facebook  youtube  line

เปรียบเทียบลูก ส่งผลพัฒนาการช้า

การเลี้ยงลูก, ทัศนคติลูก, พ่อแม่รังแกฉัน, เปรียบเทียบลูก

เปรียบเทียบลูก ส่งผลพัฒนาการช้า

คุณพ่อคุณแม่เคยพูดประโยคเหล่านี้กับลูกของคุณหรือไม่ ?

“ดูซิ เด็กบ้านโน้นเค้ายังทำแบบนี้ได้เลยนะ ทำไมหนูทำไม่ได้” 

“ดูพี่คนนั้นซิ เค้าเก่งนะ ทำนี่ก็ได้ ทำโน้นก็ดี หนูต้องทำให้ได้แบบเค้านะลูกนะ”

เคยไหมคะ ที่ลูกวัย 3-6 ปีของเราทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ เผลอเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่นโดยไม่เจตนา โดยลืมนึกไปว่าลูกเข้าใจคำพูดของผู้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี โดยการเปรียบเทียบส่งผลให้พัฒนาการหยุดชะงัก การช่วยเหลือตนเองในด้านต่าง ๆ จากที่ลูกเคยทำได้แล้วก็อาจจะกลายเป็นทำช้าลง หรือทำไม่ได้อีกเลย ที่สำคัญลูกก็ไม่ชอบให้ตัวเองถูกเปรียบเทียบด้วย 

ขอแนะนำ หากเกิดขึ้นแล้วแก้ไขได้ด้วย 3 ข้อนี้ค่ะ
  1. คุณพ่อคุณแม่ลองเปลี่ยนความคิดใหม่นะคะ  อย่ามัวแต่คิดว่า ลูกเราด้อยยังไง ทำอะไรได้น้อยกว่าลูกคนอื่นแค่ไหน หรือลูกเราเสียเปรียบลูกคนอื่นเรื่องอะไร 

  2. ช่วยกันเสริมสร้างความรู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ลูกเรามี  ช่วยกันดึงข้อดีที่มีออกมาสนับสนุน และช่วยกันพัฒนาจุดอ่อนที่ยังต้องฝึกฝนไปด้วยกัน สอนให้ลูกมีจุดพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี 

  3. สร้างแรงบันดาลใจ พูดคุยกับลูกถึงสิ่งที่อยากทำและอยากสิ่งที่อยากจะเป็น การเรียน อาชีพ ความฝัน สิ่งที่ชอบและถนัด สนใจอยากจะทำ หากลูกไม่มีสิ่งเหล่านี้ คนเป็นพ่อแม่ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ลูก เล่าเรื่องคนที่ประสบความสำเร็จ อันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกนะคะ 

คุณพ่อคุณแม่ต้องเชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเขาเอง เชื่อมั่นในความดีของเขา สนับสนุนและยอมรับในสิ่งที่ลูกทำ ปัญหาด้านพัฒนาการต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ รักลูกหยุดเปรียบเทียบให้ลูกเสียใจนะคะ

เมื่อจะเป็นแม่ ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี

3131

 

คุณหมอคะ อยากเป็นแม่แล้ว แม่ต้องมีอะไรก่อนคะ?

ไม่อยากจะพูดเลยว่าต้องมีเงิน อย่าลืมว่างบประมาณด้านการศึกษาในบ้านเราสูงมาก ไม่มีอะไรฟรี ลำพังค่ากวดวิชามากกว่าหนึ่งแสนหลายเท่าโดยไม่รู้ตัว

ดีแล้วที่ถาม พ่อแม่ที่พร้อมจะรักกันและแต่งงานกันแล้วคิดว่าการเลี้ยงลูกเป็นของง่ายจะได้คิดใหม่ เพราะการเลี้ยงลูกมิใช่ของง่าย มีแล้วทิ้งขว้างด้วยความมักง่ายนั้นง่าย แต่ถ้าจะสละชีวิตส่วนตัวเพื่อเลี้ยงเขาอย่างดีที่สุดเป็นเวลา 10 ปีมิใช่ของง่าย ทำให้มีความสุขนั้นได้แต่ไม่ง่ายอยู่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่มีอะไรเลยในมือ ไม่มีแม้กระทั่งความอดทน

ทักษะที่หนึ่ง คือความอดทน

การเลี้ยงลูกไม่มีคำว่าสบายตั้งแต่แรกอยู่แล้ว แต่เพราะเรารู้แล้วว่าการเลี้ยงลูกอย่างดีที่สุดด้วยการให้เวลามากที่สุดใน 3 ขวบปีแรกเป็นเรื่องสำคัญแล้วจะได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า กล่าวคือลูกจะเป็นเด็กเลี้ยงง่าย(กว่าลูกชาวบ้าน)ไปอีกนาน ดังนั้นเราจะอดทน

ความอดทนมิได้มากจากพลังใจอย่างเดียว แต่มาจากการออกกำลังกายทุกวันๆละอย่างน้อย 30 นาทีด้วย ซึ่งพ่อแม่ส่วนใหญ่จะพูดว่าไม่มีเวลา ดังนั้นไปหาเวลามา ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่าหลังจากออกกำลังกายแล้วเราเหลือเวลาตั้งวันละ 23 ชั่วโมงครึ่ง มันเยอะมาก

ทักษะที่สอง คือบริหารเวลา
เรารู้แล้วว่าเวลามากที่สุดที่ให้แก่ลูกคือดีที่สุด แต่ทุกคนต้องไปทำงานตั้งแต่เช้ามืด หากเป็นเมืองใหญ่ต้องฝ่าจราจรกลับบ้านมืดค่ำ วันเสาร์อาทิตย์อาจจะต้องทำล่วงเวลาหรือแบตเตอรี่หมด จะเห็นว่าเราเหลือเวลาไม่มากนักที่จะอยู่กับลูกและเล่นกับลูก

พ่อแม่ที่เก่งกว่าคือพ่อแม่ที่บริหารเวลาได้ดีกว่า เงินต้องหา คู่สมรสต้องดูแล ลูกต้องเลี้ยง และส่วนตัวต้องการการพักผ่อน ไม่นับการออกกำลังกาย การบริหารเวลาเป็นทักษะของแต่ละบุคคล หลักการคือระลึกไว้เสมอว่าเวลาไหนไม่ควรทำอะไร และทวนสอบเสมอว่างานอะไรที่ไม่มีประโยชน์ ก็อย่าไปทำ

ก็จะรู้เองว่าเวลาไหนควรทำอะไร และงานอะไรที่ควรทำ เช่น เอาเวลาที่ไปนั่งฟังเจ้านายแล้วคอยพยักหน้า  มานั่งฟังลูกเล่านี่นั่นเสียงเจื้อยแจ้วมีประโยชน์กว่ามาก เป็นต้น

ทักษะที่สาม คือทักษะการฟัง
ทักษะการฟังใช้ได้กับทั้งคู่สมรสซึ่งเหนื่อยสาหัสพอๆ กับเรา และใช้ได้กับลูกซึ่งยิ่งพัฒนายิ่งซนเป็นลิง รวมทั้งยิ่งฉลาดยิ่งมีเหตุผลประหลาดๆสารพัด ฟังเก่งๆ ฝ่ายตรงข้ามมักสงบไปเอง

การฟังที่ดีคือการฟังด้วยตา หู กาย และใจ จมูกและลิ้นอาจจะไม่ต้องใช้ นั่งฟังคู่สมรสหรือลูกพูดให้เก่งๆ ฟังและยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขก่อนในตอนแรกๆ อย่ารีบร้อนซักถามเพราะจะถูกกล่าวหาว่าซักฟอก

