
คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าเอ่ยที่กำลังตั้งท้องลูกชาย เพิ่งคลอดลูกชาย หรือมีลูกชายในวัยกำลังซนได้ใจ เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนเตรียมใจรับมือกับนิสัยแมนๆ ของลูกชายไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เราเลยแอบมากระซิบว่ากันตอนนี้เลยว่า นี่คือ 15 เรื่องที่คนมีลูกชาย ต้องเจอแน่ๆ... เริ่ม!!!
15 เรื่องของคนมีลูกชาย ที่ต้องพร้อมรับมือตั้งแต่เกิดจนโต
1. แอลกอฮอล์ล้างแผล เบตาดีน พลาสเตอร์ติดแผลจะเป็น Item อันดับต้นๆ ของลูกชายที่คุณแม่จะต้องมี เพราะจะมีแผลถลอกให้เห็นแทบทุกวัน
2. ชอบนักล่ะของเล่นประเภทรถแข่ง หุ่นยนต์ ตัวต่อ แล้วไม่ได้เอามาเล่นดีๆ ด้วยนะ เอาไปเล่นบนดินจนเลอะ เอามานั่งแคะแกะเป็นชิ้นๆ แล้วประกอบคือไม่ได้!!!
3. คุณอาจมีลูกชายที่ชอบเล่นตุ๊กตาหมี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าลูกจะเบี่ยงเบนนะ เขาอาจจะเป็นเด็กผู้ชายที่อ่อนโยนก็ได้
4. ไดโนเสาร์คือสัตว์เลี้ยงอันดับหนึ่งในดวงใจที่อยากได้ (แล้วแม่จะหาให้ได้ยังไงล่ะลูกเอ๊ย)
5. สำหรับบางบ้าน หลานชายจะได้รับการประคบประหงมสุดชีวิตจากปู่ย่าตายาย จนคุณพ่อคุณแม่สบายไปเลยยยยย (ย้ำว่าบางบ้านนะคะ)
6. ถ้าคุณเป็นแม่ คุณจะรู้สึกกลัว หวาดเสียว ตกใจ และเคืองทุกครั้งที่พ่อกับลูกชายเล่นต่อสู้ ยกตัว เหวี่ยงตัวกันไปมาตามประสาผู้ชาย พอบ่นก็จะโดนสวนทันทีว่า "ก็แค่เล่นกัน แม่ไม่เข้าใจอะ"
7. ถ้าคุณเป็นพ่อ คุณจะรู้สึกหวั่นไหวตลอดเวลาเห็นลูกชายสนิทกับแม่จนลืมวิถีความเป็นผู้ชายแมนๆ ของเราไป
8. คุณอาจเจอลูกชายที่พูดแทนตัวเองว่า "หนู"... อย่าคิดมากน่า เพราะเพื่อนลูกก็พูด และลูกก็ไม่คิดเยอะเท่าพ่อแม่หรอกว่าลูกจะเบี่ยงเบน
9. เมื่อลูกชายแตกเนื้อหนุ่ม อาการ "ชักธงรบตอนเช้า" "ฝันเปียก" เป็นเรื่องที่คุณแม่รวบรวมความกล้าพอสมควรกว่าจะสอนลูกได้ เพราะมั่นใจได้เลยว่าประหม่าพอๆ กันทั้งแม่ทั้งลูก แถมอาจจะคุณพ่อด้วย
10. เมื่อเขาโตเป็นหนุ่ม อย่าคาดหวังเรื่องการกอดจูบกันตลอดเวลาเหมือนตอนเด็กๆ เพราะ "ผมโตเป็นหนุ่มแล้ว" อายเพื่อนเหมือนกันนะ
11. ทุกครั้งที่ลูกชายสะพายกระเป๋าเดินออกจากบ้าน "จะเดินทางปลอดภัยไหม" "ลูกคบเพื่อนดีไหม" "จะแอบไปเที่ยวไหนหรือเปล่า" "กลัวลูกติดยา" "กลัวลูกติดหญิง" "กลัวลูกทำผู้หญิงท้อง"... ทั้งหมดคือเรื่องจริงที่คุณพ่อคุณแม่คนไหนก็ต้องกลัว
12. คุณจะเริ่มหาวิธีสอนให้ลูกเป็น "สุภาพบุรุษ" เพราะไม่อยากให้ลูกไปพลั้งพลาด ทำตัวไม่น่ารักนอกบ้าน
13. อย่าคาดหวังเรื่องความเรียบร้อยและความสะอาดจากลูกชายให้มากนัก เพราะเจ้าหนูของเราเน้นความไวเป็นหลัก ฉะนั้นทำใจกันตั้งแต่วันนี้เรื่องห้องรก เสื้อผ้ากองบนพื้น น้ำไม่อาบ และอีกสารพัดเรื่องที่ลูกชายจะบอกเราว่า "แมนๆ น่าแม่"
14. อย่าคาดหวังว่าลูกชายจะมานั่งเล่าความในใจ ความคิด ความรู้สึกให้ฟังนะ เพราะเขาเก็บเรื่องพวกนี้เก่งมาก แต่ถ้าจับทางถูก รับอารมณ์ได้ไวแล้วเข้าไปกอดนิดเดียวเขาจะปล่อยออกมาหมดแน่นอน
15. วันที่คุณรู้เข้าจังๆ ว่าลูกไม่อยากเป็นลูกชายอีกต่อไป... เปิดใจ เข้าใจ และสอนให้ดี เพราะเขายังคงเป็นลูกรักและคนดี

สำหรับพ่อแม่ที่ลูกเป็นเด็กสมาธิสั้นนั้น แรกๆ อาจจะกังวลนิด ๆ เกี่ยวกับการดูแลลูก ว่าจะต้องทำอย่างไร ซึ่งการดูแลช่วยเหลือเด็กนั้นต้องประกอบกันทั้งจากโรงเรียนและพ่อแม่ที่จะดูแลลูกที่บ้าน ซึ่งเรามี 16 ข้อควรปฎิบัติที่พ่อแม่จะดูแลช่วยเหลือลูกมาแนะนำเป็นแนวทางค่ะ
16 วิธี พ่อแม่ช่วยเหลือเด็กซน สมาธิสั้น
1. พ่อแม่ควรปรับทัศนคติที่มีต่อเด็กให้เป็นบวก ต้องเข้าใจว่าโรคสมาธิสั้นเป็นความผิดปกติในการทำงานของสมอง เด็กไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้
2. พ่อแม่ไม่ควรทำลายความรู้สึกที่มีคุณค่าในตัวเองของเด็กให้ลดลง
3. มีการจัดตารางกิจกรรมของเด็กให้ชัดเจนในแต่ละวัน
