facebook  youtube  line

“กิน กอด เล่น เล่า” ทฤษฏีสร้างพัฒนาการเด็ก ให้ลูกเติบโตได้อย่างมีความสุข

 การกินของทารก, การกินของลูก, กอดลูก, ประโยชน์ กอดลูก, เล่นนิทาน, นิทานเด็ก, เล่านิทานก่อนนอน, เล่นนอกบ้าน, การเล่นของเด็ก, ทำไมเด็กต้องเล่น, ประโยชน์การเล่น, ทักษะสมอง EF, วิธีสร้าง EF ง่าย ๆ, สร้าง EF ยังไง, กระตุ้น EF ง่าย ๆ ยังไง, พัฒนาการทารก, พัฒนาการเด็ก, การส่งเสริมพัฒนาการตามวัย, วิธี ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

“กิน กอด เล่น เล่า” สร้างพัฒนาการเด็ก ให้ลูกเติบโตได้อย่างมีความสุข

การเลี้ยงเด็กสักคนไม่ยากค่ะ แต่จะเลี้ยงอย่างไรให้เขาเติบโตได้อย่างมีความสุข และพัฒนาการดีทุกด้าน  พ่อแม่คือคนสำคัญที่จะอบรมบ่มเพาะ และเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตอย่างมีสุขภาพกาย ใจ และสติปัญญาที่สมบูรณ์ มีความสุขและสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้  ด้วยแนวคิดต่อไปนี้ค่ะ

กิน กอด เล่น เล่า

  • กิน 

ในช่วง 0 – 3 ปีแรก สมองเด็ก จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนถึงร้อยละ 80 ของสมองผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กจะได้เรียนรู้และมีพัฒนาการทั้งร่างกายและสมองแม่ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือนและต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปีขึ้นไปเพราะนมแม่มีสารอาหารที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสมอง รวมถึงเป็นกิจกรรมที่ทำให้แม่และเด็กใกล้ชิดโอบกอด สัมผัสกันและกัน ทำให้เกิดสายใยความรักความผูกพัน และยังทำให้เด็กมี IQ และ EQ ที่ดีในอนาคต

  • กอด 

การอบรมเด็กต้องทำด้วยความรักความเข้าใจ และใช้เหตุผล ไม่ควรใช้อารมณ์ บังคับฝืนใจ และไม่ดุด่าให้ลูกกลัว และเสียกำลังใจพ่อแม่ต้องทำเป็นตัวอย่าง คอยให้คำแนะนำพูดชมเชยเมื่อลูกทำได้ และให้รางวัลถ้าเขาทำได้ดีซึ่งรางวัลสำหรับเด็กเล็ก เพียงแค่กอดอย่างอ่อนโยนหอมแก้ม ตบมือให้ เท่านี้เด็กก็ภูมิใจมากแล้ว 

  • เล่น 

พ่อแม่ควรพูดคุยเล่นส่งเสียงร้องเพลงกับเด็ก ช่วงแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือนเลือกของเล่นที่มีเสียงและเป็นภาพ เลือกของที่เด็กคว้าจับได้ 6 เดือนถึง 1 ปีให้เด็กได้นั่งเล่นของเล่นเช่น บล็อกตัวต่อนิ่ม ลูกบอลเล็ก หรือปล่อยของลงพื้น อายุ 2-3 ปี ให้เด็กได้เล่นรูปต่อเป็นภาพหุ่นมือ ตุ๊กตาหรือกระโดด ปีนป่าย เพื่อทดสอบทักษะร่างกายของตัวเอง เมื่ออายุ 3-5 ปีปล่อยให้เด็กเล่นกับเด็กคนอื่น ใช้จินตนาการเกี่ยวกับการดำรงชีวิต 

  • เล่า

พ่อแม่สามารถเล่านิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือเมื่อเด็กอายุ 3 เดือนให้เริ่มเล่านิทานให้ฟังเป็นประจำทุกวันจนเด็กโตควรเลือกนิทานที่มีภาพน่ารัก รูปสัตว์ ใช้เสียงสูงๆ ต่ำๆ หรือร้องเพลงประกอบขณะเล่าทุกครั้งและควรเล่าให้จบเล่ม ที่สำคัญพ่อแม่ต้องเสริมการปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรม และลักษณะที่ดีอื่น ๆ ให้ลูกไปพร้อมกัน

 

ที่มา : กรมอนามัย

5 ท่านวดเสริมพัฒนาการลูก ช่วยให้สมองดี สุขภาพแข็งแรงและเติบโตสมวัย

การนวด, การนวดเด็กทารก, นวดเสริมพัฒนาการลูก, ท่านวดเด็กทารก, ท่านวดเสริมพัฒนาการเด็กทารก, พัฒนาการเด็กทารก, พัฒนาการลูกทารก

การนวดช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กทารก เสริมสร้างระบบประสาทและสมอง แถมยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ของพ่อแม่กับลูกด้วย

5 ท่านวดเสริมพัฒนาการลูก ช่วยให้สมองดี สุขภาพแข็งแรงและเติบโตสมวัย

การนวดนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ของพ่อแม่กับลูกน้อยแล้ว มีงานวิจัยมากมายที่ระบุว่าการนวดสามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กทารก เสริมสร้างระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย นอนหลับสบาย ช่วยลดความเจ็บปวดจากอาการต่าง ๆ นอกจากนี้ การนวดสัมผัสยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วย

ในการนวดเด็กทารกนั้น แม้จะไม่มีคำแนะนำว่าควรนวดตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ออยล์ ครีม โลชั่น นวดให้ลูกได้ตั้งแต่อายุ 10 วัน หรือลูกคลอดได้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์เป็นต้นไป

สิ่งสำคัญในการนวดตัวทารก

  1. เตรียมอุปกรณ์ในการนวดให้พร้อม เช่น เบาะรองนอนที่ไม่นุ่มไม่แข็งเกินไป ออยล์หรือบาล์มสำหรับนวด เตรียมห้องที่ลมไม่โกรก หรืออุณหภูมิไม่เย็นเกินไปเนื่องจากลูกไม่ได้สวมเสื้อผ้าขณะนวด

  2. ถูเนื้อปาล์มบนฝ่ามือแล้วลงมือนวดตามส่วนต่างของร่างกายลูก

  3. ควรใช้เวลานวดประมาณ 15-20 นาที และนวดหลังจากที่ลูกอาบน้ำเสร็จใหม่ ๆ เพื่อความสบายตัว

4876 2

Tip: คุณแม่สามารถเพิ่มความรู้สึกสบายตัวให้ลูกได้ด้วยการใช้ Vicks BabyBalsamสูตรอ่อนโยน อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์จากวิคส์ในการนวดให้ลูกเบบี๋ได้นะคะ เพราะนอกจากความสบายตัวแล้ว ยังช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นอีกด้วย

5 ท่านวดกระตุ้นพัฒนาการทารก

การนวด, การนวดเด็กทารก, นวดเสริมพัฒนาการลูก, ท่านวดเด็กทารก, ท่านวดเสริมพัฒนาการเด็กทารก, พัฒนาการเด็กทารก, พัฒนาการลูกทารก, วิคส์, วิคส์ วาโปรับ, วิธีทาวิคส์ให้ลูก, เด็กทารกใช้วิคส์ได้มั้ย, เด็กทารกใช้วิคได้มั้ย

  1. นวดใบหน้า ช่วยให้ลูกผ่อนคลาย กระตุ้นกล้ามเนื้อปาก เสริมพัฒนาการการพูด โดยเริ่มจากจรดนิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้าง ลงบริเวณเหนือปากบน แล้วลากออกเป็นเส้นตรงจนสุดขอบปาก จากนั้นจรดนิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้างกลางคางลากเป็นเส้นตรงจนสุดขอบปากด้านล่าง เสร็จแล้วทำซ้ำอีก 5 ครั้ง แล้วจึงเลื่อนไปนวดยังจุดต่อไป

  2. นวดอก และหน้าท้อง ช่วยให้การทำงานของปอดหัวใจ และระบบทางเดินอาหารของลูกดีขึ้น เริ่มจากวางมือทั้ง 2 ข้างประกบกันในท่าพนมมือตรงกลางหน้าอกลูก จากนั้นลากมือออกจากกันไปด้านข้างลำตัว ลูบไปจนสะโพก แล้วลากมือขึ้นมาผ่านหน้าท้องขึ้นไปหน้าอกและไหล่ โดยไขว้กัน

  3. นวดแขนและมือ ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยคุณแม่จับบริเวณข้อมือลูกยกขึ้นเหนือศีรษะ นวดเบา ๆ ใต้รักแร้ สลับทีละข้าง จากนั้นจับแขนลูกข้างใดข้างหนึ่งยกขึ้น แล้วใช้มืออีกข้างจับแล้วนวดคลึงค่อย ๆ เคลื่อนจากต้นแขนไปสู่ข้อมือ แล้วเคลื่อนกลับมายังต้นทำซ้ำ ๆ 5 ครั้ง สลับกันทั้ง 2 ข้าง เสร็จแล้วใช้หัวแม่มือ กดฝ่ามือของลูกเบา ๆ ทำซ้ำ 5 ครั้ง และสลับมือทั้ง 2 ข้างเช่นกัน

  4. นวดหลัง โดยมือข้างหนึ่งจับลำตัวลูกไว้ มืออีกข้างเริ่มนวดจากบริเวณไหล่ไล่ลงไปสะโพก โดยใช้ฝ่ามือนวดคลึงเป็นวงกลม ทำซ้ำจนครบ 5 ครั้ง และให้ระวังแนวกระดูกสันหลังของลูก อย่ากดแรงเกินไป 

  5. นวดขา และเท้า เพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยค่อยๆ ยกขาลูกขึ้นแล้วเริ่มนวดจากต้นขาลงไปที่ข้อเท้า จากนั้นนวดนิ้วเท้าทีละนิ้ว ใช้นิ้วโป้งนวดอุ้งเท้าและฝ่าเท้าเบา ๆ ทำสลับกันทั้งสองข้าง ข้างละ 5 นาที

