป็นของทุกคน

พ่อและทุกคนในบ้านควรมีบทบาทตั้งแต่แม่เริ่มท้องค่ะ เพื่อให้ลูกเห็นว่าทุกคนในบ้านช่วยกันดูแลน้องเล็กอีกคน และควรเปิดโอกาสให้เขาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ด้วย เช่น เตรียมของ ดูแลแม่ ดูแลกิจวัตรของตัวเอง

3. ไปโรงพยาบาลด้วยกัน

พี่จะได้เห็นและรับรู้ว่าน้องอยู่ในท้องแม่ และครั้งหนึ่งพี่ก็เคยอยู่ในท้องแม่เหมือนกัน กว่าจะโตแม่ต้องคอยดูแลหนู แต่ตอนนี้แม่มีพี่มาช่วยดูแลน้องเพิ่มขึ้นอีกคน

4. ครั้งแรกที่เจอหน้ากัน

ลองคุยกับลูกคนเล็กให้พี่ได้ยินว่านี่คือพี่หนูนะ เขารักหนูและจะช่วยแม่ดูแลหนู พี่จะภูมิใจกับความเป็นพี่สุด ๆ เลยค่ะ

5. ให้ของขวัญพี่คนโต

พ่อแม่ควรจะให้ญาติสนิทที่มาเยี่ยมให้ซื้อของสัก 1-2 ชิ้น ฝากลูกคนโตด้วย แล้วบอกว่านี่คือรางวัลที่พี่ช่วยแม่ดูแลน้อง จังหวะนี้ควรก็เล่าให้ญาติฟังว่าพี่คนโตช่วยดูแลแม่และน้องก่อนคลอดอย่างไรบ้าง เท่าที่วัยอย่างเขาทำได้

6. อย่าเบื่อที่จะอธิบาย

ถ้าเกิดอาการอิจฉาขึ้นมาจริง ๆ หรือเรียกร้องความสนใจเป็นครั้งคราว เช่น ตีน้อง ให้รีบจับแยกทันทีแล้วบอกให้พี่รู้ว่าน้องเจ็บ แต่ต้องดูด้วยว่าเกิดจากน้องคว้าผมหรือดึงผมให้พี่เจ็บหรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้นอธิบายให้พี่รู้ว่าน้องเล่นด้วยแต่ยังไม่รู้กำลังของตัวเอง และบอกด้วยว่าถ้าจะเล่นกับน้องควรทำอย่างไรจึงจะไม่ถูกดึงผม เช่น รัดผมให้เรียบร้อย

7. มีส่วนร่วม

ถ้าพี่คนโตมาป้วนเปี้ยนอยากเล่นกับน้อง ก็ให้เขามีส่วนร่วมกับการดูแลน้อง เช่น หยิบของใช้ ดูน้องระหว่างแม่เข้าห้องน้ำ ใช้เพลงจากที่โรงเรียนมากล่อมน้อง แต่ข้อควรระวังคือ อย่าบังคับจนพี่คนโตรู้สึกว่าน้องเป็นภาระ จนอดไปเล่นหรือทำกิจกรรมที่เขาชอบ

8. พูดคุยกับพี่คนโตบ่อย ๆ

ระหว่างให้นมลูก ให้พี่ช่วยลูบเท้าหรือขาน้อง พ่อแม่อาจจะคุยและถามเรื่องทั่ว ๆ ไป หรือให้เขาทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ อย่าปล่อยให้ลูกคนโตนั่งทำตาปริบ ๆ อยู่ข้าง ๆ เพราะทำตัวไม่ถูก

9. หาเวลาอยู่กับพี่คนโต 2 คน 

อาจจะขอความช่วยเหลือจากสามีหรือปู่ย่าตายายว่าแม่จะขอไปเที่ยวกับลพี่คนโตสัก 3 ชั่วโมง พาพี่คนโตไปเล่นนอกบ้าน เที่ยวสวนสนุก เข้าคาเฟ่ พาไปกินไอศกรีมที่พี่ชอบ เพื่อให้เขารู้ว่าแม่ไม่เคยละเลยเค้า และพี่ยังเป็นคนสำคัญของพ่อแม่

