facebook  youtube  line

"ปัญหาของพ่อเลี้ยงเดี่ยวกับลูก 9 ขวบ"

2735

สวัสดีครับ ผมเป็นพ่อเลี้ยงเดี่ยว ตอนนี้ลูกชายอายุ 9 ขวบ เขาเป็นคนรับผิดชอบมากจนบางทีผมรู้สึกว่ามากไป อะไรที่ไม่เป็นไปตามแผนจะโมโหโวยวาย บางทีพอทำอะไรไม่ทันเวลาก็จะพาลหยุดทำเอาดื้อๆ ไม่รู้เกิดจากอะไรครับ

ชีวิตของพวกเราพ่อแม่จะพบเรื่องที่อธิบายไม่ได้หรือไม่รู้ที่มาที่ไปได้อยู่เรื่อยๆ หากเราเดาก็จะผิด หากเราพาไปพบจิตแพทย์เด็กทุกเรื่องชีวิตก็น่าจะยุ่งมาก
 
ปัญหาที่เราพบมักเป็นยอดภูเขาน้ำแข็ง เป็นปลายเหตุ เป็นผลรวมของอะไรหลายๆ อย่างแล้วมาปรากฏอาการดังที่เห็น  ครั้นพยายามย้อนไปดูว่าตัวเองเลี้ยงผิดตรงไหนก็จะไม่พบ
 
เรื่องจะง่ายกว่ามากหากเราจัดการรากฐานเสียใหม่ ต่อไปนี้คือคำแนะนำ 5 ข้อ
 1.การเล่นเป็นการระบายของเสียในใจเสมอ อะไรที่มากไป ไม่ว่าจะเกิดจากอะไรสามารถระบายทิ้งไปด้วยการเล่น  ความกลุ้มใจ กังวลใจ คับข้องใจ ความเครียด ความโกรธ ความกลัว เหล่านี้ระบายทิ้งไปด้วยการเล่นได้ทั้งนั้น  การเล่นเท่ากับการเปิดฝาท่อน้ำเสีย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นที่ดูจะสกปรกเล็กน้อย  เราจึงแนะนำการเล่นดินเล่นทรายเป็นอย่างแรกเสมอ  หากไม่รู้จะทำอะไรให้ลงไปเล่นดินเล่นทรายกับลูก

2.การถอยกลับไปที่ขวบปีแรกใหม่ เพื่อสร้างพ่อที่มีอยู่จริงเป็นเรื่องลองทำได้ ชวนเขาอ่านนิทานด้วยกัน ทำอาหารด้วยกัน ไปไหนมาไหนด้วยกัน เป็นเรื่องทำได้แม้ว่าจะ 9 ขวบแล้ว เขาตัวใหญ่เกินกว่าที่เราจะอุ้มกอดบอกรักแล้ว แต่เรายังนอนเล่นด้วยกัน กินเที่ยวด้วยกัน แล้วโอบไหล่เดินด้วยกันในที่สุด เมื่อพ่อมั่นคง  อะไรๆจะดีเอง

3.การควบคุมตัวเองได้ไม่ดีพอ  ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมความคิด อารมณ์ หรือการกระทำ เหล่านี้คือ Executive Function (EF)ที่ยังไม่แข็งแรงพอ เราแนะนำให้ชวนทำงานบ้านด้วยกัน  เพราะการทำงานคือการสร้าง EF ตรงๆ การทำงานเป็นเรื่องยาก ไม่สนุก และต้องการทักษะแก้ปัญหา หากเราชวนเขาทำงานเท่ากับชวนเขาบริหาร EF จะส่งผลให้การควบคุมอารมณ์ดีกว่าเดิม

4.เด็กที่มีความรับผิดชอบเป็นเรื่องดี  ดีกว่าเด็กที่ไม่มีความรับผิดชอบ หากเขารับผิดชอบมากไป สมบูรณ์แบบมากไป เอาจริงเอาจังมากไป เราชี้ให้เห็นข้อดีของคุณลักษณะและนิสัยเหล่านี้ได้ว่าเป็นเรื่องดีและเราพอใจ เท่ากับส่งสัญญาณให้เขาทราบว่าเขาปกติดีและโอเค ก่อนที่จะบอกกล่าวทีหลังว่าจะปล่อยบางเรื่องผ่านไปบ้างก็ลองทำได้ กล่าวคือการแสดงความเข้าใจอารมณ์โกรธของเขาจะเป็นเรื่องสำคัญ ก่อนที่จะทำอย่างอื่น และหลายครั้งขอเพียงรู้ว่าพ่อเข้าใจเขาก็มีทางถอยแล้ว

5.สำหรับเด็ก 9 ขวบ เข้าใกล้วัยทีนเต็มที คุณพ่อเลี้ยงเดี่ยวได้ทำหน้าที่มาอย่างดีที่สุดแล้ว นับจากวันพรุ่งนี้ถึงเวลาที่เราจะลดบทบาทของตนเองลงบ้าง จากพ่อเริ่มกลายเป็นเพื่อน ชวนคุย นั่งฟัง แล้วจึงร่วมคิด สำคัญที่สุดคือนั่งฟัง  ฟังว่าเขารู้สึกอย่างไร เช่น รู้สึกอย่างไรเวลาผิดพลาด อย่าพยายามทายใจ ไม่ควรขัดบทสนทนา ไม่ควรซักถาม ไม่ควรแนะนำ ฝึกเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังเก่งๆ แล้วเขาจะหาทางออกได้เอง

การทำ 5 ข้อนี้ จะเท่ากับกวาดปัญหาใต้น้ำให้หมดไป และป้องกันปัญหาอื่นในอนาคตไปในตัว

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล



               

"พ่อแม่ไม่มีเวลา จะให้เวลาลูกได้อย่างไร"

2302

ข้อที่หนึ่ง เรื่องพ่อแม่ไม่มีเวลานี้เป็นสัมพัทธภาพ  อยู่ที่เราให้เวลาทำอะไรสำคัญกว่าอะไร

อย่างไรก็ตามบ้านเราทุกคนต้องไปทำงานจริง มิใช่ทำงานเพียงเพื่อมีเงินเดือนพอใช้เหมือนในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ แต่บ้านเราอยู่ในระดับปากกัดตีนถีบและหากไม่ทำงานมากพอแล้วก็จะไม่มีเงินใช้จริง เราจึงพบโจทย์การรักษาสมดุลระหว่างเวลาและเงิน

ข้อที่สอง หากเรารักษาสมดุลนี้ไม่ดี เงินที่เราหามาได้จะหมดไปกับการไล่แก้ปัญหาให้แก่ลูกไม่จบสิ้น และอาจจะต้องจ่ายต่อเนื่องยาวนานแม้ว่าเขาจะเรียนจบแล้วเพราะจบมาแล้วก็ไม่สามารถทำมาหากินอะไรไปจนถึงไม่ยอมทำงาน  และแย่กว่านี้คือทำผิดกฎหมาย
 ในทางตรงข้าม  หากเรารักษาสมดุลได้ดี  วันนี้เราอาจจะได้เงินน้อยกว่าที่ตั้งใจ  แต่เงินที่ได้มาจะใช้กับลูกได้อย่างเต็มที่จนเมื่อเขาเรียนจบ เป็นผู้ใหญ่ ทำงานหาเงินเอง ไม่เกาะพ่อแม่กิน ไม่พาคู่มาเกาะพ่อแม่กิน ไม่ทำผิดกฎหมายสร้างความเดือดร้อนไม่หยุดหย่อน ถึงวันนั้นเราก็จะเป็นเสมือนผ่อนบ้านหมดหมดหนี้สิน เงินทุกบาททุกสตางค์คืนมาที่เรา ที่สำคัญคือเรามีความสบายใจอย่างเหลือล้นและมีเวลาว่างมากมายจะทำเรื่องที่ตนเองอยากทำแต่ไม่เคยมีเวลาทำเพราะเอาแต่เลี้ยงลูก เพราะอะไร เพราะลูกเรียบร้อยดี

ข้อที่สาม เวลาวิกฤตคือ 3 ขวบปีแรก และดีกว่านั้นหากเราอุทิศเวลาให้เขามากที่สุดถึง 10 ขวบคือประมาณเวลาที่เขาใกล้วัยรุ่นและจะไม่ฟังอะไรเรามากมายนักอีกแล้วหากทำได้ เลือกโรงเรียน ที่ทำงาน และบ้าน อยู่ใกล้กันมากที่สุดก่อน ด้วยการเลือกที่ดีที่สุดเราจะได้เวลาอยู่ด้วยกันคืนมามากที่สุด นี่เป็นระดับอุดมคติแต่ว่าที่จริงอยู่บ้านนอกเป็นเรื่องทำได้ถ้าใส่ใจตั้งแต่แรก

ในความเป็นจริงของชีวิต พ่อแม่ไม่มีเวลาจริงๆ ที่ควรทำคือการกำหนดเวลากิจวัตรให้ลูกทราบอย่างชัดเจน นั่นคือพ่อแม่จะถึงบ้านกี่โมง-ระบุ วันหยุดพ่อแม่มีเวลากี่โมงถึงกี่โมง-ระบุ และเวลาอ่านนิทานก่อนนอน 15-30 นาที-ระบุ หากเราระบุหลักไมล์สำคัญเอาไว้ชัดๆ เด็กๆจะพัฒนาได้ดีกว่า แล้วเขาจะรอพ่อแม่ที่มีอยู่จริง

แม้กระทั่งพ่อแม่ที่กลับบ้านสัปดาห์ละครั้งหรือเดือนละครั้ง จะกลับถึงบ้านกี่โมงของวันไหนและจะออกจากบ้านกี่โมงของวันไหน-ระบุรอคือมี
การระบุที่ได้ผลดีคือระบุบนปฏิทินและเข็มนาฬิกา  อย่ากังวลว่าเด็กเล็กจะดูปฏิทินหรือนาฬิกาได้หรือไม่ได้  ที่เราต้องการคือให้จิตใจเขาผูกอยู่กับสัญลักษณ์บนปฏิทินและเข็มนาฬิกาที่เดินได้  พ่อแม่จะอยู่ตรงนั้น

อ่าน-เล่น-ทำงาน  มิได้ต้องใช้ของแพง  แต่ที่ต้องเสียคือเวลา

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล



 

"เด็กฆ่าตัวตายได้จริงหรือ แล้วเราจะป้องกันได้อย่างไร"

2313

มี 2 เรื่องที่ควรทำความเข้าใจ

ข้อแรก เด็กเข้าใจเรื่องความตายอย่างไร ตำราเขียนไว้ว่าเด็กเข้าใจความตายเมื่ออายุประมาณ 9-10 ปี กล่าวคือความตายเป็นกระบวนการที่มีสาเหตุ เป็นที่สิ้นสุด ไม่หวนกลับ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ (causality,finality,irreversible,inevitability)

ส่วนเรื่องการฆ่าตัวตายนั้น มีงานวิจัยที่บอกว่าเด็กสมัยใหม่เข้าใจเรื่องการฆ่าตัวตายได้ตั้งแต่อายุ 7 ขวบแล้ว ซึ่งเร็วมาก แปลว่าเด็กที่ตั้งใจทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายต้องการทำจริง มิใช่เรื่องทำเล่นๆ ที่น่าห่วงคือเขารู้แน่หรือเปล่าว่ากระบวนการนี้ไม่หวนกลับ

ข้อสอง คือการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นร่วมกับโรคซึมเศร้าหรือโรคสมาธิสั้นอยู่บ้าง ซึ่งโรคทั้งสองชนิดเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติบางประการของสมองและระบบประสาทส่วนกลาง อย่างไรก็ตามปัจจัยทางชีววิทยาและสังคมก็มีส่วนร่วมด้วยไม่มากก็น้อย

ปัจจัยทางจิตวิทยาได้แก่ความรู้สึกว่าตัวเองถูกทอดทิ้ง การทอดทิ้งเป็นการทอดทิ้งทางใจคือ psychological isolation เด็กรู้สึกเปลี่ยวเหงา มิได้รับการเหลียวแล ขาดที่พึ่ง ความรู้สึกนี้เกาะกุมจิตใจยาวนานมาตั้งแต่เล็ก

เมื่อมีเหตุการณ์สูญเสีย คือ lossไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียที่เป็นจริงหรือรู้สึกว่าสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียวัตถุหรือสูญเสียสิ่งของอันเป็นสัญลักษณ์รวมทั้งการสูญเสียตนเองคือself เช่น การสอบเข้าไม่ได้ การเสียหน้า เป็นต้น เหล่านี้สามารถจุดชนวนให้ลงมือทำร้ายตัวเองได้
ปัจจัยทางสังคมที่น่ากังวลคือเรื่องการกลั่นแกล้ง ซึ่งเป็นไปตามยุคสมัยเมื่อคนเราสามารถทำร้ายกันได้โดยไม่ต้องแสดงตัวในโซเชียลเน็ทเวิร์ค

ในที่สุดก็ออกมารวมตัวกันภายนอกได้ด้วยความย่ามใจ การกลั่นแกล้งเป็นกระบวนการทำร้ายเด็กมิใช่เรื่องการฝึกให้เด็กที่ถูกกลั่นแกล้งเข้มแข็ง เราควรป้องกันเด็ก มิให้เขารู้สึกว่าโลกโหดร้ายไปเสียทุกสิ่งอันอันจะเป็นการทำร้ายความไว้เนื้อเชื่อใจต่อสรรพสิ่งคือ trust ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของชีวิต

โรงเรียนมีหน้าที่จัดการ ด้วยการจัดการทั้งระบบคือผู้ถูกกลั่นแกล้ง ผู้กลั่นแกล้ง และผู้ที่อยู่ตรงกลางคอยนั่งดูโดยไม่ทำอะไรหรือเชียร์ ภายใต้ข้อเท็จจริงว่าทุกคนเป็นเด็กเราสลายโครงสร้างที่เอื้อต่อการกลั่นแกล้งลงให้ได้ เท่ากับมิได้เพ่งเล็งไปที่ใครแต่ช่วยเหลือเด็กทุกคนในระบบ ส่วนบ้านมีหน้าที่ป้องกันและช่วยเหลือลูกโดยไม่มีเงื่อนไข

การป้องกันการฆ่าตัวตายในเด็กทำได้ด้วยการเลี้ยงดูช่วงเด็กเล็กอย่างดีที่สุด ให้เขารู้ว่าโลกไว้ใจได้

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

“จะเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวในเวลาไม่นานนี้ ทำอย่างไรดี”

2316
 
ไม่มีอะไรต้องห่วงเลยครับ ปัจจุบันมีแม่เลี้ยงเดี่ยวและพ่อเลี้ยงเดี่ยวมากมายจนนึกไม่ถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่เลี้ยงเดี่ยวมีมากกว่ามาก ในกรณีเลิกทางกัน ที่ลูกสนใจมีเพียงข้อเดียวคือเขาจะถูกทอดทิ้งหรือเปล่า

อธิบายว่าการหย่าร้างอาจจะทำให้เด็กๆ สูญเสียความไว้ใจ (trust) สิ่งแวดล้อมได้บ้าง ดังนั้นคุณพ่อและคุณแม่ควรยืนยันกับลูกอย่างชัดเจนว่าความเป็นพ่อแม่ยังคงอยู่และจะมีอยู่ตลอดไป  พ่อแม่จะเป็นเพื่อนกัน มิใช่สามีภรรยา และทั้งสองคนจะไม่ทอดทิ้งลูก แล้วทำให้ได้ห้ามกล่าวร้ายกัน

ในกรณีคนหนึ่งตาย เราสามารถบอกลูกได้ว่าพ่อหรือแม่ไปสวรรค์แล้ว ไม่เจ็บปวดอะไรอีก คุณพ่อหรือคุณแม่อยู่สบายที่นั่นและไม่สามารถกลับมาได้  เด็กๆจะพอใจและสบายใจที่ทราบว่าพ่อหรือแม่ยังสบายดี ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วเขาจะค่อยๆ รู้เอาเองว่าความตายที่แท้คืออะไร

ในกรณีที่คนหนึ่งตายไปเมื่อลูกเป็นเด็กโต เด็กโตอาจจะโทษตนเองได้ด้วยระบบเหตุผลที่ยังพัฒนาไม่ดีพอ ดังนั้นควรอธิบายกับลูกให้ชัดเจนว่าพ่อ หรือแม่จากไปเพราะอะไร ไม่เปิดโอกาสให้เขาเชื่อมโยงเรื่องเอาเองด้วยความเข้าใจผิด

แม่เลี้ยงเดี่ยวหรือพ่อเลี้ยงเดี่ยวเลี้ยงลูกด้วยหลักการเดียวกันกับครอบครัวลักษณะอื่น นั่นคือให้เวลา เด็กๆ ต้องการเสาหลักของพัฒนาการที่มั่นคงเพียงต้นเดียว ไม่จำเป็นต้องมีสองต้น ส่วนเรื่องพัฒนาการทางเพศนั้นปัจจุบันเราพบแล้วว่าไม่เกี่ยวข้องกับที่คนเลี้ยงจะเป็นเพศอะไร เด็กคนหนึ่งจะพัฒนาเป็นเพศสภาพ(gender) หรือเพศวิถี(sexuality) อะไรก็จะเป็นอย่างนั้นด้วยตัวของเขาเองไม่ขึ้นกับอะไรทั้งสิ้น เขาเป็นของเขาเองและเลือกไม่ได้

ที่สำคัญกว่าบทบาททางเพศจึงเป็นบทบาทด้านการใช้ชีวิตเสียมากกว่า  นั่นคือพ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความมานะ อดทน และไม่ย่อท้ออุปสรรค  คิดถึงผู้อื่น รู้จักแบ่งปันและมีจิตสาธารณะเด็กๆ พัฒนาด้วยการเลียนแบบ (identify) พ่อแม่เป็นทุนอยู่แล้ว

ในกรณีที่เด็กถามถึงพ่อหรือแม่ที่หายไปเพราะสังเกตได้ว่าบ้านอื่นมี เราสามารถบอกได้ตรงๆ ว่าเราพร้อมจะเป็นทั้งพ่อและแม่ของลูกในตัวคนเดียว เด็กมิได้สนใจคำตอบมากเท่ากับท่าทีที่มั่นคงของพ่อหรือแม่ 

ความหวั่นไหวมิได้เกิดจากการขาดพ่อหรือแม่ แต่เกิดจากคนที่เหลืออยู่ไม่มั่นคงเสียมากกว่า ดังนั้นควรทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเองเกี่ยวกับเรื่องบทบาททางเพศให้เรียบร้อย นั่นคือเป็นคนอย่างไรสำคัญกว่าเป็นเพศอะไร

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล


 

“ลูกชายชอบแอบดูพี่สาวข้างบ้านอาบน้ำ”

2377

กรณีเด็กชายชอบแอบดูสาวอาบน้ำยังคงพบเห็นได้เป็นระยะๆ ส่วนใหญ่อายุระดับเด็กโตคือชั้นประถม ส่วนน้อยที่เป็นวัยรุ่น หากพบตอนวัยรุ่นจะเป็นอีกกรณีหนึ่งที่ต้องอาศัยการพูดคุยกันนานและใช้ยารักษาช่วย

ดังนั้นหากพบเห็นเป็นเด็กโตแล้วจัดการเสียแต่ต้นมือเป็นเรื่องดี เราไม่ใช้คำว่าจิตวิปริตหรือเพศวิปริต การใช้สองคำนี้นอกจากเป็นเรื่องไม่ถูกต้องแล้วยังเท่ากับซ้ำเติมให้สถานการณ์หนักหนาสาหัสและยากต่อการแก้ไขมากกว่าเดิม หรือถึงแม้จะแก้ไขได้ก็สร้างรอยแผลในใจเด็กไปอีกนาน

ดังนั้นแม้โกรธเท่าโกรธ ผิดหวังเสียใจเพียงใด หรือช็อคพ่อแม่ควรคุมตัวเองให้ได้เป็นอย่างแรก ก่อนจะไปถึงสาเหตุ เรามาดูวิธีแก้ไขก่อน

วิธีจัดการพฤติกรรมไม่พึงประสงค์สำหรับเด็ก รวมทั้งเด็กโต วิธีที่ดีที่สุดยังคงเป็นการทำลายเงื่อนไขที่ทำให้เกิดขึ้น กล่าวคือพื้นที่นั้น บรรยากาศนั้น มีตัวแปรบางประการที่ทำให้เขาแอบดูอยู่เรื่อย เราไม่ชัดเจนว่าบริบทอะไรที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมนี้ แต่เพราะไม่ชัดเจนนั่นแหละเราจะทำลายมันทิ้งโดยเร็ว

ดังนั้นเวลาพบเหตุการณ์ เราเพียงแตะตัว จูงมือออกจากพื้นที่นั้นทันทีก่อน หมายถึงออกจากพื้นที่ภูมิศาสตร์นั้นไปไกลๆ เลย เราไม่ดุหรือโวยวาย ซึ่งก็คงจะโวยวายมิได้เพราะเหยื่อในห้องน้ำจะไหวตัวเรื่องจะวุ่นยิ่งกว่าเก่ามาก

เราเพียงจูงมือเขาออกไปหาที่นั่งคุยกัน หาที่สงบสองต่อสอง พ่อกับลูก หรือแม่กับลูกก็ได้ แต่ควรเป็นสองต่อสอง มิใช่สองต่อหนึ่ง เหตุที่มิให้สองต่อหนึ่งก็มิได้หมายความว่าพวกเราจะรุม แต่พ่อแม่เองนั่นแหละที่มักมีทัศนคติที่ไม่ตรงกันและขัดกันเองไปขนถึงซัดกันเองซึ่งจะดูไม่จืดเป็นแน่แท้

หาที่สงบ นั่งเงียบๆ สักพัก ถอนใจได้ให้เขารู้ว่านี่เรื่องใหญ่ แต่สีหน้าท่าทางโดยรวมแสดงให้เขาเห็นว่าเราจะให้โอกาส ตามองตา ตรงๆ แล้วบอกเขาชัดถ้อยชัดคำว่า “แม่ไม่อนุญาตให้ให้ลูกแอบดูคนอื่นเปลือยกาย” เอาให้ชัดๆ คำสำคัญกลับจะไปอยู่ที่คำว่า แม่ หรือ พ่อ เพื่อแสดงให้เขาทราบว่างานนี้คนอื่นไม่เกี่ยว เป็นเรื่องของเราสองคนเท่านั้น และจะเป็นความลับระหว่างเราสองคนตลอดไปด้วย ขอให้วางใจ  “แม่” คือผู้ขอลูก

โดยทั่วไปผู้ใหญ่ที่จับเรื่องนี้ได้มักใช้วิธีด่าหรือขู่ ขู่เรื่องกฎหมาย คุกตาราง ไปจนถึงตัดไอ้จู๋ ซึ่งคำขู่เหล่านี้นอกจากไม่ได้ผลแล้วยังมักสร้างบาดแผลไปจนถึงการวางเงื่อนไขทางลบให้เขาทำซ้ำอีก

เราเข้าหาและจัดการเรื่องนี้ทางบวกคือเราเท่านั้นที่จะช่วยเขา และเราเท่านั้นที่เป็นผู้ขอ และเราเท่านั้นที่เป็นผู้ให้โอกาส โดยมิพักต้องพูดเรื่องของคนอื่น ใช้พลังของ “ความเป็นแม่” ล้วนๆ เข้าจัดการตรงๆ หากเด็กถูกจับได้โดยบุคคลอื่น เรื่องจะยากขึ้น ดังนั้นหากพบด้วยตนเองให้รีบจัดการ

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

10 คำพูดสร้างพลังบวกให้ลูก

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

คำพูดดีๆ จากใจพ่อแม่ช่วยเพิ่มพลังบวกให้กับลูกได้เป็นอย่างดี และนี่คือ 10 สุดยอดคำพูดสร้างพลังบวกให้ลูก จากพ่อแม่ ที่ลูกได้ยินเมื่อไหร่จะมีพลังบวก พร้อมแก้ปัญหา และทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันได้อย่างราบรื่น 
1. พ่อกับแม่รักลูกนะ

พูดพร้อมกับมองหน้าลูก เพื่อถ่ายทอดความจริงใจส่งมอบพลังด้านบวกออกไป เพราะไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ความรักของพ่อแม่ก็จะอยู่กับลูกเสมอ เป็นพลังบวกให้ลูกสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 

2. หนูเก่งมากเลย

คำสั้นๆ ที่ลูกได้ฟังแล้วหัวใจต้องพองโต เพราะคำชมจากพ่อแม่เป็นของขวัญล้ำค่าที่ลูกอยากได้ยิน และรู้สึกมีพลังที่สุด 

3. สู้ๆ นะ พ่อกับแม่เป็นกำลังใจให้เสมอ

กำลังใจจากพ่อแม่ที่เติมให้ลูกไม่ขาดจะทำให้เขารู้สึกอยู่เสมอว่าพ่อแม่จะอยู่เคียงข้างเขา เมื่อจะต้องทำกิจกรรมต่างๆ ลูกก็จะรู้สึกฮึกเหิม มีพลังฮึด  

4. ไม่เป็นไร เรามาพยายามกันใหม่นะ

เมื่อลูกพลาดหวังเสียใจไม่ควรตำหนิหรือลงโทษลูก พ่อแม่ควรให้กำลังใจแก่ลูก และการใช้คำว่า “เรา” ทำให้ลูกรู้สึกว่าเขาไม่ได้เผชิญความผิดหวังคนเดียว แต่พ่อแม่ยังรู้สึกร่วมไปกับเขาและพร้อมจะเริ่มต้นใหม่ด้วยกัน 

5. พ่อกับแม่ภูมิใจในตัวลูกมากเลยนะ

คำพูดนี้อาจจะเป็นคำพูดธรรมดาสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่จริงๆ แล้วคำพูดนี้มีความหมายสำหรับลูกอย่างคาดไม่ถึง เพราะมันจะเป็นพลังบวกทั้งกายและใจให้ลูกได้อย่างน่ามหัศจรรย์เลยทีเดียว

6. พ่อกับแม่เชื่อมั่นว่าหนูต้องทำได้

ประโยคสั้นๆ แต่ได้ใจความ ทำให้ลูกมีพลังใจในการทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้เป็นอย่างดี 

7. ลูกทำได้ดีมากจ้ะ ดีกว่าตอนที่พ่อกับแม่อายุเท่าหนูอีกนะ

คำชมง่ายๆ ที่อาจพูดเกินจริง แต่ก็สร้างพลังใจ และความภูมิใจให้ลูกได้ไม่น้อย 

8. ถึงหนูจะผิดหวัง แต่พ่อกับแม่รู้ว่าหนูทำดีที่สุดแล้ว

คำปลอบใจที่สอนลูกรู้จักความผิดหวัง แต่ก็ไม่จมกับความทุกข์ ทั้งสร้างกำลังใจลูกมีแรงฮึดขึ้นสู้อีกครั้ง

9. พ่อกับแม่ “ขอโทษ” นะลูก

การขอโทษบางครั้งมันยากที่จะพูดออกไป อย่ามัวคิดว่า ไม่ขอโทษลูกก็ไม่เป็นไร เพราะคำขอโทษจากปากของพ่อแม่ ยังเป็นการสอนลูกในการยอมรับความผิดที่ได้ทำลงไปอีกด้วย

 10. พ่อกับแม่ “ยอมรับ” ในสิ่งที่ลูกเป็น

พ่อแม่หลายคนอาจจะบังคับลูกให้เป็นในแบบนี้ แต่เชื่อเถอะ การให้ลูกเลือกในสิ่งที่ลูกอยากเป็น และยอมรับในสิ่งที่ลูกเป็นนั้น ลูกจะมีอนาคตที่ดีอย่างแน่นอน

 

 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

10 วิธีสอนลูกโตไปไม่โกงและไม่เห็นแก่ตัว

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

10 วิธีสอนลูกโตไปไม่โกงและไม่เห็นแก่ตัว

การคดโกงเป็นพฤติกรรมที่สะท้อนความเห็นแก่ตัวอย่างหนึ่ง เป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว พฤติกรรมการโกงถือเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ เพราะฉะนั้นพ่อแม่ต้องปลูกฝังลูกเสียตั้งแต่วันนี้ค่ะ 
 

10 วิธีสอนลูกให้โตไปไม่โกง

1. เข้าแถวต่อคิวให้ลูกเห็นการเข้าคิวเป็นมารยาทขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรมี และถ้าไม่อยากให้ลูกโตไปเป็นคนขี้โกง ต้องไม่แซงคิวให้ลูกเห็น ไม่ว่าจะกรณีใดๆ ก็ตาม 

2. รักษากฎกติกาของสังคม ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย รักษากฎจราจร หรือกฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงาน องค์กร สถานที่ หรือแม้แต่กฎของโรงเรียน พ่อแม่ต้องสอนลูกให้เข้าใจและคอยอธิบายเหตุผลให้ลูกฟัง เช่น ทำไมเด็กนักเรียนต้องใส่ชุดนักเรียน ทำไมต้องแต่งกายสุภาพ ถูกระเบียบ เป็นต้น
 
3. ให้ลูกเล่นเป็นกลุ่มโดยเฉพาะเด็กเล็กตั้งแต่ 1-3 ปี ที่ยังไม่มีทักษะการเข้าสังคม การเปิดโอกาสให้เขาได้เล่นร่วมกับคนจะช่วยฝึกให้ลูกรู้จักแบ่งปัน อดทน รอคอย โดยการสลับกันเล่น ซึ่งต้องมีเด็กมากกว่า 1 คน ส่วนสถานที่อาจจะเป็นสนามเด็กเล่น สนามหน้าบ้าน หรือเล่นภายในบ้านก็ได้ค่ะ

4.สะท้อนอารมณ์ลูกเมื่อเขาเจอปัญหาลูกอาจมีโอกาสไม่ยินยอมพร้อมใจ เสียใจ หงุดหงิด หรือโดนเพื่อนแกล้งได้ หากได้เล่นกันเป็นกลุ่ม พ่อแม่ต้องคุยกับลูก ด้วยการสะท้อนอารมณ์ลูก เช่น หนูเสียใจใช่ไหมคะที่เพื่อนต้องเอาของของเขากลับคืนไป การบอกหรือสอนเขาตรงๆ แล้วสะท้อนอารมณ์กลับไปอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่รับรู้ถึงปัญหาของเขา และเราสามารถช่วยลูกแก้ปัญหาได้ เช่น หนูอย่าไปเอาของคนอื่นเลย หรือเอาของชิ้นอื่นไปแลกเปลี่ยนดีไหม หนูอยากให้พ่อแม่ช่วยอะไรไหม เป็นต้น 

5.เมื่อลูกทำผิดต้องไม่ตำหนิติเตียนทั้งที่การเล่นนอกกติกา คดโกงคนอื่น เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี แต่กรลงโทษด้วยการตี หรือตำหนิลูกอาจไม่ได้ผลเ่าที่ควรนัก เพราะฉะนั้นพ่อแม่อาจพูดถึงความรู้สึกของตนเองแทน เช่น ลูกลอกการบ้านเพืื่อนแบบนี้แม่เสียใจรู้มั้ย หรือ ลูกเอาของเล่นเพื่อนมาแบบนี้แม่ผิดหวังมากเลย ทั้งนี้เเพื่อให้ลูกรู้ว่าสิ่งที่เขาทำมีผลต่อความรู้สึกของพ่อแม่ ซึ่งวิธีนี้แม้ไม่หนักหน่วงเท่าการพูดตำหนิ แต่มักจะได้ผลมากกว่า

6.ให้ลูกรู้จักรับและให้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ ยังไม่รู้จักการแบ่งปัน พ่อแม่อาจจะคุยกับลูกว่าของบางชิ้นที่ลูกรักเป็นพิเศษอาจจะไม่แบ่งใครเลยได้ ในขณะที่ของบางชิ้นรักเหมือนกันแต่แบ่งเพื่อนเล่นได้ เพื่อให้ลูกรู้จักแยกแยะว่าของบางอย่างไม่ได้แปลว่าลูกจะต้องอนุญาตให้ใครยืมได้หมด ที่สำคัญต้องให้กำลังใจและชมเชยลูกเสมอ เมื่อเขาเริ่มแบ่งปันเป็น เช่น ลูกอาจแบ่งขนมให้แม่เพียงชิ้นเล็กๆ ก็ให้ชมว่าหนูน่ารักนะคะที่แบ่งขนมให้คุณแม่ด้วย ค่อยๆ จากการที่เขาเริ่มแบ่ง ถึงจะดูแค่เล็กๆ น้อยๆ แต่เพียงลูกเริ่มทำก็เป็นเรื่องที่ดีแล้ว

7.พาลูกไปทำกิจกรรมจิตอาสา ลองชวนลูกเลือกของเล่น หรือเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วไปบริจาคค่ะ นอกจากจะช่วยฝึกให้เขารู้จักแยกแยะของที่จำเป็น และไม่จำเป็นแล้ว ยังช่วยฝึกให้ลูกรู้จักกิจกรรมจิตอาสาที่เขาอาจเข้าใจมากขึ้นเมื่อโตกว่านี้ได้

8. ซื่อสัตย์สุจริตให้ลูกเห็น คือการยึดมั่นในความสัตย์จริง และสิ่งที่ถูต้องดีงาม รู้จักแยกแยะถูกผิด ปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นโดยชอบ ไม่คดโกง เช่น สอนให้เขาไม่หยิบของของคนอื่น ซื่อสัตย์ต่อการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพราะปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เราพบกันบ่อยคือ การไม่ซื่อสัตย์ต่อเวลางาน ไม่รับผิดชอบต่องาน ทำให้งานที่ออกมาไม่มีคุณภาพ

9. สอนให้ลูกรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง คือมีจิตสำนึกในบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง และปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เคารพกฎเกณฑ์กติกา พร้อมให้ตรวจสอบการกระทำได้เสมอ หากมีการทำผิดก็พร้อมที่จะยอมรับและแก้ไข ที่สำคัญคือรับผิดชอบต่อผลของการกระทำของตนเอง เช่น เมื่อทำความผิด เมื่อลูกยอมรับว่าหนูเป็นคนทำเอง พ่อแม่ต้องบอกว่าไม่เป็นไร แล้วก็ช่วยกันแก้ไข ซึ่งจะทำให้เขารับผิดชอบกับสิ่งที่เขาทำ  

10. สอนให้ลูกรู้จักคุณค่าในตัวเอง เด็กส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองทำสิ่งใดได้ดี พ่อแม่ต้องคอยสอนว่าลูกสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง เชื่อมั่นในตัวลูก แล้วลูกจะนับถือตนเองและแสดงออกมาในรูปแบบของทัศนคติในแง่บวกที่มีต่อตนเอง จากนั้นชื่นชมส่งเสริมให้เขาไม่เอาเปรียบคนอื่น





 

​10 วิธีสอนลูกให้เคารพสิทธิ์ของผู้อื่น

 EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

การใช้ชีวิตในสังคม นอกจากต้องเรียนรู้กฎกติการ่วมกันแล้ว เรายังต้องมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีระเบียบวินัย ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่ทำร้าย รังแก ผู้ที่อ่อนแอกว่า รวมถึงต้องไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วย

ซึ่งการสอนลูกให้เคารพสิทธิของผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างสังคมให้น่าอยู่แล้ว พ่อแม่เองก็ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะไปก่อปัญหาส้รางความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่นด้วย 

สอนอย่างไรให้ลูกเคารพสิทธิของผู้อื่น

1. สอนลูกให้รู้จักรอคอย พ่อแม่สามารถฝึกให้ลูกควบคุมความต้องการของตนเอง หรือรอคอยให้เป็น เช่นหากลูกร้องงอแงอยากกินขนม แต่ยังออกไปซื้อให้ไม่ได้ ณ ตอนนั้น ก็ต้องบอกให้เขารอให้พ่อแม่ทำธุระให้เสร็จก่อน แม่ขอเวลา 10 นาที หนูรอนะคะ และต้องใจแข็งทำให้สำเร็จ ลูกจะได้เรียนรู้การรอคอยและลำดับความสำคัญก่อนหลังได้

2. สอนลูกให้รู้หน้าที่และอยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็นใช้กิจกรรมง่ายๆ ที่ช่วยส่งเสริมการอยู่ร่วมกับคนอื่น เริ่มจากกิจวัตรประจำวันของลูก เช่น ช่วยพ่อแม่เข้าครัวถือของ ช่วยจ่ายตลาดซื้อของ ช่วยงานบ้าน หรือสอนเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหารเมื่อต้องกินร่วมกับคนอื่นๆ

3. สอนลูกให้พึ่งพาตนเอง เป็นการปลูกฝังความรับผิดชอบไปในตัว ตั้งแต่การการฝึกให้ลูกอาบน้ำ แต่งตัว กินข้าว และเก็บของเล่นเองอย่างสม่ำเสมอ เมื่อลูกทำบ่อยๆ ก็จะทำได้ดียิ่งขึ้น และพัฒนาเป็นทักษะอื่นๆ ที่เป็นส่วนรวมได้ดีมากขึ้น

4. ให้ลูกทำงานบ้าน  งานบ้านเป็นสิทธิหน้าที่เบื้องต้นที่ลูกต้องรับผิดชอบ แถมยังฝึกการควบคุมอารมณ์ และความอดทนต่อภาระหน้าที่
 
5. ทำโทษเมื่อลูกทำผิด พ่อแม่ต้องคอยห้ามปรามสั่งสอนเมื่อลูกทำผิด ต้องแยกแยะถูกผิดดีชั่วได้ โดยการทำโทษต้องไม่ใช้ความรุนแรง แต่อาจเป็นการสอน พุดคุย อธิบายให้ลูกเข้าใจด้วยเหตุผล

6. ปลูกฝังลูกเป็นผู้ให้ ผู้ให้ย่อมเป็นผู้ที่ถูกรัก การให้เป็นการส่งความสุข ซึ่งลูกไม่จำเป็นต้องให้สิ่งของหรือเงินทอง เพียงแค่มีความรู้สึกปรารถนาดีต่อผู้อื่น มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังและความสามารถของตนก็เป็นผู้ให้ได้
 
7. พูดขอบคุณและขอโทษบ่อยๆ การขอบคุณเมื่อมีผู้อื่นหยิบยื่นไมตรีให้เราเป็นเรื่องที่พึงกระทำ และการขอโทษกับสิ่งที่ผิดพลาดไม่ใช่เรื่องน่าอาย นอกจากสอนลูกให้พูดขอบคุณและขอโทษในโอกาสที่เหมาะสมแล้ว พ่อแม่เองก็ควรพูดขอบคุณลูกที่ช่วยทำงานบ้าน และควรกล่าวขอโทษเมื่อทำผิดต่อลูกเช่นกัน

8. นั่งสมาธิฝึกสติ การนั่งสมาธินอกจากจะฝึกจิตใจให้สงบแล้ว สมาธิยังช่วยควบคุมความคิดและอารมณ์ของเด็กๆ ได้อีกด้วย 

