เด็กที่นอนหลับไม่เพียงพอ หลับไม่สนิทในภาวะ REM Sleep อาจส่งผลถึงฮอร์โมนการเจริญเติบโต และพัฒนาการ การเรียนรู้ในอนาคตได้ค่ะ
'การนอน' มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของเด็ก พบว่าฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) จะหลั่งมากในเวลากลางคืน หลังจากที่หลับไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้เติบโตสมวัย ถ้าร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลให้การหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ส่งผลเสียพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกได้
การนอนหลับในช่วงหลับฝันหรือการนอนที่มีการเคลื่อนไหวตาไปอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าจะหลับไปแล้วแต่สมองก็ยังทำงานอยู่เหมือนตื่น จะเป็นช่วงการนอนที่ส่งผลต่อความจำ ความฝัน การเรียนรู้และการสร้างจินตนาการ
เกิดขึ้นประมาณ 90 นาทีหลังจากที่เรานอนหลับ โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรกจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที ช่วงที่สองจะใช้เวลานานขึ้น ช่วงที่สามจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงหรือมากกว่า โดยเด็กจะใช้เวลา 50% ที่อยู่ในโหมด REM Sleep
ทางการแพทย์มีความเชื่อว่า การนอนหลับในช่วง REM มีผลและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาการของเด็กทารก เมื่อเด็กโตขึ้นช่วงการนอนในระดับ REM จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อลูกอายุครบ 3 ปีอาจจะเหลือเพียง 30% ของชั่วโมงการนอนทั้งหมดของลูก และจะลดลงเรื่อยๆ อีกเหลือเพียงประมาณ 20% เมื่อลูกก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น
NON-REM sleep คือ การนอนหลับที่ดวงตาของคุณจะไม่ขยับ คลื่นสมองของคุณจะช้าลงมาก รักษาระดับกล้ามเนื้อไว้ได้ดี
ขณะที่ลูกเริ่มนอนหลับ หากเป็นเด็กทารกแรกเกิด - 6 เดือน จะเริ่มหลับในช่วง REM ก่อน และจะค่อยๆ เข้าสู่การหลับลึกหรือ Non REM และก็จะสลับกลับไปเป็นช่วง REM แบบนี้ทุกๆ 20 นาทีพอลูกอายุครบ 3 เดือน การเปลี่ยนจาก REM ไปเป็น Non REM จะขยายเวลาเป็น 60 นาที และเมื่อโตมากขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ก็จะเปลี่ยนเป็น 90 นาทีต่อรอบ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในช่วง 6 เดือนแรกที่การนอนของลูกในระดับ Non REM ยังไม่สมบูรณ์ ลูกของคุณจึงตื่นได้ง่าย หรือดูเหมือนว่า ลูกขจะนอนเพียงครั้งละ 20 นาทีก็รู้สึกตัวแล้ว ขอให้คุณพ่อคุณแม่อดทนและเข้าใจลูกด้วย เมื่อลูกอายุมากขึ้น จะสามารถนอนหลับได้นานขึ้น และตื่นยากขึ้น
สาเหตุที่ทำให้เด็กยัง NON-REM sleep ได้ไม่ดี
วิธีทำให้ลูกนอนหลับสนิท นอนหลับยาวตลอดคืน
การนอนหลับอย่างมีคุณภาพจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ สมาธิ ความจำ และการตัดสินใจ มีผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้สมบูรณ์ สังเกตได้จากโรคภูมิแพ้จะกำเริบมากขึ้นหากนอนน้อย นอกจากนี้ โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนช่วยเร่งความสูงของเด็กๆ จะหลั่งได้ดีในช่วงกลางดึกที่เด็กหลับสนิทระยะหนึ่ง หากเด็กนอนน้อยจะกระทบต่อการหลั่งโกรทฮอร์โมน และอาจมีผลต่อศักยภาพในด้านความสูงของเด็กได้
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข, พญ.ศุภรัตนา คุณานุสนธิ์ กุมารแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล