facebook  youtube  line

8 เคล็ดลับเลี้ยงลูกชายให้ได้ใจ สนิทกัน แบบพ่อฟลุค เกริกพล

4795

"พ่อ" มีความสำคัญต่อพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจของลูกเป็นอย่างมาก ยิ่งสำหรับลูกชาย พ่อคือแบบฉบับของการเป็นผู้ชายที่ลูกมักจะเลียนแบบเลยก็ว่าได้ เพราะแบบนี้พ่อฟลุค-เกริกพล มัสยวาณิช จึงให้ความรัก เวลา และอ้อมกอดกับลูกลูกชายคนเดียวอย่างเต็มที่ ทำให้น้องอชิ-อชิรวัตติ์ มัสยวาณิช เติบโตเป็นเด็กผู้ชายที่อบอุ่น และไม่เขินที่จะกอด จะหอมพ่อของตัวเองเลย เลี้ยงลูกชายได้ดีขนาดนี้ เราก็ไม่พลาดที่จะนำวิธีการสอนลูกของพ่อฟลุคมาบอกต่อกันค่ะ

1. เป็นพ่อก็ต้องตามลูกบ้าง

พ่อฟลุคจะทำตัวให้เด็กไปกับลูกบ้าง เช่น เรื่องเสื้อผ้า ปกติพ่อฟลุคชอบใส่เสื้อเชิ้ตหรือไม่ก็ทีเชิ้ต แต่เดี๋ยวนี้หันมาซื้อเสื้อผ้าแบบที่น้องอชิใส่บ้าง เพราะอยากดูเข้ากับลูก

2. ต้องเป็นคู่ซี๊กับลูก

พ่อฟลุคจะสนิทสนมกับน้องอชิมาก เพราะเน้นเลี้ยงลูกแบบใกล้ชิดเหมือนเป็นเพื่อนกัน ไม่ได้วางตัวเป็นพ่อที่ลูกต้องเข้ามากราบเท้าเช้าเย็น เน้นเป็นพ่อแบบคูล ๆ เลยก็ว่าได้

3. เจอกันต้องกอด

พ่อกับลูก เจอกันจะไม่ได้แค่ไหว้เท่านั้น แต่พ่อฟลุคบอกน้องอชิเสมอว่าเราต้องสวัสดีแล้วเข้ามากอดกันทุกครั้ง หอมกันด้วย

4. ให้คำปรึกษาแบบเพื่อน

พ่อฟลุคจะคอยให้คำปรึกษาเหมือนเป็นเพื่อนสนิทของลูก และก็พร้อมปกป้องดูแลเขาตลอดไป แม้น้องอชิเองจะโตแล้วแต่ก็ยังมีความเป็นเด็กอยู่บางครั้ง พ่อจึงต้องไม่ห่างเหินลูกไม่ว่าเรื่องอะไร

5. ถามความเห็นลูกเป็นประจำ

พ่อฟลุคจะให้อชิเป็นเหมือนความคิดที่สอง เวลาจะทำอะไรก็จะถามความเห็นน้องตลอด อย่างจะกินร้านไหน สั่งอาหารอะไร ใส่เสื้อตัวนี้ดีไหม ซื้ออันนี้ดีหรือเปล่า มีอะไรพ่อก็เล่าให้ฟังตลอด อย่างเรื่องหุ้นพ่อฟลุคก็เล่าเหมือนอชิเป็นผู้ใหญ่เลย เพื่อให้คุยกันได้ทุกเรื่อง

6. ทำกิจกรรมร่วมกัน

บ้านนี้จะเน้นเรื่องกินกับการเดินทาง เช่น พาน้องอชิไปกินของดี ๆ เสมอ เพื่อสอนว่าเรากินเพื่อรู้ ไม่ใช่ว่าต้องกินของแพงทุกมื้อ เช่น อาหารญี่ปุ่นมีวัฒนธรรม มีเรื่องราว การใส่ใจและพิถีพิถันทุกขั้นตอนอย่างไรบ้าง และพาไปออกทริปหลัก ๆ ทุกปี เพราะการเดินทางจะสร้างประสบการณ์และความทรงจำของพ่อลูก

7. เป็นพ่อที่ติดลูก

สิ่งที่พ่อฟลุคอยากให้ลูกมากที่สุดก็คือเวลา จะใช้เวลาอยู่กับลูกทุกวัน เพราะวันที่ได้อยู่กับลูกคือช่วงเวลาที่มีค่ามากสำหรับพ่อ

8. สอนลูกใช้เงินในสไตล์พ่อ

น้องอชิได้ค่าขนมเป็นเงินเดือน เพราะพ่อฟลุคต้องการให้น้องอชิเรียนรู้วิธีการบริหารเงินตั้งแต่เด็ก เพื่อจะได้เคยชินและมีความพร้อมในวันหนึ่งข้างหน้าที่เขาจะมีบัตรเครดิตหลักเป็นของตัวเอง

เป็นวิธีที่ง่ายมากเลยนะคะ สิ่งที่พ่อฟลุคทำให้น้องอชิมาตลอด ทำให้น้องอชิไม่เขินเลยที่จะเข้าไปกอด หอมพ่อ เพราะทำแบบนี้มาตั้งแต่ยังเด็ก ส่วนบ้านไหนอยากให้พ่อสนิทกับลูกชาย ลูกสาว ลองนำวิธีของพ่อฟลุค เกริกพล ไปปรับใช้ดูได้นะคะ เป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่คุณพ่อทุกคนทำได้ค่ะ

Friend Zone! 7 วิธี ทำให้แม่เป็นเพื่อนสนิทกับลูก คุยกันได้ทุกเรื่องตอนโต

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-แม่และลูก

เพื่อนกันคุยกันได้ทุกเรื่อง จะดีแค่ไหนถ้าเราเองก็ได้เป็นเพื่อนของลูก แม่ที่เป็นเหมือนเพื่อนของลูก มักจะได้ใกล้ชิดลูกมาก ลูกจะเล่าทุกปัญหาให้ฟังอย่างไว้ใจ นั่นคือความฝันของแม่หลาย ๆ คนเลย แต่จะทำอย่างไรให้ลูกเห็นเราเป็นเพื่อนคนหนึ่ง มาลองทำตามนี้เลยค่ะ

7 วิธี ทำให้พ่อแม่เป็นเพื่อนกับลูกได้
  1. ให้ลูกเลือกเพื่อนที่จะคบเอง

แม่เจ้ากี้เจ้าการ ไม่มีทางได้เป็นเพื่อนของลูกแน่ อยากเป็นเพื่อนลูกจะต้องไม่วิจารณ์เพื่อนของลูก ว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร เพราะเป็นการสร้างอคติต่อลูก เรื่องเพื่อนของลูกให้ลูกเป็นคนตัดสินใจเอง ปล่อยให้ลูกเรียนรู้เอง เพราะตัวพ่อแม่เองก็เคยผ่านจุดที่เจอเพื่อทำให้ผิดหวัง เพื่อนไม่ดี หรือเจอเพื่อนที่ดี ลูกก็ควรได้สิทธิ์ที่จะเลือกเพื่อนของลูกเองตั้งแต่เข้าโรงเรียน แม่แค่ต้องเฝ้ามองอยู่ห่างๆ คอยแนะนำในเวลาที่เหมาะสม เมื่อลูกขอ หรือมีท่าทีอยากให้ช่วยแล้วเราจะเป็นเพื่อนของลูกได้โดยธรรมชาติเอง

  1. พูดคุยเรื่องเพื่อนของลูกได้

ไม่เลือกเพื่อนให้ลูกคบ แต่พูดคุยได้เรื่องของเพื่อนลูกได้ ตั้งแต่ลูกเล็กๆ ควรสร้างความไว้ใจเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ไว้ เช่น ลูกของเพื่อนที่ชื่อบีเป็นคนอย่างไร น่ารักไหม ลูกชอบเพื่อนคนไหนบ้าง และไม่ชอบเพื่อนเพราะอะไร ถ้าพ่อแม่พูดคุยเสมอ ลูกก็จะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เป็นปกติ และเมื่อเขาเติบโตขึ้น เขาก็ยังไว้ใจที่จะเล่าให้แม่ฟังเหมือนเดิม

  1. เป็นเพื่อนกับเพื่อนของลูก

ไปส่งลูกที่โรงเรียนตอนเช้าๆ ก็ให้ทักทาย พูดคุยกับเพื่อนของลูกด้วย หรือทำขนมไปฝากเพื่อนของลูกด้วยเลย เพื่อสร้างมิตรภาพอันดี หากมีอะไรจะได้ถามเพื่อนของลูกได้ เพราะถ้าหากแม่ทีท่าทางไม่สนใจเพื่อนของลูก อาจทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีได้

  1. เล่นสนุกกับลูกได้ทุกรุปแบบ

การเป็นแม่ถือตัวแน่นอนว่าทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีหรือช่องว่างระหว่างวัย อาจเป็นอุปสรรคในการเป็นเพื่อนลูกได้ ฉะนั้นให้เล่นกับลูกตั้งแต่เด็กๆ เลย อยู่บ้านก็เล่นด้วยกัน เล่นตลก เล่นซ่อนหา เล่นแสดงละครเลียนแบบ เอาให้หลุดโลกไม่สนวัยกันไปเลย เพราะการเล่นทำให้ได้ใกล้ชิดกับลูก รู้ว่าเขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร

  1. รับฟังลูกอย่างตั้งใจ

อย่าคิดว่าเด็กไม่รู้เรื่อง เพราะลูกรู้ว่าพ่อแม่ฟังเขาอยู่ไหม ไม่ว่าลูกอยากจะเล่าอะไร พูดรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องบ้าง เมื่อลูกจะเล่า แม่ต้องฟัง จ้องตาลูกให้รู้ว่ารับฟังทุกเรื่อง เป็นการสร้างความไว้ใจ เมื่อลูกโตขึ้นเขาก้อยากที่จะเล่าให้พ่อแม่ฟังเสมอเพราะเขารู้ว่าพ่อแม่จะรับฟังไม่ว่าเรื่องอะไร

  1. ห้ามใส่อารมณ์กับลูก

ไม่ว่าลูกจะกรี๊ดเสียงเลเวลไหน จะร้องไห้แค่ไหน ดื้อแค่ไหน แม่ต้องรักษาระดับเสียงเท่าเดิม และสีหน้าแบบเดิมไว้ หากทำโทษเพราะลูกทำผิด หลังจากทำโทษแล้ว ให้กอด ให้อุ้มลูก แล้วบอกว่าเขาผิดอย่างไร เพื่อให้เขาเข้าใจในเหตุผลที่เราทำ อย่าปล่อยให้ลูกสงสัยในตัวเรา จนกลายเป็นอคติ จะเป็นเพื่อนกันต้องจริงใจต่อกัน