การนวด, การนวดเด็กทารก, นวดเสริมพัฒนาการลูก, ท่านวดเด็กทารก, ท่านวดเสริมพัฒนาการเด็กทารก, พัฒนาการเด็กทารก, พัฒนาการลูกทารก, วิคส์, วิคส์ วาโปรับ, วิธีทาวิคส์ให้ลูก, เด็กทารกใช้วิคส์ได้มั้ย, เด็กทารกใช้วิคได้มั้ย

Tip: ทุกครั้งที่คุณแม่นวดให้ลูก สามารถทา Vicks BabyBalsamที่ผิวลูกเบา ๆ หรือถูมือคุณแม่ก่อนทาบริเวณหน้าอก หลัง และลำคอ (ยกเว้นใบหน้า) ของลูก เท่านี้ก็จะช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

Vicks BabyBalsamสูตรอ่อนโยน ช่วยลูกผ่อนคลาย สบายตัวมากยิ่งขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนวดตัวนั้น เบบี๋จะรู้สึกผ่อนคลาย สบายตัวขนาดไหน เมื่อได้ตัวช่วยเด็ดอย่าง Vicks BabyBalsamสูตรพิเศษสำหรับทารกอายุ 3 เดือนขึ้นไป อ่อนโยนยิ่งขึ้นด้วยส่วนผสมที่พิถีพิถันคัดสรรมาอย่างดีสำหรับเบบี๋โดยเฉพาะ ด้วยกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติ เช่น lavender oil, Aloe Vera Oil Extract, Rosemary oil, Petrolatum และ Coconut Oil ได้รับการรับรองว่าปลอดภัยต่อผิวบอบบางของเด็กทารก

การนวด, การนวดเด็กทารก, นวดเสริมพัฒนาการลูก, ท่านวดเด็กทารก, ท่านวดเสริมพัฒนาการเด็กทารก, พัฒนาการเด็กทารก, พัฒนาการลูกทารก, วิคส์, วิคส์ วาโปรับ, วิธีทาวิคส์ให้ลูก, เด็กทารกใช้วิคส์ได้มั้ย, เด็กทารกใช้วิคได้มั้ย

  • Vicks BabyBalsam มีความอ่อนโยนเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับเด็กทารกอายุ 3 เดือนขึ้นไป

  • Vicks BabyBalsamเหมาะที่จะใช้ร่วมกับการนวดเพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย สบายตัว

  • Vicks BabyBalsamเป็นสูตรไม่มีส่วนผสมของสารที่ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกจากโรคหวัด จึงสามารถใช้ได้เสมอเมื่อต้องการ แต่หากลูกรักมีอาการคัดจมูกควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการคัดจมูกที่เหมาะสม เช่น ยาทาบรรเทาอาการคัดจมูก ยาบรรเทาอาการคัดจมูกชนิดพ่นหรือหยด สำหรับใช้เฉพาะที่ หรือยารับประทานเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก แล้วแต่กรณี  

Vick BabyBalsamมีจำหน่ายในร้านขายยาชั้นนำทั่วไป หรือ สามารถสอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ที่ P&G Thailand 1800-295-545 (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) หรือ Facebook: Vicks Thailand

#เมื่อลูกสบายตัวก็หลับได้อย่างสบายใจ #VicksThailand #VicksBabyBalsam

ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook Fanpage : Vicks Thailand

4876 6

พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์

 

Ref :

1.

2. https://www.parents.com/baby/care/newborn/how-to-massage-baby/

3.  http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/5-01/article/download/30/19

4. https://www.babycenter.in/x25009861/at-what-age-should-i-start-and-stop-massaging-my-baby

6 ท่าทางภาษาบอกรักของทารก พ่อแม่ตอบสนองช่วยสร้าง Family Attachment ได้จริง

ภาษาของทารก, วิธีสื่อสารของทารก, ทารกแสดงความรัก, การแสดงความรักของทารก, ทารก บอกรักยังไง, ท่าทาง ทารก, ทารก ภาษาท่าทาง, วิธีบอกรักของทารก, ภาษาของเด็กทารก, พัฒนาการเด็กทารก, Family Attachment, ทารก บอกรักได้ไหม, วิธีบอกรักของทารก, วิธีคุยกับพ่อแม่ ของ ทารก, ทารก คุยกับพ่อแม่ยังไง

รู้ไหมคะว่าลูกทารกสามารถบอกรักพ่อแม่ผ่านภาษาทารก ภาษาท่าทาง มาเช็กกันหน่อยว่าภาษาทารกแบบไหนที่แปลว่า "หนูรักพ่อแม่"

6 ท่าทางภาษาบอกรักของทารก พ่อแม่ตอบสนองช่วยสร้าง Family Attachment ได้จริง

บอก 'รัก'  ฉบับลูกวัยเบบี๋

  1. ลูกสบตา - พ่อแม่สบตาลูกกลับ  เจ้าตัวน้อยมองเห็นได้ไม่ชัดนัก แต่เขาก็พยายามมองตาและใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่ เพื่อจดจำอยู่นั่นเอง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสบตาลูกกลับ ยิ้ม และพูดคุยกับลูกน้อย เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น

  2. ส่งยิ้มหวาน ๆ - พ่อแม่ยิ้มกลับ เวลาใดที่เจ้าตัวน้อยส่งยิ้มหวาน ๆ มาให้เวลาที่ได้เจอคุณพ่อคุณแม่ แสดงว่าเขากำลังมีความสุขที่ได้เจอ และบอกรักคุณอยู่นะคะ ดังนั้นถือโอกาสนี้ส่งยิ้มหวาน ๆ กลับให้เจ้าตัวน้อย พร้อมกับพูดคุย เพื่อแสดงความรักความอบอุ่นให้ลูก
  3. หัวเราะ - พ่อแม่ยิ้มแย้ม พูดคุยกับเจ้าตัวน้อย เวลาเรามีความสุข เราก็มักจะยิ้ม และหัวเราะขึ้นมา ทารกก็ไม่ต่างกันค่ะ เวลาเจ้าตัวเล็กมีความสุข เค้าก็จะหัวเราะ ยิ่งถ้าเป็นเวลาที่ได้อยู่กับพ่อแม่ มองหน้าพ่อแม่ใกล้ ๆ แล้วลูกหัวเราะล่ะก็ แสดงว่าเขามีความสุข และบอกรักพ่อแม่มาก ๆ ค่ะ ดังนั้นพ่อแม่ต้องยิ้มแย้ม หัวเราะไปกับลูก พร้อมชวนเจ้าตัวเล็กพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ช่วยเรื่องพัฒนาการด้านการพูดให้ลูกค่ะ

  4. ส่งเสียงอ้อแอ้ - พ่อแม่พูดคุยกับลูก สร้างพัฒนาการด้านการพูดและการฟังที่ดี  ทำเสียงโต้ตอบและยิ้มโต้ตอบกับลูก จะช่วยพัฒนาการด้านภาษา และช่วยให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเองเพราะรู้ว่าพ่อแม่รู้สึกสนุกเวลาเล่นกับเค้า เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับเจ้าตัวน้อยอีกด้วย

  5. ยื่นมือสัมผัสหน้า - จับมือลูกมาแตะหน้า เล่นกับมือลูก จะช่วยสร้างพัฒนาการได้ พ่อแม่เคยสังเกตไหมคะ ทำไมเวลาที่พ่อแม่เอาหน้าไปใกล้ ๆ เจ้าตัวน้อย จะชอบนำมือมาจับสัมผัสกับใบหน้า แสดงว่าเขากำลังบอกรักคุณนั่นเอง ที่สำคัญพ่อแม่อย่าลืมนำมือของลูกมาแตะหน้าตัวเองนะคะ เล่นกับมือลูก สัมผัสกับมือลูกเบา ๆ ให้ลูกได้รับไออุ่น จะช่วยพัฒนาการกล้ามเนื้อมือให้ลูกด้วยค่ะ

  6. ร้องให้อุ้ม - พ่อแม่อุ้มลูก และกอดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ การวิจัยพบว่าเด็กที่ถูกอุ้มเยอะ ๆ ใน 3 เดือนแรกซึ่งเป็นช่วงที่ลูกต้องการมากที่สุด เมื่อโตขึ้นมาจะเป็นเด็กที่อารมณ์ดีมีความสุข มีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดี และเป็นเด็กที่ปรับตัวได้เก่งค่ะ เวลาที่ลูกยื่นมือ หรือร้องให้ให้แม่อุ้ม แม่อุ้มเจ้าตัวน้อยเถอะค่ะ นอกจากการสร้างความรักความใกล้ชิดแล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าลูกรักและต้องการพ่อแม่มากแค่ไหนอีกด้วยค่ะ

 

6 วิธีกระตุ้นพัฒนาการสมองลูกทารกตั้งแต่แรกเกิด ได้สนุก ได้เรียนรู้

พัฒนาการสมองเด็กทารก, สมองเด็กทารก, กระตุ้นสมองเด็กทารก, วิธี กระตุ้นสมองเด็กทารก, กระตุ้นสมองทารกยังไง, ต้องกระตุ้นสมองเด็กไหม, กระตุ้นสมองทารกได้ไหม, เล่นอะไร กระตุ้นพัฒนาการสมองเด็ก

พัฒนาการสมองลูกทารกเริ่มต้นตั้งแต่ในท้องแล้วค่ะ และนี่คือ 6 กิจกรรมที่พ่อแม่ควรทำทันทีหลังคลอด เพื่อกระตุ้นพัฒนาการสมองลูกทารกอย่างต่อเนื่อง

6 วิธีกระตุ้นพัฒนาการสมองลูกทารกตั้งแต่แรกเกิด ได้สนุก ได้เรียนรู้

  1. กระตุ้นพัฒนาการสมองทารกด้วยการคุยกับลูก
    ยิ่งคุยกับลูกน้อยมากเท่าไหร่ ลูกก็จะยิ่งพัฒนาและเรียนรู้เรื่องคำมากขึ้น ที่สำคัญขณะพูดคุยควรแสดงสิ่งของนั้นๆ ให้ลูกเห็นด้วย จะทำให้ลูกเข้าใจมากขึ้นและเร็วขึ้น