4. จัดสถานที่ สิ่งแวดล้อม โดยลดสิ่งเร้า สิ่งรบกวน ขณะที่เด็กทำการบ้าน อ่านหนังสือ
5. พ่อแม่ควรนั่งประกบระหว่างการทำงานที่ต้องใช้สมาธิมาก เช่นการบ้าน เพื่อให้งานเสร็จเรียบร้อย
6. พ่อแม่และบุคคลอื่นในบ้านต้องพยายามควบคุมอารมณ์อย่าตวาดหรือลงโทษทางกายอย่างรุนแรงเมื่อเด็กทำผิด แต่ควรตั้งกฎเกณฑ์ร่วมกับเด็กไว้ล่วงหน้าว่าถ้าเด็กทำผิดจะมีการลงโทษอย่างไรบ้าง
7. ควรลงโทษด้วยการจำกัดสิทธิต่างๆ เช่น งดดูทีวี งดเที่ยวนอกบ้าน เป็นต้น
8. ควรให้คำชม รางวัล เมื่อเด็กทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทำพฤติกรรมที่ดีต่อไป
9. ทำตัวเองให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงต่างๆ
10. เวลาสั่งให้เด็กทำงานอะไร ควรให้เด็กพูดทวนคำสั่งที่พ่อแม่สั่งเพื่อให้มั่นใจว่าเด็กฟังและเข้าใจคำสั่ง ความต้องการของพ่อแม่จริงๆ
11. สั่งทีละคำสั่ง ทีละขั้นตอน สั้น กระชับ ตรงไปตรงมา
12. ไม่ควรบ่นจู้จี้ถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กในอดีต
13. เมื่อเด็กทำผิด พ่อแม่ต้องเด็ดขาด เอาจริง คงเส้นคงวา คำไหนคำนั้นในการปรับพฤติกรรม
14. พยายามหาข้อดีของเด็ก และย้ำให้เห็นข้อดีของตัวเอง เพื่อให้เด็กเกิดกำลังใจและเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง
15. หากเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมดื้อไม่เชื่อฟัง หลีกเลี่ยงการบังคับให้พ่อแม่ใช้วิธีให้ทางเลือกแก่เด็ก
16. กำหนดช่วงเวลาในแต่ละวันที่จะฝึกให้เด็กทำอะไรเงียบๆ ที่ตัวเองชอบอย่าง “จดจ่อและมีสมาธิ” โดยพ่อแม่ต้องหาสถานที่ที่สงบ ไม่มีสิ่งเร้าให้เด็กเข้าไปทำกิจกรรมคนเดียว โดยเริ่มจากช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาในการทำกิจกรรม โดยมีการให้รางวัลหรือคำชมเมื่อเด็กทำได้เสร็จ

มีลูกสาว คุณพ่อย่อมจะเป็นคนมุ้งมิ้งหรืออาจเงียบขรึมไว้หนวดเพราะหวงลูกสาว แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคุณพ่อในเวอร์ชั่นไหน การสื่อสารกันกับลูกสาวสำคัญมากนะคะ อย่าอายที่จะพูดกับลูก เพราะเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ ลูกรับรู้อยู่ตลอดเวลา ลองนำคำพูดดี ๆ เหล่านี้ ไปพูดกับลูกสาวดูสิคะ เชื่อเถอะค่ะ ว่าจะช่วยสร้างกำลังใจให้กับลูกสาวตัวน้อยได้เป็นอย่างดีเลย
25 คำพูดดี ๆ ที่พ่อควรบอกกับลูกสาว
-
ลูกปรึกษาพ่อได้ทุกเรื่องนะ พ่อจะเป็นผู้ฟังที่ดีให้ลูกเอง
-
ลูกเป็นเจ้าหญิงของพ่อ พ่อไม่อยากคิดเลยว่าถ้าไม่มีหนูพ่อจะอยู่ได้อย่างไร
-
พ่อรักลูก ลูกรู้ใช่ไหม
-
พ่อประทับใจลูกในทุกๆ วันเลยนะ
-
พ่อเชื่อมั่นในตัวหนูนะ
-
อย่าทำให้พ่อเป็นห่วงนะ พ่อรู้ว่าลูกเป็นเด็กผู้หญิงที่น่ารักมาก
-
พ่อภูมิใจในตัวลูกมากนะรู้ไหม
-
เวลาหนูพยายามจะทำอะไร หนูน่ารักมากเลยลูก
-
ความพยายามของลูก ทำให้พ่อทึ่งเสมอ พ่อดีใจที่ได้เห็น
-
ลูกทำได้เสมอนะ แต่ถ้าลูกคิดว่าทำไม่ได้ พ่ออยู่ตรงนี้นะลูก
-
ลูกอยากให้พ่อช่วยอะไร บอกพ่อได้เสมอนะ
-
ไม่ว่าลูกจะทำอะไร พ่อจะอยู่ข้างๆ ลูกเสมอนะ เพราะพ่อคือพ่อไง
-
ลูกคือเจ้าหญิงของพ่อ พ่อคอยดูทุกการเติบโตของลูกนะ มันทำให้พ่อภูมิใจ
-
ลูกอย่ากลัวที่จะผิดพลาด อย่างน้อยลูกได้ลองทำ เเละพ่อภูมิใจที่เห็นลูกทำ
-
พ่อชอบใช้เวลาอยู่กับลูกนะ มันคือสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตพ่อเลย
-
ทำในสิ่งที่ทำให้ลูกมีความสุข พ่อดีใจด้วยเสมอนะลูก
-
ลูกเป็นคนสวย ความสวยมันมาจากข้างใน พ่ออยากให้ลูกรักตัวเอง
-
พ่อจะคอยสนับสนุนลูกอยู่เสมอ ลูกชอบอะไร พ่อจะคอยช่วย
-
พ่ออยากให้ลูกแสดงความคิดเห็นกับพ่อ ความคิดของลูกนั้นเป็นเรื่องสำคัญมากนะลูก
-
ไม่เป็นไรนะ เราเริ่มใหม่ไปด้วยกัน
-
หนูต้องเป็นตัวเอง ในแบบที่มีความสุขที่สุด
-
หนูเป็นคนน่ารักอยู่แล้ว และหนูยังสามารถเป็นคนน่ารักขึ้นอีกได้ ในทุกๆ วันนะ
-
ลูกคู่ควรกับสิ่งที่ดี ไม่ว่าใครจะเข้ามาในชีวิตลูก ลูกต้องไม่เสียพลังงานกับเขามากเกินไป