9. สอนลูกให้รู้จักควบคุมอารมณ์ อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ แต่การเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็น ไม่ใช้อารมณ์ในทุกๆ เรื่อง รู้จักจัดการอารมณ์โกรธของตนเอง ของลูก โอบกอดกันบ่อยๆ หาวิธีระบายความโกรธ พูดถึงความรู้สึกลูกทุกครั้งที่ลูกโกรธ โมโห ก็ช่วยฝึกให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ได้ค่ะ

10. ให้คำชมลูก การชมเชยในสิ่งที่ลูกทำได้ดีด้วยช่วยให้ลูกมีกำลังใจ และเกิดแรงจูงใจที่อยากจะทำดี และบ่มเพาะลักษณะนิสัยที่น่ารักไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ค่ะ





 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข



 

10 วิธีเลี้ยงลูกชายให้กลายเป็นสุภาพบุรุษ

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

การเลี้ยงลูกชายให้ดี ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ยิ่งปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุต่างๆ มากมาย การประคับคองลูกให้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีคุณภาพ ไม่ก่อความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น ให้เกียรติผู้หญิง และไม่ทำร้ายคนที่อ่อนแอกว่า คือคุณสมบัติเบื้องต้นที่สุภาพบุรุษทุกคนพึงมี

ซึ่งการเลี้ยงดูที่ดี เปรียบเสมือนการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกตั้งแต่เล็กๆ เป็นการสร้างลูกชาย ให้เป็นลูกผู้ชายที่มีความเป็นสุภาพบุรุษด้วย  

10 วิธีเลี้ยงลูกชายให้เป็นสุภาพบุรุษ

1. เลี้ยงลูกเอง  การที่พ่อแม่ให้ความรักความอบอุ่นอย่างสม่ำเสมอ  แสดงออกให้ลูกรู้ว่ารัก ผ่านการพูด กอดหอม ชมเชย  เป็นปัจจัยสำคัญมากที่จะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเป็นที่รัก เป็นคนมีคุณค่า และภูมิใจในตนเอง

2. สัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ บรรยากาศที่ดีในครอบครัวจะช่วยให้ลูกรู้สึกปลอดภัย เป็นคนอารมณ์ดี  มีความสุขได้ง่าย  ไม่ขี้หงุดหงิดหรือวิตกกังวล  ต่างจากครอบครัวที่ทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยๆ

3. ยอมรับและรักในแบบที่ลูกเป็นเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านพื้นฐานอารมณ์  นิสัยใจคอ ความสามารถด้านต่างๆ  การยอมรับและรักลูกในแบบที่ลูกเป็นนั้นสำคัญ  พ่อแม่ไม่ควรเปรียบเทียบลูกระหว่างพี่น้องหรือเด็กคนอื่น  

4. การอบรมอย่างเหมาะสมเลี้ยงดูอย่างมีกรอบกติกา ไม่ตามใจเด็กเกินไป เช่น เด็กจะได้ของเล่นไม่เกินกี่ชิ้นต่อสัปดาห์ เวลาโมโหห้ามทำร้ายตนเองและผู้อื่น  ไม่ทำลายข้าวของ ความรักที่ตามใจอย่างไร้ขอบเขต  จะทำให้เด็กเอาแต่ใจ ทำอะไรไม่เป็น เพราะขาดการฝึกฝนอบรม

5. ปลูกฝังคุณธรรมตั้งแต่เด็ก

- สามารถควบคุมตนเอง อดทนรอคอยได้ตามพัฒนาการของเด็กวัยเตาะแตะมักงอแงเอาแต่ใจ ไม่รู้จักรั้งรอ หงุดหงิดโมโหง่าย หากพ่อแม่ตามใจหยิบยื่นทุกอย่างให้เวลาที่งอแง เด็กจะเอาแต่ใจแบบไร้ขอบเขต พ่อแม่จึงควรสอนให้เด็กรู้จักรอคอย และควบคุมอารมณ์ได้

- เข้าใจกติกาสังคมและศีลธรรม เช่น เมื่อเด็กโกรธสามารถแสดงอารมณ์โกรธได้  แต่ไม่ควรแสดงออกด้วยการทำร้ายผู้อื่น หรือทำลายข้าวของ เวลาอยากได้อะไรให้บอก แต่ห้ามแย่งของคนอื่น หรือหยิบโดยไม่ได้รับอนุญาต 

- รู้จักแบ่งปันและอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น รู้จักแบ่งขนม หรือของเล่นให้เพื่อน 

6. ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้พ่อแม่ควรปล่อยวางบ้าง และทำหน้าที่เป็นคนสอนให้เด็กฝึกทำอะไรด้วยตัวเอง โดยไม่เข้าไปทำแทนทุกอย่าง จนเด็กทำอะไรไม่เป็น 

7. ชมเชยเมื่อลูกทำดีเช่น เมื่อรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง และทำตามกรอบกติกาได้  เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่าการควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ เป็นเรื่องที่พ่อแม่ชอบ และเมื่อเด็กทำอะไรดีๆ ได้สำเร็จก็ควรชื่นชมให้เด็กรู้และภูมิใจว่าเขามีดี มีความสามารถ  เด็กจะกล้าริเริ่มทำในสิ่งดีๆ ต่อไป

8. เมื่อลูกทำผิดพลาด ควรสอนว่าที่ถูกคืออะไร อธิบายด้วยเหตุผล แต่ไม่ควรตำหนิหรือลงโทษรุนแรง  เพราะจะทำให้เด็กเข้าใจผิดว่าเขาไม่ดี และไม่เป็นที่รักของพ่อแม่

9. สอนให้ลูกรู้จักยอมรับความผิดหวัง เมื่อไม่ได้อะไรดังใจ หรือทำอะไรไม่สำเร็จ เด็กที่เข้าใจตนเอง ควบคุมอารมณ์เมื่อผิดหวังได้ จะเป็นเด็กที่มี EF ดี

10. เป็นที่ปรึกษาที่ดีเพื่อช่วยฝึกลูกให้แก้ปัญหาง่ายๆ ตามวัยได้  เมื่อลูกแก้ปัญหาสำเร็จก็ควรชื่นชม   เด็กที่สามารถแก้ปัญหาและทำอะไรสำเร็จด้วยตนเองได้ จะเกิดความภูมิใจในตัวเอง 

ไม่ใช่แค่เด็กผู้ชาย แต่เด็กทุกคนที่ได้รับความรัก ความอบอุ่น การอบรมที่เหมาะสม ถูกปลูกฝังให้รู้จักช่วยเหลือและแก้ปัญหาเองได้ จะมีภูมิคุ้มกันที่ดี มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นโดยไม่ก่อความเดือดร้อนให้ใคร เป็นคนที่ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเป็นคนดีที่มีความสุขค่ะ 





 

 

 



10 วิธีเลี้ยงลูกสาวให้อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ

 
 EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

วิธีเลี้ยงลูกสาวให้อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ

ลูกสาวอาจมีอะไรให้ห่วงมากกว่าลูกชาย แต่เชื่อเถอะค่ะ ถ้าเลี้ยงให้ดี คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลเลยว่าโตขึ้นเขาจะมีอะไรให้ห่วง เพราะตั้งแต่เด็กจนโต เราสร้างเขาให้เป็นคนเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันใจอยู่แล้ว     

10 วิธีเลี้ยงลูกสาวให้อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ 
  1. โอบกอดลูกเสมอ ไม่ว่าจะทุกข์ สุข เศร้า การกอดจะช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ลูกรู้สึกมีตัวตน มีภูมิต้านทาน และรู้สึกเข้มแข็ง  

  2. พูดกับลูกดีๆ โดยเฉพาะการพูดชมเชย ให้กำลังใจลูกบ่อยๆ จะช่วยให้ลูกมีพลังบวก คิดและทำแต่สิ่งดีๆ

  3. สอนลูกให้รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง เด็กผู้หญิงที่ชอบกรี๊ดกร๊าด ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ใครๆ ก็มองว่าไม่น่ารักนัก เพราะฉะนั้นพ่อแม่ต้องคอยบอกลูกเสมอว่าตอนนี้เขารู้สึกอย่างไร ให้ลูกเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้น คอยเตือนลูกว่าการทำร้ายตนเอง ทำร้ายคนอื่นเป็นสิ่งที่ไม่ควร ลูกต้องรู้จักคลี่คลายอารมณ์ เช่นนับ 1-10 ออกกำลังกาย หรือระบายออกทางอื่น เช่น พูดคุยกับพ่อแม่ เล่าความอึดอัดคับข้องใจ

  4. ให้ลูกทำกิจกรรมที่ท้าทาย เด็กผู้หญิงก็เล่นเหมือนเด็กผู้ชายได้ เช่น เล่นปีนป่าย ขี่ม้า แข่งรถ หรือเล่นกีฬาแบบเด็กผู้ชาย เพื่อเพิ่มทักษะความสามารถและเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย และฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ให้ลูกมีปฏิภาณไหวพริบ

  5. สอนลูกให้รู้จักยืดหยุ่น นอกจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การยืดหยุ่นทางความคิด การปรับตัวเข้ากับเพื่อน และการปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์ช่วยให้ลูกมีเกราะคุ้มกัน ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไร ลูกก็จะรับมือและแก้ไขสถานการณ์ได้ค่ะ

  6. ให้ลูกทำกิจกรรมจิตอาสา การแบ่งปันง่ายๆ จะช่วยให้ลูกรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การมีเมตตา และการให้จะช่วยขัดเกลาจิตใจลูกให้อ่อนโยน และมีน้ำใจต่อเพื่อนรอบข้าง

  7. สอนให้ลูกรู้จักสิทธิของตนเองและผู้อื่น การรู้จักสิทธิ์ของตนเองคือการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น การรู้จักสิทธิ์ของตนเองช่วยปกป้องลูกให้ไกลจากการถูกล่วงละเมิดด้วย พ่อแม่ต้องสอนลูกว่าส่วนไหนในร่างกายที่ห้ามผู้อื่นจับต้อง ขณะเดียวกัน ลูกก็ต้องไม่ล่วงละเมิดผู้อื่นเช่นกัน นอกจากการสัมผัสร่างกายแล้ว คำพูดไม่ดี ก็ทำร้ายผู้อื่นเช่นกัน เพราะฉะนั้นต้องสอนให้ลูกพูดดีคิดดีทำดีด้วยค่ะ

  8. สอนให้ลูกรู้คุณค่าของสิ่งของรอบตัว เพราะเด็กที่รู้จักคุณค่าของสิ่งต่างๆ รอบตัว จะเป็นคนที่รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความอ่อนโยน ซึ่งพ่อแม่สอนลูกสาวได้ง่ายๆ โดย การพูดคุย ชื่นชม ทำให้ดู หรือแม่แต่การให้สิ่งของต่างๆ อย่าให้ลูกง่ายเกินไป แต่ต้องมีเงื่อนไขหรือข้อแลกเปลี่ยน เพื่อให้ลูกตระหนักรู้ว่ากว่าที่จะได้ของเล่นมา 1 ชิ้น ต้องใช้ความพยายามมากแค่ไหน และต้องรักษาสิ่งนั้นไว้

  9. ให้ลูกใช้สื่ออย่างเหมาะสม การให้ลูกเล่นมือถือ ดูโทรศัพท์ เล่นเกม ไม่ใช่เรื่องผิดค่ะ ตราบใดที่พ่อแม่คอยควบคุมจำกัดเวลา คอยอธิบายอยู่ใกล้ๆ เพื่อป้องกันลูกเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 

  10. พ่อแม่เป็นตัวอย่างให้ลูก ไม่ว่าจะลูกสาวหรือลูกชาย ถ้าอยากอยากให้ลูกจิตใจดี มีเมตตา อ่อนโยน พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างให้ลูกดูก่อนเลยค่ะ เพราะลูกจะจำและทำตาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะติดตัวลูกไปจนโต

 



 



สนใจสั่งซื้อหนังสือ Raising Girl ลูกสาวเลี้ยงอย่างไรให้ดี 
คลิก http://bit.ly/2UKvPy8


 

 


 

10 เทคนิคเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กดี มีความสุขได้ง่าย ๆ สไตล์โอปอล์ ปาณิสรา

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

10 วิธีสอนลูกสไตล์แม่โอปอล์-ปาณิสรา และคุณพ่อหมอโอ๊ค-นพ.สมิทธิ์

คุณพ่อคุณแม่หลายคนชื่นชมวิธีการเลี้ยงลูกของคุณแม่โอปอล์-ปาณิสรา และคุณพ่อหมอโอ๊ค- สมิทธิ์ ที่ตอนนี้ลูก ๆ ฝาแฝดอย่าง น้องอลิน และ น้องอลัน ก็เป็นเด็กที่น่ารัก ความจำดี รู้จักหน้าที่ของตัวเองมาก เราก็ไม่พลาดที่นำวิธีการสอนและมุมมองดีๆ ในการเลี้ยงน้องแฝดมาฝากกันค่ะ

  1. ฝึกให้ลูกรักการอ่าน

แม่โอปอล์ได้บอกในการสัมภาษณ์ว่า “เราให้ลูกอ่านหนังสือเยอะมาก" จึงเป็นที่มาของความจำดีของน้องอลิน น้องอลันที่บางครั้งก็พูดออกมาตามหนังสือที่ได้อ่าน จนทำให้คนเป็นพ่อแม่ถึงกับอึ้ง ว่าลูกจำได้ดีมากขนาดนี้