  2. กระตุ้นพัฒนาการสมองทารกด้วยการอ่านหนังสือด้วยกัน
    การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง พร้อมกับดูภาพในหนังสือไปด้วย จะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์และอามรมณ์ความรู้สึกของลูกให้มั่นคง ทั้งยังช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ไปด้วย ลูกจะเรียนรู้และรู้จักจับเรื่องราวที่คุณอ่านให้ฟังได้ โดยเฉพาะเรื่องของคำศัพท์ การออกเสียงคำ การอ่านจากซ้ายไปขวา เป็นต้น นอกจากนี้ภาพในหนังสือยังช่วยให้ลูกได้เห็นได้รู้จักกับสิ่งต่างๆ ที่ลูกไม่เคยเห็นนอกเหนือจากสิ่งที่อยู่รอบตัว

  3. กระตุ้นพัฒนาการสมองทารกด้วยการใช้นิ้วมือทำให้เข้าใจดีขึ้น
    การใช้สัญลักษณ์เพื่อช่วยสื่อสารกับลูก ก่อนที่ลูกจะพูดโต้ตอบได้ เป็นสิ่งสำคัญค่ะ ซึ่งคุณสามารถใช้มือ นิ้วมือเป็นตัวช่วยได้ มีผลการวิจัยที่ชี้ชัดว่าสัญลักษณ์ทางภาษาส่งผลดีต่อไอคิวและพัฒนาการทางภาษาของเบบี้ โดยเขามีการศึกษาวิจัยในเด็กเบบี้จำนวนหนึ่งซึ่งเรียนเกี่ยวกับสัญลักษณ์มือ 20 สัญลักษณ์ พบว่าเด็กกลุ่มนี้สามารถพูดได้เร็วขึ้น และไอคิวก็สูงกว่าเด็กในวัยเดียวกันที่ไม่ได้เรียนเกี่ยวกับสัญลักษณ์

  4. กระตุ้นพัฒนาการสมองทารกด้วยนมแม่ดีที่สุด
    มีผลการวิจัยบอกว่าเด็กในขวบแรกที่ได้รับนมแม่ตลอด จะมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับนมแม่ อย่างไรก็ตามผลคะแนนที่ได้นี้สูงกว่ากันเพียงเล็กน้อย

  5. กระตุ้นพัฒนาการสมองทารกในเวลาที่เหมาะสม
    แม้ลูกเล็กต้องการการตอบสนองอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง แต่กระนั้นก็ต้องการเวลาที่จะเรียนรู้หรือพัฒนาด้วยตัวเองด้วย เช่น ลูกต้องการเวลาที่จะเล่นของเล่นเอง ต้องการเวลาส่วนตัวที่จะคลานไปโน่นมานี่เอง เป็นต้น เพราะฉะนั้นเวลาตลอด 24 ชั่วโมงของลูก พ่อแม่ต้องจึงต้องสังเกตและรู้จักตอบสนองลูกให้ถูกจังหวะที่ลูกต้องการ และรู้จักปล่อยจังหวะให้ลูกได้มีเวลาของตนเอง เล่น หรือทำอะไรเองด้วย

  6. กระตุ้นพัฒนาการสมองทารกด้วยการให้ความอุ่นใจ
    เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกน้อยรู้ว่าทุกความต้องการของเขาจะได้รับการตอบสนองด้วยความรักที่มั่นคงจากพ่อแม่เสมอ แรงขับเคลื่อนในการพัฒนาและเรียนรู้โลกกว้างของลูกก็จะเปี่ยมพลังมากขึ้น และวิธีที่จะทำให้ลูกรู้สึกดังกล่าวได้ คืออ้อมกอดอบอุ่นและสายตาของพ่อแม่ที่มองสบตาลูกทุกครั้ง 

ทั้ง 6 ข้อไม่ใช่เรื่องยากเลยสำหรับพ่อแม่ ยิ่งคุณทำได้ดี พัฒนาการทางสมองสติปัญญา และการเรียนรู้ของลูกน้อยก็จะยิ่งมีคุณภาพ และเปี่ยมศักยภาพมากขึ้น


 

การมองเห็นของทารก ทารกมองเห็นตอนไหน มาเช็กพัฒนาการเด็กกันค่ะ

การ มอง เห็น ของ ทารก, ทารก มอง เห็น ตอน ไหน, ทารก มอง เห็น ตอน กี่ เดือน, กี่ เดือน ทารก มอง เห็น, การ มอง เห็น ของ ทารก 1 เดือน, ทารกมองเห็นไหม, ทำไมทารกยังมองไม่เห็น, ทารกมองเห็นอะไรบ้าง

การมองเห็นของลูกทารกเริ่มตอนไหน ทารกมองเห็นตอนอายุกี่เดือน มาเช็กพัฒนาการการมองของทารกที่บทความนี้เลยค่ะ 

การมองเห็นของทารก ทารกมองเห็นตอนไหน มาเช็กพัฒนาการเด็กกันค่ะ

พัฒนาการการมองลูกทารก มีตั้งแต่อยู่ในครรภ์

ถ้าคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาเสพติด มีโอกาสสูงที่ลูกที่เกิดมาจะมีประสาทตาฝ่อ มองไม่เห็นทั้ง 2 ตาเลย ในปัจจุบันมีการค้นพบว่า หากในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่มีการกินยาแอสไพรินหรือยาแก้ปวดลดไข้ก็จะทำให้เด็กมีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนดได้ ทำให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย ซึ่งก็ส่งผลต่อตาเช่นกัน อันดับแรกก็คือ อาจจะมีจอประสาทตาเสื่อม อันดับสองคือ พบภาวะสายตาสั้น สายตาเอียง ตาเหล่ มากกว่าเด็กทั่วๆ ไป

ดังนั้นอาหารที่แม่ตั้งครรภ์ควรกินเพื่อส่งเสริมพัฒนาการสายตาลูกในท้อง คือ อาหารที่ครบ 5 ห้าหมู่ สารอาหารที่สำคัญ คือ โฟเลท ถ้ามีการวางแผนที่จะเตรียมตัวมีลูกก็ควรเริ่มกินตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพราะโฟเลทมีผลต่อการผลิตท่อสมอง เมื่อเริ่มมีการปฏิสนธิ เซลล์ต่างๆ ก็จะเริ่มแตกตัว ฉะนั้นถ้าจะให้ดีเราควรกินโฟเลทแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะนมที่เป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะซึ่งมีโฟเลทสูง แล้วช่วงที่สำคัญที่สุดก็คือ 2 สัปดาห์แรกหลังการปฏิสนธิซึ่งตัวอ่อนกำลังมีการสร้างตัวและฟอร์มท่อสมองขึ้นมา ฉะนั้นหากกินโฟเลทหลังจากที่รู้ว่าตั้งครรภ์ อาจเลยช่วงเวลาทอง 2 สัปดาห์แรกมาแล้ว
 

กระตุ้นการมองเห็นของลูกทารก

  1. การมองเห็นของลูกทารก 2-3 วันแรก
    เด็กจะยังไม่มอง ไม่มีโฟกัส คุณพ่อคณแม่ไม่ต้องตกใจไป เพราะ 2-3 วันแรกเด็กจะยังโฟกัสไม่ได้ เมื่อมองหน้าแม่ก็จะเห็นเป็นแบบรางๆ เท่านั้นเองส่วนใหญ่ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีการตรวจตาเด็กตั้งแต่วันแรกที่เด็กคลอดออกมา เพราะจริงๆ แล้วเราสามารถตรวจพบภาวะต้อกระจกได้ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งถ้าต้อกระจกนี้เกิดขึ้นในเด็กแล้วจะส่งผลให้เด็กเกิดภาวะตาเหล่ ตาสั่น(ตาไม่อยู่นิ่ง สั่นตลอดเวลา) ภาวะตาขี้เกียจ หรือพัฒนาไปเป็นต้อหินได้

  2. การมองเห็นของลูกทารกสัปดาห์แรก
    เด็กจะมองเห็นเป็นสีเทาๆ เห็นหน้าแม่รางๆ เราพบว่าถ้าแม่เลี้ยงลูกด้วยการให้นมแม่ ให้นมทางซ้ายบ้างทางขวาบ้าง โดยที่แม่ไม่ได้เปลี่ยนทรงผมมาก เด็กจะจำหน้าแม่ได้เร็ว แล้วสิ่งนั้นจะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กมาก แล้วด้วยความที่เด็กยังมองเห็นไม่ชัด เป็นแค่โครงร่างสีเทาๆ เมื่อเด็กเห็นโครงหน้าแม่แบบเดิมๆ เขาก็จะจำได้ แล้วเมื่อมีคนอื่นที่ไม่ใช่แม่มาอุ้มเขาก็จะรู้ว่านี่ไม่ใช่แม่

    กระตุ้นพัฒนาการลูก วิธีที่จะช่วยกระตุ้นการมองเห็นเมื่อแรกเกิดที่ดีคือแม่ควรเป็นคนเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง แล้วก็เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ควรเปลี่ยนทรงผมบ่อย ควรทำทรงผมทรงเดิม ลูกจะจดจำได้ง่ายขึ้น

  3. การมองเห็นของลูกทารก 1 เดือน
    ในช่วง 1 เดือนแรกลูกอาจมีอาการตาเหล่ได้นิดหน่อย ทั้งตาเหล่เข้าในและออกนอก แต่ภาวะนี้จะหายไปเองเมื่ออายุ 2- 3 เดือน ยกเว้นว่าเหล่แบบที่ตาดำหายไปเลย อาการนี้ต้องรีบพาไปพบแพทย์

    กระตุ้นพัฒนาการลูก ควรตกแต่งห้องด้วยสีสว่างๆ แขวนปลาตะเพียนหรือโมบายที่เป็นสีสันสดใส โดยเฉพาะสีแดง สีส้ม สีเหลือง สีเขียว ซี่งเด็กจะสามารถมองเห็นได้ดี ให้ขยับไปขยับมาในระยะประมาณ 1 ฟุต จะเป็นการกระตุ้นการมองเห็นของเด็กได้

