เลี้ยงลูกแบบไหนให้รอด? พ่อแม่ต้องทำอย่างไร
“Dysfunctional Family” ครอบครัวบกพร่องหน้าที่ เลี้ยงลูกแบบขาดๆ เกินๆ
Dysfunctional Family คืออะไร ? เลี้ยงลูกแบบไหนเลี้ยงแบบขาดๆ เกินๆ ?
ชวนฟัง รักลูก Podcast กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke
เลี้ยงลูกแบบใด ได้ลูกแบบนั้น
ฟังอาจารย์ธามพูดถึงเด็ก 6 แบบที่เกิดจากบ้านที่ Dysfunctional Family ลูกจะมีบุคลิคลักษณะแบบใดบ้าง?
ชวนฟัง รักลูก Podcast กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke
AI แย่งงานคน มหาวิทยาลัยยกเลิกการสอนวิชา… เพราะโลกเปลี่ยนทุกวัน เราไม่สามารถคาดเดาถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ การเตรียมลูกให้พร้อมสำหรับอนาคตจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ
ฟัง The Expert อาจารย์ พญ.ลลิต ลีลาทิพย์กุล กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกวิธีการเตรียมลูกให้พร้อมสำหรับอนาคตในทุกด้าน
พ่อแม่ต้องทำอย่างไรเพื่อให้ลูกสมองไวพร้อมได้ตั้งแต่วันนี้
รายการรักลูก The Expert Talk อาจารย์ พญ.ลลิต ลีลาทิพย์กุล
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke
งานวิจัยพบว่าเด็กที่ใช้สื่อเย็นเซลล์สมองจะเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ได้มากกว่า
ขณะที่สื่อร้อนการเชื่อมต่อของเซลล์ที่ชั้นเปลือกสมองจะทําได้น้อย กระทบกับพัฒนาการของสมอง โดยเฉพาะทักษะสมอง EF
ไม่อยากให้ลูกติดจอ พ่อแม่ทำได้
ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริบอกแนวทางการฝึกทักษะให้พ่อแม่มี Digital Literacy เพื่อรับมือและรู้เท่าทันก่อนสื่อหน้าจอจะทำลายสมองลูก
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke
เมื่อพ่อแม่ให้โทรศัพท์ แท็บแล็ตหรือสร้างแอคเคาท์บนโซเชียลมีเดียให้ลูก เราอาจจะคิดว่าอินเทอร์เน็ตมันเป็นโลกของข้อมูลความรู้
แต่ถ้าลองคิดในมุมกลับกัน เมื่อให้ลูกเข้าถึงโลกทั้งใบ โลกทั้งใบก็เข้าถึงลูกของเราได้เหมือนกัน…การเกิดอาชญากรรมออนไลน์จึงเกิดขึ้นได้ง่าย
รู้กลลวงของเหล่ามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์เพื่อรับมืออย่างเท่าทัน ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke
เมื่อลูกถูมิจฉาชีพหลอกลวง พ่อแม่จะช่วยลูกและรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke

เคยไหมคะ ที่เผลอใช้อำนาจกับลูกโดยไม่รู้ตัวหรืออดไม่ได้จริง ๆ ที่จะออกคำสั่งเอาชนะลูก ดุ ตวาด หรือบังคับลูก จะด้วยความหวังดี อยากให้ลูกเชื่อฟัง สามารถก่อให้เกิดผลเสียมาก แม้บางครั้งได้ผลลูกยอมทำตาม แต่แค่ระยะสั้นเท่านั้นค่ะ เพราะในที่สุดลูกก็จะกลับไปเป็นอย่างเดิม และในหลาย ๆ ครั้ง กลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมาด้วย
ผลเสียเมื่อพ่อแม่มักเผลอใช้อำนาจกับลูก
- ทำให้ลูกกลัว จนขาดความมั่นใจ
จริง ๆ แล้วลูกมีความเกรงใจพ่อแม่อยู่แล้ว ยิ่งการแสดงอำนาจออกคำสั่งลูกบ่อย ๆ ยิ่งสร้างความกลัวให้ลูกมากขึ้น และจะพยายามทำตัวดี เพื่อไม่ให้พ่อแม่โกรธจนกดดันตัวเอง แต่ลึก ๆ แล้วลูกจะกลายเป็นคนหนีปัญหา มีอารมณ์หวั่นไหวง่ายมาก เกิดความกลัวในจิตใจจนลนลาน เวลาจะทำอะไรก็ไม่กล้า เพราะกลัวพ่อแม่จะดุ ทำให้ไม่กล้าคิด ไม่กล้าแสดงออก จนกลายเป็นคนขาดความมั่นใจในตัวเอง

- ลูกจะเลียนแบบการกระทำของพ่อแม่
เมื่อพ่อกับแม่ออกคำสั่งกับลูก ใช้อำนาจทำให้ลูกกลัว ลูกก็จะเรียนรู้และซึมซับเอาพฤติกรรมนั้นไปใช้เมื่อเขาอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน หรือเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน ลูกจะเป็นคนไม่มีเหตุผล ใช้ความรุนแรง แกล้งคนที่อ่อนด้อยกว่าตนเอง
- ลูกจะมีพัฒนาการบกพร่อง
พ่อกับแม่ที่เผลอใช้อานาจกับลูก ออกคำสั่งลูกบ่อย ๆ จนลูกเกิดความกลัว ลูกจะมีพฤติกรรม เช่น เป็นคนขี้กลัว วิตกกังวล ไม่มีเหตุผล ทำอะไรตามอารมณ์ ไม่สมยอมใครง่าย ๆ ตัดสินใจด้วยกำลังมากกว่าความคิด ไม่กล้าแสดงออก ไม่ปรับตัวเข้ากับคนอื่น และขาดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ทั้งหมดนี้จะทำให้เป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต การปรับตัวให้เข้ากับสังคม
