เลี้ยงลูกแบบไหนให้รอด? พ่อแม่ต้องทำอย่างไร
“Dysfunctional Family” ครอบครัวบกพร่องหน้าที่ เลี้ยงลูกแบบขาดๆ เกินๆ
Dysfunctional Family คืออะไร ? เลี้ยงลูกแบบไหนเลี้ยงแบบขาดๆ เกินๆ ?
ชวนฟัง รักลูก Podcast กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke
เลี้ยงลูกแบบใด ได้ลูกแบบนั้น
ฟังอาจารย์ธามพูดถึงเด็ก 6 แบบที่เกิดจากบ้านที่ Dysfunctional Family ลูกจะมีบุคลิคลักษณะแบบใดบ้าง?
ชวนฟัง รักลูก Podcast กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke
AI แย่งงานคน มหาวิทยาลัยยกเลิกการสอนวิชา… เพราะโลกเปลี่ยนทุกวัน เราไม่สามารถคาดเดาถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ การเตรียมลูกให้พร้อมสำหรับอนาคตจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ
ฟัง The Expert อาจารย์ พญ.ลลิต ลีลาทิพย์กุล กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกวิธีการเตรียมลูกให้พร้อมสำหรับอนาคตในทุกด้าน
พ่อแม่ต้องทำอย่างไรเพื่อให้ลูกสมองไวพร้อมได้ตั้งแต่วันนี้
รายการรักลูก The Expert Talk อาจารย์ พญ.ลลิต ลีลาทิพย์กุล
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke
จากงานวิจัยพบว่า เด็กใช้สื่อหน้าจอดิจิทัลมากขึ้น โดยใช้ในช่วงอายุที่น้อยลง แต่ใช้งานมากขึ้นทั้งในเชิงปริมาณต่อวัน ต่อครั้งการใช้งานและความถี่
และไม่ได้พบเฉพาะปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเท่านั้น แต่พบว่าเด็กถูกล่อลวงหรือว่าไปเจอ Cybercrime อาชญากรรมทางไซเบอร์ พ่อแม่จะรับมือกับปัญหานี้ได้อย่างไร?
ฟังอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke
งานวิจัยพบว่าเด็กที่ใช้สื่อเย็นเซลล์สมองจะเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ได้มากกว่า
ขณะที่สื่อร้อนการเชื่อมต่อของเซลล์ที่ชั้นเปลือกสมองจะทําได้น้อย กระทบกับพัฒนาการของสมอง โดยเฉพาะทักษะสมอง EF
ไม่อยากให้ลูกติดจอ พ่อแม่ทำได้
ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริบอกแนวทางการฝึกทักษะให้พ่อแม่มี Digital Literacy เพื่อรับมือและรู้เท่าทันก่อนสื่อหน้าจอจะทำลายสมองลูก
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke
เมื่อพ่อแม่ให้โทรศัพท์ แท็บแล็ตหรือสร้างแอคเคาท์บนโซเชียลมีเดียให้ลูก เราอาจจะคิดว่าอินเทอร์เน็ตมันเป็นโลกของข้อมูลความรู้
แต่ถ้าลองคิดในมุมกลับกัน เมื่อให้ลูกเข้าถึงโลกทั้งใบ โลกทั้งใบก็เข้าถึงลูกของเราได้เหมือนกัน…การเกิดอาชญากรรมออนไลน์จึงเกิดขึ้นได้ง่าย
รู้กลลวงของเหล่ามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์เพื่อรับมืออย่างเท่าทัน ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke
เมื่อลูกถูมิจฉาชีพหลอกลวง พ่อแม่จะช่วยลูกและรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke
ติดจอแล้วลด ละ เลิกอย่างไร
- กำหนดเวลาในการดูจอ
- เลือกเนื้อหาที่มีประโยชน์
- ปิดท้ายด้วยสื่อเย็น
