facebook  youtube  line

10 วิธีทำให้ลูกทารกอารมณ์ดี พัฒนาการ EQ ตั้งแต่เป็นทารก

ทารก อารมณ์ดี, วิธีทำให้ ทารก อารมณ์ดี, ลูกอารมณ์ดี, วิธีทำให้ ลูกอารมณ์ดี, เด็กอารมณ์ดี ทำยังไง, เด็ก EQ, พัฒนาการทางอารมณ์, กิจกรรม ทารก อารมณ์ดี, กิจกรรม เด็กอารมณ์, ทำยังไงให้ เด็ก ทารก อารมณ์ดี

การทำให้ลูกน้อยอารมณ์ดี จะส่งผลให้ลูกมีพัฒนาการสมองที่ดี พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มาเรียนรู้ 10 วิธีทำให้ลูกทารกอารมณ์ดีแบบง่าย ๆ กันค่ะ ทำได้ทุกวัน ลูกได้พัฒนา EQ

10 วิธีทำให้ลูกทารกอารมณ์ดี พัฒนาการ EQ ตั้งแต่เป็นทารก

การทำให้ลูกน้อยอารมณ์ดี ร่าเริงสดใส จะส่งผลไปสู่การพัฒนาการที่ดีของสมอง ลูกน้อยจะพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การจะทำให้ลูกน้อยอารมณ์ดีไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ เพียงเริ่มจากตัวคุณพ่อคุณแม่ก่อน การที่สิ่งแวดล้อมทำให้ลูกมีความสุข ลูกก็จะมีความสุขตามไปด้วย

  1. พ่อแม่ต้องไม่แสดงอารมณ์หงุดหงิด ตวาดใส่ลูกอย่างไม่มีเหตุผล

  2. ไม่แหย่ให้ลูกโมโห บางคนชอบแหย่ให้เด็กร้อง และคิดว่าไม่เป็นไร โอ๋แป๊บเดียวก็หาย แต่จริงๆ การทำแบบนี้จะทำให้ลูกขาดความมั่นคงทางอารมณ์ และแสดงออกด้วยอาการหงุดหงิด กลายเป็นเด็กอารมณ์ไม่ดี

  3. เล่นกับลูกบ่อยๆ เช่น เล่นจ๊ะเอ๋ ปูไต่ เป็นต้น แสดงสีหน้าแบบต่างๆ หรือทำเสียงแปลก แค่การเล่นง่ายๆ แค่นี้ลูกก็สนุก หัวเราะชอบใจแล้ว

  4. สัมผัสที่อ่อนโยนของแม่มีผลต่อการพัฒนาสมอง กอดลูกบ่อยๆ ลูบหลัง ลูบท้องกล่อมนอน หรือลองใช้การนวดเบาๆ ไปบนตัวลูก จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และทำให้ลูกรู้สึกถึงสัมผัสที่อบอุ่นของแม่ และจะเป็นเด็กที่มีอารมณ์มั่นคง

  5. ใช้ดนตรีกล่อมลูก เพลงจังหวะสบายๆ จะช่วยให้ลูกอารมณ์ดี นอนง่าย หรือคุณแม่ลองชวนลูกร้องเพลงขณะอาบน้ำก็จะเป็นการสร้างบรรยากาศที่ครื้นเครงอีกด้วย

  6. นอนหลับให้เพียงพอ ยิ่งลูกวัย 1-2 ปี ควรนอนให้ได้ 11-12 ชั่วโมง เพราะถ้านอนไม่อิ่มเขาจะหงุดหงิด ดังนั้นพ่อแม่ควรพาลูกเข้านอนให้เป็นเวลา ไม่ทำเสียงดังรบกวนการนอนของลูก และเวลาปลุก ควรปลุกเบาๆ อย่าใช้เสียงดัง เพราะอาจทำให้เขาร้องไห้ตกใจได้

  7. พาไปท่องเที่ยวโลกกว้าง ลูกได้พบเจอสิ่งใหม่ๆ รู้สึกตื่นตาตื่นใจ ระหว่างที่ไปเที่ยวพ่อแม่ก็อธิบายสิ่งที่พบเห็น ได้พูดคุยใกล้ชิดกัน หัวเราะไปด้วยกัน ลูกก็มีความสุขแล้ว

  8. ลูกต้องกินอิ่ม เพราะความหิวเป็นสาเหตุที่ทำให้หงุดหงิดงอแง ดังนั้นพ่อแม่ต้องเตรียมอาหารให้พร้อม เมื่อถึงเวลาอาหารอย่าปล่อยให้หิว ถ้าต้องออกไปข้างนอก ควรเตรียมของว่างที่มีประโยชน์ไปด้วย ให้เขาได้กินรองท้อง

  9. ระวังอย่าให้ลูกกินของหวานเยอะ เพราะการที่เด็กกินของหวานมากเกินไปจะทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูง สมองจะสั่งการให้หลั่งอินซูลินออกมาเพื่อปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดลง ตับอ่อนก็จะทำงานหนักขึ้น เมื่อมีอินซูลินในสมองมาก ก็จะทำให้เกิดอาการเครียด หงุดหงิดขึ้นได้

  10. ดูแลเรื่องกินอาหารด้วยโภชนาการที่ครบถ้วน เพราะการมีโภชนาการดี ลูกก็จะมีสุขภาพที่ดี สบายตัว ไม่หงุดหงิดหรืออารมณ์บูดง่ายๆ ดูแลให้ลูกได้รับสารอาหารที่ครบ 5 หมู่ ปรุกสุกใหม่อยู่เสมอ วัตถุดิบมีความสด สะอาด รวมถึงภาชนะที่ใส่อาหารของลูกด้วย และอย่าลืมเสริมด้วยนมแพะวันละ 2 แก้วทุกวันเช้า-เย็น เพื่อสารอาหารครบถ้วนและเพิ่มพลังสมองพร้อมเรียนรู้ในทุกวัน เพราะนมแพะมีระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ ที่ให้สารอาหารครบถ้วนจากธรรมชาติ มีความเป็นธรรมชาติและมีประโยชน์สูง มีปริมาณโปรตีนก่อแพ้น้อย อีกทั้งโปรตีนในนมแพะยังเป็นโปรตีนที่ย่อยและดูดซึมได้ง่าย จึงช่วยลดอาการท้องผูกและช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ลูกรักจึงเติบโตแข็งแรงพัฒนาการสมวัยค่ะ  

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก นมแพะ DG

ติดตามความรู้เรื่องนมแพะ การสร้างภูมิคุ้มกัน และวิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ที่ www.dgsmartmom.com และ www.facebook.com/dgsmartclub

12 สาเหตุที่ทำให้ลูกทารกงอแง ร้องไห้บ่อย

probiotic ยี่ห้อไหนดี, โพรไบโอติก, LPR โพรไบโอติก, ทารกงอแง, ทารกร้องไห้, ทำไมลูกทารกร้องไห้บ่อย, ทำไม ทารกร้องไห้กลางคืน, ทำไมทารกร้องไห้ไม่หยุด, ทำไมทารกงอแง, ทารก ร้องไห้ทำไม, ทารก ร้อง หมายถึงอะไร, ทารก ร้องบอกความต้องการ, ทำยังไง ให้ ทารกหยุดร้อง งอแง
 
 เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมลูกทารกเรางอแง ร้องไห้บ่อย การร้องงอแงของลูกทารกเป็นการบอกพ่อแม่ว่าเขากำลังต้องการความช่วยเหลือบางอย่าง และนี่คือสาเหตุที่ลูกทารกร้องไห้งอแงบ่อยค่ะ

12 สาเหตุที่ทำให้ลูกทารกงอแง ร้องไห้บ่อย

  1. หิว สิ่งแรกที่คุณแม่ควรนึกถึงเวลาที่ลูกร้อง อาหารสำหรับเด็กวัยแรกเกิด ก็คงหนีไม่พ้นนมแม่ใช่ไหมคะ? ซึ่งในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดที่นอกจากจะทำให้ลูกอิ่มแล้วยังมีสารอาหารและประโยชน์อีกมาก ทั้งยังมีจุลินทรีย์ดีหลายชนิดที่สามารถพบได้ในนมแม่ที่ทำหน้าช่วยปรับสมดุลในระบบทางเดินอาหาร และระบบย่อยให้ทำงานได้เป็นอย่างดี

    หนึ่งในโพรไบโอติกเหล่านั้น ที่อยากแนะนำให้แม่ ๆ ได้รู้จักก็คือ LPR จุลินทรีย์โพรไบโอติก ที่มีงานวิจัยทางการแพทย์รับรองมากที่สุด LPR โพรไบโอติก ได้รับคำแนะนำระดับ Grade A สำหรับประโยชน์ในเรื่องของภูมิคุ้มกันจาก The consensus opinions from the 4th Triennial Yale/Harvard Workshop on Probiotics Recommendations (2015) ให้เป็นหนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในเรื่องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และเป็นหนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบในนมแม่ โยเกิร์ต และนมบางชนิด โดยมีงานวิจัยรองรับในหลากหลายด้านรวมถึง เป็นตัวช่วยที่ดีในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อย และการขับถ่าย

    นอกจากนี้ LPR ซึ่งเป็นโพรไบโอติก ยังช่วยปกป้องร่างกายโดยช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ส่งเสริมให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้เต็มที่ ระบบภูมิคุ้มกันก็แข็งแกร่ง ร่างกายก็เติบโต แข็งแรงสมวัย

  2. ผ้าอ้อมสกปรก เช็กง่ายๆ ด้วยการจับที่ผ้าอ้อมหรือดมกลิ่น

  3. ง่วงนอน เขาจะใช้การร้อง เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่ต้องการจะบอกคุณแม่

  4. ต้องการให้อุ้ม บางทีเขาต้องการเห็นใบหน้าของพ่อแม่ ได้ยินเสียง กลิ่น หรือการเต้นของหัวใจของคุณแม่

  5. รู้สึกไม่สบายท้อง ซึ่งอาการมักจะพบมากในเด็กที่เริ่มทานอาหารตามวัย เนื่องจากลำไส้อาจยังทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงอาจส่งผลให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย หรือย่อยได้ไม่ดี และอาจขับถ่ายได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งทำให้เด็กมีอาการท้องอืด ท้องผูก ปวดท้องและงอแงได้ ซึ่งคุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เพื่อศึกษาวิธีนวดที่ถูกต้องเหมาะสม และนำมานวดให้ลูกที่ท้องเบาๆ หรือใช้น้ำมันสมุนไพรขับลมสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ให้ช่วยขับลมเพื่อ ลดอาการท้องอืด

  6. อยากเรอ เนื่องจากระหว่างที่กินนม อากาศจะไหลเข้าไปในกระเพาะอาหารทำให้เกิดลม หรือแก๊สได้ ส่งผลให้ลูกไม่สบายท้อง อึดอัด ให้จับเขาพาดบ่าลูบหลังเบา ๆ สักพักจนเรอ

  7. เย็นเกินไปหรือร้อนเกินไป สังเกตอุณหภูมิห้องว่าร้อนเกินไปหรือหนาวเกินไป

  8. อึดอัด ตรวจดูเสื้อผ้าว่าแน่นเกินไปหรือไม่

  9. ฟันขึ้น ฟันที่กำลังจะพ้นจากเหงือกทำลูกรู้สึกเจ็บปวด อาจช่วยได้โดยทาเจลสำหรับฟันขึ้นที่เหงือก แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือทันตแพทย์ก่อนนะคะ

  10. ต้องการความสงบ บางทีเขารู้สึกอยากพักผ่อน จากการประมวลแสง สี เสียง ที่เห็นจากโลกภายนอก

  11. ต้องการเปลี่ยนสถานที่ บางทีเขาอาจเบื่อกับที่เดิมๆ ให้ลองพาออกไปเดินเล่นที่อื่นบ้าง

  12. ไม่สบาย ให้ตรวจอุณหภูมิหรือสภาพร่างกายของเขาว่ามีไข้หรือไม่ หากมีอาการผิดปกติควรพาไปพบแพทย์ทันที

 

สนับสนุนสุขภาพลูกน้อยโดย Mommy Bear Club

probiotic ยี่ห้อไหนดี, โพรไบโอติก, LPR โพรไบโอติก, ทารกงอแง, ทารกร้องไห้, ทำไมลูกทารกร้องไห้บ่อย, ทำไม ทารกร้องไห้กลางคืน, ทำไมทารกร้องไห้ไม่หยุด, ทำไมทารกงอแง, ทารก ร้องไห้ทำไม, ทารก ร้อง หมายถึงอะไร, ทารก ร้องบอกความต้องการ, ทำยังไง ให้ ทารกหยุดร้อง งอแง

 

      Reference:

  1. Floch MH, et. al. J Clin Gastroenterol 2015; 49:S69-S73
  2. Lara-Villoslada F, et al. Br J Nutr. 2007 Oct;98 Suppl 1:S96-100.
  3. Sun J, et al. J Dairy Sci. 2019 Jul;102(7):5971-5978.
  4. Fox MJ, et al. BMJ Open. 2015 Jan 14;5(1):e006474
  5. Hojsak I, et. al. Clin Nutr. 2010 Jun;29(3):312-6.
  6. Kort R, et. al., Microb Cell Fact. 2015 Dec 8;14:195.

