เรามาลองดูวิธีการทดสอบไข่ตกแบบง่าย ๆ ด้วยตัวเอง 4 วิธีนี้กันค่ะ จะได้เลือกวันมีเพศสัมพันธ์เพื่อมีลูกได้แบบไม่เดาสุ่มให้เหนื่อยกันค่ะ
4 วิธีหาวันตกไข่ นับวันตกไข่อย่างไรให้มีลูกง่ายแบบวิธีธรรมชาติ
การนับวันตกไข่ หรือ การใช้เครื่องทดสอบวันไข่ตก เป็นอีกหนึ่งวิธีสำหรับคนอยากมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติต้องลองทำกัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีลูกให้มากที่สุดค่ะ เพราะ "การมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 48 ชั่วโมงหลังไข่ตกมีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูงกว่าปกติ"
1. วิธีหาวันตกไข่วัดอุณหภูมิร่างกายทุกวันด้วยเทอร์โมมิเตอร์ (ปรอท)
- หลังจากตื่นนอนทันที ก่อนทำกิจกรรมต่างๆ ให้ใช้ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกาย
- จดบันทึกอุณหภูมิที่วัดได้ไว้ทุกๆ วัน เริ่มทำตั้งแต่วันแรกที่ประจำเดือนมา
- อย่าลืมจดรายละเอียด ปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีผลต่ออุณหภูมิร่างกายหรือการเจริญพันธุ์ของคุณไว้ด้วย เช่น มีเลือดออก นอนน้อย หรือเจ็บป่วย ไม่สบาย รวมถึงช่วงเวลาที่มีกิจกรรมกุ๊กกิ๊กอย่างว่า
การตกไข่ของผู้หญิงบางรายอาจไม่โชว์ทางอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ หลายอย่างที่อาจส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิร่างกายของคุณ (BBT) เช่น เมื่อร่างกายอ่อนเพลีย หรือเป็นหวัด เป็นต้น อุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นจากเดิมประมาณครึ่งองศาจะเกิดราววันที่ 14 ในผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาทุก 28 วัน แม้ว่าจะพิสูจน์ชัดๆ ไม่ได้ว่าคุณกำลังตกไข่อยู่ก็ตาม แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีบอกว่า นี่แหละคือ วันตกไข่ของคุณ
http://www.thailand.fertilityasia.com/th/stage1/articles/article1/calculating_ovulation/calculating_ovulation.html
การแปลผลจากกราฟ: ต้องวัด BBT ทุกวัน และนำมาพล็อตกราฟ แล้วแปลผล โดยเริ่มวัดตั้งแต่วันที่มีประจำเดือนวันแรกไปจนวันแรกของการมีประจำเดือนในรอบถัดไป โดยลักษณะกราฟจะแบ่งเป็น 2 ช่วงอย่างชัดเจน ได้แก่
- ช่วงก่อนตกไข่ (Pre-Ovulatory) ซึ่งเริ่มต้นจากที่มีประจำเดือนวันแรก ไปจนถึงก่อนการตกไข่ ช่วงนี้จะมีระดับฮอร์โมน Estrogen เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลให้ ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำลงเรื่อยๆ และเมื่อมีการตกไข่ จะมีระดับฮอร์โมน Estrogen สูงที่สุด ดังนั้นอุณหภูมิของร่างกายจึงลดต่ำสุด
- ช่วงหลังตกไข่ (Post-Ovulatory ) ช่วงที่มีการตกไข่ไปแล้ว ฮอร์โมน LH ยังคงสร้าง Estrogen อยู่บ้างแต่ไม่มากนัก แต่ที่สำคัญคือการสร้างฮอร์โมน Progesterone ซึ่งมีผลทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น และสูงถึงประมาณ 37.00 -37.20 º C (98.60-98.96 º F )ในระยะเวลา 7-9 วันหลังการตกไข่และค่อยๆ ลดลง และมีประจำเดือนออกมา
สตรีที่มีการตกไข่ จะมีความแตกต่างของอุณหภูมิในช่วงก่อนตกไข่ (Pre-ovulatory) และช่วงหลังตกไข่ (Post-Ovulatory ) ไม่น้อยกว่า 0.3-0.5 º C (0.6-1.0º F )
ตัวอย่างกราฟอุณหภูมิร่างกายของผู้หญิงมีรอบประจำเดือน 28 วัน เราสามารถแปลผลจากกราฟได้ดังนี้
- วันที่ 1- 13 อุณหภูมิร่างกายจะมีระดับต่ำ ซึ่งเป็นช่วงก่อนการตกไข่
- วันที่ 14 ซึ่งเป็นวันที่ตกไข่ สังเกตจากอุณหภูมิร่างกายจะลดต่ำสุดและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในวันถัดไป
- ตั้งแต่วันที่ 15 เป็นต้นไปจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นช่วงที่มีการตกไข่ไปแล้ว และในวันที่ 28 อุณหภูมิ จะลดต่ำอีกครั้งเมื่อเริ่มมีประจำเดือนในรอบถัดไป
ข้อแนะนำในการหาวันตกไข่ด้วยการวัดอุณหภูมิร่างกาย
- จากกราฟ การตกไข่ คือ วันที่ 14 ดังนั้น ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวันที่ 12-15 จะมีโอกาสตั้งครรภ์สูง ควรเผื่อเวลาให้อสุจิเดินทาง อย่างน้อย 6 ช.ม.