24. พ่อไม่เคยที่จะหยุดรักลูก ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ลูกรู้ใช่ไหม
- หนูไม่ต้องเลือกผู้ชายที่เหมือนพ่อเข้ามาในชีวิต แต่หนูควรเลือกคนที่ดีกว่าพ่อนะ
คุณพ่ออ่านแล้วจำไปพูดกับลูกสาวด้วยนะคะ หรือจะลองไปพูดกับลูกชายก็ได้ ความสัมพันธ์พ่อลูกจะได้ดีขึ้นไปอีกค่ะ คุณพ่อกับลูกสาวสนิทกัน เป็นภาพที่คุณแม่อยากเห็นที่สุดเลยนะคะ

พฤติกรรมเลียนแบบเป็นพัฒนาการการเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กๆ ค่ะ หากคุณแม่เผลอหลุดพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เหมาะสมออกไป ต้องรีบยับยั้งพฤติกรรมหรืออารมณ์นั้นโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ลูกของเราเลียนแบบ หรือเกิดความเครียด กดดันจากพฤติกรรมของเราค่ะ 3 พฤติกรรม อย่าทำให้ลูกเห็น
เพราะลูกวัย 3- 6 ปีเรียนรู้จากการเลียนแบบ หากคุณแม่อยากให้ลูกมีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามวัย และฉลาดที่จะเรียนรู้แบบไหนก็ต้องเป็นต้นแบบพฤติกรรมที่ดีนั้นให้ลูกเห็น รวมทั้งเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมด้วยค่ะ
3 พฤติกรรม ที่พ่อแม่ห้ามทำกับลูกเด็ดขาด
1.พฤติกรรม Over Control
คือการที่คุณพ่อคุณแม่ควบคุมลูกมากเกินไป เช่น การให้ลูกเรียนเยอะๆ แต่ไม่ได้คำนึงถึงสิ่งที่เขาอยากเรียน หรือเป็นสิ่งที่ลูกสนใจจริงๆ รวมถึงเรื่องการสอนมารยาทด้วยค่ะ คุณแม่บางคนอาจจริงจังกับเรื่องมารยาทของลูกในทุกโอกาส ทุกสถานที่ ซึ่งหากเรายิ่งสร้างความกดดันให้เขาลูกก็จะยิ่งไม่จดจำ แต่ควรจะเป็นวิธีที่ทำให้ลูกเห็น หรือทำไปด้วยกัน เขาก็จะเกิดการซึมซับที่ดีกว่าค่ะ
นอกจากนี้คุณแม่ควรคำนึงถึงความเหมาะสมของลูกเป็นหลัก ปล่อยให้เขาได้เรียนรู้ตามพัฒนาการตามวัยบ้าง เพราะการเรียนรู้ที่ดีจะต้องมาพร้อมความสุข สำหรับบางเรื่องถ้าเราอยากสอนให้ลูกเข้าใจ ลองสอนเขาผ่านหนังสือนิทาน โดยอาจเลือกเรื่องที่เราต้องการสอน เช่น ความขยันหมั่นเพียร หรือเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหาร รวมทั้งการเรียนรู้กฎกติกาง่ายๆ เป็นต้น ค่อยๆ สอดแทรกไปเรื่อยๆ ลูกก็จะเกิดการเรียนรู้ไปตามธรรมชาติ โดยไม่รู้สึกว่าถูกบังคับจนเกินไป
2.พฤติกรรม Under Control
หากพ่อแม่ยอมลูกไปเสียทุกอย่าง ตามใจไปทุกเรื่องย่อมไม่เป็นผลดีในระยะยาว จะทำให้ลูกไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และไม่เข้าใจขอบเขตการแสดงออกต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสม
คุณพ่อคุณแม่สามารถปฏิบัติกับลูกอย่างยืดหยุ่นได้ค่ะ เช่น ให้ลูกรู้จักสิทธิ์ของตัวเอง และเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น คุณแม่อาจตั้งกฎว่าก่อนที่ลูกจะใช้ของส่วนตัวของแม่ ต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง และเมื่อคุณแม่อนุญาตแล้วก็ควรกล่าวคำขอบคุณ ซึ่งคุณแม่เองก็จะทำเหมือนกัน หากทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน ให้อยู่ในความเคยชิน ลูกก็จะค่อยๆ เกิดการเรียนรู้จดจำในที่สุด
3.พฤติกรรมพูดมากกว่าฟัง
การฟังเป็นพื้นฐานของความเข้าใจค่ะ หากคุณแม่เน้นแต่การพร่ำสอน โดยไม่ได้ฟังลูกอย่างใส่ใจเลย นอกจากจะยิ่งทำให้เราไม่เข้าใจพฤติกรรมที่ลูกทำแล้ว ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดอีกด้วย
ดังนั้นคุณแม่ควรฟังลูกอย่างใส่ใจทุกครั้งที่เขามีเรื่องเล่า หรือมีปัญหากับเพื่อนที่โรงเรียน รวมทั้งหากเราสังเกตเห็นว่าลูกมีพฤติกรรมที่แปลกไป ก็ควรรีบเข้าหาและพยายามพูดคุยเพื่อให้ลูกบอกความในใจค่ะ เพราะจริงๆ แล้วเด็กวัยนี้เพียงต้องการให้คุณพ่อคุณแม่ฟังเขา โดยไม่ได้ต้องการความช่วยเหลือใดๆ นอกจากอ้อมกอดที่อ่อนโยน และเต็มไปด้วยความเข้าใจของพ่อแม่ค่ะ

มีกรณีตัวอย่างจากพ่อแม่หลาย ๆ คนที่มักจะแชร์เรื่องลูกตัวเองที่เกือบเป็นเด็กสมาธิสั้น หรือสมาธิสั้นเทียม
สมาธิสั้นเทียมเกิดจาก...