 

20 ความมหัศจรรย์ของลูกทารกวัยขวบปีแรกที่แม่ไม่เคยรู้มาก่อน

ลูกทารกมีการเติบโตที่มหัศจรรย์มาก และนี่คือ 20 เรื่องเกี่ยวกับการเติบโตของทารก หากพ่อแม่รู้จะสามารถส่งเสริมพัฒนาการตามวัยได้อย่างถูกต้องแน่นอนค่ะ 

20 ความมหัศจรรย์ของลูกทารกวัยขวบปีแรกที่แม่ไม่เคยรู้มาก่อน

  1. มหัศจรรย์แห่งความรักที่คุณพ่อคุณแม่มอบให้ลูก จะทำให้สมองลูกเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งมีหลักฐานวิทยาศาสตร์รับรอง

  2. 50% ของการนอนต่อ 1 ชั่วโมงของทารก จะเป็นการหลับลึก ในขณะที่การนอนของผู้ใหญ่หลับลึกเพียง 50% 

  3. หลังอายุ 6 สัปดาห์ ทารกจะมองหน้า สบตาคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว

  4. หลังอายุ 6 เดือน ลูกเริ่มเรียนรู้จากการอ่านปากของคุณพ่อคุณแม่

  5. สมองของทารกจะพัฒนาถึง 60% เทียบกับขนาดสมองผู้ใหญ่เมื่ออายุครบ 1 ปี

  6. ทารกจะสูงขึ้น 1-1.30 นิ้ว ทุก ๆ เดือน

  7. ทารกอายุ 6-12 เดือน เม็ดสีในดวงตาจะทำงานและจะเป็นสีถาวร

  8. ทารกจะยิ้มให้คุณพ่อคุณแม่จากใจเป็นครั้งแรกในช่วงอายุ 4-6 เดือน ช่วงนี้ห้ามพลาดเลยนะคะ 

  9. ทารกเกิดมาโดยไม่มีกระดูกสะบ้าหัวเข่า แต่จะค่อย ๆ เจริญเติบโตในส่วนนี้ได้ดีขึ้นหลังอายุ 6 เดือนขึ้นไป 

  10. ทารกกลืนและหายใจในเวลาใกล้เคียงกันได้กระทั่งอายุครบ 7 เดือน

  11. น้ำหนักของทารกจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในระยะ 5 เดือนตั้งแต่เกิด

  12. ทารกแรกเกิดจะร้องไห้หนักหน่วงแบบไม่มีน้ำตา เฉพาะ 1-3 เดือนเท่านั้น

  13. ทารกเกิดมาพร้อมต่อมรับรสถึง 10,000 จุด และกว่าครึ่งจะหายไปเมื่อโต

  14. ขวบปีแรก ลูกจะจำจดและเข้าใจคำศัพท์ต่าง ๆ ได้ประมาณ 70 คำ 

  15. สมองของลูกรับรู้เสียงเพลงได้ ก่อนจะเข้าใจคำพูดเสียอีก

  16. อัตราการเต้นของหัวใจทารกจะลดลงจาก 180 ครั้งต่อนาที เป็น 115 ครั้งต่อนาทีในช่วงขวบปีแรก

  17. ลูกโบกมือให้คุณพ่อคุณแม่ได้จริงจังตอนอายุ 9 เดือน

  18. ทารกแรกเกิดจะฉี่ทุก ๆ 20 นาที และความถี่จะลดลงเมื่อเริ่มอายุ 6 เดือน

  19. เส้มผมของทารกแรกเกิดมีน้อยยิด แต่จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 3-4 เดือน

  20. เสียงอ้อแอ้ของทารกช่วยพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ การพูดคุยกับลูกด้วยภาษาง่าย ๆ การใช้โทนเสียงสูงต่ำ จะช่วยให้ลูกเรียนรู้คำศัพท์ที่จะใช้พูดได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น

3 กิจกรรมเล่นกับทารก เล่นง่ายส่งเสริมพัฒนาการตามวัยและสมอง

เล่นกับทารก, ทารก เล่น, ทารกเล่นอะไร, ทารก เล่นอะไรได้บ้าง, เล่นจ๊ะเอ๋, เล่นสบตากับทารก, อ่านนิทานให้ทารกฟัง, ทารก ฟังนิทานได้, ทารก เล่นยังไง, กิจกรรม เล่นกับทารก, ทารกเล่น พัฒนาการตามวัย, ทารกเล่น พัฒนาสมอง, พ่อแม่ เล่นกับทารก, วิธีเล่นกับทารก

ลูกทารกก็เล่นเป็นแล้วนะคะ และไม่ต้องคิดการเล่นที่ยุ่งยากอะไรเลย คุณแม่ลองนำ 3 กิจกรรมนี้ไปเล่นกับลูกทารกได้ทุกวัน ลูกไม่เบื่อแน่นอนค่ะ 

3 กิจกรรมเล่นกับทารก เล่นง่ายส่งเสริมพัฒนาการตามวัยและสมอง

  1. เล่นตามองตา
    เกมนี้เป็นเกมที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เลยค่ะ แค่คุณพ่อคุณแม่มองสบตากับทารกและพุดคุยอย่างเป็นธรรมชาติ ทารกจะเรียนรู้เริ่มจากการจดจำหน้าตาของคุณพ่อคุณแม่ น้ำเสียง ท่าทางต่างๆ สมองของทารกจะเริ่มเรียนรู้ที่จะจดจำ คุณพ่อคุณแม่สามารถทำหน้าตาตลกๆ รับรองว่าเจ้าตัวเล็กจะต้องชอบแน่นอน
  1. อ่านนิทาน
    มีงานวิจัยบอกว่า ทารกวัยตั้งแต่แปดเดือนขึ้นไป สามารถจดจำคำศัพท์ต่างๆ ที่ได้ยินจากนิทานที่คุณอ่านให้ลูกฟัง ลูกจะจดจำคำศัพท์และเรียนรู้ถึงน้ำเสียงเวลาคุณทำเสียงเป็นสัตว์หรืออะไรก็ตามในนิทาน คุณสามารถหาหนังสือนิทานที่มีพื้นผิวสัมผัสต่างๆ มาให้ลูกลองจับลองเล่นดูด้วยก็ได้ เพราะทารกจะเริ่มเรียนรู้ถึงผิวสัมผัสในวัยนี้ได้เช่นกัน
  1. เล่นจ๊ะเอ๋
    ทารกชอบเล่นจ๊ะเอ๋เป็นที่สุด แต่นอกจากนั้น กิจกรรมง่ายๆ อย่างการเล่น จ๊ะเอ๋ ยังเป็นเกมที่กระตุ้นพัฒนาการของสมองได้เป็นอย่างดี เพราะการที่ทารกมองไม่เห็นหน้าหรือดวงตาของคุณ ทารกจะคิดว่าคุณไม่ได้อยู่ตรงนั้น แต่แค่คุณเอามือออกเปิดตาเท่านั้นแหละ ลูกก็จะหัวเราะงอหายเพราะว่าคุณอยู่ตรงนี้นี่เอง

เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ เป็นวัยที่มีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว การที่พ่อแม่ได้เล่นกับลูกบ่อยๆ ได้พูดคุย ได้กอด ได้สัมผัส เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญและสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของสมองของลูกได้ดี จะช่วยให้ลูกเติบโตมาเป็นเด็กที่อารมณ์ดี มีความฉลาด และพัฒนาการในทุก ๆ ด้านที่ดีในอนาคตนะคะ

 

3 เรื่องต้องดูแลสุขภาพลูกทารกเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงช่วงหน้าหนาว

ดูแลเด็กในหน้าหนาว, สุขภาพลูกช่วงหน้าหนาว, ทารก หน้าหนาว, เด็ก ป่วย หน้าหนาว, เด็ก เป็นหวัด หน้าหนาว, เด็ก ผิวแห้ง หน้าหนาว, เสื้อกันหนาวเด็ก, วิธีดูแลเด็ก หน้าหนาว อากาศเย็น, หน้าหนาว ดูแลเด็กยังไง, หน้าหนาว เด็กป่วยอะไร

บางช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจากร้อน เป็นเย็นและหนาว ลูกทารกอาจป่วยได้ง่ายกว่าปกติ นี่คือ 3 เรื่องสุขภาพลูกทารกที่พ่อแม่ต้องดูแลเหมือนอากาศหนาวเย็นขึ้น

3 เรื่องต้องดูแลสุขภาพลูกทารกเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงช่วงหน้าหนาว

  1. หน้าหนาว ลูกอาจหวัดมาง่าย
    สาเหตุที่ลูกเป็นหวัดเพราะติดเชื้อไวรัส แล้วฤดูหนาวเป็นช่วงที่เชื้อไวรัสเติบโตดีเชียว ให้สังเกตอาการเป็นหวัดลูกจากการหายใจฟึดฟัดจากน้ำมูก ไม่สบายเนื้อตัว ร้องโยเย อาการเริ่มแบบนี้ให้ดื่มน้ำมากๆ สวมเสื้อผ้าหนาๆ พักผ่อนให้เพียงพอ อาการหวัดก็จะค่อยๆ ดีขึ้น ส่วนจมูกที่เช็ดน้ำมูกบ่อยทาด้วยวาสลีนจะช่วยไม่ให้จมูกแห้งเกินไป แต่ถ้า2-3 วันแล้วน้ำมูกไม่หายแถมกลายเป็นสีเขียวข้นควรพบแพทย์

  2. หน้าหนาว ผิวลูกต้องชุ่มชื้นอยู่เสมอ 
    ผิวที่บอบบางชั้นไขมันใต้ผิวยังทำงานไม่สมบูรณ์อาการผิวแห้งก็มาเยือนได้ง่าย คุณแม่ไม่ควรใช้น้ำอุ่นเกินไปอาบให้ลูก เพราะจะล้างไขมันที่เคลือบผิวลูกออกไปทำให้ผิวยิ่งแห้งและไม่ควรให้ลูกแช่น้ำนาน อาจจะหยดเบบี้ออยล์ลงไปด้วยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น หลังอาบน้ำควรทาครีมหรือเบบี้ออยล์ อย่าลืมใส่เสื้อผ้าหนาๆ ส่วนปากก็อย่าปล่อยให้แห้งแตกนะคะทาวาสลีนหรือลิปมัน (สำหรับเด็ก) เพราะการปล่อยให้ผิวแห้งจนแตกคันเป็นขุยอาจจะทำให้ผิวหนังอักเสบ

  3. หน้าหนาวต้องทำให้ร่างกายลูกอบอุ่นเสมอ
    ช่วงเช้า และกลางคืนอากาศอาจจะเย็นควรใส่เสื้อผ้าหนาๆ ส่วนกลางวันร้อนมากใส่เสื้อผ้าธรรมดาได้ค่ะ แต่ถ้าออกไปนอกบ้านต้อง สวมเสื้อหนาๆ หน่อย ระหว่างนอนตอนกลางคืนควรลดแอร์ลง ใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวจะใส่ถุงเท้าถุงมือด้วยก็ได้แต่ไม่ควรหนาเกินไป ถ้าไม่หนาวมากก็อาจจะใส่เสื้อผ้าธรรมดาซ้อนกันสองชั้นแล้วใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กห่มที่หน้าอกจะช่วยให้หน้าอกอุ่นไม่เป็นหวัดและไม่ตกใจตื่นง่ายค่ะ

เคล็ดลับการเลือกซื้อเสื้อผ้ากันหนาวเด็ก

  1. เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ถุงมือ ถุงเท้าเป็นไหมพรม แบบนี้อุ่นก็จริงค่ะ แต่จะทำให้ลูกอึดอัด ไม่สบายตัวได้

