เวลาลูกทารกร้องไห้นาน ๆ แล้วพ่อแม่ไม่รีบอุ้มปลอบเพราะกลัวติดมือ ระวังไว้นะคะเพราะนั่นอาจเป็นต้นเหตุของพัฒนาการทารกล่าช้า และสร้างความเครียดให้ลูกทารกได้
อย่าปล่อยเด็กร้องไห้นานๆ เพราะจะส่งผลต่อพัฒนาการ และเครียดรุนแรง
เมื่อเด็กร้องแล้วคนเฒ่าคนแก่บอกว่า "อย่าไปอุ้ม เดี๋ยวลูกจะติดมือนะ ปล่อยให้มันร้องไปเลย เดี๋ยวเหนื่อยก็หยุดเอง" ขอบอกว่าเด็กติดมือไม่มีจริงนะคะ และการปล่อยลูกร้องไห้ไปอย่างนั้นเรื่อย ๆ จะส่งผลร้ายต่อพัฒนาการของลูกอย่างคาดไม่ถึงเลยค่ะ มาดูกันเลยว่าทำไม
เด็กทารกร้องไห้ มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง
ในเด็กวัยแรกเกิดไปจนถึง 1 ปีแรกนั้น เด็กจะยังสื่อสารกับพ่อแม่ไม่ได้ จึงต้องใช้วิธีการร้องไห้เพียงอย่างเดียว การร้องไห้ของเด็กวัยนี้ เกิดจากสาเหตุหลักๆ คือ รู้สึกหิว รู้สึกเหนื่อยและไม่สบายตัว และเกิดอาการกลัว จากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่รวดเร็วจนเกินไป เป็นต้น เมื่อพ้นช่วงระยะ 3 เดือนไปแล้ว เด็กจะค่อยๆ ปรับตัวได้ และจะร้องไห้น้อยลง เพราะส่วนมากจะร้องไห้เพื่อบอกความต้องการมากกว่าค่ะ
ทารกร้องไห้ เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของเด็กไหม
การร้องไห้ของเด็กไม่ได้เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสมองโดยตรง แต่จะเกิดกับพัฒนาการทางอารมณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของสมองมากกว่าค่ะ เมื่อเด็กร้องไห้ ร้องจนเหนื่อยสะอื้น แล้วยังไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ปลอบโยน ก็จะทำให้เด็กมีอาการเครียดอย่างรุนแรง
และเมื่อเครียด ร่างกายก็จะหลั่งสารเคมีต่างๆ โดยเฉพาะฮอร์โมน "คอร์ติซอล" ที่จะหลั่งอะดรีนาลีนต่อเนื่องมาอีกในปริมาณมาก ซึ่งจะส่งผลกับพัฒนาการของเด็ก และสภาพจิตใจ ถ้าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยครั้ง ก็มีแนวโน้มที่เด็กจะมีอาการของโรคซึมเศร้าตั้งแต่วัยเด็ก และอาจมีพัฒนาการที่ช้าลงกว่าเดิม เพราะสารเคมี เข้าไปขัดขวางการทำงานของเซลล์สมองนั่นเองค่ะ
รู้แบบนี้แล้ว อย่าปล่อยให้ลูกร้องไห้นาน ๆ นะคะ เพื่อความสุขและพัฒนาการที่ดีของลูก ใช้เวลาไม่นานในการปลอบโยนเขาก็หยุดร้องแล้วค่ะ
เด็กทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน ได้รับน้ำจากการดื่มนมอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องดื่มน้ำเพิ่ม เพราะอาจะเสี่ยงลำไส้อักเสบ ไส้เน่าได้
อันตราย! ห้ามลูกทารกกินน้ำ เสี่ยงเกิดภาวะ NEC ลำไส้อักเสบรุนแรง ไส้เน่า
เด็กทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน ได้รับน้ำจากการดื่มนมอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องดื่มน้ำเพิ่ม เรื่องนี้กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีคำแนะนำสำหรับพ่อแม่มือใหม่ว่านมแม่หรือนมผสมเป็นอาหารหลักของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งในนมแม่หรือนมผสมจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากกว่า 80% เด็กจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดื่มน้ำเพิ่มเนื่องจากการให้เด็กกินน้ำจะทำให้อิ่มเร็ว และกินนมได้น้อยลง ส่งผลให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์