  1. ต้องระวังคำพูดต่อหน้าลูก

เพราะแม่โอปอล์และหมอโอ๊คเชื่อว่า เด็กจะมีหยักสมองที่จำ แล้วมีลิ้นชักความจำเยอะมาก ดังนั้นสิ่งที่ต้องระวังสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่คือการพูด อะไรไปพูดไปน้องอลิน น้องอลันจะจำ รวมถึงคัดกรองคนรอบข้างด้วย เช่น คำหยาบ การสบถ ว่าอย่าทำต่อหน้าลูก

  1. ใกล้ชิดลูกให้มากที่สุด

คุณหมอโอ๊คและแม่โอปอล์ จะใกล้ชิดลูกมาก หากอยู่บ้านก็จะเล่นกับลูกตลอดเวลา และหมอโอ๊คเคยได้ให้สัมภาษณ์ว่า "ความใกล้ชิดตอบทุกปัญหา เราก็เรียนรู้ไปกับเขา ได้เห็นว่าตัวเขาต้องการอะไร เข้าใจผิดก็บอกเท่านั้นเองไม่มีอะไรน่ากลัว" เรียกว่าเป็นครอบครัวที่ใกล้ชิดกับลูกมากจริงๆ

  1. สอนให้ลูกเคารพตัวเอง

แม่โอปอล์และหมอโอ๊ค โพสต์อินสตาแกรมสอนลูกเพื่อให้เขามาอ่านตอนโตว่า "รักและเคารพในตัวเองมาก ๆ นะลูก อย่าทำตัวเป็นวงกลมที่ขาด มีความสุขกับชีวิตของตัวเองให้ได้ ไม่ต้องรอให้ใครมาเติมเต็มนะลูกนะ พ่อกับแม่รักลูกมากกกกจำไว้นะคะ #Aline_A #Arran_A"  เป็นข้อความที่มีคนชื่นชมเยอะมาก ว่าสอนลูกดี

5. พูดกับลูก ให้เหมือนพูดกับผู้ใหญ่

บ้านของแม่โอปอล์และหมอโอ๊คจะระวังไม่เบบี้พร็อพกับลูก เช่น ไม่พูดว่าหม่ำ ๆ ข้าวนะลูก แต่จะใช้คำว่า กินข้าวนะลูก พูดกับลูกให้เหมือนผู้ใหญ่ เวลาพูดให้จ้องหน้าลูก ให้รู้ว่าคุยกับลูกอยู่ ไม่ว่าลูกจะพูดรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่อง ต้องฟังลูก มองหน้าลูกเสมอ

  1. ไม่อวยลูกเกินไป

น้องอลินได้รางวัลที่ 1 ประกวดมารยาทไทยและไหว้สวยงามที่โรงเรียน แม่โอปอล์จะมีแฮชแท็กแกล้งลูกสาว ว่า #ลูกสาวค่ะแกเป็นเด็กเรียบร้อย และในตอนสัมภาษณ์ก็บอกเชิงตลกกับนักข่าวว่า "เพราะเป็นโรงเรียนนานาชาติ เพื่อนก็เป็นคนเกาหลี เป็นคนจีน น้องอลินก็ต้องได้แหละ" เป็นเรื่องที่สร้างเสียงหัวเราะให้นักข่าวมาก แน่นอนว่าคนเป็นแม่ภูมิในตัวลูกทุกเรื่อง แต่ก็ต้องวางตัวดี ไม่แสดงออกมากไปสไตล์แม่โอป

  1. ไม่ดุลูก แต่เน้นเข้าใจ

แม่โอปอล์ เล่าว่า ไม่ว่าลูกจะกรี๊ดเสียงเลเวลไหน ก็จะพูดกับลูกแบบ "kind but firm" ต้องสุภาพเสมอ หากลูกทำผิดก็จะลงโทษ จากนั้นจะกอดลูก อุ้มลูกทันที และบอกลูกว่าทำไมถึงโดนทำโทษ ต้องมีเหตุผลให้ลูกเข้าใจ เพื่อให้ลูกมีเหตุผลในอนาคตเมื่อโตขึ้นไป

  1. สอนลูกให้เป็นเด็กมีความสุข

"เป็นเด็กดีนะลูก ยินดีเมื่อเห็นคนมีความสุข มีเมตตาเผื่อแผ่คนรอบข้าง รู้บุญคุณคน อย่าเห็นผิดเป็นชอบ อย่าเห็นร้ายกลายเป็นดี เติบโตอย่างแข็งแรงทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญานะลูก" เป็นข้อความที่แม่โอปอล์โพสต์สอนลูก ซึ่งเป็นข้อความที่ดีมาก พ่อแม่ลองนำไปสอนลูกได้

  1. สอนวินัย คิดเผื่อ

แม่โอปอล์และหมอโอ๊คจะฝึกให้ลูกตรงต่อเวลา เช่น ตื่น นอน กิน เป็นเวลา แม่โอปอล์ให้สัมภาษณ์ว่า "ก่อนไปโรงเรียนเราจะเปิดเพลง ทันทีที่รถเลี้ยวเข้าโรงเรียน เราจะปิดเพลงเพื่อให้ลูกเตรียมความพร้อมเข้าโรงเรียน ต่อมาน้องอลันจะจำและบอกว่าใกล้โรงเรียนแล้วครับ เพื่อปิดเพลงและเตรียมตัวเข้าโรงเรียน" เรียกว่าสอนให้ลูกแฝดให้โตไปรู้จักหน้าที่ของตัวเองได้ดีมาก

  1. พ่อแม่ต้องมีวิธีจัดการที่ดี

แม่โอปอล์เข้าใจมาก ว่าลูกคุณไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน เวลาขึ้นเครื่องบิน แม่โอปอล์จะคอยเดินขอโทษคนอื่นเพราะลูกต้องร้องไห้ เสียงดัง และเวลาออกไปข้างนอก จะต้องทำความเข้าใจกับลูกก่อนเสมอว่า "ไปข้างนอกเสียงดังไม่ได้ เพราะเราจะรบกวนคนอื่น ถ้ารบกวนแม่คงไม่พาออกไปแล้วแหละ" แม่โอปอล์ให้ความสำคัญกับการจัดการลูกของตัวเองมาก เพื่อจะได้เป็นที่รักของคนอื่นที่พบเห็น

สไตล์การเลี้ยงลูกไม่มีผิด ไม่มีถูกนะคะ เพราะคนเป็นพ่อเป็นแม่รู้จักลูกของตัวเองดีที่สุด แต่ถ้าสนใจวิธีการเลี้ยงลูกของแม่โอปอล และหมอโอ๊ต ก็ลองนำไปปรับใช้กับลูกดูนะคะ หลายข้อเรียกว่าสอนเด็ก ๆ ได้ดีเลยค่ะ

100 วิธีง่าย ๆ เลี้ยงลูกมีความสุขทุกวัน

มีความสุข- ทำให้ลูกมีความสุข- เคล็ดลับ- เทคนิค- เคล็ดลับการเลี้ยงลูก- การเลี้ยงลูก

100 วิธีง่าย ๆ เลี้ยงลูกมีความสุขทุกวัน

ลูกคือดวงใจของคนเป็นพ่อแม่ มาดูวิธีง่าย แสนง่าย ของการสร้างความสุขให้กับลูกกันดีกว่า เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนทำได้แน่นอนค่ะ
    
        บอกกับลูกตรงๆ ว่า
       1.พ่อแม่รักลูก
       2.ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นพ่อกับแม่ก็ยังคงรักลูก
       3.พ่อแม่รักลูกแม้ว่าเวลาที่ลูกโกรธพ่อแม่
       4.พ่อแม่รักลูกแม้ว่าเวลาพ่อแม่โกรธลูก
       5.พ่อแม่รักลูกแม้ว่าเราอยู่ไกลกันความรักของพ่อและแม่ก็ยังส่งไปถึงลูกเสมอ
       6.ถ้าจะให้พ่อแม่เลือกเด็กวัย 4, 5 หรือ 6 ขวบ.....ทั่วทั้งโลก พ่อแม่จะเลือกลูก
       7.พ่อแม่รักลูกตั้งแต่พระจันทร์เดินทางไปรอบๆ ดวงดาวต่างๆ ทุกดวง ไปรอบโลกและกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
       8.ขอบคุณพระเจ้า/สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ลูกเกิดมาเป็นลูกของพ่อแม่
       9.พ่อแม่ดีใจที่ได้เล่นกับลูกวันนี้
       10.ช่วงที่มีความสุขในวันนี้คือตอนที่พ่อแม่เล่นกับลูก
       
       เล่าเรื่อง
       11.เล่าเรื่องตอนลูกเกิดให้ลูกฟัง
       12.เล่าให้ฟังว่าเรากอดลูกอย่างไรตอนลูกยังเป็นทารก
       13.เล่าว่าได้ชื่อลูกมาอย่างไร
       14.เล่าให้ลูกฟังว่าตอนที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกันกับลูกพ่อแม่เป็นอย่างไร
       15.เล่าเรื่องคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยายและคุณพ่อคุณแม่พบรักกันได้อย่างไร
       16.บอกลูกว่าเราชอบสีอะไร
       17.เมื่อจับมือลูกและบีบ 3 ครั้งนั่นเป็นโค้ดลับว่า พ่อแม่รักลูก
       18.เล่าให้ลูกฟังว่าบางครั้งพ่อแม่ก็ทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน
       19.บอกลูกว่าแผนการในอนาคตของครอบครัวที่วางไว้คืออะไร
       20.ผลัดกันเล่าว่าวันนี้พ่อแม่ทำอะไรบ้าง และวันนี้ลูกทำอะไรบ้าง
       
       เล่นด้วย
       21.เกมแตะแข็ง
       22.หมากเก็บ
       23.ตี่ จับ
       24.ลิงชิงบอล
       25.ทดสอบความจำ
       26.รี รี ข้าวสาร
       27.สายลับ หาอะไรที่ซ่อนอยู่
       28.บก น้ำ อากาศ
       
       บทบาทสมมติ
       29.จับจูบที่ลูกส่งให้แล้วเอาไปหอมแก้มลูกอีกครั้ง
       30.เล่นจั๊กจี้กับลูก
       31.ตบมือ ไฮไฟ (High Five) ทำทีว่าลูกมีกำลังมากจริง ๆ จนเกือบจะทำพ่อแม่ล้ม (High Five คือการตบมือด้วยมือข้างใดข้างหนึ่งกับผู้อื่นเมื่อประสบความสำเร็จหรือพอใจอะไรบางอย่าง)
       32.สำรวจโลกมหัศจรรย์ใหม่ นั่นคือสวนหลังบ้าน
       33.สมมติว่าจัดเลี้ยงที่บ้าน
       34.เล่นเป็นตัวตลกกัน
       
       พยายาม
       35.นอนหลับให้เพียงพอ
       36.ดื่มน้ำให้เพียงพอ
       37.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
       38.ใส่ชุดที่จะทำให้ลูกรู้สึกมั่นใจและสบาย
       39.หาคำปรึกษา หรือพัฒนาตนเองจากแหล่งความรู้ต่างๆ
       40.ใช้วิธีสัมผัสที่ยิ่งใหญ่มากกว่าการพูดบางสิ่งบางอย่าง
       41.เต้นรำกับลูก
       42.ให้ลูกเลือกดนตรีที่ชอบในรถ
       43.ทำท่าตีลังกา ใช้หัวยืนแทนเท้า ให้ลูกดู
       44.เมื่อเห็นงานที่ต้องทำ เข้าช่วยหรือช่วยทำความสะอาดทันที
       45.ใช้เสียงที่นุ่มนวลสุภาพกับลูกเสมอ
       46.อ่านเรื่องและคำกลอนตลกๆ ด้วยกัน
       47.อ่านนิทานร่วมกัน
       48.อ่านหนังสือที่สมัยเด็กที่เราชอบให้ลูกฟัง
       49.อ่านเรื่องตามเวปที่มีนิทานที่เด็กชอบ
       50.อ่านหนังสือใต้ต้นไม้
       51.พาลูกไปอ่านหนังสือที่มุมเด็กในห้องสมุดด้วยกัน
       52.คุยเรื่องตัวการ์ตูนที่ลูกชอบแต่เราอาจไม่สนใจเท่าไหร่นัก
       53.เมื่อถึงอายุที่เหมาะสมเล่าเรื่องจริงที่เหมาะกับพัฒนาการ

            นักฟังที่ดี
       54.ฟังเรื่องที่ลูกเล่าในรถ
       55.ฟังเรื่องที่ลูกเล่าขณะที่ลูกต่อไม้บล็อก หรือเล่นตัวต่อ
       56.ตอบคำถามหรือช่วยต่อยอดความคิดให้ลูก
       57.อดทนฟังอย่างตั้งใจเมื่อลูกพูด
       58.ฟังความรู้สึกของลูกเมื่อลูกพูด
       
       ตั้งคำถาม
       59.ทำไมถึงคิดว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้น
       60.ลูกคิดว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นถ้าหากว่า.........
       61.เราจะหาคำตอบได้อย่างไร
       62.ลูกคิดอย่างไรกับ......
       63.ลูกชอบช่วงไหนในวันนี้มากที่สุด
       64.ที่โต๊ะอาหาร ลูกชิมแล้วรู้สึกว่าอาหารมีรสชาติอย่างไร.....
       