อย่ารีบร้อนโต้เถียงเพราะจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามหมดอารมณ์พูด ไม่แม้กระทั่งอย่ารีบร้อนเสนอแนะเพราะไม่มีใครฟังข้อเสนอแนะของคนที่ไม่ฟังก่อนอยู่แล้ว

 

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล


 

เมื่อลูกช่างถาม ทำอย่างไรให้เป็นเด็กช่างคิด

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF
 
เพราะการตั้งคำถามของลูกไม่ใช่แค่ความสงสัยใคร่รู้ตามวัย หากแต่เป็นความความช่างสังเกต ช่างคิด ช่างสงสัย ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ค่ะ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งเบื่อที่ลูกตั้งคำถาม แต่ควรชวนลูกหาคำตอบเพื่อสร้างนักคิดแทนค่ะ  
How to ปั้นลูกช่างถามให้เป็นเด็กช่างคิด 

1. ตอบคำถามลูกด้วยคำถาม ไม่ใช่การปัดความรับผิดชอบค่ะ หากแต่เป็นการกระตุ้นให้ลูกคิดหาคำตอบด้วยตัวเอง เช่น เมื่อลูกถามว่าทำไมน้ำทะเลถึงเค็ม พ่อแม่อาจตอบลูกว่า แล้วลูกคิดว่าทำไมล่ะ จากนั้นอาจจะต่อยอดด้วยการชวนลูกหาข้อมูลจากที่ต่างๆ เช่น สถานที่จริง พิพิธภัณฑ์ หนังสือ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น

2. ชวนลูกหาคำตอบด้วยกิจกรรมที่เข้าใจง่ายบางคำถามพ่อแม่ไม่จำเป็นต้องตอบก็ได้ แต่ให้ลูกได้หาคำตอบเอง เช่น ทำไมรถถึงเคลื่อนไปข้างหน้า แทนที่จะตอบว่าเพราะมีคนขับ หรือเพราะเราเติมน้ำมัน แต่ถ้าหากิจกรรมวิทยาศาสตร์สนุกๆ เกี่ยวกับเรื่องแรงและการเคลื่อนที่มาทดลองเล่นกับลูก นอกจากจะได้คำตอบสนุกๆ ที่สร้างสรรค์แล้ว ยังกระตุ้นให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ด้วย

3.ตั้งคำถามกับลูกจากเรื่องใกล้ตัว “อะไร ทำไม ยังไง” เช่น ทำไมหมาต้องเห่าด้วย ลูกอาจจะตอบว่าเพราะหมาเห็นคนแปลกหน้า หมากำลังดีใจ หรือมีคนร้าย ตามแต่ประสบการณ์ของเขา แล้วพ่อแม่อาจจะถามต่อว่าต้องทำอย่างไรให้หมาหยุดเห่า ลูกก็จะคิดหาคำตอบและวิธีแก้ปัญหา

4. ชวนทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น ทำอาหาร ทำของใช้ DIY ในระหว่างขั้นตอนการทำจะได้พูดคุยกัน อย่างการทำอาหาร ให้ลูกลองชิม แล้วถามว่าอร่อยหรือยัง อยากใส่อะไรเพิ่มอีก หรือคุณแม่แนะนำส่วนประกอบต่างๆ ทำให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์ และกระตุ้นให้เกิดการถามตอบ เป็นการพัฒนาทักษะการพูดได้ดี

5. ตั้งคำถามสร้างจินตนาการ เพราะการใช้จินตนาการก็เหมือนการบริหารสมองอย่างหนึ่ง ลองถามคำถามที่ดูเกินจริงหรืออยู่ในโลกสมมติบ้างเช่น ถ้าเหาะได้ หนูจะเหาะไปที่ไหน ถ้ามีพลังแบบเจ้าหญิงเอลซ่าหนูจะทำยังไง ถ้าโดราเอม่อนมีจริง อยากได้ของวิเศษอะไรที่สุด          


เจ้าหนูจำไมอาจน่าเบื่อบ้าง แต่เพราะนั่นคือพัฒนาการตามวัยของเขา บางครั้งหากตอบคำถามลูกไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดหรือต้องหงุดหงิดค่ะ เพราะสิ่งที่สำคัญมากกว่าคำตอบก็คือกระบวนการให้ได้มาซึ่งคำตอบ นั่นคือการเรียนรู้ระหว่างทาง

 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

เรื่องสำคัญที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนลูกวัยรุ่น

2864

ขอปรึกษาเรื่องลูกวัยรุ่นค่ะ ตอนนี้เขาอยู่ ม.2 แล้ว เราทะเลาะกันทุกวัน พูดอะไรเขาไม่ฟังเอาเลย เรียกทำอะไรก็ไม่ทำ ทั้งการบ้านหรือช่วยงานที่บ้าน กลุ้มใจมากเลย

คำถามของรักลูกมักเกี่ยวข้องกับเด็กเล็ก อย่างไรก็ตามหากเราทำไม่เรียบร้อยวันนี้ เรื่องเช่นนี้จะเกิดขึ้นตอนที่เขาเข้าสู่วัยรุ่นเสมอ เราจึงแนะนำให้เลี้ยงลูกโดยมีเป้าหมายว่าช่วยให้เขามีความสามารถดูแลและควบคุมตัวเองให้ได้ก่อนที่จะกลายเป็นวัยรุ่น ที่ซึ่งเขาจะไม่ฟังเราอีกเลย ทำได้อย่างไร สั้นที่สุดคืออ่านนิทานก่อนนอนทุกคืนตั้งแต่เกิด สละเวลาลงไปเล่นกับเขามากที่สุดตั้งแต่แรก และสอนเขาทำงานบ้านเมื่อเขาอายุประมาณ 4 ขวบ

ระหว่างนั้นมีเรื่องที่ควรทำคือสอนเขาดูแลร่างกายของตัวเองให้ได้ก่อนอายุ 3 ขวบ ได้แก่ นั่งกินข้าวด้วยตัวเองให้เรียบร้อยใน 30 นาที อาบน้ำและแปรงฟันด้วยตัวเอง 

เมื่อถึง 4 ขวบกินข้าวเสร็จแล้วเอาจานไปล้าง แล้วแปรงฟันให้เรียบร้อย ตื่นเช้าให้เก็บที่นอนด้วยตัวเอง เล่นของเล่นแล้วเก็บให้เรียบร้อยทุกครั้ง และเมื่อถึง 6 ขวบ ให้สอนทำงานบ้านพื้นฐาน ได้แก่ กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างจาน เก็บจาน ซักผ้า ตากผ้า และเทขยะ

เรื่องจะง่ายมากยิ่งขึ้นหากเราฝึกให้เขาทำงานก่อนเล่น นั่นคือเมื่อเข้าบ้านให้ทำงานบ้าน เสร็จแล้วไปทำการบ้าน เก็บการเล่นไว้สุดท้าย ด้วยวิธีนี้เขาจะได้ฝึกความสามารถที่จะควบคุมตัวเองทำงานยากและลำบากให้เสร็จก่อนที่จะหาความสนุก ลักษณะนิสัยนี้จะก่อตัวเป็นวงจรประสาทรองรับ Executive Function หรือ EF เพื่อใช้ต่อไปในอนาคตเมื่อการเรียนยากขึ้น การบ้านมากขึ้น โครงงานมากขึ้น กิจกรรมพิเศษมากขึ้น  เขาจึงจะทำได้