นอกจากนี้การให้ลูกทารกดื่มน้ำมากไปยังเสี่ยงกับการเกิดภาวะลำไส้เน่าอักเสบ (Necrotizing Enterocolitis: NEC)
ภาวะลำไส้เน่าอักเสบ (Necrotizing Enterocolitis: NEC) เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อของระบบทางเดินอาหารตายจากการอักเสบจนขาดเลือด มักเกิดบริเวณลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ในทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย และเป็นสาเหตุการตาย และทุพลภาพของทารกแรกเกิดที่พบได้มากที่สุด
ทารกแบบไหนอยู่ในภาวะเสี่ยงโรคลำไส้อักเสบรุนแรง
ทารกคลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักตัวน้อย หากมีการขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณลำไส้ เช่น การมีคะแนนการคลอดตั้งแต่แรกคลอดต่ำ หรือมีภาวะขาดออกซิเจนตั้งแต่แรกคลอด และมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคไปกับนมหรือภาชนะที่ไม่สะอาด หรือมีการให้น้ำนมผสมที่มีความเข้มข้นที่สูง และเพิ่มปริมาณน้ำนมเร็วเกินไปโดยเฉพาะนมผสมที่ไม่ใช่นมแม่ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้
สังเกตอาการลำไส้เน่าในทารก
- ตอนแรกอาจมีเพียงท้องอืด กินนมได้น้อยลง หรือมีน้ำนมเหลือค้างในกระเพาะอาหาร อาเจียนหรือแหวะนมบ่อยๆ ลักษณะอุจจาระเป็นสิ่งสำคัญ หากมีการถ่ายเหลวเป็นมูกหรือมีมูกเลือดปน เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าน่าจะมีสิ่งผิดปกติในลำไส้ของลูกน้อย
- ซึม ไม่ยอมดูดนม ร้องกวน หรือมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายไม่ใช่เฉพาะการมีไข้ แต่อาจจะมีภาวะตัวเย็นร่วมด้วย การสังเกตอาการของคุณแม่มือใหม่ที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักตัวน้อย
คุณแม่อาจสังเกตดูว่า ลูกน้อยกินนมได้ดีเท่าเดิม ไม่มีอาการแหวะนมบ่อย ๆ ท้องไม่อืดอย่างต่อเนื่อง หรือไม่มีลมในกระเพาะปริมาณมาก และเมื่อลูกน้อยกินนมอิ่มก็จะพักหลับได้ประมาณ 3–4 ชั่วโมง แล้วจึงตื่นมาเพื่อกินนมมื้อต่อไป มีการตอบสนองกับคุณพ่อคุณแม่ ด้วยการยิ้ม จ้อง และสบตา ลักษณะของอุจจาระ หากกินนมแม่ในปริมาณมากพอหรือเป็นส่วนใหญ่ อุจจาระจะมีสีเหลืองทอง นิ่ม ไม่มีลักษณะเป็นน้ำ ไม่มีมูกหรือเลือดปน อาจถ่ายได้วันละ 4–6 ครั้ง ถือเป็นภาวะปกติ
วิธีป้องกันอาการลำไส้เน่าในทารก
- ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว เพราะจะมีภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ได้อย่างดี จากการศึกษาหลายแห่งได้ผลตรงกันว่า อุบัติการณ์ของภาวะ NEC นี้ จะลดลงในกลุ่มทารกที่ได้รับน้ำนมแม่ เมื่อเทียบกับทารกที่ได้รับนมผสมอย่างเดียว
- ปรุงอาหารให้สะอาด อาหารเสริมควรให้เมื่อลูกอายุ 6 เดือน หรือตามคำแนะนำของคุณหมอ และควรระวังเชื้อโรคปนเปื้อน ต้องการล้างมือของคนชงนมเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด ขวดนมและจุกนมภายหลังจากต้มในน้ำเดือดอย่างน้อย 15 นาที หรือนึ่งฆ่าเชื้อโรคตามเวลาที่กำหนด ควรเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาครอบ เพื่อป้องกันแมลงและสัตว์นำเชื้อโรคอื่นๆ ที่เราไม่ทันระวังมาสัมผัสได้

