facebook  youtube  line

กดดันลูกเกินไป ระวังลูกป่วย

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF
พักหลังเราจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับเด็กเครียด ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และฆ่าตัวตายกันมากขึ้น ปฏิิเสธไม่ได้ว่าแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมมีส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ครู เพื่อน หรือแม้แต่พ่อแม่ซึ่งเป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดลูกมากที่สุด

ยิ่งถ้าทุกคนคาดหวังความสำเร็จกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการเรียน กีฬา ดนตรี หรือแม้แต่กิจกรมที่ลูกชื่นชอบ ก็ยังคาดหวังว่าลูกจะทำสิ่งนั้นให้ได้ดี ประสบความสำเร็จ ชนะเลิศ หรือมีชื่อเสียงโด่งดังโดยมองข้ามความสุขหรือมองว่าเป็นกิจกรรมเสริมทักษะ พ่อแม่เองอาจกำลังสร้างความเครียดและความกดดันให้ลูกอยู่ก็ได้  

พ.ญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รอง ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เคยกล่าวถึงสถานการณ์ผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตรเวชในเด็กและวัยรุ่นว่า "การคาดหวังในตัวเด็กไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่บางครั้งผู้ปกครองเองก็ลืมไปว่าเป้าหมายในชีวิตนั้นลูกๆ ต้องเป็นผู้กำหนดไม่ใช่เรากำหนด การที่เราไปกำหนดเป้าหมายให้บ่อยครั้งเราก็กำหนดผิดทิศและกำหนดยากเกินไปสำหรับเด็ก ผู้ปกครองเพียงแต่แนะนำเป็นแนวทางเท่านั้นและสถิติเด็กที่ป่วยจิตเวชมีอยู่ในทุกช่วงอายุและแต่ละคนนั้นจะมีปัญหาที่แตกต่างกันไปตามช่วงวัยแต่ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเคสเด็กสมาธิสั้น

ดังนั้นผู้ปกครองทุกท่านควรทำความเข้าใจในการเลี้ยงดูบุตรหลาน ทำความเข้าใจในสิ่งที่เด็กเป็นและคอยประคับประคองให้อยู่ในกรอบที่ถูกต้อง ไม่ใช่การบังคับขู่เข็ญ หรือเปรียบเทียบให้เด็กเกิดความน้อยใจ และหากบุตรหลานของท่านมีความผิดปกติเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางจิตเวชควรพาไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพราะคนที่มีอาการดังกล่าวไม่ใช่คนบ้าเพียงแต่เป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาเพียงเท่านั้น" 

เอมี โมริน นักจิตวิทยาและนักเขียนหนังสือจิตวิทยาชื่อดังพูดถึงผลกระทบที่เด็กๆ ต้องเผชิญเมื่อถูกพ่อแม่กดดันอย่างหนัก

ผลกระทบที่เด็กๆ ต้องเผชิญเมื่อถูกพ่อแม่กดดันอย่างหนัก
 

1. อัตราการป่วยทางจิตจะสูงขึ้นเด็กที่ถูกกดดันอย่างหนักอาจรู้สึกวิตกกังวลอย่างต่อเนื่อง ความเครียดที่มีอยู่ในระดับสูงทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ได้

2. มีความเสี่ยงจะฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น มีการศึกษาพบความเชื่อมโยงระหว่างความคิดฆ่าตัวตายและแรงกดดันจากพ่อแม่ผู้ปกครอง โดย 1 ใน 5 ของเด็กนักเรียนมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายเมื่อได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากพ่อแม่

3. เด็กไม่เห็นคุณค่าในตนเองการผลักดันเด็กๆ ให้เก่งจะทำลายความนับถือตนเอง เด็กที่เครียดตลอดเวลาจะขาดความเป็นตัวของตัวเอง เพราะเขาจะรู้สึกว่าตนเองนั้นยังไม่ดีหรือไม่มีคุณค่ามากพอ

4. อดนอน เด็กที่ถูกกดดันเรื่องการเรียนอย่างต่อเนื่อง อาจะตื่นสาย เรียนช้า และและมีความพยายามที่จะงีบหลับตลอดเวลา   

5. มีความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บโดยเฉพาะเด็กที่เป็นนักกีฬาที่รู้สึกกดดันมากๆ แม้จะได้รับบาดเจ็บจากการข่งขันก็จะเมินเฉย ไม่สนใจความเจ็บปวด เพราะตนเองุ่งหวังแต่ชัยชนะ สุดท้ายแล้วอาจทำให้บาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น 

6. เพิ่มโอกาสในการโกง เมื่อมุ่งเน้นความสำเร็จมากกว่าการเรียนรู้ เด็กๆ มักจะโกง ไม่ว่าจะเป็นการลอกข้อสอบเพื่อนข้างในชั้นประถมหรือจ่ายเงินจ้างให้คนอื่นทำรายงานในระดับชั้นที่โตขึ้นไป

7. ปฏิเสธการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น เด็กที่ถูกกดดันมักจะมองแต่เป้าหมายของตนเอง เมื่อเข้าร่วมทีมกับเด็กคนอื่นเขาอาจรู้สึกตนเองถูกลดบทบาท หรือไม่ฉายแสงก็จะออกจากกลุุ่มไป ซึ่งน่าเสียดายว่าพวกเขาจะไม่ได้ใช้ทักษะสัมคม ไม่ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เห็นอกเห็นใจกัน เป็นต้น 



 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข
ที่มา : verywellfamily.com , ข่าวสด
 

กอดลูกยังไง ให้ลูกสตรอง

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

กอดลูกยังไง ให้ลูกสตรอง

ความผูกพัน (attachment) เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ด้วยการกอดค่ะ และความผูกพันนี้เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาทักษะ EF
กอดแบบไหนสร้าง EF

อุ้มกอดอย่างอ่อนโยนหมั่นอุ้มกอดสัมผัสโลกอย่างอ่อนโยน ให้การกอดเป็นการแสดงความรักที่เป็นธรรมชาติ หรือชื่นชมลูกด้วยการโอบกอด

พูดคุยสบตา ทุกครั้งที่พูดกับลูก สบตาเขาทุกครั้ง โดยทำเสียงหรือหน้าตาให้ลูกสนใจเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี

ตอบสนองลูกเสมอตอบสนองอารมณ์และความต้องการของลูกอย่างเหมาะสม เพื่อให้เขารู้สึกมั่นคงทางใจ ปลอดภัยทางกาย

สะท้อนอารมณ์แสดงความเข้าใจด้วยการสะท้อนอารมณ์ลูก เช่น “แม่เข้าใจว่าหนูกำลังหิว หนูกำลังโกรธ” เป็นต้น

ให้ลูกรู้จักการกอดสอนลูกรู้ว่าการกอดสื่อถึงความรู้สึกได้ เช่น กอดเพื่อปลอบ กอดเพราะรัก กอดเพื่อให้รู้ว่าทำผิด

พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีโดยเฉพาะการควบคุมอารมณ์ หรือให้ลูกเห็นแบบอย่างของพ่อแม่ในการขอโทษเมื่อทำผิด เป็นต้น

สอนด้วยวินัยเชิงบวกเช่น “แม่เข้าใจว่าหนูกำลังโกรธ หนูไปนั่งสงบๆ ก่อน หายโกรธแล้วมาคุยกันนะ” ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงคำว่า “ห้าม ไม่ อย่า หยุด”

 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

การเลี้ยงลูกแบบ พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ บั่นทอนพัฒนาการของเด็ก

 
พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์-การเลี้ยงดูเด็ก-ลูกไม่มั่นใจในตนเอง-ลูกขี้กลัว-ลูกขาดทักษะ-เลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน-พ่อแม่รังแกฉัน-เด็กมีปัญหา 

การเลี้ยงลูกแบบเฮลิคอปเตอร์ เป็นการเลี้ยงลูกแบบหนึ่ง ที่อาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการของเด็ก 

การเลี้ยงลูกแบบ 'พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์' บั่นทอนพัฒนาการของเด็ก

พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์หมายถึง ผู้ปกครองคอยวนเวียนดูแลบุตรหลานโดยไม่ยอมปล่อยมือ

พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ เริ่มใช้กันในสหรัฐฯ นานราว 40 ปีที่แล้ว ปัจจุบันในครอบครัวคนไทยเจอการเลี้ยงดูเด็กแบบนี้ค่อนข้างเยอะมาก เช่น เด็กล้มก็ตีพื้นตีโต๊ะให้ ยังป้อนข้าวเด็กจนโตเพราะกลัวเปื้อน ไม่ให้หยิบจับอะไรคอยทำให้ทุกอย่าง คิดแทนลูกเพราะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพ่อกับแม่ จนเด็กกลายเป็นคนไม่รู้จักโตในที่สุด

5 ผลเสียในระยะยาว เลี้ยงลูกแบบพ่อแม่เฮลิคอปเตอร์

1. ทำให้เด็กขาดทักษะการเรียนรู้ใหม่ ๆ เด็กจะเป็นคนไม่ค่อยรับสิ่งใหม่ ๆ หากพ่อกับแม่ไม่อนุญาต ดังนั้นเลยมีทักษะการช่วยเหลือตนเองในระดับต่ำ

2. ไม่สามารถดูแลตนเองได้ตามวัยที่ควรจะเป็น เด็กปรับตัวไม่ได้ เมื่อไปเจอสังคมใหม่ เริ่มมีเพื่อน เขาจะปรับตัวไม่ได้จนแสดงพฤติกรรมที่มีปัญหาออกมา เช่น อ่อนแอ ชอบพึ่งพาคนอื่น ไม่กล้าพูด ไม่กล้าคิด ขาดการตัดสินใจด้วยตนเอง

3. เด็กไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ และไม่สามารถบอกได้ว่าตนเองรู้อะไร หรือต้องการรู้อะไร เพราะมีพ่อแม่คอยคิดให้เสมอ

4. แก้ไขปัญหาในชีวิตไม่ได้ สถานการณ์บางเรื่องเด็กมักจะตัดสินใจเองได้ แต่การเลี้ยงดูแบบพ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ ทำให้เด็กเป็นคนขี้กลัวจนเกินไปต้องพึ่งพ่อกับแม่ให้คอยช่วยเหลือแม้เรื่องเล็กน้อย

5. ไม่มีอิสระในการคิด แม้บางครั้งเขาจะอยากทำอะไรด้วยตัวเอง แต่พ่อกับแม่หรือคนเลี้ยงดูไม่ให้ทำเอง เพราะทำช้าบ้าง กลัวทำไม่สะอาดบ้าง กลัวบาดเจ็บบ้าง จนเขาไม่มีอิสระในการคิด ต้องรับฟังและคอยทำตามอย่างเดียว

 

คนเป็นพ่อแม่ จะสนับสนุนลูกอย่างไร ให้ไปถูกทาง

 EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

วัยเด็กเป็นวัยที่เต็มไปด้วยความฝัน จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ขณะที่คนเป็นพ่อแม่ไม่ว่าลูกจะทำอะไรก็พร้อมสนับสนุน แต่พ่อแม่อีกหลายคนก็ลังเลว่าลูกจะจริงจังหรือไม่ สนับสนุนไปแล้วจะเสียเวลาหรือเปล่า และลูกเราจะไปได้สุดทางหรือไม่ 


เด็กเล็กๆ วัย 2-3 ปี มักเริ่มอยากรู้อยากลอง เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น พอเข้าสู่ช่วง 3-6 ปี จะเริ่มมีจินตนาการความคิดสร้างสรรค์และพร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้มากกว่าเดิม ซึ่งทุกการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจะมีการพัฒนาโครงข่ายเส้นไยประสาทสมองที่แตกแขนงมากขึ้นตลอดเวลา

เด็กวัย 3 ปีขึ้นไป จะคิดริเริ่มอยากทำสิ่งต่างๆ หรืออาจใฝ่ฝันอยากเป็นดารา นักแสดง นักดนตรี นักกีฬา ตามไอดอลที่เขาชื่นชอบ โดยเขาอยากเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่ชอบได้มากมาย แม้จินตนาการและความใฝ่ฝันของเด็กวัยนี้จะยังไม่ใช่ทิศทางที่กำหนดชีวิตชัดเจนเหมือนวัยรุ่นตอนปลายที่จะรู้ว่าตัวเองต้องการทำอาชีพอะไรก็ตาม  

หากพ่อแม่รู้จักสังเกตว่าลูกชอบอะไร เปิดโอกาสในการรับฟังและส่งเสริมในสิ่งที่เขาชอบก็อาจทำให้เขาค้นพบว่า เขามีความสามารถพิเศษอะไรที่ซ่อนอยู่ในตัวเองได้

กลับกันถ้าพ่อแม่คอยห้ามปรามในสิ่งที่ลูกคิดริเริ่ม เขาจะกลายเป็นเด็กที่ไม่มั่นใจในการคิดริเริ่ม และหากบางครอบครัวนำความใฝ่ฝันและความคาดหวังของพ่อแม่มาใส่และบีบให้ลูกทำสิ่งต่างๆ มากไป เขาจะรู้สึกไม่สนุก เครียด กดดัน ทำสิ่งนั้นได้ไม่ดี และอาจเกิดปัญหาทางอารมณ์และมีพฤติกรรมต่อต้านได้
           
แล้วเราจะรู้หรือมีวิธีค้นหาสิ่งที่ลูกชอบ เพื่อจะส่งเสริมได้อย่างไร

1. เริ่มจากการสังเกตเด็กทุกคนมีความสนใจความถนัดไม่เหมือนกัน ซึ่งเขาจะแสดงออกให้พ่อแม่เห็น ถ้ารู้จักสังเกตว่าลูกชอบอะไรก็จะนำไปสู่การส่งเสริมที่ตรงจุดได้