       ทำให้ดู
       65.ทำให้ลูกดูว่าทำอย่างไร ไม่ใช่ห้ามไม่ให้ทำ
       66.พ่อแม่พูดจาสุภาพเรียบร้อยทั้งกับลูกและซึ่งกันและกัน
       67.สลับบัตรคำในมือ และทำให้เป็นเหมือนสะพานโค้งถ้าทำได้
       68.วิธีตัดผักผลไม้ อย่างปลอดภัย
       69.วิธีการทำงานบ้านที่ถูกต้อง เช่น พับผ้า ล้างจาน
       70.ดูคู่มือ วิธีใช้เมื่อไม่รู้คำตอบ
       71.พ่อแม่แสดงความรักและความห่วงใยต่อกัน
       72.การดูแลตัวเองให้สะอาดอยู่เสมอ
       
       ใช้เวลากับ
       73.การซ่อมแซมของเล่น
       74.ใกล้ชิดกับธรรมชาติ
       75.ให้ลูกช่วยผสมส่วนประกอบของอาหาร
       76.ไปเดินเล่นด้วยกัน
       77.ขุดดินปลูกต้นไม้ด้วยกัน
       78.ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันตามระดับความสามารถของลูก
       79.นั่งเล่นกับลูกๆ
       
       ไว้วางใจ
       80.บอกลูกว่าเขาสามารถทำได้
       81.บอกว่าคุณเป็นพ่อแม่ที่เหมาะกับลูกจริงๆ
       82.บอกลูกว่าแค่มีพ่อกับแม่ก็เพียงพอ
       83.พ่อและแม่จะทำสิ่งที่ดีและเหมาะสมกับครอบครัวเรา                      
       
       เสริมกำลังใจลูก
       84.สร้างความแปลกใจโดยการทำความสะอาดห้องให้ลูก
       85.ชมว่าขนมปังที่ลูกทาแยมอร่อยมาก
       86.เขียนโน้ตส่งความรักให้ลูกในกล่องอาหารกลางวัน
       87.ทำอาหารว่างเป็นรูปรอยยิ้ม
       88.ทำเสียงประกอบขณะทำกิจกรรมช่วยกับลูก
       89.นั่งเล่นที่พื้นกับลูก
                          
       ลืมเรื่องเหล่านี้
       90.ความผิด
       91.คิดทางลบว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น
       92.ตอนถูกเสมอ           
       
       ให้
       93.การมองลูกด้วยสายตาที่อ่อนโยน
       94.ยิ้มให้เสมอเมื่อลูกเดินเข้ามาหาเรา
       95.สัมผัสลูกเมื่อลูกสัมผัสเรา
       96.สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นก่อนที่จะลงวินัยกับลูก หรือแก้ไขลูกเพื่อลูกจะเข้าใจในสิ่งที่เราทำ
       97.เปิดโอกาสให้ลูกได้ระบายสิ่งที่คับข้องใจทุกเรื่อง
       98.เล่นฉีดน้ำกับลูกในวันที่อากาศร้อน
       99.กอดลูกบ่อยๆ
       100...............................ข้อนี้ให้คุณพ่อคุณแม่คิดแล้วเติมเองนะคะ
       
       ถึงแม้ว่าข้อต่างๆ เหล่านี้ดูสั้นๆ ทำง่ายๆ และดูเหมือนจะมีบางข้อที่มีวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีส่วนอยู่บ้าง แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่สามารถทำให้ลูกสัมผัสถึงความรักได้ไม่ว่าจะเป็นข้อที่คิดขึ้นเองหรือทำตาม/ดัดแปลงจากทั้ง 100 ข้อนี้ ความรักที่ลูกได้รับจากพ่อแม่จะถูกเก็บสะสมไว้ในใจและในความทรงจำของลูกเสมอเพื่อที่เมื่อลูกโตเป็นผู้ใหญ่ลูกจะสามารถมอบความรักเหล่านี้กลับไปสู่ตัวเอง ผู้อื่นและธรรมชาติที่อยู่รอบข้างได้ โลกนี้คงน่าอยู่ขึ้นแยะหากเรารู้จักรักและแบ่งปัน เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวเสมอค่ะ



3 ความหวังดีของพ่อแม่ แต่กลับทำลายลูกแบบไม่รู้ตัว

 3 ความหวังดีของพ่อแม่, ทำลายลูกแบบไม่รู้ตัว, พ่อแม่รังแกฉัน, ลูกดื้อ, ลูกเกเร, สิ่งที่พ่อกับแม่ไม่ควรทำ, พ่อแม่, แม่, การสอนลูก, ทำยังไงให้ลูกเป็นคนดี, หวังดี, ลูก, การเลี้ยงลูก, ทำยังไงให้ลูกฉลาก, เรียนเก่ง, เด็กเรียนดี

พ่อกับแม่หากรักลูกมากเกินไปก็จะเกิดปัญหาได้ เพราะคำพูดที่หวังดีอาจจะไปสร้างความกดดันให้ลูก และส่งผลเสียระยะยาวไปจนโต มาดูกันเลยว่าความหวังดีอะไรที่จะทำลายลูกบ้าง

3 ความหวังดีของพ่อแม่ แต่กลับทำลายลูกแบบไม่รู้ตัว
  1. ลูกต้องมีอนาคตที่ไกล ได้ดีกว่าพ่อแม่ การปลูกฝังเรื่องนี้ตั้งแต่เด็กแม้จะเป็นความหวังดีของพ่อกับแม่ล้วนๆ แต่สร้างความกดดันให้ลูกไม่น้อย เพราะลูกมีบรรทัดฐานคือพ่อกับแม่ ลูกจึงไม่เป็นตัวเอง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมเมื่อเติบโตขึ้น        
  2. ลูกเป็นหน้าตาของพ่อกับแม่นะ คำพูดแบบนี้สำหรับลูกเหมือนไม่ได้นึกถึงเขาเลย ส่งผลให้ลูกจะเลือกหรือทำอะไรที่ตัวเองชอบ ก็มักจะทำมันได้ไม่สุด กลายเป็นคนทำอะไรครึ่งๆ กลางๆ ไม่มีจุดหมาย เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นคนที่ขาดความมั่นใจในตนเอง เสี่ยงที่จะออกนอกลู่นอกทางถ้ามีโอกาส        
  3. ลูกต้องเรียนเก่ง ผลการเรียนต้องดี ประโยคนี้พ่อกับแม่หวังดีเพื่ออนาคตลูกจะได้มีการงานทำที่ดี แต่มักจะสร้างขีดจำกัดให้ลูก เพราะลูกไม่ได้ชอบวิชาเรียนทั้งหมด อาจจะทำได้ดีบางเรื่อง ซึ่งทำให้ลูกเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิต เพราะพ่อแม่คาดหวังให้เรียนให้เก่ง ผลการเรียนดี

3 สัญญาณว่าคุณกำลังเป็น พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์แน่นอน! (Helicopter Parents)

พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์- การเลี้ยงดูเด็ก- ลูกไม่กล้าตัดสินใจ- ลูกขี้กลัว- ลูกขาดทักษาการเรียนรู้- เลี้ยงลูกไม่ยอมปล่อย- เลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน- ไข่ในหิน- พ่อแม่รังแกฉัน- เด็กมีปัญหา

3 สัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็น พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์

คุณเป็นพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเฮลิคอปเตอร์หรือไม่ มาดูสัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็น พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ กันค่ะ

พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ คือคำที่ใช้เรียกผู้ปกครองที่พวกเขาต้องการดูแลสอดส่องลูกของตนแทบจะตลอดเวลา มักจะควบคุมบงการและคอยคิดแทนลูก ทำแทนลูกแทบทุก ๆ เรื่อง 

3 สัญญาณว่าคุณกำลังเป็น พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์

1.ตัดสินใจแทนลูก

การตัดสินใจแทนลูก ไม่ว่าจะเรื่องการเรียน สิ่งของ ความถนัด หรือแม้แต่ของเล่นง่าย ๆ ก็เป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เลือกให้ลูกเองซะหมด โดยไม่ถามลูกว่า

..อยากเรียนอะไร?

..ของเล่นชิ้นไหนที่ลูกชอบ หรืออยากได้ที่สุด?

..รองเท้าสีไหนที่ลูกชอบ?

วิธีแก้ไข

คุณพ่อคุณแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้คิดเอง เลือกเอง ถึงแม้จะไม่ใช่ของที่สวยที่สุด หรือดีที่สุดในสายตาเรา แต่อย่างน้อยก็ทำให้ลูกได้คิดได้ทำอะไรด้วยตัวเองค่ะ

 

2.ช่วยเหลือลูกทุกเรื่อง

ยกตัวอย่างเช่น ป้อนข้าวลูก เพราะกลัวลูกเปลื้อน , ทำการบ้านแทนลูก งานประดิษฐ์ต่าง ๆ อาสาทำให้ลูกเองเลยทุกชิ้น เพื่อให้ลูกได้มีงานดี ๆ ไปส่งคุณครู จะได้คะแนนเยอะ ๆ แบบนี้ไม่ได้แน่ค่ะ

วิธีแก้ไข

1.ปล่อยให้ลูกกินข้าวด้วยตัวเอง ถึงแม้จะเปลื้อน เลอะเทอะ แต่อย่างน้อยเขาจะได้ทำอะไรด้วยตัวเองค่ะ

2.ห้ามทำการบ้านแทนลูกเด็ดขาดนะคะ! การบ้านใคร คนนั้นต้องเป็นคนทำเอง เพียงแต่เราจะคอยสอนคอยดูอยู่ใกล้ ๆ แนะนำได้บ้างเล็กน้อยตามสมควรค่ะ

 

3.ติดตามลูกไปทุกที่

การดูแลลูกเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำค่ะ แต่ถ้าหากดูแลมากไป ติดตามลูกไปทุก ๆ ที่ สนามเด็กเล็ก ห้องเรียน ที่ ๆ มีลูกกับเพื่อน หรือกับคุณครู ก็จะคอยอยู่ข้าง ๆ ลูกตลอดเวลา

วิธีแก้ไข

คุณพ่อคุณแม่ต้องปล่อยให้ลูกได้มีเวลากับเพื่อนส่วนตัวบ้างนะคะ ปล่อยให้เด็ก ๆ ได้เล่นกันเองบ้าง ลูกและเพื่อน ๆ จะได้ไม่เกร็งที่ต้องมีคุณพ่อคุณแม่มาคอยดูอยู่ตลอดค่ะ

 

รู้ไวแก้ไขได้ทันค่ะ! รักลูกขอเป็นกำลังใจในการเลี้ยงลูกให้กับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านนะคะ หวังว่าบทความชิ้นนี้จะช่วยเปลี่ยนความคิดของการเลี้ยงลูกแบบ ไข่ในหิน ที่ทำให้ลูกอ่อนแอ พึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา มาเป็นเด็กแข็งแกร่ง ช่วยเหลือตัวเองได้เสมอกันค่ะ

 

4 วิธีป้องกันลูกไปกับคนแปลกหน้า โดนลักพาตัว วิธีป้องกันที่พ่อแม่ต้องรู้และสอนลูก

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-การเรียนรู้
ข่าวเด็ก ๆ โดนลักพาตัว ไปกับคนแปลกหน้ามีให้เห็นบ่อยมาก ซึ่งเกิดได้ทั้งลูกเล็ก ลูกโต ทั้งที่โรงเรียน สนามเด็กเล่น หรือแม้แต่ห้างที่มีคนพลุกพล่าน พ่อแม่จึงต้องหาวิธีป้องกันไม่ให้ลูกโดนลักพาตัว รวมถึงสอนให้ลูกปกป้องตัวเองเบื้องต้นด้วยการรู้จักปฏิเสธและไม่ไปกับคนแปลกหน้า เรามี 4 วิธีสอนและป้องกันให้ลูกไม่โดนลักพาตัว และรู้จักปฏิเสธไม่ไปกับคนแปลกหน้ามาแนะนำค่ะ

1.รหัสลับที่รู้กัน

วิธีนี้พ่อแม่ลูกจะต้องสร้างรหัสลับที่รู้กันเอง เพื่อเวลาพ่อแม่ไปรับ ลูกจะต้องถามรหัสนี้ก่อน หรือหากมีความจำเป็นต้องให้ญาติไปรับก็จะต้องรู้รหัสนี้ด้วย เช่น รหัส "เจ้าหญิงเอลซ่ากินกล้วย" เมื่อไปรับลูก ลูกจะต้องถามพ่อแม่ก่อนว่ารหัสคืออะไร เมื่อพ่อแม่ตอบถูกจึงกลับบ้านด้วยกันได้ หากตอบผิด ลูกจะต้องรีบวิ่งไปหาคุณครู

