“โกรทฮอร์โมน” ฮอร์โมนสำคัญมากกว่าแค่ลูกโตไว โตช้า โตไม่สมวัย แต่เป็นต้นทางของการทำงานในร่างกายทุกส่วน จะทำอย่างไรให้โกรทฮอร์โมนสมดุล
ฟัง The Expert พญ.นวลผ่อง เหรียญมณี
กุมารเวชศาสตร์ โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม โรงพยาบาลพญาไท 2
Growth Hormone คือฮอร์โมนการเจริญเติบโตเป็นฮอร์โมนแห่งการสร้าง ช่วยสร้างเซลล์ ทําให้เซลล์กระดูกเติบโตเด็กสูง ทําให้เซลล์กล้ามเนื้อแข็งแรงเด็กมีกําลัง ทําให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงการทํางานของหัวใจดี นอกจากนี้โกรทฮอร์โมนยังช่วย สร้างน้ำตาลด้วยทําให้ตับสร้างน้ำตาล ปล่อยน้ำตาลออกมาในกระแสเลือดทําให้เซลล์ต่างๆ ได้พลังงานจากน้ำตาลเซลล์ก็ทํางานดี ช่วยทำให้เกิดการสร้างพลังงานจากการสลายไขมัน
การที่ Growth Hormone จะทำงานได้ดีต้องมี 3 เรื่องสำคัญได้แก่
1. อาหารต้องครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะกลุ่มโปรตีน ซึ่งจะไปกระตุ้นการสร้าง Growth Hormone แต่ทุกอย่างต้องพอดีไม่มากเกินไป Growth Hormone ก็จะออกได้น้อย เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องกินแบบพอเหมาะตามวัย
2. ออกกําลังกายอย่างเพียงพอ ครั้งละ 30-60 นาที แนวของแอโรบิก ประมาณ 5-7 วันต่ออาทิตย์
3. การนอน Growth Hormone จะออกมาช่วงที่เราหลับสนิท ซึ่งแต่ละวัยก็ควรจะนอนให้เหมาะสมกับวัยด้วยค่ะ อายุ 3-6 ปี นอนประมาณ 9-10 ชั่วโมงต่อวัน อายุ 6-10 ปี นอนประมาณ 8-9 ชั่วโมงต่อวัน ช่วงมัธยม-ผู้ใหญ่นอนประมาณ 6-7 ชั่วโมงต่อวัน
คําว่าไม่สมดุลเราแบ่งเป็น ถ้ามันเยอะเกินกับน้อยเกิน สำหรับเด็กจะเจอแบบที่น้อยเกินไปมากกว่า ทำให้เด็กโตช้ากว่าเพื่อน กล้ามเนื้อต่างๆ พัฒนาไม่ค่อยดี โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดใหญ่อาจจะไม่แข็งแรงเท่าเพื่อน โครงสร้างกระดูกพัฒนาช้าลักษณะภายนอกที่เห็นได้คือหน้าจะกลมๆ เล็กๆ ถ้าพูดกันตามวิชาการเด็กกลุ่มนี้จะหน้าเหมือนตุ๊กตา พอโตขึ้นไปแล้วยังไม่มี Growth Hormone จะมีผลกับคอลลาเจนและผิวเหี่ยวเร็ว นอกจากนี้ Growth Hormone ยังเกี่ยวกับการสร้างน้ำตาล อาการที่เกิดขึ้นได้จั้งแต่แรกเกิด คือเด็กอายุ 1 เดือนมีอาการชัก น้ำตาลต่ำ พอตรวจก็เจอภาวะ Growth Hormone ต่ำ ซึ่งส่งผลกับสมองใช้พลังงานไม่ได้ทำให้ IQ ต่ำ รวมถึงเด็กกลุ่มนี้ก็จะค่อนข้างแบบอ้วนหน่อยๆ เพราะอย่างที่บอกว่า Growth Hormone ช่วยสลายไขมัน ถ้าสลายไขมันได้ไม่ดีก็จะทำให้ดูอ้วน กลม เตี้ย เนื้อนิ่มๆ