ทารกแรกเกิด - 12 เดือนอาจยังบอดความต้องการตัวเองไม่ได้ แต่ลูกทารกสามารถแสดงสีหน้า ท่าทางเพื่อบอกความต้องการของตัวเองได้นะคะ ลองมาเช็กกันหน่อยว่าลูกบอกอะไรเราบ้าง
อ่านความต้องการของทารกจากสีหน้า ท่าทาง พ่อแม่ต้องรู้เพื่อตอบสนองลูกได้ถูกต้อง
- ยิ้มกว้างโชว์เหงือก ส่งเสียงหัวเราะ = หนูกำลังมีความสุข
- สีหน้านิ่งสงบ อมยิ้มนิดๆ = หนูสบายอารมณ์
- หรี่ตาเล็กลง ขมวดคิ้ว จ้องตาเขม็ง = หนูรู้สึกไม่สบายตัว
- สีหน้าเหม่อลอย หันไปทางอื่นเมื่อมีคนเล่นด้วย = หนูเหนื่อยจัง อยากพักแล้ว
- มือเกร็ง ตาเบิกกว้าง ดวงตาไม่สดใส ย่นหน้าผากเล็กน้อย ริมฝีปากปิดแน่น = หนูเครียด กังวล หรือตกใจ
- ริมฝีปากปิด ลืมตา หัวคิ้วมุ่นเข้าหากัน = หนูเหงาและเศร้า
เพียงแค่พ่อแม่รู้และอ่านออกว่าสีหน้าเหล่านี้ลูกกำลังบอกอะไร ก็จะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกได้ตรงจุดที่สุดค่ะ

คุณแม่หลายคนอยากให้ลูก “หัวทุย” สวยได้รูป วันนี้เรามีเคล็ดลับดี ๆ ช่วยเคล็ดลับช่วยลูกหัวสวย ลูกหัวทุย ลูกไม่หัวแบนมาฝากกันค่ะ
เคล็ดลับเด็กหัวทุย นอนท่าไหนไม่เสี่ยงโรคไหลตาย SIDs
ลูกหัวไม่ทุย หรือหัวแบน มีลักษณะอย่างไร
- ทารกที่หัวไม่ทุย จะมีลักษณะกะโหลกศีรษะด้านท้ายทอยแบนราบ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
- ทารกหัวเบี้ยว จะมีลักษณะศีรษะด้านท้ายทอยแบนราบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง
ทำไมลูกหัวไม่ทุย ทำไมลูกหัวแบน
- เกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด มีสาเหตุจากการถูกกดทับของมดลูกต่อกะโหลกท้ายทอยทารกเป็นเวลานาน ส่วนมากเกิดกับคุณแม่ที่มีลูกแฝด หรือสาเหตุมาจากอุปกรณ์ช่วยคลอด เช่น คีม หรือเครื่องสูญญากาศ มักเกิดกับเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมากกว่าเด็กที่คลอดตามปกติ เนื่องจากกะโหลกศีรษะจะมีความอ่อนนุ่มมากกว่า
- เกิดขึ้นหลังคลอด สาเหตุนี้เกิดจากท่านอนของทารกที่กะโหลกศรีษะถูกกดทับจากด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไปจนกะโหลกท้ายทอยแบน หรือเบี้ย;
เคล็ดลับช่วยลูกหัวสวย ลูกหัวทุย ลูกไม่หัวแบน
- แรกเกิด - 3 เดือน ท่านอนที่เหมาะสมที่สุด คือ ท่านอนหงาย และท่านอนตะแคง คุณแม่ควรให้ทารกนอนตะแคงข้างซ้าย - ขวา สลับกันบ่อยๆ เพราะเป็นช่วงที่กะโหลกศีรษะอ่อนที่สุด ยังไม่ควรให้ลูกนอนคว่ำ เนื่องจากกระดูกคอ และกระดูกสันหลังของลูกยังไม่แข็งแรง ทำให้ทารกไม่สามารถยกคอขึ้นเองได้ หากให้ลูกนอนคว่ำทั้งที่ยังไม่พร้อมอาจทำให้ทารกเสียชีวิตขณะนอนหลับจากภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome)
- วัย 4 - 6 เดือน ช่วงนี้ทารกสามารถนอนคว่ำได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากกระดูกคอเริ่มแข็งแรง สามารถยกคอขึ้นเองได้ นอกจากท่านอนคว่ำจะสามารถช่วยให้ลูกหัวทุยเพราะไม่ถูกกดทับจากการนอนแล้วยังช่วยลดอาการนอนสะดุ้ง หรือผวาในทารกได้อีกด้วย
- วัย 7 - 12 เดือน ทารกวัยนี้สามารถนอนหงาย นอนตะแคง และนอนคว่ำได้ทั้ง 3 ท่า เนื่องจากทารกสามารถพลิกตัวได้แล้ว