  1. สร้างภูมิต้านทานชีวิตให้ลูก

มอบความรักให้ลูก แสดงออกต่อลูกในทุกโอกาส เช่น ให้ของขวัญในวันเกิด วันปีใหม่ เมื่อลูกได้รางวัลที่โรงเรียน หรือได้รับคำชมจากครู เป็นต้น พร้อมกอดและบอกรักเสมอ ทุกเรื่องที่ลูกมีความสุขต้องยินดี แต่ไม่ใช่การอวยลูก เพราะเพื่อนกันต้องยินดีเมื่อเห็นเพื่อนมีความสุข แม้จะเล็กน้อยแต่ก็นับเป็นเรื่องสำคัญทุกอย่าง

 

ถ้าคุณแม่อยากเป็นเพื่อนกับลูก ก็ต้องเริ่มเป็นมาตั้งแต่เด็กๆ ทำให้ลูกรักเรา เชื่อใจเรา และมองว่าเราเป็นเพื่อนของลูกอีกคนหนึ่งทำไม่อยากเลยนะคะ เมื่อลูกเติบโตขึ้นปัญหาต่าง ๆ ก็จะลดน้อยลง เพราะใน Friend Zone ของลูกจะมีพ่อแม่ของเขาอยู่ในนั้นอันดับต้น ๆ อยู่เสมอ

คำพูด 6 ประเภท ที่พ่อแม่ห้ามพูดกับลูก เพราะลูกได้ยินจะเจ็บและจำไปจนโต

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

หลายครั้งพ่อแม่อาจจะเหนื่อยมากเกินไป หรืออารมณ์ไม่ดี จึงมักจะพูดไม่ดีต่อลูก แต่รู้ไหมคะ คำพูดของพ่อแม่ทำร้ายจิตใจลูกไปจนโตได้เลย หากไม่ระวัง และนี่คือคำพูดทั้ง 6 ประเภท ที่คนเป็นลูกไม่อยากให้พ่อแม่พูดค่ะ

คำพูด 6 ประเภท ที่ลูกไม่อยากได้ยินจากพ่อแม่
  1. คำพูดใส่อารมณ์ แสดงความไม่พอใจ

การพูดออกไปด้วยอารมณ์ เช่น “ทำไมเป็นเด็กไม่ดีเลย ไม่เคยเชื่อฟังพ่อแม่” “ดื้อแบบนี้ ต่อไปจะไม่สนใจแล้วว” เป็นต้น การใช้คำพูดเช่นนี้จะมีผลกระทบทำให้ลูกพัฒนาการถดถอย ตามมาด้วยรู้สึกโกรธและต่อต้านพ่อแม่ได้ ยิ่งพูดด้วยอารมณ์บ่อย ๆ พัฒนาการจะยิ่งแย่ลง

  1. คำพูดย้ำ ๆ พูดบ่อย ๆ

เช่น "ลูกทำได้หรอ แน่ใจนะว่าทำได้" "ครั้งที่แล้ว ก็จำไม่ได้ จำได้หรอ" เป็นต้น แม้พ่อแม่จะมีความวิตกกังวล ห่วงใยลูก แต่การย้ำถาม ย้ำทำ โดยไม่รู้ว่าลูกต้องการหรือไม่ต้องการ ย้ำอยู่บ่อย ๆ จะทำให้ลูกรำคาญ และมีความรู้สึกวิตกกังวล ไม่มั่นใจตามไปด้วย ดังนั้นพ่อแม่อย่าถามอะไรบ่อย ๆ มากไปค่ะ

  1. คำพูดประชดประชัน

เช่น "เรื่องแค่นี้เอง ทำไม่ได้ ก็ไม่ต้องทำอะไรอีกเลยนะ" "ทำไมบอกแล้วไม่จำ สมองมีไว้ทำไม" คำพูดพวกนี้แม้ใจจริงจะไม่อยากพูด แต่พูดไปเพราะอารมณ์ เลยหลุดปากออกไป แน่นอนว่าทำให้ลูกเสียใจมาก และยังเกิดภาพในใจที่ไม่ดี คิดว่าตัวเองไม่มีค่าสำหรับพ่อแม่ ควรเลิกพูดกับลูกเด็ดขาดเลยค่ะ

  1. คำพูดลอย ๆ

อารมณ์เหนื่อยทำให้พ่อแม่มักพูดอะไรลอย ๆ ออกมา เช่น “เบื่อจริง ๆ เลย”  “เจอแบบนี้ เหนื่อยใจจริง ๆ ” เป็นต้น คำพูดเหล่านี้ทำให้บรรยากาศของบ้านเสียมากค่ะ ลูกจะทำตัวไม่ถูก คิดว่าแม่ดุตัวเอง ทั้ง ๆ ที่อาจจะไม่ใช่ มีอะไรควรบอกลูกไปตรง ๆ เพื่อให้ลูกรับรู้ การพูดคุยกัน ชวนลูกคุย น่าจะดีกว่าการพูดลอย ๆ ออกมานะคะ



  1. คำพูดไม่จริงใจกับลูก

การเจอพ่อแม่พูดแบบนี้ ลูกเหนื่อยใจมากค่ะ ที่สัญญาอะไรก็ทำไม่ได้ พูดให้ความหวังและลืมเอง ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ทำให้ลูกเข้าใจว่าพ่อแม่พูดไม่จริง พูดโกหก และอาจเห็นว่าทำได้เป็นเรื่องปกติ ลูกก็อาจจะก็จะทำบ้าง เพราะมีพ่อแม่ทำเป็นตัวอย่าง

  1. การพูดล้อเลียน

พ่อแม่ที่ชอบกระเช้าเย้าแหย่ลูกมากจนเกินไปควรรู้นะคะ ว่าการแหย่ลูก ล้อเลียนลูก ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อย่างที่เข้าใจ เช่น การเรียกลูกว่าน้องดำ ล้อการสอบตก เรียกเจ้าอ้วน หัวเหม่ง หรือเล่าเรื่องน่าอายของลูกให้คนอื่นฟัง แล้วล้อเลียนลูก ล้วนกระทบพัฒนาการรอบด้าน ลูกจะขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง กลายเป็นคนโกรธง่าย หรือขี้โมโหได้

คำพูดทั้ง 6 ประเภทนี้ ไม่มีเด็ก ๆ คนไหนอยากฟัง พ่อแม่ควรจะหลีกเลี่ยงการพูดแบบนี้ด้วยนะคะ คำพูดที่เต็มไปด้วยอารมณ์จะทำร้ายจิตใจลูกเสมอ ควรใจเย็น ๆ มีสติก่อนจะพูดออกไป เพราะสิ่งที่พ่อแม่พูดจะติดหัวใจลูกไปจนโตค่ะ

คิดก่อนพูด! พ่อแม่ขัดอารมณ์ลูกช่างจ้อ เสี่ยงหยุดพัฒนาการ ส่งผลขาดความมั่นใจ

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-การเรียนรู้
 
ใคร ๆ ก็บอกเด็กพูดมากเป็นเด็กฉลาด แต่ถ้าหากมากเกินไปก็สร้างความกลุ้มใจให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองไม่น้อย เพราะลูกพูดมากเขาอาจจะไม่สามารถอยู่เงียบได้เลย หรือ อาจจะไม่เป็นผู้ฟังที่ดีนัก แต่ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำว่าอย่าตำหนิ หรือเข้าไปขัดอารมณ์ลูกช่างจ้อจะดีกว่านะคะ


Jeanne Williams ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาครอบครัว ได้แนะนำว่า ให้ทำเป็นสนใจลูกเข้าไว้ แม้สิ่งที่เขาพยายามเล่านั้นจะแสนธรรมดาและไม่น่าตื่นเต้นเลย เพราะหากพ่อกับแม่ตั้งใจฟังเรื่องราวต่างๆ ของเขาได้ตลอดนั้น พวกเขาก็มีแนวโน้มที่เล่าเรื่องและเปิดใจเมื่อเขาโตขึ้นเป็นวัยรุ่น

แต่ถ้าหากไปตำหนิลูกว่ากำลังพยายามเล่าเรื่องไร้สาระอยู่นั้น ไม่มีประโยชน์ต่อตัวพวกเขาเองในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการ ทำให้พวกเขาขาดความมั่นใจได้ และหากไม่ว่างฟังหรือคุยจริงๆ ให้สื่อสารกับลูกตรงๆ เช่น การบอกพวกเขาว่าแม่ขอเวลานอกนะคะ หรือเล่นเกมเงียบกัน ใครเงียบได้นานกว่ากันชนะ และสอนให้พวกเขารู้จักกิจกรรมอื่นๆ เช่น ร้องเพลง เต้น อ่านหนังสือ แทน

มาดูข้อดีของเด็กพูดมากกันค่ะ
1. สื่อสารกับคนอื่นได้ดีกว่าเด็กคนอื่นๆ
2. มีไหวพริบในการสื่อสาร
3. สิ่งที่สงสัยนั้น เด็กคนนี้จะได้รับคำตอบเสมอ
4. มีส่วนร่วมมากกว่าคนอื่นๆ
5. กล้าพูดในสิ่งที่คิด
6. พลังเหลือล้น
7. ตื่นเต้นกับทุกอย่างได้เสมอ
 

ทัศนคติ 5 แบบของพ่อแม่ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้รอบด้านของลูกอย่างได้ผล

ลูกฉลาด, ลูกเก่ง, เด็กเก่ง, เด็กฉลาด, ทักษะพิเศษ, ความสามารถพิเศษ, ทักษะการเอาตัวรอด, อยู่ในสังคมได้, เก่งรอบด้าน, ฉลาดรอบด้าน, เรียนรู้ไว, การเลี้ยงลูก, พัฒนาการเด็ก, การส่งเสริมพัฒนาการ,

ทัศนคติ 5 แบบของพ่อแม่ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้รอบด้านของลูกอย่างได้ผล

คุณพ่อคุณแม่สงสัยไหมคะว่า ลูกเราจะมีพัฒนาการสมวัย เรียนรู้ได้ดีและฉลาดรอบด้านหรือไม่ มีทักษะพิเศษอันโดดเด่นหรือไม่นั้นเกิดจากอะไร สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มที่ตัวคุณพ่อคุณแม่ก่อนเป็นอันดับแรกค่ะ สงสัยไหมคะว่าทัศนคติและการกระทำแบบใดส่งเสริมการเรียนรู้ การกระทำแบบไหนขัดขวางการเรียนรู้ของเขา สิ่งเหล่านี้สำคัญมากที่สุด และยังส่งผลกับลูกไปถึงตอนโตเลยนะคะ วันนี้เรามีเรื่องราวที่คุณพ่อคุณแม่ต้องหันกลับมามองทบทวนตัวเองอย่างจริงจังมาฝากค่ะ