เมื่อเด็กกลายเป็นวัยรุ่น เขาเปรียบเสมือนหนอนที่กลายเป็นผีเสื้อ เขาจะไม่ฟังอะไรเราอีก มีแต่จะหมกมุ่นกับตัวเอง ไม่เชื่อฟัง และพร้อมจะบินไปจากเรา เราจึงไม่ควรใช้คำสั่งในการเลี้ยงเขาเพราะมีแต่จะบาดหมางกัน เรายิ่งสั่งมากสอนมากเขาจะดื้อ ไม่ฟัง เถียงคำไม่ตกฟาก และต่อต้านด้วยพฤติกรรมไม่น่ารักต่างๆ นานา

ก่อนที่จะถึงเวลานั้น เราควรรู้ทันก่อนแล้วลดบทบาทตนเองลงมาเป็นเพื่อนผู้รับฟัง นั่งเป็นเพื่อน ทำให้เขารับรู้ว่าเราไว้ใจได้และรับฟังเสมอ เขาจึงเข้าหาเราเพราะที่แท้แล้วเขามีเรื่องหนักใจจากทางโรงเรียนมากมาย ทั้งเรื่องตัวเอง แฟน เพื่อน ครู การเรียน การสอบ กิจกรรม มากมายเต็มไปหมด เขาต้องการคนฟัง

เมื่อเขามาหาเรา เราฟัง อย่าขัดคอ อย่าซักถาม อย่าซักฟอก อย่าแนะนำ อย่าดุด่า เรามีหน้าที่ฟังเท่านั้น ฟังจนกระทั่งเขารู้ว่าเราฟังเขาจึงจะอ่อนลง เสียงเบาลง อารมณ์พลุ่งพล่านน้อยลง แล้วเขามักสงบเอง ไตร่ตรองได้เองว่าควรจะทำอะไรต่อไป

เขาอาจจะถามความเห็นเราด้วย เราแสดงความคิดเห็นได้ เสนอแนะได้แต่ด้วยใจเป็นกลาง ทำให้เขารู้ว่าเราเพียงแค่บอกกล่าวแต่เราจะเคารพการตัดสินใจของเขาและพร้อมรับฟัง พ่อแม่ที่ไว้ใจลูกจะพบว่าเขามักตัดสินใจได้ดีเสมอ

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

เล่นจ๊ะเอ๋กับลูก สร้าง EF ได้ทุกที่ทุกเวลา

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

ดูเหมือนเป็นกิจกรรมธรรมดา แต่รู้มั้ยคะว่า การเล่นจ๊ะเอ๋มีความสําคัญกับการสร้าง EF อย่างมาก เพราะการรับรู้ของเด็กวัยทารก แค่พ่อแม่ปิดหน้าลูกจะเข้าใจทันทีว่าพ่อแม่หายไปแล้ว พอเปิดหน้ามาเขาจะสงสัยว่าพ่อแม่มาได้อย่างไร ตรงนี้เป็นพื้นฐานเป็นบันไดขั้นแรก ในการเรียนรู้ สมองจะทํางานประสานกันหมด

 
สมมติคุณแม่เอาผ้าบังหน้าไว้ เขาก็จะเรียนรู้ที่จะเอาผ้าออกก็ จะเจอหน้าแม่ สิ่งเหล่านี้ช่วยฝึกทักษะการแก้ปัญหา... เรียนรู้ที่จะบังคับร่างกายให้สามารถหยิบจับสิ่งต่างๆ กล้ามเนื้อมือและสมองทํางานประสานกัน การเล่นง่ายๆ อย่างจ๊ะเอ๋หรือเอาของไปซ่อนใต้ผ้า ช่วยปลูกฝังให้ลูกเราได้รู้จักคิด แก้ปัญหา และมี EFที่ดี
 
กระบวนการสร้างEF จำเป็นต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่เด็กยังเล็กซึ่งในช่วงแรกบทบาทของพ่อแม่สำคัญที่สุดที่จะดูแลให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ไว้วางใจ และมั่นคงทางจิตใจ รวมถึงได้รับโภชนาการที่ดี ได้นอนอย่างเพียงพอและได้เล่นสนุกตามวัย เมื่อลูกโตขึ้นจากวัยเบบี้เป็นวัยเตาะแตะหรือวัยอนุบาล
 
อีก 2 กุญแจสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกทำได้ที่บ้าน คือการช่วยเหลือตัวเอง และการช่วยทำงานบ้าน เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้เจอกับ ประสบการณ์หลากหลาย ที่ท้าทายมากขึ้น ให้ลูก ได้ลองผิดลองถูก ช่วยให้ลูกได้พัฒนาทักษะ EF เมื่อ ลูกได้ฝึกฝนประสบการณ์อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ก็จะเกิดเป็นทักษะ EF ที่แข็งแรงติดตัวลูกไปจนโต
 

เลี้ยงผิดชีวิตลูกเปลี่ยน! 4 ปัญหาที่ลูกเจอแน่ ถ้าคนหนึ่งเข้มงวด คนหนึ่งสปอยล์

การเลี้ยงลูก, เลี้ยงลูกคนละทาง, พ่อดุ แม่ใจดี, พ่อดุ แม่ใจดี ลูกมีปัญหา, ปัญหาการเลี้ยงลูก, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกรักพ่อมากกว่า, ลูกรักแม่มากกว่า, ลูกไม่ฟัง

กำลังเข้มงวดสอนลูก อยู่ ๆ มีคนในบ้านพูดว่า "ไม่เป็นไรลูก ไม่ต้องทำก็ได้" รู้ไหมว่าถ้ายังไม่ปรับวิธีเลี้ยงลูกให้ถูกทาง ลูกเจอปัญหาแน่นอน

เลี้ยงผิดชีวิตลูกเปลี่ยน! 4 ปัญหาที่ลูกเป็นแน่ ถ้าคนหนึ่งข้มงวด คนหนึ่งสปอยล์

เชื่อว่าหลายบ้านกำลังเจอเรื่องนี้ค่ะ

  • แม่เข้มงวดมาก พอพ่อเห็นก็บอกว่า ไม่เป็นไร ไม่ต้องทำได้
  • พ่อกำลังสอนอยู่ดี ๆ แม่เข้ามากอด มาสปอยล์ลูก ทำให้ลูกไม่ได้ฟังที่พ่อสอนซะดื้อ ๆ 
  • พ่อแม่อยากให้ลูกรู้จักดูแลตัวเอง คนหนึ่งเข้มงวดมีตารางเวลาชัดเจน อีกคนสอนแบบทำไปด้วยกัน ลูกกำลังทำได้ดีอยู่แล้วเชียว ไปค้างบ้านคุณย่าไม่กี่วัน คุณย่าตามใจหนักมากว่าไม่ต้องทำก็ได้เพราะกลัวหลานไม่รัก

เอาล่ะสิคะ การเลี้ยงลูกแบบที่เป้าหมายเดียวกัน แต่วิธีการเข้าหาและสอนลูกต่างกันมันอาจทำให้ลูกสับสนได้นะว่า ตกลงต้องทำหรือไม่ต้องทำกันแน่ และถ้าทุกคนในบ้านยังไม่จับเข่าคุยกันเพื่อหาแนวทางการเลี้ยงลูกที่ Balance ทุกด้าน ลูกอาจเจอ 4 ปัญหานี้

1. ทำให้ลูกสับสน

หากครอบครัวไหนคุณแม่เป็นคนเข้มงวด ไม่ตามใจ ส่วนคุณพ่อตามใจลูกทุกอย่าง ลูกจะเกิดความสับสนว่าควรทำตัวอย่างไร ต้องอดทนหรือควรงอแงเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการมาค่ะ