เห็นไหมคะ ว่ามีแต่ข้อเสียสำหรับการเอาชนะลูก ใช้อำนาจกับลูก พ่อแม่ควรจะใจเย็นให้มาก ๆ และควรใช้เหตุผลให้เหมาะกับวัย ใช้ความหนักแน่น เอาจริง อย่างสงบ และจบท้ายด้วยการกอดลูกไว้ ลูบหัวแสดงความรักต่อลูก ว่าพ่อแม่รักลูก เคียงข้างลูก และอยากให้ลูกเป็นเด็กน่ารักเสมอ เมื่อเด็กโตขึ้น ลูกก็จะเป็นคนที่พ่อแม่ปลูกฝังมา
ลูกฉลาด พ่อแม่เลี้ยงได้แบบไม่กดดันด้วยพัฒนาการรอบด้าน
คุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกฉลาดใช่ไหมเอ่ย อยากให้ลูกเก่งรอบด้านด้วย... จริงไหม แต่จะทำยังไงล่ะถึงจะทำให้ลูกฉลาดได้โดยที่ลูกก็ไม่เครียด พ่อแม่ก็ Happy สุดๆ เรามีคำแนะนำจาก พ.ญ.ตวงพร สุรพงษ์พิวัฒนะ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก และยังเป็นคุณแม่ลูกอ่อนด้วย ซึ่งจะมาบอกเราชัดๆ ว่า เด็กฉลาด เด็กเก่งของยุคนี้ต้องทำยังไง
ในบทบาทของผู้ให้คำปรึกษาด้านพัฒนาการเด็กควบคู่กับการเป็นคุณแม่ลูกอ่อน ช่วยให้เข้าใจและเห็นใจว่าการเป็นพ่อแม่ในยุคปัจจุบันนี้ไม่ง่ายเลยใช่มั๊ยคะ โลกเรามีความซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน ทั้งในด้านความเป็นอยู่ในครอบครัวชุมชน และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เด็กๆ ในสมัยนี้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้กันมากขึ้น มีโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อโรคอุบัติใหม่มากมาย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจทำให้พ่อแม่กังวลและเป็นห่วงในการปรับตัวและใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งมีหลายครอบครัวที่พ่อและแม่ต้องทำงานนอกบ้านทั้งคู่การใช้ชีวิตและบทบาทหน้าที่ต่างๆ ที่ทับซ้อนกันทำให้พ่อแม่จัดการบริหารเวลาหรือทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างจำกัด กลายเป็นความบีบคั้นในการใช้ชีวิต ตั้งแต่การตื่นเช้าออกจากบ้าน พ่อแม่มีเวลาอันน้อยนิดกับลูกในช่วงเช้า การกินและความเป็นอยู่ของลูกที่อาจจะฝากไว้กับคนอื่นหรือเนอร์สเซอรี่ การรีบเร่งเดินทางผ่านการจราจรที่ติดขัดทั้งเช้าและเย็น สิ่งเหล่านี้ช่วงชิงเวลาที่เด็กจะได้อยู่กับพ่อแม่แบบครอบครัวให้น้อยลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในยุคใดมาก่อน
พ่อแม่ที่ไม่สามารถจัดสมดุลชีวิตส่วนตัว การทำงาน และการอยู่กับลูก มักจะเกิดความกังวลและรู้สึกผิดว่า ตนเลี้ยงลูกได้ไม่ดีหรือไม่เต็มที่ และบ่อยครั้งที่พ่อแม่เผลอตัวเปรียบเทียบลูกตัวเองกับลูกคนอื่นทั้งๆ ที่สภาพความเป็นอยู่แต่ละบ้านนั้นไม่เหมือนกัน อาจส่งผลให้พ่อแม่ผลักดันลูกมากเกินไปเพื่อชดเชยความรู้สึกเหล่านี้ด้วยการส่งลูกเรียนพิเศษ ติวเข้มวิชาการ ซึ่งพบเห็นกันตั้งแต่ระดับอนุบาล การที่พ่อแม่ผลักดันลูกมากเกินไปจนกลายเป็นความกดดัน จะทำให้ลูกเสียเวลาและเสียโอกาสในการฝึกพัฒนาการรอบด้าน โดยเฉพาะทักษะการใช้ชีวิตและการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
ถึงเวลาที่ควรพิจารณาอย่างจริงจังว่า การมุ่งเน้นเลี้ยงลูกให้มีความฉลาดเป็นอัจฉริยะ หรือเป็นเลิศทางวิชาการ ไม่ใช่คำตอบที่เป็นสูตรสำเร็จ เด็กในยุคปัจจุบันควรได้รับการเตรียมพื้นฐานของการพัฒนาการแบบความพร้อมรอบด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และทักษะการใช้ชีวิตในสังคมอย่างบูรณาการ หมอมักจะพบปัญหาของพ่อแม่เรื่องลูกไม่มั่นใจ ไม่กล้าแสดงออก ส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากพ่อแม่ดูแลอย่างใกล้ชิดจนเด็กขาดโอกาสในการฝึกทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบตัวและเวลาที่จำกัด อีกคำถามที่พบบ่อยคือ ปัญหาลูกมีสมาธิสั้น พ่อแม่หลายคนโทษว่าเพราะอุปกรณ์ทันสมัยต่างๆ ที่ทำให้ลูกใจร้อน รอไม่ได้ ในขณะที่พ่อแม่ใช้ชีวิตประจำวันอย่างเร่งรีบและใช้อุปกรณ์เหล่านั้นเช่นกัน จนเด็กซึมซับเป็นความเคยชินตั้งแต่เล็ก
