“ทำไมลูกมีประจำเดือนเร็ว ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ กินก็เยอะทำไมไม่อ้วน ลูกดูไม่ค่อยแข็งแรง อ่อนเพลียง่าย” รู้ไหมว่าอาการเหล่านี้เป็นผลลัพธ์จากการทำงานของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล แล้วจะทำให้ฮอร์โมนทำงานสมดุลได้อย่างไร เพื่อให้ลูกเติบโตอย่างสมวัย
ฟัง The Exeprt พญ.นวลผ่อง เหรียญมณี
กุมารเวชศาสตร์ โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม โรงพยาบาลพญาไท 2
มีฮอร์โมนที่สําคัญกับการเจริญเติบโตของเด็กมีสามตัว ได้แก่ 1.ฮอร์โมนเพศ 2.ฮอร์โมนไทรอยด์ 3.โกรทฮอร์โมน สำหรับEPนี้ทำความรู้จักกับฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสําคัญกับการเจริญเติบโตของเด็ก ได้แก่ 1.การพัฒนาทางด้านสมองของเด็ก 2. การพัฒนาทางด้านร่างกาย 3.ระบบการเผาผลาญก็เกี่ยวข้องนะคะ ฮอร์โมนตัวนี้ทําให้การเผาผลาญของร่างกายเป็นไปด้วยดี แต่ก็มีโรคหรืออาการที่เกิดจากไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษเด็กจะมีอาการตาบวม ตาโปน คอโต บางทีมาด้วยปัญหาเรื่องสมาธิสั้นไฮเปอร์แอคทีฟ และอีกอย่างคือกินเยอะแต่น้ำหนักไม่ขึ้น กินแล้วผอมเหมือนที่เขาบอกว่ามีไทรอยด์อ้วนกับไทรอยด์ผอม หรืออาจจะมีอาการท้องเสีย เหนื่อยง่าย นอนหลับไม่สนิท เช็กลิสต์เบื้องต้นที่พ่อแม่อาจจะนำไปเช็กได้แก่ นอนน้อย นอนไม่หลับหลับไม่สนิท สมาธิสั้น เหนื่อยง่าย ใจสั่น กินจุแต่น้้ำหนักไม่ขึ้น ถ้าสังเกตว่าลูกมีอาการเหล่านี้ สามารถพามาพบคุณหมอเพื่อเช็กเรื่องไทรอยด์เป็นพิษ
สำหรับเรื่องฮอร์โมนจะต้องมีความสมดุล ถ้าเยอะก็ไทรอยด์เป็นพิษ แต่ถ้าน้อยไปก็เป็นกลุ่มของไทรอยด์ต่ำ อาการก็จะตรงกันข้ามคือ กินเยอะแต่อ้วน เนือยๆไม่active ท้องผูก นอนเยอะ ดูอ้วนๆ ฉุๆ แต่ว่าทั้งสองกลุ่ม พ่อแม่จะสังเกตเห็นชัดว่าทําไมลูกเราคอโตจังหรือที่เขาเรียกว่าคอพอก อาการแบบนี้ก็จะเจอได้ทั้งสองกลุ่ม ซึ่งต่อมไทรอยด์จะเป็นต่อมที่อยู่ใต้ผิวหนังนี้บริเวณคอเป็นลักษณะรูปผีเสื้อ พอมีความผิดปกติมันก็จะบวมโตขึ้นมา ซึ่งถ้ารุนแรงมากอาจจะดูโตแบบทั้งคอแต่ถ้าไม่มาก พอเงยคอขึ้นมาก็จะสังเกตเห็นได้
การรักษาไทรอยด์เป็นพิษจะใช้ยาเป็นหลัก ทั้งการกลืนแร่รังสีและผ่าตัด สำหรับการกลืนแร่รังสีจะเริ่มใช้ได้ตั้งแต่เด็กที่อายุมากกว่า10ปีขึ้นไป ส่วนการผ่าตัดอาจจะต้องดูเป็นกรณี เพราะจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ส่วนการรักษากลุ่มของไทรอยด์ต่ำ มีวิธีรักษาแบบเดียวคือให้ยากินฮอร์โมนไทรอยด์เสริม เด็กบางคนอาจจะกินแต่ช่วงระยะสั้น แต่บางคนก็ต้องกินยาไปตลอดชีวิต ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มที่ร่างกายสร้างต่อมไทรอยด์ไม่ได้และเป็นมาตั้งแต่กําเนิด