ไม่จำกัดขอบเขตให้ลูกว่าสิ่งไหนควรทำ หรือไม่ควรทำ อาจคิดว่าลูกยังเด็กอยู่ การสอนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ยากเกินที่เขาจะเข้าใจ เวลาลูกจะทำอะไรเลยตามใจทุกอย่าง เมื่อลูกได้ทำทุกอย่างตามความเคยชินที่เขาต้องการ ก็ยากที่เขาจะปรับตัวให้อยู่ในกฎเกณฑ์ของสังคมได้
ปล่อยลูกไว้กับสิ่งเร้า โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้อยู่ด้วย เช่น ปล่อยให้ดูโทรทัศน์ อยู่กับจอคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสารอย่างโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต ก็มีผลต่ออาการสมาธิสั้นเทียมของลูกทั้งสิ้นค่ะ แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่บางคนจะชอบที่ลูกไม่ซน ไม่วิ่งเล่น ไม่รื้อของเล่นกระจายเต็มบ้าน แต่ผลเสียที่ได้กลับมาไม่คุ้มค่า ทำให้ลูกรอคอยไม่เป็นและไม่มีความอดทน
3 วิธีลดสมาธิสั้นเทียม
1. จัดตารางชีวิตให้ลูก นำกิจวัตรประจำวันของลูกมาทำเป็นขั้นตอน ให้เขารู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร อาจทำเป็นรูปภาพเพื่อจูงใจให้เขาเดินมาดูว่าทำอะไรไปแล้วบ้าง เช่น ตื่นนอน ต่อไปต้องล้างหน้า แล้วลงไปกินข้าว กินข้าวเสร็จต้องมาแปรงฟัน อาบน้ำแต่งตัวไปโรงเรียน เป็นต้น
ข้อดีคือลูกจะเรียนรู้ว่าจะต้องทำอะไร เมื่อไร มีการจัดลำดับเป็น และเป็นการหัดวางแผนด้วยค่ะ เช่น หากเขาทำการบ้านเสร็จเร็ว ก็จะมีเวลาเล่นของเล่น หรือทำกิจกรรมที่เขาต้องการได้นานขึ้น การฝึกลูกทำกิจวัตรเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เกิดการจดจำและเกิดการคิดวิเคราะห์จากการใช้สมองส่วนหน้าค่ะ
2. ฝึกสมาธิ และการฝึกจิตให้รู้เท่าทันกับปัจจุบัน ลองฝึกให้ลูกจดจ่ออยู่กับสิ่ง ๆ หนึ่ง ในระยะเวลาที่ทำได้และไม่นานมาก แต่ควรจะทำให้พัฒนาจากเดิม เช่น อาทิตย์นี้ทำได้ 30 วินาที อาทิตย์หน้าก็ควรจะได้ 40 วินาทีเป็นต้น
การพัฒนาสมาธินี้จะฝึกควบคู่ไปกับการที่ลูกรับรู้การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตัวเองในปัจจุบัน เช่น รู้ว่าตอนนี้เขากำลังยกมือซ้าย กำลังหยิบส้อมขึ้นมา กำลังยกมือขวา กำลังหยิบช้อนขึ้นมา วิธีการนี้ไม่ต้องมีขั้นตอนเยอะค่ะ แรกเริ่มอาจจะมีสัก 3–4 ขั้นก่อนก็ได้ แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ข้อดีคือจะทำให้ลูกจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น มีความอดทนมากขึ้น แต่ต้องทำสม่ำเสมอ และไม่เร่งลูกจนเกินไป อย่ากดดันลูก การเล่นกีฬา เล่นดนตรี หรือแม้แต่การวาดรูป ก็เป็นการฝึกวินัยและฝึกให้ลูกได้รู้จักควบคุมร่างกายของตัวเองค่ะ แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตและประเมินลูกด้วย บางทีลูกเราอาจจะไม่เหมาะกับวิธีการแบบนี้ก็ได้ เพราะเด็กแต่ละคนมีความพร้อมและความชอบที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องคอยสังเกตและปรับให้เหมาะกับลูก โดยไม่นำไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น
3. If … then = การเตือนตนด้วยตน วิธีนี้อาจฟังดูยากแต่จริง ๆ ไม่ยาก หลัก If … then แปลเป็นไทยง่าย ๆ ว่า ถ้า (ทำสิ่งนี้นะ) ให้ (ทำสิ่งนั้นต่อ) เช่น หากเวลาลูกอยู่ที่โรงเรียนแล้วชอบลืมหนังสือ ให้พ่อแม่บอกลูกถ้าได้ยินเสียงออด ให้หยิบหนังสือ และยังใช้ได้อีกหลายเรื่องเลยนะคะ
ถ้าคุณครูเปิดปาก ให้ลูกหยุดพูด ถ้าเปิดประตูบ้าน ให้เอากระเป๋าไปเก็บ แต่พ่อแม่ต้องอย่าลืมว่า ตัวพ่อแม่เองต้องคอยบอกลูกเป็นประจำทุกวันทำอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของลูกได้ในไม่ช้า