ทัศนคติของพ่อแม่ส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของลูก การส่งเสริมให้ลูกฉลาดรอบด้านไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ลูกเรียนเท่านั้นค่ะ แต่เริ่มต้นจากทัศนคติ ความเข้าใจและการมองเห็นโอกาสของคุณพ่อคุณแม่ หากเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด ลูกก็จะถูกจำกัดความคิดและการกระทำ หากเลี้ยงลูกให้เก่งแต่ในตำรา ลูกก็อาจไม่รู้จักการพลิกแพลงหรือแก้ไขปัญหาในชีวิตจริง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะพิจารณาและเลือกหลักการที่ดีที่สุดเพื่อเลี้ยงลูกให้ดีและเก่งที่สุด แต่รู้ไหมคะว่าวิธีการเลี้ยงลูกที่ดีที่สุดคือการปรับประยุกต์สิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้เข้ากับลักษณะนิสัยและความถนัดของลูกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเอาใจใส่ค้นหา และส่งเสริมให้ลูกได้เรียนรู้ด้วยตัวเค้าเอง และสนับสนุนอยู่ห่างๆ

John Schnur นักการศึกษาคนสำคัญของอเมริกาและยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง New Leaders for New Schools ได้กล่าวว่า การจะปลดล็อคและส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของลูกให้พัฒนาไปเป็นความสามารถพิเศษได้นั้นจะต้องได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง ถูกต้อง และยอดเยี่ยมจากคุณพ่อคุณแม่เป็นหลัก เช่น อ่านหนังสือไปกับลูก คุยกันให้มาก หรือแม้แต่การวางโทรศัพท์มือถือให้ไกลตัวที่สุด และหลักการเหล่านี้ถ้าลองมาปรับใช้กับลูกเราก็ไม่ใช่เรื่องยากค่ะ เพราะคุณสามารถเป็นพ่อแม่สุดยอดนักส่งเสริมความสามารถพิเศษของลูกได้

 

วันนี้เรามีวิธีคิด และการปรับทัศนคติของคุณพ่อคุณแม่ที่เหมาะกับคนไทย 5 แบบโดย พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เพื่อเราจะส่งเสริมลูกไปได้สุดทางค่ะ

1.เปิดประเด็นให้คิดและแสดงออกตลอดเวลา

ลองเปลี่ยนจากการออกคำสั่ง การไม่ให้ตัวเลือก หรือการจำกัดความคิดของลูก มาเป็นการถามเพื่อให้เขาได้แสดงความเห็นและความรู้สึก การให้ตัวเลือกเพื่อให้เขาได้เลือกสิ่งที่คิดว่าเหมาะกับตัวเอง หรือตั้งคำถามกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่พบเจอ เพื่อกระตุ้นให้เขาใช้ความคิดอยู่เสมอ ได้แสดงความเป็นตัวของตัวเอง และเป็นวิธีที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่เปิดใจยอมรับตัวตนของลูก ได้มีโอกาสสังเกตเห็นบุคลิก ความถนัด และทักษะบางอย่างของลูกได้ เพื่อหาวิธีส่งเสริมต่อไปได้อย่างเหมาะสม

 

2.เรียนรู้ไปพร้อมกับลูก

ถ้าพ่อแม่อยากให้ลูกเรียนรู้อย่างฉลาดรอบด้าน แต่ตัวเองยังนั่งเล่นแท็บเล็ต ก้มหน้าดูโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา หรือปล่อยให้ลูกนั่งดูทีวี เล่นเกม ลูกจะเกิดการเรียนรู้รอบด้านได้อย่างไร ในเมื่อลูกไม่ได้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าพอที่พ่อแม่จะมาสนใจ ดังนั้นพ่อแม่เองก็ต้องให้เวลา เรียนรู้ไปพร้อมกันกับลูก ไม่ปล่อยลูกให้ลงมือทำโดยขาดความสนใจและกำลังใจ เช่น อยากให้ลูกปั่นจักรยานที่ชอบ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรปั่นจักรยานหรือเดินไปพร้อมๆ กับลูก ลูกชอบประดิษฐ์ พ่อแม่ก็ควรเป็นฝ่ายช่วยหาอุปกรณ์ ให้กำลังใจ และติดตามผลอยู่ใกล้ๆ เพื่อเห็นถึงความพยายาม ความมุ่งมั่น และช่วยแนะนำในส่วนที่ลูกขอความเห็น

 

3.ไม่เปรียบเทียบลูกเรากับลูกคนอื่น

เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการ ทักษะในการเรียนรู้ และความสามารถที่แตกต่างกันค่ะ เช่น บางคนเก่งเรื่องการคิดคำนวณ บางคนเก่งเรื่องภาษา บางคนเก่งเรื่องการเคลื่อนไหว บางคนเก่งเรื่องความคิดสร้างสรรค์ หรือบางคนเก่งเรื่องการอยู่ร่วมกับผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตเพื่อให้เห็นถึงศักยภาพนั้นและส่งเสริมเขาให้เต็มที่ พร้อมกับพัฒนาทักษะด้านอื่นไปพร้อมกัน ดังนั้นทัศนคติของคุณพ่อคุณแม่เป็นสิ่งสำคัญ ลูกเราอาจจะไม่จำเป็นต้องเก่งเรื่องเดียวกับเด็กคนอื่น แต่เขาจะเก่งและพัฒนาความสามารถตัวเองได้แบบไร้ขีดจำกัดในทักษะที่ถนัดค่ะ

 

4.ไม่กลัวถ้าลูกจะผิดพลาดและผิดหวัง

คุณพ่อคุณแม่หลายคนกลัวลูกผิดหวัง เสียใจ เลยลงมือทำแทนและปกป้องลูกมากเกินไป ซึ่งทัศนคติที่มีความหวังดีแบบนี้มักทำให้ลูกขาดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ลองลดความกลัวและวิตกกังวลของตัวเองลงอีกหน่อย แล้วปล่อยให้ลูกได้ลงมือทำ วิธีนี้จะกระตุ้นให้ลูกคิดหาทางแก้ไขปัญหาเอง หากเกิดความผิดพลาดเขาก็จะยอมรับในความผิดจากการเลือกของตัวเอง จดจำไว้พัฒนาให้ดีขึ้น และรับมือกับอารมณ์ของตัวเองได้เมื่อต้องผิดหวัง ซึ่งจะกลายมาเป็นทักษะในสำคัญในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การแก้ไขปัญหา ความไม่ย่อท้อต่อเรื่องใดๆ ค่ะ

 

5.ไม่มองข้ามพลังของสารอาหารบำรุงร่างกายและสมอง

ลูกจะสนุกกับการเรียนรู้ พัฒนาการดี และต่อยอดทักษะต่างๆ ได้เยี่ยมจะต้องเริ่มที่อาหารการกิน ที่ส่งเสริมสุขภาพกาย และใจให้แข็งแรงค่ะ คุณพ่อคุณแม่ทุกคนจึงเน้นเลือกของกินที่ดีต่อสมอง รวมไปถึงการให้ลูกกินวิตามินต่างๆ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ลูกฉลาดมากขึ้น แต่จริงๆ แล้วการให้ลูกกินอาหารทุกมื้อครบทั้ง 5 หมู่ และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายก็ช่วยให้เขาได้รับสารอาหารจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการทำงานของสมองแล้วค่ะ สำหรับลูกในวัยที่สนุกกับการใช้พลังอย่างเหลือเฟือเพื่อการเรียนรู้ คุณพ่อคุณแม่ควรเน้นอาหารที่มีโปรตีนเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ รวมถึงอาหารที่มีแคลเซียมเพื่อให้กระดูกแข็งแรง

 

 

หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ลองประเมินตัวเองว่าทุกวันนี้เรามีทัศนคติที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของลูก มากน้อยแค่ไหน ถ้าเราปรับทัศนคติของตัวเองเพื่อส่งเสริมลูกตั้งแต่วันนี้ จะทำให้ลูกเรียนรู้ไปได้จนสุดทาง แล้วจะรู้ว่าเขาทำได้มากกว่าที่คุณคิดค่ะ



 

 



ทำ 5 ข้อนี้ทุกวัน แล้วคุณจะเป็นพ่อแม่ที่มีความอดทนมากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

พ่อแม่มือใหม่, ทักษะพ่อแม่, นิสัยพ่อแม่, พ่อแม่มีอยู่จริง, ความอดทน, พ่อแม่ใจร้อน, พ่อแม่ขี้โมโห, อยากเปลี่ยนตัวเอง, เปลีย่นจากคนใจร้อนเป็นใจเย็น

เวลาลูกพูดไม่ฟังมันปรี๊ดแบบอยากจะกรี๊ดให้ลั่นบ้าน แต่ก็นั่นละค่ะลูกเหมือนกระจกสะท้อนของพ่อแม่ พ่อแม่เป็นอย่างไร ลูกก็เป็นอย่างนั้น พ่อแม่ขี้โมโห ลูกก็ขี้โมโหค่ะ พ่อแม่ใช้ความรุนแรง ลูกก็จะรุนแรงตอบ พ่อแม่เจ้าอารมณ์ ลูกก็จะกลายเป็นเด็กที่ใช้อารมณ์จัดการปัญหา

เพราะฉะนั้นก่อนที่แม่จะปรี๊ดแตกใส่ลูก ลองมาหาวิธีจัดการกับอารมณ์ตนเองก่อนค่ะ

ทำ 5 ข้อนี้ทุกวัน แล้วคุณจะเป็นพ่อแม่ที่มีความอดทนมากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

❤️1. ตั้งสติ

เตือนตนเองว่าคนที่อยู่ตรงหน้าคือลูก นี่ลูกเรา เรารักลูก เราระเบิดอารมณ์ใส่ลูกไม่ได้เด็ดขาด

❤️2. สูดหายใจเข้าลึก ๆ แล้วนับ 1-100 นับ

1-10 มันไวไป ให้นับถึง 50 แต่ถ้านับถึง 50 ก็ยังไม่ไหว ให้นับไป 100-200 เลยค่ะ แล้วแม่จะใจเย็นลง

❤️3. หยุดพูด

เพราะถ้ายิ่งโกรธ ยิ่งพูด จะยิ่งขุดทุกสิ่งอย่างที่ลูกเคยทำไม่ดีออกมาตำหนิ สร้างแผลใจให้ลูกอีกครั้ง

❤️4. ดื่มน้ำเย็น ๆ สักแก้ว

เพื่อให้ร่างกายที่ร้อนรุ่มของแม่ปรับอุณหภูมิให้เย็นลง และช่วยให้ความตึงเครียดของแม่ผ่อนคลายลง

❤️5. พาตัวเองออกจากที่เกิดเหตุ

ถ้าแม่รู้ตัวว่าไม่ไหวให้เดินออกจากจุดนั้นทันทีค่ะ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำร้ายลูก เพราะต่อให้ไม่มีไม้เรียวอยู่ใกล้ๆ มือแม่ก็พร้อมฟาดที่กลางหลังลูกเมื่อขาดสติ ดังนั้นควรรีบเอาตัวออกห่าง แล้วบอกลูกว่า แม่กำลังโกรธอยู่ ขอแม่สงบสติอารมณ์แป๊บ เดี๋ยวแม่กลับมา

