facebook  youtube  line

พ่อแม่ต้องรู้ ลูกคิดเป็น วางแผนเก่ง ต้องส่งเสริมกิจกรรมในทุกวัน

3459 1
 

ปัจจุบัน โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและการทำงานในอนาคตจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เด็กยุคนี้จะต้องเรียนรู้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง Coding ซึ่งจะทำให้เยาวชนไทยใช้ชีวิตก้าวทันโลกในศตวรรษที่ 21

สำหรับเด็กที่เริ่มเข้าโรงเรียนช่วงอายุประมาณ 3-9 ปี เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ สมอง และสังคม และที่โดดเด่นที่สุดคือ การเรียนรู้ เพราะเป็นช่วงวัยที่สังเกต คิด วิเคราะห์ เชื่อมโยงจนกลายเป็นชุดความรู้และประสบการณ์ใหม่ได้แล้ว ซึ่งกระบวนการนั้นเรียกว่า Pre Coding การเตรียมความพร้อมกระบวนการคิดและวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนนั่นเอง

พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม แนะนำว่า เพื่อส่งเสริม Pre Coding ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมกระบวนการคิดและวางแผนของลูก พ่อแม่จำเป็นต้องรู้ด้วยว่า ลูกวัย 3-9 ปี มีพัฒนาการด้านการเรียนรู้อย่างไร เพื่อส่งเสริมและจุดประกายให้ลูกเกิดการเรียนรู้ในระยะยาว


 

พัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่โดดเด่นของเด็กเล็กเพื่อต่อยอดเรื่อง Pre Coding

1. “คิดเป็น” เด็กๆ จะชอบการสังเกต ทดลอง และเรียนรู้ เช่น รูปทรง ขนาด สี ความเหมือน ความแตกต่าง หรือการมองเพื่อจดจำและทำตามอย่างเป็นขั้นตอน เช่น ดูวิธีที่คุณแม่ทำไข่เจียว แล้วคิดตาม จดจำขั้นตอนจนสามารถทำเองได้ เป็นต้น

2. “เชื่อมโยงได้” สิ่งต่างๆ กับความหมายได้ เช่น สัญลักษณ์กากบาทหมายถึง ผิด หรือ ห้าม เชื่อมโยงความหมายไปถึงสีแดงของสัญญาณไฟจราจรที่หมายถึง หยุด ห้ามไป และเชื่อมโยงสีแดงไปในความหมายว่า อันตราย การเตือนภัย เช่น ถังดับเพลิง เป็นต้น

3. “วางแผนเป็น” โดยเฉพาะช่วง 3-7 ปี เด็กจะรู้จักกติกา รู้จักวางแผน เริ่มสนใจเล่นเกมกระดาน บางครั้งอาจมีช่วงเวลาที่อยากคิดและเล่นคนเดียวบ้าง และเริ่มเลือกกลุ่มเพื่อนที่จะเล่นด้วย เมื่ออายุเข้า 8-12 ปี จะเริ่มชอบการแข่งขัน มีเป้าหมายชัดเจนเป็นของตัวเองมากขึ้น เป็นตัวของตัวเอง

4. “ร่างกายทำงานประสานกันเพื่อการเรียนรู้” ตา มือ และสมองทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ สังเกตจากกิจกรรมง่ายๆ เช่น วาดรูป ตัดกระดาษ การประดิษฐ์ การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ เป็นต้น และตั้งแต่ช่วง 9 ปีขึ้นไปจะเริ่มคำนวณในใจง่ายๆ ได้ เริ่มใช้เหตุผลมาอธิบายเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วสรุปเป็นหลักการทั่วไปได้เอง (Inductive Reasoning)

บอร์ดเกม กิจกรรม Pre Coding ปูพื้นฐานการคิด วางแผน และสร้างสรรค์

เมื่อเรารู้แล้วว่าลูกวัย 3-9 ปี คิดเป็น วางแผนได้ แถมยังชอบความท้าทายที่มีเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา บอร์ดเกมจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นทักษะ Pre Coding ได้เป็นอย่างดี เพราะมีทั้งการใช้ความคิด การวางแผน การแก้ไขปัญหา หรือแม้แต่การกำหนดคำสั่งให้ผู้ที่เล่นด้วยได้ทำตามโจทย์ไปยังเป้าหมายเดียวกัน

วิธีทำและเล่นบอร์ดเกมบันไดงูกับลูก
 


1. หาไฟล์ภาพเกมบันไดงูที่ลูกชอบ หรือเกมแบบอื่น เช่น เส้นทางขับรถกลับบ้าน สวนสัตว์ เป็นต้น 

 


2. เชื่อมต่อ Wifi โทรศัพท์มือถือเข้ากับปริ้นเตอร์เพื่อปริ้นท์ภาพบอร์ดเกมบันไดงู 

 


3. อธิบายกติกาการเล่นให้ชัดเจน คือ
  • ผลัดกันทอยลูกเต๋าคนละ 1 ครั้งและเดินตามช่องเกมตามจำนวนแต้มลูกเต๋าที่ทอยได้
  • หากไปตกช่องที่มีหัวงู ให้เดินตามลำตัวงูลงมาช่องที่มีหาง หรือ หากตกช่องที่มีโจทย์เพิ่มก็ให้ทำตามโจทย์

4. การชนะเกมนี้ได้คือ ต้องไปถึงจุดหมายปลายทาง ดังนั้น ลูกจะคิดคำนวณว่าต้องทอยให้ได้กี่แต้มเพื่อไม่ให้เดินตกช่องงู หรือ ต้องทอยให้ได้กี่แต้มหรือจะไปตกช่องที่ทำให้เดินต่อได้อีก

5. ในการเล่นครั้งต่อไปลองท้าทายลูกด้วยการเปลี่ยนรูปแบบเกมให้ยากขึ้น เช่น เพิ่มการเดินหมากเป็น 3 ตัวแต่สีเดียวกัน โดยมีกติกาว่า ให้พาหมากสีตัวเองไปถึงเป้าหมายให้ได้ทีละตัวจนครบทั้ง 3 ตัว หากทีมสีไหนถึงครบ 3 ตัวก่อนจะชนะเกม เป็นต้น 
 


สนับสนุนการเรียนรู้โดย
HP DeskJet Ink Advantage 3700
https://www8.hp.com/th/th/printers/ink-advantage.html?jumpid=sc_dm9w7pik6g
(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)


 

พ่อแม่รู้ไหม! เผลอพูดเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น ทำหัวใจลูกพังไปจนโตได้

3439 

จริง ๆ พ่อกับแม่ทุกคนพยายามเป็นพ่อแม่ที่ดีอยู่แล้ว แต่บางครั้งก็เผลอเปรียบเทียบลูกแบบไม่รู้ตัวด้วยคำพูดลอย ๆ เช่น “ทำไมลูกกินไม่เก่ง แบบเด็กคนอื่นเลยนะ” “อยู่นิ่ง ๆ ไม่เป็นเลยหรือไง ทำตัวให้มันน่ารักแบบน้องบ้าง” เป็นต้น

รู้ไหมคะ ว่าการพูดเปรียบเทียบลูก จะทำให้ลูกไม่มีความมั่นใจในตัวเอง พัฒนาการถดถอย ขาด EF เมื่อโตขึ้น บางครั้งอาจทำให้ลูกต่อต้านทำตรงกันข้ามได้ หากพ่อกับแม่ไม่ระวังคำพูดนะคะ

สาเหตุที่พ่อกับแม่มักจะเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น
  1. เปรียบเทียบเพราะรู้สึกปรารถนาดี อยากให้ลูกเห็นต้นแบบดี ๆ บ้าง

  2. เปรียบเทียบเพราะความคาดหวังอยู่ลึก ๆ อยากให้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น

  3. เปรียบเทียบเพราะรู้สึกโกรธ โมโห เพราะลูกไม่ได้ดั่งใจ

หากพ่อกับแม่กำลังมีความรู้สึกว่าอยากให้ลูกเห็นต้นแบบที่ดี อยากให้ลูกมีพฤติกรรมดีขึ้น ด้วยการใช้วิธีเปรียบเทียบ ขอบอกว่าสร้างผลกระทบแย่ ๆ ต่อจิตใจของเด็ก ๆ มากนะคะ ไม่ควรเปรียบเทียบลูกเลย ไม่ว่ากรณีใด ๆ


ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อจิตใจของลูก

  1. ลูกจะรู้สึกแย่กับตนเอง จะรู้สึกว่าตนเองเป็นเด็กไม่ดี ไม่มีความสามารถทำได้เหมือนคนอื่น ทำให้รู้สึกด้อยค่า มองไม่เห็นคุณค่าในตนเอง ไม่กล้าแสดงออก ไม่มั่นใจในตนเอง นานวันเข้าจะไม่กล้าลงมือทำอะไรเพราะขาดความมั่นใจ

  2. ลูกจะรู้สึกโกรธ อิจฉา หรือแสดงพฤติกรรมต่อต้าน รุนแรง ก้าวร้าวตอบโต้กลับไป มีน้อยมากที่อาจจะฮึดสู้กับคำพูดเปรียบเทียบของพ่อแม่ และกลายเป็นแรงผลักดันในการทำสิ่งที่ดี ๆ 

สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ผู้ควรมองเห็นคือ เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้ง หน้าตา ท่าทาง พฤติกรรมการแสดงออก รวมทั้งศักยภาพและความสามารถ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนคนอื่นเลย



หากเคยพลาดเปรียบเทียบลูกแล้ว นี่คือสิ่งที่พ่อแม่ควรทำ 

  1. ให้เลิกเปรียบเทียบลูกกับพี่น้อง หรือ เด็กคนอื่น เลิกเด็ดขาด

  2. พาลูกไปทำกิจกรรมที่ชอบ เพื่อต่อยอดให้ลูกได้ค้นหาศักยภาพในตัวเอง และเปิดโอกาสให้ลูกแสดงศักยภาพเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ เช่น ลูกคนแรกชอบร้องเพลง ลูกคนที่สองชอบเรียนวิทยาศาสตร์ ก็พาลูกไปเรียนเพิ่มเติมได้

  3. ให้กำลังใจลูก เมื่อลูกกำลังพยายามทำบางอย่าง ด้วยการกอดลูก ลูบหัวลูก และพูดให้กำลัง เช่น “แม่ภูมิใจมากเลย ที่ลูกพยายามเรียนเปียโน แม้มันจะยากอยู่บ้างนะ” ลูกจะได้มีขวัญกำลังใจดี จะเห็นคุณค่าในตนเองสูง สร้าง Family Attachment ให้ครอบครัวได้ดี ลูกจะมีความเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือเชื่อฟัง มีความพยายามทำสิ่งใหม่ๆ และมีความรับผิดชอบมากขึ้นด้วย

  4. ชื่นชมลูก ในสิ่งที่ลูกเป็น ในสิ่งที่เด็กหรือสามารถทำได้ดี แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ชื่นชมได้ เช่น “ดีมากเลยที่ลูกเป็นเพื่อนเล่นกับน้อง หนูเป็นพี่สาวที่น่ารักมากเลย” “ หนูพยายามดีมากค่ะ รูปวาดสีสันสวยงามมาก”

เห็นไหมคะ ว่ามีอีกหลายวิธีที่ไม่ต้องเปรียบเทียบลูกเพื่อให้ลูกดีขึ้น แต่เรามาใช้วิธีเลี้ยงลูกเชิงส้รางสรรค์กันดีกว่าด้วยการให้ความรัก ให้คำชม กอดสม่ำเสมอ พาไปทำกิจกรรมด้วยกัน และสุดท้ายไม่เปรียบเทียบลูกกับทุกสิ่งบนโลก เท่านี้ลูกก็เป็นเด็กมีความสุขได้แล้วนะคะ


 

พ่อแม่หลงตัวเอง ลูกเสี่ยงอีโก้สูง ซึมเศร้า กลัวความล้มเหลว

หลงตัวเอง- โรคหลงตัวเอง- การหลงตัวเอง- พ่อแม่หลงตัวเอง-  คนหลงตัวเอง- ทำไมหลงตัวเอง- ผลเสียการหลงตัวเอง- ข้อเสียหลงตัวเอง- พ่อแม่รังแกฉัน

คำว่า "หลงตัวเอง" คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยได้ยินมาบ้าง แต่ไม่ใช่แค่คำพูดแล้วนะคะ เพราะการหลงตัวเองนั้น คือโรค Narcisisitic (โรคหลงตัวเอง) และจะเป็นอย่างไม่รู้ตัวอีกด้วย ซึ่งโรคนี้หากพ่อแม่เป็นอยู่นั้น ก็จะเสี่ยงไปทำร้ายลูกได้ด้วย และส่งผลร้ายแรงต่อลูกมากกว่าที่คิด ดังนี้เลยค่ะ

โรคหลงตัวเอง

โรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorders) คือ โรคทางจิตชนิดหนึ่ง เป็นภาวะบกพร่องด้านบุคลิกภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด เเละจะมีความรู้สึกอยู่เสมอว่าคนอื่นๆ รอบข้างก็ควรที่จะให้ความสำคัญกับเขามากที่สุดเช่นกัน ทำให้พ่อแม่สปอยล์ลูกบางอย่างที่เกินธรรมชาติ เป็นตัวเร่งให้ลูกมีภูมิคุ้มกันทางสังคมต่ำ สร้างเกราะคุ้มกันด้วยภาวะหลงตัวเองแทน

พ่อแม่เป็นโรคหลงตัวเอง ส่งผลกระทบกับลูกดังนี้...