ข้อดีคือ จะช่วยแก้นิสัยของลูกที่พ่อแม่อาจเป็นห่วงอยู่ เช่น ลืมเอารองเท้ากลับบ้าน ชอบคุยในห้องเรียน ไม่ยอมเก็บกระเป๋ารองเท้า เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่พ่อแม่ต้องเตือนให้ทำอยู่ตลอดเวลา ต่อไปนี้ลูกก็จะรู้จักเตือนตัวเองได้ด้วยตัวเอง ทำให้เขาภาคภูมิใจในตัวเอง และยังเพิ่มความสามารถในการควบคุมตัวเองของลูก เพิ่มความมั่นใจ ทั้งเป็นการรับผิดชอบตัวเองได้มากขึ้น ถ้าลูกทำได้แล้วคุณพ่อคุณแม่อาจจะมีรางวัล เช่น พาไปขี่จักรยาน พาไปสวนสัตว์ หรือหมั่นให้คำชมเชยค่ะ

3 สัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็น พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์
คุณเป็นพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเฮลิคอปเตอร์หรือไม่ มาดูสัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็น พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ กันค่ะ
พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ คือคำที่ใช้เรียกผู้ปกครองที่พวกเขาต้องการดูแลสอดส่องลูกของตนแทบจะตลอดเวลา มักจะควบคุมบงการและคอยคิดแทนลูก ทำแทนลูกแทบทุก ๆ เรื่อง
3 สัญญาณว่าคุณกำลังเป็น พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์
1.ตัดสินใจแทนลูก
การตัดสินใจแทนลูก ไม่ว่าจะเรื่องการเรียน สิ่งของ ความถนัด หรือแม้แต่ของเล่นง่าย ๆ ก็เป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เลือกให้ลูกเองซะหมด โดยไม่ถามลูกว่า
..อยากเรียนอะไร?
..ของเล่นชิ้นไหนที่ลูกชอบ หรืออยากได้ที่สุด?
..รองเท้าสีไหนที่ลูกชอบ?
วิธีแก้ไข
คุณพ่อคุณแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้คิดเอง เลือกเอง ถึงแม้จะไม่ใช่ของที่สวยที่สุด หรือดีที่สุดในสายตาเรา แต่อย่างน้อยก็ทำให้ลูกได้คิดได้ทำอะไรด้วยตัวเองค่ะ
2.ช่วยเหลือลูกทุกเรื่อง
ยกตัวอย่างเช่น ป้อนข้าวลูก เพราะกลัวลูกเปลื้อน , ทำการบ้านแทนลูก งานประดิษฐ์ต่าง ๆ อาสาทำให้ลูกเองเลยทุกชิ้น เพื่อให้ลูกได้มีงานดี ๆ ไปส่งคุณครู จะได้คะแนนเยอะ ๆ แบบนี้ไม่ได้แน่ค่ะ
วิธีแก้ไข
1.ปล่อยให้ลูกกินข้าวด้วยตัวเอง ถึงแม้จะเปลื้อน เลอะเทอะ แต่อย่างน้อยเขาจะได้ทำอะไรด้วยตัวเองค่ะ
2.ห้ามทำการบ้านแทนลูกเด็ดขาดนะคะ! การบ้านใคร คนนั้นต้องเป็นคนทำเอง เพียงแต่เราจะคอยสอนคอยดูอยู่ใกล้ ๆ แนะนำได้บ้างเล็กน้อยตามสมควรค่ะ
3.ติดตามลูกไปทุกที่
การดูแลลูกเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำค่ะ แต่ถ้าหากดูแลมากไป ติดตามลูกไปทุก ๆ ที่ สนามเด็กเล็ก ห้องเรียน ที่ ๆ มีลูกกับเพื่อน หรือกับคุณครู ก็จะคอยอยู่ข้าง ๆ ลูกตลอดเวลา
วิธีแก้ไข
คุณพ่อคุณแม่ต้องปล่อยให้ลูกได้มีเวลากับเพื่อนส่วนตัวบ้างนะคะ ปล่อยให้เด็ก ๆ ได้เล่นกันเองบ้าง ลูกและเพื่อน ๆ จะได้ไม่เกร็งที่ต้องมีคุณพ่อคุณแม่มาคอยดูอยู่ตลอดค่ะ
รู้ไวแก้ไขได้ทันค่ะ! รักลูกขอเป็นกำลังใจในการเลี้ยงลูกให้กับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านนะคะ หวังว่าบทความชิ้นนี้จะช่วยเปลี่ยนความคิดของการเลี้ยงลูกแบบ ไข่ในหิน ที่ทำให้ลูกอ่อนแอ พึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา มาเป็นเด็กแข็งแกร่ง ช่วยเหลือตัวเองได้เสมอกันค่ะ

ลูกชอบเถียง ลูกพูดจายอกย้อน ลูกไม่เชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร?