  4. การมองเห็นของลูกทารก 2-3 เดือน
    จากภาพที่เห็นลางๆ ก็จะเริ่มมองเห็นได้ดีขึ้น เริ่มเป็นรูปร่าง เริ่มกลอกตาซ้ายขวาได้ การมองเห็นก็จะเริ่มดีขึ้น ในช่วงวัยนี้เด็กควรจะมองหน้าแม่แล้ว พอแม่ยิ้มเขาควรจะยิ้มตอบ ภาวะตาเหล่นิดหน่อยที่เห็นในช่วงเดือนแรกควรจะหายไป ตาควรจะอยู่ตรงกลาง ไม่ควรมีอาการตาสั่น เพราะถ้ายังสั่นน่าจะมีพยาธิสภาพเกิดขึ้น อาจเกิดจากลูกตาหรือระบบประสาท ถ้ายังมีอาการอยู่ควรพาไปพบแพทย์

    กระตุ้นพัฒนาการลูก ควรหาวัสดุใหม่ๆ เข้ามาแต่งห้องให้มีสีสันเพิ่มมากขึ้น คุณแม่ควรจะพูดกับลูก เวลาเราเดินไปรอบๆ ห้องควรพูดกับเขาด้วย เพื่อฝึกเด็กในเรื่องการได้ยินและการมองตามคุณแม่

  5. การมองเห็นของลูกทารก 4-6 เดือน
    เด็กจะเห็นภาพได้คมชัดดีใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ และมีพัฒนาการในการมองควบคู่กับการใช้มือหยิบจับ ในประเทศที่พัฒนาแล้วแนะนำให้เด็กได้รับการตรวจตา ถามว่าทำไมเด็กตัวแค่นี้ต้องตรวจตาด้วย เพราะอาจจะพบอุบัติการณ์ของมะเร็งจอตาได้ เพื่อการรักษาที่รวดเร็วหากเจอตั้งแต่เริ่มต้น ยังเป็นแค่จุดเล็กๆ เราสามารถรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ก็อาจจะหายได้

    กระตุ้นพัฒนาการลูก ของเล่นต่างๆ ควรวางในระยะที่เขาเอื้อมถึงก็จะเป็นการกระตุ้นการมองเห็นของเขา เป็นทั้งการฝึกการมองและกล้ามเนื้อของเขา แล้วเขาก็จะเรียนรู้พื้นผิวของของเล่น ฉะนั้นของเล่นควรเลือกแบบพื้นผิวไม่เรียบ และสีก็เป็นแบบปราศจากสารพิษตกค้าง

  6. การมองเห็นของลูกทารก 7-12 เดือน
    การมองเห็นเริ่มดีขึ้น ตา 2 ข้างเริ่มทำงานประสานกัน มีการทำงานของมือที่ประสานกับการทำงานของตาได้ดีขึ้น

    กระตุ้นพัฒนาการลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้ด้วยการคลานเล่นกับลูก แล้วก็หาของเล่นที่มีสีสันแต่ไม่แหลมคม เช่น บล็อกไม้ ตัวต่อ เด็กก็จะรู้สึกสนุก และอยากที่จะเล่น เอาของเล่นวางไว้แล้วให้ลูกคลานไปหยิบ ก็เป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เมีการเคลื่อนไหวด้วย

  7. การมองเห็นของลูกอายุ 1-2 ปี
    เด็กเริ่มหัดเดิน การมองเห็นต่างๆ ก็จะเริ่มดีขึ้น ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่มาก แต่ช่วงวัยนี้สิ่งที่เราจะพบเจอได้บ่อยก็คือ ภาวะตาเหล่ ซึ่งเกิดจากภาวะสายตายาว ซึ่งถ้าพบตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด อาจจะให้ใส่แว่นสายตาเพื่อปรับระยะการมองเห็น

    กระตุ้นพัฒนาการลูก หาของเล่นบล็อคไม้รูปทรงต่างๆ ให้ลูกหยิบบล็อคไม้ใส่ให้ถูกช่อง

  8. การมองเห็นของลูกอายุ 2-3 ขวบ
    เป็นช่วงวัยที่เด็กจะเริ่มแสดงความผิดปกติทางสายตาออกมาให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยปัญหาสายตาในเด็กเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1. กรรมพันธุ์ 2. สิ่งแวดล้อม

    1. กรรมพันธุ์ถ้าพ่อแม่สายตาสั้น ลูกมีโอกาสถึง 50 เปอร์เซ็นต์ที่จะมีสายตาสั้น

    2. สิ่งแวดล้อม เราพบว่าเด็กไทย จีน สิงคโปร์ ที่มีการเรียนแบบเข้มข้นมาก ต้องเรียนพิเศษเพื่อจะเข้าเรียน ป.1 เราพบว่าปัญหาสายตาของเด็กเอเชียมีมากกว่าเด็กฝรั่ง ของไทยนี่อาจจะเจอได้ถึง 40-50 เปอร์เซ็นต์ แต่มื่อเทียบกับเด็กต่างชาติที่มีสายตาสั้นเพียง 20-25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง เพราะเขาเน้นการเรียนในห้องเรียนรู้นอกตำราและนอกห้องเรียนมากกว่า

ฉะนั้นเราพบว่า ถ้าการใช้ชีวิตด้วยการเรียนอย่างหนัก การเล่นเกม เล่นคอมพิวเตอร์ ก็มีผลต่อการเกิดภาวะสายตาสั้นได้ ถามว่าอันตรายไหม ถ้าปัญหาสายตาสั้นนั้นไม่มาก คือไม่เกิน 1000 ก็ไม่มีอันตรายอะไร แต่ถ้ามากกว่านั้นก็อาจส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา เช่น ต้อหิน จอประสาทตาลอก

 

กระตุ้นพัฒนาการลูก เอารูปภาพสัตว์ต่างๆ มาเล่นกับลูก แม่นั่งอยู่ในระยะห่างระดับต่างๆ เปิดภาพแล้วให้ลูกตอบว่าเป็นสัตว์อะไร ดูว่าลูกสามารถตอบได้ถูกต้องหรือไม่ มองเห็นชัดหรือเปล่า
 

สัญญาณอันตรายสู่ปัญหาสายตา ลูกทารกมีปัญหาการมองเห็น

น้ำตาไหลมาก ไหลตลอดเวลา ซึ่งอาจจะเกิดจากท่อน้ำตาตัน หรือภาวะต้อหินภาวะหนังตาบวม เด็กที่คลอดออกมา โดยเฉพาะคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ ต้องผ่านช่องคลอด หรือไม่ได้คลอดในห้องคลอดที่ถูกต้อง สิ่งสัมผัสที่สกปรกก็อาจทำให้เด็กเกิดการติดเชื้อที่ตาได้ตาเหล่สู้แสงไม่ ได้ เจอแสงน้ำตาไหลตลอดเวลาเห็นจุดขาว ๆ ในตาดำเด็กไม่ยอมลืมตา หรือลืมแค่ข้างเดียว อาจเกิดจากพัฒนาการของหนังตาที่พัฒนาได้ไม่ดี

 

การอาบน้ำเด็กทารกช่วยสร้างพัฒนาการที่คุณคาดไม่ถึง!

การอาบน้ำ, การอาบน้ำเด็กทารก, การอาบน้ำเด็ก, การอาบน้ำเด็กเล็ก, อาบน้ำให้ลูก, อาบน้ำเด็กเสริมพัฒนาการ, อาบน้ำให้ลูก 1 ขวบ, วิธีอาบน้ำเด็ก, วิธีอาบน้ำเด็กให้ถูกวิธี, อาบน้ำเด็กแรกเกิด, อาบน้ำเด็กทารก, ผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็ก, พัฒนาการเด็ก, พัฒนาการทารก, พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ, เด็กแรกเกิด, ทารกแรกเกิด, การเลี้ยงลูก, ส่งเสริมพัฒนาการ
 

คุณแม่หลายคนที่เชื่อว่าการอาบน้ำลูกน้อยเป็นแค่การทำความสะอาด คงเริ่มสงสัยกันแล้วใช่ไหมคะว่าการอาบน้ำแนวใหม่ให้สมาร์ทๆ เป็นอย่างไร ถึงเวลาแล้วค่ะ ที่จะเปิดรับมุมมองใหม่ลองมาฟังเกร็ดความรู้จากคุณหมอและคุณแม่ที่จะเผยให้เห็นพัฒนาการที่ลูกน้อยจะได้รับจากช่วงเวลาอาบน้ำที่หลายคนนึกไม่ถึงกันดีกว่าค่ะ

การอาบน้ำ, การอาบน้ำเด็กทารก, การอาบน้ำเด็ก, การอาบน้ำเด็กเล็ก, อาบน้ำให้ลูก, อาบน้ำเด็กเสริมพัฒนาการ, อาบน้ำให้ลูก 1 ขวบ, วิธีอาบน้ำเด็ก, วิธีอาบน้ำเด็กให้ถูกวิธี, อาบน้ำเด็กแรกเกิด, อาบน้ำเด็กทารก, ผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็ก, พัฒนาการเด็ก, พัฒนาการทารก, พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ, เด็กแรกเกิด, ทารกแรกเกิด, การเลี้ยงลูก, ส่งเสริมพัฒนาการ

"หลายคนเชื่อว่าการอาบน้ำให้ลูกน้อยเป็นแค่เรื่องการทำความสะอาด" แต่ทราบไหมคะการอาบน้ำนี่แหละเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่ช่วยสร้างสายใยแม่ลูกและยังช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 4 ของลูกน้อยไม่ว่าจะเป็น การได้ยินเสียงแม่ร้องเพลงหรือเล่านิทานที่จะนำไปสู่พัฒนาการด้านการฟังและการเรียนรู้ให้ลูกน้อยมีคลังคำศัพท์ที่ใหญ่ขึ้น หรือการมองเห็นที่จะช่วยให้ลูกน้อยฝึกทักษะการใช้สายตาสังเกตเสริมพัฒนาการด้านการคิดอย่างเป็นระบบเมื่อโตขึ้น รวมทั้งการสัมผัสตัวต่อตัวและการได้กลิ่นหอมอ่อนๆในช่วงเวลาอาบน้ำด้วยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 4 เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและการพัฒนาศักยภาพของลูกน้อยต่อไปในอนาคตดังนั้นการอาบน้ำลูกน้อยจึงให้อะไรมากกว่าที่คิดค่ะ”