  1. ไม่แคร์ใคร

ลูกจะกลายเป็นเด็กเพิกเฉย ไม่เอาใจใส่ต่อความรู้สึกของผู้อื่น สนใจแต่ความคิดของตัวเองเท่านั้น

  1. หยิ่ง

ลูกจะเชื่อมั่นอยู่ลึกๆ ว่าเขาถูกสร้างมาเหนือกว่าคนอื่น เพราะถูกออกแบบมาอย่างดี อีโก้สูง จากการที่พ่อแม่สปอยล์มากๆ

  1. ชอบทำอะไรด้วยตัวคนเดียว

เด็กจะชอบโชว์เดี่ยวมากกว่าทำงานกับผู้อื่น และมีปัญหาในการรับมือกับความล้มเหลว ลึกๆ จะอ่อนแอมาก

  1. มองข้ามคนอื่น

ไม่เชื่อใจผู้อื่น การหลงตัวเองของพ่อแม่ ทำให้เขาให้ความสำคัญกับรูปลักษณะมากกว่าความรู้สึก

  1. ชอบเก็บตัว

การถูกพ่อแม่สปอยล์บ่อยๆ เพื่อให้ลูกเป็นคนที่ดูดีกว่าคนอื่นเสมอ ลูกจะรู้สึกว่างเปล่าและไม่มีแรงบันดาลใจ

  1. รักษาความสัมพันธ์ไม่ได้

ลูกจะมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ เพราะชอบหงุดหงิดง่าย แต่ก็อยากได้การยอมรับสูง

  1. ขี้รำคาญ

ลูกมักจะรู้สึกขายหน้า เมื่อพ่อแม่ชอบหลงตัวเอง และจะเติบโตขึ้นแบบไม่นับถือตนเอง

8.  ซึมเศร้า

ลูกจะเกิดความเครียดสะสม เพราะทำอะไรตามที่พ่อแม่หวังไม่ได้ และมีความความวิตกกังวลตลอดเวลา

เห็นไหมคะ ว่าการที่พ่อแม่หลงตัวเอง เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาลต่อหน้าลูก และคาดหวังว่าลูกจะเก่ง ดี เลิศ ตามที่คาดหวัง ส่งผลเสียระยะยาวมาก ควรคุยกับลูกแบบเป็นกันเอง แทนที่จะปั้นให้ลูกเป็นเด็กสมบูรณ์แบบนะคะ เพียงพูดกับเขาว่า รักลูกนะ พ่อกับแม่เป็นกำลังใจให้ พ่อกับแม่ภูมิใจในตัวลูกมาก พ่อกับแม่รู้ว่าหนูทำดีที่สุดแล้ว เป็นต้น พร้อมมอบความเอาใจใส่ และให้คำแนะนำอย่างเป็นกันเอง ลูกก็จะรับรู้ได้ด้วยใจและเป็นเด็กธรรมดาที่น่ารักสมวัยได้ค่ะ

มองหน้าลูกแล้วกลัวตาย ต้องรู้ 4 วิธี การเลี้ยงลูกให้อยู่ได้โดยไม่มีพ่อกับแม่

เลี้ยงลูกให้อยู่ได้โดยไม่มีพ่อกับแม่- ตาย- ความตาย- พ่อคนแม่คนกลัวตาย- กลัวตาย- วิธีเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี-การเลี้ยงลูก-เตรียมตัวเรื่องการตายเพื่อลูก- ถ้าพ่อแม่ไม่อยู่จะทำอย่างไร- ฝึกให้ใช้ชีวิตบนความไม่ประมาท-  ครอบครัว- การจากลา- ประกันชีวิต 

การได้เป็นพ่อคนแม่คนแล้วทำให้กลัวตายมาก เพราะกลัวไม่ได้เห็นการเจริญเติบโตของลูก กลัวลูกอยู่ไม่ได้ แต่ความตายสามารถเกิดได้ทุกเมื่อ ฉะนั้นเราควรแปรวิกฤตเป็นโอกาส แล้วเลี้ยงลูกให้อยู่ได้โดยไม่มีเรา แล้วจะทำให้เราอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง เลี้ยงให้ลูกเติบโตอย่างเข้มแข็ง เป็นวิธีคิดที่คุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่กำลังนิยมทำกันอยู่ค่ะ

4 วิธีเลี้ยงลูกให้อยู่ได้โดยไม่มีพ่อกับแม่
  1. เตรียมตัวเรื่องการตายเพื่อลูก เมื่อพ่อแม่เตรียมตัวเรื่องความตาย ก็จะทำให้พ่อแม่มีวิธีคิดในการเลี้ยงลูกที่อยากให้ลูกมีความเข้มแข็ง จะเน้นทักษะให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง ฉะนั้น พ่อแม่จะพยายามให้ลูกฝึกความลำบาก ให้ช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด มั่นใจในตัวเอง ฝึกให้มีทักษะเรื่องการอยู่รอด หรือสามารถอยู่ได้โดยไม่มีพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ในครอบครัว ซึ่งเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญที่จะทำให้เขาเติบโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพด้วย

  2. ตั้งโจทย์เสมอให้ลูกได้คิดว่า ถ้าพ่อแม่ไม่อยู่ ลูกจะทำอย่างไร เพื่อชี้ให้ลูกได้เห็นว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ ถ้าหากเราพูดคุยเรื่องความตายเป็นเรื่องปกติ และทำความเข้าใจกับคนในครอบครัวว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะ อาจจำลองสถานการณ์จริงว่าถ้าแม่ตาย หรือพ่อตาย หรือทั้งพ่อแม่ตาย หรือลูกตาย จะเป็นอย่างไร ลองตั้งคำถามกับลูก และพูดคุยกับลูกว่าสามารถเกิดขึ้นได้จริง และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ทุกคนควรจะต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปให้ได้ และควรจะอยู่อย่างไร

  3. ฝึกให้ใช้ชีวิตบนความไม่ประมาท อาจหยิบยกกรณีเรื่องความตายของคนใกล้ชิดมาเป็นบทเรียนสอนลูกว่า คนที่มีอายุมากกว่าไม่จำเป็นต้องตายก่อนคนที่อายุน้อยกว่าเสมอไป เด็กก็สามารถตายก่อนผู้ใหญ่ได้ ความตายมีหลายสาเหตุ เพราะโรคภัยไข้เจ็บ หรืออุบัติเหตุก็ได้ เพราะฉะนั้น ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงทั้งกายและใจ ใส่ใจเรื่องสภาพแวดล้อม อาหารการกิน รวมไปถึง การใช้ชีวิตอยู่บนความไม่ประมาท ไม่ควรไปในสถานที่อโคจร หรือใช้ชีวิตแบบสุ่มเสี่ยงโลดโผนจนเกินไป

  4. ควรให้ลูกมีส่วนร่วมในทุกเรื่องของครอบครัว ซึ่งจะทำให้ลูกรู้สึกดีที่พ่อแม่ไว้วางใจเขาด้วย พ่อแม่ทำอะไรบ้าง มีทรัพย์สิน หรือหนี้สินหรือไม่ รวมไปถึงเรื่องการทำธุรกรรมต่างๆของครอบครัวร่วมกัน ข้อนี้มีความจำเป็นมาก เนื่องจากเอกสารมากมายของครอบครัวที่ส่วนใหญ่คนเป็นแม่จะเป็นผู้จัดการ และสมาชิกในบ้านก็ไม่ได้ใส่ใจ เวลาจะใช้สิ่งใดก็แจ้งผู้เป็นแม่ และถ้าหากแม่จากไปก่อน ก็จะส่งผลให้เกิดความวุ่นวายตามมามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกรรมใดๆ ฝ่ายเดียว โดยไม่ได้บอกให้สมาชิกในบ้านได้รับรู้ พอจากไปก่อน ก็ไม่มีใครรับรู้เรื่องราวนั้นๆ เป็นการสร้างภาระให้ผู้อื่นอีกด้วย

ข้อมูลจาก : www.manager.com

รวม 20 เรื่องของหมอประเสริฐที่แม่ถามมากที่สุด

 การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ- เลี้ยงลูกเชิงบวก- ถามตอบกับคุณหมอ- หมอประเสริฐ- คุณหมอประเสริฐ- นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์- จิตแพทย์- หมอจิตแพทย์

รวมเรื่องของหมอประเสริฐที่แม่ถามเข้ามามากที่สุด

รวมคำถามหนักใจแม่ พร้อมคำตอบเบาใจในการเลี้ยงดูแบบเชิงบวก ฉบับ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์และนักเขียน

20 เรื่องของหมอประเสริฐที่แม่ถามเข้ามามากที่สุด

1.เรื่องไหนบ้างที่ต้องเข้มงวดกับลูก

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3szNIQs

 

2.เด็ก 9 ขวบ มีอะไรที่เราควรใส่ใจบ้าง

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3bS6Nqr

 

3.“คุณหมอคะ พี่แกล้งน้องตีน้องประจำเลย สอนไม่รู้กี่ครั้งแล้ว”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2NLeIOu

 

4.“คุณหมอคะ ลูกดื้อและงอแงประจำ พูดก็แล้ว ตีก็แล้ว ก็ไม่ฟัง”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3bOot6w

 

5.“คุณหมอคะ ทำไมหนูพูดอะไรลูกก็ไม่ฟังเลย”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2PqzMdu

 

6.สอนอะไรลูกก็ไม่ยอมเชื่อฟังแม่เลย

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3e10d3E

 

7.ลูกมีมือถือของตัวเองได้เมื่อไร

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2OdokkK

 

8.เลี้ยงลูกอย่างไร ไม่ให้เอาแต่ใจและรักสบาย

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3q2THMh

 

9.ทำไมลูกทำตัวน่ารักกับคนอื่น แต่ดื้อกับพ่อแม่

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2O9bcNA

 

10.หนักใจ พี่น้องชอบทะเลาะกัน

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3e02SKX


 

11.เมื่อจะเป็นแม่ ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3sz7z2i

 

12.ลูก “ดื้อ” รับมือให้ได้

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/30h1Ouh

 

13.การเลิกนมมื้อดึก มิได้อยู่ที่นมแต่อยู่ที่ “แม่”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3sGsZuo

 

14.เลี้ยงลูกอย่างเดียว เป็น Burn Out Syndrome ได้ไหม

คลิกอ่านบทความได้ที่ :https://bit.ly/3b4GIoQ

 

15.เมื่อมีน้อง ควรให้ความสำคัญแก่พี่มากกว่าน้องเล็กน้อย

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/381zMH9

 

16.“ฝึกลูกให้ลำบากก่อนสบายทีหลัง”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2Ppx08l

 

17."เลือกโรงเรียนอย่างไรดี"

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/380sfsk

 

18."เรียกใช้อะไรก็ไม่ทำ การบ้านก็ไม่เสร็จ"

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3uKBir2

 

19.“ให้ลูกดูทีวีได้เมื่อไรคะ และควรมีแนวทางอย่างไร”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/303nIRs

 

20."พ่อแม่ไม่มีเวลา จะให้เวลาลูกได้อย่างไร"

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/37Y8IZi

 

 นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

รักลูก The Expert Talk EP 85 (Rerun) : เลี้ยงลูกเชิงบวก พ่อแม่มีอยู่จริง สร้างฐานที่มั่นทางใจของลูก

 

รักลูก The Expert Talk Ep.85 (Rerun) : เลี้ยงลูกเชิงบวก "พ่อแม่มีอยู่จริง สร้างฐานที่มั่นทางใจลูก"

 

คลี่คลายปัญหาความสัมพันธ์ในบ้าน ด้วยการสร้าง Family Attachment

เพราะฐานที่มั่นทางใจที่แข็งแรง จะสามารถสู้อุปสรรค ให้ล้มแล้วลุกได้

 

กับ The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP 87 : ฟื้นฟูสมอง เร่งเรียน เร่งรู้ด้วยนิทาน EF

 

รักลูก The Expert Talk Ep.87 : ฟื้นฟูสมอง เร่งเรียน เร่งรู้ด้วยนิทาน EF

 

นิทานชุดในสวนของย่า เรื่อง โอ๊ะโอ! ขอโทษนะ และ เรื่อง ให้เวลาหน่อยนะ จะช่วยตอบคำถามที่ค้างคาในใจของพ่อแม่ได้ว่าทำไมลูกเราช้ากว่าคนอื่น? ทำไมคนอื่นต้องทำผิดกับเรา ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเลย?