ฟังแนวทางการลดละเลิกจอ และเลือกเนื้อหาที่ดีต่อพัฒนาการ จาก The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่ https://linktr.ee/rakluke
เลี้ยงลูกแบบสำลักความรัก รักแบบเร่งรัดลูกอยากให้ลูกได้ดี และประคบประหงมจนไม่ให้ลูกทำอะไร ทุกอย่างล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรัก แต่รักมากไปทำลายลูก แก้ปัญหาความรักมากไปนี้อย่างไร
เลี้ยงประคบประหงม เด็กป่วยได้ง่าย (Munchausen Syndrome by Proxy)
เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องเลี้ยงดูและดูแลสุขภาพแต่มีประเภทที่เยอะเกินไป มีเคสที่ลูกตกเตียงซึ่งอยู่กับพี่เลี้ยงตกตอนเที่ยงแต่พอตกเย็นก็พาลูกมาที่รพ. ให้หมอเช็กอย่างละเอียดเพราะว่ามีลูกคนเดียวและแม่ก็อ่านมาแล้วว่าเลือดที่ซึมออกมาจากในสมองมันจะไม่มีอาการ แต่อยากให้หมอรับรอง100% ว่าลูกไม่มีปัญหา หมอถามว่าเกิดอะไรขึ้น ความจริงคือเด็กตกเบาะเลี้ยงเด็กซึ่งกลิ้งแล้วหัวกระแทกพื้นไม่ปาร์เก้ลูกตกใจ ร้องไห้ เสร็จแล้วก็เล่นปกติ แต่ว่าแม่ไม่ไว้ใจ และอยากให้ทำMRI ซึ่งการทำกับเด็ก 9เดือนไม่ได้ง่าย แต่ด้วยความที่มีลูกคนเดียวและไม่พลาดไม่ได้เลยขอให้แม่ยืนยันซึ่งไแพงแค่ไหนก็ยอมจ่าย
การทำMRIเด็กต้องนิ่งมากซึ่งทางเดียวที่จะทำคือเพื่อให้เด็กหลับ แล้วฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดว่ามีปัญหาเกิดขึ้นตรงไหนใช้เวลาเป็นชั่วโมงก็อาจจะต้องดมยา พอแม่ได้ยินก็บอกหมอว่าเต็มที่ไม่อั้นแต่คนเจ็บตัวคือลูก ลักษณะแบบนี้คือ Munchausen Syndrome by Proxy เครียดมากและวิตกกังวลมาก อาจจะมาจากการเห็นคนในบ้านป่วยจากประสบการณ์เดิม จึงตรวจหาความเสี่ยงของลูกทุกอย่างเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพที่เยอะเกินไป
อีกเคสคือคนในครอบครัวคุณย่าเป็นมะเร็งไตแล้วเสียชีวิต แม่ต้องการทำRenal scan (การตรวจสแกนไต) ซึ่งทำไม่ได้ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้แม่ก็ไปเอาน้ำแดงมาผสมในปัสสาวะ แล้วให้หมอตรวจคือสำหรับหมอตรวจไม่ยากว่าเป็นน้ำแดงหรือเลือด แบบนี้คือทำให้เกิดเครียด วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ เครียดแล้วมาลงที่ลูก ผลที่เกิดกับลูกคือเกิดความหวาดระแวงไปกับแม่ ลูกซึมซับความหวาดระแวงจากแม่นี่คือในแง่ของสุขภาพ ลูกกังวล เครียดมาก
เลี้ยงแบบเร่งรัด เด็กต่อต้าน (Overstimulation)
ตอนนี้มีปัญหาเยอะเพราะด้วยระบบแพ้คัดออก เรียนทุกวัน ตื่นตั้งแต่ตีห้าเลิกเรียนก็กวดวิชาแล้วก็ติวกลับมาทำการบ้าน นอนตี1 ตื่นตี5วนไปแบบนี้ทั้งสัปดาห์ พอเสาร์อาทิตย์ก็กวดวิชาเช้าบ่าย หมอเคยเจอเคสรร.สาธิตชื่อดังพอลูกสอบเสร็จพ่อก็ให้ไปเรียนกวดวิชาที่ลงเรียนไว้ ลูกก็โมโหว่าทำไมไม่ถามว่าลูกอยากเรียนไหม เขาอาจจะอยากเล่นไวโอลิน อยากไปเที่ยว พ่อบอกว่าก็อยากจะเป็นหมอ ตอนที่มาหาหมอคือแม่ร้องไห้ พ่อความดันขึ้นเพราะว่าหวังดีแต่ทำไมเป็นแบบนี้