  2. ภูมิคุ้มกันเด็กไม่เหมือนผู้ใหญ่ ทุกครั้งที่ใส่เสื้อกันหนาวออกไปข้างนอกควรซักทุกครั้งค่ะ เดี๋ยวนี้เชื้อโรคมีพัฒนาการแข็งแรงขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะ

  3. เลือกซื้อชุดกันหนาวให้ลูกตามสมควรที่ต้องใช้ ลูกไม่เกินขวบควรมีเสื้อกันหนาวแบบหนาหนึ่งตัว และเสื้อแขนยาวกางเกงขายาว แนะนำให้เป็นผ้าฝ้ายระบายอากาศได้ดีแถมใส่หน้าร้อนได้ด้วย ถ้าหนาวมากก็ใส่เสื้อทับไปอีกตัวจะได้อุ่นกำลังพอดีนะคะ

  4. ส่วนถุงมือถุงเท้าควรมีอย่างละสองคู่ใช้สลับกัน บ้านเราไม่หนาวนานแถมเด็กโตเร็ว ถ้าซื้อเยอะเพราะแพ้ความน่ารักจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุค่ะ

เพียงคุณพ่อคุณแม่ดูแลเจ้าตัวเล็กอย่างใกล้ชิด ให้มีร่างกายที่อบอุ่นอยู่เสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และใส่ใจความสะอาดของใช้ส่วนตัวของลูก ก็ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค ให้ห่างไกลความเจ็บป่วยในช่วงหน้าหนาวนี้ได้แล้ว
 


 

3 เรื่องสำคัญที่ต้องดูแลลูกทารกแรกเกิดอายุ 1 เดือน

ทารกแรกเกิด 1 เดือน, พัฒนาการทารกแรกเกิด 1 เดือน, เด็กแรกเกิด 1 เดือน, พัฒนาการเด็ก 1 เดือน, ทารก 1 เดือน ต้องดูแลยังไง, สุขภาพ ทารก 1 เดือน, การดูแลทารก 1 เดือน, อาบน้ำเด็ก 1 เดือน, วิธีดูแลเด็ก 1 เดือน, วิธีอาบน้ำเด็ก 1 เดือน,

เมื่อลูกทารกอายุครบ 1 เดือนแล้ว มีเรื่องสำคัญที่พ่อแม่มือใหม่ต้องดูแลเป็นพิเศษเพิ่มขึ้นไปอีก เพื่อพัฒนาการทารกที่ดีค่ะ 

3 เรื่องสำคัญที่ต้องดูแลลูกทารกแรกเกิดอายุ 1 เดือน

1. ทารก 1 เดือนต้องดูแลความสะอาดให้มากที่สุด

โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน สำหรับทารกอาหารที่ดีที่สุดคือนมแม่ ซึ่งเราต่างทราบกันดีอยู่แล้วว่าในนมแม่มีสารป้องกันภูมิแพ้ สารป้องกันไม่ให้ทารกท้องเสียหรือท้องผูก ซึ่งคุณแม่ที่กำลังให้นมลูกก็ควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เพราะฉะนั้นหากคุณแม่ไม่สบาย ก่อนสัมผัสตัวลูกควรล้างมือให้สะอาด และควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคด้วย

ไม่เฉพาะแต่คุณแม่ รวมถึงสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวหากมีใครที่กำลังไม่สบาย ก่อนสัมผัสเจ้าตัวเล็กควรล้างมือให้สะอาดและสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง

นอกจากนี้ ในเด็กทารกที่ต้องกินนมผสม ความสะอาดของขวดนมเป็นสิ่งสำคัญ ต้องต้มให้สะอาดทุกครั้ง โดยต้มจนเดือดอย่างน้อย 10 นาที หรืออาจจะใช้หม้อนึ่งก็แล้วแต่ความสะดวก

ขวดน้ำของลูกต้องเปลี่ยนทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยขวดน้ำ จุกน้ำ และจุกนมต้องสะอาด รวมถึงที่ปั๊มนมต้องนึ่งเพื่อความสะอาดและสุขภาพอนามัยของลูก หากอุปกรณ์ไม่สะอาดลูกอาจท้องเสียหรือติดเชื้อโรคต่างๆ ได้

2. ทารก 1 เดือนอาบน้ำไม่ต้องบ่อย

ยิ่งอากาศเย็นๆ ในหน้าหนาว การอาบน้ำเช้า-เย็นไม่มีความจำเป็นสำหรับลูกเลย เจ้าตัวเล็กอยู่แต่ในบ้านไม่ได้สกปรกแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นอาบน้ำให้ลูกเพียงวันละครั้ง ในช่วงเที่ยงหรือบ่ายก็เพียงพอ แต่ถ้าพื้นที่ไหนอากาศเย็นมากๆ 2-3 วันอาบครั้งก็ได้ หรือถ้าลูกเนื้อตัวเลอะเทอะอาจเพียงเช็ดตัวแล้วล้างก้นก็พอ

แต่ถ้าเป็นหน้าร้อน คุณพ่อคุณแม่สามารถอาบน้ำให้ลูกวันละ 3-4 ครั้ง แม้ว่าเขาจะเป็นเพียงเด็กอายุ 1 เดือนแรก เพราะการปล่อยให้ลูกตัวเปียกเฉอะแฉะทั้งวัน ลูกมีโอกาสไม่สบายมากกว่าตัวแห้ง ดังนั้นเมื่อลูกร้อน มีเหงื่อออกสามารถอาบน้ำให้ลูกได้เลย แต่ต้องไม่อาบแบบแช่ อาบเพียงแค่ให้ลูกรู้สึกสบายตัวอุณหภูมิของน้ำก็สำคัญ ในหน้าร้อนน้ำไม่ต้องอุ่นมาก แต่ถ้าเป็นหน้าหนาวอุณหภูมิของน้ำควรสูงขึ้นจากปกติเล็กน้อย โดยคุณพ่อคุณแม่ใช้หลังมือแตะดูว่าน้ำอุ่นพอดีไหม ส่วนการสระผมให้ลูกนั้น 3-4 วันสระครั้งก็ได้ ที่สำคัญต้องเช็ดตัวลูกให้แห้งหลังอาบน้ำทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผดผื่นตามมา

3. อุณหภูมิและอากาศรอบตัวลูก

เป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ เพราะเจ้าตัวเล็กเพิ่งเกิด อุณหภูมิในร่างกายจึงต่ำกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นในช่วงแรกเกิดคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องรักษาอุณหภูมิรอบๆ ตัวลูกให้คงที่ โดยเฉพาะเมื่อให้ลูกนอนในห้องแอร์

เพราะการปรับอุณหภูมิแบบปุบปับ หรือการปิดแอร์กะทันหันแล้วเปิดหน้าต่างเพื่อรับอากาศจากภายนอกในตอนเช้า จะทำให้ลูกปรับตัวไม่ทัน อีกทั้งยามเช้าอุณหภูมิภายนอกจะสูงกว่าภายในห้อง อาจทำให้ลูกหายใจไม่สะดวก

ดังนั้น หากกังวลว่าลูกจะร้อนหรือหนาวเกินไป ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกอยู่เสมอ ถ้าลูกมีเหงื่อออก ตัวเปียก หัวเปียก ให้คลายผ้าออก หรือใส่เสื้อผ้าให้บางลง แต่ถ้าแขนขาลูกเย็น หมายความว่าอากาศเย็นเกินไป ลูกกำลังหนาวอยู่ ควรห่มผ้าให้ลูกเพิ่ม หรือใส่เสื้อผ้าให้หนาขึ้น

หากที่บ้านมีเครื่องกรองอากาศ สิ่งสำคัญคือต้องล้างเครื่องกรองอากาศบ่อยๆ โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กควรล้างทุกอาทิตย์

5 กิจกรรมเล่นเรียนรู้ของลูกขวบปีแรก ส่งเสริมทั้ง IQ และ EQ ไปพร้อมกัน

ทารกเล่น, การเล่นของทารก, กิจกรรมสำหรับทารก, พัฒนา IQ ทารก, พัฒนา EQ ทารก, กระตุ้นสมองทารก, ส่งเสริมสมองทารก, กิจกรรม เสริมสมองทารก, การทำงานของสมองทารก, ทารก เล่น สมองดี, ของเล่น ทารก, ทารกเล่นอะไรดี 

พัฒนาการสมองที่ดีของลูก มาจากคุณพ่อคุณแม่สร้างให้ลูก มาเริ่มต้นง่ายๆ กับ 5 กิจกรรมเล่นเรียนรู้สนุก กระตุ้นกระบวนการคิด การลงมือทำ และแก้ปัญหาของลูกกันค่ะ

5 กิจกรรมเล่นเรียนรู้ของลูกขวบปีแรก ส่งเสริมทั้ง IQ และ EQ ไปพร้อมกัน

  1. การต่อบล็อกไม้ ฝึกการวางแผน ลูกจะได้รู้จักคิด การแก้ปัญหา ฝึกการยืดหยุ่นความคิดและวางแผนเป็น นอกจากนั้นยังเชื่อมความสัมพันธ์พ่อแม่ลูกอีกด้วย

  2. คณิตคิดเร็ว การนับเลขหรือจำนวนสิ่งของรอบตัวลูก สามารถประยุกต์เล่นได้ทุกที่ จะช่วยฝึกความคิด กระตุ้นความจำ รวมถึงฝึกการช่างสังเกต

  3. เกมจับคู่ ฝึกความเชื่อมโยง กิจกรรมนี้ฝึกการสังเกตลักษณะ รูปทรงสิ่งของ สีสันต่างๆ และแยกแยะความแตกต่างของสิ่งของ ทั้งยังสามารถฝึกความคล่องตัวลูกน้อยได้อีกด้วย เพราะถ้าหากคุณแม่ลองให้ลูกวิ่งหยิบสิ่งของไปกองรวมกันหรือเพิ่มเงื่อนไขท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ ลูกน้อยจะรู้สึกสนุกมากขึ้น

  4. เล่นบทบาทสมมติ การเล่นบทบาทสมมติเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีส่วนช่วยฝึกจินตนาการและการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างอิสระ ทั้งยังฝึกการแก้ปัญหา การอยู่ร่วมกับผู้อื่น เขาจะได้อยู่กับคนอื่นในสังคมได้

  5. ระบายสี การหัดให้ลูกวัยนี้ระบายสี นอกจากจะฝึกกล้ามเนื้อมือแล้ว ยังต่อยอดให้ลูกได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ สีสันต่างๆ ที่ลูกระบายยังสะท้อนลักษณะนิสัยและพฤติกรรมการแสดงออกของเขาขณะนั้นด้วย     

ขอขอบคุณข้อมูลจาก นมแพะ DG

ติดตามความรู้เรื่องนมแพะ การสร้างภูมิคุ้มกัน และวิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ที่ www.dgsmartmom.com และ www.facebook.com/dgsmartclub

5 สัญญาณบอกพัฒนาการลูกทารกผิดปกติ พัฒนาการล่าช้า

ทารก พัฒนาการผิดปกติ, ทารก พัฒนาการล่าช้า, รู้ได้ยังไงว่า พัฒนาการผิดปกติ, สัญญาณ ทารก พัฒนาการผิดปกติ ล่าช้า, เช็กพัฒนาการทารก, ทารก ผิดปกติ, ทารกไม่ยิ้ม, ทารกไม่คลาน, ทารกไม่เดิน, ทารก ไม่คว่ำ, ทารก พัฒนาการไม่ดี, พัฒนาการไม่สมวัย, พัฒนาการวัย สัญญาณผิดปกติ, เช็ก พัฒนาการผิดปกติ

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกทารกมีพัฒนาการผิดปกติหรือพัฒนาการล่าช้า พ่อแม่มือใหม่ลองมาเช็กพัฒนาการตามวัยลูกทารกกันตรงนี้ค่ะ

5 สัญญาณบอกพัฒนาการลูกทารกผิดปกติ พัฒนาการล่าช้า

  1. ยิ้ม-พัฒนาการเด็กวัย 0-3 เดือน
    เด็กๆ ยิ้มได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่ยิ้มในช่วง 0-3 เดือนนี้จะเป็นยิ้มที่ไม่มีความหมาย เกิดขึ้นเนื่องจากเด็กยังควบคุมกล้ามเนื้อปาก กล้ามเนื้อบนใบหน้าได้ไม่ดีนัก และเป็นปฏิกิริยากล้ามเนื้ออย่างหนึ่งในเด็กทารก 