คำถามที่ต้องการมุมมอง ความคิด เพื่อทำความเข้าใจกับพัฒนาการของลูกและสถานการณ์ปัจจุบัน

 ชวนฟังแนวคิดและหลักคิดเพื่อนำไปปรับใช้เลี้ยงลูกได้จากนิทานของย่าติ่ง คุณสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันรักลูกเลิร์นนิ่ง กรุ๊ป

 

ให้เวลาหน่อยนะ ชุดในสวนของย่า

ในสวนของย่า เริ่มจากที่ชวนหลานมาช่วยทําสวนครัวเล็กๆ บนหลังคาโรงรถ มันทําให้เราได้สังเกตชีวิตของพืชพันธุ์ ของผักที่เราปลูก แมลงต่างๆ มันทำให้มีชีวิตชีวา ซึ่งก็เป็นจุดที่ดึงความสนใจเด็กได้พอสมควร นิทานเรื่องให้เวลาหน่อยนะก็มาจาก จากการที่เราสังเกตว่าเวลาเราปลูกต้นไม้แม้จะปลูกพร้อมกัน แต่มันขึ้นไม่พร้อมกัน การเติบโตก็ไม่เหมือนกัน มันจะมีต้นใหญ่ต้นเล็ก แล้วแต่เหตุปัจจัย ก็เกิดไอเดียขึ้นมาว่าเด็กๆ ก็อาจจะต้องเข้าใจพัฒนาการของแต่ละช่วงเวลา สําหรับเด็กเขาน่าจะได้มีโอกาสรู้ว่า อะไรต่ออะไรมันก็ไม่ได้ต้องเป็นไปตามแบบนั้นแบบนี้เสมอไป ก็เลยใช้เรื่องต้นถั่วขึ้นมาเพื่อที่จะให้หลานได้เรียนรู้ เขาเองก็มีข้อสงสัยอยู่แล้วว่าก็หยอดเหมือนกันแล้วทำไมไม่โตสักที จากการที่ว่ามันไม่โตสักที ทําไมมันไม่เท่าคนอื่นไม่เหมือนคนอื่นก็เป็นที่มาของการเขียน

เข้าใจจังหวะเวลาการเติบโต

สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากเรื่องนี้คือ สิ่งต่างๆถ้าตามธรรมชาติ มันจะมีจังหวะเวลาของมัน เช่น ผักถ้าเป็นเมล็ดถั่วยังไงก็ต้องประมาณเกือบ 10 วัน กว่ามันจะงอกหรือถ้าเป็นผักเล็กๆน้อยๆประมาณ 4-5วัน แต่ละชนิดมันไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าเขาพอจะเข้าใจว่าแต่ละสิ่งนั้นมันมีจังหวะเวลาของมัน มันมีเวลาของชีวิตมันซึ่งไม่เหมือนกัน มนุษย์ สัตว์ ต้นไม่ก็มีเวลาของตัวเอง

เพราะฉะนั้นการที่เราเข้าใจก่อนว่าแต่ละสิ่งมีเวลาที่ไม่ตรงกันไม่เหมือนกันก็เป็นการทําความเข้าใจโลก ซึ่งการชวนให้เขาไปสังเกตเขาจะได้ความรู้ ได้ทักษะรวมทั้งได้เจตคติ Mindsetว่าธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น เราจะไปเร่งให้มันเร็วหรือทำให้สิ่งนี้ช้าลงก็ไม่ได้ เหมือนไปบอกผักว่าไม่อยู่บ้าน อย่าเพิ่งโตนะกินไม่ทันเราก็บอกมันไม่ได้ และสิ่งที่สําคัญก็คือถ้าเรารู้จักเวลามันจะทําให้เรารู้จักรอด้วย เราจะรู้จักรอ รู้ว่าอย่าเพิ่งไปเร่งมัน แล้วสิ่งที่ได้ประโยชน์มากก็คือคนอ่านพ่อแม่ก็ได้เข้าใจลูกไปด้วยว่า ลูกเราก็จะเหมือนต้นถั่วนี้แหล่ะ ถ้าอะไรที่เรารู้สึกยังไม่ถูกใจไม่ชอบใจ ทําไมทำนั่นทำนี่ไม่ได้ เราก็อาจจะต้องมาดูก่อนว่าอันที่หนึ่ง ใช่เวลาของเขาไหมยังรอได้ไหม อันที่สองมันจะนําไปสู่การเข้าใจที่มาของการที่มันไม่ได้ มันไม่ได้ต้องตรงกัน

เด็กในห้องเรียนห้องเดียวกัน ทําไมคนนี้สอบได้ คนนี้สอบไม่ได้ ทําไมลูกเขาได้ ABCแล้วทําไมลูกเราไม่ได้ กระบวนการทําความเข้าใจอย่างนี้ นอกจากจะมีเวลาเป็นตัวตั้งแล้ว มันยังมีการเข้าใจถึงปัจจัยและเหตุที่มาว่าทําไมเขาถึงไม่ได้ เด็กบางคนก็ช้ากว่าเพื่อนแต่เขาเป็นม้าตีนปลาย ดังนั้นการที่ผู้ใหญ่เข้าใจเราก็จะเปลี่ยน คือไม่ไปเร่งเด็ก ไม่คาดหวังเด็กเองพอเขาเข้าใจก็จะไม่คาดหวังทุกเรื่องมากจนเกินไป รู้จักจังหวะรู้จักรอคอย ใช้ธรรมชาติให้เขาได้เรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลง และเด็กจะค่อยๆ เข้าใจธรรมชาติของตัวเองด้วย และปรับเข้ากับเรื่องอื่นด้วย อย่างเช่นบางที น้องชายบอกทําไมเขาไม่ได้อันนี้เท่านี้เท่านั้นเหมือนพี่ พี่ชายเขาตอบเองเลยก็พี่เกิดก่อนไงพี่ก็ต้องรู้ก่อน แล้วพี่ก็ต้องกินมากกว่าอะไรทํานองแบบนี้ พอจะมีคําอธิบายถูกบ้างผิดบ้างแต่อย่างน้อยก็ยังรู้จักเอาไปใช้

อีกเรื่องที่สําคัญเราจะพบว่าหลายอย่างเราแก้ปัญหาได้ เช่น สมมติว่าเรารู้ว่ามันโตช้ากว่าคนอื่นเราอาจจะต้องเติมดินเติมปุ๋ย เพราะว่าความต้องการ มันไม่เหมือนกั เมื่อเขาโตขึ้นเขาก็จะเข้าใจว่ามนุษย์ก็มีความต้องการไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าคนนี้เขาขาดสิ่งนั้นสิ่งนี้เราเติมเข้าไปก็ยังมีโอกาส ที่จะทําให้เขาเติบโตต่อไปได้ยังแก้ได้ไม่มีอะไรที่แบบว่าจะไม่โตเลย

ไม่ยัดเยียด ไม่เร่งรัด สร้างใยประสาทให้เติบโตด้วยความสุข

หลังโควิดพ่อแม่เร่งเรียนลูกเป็นความเข้าใจของพ่อแม่ที่คิดว่าต้องอัดให้เท่ากับสิ่งที่เขาไม่ได้เรียนมา ก็คือเป็นการชดเชยที่ตรงไปตรงมาเพียงแต่ว่ามนุษย์ มันไม่ได้ตรงไปตรงมาอย่างนั้นซะทั้งหมด เพราะว่าสิ่งที่หายไปมันไม่ใช่แค่เวลาที่เขาไม่ได้เรียนแต่สิ่งที่หายไปคือ เช่น เส้นใยประสาทมันไม่งอกในช่วงเวลานั้น ถ้ามันไม่มีอะไรกระตุ้นเลย ใช้แต่มือถือแล้วก็นั่งจับเจ่าอยู่กับที่ เพราะฉะนั้นเส้นใยประสาทที่ควรจะงอกเมื่อเขาได้วิ่งเล่น ได้เจอผู้คน ได้อ่าน ได้อยู่กับเพื่อน พอมันไม่งอก มันคุดไปแล้วเปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีอะไรมาบัง อาจจะโตได้ไม่เต็มที่ แต่ถ้าเราเอาสิ่งที่บังออกเราจะทําให้มันเท่ากับต้นที่โตไปแล้ว 1ฟุตได้ไหม อาจจะไม่ได้ เพราะว่ามันแกร็นไปแล้ว และถ้าจะทำให้โตเท่ากับอีกต้นที่มันไม่ถูกแกร็นก็คงจะต้องเอาใจใส่มากพอ มันอาจจะไม่ได้ต้องการแค่น้ำกับปุ๋ยเท่านั้น ต้องมีการพรวนดิน ดูแลกันอย่างละเอียด

เพราะฉะนั้นเด็กก็เหมือนกันหลังโควิดว่านอกจากจะต้องเข้าใจว่าพัฒนาการมันถดถอยไป ล่าช้าไป สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำคือ หนึ่งต้องร้อนใจแต่ไม่ใช่ไปเร่ง โดยการไปอัดโน่น อัดนี่ ยัดเยียดทุกอย่างเข้าไป แต่เราต้องไปดูว่าที่จะทําให้เขาโตมันมีปัจจัยอะไรอีกบ้างที่มันไปครอบเอาไว้ เช่น ความสุขใยประสาทที่หายไป ก็เรื่องนึงแต่ถามว่าทําอย่างไรจะให้ใยประสาทโตขึ้นมา ก็ต้องมาจากการที่เด็กรู้สึกมีความสุข มีสมองส่วนอารมณ์ที่เบิกบาน มีความรู้สึกพร้อมอยากจะเรียน จะมีความรู้สึกว่าชีวิตเป็นปกติไม่เครียดเหมือนเมื่อก่อน

แต่ถ้าเติมแล้วสิ่งนั้นมันทําให้เขาทุกข์เครียดไปอีก สมองเขาก็จะชะงักอีก เพราะฉะนั้นกระบวนการของการที่เราจะทําให้เขาเลิกแคระแกร็นได้มันก็จะต้องมีความประณีต ซึ่งเวลานี้ก็เราก็ชี้กันไปแล้วว่าอย่างนี้ 1.แทนที่จะให้เด็กไปอ่าน คัด ABC อ่านตัวอักษรอย่างเดียวก็มาอ่านนิทาน

2.วิ่งเล่นและเคลื่อนไหวร่างกาย

3.ครูกอดและพูดคุยกับเด็กให้มากขึ้น

4.อ่านนิทานเยอะๆ แล้วก็พูดคุยซักถามไปเรื่อยๆ ชวนคิดชวนคุย ทํากิจกรรมต่อเนื่องมากขึ้น ให้เด็กได้ทำบทบาทสมมติ คือทําให้มันเกิดการงอกงาม เพื่อไปกระตุ้นให้มันกลับมาดีและก็พร้อมที่จะโตต่อไป

3 เร่ง 3ลด 3เพิ่ม

เนื่องจากว่าพอมันมีโควิดเด็กก็กระทบทุกด้านร่างกายก็เนือยนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวพ่อแม่ก็โยนมือถือให้เพราะว่าพ่อแม่ก็จะไม่มีเวลาทํางานแต่มันกลายเป็นทําร้ายลูก มีงานวิจัยว่าสายตาเด็กเสียไปเยอะ ด้านอารมณ์เด็กก็กระทบคือเด็กมันต้องวิ่ง ต้องวิ่ง ต้องเล่น ต้องอยู่กับเพื่อน ปรากฏว่าก็ไม่ได้วิ่งไม่ได้เล่นอะไรแล้วก็ใช้มือถือมากๆ สายตาก็ใช้งานหนักก็เครียดโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นเด็กก็จะอารมณ์หงุดหงิดแล้วก็ไม่ค่อยมีความสุข โดยที่ผู้ใหญ่เราอาจจะไม่รู้ก็คิดว่านิ่งกับโอเคแล้ว นอกจากนี้ในเรื่องสังคมคือเด็กก็ไม่ได้อยู่กับสังคม เพราะการเข้าสังคมมันทําให้เด็กนอกจากจะเรียนรู้แล้ว ยังเป็นที่ระบายอารมณ์ ได้เล่นกับเพื่อนก็สนุกสนาน หัวเราะ แต่บรรยากาศอย่างนี้มันไม่มีมันหายไป แล้วก็ด้านจิตปัญญาเด็กไม่ได้เรียนอะไร แต่สิ่งที่เป็นห่วงกันมากที่สุดก็คือเส้นใยประสาทที่ช่ฃวงอายุ 3-6ปีจะแผ่ขยายมาก แต่พอไม่ได้มีกระบวนการเรียนรู้ มีประสบการณ์ที่ดี มันก็จะแกร็นแล้วถ้าพ่อแม่ ไม่เข้าใจก็ฟื้นไม่ได้ ผลกระทบก็คือเด็กก็อาจจะไม่ใช่คนที่พอใจต่อการเรียนรู้ ไม่ใช่เด็กที่อยากเรียนรู้ เพราะว่าสมองส่วนที่ควรจะกําลังเรียนรู้มันแกร็นไปแล้ว

เพราะฉะนั้นอาจจะเป็นคนที่ไม่พอใจกับเรื่องต่างๆ เพราะภาวะอารมณ์โครงสร้างสมองมันทําให้กลายเป็นแบบนั้นไปแล้ว คือไม่ค่อยมีความสุข หงุดหงิดงัวเงียๆ นี่คือสิ่งที่เรียกว่าเป็น Learning Lossของจริง สิ่งที่เป็นข้อเสนอออกมาก็คือว่าต้องเร่งแก้ปัญหา เคสที่หนักๆ เช่น เด็กที่เจอกับความรุนแรงในบ้าน รวมถึง อ่านหนังสือชวนกันอ่านนิทานบ่อยๆ ให้เด็กไปวิ่งเล่น เรารณรงค์เรื่องกิจกรรมทางกายว่าต้องให้เด็กวิ่งทุกวัน ร่างกายได้ขยับขับเคลื่อน สมองได้ทํางาน ได้เล่นกับเพื่อน ได้หัวเราะ ได้อากาศที่เข้าไปปอดทํางาน ซึ่งต้องกลับมาทำอย่างจริงจัง