พ่อแม่คือศิลปินผู้สร้างโลกผ่านการเลี้ยงลูก ดังนั้น การเลี้ยงลูกต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เช่น การใช้เวลาอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่ว่าพ่อแม่และเด็กอยู่ในห้องเดียวกันแต่ต่างคนต่างจ้องหน้าคอมของตนเองคนละมุม การกอดการสัมผัสแสดงถึงความรักและชื่นชม การได้รับโอกาสในการฝึกทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันทีละนิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในสังคมมีผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มาจากการสอบได้ที่หนึ่งของวิชาหรือห้อง แต่มักเป็นคนที่มีความสามารถหลากหลาย ปรับตัวเข้าหากับคนได้ง่าย มีมนุษยสัมพันธ์ดี แก้ปัญหาเก่ง และรู้จักการวางตัวที่เหมาะสมกับกาลเทศะ พ่อแม่ท่านใดที่ยังกังวลเรื่องการเลี้ยงดูลูก ลองพิจารณาโพลล่าสุดที่สำรวจ ความคิดเห็นของพ่อแม่ แล้วจะพอเห็นภาพว่า เด็กยุคนี้...แค่อัจฉริยะไม่ใช่คำตอบสุดท้าย หมอขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังใส่ใจเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ที่เก่งพร้อมรอบด้าน เพื่อสังคมที่มีคุณภาพและความสุขนะคะ
นอกจากนี้เรายังมีผลการสำรวจจากสวนดุสิตโพลมาฝากค่ะ ลองไปดูกันว่าถ้าอยากให้ลูกฉลาดต้องทำยังไงบ้าง


อ่านผลสำรวจเพิ่มเติมได้ที่ >>>
สวนดุสิตโพล(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)
ลูกชายถูกรังแก สอนให้สู้ดีไหม
Q : กลุ้มใจครับลูกชายวัย 7 ปี เวลาเขาเล่นกับเพื่อนๆ เขาจะถูกรังแกบ่อยๆ (แอบสังเกตดู) กลับมาบ้านเขาจะร้องไห้ทุกครั้ง แล้วเล่าให้ฟังว่าโดนเพื่อนแกล้ง แต่ระยะหลังเขามักไม่เล่าให้ฟังแล้วครับ ถามก็ไม่ค่อยยอมตอบ ผมอยากสอนให้เขาสู้คนบ้าง ไม่รู้ว่าเหมาะสมไหมครับ
A : ปัญหาการรังแกกัน (bully) ของเด็กนั้น ถือเป็นปัญหาที่ผู้ปกครองควรให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เนื่องจากการปล่อยให้เด็กถูกรังแกไปนานๆ จะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก หรืออาจลุกลามไปถึงผลการเรียนของเขา และอาจพานให้เขาไม่อยากไปโรงเรียนเลยก็ได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหาวิธีช่วยเหลือลูกโดยด่วน ซึ่งทำได้ดังนี้ครับ…
1.เลี้ยงลูกให้เข้มแข็ง เด็กหลายคนอาจมีบุคลิกภาพพื้นฐาน (temperament) เป็นเด็กที่ค่อนข้างขี้กลัว หรือปรับตัวยากอยู่แล้ว ดังนั้นหากเราไม่ได้ส่งเสริมความมั่นใจให้เขาแล้วละก็ เมื่อไปโรงเรียนแล้วเจอบรรดาเสือสิงห์กระทิงแรดทั้งหลายลูกคงลำบากแน่ๆ แต่สิ่งสำคัญคือเราเลี้ยงดูให้เขาเป็นคนมีความภาคภูมิใจในตนเอง สามารถช่วยเหลือตนเองและแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตนเองได้
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มต้นด้วยการสำรวจว่ามีสิ่งใดที่เด็กวัยประถมควรทำด้วยตัวเองได้ แต่เขายังไม่ยอมทำ หรือยังมีคนที่บ้านคอยทำให้เขาอยู่ เช่น ป้อนข้าว อาบน้ำ แต่งตัว ผูกเชือกรองเท้า เป็นต้น ควรปล่อยให้เขาทำเอง และเมื่อเขาทำได้ก็ควรชมเชยเขา เพื่อให้เขาเกิดความรู้สึกว่า "ไอ้เรานี่มันก็ใช้ได้นี่นา" และหากคุณพ่อคุณแม่ต้องการหลักสูตรเร่งรัด หมอแนะนำว่า หาโอกาสให้เขาได้ช่วยเราทำอะไรบ้าง เช่น ช่วยถือของ ช่วยล้างรถ ช่วยดูน้อง เป็นต้น อย่าลืมชมเชย และขอบอกขอบใจเขาด้วย เด็กที่มีโอกาสช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่นั้นจะเกิดความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองว่า "ขนาดพ่อแม่ยังไว้วางใจให้ฉันช่วยเลย แปลว่าฉันนี่ก็ใช้ได้" หากเราเลี้ยงดูเขาแบบนี้ซักระยะ คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นความมั่นใจในตนเองจากเขามากขึ้น โดยสังเกตได้จากสีหน้า แววตา การนั่งและการเดินของเขาครับ
2.ป้องกันการถูกรังแก วิธีที่ดีที่สุดคือ การอยู่รวมกับเพื่อน การอยู่รวมกับเพื่อนเป็นกลุ่ม เนื่องจากคงไม่มีเด็กเกเรคนไหนกล้าฝ่ากลุ่มเพื่อนของลูกเรา เพื่อมาแกล้งลูกเราคนเดียว ดังนั้น เราควรสอนให้ลูกรู้จักหาเพื่อนไว้มากๆ ยิ่งลูกของคุณพ่อเป็นที่รักของเพื่อนมากเท่าไหร่ หากเขาถูกแกล้งรับรองได้ว่า คนที่แกล้งเขาจะถูกกดดันจากกลุ่มเพื่อนของลูกอย่างแน่นอน