    หลัง 3 เดือน เด็ก ๆ จะเริ่มยิ้มแบบสื่อความหมายมากขึ้น เป็นการยิ้มเพื่อตอบสนองทางอารมณ์ และตอบสนองเชิงสังคม (Social smile) เริ่มมีการเรียนรู้ที่จะยิ้มเพราะรู้สึกพึงพอใจ มีความสุข กินอิ่มนอนหลับสบาย ได้รับการสนองตอบทางอารมณ์ที่ดีถึงยิ้ม และยิ้มให้คนคุ้นเคย เช่น คุณแม่ เพื่อสื่อความหมายว่าเขารู้สึกดีกับคุณแม่หรือคนที่พบเห็นด้วย 

    ดังนั้นการยิ้มของลูกจึงเป็นสัญญาณบอกว่าลูกมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดี ได้รับความรักและการตอบสนองที่ดีจากคุณพ่อคุณแม่ จะทำให้มีความมั่นคงทางอารมณ์ ร่าเริงแจ่มใส เป็นเด็กน่ารักของทุก ๆ คน 

    ถ้าลูกไม่ยิ้ม...หลัง 3 เดือนไปแล้ว ถ้าคุณพ่อคุณแม่เล่นด้วย หรือมีคนอื่นๆ มาเล่นด้วย แต่ลูกกลับไม่ยิ้ม หรือร้องไห้งอแง อาจเกิดจากไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร หรือเกิดความกลัวอะไรบางอย่าง รู้สึกไม่ไว้ใจคนรอบข้าง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตว่าลูกกลัวอะไร ไม่ยิ้มแล้วร้องไห้เพราะอะไร แล้วกำจัดสิ่งนั้นทิ้งไป เพราะถ้าปล่อยไว้ เด็ก ๆ จะเติบโตมามีนิสัยก้าวร้าว ขี้กลัว ไม่มั่นใจในตนเอง และไม่ช่วยเหลือผู้อื่นได้ค่ะ  
  1. พลิกคว่ำ พลิกหงาย-พัฒนาการเด็กวัย 4-6 เดือน
    วัย 4-6 เดือน เด็ก ๆ จะเริ่มพลิกตัว และเริ่มมีการพลิกคว่ำได้ดี ชันคอได้ดี เพราะกล้ามเนื้อส่วนกลางของลำตัว กล้ามเนื้อคอเริ่มมีความแข็งแรง เมื่อพลิกตัวคว่ำจะสามารถชันคอได้ และเริ่มพลิกตัวหงายได้เอง เวลาอุ้มนั่ง อุ้มพาดบ่า คอจะตั้งตรงได้ ไม่ว่าจะอุ้มลูกท่าไหน ลำคอก็จะยังคงตั้งตรงชูคอหันไปมาได้ 

    ถ้ายังชันคอไม่ได้...ลูกน้อยอายุ 6 เดือนขึ้นไป ยังชันคอไม่ได้ เวลาคุณแม่อุ้มแล้วคอยังเอียงไปเอียงมา ต้องคอยจับอยู่ตลอด อาจเป็นสัญญาณบอกว่ากล้ามเนื้อมีปัญหา หรืออาจมีปัญหาเรื่องสมองอ่อนแรง ที่ส่งผลให้พัฒนาการกล้ามเนื้อล่าช้าด้วย
  1. ลุกนั่ง-พัฒนาการเด็กวัย 7-9 เดือน
    ช่วงวัยนี้เด็กจะเริ่มลุกนั่งได้เอง โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องคอยประคองแล้ว เริ่มยันแขนหมุนตัวเองให้นั่งได้ กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อหลัง คือกล้ามเนื้อมัดใหญ่มีความแข็งแรง และโน้มตัวไปหยิบจับเล่นของเล่นที่อยู่ตรงหน้าได้ มีการทรงตัวได้ดีมากขึ้น 

    ในช่วงเริ่มนั่งได้ใหม่ๆ คุณแม่ควรหาเบาะหรือหมอนมาวางไว้ด้านหลังและรอบๆ ตัว เพื่อป้องกันเวลาลูกหงายหลัง หรือทิ้งตัวนอนจะได้ไม่เกิดการบาดเจ็บขึ้น นอกจากนี้ การนั่งหลังตรงยังเป็นการฝึกการทรงตัวที่ดี ทำให้ลูกคลานได้ดีด้วย 

    ถ้านั่งเองไม่ได้... ถ้าลูกน้อยอายุ 9 เดือน แล้วยังลุกนั่งเองไม่ได้ เป็นสัญญาณบอกว่ากล้ามเนื้อมัดใหญ่บริเวณหลังอาจเกิดความผิดปกติ อาจมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง และจะส่งผลต่อพัฒนาการขั้นอื่นต่อไป 

  2. ใช้มือหยิบของเอง-พัฒนาการเด็กวัย 7-9 เดือน
    ช่วงวัยนี้ ลูกน้อยจะหยิบจับหรือคว้าสิ่งของได้แม่นยำมากขึ้น ควบคุมนิ้วมือเล็กๆ ให้จับของได้มั่นคง เปลี่ยนสลับมือถือของ และถือของได้ 2 มือ คุณแม่ลองหาของเล่นที่เขาชอบแล้วยื่นให้เขา ให้เขาฝึกใช้มือหยิบของจากมือคุณแม่ แล้วเปลี่ยนสลับมือถือ หรือหยิบของจากพื้นยื่นให้คุณแม่ เป็นการทำให้นิ้วมือมีการทำงานดี และหาของเล่นหลาย ๆ รูปทรงที่มีพื้นผิวต่างกัน นุ่มบ้าง แข็งบ้าง ให้เขาหยิบจับเล่น เป็นการเรียนรู้เรื่องระบบประสาทสัมผัสที่ดี 

    ถ้ายังหยิบจับของเล่นเองไม่ได้...หยิบของเล่นแล้วหล่น หรือมือไม่มีแรงหยิบ อาจเป็นเพราะกล้ามเนื้อมือยังไม่แข็งแรงพอ ลองหาของเล่นนิ่มให้เขาบีบจับบ่อย ๆ เพื่อเป็นการบริหารกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงขึ้น  
  1. เกาะยืน-พัฒนาการเด็กวัย 9-10 เดือน
    ช่วงนี้เด็ก ๆ จะเริ่มเหนี่ยวตัวเองเกาะสิ่งของที่อยู่รอบตัว แล้วยกตัวเองขึ้นมาเกาะยืนและค่อยๆ เกาะเดิน จะเป็นช่วงล้มลุกคลุกคลาน คือยืนได้เอง เดิน 2-3 ก้าวแล้วล้มนั่ง แบบนี้ไม่เป็นไร เป็นพัฒนาการที่เขากำลังจะเดิน คุณแม่ควรจัดระเบียบของในบ้านให้เรียบร้อย มีพื้นที่โล่ง และเพื่อความปลอดภัย โต๊ะที่มีมุมแหลมควรห้าผ้าหรือที่กันมุมมาปิดไว้ ไม่ควรมีเก้าอี้ที่มีล้อเลื่อนเพราะถ้าเด็กๆ เกาะยืนแล้วเก้าอี้เลื่อน ก็อาจจะทำให้ลูกน้อยล้มบาดเจ็บและเกิดอาการกลัวไม่กล้าเกาะยืนอีกได้ 

    ถ้ายังไม่ลุกยืน...ในช่วงวัย 9-10 เดือน ยังไม่ลุกยืนอาจจะยังไม่ผิดปกติอะไรมาก เพราะพัฒนาการช่วงนี้เด็กแต่ละคนจะช้าเร็วแตกต่างกัน แต่ถ้าเลยขวบครึ่งไปแล้วยังไม่ยอมลุกเดิน แสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น อวัยวะทำงานไม่ได้ตามที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจเกิดจากกล้ามเนื้อขามีความผิดปกติ หรืออาจเกี่ยวกับระบบประสาทมีความผิดปกติและส่งผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อมีความผิดปกติเกิดขึ้น  

วัย 0-1 ปี เป็นช่วงที่ลูกน้อยจะได้ไปพบคุณหมอบ่อยๆ ดังนั้น ถ้ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาคุณหมอแต่เนิ่นๆ เพื่อจะรักษาได้ทัน ลูกน้อยจะได้เติบโตอย่างมีพัฒนาการที่ดีตามวัย

เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์

พญ.ดวงรัตน์ วังเกล็ดแก้ว
กุมารแพทย์พัฒนาการเด็ก รพ.เด็กสมิติเวช ศรีนครินทร์

7 เหตุผลที่เด็กทารกต้องนอนหลับอย่างเพียงพอ

การนอนหลับของทารก, ทารกนอนหลับ, ทารก หลับไม่สนิท, ทารก ไม่ยอมนอน, ทารก ไม่ยอมนอนกลางคืน, ทารก นอน ข้อดี, ทำไม ทารก ต้องนอนหลับสนิท, ทารก นอน ดียังไง, ทารก นอน การเจริญเติบโต, ทารก นอน growth hormone, วิธีทำให้ทารกนอนหลับยาว, วิธีทำให้ทารก นอนหลับสนิท, ทารก นอนหลับ สมอง

การนอนหลับของเด็กทารกช่วยให้สมองมีการประมวลความจำ เมื่อเขาตื่นการเรียนรู้ก็ยังคงต่อเนื่องและต่อยอดไปถึงอนาคตได้

7 เหตุผลที่เด็กต้องนอนหลับอย่างเพียงพอ

การนอนของทารกเชื่อมโยงกับการทำงานของสมองเด็ก เด็กทารกที่มีตารางการนอนชัดเจน การนอนหลับเพียงพอ จะสามารถเรียนรู้ได้ทั้งกลางวัน และกลางคืน เพราะเซลล์สมองมีการเจริญเติบโต เชื่อมโยงเส้นใยประสาท ประมวลประสบการณ์บันทึกไว้เป็นความจำในเวลานอน

  1. การนอนหลับของทารกช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต เพราะช่วงที่เด็กนอนหลับสนิทเป็นช่วงที่ฮอร์โมนการเจริญเติบโตหรือโกรทฮอร์โมนทำงานได้ดี

  2. การนอนหลับของทารกช่วยให้หัวใจแข็งแรง เด็กที่ได้นอนหลับอย่างเพียงพอจะไม่มีความเสี่ยงจากภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

  3. การนอนหลับของทารกส่งผลต่อน้ำหนักตัว เด็กที่นอนไม่พอมีความเสี่ยงจะเป็นโรคอ้วน

  4. การนอนหลับของทารกช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ทุกครั้งที่ลูกนอนหลับร่างกายจะหลั่งสารไซโตไคน์ ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ

  5. การนอนหลับของทารกช่วยลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บ เด็กมักจะอยู่ไม่นิ่ง จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ การนอนหลับจะช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอได้

  6. การนอนหลับของทารกช่วยลดอาการสมาธิสั้น มีการศึกษาพบว่าเด็กอายุ 3 ขวบที่นอนน้อยกว่าวันละ 10 ชั่วโมงมีโอกาส ซน สมาธิสั้น อารมณ์รุนแรง วู่วาม

  7. การนอนหลับของทารกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กๆ โดยเด็กที่นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอทำให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีพัฒนาการทางสติปัญญา อารมณ์ สังคม ที่ดีขึ้น

การนอนหลับของทารกยังส่งให้เมื่อเขาตื่น การเรียนรู้ก็ยังคงต่อเนื่องและต่อยอดไปถึงอนาคต นี่จึงเป็นที่มาว่าทำไมการนอนถึงสำคัญกับเด็ก ๆ 

8 เรื่องที่ลูกทารกได้เรียนรู้แน่นอนจากวิธีอาบน้ำทารกที่ถูกต้อง

วิธีอาบน้ำทารกแรกเกิด, วิธีอาบน้ำเด็ก, ลูกชอบอาบน้ำ, ลูกไม่ชอบอาบน้ำ, วิธีทำให้ลูกยอมอาบน้ำ, ทารก เรียนรู้ อาบน้ำ, ทารก สนุกกับการอาบน้ำ, ทำไมเด็กชอบอาบน้ำ, เด็ก อาบน้ำ แล้วได้อะไร, เด็ก เรียนรู้ การอาบน้ำ

การอาบน้ำและวิธีอาบน้ำทารก ไม่ใช่แค่การทำความสะอาดนะคะ แต่ลูกทารกได้เรียนรู้บางสิ่งจากการอาบน้ำในทุก ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ

8 เรื่องที่ลูกทารกได้เรียนรู้แน่นอนจากวิธีอาบน้ำทารกที่ถูกต้อง

  1. เป็นเด็กอารมณ์ดี เพราะเวลาที่ลูกแช่อยู่ในอ่างน้ำ จะมีความรู้สึกเย็นสบาย สดชื่น และมีอิสระ ช่วยให้ผ่อนคลาย นอนหลับสบาย

  2. ลูกเรียนรู้ว่าน้ำเปลี่ยนรูปร่างได้ เป็นพื้นฐานการเรียนรู้เรื่องรูปทรงต่างๆ 

  3. ช่วยเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ คือเวลาลูกเล่นน้ำในอ่าง ควรหาของเล่นหรืออุปกรณ์ที่ช่วยเสริมพัฒนาการ ให้ลูกได้จับ ถือโยน ส่งไปมา ช่วยบริหารกล้ามเนื้อมือของลูก

  4. ได้ฝึกการทรงตัวนั่งในอ่าง การเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งเป็นพื้นฐานพัฒนาการด้านการนั่ง การคลานที่ดีต่อไป

  5. เรียนรู้เรื่องภาษาและคำศัพท์ต่างๆ เวลาลูกเล่นน้ำ พ่อแม่พูดคุยระหว่างเล่นน้ำ ด้วยภาษาที่สั้น ง่าย เหมาะสมกับวัย เช่น นี่คืออ่างน้ำ นี่คือแปรง เป็นต้น เมื่อลูกรู้ว่านี่คือน้ำ เขาก็จะพูดคำว่าน้ำได้

  6. เรียนรู้ความหมายและประโยชน์ของน้ำ เวลาที่พูดกับลูก เช่น น้ำมีไว้ดื่ม น้ำมีไว้อาบ หนูอาบน้ำแล้วสบายตัว พูดกับลูกแบบนี้ให้ลูกได้เรียนรู้ว่าสิ่งนี้เรียกว่าน้ำ ลูกจะรู้ความหมายของคำว่าน้ำ เมื่อโตขึ้นลูกจะเรียนรู้ความหมายที่ซับซ้อนของคำว่าน้ำได้มากขึ้น

  7. สร้างความสัมพันธ์ดีระหว่างแม่ลูก เวลาอาบน้ำหรือนั่งเล่นในอ่างน้ำ แม่ถูสบู่ให้ ได้สัมผัสลูกน้อยอย่างอ่อนโยน เวลาพูดได้มองตา เมื่อขึ้นจากน้ำเช็ดตัวให้ลูกแล้วกอด จะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยที่แม่คอยดูแลอยู่ใกล้ๆ 

  8. สร้างวินัยการอาบน้ำ เวลาที่ลูกได้เล่นน้ำแล้วมีความสุข จะเป็นพื้นฐานการช่วยเหลือตัวเองได้ดี มีความกระตือรือร้นในเรื่องการอาบน้ำ ไม่ต่อรอง สร้างวินัยให้ตนเองได้ดี  

ข้อควรระวังในการอาบน้ำทารก

สำหรับเด็กวัย 0-1 ปี แม้จะนั่งได้แล้ว แต่พ่อแม่ต้องอยู่ข้างๆ ทุกครั้งและตลอดเวลา เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย เพราะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ โดยสิ่งที่ต้องระวังคือ

  1. ภาชนะหรืออ่างที่ลูกลงไปเล่นต้องปลอดภัย ตั้งได้มั่นคงแข็งแรง ไม่ลึกเกินไป

  2. ไม่ใส่น้ำเยอะเกินไป ควรใส่ให้มีความสูงเท่าระดับต้นขาไม่เกินเอวของลูก

  3. ของเล่นที่นำมาเล่นในอ่างน้ำ ต้องปลอดภัย สีไม่ตก ไม่มีขอบคม ลอยน้ำได้ เพราะหากจมน้ำอาจทำให้เด็กๆ มุดลงไปหยิบแล้วเกิดอันตรายได้
     

     

​Checklist! พัฒนาการลูก 2 เดือน - 6 ขวบ ควรเป็นอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง

พัฒนาการทารก 2 เดือน, พัฒนาการทารก 4 เดือน, พัฒนาการทารก 6 เดือน, พัฒนาการทารก 12 เดือน, พัฒนาการเด็ก 18 เดือน, พัฒนาการเด็ก 24 เดือน, พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ, พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ, พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ, พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ, พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ, พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ, เช็กพัฒนาการทารก, เช็กพัฒนาการเด็ก, พัฒนาการล่าช้า 

​มาเช็กพัฒนาการลูกทารก ยาวไปจนถึงลูก 6 ขวบกันค่ะว่าในแต่ละวัยเขาควรมีพัฒนาการอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง และถ้าพัฒนาการล่าช้าจะต้องทำอย่างไรกันดี

Checklist! พัฒนาการลูก 2 เดือน - 6 ขวบ ควรเป็นอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง

พัฒนาการทารก 2 เดือน

  • ยิ้ม
  •  ส่งเสียงอ้อแอ้
  •  สบตา
  •  เอามือเข้าปาก
  •  ส่งเสียงร้องสื่อสารได้หลากหลายแบบ เช่น ยามหิวหรือยามเหนื่อย ฯลฯ
  •  ขยับแขนขาเท่ากันทั้งสองข้าง
  •  ชันคอได้เมื่อถูกอุ้ม
  •  ยกศีรษะได้เมื่อนอนคว่ำ  

พัฒนาการทารก 4 เดือน

  • ยิ้มทัก
  • ตั้งศีรษะได้เมื่อนั่งบนตัก
  • เริ่มกลิ้งตัวและเอื้อมคว้าสิ่งของ
  • อยากให้เล่นด้วย
  • สงบอารมณ์เองได้
  • ชอบขดตัว
  • แสดงท่าทีให้รู้ว่าตัวเองชอบอะไรและไม่ชอบอะไรได้
  • เมื่อนอนคว่ำใช้แขนยกหน้าอกขึ้นได้
  • ส่งเสียงพูดที่มีเสียงพยัญชนะหลากหลายมากขึ้น

พัฒนาการทารก 6 เดือน

  • กลิ้งตัว
  • นั่งเองได้ชั่วครู่, ยันกายไปข้างหน้า
  • ชอบเล่นกับผู้เลี้ยง
  • พูดส่งเสียงพยัญชนะต่อเนื่องกันหลายคำและพยายามจะคุยกับคุณ
  • ชอบมองไปรอบ ๆ
  • เริ่มจำชื่อได้
  • ยิ้มให้คนที่รู้จัก
  • หยิบสิ่งของเข้าปาก  

พัฒนาการทารก 9 เดือน

  • มองตามสิ่งของที่ตกลงมา 
  • เกาะเหนี่ยวตัวขึ้นเพื่อยืน 
  • กลัวคนแปลกหน้า 
  • เข้ามาหาคุณเพื่อเล่นด้วยและทำให้ตัวเองรู้สึกอบอุ่น 
  • นั่งได้มั่นคง
  • ส่งเสียงเลียนแบบผู้เลี้ยงได้ 
  • มองดูภาพในหนังสือได้
  • คลานได้ 
  • เล่นจ๊ะเอ๋ 
  • ชี้สิ่งของที่สนใจ

พัฒนาการทารก 12 เดือน

  • เอาของเล่นกระทบกัน 
  • โบกมือบ๊ายบาย 
  • พยายามจะทำเลียนแบบในสิ่งที่ผู้เลี้ยงทำ
  • ยืนคนเดียวได้
  • ดื่มน้ำจากถ้วยได้
  • พูดได้ 1 - 2 คำ
  • ส่งเสียงพูดคุยเลียนแบบผู้เลี้ยง
  • พยายามเลียนเสียงที่คุณทำ 
  • มองสิ่งที่คุณกำลังมอง 
  • ร้องไห้เมื่อคุณออกห่าง
  • ยื่นหนังสือให้คุณอ่านให้
  • ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้
  • เล่นจ๊ะเอ๋

พัฒนาการเด็กวัย 18 เดือน

  • รู้จักชื่อหนังสือที่ชอบ
  • หัวเราะโต้ตอบผู้อื่น
  • วิ่งได้
  • เดินขึ้นบันได
  • พูดได้อย่างน้อย 6 คำ
  • ใช้ช้อนและถ้วยโดยแทบไม่หก
  • ชี้อวัยวะในร่างกายได้ 1 อย่าง
  • ชอบเข้าไปช่วยทำงานต่าง ๆ ในบ้าน  

พัฒนาการเด็กวัย 2 ขวบ

  • เรียงบล็อกชิ้นเล็กได้ 5 - 6 อัน 
  • เตะบอล
  • เดินขึ้นลงบันไดได้ทีละ 1 ขั้นคนเดียวขณะจับกำแพงหรือราวบันได
  • ชี้ภาพที่คุณเอ่ยชื่อขณะอ่านหนังสือได้ อย่างน้อย 2 ภาพ 
  • ขว้างลูกบอลข้ามไหล่
  • บอกชื่อได้ 1 รูป เช่น แมว สุนัข หรือลูกบอล ฯลฯ 
  • กระโดดอยู่กับที่
  • ทำเลียนแบบสิ่งที่คุณทำ 
  • ทำตามคำสั่ง 2 ขั้นตอนได้
  • พูดสองคำติดกันได้ เช่น “กินข้าว” 
  • พลิกเปิดหนังสือทีละหน้าได้ 
  • เล่นสมมติ 
  • เล่นอยู่ข้าง ๆ กับเด็กคนอื่นได้

พัฒนาการเด็กวัย 3 ขวบ

  • ต่อบล็อกเล็กได้ 6 อัน 
  • ขว้างบอลข้ามไหล่
  • ทรงตัวบนเท้าข้างเดียวได้ 
  •  วาดรูปวงกลม 
  •  บอกชื่อเพื่อน 
  • เล่นบทบาทสมมติ 
  • พูดคุยได้ 2 - 3 ประโยคในทีเดียว
  • รู้จักชื่อและบอกประโยชน์ของถ้วย ช้อน ลูกบอล และสีเทียนได้ 
  • พูดแล้วผู้อื่นฟังเข้าใจเป็นส่วนใหญ่ 
  • เดินขึ้นบันไดโดยสลับเท้า 
  • ฝึกเข้าห้องน้ำเองได้ในช่วงกลางวัน  
  • วาดรูปคนที่ประกอบด้วย 2 ส่วน  
  • ดูแลตัวเองได้ เช่น กินอาหาร แต่งตัว ฯลฯ 
  • ระบุเพศตัวเองได้

พัฒนาการเด็กวัย 4 ขวบ

  • ต่อตึกด้วยบล็อกเล็ก 8 ชิ้น
  • วาดรูปกากบาท
  • ทรงตัวบนเท้าข้างเดียวได้ 
  • บอกชื่อสีได้ 4 สี 
  • กระโดดกระต่ายขาเดียว 
  • วาดรูปคนที่ประกอบด้วย 3 ส่วน 
  • แต่งตัวเองและติดกระดุมเองได้ 
  • เล่นบทบาทสมมติคนเดียวและเล่นกับคนอื่น 
  • รู้จักชื่อและอายุตัวเองรวมถึงเพศ 
  • เล่นเกมที่ผลัดกันเล่นได้ 
  • สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้ 
  • แปรงฟันเองได้  

พัฒนาการเด็กวัย 5 ขวบ

  • ฟังเข้าใจและทำตามคำชี้แนะง่าย ๆ ได้ 
  • เล่าเรื่องได้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ 
  • นับเลขได้ 1 - 10 
  • บอกชื่อสีได้อย่างน้อย 4 สี 
  • วาดรูปคนที่มีส่วนประกอบ 6 ส่วน 
  • วาดรูปสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมได้ 
  • เขียนตัวอักษรหรือตัวเลขได้บางตัว 
  • ทรงตัวด้วยเท้าเดียวได้ 
  • ก้าวกระโดด กระโดดขาเดียว ปืน 
  • ผูกเงื่อน

พัฒนาการเด็กวัย 6 ขวบ

  • ฟังเข้าใจและทำตามคำชี้แนะง่าย ๆ ได้ 
  • บอกชื่อสีได้อย่างน้อย 4 สี 
  • ทรงตัวด้วยเท้าเดียวได้ 
  • วาดรูปคนที่ประกอบด้วย 6 ส่วน 
  • นับเลขได้ 1 - 10 
  • วาดรูปสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมได้
  • เล่าเรื่องได้เป็นประโยคที่สมบูรณ์
  • เขียนตัวเลขหรือตัวอักษรบางตัวได้
  • ก้าวกระโดด กระโดดขาเดียว ปีน
  • ผูกเงื่อน  