แล้วถามว่าเราจะรู้ได้ยังไงว่ากิจกรรมที่เราทํามันจะพาเด็กไปสู่การแก้สถานการณ์นะคะหรือฟื้นฟูได้จริง วิธีเช็กเบื้องต้นคือ

1.เด็กมีความสุขหรือเปล่า มีความอยากทํากิจกรรมอะไรเหล่านี้ไปพร้อมกับคุณครูกับคุณพ่อคุณแม่ไหม

2.สัมพันธภาพดีไหมถ้าในกิจกรรมนั้นสัมพันธภาพดีเชื่อได้ว่าสมองส่วนอารมณ์เขาจะดีและมันก็พร้อมที่จะไปกระตุ้นสมองส่วนคิดให้ทํางาน

3.กิจกรรมนั้นทําได้หลากหลายอย่างหรือเปล่า เช่น สมมติว่าการอ่านหนังสือคือเด็กก็ได้อ่าน สมองได้ทํางาน แล้วครูก็ชวนทำท่า ต้นถั่ว ท่าที่มันกําลังเติบโตทํายังไงบ้าง เป็นMusic Movement ได้เคลื่อนไหวทั้งร่างกาย ทั้งสายตา ทั้งสมอง ประสาทสัมผัสทั้งหมดได้ทํางาน อย่างนี้จะช่วยกระตุ้นได้เร็ว

4.สิ่งนั้นมีความหมายต่อชีวิตของเด็กๆ ไหม เช่น จะพูดเรื่องถั่วเราก็อาจจะต้องดึงกลับมาว่าเด็กๆ เราไปปลูกสวนครัวกันไหมเรามีถั่วคนละต้น ชวนเด็กๆ นั่งเฝ้า เพราะฉะนั้นเด็กรู้สึกว่าสิ่งที่อ่านกับสิ่งที่เขากําลังจะทํามันเป็นเรื่องเดียวกัน มันมีความหมายต่อชีวิตเขา เดี๋ยวพรุ่งนี้ มะรืนนี้จะรดน้ํา จะเริ่มเกิดความรับผิดชอบจะเริ่มเกิดความรู้สึกผูกพันรอคอยว่าเมื่อไหร่มันจะโต เพราะฉะนั้น 4ข้อนี้จะเป็นตัวเช็ก ถ้ามันไปได้ดีผู้ใหญ่เราจะตอบตัวเองได้ว่าเกิดความสุขเกิดแรงจูงใจเกิดความสัมพันธ์ที่ดีเกิดการใช้ประสาทสัมผัสครบถ้วน ไม่ได้สอนอะไรที่ไกลตัวแล้วเด็กไม่รู้เรื่องไม่สนใจ ถ้าทำทั้ง 4ข้อนี้ได้ยังไงก็ฟื้นได้ค่ะ

โอ๊ะ โอ ขอโทษนะ

ตามธรรมชาติของบวบจะสังเกตว่ามันโตเร็ว แล้วด้วยความที่ใบใหญ่ใบหนาก็จึงต้องมีจุดยึดเกาะที่แข็งแรง เพราะใบใหญ่และต้นยาวมาก เพราะฉะนั้นอะไรที่คว้าได้ก็จะคว้า แต่ประเด็นสําคัญก็คือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการขอโทษ สมมติมีใครมาทําเราเจ็บคนนั้นก็ควรจะขอโทษใช่ไหมคะ แต่ว่าบางครั้งความไม่ตั้งใจที่ทำคนนั้นทำลงไปเด็กอาจจะไม่เข้าใจ ทําไมเขาต้องมาทําผิดกับเรา กรณีที่ไม่ตั้งใจจะเกิดขึ้นเยอะ เราจะทำให้เด็กเข้าใจ เรื่องนี้ได้ง่ายขึ้นอย่างไรบ้าง บางทีความปรารถนาดีของคนคนหนึ่งอาจจะทําให้เราไม่โอเค ไม่พอใจ เสียใจ ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกระบวนการ ที่ต้องสื่อสาร ถึงจะทําให้เด็กได้เรียนรู้สองเรื่องไปพร้อมกันคือหนึ่งคนไม่ตั้งใจมันมีอยู่เยอะ คนไม่ได้เพอร์เฟกต์หรอก แต่ว่าเบื้องหลังการทําผิดนั้น บางทีเราต้องไปทําความเข้าใจต้องใจเย็นพอที่จะให้โอกาสในการชี้แจงสื่อสาร แล้วเราก็จะพบว่าหลายเรื่องมันไม่ได้ร้ายแรงจนเราจะรับไม่ได้ ให้อภัยไม่ได้

ฉะนั้นนิทานเรื่องนี้ก็มีเรื่องการสื่อสารที่อยากจะเติมไป เช่น อ๋อขอโทษนะที่ฉันเอาใบไปบังเธอเพราะฉันก็เข้าใจว่าแดดมันร้อน แล้วฉันก็มีใบ ที่แข็งแรงก็ช่วยเธอเธอจะได้ไม่ต้องร้อนเกินไป แต่กลับกลายเป็นว่ามันไปทําให้ต้นมะเขือเทศก็ไม่ได้แดดเลย เพราะฉะนั้นการชี้แจงทั้งสองฝ่าย ฝ่ายที่ขอโทษก็ต้องชี้แจงว่าเราคิดอะไร เราพูดกันได้ตรงไปตรงมา ถ้าเด็กเค้ามีทักษะเหล่านี้ ก็จะไม่ใช่แค่พูดเพียงคําว่าขอบคุณหรือขอโทษ เท่านั้น แต่จะสามารถไปได้ลึกกว่านั้นจะเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างประณีต มันเป็นลึกอีกชั้นหนึ่งว่าถ้าเกิดเขาเข้าใจที่มาที่ไปของมัน เขาก็จะนําไปสู่วิธีการคิดต่อทุกเรื่องไม่ใช่แค่เรื่องขอโทษ เขาจะมีความเข้าใจคนอื่น แล้วเขาก็จะรู้ว่าเราก็มีโอกาสเป็นอย่างนั้น บางทีเราก็ไม่ตั้งใจ ที่จะไปทําอะไรกับคนอื่นแต่ว่าเพื่อนเจ็บซะแล้ว ความเข้าใจ สื่อสารและรู้วิธีอธิบายเรื่องต่างๆ มันก็จะประสานไมตรีกันได้ง่ายขึ้น ก็จะทําให้เขา สามารถอยู่ร่วมได้กับคนอื่นได้อย่างเป็นปกติสุขที่สุด

EF ที่ได้รับจากนิทาน

เรื่องโอ๊ะโอขอโทษนะ ได้เรื่อง Empathy การเข้าอกเข้าใจว่าถ้าฉันเป็นเธอฉันจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นกระบวนการเรียนรู้ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่สําคัญมาก ถ้าเราไปอยู่ในสถานการณ์ของเขาเราจะทํายังไง ถ้าเราเจอแบบนั้นเราจะทํายังไง เราจะจัดการไง เพราะฉะนั้นการคิดแบบนี้มันเป็นการคิดสองชั้น ไม่ใช่แค่ว่าผิดแล้วขอโทษ แต่ว่าถ้าฉันเป็นถ้าเขาเป็นเราเขาคงจะทําอย่างงี้มั้งหรือเราเป็นเขาเราก็อย่างงี้มั้ง

การคิดอย่างนี้มันคือการยืดหยุ่นการที่พร้อมจะให้อภัยมันก็จะมาจากตรงนี้ แล้วมันไม่ได้เพราะว่าเธอแย่กว่าฉัน ฉันสงสารเธอแต่ว่าถ้าฉันเป็นเขา ถ้าเขาเป็นฉันเราจะเหมือนๆ กัน เราต่างมีความรู้สึกได้แบบนี้เหมือนกัน เรามีความเสียใจได้ เราทําผิดได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จะเป็นการเข้าใจตัวเอง แล้วก็เข้าใจคนอื่นด้วย แล้วก็เปล่งวาจาออกมาว่าขอโทษนะด้วยเหตุแบบนี้นะ ก็จะช่วยลดความขัดแย้ง เป็นการประนอมกันมันคือการทําความเข้าใจ

ในเรื่องEFก็เช่นกัน เราสามารถเอาสถานการณ์มาถามเด็กได้ว่าตอนไหนที่รู้สึกโกรธเพื่อน เพื่อนทําอะไรให้เราโกรธ แล้วเขาคิดอย่างไง กับสิ่งที่เพื่อนทำ หรือหลังจากที่อ่านหนังสือแล้วก็คุยกัน เด็กจะได้กลับไปทบทวนความรู้สึกตัวเอง มุมมองของตัวเอง วิธีปฏิบัติที่ตัวเองควรจะทํา เพราะฉะนั้นเรื่องนี้พี่มองว่าเวลานี้โอกาสที่คนจะเข้าใจกันมันน้อยลงเพราะว่าอะไรๆมันก็เร็วแล้วมันก็จะมีสื่อกั้น เช่น บางทีเขียนในไลน์ มนุษย์ควรมีโอกาสปฏิสัมพันธ์เห็นหน้าตา แต่ตอนนี้ Face to Face มันน้อย เพราะฉะนั้นความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้งก็จะน้อย อย่างเวลาเราเขียนขอโทษ ตอนพูดยากกว่ากันเยอะเขียนขอโทษมันจบ มันก็ดูเหมือนก็ไม่เป็นไร แต่เวลาเราจะพูดต่อหน้าเขาว่าขอโทษนะ มันใช้ความรู้สึกตัวเอง เป็นความรู้สึกที่จริงๆ ของเรา

เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะต้องให้เด็กๆได้มีโอกาสเรียนรู้แบบว่าไม่ต้องไปผ่านสื่ออะไร เอาความรู้สึกเราแล้วก็ที่สําคัญอธิบายชี้แจง เอาความจริงมาสื่อสารกันแล้วค่อยๆ ประนอมเรื่องต่างๆ ให้มันไปในทางบวก ก็จะช่วยให้เด็กมีชีวิตที่ง่ายขึ้นตั้งแต่เรื่องเล็กๆไปถึงเรื่องใหญ่ๆ ที่เราเผลอทําโดยไม่รู้ตัวก็เรียกว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ทําให้เด็กเข้าใจรู้จักตัวเองก่อน

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP 89 : “Self ดี EF ดี แบบนี้ดีต่อใจ นิทานชุดในสวนกับย่าติ่ง”

รักลูก The Expert Talk Ep.89 : Self ดี EF ดี แบบนี้ดีต่อใจ นิทานในสวนกับย่าติ่ง สุภาวดี หาญเมธี

 

นิทานชุดในสวนของย่า เรื่อง “แบบนี้ดีต่อใจ” จะช่วยให้พ่อแม่มองเห็นความสำคัญของการสร้างความสุขให้กับเด็กผ่านต้นชมพู่มะเหมี่ยว เพราะเมื่อเด็กมีความสุข Self ของเด็กจะดีและมีทักษะ EF

ชวนฟังหลักคิดเพื่อนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงลูกจากนิทานย่าติ่ง คุณสุภาวดี หาญเมธี สุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันรักลูกเลิร์นนิ่ง กรุ๊ป

 

แบบนี้ดีต่อใจและได้เรียนรู้

เป็นนิทานที่เล่าเรื่องของต้นมะเหมี่ยว ซึ่งเป็นต้นไม้ใหญ่ต้นเดียวในบ้านทําให้บ้านเย็น เวลาที่ทําสวนข้างบนมันร้อนก็จะได้อาศัยร่มเงาเขา ก็เป็นประเด็นว่าอยากเสนอเรื่องความสุข เพราะว่าเวลารณรงค์เรื่องEFอย่างที่เรารู้ว่าการทํางานของสมอง สมองส่วนคิดจะทํางานได้ดี หรือEFจะทํางานได้ดีก็ต่อเมื่อ Selfดี มีสมองส่วนอารมณ์ เบิกบาน ปลอดภัย เพราะฉะนั้นคนที่จะมีความสุขคือคนที่มี Selfดี ต้องมีความสุข จะมีความสุขเพราะว่ารู้สึกดีกับตัวเอง แล้วก็สามารถที่จะไปรู้สึกดีกับสิ่งอื่นๆได้ เพราะว่าเขามีความสุขอยู่ในตัว