- การวัด BBT ควรทำล่วงหน้าติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 เดือน จึงจะช่วยให้สามารถดูแนวโน้มและประมาณวันตกไข่ พร้อมทั้งกำหนดวันมีเพศสัมพันธ์ได้ค่อนข้างแม่นยำ
- การใช้วิธีวัด BBT จะใช้หลักการว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นฐานของร่างกายนั้น ชี้ว่าการตกไข่ได้เกิดขึ้นแล้ว (ต้องทำติดต่อกันหลายเดือน จึงจะเริ่มรู้แนวโน้มและประมาณวันตกไข่ล่วงหน้าได้) แต่การใช้ชุดทดสอบการตกไข่ (LH ovulation test) จะบอกว่าการตกไข่กำลังจะเกิดขึ้น ดังนั้น หากใช้ชุดทดสอบการตกไข่ควบคู่กับการวัด BBT จะช่วยให้ตรวจหาวันตกไข่ ได้ความแม่นยำมากขึ้น
- นอกจากการใช้ชุดทดสอบการตกไข่ช่วยในการหาวันไข่ตกแล้ว การตรวจสอบลักษณะของมูกที่บริเวณปากมดลูกก็เป็นวิธีหนึ่งที่ทำควบคู่กันกับการวัดอุณหภูมิ BBT เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการหาวันตกไข่ได้ค่ะ
ข้อจำกัดของวิธีนี้ คือ ชาร์ทอุณหภูมิร่างกายช่วยให้คุณทราบว่า การตกไข่เกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่บอกได้แค่หลังจากที่ไข่ตกแล้ว ซึ่งเลย “ช่วงไข่สุก” ไปแล้วจนถึงรอบตกไข่ครั้งต่อไป
2. นับวันไข่ตกด้วยการคำนวณจากรอบเดือน
ก่อนอื่นต้องมีความเข้าใจพื้นฐานก่อนเรื่องการเปลี่ยนแปลงของรังไข่ในแต่ละวันของรอบเดือน โดยปกติจะแบ่งการเปลี่ยนแปลงของรังไข่เป็น 2 ช่วงด้วยกัน คือ
- ช่วงก่อนไข่ตก (follicular phase) ช่วงนี้จะเริ่มตั้งแต่วันแรกของการมีรอบเดือน เป็นช่วงที่จะมีการเจริญของฟองไข่ เพื่อที่จะได้ไข่ที่สมบูรณ์ที่สุด 1 ใบเพื่อที่จะเข้าสู่ระยะตกไข่ต่อไป ความยาวของช่วงนี้ในผู้หญิงแต่ละคนจะแตกต่างไม่เท่ากัน
- ช่วงหลังไข่ตก (luteal phase) ช่วงนี้จะเริ่มตั้งแต่ระยะหลังไข่ตกไปจนถึงวันก่อนที่จะมีรอบเดือนครั้งต่อไป ความยาวของช่วงนี้ในผู้หญิงแต่ละคนจะเท่ากันคือประมาณ 14 วัน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทำไมผู้หญิงแต่ละคนถึงมีความยาวของรอบเดือนไม่เท่ากัน สาเหตุก็มาจากความยาวของระยะช่วงก่อนไข่ตกไม่เท่ากันนั่นเอง
วิธีคำนวณหาวันไข่ตกก็เริ่มจากต้องหาความยาวของรอบเดือนให้ได้ก่อนโดยคำนวนจาก
- วันแรกของรอบเดือนครั้งล่าสุด – วันแรกของรอบเดือนของเดือนก่อนหน้านี้ +1
- หลังจากที่ได้แล้วก็หาวันที่ไข่ตกโดยคำนวณจากความยาวของรอบเดือน – 14 ก็จะได้วันที่ไข่ตก
ตัวอย่าง
- วันแรกของรอบเดือนครั้งล่าสุดคือ 7/3/2558
- วันแรกของรอบเดือนของเดือนก่อนหน้านี้คือ 6/2/2558
ดังนั้นความยาวของรอบเดือนของผู้หญิงคนนี้คือ (7/3/2558 – 6/2/2558) + 1 = 30 วัน
คำนวนหาวันที่ไข่ตกต่อโดยเอา 30-14 = 16
ดังนั้นวันที่ไข่ตกของผู้หญิงคนนี้คือ วันที่ 16 ของรอบเดือน
ต่อไปเราก็จะมาหาว่าวันที่ไข่ตกของเดือนนี้คือวันที่เท่าไร ก็นับจากวันแรกของรอบเดือนครั้งล่าสุดโดยถือเอาวันแรกของรอบเดือนเป็นวันที่ 1 ดังนั้นในผู้หญิงรายนี้ไข่จะตกวันที่ 22/3/2558 (http://www.hc-obgyn.com)