2. เปิดโอกาสรับฟังความเห็นและความรู้สึกของลูกบ้างเช่น ไปเรียนเปียโนวันนี้สนุกไหม หนูรู้สึกยังไง ถ้าหนูชอบเราไปกันใหม่ไหม ถ้าไม่ชอบอยากลองเปลี่ยนไปเล่นอย่างอื่นไหม

3. ให้ลูกได้มีส่วนตัดสินใจทำในสิ่งที่ชอบวิธีนี้จะทำให้เด็กรู้สึกดีที่คุณรับฟังและเปิดโอกาสให้เขาได้ร่วมตัดสินใจ จะทำให้เขากล้าริเริ่มทำในสิ่งที่ชอบและสนุกกับสิ่งที่เขาได้เลือกทำ

4. พยายามหาข้อมูลเพื่อเลือกกิจกรรมที่หลากหลายให้ลูกได้ลองจนรู้ว่าชอบอะไรไม่ชอบอะไรจะได้รู้ความชอบความถนัดของลูก

5. ส่งเสริมและชื่นชมเช่น รู้ว่าลูกอยากเล่นเปียโน ก็ส่งเสริมให้เขาได้เรียนและเมื่อเขาทำได้ดีก็ชื่นชมให้กำลังใจ ซึงจะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เขาสนุกที่จะทำต่อ

6. ควรส่งเสริมความสามารถให้หลากหลายไม่ควรจำกัดอยู่แค่การเรียนทางวิชาการ ควรส่งเสริมทักษะในหลายๆ ด้าน เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ ทักษะทางสังคม และทักษะการช่วยเหลือตัวเองได้ตามวัย เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกพึ่งตัวเองได้ตามวัย เวลามีความเครียดจากการเรียนเขาก็สามารถผ่อนคลายมาเล่นดนตรีกีฬา ในสิ่งที่ชอบได้

พบว่าเด็กที่มีทักษะความสามารถพิเศษอื่นๆ นอกเหนือจากการเรียน เด็กจะรู้สึกว่าตัวเองมีดี มีความเชื่อมั่น สามารถปรับตัวและแก้ปัญหาได้ดีกว่าเด็กที่ถูกกวดขันเรื่องการเรียนทางวิชาการอย่างเดียว

7. อย่าคาดหวังและกดดัน เด็กบางคนอาจมีความชอบและทำได้ดีในบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นดนตรี กีฬา ศิลปะฯ แต่ความชอบในวัยนี้ยังไม่ใช่ตัวกำหนดอนาคตว่าเด็กจะทำอาชีพในด้านนั้นๆ เพราะกว่าที่เด็กจะรู้ว่าตัวเองอยากทำอาชีพอะไร ต้องเป็นช่วงที่เข้าสู่วัยรุ่นตอนปลายถึงผู้ใหญ่ตอนต้น 

เด็กที่มีทักษะและมีจุดเด่นในหลายด้าน จะมีความมั่นใจ ภูมิใจในตัวเอง โดยในหลายๆ รายจะพบว่าทักษะเหล่านี้อาจพัฒนาไปเป็นอาชีพที่เขาชอบ ซึ่งจะทำให้เด็กเอาตัวรอดในอนาคตได้


 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

คำพูด 6 ประเภท ที่พ่อแม่ห้ามพูดกับลูก เพราะลูกได้ยินจะเจ็บและจำไปจนโต

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

หลายครั้งพ่อแม่อาจจะเหนื่อยมากเกินไป หรืออารมณ์ไม่ดี จึงมักจะพูดไม่ดีต่อลูก แต่รู้ไหมคะ คำพูดของพ่อแม่ทำร้ายจิตใจลูกไปจนโตได้เลย หากไม่ระวัง และนี่คือคำพูดทั้ง 6 ประเภท ที่คนเป็นลูกไม่อยากให้พ่อแม่พูดค่ะ

คำพูด 6 ประเภท ที่ลูกไม่อยากได้ยินจากพ่อแม่
  1. คำพูดใส่อารมณ์ แสดงความไม่พอใจ

การพูดออกไปด้วยอารมณ์ เช่น “ทำไมเป็นเด็กไม่ดีเลย ไม่เคยเชื่อฟังพ่อแม่” “ดื้อแบบนี้ ต่อไปจะไม่สนใจแล้วว” เป็นต้น การใช้คำพูดเช่นนี้จะมีผลกระทบทำให้ลูกพัฒนาการถดถอย ตามมาด้วยรู้สึกโกรธและต่อต้านพ่อแม่ได้ ยิ่งพูดด้วยอารมณ์บ่อย ๆ พัฒนาการจะยิ่งแย่ลง

  1. คำพูดย้ำ ๆ พูดบ่อย ๆ

เช่น "ลูกทำได้หรอ แน่ใจนะว่าทำได้" "ครั้งที่แล้ว ก็จำไม่ได้ จำได้หรอ" เป็นต้น แม้พ่อแม่จะมีความวิตกกังวล ห่วงใยลูก แต่การย้ำถาม ย้ำทำ โดยไม่รู้ว่าลูกต้องการหรือไม่ต้องการ ย้ำอยู่บ่อย ๆ จะทำให้ลูกรำคาญ และมีความรู้สึกวิตกกังวล ไม่มั่นใจตามไปด้วย ดังนั้นพ่อแม่อย่าถามอะไรบ่อย ๆ มากไปค่ะ

  1. คำพูดประชดประชัน

เช่น "เรื่องแค่นี้เอง ทำไม่ได้ ก็ไม่ต้องทำอะไรอีกเลยนะ" "ทำไมบอกแล้วไม่จำ สมองมีไว้ทำไม" คำพูดพวกนี้แม้ใจจริงจะไม่อยากพูด แต่พูดไปเพราะอารมณ์ เลยหลุดปากออกไป แน่นอนว่าทำให้ลูกเสียใจมาก และยังเกิดภาพในใจที่ไม่ดี คิดว่าตัวเองไม่มีค่าสำหรับพ่อแม่ ควรเลิกพูดกับลูกเด็ดขาดเลยค่ะ

  1. คำพูดลอย ๆ

อารมณ์เหนื่อยทำให้พ่อแม่มักพูดอะไรลอย ๆ ออกมา เช่น “เบื่อจริง ๆ เลย”  “เจอแบบนี้ เหนื่อยใจจริง ๆ ” เป็นต้น คำพูดเหล่านี้ทำให้บรรยากาศของบ้านเสียมากค่ะ ลูกจะทำตัวไม่ถูก คิดว่าแม่ดุตัวเอง ทั้ง ๆ ที่อาจจะไม่ใช่ มีอะไรควรบอกลูกไปตรง ๆ เพื่อให้ลูกรับรู้ การพูดคุยกัน ชวนลูกคุย น่าจะดีกว่าการพูดลอย ๆ ออกมานะคะ



  1. คำพูดไม่จริงใจกับลูก

การเจอพ่อแม่พูดแบบนี้ ลูกเหนื่อยใจมากค่ะ ที่สัญญาอะไรก็ทำไม่ได้ พูดให้ความหวังและลืมเอง ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ทำให้ลูกเข้าใจว่าพ่อแม่พูดไม่จริง พูดโกหก และอาจเห็นว่าทำได้เป็นเรื่องปกติ ลูกก็อาจจะก็จะทำบ้าง เพราะมีพ่อแม่ทำเป็นตัวอย่าง

  1. การพูดล้อเลียน

พ่อแม่ที่ชอบกระเช้าเย้าแหย่ลูกมากจนเกินไปควรรู้นะคะ ว่าการแหย่ลูก ล้อเลียนลูก ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อย่างที่เข้าใจ เช่น การเรียกลูกว่าน้องดำ ล้อการสอบตก เรียกเจ้าอ้วน หัวเหม่ง หรือเล่าเรื่องน่าอายของลูกให้คนอื่นฟัง แล้วล้อเลียนลูก ล้วนกระทบพัฒนาการรอบด้าน ลูกจะขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง กลายเป็นคนโกรธง่าย หรือขี้โมโหได้

คำพูดทั้ง 6 ประเภทนี้ ไม่มีเด็ก ๆ คนไหนอยากฟัง พ่อแม่ควรจะหลีกเลี่ยงการพูดแบบนี้ด้วยนะคะ คำพูดที่เต็มไปด้วยอารมณ์จะทำร้ายจิตใจลูกเสมอ ควรใจเย็น ๆ มีสติก่อนจะพูดออกไป เพราะสิ่งที่พ่อแม่พูดจะติดหัวใจลูกไปจนโตค่ะ

ทราบแล้วเปลี่ยน! การเลี้ยงลูก 4 สไตล์ที่ส่งผลถึงวิธีคิดและกำหนดอนาคตของลูก

วิธีเลี้ยงลูก, เลี้ยงลูกแบบตามใจ, เลี้ยงลูก ปล่อยปละ ละเลย, เลี้ยงลูก ตามใจ, เลี้ยงลูกแบบอบอุ่น, เลี้ยงลูกแบบบังคับ, ครอบครัวเผด็จการ, เลี้ยงลูกผิดวิธี, สไตล์การเลี้ยงลูก ยุคใหม่, พ่อแม่เข้มงวด, พ่อแม่ไม่ใส่ใจ ละเลย, พ่อแม่ตามใจ, พ่อแม่ สปอยล์, Dysfunctional Family, ครอบครัวบกพร่องหน้าที่, ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน

ทราบแล้วเปลี่ยน! การเลี้ยงลูก 4 สไตล์ที่ส่งผลถึงวิธีคิดและกำหนดอนาคตของลูก

เด็กแต่ละคนเติบโตมามีความคิด พฤติกรรม และการใช้ชีวิตที่ต่างกัน เพราะแต่ละครอบครัวมีสไตล์การเลี้ยงลูกที่ต่างกัน ไดอานา บอมรินด์ (Diana Baumrind) นักจิตวิทยาคลินิกและพัฒนาการชาวอเมริกัน ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเด็กและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูมาอย่างยาวนาน ทำให้สามารถแบ่งรูปแบบการเลี้ยงลูกได้ 4 แบบ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและอนาคตของเด็กเมื่อโตขึ้นได้ดังนี้

  1. Uninvolved Patenting Style – การเลี้ยงลูกแบบปล่อยปละละเลย ทอดทิ้ง

เป็นการเลี้ยงลูกที่พ่อแม่ไม่ให้ความสนใจหรือไม่ตอบสนมองความต้องการของลูก ไม่มีความเอาใจใส่มากพอ การเลี้ยงดูแบบนี้จะเพิกเฉย ไม่มีกฏ ไม่มีข้อบังคับ ไม่มีการเรียกร้องหรือคาดหวังให้ลูกปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นการปฏิเสธลูกตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น เช่น ไม่แสดงออกทางความรัก กอด ให้กำลังใจลูก ไม่สนใจปัญหาของลูก ปล่อยให้ลูกอยู่ด้วยตัวเอง เป็นต้น

การเลี้ยงลูกแบบปล่อยปละละเลย ทอดทิ้ง อาจมีมาจากหลายสาเหตุ เช่น พ่อแม่หมกหมุ่นกับการทำงานมากเกินไป มีความเครียด มีปัญหาของตัวเองที่หาทางแก้ไม่ได้ หรือมีความกดดันในชีวิต จึงทำให้ละเลยการดูแลลูก

  1. Authoritarian Parenting Style – การเลี้ยงลูกแบบควบคุม เผด็จการ

เป็นการเลี้ยงลูกที่พ่อแม่เข้มงวด เคร่งครัด หรือมีความเผด็จการ พ่อแม่มีกฏเกณฑ์ ควบคุม และมีความคาดหวังสูง บางครั้งเป็นการกำหนดชีวิตให้เลยว่าจะต้องเดินไปทางไหน ทำอะไร อย่างไร และห้ามผิดเพี้ยนไปจากที่พ่อแม่กำหนดไว้ โดยไม่มีการอธิบายเหตุผลว่าเพราะอะไรถึงต้องให้ทำตาม ดังนั้น ลูกจะรู้สึกกลัวอยู่ตลอดเวลา กลัวทำผิดพลาด กลัวโดนทำโทษ

การเลี้ยงลูกแบบควบคุม เผด็จการ มักเกิดจากพ่อแม่ที่มีความคาดหวังสูง อยากรักษาความสมบูรณ์แบบของครอบครัวให้ได้เกินมาตรฐานของสังคม รักษาหน้าตาตัวเอง หรืออาจเกิดจากความหวังดีแต่ได้ผลร้ายแบบพ่อแม่รังแกฉัน เช่น ตอนเด็ก ๆ พ่อแม่อาจทำไม่ได้ เลยใส่ความคาดหวัง ความสมบูรณ์แบบทั้งหมดมาที่ลูก

 

  1. Permissive Parenting Style - การเลี้ยงลูกแบบตามใจ สปอยล์ลูก

เป็นการเลี้ยงลูกด้วยการปล่อยให้ลูกทำอะไรตามใจตัวเอง โดยพ่อแม่ไม่ห้าม ไม่มีกฏเกณฑ์ แถมบางครั้งยังสนับสนุน หรือเชียร์ให้ลูกทำตามใจตัวเอง แม้จะเป็นการทำผิดก็ไม่มีการลงโทษใด ๆ เด็กถึงแสดงออกทั้งความรู้สึก อารมณ์ได้อย่างเปิดเผย เช่น ร้องเมื่อไม่ได้ดังใจจนพ่อแม่ต้องตามใจ เป็นต้น พ่อแม่เองแม้จะรู้ว่าผิด มีการตักเตือนและสอน แต่ก็ไม่มีอำนาจทำให้ลูกเชื่อฟัง พ่อแม่ Stand by พร้อมตอบสนองลูกทันทีที่ลูกร้องขอ หรือ ทำให้เลยโดยไม่ต้องรอลูกร้องขอ

การเลี้ยงลูกแบบตามใจ สปอยล์ มักเกิดจากพ่อแม่รักลูกมาก กลัวลูกลำบาก อยากให้ลูกสบาย หรือมีความคิดว่าลูกต้องได้รับสิ่งที่ดีที่สุด จึงทำให้พ่อแม่ตอบสนองลูกแบบทันที ซึ่งการเลี้ยงลูกแบบตามใจอาจทำให้ “ลูกสำลักความรัก” เพราะได้มากไปจนย้อนกลับมาทำร้ายตัวเองได้ในอนาคต

For menn som ønsker et alternativ til de mer tradisjonelle potensmidlene, finnes det flere nyere løsninger som gir gode resultater uten behov for resept. Mange velger Kamagra uten resept, et produkt som har lignende egenskaper som Viagra, men ofte oppleves som et mer kostnadseffektivt alternativ. Kamagra inneholder den samme aktive ingrediensen som Viagra, men kommer i flere forskjellige former, inkludert gelé og brusetabletter. Dette gjør det enklere å tilpasse bruken etter personlige preferanser og behov. Mange brukere rapporterer at Kamagra gir en raskere effekt enn tradisjonelle tabletter, noe som gjør det til et populært valg blant menn som ønsker en umiddelbar løsning på ereksjonsproblemer. Nettbestilling gjør det enkelt å få tilgang til produktet uten unødvendige spørsmål eller lange ventetider. Det gir en fleksibel og diskret måte å håndtere potensutfordringer på, uten stress eller komplikasjoner.