วิธีแก้ไข: พ่อแม่ควรพูดคุยและตกลงกันให้เป็นเสียงเดียวก่อนว่าจะฝึกสอนลูกแบบไหน หากยังคิดเห็นไม่ตรงกันให้บอกกับลูกว่า “พ่อแม่ขอปรึกษากันก่อน แล้วจะให้คำตอบทีหลัง” ดีกว่ามาทะเลาะหรือเถียงกันต่อหน้าลูกนะคะ

 

2. ทำให้ลูกเลือกข้างคนที่ตามใจ

เมื่อเกิดปัญหาขึ้นลูกจะเลือกเข้าหาคนที่ตามใจ ทำให้ลูกเลือกที่จะไม่ฟังคนเข้มงวด ยิ่งสอนลูกยากค่ะ

วิธีแก้ไข: พ่อแม่ต้องใช้วิธีการคุยเพื่อขอให้อีกฝ่ายไม่เข้ามาแทรกแซงระหว่างที่สอนลูก ยกตัวอย่างเช่น “ในช่วงที่แม่สอนลูก แม่ขอให้พ่อไม่เข้ามาแทรกแซงต่อหน้าลูก ถ้าพ่อไม่ชอบใจตรงไหน ขอให้เก็บมาคุยกันตอนหลัง” แต่หลีกเลี่ยงการพูดในลักษณะออกคำสั่งนะคะ

 

3. ทำให้ลูกควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้

หากลูกร้องไห้แล้วคุณพ่อตามใจ แต่คุณแม่ไม่ให้ ไม่ตามใจ ความรู้สึกของลูกเดี๋ยวได้เดี๋ยวไม่ได้ ส่งผลกับอารมณ์โดยตรง พอไม่ได้ดั่งใจลูกก็จะหงุดหงิด และอารมณ์แปรปรวนง่าย

วิธีแก้ไข: เลือกเวลาสบายๆ ของคุณพ่อคุณแม่พูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการเลี้ยงลูกและตั้งเป้าหมายไปที่ ‘การแก้ปัญหา’ ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่ควรพูดว่า “วันนี้แม่อยากคุยเรื่องวิธีควบคุมการใช้หน้าจอของลูก” แทนการพูดตำหนิอีกฝ่ายว่า “พ่อให้ลูกดูการ์ตูนมากเกินไป ลูกจะสายตาเสีย และเรียกมากินข้าวยากมาก ๆ เพราะพ่อตามใจ”

 

4. ทำให้ลูกดื้อและต่อต้าน

ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูก ทำให้ลูกไม่เชื่อฟัง ดื้อ และต่อต้าน เพราะคุณพ่อคุณแม่สอนคนละแบบ

วิธีแก้ไข: คุณพ่อคุณแม่ควรหาบทสรุปการเลี้ยงลูก ก่อนที่ลูกจะไม่เชื่อฟังและต่อต้าน อาจใช้วิธีเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายเสนอแนวคิด และรับฟังด้วยท่าทางเปิดรับ

คุณพ่อคุณแม่ลองนำไปปรับใช้ดูนะคะ หาเวลาคุยกันทั้งสองฝ่ายว่าเราจะเลี้ยงลูกแบบไหนกันดี เพราะการเลี้ยงลูกคนละทางนอกจากจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกเปลี่ยนไป ยังส่งผลต่อลูกเราโดยตรง เปลี่ยนเพื่อลูก พ่อแม่ทำได้อยู่แล้วค่ะ

 

    เลี้ยงลูกให้ได้ดี ด้วยบันได 7 ขั้นสู่ EF

    บันได 7 ขั้น  ขั้นสู่ EF, ลูกดื้อ, ลูกดื้อทำยังไงดี, เลี้ยงลูกให้ได้ดี, เลี้ยงลูกด้วย EF, เป็นพ่อแม่ที่ดีได้อย่างไร, นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์,พัฒนาสายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นด้วยตา,พัฒนาการเด็ก,เลี้ยงลูกแบบหมอประเสริฐ, สร้างตัวตน ,วัยแห่งการเล่น, เล่น, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, รักลูก ครอบครัว EF

    การส่งเสริมและพัฒนา EF ให้กับลูกนั้น เริ่มได้ตั้งแต่แรกเกิดเลยค่ะ สิ่งสําคัญคือการส่งเสริมและพัฒนาที่สอดคล้องไปกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับ “บันได 7 ขั้นสู่ EE”ของ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ที่กล่าวถึงการเลี้ยงลูกให้ได้ดีมี EF นั้น เด็กที่ได้รับการดูแลจากพ่อแม่และผู้ปกครองตามบันได 7 ขั้น และทําบันไดในแต่ละขั้นให้สมบูรณ์ ย่อมมี โอกาสจะประสบความสําเร็จในชีวิตได้มากกว่า
    บันได 7 ขั้นสู่ EE

    มี 2 ขั้นแรกที่สําคัญที่ต้อง เริ่มสร้างตั้งแต่เด็กวัยทารก คือ

    บันไดขั้นที่ 1 :แม่มีจริง (Object Constancy) แม่เป็นเสาหลักของพัฒนาการ ทารกจะรู้ว่าแม่มีอยู่จริงเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต หากแม่มอบความรัก อุ้มลูกมากพอ ดูแลลูกมากพอ แม่ก็จะมีจริง ประทับลงลึกถึงจิตใต้สํานึกของเด็ก แม้เมื่อเด็ก โตขึ้น และแม่ไม่อยู่ด้วยกัน แต่แม่ก็ยังมีจริง ในใจเสมอ สร้างความมั่นคงในจิตใจลูก

    บันไดขั้นที่ 2 : สร้างสายสัมพันธ์ (Attachment) ใน 1-3 ปีแรกของชีวิต ลูกจะยัง ไม่แยกตัวออกจากแม่โดยสมบูรณ์ เป็นช่วงเวลา ที่จะพัฒนาสายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่สื่อด้วยใจ ผ่านการเลี้ยงดู ให้เวลาดูแล กอด หอม คุ้ม เล่น มากพอ เด็กก็พร้อมที่จะสร้างตัว ตนของตัวเองขึ้นมา เมื่อลูกอายุ 2 1/2 - 3 ขวบ จะเกิดกระบวนการแยกตัวเป็นบุคคลอิสระจากแม่

    ดังนั้นการได้อยู่กับแม่ในช่วงเวลานี้เป็นสิ่งสําคัญ (การแยกกับแม่ก่อนอายุ 3 ขวบ อาจทําให้ลูก เกิดแผลทางใจ)
    เมื่อแม่ได้สร้างบันไดพื้นฐาน 2 ขั้นนี้ให้กับ ลูกแล้ว จะนําไปสู่การสร้างบันไดในขั้นอื่น ๆ ตามมา

    บันไดขั้นที่ 3 : “สร้างตัวตน” (Self) วัยแห่งการเล่น “เล่น” คือโอกาสทองที่นอกจากจะ ทําให้เด็กแข็งแรงแล้ว ยังทําให้เด็กได้รู้จักร่างกาย ตนเอง ได้เรียนรู้การใช้ร่างกายตนเอง และที่สําคัญ ได้สมองที่ดี

    บันไดขั้นที่ 4 : “การนับถือตนเอง” (SelfEsteem) เป็นแรงผลักดันในการพัฒนาตนเอง ความรู้สึกที่ว่าหนูทําได้ เป็นความนับถือตัวเอง เป็นพลังที่จะทําให้เด็กพุ่งไปข้างหน้า