10.ตามใจพี่คนโตบ้าง 

หากพี่คนโตอยู่ในวัยที่ไม่ห่างจากน้องคนเล็กมากนัก ถ้าพี่หย่านมไปแล้วแต่อ้อนอยากกินนมเหมือนน้อง แม่สามารถปั๊มนมให้ลูกกินได้เลยค่ะ แต่ให้บอกพี่ว่า แม่แค่ให้ชิมและมีนมน้อยสำหรับน้องเท่านั้น เพราะน้องตัวเล็กกินนมทีละน้อย แต่หนูเป็นพี่ต้องดื่มนมจากแก้ว ถ้าน้องโตกว่านี้แม่ก็ให้น้องดื่มนมจากแก้วเหมือนกัน เพราะแม่ไม่มีน้ำนม

11. หาเพื่อนใหม่ให้ลูก

เช่น คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย หรือเพื่อนวัยเดียวกัน เพื่อทำกิจกรรมอย่างอื่น ลูกจะได้ไม่รู้สึกว่าถูกทิ้ง อีกอย่างเด็กวัยนี้เริ่มมีช่วงเวลาส่วนตัวที่เขาอยากเล่นคนเดียวแล้วค่ะ

12. อย่าพูดกับพี่คนโตแบบนี้

ประโยคต้องห้ามอย่าเผลอพูดไปนะ เพราะจะยิ่งสร้างปมให้พี่น้อยใจ รู้สึกพ่อแม่ลำเอียง   

  • เป็นพี่ต้องดูแลน้อง
  • เป็นพี่ต้องแบ่งปันน้อง 
  • เอาให้น้องก่อน 
  • ยอมน้องไม่ได้หรือ
  • น้องยังเล็กอยู่
  • ห้ามดื้อ ห้ามซนด้วย ดูซิน้องยังไม่ดื้อเลยนะ สู้น้องก็ไม่ได้

ทั้งหมดนี้เป็นแค่หนทางรับมือกับบางสถานการณ์เท่านั้นค่ะ แต่เชื่อแน่ว่าความเป็นพ่อเป็นแม่ของคุณ จะทำให้ผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ เด็กบางคนปรับตัวเร็ว บางคนปรับตัวช้า จึงต้องให้เวลาและโอกาสลูกในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ด้วยค่ะ

เทคนิคเตรียมตัว พาลูกเที่ยวแบบเครื่องบิน รถสาธารณะให้ปลอดภัย ไม่ให้ป่วย

 การเดินทาง-การเดินทางกับเด็ก- เด็กเล็ก-ครอบครัว- ทริปการเดินทาง- เดินทาง-ท่องเที่ยว- เครื่องบิน- รถทัวร์- รถไฟ- การเลี้ยงลูก- เทคนิคพาลูกเที่ยว- ของใช้เด็ก- ยาเด็กสำหรับเดินทาง 

ปิดเทอมนี้คุณพ่อคุณแม่วางแผนพาครอบครัวไปเที่ยวไหนกันเอ่ย ก่อนเดินทางเรามาเรียนรู้เทคนิคการพาลูกไปเที่ยวว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง เอกสาร ของใช้ต่าง ๆ ยาสำหรับเด็ก และเคล็ดลับวิธีรับมือเมื่อเจอสถานการณ์ลูกงอแงเวลาเดินทางกันค่ะ   

รถไฟ

การเดินทางไปเที่ยงต่างจังหวัดโดยเลือกใช้บริการ รถไฟ เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ เพราะรถไฟมีห้องนอนชั้น 1 สำหรับครอบครัวแบบส่วนตัว ถ้าช่วงเทศกาลต้องจองล่วงหน้าไว้สักเดือนนะคะ เพื่อให้ได้ห้องและที่นั่งที่อยากได้ ราคาประหยัดไม่แพง เด็ก ๆ จะชื่นชอบการนั่งรถไฟเป็นพิเศษ ตื่นเต้นกับวิวสวย ๆ ประสบการณ์ใหม่ตลอดสองข้างทาง

ของที่ต้องเตรียมก่อนออกเดินทางด้วยรถไฟ

  1. เอกสารสูติบัตรตัวจริงของลูก
  2. เสื้อผ้าสวมใส่สบาย เสื้อกันหนาวหรือผ้าห่ม และเตรียมอีก 1  ชุดไว้เปลี่ยนให้ลูกอาบน้ำก่อนนอนบนรถไฟ
  3. ยาสามัญสำหรับเด็ก ยาแก้ไข ยาแก้ไอ ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้เมารถ ยากันยุง อาหารว่าง ขนม น้ำเปล่า นม
  4. ทิชชูเปียก แพมเพิร์ส  