หมอก็ถามว่านี้เป็นเป้าของใครพ่อบอกว่าเป็นของลูก แล้วพอเราลงกวดวิชาเต็มที่แล้วแต่ลูกไม่ได้เป็นหมอจะเสียใจไหมพ่อบอกว่าไม่เสียใจเพราะว่าไม่ใช่เป้าของพ่อ เป็นเป้าของลูกและพ่อก็บอกว่าการที่พ่อจะทำให้ลูกคนหนึ่งมันผิดด้วยหรือ ซึ่งพอคุยไปพ่อก็บอกว่าผมไม่ได้อยากให้ลูกเป็นหมอเขาจะทำอาชีพอะไรก็ได้ที่รักและชอบและขอให้เป็นคนดี หมอก็บอกว่าพูดดีมากให้กลับไปบอกลูก ซึ่งหลังจากนั้นความดันในบ้านก็ลดลงมากเพราะที่ผ่านมาทะเลาะกันตลอด
ตอนนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่วางเป้าให้ลูกเรียบร้อยเลยแล้วลูกก็มีหน้าที่เดินตามเป้าและบอกตัวเองว่าการที่พ่อแม่ทำให้ลูกมันผิดด้วยเหรอ ไม่ผิดแต่เป็นเป้าของพ่อแม่หรือของลูก แล้วการที่ส่งสัญญาณว่าไม่ได้อยากให้เป็นแบบนั้นแบบนี้ ได้บอกตรงๆหรือยัง ซึ่งถ้าทำแบบนี้ได้ก็จะไม่เจอกับการเรียนแบบOverstimulationเร่งรัดบังคับจันทร์ถึงจันทร์ แต่จะได้ใจถึงใจ
เลี้ยงแบบสำลักความรัก (Over Indulgence/Spoiled Child)
มีบ้านไหนที่ลูกทำงานบ้านบ้าง นี่เป็นการร่วมทุกข์ร่วมสุขในบ้านเรามีเด็กเยอะที่ไม่ปัดกวาด ถูบ้านล้างจาน พ่อแม่สปอยทุกอย่างจนทัศนคติของลูกเปลี่ยนว่า งานบ้านไม่ใช่หน้าที่เขาไม่จำเป็นต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขในบ้าน ความรักไม่เกิดบนการร่วมทุกข์ร่วมสุข มีแต่สุขอย่างเดียว เด็กจะกลายเป็นคนที่ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นเพื่อนมนุษย์
เวลาจะรักใครก็รักแบบฉาบฉวย พ่อแม่ไม่รู้ตัวว่ากำลังพัฒนาลูกไปเป็นแบบนั้นไม่สามารถรักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุข ปรนเปรอให้ทุกอย่าง นี่คือการสปอยล์ รักเยอะ ผิดหวังไม่ได้ เจอกับความผิดหวังก็เบรคเลย ไปไกล่เกลี่ยก็ลงเอยด้วยการใช้ความรุนแรง พ่อแม่ต้องรักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุขไม่ใช่มีแต่ความสุข ปรนเปรอแต่ความสุขเจอความยากลำบากไม่ได้ ต้องเจอความยากลำบากร่วมกันง่ายๆ คือ ปัดกวาด ถูกบ้าน ซักผ้า ล้างจาน
เลี้ยงขาดพื้นที่ส่วนตัว เด็กเกิดความเครียด (Parenting Enmeshment)
หมอเคยเจอบ้านที่ไม่ดูทีวีจนอายุ 18ปีจะใช้เครื่องมือสื่อสารไม่ได้ เมื่อเข้าบ้านห้ามใช้ใช้ได้อย่างอิสระเมื่ออายุ 18ปีขึ้นไป ลูกมีห้องส่วนตัวแต่ปิดไม่ได้เพราะว่าพ่อสามารถ เข้าไปดูได้ทุกเมื่อสามารถไปดูแชทส่วนตัวได้ มีเคสที่แม่ลูกชายอายุ 14ปี ยังอาบน้ำกับแม่ขาดพื้นที่ส่วนตัวมาก ถ้าบ้านไหนทำอยู่ให้กลับมาตั้งหลักใหม่
ลูกไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ที่อยากทำอะไรก็ได้เป็นความเข้าใจผิดการให้เกียรติและเคารพศักดิ์ศรีของลูกจึงมีนัยยะแม้ลูกโตมาถึงชั้นประถมไม่ต้องรอถึงมัธยม การที่พ่อไม่จับที่สงวนของลูกเลย เคารพในพื้นที่ส่วนตัว ลูกจะเกิดการเรียนรู้เลยว่าขนาดคนเป็นพ่อยังเคารพพื้นที่ส่วนตัว แล้วคนอื่นที่เป็นคนนอกจะมารุกล้ำได้อย่างไร ถ้าไม่สอนด้วยวิธีนี้จะสอนด้วยการท่องจำหรือ