เพราะฉะนั้นการที่เด็กจะมีความสุขได้ มันเริ่มจากหลายอย่างแต่อันหนึ่งก็คือการมองเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายหรือความสุขมาจากการที่ เราทําอะไรได้ด้วยตัวเองสําเร็จ ความสุขจากการที่รู้สึกว่ามีคนรักเรา มีคนเอื้อเฟื้อเรา เรากําลังทุกข์ใจก็มีคนมากอดเรา มีคนมาให้ความช่วยเหลือ ความสุขก็ค่อยๆ ฟื้นคืนกลับมา เพราะฉะนั้นกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขมันก็ต้องค่อยๆ สะสม ถ้าคิดแบบปรัชญาก็คือว่าทุกข์เป็นของตาย ยังไงเราก็มีความทุกข์ นี่เป็นของตายตามหลักศาสนาหรือปรัชญา แต่ว่าจริงๆมนุษย์ก็ต้องมีจังหวะเวลาโอกาสที่จะต้องมีความสุขเพื่ออะไรเพื่อให้มันประคองชีวิตไปได้ คนที่มีแต่ทุกข์อยู่ตลอดแล้วไม่รู้สึกมีความสุขเลยเนี่ยมันชีวิตเดินหน้าไม่ได้ชีวิตจะไม่มีพลัง

ทำแบบนี้ดีต่อใจลูก

เพราะฉะนั้นการที่เด็กจะมีพลังพ่อแม่หรือคุณครูต้องทำให้

1.เด็กรู้สึกดีกับตัวเองให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีดี เด็กทุกคนมีดีอยู่ที่ว่าเราจะเห็นดีของเขาหรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าเขารู้สึกดีกับตัวเอง ถือแก้วน้ําได้แล้ว เดินหยิบขยะไปทิ้งที่ถังขยะได้ เล่นเองแล้วเก็บของเล่นเองได้ จะทำให้ระหว่างทางเขามีความสุขเกิดขึ้น

2.ส่งเสริม ชื่นชม กระตุ้น สนับสนุนเขา ความรู้สึกที่มีความสุขจากการที่ตัวเองมีดีมันจะเป็นฐานที่เมื่อเขาผ่านสถานการณ์ที่ไม่ถูกใจ แต่ถ้าเขาปรับตัวได้หรือพลิกมุมมองบางอย่าง เช่น ต้นแม่มะเหมี่ยวก็จะมีเสียงที่คอยยุแยงตะแคง คอยถาม มาทำให้รําคาญ แต่ก็มีวิธีมองคือมองเรื่องเล็ก ๆ ว่าไม่เป็นปัญหา เรื่องดีมันมีมากกว่านั้นอีก ขี้นกตกเยอะก็ไม่เป็นไรเดี๋ยวฝนมาขี้นกมันก็หายไป

3.ฝึกลูกอยู่ง่าย กินง่าย ปรับตัวง่าย มองโลกให้มีความสุขเรื่องพวกนี้ก็จะไม่รบกวนเขามากถึงวันที่มันมีเรื่องใหญ่จริงๆ ทุกข์จริงๆ เขาก็จะเอาความสุขที่มีอยู่ในตัวเขาที่มีพลังไปแก้ปัญหาคือวิธีแบบนี้ไม่ได้แปลว่าโลกสวย แต่เราต้องให้เด็กอยู่กับความจริง อะไรที่เป็นสุขก็คือเป็นสุข อะไรที่เป็นทุกข์ก็ต้องยอมรับว่ามันคือความทุกข์มันจะได้ไปแก้ปัญหา เพียงแต่ว่าการมีมุมมองที่บวก Positive Thinking มันคือการพลิกมุมมอง อย่างขี้นกตกใส่รถแทนที่จะโวยวายก็พลิกสถานการณ์จากลบให้เป็นบวกจะได้ชวนลูกบ้างรถ ไม่ได้แปลว่าเราไม่เห็นว่าขี้นกเป็นปัญหาเราเห็นมันเป็นปัญหา แต่เราหยิบปัญหามาเป็นสถานการณ์ที่เป็นการเรียนรู้

ปลายทางของมันคืออะไรคือทําให้เด็กอยู่ง่าย ทําให้เขามีความสุขง่าย มีอะไรก็ดีได้ไม่ต้องยาก แล้ววันที่เขาไปเจอของยากจริงๆ ของแย่จริงๆ เจออุปสรรคที่มันใหญ่จริงๆ ความสุขเหล่านี้มันจะเป็นฐานให้เขาไปแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น คือคนที่จะแก้ปัญหาอะไรยากๆ ถ้าเป็นคนที่คิดลบตลอดจะแก้ปัญหาไม่ได้ เด็กควรโตมาแบบที่เห็นว่าเรื่องยากทั้งหลายมันไม่ยากเกินกําลังแล้วเราก็เคยผ่านมาแล้วเคยจัดการเรื่องเหล่านี้มาแล้วก็สําเร็จมาทีละเล็กทีละน้อย คือมนุษย์มีศักยภาพที่จะหาความสุข สร้างความสุข เราไม่ต้องไปตัดศักยภาพของเด็กทําให้กลายเป็นคนที่รู้จักแต่ความทุกข์อย่างนี้ไม่แฟร์กับเด็กเราต้องให้เขามีโอกาสที่จะหาความสุขด้วย ให้เขามีทักษะมีวิธีมองมีประสบการณ์ไหมคะก็เหมือนกับเรื่องทักษะEF มองยืดหยุ่นความคิดไปอีกมุมหนึ่ง พลิกมุมจากความทุกข์เป็นความสุขได้ คือวิธีคิดที่ดีก็จะนํามาซึ่งความสุข แต่ขณะเดียวกันความสุขก็จะทําให้เรามีโอกาสมีวิธีคิดที่ดีมันเป็นสิ่งที่มันคู่กัน

ถ้าเด็กเป็นคนมีความสุข โดยเฉพาะเป็นความสุขที่มาจากการที่เขาประสบความสําเร็จ ได้รับคําชื่นชมเขาจะใช้ประสบการณ์ที่มีคุณภาพที่มีความสุขเหล่านี้ไปแก้ปัญหาได้เยอะจะรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ มันมีสถานการณ์แบบนั้นในชีวิตเราเยอะมากที่เราควรที่จะต้องหยิบมาแล้วก็ฝึกให้เขามองว่าถ้ามองอีกแบบหนึ่ง มองแล้วไม่เป็นทุกข์เป็นอย่างไรแล้วพอ คือเวลาที่มันเกิดจากเรื่องที่ไม่ถึงกับยาก ถ้าเราฝึกเขาไว้ในวันที่เขาเจอเรื่องยากเขาจะหยิบประสบการณ์พวกนี้ไปทดลองคิด แต่ถ้าเราไม่เคยให้ลูกทุกข์เลยเพอร์เฟกต์ไม่ต้องคิดอะไรของไม่ดีก็ทิ้งไป เขาก็จะรู้วิธีเดียวหรือแบบที่ตัดปัญหาไป แต่จริงๆ ในชีวิตจริงเราทําให้ดีกว่านั้นได้เราไม่จําเป็นต้องทําแบบนั้น กระบวนการคิด ที่มันค่อยๆซับซ้อนและประณีตขึ้น มันจะเกิดขึ้นได้จากการที่เราชวนเขามองเรื่องอย่างนี้ไปก่อน เริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆ

EF ทำให้ลูกอยู่รอด

แม้โลกไม่ VUCA อย่างไรก็ต้องใช้ทักษะ EF เพราะว่าEFคือทักษะที่เกิดจากสมองส่วนหน้า ส่วนที่เราแตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นความสามารถนี้ก็ พิสูจน์มาตลอดว่าเราใช้ EF ในการแก้ปัญหา ปรับตัว สร้างสรรค์และพัฒนา ยังไงเราก็ต้องเจอกับปัญหาที่มันหนักขึ้นเรื่อยๆ โลกร้อนนี่ก็เรื่องหนึ่งนะคะ หรือเทคโนโลยีที่เข้ามา อย่างตอนนี้มีแชท GPT มนุษย์ก็ต้องเก่งต้องพัฒนาเพื่อที่จะรับมือแล้วก็จัดการชีวิตเรา ชีวิตครอบครัวเรา ชีวิตสังคมเราได้

เพราะฉะนั้นสถานการณ์เหล่านี้มันต้องการความสามารถของสมองสิ่งที่เรากําลังทำคือฝึกเด็กเรื่องEF ให้เขารู้จักคิด มีทักษะที่จะคิด มีความรู้สึกดีที่จะคิด มีความรู้สึกอยากลองได้ลองผิดลองถูก กระบวนการฝึก EFในเด็กเล็กที่เราพยายามรณรงค์กันคือเพื่อให้เขามั่นใจว่าเขามีทักษะเหล่านี้ดีขึ้น เข้มแข็งขึ้นแล้วฝังอยู่ในสมองเป็นชิปที่เมื่อไหร่ก็ตามที่เจอกับอะไรเขาก็จะสามารถค่อยๆคิดวิเคราะห์ค่อยๆหาคําตอบ จนในที่สุดเรื่องยากเรื่องใหญ่มันก็จะเข้ามาในลูปของเส้นใยประสาทแบบนี้เหมือนกัน ถ้าเด็กของเราจํานวนมากเป็นอย่างนี้เราก็มั่นใจได้ว่าเขาจะช่วยกันคิด พากันแก้ปัญหา

สิ่งที่สําคัญก็คือว่าเวลานี้เราพบมากไปกว่านั้นว่าไม่ใช่แค่เด็กคิดเก่งเท่านั้นที่จะสามารถพัฒนาตัวเองไปได้ดี แต่เราพบว่าเขาจะคิดเก่งคิดดีได้ ก็ต้องมีฐานใจที่ดีด้วยเช่นเดียวกัน ฐานสมอง ฐานใจก็ต้องเสริมกัน เพราะฉะนั้พอเราจะมาทําเรื่องส่งเสริมEFให้เด็ก เราต้องส่งเสริมเรื่องSelfเขาไปด้วย เพราะว่าSelfที่ดีจะทําให้เขาพัฒนาEFได้ กล้าคิด กล้าพูด กล้าทํา กล้าไปเผชิญโลก กล้าไปเจอปัญหา แต่ถ้าSelfไม่ดี เขาก็จะกลัวไปหมดทั้งโลกมันน่ากลัว ทั้งโลกมันมืดมนทั้งโลกไม่มีโอกาส เพราะฉะนั้นต่อให้เขาคิดอย่างไรก็ไปต่อไม่ได้จึงต้องทำสองเรื่องนี้ไปคู่กัน แล้วพอมีโควิดก็ทําให้เห็นว่าฐานกายก็ต้องไปด้วยกัน คือสุขภาพที่ดีจึงจะทําให้เขาสามารถไปคิดไปสร้างไปอะไรได้แล้วก็จะทําให้จิตใจของเขาดีได้ด้วย

เพราะฉะนั้นราต้องทำให้เด็กแข็งแรงทั้งสมอง จิตใจ ร่างกายก็คือครบองค์รวมได้ประโยชน์ครอบคลุม แทนที่เราจะไปทําเรื่องคุณธรรมก็ไม่ใช่ไม่ทําแต่ว่าไม่ใช่โฟกัสเรื่องเดียวคือคุณธรรม สมองที่คิดได้ดีที่ยับยั้งตัวเองได้ดีนั่นแหละคุณธรรมก็เกิด ไม่จําเป็นต้องไปไล่บอกว่าคุณต้องฝึกคุณธรรมอย่างโน้นอย่างนี้ อย่างนั้น จริงๆ EFที่ดีมีการยั้งคิดไตร่ตรองก็มีศีลในตัวเอง เพราะฉะนั้นเราจะทําอะไรก็ตามทําให้มันเป็นทําเรื่องเดียวแล้วมันได้ทุกเรื่อง

ทำEFได้คุณธรรมแน่นอน ได้การคิดเก่งแน่นอน ได้IQ ได้ EQด้วย เวลานี้เราผลักดันอยากเชิญชวนพ่อแม่ทําเรื่องส่งเสริมEF ส่งเสริมSelfแล้วก็ผ่านกิจกรรมทางกายด้วย พาลูกออกกําลังกายเยอะๆ แต่ถ้าไปพาเรื่องเรียนเก่งอย่างเดียวจะมาเสียใจทีหลังว่า ลูกไม่มีSelf ลูกซึมเศร้า ลูกอยากฆ่าตัวตาย เมื่อตอนเป็นวัยรุ่น หรือเอาแต่ลูกเรียนหนังสืออย่างเดียว ปรากฏว่าก็ไม่มีปฏิภาณที่จะแก้ปัญหาในชีวิต สรุปแล้วก็ไม่คุ้มทําสามเรื่องนี้ดีกว่าแล้วก็ยาวไปตลอดชีวิตของเขา

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

รักลูก The Expert Talk EP 90 : รู้อารมณ์ลูกก็รับมือได้ ทุกสถานการณ์ ทุกอารมณ์

 

รักลูก The Expert Talk Ep.90 : รู้อารมณ์ลูก ก็รับมือได้ทุกสถานการณ์ ทุกอารมณ์

 

จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต ระบุว่า วัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี ประมาณ 1 ใน 7 คน และเด็กไทยอายุ 5-9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ และจากผลการสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนทั่วโลกในประเทศไทยเมื่อปี 2564 พบว่า 17.6 %ของวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย ซึ่งการฆ่าตัวตายคือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของวัยรุ่นไทย

 