ทิปส์ : การใช้เปลอุ้มเด็กก็สามารถช่วยให้ลูกหัวทุยได้ เนื่องจากการใช้เปลอุ้มเด็กโดยการให้ลูกหันหน้าเข้าหาพ่อ หรือแม่จะช่วยให้ศีรษะลูกเป็นอิสระ ไม่ถูกกดทับ
ลูกทารกวัย 6-12 เดือนมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง และพ่อแม่จะส่งเสริมพัฒนาการได้อย่างไรให้ลูก เช็กกันได้ที่บทความนี้
เช็กพัฒนาการทางร่างกายที่สำคัญของลูกทารกวัย 6-12 เดือน
พัฒนาการเด็กทารกอายุ 6 เดือน
- พลิกคว่ำเองได้คล่อง
- ชันตัวได้ในท่านอนคว่ำเหมือนพยายามโหย่งตัว
- ทรงตัวในการนั่งได้ดีแต่ต้องมีหมอนพิง
- จับถือขวดนมหรือของเล่นได้อยู่มือ
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 6 เดือน
- เตรียมพื้นที่คลานให้ลูกด้วยแผ่นรองคลานหรือผ้านุ่มๆ
- วางหมอนป้องกันไว้รอบๆ พื้นที่เพื่อไม่ให้ลูกพลิกแล้วตกที่นอนหรือแผ่นรอง
- หมั่นตรวจดูผ้าอ้อมลูกไม่ให้ตุง เพราะถ้าผ้าอ้อมตุง หนัก บวม จะทำให้ลูกพลิกตัวยาก
---------------------------------------------------------
พัฒนาการเด็กทารกอายุ 7 เดือน
- ยันตัวในท่าคลานหรือเริ่มคืบไปข้างหน้าได้ทีละนิด
- จับของเพื่อดึงตัวเองขึ้นยืนได้
- อาจยกตัวขึ้นนั่งได้จากท่านอน
- ถ้ามีคนพยุงจะยืนทรงตัวและก้าวขาสั้นๆ ได้
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 7 เดือน
- จัดการกับเหลี่ยมมุมในบ้าน โต๊ะ เก้าอี้ ปลั๊กไฟเพื่อให้ลูกไม่ให้ลูกคืบหรือเกาะไต่ไปโดน
- ควรลองพาลูกไปหัดคลานหรือเดินนอกบ้าน เช่น ในสวน เพื่อให้เขาได้สัมผัสธรรมชาติและสนุกกับการคลานมากขึ้น
- เลือกเสื้อผ้าที่ไม่รุงรัง ไม่รัดจนทำให้ลูกคลานหรือยืนไม่คล่องตัว
---------------------------------------------------------
พัฒนาการเด็กทารกอายุ 8 เดือน
- คลานได้
- ยืนเกาะไต่และก้าวขาไปได้เรื่อยๆ ทีละก้าวสั้นๆ
- นั่งได้มั่นคง ไม่ล้มหงายหลัง ไม่ต้องมีหมอนพิง
- สามารถเปลี่ยนจากการคลานไปนั่งเองได้ด้วยการยันแขนขึ้น
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 8 เดือน
- ควรจัดพื้นที่คลานในบ้านให้กว้างขึ้น เช่น ย้ายเฟอนิเจอร์ ปูพื้นที่คลาน หรือส่วนไหนที่คลานไปไม่ได้ก็ให้หาฉากหรือคอกกั้น
- จับมือพยุงให้ลูกยืนและก้าวเดินบ่อยๆ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่จะช่วยให้ขาลูกแข็งแรงและพัฒนาการเดินได้ไวขึ้น
- เลือกผ้าอ้อมที่กระชับกับตัวลูก เพื่อให้ลูกคลานได้คล่องตัว ไม่เกิดการเสียดสี
---------------------------------------------------------
พัฒนาการเด็กทารกอายุ 9 เดือน
- คลานคล่องแคล่ว คลานไว หรืออาจคลานขึ้นบันไดได้
- จับของยืนเองได้และยืนได้นานโดยไม่มีคนพยุง
- บางคนลุกยืนเองได้โดยไม่ต้องจับเครื่องเรือน
- นั่งลงได้จากท่ายืนโดยไม่ล้ม
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 9 เดือน
- ช่วงนี้ควรเลือกผ้าอ้อมแบบกางเกงที่บางกระชับ เพื่อให้ลูกเคลื่อนไหวได้แบบไม่ติดขัด
- จับให้ลูกได้เกาะโซฟาแล้วไต่เดินเองเพื่อเพิ่มพลังขา
- ช่วงที่จะใส่กางเกงให้ลูกถือเป็นจังหวะฝึกยืน โดยให้ลูกยืนเกาะไหล่แม่พยุงตัวไว้และใส่กางเกงแทนการนั่งใส่เหมือนเดิม
---------------------------------------------------------
พัฒนาการเด็กทารกอายุ 10 เดือน