รับมือลูกเสี่ยงพัฒนาการล่าช้า

หากคุณพ่อคุณแม่ลองเช็กพัฒนาการในแต่ละช่วงอายุของลูกดูแล้วพบว่า ลูกมีความเสี่ยงที่จะมีพัฒนาการล่าช้า หรือลองกระตุ้นพัฒนาการของลูกแล้วไม่ได้ผล ควรรีบพาเด็กมาพบแพทย์เพื่อปรึกษาและตรวจวัดระดับพัฒนาการอย่างละเอียด เนื่องจากแพทย์จะมีเครื่องมือในการตรวจวัดพัฒนาการเด็กที่ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง และมีแพทย์ผู้ชำนาญการคอยดูแลอย่างใกล้ชิด สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้กลับมาเติบโตสมวัยได้

POWER OF GENERATION
เสริมสร้างศักยภาพทุกช่วงวัยให้คุณใช้ชีวิตได้เต็มที่เต็มพลัง

ที่มาข้อมูล

กลิ่นตัวเด็กทารกไม่ได้มีแค่หอมอย่างเดียว กลิ่นทารกบอกอาการและโรคที่พ่อแม่ต้องดูแล

กลิ่นตัวเด็กทารก, กลิ่นเด็กทารก, กลิ่นตัวเด็กแรกเกิด, ทารกกลิ่นหอม, กลิ่นหอมของทารก, ทำไมเด็กแรกเกิดถึงกลิ่นตัวหอม, กลิ่นตัว ทารก, ทำไม ทารก มีกลิ่นตัว, กลิ่นปาก ทารก, ทารกมีกลิ่นปาก, กลิ่นหู ทารก, ทารก กลิ่นตัวไม่หอม, กลิ่นทารกเป็นยังไง, กลิ่นตัวทารก โรค, ทารก มี กลิ่น ตัว เหม็น 

ใคร ๆ ว่าบอกว่าทารกกลิ่นตัวหอม แต่จริง ๆ แล้วทารกมีกลิ่นอื่นด้วยนะคะ ซึ่งกลิ่นต่าง ๆ จากตัวทารกบอกอาการและโรคบางอย่างที่พ่อแม่ต้องรีบดูแลหรือพาไปรักษาค่ะ

กลิ่นตัวเด็กทารกไม่ได้มีแค่หอมอย่างเดียว กลิ่นทารกบอกอาการและโรคที่พ่อแม่ต้องดูแล

เด็กแต่ละคนอาจมีกลิ่นเฉพาะตัว และเด็กแต่ละเชื้อชาติก็จะมีกลิ่นเฉพาะตัวที่ต่างกันออกไป ซึ่งกลิ่นตัวเกิดจากการที่ร่างกายขับสารเคมีมาจากต่อมเหงื่อและต่อมไขมันซึ่งอยู่ในชั้นใต้ผิวหนัง หรือจากอาหารที่กินบางประเภท เช่น หอม กระเทียม หรือจากยาปฏิชีวนะ เป็นต้น   

สาเหตุที่ลูกทารกมีกลิ่น กลิ่นตัวทารก

  1. กลิ่นตัวทารกตามธรรมชาติ ในวัยทารกแรกเกิดนั้น อาจเกิดจากกลิ่นน้ำคร่ำหรือไขมันที่ติดผิวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งเป็นสารสีขาวที่ห่อหุ้มร่างกาย แม้ว่าสารเหล่านี้จะถูกชำระล้างออกไปแล้ว แต่อาจเหลือกลิ่นอยู่ได้หลายสัปดาห์

  2. กลิ่นตัวทารกจากขุยตามผิวหนัง เกิดจากการลอกเป็นขุยตามผิวหนัง ศีรษะหรือคิ้ว อาจใช้ Baby Oil  หรือน้ำมันมะกอกทาเพื่อให้ไขมันส่วนเกินนั้นลอกออกได้
  1. กลิ่นตัวทารกจากเหงื่อ โดยเฉพาะวัย 1 -3 ปี เด็กๆ จะเริ่มมีความซุกซนมากขึ้น มีกิจกรรมมากขึ้น จึงมีเหงื่อออกมากตามไปด้วยเพราะต่อมไขมันทำงานมากขึ้นนั่นเอง นอกจากนั้นประเทศไทยเป็นเมืองร้อนอาจทำให้เกิดการหมักหมม เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลรักษาความสะอาดให้ดีอย่างถี่ถ้วน ก็จะทำให้กลิ่นต่างๆ ค่อยๆ หายไปได้ค่ะ
  1. กลิ่นปากทารก ทารกมีกลิ่นปาก กลิ่นปากของลูกน้อยอาจเกิดจากการที่ลูกน้อยไม่ยอมให้แปรงฟัน ควรคุยทำความเข้าใจกับลูกว่า หนูนั้นกินอาหารเข้าไปทุกวัน ถ้าไม่ทำความสะอาดจะทำให้ฟันผุ ปวดฟัน และทำให้ปากมีกลิ่นได้

  2. กลิ่นทารกจากการอักเสบติดเชื้อ ในวัยนี้เด็กๆ จะชอบหยิบจับสิ่งของต่างๆ เข้าปาก หรือตามอวัยวะต่างๆ เช่น หู จมูก ซึ่งอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อทำให้เกิดกลิ่นได้เช่นกัน การป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายสำหรับเด็กวัยนี้คือการไม่ซื้อของเล่นที่มีขนาดเล็กให้เล่น โดยเส้นผ่าศูนย์กลางของของเล่นในวัยเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีควรมีขนาดใหญ่กว่าแกนกระดาษทิชชูค่ะ ควรรักษาความสะอาดอย่างถูกวิธีและสะอาดหมดจดสม่ำเสมอ โดยหลังอาบน้ำควรเช็ดตามซอกมุม ขาหนีบ ชอกคอ  หู และใบหูทุกครั้ง ก็เป็นวิธีช่วยป้องกันกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ ของเจ้าตัวเล็กได้ค่ะ  

กลิ่นทารก กลิ่นตัวทารกที่กำลังบอกโรค

หากพบกลิ่นดังต่อไปนี้ซึ่งบ่งบอกโรคที่เป็นอันตรายจากทารกแรกเกิด ควรรีบพามาพบกุมารแพทย์โดยทันที

  • ปัสสาวะมีกลิ่นคล้ายซอสถั่วเหลืองหรือกลิ่น Maple Syrup อาจเป็นสัญญาณของโรคความผิดปกติทาง Metabolism เช่น โรค Maple Syrup Urine Disease ซึ่งทารกกลุ่มนี้อาจมีภาวะดูดนมได้ไม่ดี ซึม อาเจียนหรือชักร่วมด้วย

  • ปัสสาวะมีกลิ่นคล้ายถุงเท้าเหม็น(Sweaty Feet) ลูกจะเกิดอาการซึม อาเจียน อาจเป็นถึงขั้น Coma ได้ เรียกว่าโรค Isovaleric Acidemia


 

ตารางน้ำหนัก ส่วนสูง มาตรฐานตามอายุลูกแรกเกิด – 12 เดือน

ตารางส่วนสูงน้ำหนัก, ตารางน้ำหนักส่วนสูง, ตารางน้ำหนัก ส่วนสูง มาตรฐานตามอายุ, ตาราง ส่วน สูง, ตาราง เทียบ ส่วน สูง, ตาราง เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วน สูง นักเรียน, ตาราง เทียบ น้ำหนัก ส่วน สูง, ตาราง วัด ส่วน สูง, ตาราง เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วน สูง, ตาราง น้ำหนัก ส่วน สูง ผู้หญิง, ตาราง น้ำหนัก ส่วน สูง มาตรฐาน, ตาราง น้ำหนัก ส่วน สูง ผู้ชาย, ตาราง เทียบ น้ำหนัก ส่วน สูง ผู้หญิง, ตารางน้ำหนัก ส่วนสูงเด็ก, เช็กส่วนสูงเด็ก 

อยากรู้ตารางน้ำหนักส่วนสูงของลูกวัยทารกจะเป็นแบบไหน แบบไหนเรียกว่าลูกตัวสูง แบบไหนที่ต้องเริ่งเสริมพัฒนาการมาเช็กค่ะ  

ตารางน้ำหนัก ส่วนสูง มาตรฐานตามอายุลูกแรกเกิด – 12 เดือน

การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการด็กทารก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักหรือส่วนสูงเพียงอย่างเดียวนะคะ แต่ขึ้นอยู่กับการได้รับอาหารที่มีประโยชน์ เหมาะสมและเพียงพอกับวัย พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว การเคี้ยวกลืน การขับถ่าย พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ด้วย

โภชนาการที่เหมาะสมกับทารกที่มีอายุ 6-8 เดือน คืออาหารเสริม 1-2  มื้อ สลับกับนมวันละประมาณ 20-24 ออนซ์ โดยแบ่งมื้อนม 3-4 มื้อต่อวัน และการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสุขภาพที่ดีของทารก หากพ่อแม่เข้าใจและตอบสนองลูกอย่างเหมาะสม จะทำให้ลูกเป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง สามารถเติบโตมาเป็นเด็กที่ เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดี และมีพัฒนาการสมวัยตามเกณฑ์นะคะ
 

ตารางน้ำหนักส่วนสูงของลูกทารก 


ตารางส่วนสูงน้ำหนัก, ตารางน้ำหนักส่วนสูง, ตารางน้ำหนัก ส่วนสูง มาตรฐานตามอายุ, ตาราง ส่วน สูง, ตาราง เทียบ ส่วน สูง, ตาราง เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วน สูง นักเรียน, ตาราง เทียบ น้ำหนัก ส่วน สูง, ตาราง วัด ส่วน สูง, ตาราง เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วน สูง, ตาราง น้ำหนัก ส่วน สูง ผู้หญิง, ตาราง น้ำหนัก ส่วน สูง มาตรฐาน, ตาราง น้ำหนัก ส่วน สูง ผู้ชาย, ตาราง เทียบ น้ำหนัก ส่วน สูง ผู้หญิง, ตารางน้ำหนัก ส่วนสูงเด็ก, เช็กส่วนสูงเด็ก

พ่อแม่หลายคนอยากให้ลูกอ้วน แต่ในความเป็นจริงหากลูกน้ำหนักตรงตามเกณฑ์ ก็ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะผอมเกินไป เพราะเมื่อเด็ก ๆ ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือนหรือมากกว่านั้น กินอาหารเสริมหลัง 6 เดือนไปแล้ว ถ้าน้ำหนัดกลูกยังตรงตามเกณฑ์ ก็ถือว่าสมบูรณ์แข็งแรงค่ะ ที่สำคัญ แม้เด็กอ้วนจะน่ารัก แต่ก็เสี่ยงโรคภัยหลาย ๆ โรคด้วย 

ท่านวดขา นวดฝ่าเท้ากระตุ้นพัฒนาการ คลายเครียดให้ลูก

นวดขาทารก, นวดเท้าทารก, นวดกระตุ้นพัฒนาการทารก, นวดตัวลูกทารก, นวดขาลูก, นวดขาเด็ก, นวดเด็ก, ท่านวดทารกแรกเกิด, นวดทารกให้หลับ, วิธีนวดทารก, ทำไมต้องนวดทารก, นวดทารก ยังไง 

สำหรับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หลับยาก หรือร้องกวน การนวดจะช่วยให้เด็กมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการได้อย่างรวดเร็วและช่วยให้เด็กหลับได้ง่ายขึ้น มาลองนวดขาและนวดเท้าง่าย ๆ ให้ลูกกันค่ะ

ท่านวดขา นวดฝ่าเท้ากระตุ้นพัฒนาการ คลายเครียดให้ลูก

การนวดขา และเท้า ลักษณะของท่าจะคล้ายกับท่านวดแขนและมือ โดยในส่วนเท้า และข้อเท้าของเด็กมีความสำคัญ เพราะเป็นส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนักตัว เมื่อเด็กหัดยืน และเดินการนวดเท้าจะเป็นการเตรียมพร้อมให้เด็กในการหัดยืน และเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อขาและเท้า แบ่งออกเป็น 3 ท่าหลักคือ ท่านวดขาให้หายเมื่อย ท่าคลึงฝ่าเท้า และท่าเดินหน้าถอยหลัง   