    บันไดขั้นที่ 5 :“ควบคุมตัวเอง” (SelfControl) เป็นรากฐานสําคัญของ EF

    บันไดขั้นที่ 6 : “EF” (Executive Functions) คือความสามารถของสมอง ในการควบคุมความ คิด อารมณ์ และการกระทํา เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

    บันไดขั้นที่ 7 : “ทักษะศตวรรษที่ 21” เราไม่ได้ต้องการเด็กที่มีความรู้เยอะหรือเด็กที่ ท่องเก่ง เราต้องการเด็กที่รู้ว่าเป้าหมายตัวเอง คืออะไร แล้วจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้ด้วยอะไร

    บันไดทุกขั้นเหล่านี้สามารถสร้างและเป็น ไปได้ในบ้านทุกบ้าน ทุกครอบครัวที่เข้าใจและ ลงมือทํา อย่างมีเป้าหมายเพื่อสร้าง EF ให้กับลูก นั้นเอง



     
     

    แค่ให้ลูกล้างจานก็ได้ฝึก EF แล้วนะ

    EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

    งานบ้านง่ายๆ หลายอย่าง นอกจากฝึกทักษะให้เป็นเด็กมีความรับผิดชอบ รู้จักช่วยตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่น การฝึกให้ลูกทำงานบ้านต่างๆ ยังช่วยให้เขาได้ฝึกพัฒนาทักษะ EF ด้วยค่ะ อย่างเช่น การล้างจานหลังจากกินข้าวเสร็จ ลูกจะได้ทักษะดังต่อไปนี้ 


    1. Initiating = ถ้าให้ลูกทำทุกครั้งหลังจากกินข้าวเสร็จ ลูกจะรู้ว่าเป็นหน้าที่ที่ตนเองต้องทำ สามารถทำได้เองโดยที่พ่อแม่ไม่ต้องบอก 

    2. Working Memory =รู้จักขั้นตอนการล้างจาน ลำดับก่อนหลังว่าควรล้างอะไรก่อน เช่น ล้างแก้วก่อนจานชาม

    3. Shift หรือ Cognitive Flexibility รู้จักยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนความคิด เช่น เมื่อเจอเศษอาหารขณะล้าง จะต้องทำอย่างไร จะเขี่ยลงอ่างล้างจาน หรือแยกออกมาทิ้งในถังขยะ 

    4. Focus/Attention ตั้งใจและจดจ่อกับงานตรงหน้า เพราะถ้าลูกไม่จดจ่ออาจทำจานชามหลุดมือหรือทำตกแตกได้ 
            
    5. Planning and Organizing รู้จักวางแผนการล้าง เริ่มจากการเก็บจากโต๊ะอาหาร ต้องเก็บอย่างไร ต้องแยกเศษอาหารไปทิ้งต่างหาก จานชามเท่านี้ต้องใช้น้ำยาล้างจาน ใช้น้ำล้างทำความสะอากแค่ไหน ทำอย่างไรจึงจะประหยัดน้ำ เป็นต้น  

    6. Self -Monitoring = รู้จักประเมินตนเอง เช่น การเช็กดูว่าตนเองล้างจานสะอาดหรือไม่ ถ้ารีบไปเล่นทำให้ล้างจานแบบลวกๆ คราบอาหารก็ยังคงติดจานอยู่ 


    ซึ่งนอกจากการล้่างจานแล้ว การให้ลูกทำงานอื่นๆ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน รดน้ำต้นไม้ ซักผ้า จัดของ ฯลฯ ก็ช่วยฝึก EF ได้เช่นกันค่ะ 

    แค่ให้ลูกสวมถุงเท้ารองเท้าเอง ก็ได้ฝึก EF

     EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

    การให้ลูกใส่รองเท้าและผูกเชือกรองเท้าช่วยฝึก EF 
    อาจเป็นสิ่งที่เด็กๆ ต้องทำ เป็นเรื่องปกติที่เด็กๆ ต้องเรียนรู้ แต่นอกเหนือจากหน้าที่และความรับผิดชอบแล้ว การที่ลูกผูกเชือกรองเท้าเอง ยังสอนอะไรเขาได้อีกเยอะเลยค่ะ 


    ฝึกความอดทน กว่าลูกจะสวมถุงเท้าและรองเท้าได้ต้องอาศัยการเรียนรู้ ฝึกฝน ใช้ความพยายามในการสวมใส่ให้ถูกต้อง โดยเฉพาะรองเท้าที่ต้องผูกเชือก ลูกต้องใช้ความอดทนในการฝึก ผูกอย่างไร แกะอย่างไร  

    ฝึกความรับผิดชอบ ลูกต้องรู้จักช่วยเหลือตัวเอง รับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง เพราะการสวมรองเท้าเองก็เหมือนกับการที่เด็กๆ ต้องอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน แต่งตัวได้ด้วยตัวเอง   

    มีการวางแผนที่ดีจะสวมรองเท้าต้องสวมถุงเท้าก่อน เวลาร้อยเชือก ต้องดึงเชือกให้ยาวเท่ากันทั้งสองข้าง สอดเชือกซ้ายขวาสลับไปมา สอดแล้วดึง เสร็จแล้วผูกเชือกรองเท้าให้เป็นโบ ผูกแน่นเกินไปไม่ได้ หลวมเกินไปรองเท้าก็จะหลุด ผูกไว้ตอนเย็นก่อนนอนดีกว่า เพราะถ้าผูกตอนเช้าก่อนไปโรงเรียนอาจใช้เวลานาน ทำให้ไปโรงเรียนสาย เป็นต้น 

    เสริมสร้างความั่นใจเมื่อลูกทำได้ เช่น ใส่รองเท้าถูกข้าง ผูกเชือกรองเท้าได้เอง ผูกโบสวย คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมชมเขาด้วยนะคะ เพราะคำชมจะทำให้ลูกรู้สึกภาคภูมิใจ และมีความชื่อมั่นในตนเอง 

    รู้จักการพลิกแพลง ใช้ความคิดสร้างสรรค์การผูกเชือกรองเท้าไม่ได้มีแค่การผูกเงื่อนซ้ายทับขวาขวาทับซ้าย แต่ยังมีวิธีพลิกแพลง และร้อยเชือกอีกหลากหลายวิธี ถ้าเด็กๆ เรียนรู้หลักการผูกเชือกได้ การผูกรองเท้าก็เป็นเรื่องสนุกค่ะ

     
     

    "รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
    ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


    ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข


     

    แพ้บ้างก็ไม่เป็นไรลูก

    EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

    ชีวิตคนเรามีทั้งสมหวังและผิดหวัง ความผิดหวังอาจเป็นความพ่ายแพ้อย่างหนึ่งที่ทำให้คนเรารู้สึกเสียใจ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งชีวิตของเราจะล้มเหลวและต้องแพ้ตลอดไป เด็กหลายคนรู้จักการแพ้ชนะผ่านการเล่นเกม กีฬา บางคนดีใจเมื่อได้ชัยชนะ และยอมรับความพ่ายแพ้ได้ ขณะที่เด็กบางคนประสบการณ์การใช้ชีวิตอาจยังไม่มากพอ เมื่อเล่นเกมกีฬาแพ้ก็ย่อมรู้สึกเสียใจมากเป็นธรรมดา