- ลุกขึ้นยืนจากท่านั่งได้โดยไม่ต้องจับเครื่องเรือน
- ยืนได้โดยไม่ต้องจับอะไร
- เดินได้หลายก้าวขึ้นแต่ยังต้องจับเครื่องเรือนไต่เดินไปรอบๆ
- ปีนขึ้นลงเก้าอี้เองได้
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 10 เดือน
- ร้องเรียกหรือปรบมือให้ลูกเดินเข้ามาหาเพื่อฝึกการเดินให้มั่นคง
- บอกให้ลูกลองลุกนั่งบ่อยๆ เพื่อฝึกการทรงตัวจากการยืนนั่งและนั่งยืน
- ลองนำของเล่นที่เขาชอบไปวางไวในมุมปลอดภัยต่างๆ หรือในสวน แล้วให้เขาเดินไปหยิบเพื่อฝึกการมอง การเดิน การทรงตัว
---------------------------------------------------------
พัฒนาการเด็กทารกอายุ 11 เดือน
- เดินได้เองโดยจับมือคนอื่นหนึ่งหรือสองมือ
- ลุกขึ้นยืนจากท่านั่งยองๆ ได้
- ลุกขึ้นยืนได้โดยใช้มือยันพื้นแล้วดันตัวขึ้นยืนตรง
- จับของเล่นส่งต่อมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่งได้โดยของไม่ตก
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 11 เดือน
- เดินจูงมือลูกให้ก้าวเดินไปพร้อมกับแม่เพื่อกระตุ้นความสนุกและอยากเคลื่อนไหว
- หาของเล่นที่มีพื้นผิวและขนาดที่หลากหลายเพื่อให้ลูกได้จับและส่งจากมือหนึ่งไปมือหนึ่งได้คล่องมากขึ้น
---------------------------------------------------------
พัฒนาการเด็กทารกอายุ 12 เดือน (1 ขวบ)
- ลุกนั่งได้คล่องแคล่ว
- คลานขึ้นลงบันไดได้
- ใช้มือขณะเดินได้ เช่น โบกมือ ถือของ
- เริ่มก้าวได้ก้าวขึ้น เร็วขึ้นจนเกือบเหมือนวิ่งเพราะสนุกที่จะเดินไปหาของที่อยากไปเล่น
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 12 เดือน (1 ขวบ)
- ช่วงนี้ลูกจะสนุกกับการคลาน แม่ควรเลือกเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีเพื่อระบายความร้อนจากร่างกาย
- ควร เลือกผ้าอ้อมที่ซึมซับได้ดีเพื่อให้ลูกคลานได้นานขึ้นและไม่รั่วซึม รวมถึงควรเป็นผ้าอ้อมที่ไม่ตุงเทอะทะ เพราะน้ำหนักของผ้าอ้อมอาจจะถ่วงให้ลูกคลานได้ช้าลง ไม่สบายตัว
เชื่อกันว่า ถ้าทารกไม่มีดั้ง ให้รีบดึงดั้งตั้งแต่เด็ก ๆ จะช่วงให้ดั้งโ่งจมูกสวย แต่รู้ไหมคะว่าเรากำลังทำให้ลูกบาดเจ็บและดั้งไม่โด่งด้วย
เมื่อลูกทารกดั้งแหมบ ลูกทารกไม่มีดั้ง แม่ห้ามดึงดั้งเด็ดขาด
เด็กทารกเมื่อคลอดใหม่ ๆ จมูกมักจะแบน และเมื่อโตขึ้นก็จะโด่งขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งจมูกจะโด่งแค่ไหนนั้นก็ขึ้นกับกรรมพันธุ์ด้วย แต่ก็มักจะมีความเชื่อว่าถ้าบีบจมูกเด็กบ่อยๆ จะทำให้จมูกโด่งได้ อันที่จริงแล้วการบีบหรืองัดจมูกของลูกให้ดูโด่งนั้น เป็นเรื่องที่อันตรายอยู่พอสมควรค่ะ
เมื่อทารกไม่มีดั้ง ดั้ังแหมบ ห้ามดึงดั้งทารกเด็ดขาดค่ะ เพราะการบีบจมูกลูกแรง ๆ อาจทำให้จมูกของลูกอักเสบหรือบวมได้ (หลายคนอาจเข้าใจว่าลูกจมูกโด่ง แต่จริง ๆ อาจเป็นเพราะจมูกบวมมากกว่า) ทำให้หายใจไม่สะดวก และเด็กทารกที่ยังหายใจทางปากไม่เป็นก็มีโอกาสขาดอากาศหายใจได้ค่ะ
แป้งเด็กที่ปลอดภัยสำหรับเด็กต้องเลือกอย่างไร แป้งเด็กไม่มีทัลคัมคือตัวเลือกที่ดีสำหรับแม่ที่ชอบทาแป้งเด็กให้ลูกค่ะ
เลือกแป้งเด็กอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่มีแร่ใยหิน ไม่มีทัลคัม