สรุปสั้นๆ ว่าหากอยากให้ลูกเข้มแข็งต้องฝึกให้เขาช่วยเหลือตัวเองให้มาก และจะดียิ่งหากเราสอนให้ลูกช่วยเหลือคนอื่นด้วย ส่วนการป้องการการถูกรังแกที่โรงเรียนที่ดีที่สุด คือ อยู่กับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ไม่มีคุณครูอยู่ เท่านี้ก็น่าจะเพียงพอครับ
นพ.อัศวิน นาคพงศ์พันธุ์
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่

ลูกดื้อ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ พ่อแม่แก้ไขได้
ลูกดื้อ อาจเป็นพัฒนาการปกติทั่วไป หากไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือแค่เล่นซนก็ไม่น่าเป็นห่วงค่ะ แต่ถ้าลูกดื้อและแถมยังต่อต้านพ่อแม่ด้วยอารมณ์โกรธด้วยแล้ว ต้องรีบหาทางปรับแก้กันด่วนเลยค่ะ
เพราะตามธรรมชาติของเด็กวัย 2 - 4ขวบ จะชอบสำรวจสิ่งแวดล้อม ชอบทำตามหรือเลียนแบบผู้ใหญ่ เป็นวัยเรียนรู้ ห้ามอย่างไรไม่ค่อยฟังจนดูเหมือนดื้อต่อต้าน และอารมณ์แปรปรวนง่าย หากไม่ได้ดั่งใจก็จะร้องอาละวาด
ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ลูกดื้อต่อต้านนั้นมาจากพัฒนาการ สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู และพื้นฐานอารมณ์ของเด็กแต่ละคน ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจเพื่อจะได้ปรับพฤติกรรมของลูกให้เป็นไปในเชิงบวกได้ โดยการปรับพฤติกรรมเด็กดื้อต่อต้าน สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้ค่ะ
1. ให้แรงเสริมทางบวกทั้งใจและกาย คือการให้คำชมเชยผ่านทั้งคำพูดและการแสดงออกด้วยความจริงใจ เช่น การโอบกอด ลูบศรีษะ การกล่าวชื่นชม จะทำให้เขาได้รู้ว่าเขาทำสิ่งที่ถูกต้องและส่งผลดีกับเขามากแค่ไหน นอกจากนี้แล้วพ่อแม่สามารถสนับสนุนเขาให้ได้รับสิ่งที่ดีในด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น การให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์ ตามหลักโภชนาการ 5 หมู่ และเสริมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบประสาทและสมอง เช่น นมที่มีโอเมก้า3 6 9 , DHA ที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองของลูก ให้ลูกพร้อมเล่นและเรียนรู้อย่างอิสระ มีความคิดสร้างสรรค์ และทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันได้เป็นอย่างดี
2. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและชี้แนะอย่างมีเหตุผลพ่อแม่ต้องทำความเข้าใจในตัวลูก การบอกหรือสอนลูกให้รู้ว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ พร้อมอธิบายเหตุผล พูดคุยแก้ปัญหา หรือเปิดใจ ว่าเขาไม่พอใจเรื่องอะไร เรามาหาทางแก้ไข หรือหาทางออกร่วมกัน ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างความสัมพันธ์และความไว้ใจระหว่างกันได้
3. ฝึกวินัยเพื่อการแสดงออกที่เหมาะสม โดยเฉพาะกิจวัตรประจำวันของลูก เช่น การกิน การตื่น การนอน การขับถ่าย ฯลฯ จะสอนให้ลูกมีระเบียบวินัย และรู้จักเวลามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการฝึกลูกให้กินอาหารเป็นเวลาจะช่วยให้ลูกคุ้นกับการตรงต่อเวลา ลูกจะรู้ว่าช่วงเวลาไหนเป็นเวลาที่ควรจะกินมื้อหลัก เวลาไหนเป็นเวลาของว่าง และช่วงเวลาไหนที่ไม่ควรจะกินอะไรเลย
ที่สำคัญถ้าพ่อแม่ฝึกลูกให้กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผัก ผลไม้ อาหารหลัก 5 หมู่ รวมถึงนมที่มีสารอาหารสำคัญเช่น โอเมก้า 3 6 9 , DHA , วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ อย่างครบถ้วน นอกจากจะช่วยให้ร่างกายลูกแข็งแรงดีแล้ว อาหารที่มีประโยชน์ยังช่วยพัฒนาสมองของลูก ให้พร้อมเรียนรู้อย่างรอบด้านอีกด้วย
เพราะการเลี้ยงลูกให้น่ารัก ไม่มีรูปแบบตายตัว แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกเป็นเด็กน่ารัก ไม่ดื้อ ไม่ต่อต้านเอาแต่ใจ คือความเอาใจใส่ของพ่อแม่ต้องมีความสม่ำเสมอเพื่อให้ลูกเกิดความเคยชิน และมีความต่อเนื่องของพัฒนาการอย่างเหมาะสมตามวัย