จะว่าไปแม่ก็คือปุถุชนคนหนึ่งที่มีความรู้สึก รัก โลภ โกรธ หลง โหด เลว ดี มีอารมณ์ มีความรู้สึกเหมือนกับทุก ๆ คนบนโลกใบนี้ แต่สิ่งที่ทำให้แม่เป็นคนพิเศษกว่าใครคือ “แม่เป็นแม่” แม่เป็น Role model หรือแบบอย่างของลูก ดังนั้นท่องไว้ค่ะแม่ ๆ โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า ไม่โกรธดีกว่าลูกจะได้ไม่เลียนแบบจ้า

 

นิสัยของพ่อแม่ 3 สไตล์ มักจะได้ลูกเป็นคนแบบนี้

5101 1

นิสัยของพ่อแม่ 3 สไตล์ มักจะได้ลูกเป็นคนแบบนี้

คุณพ่อคุณแม่ลองสำรวจตัวเองดูนะคะ ว่าส่วนใหญ่แล้ว เรากำลังเป็นพ่อแม่แบบไหน แล้วจะเปลี่ยนอะไรในตัวเองเพื่อเป็นพ่อแม่ที่ดีขึ้นบ้าง เพื่อให้ลูกมีอิสระ แต่ก็มีขีดจำกัดที่เหมาะสมได้

1.พ่อแม่ชอบบงการ

พ่อคุณที่ลึก ๆ แล้วมักจะชอบบงการลูก อยากให้ลูกเชื่อฟังคำสั่ง และมักจะลงโทษลูก เช่น "กินข้าวให้หมด ไม่อย่างนั้นแม่จะตีมือเลยนะ" "พูดขอโทษเดี๋ยวนี้นะ ไม่งั้นแม่จะไม่รัก " เป็นต้น หากคุณเผลอที่เป็นพ่อแม่แบบนี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ

  • ลูกจะทำตัวเป็นเด็กดีชั่วคราว เลี่ยงการถูกลงโทษ
  • ลูกจะกลัวพ่อแม่และผู้ใหญ่ แบบไร้เหตุผล
  • ลูกไม่เรียนรู้ที่จะคิดเอง
  • เก็บกด และเลียบแบบพฤติกรรมของพ่อแม่ เป็นต้น

 

2.พ่อแม่ตามใจลูกเกินไป

พ่อแม่หลายคนไม่ยอมรับว่ากำลังตามใจลูกอยู่ แต่จริง ๆ แล้วกำลังทำนะคะ เช่น ให้ลูกซื้อของเล่นทุกอย่างที่อยากได้ ปล่อยให้ลูกเล่นไปกินข้าวไป เป็นต้น หากคุณเผลอที่เป็นพ่อแม่แบบนี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ

  • ลูกไม่เรียนรู้ขอบเขตของตัวเอง
  • ลูกไม่ถูกฝึกให้รับผิดชอบ ตามใจตัวเอง
  • ไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น
  • ไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น
  • บีบบังคับให้พ่อแม่และคนอื่น ๆ ทำตามตัวเอง เป็นต้น

 

3.พ่อแม่ที่ให้ทางเลือก

พ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกแบบประชาธิปไตย ปล่อยให้มีอิสระและขีดจำกัดที่มีขอบเขตพอเหมาะ จะปฏิบัติ 2 แบบ คือ กำหนดขอบเขตความพอดีให้เด็ก และให้เด็กมีทางเลือกภายในขอบเขตนั้น เช่น "ลูกซื้อของเล่นได้ แต่เลือกได้ในโซนนี้ที่ราคา 100 บาทเท่านั้นนะคะ" หากคุณเป็นพ่อแม่แบบนี้ สิ่งที่ลูกจะได้เรียนรู้ คือ

  • ฝึกให้เด็กมีส่วนร่วมตามความเหมาะสม แต่ไม่ใช่ทุกครั้งไป
  • ลูกจะรู้ว่าทางเลือกของเขามีความสำคัญ
  • ลูกจะเรียนรู้ว่าบางอย่างมาพร้อมกับความรับผิดชอบ
  • ลูกจะเป็นเด็กเชื่อมั่นในตัวเอง
  • ลูกจะรับฟังคนอื่นเป็น เป็นต้น

พ่อ คือแบบอย่างของลูกชาย อยากให้ลูกเป็นคนดี ต้องทำ 6 สิ่งนี้ให้ลูกเห็น

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-พ่อที่ดี-พ่อลูก

พ่อคือต้นแบบของลูก โดยเฉพาะเจ้าลูกชาย จะชอบเลียนแบบนิสัยและการกระทำของพ่อ ถ้าอยากให้ลูกเป็นคนดี อย่าลืมทำ 6 สิ่งนี้ให้ลูกเห็นนะคะ

พ่อ คือแบบอย่างของลูกชายอยากให้ลูกเป็นคนดี ต้องทำ 6 สิ่งนี้ให้ลูกเห็น

การเป็นพ่อที่ดีมีส่วนช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของลูกนะคะ ยิ่งมีลูกชายแล้วพ่อคือต้นแบบให้ลูกได้เลย และนี่คือ 6 สิ่งที่พ่อต้องทำให้ลูกเห็นค่ะ แล้วลูกจะเติบโตเป็นคนดีเป็นที่รักใคร่ของคนที่พบเจอ        

  1. พ่อแข็งแรง และพ่อช่วยเหลือคนอ่อนแอกว่า เวลาอยู่ในบ้านพ่อต้องพาลูกชายช่วยแม่ทำงานบ้านด้วย รวมถึงงานที่ต้องยกของหนักต้องรีบอาสาเลย หากไปนอกบ้านแล้วเจอคนที่อ่อนแอกว่ากำลังลำบาก ต้องเข้าไปช่วยโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ ค่ะ        

  2. พ่ออ่อนโยน แต่มีภาวะความเป็นผู้นำ หากครอบครัวเกิดปัญหาไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ พ่อจะเป็นคนที่มีสติ และให้คำปรึกษาที่ดีกับแม่และลูกได้เสมอ และการเป็นผู้นำของพ่อไม่มีอำนาจยิ่งใหญ่ใดๆ นอกจากความอ่อนโยน รับฟังเก่ง และสุภาพกับทุกๆ คนที่คุยด้วย

  3. พ่อเป็นสุภาพบุรุษกับทุกคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิต พ่อให้เกียรติแม่ พ่อให้เกียรติผู้หญิงคนอื่นๆ ทั้งในครอบครัวและคนภายนอก และพ่อปฏิบัติกับคนอื่นๆ ในสังคมอย่างให้เกียรติ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกซึมซับเข้าไปโดยไม่รู้ตัว และกลายเป็นลักษณะนิสัยติดตัวไป

  4. พ่อกล้าหาญในเรื่องที่ถูกต้อง เช่น พ่อกล้าที่จะช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ถูกต้อง แต่พ่อไม่ทำเรื่องกล้าบ้าบิ่น หรือกล้าเกินเหตุที่จะส่งผลให้ครอบครัวอันตรายและคนอื่นเดือดร้อน        

  5. พ่อไม่ทำตัวเหลวไหล ให้น่าเป็นห่วง เมื่อพ่อต้องไปปาร์ตี้เพราะเป็นงาน หรือกับเพื่อน พ่อจะรู้หน้าที่บอกแม่กับลูกเสมอว่าไปไหน ทำอะไร กำหนดเวลากลับชัดเจนไม่ต่อรอง ห้ามติดต่อไม่ได้จนคนที่บ้านต้องเป็นห่วง โตขึ้นลูกจะรู้ว่าสนุกได้แต่ต้องมีขอบเขต

  6. พ่อเป็นคนกตัญญู แสดงความรักเก่ง พ่อรักปู่ รักย่า รักตาและยายของลูก พ่อมักพูดว่ารักและจะทำสิ่งดีๆ ให้พวกท่านเสมอ จนลูกจดจำสิ่งที่พ่อทำได้และทำตามพ่อ คือการแสดงความรักต่อคนที่เรารัก คนที่เลี้ยงดูและคนสั่งสอนเรามา นั้นคือสิ่งที่สำคัญมาก

หากคุณเป็นพ่อต้นแบบของลูกได้ตามทั้ง 6 ข้อนี้ ลูกจะมีความสุข จิตใจดี และเติบโตเป็นคนดีที่สังคมต้องการแน่นอนค่ะ



 

พ่อแม่ 10 แบบ ที่ทำให้ลูกไม่มีความสุข พัฒนาการถดถอย ไม่สมวัย

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-ทักษะพ่อแม่-พ่อแม่มีอยู่จริง

พ่อแม่ 10 แบบ ที่ทำให้ลูกไม่มีความสุข พัฒนาการถดถอย ไม่สมวัย

พ่อแม่ที่ทำให้ลูกไม่มีความสุข พัฒนาการถดถอย พัฒนาการที่ดีของลูก ส่วนใหญ่มาจากการเลี้ยงดูของครอบครัว และบางครั้งการที่คุณพ่อคุณแม่หวังดีต่อลูกมาก อาจเป็นการทำร้ายจิตใจลูกโดยไม่รู้ตัวก็ได้

นี่คือพ่อแม่ 10 แบบ ที่ทำให้ลูกไม่มีความสุข พ่อแม่ลองทบทวนดูนะคะ ว่าเราตรงกับข้อไหนหรือเปล่า จะได้ปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดู เพื่อพัฒนาการของลูก

แบบที่ 1 พ่อแม่ที่ชอบตำหนิลูก

ไม่ว่าลูกจะทำผิดแค่เล็กน้อยพ่อแม่ก็ดุด่า ตำหนิแทบทุกเรื่อง การตำหนิลูกในทุกๆ เรื่องไม่ได้ช่วยให้ลูกเปลี่ยนตัวเองได้ แต่ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ลูกต้องเผชิญ และคำแนะนำที่ดีจากพ่อแม่จะช่วยให้ลูกเข้าใจ ปรับปรุงตัวเองได้ดีกว่าการพูดตำหนิ

แบบที่ 2 ตามใจลูกเกินไป

ลูกอยากได้อะไรก็ตามใจได้ตั้งแต่เล็ก ทำให้ลูกไม่รู้จักการรอคอย ไม่เคยถูกขัดใจ เมื่อลูกโตขึ้น เห็นเพื่อนมีอะไรก็อยากมีบ้าง เด็กที่เอาแต่ใจมาตั้งแต่เล็ก จะไม่ชอบความผิดหวัง ทนไม่ได้ที่จะไม่ได้อะไรอย่างที่ต้องการ


แบบที่ 3 พ่อแม่ที่เจ้าระเบียบและมีกฎเกณฑ์มากเกินไป

พ่อแม่หลายคนกลัวลูกไม่มีระเบียบวินัยเลยชอบออกกฎมากมายให้ลูก ก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของลูก โดยลืมนึกถึงสิทธิส่วนบุคคล ถ้าลูกไม่ซึมซับนิสัยเจ้าระเบียบเกินควรนี้ไป ลูกอาจรู้สึกกดดัน และไม่มีความสุขได้