จากกรณีที่ข่าวต่างประเทศรายงานว่าองค์การอาหารและยาสหรัฐ ได้ตรวจพบ "แร่ใยหิน" ประเภทไครโซไทล์ (chrysotile asbestos) ในแป้งเด็กที่ผลิตจากทัลคัมยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเยื่อหุ้มปอด ก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนห่วงเรื่องความปลอดภัยของลูก จนกังวลที่จะใช้แป้งเด็กไปเลยใช่ไหมคะ
แต่อย่ากังวลมากไปค่ะ เพราะสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประเทศไทย ระบุว่า แป้งเด็กล็อตที่ตรวจพบแร่ใยหิน ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทยค่ะ
"แร่ทัลคัม” ในแป้งเด็ก คืออะไร
แร่ทัลคัม (talcum) หรือทัลก์ คือแร่หินสบู่ที่มีความอ่อนมาก เป็นสารอนินทรีย์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ นิยมใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเครื่องสำอาง เช่น แป้งและบลัชออนทาแก้ม เพราะมีคุณสมบัติช่วยผสมผสานทำให้ผิวเนียนลื่น ดูดซึมซับความชื้นในผิวหนัง ซึ่งถ้าหากใช้ไม่ระมัดระวังหรือสูดเข้าไปเป็นจำนวนมากเวลานาน อาจจะเกิดการสะสม และอาจทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง หรือโรคอันตรายร้ายแรงอื่น ๆ ได้ค่ะ
หากคุณพ่อคุณแม่ชอบใช้แป้งฝุ่นกับลูก ๆ เป็นประจำ เพราะอยากให้ลูกรู้สึกแห้งสบายตัวในทุก ๆ วัน แต่ก็ยังกังวลเรื่องแร่ทัลคัม ก็สามารถเลือกแป้งที่ปราศจากทัลคัมเพื่อความอุ่นใจได้นะคะ เพราะมีแป้งบางยี่ห้อในท้องตลาดที่ไม่ได้มีส่วนผสมของทัลคัม แต่ใช้ส่วนผสมของแป้งข้าวเจ้า ที่เป็นสารอินทรีย์ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันความเปียกชื้นได้ดีกว่าและมีความละเอียดอ่อนต่อผิวดีมากเลยค่ะ
เลือกแป้งฝุ่นสำหรับเด็กอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อลูก
- ก่อนเลือกซื้อต้องอ่านฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อดูส่วนผสมต่าง ๆ ในแป้งทุกครั้ง
- เลือกแป้งเด็กที่ผลิตจากแป้งข้าวเจ้าแทนส่วนผสมของทัลคัม (Talcum) เพื่อความปลอดภัยและสามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ไม่ตกค้างในร่างกาย
- แป้งเด็กไม่มีควรมีส่วนผสมของน้ำหอม ป้องกันการระคายเคือง
- เลือกแป้งเด็กที่มีคุณสมบัติป้องกันความเปียกชื้นได้ เพื่อความแห้งสบายตัวของลูก
- เลือกแป้งเด็กที่ผ่านการทดสอบว่าไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ (Hypoallergenic)
- ระมัดระวังอย่าให้แป้งเข้าจมูก และปากของลูก ๆ
- อย่าให้ลูกสูดดมแป้งเข้าไปจำนวนมากโดยตรง หรือใช้แป้งเด็กแบบพัฟ ลดการฟุ้งกระจายได้
- ไม่ควรใช้แป้งโรยสะดือเด็กแรกเกิด
แป้งเด็กช่วยแก้ปัญหาการอับชื้น การเกิดผดผื่นคัน และผดผื่นร้อนจากอากาศร้อนชื้นแบบบ้านเราได้เป็นอย่างดีเลยนะคะ แต่แนะนำว่าควรทาแป้งเด็กอย่างถูกวิธี ในปริมาณที่เหมาะสม เน้นแป้งที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติล้วน และต้องผ่านการทดสอบว่าไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ แค่นี้คุณพ่อคุณแม่ก็มั่นใจได้แล้วค่ะ ว่าปลอดภัยต่อลูกแน่นอน
ตรวจสอบข้อมูลโดย นพ.ชาญสิริ เสกสรรค์วิริยะ
โสต ศอ นาสิกแพทย์ โรงพยาบาลนครธน
(พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์)