พญ. ปิ่นประภาธรรมวิภัชน์

กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม รพ. รามคำแหงการอาบน้ำ, การอาบน้ำเด็กทารก, การอาบน้ำเด็ก, การอาบน้ำเด็กเล็ก, อาบน้ำให้ลูก, อาบน้ำเด็กเสริมพัฒนาการ, อาบน้ำให้ลูก 1 ขวบ, วิธีอาบน้ำเด็ก, วิธีอาบน้ำเด็กให้ถูกวิธี, อาบน้ำเด็กแรกเกิด, อาบน้ำเด็กทารก, ผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็ก, พัฒนาการเด็ก, พัฒนาการทารก, พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ, เด็กแรกเกิด, ทารกแรกเกิด, การเลี้ยงลูก, ส่งเสริมพัฒนาการคราวนี้มาดูเรื่องราวน่ารักๆ ของน้องคริสกันค่ะ

น้องคริสอายุ 1ขวบกับ 1 เดือน เรียนรู้ไวมากค่ะ คุณแม่เองจบทางด้านการศึกษาปฐมวัยโดยตรง แต่ก็ยังหาข้อมูลต่างๆรอบด้านและปรึกษาคุณหมอด้วยน้องคริสเป็นเด็กซนกระตือรือร้นช่างสังเกตเดินได้ทั้งวันโดยไม่เหนื่อย

เรื่องการอาบน้ำตอนแรกกังวลมากค่ะ แต่คุณหมอบอกว่าไม่ต้องกังวลยิ่งน้องคริสได้อาบน้ำก็ยิ่งได้กระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆ ไปด้วย ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการที่ดีตั้งแต่เขาอายุได้ 3 เดือนคุณแม่ก็เริ่มอาบน้ำให้เค้าคล่องค่ะ เขาชอบอาบน้ำมากบางวันจะอาบให้ถึง 3 ครั้งๆ ละ 15 นาทีเพราะเขาาเล่นและเดินได้ตลอดทั้งวันค่ะ

เวลาอาบน้ำคุณแม่จะร้องเพลงที่เกี่ยวกับการอาบน้ำโดยเฉพาะ อยากช่วยเสริมพัฒนาการด้านการฟังของเขา และให้เขาได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆไปด้วยน้องคริสชอบหมดค่ะ ทั้งตีน้ำเล่นฟองสบู่เล่นลูกบอลคุณแม่ก็จะสอนเรื่องการไหลของน้ำโดยใช้ถ้วยตักน้ำให้เขามองตามและสังเกต ซึ่งตรงนี้คุณหมอสนับสนุนบอกว่าจะทำให้เขาพัฒนาการใช้สายตาและการคิดอย่างเป็นระบบ และมีทักษะเรื่องเหตุและผลเมื่อโตขึ้น คุณหมอแนะนำว่าสิ่งเหล่านี้ในช่วงเวลาอาบน้ำนอกจากจะทำให้ครอบครัวผูกพันมากขึ้นแล้วยังช่วยกระตุ้นให้น้องคริสมีพัฒนาการสมวัยด้วยค่ะ”

คุณนิตยา ยงรัตนมงคล (คุณแม่น้องคริส)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/JohnsonsBabyClub

(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)



วิธีนวดไล่ลมในท้องลูกทารก แก้อาการทารกท้องอืดท้องเฟ้อ

 ทารก ท้องอืด, วิธี นวด ไล่ ลม ใน ท้อง, วิธี แก้ ท้องอืด ทารก, อาการ ท้องอืด ใน ทารก, ท่า อุ้ม ทารก เรอนม, ท่าอุ้มเรอนม, ท่าอุ้มไล่ลมในท้องทารก, นวด ไล่ลม ทารก, นวดท้อง ไล่ลม ทารก, อุ้มทารก พาดบ่า ไล่ลม

หลังลูกทารก ลูกเล็กกกินนมแล้วอาจมีอาการท้องอืดได้ค่ะ นี่คือวิธีนวดไล่ลมในท้องลูกทารกให้เรอนม ลูกสบายตัว หลับง่ายขึ้น

วิธีนวดไล่ลมในท้องลูกทารก แก้อาการทารกท้องอืดท้องเฟ้อ

เมื่อเจ้าตัวเล็กดูดนมมักกลืนลมไปด้วย โดยเฉพาะถ้ามื้อนั้นลูกหิวนมมาก ๆ หรือน้ำนมคุณแม่เยอะ ทำให้หนูน้อยดูดเร็ว ดูดแรง ส่งผลให้ลมเข้าไปแน่นท้อง เกิดท้องอืด ท้องเฟ้อ และร้องไห้โยเยตามมา คุณแม่เลิกกังวล เมื่อต้องไล่ลมให้ลูกรักหลังมื้อนมได้แล้วค่ะ เพราะวิธีต่อไปนี้ช่วยได้

  • ท่าอุ้มลูกพาดบ่า  คุณแม่อุ้มลูกหันหน้าเข้าหาตัว วางศีรษะลูกบนบ่าหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ใช้มือข้างที่ถนัดประคองต้นคอลูก ส่วนมืออีกข้างประคองก้นลูกไว้ การอุ้มลูกท่านี้ ไหล่ของคุณแม่จะช่วยนวดลิ้นปี่ของลูกไปโดยปริยายอย่างเบาๆ ทำให้ลูกเรอได้ค่ะ

  • ท่าอุ้มลูกนั่งบนตัก  คุณแม่ใช้มือข้างที่ถนัดประคองช่วงคางของลูก จากนั้นก็โน้มตัวลูกมาข้างหน้าเล็กน้อย หลังตรง อุ้งมือคุณแม่จะอยู่บริเวณลิ้นปี่ลูก ให้ทิ้งน้ำหนักตัวลูกมากดทับที่มือคุณแม่ เป็นการช่วยคลึงท้องลูกเพื่อช่วยไล่ลมออก ส่วนมืออีกข้างก็ลูบหลังลูกเบาๆ

  • ท่าอุ้มลูกวางพาดบนขา  คุณแม่อุ้มลูกให้นอนคว่ำโดยช่วงหน้าอก (ลิ้นปี่) ของลูกอยู่บนหน้าขา (คุณแม่นั่งบนเก้าอี้ชันเข่า) ใช้มือข้างที่ถนัดประคองช่วงไหล่ลูก และใช้มืออีกข้างหนึ่งลูบหลังลูกเบาๆ หน้าขาคุณแม่จะช่วยนวดเบาๆ ที่ท้องลูก เพื่อช่วยไล่ลมได้เช่นกันค่ะ
ทารก ท้องอืด, วิธี นวด ไล่ ลม ใน ท้อง, วิธี แก้ ท้องอืด ทารก, อาการ ท้องอืด ใน ทารก, ท่า อุ้ม ทารก เรอนม, ท่าอุ้มเรอนม, ท่าอุ้มไล่ลมในท้องทารก, นวด ไล่ลม ทารก, นวดท้อง ไล่ลม ทารก, อุ้มทารก พาดบ่า ไล่ลม

สิ่งที่แม่ห้ามลืมเมื่อต้องนวดไล่ลมในท้องทารก

  1. ขณะที่อุ้มไล่ลมให้ลูก ต้องเตรียมผ้าอ้อมสะอาดไว้ใกล้มือนะคะ เวลาที่ลูกแหวะนมออกมาจะได้หยิบใช้สะดวก

  2. ทุกครั้งที่อุ้มลูก ต้องใช้มือข้างที่ถนัดประคองต้นคอลูกไว้เสมอ เพราะกล้ามเนื้อต้นคอของลูกยังไม่แข็งแรงพอ

ตัวช่วยนวดไล่ลมแก้ทารกท้องอืด

  1. ใช้ยู่ยี่ออยล์ หยดบนมือแม่ 3-4 หยอด นวดฝามือเข้าด้วยกันให้น้ำมันเคลือบเต็มฝ่ามือ จากนั้นใช้มือนวดวนไปที่ท้องลูก 10-15 นาที สมุนไพรในยู่ยี่ออยล์จะช่วยขับลม ลดอาการท้องอืดในทารกได้

  2. ใช้มหาหิงค์ ทาท้องทารก โดยใช้ก้านสำลีจุ่มมหาหิงค์ ทาบาง ๆ ที่ท้อง กลิ่นหอมระเหยจะช่วยขับลมในท้องทารกได้ 

สำหรับคุณแม่มือใหม่หัดขับที่อุ้มลูกให้เรอแล้วแต่ลูกไม่เรอก็ไม่ต้องตกใจ เพราะปกติเด็กจะเรอหรือไม่เรอก็ได้ แต่คุณแม่ควรอุ้มลูกต่อไปอีกสักแป๊บนึง เพื่อให้น้ำนมลงในกระเพาะ ก่อนให้ลูกนอนค่ะ

ทารก ท้องอืด, วิธี นวด ไล่ ลม ใน ท้อง, วิธี แก้ ท้องอืด ทารก, อาการ ท้องอืด ใน ทารก, ท่า อุ้ม ทารก เรอนม, ท่าอุ้มเรอนม, ท่าอุ้มไล่ลมในท้องทารก, นวด ไล่ลม ทารก, นวดท้อง ไล่ลม ทารก, อุ้มทารก พาดบ่า ไล่ลม

เช็ก Reflex พัฒนาการลูกทารกแรกเกิด Reflex ทารกคืออะไร

Reflex ทารกแรกเกิด, Reflex ลูกแรกเกิด, Reflex ทารก คืออะไร, ปฎิกิริยารีเฟล็กซ์, เช็กพัฒนาการลูกแรกเกิด, พัฒนาการทารกแรกเกิด, สุขภาพเด็กแรกเกิด, เช็กพัฒนาการ ทารกหลังคลอด, พัฒนาการเด็ก 0-1 ขวบ, ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

ร่างกายของทารกหลังคลอดจะมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่ เช็กได้จากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับ หรือ Reflex ของเด็กทารกค่ะ

เช็ก Reflex พัฒนาการลูกทารกแรกเกิด Reflex ทารกคืออะไร

Reflex..ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ คือการตอบสนองของกล้ามเนื้อตามธรรมชาติที่มีผลมาจากการถูกกระตุ้น โดยมีปัจจัยจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และเป็นผลมาจากพัฒนาการด้านระบบประสาทในเด็ก ถือเป็นการแสดงหน้าที่อย่างหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีความจำเป็นในเด็กทารกแรกเกิด เพราะนั่นหมายถึงการมีพัฒนาการที่ปกติ และนำไปสู่การอยู่รอดของเด็กนั่นเอง

ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ หรือ Reflex พื้นฐานของลูกทารกแรกเกิด

1. ปฏิกิริยาสะท้อนทางปาก (Oral Reflex)

พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก-พัฒนาการเด็กทารก-พฤติกรรมเด็ก-เด็กแรกเกิด-Reflex-ปฎิกิริยารีเฟล็กซ์-พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก 0-1 ขวบ-ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

  • ปฏิกิริยาการค้นหา (Rooting Reflex) หากมีบางสิ่งมาสัมผัสที่ข้างแก้มของลูก ลูกจะค่อยๆ หันหน้าและขยับปากไปหาสิ่งที่มาสัมผัส เช่น เมื่อคุณแม่จะป้อนนม แล้วใช้หัวนมเขี่ยข้างแก้ม ลูกก็จะค่อยๆ หันหน้าไปหาหัวนม และงับหัวนมได้

  • ปฏิกิริยาการดูด (Sucking Reflex) จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถดูดนมได้ การที่มีอะไรสักอย่างไปกระตุ้นริมฝีปาก เมื่อลูกงับหัวนมได้ก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการใช้ลิ้นกับเพดานดุนเข้าหากัน จากลานนมไปหาหัวนมทำให้มีน้ำนมไหลออกมา

  • ปฏิกิริยาการกลืน (Swollowing Reflex) เมื่อลูกดูดนมได้แล้ว ต่อไปก็จะกลืน ซึ่งปฏิกิริยานี้จะทำให้ลูกกลืนได้เองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้ใดๆ

อาการนี้จะหายไปเมื่อไหร่

ปกติแล้วปฏิกิริยาชนิดนี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอดจนถึง 2-3 เดือนแรก แล้วจะค่อยๆ หายไป หลังจากนั้นลูกน้อยจะกินได้ด้วยการเรียนรู้ ว่าควรหันไปหาหัวนมแม่อย่างไร และต้องดูดนมอย่างนี้ถึงจะไหลออกมา สามารถบังคับ และกำหนดการดูดได้ด้วยตัวเอง

 

2. ปฏิกิริยาทางตา (Eye Reflex)

พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก-พัฒนาการเด็กทารก-พฤติกรรมเด็ก-เด็กแรกเกิด-Reflex-ปฎิกิริยารีเฟล็กซ์-พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก 0-1 ขวบ-ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

  • ปฏิกิริยาการกะพริบตา (Blink Reflex) เมื่อมีอะไรมาโดนตา หรือเข้ามาใกล้ตา ก็จะกะพริบตาทันที

  • ปฏิกิริยาของแก้วตา (Pupil Reflex) เมื่อมีแสงมากระทบที่ม่านตา หรือเวลาที่ลูกจ้องมองแสงไฟ ม่านตาของลูกจะค่อยๆ หดลง เหมือนเป็นการป้องกันไม่ให้แสงเข้านัยน์ตามากเกินไป

  • ปฏิกิริยาการกลอกตา (the dolls eye response) ลูกสามารถกลอกตาไปมา เพื่อมองหา หรือมองตามสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ตั้งแต่ 2-3 วันแรก

อาการนี้จะหายไปเมื่อไหร่

ปกติปฏิกิริยาชนิดนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด และจะไม่หายไปไหน จะอยู่กับเราไปตลอดชีวิตเลย

 

3. ปฏิกิริยาโมโร (Moro Reflex)

พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก-พัฒนาการเด็กทารก-พฤติกรรมเด็ก-เด็กแรกเกิด-Reflex-ปฎิกิริยารีเฟล็กซ์-พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก 0-1 ขวบ-ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

เวลาที่อุ้มลูกแล้วประคองบริเวณต้นคอลูก ถ้ามือเลื่อนลงมาบริเวณหลัง ลูกจะมีปฏิกิริยาตอบสนองทันที คือแขนขาจะเหยียดและกางออกหลังจากนั้นจะโผเข้าหาเหมือนจะโอบกอด หรือการที่ลูกได้ยินเสียงดังๆ หรือการวางลูกนอนลงอย่างกะทันหัน ลูกจะตกใจ และแสดงอาการสะดุ้ง หรือผวาออกมา Moro Reflex ทารกหลังคลอดทุกคนจะมีให้เห็น เพื่อเป็นการบ่งบอกให้รู้ว่าลูกมีพัฒนาการสมบูรณ์ ฉะนั้นเวลาที่ลูกสะดุ้งตกใจ ให้คุณพ่อคุณแม่รู้ไว้ว่าลูกมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติค่ะ

อาการนี้จะหายไปเมื่อไหร่

ปกติแล้วปฏิกิริยานี้จะเริ่มมีตั้งแต่แรกเกิด จะค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุ 3 เดือน และหายไปเมื่ออายุ 5-6 เดือนค่ะ

 

แบบประเมินพัฒนาการลูกทารกแรกเกิด – พัฒนาการเด็กอายุ 5 ปี

แบบประเมินพัฒนาการทารกแรกเกิด, แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ, แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 2 ขวบ, แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 3 ขวบ, แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 4 ขวบ, แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 5 ขวบ, เช็กพัฒนาการเด็ก, พัฒนาการเด็กทารก

พ่อแม่สามารถเช็กพัฒนาการลูกตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงลูกอายุ 5 ปี ได้ง่าย ๆ จากตารางพัฒนาการตามนี้ได้เลยค่ะ 

แบบประเมินพัฒนาการลูกทารกแรกเกิด – พัฒนาการเด็กอายุ 5 ปี

อายุ

พัฒนาการตามวัย

ทำได้

ทำไม่ได้

ต่ำกว่า 1 เดือน

- มองหน้าสบตา
- ตอบสนองต่อเสียงพูด, ทำเสียงในลำคอ

   

1 - 2 เดือน

- สนใจฟังและมองหาเสียงทำเสียงอูอาโต้ตอบ
- มองตามสิ่งที่เคลื่อนไหว
- ชันคอในท่าคว่ำ

   

3 – 4 เดือน

- หันหาเสียง
- หัวเราะได้
- ส่งเสียงอ้อแอ้โต้ตอบ
- มองตามจากด้านหนึ่งจนสุดอีกด้านหนึ่ง
- ในท่าคว่ำใช้แขนยันชูคอตั้ง 90 องศา

   

5 – 6 เดือน

- แสดงอารมณ์ และท่าทาง เช่น ดีใจ ขัดใจ
- หันตามเสียงเรียกชื่อ
- ส่งเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ
- คว้าของมือเดียวและเปลี่ยนมือถือของได้

   

7 – 8 เดือน

- ทำเสียงพยางค์เดียว เช่น จ๊ะ หม่ำ
- มองตามของตก
- นั่งทรงตัวได้เอง โดยไม่ต้องใช้มือยัน

   

9 – 10 เดือน

- เล่นจ๊ะเอ๋
- ใช้ท่าทางหรือการชี้บอกความต้องการ
- ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือหยิบของ
- เกาะยืนและเหนี่ยวตัวลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง

   

11 – 12 เดือน

- เลียนแบบท่าทาง
- เข้าใจเสียงห้าม และหยุดทำ
- ยืนเองได้ชั่วครู่หรือตั้งไข่

   

13 -15 เดือน

- ทำตามคำบอกง่าย ๆ
- พูดคำที่มีความหมายได้ 1 – 3 คำ
- เดินได้เอง

   

16 -18 เดือน
(1 ปี – 1 1/2 ปี)

- รู้จักปฏิเสธ
- ทำตามคำสั่งง่าย ๆ โดยการชี้อวัยวะ 1 – 2 ส่วน
- วางของซ้อนกัน 2 – 3 ชิ้น

   

19 – 24 เดือน
( 1 1/2 ปี - 2 ปี)

- พูดคำ 2 คำต่อกันอย่างมีความหมาย
- เปิดหน้าหนังสือได้ทีละหน้า

   

25 – 30 เดือน
(2 ปี – 2 1/2 ปี)

- พูดคุยโต้ตอบเป็นประโยคสั้น ๆ
- ชี้หรือทำตามคำบอกเช่น ชี้อวัยวะอย่างน้อย 6 ส่วน
- ขีดเขียนเป็นเส้นวน ๆ

   

31 – 36 เดือน
(2 1/2 ปี – 3 ปี)

- รู้จักรอคอย
- บอกชื่อตนเองได้
- เข้าใจเพศ ชาย - หญิง

   

37 – 48 เดือน
(3 ปี – 4 ปี)

- บอกได้อย่างน้อย 1 สี
- เขียนวงกลมตามแบบได้
- พูดเล่าเรื่องให้คนอื่นเข้าใจเกือบทั้งหมด

   

49 – 60 เดือน
(4 ปี – 5 ปี)

- เข้าใจและอธิบายเหตุผลง่าย ๆ
- นับและรู้จำนวน 1 – 5
- บอกสีได้ 4 สี
- วาดรูปคนอย่างง่ายๆ

   

61 – 72 เดือน
(5 ปี -6 ปี)

- รู้จักซ้าย ขวา ข้างบน ข้างใต้ ข้างหน้า ข้างหลัง
- รู้จำนวน 1 – 10 ชิ้น
- วาดรูปสามเหลี่ยม

   

ที่มา ศูนย์เทคโนโลยีและการสื่อสาร โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 6 เดือน พัฒนาการทารกวัย 6 เดือน