แบบที่ 4 พ่อแม่ที่ลงโทษลูกรุนแรงเวลาที่ลูกทำผิด

เมื่อลูกทำผิดแล้วชอบดุด่าด้วยคำพูดแรงๆ ประชดประชัน ทำร้ายร่างกาย ตีด้วยวัสดุต่างๆ ที่อยู่ใกล้มือ ทำให้ลูกได้รับผลกระทบทางใจ เครียด ซึมเศร้า แนวโน้มโตไปมีมีพฤติกรรมเสี่ยงได้ง่าย

แบบที่ 5 พ่อแม่ที่ไม่เคยชมลูก

พ่อแม่หลายคนอาจจะคิดว่าชมลูกบ่อยเกินไปไม่ดีจะทำให้เหลิง แต่ความจริงแล้วการชื่นชมลูกช่วยสร้างแรงกระตุ้นเชิงบวกได้ หากไม่เคยชมลูกเลย ลูกจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่สนใจเรียนรู้หรือทำสิ่งต่างๆ ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เพราะพ่อแม่ไม่เคยชมลูกเลย

แบบที่ 6 พ่อแม่ที่คาดหวังกับลูกสูง

ชอบกดดันให้ลูกทำสิ่งต่างๆ เช่น ต้องเรียนได้ดี ต้องแข่งขันชนะ ต้องได้ที่ 1 ของห้อง ความคาดหวัง ความกดดันเหล่านี้จะทำให้ลูกไม่มีความสุข กลายเป็นเด็กที่ชอบเอาชนะ กลัวความล้มเหลว เพราะกลัวว่าจะทำให้พ่อแม่ผิดหวัง

แบบที่ 7 พ่อแม่ที่ทะเลาะกันตลอดเวลา

ทำให้ลูกรู้สึกบ้านไม่น่าอยู่ โตขึ้นอาจหาทางออกด้วยการออกไปนอกบ้าน อาจจะถูกชักจูงให้ทำอะไรไม่ดี ส่งผลกระทบกับตัวเองได้

แบบที่ 8 พ่อแม่ที่ไม่ค่อยใส่ใจลูก

พ่อแม่ที่มัวแต่ทำงาน หรือสนใจเรื่องอื่นๆ มากกว่าเรื่องของลูก ไม่ค่อยมีเวลาให้ลูก ไม่รู้ว่าลูกกำลังคิดอะไรรู้สึกอย่างไร ลูกจะขาดความอบอุ่น ไม่มีใครให้ปรึกษา เวลาเครียดก็ไปหาเพื่อน มีแนวโน้มติดเพื่อน ติดสังคมมากว่า

แบบที่ 9 ชอบเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น

พ่อแม่ที่ชอบเปรียบเทียบลูกกับคนอื่นจะสร้างปมด้อยให้กับลูกของตนเอง ทำให้ลูกไม่รู้จักคุณค่าในตัวเอง พัฒนาการถดถอย กลายเป็นเด็กขี้อิจฉา หากโดนเปรียบเทียบบ่อยๆ เข้า อาจทำให้ลูกเกิดความเครียดได้

แบบที่ 10 พ่อแม่ที่ไม่มีความยืดหยุ่น

พ่อแม่เคร่งเครียดระเบียบจัดเกินไป เมื่อผิดแผนก็มักจะมีอาการวิตกกังวล กระวนกระวาย ควบคุมตัวเองไม่ได้ ทำให้ลูกซึมซับพฤติกรรมเหล่านี้ เมื่อพ่อแม่ไม่ควบคุมสถานการณ์หรือแก้ปัญหาด้วยความใจเย็น ลูกก็จะกลายเป็นเด็กที่วิตกกังวลง่ายเมื่อเจอปัญหา ไม่รู้วิธีรับมือ และพยายามป้องกันปัญหาด้วยการทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบที่สุด เมื่อพลาดหวังลูกจึงรู้สึกผิดหวังมาก

 

พ่อแม่ 7 ประเภท ที่ใช้ความรักเลี้ยงลูกแบบผิดๆ โตไปอ่อนแอ ขี้ขลาด ไม่เข้มแข็ง

พ่อแม่รังแกฉัน, การเลี้ยงลูก, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, พ่อแม่ที่ดี, ลูกดื้อ, รักลูก, กลัวลูกลำบาก, พ่อกับแม่ที่รักลูกมากเกินไป, ทดแทนชีวิตวัยเด็ก, ลูกฉันไม่เคยผิด, รู้ไม่เท่าทันลูก, เข้มงวดเกินไป, กลัวลูกเหลิง, ลูกไม่ฟังพ่อกับแม่, ลูกเก็บกด, ลูกก้าวร้าว, พ่อแม่ไม่ดี, ลูกเอาแต่ใจ, แม่, พ่อ 

พ่อแม่ 7 ประเภท ที่ใช้ความรักเลี้ยงลูกแบบผิดๆ โตไปอ่อนแอ ขี้ขลาด ไม่เข้มแข็ง

พ่อกับแม่ที่รักลูกมากเกินไป หรือรักลูกน้อยเกินไป ทั้งสองอย่างล้วนสร้างปัญหาให้กับลูก เพราะการเลี้ยงลูกนอกจากจะใช้สัญชาตญาณของความเป็นพ่อแม่แล้ว ก็ต้องมีความรู้ควบคู่ด้วยจึงจะถูกวิธี มิเช่นนั้นแล้วอาจกลายเป็นทำร้ายลูกก็ได้

มาดูกันค่ะ ว่าคุณกำลังเป็นพ่อกับแม่แบบที่ใช้ความรักทำร้ายลูกหรือไม่

  1. พ่อกับแม่ที่กลัวลูกลำบาก  พ่อแม่ประเภทนี้มักจะทำทุกสิ่งอย่างให้ลูก เพราะกลัวว่าลูกจะลำบาก กลัวลูกอด กลัวลูกเจ็บ กลัวไปซะทุกเรื่อง ไม่ยอมให้ลูกลำบาก คอยทำให้ทุกอย่าง เมื่อมีปัญหาใดๆ ก็มักจะยื่นมือไปช่วยเหลือในทันที แทบจะไม่ปล่อยให้ลูกเผชิญกับปัญหาหรือความลำบากเลย

  2. พ่อกับแม่ที่ทดแทนชีวิตวัยเด็ก พ่อแม่ประเภทนี้ต้องการให้ลูกทดแทนบางสิ่งบางอย่างที่ขาดหายไปของพ่อแม่เมื่อวัยเด็ก อะไรที่ไม่เคยมี ก็อยากให้ลูกได้มี อะไรที่ไม่เคยทำ ก็อยากให้ลูกได้ทำ พ่อแม่ประเภทนี้จะฝังใจอยู่กับอดีต เมื่อตัวเองประสบความสำเร็จก็พยายามชดเชยอะไรบางอย่างให้กับลูกตลอดเวลา

  3. พ่อกับแม่ที่ขีดเส้นให้ลูกเดิน  พ่อแม่ประเภทนี้เชื่อว่าเส้นทางที่เลือกไว้ให้ลูกคือเส้นทางที่ดีที่สุดเสมอ และมักเชื่อว่าตัวเองได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก โดยที่จะพูดย้ำกับลูกอยู่เสมอว่าเพราะพ่อแม่รักลูกถึงเลือกเส้นทางชีวิตเช่นนี้ให้ลูก โดยไม่ฟังเสียงของลูกว่าลูกชอบอะไร

  4. พ่อกับแม่ที่ปกป้องลูกตลอดเวลา พ่อแม่ประเภทนี้จะปกป้องลูกตลอดเวลา ไม่ว่าลูกจะมีปัญหาอะไรกับใคร หรือมีปัญหากับสมาชิกในครอบครัว พ่อแม่ก็มักปกป้องลูกอยู่ดี ลูกฉันไม่เคยผิด แม้ลูกจะทำผิดก็โทษผู้อื่นเสมอ เวลาลูกมีปัญหากับใคร พ่อแม่ก็มักออกโรงปกป้องเต็มที่ ซึ่งหารู้ไม่ว่าลูกประเภทนี้มักจะมีปัญหาเมื่อเขาเติบโตขึ้นเสมอ

  5. พ่อกับแม่ที่รู้ไม่เท่าทันลูก พ่อแม่ประเภทนี้พร้อมจะเชื่อลูกทุกอย่าง ลูกบอกอะไรก็เชื่อ โดยไม่ได้สนใจหรือตรวจสอบเลยว่าลูกทำอะไร ลูกคบเพื่อนแบบไหน ลูกทำสิ่งที่เหมาะสมหรือเปล่า พ่อแม่ประเภทนี้มักขาดความรู้หรือไม่ได้สนใจด้วยซ้ำไป

  6. พ่อกับแม่ที่เข้มงวดเกินไป พ่อแม่ประเภทนี้มักจะไม่ยอมให้ลูกอยู่นอกสายตา ไม่ว่าลูกจะทำอะไรจะคอยกำกับอยู่เสมอ จะไม่ยอมให้ออกนอกลู่นอกทางเด็ดขาด ส่วนใหญ่จะมีกฏเกณฑ์กติกาชีวิตสำหรับลูก เช่น ถึงเวลาอ่านหนังสือ ได้เวลาไปเรียนกวดวิชา ไม่อนุญาตให้ไปเที่ยวกับเพื่อนลำพังจะต้องไปด้วยทุกครั้ง สุดท้ายจะนำลูกไปสู่การโกหกและหลีกหนี

  7. พ่อกับแม่ที่กลัวลูกเหลิง พ่อแม่ประเภทนี้ไม่ยอมแสดงความรักที่มีต่อลูก รวมไปถึงไม่ยอมชื่นชมหรือให้กำลังใจเมื่อลูกทำสิ่งใดได้ เพราะกลัวว่าลูกจะเหลิงวิธีคิดแบบนี้ ลูกอาจจะคิดว่าพ่อแม่ไม่รัก และหันออกไปหาความรักนอกบ้าน จากเพื่อนหรือคนอื่นๆ ที่แสดงความรักและเห็นว่าเขามีคุณค่า

 

พ่อแม่ 9 แบบ จะมีลูกเก่ง เป็นคนดี และประสบความสำเร็จได้ในชีวิตได้

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

พ่อแม่ 9 แบบ จะมีลูกเก่ง เป็นคนดี และประสบความสำเร็จได้ในชีวิตได้

อยากให้ลูกเก่ง ต้องเป็นพ่อแม่แบบไหน ลูกจะเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และประสบความสำเร็จในชีวิตได้ พ่อแม่ต้องทำอย่างไรกันนะ คำถามนี้ไม่มีคำตอบสูตรสำเร็จเลยนะคะ เพราะแต่ละครอบครัวก็มีวิธีของตัวเอง

รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข ได้เจอข้อมูลที่น่าสนใจจาก นิตยสารออนไลน์ Business Insider โดยเรเชล จิลเลตต์ และเดร้ค แบเออร์ ที่ได้เขียนบทความรวบรวมคุณลักษณะของพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกที่ประสบความสำเร็จ จะมีลักษณะทั้ง 9 ประการ แต่คุณพ่อคุณแม่มี 5 ใน 9 ข้อ ก็ช่วยให้ลูกเป็นเด็กดีได้แล้วค่ะ และบางข้อคุณพ่อคุณแม่ลองอ่านและนำไปปรับใช้ได้นะคะ เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูก ให้ลูกเติบโตไปตามวัยค่ะ