3. ตรวจปัสสาวะด้วยชุดทดสอบการตกไข่
ให้คำนวณหาความยาวของรอบเดือนก่อนจากวิธีที่ 2 (คำนวณจากรอบเดือน) นำผลลัพธ์ที่ได้เทียบกับตารางด้านล่างนี้ ก็จะได้วันที่ควรจะเริ่มใช้ชุดทดสอบวันไข่ตก ดังนั้นควรบันทึกวันที่มีประจำเดือนไว้เสมอ เพื่อทราบถึงความยาวของรอบเดือนปกติ
รอบประจำเดือน >>>> วันที่เริ่มตรวจ
21 วัน>>>>>>>>>>>>วันที่ 5
22 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 6
23 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 7
24 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 8
25 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 9
26 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 10
27 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 11
28 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 12
29 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 13
30 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 14
31 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 15
32 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 16
33 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 17
34 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 18
35 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 19
36 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 20
37 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 21
38 วัน >>>>>>>>>>>>วันที่ 22
ตัวอย่างการแปรผลของชุดทดสอบไข่ตกดิจิตอลยี่ห้อต่าง ๆ
- รูปวงกลมพร้อมหน้ายิ้ม หมายความว่าตรวจพบฮอร์โมน LH ซึ่งหมายถึงอยู่ในช่วงไข่ตก การมีเพศสัมพันธุ์ภายใน 48 ชม. หลังจากพบรูปหน้ายิ้ม จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น
- รูปวงกลมว่างเปล่า หมายความว่าตรวจไม่พบฮอร์โมน LH แสดงว่าไม่ได้อยู่ในช่วงที่ไข่ตก ให้ทำการทดสอบต่อไปในวันรุ่งขึ้น และวันต่อไปจนกว่าจะพบรูปหน้ายิ้ม
*การแปรผลขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อของชุดทดสอบ*
4. นับวันไข่ตกโดยดูจากความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และอารมณ์
วิธีการนี้เป็นเพียงการสังเกตุร่างกาย และอารมณ์ในเบื้องต้น ถ้าต้องการความแม่นยำควรใช้วิธีการทดสอบอื่นๆ ร่วมด้วย ในช่วงใกล้ไข่ตกหรือในวันไข่ตกอาจพบอาการต่างๆ เหล่านี้
-
พบมูกไข่ตก
-
อวัยยะเพศเต่งขึ้น ช่องคลอดแน่นขึ้น
-
รู้สึกปวดจี๊ด หรือปวดหน่วง ๆ ที่ช่องท้องข้างใดข้างหนึ่ง
-
พบรอยเลือดจาง ๆ
-
รู้สึกมีความต้องการทางเพศมากขึ้น
-
หน้าอกคัด
-
ท้องอืด
-
รู้สึกว่ามีความไวต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้กลิ่นและรสชาติได้ไวขึ้น เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลประกอบ
http://www.maveta.com/faqs-การตกไข่/
http://www.weneedbaby.com