การที่พ่อแม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่างซึ่งจะเป็นสิ่งที่ติดตัวลูกเมื่อโตขึ้น อยากให้ลูกเป็นแบบนั้นไหน อยากให้ลูกเป็นคนเคารพพื้นที่ส่วนตัวก็ต้องทำแบบนั้นกับลูกเช่นเดียวกัน ศรัทธาและสัจจะของลูกมีความหมาย วันนี้เราไม่มั่นใจลูกเลยก็ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ซึ่งศรัทธาเกิดขึ้นจากพลังบวก เช่นเดียวกันเด็กที่โตมาในครอบครัวที่เข้มงวด ก็จะขาดความมั่นใจไม่เหลือเลย ขาดภาวะผู้นำไม่มีsense of propority การเคารพพื้นที่ส่วนตัวไม่มีถูกล่อลวงโดยไม่รู้ตัวและเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว
Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB
Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube:https://bit.ly/3cxn31u
#รักลูกPodcast
#รักลูกTheExpertTalk
#Moms_Issues
หาทางออก คลี่คลายตัวเองจากการการเป็นพ่อแม่เป็นพิษ
เข้าใจความต้องการ สื่อสารความคาดหวังและรับมือจัดการด้วยวิธีการเชิงบวก เพื่อลดความเป็นพิษในตัวพ่อแม่ลง
ฟังวิธีการโดย The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u
#รักลูกPodcast
#รักลูกTheExpertTalk
#Moms_Issues
สถิติของเด็กพิเศษมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของพ่อแม่ จากตัวของโรคและความผิดปกติจากสมอง
เพราะเราเข้าใจว่า คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกคนพิเศษ ต้องใช้ความเข้าใจ รวมถึงต้องการวิธีการ และแนวทางการดูแลลูกคนพิเศษ “รักลูกเป็นพิเศษ” จึงเชิญผู้เชี่ยวชาญ รศ. ดร. นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ มาร่วมพูดคุยเพื่อสร้างกำลังใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ เราชวนมารู้จักหนูคนพิเศษและเข้าใจหนูน้อย LD ให้มากขึ้น เพื่อไขความข้องใจ แบบไหนใช่ LD หรือไม่ใช่?
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u
#รักลูกPodcast
#รักลูกTheExpertTalk
#Moms_Issues
เด็กปฐมวัยทั่วประเทศมีพัฒนาการล่าช้า 25% หลังสถานการณ์โควิดยิ่งทำให้พัฒนาการของเด็กล่าช้า และถดถอยไปมากกว่าเดิม
ความรักความหวังดีจากพ่อแม่ และครูที่ไม่เข้าใจพัฒนาการและปัญหาที่แท้จริง ยิ่งซ้ำเติมปัญหาพัฒนาการของเด็กให้มากยิ่งขึ้น แล้วเราจะทำกันอย่างไร เพื่อฟื้นฟูวิกฤตซ้อนวิกฤตนี้
ชวนคุยกับ The Expert ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข นายกสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย
รู้วิกฤต รู้ปัญหาและเห็นทางออกเพื่อฟื้นฟูพัฒนาการให้เด็ก
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u
#รักลูกPodcast
#รักลูกTheExpertTalk
#Moms_Issues
ติดจอใสทำลายพัฒนาการมากกว่าที่พ่อแม่คิด ตั้งแต่ออทิสติกและอาการสมาธิสั้นที่น่ากังวล ซ้ำยังส่งผลไปถึงพัฒนาการด้านอารมณ์ ซึ่งหากพ่อแม่ไม่รู้เท่าทัน อาจจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้า และนำไปสู่การฆ่าตัวตายในอนาคต