 

  1. Authoritative Parenting Style – การเลี้ยงลูกแบบเอาใจใส่และอบอุ่น

เป็นการเลี้ยงลูกที่พ่อแม่สนับสนุนให้ลูกมีพัฒนาการตามวัยของเขา ให้อิสระในการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมีขอบเขตและกติการ่วมกัน มีการให้เหตุผล รับฟังกัน การเลี้ยงลูกแบบนี้มีความคาดหวังอยู่ในตัวแต่ไม่เคร่งครัดหรือบังคับมากจนเกินไป มีการให้ความรักและความอบอุ่น ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ได้รับการเติมเต็มทางจิตใจ กล้าเป็นตัวของตัวเอง

การเลี้ยงลูกแบบเอาใจใส่และอบอุ่น มักเกิดจากพ่อแม่ที่มีข้อตกลงในการเลี้ยงลูกร่วมกัน เลี้ยงไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีลูกเป็นศูนย์กลาง เข้าใจนิสัย พฤติกรรม และพัฒนาการของลูก ซึ่งแม้จะมีกฏเกณฑ์ ขอบเขต ลูกก็จะยอมรับและไม่กดกัน การเลี้ยงลูกแบบปล่อยปละละเลย ทอดทิ้ง แบบควบคุม เผด็จการ แบบตามใจ สปอยล์ลูก เป็นลักษณะของ “ครอบครัวบกพร่องหน้าที่ – Dysfunctional Family” นั่นคือพ่อแม่ไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างถูกต้องในการเลี้ยงลูกและดูแลครอบครัว ผลักภาระซึ่งกัน ไม่มีกติกา และไม่สามารถยืดหยุ่น สลับปรับเปลี่ยนหน้าที่กันเองได้ เช่น พ่อจะคิดว่าตัวเองมีหน้าที่หาเงิน เป็นผู้นำเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องรับฟังลูกเหมือนที่แม่ทำ เป็นต้น

ในขณะที่การเลี้ยงลูกแบบเอาใจใส่และอบอุ่น เป็น Functional Family ที่พ่อแม่รู้หน้าที่ในการเลี้ยงลูกที่ไม่ใช่เป็นของคนใดคนหนึ่ง ต้องช่วยกันได้ สลับหน้าที่กันได้ โดยมีความสุข ความปลอดภัยและพัฒนาการที่ดีของลูกเป็นสำคัญค่ะ

ในความเป็นจริง แต่ละครอบครัวไม่ได้มีรูปแบบการเลี้ยงลูกที่ตายตัวอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง 100% นะคะ แต่จะมีความผสมผสาน ปรับเปลี่ยนไปตามนิสัย พฤติกรรม สภาพแวดล้อม ความคิดในแต่ละช่วงเวลาค่ะ

 

Ikke alle potensmidler fungerer like godt for alle menn. Noen opplever bivirkninger med visse medisiner, mens andre ser etter et produkt som passer bedre til deres behov. Levitra er kjent for sin raske virkning og pålitelighet, noe som gjør det til et populært valg for mange menn som ikke har fått ønsket effekt fra andre potensmidler. I motsetning til Viagra og Cialis, har Levitra en noe kortere virketid, men den gir en sterk og stabil effekt, noe som gjør den til et godt valg for mange. Flere menn ser fordelen av å skaffe seg Levitra reseptfri, ettersom det gir dem umiddelbar tilgang til behandlingen uten behov for legetime. Å handle på nett sikrer både bedre priser, større tilgjengelighet og full anonymitet, noe som har gjort det til et foretrukket alternativ for dem som ønsker å håndtere problemet på en enkel og diskret måte.

อ่านต่อ การเลี้ยงลูก 4 รูปแบบ

  1. เลี้ยงลูกแบบปล่อยปละ ละเลย ทอดทิ้ง ทำลูกเรียนแย่ มีพฤติกรรมเสพติด

  2. เลี้ยงลูกแบบเผด็จการ เข้มงวด ทำลูกผวากลัวผิด หวาดระแวง มีแนวโน้มซึมเศร้า

  3. ลูกแบบตามใจ สปอยล์ลูก ทำลูกแก้ปัญหาเองไม่ได้ อนาคตอาจเอาตัวไม่รอด

  4. เลี้ยงลูกแบบเอาใจใส่ ปูทางคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น เอาตัวรอด และมีความสุข


ทัศนคติ 5 แบบของพ่อแม่ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้รอบด้านของลูกอย่างได้ผล

ลูกฉลาด, ลูกเก่ง, เด็กเก่ง, เด็กฉลาด, ทักษะพิเศษ, ความสามารถพิเศษ, ทักษะการเอาตัวรอด, อยู่ในสังคมได้, เก่งรอบด้าน, ฉลาดรอบด้าน, เรียนรู้ไว, การเลี้ยงลูก, พัฒนาการเด็ก, การส่งเสริมพัฒนาการ,

ทัศนคติ 5 แบบของพ่อแม่ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้รอบด้านของลูกอย่างได้ผล

คุณพ่อคุณแม่สงสัยไหมคะว่า ลูกเราจะมีพัฒนาการสมวัย เรียนรู้ได้ดีและฉลาดรอบด้านหรือไม่ มีทักษะพิเศษอันโดดเด่นหรือไม่นั้นเกิดจากอะไร สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มที่ตัวคุณพ่อคุณแม่ก่อนเป็นอันดับแรกค่ะ สงสัยไหมคะว่าทัศนคติและการกระทำแบบใดส่งเสริมการเรียนรู้ การกระทำแบบไหนขัดขวางการเรียนรู้ของเขา สิ่งเหล่านี้สำคัญมากที่สุด และยังส่งผลกับลูกไปถึงตอนโตเลยนะคะ วันนี้เรามีเรื่องราวที่คุณพ่อคุณแม่ต้องหันกลับมามองทบทวนตัวเองอย่างจริงจังมาฝากค่ะ

ทัศนคติของพ่อแม่ส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของลูก การส่งเสริมให้ลูกฉลาดรอบด้านไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ลูกเรียนเท่านั้นค่ะ แต่เริ่มต้นจากทัศนคติ ความเข้าใจและการมองเห็นโอกาสของคุณพ่อคุณแม่ หากเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด ลูกก็จะถูกจำกัดความคิดและการกระทำ หากเลี้ยงลูกให้เก่งแต่ในตำรา ลูกก็อาจไม่รู้จักการพลิกแพลงหรือแก้ไขปัญหาในชีวิตจริง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะพิจารณาและเลือกหลักการที่ดีที่สุดเพื่อเลี้ยงลูกให้ดีและเก่งที่สุด แต่รู้ไหมคะว่าวิธีการเลี้ยงลูกที่ดีที่สุดคือการปรับประยุกต์สิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้เข้ากับลักษณะนิสัยและความถนัดของลูกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเอาใจใส่ค้นหา และส่งเสริมให้ลูกได้เรียนรู้ด้วยตัวเค้าเอง และสนับสนุนอยู่ห่างๆ

John Schnur นักการศึกษาคนสำคัญของอเมริกาและยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง New Leaders for New Schools ได้กล่าวว่า การจะปลดล็อคและส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของลูกให้พัฒนาไปเป็นความสามารถพิเศษได้นั้นจะต้องได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง ถูกต้อง และยอดเยี่ยมจากคุณพ่อคุณแม่เป็นหลัก เช่น อ่านหนังสือไปกับลูก คุยกันให้มาก หรือแม้แต่การวางโทรศัพท์มือถือให้ไกลตัวที่สุด และหลักการเหล่านี้ถ้าลองมาปรับใช้กับลูกเราก็ไม่ใช่เรื่องยากค่ะ เพราะคุณสามารถเป็นพ่อแม่สุดยอดนักส่งเสริมความสามารถพิเศษของลูกได้

 

วันนี้เรามีวิธีคิด และการปรับทัศนคติของคุณพ่อคุณแม่ที่เหมาะกับคนไทย 5 แบบโดย พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เพื่อเราจะส่งเสริมลูกไปได้สุดทางค่ะ

1.เปิดประเด็นให้คิดและแสดงออกตลอดเวลา

ลองเปลี่ยนจากการออกคำสั่ง การไม่ให้ตัวเลือก หรือการจำกัดความคิดของลูก มาเป็นการถามเพื่อให้เขาได้แสดงความเห็นและความรู้สึก การให้ตัวเลือกเพื่อให้เขาได้เลือกสิ่งที่คิดว่าเหมาะกับตัวเอง หรือตั้งคำถามกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่พบเจอ เพื่อกระตุ้นให้เขาใช้ความคิดอยู่เสมอ ได้แสดงความเป็นตัวของตัวเอง และเป็นวิธีที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่เปิดใจยอมรับตัวตนของลูก ได้มีโอกาสสังเกตเห็นบุคลิก ความถนัด และทักษะบางอย่างของลูกได้ เพื่อหาวิธีส่งเสริมต่อไปได้อย่างเหมาะสม

 

2.เรียนรู้ไปพร้อมกับลูก

ถ้าพ่อแม่อยากให้ลูกเรียนรู้อย่างฉลาดรอบด้าน แต่ตัวเองยังนั่งเล่นแท็บเล็ต ก้มหน้าดูโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา หรือปล่อยให้ลูกนั่งดูทีวี เล่นเกม ลูกจะเกิดการเรียนรู้รอบด้านได้อย่างไร ในเมื่อลูกไม่ได้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าพอที่พ่อแม่จะมาสนใจ ดังนั้นพ่อแม่เองก็ต้องให้เวลา เรียนรู้ไปพร้อมกันกับลูก ไม่ปล่อยลูกให้ลงมือทำโดยขาดความสนใจและกำลังใจ เช่น อยากให้ลูกปั่นจักรยานที่ชอบ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรปั่นจักรยานหรือเดินไปพร้อมๆ กับลูก ลูกชอบประดิษฐ์ พ่อแม่ก็ควรเป็นฝ่ายช่วยหาอุปกรณ์ ให้กำลังใจ และติดตามผลอยู่ใกล้ๆ เพื่อเห็นถึงความพยายาม ความมุ่งมั่น และช่วยแนะนำในส่วนที่ลูกขอความเห็น

 

3.ไม่เปรียบเทียบลูกเรากับลูกคนอื่น

เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการ ทักษะในการเรียนรู้ และความสามารถที่แตกต่างกันค่ะ เช่น บางคนเก่งเรื่องการคิดคำนวณ บางคนเก่งเรื่องภาษา บางคนเก่งเรื่องการเคลื่อนไหว บางคนเก่งเรื่องความคิดสร้างสรรค์ หรือบางคนเก่งเรื่องการอยู่ร่วมกับผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตเพื่อให้เห็นถึงศักยภาพนั้นและส่งเสริมเขาให้เต็มที่ พร้อมกับพัฒนาทักษะด้านอื่นไปพร้อมกัน ดังนั้นทัศนคติของคุณพ่อคุณแม่เป็นสิ่งสำคัญ ลูกเราอาจจะไม่จำเป็นต้องเก่งเรื่องเดียวกับเด็กคนอื่น แต่เขาจะเก่งและพัฒนาความสามารถตัวเองได้แบบไร้ขีดจำกัดในทักษะที่ถนัดค่ะ

 

4.ไม่กลัวถ้าลูกจะผิดพลาดและผิดหวัง

คุณพ่อคุณแม่หลายคนกลัวลูกผิดหวัง เสียใจ เลยลงมือทำแทนและปกป้องลูกมากเกินไป ซึ่งทัศนคติที่มีความหวังดีแบบนี้มักทำให้ลูกขาดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ลองลดความกลัวและวิตกกังวลของตัวเองลงอีกหน่อย แล้วปล่อยให้ลูกได้ลงมือทำ วิธีนี้จะกระตุ้นให้ลูกคิดหาทางแก้ไขปัญหาเอง หากเกิดความผิดพลาดเขาก็จะยอมรับในความผิดจากการเลือกของตัวเอง จดจำไว้พัฒนาให้ดีขึ้น และรับมือกับอารมณ์ของตัวเองได้เมื่อต้องผิดหวัง ซึ่งจะกลายมาเป็นทักษะในสำคัญในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การแก้ไขปัญหา ความไม่ย่อท้อต่อเรื่องใดๆ ค่ะ

 