พ่อแม่ 9 แบบ ที่จะมีลูกประสบความสำเร็จในชีวิต
  1. พ่อแม่ที่สอนให้ลูกมีทักษะทางสังคมที่ดี

หากเด็กๆ ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนให้ปรับตัวเก่ง ใช้ชีวิตร่วมหรือทำงานร่วมกับเพื่อนได้ดี ไม่เอาเปรียบใคร มีน้ำใจช่วยเหลือ ทำตัวเป็นประโยชน์กับคนรอบข้าง เข้าใจและตระหนักถึงอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง สามารถแก้ปัญหาของตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น มีแนวโน้มสูงที่จะสำเร็จการศึกษาตามที่ต้องการ

  1. พ่อแม่ที่คาดหวังเป็นและมั่นใจในตัวลูก

ไม่คาดหวังเลย ก็ปล่อยเกินไป พ่อแม่ควรมีความหวังในตัวลูก อย่างน้อยก็หวังและเชื่อมั่นว่าลูกจะต้องเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ ตามที่ลูกต้องการ หากพ่อแม่ไม่มีความเชื่อมั่นว่าลูกจะทำได้ ลูกก็จะรู้สึกได้และทำให้ลูกขาดความเชื่อมั่นในตัวเองไปด้วยเช่นกัน

  1. แม่เป็นผู้หญิงทำงานเก่ง

แม่เป็นผู้หญิงทำงานนอกบ้านเก่ง มีตำแหน่งงานดีและมีรายได้สูง ลูกสาวจะได้รับแรงบันดาลใจจากแม่ที่เป็นหญิงเก่งไปด้วย หากมีลูกชาย ลูกก็จะได้เรียนรู้ชอบผู้หญิงเก่ง เป็นผลดีต่ออนาคต และรู้จักช่วยเหลือกัน เช่น แม่ไม่ค่อยมีเวลาทำงานบ้าน ลูกก็ต้องช่วย จะไม่เกี่ยงเรื่องการทำงานบ้าน

  1. พ่อแม่มีฐานะทางสังคม

พ่อแม่ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมดี เป็นที่รู้จัก จะมีมุมมองและทางเลือกดีๆ ให้เด็กได้มากกว่า นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นที่ชี้ว่าเด็กที่มีผลสอบ SAT สูง (Scholastic Assessment Tests หมายถึงผลการสอบมาตรฐานของเด็กที่เรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในสหรัฐอเมริกา โดยมหาวิทยาลัยจะนำคะแนนสอบ  SAT นี้ไปเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษา โดยแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีเกณฑ์การใช้คะแนนนี้ต่างกันไป) มักเป็นเด็กที่มีพ่อแม่ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง

5. พ่อแม่มีการพัฒนาสัมพันธภาพที่ดีกับลูก

ความรักและความเอาใจใส่ล้วนๆ เลยค่ะ เด็กที่ได้รับความเอาใจใส่ใกล้ชิดจากพ่อแม่ในช่วงอายุ 3 ปีแรกที่ได้ลืมตาดูโลก จะมีความสามารถในการทำข้อสอบได้ดีกว่าเด็กที่ไม่มีสัมพันธภาพใกล้ชิดกับพ่อแม่ นอกจากนี้พวกเขายังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และประสบความสำเร็จทางการศึกษาอีกด้วย

  1. พ่อแม่สอนเลขเบื้องต้นให้ลูกตั้งแต่ตอนเด็กๆ

เรื่องนี้พ่อแม่ที่ไม่ต้องร่ำรวยหรือเรียนสูงๆ ก็ทำได้ค่ะ มันเป็นเรื่องการเอาใจใส่ ควรใช้เวลาสอนความรู้ต่างๆ เช่น การคิดเลขง่ายๆ ซึ่งทักษะเบื้องต้นง่ายๆ นี้มีผลต่อการพัฒนาทักษะของลูกเมื่อพวกเขาโตขึ้นอย่างที่พ่อแม่คาดไม่ถึงเลยค่ะ

  1. พ่อแม่มีการศึกษาสูง

พ่อแม่ที่มีการศึกษาน้อยและมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมไม่ดี อาจจะหมดกำลังใจที่จะเลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ แต่ก็มีเด็กที่ประสบความสำเร็จอีกหลายคน ที่ไม่ได้มาจากครอบครัวที่มีพ่อแม่ร่ำรวยและมีการศึกษาสูง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแรงบันดาลใจด้วย

  1. พ่อแม่มีความเครียดน้อย

พ่อแม่ที่ฉลาดและเลี้ยงลูกเป็น ต้องมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่สูง ไม่เครียดเกินไปในการเลี้ยงและดูแลลูก จึงจะได้ลูกที่มีสุขภาพจิตดีและมีสติปํญญาที่ดี สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี เข้าสังคมกับผู้อื่นได้ไม่มีปัญหา และทำงานได้ประสบความสำเร็จตามสมควร

  1. พ่อแม่ที่มีความคิดและยืดหยุ่นทางความคิดเป็น

พ่อแม่ต้องไม่ไปจำกัดความคิดลูก เช่น ต้องเรียนที่นี่ กับครูคนนี้เท่านั้น แบบนี้เรียกว่ามีวิธีคิดที่จำกัด และเมื่อไม่สามารถได้เงื่อนไขตามที่ต้องการ พ่อแม่ที่มีความคิดจำกัดแบบนี้ก็จะคิดว่าหมดหวัง แต่ถ้าพ่อแม่มีแนวคิดยืดหยุ่น เปลี่ยนไปได้ตามสถานการณ์ ลูกก็จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ได้ตลอดเวลา ทำให้เขาคิดต่อยอดเก่ง

พ่อแม่ ทั้ง 9 รูปแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ของตนเองได้นะคะ ไม่มีใครจะสมบูรณ์แบบไปทุกอย่าง ต้องมีบกพร่องกันทุกคน ขอเพียงให้เลี้ยงลูกคนหนึ่งอย่างสุดความสามารถ คิดบวก คิดยืดหยุ่น ให้ความรัก และความใส่ใจให้ลูก ไม่เครียด แค่นี้ก็น่าจะเป็นทุนที่เพียงพอให้ลูกประสบความสำเร็จได้ในอนาคตตามสมควรแล้วค่ะ

ทั้งนี้เป็นข้อมูลย่อย คุณพ่อคุณแม่สามารถอ่านงานวิจัยประกอบ และอ่านบทความเต็มๆ ได้ที่ www.bangkokbiznews.com

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข , www.bangkokbiznews.com


 

พ่อแม่ควรรู้! 10 คำพูดที่ลูกเจ็บปวด ไม่มีความสุข

พ่อแม่ห้ามพูด,- พ่อแม่ไม่ควรพูด-คำพูดที่พ่อแม่ไม่ควรพูด-สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรพูด 

พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกพัฒนาการดี จึงหาวิธีส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอย่างสุดความสามารถ แต่เราก็อย่าลืมว่า ลูกยังเป็นเด็ก เขาจึงมีข้อจำกัดหลายอย่างที่อาจจะทำให้ผลออกมาไม่ดีอย่างที่พ่อแม่หวัง เราจึงต้องเข้าใจและให้กำลังใจเพื่อให้ลูกพยายามมากขึ้นทุกวัน แต่รู้หรือไม่ว่าความผิดหวังของพ่อแม่อาจสื่อออกมาด้วยคำพูดที่บั่นทอนกำลังใจลูก และคำพูดแบบนี้เจ็บปวดฝังลึกเหมือนการโดนตีเลยทีเดียว

10 คำพูดที่ลูกเจ็บปวด ไม่มีความสุข
  • ทำไมแค่นี้ก็ทำไม่ได้

เปลี่ยนเป็น > ไปพักเติมพลังกันลูก เดี๋ยวค่อยมาลองกันใหม่นะ  

  • ง่ายจะตายทำไมยังทำไม่ได้

เปลี่ยนเป็น > แม่ว่ามันยากไปเนอะ เดี๋ยวเราลองหาวิธีง่ายกว่านี้มาลองกันใหม่นะ  

  • เพื่อนยังทำได้เลย

เปลี่ยนเป็น > แม่ชอบแบบที่หนูทำมากเลยลูก คราวหน้าลองทำแบบอื่นเพิ่มดีไหมคะ  

  • ทำไมไม่ทำเหมือนที่บอก

เปลี่ยนเป็น > ทำแบบนี้ก็ได้หรอลูก เก่งจัง คราวหน้าแม่ขอทำด้วยได้ไหมเผื่อเราช่วยกันคิดอะไรสนุกๆ ได้อีก  

  • เมื่อไหร่จะทำได้สักที

เปลี่ยนเป็น > ไว้เรามาลองกันใหม่นะ หนูอยากลองทำอีกเมื่อไหร่บอกแม่นะคะ  

  • ทำได้แค่นี้จะสู้เพื่อนได้หรอ

เปลี่ยนเป็น > เก่งจังลูก เพิ่งทำแค่ไม่กี่ครั้งยังดีขนาดนี้เลย แม่ดูแล้วรู้เลยว่าหนูตั้ังใจมากๆ   

  • คราวหน้าถ้ายังทำไม่ได้จะโดนทำโทษ

เปลี่ยนเป็น > นี่ทำได้ดีกว่าครั้งที่แล้วอีกนะ แม่ว่าคราวหน้าหนูต้องทำได้ดีกว่านี้แน่ๆ  

  • พ่อแม่ยังทำได้เลยทำไมหนูทำไม่ได้

เปลี่ยนเป็น > เก่งนะเนี่ย ตอนพ่อแม่อายุเท่าหนูยังทำแบบนี้ไม่ได้เลย  

  • แม่เบื่อจะสอนแล้วนะ ทำไมยังทำไม่ได้

เปลี่ยนเป็น > คราวหน้าแม่ขอทำด้วยได้ไหมตะ เดี๋ยวเราทำพร้อมกันนะ แม่ว่าต้องสนุกแน่ๆ   ทำไมสอนไม่จำ เปลี่ยนเป็น > ทำเหมือนที่แม่ทำให้ดูได้หลายอย่างเลย เก่งจังลูก คราวหน้าแม่จะลองทำให้ดูอีกแบบหนึ่งดีไหมคะ

อย่าลืมนะคะว่า เด็กทุกคนมีศักยภาพและความสามารถ พ่อแม่จะต้องมองให้เห็นและส่งเสริมอย่างถูกต้องตามช่วงวัยและความถนัดของเขา เพราะ "ลูกเราไม่เหมือนใคร" ดังนั้นการสอน แนะนำ ส่งเสริม จึงมีความเฉพาะตัว และไม่ควรเอาลูกเราไปเปรียบเทียบกับลูกใครด้วยเช่นกัน