โรค 4S เป็นโรคติดเชื้อในทารกที่เชื้อโรคอาจทำให้เกิดโรคในอวัยวะอื่น ๆ ตามมา เป็นโรคอันตรายสำหรับลูกทารกของเราค่ะ
โรค 4S โรคติดเชื้อในทารกที่พ่อแม่ต้องระวังเรื่องความสะอาดเป็นอันดับหนึ่ง
โรค 4S คือโรคอะไร
สตาฟิโลค็อกคอล สเกลด์ สกิน ซินโดรม หรือ Staphylococcal scalded skin syndrome (SSSS) โรค 4S เป็นโรคติดเชื้อทางผิวหนัง ที่ชื่อว่า สตาฟิโลค็อกคอล ออเรียส (Staphylococcal aureas) เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตามผิวหนังของคนเราทั่วไป มีโอกาสเกิดขึ้นบ่อย โดยเฉพาะเด็กทารกแรกเกิดหรือเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เนื่องจากชั้นผิวหนังของเด็กเล็กยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งนอกจากจะได้รับเชื้อจากผิวหนังของตนเองแล้ว เด็กยังมีโอกาสรับเชื้อจากการสัมผัสตัวของผู้ใหญ่ด้วยค่ะ
ลักษณะอาการของโรค 4S ในทารก
- มีไข้สูง ร้องกวน ผิวหนังแดงทั้งตัว โดยเฉพาะที่ดวงตาและรอบปากรอบจมูกและลำคอ ภายใน 24-48 ชั่วโมง จะมีแผลพุพอง เป็นตุ่มน้ำ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันทีลูกจะเกิดภาวะผิวหนังสูญเสียน้ำ เมื่อถูบริเวณผิวจะมีการลอกหลุดได้ง่าย หรือที่เรียกว่า Nikosky’s sign positive ลักษณะคล้ายผิวไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก
- ลักษณะที่สำคัญของการติดเชื้อ Staphylococcal aureas อาจเกิดได้ตั้งแต่อวัยวะชั้นตื้นๆ เช่น ผิวหนัง ชั้นใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะที่ลึกลงไป เช่น กระดูกและข้อ ไต ตับ เชื้ออาจจะสามารถหลุดเข้าสู่ระบบเลือดหรือแพร่กระจายทางเลือดโดยตรง ทำให้เกิดโรคที่อวัยวะต่างๆ เช่น กระดูก ปอด และลิ้นหัวใจ
การรักษาโรค 4S ในทารก
เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดคลุมเชื้อแบคทีเรีย S.aureus ระวังปัญหาการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ทางผิวหนัง รวมทั้งให้ยาทาผิวหนัง ส่วนใหญ่ผิวหนังจะหายเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์ โดยไม่มีแผลเป็นที่
การรักษาอาจต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่หายเป็นปกติแน่นอน ในระยะที่ผิวลอกหมอจะให้ใช้ยาทาเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ที่สำคัญโรคนี้จะต้องดูแลให้ถูกวิธี เพราะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน อย่างการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมาก นอกจากนี้ถ้าได้รับการรักษาช้า เชื้อดื้อยา หรือมีการติดเชื้อที่รุนแรง เชื้อแพร่กระจายเข้ากระเเสเลือดก็เสียชีวิตได้เช่นกัน
การป้องกันโรค 4S ในทารก
- ให้ลูกกินนมแม่ตั้งแรกเกิดจนถึง 6 เดือน หรือนานที่สุด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก
- อุปกรณ์ ข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้าของลูก ต้องสะอาดอยู่เสมอ
- ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำยาฆ่าเชื้อที่แพทย์รับรองว่าปลอดภัยสำหรับเด็กในการทำความสะอาดเสื้อผ้า ของใช้ และร่างกายของเด็ก