5.ไม่มองข้ามพลังของสารอาหารบำรุงร่างกายและสมอง

ลูกจะสนุกกับการเรียนรู้ พัฒนาการดี และต่อยอดทักษะต่างๆ ได้เยี่ยมจะต้องเริ่มที่อาหารการกิน ที่ส่งเสริมสุขภาพกาย และใจให้แข็งแรงค่ะ คุณพ่อคุณแม่ทุกคนจึงเน้นเลือกของกินที่ดีต่อสมอง รวมไปถึงการให้ลูกกินวิตามินต่างๆ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ลูกฉลาดมากขึ้น แต่จริงๆ แล้วการให้ลูกกินอาหารทุกมื้อครบทั้ง 5 หมู่ และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายก็ช่วยให้เขาได้รับสารอาหารจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการทำงานของสมองแล้วค่ะ สำหรับลูกในวัยที่สนุกกับการใช้พลังอย่างเหลือเฟือเพื่อการเรียนรู้ คุณพ่อคุณแม่ควรเน้นอาหารที่มีโปรตีนเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ รวมถึงอาหารที่มีแคลเซียมเพื่อให้กระดูกแข็งแรง

 

 

หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ลองประเมินตัวเองว่าทุกวันนี้เรามีทัศนคติที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของลูก มากน้อยแค่ไหน ถ้าเราปรับทัศนคติของตัวเองเพื่อส่งเสริมลูกตั้งแต่วันนี้ จะทำให้ลูกเรียนรู้ไปได้จนสุดทาง แล้วจะรู้ว่าเขาทำได้มากกว่าที่คุณคิดค่ะ



 

 



ทำ 5 ข้อนี้ทุกวัน แล้วคุณจะเป็นพ่อแม่ที่มีความอดทนมากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

พ่อแม่มือใหม่, ทักษะพ่อแม่, นิสัยพ่อแม่, พ่อแม่มีอยู่จริง, ความอดทน, พ่อแม่ใจร้อน, พ่อแม่ขี้โมโห, อยากเปลี่ยนตัวเอง, เปลีย่นจากคนใจร้อนเป็นใจเย็น

เวลาลูกพูดไม่ฟังมันปรี๊ดแบบอยากจะกรี๊ดให้ลั่นบ้าน แต่ก็นั่นละค่ะลูกเหมือนกระจกสะท้อนของพ่อแม่ พ่อแม่เป็นอย่างไร ลูกก็เป็นอย่างนั้น พ่อแม่ขี้โมโห ลูกก็ขี้โมโหค่ะ พ่อแม่ใช้ความรุนแรง ลูกก็จะรุนแรงตอบ พ่อแม่เจ้าอารมณ์ ลูกก็จะกลายเป็นเด็กที่ใช้อารมณ์จัดการปัญหา

เพราะฉะนั้นก่อนที่แม่จะปรี๊ดแตกใส่ลูก ลองมาหาวิธีจัดการกับอารมณ์ตนเองก่อนค่ะ

ทำ 5 ข้อนี้ทุกวัน แล้วคุณจะเป็นพ่อแม่ที่มีความอดทนมากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

❤️1. ตั้งสติ

เตือนตนเองว่าคนที่อยู่ตรงหน้าคือลูก นี่ลูกเรา เรารักลูก เราระเบิดอารมณ์ใส่ลูกไม่ได้เด็ดขาด

❤️2. สูดหายใจเข้าลึก ๆ แล้วนับ 1-100 นับ

1-10 มันไวไป ให้นับถึง 50 แต่ถ้านับถึง 50 ก็ยังไม่ไหว ให้นับไป 100-200 เลยค่ะ แล้วแม่จะใจเย็นลง

❤️3. หยุดพูด

เพราะถ้ายิ่งโกรธ ยิ่งพูด จะยิ่งขุดทุกสิ่งอย่างที่ลูกเคยทำไม่ดีออกมาตำหนิ สร้างแผลใจให้ลูกอีกครั้ง

❤️4. ดื่มน้ำเย็น ๆ สักแก้ว

เพื่อให้ร่างกายที่ร้อนรุ่มของแม่ปรับอุณหภูมิให้เย็นลง และช่วยให้ความตึงเครียดของแม่ผ่อนคลายลง

❤️5. พาตัวเองออกจากที่เกิดเหตุ

ถ้าแม่รู้ตัวว่าไม่ไหวให้เดินออกจากจุดนั้นทันทีค่ะ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำร้ายลูก เพราะต่อให้ไม่มีไม้เรียวอยู่ใกล้ๆ มือแม่ก็พร้อมฟาดที่กลางหลังลูกเมื่อขาดสติ ดังนั้นควรรีบเอาตัวออกห่าง แล้วบอกลูกว่า แม่กำลังโกรธอยู่ ขอแม่สงบสติอารมณ์แป๊บ เดี๋ยวแม่กลับมา

จะว่าไปแม่ก็คือปุถุชนคนหนึ่งที่มีความรู้สึก รัก โลภ โกรธ หลง โหด เลว ดี มีอารมณ์ มีความรู้สึกเหมือนกับทุก ๆ คนบนโลกใบนี้ แต่สิ่งที่ทำให้แม่เป็นคนพิเศษกว่าใครคือ “แม่เป็นแม่” แม่เป็น Role model หรือแบบอย่างของลูก ดังนั้นท่องไว้ค่ะแม่ ๆ โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า ไม่โกรธดีกว่าลูกจะได้ไม่เลียนแบบจ้า

 

ทำอย่างไรดี เมื่อลูกถูกเพื่อนแกล้ง

538 1 

ทำอย่างไรดี เมื่อลูกถูกเพื่อนแกล้ง

เมื่อลูกเข้าโรงเรียน หนึ่งในสิ่งที่พ่อแม่กังวลใจ คือ กลัวลูกถูกเพื่อนแกล้ง หรือลูกไปแกล้งเพื่อน อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยที่มองข้ามได้นะคะ เพราะปัญหานี้อาจจะฝังใจและอยู่กับเด็ก ๆ ไปจนโตได้ค่ะ หากมีเรื่องแกล้งกันขึ้นมา ควรรีบหาทางแก้ปัญหากับครูที่โรงเรียนเลยค่ะ

การแก้สถานการณ์เฉพาะหน้า

บทบาทของครู

ถ้าเห็นเด็กรังแกกัน ให้แยกสองฝ่ายออกจากกันในระยะเวลาสั้นๆ ก่อน เพื่อให้อารมณ์ของเขาเย็นลง หากรู้ทีหลัง ต้องรีบแจ้งผู้ปกครองของเด็กที่ถูกแกล้งทันที ให้คำมั่นสัญญาอย่างแข็งขันให้เด็กที่ถูกรังแกอุ่นใจ เช่น "ครูรักหนูนะ ครูจะปกป้องหนูเหมือนคุณพ่อคุณแม่ดูแลหนู ไม่ให้ใครมารังแกหนูอีก"  ปรับพฤติกรรมของเด็กจอมรังแก สอนให้เขารู้จัก 'ขอโทษ' และบอกถึงผลเสียเมื่อรังแกผู้อื่น ให้เขาสำนึกผิดจากใจ สอนผู้ที่ถูกรังแกให้รู้จัก 'การให้อภัย' เพราะจะช่วยพัฒนาทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เพื่อตัวเขาเองจะได้ไม่ผูกใจเจ็บจนบั่นทอนพัฒนาการ อาจให้ทั้งสองฝ่ายช่วยเสนอแนะทางออก โน้มน้าวให้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ขอโทษกันและสัญญากับครูว่าจะไม่ทำอีก อย่ายื่นข้อเสนอให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ควรให้ผู้ปกครองเป็นคนหาทางออกที่พึงพอใจก่อน ครูต้องเป็นกลาง

ครูต้องสื่อสารกับทางบ้าน  

สังเกตขอบเขตการถูกรังแกของเด็กว่ารุนแรงและบ่อยแค่ไหน ถ้ามีพฤติกรรมทำซ้ำหรือร้ายแรงจนน่าห่วง ขอให้คุณครูรีบสื่อสารกับพ่อแม่ของเด็กทันที ท่าทีในการสื่อสารของคุณครูก็สำคัญค่ะ ใช้วิธีพูดคุยในทำนองบอกเล่าเรื่องราวและปรึกษา แต่อย่าปกปิดเหตุการณ์ หรือแทรกแซงสถานการณ์ อย่าตำหนิย้ำถึงปมด้อยของเด็กทั้งสองฝ่าย เพราะจะทำให้พ่อแม่ร้อนใจ ให้หาทางออกที่ดีต่อเด็กและพ่อแม่ของเด็กที่ถูกรังแกมากที่สุด

บทบาทของพ่อแม่  

มีท่าทีที่ดี เมื่อคุณครูบอกเล่าถึงพฤติกรรมของลูกเมื่ออยู่โรงเรียน เพราะนั่นแสดงว่าคุณครูดูแลเอาใจใส่ลูกคุณเป็นอย่างดี อย่าติดป้ายเด็กคู่กรณีว่าเป็นเด็กมีปัญหา แต่เขาอาจทำผิดพลาดได้ และมีโอกาสที่จะสำนึกผิดได้ ควรหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน ด้วยการพูดคุย เล่ารายละเอียด เพื่อร่วมกันหาทางออก หากเหตุการณ์รุนแรงมาก และอีกฝั่งไม่ได้มีท่าทีสำนึกผิดใดๆ ต้องให้กฎหมายเข้าช่วยปรับพฤติกรรมเด็ก เพื่อเป็นตัวอย่างว่าอย่าไปแกล้งใครรุนแรงแบบนี้ และอาจย้ายโรงเรียนลูกไปในที่ๆ ดีกว่า เป็นทางออกสุดท้ายค่ะ

การกลั่นแกล้ง-bully-ลูกโดนแกล้ง-ลูกโดนเพื่อนแกล้ง

เพื่อนที่ดีที่สุด คือตัวหนูเอง  

บอกลูกอย่าอยู่ใกล้ๆ เพื่อนที่ชอบแกล้งตอนที่ไม่มีเพื่อนหรือคุณครูอยู่ด้วย เพราะจอมแกล้งเขาอาจจะหมั่นเขี้ยว อยากรังแกเพื่อนคนเดิมซ้ำอีก ไม่ตอบโต้ด้วยการใช้กำลังหรือคิดแก้แค้น เพราะจะยิ่งทำให้เรื่องไปกันใหญ่ หากเจอเหตุการณ์รุนแรงมาก เด็กที่ถูกรังแกต้องได้รับการเยียวยาจิตใจกับจิตแพทย์เด็ก

การแก้ไขปัญหา BULLY ในโรงเรียนแบบระยะยาว

ทั้ง พ่อแม่และคุณครู ล้วนเป็นแรงสำคัญที่จะช่วยสร้างกำลังใจให้เด็ก สอนเด็ก ๆ ให้มีความเชื่อมั่น และกล้าปกป้องตัวเองเมื่อถูกรังแก

ย้ำกับเด็กว่า 'ถึงเพื่อนคนนั้นจะชอบรังแกหนู แต่เพื่อนคนอื่นกับครูรักหนูมากนะ' แต่อย่าลืมว่าต้องไม่ใช่การยุหรือผลักดันให้หนูตอบโต้ หรือหันมาใช้พฤติกรรมไม่น่ารักเหมือนที่เขาถูกเพื่อนทำนะคะ แต่งตั้งให้เด็กที่รังแกผู้อื่น เป็นผู้ช่วยคุณครูดูแลเพื่อนๆ เขาจะได้แก้นิสัยของตัวเองและเพื่อนที่เป็นจอมรังแกได้ ครูต้องดูแลเด็กๆ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว หัวรุนแรง ควรได้รับการเฝ้ามองพฤติกรรมมาก

หากลูกถูกแกล้งไม่ว่าจะรุนแรงหรือไม่รุนแรงมาก พ่อแม่คือพื้นที่ปลอดภัยของลูก หาทางออกของผู้ใหญ่แล้ว อย่าลืมรักษาจิตใจของลูกด้วยนะคะ เพราะการถูกแกล้งส่งผลกระทบต่อจิตใจเด็กในระยะยาวมาก ๆ ค่ะ

ทำไมไม่บอกก่อน! 10 เรื่องที่แม่มือใหม่ไม่เคยรู้มาก่อนจนมาเจอกับตัว

พ่อแม่มือใหม่, มีลูกคนแรก, ลูกแรกเกิด, ทารกแรกเกิด, เลี้ยงลูกไม่เป็น ทำยังไง, หลังคลอด นอนน้อย ไม่ได้นอน, ปั๊มนมตอนกลางคืน, ลูกร้องไห้ตลอดเวลา, เพลงกล่อมเด็ก, นมแม่, กลิ่นอึลูก, ดมอึลูก

คุณแม่มือใหม่พร้อมหรือยังคะที่จะเจอความมหัศจรรย์ในการเลี้ยงลูกที่จะทำเราร้อง ว้าว และ ว้าย ไปพร้อมกันในเวลาเดียวกัน เพราะบางเรื่องก็ไม่เคยมีใครมาบอกเลยว่าเราต้องเจอ หรือ บางเรื่องก็ได้แค่เห็นจากคนอื่น แต่พอมาเจอกับตัวอาจจะถึงกับไปไม่เป็นเลยก็ได้ นี่คือ 10 เรื่องที่เราอยากบอกคุณแม่มือใหม่ทุกคนว่า "รอเจอได้เลย" 

ทำไมไม่บอกก่อน! 10 เรื่องที่แม่มือใหม่ไม่เคยรู้มาก่อนจนมาเจอกับตัว

  1. 3 วันที่โรงพยาบาลคือ มายา พอกลับบ้านมาคือ "ของจริง" เพราะอยู่โรงพยาบาลยังมีพยาบาลวิชาชีพช่วยดูแลแนะนำวิธีดูแลลูกแรกเกิด แต่พอกลับบ้านมาแล้วต้องทำเองหมด บางเรื่องก็ลืมที่พยาบาลสอน บางเรื่องก็เรื่องใหม่เพิ่งเคยเจอ นี่แหละค่ะของจริง

  2. การนอนคืออะไร เพราะลูกแรกเกิดจะหลับๆ ตื่นๆ ตลอดวัน คุณแม่เองก็ต้องตื่นมาพร้อมอุ้มและให้นมเช่นกัน ดังนั้นหาวิธีแอบงีบหรือสลับเวรกับคุณพ่อดูนะคะ 

  3. เข้าใจคำว่า "แหก" ก็ตอนนี้ ทำไมลูกเราถึงร้องได้สั่นขนาดนี้ ทั้งที่ลูกคนอื่นนี่หลับพริ้มให้แม่เค้าถ่ายรูปน่ารักๆ มาโชว์ตลอด

  4. เพลงกล่อมไม่จำเป็นต้องเพราะ นิทานไม่จำเป็นต้องมีที่มาที่ไป จะเพลงแต่งเอง แค่ฮัมดนตรี หรือแค่เล่าไปเรื่อยๆ ว่าวันนี้มีอะไรบ้าง แค่นี้ลูกก็หลับได้แล้ว 
     
  5. อึหอมมากกกกก เคยได้ยินแม่คนอื่นพูดว่าดมฉี่ดมอึลูกแล้วรู้สึกหอมมาก ก็เข้าใจด้วยตัวเองวันนี้แหละ

  6. ลูกโตไวมากจนเสื้อผ้าที่น่ารักๆ ที่ซื้อรอไว้ บางตัวก็ใส่ได้ครั้งเดียว บางตัวก็ไม่ได้ใส่เลยเพราะระเบิดไซซ์ไปแล้วจ้าแม่

  7. วิตกจริตกับคำพูดคนรอบข้างตลอดเวลา ไม่ว่จะเป็นเรื่อง นมแม่ สมอง พัฒนาการ อาหาร ไปจนถึงการจองโรงเรียนอนุบาลตั้งแต่ลูกยังอายุ 6 เดือน!