การเลือกใช้คำพูดที่ดี เชิงบวก เป็นอีกหนึ่งวิธรกระตุ้นและสร้างกำลังใจให้ลูกได้พอๆ กับการบอก รัก กอด สัมผัส ก่อนพูดอะไรกับลูกเราจึงต้องตั้งสติ คิดให้รอบคอบเสมอค่ะ

พ่อแม่รู้ไหม! เผลอพูดเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น ทำหัวใจลูกพังไปจนโตได้

3439 

จริง ๆ พ่อกับแม่ทุกคนพยายามเป็นพ่อแม่ที่ดีอยู่แล้ว แต่บางครั้งก็เผลอเปรียบเทียบลูกแบบไม่รู้ตัวด้วยคำพูดลอย ๆ เช่น “ทำไมลูกกินไม่เก่ง แบบเด็กคนอื่นเลยนะ” “อยู่นิ่ง ๆ ไม่เป็นเลยหรือไง ทำตัวให้มันน่ารักแบบน้องบ้าง” เป็นต้น

รู้ไหมคะ ว่าการพูดเปรียบเทียบลูก จะทำให้ลูกไม่มีความมั่นใจในตัวเอง พัฒนาการถดถอย ขาด EF เมื่อโตขึ้น บางครั้งอาจทำให้ลูกต่อต้านทำตรงกันข้ามได้ หากพ่อกับแม่ไม่ระวังคำพูดนะคะ

สาเหตุที่พ่อกับแม่มักจะเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น
  1. เปรียบเทียบเพราะรู้สึกปรารถนาดี อยากให้ลูกเห็นต้นแบบดี ๆ บ้าง

  2. เปรียบเทียบเพราะความคาดหวังอยู่ลึก ๆ อยากให้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น

  3. เปรียบเทียบเพราะรู้สึกโกรธ โมโห เพราะลูกไม่ได้ดั่งใจ

หากพ่อกับแม่กำลังมีความรู้สึกว่าอยากให้ลูกเห็นต้นแบบที่ดี อยากให้ลูกมีพฤติกรรมดีขึ้น ด้วยการใช้วิธีเปรียบเทียบ ขอบอกว่าสร้างผลกระทบแย่ ๆ ต่อจิตใจของเด็ก ๆ มากนะคะ ไม่ควรเปรียบเทียบลูกเลย ไม่ว่ากรณีใด ๆ


ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อจิตใจของลูก

  1. ลูกจะรู้สึกแย่กับตนเอง จะรู้สึกว่าตนเองเป็นเด็กไม่ดี ไม่มีความสามารถทำได้เหมือนคนอื่น ทำให้รู้สึกด้อยค่า มองไม่เห็นคุณค่าในตนเอง ไม่กล้าแสดงออก ไม่มั่นใจในตนเอง นานวันเข้าจะไม่กล้าลงมือทำอะไรเพราะขาดความมั่นใจ

  2. ลูกจะรู้สึกโกรธ อิจฉา หรือแสดงพฤติกรรมต่อต้าน รุนแรง ก้าวร้าวตอบโต้กลับไป มีน้อยมากที่อาจจะฮึดสู้กับคำพูดเปรียบเทียบของพ่อแม่ และกลายเป็นแรงผลักดันในการทำสิ่งที่ดี ๆ 

สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ผู้ควรมองเห็นคือ เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้ง หน้าตา ท่าทาง พฤติกรรมการแสดงออก รวมทั้งศักยภาพและความสามารถ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนคนอื่นเลย



หากเคยพลาดเปรียบเทียบลูกแล้ว นี่คือสิ่งที่พ่อแม่ควรทำ 

  1. ให้เลิกเปรียบเทียบลูกกับพี่น้อง หรือ เด็กคนอื่น เลิกเด็ดขาด

  2. พาลูกไปทำกิจกรรมที่ชอบ เพื่อต่อยอดให้ลูกได้ค้นหาศักยภาพในตัวเอง และเปิดโอกาสให้ลูกแสดงศักยภาพเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ เช่น ลูกคนแรกชอบร้องเพลง ลูกคนที่สองชอบเรียนวิทยาศาสตร์ ก็พาลูกไปเรียนเพิ่มเติมได้

  3. ให้กำลังใจลูก เมื่อลูกกำลังพยายามทำบางอย่าง ด้วยการกอดลูก ลูบหัวลูก และพูดให้กำลัง เช่น “แม่ภูมิใจมากเลย ที่ลูกพยายามเรียนเปียโน แม้มันจะยากอยู่บ้างนะ” ลูกจะได้มีขวัญกำลังใจดี จะเห็นคุณค่าในตนเองสูง สร้าง Family Attachment ให้ครอบครัวได้ดี ลูกจะมีความเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือเชื่อฟัง มีความพยายามทำสิ่งใหม่ๆ และมีความรับผิดชอบมากขึ้นด้วย

  4. ชื่นชมลูก ในสิ่งที่ลูกเป็น ในสิ่งที่เด็กหรือสามารถทำได้ดี แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ชื่นชมได้ เช่น “ดีมากเลยที่ลูกเป็นเพื่อนเล่นกับน้อง หนูเป็นพี่สาวที่น่ารักมากเลย” “ หนูพยายามดีมากค่ะ รูปวาดสีสันสวยงามมาก”

เห็นไหมคะ ว่ามีอีกหลายวิธีที่ไม่ต้องเปรียบเทียบลูกเพื่อให้ลูกดีขึ้น แต่เรามาใช้วิธีเลี้ยงลูกเชิงส้รางสรรค์กันดีกว่าด้วยการให้ความรัก ให้คำชม กอดสม่ำเสมอ พาไปทำกิจกรรมด้วยกัน และสุดท้ายไม่เปรียบเทียบลูกกับทุกสิ่งบนโลก เท่านี้ลูกก็เป็นเด็กมีความสุขได้แล้วนะคะ


 

พ่อแม่หลงตัวเอง ลูกเสี่ยงอีโก้สูง ซึมเศร้า กลัวความล้มเหลว

หลงตัวเอง- โรคหลงตัวเอง- การหลงตัวเอง- พ่อแม่หลงตัวเอง-  คนหลงตัวเอง- ทำไมหลงตัวเอง- ผลเสียการหลงตัวเอง- ข้อเสียหลงตัวเอง- พ่อแม่รังแกฉัน

คำว่า "หลงตัวเอง" คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยได้ยินมาบ้าง แต่ไม่ใช่แค่คำพูดแล้วนะคะ เพราะการหลงตัวเองนั้น คือโรค Narcisisitic (โรคหลงตัวเอง) และจะเป็นอย่างไม่รู้ตัวอีกด้วย ซึ่งโรคนี้หากพ่อแม่เป็นอยู่นั้น ก็จะเสี่ยงไปทำร้ายลูกได้ด้วย และส่งผลร้ายแรงต่อลูกมากกว่าที่คิด ดังนี้เลยค่ะ

โรคหลงตัวเอง

โรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorders) คือ โรคทางจิตชนิดหนึ่ง เป็นภาวะบกพร่องด้านบุคลิกภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด เเละจะมีความรู้สึกอยู่เสมอว่าคนอื่นๆ รอบข้างก็ควรที่จะให้ความสำคัญกับเขามากที่สุดเช่นกัน ทำให้พ่อแม่สปอยล์ลูกบางอย่างที่เกินธรรมชาติ เป็นตัวเร่งให้ลูกมีภูมิคุ้มกันทางสังคมต่ำ สร้างเกราะคุ้มกันด้วยภาวะหลงตัวเองแทน

พ่อแม่เป็นโรคหลงตัวเอง ส่งผลกระทบกับลูกดังนี้...

  1. ไม่แคร์ใคร

ลูกจะกลายเป็นเด็กเพิกเฉย ไม่เอาใจใส่ต่อความรู้สึกของผู้อื่น สนใจแต่ความคิดของตัวเองเท่านั้น

  1. หยิ่ง

ลูกจะเชื่อมั่นอยู่ลึกๆ ว่าเขาถูกสร้างมาเหนือกว่าคนอื่น เพราะถูกออกแบบมาอย่างดี อีโก้สูง จากการที่พ่อแม่สปอยล์มากๆ

  1. ชอบทำอะไรด้วยตัวคนเดียว

เด็กจะชอบโชว์เดี่ยวมากกว่าทำงานกับผู้อื่น และมีปัญหาในการรับมือกับความล้มเหลว ลึกๆ จะอ่อนแอมาก

  1. มองข้ามคนอื่น

ไม่เชื่อใจผู้อื่น การหลงตัวเองของพ่อแม่ ทำให้เขาให้ความสำคัญกับรูปลักษณะมากกว่าความรู้สึก

  1. ชอบเก็บตัว

การถูกพ่อแม่สปอยล์บ่อยๆ เพื่อให้ลูกเป็นคนที่ดูดีกว่าคนอื่นเสมอ ลูกจะรู้สึกว่างเปล่าและไม่มีแรงบันดาลใจ

  1. รักษาความสัมพันธ์ไม่ได้

ลูกจะมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ เพราะชอบหงุดหงิดง่าย แต่ก็อยากได้การยอมรับสูง

  1. ขี้รำคาญ

ลูกมักจะรู้สึกขายหน้า เมื่อพ่อแม่ชอบหลงตัวเอง และจะเติบโตขึ้นแบบไม่นับถือตนเอง

8.  ซึมเศร้า

ลูกจะเกิดความเครียดสะสม เพราะทำอะไรตามที่พ่อแม่หวังไม่ได้ และมีความความวิตกกังวลตลอดเวลา

เห็นไหมคะ ว่าการที่พ่อแม่หลงตัวเอง เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาลต่อหน้าลูก และคาดหวังว่าลูกจะเก่ง ดี เลิศ ตามที่คาดหวัง ส่งผลเสียระยะยาวมาก ควรคุยกับลูกแบบเป็นกันเอง แทนที่จะปั้นให้ลูกเป็นเด็กสมบูรณ์แบบนะคะ เพียงพูดกับเขาว่า รักลูกนะ พ่อกับแม่เป็นกำลังใจให้ พ่อกับแม่ภูมิใจในตัวลูกมาก พ่อกับแม่รู้ว่าหนูทำดีที่สุดแล้ว เป็นต้น พร้อมมอบความเอาใจใส่ และให้คำแนะนำอย่างเป็นกันเอง ลูกก็จะรับรู้ได้ด้วยใจและเป็นเด็กธรรมดาที่น่ารักสมวัยได้ค่ะ

มองหน้าลูกแล้วกลัวตาย ต้องรู้ 4 วิธี การเลี้ยงลูกให้อยู่ได้โดยไม่มีพ่อกับแม่

เลี้ยงลูกให้อยู่ได้โดยไม่มีพ่อกับแม่- ตาย- ความตาย- พ่อคนแม่คนกลัวตาย- กลัวตาย- วิธีเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี-การเลี้ยงลูก-เตรียมตัวเรื่องการตายเพื่อลูก- ถ้าพ่อแม่ไม่อยู่จะทำอย่างไร- ฝึกให้ใช้ชีวิตบนความไม่ประมาท-  ครอบครัว- การจากลา- ประกันชีวิต 