โดย The Expert ศ.นพ.วีรศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าสาขาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
"จอใส" กระทบพัฒนาการ
เริ่มจากการวิจัยที่ผมเองก็มีการติดตามเด็กในระยะยาวตั้งแต่เด็กอายุ 6เดือน ติดตามไปเรื่อยๆ จนตอนนี้เด็กที่อยู่ในโครงการอายุ10ขวบแล้ว ผลพบว่าเด็กอายุตั้งแต่6เดือน-18เดือน แนวโน้มถ้าเขาอยู่บริเวณสื่อหน้าจอซึ่งในยุคนั้นเป็นแค่ทีวี พบว่าเด็กจํานวนหนึ่งมีพฤติกรรมไปทางเด็กออทิสติก มากขึ้น แล้วเรื่องของเด็กออทิสติกก็มีข้อมูลงานวิจัยของต่างประเทศพบมากขึ้นว่า ยิ่งให้มากให้เร็วตั้งแต่ตอนเล็กๆ จะทําให้เด็กเนี่ยมีความเสี่ยงไปทางเด็กออทิสติก คืออยู่ในโลกส่วนตัวมากขึ้น ขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านสังคมและอารมณ์ ในงานวิจัยนั้นยังพบอีกว่า เด็กที่ดูหรือว่าได้รับสื่อประเภทพวกทีวีค่อนข้างมาก มีโอกาสที่เขาจะมีปัญหาพฤจิกรรมก้าวร้าวเพิ่มขึ้น มีปัญหาทางด้านปฏิกิริยาทางด้านอารมณ์เพิ่มขึ้น หมายความว่าเวลาหงุดหงิดไม่พอใจก็จะวีนเหวี่ยง ใช้อารมณ์
ซึ่งก็สอดคล้องเลยว่าหลังจากช่วงที่โควิดเคสคต่างๆ เริ่มกลับม คุณพ่อคุณแม่ก็จะเล่าว่าจากที่เคยดีมาโดยตลอด แล้วพอเราเริ่มให้ใช้จอก็จะรู้สึกเหมือนว่าหงุดหงิด ไม่พอใจอะไรต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ขอจอคืน ถึงเวลาต้องไปทํากิจวัตรประจําวันก็ม่ได้ทํา แล้วในงานศึกษายังเจออีกว่าสัมพันธ์กับเรื่องของพฤติกรรม และสมาธิสั้นมากขึ้นด้วย
ต้องเรียนว่าการใช้สื่อจอใสแบบไม่ค่อยเหมาะสม ปัจจุบันมันไม่ใช่แค่ทีวีก็มีสื่ออื่นๆมากมาย มือถือหรือว่าโซเชียลมีเดียต่างๆ ในการศึกษาทั้งในเด็กเริ่มโตขึ้นมาวัยก่อนเรียน วัยอนุบาลหรือว่าในช่วงวัยเรียน รวมถึงวัยรุ่นพบว่ามีความสัมพันธ์กับปัญหาทางด้านอารมณ์เยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือเด็กบางคนปถึงขั้นมีความคิดหรือความพยายามอยากฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น หรือมีปัญหาโรคทางด้านจิตเวชต่างๆ เพิ่มขึ้น พบเด็กมีปัญหาเรื่องของการรับประทานอาหารผิดปกติเพิ่มสูงขึ้น เช่น ถ้าเรียกทางการแพทย์เรียกEating Disorder เช่น ทําไมบางคนเรียกเป็นโรคคลั่งผอมเพราะว่าเราก็คือเข้าไปเสพสื่อประเภทนี้ แต่ก็ไม่อยากให้มองว่าสื่อมันไม่ดีอย่างเดียว จริงๆ เราสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้
เด็กที่เล่นสื่อเยอะๆ ถ้ามองอีกมุมหนึ่งคืออยู่กับความเบื่อไม่เป็น ความเบื่อเป็นอารมณ์อย่างหนึ่งของเราเหมือนกันหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่เหมือนกันบางทีเราก็ไม่รู้จะทําอะไร ทุกวันนี้ทุกคนก็เล่นมือถือตลอดเวลา เพราะว่าเรารู้สึกว่าเราดึงเอาใจไปอยู่ทางอื่นเพราะว่าเราอยู่กับความเบื่อไม่ได้ ซึ่งพออยู่กับความเบื่อไม่ได้เนี่ย ลูกๆก็ไม่รู้จะทํายังไง ซึ่งถ้าจะเป็นสมัยก่อนที่เราไม่มีสื่อเหล่านี้ พอเบื่อเราก็ต้องชวนกันมาเล่น มาคุยกัน ร้องเพลง อ่านหนังสือ แต่เด็กไม่รู้จะทําอะไรดี ก็เลยเข้าไปอยู่กับสื่อหน้าจอมากขึ้น แล้วพอลไม่ได้ดูก็โวยวาย หัวร้อนง่าย