  8. แทบไม่ค่อยมีเวลาได้อาบน้ำสระผม แต่ลูกก็ชอบมาซุกหลับสบาย เลยทำให้แม่เริ่มชินกับการไม่คต้องอาบน้ำแต่งตัวไปซะแล้ว

  9. "ไม่กลัวตายถ้าเป็นเรื่องลูก" เพราะนั่นคือสัญชาตญาณของแม่ ที่พร้อมจะปกป้องและเสียสละ

  10. "ตายไม่ได้" ความคิดและความรู้สึกนี้จะแล่นเข้าสมองคุณแม่ทันที เพราะเราอยากดูแลลูกและอยู่กับเขาไปให้นานที่สุด ซึ่งนั่นจะทำให้คุณแม่รู้จักดูแลตัวเองมากขึ้นเพื่ออยู่กับลูกไปจนแก่

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่พร้อมหรือยังคะที่จะรับมือกับประสบการณ์ใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น เชื่อเลยว่าต่อให้ร้องว้าว หรือ ร้องว้ายดังแค่ไหน เราก็จะมีความสุขกับทุกเรื่องของลูกค่ะ

 

นิสัย 5 แบบของพ่อแม่ เมื่อลูกขอเล่นโซเชียล แบบไหนส่งผลต่อพัฒนาการลูก

 การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

โลกโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นกูเกิ้ล เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และยูทูบ กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกยุคดิจิตอลของเราไปแล้วเรียบร้อย การห้ามไม่ให้ลูกเล่น โซเชียลมีเดียเหล่านี้ ก็คงจะเป็นไปไม่ได้เพราะเป็นไปตามยุคสมัย แต่เราจะอยู่ในกลุ่มพ่อแม่แบบไหน มาดูผลสำรวจกันค่ะ

เป็นผลของการสำรวจสรุปกระบวนความคิดของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ในภูมิภาคเอเชีย โดยแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ซึ่งจะสะท้อนวิธีการที่พ่อแม่ให้ความหมายต่อการเรียนรู้ของลูก การให้คุณค่าของการเรียนรู้จากประสบการณ์ของพ่อแม่ และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือลูกในการเรียนรู้ รวมถึงความห่วงใยต่ออนาคตของลูกด้วย

  1. กระบวนความคิดแบบกังวล (The Concerned)

พ่อแม่กลุ่มแรกนี้สนใจและกังวลอย่างมาก เกี่ยวกับอุปกรณ์ดิจิทัลต่อการศึกษาของลูก พ่อแม่จะไม่ยอมให้ลูกเล่นโซเชี่ยลใดๆ เพราะกังวลถึงผลกระทบที่เทคโนโลยี จะส่งผลต่อการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะในด้านสังคมและการเข้าสังคมของลูก พ่อแม่กลุ่ม The Concerned จะให้ความสำคัญกับวิธีการศึกษาแบบดั้งเดิม มากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเชื่อว่าเด็กๆ จะเสียสมาธิได้ง่าย เมื่อต้องอ่านบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเด็กน่าจะได้เรียนรู้มากขึ้นจากสิ่งพิมพ์หรือตำรา

  1. กระบวนความคิดแบบสัจนิยม (The Realist)

พ่อแม่ในกลุ่มนี้ ให้คุณค่ากับการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การเล่น และการเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย พวกเขาพร้อมที่จะเปิดรับ เน้นเรื่องการปฏิบัติ ต้องการให้ลูกได้สัมผัสโลกแห่งความเป็นจริง พวกเขาอยากให้ลูกๆ พัฒนาทักษะที่สามารถนำไปปรับใช้นอกเหนือจากในห้องเรียนและจะช่วยให้พวกเขาเป็นเลิศ กลุ่มพ่อแม่ลักษณะนี้จะชื่นชอบอุปกรณ์ดิจิทัล เนื่องจากสามารถช่วยให้ลูกๆ ได้เรียนรู้ไอเดียใหม่ๆ ได้

  1. กระบวนความคิดตามขนบ (The Typical)

พ่อแม่ในกลุ่มนี้ให้คุณค่ากับการพัฒนาทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงและการเรียนรู้จากประสบการณ์  ผู้ปกครองลักษณะนี้มีแนวโน้มที่จะยอมรับว่า การเรียนรู้ทั้งทางดิจิทัลและจากสิ่งพิมพ์เหมาะสม และให้ผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาทักษะและสติปัญญาด้านคำศัพท์และความเข้าใจ

  1. กระบวนความคิดที่เน้นประสบความสำเร็จ (The Overachiever)

พ่อแม่กลุ่มนี้ เรียกอีกอย่างว่า Tiger Parents มีลักษณะแสดงความต้องการเข้าไปช่วยผลักดันให้เด็กเรียนรู้ ควบคุมเนื้อหา และเส้นทางของการเรียนรู้ ให้ลูกได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ พวกเขาเชื่อว่าอุปกรณ์ดิจิทัลจะช่วยให้เด็กๆ ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมและไอเดียต่างๆ ในขณะที่สื่อการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งพิมพ์และกิจกรรมทางกายภาพช่วยส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

  1. กระบวนความคิดแบบปลีกตัว (The Detached)

พ่อแม่กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่เงียบและเก็บตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกกลุ่ม แม้พวกเขาใช้เวลาเรียนรู้กับลูกน้อยที่สุด แต่พวกเขากระตือรือร้นที่จะพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสังคม ซึ่งอาจเป็นเพราะพ่อแม่กลุ่มนี้มีแนวโน้มที่เป็นคนที่เก็บตัว จึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เประเภทท่องจำ การติวเสริม และร่วมกิจกรรมทางสังคม นอกจากนี้ ในด้านการสร้างความผูกพัน พวกเขาต้องการควบคุมเนื้อหาและเส้นทางการเรียนรู้ของลูกๆ โดยแม่จะมีบทบาทในการเรียนรู้ของลูกมากกว่าฝ่ายพ่อ

หากเป็นพ่อแม่ได้ทุกกลุ่ม และใช้ไปตามสถานการณ์จะดีกว่าเป็นแบบใดแบบหนึ่งไปเลยนะคะ หากจะให้ลูกเล่นมือถือ แท็บเล็ต ก็ควรรู้วิธีดูแลสายตาของลูกยุคดิจิทัล ดังนี้เลยค่ะ

  1. ให้เวลาลูกเล่นแท็บเล็ตแค่ 2 ชม. ต่อวัน เท่านั้น และต้องพักสายตาทุกๆ 20 นาที ด้วย

  2. อย่าจ้องหน้าจอใกล้เกินไป ให้เว้นระยะห่าง ประมาณ 1 ศอกของพ่อ

  3. ปรับความสว่างที่หน้าจอให้พอเหมาะ และห้ามปิดไฟเล่น

  4. กินผักผลไม้ที่มีวิตามินเอและลูทีนสูง เพราะมีประโยชน์ต่อสายตา เช่น กีวี่ แครอท ผักโขม ผักคะน้า ผักบุ้ง ตำลึง ฟักทอง และมะละกอ

เมื่อถึงวัยที่เล่นแท็บเล็ต มือถือ ได้แล้ว เป็นอะไรที่ห้ามยากเรื่องการเรียนรู้ในโลกอินเทอร์เน็ต แต่พ่อกับแม่ก็ต้องรู้วิธีดูแลลูกด้วยวิธีดังกล่าวค่ะ

ข้อมูลจาก : เสวนา “HP New Asian Learning Experience เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ของครอบครัวยุคใหม่” 

พบกับเคล็ดลับง่ายๆที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆ ได้ที่เว็บไซต์ เอชพี ประเทศไทย

นิสัยของพ่อแม่ 3 สไตล์ มักจะได้ลูกเป็นคนแบบนี้

5101 1

นิสัยของพ่อแม่ 3 สไตล์ มักจะได้ลูกเป็นคนแบบนี้

คุณพ่อคุณแม่ลองสำรวจตัวเองดูนะคะ ว่าส่วนใหญ่แล้ว เรากำลังเป็นพ่อแม่แบบไหน แล้วจะเปลี่ยนอะไรในตัวเองเพื่อเป็นพ่อแม่ที่ดีขึ้นบ้าง เพื่อให้ลูกมีอิสระ แต่ก็มีขีดจำกัดที่เหมาะสมได้

1.พ่อแม่ชอบบงการ

พ่อคุณที่ลึก ๆ แล้วมักจะชอบบงการลูก อยากให้ลูกเชื่อฟังคำสั่ง และมักจะลงโทษลูก เช่น "กินข้าวให้หมด ไม่อย่างนั้นแม่จะตีมือเลยนะ" "พูดขอโทษเดี๋ยวนี้นะ ไม่งั้นแม่จะไม่รัก " เป็นต้น หากคุณเผลอที่เป็นพ่อแม่แบบนี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ

  • ลูกจะทำตัวเป็นเด็กดีชั่วคราว เลี่ยงการถูกลงโทษ
  • ลูกจะกลัวพ่อแม่และผู้ใหญ่ แบบไร้เหตุผล
  • ลูกไม่เรียนรู้ที่จะคิดเอง
  • เก็บกด และเลียบแบบพฤติกรรมของพ่อแม่ เป็นต้น

 

2.พ่อแม่ตามใจลูกเกินไป

พ่อแม่หลายคนไม่ยอมรับว่ากำลังตามใจลูกอยู่ แต่จริง ๆ แล้วกำลังทำนะคะ เช่น ให้ลูกซื้อของเล่นทุกอย่างที่อยากได้ ปล่อยให้ลูกเล่นไปกินข้าวไป เป็นต้น หากคุณเผลอที่เป็นพ่อแม่แบบนี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ

  • ลูกไม่เรียนรู้ขอบเขตของตัวเอง
  • ลูกไม่ถูกฝึกให้รับผิดชอบ ตามใจตัวเอง
  • ไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น
  • ไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น
  • บีบบังคับให้พ่อแม่และคนอื่น ๆ ทำตามตัวเอง เป็นต้น

 

3.พ่อแม่ที่ให้ทางเลือก

พ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกแบบประชาธิปไตย ปล่อยให้มีอิสระและขีดจำกัดที่มีขอบเขตพอเหมาะ จะปฏิบัติ 2 แบบ คือ กำหนดขอบเขตความพอดีให้เด็ก และให้เด็กมีทางเลือกภายในขอบเขตนั้น เช่น "ลูกซื้อของเล่นได้ แต่เลือกได้ในโซนนี้ที่ราคา 100 บาทเท่านั้นนะคะ" หากคุณเป็นพ่อแม่แบบนี้ สิ่งที่ลูกจะได้เรียนรู้ คือ

  • ฝึกให้เด็กมีส่วนร่วมตามความเหมาะสม แต่ไม่ใช่ทุกครั้งไป
  • ลูกจะรู้ว่าทางเลือกของเขามีความสำคัญ
  • ลูกจะเรียนรู้ว่าบางอย่างมาพร้อมกับความรับผิดชอบ
  • ลูกจะเป็นเด็กเชื่อมั่นในตัวเอง
  • ลูกจะรับฟังคนอื่นเป็น เป็นต้น

ปรบมือแปะๆ สร้าง EF ด้วยกันปะ

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

ช่วงแรกเกิดถึง 1 ปี เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสร้างพื้นฐาน EF ให้กับลูกอย่างแน่นหนาเลยค่ะ ซึ่งนอกจากการให้นมแม่จะเป็นการส่งเสริม EF ให้ลูกแล้ว การจัดสิ่งแวดล้อม การทำกิจกรรมและการละเล่นต่างๆ ก็ช่วยสร้าง EFให้ลูกได้เช่นกัน 


การเล่นปรบมือกับลูก แม้เด็กวัย 6-12 เดือน จะยังไม่เข้าใจจังหวะ แต่การตบแปะๆ ก็ช่วยให้ลูกมี Working Memory ค่ะ