3 สาเหตุที่ลูกชอบเถียง แต่พ่อแม่หลายคนไม่รู้
แม่ ๆ จ๋า ลูกบ้านไหนชอบเถียง พูดจายอกย้อนบ้างคะ? เรามารับมือแก้ไขเรื่องนี้ ให้ลูกกลับมาเป็นเด็กน่ารัก เชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ
สาเหตุที่ทำให้ลูกชอบเถียง
1.พฤติกรรมลอกเลียนแบบ
ไม่ว่าจะคุณพ่อคุณแม่เอง หรือโทรศัพท์ โทรทัศน์ เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ
2.เรียกร้องความสนใจ
ลูกกำลังแสดงออกถึงการต่อต้าน ไม่ต้องการถูกควบคุม
3.ไม่เข้าใจว่า คำพูด ส่งผลอะไร
ทำความเข้าใจก่อนว่า เด็กในวัยนี้จะยังแยกแยะไม่ได้ ว่าอะไรควรพูดไม่ควรพูด และไม่รู้ว่าสิ่งที่พูดออกไปคือ การเถียง
วิธีรับมือเมื่อลูกชอบเถียง
1.พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี
เพราะเด็กเล็กที่เริ่มหัดพูดอาจซึมซับพฤติกรรมการพูดจากผู้ใหญ่ในบ้าน ทั้งคำพูด ท่าทาง การใช้โทนเสียง หากไม่อยากให้เด็กโตมาเป็นเด็กช่างเถียง ช่างด่า หรือพูดคำหยาบคาย ผู้ใหญ่ในบ้านก็ต้องไม่ทำพฤติกรรมเหล่านั้นให้เด็กเห็น
2.เปิดใจรับฟัง เข้าใจความคิดของลูก
บางครั้งก่อนที่จะตัดสินว่าลูกกำลังเถียง คุณพ่อคุณแม่ต้องรับฟังเขาก่อน โดยให้เขาพยายามชี้แจงว่าทำไมถึงคิดอย่างนั้น อาจจะถามถึงสาเหตุและให้เขาพูดอย่างมีเหตุผล ซึ่งหากมีการพูดคุยกันด้วยความเข้าใจอยู่เสมอก็จะลดการเถียงลงได้ และเด็กก็จะเรียนรู้วิธีการสื่อสารที่ดีด้วย
3.สอนลูกด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ในการพูดคุย ไม่ลงโทษ
เมื่อลูกโต้เถียง หรือใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ควรหยุดฟัง โดยแสดงสีหน้าและท่าทางปกติ ไม่ควรต่อปากต่อคำกับลูก และไม่ตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ เพื่อให้เขารู้ว่าพฤติกรรมที่ทำอยู่ไม่ควรทำ เมื่อลูกหยุดเถียงจึงค่อย ๆ สอนและบอกวิธีสื่อสารที่ถูกต้องว่าควรพูดอย่างไร ควรใช้น้ำเสียงพูดกับผู้อื่นอย่างไรจึงจะน่าฟัง
4.เปิดโอกาสให้ลูกขอโทษ และแก้ตัว
เมื่อลูกทำผิด คุณพ่อคุณแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้ขอโทษ และแก้ตัว หากลูกทำได้อย่าลืมชมว่า พยายามดีมาก เพื่อให้เขามีกำลังใจและอยากทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

คุณหมอเด็กหลายท่านยืนยันแล้วค่ะว่า การเล่นเป็นสิ่งสำคัญของเด็กในช่วงวัยปฐม เพราะลูกได้เรียนรู้ได้เคลื่อนไหวร่างกายที่ช่วยให้เขามีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน ซึ่งคุณแม่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของลูกด้วยนะคะ จะช่วยสานสัมพันธ์แสดงความรักการดูแลกันให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เขากล้าออกไปเรียนรู้โลกกว้างได้อย่างเต็มที่ เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่ามีกิจกรรมแอคทีฟทั้งนอกบ้านและในบ้านอะไรที่คุณแม่สามารถทำร่วมกับลูกได้บ้าง
4 กิจกรรมแอคทีฟสุดสนุกสำหรับแม่ลูก
1.พาลูกผจญภัยธรรมชาติ
พาลูกออกไปธรรมชาติ อาจจะเริ่มจากสวนสาธารณะใกล้บ้านหรือไปเที่ยวธรรมชาติสวย ๆ ในวันหยุด เตรียมเต้นท์ กล้องถ่ายรูป กล้องส่องทางไกลและสมุดบันทึกไปด้วยนะคะ โดยระหว่างดูนกดูปลาและเดินสำรวจพันธุ์ต้นไม้ดอกไม้นานาชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อน ปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ใกล้ชิดธรรมชาติ มีคุณแม่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด และพร้อมเล่นเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ไปพร้อมกับลูกค่ะ

2.ชวนลูกปลูกต้นไม้ร่วมกัน