ใช้สื่อกับลูกอย่างไร
-
Background Media คีย์เวิร์ดสําคัญเลยเด็กถ้าอายุเกินสองปีเล่นได้ แต่ถ้าอายุน้อยกว่าสองปีมีข้อมูลพบว่ากระทบกับพัฒนาการ มีงานวิจัยจากสิงคโปร์รายงานว่าแค่เสียงทีวีที่เปิดทิ้งไว้ สามารถเปลี่ยนคลื่นสมองเด็กได้สัมพันธ์กับการเป็นสมาธิสั้นเพิ่มขึ้น เพราะว่าสื่อต่างๆ เวลาเปิดมันจะเข้าไปเร้าระบบประสาทรับความรู้สึกต่างๆ เพราะสื่อมันมีทั้งภาพและเสียง เมื่อเข้าไปกระตุ้นมากทำให้สมาธิสั้นเพิ่มขึ้นแม้จะไม่ได้ดู และส่วนใหญ่เป็นรายการสําหรับผู้ใหญ่ ซึ่งที่เราศึกษาวิจัยก็พบว่ามีผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก ถ้าเปรียบเทียบกับบ้านที่เปิดBackground Mediaน้อย สติปัญญาของเด็กที่เปิดน้อยกว่ามีแนวโน้มสติปัญญาดีกว่าและพัฒนาการดีเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก
-
เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมตามวัยและต้องลองเข้าไปดูเนื้อหาก่อน ปัจจุบันมีเว็บไซต์ต่างประเทศที่สามารถเข้าไปเช็กได้ที่ www.commonsense.org/education (Common Sense Media) นอกจากนี้ต้องกําหนดกฎกติกา ถ้าจะให้ลูกใช้หน้าจอก็ต้องหลังจากที่เขารับผิดชอบงานที่ควรจะทำก่อน เช่น กิจวัตรประจําวันเสร็จแล้ว การบ้านเสร็จ รับผิดชอบงานบ้านแล้ว นอกจากเรื่องกฎกติกาแล้ว เด็กต้องเรียนรู้ผลที่ตามมาว่าถ้าไม่ทําตามกฎกติกาจะเกิดอะไรขึ้นบ้างด้วย
-
ทำข้อตกลงก่อนให้ลูกใช้งาน บ้านที่กำลังจะซื้อจอให้ลูก ต้องมีการทําสัญญากับลูกตั้งแต่เริ่มแรกเลย เช่น มือถือเครื่องนี้เป็นมือถือของแม่ซื้อมาให้ลูก ลูกจะสามารถเล่นได้ตอนไหนบ้าง ถ้าลูกไม่สามารถทําตามกฎอันนี้ได้มือถือเครื่องนี้แม่สามารถริบคืนได้ พ่อแม่มีสิทธิ์เด็ดขาดและให้ลูกเซ็นชื่อกํากับด้วย ซึ่งเด็กบางคนก็ยอมเซ็นไปก่อน แต่ต้องอย่าลืมที่จะบอกถึงผลที่ตามมาและต้องทำตามข้อตกลงร่วมกัน หรือบอกถึงผลกระทบถ้าใช้งานนานเกินไป เช่น หาวบ่อย ปวดต้นคอ ปวดมือ
-
ดูไปพร้อมกับลูก อยากให้คุณพ่อคุณแม่มีโอกาสเข้าไปดูสื่อกับลูกด้วย เพราะเดี๋ยวนี้จะมี pop up ขึ้นมาระหว่างที่ลูกดูคลิปต่างๆ ซึ่งมันจะทำให้เข้าสู่คอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสมกับวัย อีกเรื่องหนึ่งกฎกติกาที่ว่า หมอคิดว่าเราอาจจะต้องมองกันที่สถานที่ภายในบ้านด้วยว่าตรงที่ไหนที่เราไม่ควรจะใช้สื่อหน้าจอ รวมไปถึงเวลาช่วงไหนที่เราไม่ควรจะใช้ เช่น ห้ามใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างด้วย และในห้องนอนก็ไม่ควรจะใช้สื่อหน้าจอ
นอกจากนี้หน้าจอจะมีแสงสีน้ำเงินออกมาที่เรียกว่า Bluelight ซึ่งแสงเหล่านี้จะไปรบกวนการหลั่งฮอร์โมนการนอนหลับที่ชื่อว่า "ฮอร์โมนเมลาโทนิน" ทําให้เด็กจะนอนหลับยากขึ้น รวมถึงต้องงดเล่นเกม ดูคอนเทนต์ที่เร้าอารมณ์ความสนุก เพราะถ้าเด็กนอนหลับไม่ดีก็ส่งผลต่อเรื่องของการคุมอารมณ์ระหว่างวันด้วย สิ่งที่พ่อแม่ควรทําก็คือ อย่าให้มาก อย่าให้เร็ว