"ตบมือแปะๆ จะได้กินนม นมไม่หวาน ใส่น้ำตาล น้ำอ้อย ใส่นิดหน่อย อร่อยจังเลย" 

เพลงง่ายๆ ที่ร้องประกอบการตบมือกับลูก เมื่อลูกได้ยินเสียงพ่อแม่ร้องเพลงนี้พร้อมกับตบมือแปะๆ ไปด้วย Working Memory จะทำงานไปด้วย เพราะลูกจะจำได้ว่าเมื่อพ่อแม่ร้องเพลงนี้เขาต้องตบมือ หรือต้องทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น กินนม กินข้าว เล่น หรืออาบน้ำ เป็นต้น 

ซึ่งนอกจากการเล่นตบมือกับลูกแล้ว กิจกรรมอื่นๆ ก็ช่วยส่งเสริม EF ให้กับลูกวัยเตาะแตะได้เช่นกัน อย่างการเล่นจ๊ะเอ๋ เล่นซ่อนของ เล่นเป่ายิ้งฉุบ เป็นต้น 


 

ปัญหาโลกแตก! ปู่ย่าตายายเลี้ยงหลานตามใจ ไม่สนวิธีเรา พ่อแม่ควรทำอย่างไรดี

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

เรียกว่า "ปัญหาโลกแตก" เลยก็ว่าได้ สำหรับปู่ย่าตายายที่เลี้ยงหลานให้ และก็ชอบตามใจหลาน พอพ่อแม่บอกว่าอย่าตามใจหลานมาก ปู่ย่าตายายก็มักจะมีเหตุผลมารองรับแบบสปอยล์หลานเข้าไปอีก

เมื่อพูดทุกครั้งก็แทบจะทะเลาะกัน แบบนี้ไม่ง่ายเลยนะคะที่จะเข้าใจกัน แต่ก็ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจค่ะ ปัญหาเหล่านี้ควรแก้ไขอย่างไร ลองอ่านและนำไปปรับใช้กันได้ค่ะ

  1. พยายามเข้าใจคนสมัยก่อน

ตัวเราเองก็ยังปรับยากแล้ว ลองนึกถึงปู่ย่าฯ ดูสิคะ เพราะท่านเติบโตมากับการเลี้ยงดูแบบโบราณ ใช้ชีวิตแบบคนสมัยก่อน การที่ปู่ย่าฯ จะยอมรับข้อมูลอะไรใหม่ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ให้เปิดใจลองรับฟังมุมมองของเขาดูบ้าง ว่ามันเป็นมาแบบไหน เพื่อที่เราจะได้อธิบายในแนวคิดของหมอกับของเราแบบใหม่ๆ ไปด้วย แต่ต้องใจเย็น มีเหตุผลนะคะ ความอดทนและการอธิบายหลายๆ ครั้งจะช่วยได้เองค่ะ

  1. สื่อสารกันให้มากที่สุด

การพูดคุยกัน เป็นวิธีที่ง่าย ให้ขยันพูดและบอกปู่ย่าฯ บ่อยๆ อย่างมีเหตุผล เพื่อให้เข้าใจความคาดหวังและความคิดของเรา อย่างเช่น "อย่าให้ขนมหลานนะคะ" ถ้าบอกครั้งแรกแล้วยังไม่ได้ผลก็ให้เพิ่มเหตุผลเข้าไปอีก เช่น "อย่าให้ขนมหลานนะคะ เพราะถ้าทานขนมแล้วเขาจะไม่กินข้าว ถ้าทานข้าวน้อย จะทำให้สุขภาพและพัฒนาการของเขาแย่ไปด้วย ถ้าจะให้ขนมเขา ขอให้ให้หลังจากทานข้าวแล้วนะคะ" ให้ใส่เหตุผลไปเยอะๆ ยิ่งดูร้ายแรงเท่าไหร่ ปู่ย่าฯ จะยิ่งเป็นห่วงหลานมากขึ้นและจะไม่ตามใจแบบผิดๆ ตามที่เราขอค่ะ

  1. ติดตามพฤติกรรมลูก จากปู่ยาตายาย

บางครั้งปู่ย่าฯ ไม่ทันหลาน เพราะเด็กรู้ว่าใครดุ ใครไม่ดุ ใครบ้างที่อ้อนได้ เมื่อหลานทำผิดก็ไม่ยอมทำโทษ เรื่องแบบนี้บอกเลยค่ะ ว่าคงเป็นงานหนักสำหรับพ่อแม่เลย พ่อแม่จึงต้องคอยถามเรื่องที่เกิดขึ้นวันนี้จากปู่ย่าฯ และลูก เรียกว่าเป็นวิธีอ้อมๆ ที่จะให้ปู่ย่าฯ รับรู้ว่าวิธีเลี้ยงของปู่ย่าฯ นั้นผิดหรือถูก เช่น ตอนนี้หลานมีพฤติกรรมอย่างไรบ้าง มีพัฒนาการถึงไหนแล้ว ขั้นตอนต่อไปควรทำอย่างไรดี และต้องอธิบายอย่างใจเย็นให้ชัดเจน ว่าถ้าลูกเป็นแบบนี้ควรทำอย่างไร ต้องจัดการแบบนี้ และควรรับมืออย่างไร

  1. ให้แสดงออกถึงความเคารพและความรัก

การเลี้ยงดูหลาน มาพร้อมกับการขัดแย้งกันเสมอ อย่าไปโกรธที่พวกท่านทำไม่เหมือนพวกเรา แต่เราต้องขอบคุณปู่ย่าฯ ที่ช่วยเลี้ยงลูกให้เรา อย่างน้อยก็ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องจ้างพี่เลี้ยงที่อาจไว้ใจไม่ได้ เราควรแสดงความรู้สึกขอบคุณเสมอ ด้วยคำพูดและการกระทำ ให้เขารับรู้ได้ เช่น "ขอบคุณมากเลยนะคะ ที่ช่วยดูแลน้อง ปู่ย่าฯ ช่วยไว้ได้มากเลย" "ขอบคุณสำหรับอาหารนะคะ อร่อยมากเลย" และเมื่อไปรับลูกควรมีของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ติดมือไปฝากด้วย ถ้าเราให้ความรักและเคารพผู้สูงอายุ เขาก็จะปฎิบัติกับคุณเช่นเดียวกันค่ะ 

ทุกอย่างต้องใช้เวลานะคะ เราเองก็อย่าท้อที่จะบอกท่านบ่อยๆ เรื่องการเลี้ยงดูเด็กแบบสมัยใหม่ มีโอกาสก็พาท่านไปซื้อของใช้เด็กใหม่ๆ ที่ทันสมัย หากลูกป่วยไปหาหมอก็ให้ท่านไปฟังด้วย อาจจะเข้าใจมากขึ้นนะคะ เป็นกำลังใจให้พ่อแม่ทุกคนค่ะ

 

 

พ่อ คือแบบอย่างของลูกชาย อยากให้ลูกเป็นคนดี ต้องทำ 6 สิ่งนี้ให้ลูกเห็น

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-พ่อที่ดี-พ่อลูก

พ่อคือต้นแบบของลูก โดยเฉพาะเจ้าลูกชาย จะชอบเลียนแบบนิสัยและการกระทำของพ่อ ถ้าอยากให้ลูกเป็นคนดี อย่าลืมทำ 6 สิ่งนี้ให้ลูกเห็นนะคะ

พ่อ คือแบบอย่างของลูกชายอยากให้ลูกเป็นคนดี ต้องทำ 6 สิ่งนี้ให้ลูกเห็น

การเป็นพ่อที่ดีมีส่วนช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของลูกนะคะ ยิ่งมีลูกชายแล้วพ่อคือต้นแบบให้ลูกได้เลย และนี่คือ 6 สิ่งที่พ่อต้องทำให้ลูกเห็นค่ะ แล้วลูกจะเติบโตเป็นคนดีเป็นที่รักใคร่ของคนที่พบเจอ        

  1. พ่อแข็งแรง และพ่อช่วยเหลือคนอ่อนแอกว่า เวลาอยู่ในบ้านพ่อต้องพาลูกชายช่วยแม่ทำงานบ้านด้วย รวมถึงงานที่ต้องยกของหนักต้องรีบอาสาเลย หากไปนอกบ้านแล้วเจอคนที่อ่อนแอกว่ากำลังลำบาก ต้องเข้าไปช่วยโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ ค่ะ        

  2. พ่ออ่อนโยน แต่มีภาวะความเป็นผู้นำ หากครอบครัวเกิดปัญหาไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ พ่อจะเป็นคนที่มีสติ และให้คำปรึกษาที่ดีกับแม่และลูกได้เสมอ และการเป็นผู้นำของพ่อไม่มีอำนาจยิ่งใหญ่ใดๆ นอกจากความอ่อนโยน รับฟังเก่ง และสุภาพกับทุกๆ คนที่คุยด้วย

  3. พ่อเป็นสุภาพบุรุษกับทุกคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิต พ่อให้เกียรติแม่ พ่อให้เกียรติผู้หญิงคนอื่นๆ ทั้งในครอบครัวและคนภายนอก และพ่อปฏิบัติกับคนอื่นๆ ในสังคมอย่างให้เกียรติ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกซึมซับเข้าไปโดยไม่รู้ตัว และกลายเป็นลักษณะนิสัยติดตัวไป

  4. พ่อกล้าหาญในเรื่องที่ถูกต้อง เช่น พ่อกล้าที่จะช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ถูกต้อง แต่พ่อไม่ทำเรื่องกล้าบ้าบิ่น หรือกล้าเกินเหตุที่จะส่งผลให้ครอบครัวอันตรายและคนอื่นเดือดร้อน        

  5. พ่อไม่ทำตัวเหลวไหล ให้น่าเป็นห่วง เมื่อพ่อต้องไปปาร์ตี้เพราะเป็นงาน หรือกับเพื่อน พ่อจะรู้หน้าที่บอกแม่กับลูกเสมอว่าไปไหน ทำอะไร กำหนดเวลากลับชัดเจนไม่ต่อรอง ห้ามติดต่อไม่ได้จนคนที่บ้านต้องเป็นห่วง โตขึ้นลูกจะรู้ว่าสนุกได้แต่ต้องมีขอบเขต

  6. พ่อเป็นคนกตัญญู แสดงความรักเก่ง พ่อรักปู่ รักย่า รักตาและยายของลูก พ่อมักพูดว่ารักและจะทำสิ่งดีๆ ให้พวกท่านเสมอ จนลูกจดจำสิ่งที่พ่อทำได้และทำตามพ่อ คือการแสดงความรักต่อคนที่เรารัก คนที่เลี้ยงดูและคนสั่งสอนเรามา นั้นคือสิ่งที่สำคัญมาก

หากคุณเป็นพ่อต้นแบบของลูกได้ตามทั้ง 6 ข้อนี้ ลูกจะมีความสุข จิตใจดี และเติบโตเป็นคนดีที่สังคมต้องการแน่นอนค่ะ



 

พ่อแม่ 10 แบบ ที่ทำให้ลูกไม่มีความสุข พัฒนาการถดถอย ไม่สมวัย

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-ทักษะพ่อแม่-พ่อแม่มีอยู่จริง

พ่อแม่ 10 แบบ ที่ทำให้ลูกไม่มีความสุข พัฒนาการถดถอย ไม่สมวัย

พ่อแม่ที่ทำให้ลูกไม่มีความสุข พัฒนาการถดถอย พัฒนาการที่ดีของลูก ส่วนใหญ่มาจากการเลี้ยงดูของครอบครัว และบางครั้งการที่คุณพ่อคุณแม่หวังดีต่อลูกมาก อาจเป็นการทำร้ายจิตใจลูกโดยไม่รู้ตัวก็ได้

นี่คือพ่อแม่ 10 แบบ ที่ทำให้ลูกไม่มีความสุข พ่อแม่ลองทบทวนดูนะคะ ว่าเราตรงกับข้อไหนหรือเปล่า จะได้ปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดู เพื่อพัฒนาการของลูก

แบบที่ 1 พ่อแม่ที่ชอบตำหนิลูก

ไม่ว่าลูกจะทำผิดแค่เล็กน้อยพ่อแม่ก็ดุด่า ตำหนิแทบทุกเรื่อง การตำหนิลูกในทุกๆ เรื่องไม่ได้ช่วยให้ลูกเปลี่ยนตัวเองได้ แต่ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ลูกต้องเผชิญ และคำแนะนำที่ดีจากพ่อแม่จะช่วยให้ลูกเข้าใจ ปรับปรุงตัวเองได้ดีกว่าการพูดตำหนิ

แบบที่ 2 ตามใจลูกเกินไป

ลูกอยากได้อะไรก็ตามใจได้ตั้งแต่เล็ก ทำให้ลูกไม่รู้จักการรอคอย ไม่เคยถูกขัดใจ เมื่อลูกโตขึ้น เห็นเพื่อนมีอะไรก็อยากมีบ้าง เด็กที่เอาแต่ใจมาตั้งแต่เล็ก จะไม่ชอบความผิดหวัง ทนไม่ได้ที่จะไม่ได้อะไรอย่างที่ต้องการ


แบบที่ 3 พ่อแม่ที่เจ้าระเบียบและมีกฎเกณฑ์มากเกินไป

พ่อแม่หลายคนกลัวลูกไม่มีระเบียบวินัยเลยชอบออกกฎมากมายให้ลูก ก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของลูก โดยลืมนึกถึงสิทธิส่วนบุคคล ถ้าลูกไม่ซึมซับนิสัยเจ้าระเบียบเกินควรนี้ไป ลูกอาจรู้สึกกดดัน และไม่มีความสุขได้

แบบที่ 4 พ่อแม่ที่ลงโทษลูกรุนแรงเวลาที่ลูกทำผิด

เมื่อลูกทำผิดแล้วชอบดุด่าด้วยคำพูดแรงๆ ประชดประชัน ทำร้ายร่างกาย ตีด้วยวัสดุต่างๆ ที่อยู่ใกล้มือ ทำให้ลูกได้รับผลกระทบทางใจ เครียด ซึมเศร้า แนวโน้มโตไปมีมีพฤติกรรมเสี่ยงได้ง่าย