คุณแม่ลองชวนเจ้าตัวน้อยปลูกต้นไม้ลงกระถางหรือทำสวนเล็ก ๆ ในบริเวณบ้าน หรือหาสถานที่ท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมการปลูกต้นไม้ จะช่วยให้ลูกได้เคลื่อนไหวร่างกายได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะการพรวนดิน การรดน้ำ ถอนหญ้าและวัชพืชออกจากดิน เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ สร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย
และเป็นหนึ่งวิธีที่จะทำให้ลูกมีความรับผิดชอบ เพราะเมื่อลูกลงมือปลูกต้นไม้ด้วยตัวเอง คุณแม่มอบหมายให้ลูกมีหน้าที่รับผิดชอบและดูแลต้นไม้ที่ตัวเองปลูก เช่น รดน้ำพรวนดินด้วยตัวเอง เพื่อให้ลูกได้คอยดูแลเมื่อต้นไม้เติบโตขึ้นค่ะ

3.ชวนลูกเล่นกีฬาโปรด
คุณแม่ถามลูกว่า อยากเล่นกีฬาอะไร? กีฬาไหนที่ลูกชอบเล่น จะช่วยให้เขาสนใจและอยากทำกิจกรรมนั้นได้นานมากขึ้น เริ่มจากทักษะง่าย ๆ ตามวัยของลูก อาจจะพากันไปว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เตะบอล ตีแบด หรือแม้แต่ชวนลูกเล่นสเก็ตบอร์ด โดยมีคุณแม่คอยดูแลอยู่ใกล้ ๆ นอกจากลูกจะได้ออกกำลังกาย ขยับ เคลื่อนไหวร่างกายแล้ว ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกันมากขึ้นเวลาได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

4.ชวนลูกทำงานบ้าน
จากกิจกรรมนอกบ้าน ลองเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันภายในบ้านได้ คือ งานบ้านค่ะ คุณแม่มาเปลี่ยนงานบ้านที่แสนน่าเบื่อให้เป็นเกมแสนสนุก ๆ ที่มีการตั้งเวลาและสร้างความท้าทาย กระตุ้นให้ลูกอยากทำงานบ้าน และมีคุณแม่ทำงานบ้านไปพร้อมกับลูก เช่น
- ให้ลูกเก็บหนังสือ 10 เล่ม วางบนชั้นหนังสือให้เรียบร้อยภายในเวลาที่กำหนด
- แข่งกันเก็บของเล่นลงในกล่องภายในเวลา 10 นาที
ใครเก็บเสร็จก่อน และเก็บได้อย่างเรียบร้อยคนนั้นชนะ รับรองว่าห้องสะอาดภายในเวลาไม่กี่นาทีแน่นอนค่ะ
งานบ้าน นอกจากจะช่วยให้ลูกได้เคลื่อนไหวร่างกาย และฝึกความอดทนในการทำความสะอาด เก็บของเล่นให้เรียบร้อย ให้บ้านน่าอยู่มากยิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์คุณแม่กับคุณลูกได้ใกล้ชิดกัน ทำกิจกรรมสนุก ๆ ร่วมกัน แถมได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ทุกกิจกรรม ทั้งการออกไปผจญภัยเรียนรู้ธรรมชาติ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย อาจทำให้ลูกรู้สึกเหนื่อยล้า และเวลาเดินเข้าป่าอาจเกิดการบอบช้ำ โดนสัตว์กัดต่อย ไม่ว่าจะเป็นแมลงอย่างมดหรือยุง คุณแม่ดูแลลูกได้ ดังนี้ค่ะ
1.เตรียมอุปกรณ์ เครื่องป้องกันลูกให้พร้อม เช่น ชุดสนับเข่า-ข้อศอก เป็นต้น
2.เตรียมยาที่ไว้สำหรับทา เวลาลูกโดนยุง มด หรือแมลงกัดต่อย เช่น ยาหม่องยูคาลิปตัส ที่มีส่วนผสมของน้ำมันยูคาลิปตัสและการบูร ช่วยบรรเทาอาการปวด บวม อักเสบ จาก ยุง แมลงกัดต่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือ เคล็ดขัดยอก ได้อย่างอ่อนโยน โดยไม่มีฤทธิ์แสบร้อน อย่าลืมพกติดกระเป๋าไว้อุ่นใจแน่นอน จะเวลาไหน คุณแม่กับคุณลูกก็สามารถดูแลกันได้ตลอด

3.อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย เมื่อกลับถึงบ้าน หรือที่พัก
หลังอาบน้ำเสร็จ หากลูกยังรู้สึกปวดเมื่อยล้า ไม่สบายตัว คุณแม่สามารถนำแซมบัค มาทา นวด ๆ ผ่อนคลายให้ลูกได้ หรือจะทาให้ตัวเองและคนในบ้านก็ได้นะคะ ผลัดกันทาถู ๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดีค่ะ ตอนนี้มีแบบฝาเกลียวขนาด 36g เปิดง่าย หาซื้อได้ตามร้านขายยาชั้นนำทั่วไป Boots , Watson, 7-11 Extra
Tips.