ท่านวดขาทารก

นวดขาลูกทีละข้าง โดยจับขายกขึ้นใช้มืออีกข้างหนึ่งจับรอบขานวดคลึงเป็นวงกลม เริ่มจากต้นขาค่อยๆเลื่อนไปสู่ปลายเท้า แล้วเคลื่อนลงโดยทำขึ้น-ลงสลับกัน (ทำ 5 ครั้ง) ต่อจากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้คลึงรอบข้อเท้าเด็ก อย่างแผ่วเบา นุ่มนวล ให้รอบข้อเท้า คลีงรอบตาตุ่มและบริเวณเอ็นร้อยหวาย

ท่านวดฝ่าเท้าทารก

  • ท่าลูกกลิ้ง ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างกลิ้งขาลูกไปมา โดยเริ่มจากหัวเข่าไปยังข้อเท้า แล้วกลิ้งลง (ทำ 5 ครั้ง) เสร็จแล้วทำอีกข้างเช่นเดียวกัน

  • ท่าคลึงฝ่าเท้า ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดฝ่าเท้าเด็กจากส้นเท้าขึ้นมาที่นิ้วเท้าเด็กทุกนิ้ว ทีละนิ้ว จากนั้นลูบบนฝ่าเท้าเด็กเข้าหาตัวคนนวด แต่ละท่าในการนวดให้ลูกน้อยนั้น ควรทำ 5-10 ครั้ง โดยใช้เวลาในการนวดประมาณ 15-30 นาที ที่สำคัญ การนวดในแต่ละครั้ง คือการถ่ายทอดความรักผ่านทุกสัมผัส พ่อแม่ควรสบตากับลูก พร้อมกับพูดคุยด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน เพื่อให้สายสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกก่อตัวขึ้นที่ละน้อย

 

 

ทารกผิวเผือก มารู้จักกับโรค Albinism หรือคนผิวเผือกกันเถอะ

ทารกผิวเผือก, เด็กผิวเผือก, คนผิวเผือก, ตัวเผือก, โรคผิวเผือก, ผิว เผือก สาเหตุ, ทำไม เป็นผิวเผือก, ผิวเผือก เกิดจาก, ผิวเผือก กรรมพันธุ์, ผิวเผือก โรคทางพันธุกรรม, รักษา ผิวเผือก, ผิวเผือก โตแล้วจะหายไหม, ผิว เผือก อันตรายไหมผิวหนัง, Albinism

โรค Albinism หรือคนผิวเผือก เป็นโรคทางพันธุกรรมเกิดขึ้นได้ทั้งคนและสัตว์ เกิดขึ้นได้ทุกเชื้อชาติ โรคคนผิวเผือกเกิดได้อย่างไร มาทำความเข้าใจกันค่ะ

ทารกผิวเผือก มารู้จักกับโรค Albinism หรือคนผิวเผือกกันเถอะ

สาเหตุของโรค Albinism หรือคนผิวเผือก

เกิดจากข้อบกพร่องทางทางพันธุกรรม เนื่องจากความผิดปกติของยีน ที่ทำหน้าที่ควบคุม การสร้างเม็ดสีเมลานินในอวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตเม็ดสีเมลานินออกมาได้ คนที่เป็นโรคเผือกจึงมีผิวขาว ผมสีขาว ตาสีขาว ม่านตาสีเทาและโปร่งแสง รูม่านตาสะท้อนแสงออกมาเป็นสีแดง และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา

การวินิจฉัยโรค Albinism หรือคนผิวเผือก

การทดสอบทางพันธุกรรมภาวะผิวเผือก เกิดกับคนทุกเชื้อชาติ มีอัตราการเกิดประมาณ 1:17,000 คน เกิดในพื้นที่ที่มีคนดำอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะเกิดจากการผสมกันระหว่างยีนด้อยกับยีนด้อย

ลักษณะของโรค Albinism หรือคนผิวเผือก

  1. ผิว คนผิวเผือกจะมีผิวที่ไวต่อแสงมาก เนื่องจากไม่มีเม็ดสี Melania ที่ช่วยในการปกป้องผิวจากแสงแดด ถ้าคนผิวเผือกต้องสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานานอาจทำให้ผิวหนังแดงหรือเกิดอาการแพ้ถึงขั้นเป็นมะเร็งผิวหนังได้

  2. ดวงตา ตาของคนผิวเผือกจะปรับตัวกับแสงได้ไม่ดีนักและมองไม่เห็นในที่มืด ส่วนใหญ่คนผิวเผือกจะสายตาสั้นมาก หรือสายตายาวมากเนื่องจากมักมีปัญหาด้านระบบประสาทที่ส่งภาพจากตาไปยังสมอง และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา เช่น ตาเหล่ ตาไวต่อแสง ไม่สามารถควบคุมดวงตาได้(ดวงตามีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว) ตาบอด

  3. เส้นผม เนื่องจากร่างกายขาดการผลิต Melania ทำให้คนเผือกผมขาวไปด้วย

  4. อาการเฉพาะกลุ่ม คนผิวเผือกบางประเภทอาจมีปัญหาอื่นๆรวมด้วย เช่น เลือดไหลไม่หยุด ปัญหาปอด ร่างกายอ่อนแอติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ฯลฯ

วิธีการรักษาโรค Albinism หรือคนผิวเผือก

โรค Albinism หรือคนผิวเผือก เป็นโรคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโดยตรง แต่สามารถรักษาทางอ้อมได้ ดังนี้ หลีกเลี่ยงการยืนกลางแดดเป็นเวลานาน หรือถ้าต้องอยู่กลางแจ้งจริงๆควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดและทาครีมกันแดด การสวมใส่แว่นกันแดด หรือคอนแทคเลนส์ จะช่วยให้ดวงตาสัมผัสกับแดดน้อยที่สุดเพื่ออป้องกันแสงแดด หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมี เพราะคนผิวเผือกมักจะผิวบาง เนื่องจากการขาดสาร Melania ทำให้ร่างกายไม่สามารถทนรับกับสารเคมีได้ เช่น ไม่ควรใช้ครีมกันแดดที่ผสมสารเคมี หลีกเลี่ยงการย้อมผม ฯลฯ

การป้องกันการเกิดโรค Albinism หรือคนผิวเผือก

การวางแผนครอบครัวก่อนมีบุตร เช่น การตรวจสุขภาพเพื่อหาโรคทางพันธุกรรม โรคภูมิต้านทางโรคต่าง ๆ ของคุณพ่อกับคุณแม่ ฯลฯ



ทำไมลูกทารกชอบตีหน้าแม่ ยิ่งเล่นสนุกยิ่งชอบตีหน้าพ่อแม่

 ลูก ทารก ตีหน้าแม่, ลูก ทารก ชอบตีหน้าแม่, ทำไม ลูกทารก ตีหน้า พ่อแม่, ทำไม ลูกเล็กตีหน้า พ่อแม่, ทารก เล่น ตีหน้า พ่อแม่, สาเหตุ ลูก ทารก ตีหน้า พ่อแม่, วิธีแก้ ลูก ทารก ตีหน้าพ่อแม่, วิธีแก้ ลูกเล็ก ตีหน้าพ่อแม่, ลูกตีหน้าพ่อแม่ ต้องดุไหม, ลูกตีหน้า ตอนเล่น, ลูกชอบเล่น ตีหน้า

เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมเด็กเล็ก ๆ เวลาถูกใจอะไรก็ชอบเอามือตีหน้าแม่ หรือใบหน้าของคนที่เขารู้จัก คนที่อยู่ใกล้ ๆ หรือคนที่อุ้มเขาอยู่ เรามีคำตอบค่ะ

ทำไมลูกทารกชอบตีหน้าแม่ ยิ่งเล่นสนุกยิ่งชอบตีหน้าพ่อแม่

เรื่องนี้มีคำตอบค่ะ เนื่องจากเด็กมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อมือมากขึ้น แขนขาขยับได้ดีขึ้นแต่ก็ยังควบคุมได้ไม่ดีนัก และหลายครั้งที่เด็กทำเด็กจะมองหน้าแม่ ถ้าลูกเล่นกับแม่แล้วแม่ยิ้ม ตรงนี้เองที่จะเป็นตัวบอกเด็กว่าอันนี้แม่ชอบ และสนุกสนานด้วย จนทำให้เด็กมองเห็นว่าสิ่งที่เขาทำนั้นดี ยิ่งอารมณ์ดีมากๆ ก็ยิ่งชอบใจมาก ก็จะตีหน้าแม่รัวมากๆ เช่นกัน 

สิ่งที่คุณแม่จะทำได้ขณะนั้น อาจจะต้องหยุดการเล่น แล้วบอกกับลูกอย่างจริงจังว่าทำอย่างนี้ไม่ได้นะ แม่เจ็บ อาจจะจับมือลูกแล้วมองหน้าเขา พร้อมกับพูดเหตุผลให้เขาฟัง ลูกจะยอมหยุดและเล่นอย่างอื่นแทน หากครั้งต่อไปลูกยังตีอีก คุณแม่ก็ควรใช้วิธีเดิมในการจัดการ เพื่อให้เขาเกิดการย้ำคิดย้ำทำ และไม่ทำอีกในที่สุด 

คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกพัฒนากล้ามเนื้อมือได้อย่างเหมาะสม มากกว่าร้องร้องห้ามเวลาลูกตีค่ะ เช่น ให้ลูกใช้มือหยิบข้าวของ ใช้มือจับช้อนตักข้าวเข้าปาก ใช้มือในการเล่นเกมหรือทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น เป็นต้น

เล่นกับลูกยังไงไม่ขัดพัฒนาการทารก

  • เวลาอุ้มลูกแล้วไม่อยากให้ลูกตีหน้า ควรอุ้มแบบหันหน้าออกข้างนอก ระวังอย่างให้ลูกหันหน้าเข้าหาแม่ เพราะลูกจะมีโอกาสตีหน้าแม่ได้

  • เวลาเล่นกับลูก เช่น เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นชี้หน้า ไหนจมูก ไหนปาก คิ้ว ตา ต้องทำท่าทางให้ชัดเจนว่าคุณแม่กำลังชีอวัยวะบนใบหน้าอยู่ หรือจะจับมือลูกมาชีเองเลยก็ได้ ช่วยลดโอกาสที่ลูกจะตีหน้าแม่ลง  

  • เมื่อถูกลูกตี ห้ามโวยวายเด็ดขาด เพราะเด็กบางคนจะรู้สึกสนุกเมื่อแม่ส่งเสียงร้องดังๆ ยิ่งทำยิ่งสนุก ให้นิ่งเงียบแล้วบอกลูกว่าอย่าตี แล้วกลับไปเล่นในสิ่งที่เราต้องการให้เล่น เช่น กลับไปเล่นจ๊ะเอ๋ กลับไปเล่นชี้จมูก ชี้ตา แต่ถ้าลูกไม่ยอมจะตีอย่างเดียว ให้ลุกขึ้นยืนทันทีค่ะ เพื่อตัดโโอกาสที่เด็กจะตีหน้าได้  

  • เมื่อรู้ว่าลูกจะตี ทันทีที่ลูกเอื้อมมือ ขยับมือทำท่าจะตี รู้ให้รีบจับมือลูกไว้เลย  

  • ทุกคนในบ้านต้องทำแบบเดียวกัน ห้ามปล่อยโอกาสให้ลูกตีพี่เลี้ยง หรือปู่ย่าตายายได้ และต้องทำอย่างสม่ำเสมอ   

เมื่อลูกตีหน้าแม่ การดุด่าไม่ใช่สิ่งที่ควรทำค่ะ เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจเหตุผล หรือแม่แต่การตีตอบก็ไม่ควร เพราะนอกจากจะเป็นการปลูกฝังเรื่องความรุนแรงแล้วยังอาจไม่ได้ผลอีกด้วย

 

ทำไมลูกทารกชอบยิ้มตอนหลับ ทารกยิ้มตอนหลับได้อย่างไร

 ทารก หลับ ยิ้ม, ทำไม ทารก ยิ้มได้ตอนหลับ, ทารก หลับแล้วยิ้ม, ทารก ยิ้ม หลับสนิท, ทารก ยิ้ม หลับ, ทารก หลับ ไป ยิ้มไป, ทารก หลับยิ้มได้, เด็กทารก หลับ ยิ้ม, ทำไม ทารก หลับ ยิ้ม


ทำไมเด็กทารกนอนหลับแล้วยังส่งยิ้มได้ ข้อนี้เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทารกไหม เรามีคำตอบค่ะ 

ทำไมลูกทารกชอบยิ้มตอนหลับ ทารกยิ้มตอนหลับได้อย่างไร

  • เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อใบหน้า การยิ้มระหว่างหลับของทารกในช่วง 0 - 1 เดือนแรกหลังคลอด ไม่ได้มาจากการฝันนะคะ แต่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อใบหน้า เพราะทารกยังไม่สามารถแยกแยะอารมณ์ความรู้สึกได้

  • ลูกกำลังฝัน ช่วง 6 เดือนขึ้นไป ทารกจะเริ่มฝันแล้ว เนื่องจากทารกวัยนี้มองเห็นได้อย่างเต็มที่ จึงเกิดการเก็บไปฝัน ซึ่งการฝันของทารกวัย 6 เดือน จะยังไม่เป็นเรื่องเป็นราวเหมือนผู้ใหญ่ แต่จะเป็นภาพสไลด์แบบไม่ต่อเนื่อง และทารกจะยังไม่เข้าใจว่านี่คือความฝัน

  • พัฒนาการกล้ามเนื้อใบหน้า ในช่วง 2 - 5 เดือน ขณะหลับทารกจะมีอาการทางสีหน้าหลายอย่าง เช่น สีหน้าบึ้งตึง ขมวดคิ้ว ทำปากขมุบขมิบ และยิ้ม อาการเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกว่าทารกกำลังฝันหรือกำลังเล่นกับแม่ซื้ออยู่ แต่คือพัฒนาการกล้ามเนื้อใบหน้าของทารกเท่านั้น

ลูกชอบยิ้มตอนหลับไม่ใช่เพราะลูกกำลังเล่นกับแม่ซื้อตามความเชื่อที่เราเคยได้ยินนะคะ แต่เกิดจากพัฒนาการกล้ามเนื้อใบหน้าตามที่กล่าวไปข้างต้นนั่นเอง คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ พัฒนาการต่างๆ จะส่งผลให้ลูกเป็นเด็กฉลาดในอนาคตแน่นอนค่ะ

ทำไมลูกทารกชอบแลบลิ้นบ่อย ทารกแลบลิ้นบอกถึงพัฒนาการเด็กอย่างไร

ทารกแลบลิ้น, ทารกแลบลิ้นบ่อย, ลูกแรกเกิดแลบลิ้น, ลูกแลบลิ้น, เด็กแลบลิ้น, ลูกเล่นลิ้น, ลูกเล่นน้ำลาย, ทำไมทารกแลบลิ้น, ทำไมลูกชอบแลบลิ้น, ลูกทารกแลบลิ้นทำไม, ทำยังไงให้ลูกไม่แลบลิ้น, แลบลิ้น พัฒนาการทารก

ทารกแลบลิ้นบ่อย ๆ สามารถบอกได้ถึงพัฒนาการทารกว่าตอนนี้เขากำลังพัฒนาเรื่องอะไรอยู่ มาเช็กพัฒนาการลูกทารกจากการแลบลิ้นกันค่ะ

ทำไมลูกทารกชอบแลบลิ้นบ่อย ทารกแลบลิ้นบอกถึงพัฒนาการเด็กอย่างไร

คุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมทารกชอบแลบลิ้น จนถึงขั้นวิตกกังวลไปต่างๆ นานาว่าเขาอาจเป็นแผลในช่องปากหรือเปล่า ลูกไม่สบายหรือเปล่า เกิดอะไรขึ้นกันแน่ วันนี้เรามีคำตอบเรื่องทารกชอบแลบลิ้นมาบอกกันค่ะ

ทารกชอบแลบลิ้นบ่อย ๆ เพราะ

  • ทารกกำลังเรียนรู้อวัยวะของตัวเอง ทารกวัย 2 เดือน จะเริ่มสำรวจเเละเรียนรู้อวัยวะของตัวเอง โดยเริ่มจากการควบคุมลิ้นในระหว่างดูดนมแม่ หรือการดื่มน้ำ

  • ทารกกำลังเล่นกับปากเพื่อทำเสียง และจะปรับเปลี่ยนเสียงไปเรื่อยๆ ตามความต้องการ ถือเป็นการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง

  • ทารกกำลังเล่นน้ำลาย การเล่นน้ำลายเป็นเรื่องปกติของทารก คุณแม่ต้องคอยเช็ดน้ำลายออก อย่าปล่อยให้คางหรือคอเปียก เพราะอาจทำให้เกิดแผลจากการกัดของน้ำลายได้

  • ทารกกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการพูด หรือการออกเสียง สำหรับทารกที่ชอบทำลิ้นจุกปาก ไม่ใช่อาการผิดปกตินะคะ ถ้าลูกไม่ได้แสดงสีหน้าเจ็บปวดหรือร้องไห้ไปด้วย แสดงว่าทารกกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการพูด รับรองว่าเจ้าตัวน้อยของคุณแม่ต้องพูดเก่งแน่นอนค่ะ

  • เกิดจากการเลียนแบบ มีคนมาแลบลิ้นให้ทารกเห็นจึงทำตาม

ทารกส่วนมากมักจะเรียนรู้อวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายตัวเอง เช่น การแลบลิ้น การทำเสียงด้วยปาก การหยิบจับของ ฯลฯ ซึ่งการเรียนรู้เหล่านี้จะส่งผลให้พัฒนาการของทารกดีขึ้น และเป็นเด็กฉลาดในอนาคตแน่นอนค่ะ

หากทารกเริ่มมีอาการแลบลิ้นและร้องไห้หรือแสดงอาการเจ็บปวด ให้คุณแม่สำรวจช่องปากและลิ้นของทารกให้ดีนะคะ เพราะอาการเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากการเป็นแผลในช่องปาก ควรรีบปรึกษาแพทย์ด่วนค่ะ



ทำไมเด็กแรกเกิดต้องเข้าตู้อบ ตู้อบทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร

ตู้ อบ เด็ก, ตู้ อบ ทารก แรก เกิด, ทารก แรก เกิด ใน ตู้ อบ, การดูแล ทารก เข้าตู้อบ, ทำไม ทารกต้องเข้าตู้อบ, ทารกตัวเล็ก เข้าตู้อบ, ตู้อบทารก ช่วยเรื่องอะไร, ลูกเข้าตู้อบ ต้องทำยังไง, ตู้อบทารก คือ, ตู้อบ ทารกตัวเหลือง, ตู้อบทารก คลอดก่อนกำหนด 

พ่อแม่หลายคนคงสงสัยเกี่ยวกับ “ตู้อบเด็กทารกแรกเกิด” ว่าทำไมเด็กบางคนต้องเข้าตู้อบก่อน และมีสาเหตุมาจากอะไร แล้วพ่อแม่จะมีวิธีรับมืออย่างไร เรามีข้อมูลมาฝากค่ะ

ทำไมเด็กแรกเกิดต้องเข้าตู้อบ ตู้อบทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร

ตู้อบเด็กทารกแรกเกิดคือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ควบคุมอุณหภูมิเด็กทารกแรกเกิดให้มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงตามเกณฑ์ โดยตู้อบเด็กทารกแรกเกิด มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับร่างกายคุณแม่ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น และการหมุนเวียนอากาศ ตู้อบเด็กทารกแรกเกิดจึงมีความจำเป็นสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย การเจริญเติบโตยังไม่สมบูรณ์หรือทารกมีน้ำหนักน้อยกว่า 750 กรัม

สาเหตุที่ลูกต้องเข้าตู้อบเด็กทารกแรกเกิด

  • คลอดก่อนกำหนด มีปัญหาด้านน้ำหนักตัว อุณหภูมิร่างกายไม่ตาม มาตรฐานหรือต่ำกว่า 36.5-37.5 องศาเซลเซียส

  • เด็กตัวเล็กมากว่าอายุครรภ์ มีปัญหาทางระบบหายใจ หัวใจ และการไหลเวียนโลหิต

  • เด็กตัวเหลือง ตัวเหลืองภายใน 3 วันหลังคลอดเกล็ดเลือดต่ำโดยที่ผิวทารก และนัยน์ตาขาวออกสีเหลือง เพราะ ตับของทารกยังทำงาน ได้ไม่ดีนักและมีเม็ดสี (bilirubin) คั่งอยู่ในเลือดมาก

  • คุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ไทรรอยด์ ธาลัสซีเมีย ฯลฯ 

ดูแลลูกหลังออกจากตู้อบเด็กทารกแรกเกิดอย่างไร

  • ไออุ่นรักจากแม่ หมั่นพูดคุยกับลูกหรือสัมผัส เช่น ลูบไล้แขน ขา แก้ม ลูบหัว จุมพิตเบาๆ โอบกอดด้วยความรัก หรือสื่อรักอบอุ่นด้วยวิธีสบตาลูกบ่อยๆ ยิ้มทักทาย ซึ่งสัมผัสจากแม่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการตอบสนองของลูกได้ดี

  • นมแม่ยาแสนวิเศษ ในน้ำนมแม่มีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนสำหรับลูก โดยเฉพาะโปรตีน แคลเซียมและธาตุเหล็ก จำเป็นกับลูกหลังคลอดเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

  • ระวังอุณหภูมิร่างกายลูก หลังอาบน้ำลูก พยายามเช็ดตัวลูกให้แห้งและรีบห่มผ้าเตรียมเสื้อผ้าลูกที่ให้ความอบอุ่นกับร่างกาย เพื่อรักษาอุณหภูมิให้คงที่

  • คุณแม่อารมณ์ดี คุณแม่ควรทำจิตใจให้สดชื่นอยู่เสมอ หากคุณแม่เกร็งและกังวลจนเกินไปความวิตกเหล่านั้นอาจจะส่งผลมาถึงลูกและกระทบต่อพัฒนาการของลูกได้


 

พ่อแม่ต้องรู้ นี่คือ 6 สัญญาณที่ลูกทารกกำลังบอกรักพ่อแม่

เด็กทารกบอกรัก, ทารกบอกรักยังไง, รู้ได้ไงว่าลูกรักพ่อแม่, สัญญาณทารก, สัญญาณทารกบอกรักพ่อแม่, ท่าทาง ลูก บอกรักพ่อแม่, อาการ ลูก บอกรักพ่อแม่, ลูก บอก รัก ส่งจูบ, ลูกบอกรัก กอด, ลูกบอกรัก จับหน้าพ่อแม่, ลูก บอก รัก ยิ้ม, ลูกทารก ยิ้มให้พ่อแม่

แม้ว่าลูกทารกจะยังพูดไม่ได้ แต่ลูกก็บอกรักพ่อกับแม่ได้นะคะ อยากรู้ว่าเขาบอกรักพ่อแม่อย่างไรให้สังเกตสัญญาณต่อไปนี้ค่ะ

พ่อแม่ต้องรู้ นี่คือ 6 สัญญาณที่ลูกทารกกำลังบอกรักพ่อแม่

  • สัญญาณที่ 1 : ทารกอายุ 2 เดือน : “ยิ้ม” เป็นการเข้าสังคมครั้งแรกของเขา โดยจะยิ้มให้ใบหน้าที่เขาคุ้นเคยมากที่สุด นั่นคือใบหน้าคุณแม่   

  • สัญญาณที่ 2 : ทารกอายุ 4 เดือน : “เลียนแบบ”  เวลาคุณแม่ทำปากจู๋ แลบลิ้น หรือเคลื่อนไหว เขาคิดว่าคุณแม่ชอบทำ เขาเลยทำตามเพื่อให้รู้ว่าเขาก็ชอบในสิ่งที่คุณแม่ชอบนะ

  • สัญญาณที่ 3 : ทารกอายุ 7 เดือน : “คว้าจับ” เมื่อสามารถเอื้อมคว้าจับของได้แล้ว นอกจากของเล่นที่ชอบคว้า เขาก็ชอบคว้าจับคุณแม่ด้วย

  • สัญญาณที่ 4 : ทารกอายุ 8 เดือน : “ร้องไห้” เพราะขาดคุณแม่ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องห่างกัน เพราะเขาอยากอญุ่กับคุณแม่ตลอด

  • สัญญาณที่ 5 : ทารกอายุ 11 เดือน : ส่งเสียงเรียก "พ่อ" “แม่” นี่คือ คำบอกรักแม่ด้วยการออกเสียงว่า mama หรือ แม่ เพราะเป็นคำที่ออกเสียงง่ายที่สุดและคิดว่าเป็นชื่อคนสำคัญที่สุดของเขา

  • สัญญาณที่ 6 : ทารกอายุ 12 เดือน : ส่ง “จุ๊บ” ให้ เขาก็ส่งจุ๊บตอบ เพื่อแสดงให้รู้ว่าหนูรักคุณแม่นะ  

รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมตอบสนองลูกด้วยนะคะ ^_^