การได้เป็นพ่อคนแม่คนแล้วทำให้กลัวตายมาก เพราะกลัวไม่ได้เห็นการเจริญเติบโตของลูก กลัวลูกอยู่ไม่ได้ แต่ความตายสามารถเกิดได้ทุกเมื่อ ฉะนั้นเราควรแปรวิกฤตเป็นโอกาส แล้วเลี้ยงลูกให้อยู่ได้โดยไม่มีเรา แล้วจะทำให้เราอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง เลี้ยงให้ลูกเติบโตอย่างเข้มแข็ง เป็นวิธีคิดที่คุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่กำลังนิยมทำกันอยู่ค่ะ

4 วิธีเลี้ยงลูกให้อยู่ได้โดยไม่มีพ่อกับแม่
  1. เตรียมตัวเรื่องการตายเพื่อลูก เมื่อพ่อแม่เตรียมตัวเรื่องความตาย ก็จะทำให้พ่อแม่มีวิธีคิดในการเลี้ยงลูกที่อยากให้ลูกมีความเข้มแข็ง จะเน้นทักษะให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง ฉะนั้น พ่อแม่จะพยายามให้ลูกฝึกความลำบาก ให้ช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด มั่นใจในตัวเอง ฝึกให้มีทักษะเรื่องการอยู่รอด หรือสามารถอยู่ได้โดยไม่มีพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ในครอบครัว ซึ่งเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญที่จะทำให้เขาเติบโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพด้วย

  2. ตั้งโจทย์เสมอให้ลูกได้คิดว่า ถ้าพ่อแม่ไม่อยู่ ลูกจะทำอย่างไร เพื่อชี้ให้ลูกได้เห็นว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ ถ้าหากเราพูดคุยเรื่องความตายเป็นเรื่องปกติ และทำความเข้าใจกับคนในครอบครัวว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะ อาจจำลองสถานการณ์จริงว่าถ้าแม่ตาย หรือพ่อตาย หรือทั้งพ่อแม่ตาย หรือลูกตาย จะเป็นอย่างไร ลองตั้งคำถามกับลูก และพูดคุยกับลูกว่าสามารถเกิดขึ้นได้จริง และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ทุกคนควรจะต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปให้ได้ และควรจะอยู่อย่างไร

  3. ฝึกให้ใช้ชีวิตบนความไม่ประมาท อาจหยิบยกกรณีเรื่องความตายของคนใกล้ชิดมาเป็นบทเรียนสอนลูกว่า คนที่มีอายุมากกว่าไม่จำเป็นต้องตายก่อนคนที่อายุน้อยกว่าเสมอไป เด็กก็สามารถตายก่อนผู้ใหญ่ได้ ความตายมีหลายสาเหตุ เพราะโรคภัยไข้เจ็บ หรืออุบัติเหตุก็ได้ เพราะฉะนั้น ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงทั้งกายและใจ ใส่ใจเรื่องสภาพแวดล้อม อาหารการกิน รวมไปถึง การใช้ชีวิตอยู่บนความไม่ประมาท ไม่ควรไปในสถานที่อโคจร หรือใช้ชีวิตแบบสุ่มเสี่ยงโลดโผนจนเกินไป

  4. ควรให้ลูกมีส่วนร่วมในทุกเรื่องของครอบครัว ซึ่งจะทำให้ลูกรู้สึกดีที่พ่อแม่ไว้วางใจเขาด้วย พ่อแม่ทำอะไรบ้าง มีทรัพย์สิน หรือหนี้สินหรือไม่ รวมไปถึงเรื่องการทำธุรกรรมต่างๆของครอบครัวร่วมกัน ข้อนี้มีความจำเป็นมาก เนื่องจากเอกสารมากมายของครอบครัวที่ส่วนใหญ่คนเป็นแม่จะเป็นผู้จัดการ และสมาชิกในบ้านก็ไม่ได้ใส่ใจ เวลาจะใช้สิ่งใดก็แจ้งผู้เป็นแม่ และถ้าหากแม่จากไปก่อน ก็จะส่งผลให้เกิดความวุ่นวายตามมามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกรรมใดๆ ฝ่ายเดียว โดยไม่ได้บอกให้สมาชิกในบ้านได้รับรู้ พอจากไปก่อน ก็ไม่มีใครรับรู้เรื่องราวนั้นๆ เป็นการสร้างภาระให้ผู้อื่นอีกด้วย

ข้อมูลจาก : www.manager.com

รักลูก @hospital 2020 เริ่มแล้ว

 

พ่อแม่มีอยู่จริง-สัมนาแม่ท้อง-กิจกรรมแม่ท้อง-รักลูก@hospital

มา UPDATE TREND การเลี้ยงลูกวิถีใหม่ สร้างพ่อแม่มีอยู่จริง : FAMILY ATTACHMENT งานนี้ ฟรี !! ไม่เสียค่าใช้จ่าย

รักลูก@ Hospitals 2020 กิจกรรมสัมมนาและเวิร์กชอป ส่งมอบประสบการณ์ตรงเรื่อง Trend การเลี้ยงลูกตั้งแต่ตั้งครรภ์-ลูกวัย 6 ปี ยุค New Normal พร้อมไขทุกข้อข้องใจคุณแม่โดยแพทย์และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมลูกได้มีพัฒนาการที่ดี และมีหลักในการเลี้ยงลูกที่ถูกวิธี จัดโดยรักลูก Bookazine ร่วมกับ 5 โรงพยาบาลพันธมิตร จัดกิจกรรม

ภายในงานพบกับ

The expert talk

• Healthy Literacy การดูแลสุขภาพแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย เพื่อให้ห่างไกลจากเชื้อโรคทุกรูปแบบ 
• การใช้ชีวิตแบบ new normal ในเรื่องการดูแลสุขอนามัย และสุขภาพจิตใจ

พร้อมถาม – ตอบ สาระพันปัญหาแม่ตั้งครรภ์อย่างจุใจ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช , จิตวิทยาและพัฒนาการเด็ก

Workshop
• การสร้าง “Family Attachment เพราะวัย 0-3 ปี คือช่วงเวลาสำคัญที่ในการสร้างสายสัมพันธ์กับลูกให้แข็งแรง

• ลูกรอดพร้อมการเรียนรู้ ยุค new normal ด้วยวิธีเลี้ยงลูกเชิงบวก ที่ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเรื่องทักษะ สมอง EF (Executive Functions) จากรักลูก

4859 3

4859 5

 

พร้อม Shopping สินค้าแม่ลูกภายในงาน ในราคาพิเศษ

สิทธิพิเศษสำหรับทุกท่านที่เข้าร่วมงาน รับของที่ระลึกรวมมูลค่ากว่า 2,000 บาทฟรีทันที พร้อมรับสิทธิ์สแกนลายนิ้วมือ วัดอัจฉริยะภาพลูกน้อย จาก MY DNA และ ถ่ายภาพแม่ท้องและครอบครัว จาก Rembrandt Studio 

 

 4859.7

4859.8

4859.9

ร่วมลุ้นรางวัล Lucky Draw รับของรางวัลชิ้นใหญ่กลับบ้าน แม่ตั้งครรภ์ รับเพิ่ม! ผลิตภัณฑ์ปกป้องและลดรอยแตกลาย จาก Cocoro Hanako มูลค่ากว่า 800 บาท

4859.10

กิจกรรมดี ๆ แบบนี้ เราจัดให้ แม่ตั้งครรภ์ และ แม่ที่มีลูกวัย 0-6 ปีโดยเฉพาะ คุณแม่ และคุณพ่อท่านไหนใจอยากร่วมกิจกรรม สามารถลงทะเบียนจองที่ล่วงหน้ากันก่อนได้เลย ด้วยการเลือกโรงพยาบาลที่ใกล้บ้าน วันที่สะดวก แล้วคลิกลงทะเบียนกันได้เลยค่ะ

• ครั้งที่ 1 โรงพยาบาลวิภาวดี                  ในวันเสาร์ที่  8 สิงหาคม  2563 เวลา 10.00-15.00 น.

• ครั้งที่ 2 โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์   ในวันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00-15.00 น.

• ครั้งที่ 3 โรงพยาบาลพระรามเก้า           ในวันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00-15.00 น.

• ครั้งที่ 4 โรงพยาบาลพญาไท 2             ในวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2563 เวลา 09.30.- 14.00 น.

• ครั้งที่ 5 โรงพยาบาลกรุงเทพ                ในวันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2563  เวลา 10.00-15.00 น.

ลงทะเบียนล่วงหน้า รับของที่ระลึกก่อนใคร คลิกที่นี่ https://bit.ly/3e9r6iZ

Hos2020 PR OnWeb 800x2000 Edit4 9

 

รักลูก The Expert Talk EP 85 (Rerun) : เลี้ยงลูกเชิงบวก พ่อแม่มีอยู่จริง สร้างฐานที่มั่นทางใจของลูก

 

รักลูก The Expert Talk Ep.85 (Rerun) : เลี้ยงลูกเชิงบวก "พ่อแม่มีอยู่จริง สร้างฐานที่มั่นทางใจลูก"

 

คลี่คลายปัญหาความสัมพันธ์ในบ้าน ด้วยการสร้าง Family Attachment

เพราะฐานที่มั่นทางใจที่แข็งแรง จะสามารถสู้อุปสรรค ให้ล้มแล้วลุกได้

 

กับ The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.106 (Rerun) : พ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

 

รักลูก The Expert Talk Ep.106 (Rerun) : เป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดทุกด้าน รับมือ แก้ไข ด้วยการเป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง

เมื่อลูกเครียดพ่อแม่ต้องรู้ เพื่อรับมือและคลี่คลายความเครียดเป็นพิษ Toxic Stress ก่อนเกิดสถานการณ์ความเครียดที่ไม่คาดคิด

 

ฟังวิธีการจาก The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.110 (Rerun) : รักลูกเชิงบวก “สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง"

รักลูก The Expert Talk Ep.110 :  รักลูกเชิงบวก "สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง" 

เลี้ยงลูกให้ได้ดี ลูกต้องมี “SELF” เพราะตัวตนที่แข็งแกร่ง จะทำให้ลูกเติบโตและอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย มั่นคงและอยู่รอด

 

ชวนสร้าง SELF กับครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.112 : “5 ทักษะสำคัญลูกรอดทุกการเปลี่ยนแปลง”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.112 :  5 ทักษะสำคัญ ลูกรอดทุกการเปลี่ยนแปลง

ทักษะที่จะทำให้เด็กอยู่รอดและอยู่ดีในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง “5 ทักษะและ 1 คุณลักษณะ” ที่สำคัญ ครูจุ๊ยคอนเฟิร์มว่ามีแล้วรอด และพ่อแม่สามารถช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดขึ้นได้ไม่ยาก ฟังครูจุ๊ย กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิคณะก้าวหน้า

  

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u