Foremost Omega 369 Gold สนับสนุนให้พ่อแม่เลี้ยงลูกด้วยความรักและความเข้าใจ ปล่อยให้ลูกเล่นอย่างอิสระ เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง และเติบโตขึ้นมาอย่างเป็นธรรมชาติ มีอิสระในการคิดและทำสิ่งต่างๆ นอกกรอบ และมีความคิดสร้างสรรค์ ที่สำคัญ ทุกๆ การสนับสนุนจากพ่อแม่ จะทำให้ลูกรู้สึกได้รับความรักและมีความสุขกับทุกๆ เรื่องที่เขาทำค่ะ
#หนูเก่งนะแม่กล้ามั้ย
#ForemostOmega369Gold
(พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์)

การอ่านนิทานเชื่อมโยงกับการฝึกวินัย ฝึกทักษะชีวิตอย่างไรได้บ้าง?
พูดเสมอคือพ่อแม่เป็นผู้อ่านนิทานด้วยตนเอง สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง ผลที่ได้คือพ่อแม่ที่มีอยู่จริงเมื่อเรามีอยู่จริงแล้วจะพูดอะไรก็ฟัง จะฝึกวินัยอะไรก็ง่าย
นอกเหนือจากตัวเราที่มีอยู่จริงแล้ว ยังมีสายสัมพันธ์ สายสัมพันธ์เปรียบเหมือนเส้นใยหรือเชือกที่เชื่อมระหว่างเราและลูก (จะพูดว่าล่ามก็ได้แต่อาจจะฟังดูไม่ไพเราะเท่าใดนัก) เมื่อมีเชือกจูงเสียแล้ว (ไม่ไพเราะจนได้) จะสอนหรือฝึกอะไรลูกก็ทำได้โดยง่าย
โดยทั่วไปเราอยากให้อ่านนิทานที่เปิดกว้างให้เด็กได้คิดต่อ เพราะความคิดที่เสรีจะมีคุณต่อเด็กในอนาคตมาก การอ่านนิทานหมวดคำสั่งสอน หรือฝึกวินัย ฝึกทักษะ มักได้เฉพาะเรื่องเฉพาะกิจ แต่ถ้าชอบหรือจำเป็นก็ทำได้
เมื่อพ่อแม่มีอยู่จริง การอ่านนิทานฝึกนิสัยก็จะได้ผลดี ด้วยกลไกที่พ่อแม่มีอยู่จริงพูดอะไรก็น่าเชื่อถือน่าติดตาม อีกกลไกหนึ่งเราเรียกว่ากลไกสวมรอยตัวละครในนิทาน คือ identification ว่าที่จริงแล้วกลไกการสวมรอยจะทำงานได้ดีเมื่ออายุประมาณ 3 ขวบขึ้นไป นั่นแปลว่าจะอย่างไรก็อาจจะต้องรอให้พ่อแม่มีอยู่จริงเสียก่อน ตามด้วยตนเอง (คือ self)ที่มีอยู่จริง ซึ่งบอกเป็นนัยว่าเด็กมีอีโก้ (คือ ego)แล้ว จึงจะสวมรอยได้ เพราะหน้าที่สวมรอยหรือ identification นี้เป็นหน้าที่ของอีโก้ เราเรียกว่า ego function
อ่านนิทานหนูนิดติดเกมหนูแป๋งแปรงฟัน หนูไก่ไม่นอน พฤติกรรมที่เห็นได้ด้วยตานั้นอ่านให้เด็กๆ สวมรอยได้ไม่ยาก มีนิทานเช่นนี้มากมายในท้องตลาด
อ่านนิทานหมีน้อยขี้กลัว หมาป่าตาร้อน นกน้อยขยันยิ่ง ลักษณะนิสัยเหล่านี้มิได้เห็นด้วยตาเปล่า ไม่สามารถบรรยายได้ด้วยภาพเพียงภาพเดียวแต่ต้องใช้เนื้อเรื่องทั้งเล่ม การสวมรอยก็จะยากขึ้นอีกระดับเพราะเด็กต้องตั้งใจจดจ่อและบริหารความจำใช้งานได้นานพอจนจบเล่มจึงจะเข้าใจ มีนิทานเช่นนี้ในท้องตลอดมากมายเช่นกัน
ขึ้นชื่อทักษะคือ skills เป็นเรื่องต้องฝึก มิได้มาเอง ทักษะชีวิตก็เช่นกัน ทักษะย่อยๆ เช่น การกิน แปรงฟัน การนอน เหล่านี้ควรได้รับการฝึกในเวลาไม่นานหลังการอ่าน เช่น อ่านคืนนี้ พรุ่งนี้ทดลองฝึกได้เลย เด็กมักให้ความร่วมมือดีกว่าเพราะแม้แต่หนูนิด หนูแป๋ง และหนูไก่ก็ทำได้ แม่ในนิทานเป็นปลื้มแม่ในชีวิตจริงก็ควรจะปลื้มเช่นกัน
มิใช่อ่านเสร็จแล้วปล่อยพี่เลี้ยงฝึก หรือยกให้ปู่ย่าตายายฝึก หมีน้อย หมาป่าน้อย นกน้อยนิสัยดีก็ควรได้รับการฝึกฝนหลังการอ่านได้ไม่นานนัก ซึ่งแปลว่าอาจจะไม่ต้องรอเหตุการณ์จริงเกิดขึ้นเพราะไม่รู้เราจะพบแมงมุมตัวต่อไปเมื่อไร แต่เราฝึกได้ในวันรุ่งขึ้นด้วยการเล่นสมมติ การเล่นสมมติหรือการเล่นละครเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้เสมอหากพ่อแม่จะมีเวลาและเห็นความสำคัญที่จะลงไปเล่นด้วยตนเอง
อ่านปุ๊บฝึกปั๊บน่าจะดีที่สุดครับ
นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

กำลังเข้มงวดสอนลูก อยู่ ๆ มีคนในบ้านพูดว่า "ไม่เป็นไรลูก ไม่ต้องทำก็ได้" รู้ไหมว่าถ้ายังไม่ปรับวิธีเลี้ยงลูกให้ถูกทาง ลูกเจอปัญหาแน่นอน
เลี้ยงผิดชีวิตลูกเปลี่ยน! 4 ปัญหาที่ลูกเป็นแน่ ถ้าคนหนึ่งข้มงวด คนหนึ่งสปอยล์
เชื่อว่าหลายบ้านกำลังเจอเรื่องนี้ค่ะ
- แม่เข้มงวดมาก พอพ่อเห็นก็บอกว่า ไม่เป็นไร ไม่ต้องทำได้
- พ่อกำลังสอนอยู่ดี ๆ แม่เข้ามากอด มาสปอยล์ลูก ทำให้ลูกไม่ได้ฟังที่พ่อสอนซะดื้อ ๆ