สาเหตุส่วนหนึ่งของการเป็นโรคซึมเศร้าจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายนั้นคือการมีปัญหาพัฒนาการด้านอารมณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่พ่อแม่สามารถรับมือได้ตั้งแต่เด็ก แต่ละเลยและไม่รู้วิธีการ

 

ฟังวิธีการรับมือกับอารมณ์ลูกจาก The Expert ศ.นพ.วีรศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าสาขาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP 91 : สอนลูกรับมืออารมณ์ก่อนเป็นโรคซึมเศร้า

 

รักลูก The Expert Talk Ep.91 : สอนลูกรับมืออารมณ์ก่อนเป็นโรคซึมเศร้า

 

ถ้าอยากฝึกลูกควบคุมอารมณ์ พ่อแม่ต้องฝึกก่อน เพราะการเรียนรู้การจัดการอารมณ์ที่ดีที่สุดคือจากพ่อแม่ และอย่าให้ลูกต้องสุขตลอดเวลา เด็กเรียนรู้จากอารมณ์ลบและความทุกข์ได้ โดยมีพ่อแม่อยู่เคียงข้าง

 

ฟังวิธีการฝึกให้ลูกรับมือกับอารมณ์ของตัวเอง โดย The Expert ศ.นพ.วีรศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าสาขาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิธีการรับมือจัดการกับอารมณ์

ถ้าอยากจะฝึกลูกต้องฝึกที่พ่อแม่หรือว่าคนเลี้ยงก่อน เพราะว่าหลายครั้งการที่เด็กแสดงอารมณ์อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับคนที่อยู่รอบตัว แต่ละบ้านก็แตกต่างกัน บางวัฒนธรรมหรือบางคนก็อาจจะรู้สึกว่าเราไม่ได้อยากพูด หรือบอกแสดงความรู้สึกอารมณ์อะไรออกมา แต่จริงๆ แล้วการจะรับมือกับอารมณ์ของลูกผมอยากให้พ่อแม่มองอย่างนี้ว่า ทุกคนมักจะชอบอารมณ์ลูกในด้านบวก ดีใจ ยิ้ม น่ารัก เราอยากให้ลูกเราอารมณ์ดีตลอดเวลา ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่มีทาง อยากให้มองว่าลูกสามารถเรียนรู้จากอารมณ์เชิงลบได้ อารมณ์เชิงลบถ้าเรียนรู้ได้ดี มันทําให้เขาพัฒนาตัวเองแล้วทําให้เขาสามารถจัดการกับอารมณ์เชิงลบไม่ว่าจะเป็นโกรธ เสียใจ ผิดหวังอะไรต่างๆ ได้ เมื่อเขาโตขึ้น

สิ่งสําคัญเลยก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะเข้าไปช่วยเขา พ่อแม่ต้องคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้ก่อน หลายครั้งก็คือเราต้องสูดหายใจเข้าลึกๆ เลย เพราะว่าบางครั้งพอเราคุมอารมณ์เราไม่ได้ มันจะยิ่งทําให้เราใส่อารมณ์เราเข้าไปกับลูกมากขึ้น เลยทําให้อารมณ์เชิงลบของเขามันเกิดนานขึ้น ลองนึกภาพอารมณ์เชิงลบเหมือนไฟ คําพูดหรืออะไรต่าง ๆ น้ําเสียงของเราเข้าไป มันจะเหมือนเรากําลังโยนน้ํามันเข้าไป หรือเราโยนพวกฟืน พวกกระดาษเข้าไป ให้มันยิ่งเผาไหม้มากขึ้น ไฟเวลามันเกิดขึ้นมันต้องดับได้

ดังนั้นเราควรจะต้องเริ่มฝึกตั้งแต่ไฟมันเริ่มน้อยๆ ลูกหงุดหงิดอะไรนิดหน่อย จริงๆ ต้องเริ่มรู้แล้วนะครับว่าเป็นยังไง แต่ก่อนที่จะมาถึงอารมณ์เชิงลบ ถ้าคุณพ่อคุณแม่หลายท่านพอทราบแล้วรู้natureลูกเราอย่างที่เมื่อกี้กล่าว เรื่องของพื้นอารมณ์ เช่น เป็นเด็กที่แบบอะไรนิดนึงก็ไม่ได้ ถ้าเราป้องกันได้ก็จะดี ยกตัวอย่างเช่น สมมติวันนี้เราไปเที่ยวกัน เรารู้เลยว่าไปเที่ยวที่นี่ มันจะต้องมีตัวกระตุ้นตรงนี้ ถ้าสมมติว่าลูกเดินผ่านตรงนี้ ลูกจะต้องอยากได้แน่นอน อย่างนี้ครับเราต้องรู้เขารู้เรา ดังนั้นวันนี้ก่อนออกจากบ้านเราต้องเตรียมการเลยครับ ลูกวันนี้เราจะออกไปข้างนอกไปซื้อของ แล้วก็เราจะแวะไปตรงนี้ๆ ไปถึงนี่เราจะทําอะไรบ้าง เสร็จแล้วเรากินอาหารเสร็จกลับบ้าน วันนี้เราไม่แวะซื้อของเล่นนะ ก็เป็นการป้องกันตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอารมณ์เชิงลบแบบนั้น

สะท้อนอารมณ์ลูก ช่วยลดอารมณ์เชิงลบ

แต่ถ้าเมื่ออารมณ์เกิดขึ้นแล้ว สิ่งสําคัญก็คือคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องนอกจากตั้งสติเแล้ว เราจําเป็นที่จะต้องพูดบอกอารมณ์ลูกหรือว่าสะท้อนอารมณ์ อันนี้เป็นคีย์เวิร์ดสําคัญ ซึ่งจากประสบการณ์ที่ทํางานผมคิดว่าพ่อแม่จํานวนมาก อาจจะไม่ค่อยพูดบอกอารมณ์อย่างนี้กับลูก การพูดบอกอารมณ์ของลูก เช่น ลูกกําลังเสียใจ ลูกโกรธ ลูกหงุดหงิด แต่สิ่งสําคัญคือพ่อแม่ต้องพูดบอกอารมณ์เขาด้วยน้ําเสียงที่ค่อนข้างกลางๆ เพราะลูกสามารถจะจับอารมณ์ความรู้สึกของพ่อแม่ได้หมดมันจะยิ่งทําให้อารมณ์เค้าเกิดขึ้นมากขึ้นได้

การที่เราพูดบอกอารมณ์ของลูกออกมาหรือการสะท้อนอารมณ์ของลูก ไม่ได้แปลว่าจะทําให้อารมณ์ของลูกสงบลงทันที ต้องดูลักษณะนิสัยลูกเราด้วยนะครับ การที่เราพูดอย่างนี้วัตถุประสงค์เพื่อทําให้เด็กรับรู้ได้ว่า พ่อแม่หรือคนเลี้ยงเข้าใจว่าตอนนี้เขารู้สึกอย่างไร ดังนั้นเราก็แค่พูดบอกและสะท้อนอารมณ์ออกมา แต่คุณพ่อคุณแม่บางท่านก็เล่าให้ผมฟังว่า บางทีพอบอกไปลูกยิ่งหงุดหงิดร้องกว่าเดิม แสดงว่าเขาอาจจะไม่ชอบสไตล์แบบนี้ก็ได้ก็แล้วแต่บ้าน บางครั้งเราก็อาจจะพูดให้น้อยลงหรือรอจังหวะและแค่บอกเขานะครับว่า ลูกกําลังโกรธ หงุดหงิดเดี๋ยวลูกอยู่ตรงนี้ก่อน พออารมณ์ดีเราค่อยคุยกันนะ

แต่สิ่งสําคัญที่ผมอยากจะเน้นนะครับว่าเมื่อไหร่ก็ตามลูกมีพฤติกรรมที่เรียกว่าก้าวร้าวโดยแสดงอารมณ์ออกมามากขึ้นแล้วทําร้ายตัวเอง ทำร้ายคนอื่นหรือทำลายข้าวของ จําเป็นที่จะต้องช่วยให้เขาสงบให้ได้ไว ถ้าลูกยังเล็กให้จับมือแล้วพูดว่าลูกกัดแม่ไม่ได้ น้ําเสียงนิ่ง ชัดเจน หรือหากกำลังดิ้นโวยวายละวาด บางบ้านถึงขั้นเอาผ้าห่มมาพันตัวลูก คือทําอย่างไรก็ได้ให้เขาสงบ แม้จะดิ้นไปดิ้นมา แต่สุดท้ายถ้าเขารู้ว่าพ่อแม่เอาจริง เขาจะค่อยๆสงบเอง ซึ่งก็ไม่ง่ายสำหรับคุณพ่อคุณแม่นะครับ แต่ว่าต้องฝึกเขาเพราะว่าไม่อย่างนั้นถ้าเขาไม่เคยถูกควบคุมแบบนี้จากภายนอกเขาจะไม่สามารถควบคุมตัวเองจากภายในได้ อย่างที่กล่าวไปใน epก่อนหน้านี้

ดังนั้นเวลาเขาโกรธโมโหเขาอาจจะไปทําร้ายเพื่อนหรือไปกัดเพื่อน ถ้าอารมณ์รุนแรงถึงขั้นก้าวร้าวจําเป็นที่จะต้องช่วยให้เขาสงบแล้วพอลูกสงบเสร็จ เราถึงค่อยอธิบายหรือสอน บ้านเราส่วนใหญ่ที่ผมเจอคุณพ่อคุณแม่มักจะชอบสอนหรืออธิบายเยอะมากเลย แต่เวลาที่อารมณ์ไม่พร้อม สมองส่วนอารมณ์ตอนนั้นมันกําลังทํางานเยอะอยู่ สมองส่วนเหตุผลจะยังไม่มา ดังนั้นต้องรอให้สมองส่วนอารมณ์ทํางานได้ดีแล้วก็คุมได้ก่อน แล้วสมองส่วนเหตุผลเขาจะเปิดใจรับฟัง ตอนนั้นคุณพ่อคุณแม่สอนอะไรเขาก็จะเริ่มฟังมากขึ้น

ช่วยลูกออกแบบวิธีจัดการอารมณ์

พออารมณ์สงบจริงๆ บางคนอาจจะไม่อยากพูดถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาเพราะว่าบางคนรู้สึกว่าเหมือนเป็นการกระตุ้นต่อไป แต่ผมคิดว่าเราสามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งนี้ได้นะครับก็คือพอเขาอารมณ์ดีจริงๆ เช่น ผ่านการเล่นอะไรไปค่อยค่อยคุยกัน เช่น เมื่อกี้ลูกโกรธมากเลย ที่ไม่ได้ซื้อของเล่นอย่างที่บอก งั้นครั้งหน้าถ้าลูกโกรธเราทํายังไงกันดีนะ อันนี้ก็เป็นอีกวิธีขั้นตอนต่อๆไปในการที่จะฝึกหรือสอนให้ลูก เรียนรู้ว่าเวลาโกรธ เขาจะรับมือจัดการกับอารมณ์โกรธยังไงบ้าง เช่น คุณพ่อคุณแม่อาจจะสาธิตว่าถ้าแม่โกรธเรามาเล่นเกมกันดีกว่า ถ้าเวลาพ่อแม่โกรธพ่อแม่ทํายังไงกันบ้าง เช่น นับ1 ถึง 10 แม้ลูกจะยังไม่หายโกรธ เราก็ชมระหว่างทางที่เขากําลังคุมอารมณ์อยู่ หลายครั้งบางทีลูกร้องโวยวายแต่ว่าเริ่มสงบลงก็ชมได้

แต่ต้องบอกว่าเด็กเล็กอายุ3-5ปี บางทีเรายิ่งพูดเหมือนบางคนจะเหมือนเติมเชื้อไฟ ลูกบางคนจะรู้สึกเหมือนว่าเกือบจะได้แล้ว แปลว่าพ่อแม่กําลังมาง้อแล้ว เราต้องเล่นใหญ่อีกนิดนึง ดังนั้นพ่อแม่ต้องรับรู้นะครับว่าบางทีไฟมันไม่ได้ดับสนิทแบบนี้ บางทีพอดับปุ๊บเราพูดไปนิดนึงเหมือนเราจะไปช่วยนะครับ เพราะเด็กบางคนขึ้นแล้วค้างนานลงไม่เป็น พอเราไปช่วยปรากฏร้องขึ้นมาอีกเหมือนเดิม เราก็ใช้หลักการเหมือนเดิมคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้ก่อนแล้วค่อยไปจัดการที่ลูก

ปัจจุบันมีหนังสือนิทานเยอะมากเลย เด็กๆโดยเฉพาะวัยที่เขาเริ่มฟังนิทานเยอะๆ เราสามารถจะเอาหนังสือนิทานเหล่านี้มาสอนเขาได้เลย สามารถพูดแล้วก็คุยกัน เพราะว่าในหนังสือนิทานบางทีจะมีวิธีพูดบอก เช่น เวลาโกรธเราทําอะไรได้บ้าง เช่น เป่าลูกโป่งแล้วปล่อยให้มันลอยไป เปลี่ยนเรื่องไปวาดรูประบายสี ปั้นดินน้ํามัน ปั้นแป้งโดว์