แบบที่ 5 พ่อแม่ที่ไม่เคยชมลูก

พ่อแม่หลายคนอาจจะคิดว่าชมลูกบ่อยเกินไปไม่ดีจะทำให้เหลิง แต่ความจริงแล้วการชื่นชมลูกช่วยสร้างแรงกระตุ้นเชิงบวกได้ หากไม่เคยชมลูกเลย ลูกจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่สนใจเรียนรู้หรือทำสิ่งต่างๆ ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เพราะพ่อแม่ไม่เคยชมลูกเลย

แบบที่ 6 พ่อแม่ที่คาดหวังกับลูกสูง

ชอบกดดันให้ลูกทำสิ่งต่างๆ เช่น ต้องเรียนได้ดี ต้องแข่งขันชนะ ต้องได้ที่ 1 ของห้อง ความคาดหวัง ความกดดันเหล่านี้จะทำให้ลูกไม่มีความสุข กลายเป็นเด็กที่ชอบเอาชนะ กลัวความล้มเหลว เพราะกลัวว่าจะทำให้พ่อแม่ผิดหวัง

แบบที่ 7 พ่อแม่ที่ทะเลาะกันตลอดเวลา

ทำให้ลูกรู้สึกบ้านไม่น่าอยู่ โตขึ้นอาจหาทางออกด้วยการออกไปนอกบ้าน อาจจะถูกชักจูงให้ทำอะไรไม่ดี ส่งผลกระทบกับตัวเองได้

แบบที่ 8 พ่อแม่ที่ไม่ค่อยใส่ใจลูก

พ่อแม่ที่มัวแต่ทำงาน หรือสนใจเรื่องอื่นๆ มากกว่าเรื่องของลูก ไม่ค่อยมีเวลาให้ลูก ไม่รู้ว่าลูกกำลังคิดอะไรรู้สึกอย่างไร ลูกจะขาดความอบอุ่น ไม่มีใครให้ปรึกษา เวลาเครียดก็ไปหาเพื่อน มีแนวโน้มติดเพื่อน ติดสังคมมากว่า

แบบที่ 9 ชอบเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น

พ่อแม่ที่ชอบเปรียบเทียบลูกกับคนอื่นจะสร้างปมด้อยให้กับลูกของตนเอง ทำให้ลูกไม่รู้จักคุณค่าในตัวเอง พัฒนาการถดถอย กลายเป็นเด็กขี้อิจฉา หากโดนเปรียบเทียบบ่อยๆ เข้า อาจทำให้ลูกเกิดความเครียดได้

แบบที่ 10 พ่อแม่ที่ไม่มีความยืดหยุ่น

พ่อแม่เคร่งเครียดระเบียบจัดเกินไป เมื่อผิดแผนก็มักจะมีอาการวิตกกังวล กระวนกระวาย ควบคุมตัวเองไม่ได้ ทำให้ลูกซึมซับพฤติกรรมเหล่านี้ เมื่อพ่อแม่ไม่ควบคุมสถานการณ์หรือแก้ปัญหาด้วยความใจเย็น ลูกก็จะกลายเป็นเด็กที่วิตกกังวลง่ายเมื่อเจอปัญหา ไม่รู้วิธีรับมือ และพยายามป้องกันปัญหาด้วยการทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบที่สุด เมื่อพลาดหวังลูกจึงรู้สึกผิดหวังมาก

 

พ่อแม่ 5 ประเภท ที่ผลักลูกเผชิญโรคซึมเศร้าตั้งแต่เด็ก

ลูกเป็นโรคซึมเศร้า-โรคซึมเศร้า-โรคซึมเศร้าในเด็ก- โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น- โรคซึมเศร้าเพราะครอบครัว- ครอบครัวทำให้เป็นโรคซึมเศร้า- เป็นโรคซึมเศร้าเพราะพ่อกับแม่- โรคซึมเศร้าคืออะไร- อาการของโรคซึมเศร้า- รักษาโรคซึมเศร้า- ซึมเศร้า- ลูกเป็นโรคซึมเศร้า 

โรคซึมเศร้าคือภัยเงียบที่น่ากลัว อย่าคิดว่าเด็กไม่มีทางเป็นโรคซึมเศร้าได้นะคะ ซึ่งในปัจจุบันเด็กยุคนี้มีความเสี่ยงสูงเลยทีเดียว เพราะความกดดันในการเรียน ต้องเรียนหนัก ต้องเรียนดี ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงสอบเข้ามหาวิทยาลัย รวมไปถึงสภาพแวดล้อมและค่านิยมต่าง ๆ ของสังคม

หากพ่อแม่ไม่ทำความเข้าใจว่าลูกเป็นอะไร ดันไปมองว่าลูกเพี้ยน เก็บกด ขี้แพ้ ไม่รู้จักโต เจอปัญหาแค่นี้ก็รับไม่ได้ ต่อว่าเพราะคิดว่าลูกอ่อนแอ นั้นคือคุณได้ผลักโรคซึมเศร้าไปให้ลูกแล้วค่ะ ลองมาเช็กกันเลยว่าคุณกำลังเป็นพ่อแม่ ที่หยิบยื่นโรคซึมเศร้าให้กับลูกคุณเองหรือไม่

พ่อแม่ 5 ประเภท ที่ผลักลูกเผชิญโรคซึมเศร้าตั้งแต่เด็ก
  1. คาดหวังมาก มอบความเจ็บปวดให้ลูก พ่อกับแม่ที่ปูทางเดินให้ลูกสารพัด เพราะอยากให้ลูกเป็นคนสมบูรณ์แบบในสายตาคนรอบข้าง ทั้งเลือกโรงเรียนให้ ผลการเรียนต้องดี โตขึ้นไปสอบเป็นหมอ สอบเป็นนักบิน ต้องทำในสิ่งที่พ่อกับแม่อยากให้ทำ จนลืมคิดไปว่าเด็กคนหนึ่งจะแบกรับความคาดหวังไหวหรือเปล่า เมื่อภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจพ่อแม่ไม่เคยสร้างให้ ก็นำลูกไปสู่อาการซึมเศร้าในที่สุดค่ะ

  2. ไม่เคยให้กำลังใจลูก กำลังใจและคำพูดด้านบวก มีพลังช่วยให้จิตใจของลูกเข้มแข็งได้ดี แต่หากพ่อกับแม่ไม่มีความสัมพันธ์อันดีกับลูก เพราะกลัวลูกเหลิง จึงได้แต่เงียบ ไม่กล่าวชมเมื่อทำดี แต่หากทำพลาดมาพูดสามวันก็ไม่จบ อาจจะด้วยความหวังดี แต่เด็กคนหนึ่งไม่รู้หรอกค่ะ เขาแค่อยากได้ยินคำชมเรียบๆ ง่ายๆ จากคนที่เขารักเท่านั้นจริงๆ

  3. ปล่อยให้ลูกเผชิญปัญหาเพียงลำพัง พ่อกับแม่ควรรู้ปัญหาของลูกและมองดูอยู่ห่างๆ บ้าง ทำให้ลูกรู้ว่าเขาไม่ได้ตัวคนเดียว หากไม่สนใจเลย หรือเห็นเป็นเรื่องเล็กๆ ของเด็ก คิดว่าลูกอ่อนแอไปเอง ตำหนิลูกว่าปัญหาแค่นี้ก็รับไม่ได้ ลูกจะรู้สึกแย่และฝังใจว่าถูกทิ้งให้เผชิญปัญหาคนเดียว เขาจะไม่เปิดใจให้พ่อกับแม่อีก และเลือกเก็บปัญหาทุกอย่างไว้เพียงลำพัง

4. เปรียบเทียบลูกกับคนอื่น นี่คือปัญหาระดับชาติ แต่พ่อแม่หลายคนยังทำแบบนี้อยู่ เช่น เด็กคนนั้นทำไมเขากินข้าวเก่งกว่า เด็กบ้านนั้นทำไมเรียนเก่งกว่า ลูกเขาผลการเรียนดีแล้วของลูกล่ะ ทำไมเด็กคนนั้นเป็นเด็กดีทำไมลูกดื้อ เปรียบเทียบแบบนี้ผลระยะยาวทำให้เขาเป็นคนขี้อิจฉา เอาตัวเองไปเปรียบกับคนอื่นเสมอในทุกๆ เรื่อง จนเป็นทุกข์ในใจ

  1. ใช้ความรุนแรงในครอบครัว พ่อกับแม่ที่ชอบทะเลาะกันต่อหน้าลูก บางครั้งยังลากลูกเข้าไปเกี่ยวด้วย ด่าทอลูกเพื่อให้อีกฝ่ายเจ็บใจ และลงเอยด้วยการทำร้ายร่างกายกัน สิ่งเหล่านี้ทำร้ายจิตใจลูกอย่างรุนแรง เขาคิดว่าพ่อกับแม่ทะเลาะกันเพราะเขา เขาหวาดกลัวรู้สึกว่าไม่มีที่พึ่งพา

พ่อแม่ 7 ประเภท ที่ใช้ความรักเลี้ยงลูกแบบผิดๆ โตไปอ่อนแอ ขี้ขลาด ไม่เข้มแข็ง

พ่อแม่รังแกฉัน, การเลี้ยงลูก, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, พ่อแม่ที่ดี, ลูกดื้อ, รักลูก, กลัวลูกลำบาก, พ่อกับแม่ที่รักลูกมากเกินไป, ทดแทนชีวิตวัยเด็ก, ลูกฉันไม่เคยผิด, รู้ไม่เท่าทันลูก, เข้มงวดเกินไป, กลัวลูกเหลิง, ลูกไม่ฟังพ่อกับแม่, ลูกเก็บกด, ลูกก้าวร้าว, พ่อแม่ไม่ดี, ลูกเอาแต่ใจ, แม่, พ่อ 

พ่อแม่ 7 ประเภท ที่ใช้ความรักเลี้ยงลูกแบบผิดๆ โตไปอ่อนแอ ขี้ขลาด ไม่เข้มแข็ง

พ่อกับแม่ที่รักลูกมากเกินไป หรือรักลูกน้อยเกินไป ทั้งสองอย่างล้วนสร้างปัญหาให้กับลูก เพราะการเลี้ยงลูกนอกจากจะใช้สัญชาตญาณของความเป็นพ่อแม่แล้ว ก็ต้องมีความรู้ควบคู่ด้วยจึงจะถูกวิธี มิเช่นนั้นแล้วอาจกลายเป็นทำร้ายลูกก็ได้

มาดูกันค่ะ ว่าคุณกำลังเป็นพ่อกับแม่แบบที่ใช้ความรักทำร้ายลูกหรือไม่

  1. พ่อกับแม่ที่กลัวลูกลำบาก  พ่อแม่ประเภทนี้มักจะทำทุกสิ่งอย่างให้ลูก เพราะกลัวว่าลูกจะลำบาก กลัวลูกอด กลัวลูกเจ็บ กลัวไปซะทุกเรื่อง ไม่ยอมให้ลูกลำบาก คอยทำให้ทุกอย่าง เมื่อมีปัญหาใดๆ ก็มักจะยื่นมือไปช่วยเหลือในทันที แทบจะไม่ปล่อยให้ลูกเผชิญกับปัญหาหรือความลำบากเลย

  2. พ่อกับแม่ที่ทดแทนชีวิตวัยเด็ก พ่อแม่ประเภทนี้ต้องการให้ลูกทดแทนบางสิ่งบางอย่างที่ขาดหายไปของพ่อแม่เมื่อวัยเด็ก อะไรที่ไม่เคยมี ก็อยากให้ลูกได้มี อะไรที่ไม่เคยทำ ก็อยากให้ลูกได้ทำ พ่อแม่ประเภทนี้จะฝังใจอยู่กับอดีต เมื่อตัวเองประสบความสำเร็จก็พยายามชดเชยอะไรบางอย่างให้กับลูกตลอดเวลา

  3. พ่อกับแม่ที่ขีดเส้นให้ลูกเดิน  พ่อแม่ประเภทนี้เชื่อว่าเส้นทางที่เลือกไว้ให้ลูกคือเส้นทางที่ดีที่สุดเสมอ และมักเชื่อว่าตัวเองได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก โดยที่จะพูดย้ำกับลูกอยู่เสมอว่าเพราะพ่อแม่รักลูกถึงเลือกเส้นทางชีวิตเช่นนี้ให้ลูก โดยไม่ฟังเสียงของลูกว่าลูกชอบอะไร

  4. พ่อกับแม่ที่ปกป้องลูกตลอดเวลา พ่อแม่ประเภทนี้จะปกป้องลูกตลอดเวลา ไม่ว่าลูกจะมีปัญหาอะไรกับใคร หรือมีปัญหากับสมาชิกในครอบครัว พ่อแม่ก็มักปกป้องลูกอยู่ดี ลูกฉันไม่เคยผิด แม้ลูกจะทำผิดก็โทษผู้อื่นเสมอ เวลาลูกมีปัญหากับใคร พ่อแม่ก็มักออกโรงปกป้องเต็มที่ ซึ่งหารู้ไม่ว่าลูกประเภทนี้มักจะมีปัญหาเมื่อเขาเติบโตขึ้นเสมอ

  5. พ่อกับแม่ที่รู้ไม่เท่าทันลูก พ่อแม่ประเภทนี้พร้อมจะเชื่อลูกทุกอย่าง ลูกบอกอะไรก็เชื่อ โดยไม่ได้สนใจหรือตรวจสอบเลยว่าลูกทำอะไร ลูกคบเพื่อนแบบไหน ลูกทำสิ่งที่เหมาะสมหรือเปล่า พ่อแม่ประเภทนี้มักขาดความรู้หรือไม่ได้สนใจด้วยซ้ำไป