การรักษาต้องเป็นแบบฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังฉีดทุกวัน แต่ตอนนี้กําลังพัฒนาชนิดที่ฉีดสัปดาห์ละหนึ่งครั้งแต่ยังไม่เข้ามาในประเทศไทย ส่วนที่โฆษณาว่าเป็น Growth Hormoneชนิดกิน ต้องบอกว่าเป็นลักษณะพวกโปรตีน เพราะอาหารกลุ่มโปรตีนจะไปกระตุ้นให้ร่างกาย สร้างโกรทฮอร์โมนต่อ ถามว่าพูดผิดไหมก็ไม่ผิดแต่เป็นการก้าวข้ามบางประโยคไปว่าเป็นสารอาหารที่ไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง Growth Hormone ได้เพียงพอมากกว่า แต่ก็อาจจะเป็นช็อตสั้น ๆ ว่าเป็น Growth Hormone ชนิดรับประทาน แต่ไม่ได้พูดคําว่ามันเพียงพอ หรือมันจะมีผลอะไรแต่ว่ามันเป็นในรูปแบบของโปรตีนมากกว่า หากถามว่าเด็กสามารถกินได้ไหม สำหรับเด็กที่กินอาหารได้ดีแล้วการเสริมเข้ามาอาจจะไม่ได้ช่วย มันก็เป็นสิ่งที่เกินจําเป็น แต่ถ้าเด็กคนไหนที่กินยากจริงๆ แล้วจะเสริมด้วยโปรตีนเสริมก็ไม่มีผลกระทบ แต่ต้องดูว่ามีอย.และเด็กสามารถใช้ได้ไหม และควรปรึกษาคุณหมอของลูกด้วยก็ได้
เพราะการที่ได้รับฮอร์โมนเยอะเกินไปด้วยความที่เป็นฮอร์โมนแห่งการสร้างการเติบโตของเซลล์ถ้ามันเยอะเกินไป อาจจะทำให้เกิดเซลล์เติบโตมากผิดปกติ แล้วเป็นเนื้องอก หรือถ้าหากกินเราก็อาจจะต้องตรวจวัดระดับฮอร์โมนในเลือดว่าพอดีเปล่าเพราะถ้าให้มากไปก็ล้นเป็นข้อเสีย แล้วก็มีอีกหนึ่งวิธีสังเกตตั้งแต่แรกเกิดเลยคือ พ่อแม่สังเกตว่าทําไมลูกชายอวัยวะเพศเล็กหรือสั้นจัง ซึ่งคุณหมอก็จะเช็กระดับโกรทฮอร์โมน ว่ามันมาจากโกรทฮอร์โมนต่ําหรือว่ามันเป็นภาวะที่มันเกิดขึ้นตามวัยของเด็กหรือมีภาวะอื่นด้วย
ถ้าหาก Growth Hormoneสูง เด็กจะโตเร็วโครงสร้างของกระดูกใหญ่ ตัวสูง มือจะดูหนาๆใหญ่ๆ แต่ก็อาจจะไม่ได้มีแสดงออกของเรื่องฮอร์โมนเพศ เรื่องสิว เต้านม นอกจากจะโดนเพื่อนล้อแล้วอีกประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ Growth Hormone ทําให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเติบโต การมีฮอร์โมนเยอะก็ทำให้หัวใจต้องทํางานมากไปทำให้หัวใจโต หัวใจวายได้
ซึ่งการรักษาคือเจาะวัดระดับ Growth Hormone ในเลือดหรือMRI เพื่อดูว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้นไหมมีขนาดเท่าไหร่ถ้ามีก็อาจจะต้องตัดออก ซึ่งที่โรงพยาบาลพญาไท2 มีโปรแกรมการตรวจวัดระดับ Growth Hormone ก็เป็นจุดสําคัญเบื้องต้นที่ทำให้รู้ว่าขาด Growth Hormone หรือเปล่า ซึ่งตรวจได้ตั้งแต่อายุ 4 ปี
สำหรับการดูแลสุขภาพต้องมีพื้นฐาน 3 ข้อค่ะ ได้แก่เรื่อง 3 อ. ได้แก่ อ. แรกคือ เรื่องอาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ ก็คือการนอนเร็วก็จะช่วยให้เด็กอารมณ์ดี และก็ทำให้ฮอร์โมนสมดุลด้วย
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u