    ทั้งที่จริงแล้วชีวิตเขายังต้องเผชิญกับความสมหวังและผิดหวังอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การงาน สังคม หรือแม้แต่เรื่องความรัก ลูกยังต้องเรียนรู้ที่จะผิดหวัง และเผชิญหน้ากับความพ่ายแพ้อีกมาก ซึ่งลูกจะรับมือกับความพ่ายแพ้ได้มากน้อยแค่ไหน พ่อแม่ต้องเป็นคนฝึกฝนทักษะนี้ให้เขา

    พ่อแม่ไม่ควรยอมลูกเสมอไป 
    แม้ลูกจะดีใจที่สามารถเล่นเกมชนะพ่อแม่ แต่บางครั้งก็ต้องหัดให้ลูกแพ้บ้าง ให้เขายอมรับความจริงว่าการแข่งขันมีแพ้ชนะ และความพ่ายแพ้ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ที่สำคัญพ่อแม่ต้องไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่าแพ้ไม่ได้ เช่น เมื่อลูกเล่นเกมแพ้แล้วใช้คำพูดเยาะเย้ยถากถาง หรือแซวลูก เพราะนั่น จะทำให้ลูกรู้สึกอาย โกรธ และแพ้ไม่เป็น
     
     
    ชื่นชมผู้ชนะด้วยใจจริง 
    การสอนให้ลูกมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย อาจเป็นนามธรรมที่สอนยาก แต่ถ้าทำให้ลูกเห็นจนเป็นกิจวัตร ลูกจะซึมซับได้เอง เช่น การกล่าวชื่นชมผู้อื่นด้วยความจริงใจ ไม่เปรียบเทียบ หรือประชดประชัน เช่น คนที่ได้ที่หนึ่งเขาเก่งมากเลยนะ ส่วนวันนี้หนูเองก็เก่งมากเช่นกัน ไม่ชนะไม่เป็นไร เราไปพยายามกันใหม่นะ   
    ไม่กดดันลูกเกินไป 
    ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม แข่งขัน เล่นกีฬา พ่อแม่ไม่ควรคาดหวังกับลูกจนเกินไป เพราะลูกจะรู้สึกว่าพ่อแม่คาดหวังกับเขา เขาจะแพ้ไม่ได้ แต่หากเปลี่ยนความคาดหวังว่าลูกต้องเล่นกีฬาชนะเป็นการชื่นชมที่ลูกเล่นกีฬา ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แพ้ชนะไม่สำคัญ สำคัญที่ลูกได้ใช้ความพยายามและความสามารถของตนเอง ได้ทำในสิ่งที่รัก พ่อแม่ก็มีความสุขแล้ว ลูกจะมีความสุขกับสิ่งที่ทำมากกว่าต้องแข่งเพื่อชัยชนะ 

    ถ้วยรางวัลไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิตลูก 
    พ่อแม่หลายคนชอบให้ลูกแข่งขัน และมักคิดว่าเป็นท้าเลนท์ของลูก แต่บ่อยครั้งเข้าอาจจจะถลำไปเป็นการล่ารางวัล ล่าชัยชนะ และคาดหวังความสำเร็จของลูกโดยไม่รู้ตัว สิ่งที่น่ากลัวคือพ่อแม่บางคนพยายามให้ลูกได้รับชัยชนะจนลืมกฎ กติกา การแข่งขัน หากทำแบบนี้บ่อยๆ นอกจากลูกจะเสพติดชัยชนะแล้ว ลูกอาจจะซึมซับแบบอย่างที่ไม่เหมาะสมด้วย
    ความพ่ายแพ้คือภูมิคุ้มกัน 
    เมื่อลูกเผชิญกับความพ่ายแพ้ แน่นอนว่า ณ ขณะนั้นลูกย่อมรู้สึกผิดหวัง เสียใจ สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือการพูดคุย ปลอบโยนลูก ให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่อยู่เคียงข้างเขา หากลูกรู้สึกโกรธ โมโห ควรรีบกอดลูกทันที และเมื่อลูกอารมณ์ดี ทำใจยอมรับความพ่ายแพ้ได้แล้ว พ่อแม่สามารถคุยกับลูกได้ว่าลูกพลาดตรงไหน เราจะนำมาปรับปรุงอะไรได้บ้าง หรืออาจชี้ให้เห็นว่านักกีฬาบางคนเขาแข่งแพ้ แต่ไม่ได้หมายความว่าชีวิตเขาจะสิ้นหวัง เพราะเขาก็ยังคงซ้อมและแข่งขันต่อไป ไม่ชนะวันนี้ วันหนึ่งเขาก็ชนะ
     

    เด็กที่แพ้ไม่เป็น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะถูกตามใจมาตั้งแต่เล็ก ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการใช้ชีวิตเมื่อโตขึ้น เพราะนอกจากลูกจะรับมือกับความผิดหวังไม่ได้แล้ว ยังมีปััญหาต่อกาารควบคุมอารมณ์ ความก้าวร้าว บางคนอาจแสดงอาการต่อต้าน โวยวาย ร้องห่มร้องไห้ หรือบางคนเมื่อผิดหวังมากๆ อาจซึมเศร้าเสียใจจนเกินกว่าเหตุ เพราะฉะนั้น ให้ลูแพ้บ้างก็ได้ค่ะ 
     
     

     

    "รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
    ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


    ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

    ใช้ EF ปกป้องลูกจากการฆ่าตัวตาย

    EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF
     
    ทุกวันนี้เด็กไทยมีความเครียดสูงมากขึ้น ทั้งความกดดันเรื่องการเรียน กดดันจากครอบครัว ถูกเพื่อนแกล้งที่โรงเรียน หรือปัญหาอื่นๆ ที่หาทางออกไม่ได้ เด็กหลายคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และฆ่าตัวตายในที่สุด 

    เพราะฉะนั้นการสอนลูกให้เข้าใจสภาวะอารมณ์ รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองในเบื้องต้น จะเป็นเกราะป้องกันลูกทำร้ายตัวเองได้ 


    9 วิธีสร้างเกราะป้องกันลูกฆ่าตัวตาย

    1. เตือนลูกว่าการทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่น และทำลายของเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยเฉพาะทุกๆ ครั้งที่พ่อแม่อยู่ด้วยแล้วลูกไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธ โมโห หรือเสียใจได้ พ่อแม่ต้องห้ามลูกก่อน ว่าอย่าทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น ควรบอกลูกว่า เราไม่มีสิทธิ์ทำร้ายผู้อื่นทั้งต่อร่างกาย ทรัพย์สิน หรือแม้แต่คำพูดของเราเองก็ไม่ควรทำร้ายจิตใจคนอื่น และการทำร้ายตัวเองก็ทำให้พ่อกับแม่เสียใจมาก และนอกเหนือจากความเสียใจของพ่อกับแม่แล้วลูกเองก็จะรู้สึกเจ็บ และเสียใจยิ่งกว่า ความรู้สึกของลูกเป็นสิ่งสำคัญมากนะ 

    2. ให้สูดหายใจลึกๆ 3 ครั้งและนับ 1 ถึง 10 อย่างช้าๆ วิธีนี้ช่วยให้เด็กๆ เข้าใจว่าความรู้สึกเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ และผลกระทบจากอารมณ์เหล่านั้นก็อาจทำร้ายคนอื่นได้ ฉะนั้นการสูดหายใจลึกๆ 3 ครั้ง และนับ 1 ถึง 10 ช้าๆ จะช่วยให้เด็กอารมณ์สงบลงได้