- พ่อแม่อยากให้ลูกรู้จักดูแลตัวเอง คนหนึ่งเข้มงวดมีตารางเวลาชัดเจน อีกคนสอนแบบทำไปด้วยกัน ลูกกำลังทำได้ดีอยู่แล้วเชียว ไปค้างบ้านคุณย่าไม่กี่วัน คุณย่าตามใจหนักมากว่าไม่ต้องทำก็ได้เพราะกลัวหลานไม่รัก
เอาล่ะสิคะ การเลี้ยงลูกแบบที่เป้าหมายเดียวกัน แต่วิธีการเข้าหาและสอนลูกต่างกันมันอาจทำให้ลูกสับสนได้นะว่า ตกลงต้องทำหรือไม่ต้องทำกันแน่ และถ้าทุกคนในบ้านยังไม่จับเข่าคุยกันเพื่อหาแนวทางการเลี้ยงลูกที่ Balance ทุกด้าน ลูกอาจเจอ 4 ปัญหานี้
1. ทำให้ลูกสับสน
หากครอบครัวไหนคุณแม่เป็นคนเข้มงวด ไม่ตามใจ ส่วนคุณพ่อตามใจลูกทุกอย่าง ลูกจะเกิดความสับสนว่าควรทำตัวอย่างไร ต้องอดทนหรือควรงอแงเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการมาค่ะ
วิธีแก้ไข: พ่อแม่ควรพูดคุยและตกลงกันให้เป็นเสียงเดียวก่อนว่าจะฝึกสอนลูกแบบไหน หากยังคิดเห็นไม่ตรงกันให้บอกกับลูกว่า “พ่อแม่ขอปรึกษากันก่อน แล้วจะให้คำตอบทีหลัง” ดีกว่ามาทะเลาะหรือเถียงกันต่อหน้าลูกนะคะ
2. ทำให้ลูกเลือกข้างคนที่ตามใจ
เมื่อเกิดปัญหาขึ้นลูกจะเลือกเข้าหาคนที่ตามใจ ทำให้ลูกเลือกที่จะไม่ฟังคนเข้มงวด ยิ่งสอนลูกยากค่ะ
วิธีแก้ไข: พ่อแม่ต้องใช้วิธีการคุยเพื่อขอให้อีกฝ่ายไม่เข้ามาแทรกแซงระหว่างที่สอนลูก ยกตัวอย่างเช่น “ในช่วงที่แม่สอนลูก แม่ขอให้พ่อไม่เข้ามาแทรกแซงต่อหน้าลูก ถ้าพ่อไม่ชอบใจตรงไหน ขอให้เก็บมาคุยกันตอนหลัง” แต่หลีกเลี่ยงการพูดในลักษณะออกคำสั่งนะคะ
3. ทำให้ลูกควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้
หากลูกร้องไห้แล้วคุณพ่อตามใจ แต่คุณแม่ไม่ให้ ไม่ตามใจ ความรู้สึกของลูกเดี๋ยวได้เดี๋ยวไม่ได้ ส่งผลกับอารมณ์โดยตรง พอไม่ได้ดั่งใจลูกก็จะหงุดหงิด และอารมณ์แปรปรวนง่าย
วิธีแก้ไข: เลือกเวลาสบายๆ ของคุณพ่อคุณแม่พูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการเลี้ยงลูกและตั้งเป้าหมายไปที่ ‘การแก้ปัญหา’ ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่ควรพูดว่า “วันนี้แม่อยากคุยเรื่องวิธีควบคุมการใช้หน้าจอของลูก” แทนการพูดตำหนิอีกฝ่ายว่า “พ่อให้ลูกดูการ์ตูนมากเกินไป ลูกจะสายตาเสีย และเรียกมากินข้าวยากมาก ๆ เพราะพ่อตามใจ”
4. ทำให้ลูกดื้อและต่อต้าน
ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูก ทำให้ลูกไม่เชื่อฟัง ดื้อ และต่อต้าน เพราะคุณพ่อคุณแม่สอนคนละแบบ
วิธีแก้ไข: คุณพ่อคุณแม่ควรหาบทสรุปการเลี้ยงลูก ก่อนที่ลูกจะไม่เชื่อฟังและต่อต้าน อาจใช้วิธีเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายเสนอแนวคิด และรับฟังด้วยท่าทางเปิดรับ
คุณพ่อคุณแม่ลองนำไปปรับใช้ดูนะคะ หาเวลาคุยกันทั้งสองฝ่ายว่าเราจะเลี้ยงลูกแบบไหนกันดี เพราะการเลี้ยงลูกคนละทางนอกจากจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกเปลี่ยนไป ยังส่งผลต่อลูกเราโดยตรง เปลี่ยนเพื่อลูก พ่อแม่ทำได้อยู่แล้วค่ะ

การได้เป็นพ่อคน แน่นอนมันมาพร้อมความเปลี่ยนแปลงมากมาย และบางคนก็เปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง แต่บางคนกำลังปรับตัวเพราะอยากจะเป็นพ่อที่ดีและสามีที่ดี 'รักลูก' จึงขอแนะนำวิธีจะที่ทำให้คุณเป็นพ่อที่ได้ใจภรรยาและลูกมาบอก
10 ข้อของพ่อที่ดี
1. ไม่รำคาญลูก
คุณพ่อต้องปรับตัวและเข้าใจว่าเด็กแรกเกิดจะร้องไห้บ่อย และร้องไห้กลางดึกด้วย คุณพ่อต้องช่วยคุณแม่อุ้มลูก ปลอบลูก เหนื่อยก็ให้กำลังใจกัน อย่าโมโหใส่กัน เดี๋ยวก็ผ่าน 2-3 เดือนแรกไปได้ ลูกน้อยก็จะไม่ร้องไห้กลางดึกแล้วค่ะ
2. เล่นกับลูก
คุณพ่อที่น่ารัก ต้องอุ้มลูก เล่นกับลูก หอมลูก และกล่อมลูกนอนได้แทนคุณแม่ เพราะการทำแบบนี้คือกำลังใจกองโตของคุณแม่เลยนะคะ คุณแม่จะมีกำลังใจเลี้ยงเจ้าตัวน้อยอย่างอารมณ์ดี แม้จะเหนื่อยแค่ไหน หรือเจ็บแผลหลังคลอดอย่างไร ภาพคุณพ่อเล่นกับลูกคือยาวิเศษให้แม่เลยค่ะ

3. หาคำพูดดีๆ มาพูดกับคุณแม่
อย่าลืมว่าคุณแม่จะมีอาการซึมเศร้าหลังคลอดด้วย คุณพ่อที่ได้ใจคุณแม่และลูก ต้องหาแต่คำพูดดีๆ มาให้กำลังใจค่ะ เช่น คุณเป็นแม่ที่ดีมากเลย คุณทำดีมาก โทรบอกว่าคิดถึง หรือบอกรักเป็นประจำ แบบนี้คุณแม่รักตายเลยค่ะ