สาเหตุที่ต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติเกิดจากการภูมิต้านทานของร่างกายเข้าไปทําลายทำให้สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาไม่ได้ อย่างที่เราคุ้นเคยกับคําว่าภูมิต้านทาน ทําร้ายเซลล์ของร่างกาย สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นคือต้องทำให้ฮอร์โมนสมดุล ร่างกายมีความสมดุล พักผ่อนดี ออกกําลังกายดี กินอาหารครบถ้วน และให้หลากหลายร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล และถึงแม้ว่าเด็กคนนั้นจะมีความเสี่ยงอยู่ที่จะเป็นโรคไทรอยด์ แต่ความเสี่ยงอาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบกับเด็กมาก ถ้าสามารถรักษาภาวะสมดุลได้
ภาวะการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ตั้งแต่กําเนิดเป็นเรื่องที่สําคัญมาก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายคัดกรองทารกแรกเกิดทุกคนว่ามีการขาดฮอร์โมนตัวนี้ไหม ดังนั้นจะเห็นว่าหลังคลอด 2วันแรกเด็กจะโดนเจาะส้นเท้าเพื่อตรวจระดับไทรอยด์ฮอร์โมน เพราะถ้าขาดและเสริมฮอร์โมนให้ได้ภายใน2สัปดาห์แรก สมองเด็กก็ได้รับ ฮอร์โมนไทรอยด์พัฒนาไปได้ปกติ
ฮอร์โมนเพศทำหน้าที่แบ่งแยกเพศหญิงเพศชาย ฮอร์โมนเอสโตรเจนทําให้เกิดลักษณะเพศหญิง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทําให้เกิดลักษณะของเพศชาย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ฮอร์โมนมาเร็วมาเยอะก่อนเวลาที่ควรจะเป็นทําให้เกิดภาวะที่เรียกว่าเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย ในช่วงแรกจะเห็นว่าเด็กโตดีโตเร็วสูงกว่าเพื่อน แต่ปรากฎคือกระดูกโตไปมากแล้วอีกไม่นานกระดูกปิด ทําให้ตอนหลังความสูงหยุดก่อนเพื่อน กลายเป็นตัวเตี้ยกว่าเพื่อนและเตี้ยกว่าที่ควรจะเป็นตามพันธุกรรม และพอเราโตเร็วเป็นสาวเร็วแต่ใจเรายังเป็นเด็กก็กระทบต่อสภาพแวดล้อมทางสังคมและจิตใจของเด็ก ในแง่ของเรื่องอารมณ์อาจจะมีอารมณ์หงุดหงิดเพราะยังควบคุม อารมณ์ได้ไม่ดีนัก คือร่างกายมันไม่ไปกับพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และเสี่ยงต่อการถูกการละเมิดทางเพศ เพราะยังป้องกันตัวเองไม่ได้