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u
ผลลัพธ์ของการเลี้ยงทั้ง 3แบบเด็กจะเป็นอย่างไร หากกำลังเลี้ยงลูกแบบ 3 วิธีการนี้ ลูกจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร และต้องปรับแนวทางการเลี้ยงลูกอย่างไร ฟัง The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม
เราเลี้ยงลูกบนความไม่เข้าใจบางเรื่องเป็นความปรารถนาดีอยากให้ลูกมีความสุข ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่ความปรารถนาบางครั้งต้องให้ลูกเจอความผิดหวัง เช่น ลูกผิดหวังไม่ได้เลยก็ต้องสอนให้ลูกผิดหวังบางครั้งพ่อแม่เจ็บปวดที่ลูกร้องไห้เพราะไม่ได้ดั่งหวังซึ่งไม่ผิด แต่เราปรับจูนความเข้าใจกันว่าจะมีจังหวะไหนที่ผ่อน จังหวะไหนที่ตึงบางเรื่องแล้วทำให้พ่อแม่รู้เท่าทันว่าบางเรื่องเราต้องถอยบางเรื่องรักษาระยะห่างเป็นการเรียนรู้ร่วมกันแต่จะผิดคือบกพร่องหน้าที่พ่อแม่
เลี้ยงปกป้องเกินไป เด็กขาดความมั่นใจ (Over Protection)
เป็นหน้าที่พ่อแม่ที่ต้องปกป้องลูกแต่ถ้ามากเกินไปมีปัญหาคือไม่ปกป้องเลย เช่น ตอนเป็นเด็กลูกร้องไห้ ปัสสาวะ อุจจาระราดที่บอกว่าเด็กร้องไห้ไม่ต้องสนใจ จริงๆแล้วเด็กอายุน้อยกว่า 6เดือนไม่มีมารยาไม่มีอารมณ์ไม่มีเงื่อนไขแต่รู้สึกไม่สบายตัวจึงร้องไห้ออกมา พ่อแม่ต้องรีบไปดูทันทีเพื่อปกป้องแต่พ่อแม่ไม่ทำนี่คือบกพร่องต่อหน้าที่ หิวก็ปล่อยลูกร้องอายุน้อยกว่า 6เดือน ซึ่งถ้าน้อยกว่า6เดือนไม่มีเงื่อนไขนอกจากหิวไม่สบายตัวจริงๆ
หรือที่ชัดกว่านี้คือเมื่อเด็กมีอารมณ์แต่พ่อแม่น็อตหลุดแทนที่จะเป็นการปกป้องกลายเป็นทารุณกรรมนี่เป็นปัญหา ซึ่งมีหลากหลาย Under Protection แย่ บกพร่อง มีปัญหา และ Over Protectionก็มีปัญหา เช่น เด็กที่ไปเที่ยวแล้วก็ถามว่า “รู้ไหมชั้นลูกใคร” แล้วพ่อแม่ตามไปปกป้อง แม้กระทั่งลูกทำผิดกฎหมายก็ยังเข้าข้าง ปกป้องคุ้มครองจนไม่รู้รับผิดชอบชั่วดี
หรือกรณีที่ด็กอนุบาลแกล้งกันเด็กจบแล้วแต่พ่อแม่ไม่จบบิวท์อารมณ์กันผ่านSocial mediaใช้อารมณ์ของลูกเป็นตัวตั้งจนยกพวกตีกันในรร.อนุบาล แต่ลูกกำลังเห็นโมเดลว่าพ่อแม่กำลังทำอะไร คือยิ่งมีลูกน้อยลงพ่อแม่จะรักแบบเทหมดใจ ซึ่งดีแต่มันเยอะเกินไปผลคือเด็กไม่รู้ผิดชอบชั่วดี
เลี้ยงอ้วน เด็กเอาแต่ใจ (Overfeeding)
คำว่าอ้วนเอาแต่ใจมาจากระดับโภชนาการและเรื่องการซื้อของ มีอันจะกิน มีข้าวกิน มีอาหาร มีของครบตามความจำเป็นหมวดนี้คือการบริโภคนิยมและทุนนิยมอ้วนเอาแต่ใจ เป็นประเภทที่เยอะ แต่ถ้าบกพร่องคือข้าวไม่มีกินคือเกิดปัญหาเราเห็นเด็กที่มีปัญหาภาวะขาดอาหารทุพภาวะโภชนาการ ส่วนอีกกลุ่มตรงกันข้ามคือ มีอันจะกิน กินทิ้งกินขว้าง กินไม่เลือก กินได้ตลอดเวลา จึงขึ้นว่าอ้วนเอาแต่ใจ