4. เข้าใจความเปลี่ยนแปลง
คุณพ่อต้องไม่ถามหาเรื่องราวในอดีตก่อนจะมีลูก และไม่แสดงออกว่าน้อยใจคุณแม่ เพราะการมีสมาชิกใหม่ของครอบครัว ย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้ง ต้องตื่นกลางดึก กินข้าวไม่ตรงเวลา คุณแม่ดูแลคุณพ่อน้อยลง สิ่งเหล่านี้ล้วนจะต้องเกิดขึ้นแน่ๆ
5. แสดงมุมอ่อนโยนของตัวเอง
เมื่อก่อนก็อ่อนโยนกับแม่ได้ เมื่อได้เป็นพ่อแล้ว ก็ต้องแสดงความอ่อนโยนต่อลูกค่ะ หากลูกงอแง คุณพ่อต้องรีบเข้าไปอุ้มลูก ปลอบลูก การได้ฟังคุณพ่อพูดเสียงสองกับลูก เป็นภาพที่น่ารักได้ใจคุณแม่ไปเลยค่ะ
6. เอาใจคุณแม่
ในช่วงที่คุณแม่ต้องเลี้ยงลูกอย่างเหนื่อยล้า คุณพ่อต้องแสดงความรักต่อคุณแม่ และลูกอย่างเต็มที่ บอกรัก บอกคิดถึง บอกเป็นห่วง ซื้อของให้ลูก แถมของแม่ด้วย เรียกว่าช่วงนี้เอาใจคุณแม่ให้สุดๆ ไปเลยค่ะ
7. เป็นผู้ช่วยที่ดี
หลังคลอด คุณแม่ยังต้องกลับไปพบหมออีกเป็นระยะ คุณพ่อต้องพาไป อย่าละเลยเด็ดขาด ไปฟังเรื่องสุขภาพคุณแม่ด้วยก็เป็นการใส่ใจที่ควรทำ และช่วยอุ้มลูก ดูแลลูก ป้อนนมแทนแม่ ก็จะเป็นผู้ช่วยที่ดีมากค่ะ

8. ดูแลบ้าน
เมื่อก่อนคุณแม่อาจจะเป็นคนทำ แต่หลังคลอดลูก คุณพ่อต้องรับผิดชอบนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ซื้อกับข้าว ทำงานบ้านบางอย่าง หน้าที่จิปาถะถ้าทำได้คุณคือพ่อที่ดีและสามีที่ดีมากค่ะ
9. ปกป้องคุณแม่
คุณพ่อควรเป็นคนออกหน้ารับแทน หรือแก้ตัวให้ภรรยา เมื่อมีคนมาวิจารณ์การเลี้ยงลูก โดยเฉพาะการพูดที่ทำให้คุณแม่ไม่สบายใจ อย่าปล่อยให้คุณแม่ต้องรับคำวิจารณ์อยู่คนเดียว ต้องเคียงข้างกันไว้ คุณแม่จะได้มีกำลังใจเลี้ยงลูกค่ะ
10. รีบกลับบ้านมาหาลูก
เป็นพ่อคนแล้ว จะไปเที่ยวเตร่แบบเมื่อก่อนก็ไม่ควรทำ การโทรหาคุณแม่ว่าอยากกลับไปหาลูกไวๆ บอกเวลากลับที่แน่นอน และทำได้เสมอ แถมซื้อของอร่อยกลับมาให้กินอีก นี่คือสิ่งที่คุณแม่อยากให้ทำมากๆ เลยค่ะ

ในวันที่ลูกผิดหวัง พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวังให้ได้
เด็กคนหนึ่งก็ต้องมีอารมณ์โกรธ ผิดหวัง เป็นธรรมดา และก็เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องสอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวัง ความโกรธนั้นให้ได้ เมื่อเหตุการณ์ที่ลูกทำตัวไม่น่ารักเกิดขึ้นแล้ว พ่อแม่ควรสอนลูกดังนี้เลย
- บอกให้ลูกรู้ ว่าพ่อแม่รู้ว่าลูกโกรธอยู่
เพื่อให้ลูกรู้จักอารมณ์ของตัวเองในตอนนี้ ว่าที่ลูกร้องไห้ กระสับกระส่าย โมโห ก้าวร้าวอยู่ เพราะลูกกำลังรู้สึกผิดหวัง ให้ดึงลูกมากอดไว้เพื่อให้อารมณ์เย็นลง
- พาไปที่สงบ เงียบ เพื่อคุยกับลูก
หลังเหตุการณ์ที่ลูกเสียใจ ผิดหวัง ให้พาลูกไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่กระตุ้นอารมณ์ให้รุนแรงเพิ่มขึ้น ใช้เวลาพูดคุย ถามมุมมองของลูกเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น ให้พ่อแม่ถามลูกว่า “พ่อแม่รู้ว่าลูกโกรธ แต่ลูกจะทำท่าทางไม่สุภาพแบบนั้นไม่ได้ พ่อแม่ต้องทำอย่างไรจึงจะช่วยให้ลูกรู้สึกดีขึ้นได้” หลังจากที่ลูกตอบ ก็ให้พาลูกไปทำให้ถูกทางและเหมาะสม เช่น พาไปกินขนม แล้วชวนคุยเรื่องเพลงที่ลูกชอบ หนังที่ลูกชอบ ที่เที่ยวที่อยากไป ให้ลูกออกจากอารมณ์ผิดหวัง
- ลดความคาดหวังในตัวลูก
เมื่อทุกอย่างสงบลง ต่อมาควรคุยกับลูกอีกครั้ง เพราะบางเรื่องที่ลูกไม่สามารถทำได้ พ่อแม่ย่อมรู้ดี ควรพูดคุยให้ลูกใช้ความสามารถในด้านอื่นแทน และชวนลูกตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ ที่ท้าทาย และลูกสามารถมีโอกาสทำสำเร็จได้
- พุดคุยกับลูกบ่อย ๆ ให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น
พ่อแม่ควรตั้งคำถามให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกรู้จักเอง ได้ใช้ความคิดมากขึ้น หากผิดไปแล้วก็ให้รับผลการกระทำ ลูกจะได้สัมผัสได้ว่าพ่อแม่อยู่เคียงข้างลูกเสมอ พร้อมที่จะเป็นฟูกนุ่ม ๆ รองรับลูก เมื่อเขาผิดหวัง

มีคำตอบแล้ว ว่าลูกฉลาดได้ใคร ระหว่างพ่อกับแม่?