คำแนะนำ

  • รหัสนี้ควรเปลี่ยนทุกสัปดาห์
  • หากจะต้องให้ญาติไปรับแทน ต้องแจ้งรหัสนี้ที่ญาติ และแจ้งครูที่พาน้องมาส่งถึงมือญาติด้วย
  • คุณครูคืออีกหนึ่งคนที่จำเป็นต้องทราบรหัสนี้ ทั้งในกรณีที่พ่อแม่หรือญาติมารับ
-------------------------------------------------
 
2.สอนให้ลูก "ขออนุญาต" ก่อนเสมอ

วิธีนี้ต้องปลูกฝังตั้งแต่ลูกเริ่มเข้าใจคำพูดของพ่อแม่ คือ ทุกครั้งที่ลูกจะรับของจากใคร กินอะไร ไปไหน จะต้องหันหน้ามาถามพ่อแม่ก่อนเสมอ หากพ่อแม่อนุญาตถึงทำได้ หากไม่อนุญาตก็จะไม่ได้ทำ เช่น คุณป้า(พี่สาวพ่อ)ให้ขนม ลูกจะยังไม่รับแม้จะโดนคะยั้นคะยอจากป้า แต่จะหันมามองหาพ่อแม่แล้ววิ่งมาขออนุญาตก่อน หรือ หากมีใครจับแขนหรือมือให้มารับของหรือพาเดิน ลูกจะรู้ว่าต้องขัดขืนไว้ เพราะพ่อแม่ยังไม่อนุญาตให้ไป

คำแนะนำ

  • วิธีนี้เน้น "การทำซ้ำ" จึงจะได้ผล เช่น ทุกครั้งที่มีใครให้ขนม เมื่อเห็นว่าลูกจะรับ พ่อแม่ต้องถามว่า "ลูกควรทำยังไงก่อน" เพื่อเตือนให้ลูกรู้ว่าต้องมาขออนุญาตก่อนทุกครั้ง จนกว่าลูกจะจำและทำได้เองเมื่อมีคนให้ขอหรือจะทำอะไร ต้องมาขอพ่อแม่ก่อน โดยที่เราไม่ต้องร้องเตือน
-------------------------------------------------
 
3.กรี๊ดให้สุดเสียง

ในกรณีที่มีคนแปลกหน้ามาจับตัว จับขน จับมือ ลากดึงมือไปที่อื่น โดยไม่มีพ่อแม่หรือผู้ปกครองอยู่ด้วย วิธีที่ดีที่สุดที่จะสอนให้ลูกทำคือ ร้องสุดเสียง กรี๊ดให้ดังที่สุด เพื่อเรียกให้คนมาช่วย


คำแนะนำ

  • พ่อแม่ควรสอนลูกด้วยว่า คนแปลกหน้าคือคนลักษณะไหน เช่น คนที่บอกรหัสลับไม่ถูกแต่พยายามจับมือแล้วลากหนูไป ก็ให้หนูร้องเลย เป็นต้น
-------------------------------------------------
 
4.นาฬิกาติดตามตัว

สำหรับเด็กๆ ที่โตพอจะใส่นาฬิกาได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย เช่น นาฬิกาติดตามตัวที่มีระบบ GPS เชื่อมต่อกับโทรศัพท์ของพ่อแม่ ซึ่งจะทำให้รู้ความเคลื่อนไหวของลูกว่าอยู่ไหน ออกนอกพิกัดไหม หากลูกออกนอกพิกัดก็สามารถโทรศัพท์เข้าไปที่นาฬิกาได้เลย หรือสามารถติดตามเส้นทางของลูกได้


คำแนะนำ

  • ควรเลือกนาฬิกาติดตามตัวที่เหมาะกับพฤติกรรมของเด็กๆ เช่น กันน้ำ กันกระแทก ฯลฯ
  • สอนลูกเสมอว่าไม่ควรถอด นอกจากต้องทำกิจกรรมที่ใส่นาฬิกาตลอดเวลาไม่ได้ เช่น ว่ายน้ำ ฯลฯ


  เหตุการณ์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนรู้ไว้เป็นทักษะชีวิตในการเอาตัวรอดของลูกเมื่อต้องเจอสถานการณ์ร้ายแบบนี้นะคะ 

5 กิจกรรม สร้างทักษะการริเริ่มและลงมือทำให้ลูก

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF
ทักษะการริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)  คือความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด มีทักษะในการริเริ่มสร้างสรรค์แนวทางในการทำสิ่งต่างๆ เมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำให้ความคิดของตนปรากฏขึ้นจริง โดยไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
ฝึกลูกให้เป็นเด็กรู้จักคิดริเริ่มลงมือทำด้วยกิจกรรมง่ายๆ

1. ต่อคำ คิดศัพท์ลองคิดคำศัพท์ง่ายๆ แล้วให้ลูกนึกคำที่เหมือนกับคำลงท้ายที่คุณพ่อคุณแม่พูด เช่น คำว่า นาฬิกา ลงท้ายด้วย ก.ไก่ หนูลองหาซิมีคำไหนขึ้นต้นด้วย ก.ไก่บ้าง ลูกอาจจะยังผสมคำไม่เป็น แต่ลูกจะได้เรียนรู้เสียงและคำศัพท์หรือคำที่คล้องจองกัน จากนั้นก็ลองสลับกันเล่นให้ลูกเป็นคนคิดคำขึ้นมาแล้วให้คุณพ่อคุณแม่เป็นคนทาย ช่วยฝึกการคิดริเริ่ม และทำให้สนุกมากขึ้นด้วย

2. DIY  ริเริ่มสร้างสรรค์เกมนี้สามารถสอนให้ลูกเห็นคุณค่าของสิ่งของ ปลูกฝังค่านิยมเรื่องการประหยัดอดออมได้ ที่สำคัญเป็นเกมที่ให้ลูกได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์เต็มที่ค่ะ เช่น แม่อาจหาอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กล่อง พลาสติก ขวดที่ใช้แล้ว จากนั้นก็ชวนลูกมาประดิษฐ์สิ่งของ ให้ลูกคิดว่าอยากทำอะไร ซึ่งพ่อแม่แนะนำเขาได้ เช่น วันนี้เราทำกระปุกออมสินกันดีมั้ย หนูคิดว่าเราจะใช้อะไรดีนะ ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ลงมือทำให้เต็มที่ ให้เขาได้สร้างสรรค์ด้วยตัวเองมากที่สุด

3.ทำงานบ้าน ลูกวัย 3-6 สามารถช่วยงานบ้านง่ายๆ ได้ หากทุกคนในบ้านทำร่วมกันได้ เปลี่ยนจากการสั่งให้เขาทำ มาเป็นเกมสนุกๆ แทน ลูกก็จะสนุกมากขึ้น เช่น ลองชวนเข้าครัว ให้ลูกเป็นคนคิดเมนูว่าอยากทำอะไร แล้วก็หาของที่มีอยู่ในตู้เย็น แม่อาจบอกว่าในตู้เย็นเรามีอะไรบ้าง เราลองมาคิดกันซิว่าจะทำอะไรได้บ้าง โดยเฉพาะลูกวัย 5- 6 ขวบ จะเริ่มมีไอเดียแล้วว่าของสิ่งนี้เอามาทำอะไรบ้าง เกมนี้ได้ทั้งออกกำลังกาย และฝึกความคิดสร้างสรรค์ไปพร้อมๆ กันค่ะ

4. ปลูกต้นไม้ด้วยตัวเองลูกจะได้เรียนรู้ทุกขั้นตอนของการปลูก เปิดโอกาสให้ลูกเลือกเมล็ดพันธุ์ ลูกจะได้รู้เรื่องคำศัพท์ ได้ลงมือปลูก รดน้ำ พรวนดิน ดูแลต้นไม้ด้วยตัวเอง ระหว่างการดูแลและรอให้ต้นไม้เติบโต พ่อแม่สามารถสอดแทรกเรื่องความอดทนรอคอย จนกระทั่งวันหนึ่งที่ต้นไม้ออกดอกออกผล ยิ่งมีผลมากินได้ด้วย ลูกจะรู้สึกภูมิใจเพราะได้ปลูกด้วยตัวเอง

5. ดนตรีและกิจกรรมเข้าจังหวะ ดนตรีและกิจกรรมเข้าจังหวะเป็นเป็นเกมที่สามารถทำร่วมกันในครอบครัวได้อย่างสนุกสนาน คุณพ่อคุณแม่ชวนลูกหาเครื่องดนตรีจากสิ่งของในบ้าน เช่น ขวดแก้ว กระป๋องนม หรือเปิดเพลงจังหวะสนุกๆ ร่วมด้วย โดยให้ลูกคิดว่าของที่เลือกมาจะมาทำให้เกิดเป็นจังหวะหรือเสียงได้อย่างไร จากนั้นให้เขาลงมือเคาะ ตี เขย่า หรือให้ลูกเป็นคนคิดท่าท่างประกอบจังหวะ นอกจากฝึกให้ลูกรู้จักจังหวะ ได้เคลื่อนไหวร่างกายพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ผ่านการคิดเชื่อมโยงและลงมือทำด้วยตัวเอง

การได้ทำกิจกรรมง่ายๆ ร่วมกันในครอบครัว นอกจากไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ได้สายสัมพันธ์ที่แนบแน่นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมทักษะการคิดริเริ่มและลงมือทำที่ได้ผลมากกว่าที่คิด
 
 



 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข


 

5 ข้อดีของการสอนลูกรู้จักออมเงิน

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF
 
เด็กวัยอนุบาลเป็นวัยที่เริ่มรู้จักการใช้จ่ายเงินบ้างแล้ว แต่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจคุณค่าของเงิน เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถอธิบายความสำคัญของเงินแบบง่ายๆ ให้ลูกได้เช่น เงินมีไว้ทำอะไร พ่อแม่หามาได้อย่างไร และเงินมีไว้ใช้สำหรับสิ่งจำเป็นอะไรบ้าง ที่สำคัญ ลูกต้องรู้จักออมเงินด้วยค่ะ
5 ข้อดีสอนลูกรู้จักออมเงิน
1. ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายว่าจะออมเงินเพื่ออะไร เช่น ออมเงินไว้ซื้อของเล่นที่อยากได้ ออมเงินไว้สำหรับซื้อของให้พ่อแม่ เป็นต้น 

2 ลูกได้เรียนรู้การวางแผน ลูกอยากได้ของเล่น ต้องเก็บเงินวันละเท่าไหร่ และต้องใช้ระยะเวลาในการเก็บกี่วัน จึงจะพอซื้อของเล่น 1 ชิ้น เป็นต้น 

3. รู้จักอดทนรอคอย บางครั้งการออมเงินก็เป็นเรื่องสนุกที่เด็กๆ จะรู้สึกตื่นเต้นและเฝ้ารอวันที่กระปุกออมสินเต็ม หรือวันที่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อของที่เขาอยากได้ 

4. เกิดความยืดหยุ่น แม้จุดประสงค์หลักที่ลูกออมเง้นเพื่อซื้อของเล่น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ลูกอาจไม่อยากได้ของเล่นที่เขาเคยอยากเล่นแล้ว เด็กบางคน เมื่อเห็นจำนวนเงินที่ตนเองเก็บออมได้ หลายคนมักจะรู้สึกเสียดาย เพราะฉะนั้นทางที่ดีควรรีบใช้โอกาสนี้พาลูกไปเปิดบัญชีธนาคารค่ะ 

5. เกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หลังจากที่หยอดเงินเต็มกระปุกหมูและพ่อแม่พาไปเปิดบัญชีออมทรัพย์แล้ว เด็กหลายคนมักจะชอบบรรยากาศการฝากเงิน และรู้สึกดีใจเมื่อเห็นยอดเงินในบัญชีเพิ่มขึ้น (ซึ่งผู้ใหญ่อย่างพ่อกับแม่เองก็ชอบเช่นกัน)
 
 
"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข
 

5 คำพูดที่พ่อแม่ไม่ควรเอ่ย เมื่อลูกกำลังวิตกกังวลกลัวบางอย่าง

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-พูดทำร้ายจิตใจลูก- 5 คำพูดที่ไม่ควรพูดเมื่อลูกวิตกกังวล 

คำพูดของพ่อกับแม่นั้นมีผลต่อจิตใจและพัฒนาการของลูกมาก และถ้าหากพูดทำร้ายจิตใจลูกก็จะส่งผลเสียระยะยาว ยิ่งตอนที่ลูกกลัวบางอย่าง เช่น กลัวความมืด กลัวผี กลัวสัตว์ต่าง ๆ กลัวการเข้าโรงเรียน เป็นต้น ก่อนที่พ่อกับแม่จะพูดอะไรต้องคิดให้ดี และนึกถึงจิตใจของลูกให้มาก ๆ ค่ะ

5 คำพูดที่ไม่ควรพูด เมื่อลูกกลัวจนวิตกกังวล
  1. เชื่อแม่เหอะเดี๋ยว มันจะไม่เป็นไร! คำพูดนี้มันตรงข้ามกับใจลูก มันจะต้องมีอะไรเกิดขึ้นแน่นี่คือสิ่งที่ลูกคิด ดังนั้นนั่งอยู่กับลูกสักพัก คุยกันว่าทำไมลูกถึงกลัว ให้กำลังใจลูก ให้ความเห็นทางบวกให้แตกต่างจากสิ่งที่ลูกคิดแล้วลูกจะเชื่อแม่จากใจจริงๆ