 

เครื่องบิน

การโดยสารโดยใช้เครื่องบินสำหรับลูกเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมตัวเป็นอย่างมากค่ะ เราจะจัดให้เป็นหัวข้อ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และสอนให้ลูกเตรียมรับมือกับการเจอผู้คนมากมาย บนเครื่องบิน และเมื่อลูกงอแงต้องทำอย่างไร เรามาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันค่ะ

ของที่ต้องเตรียมก่อนออกเดินทางด้วยเครื่องบิน

  1. เอกสารสูติบัตรตัวจริง  
  2. พาสปอร์ตตัวจริงของลูก 
  3. เตรียมของจำเป็นไว้ในกระเป๋า เช่น แพมเพิร์ส ทิชชูเปียก ชุดสำรองของเด็ก ผ้าเช็ดตัวผืนเล็ก เป็นต้น
  4. ยาสามัญสำหรับเด็ก  เช่น ยาแก้ไข ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้แพ้

เทคนิคการพาลูกขึ้นเครื่องบิน

  1. เลือกจองตั๋วให้ตรงกับเวลานอนของลูกน้อยค่ะ ป้องกันลูกงอแง แถมลดภาระให้พ่อแม่ด้วยนะคะ
  2. เวลาเลือกที่นั่งควรเลือกที่นั่งให้ใกล้กับห้องน้ำ และติดกับทางเดิน เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินสามารถพาลูกออกมาจากจุดนั้น เพื่อไปห้องน้ำได้ทันทีค่ะ
  3. เตรียมของเล่นชิ้นโปรดของลูก 1 ชิ้นค่ะ เล็ก ๆ พกพาสะดวก ไม่มีเสียงนะคะ จะได้ไม่รบกวนผู้อื่น
  4. ช่วงเวลาเครื่องบินขึ้นลง หรือปรับระดับการบินควรให้ลูกดูดนม หรือน้ำ เพื่อจะเป็นการบังคับให้เด็กกลืนน้ำลาย  

 

รถโดยสารสาธารณะ (รถทัวร์)  

การเลือกเดินทางไกลด้วยรถทัวร์ คงเป็นเรื่องยากสำหรับครอบครัวที่มีลูกเล็กค่ะ เรามาเรียนรู้เทคนิคการพาลูกขึ้นรถทัวร์อย่างไรให้มีความสุข ไม่รบกวนผู้อื่น และสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ของลูกให้พร้อมมีอะไรบ้าง 

ของที่ต้องเตรียมก่อนออกเดินทางด้วยรถทัวร์

  1. เอกสารสูติบัตรตัวจริง  
  2. เตรียมของจำเป็นไว้ในกระเป๋า เช่น แพมเพิร์ส ทิชชูเปียก ชุดสำรองของเด็ก เป็นต้น อาหารว่าง ขนม น้ำดื่มและนม
  3. ยาสามัญสำหรับเด็ก  เช่น ยาแก้ไข ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้เมารถ เป็นต้น

เทคนิคการพาลูกนั่งรถทัวร์

  1. เลือกจองตั๋วให้ตรงกับเวลานอนของลูกน้อย ช่วงเวลากลางคืน เพื่อป้องกันเวลาลูกงอแงค่ะ
  2. เวลาเลือกที่นั่งควรเลือกที่นั่งปลอดโปร่ง ไม่แออัดเกินไป
  3. ข้าวของประจำตัวที่ลูกรักลูกชอบ ทำให้ลูกสงบได้ยามงอแง อย่าลืมเอาไปด้วยนะคะ เช่น ตุ๊กตา หุ่นยนต์ เป็นต้น
  4. พยายามอย่าให้ลูกทานนม หรือขนมมากเกินไป อาจทำให้อาเจียนบนรถ ถ้าเกิดกรณีฉุกเฉินจริง ๆ ให้พกถุงพลาสติกไว้สัก 1-2 ใบนะคะ และให้ลูกทานยาแก้เมารถ เพื่อบรรเทาอาการค่ะ