พัฒนาการ เด็ก 6 เดือน, พัฒนาการทารก 6 เดือน, พัฒนาการ 6 เดือน, พัฒนาการ ทารก เดือน ที่ 6, ทารก 6 เดือน พัฒนาการ, เด็ก 6 เดือน พัฒนาการ, ลูก 6 เดือน มีพัฒนาการยังไง, เช็กพัฒนาการเด็ก 6 เดือน, เด็ก 6 เดือน ทำอะไรได้บ้าง, ประเมินพัฒนาการเด็ก 6 เดือน

พัฒนาการเด็ก 6 เดือน เติบโตแค่ไหน เขาทำอะไรได้บ้าง และพ่อแม่ต้องส่งเสริมอย่างไร เช็กกันตรงนี้ค่ะ

แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 6 เดือน พัฒนาการทารกวัย 6 เดือน

1. พัฒนาการเด็ก 6 เดือน จะพลิกคว่ำ และหงายได้เองทั้งสองอย่าง : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้

แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ

  • วางลูกนอนคว่ำเรียกชื่อลูกพร้อมเขย่าของเล่นที่มีเสียง เช่น กรุ๋งกริ๋งด้านหน้าเหนือศีรษะเด็ก เคลื่อนของเล่นไปด้านข้าง เมื่อเด็กพยายามจะคว้าของเล่น ตัวก็จะพลิกหงายตามมาได้ ถ้าลูกทำไม่ได้ ช่วยจับเข่างอ ดันสะโพกพลิกตัวหงาย
  • วางลูกนอนหงาย วางของเล่นด้านข้างระดับสายตา จับใต้เข่าทั้งสองข้างงอเข่าข้างหนึ่งพลิกเป็นท่านอนตะแคง แล้วพลิกตัวเป็นท่านอนคว่ำ

2. พัฒนาการเด็ก 6 เดือน เมื่ออยู่ในท่าคว่ำหรืออุ้มนั่ง สามารถหยิบของใกล้ตัวได้ : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้

แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ

  • นวางลูกนอนคว่ำแขนยันพื้นให้ข้อศอกอยู่ข้างหน้าไหล่ แล้วยื่นของเล่นห่างจากศีรษะ 20 ซม. เรียกชื่อลูกแล้วบอกให้จับของเล่น ถ้าทำไม่ได้ช่วยจับข้อมือเอื้อมหยิบหรือไปจับของเล่นโดยสลับฝึกทั้งสองข้างสลับกัน
  • พยุงลูกไว้ในท่านั่ง
    • เขย่าของเล่นที่มีเสียงให้ลูกสนใจ ถ้าลูกไม่เอื้อมมือไป ช่วยจับมือให้เอื้อมไปที่ของเล่น
    • พูดคุย พยายามให้ลูกเอื้อมมือมาจับใบหน้า ผม ของพ่อหรือแม่
    • ก่อนให้นมลูกทุกครั้ง ถือขวดนมห่างจากหน้าประมาณ 20 ซม. เรียกให้มองที่ขวดนมเพื่อให้ลูกเอื้อมมือทั้งสองข้างออกมาถ้าลูกไม่ทำ จับมือลูกมาที่ขวดนม
    • ทำแกนขวางเตียงลูก ใช้เชือกที่ยึดได้ผูกของเล่นสีสดใส มีเสียงติดกับแกนในระยะที่ลูกเอื้อมมือถึง เปลี่ยนของเล่น และตำแหน่งแขวนบ้าง

3. พัฒนาการเด็ก 6 เดือน หันตามเสียงเรียก เมื่อเรียกลูกจากด้านหลัง : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้

แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ

  • เรียกลูกทุกครั้งที่เดินมาหา ก่อนอุ้ม/ให้นม หรือก่อนฝึกกิจกรรมต่าง ๆและรอให้ลูกมองหน้า
  • เรียกชื่อลูกด้วยเสียงปกติทางด้านหลังห่างจากลูก 1 ฟุต สลับกันซ้าย-ขวา ลูกบางคนถนัดหันหน้าข้างเดียว ต้องพยายามฝึกข้างที่ไม่ถนัดให้มากกว่า

4. พัฒนาการเด็ก 6 เดือน ส่งเสียง หรือพ่นน้ำลายเล่น : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้

แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ

  • พ่อแม่ทำเสียง เช่น พ่นน้ำลาย ส่งเสียงโอะอะ มามา ปาปา ที่ละเสียง แล้วรอให้ลูกทำตาม
  • เล่นของเล่นพร้อมทำเสียงให้ลูกฟัง เช่น ไถรด ทำเสียง “ปริ๊น ปริ๊น” ทำทุกวัน วันละหลาย ๆ ครั้ง สังเกตว่าลูกออกเสียงเล่นกับของเล่นนั้นบ้างหรือไม่

 

สรุปผลการประเมินพัฒนาการเบี้องต้น

( 1 ข้อเท่ากับ 1 คะแนน) กรณีทำได้มากกว่า 3 ข้อ ถือว่าปกติ

 

แบบประเมินพัฒนาการเด็กทารกอายุ 9 เดือน ลูกเราต้องทำอะไรได้บ้าง

พัฒนาการทารก 9 เดือน, ทารก 9 เดือน, ของเล่น เสริม พัฒนาการ 9 เดือน, พัฒนาการ 9 เดือน, เด็ก 9 เดือน พัฒนาการ, ทารก 9 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร, ส่งเสริมพัฒนาการทารก 9 เดือน, ลูกวัย 9 เดือน, เด็กทารก 9 เดือน ทำอะไรได้บ้าง, เช็กพัฒนาการเด็ก 9 เดือน

ลูกทารกวัย 9  เดือนของเรามีพัฒนาการแต่ละด้านเป็นอย่างไรบ้าง แม่ต้องส่งเสริมอะไร มาเช็กกันที่บทความนี้ค่ะ 

แบบประเมินพัฒนาการเด็กทารกอายุ 9 เดือน ลูกเราต้องทำอะไรได้บ้าง

  1. เด็กทารกวัย 9 เดือน จับลูกนั่งแล้ว ลูกนั่งอยู่ได้นานโดยไม่ต้องใช้มือยันพื้น : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทารก
    • จับลูกนั่งบนพื้น วางของเล่นไว้ข้างหน้าให้เล่นโดยเล่นกับลูกด้วย และคอยเปลี่ยนท่านั่งให้ลูก เช่น นั่งพับเพียบ ไม่ควรปล่อยให้ลูกนั่งท่าเดียวนาน ๆ

  2. เด็กทารกวัย 9 เดือน จับลูกนั่ง ให้ลูกมองของเล่นที่มีสีสดใสและไม่มีเสียง เช่น ผ้า เศษกระดาษ เมื่อปล่อยของให้ตกพื้นสามารถมองตามของเล่นที่ทำตกได้ : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทารก
    • จับลูกนั่งเก้าอี้ หรือบนตัก เขย่าของเล่นสีสดใส มีเสียง ตรงระดับสายตาขณะลูกกำลังจ้องมองปล่อยของเล่นให้ตกลงพื้น ถ้าลูกไม่มองหาของเล่นที่ตก กระตุ้นให้มองหา
    • ใช้วัตถุไม่มีเสียง เช่น ผ้าสีสด ฟองน้ำ สอนเช่นเดียวกับข้อหนึ่ง
    • ในขณะที่อาบน้ำให้ลูก ใช้ของเล่นที่ลอยน้ำได้

  3. เด็กทารกวัย 9 เดือน โผเข้าหา หรือยื่นแขนให้เมื่อเรียกและทำท่าอุ้ม : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทารก
    • ให้ทำท่ายื่นแขนทั้งสองข้างไปที่ตัวลูกทุกครั้งที่จะพาไปทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อาบน้ำ กินนม พร้อมพูดกับลูกว่า “อุ้ม” หรือ”ลุกขึ้น”
    • ถ้าลูกเฉยให้จับแขนยื่นมาที่แขนของผู้อุ้ม ก่อนจะอุ้มเด็กขึ้นทุกครั้ง
    • เมื่อต่อไปไปจะอุ้มลูก ถ้าลูกยื่นแขนออกมาเองให้กล่าวชมเชยพร้อมอุ้มขึ้นมากอด

  4. เด็กทารกวัย 9 เดือน พูดเสียงซ้ำ ๆ เช่น บาบา ดาดา หม่ำ ๆ จ๋าจ๊ะ : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทารก
    • การสอนพูด เราไม่สามารถช่วยเหลือด้วยวิธีจับปากให้ลูก แต่การได้ยินการพูดคุยเป็นประจำในชีวิตประจำวัน จะเป็นสิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการพูด ถ้าลูกยังไม่ส่งเสียงคุย ให้ตรวจสอบความสนใจ และการตอบสนองต่อผู้อื่นของลูก
    • ออกเสียง 2 พยางค์ ให้เด็กเลียนเสียงตาม เช่น มามา ดาดา บาบา หม่ำ ๆ

  5. เด็กทารกวัย 9 เดือน จ้องมอง หรือร้องไห้เมื่อเห็นคนแปลหน้า : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทารก
    • พาลูกไปเยี่ยมบ้านญาติ หรือเพื่อนสนิท เพื่อให้ได้พบสิ่งแวดล้อมที่แปลก ๆ ใหม่ ๆ
    • เมื่อ ลูกแสดงท่าทางกลัวหรือร้องไห้ ต้องอุ้มลูกและปลอบโยนทุกครั้งว่าไม่ต้องกลัว…. ไม่มีใครทำอะไร…. พยายามชี้ชวนพูดคุยให้ดูผู้คน และของเล่นแปลก ๆ ใหม่ ๆ

สรุปผลการประเมินพัฒนาการทารกเบี้องต้น

( 1 ข้อเท่ากับ 1 คะแนน) ** กรณีทำได้มากกว่า 3 ข้อ ถือว่าปกติ **

 