  2. ไม่เห็นมีอะไรต้องกลัว! เมื่อลูกกำลังกลัว วิตกกังวลอยู่ภายในจิตใจ คำพูดนี้เหมือนการบอกปัดไม่อยากรับรู้เรื่องราวของลูก แม้จะเป็นการกลัวเล็กๆ น้อยๆ ก็มีผลกับใจลูกมาก ควรถามลูกอย่างเอาใจใส่ สนใจสิ่งที่ลูกเล่า และให้คำแนะนำที่มีทางเลือกให้ลูกตัดสินใจเอง        

  3. เดี๋ยวแม่จะบอกเหตุผลร้อยแปดเหตุผล ที่บอกลูกว่าลูกไม่ต้องกลัว! ลูกรู้ว่าพ่อและแม่พูดถูก แต่ตอนนี้ลูกมีความรู้สึกวิตกกังวลมากและกลุ้มใจในสิ่งนั้น จนไม่สามารถคิดอย่างชัดเจนได้ คำพูดนี้เหมือนการพูดไปลอยๆ แต่ไม่ได้บอกเหตุผลมากมายอย่างนั้นจริงๆ ควรให้คำแนะนำลูกเลย อย่าบอกปัดและเดินหนีไป

  4. หยุดเป็นคนขี้วิตกกังวลสักที! นี่คือคำพูดที่ทำให้ลูกรู้สึกแย่กว่าเดิม ลูกก็อยากจะหยุดความวิตกกังวลนี้เหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร คำพูดแบบนี้ยิ่งทำให้ลูกกลัว

  5. พ่อแม่ไม่เข้าใจเลยว่าทำไมลูกถึงกลัวมากขนาดนั้น! การพูดแบบนี้ยิ่งแย่ไปกว่าเดิม เหมือนการดูถูกความรู้สึกลูกด้วย ลูกรู้ว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจ แต่ลูกอยากให้พ่อแม่พยายามเข้าใจ ว่าลูกกำลังเผชิญอะไรอยู่ ดังนั้นการพูดคุยกันกับลูกให้มากๆ คือทางออกที่ดีจะได้เข้าใจลูกด้วย

รู้แบบนี้แล้ว อย่าเผลอพูดทำร้ายจิตใจลูกอีกนะคะ เราต้องให้กำลังใจใช้เหตุผลพูดคุยกันถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อหาทางออกร่วมกัน แล้วพูดกับลูกว่า พ่อแม่จะอยู่เคียงข้างหนู ไม่ต้องกลัว หนูรู้สึกอย่างไรให้พูดกับพ่อแม่ได้ตลอดเวลา พ่อแม่จะพร้อมรับฟังลูกเสมอค่ะ


 

5 คำพูดให้กำลังใจที่ลูกอยากได้ยินจากแม่

 
 การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

5 คำพูดให้กำลังใจที่ลูกอยากได้ยินจากแม่

คุณแม่คงลืมไปเลยใช่ไหมละคะว่า “คำพูด” นั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ลูกอยากได้ยินจากปากของแม่ รู้หรือไม่ว่าคำพูดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จิตใจของลูก พร้อมที่จะเผชิญปัญหาที่ลูกอาจจะไม่เคยบอกคุณมาก่อน เห็นแบบนี้แล้วลองดูคำพูดที่ลูกมักอยากจะได้ยินว่ามีอะไรกันบ้าง

5 คำพูดที่ลูกอยากได้ยินจากแม่

1.แม่ยังคง “รักลูก” นะ  

เชื่อเถอะว่าร้อยทั้งร้อย ลูกอยากได้ยินคำนี้จากปากของพ่อแม่มากที่สุด เพราะลูกไม่รู้หรอกว่าคุณพ่อคุณแม่รู้สึกอย่างไร เป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ที่บอกรักลูก แต่สำหรับคุณพ่ออาจจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่..ถ้าหากได้บอกกับลูกไปแล้ว บอกได้เลยว่ามันคุ้มค่าเกินกว่าที่นึกคิดไว้แน่นอน

2.แม่ “ขอโทษ” นะลูก

การขอโทษบางครั้งมันยากที่จะพูดออกไป ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ทำผิดกับลูก ก็อย่ามัวคิดแต่ว่า ไม่ขอโทษลูกก็ไม่เป็นไร ยิ่งคุณพ่อแล้วการบอกขอโทษลูกอาจจะยากกว่าคุณแม่เสียอีก แต่คำขอโทษจากปากของคุณพ่อคุณแม่ ยังเป็นการสอนลูกในการยอมรับความผิดที่ได้ทำลงไปอีกด้วย                                                                               

3.แม่ “ภูมิใจ” ในตัวลูก

คำพูดนี้อาจจะเป็นคำพูดธรรมดาสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่จริงๆ แล้วคำพูดนี้มีความหมายสำหรับลูกอย่างคาดไม่ถึง เพราะมันจะเป็นพลังทั้งกายและใจให้ลูกได้อย่างน่ามหัศจรรย์เลยทีเดียว

4.แม่ “ยอมรับ” ในสิ่งที่ลูกเป็น

คุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนอาจจะหวังให้ลูกเป็นในแบบที่ต้องการ แต่ในทางกลับกันลูกอยากเป็นในสิ่งที่คุณต้องการหรือเปล่า หลายคนอาจจะบังคับลูกให้เป็นในแบบนี้ แต่เชื่อเถอะ การให้ลูกเลือกในสิ่งที่ลูกอยากเป็น และยอมรับในสิ่งที่ลูกเป็นนั้น ลูกจะมีอนาคตที่ดี

5.ลูกคือ “คนสำคัญ” ของแม่นะ

ทุกคนก็อยากเป็นคนสำคัญกันทั้งนั้น โดยเฉพาะลูกของคุณที่อยากให้ตัวเองเป็นคนสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่จะมีซักครั้งบ้างไหมที่ลูกจะได้ยินคำนี้ ลองบอกลูกดูซักครั้งแล้วจะรู้เลยว่าคำนี้มีค่ามหาศาล

คำพูดเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะมองว่าเป็นคำพูดที่ธรรมดา จนมองข้ามมันไป แต่ในความคิดของลูกนั้นไม่ใช่แบบนั้นเลย ลองนำไปปรับใช้ที่บ้านกันดูนะคะ 

 

..คำพูดแสนวิเศษที่ออกมาจากใจของคุณพ่อคุณแม่ 

..สร้างพลังให้ลูกมากมายเหลือเกิน

 

5 วิธีปลูกฝังลูกให้เป็นนักวางแผนที่ดี

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF  

5 วิธีปลูกฝังให้ลูกเป็นนักวางแผน

การสอนให้รู้จักวางแผน จะช่วยให้ลูกพัฒนาความสามารถในการคิด การแก้ปัญหา ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นทักษะในการจัดการชีวิตอย่างเป็นระบบได้ในอนาคต ซึ่งพ่อแม่สามารถชี้แนะ เป็นผู้ส่งเสริมให้เขาเข้าใจและฝึกฝนการวางแผนง่ายๆ ในชีวิตประจำวันได้


1. กิจวัตรประจำวันก่อนไปโรงเรียน โดยวันจันทร์-ศุกร์ให้จัดตารางสิ่งที่ลูกต้องทำให้เกิดเป็นความเคยชินและเป็นระบบระเบียบ เริ่มจากลูกต้องตื่นกี่โมง วางแผนการอาบน้ำแปรงฟัน ซึ่งสำหรับเด็กนั้นอาจไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายนัก

พ่อแม่อาจหากระดานติดไว้ในที่ที่เห็นได้ชัด เช่น ห้องนั่งเล่น เพื่อช่วยเตือนสิ่งที่ลูกต้องทำ โดยอาจให้ลูกมีส่วนร่วมในการคิดด้วย เช่น ให้เขาวาดการ์ตูน หรือหาการ์ตูนที่ชอบมาแปะตกแต่งและเขียนกิจวัตรที่ต้องทำในแต่ละวัน ก็จะช่วยสร้างแรงจูงใจในการทำตามแผนได้มากขึ้น เพราะหากมีแรงจูงใจลูกก็จะอยากเตรียมตัว อยากทำด้วยตัวเองจนเกิดความเคยชินในที่สุด

2.ทบทวนแผนก่อนนอน พูดคุยกับลูกสักครึ่งชั่วโมงก่อนนอน เช่น วันนี้หนูเรียนอะไรมาบ้าง เพื่อนที่โรงเรียนน่ารักมั้ย เพื่อเป็นการสร้างความรักความผูกพันกันก่อนนอน

ที่สำคัญอย่าลืมชวนลูกทบทวนตารางเวลาที่เราต้องทำพรุ่งนี้ เช่น 7 โมง หนูต้องแปรงฟันใช่มั้ย แล้วหลังจากนั้นต้องทำอะไรต่อนะ ลองให้เขานึกภาพตามกระดานตารางที่เขามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วยตัวเอง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นแผนที่เราสอดแทรกเข้าไปในกิจวัตรประจำวัน เป็นการฝึกระเบียบวินัยให้ลูกได้ และลูกเองก็รู้สึกว่าได้ใช้เวลากับพ่อคุณแม่อย่างเต็มที่ด้วยค่ะ

3.ฝึกวางแผนง่ายๆ ในครัว ชวนลูกทำขนมที่เขาชอบด้วยกัน เช่น วุ้นสีสวย ลองให้เข้าคิดเองเลยว่าอยากให้วุ้นเป็นสีอะไร มีวิธีทำอย่างไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง หลังจากนั้นก็มาลองดูว่าที่บ้านมีวัตถุดิบเหล่านั้นหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ชวนลูกออกไปซื้อด้วยกัน เป็นการวางแผนการจ่ายตลาด ลูกก็จะได้ฝึกจำคำทั้งศัพท์ และได้ฝึกกระบวนการคิดวางแผนว่ากว่าจะเป็นวุ้นเราต้องใช้วัตถุดิบอะไรบ้าง จะต้องมีขั้นตอนอย่างไร ที่สำคัญควรให้เขาได้ลงมือทำจริงด้วยตัวเองนะคะ

4.วางแผนการออมเงินวัยอนุบาลสามารถฝึกเรื่องการออมเงินได้ค่ะ โดยให้ลูกตั้งเป้าหมายในการออมเงินว่าจะออมเพื่ออะไร เช่น ให้ลูกเก็บเงินซื้อการ์ตูนเรื่องใหม่ด้วยตัวเอง เราก็จะได้ดูวิธีที่เขาใช้ในการเก็บเงิน ลูกอาจบอกว่าวันนี้จะไม่กินขนม ไม่ซื้อของเล่นอื่น เพื่อเป้าหมายใหญ่ หรือเป้าหมายที่ตัวเองต้องการในระยะยาว

เมื่อลูกวางแผนเสร็จแล้ว พ่อแม่จะต้องติดตามผลของการกระทำของลูกด้วยว่าเขาสามารถทำได้จริงหรือไม่ ถ้าได้ก็ให้ชมเชยตามสมควร แต่ถ้าลูกทำไม่ได้ก็อย่าเพิ่งไปตำหนิ แต่ควรให้กำลังใจเพื่อให้เขาอยากทำให้ได้จนสำเร็จ พอลูกเริ่มโตก็ลองให้โจทย์ที่ยากและท้าทายขึ้นเพื่อฝึกทักษะเชาว์ปัญญา การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น

5.แผนที่ดีก็ยืดหยุ่นได้หากเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ ตารางกิจวัตรประจำวันของลูกอาจยืดหยุ่นได้มากขึ้น เช่น ตื่นสายได้มากขึ้น หรือเข้านอนช้ากว่าวันที่ต้องไปโรงเรียนได้ นอกจากนี้เราอาจเพิ่มกิจกรรมการออกกำลังกาย เช่น การขี่จักรยาน หรือชวนกันออกไปข้างนอกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้ ซึ่งแผนเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความสนใจของลูก และตามความเหมาะสมค่ะ
 


การวางแผนสามารถช่วยพัฒนาทักษะสมองของลูก

1.พัฒนาทักษะการคิดและเชื่อมโยง การวางแผนจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้การแก้ปัญหา ฝึกความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ที่สำคัญช่วยพัฒนาทักษะความคิดที่เป็นระบบ แยกแยะหมวดหมู่ เชื่อมโยงเหตุการณ์และการใช้เหตุผลได้ 

2.เพิ่มพูนทักษะความจำ การพูดคุยกับลูกโดยเฉพาะในช่วงก่อนนอน จะช่วยเตือนความจำระยะสั้นในแต่ละช่วงวัน ก่อนจะเก็บเป็นความทรงจำได้ในระยะยาวค่ะ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ลูกมีความเชื่อมั่นในตัวเอง สามารถช่วยเหลือตัวเอง และรู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้

3.ส่งเสริมระเบียบและวินัยหากลูกสามารถวางแผนได้ดี ก็จะสามารถสื่อสารผ่านคำพูดและการกระทำอย่างเป็นระเบียบแบบแผนได้ดีไปด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานให้ลูกสามารถแยกแยะข้อเท็จจริงที่ได้รับ และวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลในเรื่องสำคัญต่างๆ เมื่อโตขึ้นได้