หลังช่วงโควิดที่ผ่านมามีความชัดเจนขึ้นว่าเด็กเป็นสาวเร็วขึ้นเกิดจากความสมดุลนั่นเองค่ะ คือการที่มีฮอร์โมนเร็วมีจาก 2ปัจจัย 1.เด็กสมบูรณ์มากไป คือมีภาวะอ้วน และ2.ฮอร์โมนไม่สมดุล และส่วนน้อยคือต้องระวังเรื่องโรคที่มีเนื้องอกที่ต่อมไร้สมองมากระตุ้นทําให้เกิดฮอร์โมนเพศหญิงชายเร็วขึ้น ส่วนการรักษา เริ่มต้นก็จะต้อง MRIสมองเพื่อดูว่ามีเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองไหม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของเนื้องอกซึ่งก็รักษาไปตามนั้น และเรื่องการมีภาวะอ้วนหรือฮอร์โมนไม่สมดุลก็ต้องปรับเปลี่ยนนิสัยลูกและพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย และหากคุณหมอประเมินแล้วว่าความสูงสุดท้ายได้น้อยก็มียาควบคุมฮอร์โมนไว้ก่อน ลดฮอร์โมนลงให้สมกับวัย เพื่อให้กระดูกก็จะไม่แก่เร็วไม่ปิดเร็ว ทําให้ความสูงสุดท้ายไปได้ดีขึ้นตามศักยภาพของเด็ก
ซึ่งการดูความสูงน้ําหนักตั้งแต่เด็กมีประโยชน์มาก หมั่นสังเกตน้ำหนักและส่วนสูงของลูก วิธีสังเกตคือ สำหรับเด็กผู้หญิงส่วนสูงจะขึ้นเร็วมากประมาณช่วงอายุ 10ปี และเด็กผู้ชายอายุ 13ปี แต่หากก่อนหน้านี้สูงเร็วมากก็อาจจะต้องคอยสังเกต สมมติว่าลูกอายุ 5ปี เขาควรจะสูงที่ 120ซม. แต่ก็สูงขึ้นมาทันที อาจจะสูงทีละ 5-10ซม. เพราะโดยปกติเด็กจะสูงขึ้นประมาณ 4-6ซม.ต่อปี แต่พอมีฮอร์โมนเพศอัตราส่วนสูงจะขึ้นเป็น 10ซม.ต่อปี พ่อแม่ก็ต้องคอยสังเกตและอาจจะพามาพบคุณหมอ ซึ่งฮอร์โมนเพศของเด็กผู้หญิงจะมาช่วงอายุ 10ปี เด็กผู้ชายจะมาตอนอายุ 13ปี
ฉะนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัย10-13ปี อาจจะกลับมาดูกราฟของเราได้ว่ากำลังสูงเกินไปหรือเปล่าหรือเตี้ยเกินไป ซึ่งภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย เนี่ยเขาตัดเกณฑ์กันที่อายุ 8ปี ถ้าโตเร็วฮอร์โมนจะมาเร็วในช่วง 7-8ปี กราฟพุ่ง หรือเด็กผู้ชายจะตัดเกณฑ์กันที่อายุ9ปี แต่ถ้าอายุ 8-9ปี แล้วทำไมดูโตเร็ว หน้ามัน เริ่มมีสิวก็ต้องเริ่มเอ๊ะ ว่าฮอร์โมนเพศมาเร็วหรือเปล่า
เมื่อมาที่โรงพยาบาลหมอจะตรวจร่างกาย เด็กผู้หญิงดูว่าหน้าอกนั้นเป็นจากเต้านมหรือว่าเป็นแค่ไขมันอ้วน หน้ามันมีสิวไหม มีขนฮอร์โมนขึ้นไหม โดยเฉพาะรักแร้กับหัวหน่าว หรือการเอกซเรย์อายุกระดูก ถ้ากลุ่มที่มีฮอร์โมนอายุกระดูกก็จะเร็วกว่าอายุจริงไปเกิน1-2ปี และสุดท้ายก็คอนเฟิร์ม โดยการวัดฮอร์โมนจากเลือด
สอบถามเพิ่มเติม โปรแกรมตรวจภาวะเด็กเติบโตช้าโปรแกรมตรวจคัดกรองโรคอ้วนในเด็ก 02-617-2444 ต่อ 3219, 3220 รพ. พญาไท 2
แนะนำทีมกุมารแพทย์เฉพาะทางด้านต่อไร้ท่อและเมตาบอลิซึม รพ. พญาไท 2
พญ. นวลผ่อง เหรียญมณี นพ.ไพรัช ไชยะกุล พญ. ณัฐกานต์ นำศรีสกุลรัตน์
FB @Phyathai2Hospital
Line: @Phyathai 2 , @parenting_school
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u