  6. พ่อกับแม่ที่เข้มงวดเกินไป พ่อแม่ประเภทนี้มักจะไม่ยอมให้ลูกอยู่นอกสายตา ไม่ว่าลูกจะทำอะไรจะคอยกำกับอยู่เสมอ จะไม่ยอมให้ออกนอกลู่นอกทางเด็ดขาด ส่วนใหญ่จะมีกฏเกณฑ์กติกาชีวิตสำหรับลูก เช่น ถึงเวลาอ่านหนังสือ ได้เวลาไปเรียนกวดวิชา ไม่อนุญาตให้ไปเที่ยวกับเพื่อนลำพังจะต้องไปด้วยทุกครั้ง สุดท้ายจะนำลูกไปสู่การโกหกและหลีกหนี

  7. พ่อกับแม่ที่กลัวลูกเหลิง พ่อแม่ประเภทนี้ไม่ยอมแสดงความรักที่มีต่อลูก รวมไปถึงไม่ยอมชื่นชมหรือให้กำลังใจเมื่อลูกทำสิ่งใดได้ เพราะกลัวว่าลูกจะเหลิงวิธีคิดแบบนี้ ลูกอาจจะคิดว่าพ่อแม่ไม่รัก และหันออกไปหาความรักนอกบ้าน จากเพื่อนหรือคนอื่นๆ ที่แสดงความรักและเห็นว่าเขามีคุณค่า

 

พ่อแม่ 9 แบบ จะมีลูกเก่ง เป็นคนดี และประสบความสำเร็จได้ในชีวิตได้

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

พ่อแม่ 9 แบบ จะมีลูกเก่ง เป็นคนดี และประสบความสำเร็จได้ในชีวิตได้

อยากให้ลูกเก่ง ต้องเป็นพ่อแม่แบบไหน ลูกจะเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และประสบความสำเร็จในชีวิตได้ พ่อแม่ต้องทำอย่างไรกันนะ คำถามนี้ไม่มีคำตอบสูตรสำเร็จเลยนะคะ เพราะแต่ละครอบครัวก็มีวิธีของตัวเอง

รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข ได้เจอข้อมูลที่น่าสนใจจาก นิตยสารออนไลน์ Business Insider โดยเรเชล จิลเลตต์ และเดร้ค แบเออร์ ที่ได้เขียนบทความรวบรวมคุณลักษณะของพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกที่ประสบความสำเร็จ จะมีลักษณะทั้ง 9 ประการ แต่คุณพ่อคุณแม่มี 5 ใน 9 ข้อ ก็ช่วยให้ลูกเป็นเด็กดีได้แล้วค่ะ และบางข้อคุณพ่อคุณแม่ลองอ่านและนำไปปรับใช้ได้นะคะ เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูก ให้ลูกเติบโตไปตามวัยค่ะ

พ่อแม่ 9 แบบ ที่จะมีลูกประสบความสำเร็จในชีวิต
  1. พ่อแม่ที่สอนให้ลูกมีทักษะทางสังคมที่ดี

หากเด็กๆ ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนให้ปรับตัวเก่ง ใช้ชีวิตร่วมหรือทำงานร่วมกับเพื่อนได้ดี ไม่เอาเปรียบใคร มีน้ำใจช่วยเหลือ ทำตัวเป็นประโยชน์กับคนรอบข้าง เข้าใจและตระหนักถึงอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง สามารถแก้ปัญหาของตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น มีแนวโน้มสูงที่จะสำเร็จการศึกษาตามที่ต้องการ

  1. พ่อแม่ที่คาดหวังเป็นและมั่นใจในตัวลูก

ไม่คาดหวังเลย ก็ปล่อยเกินไป พ่อแม่ควรมีความหวังในตัวลูก อย่างน้อยก็หวังและเชื่อมั่นว่าลูกจะต้องเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ ตามที่ลูกต้องการ หากพ่อแม่ไม่มีความเชื่อมั่นว่าลูกจะทำได้ ลูกก็จะรู้สึกได้และทำให้ลูกขาดความเชื่อมั่นในตัวเองไปด้วยเช่นกัน

  1. แม่เป็นผู้หญิงทำงานเก่ง

แม่เป็นผู้หญิงทำงานนอกบ้านเก่ง มีตำแหน่งงานดีและมีรายได้สูง ลูกสาวจะได้รับแรงบันดาลใจจากแม่ที่เป็นหญิงเก่งไปด้วย หากมีลูกชาย ลูกก็จะได้เรียนรู้ชอบผู้หญิงเก่ง เป็นผลดีต่ออนาคต และรู้จักช่วยเหลือกัน เช่น แม่ไม่ค่อยมีเวลาทำงานบ้าน ลูกก็ต้องช่วย จะไม่เกี่ยงเรื่องการทำงานบ้าน

  1. พ่อแม่มีฐานะทางสังคม

พ่อแม่ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมดี เป็นที่รู้จัก จะมีมุมมองและทางเลือกดีๆ ให้เด็กได้มากกว่า นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นที่ชี้ว่าเด็กที่มีผลสอบ SAT สูง (Scholastic Assessment Tests หมายถึงผลการสอบมาตรฐานของเด็กที่เรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในสหรัฐอเมริกา โดยมหาวิทยาลัยจะนำคะแนนสอบ  SAT นี้ไปเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษา โดยแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีเกณฑ์การใช้คะแนนนี้ต่างกันไป) มักเป็นเด็กที่มีพ่อแม่ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง

5. พ่อแม่มีการพัฒนาสัมพันธภาพที่ดีกับลูก

ความรักและความเอาใจใส่ล้วนๆ เลยค่ะ เด็กที่ได้รับความเอาใจใส่ใกล้ชิดจากพ่อแม่ในช่วงอายุ 3 ปีแรกที่ได้ลืมตาดูโลก จะมีความสามารถในการทำข้อสอบได้ดีกว่าเด็กที่ไม่มีสัมพันธภาพใกล้ชิดกับพ่อแม่ นอกจากนี้พวกเขายังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และประสบความสำเร็จทางการศึกษาอีกด้วย

  1. พ่อแม่สอนเลขเบื้องต้นให้ลูกตั้งแต่ตอนเด็กๆ

เรื่องนี้พ่อแม่ที่ไม่ต้องร่ำรวยหรือเรียนสูงๆ ก็ทำได้ค่ะ มันเป็นเรื่องการเอาใจใส่ ควรใช้เวลาสอนความรู้ต่างๆ เช่น การคิดเลขง่ายๆ ซึ่งทักษะเบื้องต้นง่ายๆ นี้มีผลต่อการพัฒนาทักษะของลูกเมื่อพวกเขาโตขึ้นอย่างที่พ่อแม่คาดไม่ถึงเลยค่ะ

  1. พ่อแม่มีการศึกษาสูง

พ่อแม่ที่มีการศึกษาน้อยและมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมไม่ดี อาจจะหมดกำลังใจที่จะเลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ แต่ก็มีเด็กที่ประสบความสำเร็จอีกหลายคน ที่ไม่ได้มาจากครอบครัวที่มีพ่อแม่ร่ำรวยและมีการศึกษาสูง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแรงบันดาลใจด้วย

  1. พ่อแม่มีความเครียดน้อย

พ่อแม่ที่ฉลาดและเลี้ยงลูกเป็น ต้องมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่สูง ไม่เครียดเกินไปในการเลี้ยงและดูแลลูก จึงจะได้ลูกที่มีสุขภาพจิตดีและมีสติปํญญาที่ดี สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี เข้าสังคมกับผู้อื่นได้ไม่มีปัญหา และทำงานได้ประสบความสำเร็จตามสมควร

  1. พ่อแม่ที่มีความคิดและยืดหยุ่นทางความคิดเป็น

พ่อแม่ต้องไม่ไปจำกัดความคิดลูก เช่น ต้องเรียนที่นี่ กับครูคนนี้เท่านั้น แบบนี้เรียกว่ามีวิธีคิดที่จำกัด และเมื่อไม่สามารถได้เงื่อนไขตามที่ต้องการ พ่อแม่ที่มีความคิดจำกัดแบบนี้ก็จะคิดว่าหมดหวัง แต่ถ้าพ่อแม่มีแนวคิดยืดหยุ่น เปลี่ยนไปได้ตามสถานการณ์ ลูกก็จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ได้ตลอดเวลา ทำให้เขาคิดต่อยอดเก่ง

พ่อแม่ ทั้ง 9 รูปแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ของตนเองได้นะคะ ไม่มีใครจะสมบูรณ์แบบไปทุกอย่าง ต้องมีบกพร่องกันทุกคน ขอเพียงให้เลี้ยงลูกคนหนึ่งอย่างสุดความสามารถ คิดบวก คิดยืดหยุ่น ให้ความรัก และความใส่ใจให้ลูก ไม่เครียด แค่นี้ก็น่าจะเป็นทุนที่เพียงพอให้ลูกประสบความสำเร็จได้ในอนาคตตามสมควรแล้วค่ะ

ทั้งนี้เป็นข้อมูลย่อย คุณพ่อคุณแม่สามารถอ่านงานวิจัยประกอบ และอ่านบทความเต็มๆ ได้ที่ www.bangkokbiznews.com

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข , www.bangkokbiznews.com


 

พ่อแม่ควรรู้! 10 คำพูดที่ลูกเจ็บปวด ไม่มีความสุข

พ่อแม่ห้ามพูด,- พ่อแม่ไม่ควรพูด-คำพูดที่พ่อแม่ไม่ควรพูด-สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรพูด 

พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกพัฒนาการดี จึงหาวิธีส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอย่างสุดความสามารถ แต่เราก็อย่าลืมว่า ลูกยังเป็นเด็ก เขาจึงมีข้อจำกัดหลายอย่างที่อาจจะทำให้ผลออกมาไม่ดีอย่างที่พ่อแม่หวัง เราจึงต้องเข้าใจและให้กำลังใจเพื่อให้ลูกพยายามมากขึ้นทุกวัน แต่รู้หรือไม่ว่าความผิดหวังของพ่อแม่อาจสื่อออกมาด้วยคำพูดที่บั่นทอนกำลังใจลูก และคำพูดแบบนี้เจ็บปวดฝังลึกเหมือนการโดนตีเลยทีเดียว

10 คำพูดที่ลูกเจ็บปวด ไม่มีความสุข
  • ทำไมแค่นี้ก็ทำไม่ได้

เปลี่ยนเป็น > ไปพักเติมพลังกันลูก เดี๋ยวค่อยมาลองกันใหม่นะ  

  • ง่ายจะตายทำไมยังทำไม่ได้

เปลี่ยนเป็น > แม่ว่ามันยากไปเนอะ เดี๋ยวเราลองหาวิธีง่ายกว่านี้มาลองกันใหม่นะ  

  • เพื่อนยังทำได้เลย

เปลี่ยนเป็น > แม่ชอบแบบที่หนูทำมากเลยลูก คราวหน้าลองทำแบบอื่นเพิ่มดีไหมคะ  

  • ทำไมไม่ทำเหมือนที่บอก

เปลี่ยนเป็น > ทำแบบนี้ก็ได้หรอลูก เก่งจัง คราวหน้าแม่ขอทำด้วยได้ไหมเผื่อเราช่วยกันคิดอะไรสนุกๆ ได้อีก  

  • เมื่อไหร่จะทำได้สักที

เปลี่ยนเป็น > ไว้เรามาลองกันใหม่นะ หนูอยากลองทำอีกเมื่อไหร่บอกแม่นะคะ  

  • ทำได้แค่นี้จะสู้เพื่อนได้หรอ

เปลี่ยนเป็น > เก่งจังลูก เพิ่งทำแค่ไม่กี่ครั้งยังดีขนาดนี้เลย แม่ดูแล้วรู้เลยว่าหนูตั้ังใจมากๆ   

  • คราวหน้าถ้ายังทำไม่ได้จะโดนทำโทษ

เปลี่ยนเป็น > นี่ทำได้ดีกว่าครั้งที่แล้วอีกนะ แม่ว่าคราวหน้าหนูต้องทำได้ดีกว่านี้แน่ๆ  

  • พ่อแม่ยังทำได้เลยทำไมหนูทำไม่ได้

เปลี่ยนเป็น > เก่งนะเนี่ย ตอนพ่อแม่อายุเท่าหนูยังทำแบบนี้ไม่ได้เลย  

  • แม่เบื่อจะสอนแล้วนะ ทำไมยังทำไม่ได้

เปลี่ยนเป็น > คราวหน้าแม่ขอทำด้วยได้ไหมตะ เดี๋ยวเราทำพร้อมกันนะ แม่ว่าต้องสนุกแน่ๆ   ทำไมสอนไม่จำ เปลี่ยนเป็น > ทำเหมือนที่แม่ทำให้ดูได้หลายอย่างเลย เก่งจังลูก คราวหน้าแม่จะลองทำให้ดูอีกแบบหนึ่งดีไหมคะ

อย่าลืมนะคะว่า เด็กทุกคนมีศักยภาพและความสามารถ พ่อแม่จะต้องมองให้เห็นและส่งเสริมอย่างถูกต้องตามช่วงวัยและความถนัดของเขา เพราะ "ลูกเราไม่เหมือนใคร" ดังนั้นการสอน แนะนำ ส่งเสริม จึงมีความเฉพาะตัว และไม่ควรเอาลูกเราไปเปรียบเทียบกับลูกใครด้วยเช่นกัน

การเลือกใช้คำพูดที่ดี เชิงบวก เป็นอีกหนึ่งวิธรกระตุ้นและสร้างกำลังใจให้ลูกได้พอๆ กับการบอก รัก กอด สัมผัส ก่อนพูดอะไรกับลูกเราจึงต้องตั้งสติ คิดให้รอบคอบเสมอค่ะ