เป็นแบบอย่างจัดการอารมณ์

1.พ่อแม่ต้องพัฒนาสติหรือบางคนเรียกว่าเจริญสติของตัวเอง ทุกคนมีเวลา 24ชั่วโมงเท่ากันแต่เราให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆไม่เท่ากัน บางทีแค่เราอยู่เฉยๆไม่ดูโซเชียลไม่อะไร หายใจเข้าออกลึกๆก็ได้ คือแต่ละคนอาจจะมีวิธีการอยู่กับตัวเองแตกต่างกันให้ตัวเองมีช่วงเวลาสงบ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามเรารู้จักตัวเองได้ดีพอทําให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองได้ไว แล้วพอเรารู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองได้ไว เวลาลูกเกิดอารมณ์อะไรที่ไม่โอเค เราก็เข้าไปจัดการหรือรับมือได้อย่างมีสติมากขึ้นนะครับ

2.เป็นแบบอย่างที่ดี หลายครั้งเลยครับเด็กเลียนแบบคุณพ่อคุณแม่ บางคนพ่อแม่ก็เป็นสไตล์ขี้งอนไม่ต้องแปลกใจเลยครับ ดังนั้นมันก็คงหลีกเลี่ยงกันได้ยาก เพราะว่าลูกไม้ก็หล่นใต้ต้นอยู่แล้ว ดังนั้นอะไรก็ตามที่คิดว่าไม่ดีก็ไม่ต้องทำให้ลูกเห็น พ่อแม่เองก็สามารถบอกอารมณ์ตัวเองกับลูกได้นะครับ เช่น ตอนที่น้องอารมณ์ไม่ดีแบบนี้แม่ก็อารมณ์ไม่ดีเหมือนกัน แม่เนี่ยขนาดตัวแม่เองเป็นผู้ใหญ่บางทีแม่ยังคุมอารมณ์ยากเลย เพราะฉะนั้นสําหรับน้องเนี่ยแม่คิดว่ายิ่งยากขึ้นเนาะ งั้นเดี๋ยวเรามาช่วยกันดีกว่าว่าเราทํายังไงกันดี

การที่คุณพ่อคุณแม่บอกอารมณ์ของตัวเองกับลูกก็จะทําให้เหมือนเราเป็นตัวอย่างด้วยนะครับว่าเราทํายังไง ดังนั้นเนี่ยเวลาเราอารมณ์ หงุดหงิด ไม่พอใจอะไรต่าง ๆ นอกจากเรามีสติเรารับมือกับอารมณ์ได้ดีคุณพ่อคุณแม่ต้องทําให้เห็นนะครับว่าเราจะต้องทําอย่างไรได้บ้าง ที่จะไม่แสดงออกทางอารมณ์ที่รุนแรงให้ลูกเห็น

3.ไม่ลงโทษลูกด้วยความรุนแรง หลายครั้งความรุนแรงที่เกิดขึ้นเนี่ยมันไม่ได้เกิดจากการตีอย่างเดียวหรือทําร้ายลูกอย่างเดียวแต่ว่ามันเกิดจากคําพูดยิ่งเราโกรธคําพูดเรา บางทีมันเชือดเฉือนยิ่งทําร้ายมาก บางทีบาดแผลกายหายแล้วแต่บาดแผลทางใจมันยังคงอยู่ตลอดไป ซึ่งหลายๆ ท่านก็คงไม่ได้อยากเห็นลูกเรา จําเราได้ในด้านไม่ดี ซึ่งตรงนี้มันไม่ได้แปลว่าเราจะต้องเป็นนางฟ้าตลอดเวลาสําหรับลูก แต่ว่าอย่างน้อยเราควรจะมีโมเมนต์ที่ดี มากกว่าโมเมนต์ที่ไม่ดี มันไม่มีทางเป็นไปได้ที่เราจะมีโมเมนต์ที่ดีทั้งหมด แต่อย่างน้อยมีโมเมนต์ที่ดีกับมากกว่าไม่ดี อย่างน้อยมันก็เป็นต้นทุนที่จะทําให้ลูกรับรู้ได้ว่า เวลาเขาไม่พอใจ หงุดหงิด โมโหต่อไปเขาจะมาหาใครได้บ้าง ดังนั้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อแม่กับลูก เป็นเกราะป้องกันเลยสําหรับการเกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ต่อไปในอนาคต

พ่อแม่จัดการอารมณ์ได้ดีเกราะป้องกันเมื่อลูกเป็นวัยรุ่น

โดยธรรมชาติวัยรุ่นต้องการค้นหาอัตลักษณ์ของตัวเองว่าจะพัฒนาเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่แบบไหน ดังนั้นเป็นธรรมชาติที่เขาจะต้องไปหาเพื่อนติดเพื่อนมากกว่าติดพ่อแม่ ดังนั้นเขาจะค่อยๆ เรียนรู้ไปว่าเพื่อนคนนี้เป็นยังไง คนนี้นิสัยเป็นยังไง ถ้าเรายิ่งสนิทกับลูกมากตั้งแต่ตอนเล็กๆ มีอะไรเขาก็จะกล้ามาเล่าให้เราฟัง ซึ่งอันนี้เป็นจังหวะที่ดี แม้กระทั่งขับรถรถติด แล้วลูกเล่าเรื่องเพื่อน เราก็ฟัง เป็นยังไงบ้างล่ะลูก แล้วลูกคิดว่ายังไง จริงๆ การworkกับลูกวัยรุ่นเนี่ยง่ายมากเลยฟังให้เยอะแล้วตัดสินให้น้อย พยายามอย่าไปตัดสินคือควรจะต้องเข้าไปอยู่ในโลกของลูกด้วย เทรนด์อะไรใหม่ๆ เราก็ฟังกับเขาไปด้วยจะทําให้ลูกเปิดใจมากขึ้น

เมื่อเกิดอารมณ์เชิงลบอย่ามองว่าเป็นศัตรูของลูก คนเราทุกคนลองนึกภาพของตัวเรากว่าคนเราจะเติบโตมาถึงขั้นนี้เราต้องเจอทั้งอารมณ์เชิงบวกเชิงลบ การที่เรารับมือกับอารมณ์เชิงลบได้ดีเราได้ทําให้ลูกเรียนรู้ในชีวิตจริงนะ เพราะชีวิตจริงเราต้องเจอกับสิ่งที่ผิดหวัง เสียใจ ไม่ได้ดั่งใจ หงุดหงิด อะไรต่างๆ ยิ่งถ้าลูกเรียนรู้รับรู้อารมณ์ตัวเองได้ไว แล้วเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ได้อย่างดี มันจะยิ่งทําให้เขาเนี่ยสามารถค่อยๆ เติบโตมากขึ้น มีภูมิต้านทานทางด้านทางจิตใจหรืออารมณ์ มันต้องผ่านการฝึกฝนโดยเขาแค่อาศัยพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูที่เปรียบเสมือนเขาเรียกเป็นนั่งร้าย เป็นโครงสร้างที่คอยค้ําจุนพยุง เพื่อไม่ให้โครงสร้างนั้นมันหล่นลงมา

ไม่จําเป็นที่เวลาลูกเผชิญกับความไม่โอเค ไม่พอใจแล้วเราต้องเข้าไปช่วยจัดการทุกอย่างเพราะสุดท้ายแล้วลูกก็สามารถเรียนรู้จัดการด้วยตัวเองได้ระดับหนึ่ง แล้วเราควรจะต้องชื่นชมยินดีกับเขาด้วย เราเองมีหน้าที่รับฟังและอาจจะช่วยเติมในจุดที่คิดว่าน่าจะเป็นไปได้เพื่อทําให้ลูกเรียนรู้ที่จะคิดถึงวิธีต่างๆ มากขึ้น ดังนั้นเนี่ยครับเราเป็นแค่นั่งร้านแต่สุดท้ายลูกจะภูมิใจนะครับ สิ่งสําคัญคือลูกจะภูมิใจว่า ฉันเองก็สามารถรับมือกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ แล้วเด็กที่มีภูมิต้านทานแบบนี้ผมคิดว่า เขาจะห่างไกลจากพวกโรคหรือภาวะที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล

เช็กเบื้องต้นลูกมีปัญหาด้านอารมณ์ คีย์หลักๆ คือถ้าลูกเบื่อไม่อยากทําอะไรที่เคยอยากทําเหมือนเดิม เช่น ลูกชอบวาดรูป เล่นกีฬา แต่จู่ๆ ไม่อยากเล่น เบื่อ แสดงว่าลูกอาจจะถึงขั้นที่ อาจจะมีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ หรือลูกมีอารมณ์เศร้า ซึ่งแบบนี้พ่อแม่ต้องพอจะรู้แนวโน้มว่าลูกมีลักษณะพื้นฐานเป็นอย่างไร ถ้าเมื่อไรก็ตามลูกแบบเก็บตัว อยากอยู่คนเดียว เศร้าหรือถ้าอารมณ์เศร้าอาจจะสังเกตยาก แต่เขาจะมาด้วยอารมณ์หงุดหงิด อะไรนิดหน่อยก็ขึ้นง่าย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะรีบพาไปปรึกษาคุณหมอ

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.102 (Rerun) : ชวนพ่อแม่ “รู้” และ “เท่าทัน” สื่อ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.102 : ชวนพ่อแม่ "รู้" และ "เท่าทัน" สื่อ

 

รับมือเมื่อลูกเข้าสู่โลกดิจิตอล พ่อแม่ต้องรู้เท่าทันอย่างไร

 

ฟัง The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

นักวิชาการด้านสื่อ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เพื่อให้เรารู้เทคนิค วิธีการที่จะรับมือกับทั้งสื่อ จอ และ Content หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ใช้สื่ออย่างรู้เท่าทัน

  

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.104 (Rerun) : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว “ไม่สำลักความรัก จนเป็นเหยื่อถูกล่อลวง”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.104 : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว ไม่สำลักความรักจนเป็นเหยื่อถูกล่อลวง

รักมากไปทำร้ายลูก? รักจนสำลักความรัก ประคบประหงมจนไม่ให้ลูกทำอะไร ทุกอย่างล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรัก แต่มากไปก็ทำลายลูก

 The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

เลี้ยงประคบประหงม เด็กป่วยได้ง่าย (Munchausen Syndrome by Proxy)

เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องเลี้ยงดูและดูแลสุขภาพแต่มีประเภทที่เยอะเกินไป มีเคสที่ลูกตกเตียงซึ่งอยู่กับพี่เลี้ยงตกตอนเที่ยงแต่พอตกเย็นก็พาลูกมาที่รพ. ให้หมอเช็กอย่างละเอียดเพราะว่ามีลูกคนเดียวและแม่ก็อ่านมาแล้วว่าเลือดที่ซึมออกมาจากในสมองมันจะไม่มีอาการ แต่อยากให้หมอรับรอง100% ว่าลูกไม่มีปัญหา หมอถามว่าเกิดอะไรขึ้น ความจริงคือเด็กตกเบาะเลี้ยงเด็กซึ่งกลิ้งแล้วหัวกระแทกพื้นไม่ปาร์เก้ลูกตกใจ ร้องไห้ เสร็จแล้วก็เล่นปกติ แต่ว่าแม่ไม่ไว้ใจ และอยากให้ทำMRI ซึ่งการทำกับเด็ก 9เดือนไม่ได้ง่าย แต่ด้วยความที่มีลูกคนเดียวและไม่พลาดไม่ได้เลยขอให้แม่ยืนยันซึ่งไแพงแค่ไหนก็ยอมจ่าย

การทำMRIเด็กต้องนิ่งมากซึ่งทางเดียวที่จะทำคือเพื่อให้เด็กหลับ แล้วฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดว่ามีปัญหาเกิดขึ้นตรงไหนใช้เวลาเป็นชั่วโมงก็อาจจะต้องดมยา พอแม่ได้ยินก็บอกหมอว่าเต็มที่ไม่อั้นแต่คนเจ็บตัวคือลูก ลักษณะแบบนี้คือ Munchausen Syndrome by Proxy เครียดมากและวิตกกังวลมาก อาจจะมาจากการเห็นคนในบ้านป่วยจากประสบการณ์เดิม จึงตรวจหาความเสี่ยงของลูกทุกอย่างเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพที่เยอะเกินไป

อีกเคสคือย่าเป็นมะเร็งไตแล้วเสียชีวิต แม่ต้องการทำRenal scan (การตรวจสแกนไต) ซึ่งทำไม่ได้ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้แม่ก็ไปเอาน้ำแดงมาผสมในปัสสาวะ แล้วให้หมอตรวจคือสำหรับหมอตรวจไม่ยากว่าเป็นน้ำแดงหรือเลือด แบบนี้คือทำให้เกิดเครียด วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ เครียดแล้วมาลงที่ลูก ผลที่เกิดกับลูกคือเกิดความหวาดระแวงไปกับแม่ ลูกซึมซับความหวาดระแวงจากแม่นี่คือในแง่ของสุขภาพ ลูกกังวล เครียดมาก

เลี้ยงแบบเร่งรัด เด็กต่อต้าน (Overstimulation)