- ควรตัดเล็บลูกให้สั้น เพื่อป้องกันการขีดข่วนผิวหนังให้เป็นแผล ซึ่งเป็นช่องทางที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายลูก
- ก่อนสัมผัสเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ควรล้างมือด้วยสบู่ฆ่าเชื้อและเช็ดทำความสะอาดให้แห้ง
- อย่าให้คนแปลกหน้า กอด หอม หรือจับบริเวณใบหน้าของลูก
- สำหรับเนอสเซอรี่ที่รับเลี้ยงเด็ก ควรเป็นแหล่งปลอดเชื้อ ถูกสุขลักษณะ มีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเป็นประจำ
- พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในบ้านควรดูแลสุขลักษณะ ไม่ควรใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปในที่ที่แออัดและผู้คนพลุกพล่าน เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก
ไขแผ่นบางๆ สีขาวขึ้นบนหนังศีรษะ เมื่อถูหรือสะกิดตอนอาบน้ำจะหลุด แต่ขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ แบบนี้จะทำอย่างไีร คุณหมอผิวหนังเด็กมีคำแนะนำ
ไขบนหัวลูกทารกเกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร
ทำไมลูกทารกมีไขบนหัว
- ต่อมไขมันอักเสบ
เรื่องนี้คุณหมอต้องถามเพิ่มเติมว่า ลูกมีสะเก็ดเหลือง ๆ หรือน้ำตาลอ่อน ๆ มาตั้งแต่อายุ 1-2 เดือน และมีผื่นแดง ๆ มีขุยขาว ๆ ตามใบหู แก้ม ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบด้วยหรือเปล่า ถ้ามีแต่ตอนนี้เหลือเฉพาะแผ่นบาง ๆ สีขาวที่ศีรษะ ที่อื่นหายไปแล้ว ก็น่าจะเป็นต่อมไขมันอักเสบในทารก ซึ่งเป็นผลจากสาเหตุหนึ่งคือ ต่อมไขมันถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนจากแม่ขณะตั้งครรภ์ ทำให้ต่อมไขมันทำงานมากขึ้น เติบโตมาก ผลิตไขมันออกมามาก เกิดการอุดตันของท่อมไขมัน ทำให้ผิวหนังที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ศีรษะ ใบหน้า ใบหู ซอกคอและซอกข้อพับต่างๆ เกิดเป็นผื่นแดงและมีขุยขาวๆ ซึ่งอาการจะค่อยดีขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น เพราะต่อมไขมันจะเริ่มฝ่อลงเรื่อยๆ บางรายอาการจะหายเมื่ออายุ 3-6 เดือน แต่รายที่เป็นมากอาจใช้เวลานานกว่านั้น
- เชื้อราที่ศีรษะ
ในกรณีที่มีแผ่นขาว ๆ บาง ๆ ขึ้นที่ศีรษะเท่านั้น ไม่มีผื่นที่อื่นเลย ก็ต้องดูว่า ลูกมีอาการคันศีรษะ หรือผมร่วงด้วยหรือไม่ อาจจะเป็นเชื้อราที่ศีรษะ ซึ่งต้องพิสูจน์ดูว่าใช่เชื้อราหรือไม่ โดยการขูดเอาแผ่นหรือสะเก็ดไปตรวจหาเชื้อรา หรือใช้กล้องยูวี(Wood’s Lamp) ตรวจดูคร่าว ๆ
- หนังศีรษะแห้ง
อีกสาเหตุหนึ่งคือ หนังศีรษะแห้ง ลอกเป็นแผ่นบาง ๆ ได้
การแก้ไขปัญหาไขบนหัวลูกทารก
- ขั้นแรกลองใช้เบบี้ออยล์นวดศีรษะทิ้งไว้สัก 1-2 ชั่วโมง แล้วสระผม จะทำให้สะเก็ดบาง ๆ หลุดหมดได้
- ถ้าเป็นเชื้อรา (ซึ่งควรพบแพทย์ให้การวินิจฉัย) ก็ต้องให้ยาสำหรับเชื้อรา
- ถ้าเป็นต่อมไขมันอักเสบอุดตัน สระผมเอาสะเก็ดออก
- ถ้าหนังศีรษะอักเสบแดง ๆ เรื่อๆ อาจใช้สเตียรอยด์ครีมฤทธิ์อ่อนๆ ทาบางๆ ก็จะดีขึ้น และหายหมดเมื่อต่อมไขมันฝ่อไปหมด ซึ่งมักไม่เกิน 1 ปีค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศ.เกียรติคุณ พญ.สุจิตรา วีรวรรณ
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังเด็ก
ที่ปรึกษากรรมการชมรมแพทย์ผิวหนังเด็ก