มีเคสหนึ่งที่พ่อจบป.เอกถามหมอว่าสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น แล้วถ้าลูกผมดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์แล้วจู่ๆ จะให้ยกเลิกการดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์ก็เท่ากับว่าผมไปบล็อกความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งลูกอายุ 8ขวบแล้วหมอตกใจมากที่ยังดูดนมอยู่คือไม่ต้องคิดว่าอ้วน ฟันผุ ฟันเหยินหรือไม่ หมอจึงบอกพ่อคนนั้นว่าเป็นหน้าที่ของพ่อไหมต้องสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น หรือพอจะตอบหมอได้ไหมว่าจะอยู่จนชั่วชีวิตลูกจะหาไม่ไหม
Overfeed คือการให้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นการผิดหลักEQทั้งหมดจะเห็นว่าเด็กเอาแต่ใจ ยับยั้งอารมณ์ไม่ได้ ไม่ซื้อของลงไปดิ้นกลางห้าง โตมาหน่อยก็กรี๊ดสนั่นหรือพ่อแม่ที่ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมไม่อั้นลูกก็ซึมซับ ปากเราพูดอย่างแต่เราทำอีกแบบ ลูกเห็นว่าพ่อแม่ก็ไม่ยั้งตัวเองจับจ่ายอย่างสนุกซื้ออาหารเต็มที่เพราะว่ารวย กินทิ้งกินขว้างไม่มี dog bag คือเหลือเอาเก็บมากิน ลักษณะนี้เรียกว่า อ้วนเอาแต่ใจ มีปัญหาEQ โตมาเป็นคนที่บริโภคนิยมทุนนิยมใช้เงินซื้อทั้งหมดเราคงไม่อยากฝึกลูกให้เป็นแบบนี้ การยั้งตัวเองแล้วทำให้ดูมีประสิทธิภาพ กว่าใช้ปากพูดแล้วสอนให้ลูกเป็นแต่วิธีการทำเป็นอีกแบบมันทำไม่ได้พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบ
เลี้ยงอวดรวย (Multiple homes)
หลักการคือการไม่มีบ้านก็เป็นเด็กเร่ร่อนคือบกพร่องไม่มีบ้านอยู่ ส่วนมีหลายบ้านคือมีทั้งบ้านและคอนโด จันทร์ถึงศุกร์อยู่คอนโดเสาร์อาทิตย์อยู่บ้าน ผลคือลูกไม่รู้จักข้างบ้าน ไม่มีการร่วมทุกข์ร่วมสุข ซึ่งเมื่อก่อนเราเติบโตมาเป็นชุมชนมีรากเหง้าเราจะเรียนรู้ซึมซับร่วมทุกข์ร่วมสุขไปกับชุมชนจะรักและเรียนรู้รากเหง้าของเราเองว่าเราเป็นคนจังหวัดนี้ พอย้อนกลับไปก็ภูมิใจว่าบ้านเราเมื่อก่อนเจริญแต่เด็กยุคนี้ไม่มี
การอยู่หลายที่ทำให้ความรักในรากเหง้าการเรียนรู้อยู่ในชุมชนจะอ่อนแอไปด้วย ผลลัพธ์คือโตเป็นคนจับจด เปลี่ยนที่ได้ง่ายเวลาเข้ามาทำงานก็ทำงานตามค่าตอบแทนที่สูงกว่า ความมั่นคงในจิตใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขในองค์กรไม่มี อาจจะบอกว่านี่เป็นเทรนด์ใหม่ของโลกก็เพราะสถานการณ์บีบบังคับจึงทำให้ได้เทนรด์ใหม่ของโลกในลักษณะนี้ แต่เราจำเป็นต้องเติมไม่งั้นจะเป็นประเด็นเกิดขึ้นได้แน่นอน
สร้างวิถีใหม่ปรับเปลี่ยนแนวทางการเลี้ยงลูก
1.เรียนรู้ว่าความรักกับความถูกต้องคนละเรื่องกัน รักลูกก็จริงแต่ผิดลูกก็ต้องเรียนรู้ไม่ปกป้องแม้จะผิด
2.ต้องระมัดระวัง มีบันยะบันยัง วิธีการคือเราเองต้องเป็นต้นแบบที่ดี ทั้งการเลือกกิน เลือกซื้อของ คือหลักพอเพียง หัดเบรคตัวเองมีแล้วหรือยังลูกก็จะเรียนรู้ว่าพ่อแม่ไม่ใช่คนฟุ่มเฟือย
3.ต้องเปิดใจให้ลูกเรียนรู้ อยู่ร่วมกับการมีหลายบ้านให้รักรากเหง้าทำให้ลูกเป็นผู้ให้ในหมู่บ้าน ชุมชนในคอนโด ก็จะทำให้เกิดการรักรากเหง้าร่วมทุกข์ร่วมสุขในชุมชนได้
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u