ตอนนี้มีปัญหาเยอะเพราะด้วยระบบแพ้คัดออก เรียนทุกวัน ตื่นตั้งแต่ตีห้าเลิกเรียนก็กวดวิชาแล้วก็ติวกลับมาทำการบ้าน นอนตี1 ตื่นตี5วนไปแบบนี้ทั้งสัปดาห์ พอเสาร์อาทิตย์ก็กวดวิชาเช้าบ่าย หมอเคยเจอเคสรร.สาธิตชื่อดังพอลูกสอบเสร็จพ่อก็ให้ไปเรียนกวดวิชาที่ลงเรียนไว้ ลูกก็โมโหว่าทำไมไม่ถามว่าลูกอยากเรียนไหม เขาอาจจะอยากเล่นไวโอลิน อยากไปเที่ยว พ่อบอกว่าก็อยากจะเป็นหมอ ตอนที่มาหาหมอคือแม่ร้องไห้ พ่อความดันขึ้นเพราะว่าหวังดีแต่ทำไมเป็นแบบนี้

หมอก็ถามว่านี้เป็นเป้าของใครพ่อบอกว่าเป็นของลูก แล้วพอเราลงกวดวิชาเต็มที่แล้วแต่ลูกไม่ได้เป็นหมอจะเสียใจไหมพ่อบอกว่าไม่เสียใจเพราะว่าไม่ใช่เป้าของพ่อ เป็นเป้าของลูกและพ่อก็บอกว่าการที่พ่อจะทำให้ลูกคนหนึ่งมันผิดด้วยหรือ ซึ่งพอคุยไปพ่อก็บอกว่าผมไม่ได้อยากให้ลูกเป็นหมอเขาจะทำอาชีพอะไรก็ได้ที่รักและชอบและขอให้เป็นคนดี หมอก็บอกว่าพูดดีมากให้กลับไปบอกลูก ซึ่งหลังจากนั้นความดันในบ้านก็ลดลงมากเพราะที่ผ่านมาทะเลาะกันตลอด

ตอนนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่วางเป้าให้ลูกเรียบร้อยเลยแล้วลูกก็มีหน้าที่เดินตามเป้าและบอกตัวเองว่าการที่พ่อแม่ทำให้ลูกมันผิดด้วยเหรอ ไม่ผิดแต่เป็นเป้าของพ่อแม่หรือของลูก แล้วการที่ส่งสัญญาณว่าไม่ได้อยากให้เป็นแบบนั้นแบบนี้ ได้บอกตรงๆหรือยัง ซึ่งถ้าทำแบบนี้ได้ก็จะไม่เจอกับการเรียนแบบOverstimulationเร่งรัดบังคับจันทร์ถึงจันทร์ แต่จะได้ใจถึงใจ

เลี้ยงแบบสำลักความรัก (Over Indulgence/Spoiled Child)

มีบ้านไหนที่ลูกทำงานบ้านบ้าง นี่เป็นการร่วมทุกข์ร่วมสุขในบ้านเรามีเด็กเยอะที่ไม่ปัดกวาด ถูบ้านล้างจาน พ่อแม่สปอยทุกอย่างจนทัศนคติของลูกเปลี่ยนว่า งานบ้านไม่ใช่หน้าที่เขาไม่จำเป็นต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขในบ้าน ความรักไม่เกิดบนการร่วมทุกข์ร่วมสุข มีแต่สุขอย่างเดียว เด็กจะกลายเป็นคนที่ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นเพื่อนมนุษย์

เวลาจะรักใครก็รักแบบฉาบฉวย พ่อแม่ไม่รู้ตัวว่ากำลังพัฒนาลูกไปเป็นแบบนั้นไม่สามารถรักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุข ปรนเปรอให้ทุกอย่าง นี่คือการสปอยล์ รักเยอะ ผิดหวังไม่ได้ เจอกับความผิดหวังก็เบรคเลย ไปไกล่เกลี่ยก็ลงเอยด้วยการใช้ความรุนแรง พ่อแม่ต้องรักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุขไม่ใช่มีแต่ความสุข ปรนเปรอแต่ความสุขเจอความยากลำบากไม่ได้ ต้องเจอความยากลำบากร่วมกันง่ายๆ คือ ปัดกวาด ถูกบ้าน ซักผ้า ล้างจาน

เลี้ยงขาดพื้นที่ส่วนตัว เด็กเกิดความเครียด (Parenting Enmeshment)

หมอเคยเจอบ้านที่ไม่ดูทีวีจนอายุ 18ปีจะใช้เครื่องมือสื่อสารไม่ได้ เมื่อเข้าบ้านห้ามใช้ใช้ได้อย่างอิสระเมื่ออายุ 18ปีขึ้นไป ลูกมีห้องส่วนตัวแต่ปิดไม่ได้เพราะว่าพ่อสามารถ เข้าไปดูได้ทุกเมื่อสามารถไปดูแชทส่วนตัวได้ มีเคสที่แม่ลูกชายอายุ 14ปี ยังอาบน้ำกับแม่ขาดพื้นที่ส่วนตัวมาก ถ้าบ้านไหนทำอยู่ให้กลับมาตั้งหลักใหม่

ลูกไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ที่อยากทำอะไรก็ได้เป็นความเข้าใจผิดการให้เกียรติและเคารพศักดิ์ศรีของลูกจึงมีนัยยะแม้ลูกโตมาถึงชั้นประถมไม่ต้องรอถึงมัธยม การที่พ่อไม่จับที่สงวนของลูกเลย เคารพในพื้นที่ส่วนตัว ลูกจะเกิดการเรียนรู้เลยว่าขนาดคนเป็นพ่อยังเคารพพื้นที่ส่วนตัว แล้วคนอื่นที่เป็นคนนอกจะมารุกล้ำได้อย่างไร ถ้าไม่สอนด้วยวิธีนี้จะสอนด้วยการท่องจำหรือ

การที่พ่อแม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่างซึ่งจะเป็นสิ่งที่ติดตัวลูกเมื่อโตขึ้น อยากให้ลูกเป็นแบบนั้นไหน อยากให้ลูกเป็นคนเคารพพื้นที่ส่วนตัวก็ต้องทำแบบนั้นกับลูกเช่นเดียวกัน ศรัทธาและสัจจะของลูกมีความหมาย วันนี้เราไม่มั่นใจลูกเลยก็ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ซึ่งศรัทธาเกิดขึ้นจากพลังบวก เช่นเดียวกันเด็กที่โตมาในครอบครัวที่เข้มงวด ก็จะขาดความมั่นใจไม่เหลือเลย ขาดภาวะผู้นำไม่มีsense of propority การเคารพพื้นที่ส่วนตัวไม่มีถูกล่อลวงโดยไม่รู้ตัวและเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.105 (Rerun) : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

รักลูก The Expert Talk Ep.105 (Rerun) : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

เด็กจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ก็อยู่ที่ช่วงเวลานี้ จุดเปลี่ยนสำคัญที่พ่อแม่ต้องเข้าใจพัฒนาการ รู้วิธีรับมือและพลิกเป็นโอกาสที่จะส่งเสริมพัฒนาทักษะลูก เพื่อให้เป็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ดีของลูก

ฟังมุมมองการรับมือวัยทองแต่ละช่วงวัยจาก The Exeprt ครูก้า กรองทอง บุญประคอง

ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย และผู้ก่อตั้งโรงเรียนจิตต์เมตต์

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.106 (Rerun) : พ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

 

รักลูก The Expert Talk Ep.106 (Rerun) : เป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดทุกด้าน รับมือ แก้ไข ด้วยการเป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง

เมื่อลูกเครียดพ่อแม่ต้องรู้ เพื่อรับมือและคลี่คลายความเครียดเป็นพิษ Toxic Stress ก่อนเกิดสถานการณ์ความเครียดที่ไม่คาดคิด

 

ฟังวิธีการจาก The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.107 : คุยกับ อจ.ธาม ชวนเปลี่ยน Indoor Gen เป็น Outdoor Gen

 

รักลูก The Expert Talk Ep.107 : เปลี่ยน Indoor Gen เป็น Outdoor Gen

ป่วยง่าย ติดจอ ขี้หงุดหงิดและกระทบการเรียนรู้ ผลกระทบจาก Indoor Generation รุ่นในร่ม ทางรอดของเด็กยุคดิจิตอลด้วยการพาลูกออกไป Outdoor

 

ฟังวิธีจาก The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

นักวิชาการด้านสื่อ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.110 (Rerun) : รักลูกเชิงบวก “สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง"

รักลูก The Expert Talk Ep.110 :  รักลูกเชิงบวก "สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง" 

เลี้ยงลูกให้ได้ดี ลูกต้องมี “SELF” เพราะตัวตนที่แข็งแกร่ง จะทำให้ลูกเติบโตและอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย มั่นคงและอยู่รอด

 

ชวนสร้าง SELF กับครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.111 : ฟินแลนด์โมเดล เราทำได้

 

รักลูก The Expert Talk Ep.111 :  ฟินแลนด์โมเดล เราทำได้

บ้านฟินแลนด์ไม่มีของเล่นเยอะแยะ เพราะกิจกรรมรอบตัวเด็ก สามารถเรียนรู้ได้ ส่วนปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดฟินแลนด์โมเดลได้คือ “พ่อแม่ ผู้ปกครอง” อยากเข้าใกล้การเรียนรู้แบบฟินแลนด์โมเดล ทำได้อย่างไร ฟังครูจุ๊ย กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิคณะก้าวหน้า

  

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

รักลูก The Expert Talk EP.112 : “5 ทักษะสำคัญลูกรอดทุกการเปลี่ยนแปลง”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.112 :  5 ทักษะสำคัญ ลูกรอดทุกการเปลี่ยนแปลง

ทักษะที่จะทำให้เด็กอยู่รอดและอยู่ดีในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง “5 ทักษะและ 1 คุณลักษณะ” ที่สำคัญ ครูจุ๊ยคอนเฟิร์มว่ามีแล้วรอด และพ่อแม่สามารถช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดขึ้นได้ไม่ยาก ฟังครูจุ๊ย กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิคณะก้าวหน้า

  

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.114 (Rerun) : ติดจอ ต้นตอทำลูกซึมเศร้า

 

รักลูก The Expert Talk Ep.114 (Rerun) :  ติดจอ ต้นตอทำลูกซึมเศร้า

ผลวิจัยพบว่าเด็กอายุตั้งแต่ 6 -18 เดือน ถ้าอยู่กับหน้าจอทีวี จะทำให้มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวเพิ่มขึ้น มีปัญหาทางด้านปฏิกิริยาทางด้านอารมณ์เพิ่มขึ้น

หมายความว่าเวลาหงุดหงิด ไม่พอใจ ก็จะวีนเหวี่ยง ใช้อารมณ์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นต้นเหตุของโรคซึมเศร้า

 

พ่อแม่รับมือและรู้เท่าทันก่อนเป็นซึมเศร้า

ฟัง The Expert ศ.นพ.วีรศักดิ์ ชลไชยะ

หัวหน้าสาขาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

  

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.115 : แพ้น้ำประปา ขัดพัฒนาการ พ่อแม่อย่ามองข้าม

 

รักลูก The Expert Talk Ep.115 : แพ้น้ำประปา ขัดพัฒนาการ พ่อแม่อย่ามองข้าม

แพ้น้ำประปาไม่ใช่เรื่องเล็กพ่อแม่ห้ามมองข้าม กระทบพัฒนาการและการเรียนรู้ลูกน้อย!!

เพราะเวลาที่เกิดอาการแพ้เด็กสามารถมี ผื่นขึ้น ผิวแห้งลอก ผื่นคัน ส่งผลให้ไม่สบายตัว หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่ดี แทนที่จะได้เล่นอย่างมีความสุข ได้พัฒนาทั้งทางร่างกาย และอารมณ์กลับถูกสกัดกั้นพัฒนาการจากเรื่องใกล้ตัวอย่างการแพ้น้ำ

มารู้ถึงสาเหตุการแพ้น้ำประปาจาก “คลอรีน” อีกสาเหตุการแพ้ใกล้ตัวที่คนมักมองข้าม รวมถึงวิธีการรับมือ และการป้องกัน ที่พ่อแม่ทำได้เองไม่ยาก และมารู้จักกับนวัตกรรมกรองคลอรีนส่งตรงจากญี่ปุ่น ฝักบัวที่ช่วยกรองคลอรีน ให้อุ่นใจทุกครั้งเมื่ออาบน้ำให้ลูกน้อย เพราะการแก้ปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุ และการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานั่นเอง

 

ฟัง The Expert รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์

รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม

 

มาพูดคุยให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการแพ้ และวิธีการป้องกันกันค่ะ คุณพ่อคุณแม่คนไหนสนใจ

ชี้เป้าฝักบัวกรองคลอรีน KUDOS Purebliss ตามด้านล่างเลยค่า👇

🛒 Lazada: https://s.lazada.co.th/s.l2Ijj

🛒 Shopee: https://shp.ee/yztsyep

🛒 Website: https://kudos.co.th/shop/kudos-purebliss-shower/

 

หรือถ้าสนใจฝักบัวนวัตกรรมเจ๋ง ๆ KUDOS เค้าก็มีให้เลือกอีกหลายรุ่น ตามไปดูได้เลย https://www.facebook.com/KUDOSTHAILAND

  

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u