    3. ลูกต้องบอกความรู้สึกของตัวเองได้ การรับรู้ความรู้สึกของตนเองเป็นเรื่องที่ดี และการอธิบายความรู้สึกก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการระบายความรู้สึก แม้บางครั้งอาจไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้ลูก แต่ย่อมดีกว่าการระเบิดอารมณ์หรือแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงแน่นอน

    4. พ่อแม่ต้องไม่ใช้อารมณ์ตัดสินความรู้สึกลูก เมื่อลูกพูดระบายความรู้สึกออกมาแล้ว พ่อแม่ต้องมีความใจเย็น รับฟังอย่างตั้งใจ เข้าใจ และไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินสิ่งที่ลูกพูด

    5. ลูกต้องรู้จักขอความช่วยเหลือ การพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถแก้ปัญหาหรือหาแนวทางแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ให้กับลูกได้ ซึ่งเด็กๆ เองก็จะเกิดความไว้วางใจและกล้าที่จะขอความช่วยเหลือ และต่อไปไม่ว่าจะมีปัญหาอะไร ลูกๆ ก็จะปรึกษากับคุณพ่อคุณแม่ตลอด แม้ว่าเขาจะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม

    6. เวลาจะช่วยให้ลูกสงบลง บางครั้งการแก้ปัญหาต่างๆ ก็ไม่ได้ช่วยให้อารมณ์ของลูกดีขึ้น ดังนั้นการเดินออกจากที่เกิดเหตุหรือการหาทางออกอื่น อาจจะช่วยให้ความรู้สึกของลูกผ่อนคลายลง

    7. สร้างภูมิคุ้มกันด้านสังคมให้กับลูก เริ่มจากสังคมครอบครัวค่ะ ทำให้ลูกรู้สึกมีคุณค่าในสายตาคนรอบข้างและมีความภาคภูมิใจในตัวเองผ่านการสื่อสารภายในครอบครัว

    8. เพิ่มทักษะแก้ไขปัญหา พ่อแม่ควรให้ลูกฝึกแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เช่น ตั้งคำถามจำลองสถานการณ์ให้ลูกลองคิดแก้ปัญหา ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตนเอง มอบหมายงานตามความสามารถ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ลูกว่าสามารถทำได้ เป็นต้น

    9. ส่งเสริมให้ลูกกล้าแสดงออก ในสังคมโรงเรียน คุณครูควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออกร่วมกับเพื่อนๆ เป็นการส่งเสริมให้เขาได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ มากยิ่งขึ้นค่ะ

    บ่อยครั้งที่เด็กๆ มักจะควบคุมอารมณ์ตนเองไม่อยู่ หลายคนร้องไห้งอแง บางคนก็ทำร้ายตัวเอง หนักเข้าก็ทำร้ายผู้อื่น อย่าปล่อยให้เป็นความเคยชินค่ะ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจติดตัวลูกไปจนโต ทำให้ลูกเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ และเกิดผลเสียต่อตัวเขาเองได้ 

     

     




     

    "รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
    ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


    ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

    ในวันที่ลูกผิดหวัง พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวังให้ได้

    สอนลูกรับมือความผิดหวัง- สอนลูกเมื่อผิดหวัง- เมื่อลูกต้องรับมือความผิดหวัง

    ในวันที่ลูกผิดหวัง พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวังให้ได้

    เด็กคนหนึ่งก็ต้องมีอารมณ์โกรธ ผิดหวัง เป็นธรรมดา และก็เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องสอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวัง ความโกรธนั้นให้ได้ เมื่อเหตุการณ์ที่ลูกทำตัวไม่น่ารักเกิดขึ้นแล้ว พ่อแม่ควรสอนลูกดังนี้เลย

    1. บอกให้ลูกรู้ ว่าพ่อแม่รู้ว่าลูกโกรธอยู่

    เพื่อให้ลูกรู้จักอารมณ์ของตัวเองในตอนนี้ ว่าที่ลูกร้องไห้ กระสับกระส่าย โมโห ก้าวร้าวอยู่ เพราะลูกกำลังรู้สึกผิดหวัง ให้ดึงลูกมากอดไว้เพื่อให้อารมณ์เย็นลง

    1. พาไปที่สงบ เงียบ เพื่อคุยกับลูก

    หลังเหตุการณ์ที่ลูกเสียใจ ผิดหวัง ให้พาลูกไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่กระตุ้นอารมณ์ให้รุนแรงเพิ่มขึ้น ใช้เวลาพูดคุย ถามมุมมองของลูกเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น ให้พ่อแม่ถามลูกว่า “พ่อแม่รู้ว่าลูกโกรธ แต่ลูกจะทำท่าทางไม่สุภาพแบบนั้นไม่ได้ พ่อแม่ต้องทำอย่างไรจึงจะช่วยให้ลูกรู้สึกดีขึ้นได้” หลังจากที่ลูกตอบ ก็ให้พาลูกไปทำให้ถูกทางและเหมาะสม เช่น พาไปกินขนม แล้วชวนคุยเรื่องเพลงที่ลูกชอบ หนังที่ลูกชอบ ที่เที่ยวที่อยากไป ให้ลูกออกจากอารมณ์ผิดหวัง

    1. ลดความคาดหวังในตัวลูก

    เมื่อทุกอย่างสงบลง ต่อมาควรคุยกับลูกอีกครั้ง เพราะบางเรื่องที่ลูกไม่สามารถทำได้ พ่อแม่ย่อมรู้ดี ควรพูดคุยให้ลูกใช้ความสามารถในด้านอื่นแทน และชวนลูกตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ ที่ท้าทาย และลูกสามารถมีโอกาสทำสำเร็จได้

    1. พุดคุยกับลูกบ่อย ๆ ให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น

    พ่อแม่ควรตั้งคำถามให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกรู้จักเอง ได้ใช้ความคิดมากขึ้น หากผิดไปแล้วก็ให้รับผลการกระทำ ลูกจะได้สัมผัสได้ว่าพ่อแม่อยู่เคียงข้างลูกเสมอ พร้อมที่จะเป็นฟูกนุ่ม ๆ รองรับลูก เมื่อเขาผิดหวัง

    ไขข้อสงสัย! วิจัยพิสูจน์แล้ว ลูกฉลาดเหมือนใคร ระหว่างพ่อกับแม่

    การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

    มีคำตอบแล้ว ว่าลูกฉลาดได้ใคร ระหว่างพ่อกับแม่?

    เคยไหมคะ สงสัยว่าลูกเราทำไมพัฒนาการดี เรียนเก่ง หัวไว ได้ความฉลาดนี้มาจากใครกันนะ ระหว่างพ่อกับแม่ ขอบอกว่าไม่ต้องเถียงกันแล้วค่ะ ล่าสุดมีวิจัยยืนยันว่าลูกนั้นเก่งได้ใคร มาดูกันเลยค่ะ จากข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ยีนความฉลาดของมนุษย์เรา จะอยู่ในโครโมโซม X ซึ่งเป็นโครโมโซมที่ผู้หญิงจะมีสอง ส่วนผู้ชายจะมีแค่โครโมโซมเดียว ทำให้อาจได้ข้อสรุปว่าระดับสติปัญญาจากแม่ จะตกทอดสู่รุ่นลูกได้มากกว่าจากพ่อ ซึ่งงานวิจัยชิ้นล่าสุดของมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ก็ได้ออกมาช่วยยืนยันแล้วว่าเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องจริงค่ะ