ไขข้อข้องใจ ทำไมต้องใช้เสียงสอง พูดเสียงสองเสียงเล็กน่ารักคุยกับลูกทารก

พูดเสียงสองกับเด็กทารก, พูดเสียงสองกับลูก, ทำไม ต้องพูดเสียง สอง กับเด็กทารก, พูด เสียงเล็ก เสียงน้อย กับทารก, พูดเสียงสูงต่ำ กับทารก, ลูก ทารก ชอบ ให้พ่อแม่พูดเสียงสูงต่ำ, พ่อแม่ พูดเสียงเล็ก เสียงน้อย กับลูก, พ่อแม่ พูดเสียงสองกับลูก, พูดคุยกับลูกทารก, ทำไมต้องพูดคุยกับลูกทารก, วิธีพูดคุยกับลูกทารก, ทักษะ ทางภาษา ทารก

ตอนพูดคุยกับลูกทารก พ่อแม่จะเผลอใช้เสียงสอง เสียงเล็กเสียงน้อยน่ารักโดยอัตโนมัติและลูกก็ชอบด้วย เพราะลูกทารกกำลังให้ความสนใจกับเสียงสูงต่ำของพ่อแม่อยู่ค่ะ

ไขข้อข้องใจ ทำไมต้องใช้เสียงสอง พูดเสียงสองเสียงเล็กน่ารักคุยกับลูกทารก

เรื่องนี้มีที่มาที่ไปอยู่ค่ะ ตั้งแต่สมัยที่เจ้าตัวเล็กอยู่ในท้องเริ่มตั้งแต่เซลล์พัฒนาใบหน้า สมอง หู ตา จมูก ปาก ลูกก็เริ่มได้ยินเสียงแล้วค่ะ นั่นก็คือช่วง 4 สัปดาห์แรกหลังตั้งครรภ์ และก็จะค่อย ๆ ได้ยินเสียงชัดขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งช่วงที่คุณหมอคุณพยาบาลแนะนำให้พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังมักจะอยู่ตั้งแต่ช่วงเดือนที่ 4 ที่ 5 นี่ละ

ด้วยความที่คุณแม่เป็นคนอุ้มท้องลูก เป็นเรื่องปกติที่ลูกจะคุ้นเคยเสียงแม่มากกว่า ซึ่งเสียงผู้หญิงเราจะเป็นเสียงแหลมสูงไม่ใช่เสียงทุ้มต่ำแบบผู้ชาย ยิ่งเวลาพูดกับลูกในท้องแม่มักจะมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ละมุนละไม  เข้าไปด้วย เมื่อลูกคลอดออกมาเขาจึงคุ้นกับเสียงแม่และชอบโทนเสียงสูงมากกว่า

เรื่องนี้มีนักจิตวิทยาเคยให้คำตอบเอาไว้เช่นกัน คุณ Courtney Glashow นักจิตวิทยาและเจ้าของสถาบัน Anchor Therapy ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกาบอกว่า การพูดเสียงสองกับเด็กทารกเป็นสัญชาตญาณในการสื่อสารของมนุษย์ เพราะเราทราบดีอยู่แล้วว่าเด็กยังไม่เข้าใจภาษา ไม่สามารถพูดได้ แต่เด็กสามารถแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ได้ ดังนั้นเวลาคุยกับทารกเราจึงใช้โทนเสียงที่สูง มักจะพูดช้าลง ใช้คำง่าย ๆ และพูดซ้ำ ๆ กับเขาค่ะ เพื่อแสดงออกว่าเราเป็นมิตร แม่กำลังแสดงความรักกับหนูอยู่นะ

พูดเสียงสองกับเด็กทารก, พูดเสียงสองกับลูก, ทำไม ต้องพูดเสียง สอง กับเด็กทารก, พูด เสียงเล็ก เสียงน้อย กับทารก, พูดเสียงสูงต่ำ กับทารก, ลูก ทารก ชอบ ให้พ่อแม่พูดเสียงสูงต่ำ, พ่อแม่ พูดเสียงเล็ก เสียงน้อย กับลูก, พ่อแม่ พูดเสียงสองกับลูก, พูดคุยกับลูกทารก, ทำไมต้องพูดคุยกับลูกทารก, วิธีพูดคุยกับลูกทารก, ทักษะ ทางภาษา ทารก
 
การพูดเสียงสองกับลูก พูดช้า ๆ พูดซ้ำ ๆ ช่วยกระตุ้นความสนใจของลูก แถมยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางภาษาและการพูดของเด็ก ๆ ด้วยค่ะ โดยช่วงที่พ่อแม่ใช้เสียงสองคุยกับลูกควรอยู่ในวัย 0 – 6 เดือนค่ะ เขาจะรู้สึกตื่นเต้น ตั้งใจฟัง เมื่อเข้าวัย 5 เดือนลูกจะเริ่มเลียนเสียงต่าง ๆ ที่ได้ฟังมากขึ้น พออายุ 8 เดือน พ่อแม่ต้องระวังเรื่องการออกเสียงแล้วค่ะ เพราะช่วงนี้ลูกจะเริ่มพูดได้เป็นคำมากขึ้น ทักษะภาษาและการสื่อสารดีขึ้น ถึงเวลาแล้วที่ต้องเปลี่ยนจากเสียงสองเป็นเสียงปกติ เพราะเราต้องออกเสียงเป็นคำที่ชัดเจน พูดประโยคสั้น ๆ และเข้าใจง่าย

ไม่ใช่ว่าพ่อแม่คุยกับลูกแล้วต้องใช้เสียงสองเท่านั้นลูกถึงจะมีพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสารดี เราต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นด้วยค่ะ

  • ภาษาท่าทางและน้ำเสียงต้องนุ่มนวลอ่อนโยน เพื่อให้ลูกรู้สึกอบอุ่น ไว้วางใจ ห้ามอารมณ์เสียใส่ลูก เพราะลูกยังเล็กเกินกว่าจะรู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรทำ  
  • ใช้คำซ้ำและเน้นคำที่สำคัญ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่กำลังพยายามจะสอนลูก เช่น การเรียกชื่อลูกบ่อย ๆ เพื่อให้เขารู้จักชื่อตัวเอง  
  • เรียกชื่อสิ่งที่เห็น แม้ลูกจะยังพูดตามไม่ได้ แต่ลูกก็สามารถจดจำและเข้าใจสิ่งที่พ่อแม่พูดได้ 
  • มีเสียงประกอบสิ่งที่พูดถึง เช่น พูดถึงแมว ก็ออกเสียง “เมี๊ยว” และทำท่าเลียนแบบแมวไปด้วย 
  • พูดชมลูก ทุกครั้งที่ลูกพยายามพูดหรือสื่อสารได้ถูกต้อง อย่าลืมกล่าวชมเป็นกำลังใจให้ลูกด้วยนะคะ
  • สบตากับลูกเสมอ ทุกครั้งที่พูดคุยกับลูก เพื่อให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่ตั้งใจคุยกับเขา

พูดเสียงสองกับเด็กทารก, พูดเสียงสองกับลูก, ทำไม ต้องพูดเสียง สอง กับเด็กทารก, พูด เสียงเล็ก เสียงน้อย กับทารก, พูดเสียงสูงต่ำ กับทารก, ลูก ทารก ชอบ ให้พ่อแม่พูดเสียงสูงต่ำ, พ่อแม่ พูดเสียงเล็ก เสียงน้อย กับลูก, พ่อแม่ พูดเสียงสองกับลูก, พูดคุยกับลูกทารก, ทำไมต้องพูดคุยกับลูกทารก, วิธีพูดคุยกับลูกทารก, ทักษะ ทางภาษา ทารก

ข้อดีของการพูดคุยกับลูกทารก 

เมื่อลูกได้เห็นสีหน้า ได้ยินเสียง ได้ออกเสียงแล้วมีการตอบสนองกลับมา จะส่งผลให้ลูกอยากพูด อยากโต้ตอบ อยากมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่มากขึ้น ซึ่งเสียงเล็กๆ ของลูกนี่แหละค่ะ จะเป็นพื้นฐานที่ดีที่จะช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ให้ลูกได้   

  1. เป็นทักษะการสื่อสาร การออกเสียงเป็นการสื่อสารของลูกตั้งแต่ช่วงแรกเกิด ลูกสื่อสารด้วยเสียงร้อง ไม่ว่าจะหิว เจ็บ ร้อน ไม่สบายตัวก็จะบอกออกมาเป็นเสียงร้องเพื่อให้ได้รับการตอบสนองจากพ่อแม่

  2. สร้างความผูกพัน การส่งเสียงยังเป็นการสร้างความผูกพันและความเชื่อมั่นที่ลูกมีต่อพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อลูกร้องต้องได้รับการตอบสนองจากพ่อแม่ทันที ซึ่งการตอบสนองทันที หรือเรียกว่า Basic Trust จะทำให้ลูกรู้สึกอุ่นใจ เมื่อโตขึ้นจะเป็นเด็กที่อารมณ์ดี มีความมั่นคงทางอารมณ์

  3. พัฒนาภาษา เวลาลูกยิ้ม หัวเราะ พ่อแม่มาคุยเล่นกับลูกด้วย จะทำให้ลูกเรียนรู้เสียงที่หลากหลายขึ้น และอยากทำเสียงหรือพูดตามเสียงนั้น ซึ่งการเล่นเสียงจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของลูกให้ดีขึ้น   
  4. ส่งเสริมการอ่าน การเขียน พ่อแม่ที่ใช้เสียงพูดคุยกับลูก ส่งเสียงต่างๆ กับลูก จะช่วยกระตุ้นการพูดคุยของลูก หรือการให้ลูกได้เลียนเสียงต่างๆ จะส่งผลดีต่อระบบประสาทด้านการรับฟัง ทำให้ลูกมีสมาธิ และช่วยเรื่องการแยกแยะเสียงได้ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสะกดคำ การเชื่อมโยงพยัญชนะกับสระต่างๆ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการเรียน การอ่าน และการเขียนที่ดีต่อไป 

ทุกวันนี้ถึงแม้ว่าลูกจะโตแล้ว พูดคุยเสียงดังฟังชัดแล้วแต่พ่อแม่จะกลับไปใช้เสียงสองกับลูกก็ได้นะคะ ถือเป็นการสร้างสีสันในครอบครัวและเป็นการเสริมสร้างสายสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

 

อ้างอิง :