เคยไหมคะ สงสัยว่าลูกเราทำไมพัฒนาการดี เรียนเก่ง หัวไว ได้ความฉลาดนี้มาจากใครกันนะ ระหว่างพ่อกับแม่ ขอบอกว่าไม่ต้องเถียงกันแล้วค่ะ ล่าสุดมีวิจัยยืนยันว่าลูกนั้นเก่งได้ใคร มาดูกันเลยค่ะ จากข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ยีนความฉลาดของมนุษย์เรา จะอยู่ในโครโมโซม X ซึ่งเป็นโครโมโซมที่ผู้หญิงจะมีสอง ส่วนผู้ชายจะมีแค่โครโมโซมเดียว ทำให้อาจได้ข้อสรุปว่าระดับสติปัญญาจากแม่ จะตกทอดสู่รุ่นลูกได้มากกว่าจากพ่อ ซึ่งงานวิจัยชิ้นล่าสุดของมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ก็ได้ออกมาช่วยยืนยันแล้วว่าเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องจริงค่ะ
โดยทีมนักวิจัยได้ทำการสำรวจจากกลุ่มคนอายุ 14 – 22 ปี จำนวน 30,000 คน เป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 1994 โดยจะมีการทดแบบทดสอบ และการสัมภาษณ์ต่างๆ ระหว่างลูก แม่ และพ่อของผู้เข้าร่วมวิจัย ซึ่งพวกเขาก็ได้คำตอบว่าสติปัญญาของลูกจะได้จากแม่ มากกว่าพ่อเป็นเรื่องจริง
การเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับยีนสติปัญญาของหนูทดลอง โดยทีมวิจัยได้ค้นพบว่าหนูที่มียีนตกทอดจากแม่มากกว่า จะมีขนาดสมองที่ใหญ่กว่า แต่ลำตัวจะเล็กกว่า ตรงกันข้ามกับหนูที่มียีนจากพ่อมากกว่า ซึ่งจะมีขนาดสมองที่เล็กกว่า แต่ลำตัวจะใหญ่กว่า
และยีนความฉลาดที่ตกทอดจากแม่มาสู่ลูกจะพบได้มากในบริเวณ Cerebral Cortex (เปลือกสมอง) ซึ่งเป็นส่วนที่คอยสั่งการใช้ความคิดเชิงตรรกะ เช่น การเรียนรู้ภาษาหรือการวางแผน เมื่อเปรียบเทียบกับ ยีนที่ตกทอดมาจากรุ่นพ่อแล้ว นักวิจัยพบว่ายีนชนิดนี้จะพบได้มากในบริเวณระบบลิมบิค (Lymbic System) ซึ่งเป็นส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับกลไกการสืบพันธุ์ อาหาร และความโกรธเกรี้ยว
ข้อมูลที่กล่าวมา ทำให้แม่หลายคนภูมิใจมากเลยนะคะ แต่ถ้าพ่อฉลาดกว่าแม่ อย่าลืมให้พ่อสอนการบ้านลูกเยอะๆ นะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : women.mthai.com , www.countryliving.com

หลายครั้ง ความรักก็ส่งไปไม่ถึงลูก ยิ่งไปกว่านั้น การไม่ชอบสื่อสาร ไม่ชอบแสดงออก อาจทำให้ลูกน้อยใจจนคิดไปเอง
ไม่อยากให้ลูกเป็น โรคซึมเศร้าตั้งแต่เด็ก พ่อแม่ต้องทำ 7 ข้อนี้ให้ได้
พ่อแม่ทุกคนรักลูกเสมอ แต่หลาย ๆ ครั้ง ความรักก็ส่งไปไม่ถึงลูก ยิ่งไปกว่านั้น การไม่ชอบสื่อสาร ไม่ชอบแสดงออก พูดจาตรง และรุนแรง อาจทำให้ลูกน้อยใจจนคิดไปเองได้
รวมถึงการกระทำที่ไม่คิดของพ่อแม่ อาจนำลูกไปสู่โรคซึมเศร้าได้ง่าย ๆ ดังนั้นวิธีป้องกันโรคซึมเศร้าที่เป็นภัยเงียบนี้ พ่อแม่ควรแสดงออกว่ารักลูกให้มาก ๆ ลองทำตามทั้ง 7 ข้อนี้เลยค่ะ
1. เล่นกับลูก ให้เวลากับลูกให้มากที่สุด
ชวนลูกเล่นตัวต่อ จิ๊กซอว์ แป้งโดว์ หรือเล่นเกมไปกับลูก พูดคุยกันถึงวันที่ผ่านมา เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวได้ ว่างก็คลุกคลีตีโมงกับลูก กอดหอมกันไปมา เป็นการแสดงความรักขั้นพื้นฐานที่ดีที่สุด หากพ่อแม่ไม่ใช้เวลากับลูกเลย อาจเกิดระยะห่างระหว่างกันได้
2. คุยกับลูกด้วยรอยยิ้ม พยายามใจเย็นเสมอ
หากทบทวนตัวเองแล้ว เวลาไม่พอใจลูก ลูกไม่ได้ดั่งใจ มักจะตหวาด ดุดัน เร่งเร้า ตำหนิ บ่น กับลูกใช่หรือไม่ ไม่ควรทำแบบนั้นนะคะ ควรจะหันมายิ้มให้ลูก พูดกันด้วยความเข้าใจ ให้กำลังใจกัน ย่อมมีความสุขมากกว่า และให้ผลที่ดีกว่ามาก
3. ตั้งใจฟังลูก และบอกลูกว่าพ่อแม่ฟังลูกอยู่
การไม่ฟังลูกพูด นั่นอาจเป็นครั้งสุดท้ายที่เขาจะบอกเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตให้พ่อแม่ฟังก็เป็นได้ การฟังเป็นเรื่องง่ายมากนะคะ บางครั้ง การฟังลูกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ หรือ ระบายความรู้สึกให้ฟัง ก็เป็นการแสดงออกให้ลูกรู้ได้ถึงความรักที่คุณมีให้เขาแล้ว โดยที่พ่อแม่ไม่ต้องแนะนำอะไรเลยก็ได้

4. แสดงความรักบ่อย ๆ กับลูก
ลูกต้องการความรักเสมอ แม้จะเขินบ้างเวลาพ่อแม่แสดงออก แต่ทำไปเถอะค่ะ เดี๋ยวลูกก็โตไปหาเพื่อนแล้ว ตอนเด็ก ๆ อยู่กับลูกบอกรัก กอด หอม จูงมือ หยอกเหย้าให้มาก ๆ ทำให้ชิน ให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้เลยนะคะ
5. ให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
การตัดสินใจแทนลูกทุกอย่าง เป็นข้อที่เข้าใจผิดกันอย่างมาก และไม่ดีต่อพัฒนาการลูกเลยค่ะ การให้โอกาสลูกในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกซึ่งความต้องการของตัวเอง ก็เป็นวิธีการแสดงความรักและแสดงออกถึงการยอมรับในตัวลูกอย่างหนึ่ง พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามนะคะ
6. ชื่นชมลูกเมื่อทำสำเร็จ ปลอบใจเมื่อล้มเหลว
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ หรือเรื่องใหญ่ ๆ หากเป็นเรื่องราวที่ดีของลูกนั้น การให้กำลังใจและชื่นชมกันคือเรื่องที่ดีมาก หากลูกแพ้ก็ให้กำลังใจ อยู่ข้าง ๆ ลูก สิ่งนี้แหละที่เป็นหัวใจสำคัญของความรักที่มีต่อลูก
7. รักษาสัญญากับลูก ขอโทษลูกได้เมื่อพ่อแม่ผิด
การโกหก หรือการไม่รักษาสัญญากับลูก เป็นจุดสำคัญที่สร้างบาดแผลและความไม่เชื่อใจทีละเล็กทีละน้อยนะคะ หากทำอะไรไม่ได้ควรบอกเหตุผลจำเป็น ขอโทษลูก และควรอธิบายลูกให้เข้าใจ เพราะสำหรับเด็ก ๆ คำพูดของพ่อแม่นั้นมีน้ำหนักต่อความรู้สึกของลูกมากกว่าที่เราคิดค่ะ