    โดยทีมนักวิจัยได้ทำการสำรวจจากกลุ่มคนอายุ 14 – 22 ปี จำนวน 30,000 คน เป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 1994 โดยจะมีการทดแบบทดสอบ และการสัมภาษณ์ต่างๆ ระหว่างลูก แม่ และพ่อของผู้เข้าร่วมวิจัย ซึ่งพวกเขาก็ได้คำตอบว่าสติปัญญาของลูกจะได้จากแม่ มากกว่าพ่อเป็นเรื่องจริง

    การเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับยีนสติปัญญาของหนูทดลอง โดยทีมวิจัยได้ค้นพบว่าหนูที่มียีนตกทอดจากแม่มากกว่า จะมีขนาดสมองที่ใหญ่กว่า แต่ลำตัวจะเล็กกว่า ตรงกันข้ามกับหนูที่มียีนจากพ่อมากกว่า ซึ่งจะมีขนาดสมองที่เล็กกว่า แต่ลำตัวจะใหญ่กว่า

    และยีนความฉลาดที่ตกทอดจากแม่มาสู่ลูกจะพบได้มากในบริเวณ Cerebral Cortex (เปลือกสมอง) ซึ่งเป็นส่วนที่คอยสั่งการใช้ความคิดเชิงตรรกะ เช่น การเรียนรู้ภาษาหรือการวางแผน เมื่อเปรียบเทียบกับ ยีนที่ตกทอดมาจากรุ่นพ่อแล้ว นักวิจัยพบว่ายีนชนิดนี้จะพบได้มากในบริเวณระบบลิมบิค (Lymbic System) ซึ่งเป็นส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับกลไกการสืบพันธุ์ อาหาร และความโกรธเกรี้ยว

    ข้อมูลที่กล่าวมา ทำให้แม่หลายคนภูมิใจมากเลยนะคะ แต่ถ้าพ่อฉลาดกว่าแม่ อย่าลืมให้พ่อสอนการบ้านลูกเยอะๆ นะคะ

     

    ขอบคุณข้อมูลจาก : women.mthai.com , www.countryliving.com

    ไลน์กรุ๊ปพ่อแม่โรงเรียนลูก ใช้ยังไงให้ได้ประโยชน์ ลดดราม่าสงครามพ่อแม่ในไลน์กรุ๊ป

     ไลน์กรุ๊ปพ่อแม่, ไลน์กลุ่มพ่อแม่, ไลน์กรุ๊ปผู้ปกครอง, ไลน์กลุ่มผู้ปกครอง, ไลน์กรุ๊ปโรงเรียน, ไลน์กลุ่มโรงเรียนลูก

    มีบ้านไหนบ้างคะที่ตอนนี้มีไลน์กรุ๊ป (Line Group) ของผู้ปกครองลูกที่เรียนห้องเดียวกัน โรงเรียนเดียวกัน การมีไลน์กรุ๊ปผู้ปกครองเพื่อช่วยกันดูแลลูกเป็นเรื่องดีค่ะ แต่เราก็เห็นคุณแม่หลายคนบ่นกันเยอะว่า ผู้ปกครองทะเลาะกันเองในไลน์กรุ๊ปบ้าง มีดราม่าบ้าง แดกดันกันบ้าง อวดอ้างบ้าง จนทำตัวไม่ถูกว่าควรจะยังอยู่ในไลน์กรุ๊ปหรือดีดตัวออกมาดี เพื่อเลี่ยงดราม่าต่างๆ ลองมาดูกันว่าไลน์กรุ๊ปผู้ปกครอง ใช้ยังไงให้ได้ประโยชน์ ลดดราม่าสงครามพ่อแม่ในไลน์กรุ๊ป

    ไลน์กรุ๊ปพ่อแม่โรงเรียนลูก ใช้ยังไงให้ได้ประโยชน์
    1. สิ่งที่คุยในไลน์กรุ๊ป ควรเป็นคำแนะนำ การช่วยเหลือ ช่วยกันติดตามลูก การแลกเปลี่ยนวิธีเรียนรู้ หรือช่วยกันหาทางแก้ปัญหาบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้นกับลูกๆ ในห้องเรียน
       
    2. ใช้ไลน์กรุ๊ปเพื่อติดตามการเรียน กิจกรรมของเด็กๆ เพราะผู้ปกครองแต่ละคนอาจได้ข้อมูลมาไม่เท่ากัน การแลกเปลี่ยนเพื่อให้รู้ความคืบหน้า สิ่งที่จะทำ การเตรียมพร้อมให้ลูก
       
    3. ใช้ไลน์กรุ๊ปเป็นหนึ่งในเครื่องมือนัดหมาย เพื่อมาพบปะกัน เช่น แก๊งเที่ยว แก๊งเรียนกีฬา หรือ แก๊งอ่านหนังสือ เพราะการได้พบกันจริงๆ จะสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคง และได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้กันดีกว่าการอ่านข้อความในไลน์กรุ๊ปเพียงอย่างเดียว
       
    4. ผู้ปกครองควรมีกติการ่วมกัน และใช้ไลน์กรุ๊ปผู้ปกครองโดยมีวัตถุประสงค์ชัดเจน เช่น
      1. ห้ามโพสต์เรื่องเรียนพิเศษ เรียนเสริม เร่งเรียน
      2. ห้ามโพสต์เรื่องคะแนนสอบของลูก
      3. ห้ามโพสต์เรื่องที่คุยนอกกรุ๊ปหรือคุยในกรุ๊ปอื่นแล้วนำมาเล่าในกรุ๊ปนี้
      4. ห้ามใช้คำหยาบ คำดูดถูก คำเปรียบเทียบ คำวิจารณ์ต่อเด็กๆ หรือพ่อแม่ด้วยกันเอง
      5. ไม่ควรโพสต์รูปเด็กที่ทำผิด ทำเรื่องน่าอาย เพราะอย่าลืมว่าผู้ปกครองของเด็กๆ ก็อยู่ในกรุ๊ปนี้ด้วย

     

    หากเกิดดารม่าในไลน์กรุ๊ปผู้ปกครอง นี่คือสิ่งที่ควรทำ
    1. หากเราไมีมีส่วนเกี่ยวข้อง ให้วางเฉย เป็นกลาง ไม่เสนอความคิดเห็นทั้งในกรุ๊ปหรือในไลน์ส่วนตัว
    2. หากเรามีส่วนในประเด็นนั้นโดยตรง ควรแยกคุยเป็นการส่วนตัว และควรคุยเมื่ออารมณ์เย็นแล้ว เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน ไม่ใช่การหาว่าใครถูกหรือผิด
    3. หากอยู่ท่ามกลางดราม่าไม่ไหว ควรทิ้งข้อความขอออกจากกรุ๊ปอย่างสุภาพและดีดตัวออกมา เพราะเรายังสามารถสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครองได้ด้วยกันเจอกันที่โรงเรียนลูก


    สิ่งสำคัญที่สุดในการอยู่รอดในไลน์กรุ๊ปผู้ปกครองคือ "ใจกว้าง" เพราะอย่าลืมว่า พ่อแม่แต่ละคนมีวิธีคิดและวิธีเลี้ยงลูกที่ต่างกัน และ "ตัวหนังสือไม่มีเสียงและสีหน้า" ดังนั้นการทะเลาะกันจากข้อความที่อ่านจึงมักเกิดขึ้นบ่อย หากพ่อแม่เข้าใจได้แบบนี้ การใช้ไลน์กรุ๊ปผู้ปกครองจะได้ประโยชน์ ได้เพื่อน และได้กำลังใจในการเลี้ยงลูกนะคะ