แซมบัค ยาหม่องยูคาลิปตัส ชนิดขี้ผึ้ง ใช้ในเด็กอายุ 2 ปี ขึ้นไป มีหลายขนาดให้เลือก คุณแม่ที่สนใจสามารถปรึกษาแพทย์ เภสัชกร ที่ร้านขายยา เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมในการเลือกใช้ได้ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.zambuk.co.th/product-information/zam-buk/
(พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์)

ข่าวเด็ก ๆ โดนลักพาตัว ไปกับคนแปลกหน้ามีให้เห็นบ่อยมาก ซึ่งเกิดได้ทั้งลูกเล็ก ลูกโต ทั้งที่โรงเรียน สนามเด็กเล่น หรือแม้แต่ห้างที่มีคนพลุกพล่าน พ่อแม่จึงต้องหาวิธีป้องกันไม่ให้ลูกโดนลักพาตัว รวมถึงสอนให้ลูกปกป้องตัวเองเบื้องต้นด้วยการรู้จักปฏิเสธและไม่ไปกับคนแปลกหน้า เรามี 4 วิธีสอนและป้องกันให้ลูกไม่โดนลักพาตัว และรู้จักปฏิเสธไม่ไปกับคนแปลกหน้ามาแนะนำค่ะ
1.รหัสลับที่รู้กัน
วิธีนี้พ่อแม่ลูกจะต้องสร้างรหัสลับที่รู้กันเอง เพื่อเวลาพ่อแม่ไปรับ ลูกจะต้องถามรหัสนี้ก่อน หรือหากมีความจำเป็นต้องให้ญาติไปรับก็จะต้องรู้รหัสนี้ด้วย เช่น รหัส "เจ้าหญิงเอลซ่ากินกล้วย" เมื่อไปรับลูก ลูกจะต้องถามพ่อแม่ก่อนว่ารหัสคืออะไร เมื่อพ่อแม่ตอบถูกจึงกลับบ้านด้วยกันได้ หากตอบผิด ลูกจะต้องรีบวิ่งไปหาคุณครู
คำแนะนำ
- รหัสนี้ควรเปลี่ยนทุกสัปดาห์
- หากจะต้องให้ญาติไปรับแทน ต้องแจ้งรหัสนี้ที่ญาติ และแจ้งครูที่พาน้องมาส่งถึงมือญาติด้วย
- คุณครูคืออีกหนึ่งคนที่จำเป็นต้องทราบรหัสนี้ ทั้งในกรณีที่พ่อแม่หรือญาติมารับ
-------------------------------------------------
2.สอนให้ลูก "ขออนุญาต" ก่อนเสมอ
วิธีนี้ต้องปลูกฝังตั้งแต่ลูกเริ่มเข้าใจคำพูดของพ่อแม่ คือ ทุกครั้งที่ลูกจะรับของจากใคร กินอะไร ไปไหน จะต้องหันหน้ามาถามพ่อแม่ก่อนเสมอ หากพ่อแม่อนุญาตถึงทำได้ หากไม่อนุญาตก็จะไม่ได้ทำ เช่น คุณป้า(พี่สาวพ่อ)ให้ขนม ลูกจะยังไม่รับแม้จะโดนคะยั้นคะยอจากป้า แต่จะหันมามองหาพ่อแม่แล้ววิ่งมาขออนุญาตก่อน หรือ หากมีใครจับแขนหรือมือให้มารับของหรือพาเดิน ลูกจะรู้ว่าต้องขัดขืนไว้ เพราะพ่อแม่ยังไม่อนุญาตให้ไป
คำแนะนำ
- วิธีนี้เน้น "การทำซ้ำ" จึงจะได้ผล เช่น ทุกครั้งที่มีใครให้ขนม เมื่อเห็นว่าลูกจะรับ พ่อแม่ต้องถามว่า "ลูกควรทำยังไงก่อน" เพื่อเตือนให้ลูกรู้ว่าต้องมาขออนุญาตก่อนทุกครั้ง จนกว่าลูกจะจำและทำได้เองเมื่อมีคนให้ขอหรือจะทำอะไร ต้องมาขอพ่อแม่ก่อน โดยที่เราไม่ต้องร้องเตือน
-------------------------------------------------
3.กรี๊ดให้สุดเสียง
ในกรณีที่มีคนแปลกหน้ามาจับตัว จับขน จับมือ ลากดึงมือไปที่อื่น โดยไม่มีพ่อแม่หรือผู้ปกครองอยู่ด้วย วิธีที่ดีที่สุดที่จะสอนให้ลูกทำคือ ร้องสุดเสียง กรี๊ดให้ดังที่สุด เพื่อเรียกให้คนมาช่วย
คำแนะนำ
- พ่อแม่ควรสอนลูกด้วยว่า คนแปลกหน้าคือคนลักษณะไหน เช่น คนที่บอกรหัสลับไม่ถูกแต่พยายามจับมือแล้วลากหนูไป ก็ให้หนูร้องเลย เป็นต้น
-------------------------------------------------
4.นาฬิกาติดตามตัว
สำหรับเด็กๆ ที่โตพอจะใส่นาฬิกาได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย เช่น นาฬิกาติดตามตัวที่มีระบบ GPS เชื่อมต่อกับโทรศัพท์ของพ่อแม่ ซึ่งจะทำให้รู้ความเคลื่อนไหวของลูกว่าอยู่ไหน ออกนอกพิกัดไหม หากลูกออกนอกพิกัดก็สามารถโทรศัพท์เข้าไปที่นาฬิกาได้เลย หรือสามารถติดตามเส้นทางของลูกได้
คำแนะนำ
- ควรเลือกนาฬิกาติดตามตัวที่เหมาะกับพฤติกรรมของเด็กๆ เช่น กันน้ำ กันกระแทก ฯลฯ
- สอนลูกเสมอว่าไม่ควรถอด นอกจากต้องทำกิจกรรมที่ใส่นาฬิกาตลอดเวลาไม่ได้ เช่น ว่ายน้ำ ฯลฯ
เหตุการณ์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนรู้ไว้เป็นทักษะชีวิตในการเอาตัวรอดของลูกเมื่อต้องเจอสถานการณ์ร้ายแบบนี้นะคะ
ลูกดื้อเกินไป ซนเกินเหตุ เรามีเคล็ดลับเทคนิคปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของลูก มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำไปใช้กันค่ะ
4 วิธีรับมือ ลูกดื้อ ลูกซน
-
ตักเตือน ใช้คำพูดบอกว่าอะไรถูกผิด เมื่อลูกทำผิดบอกไปตรงๆ ว่าทำแบบนั้นไม่ดีอย่างไร และส่งผลอย่างไร โดยอธิบายให้ชัดเจนที่สุด
-
เพิกเฉย คุณพ่อคุณแม่ต้องนิ่งสงบเข้าไว้ อย่าใช้อารมณ์กับลูกพร้อมบอกกับเขาว่าครั้งหน้าจะมีบทลงโทษตามกติกาที่กำหนดไว้แล้วนะจ๊ะ
-
Time out จำกัดพื้นที่และพฤติกรรมเมื่อกระทำผิด อาจเป็นมุมที่ไม่มีอะไรให้เขาได้เล่น แล้วนับ 1-10 หรือเพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้นอีกหน่อยกรณีที่เจ้าหนูไม่เชื่อฟัง
-
ลงโทษ ด้วยวิธีตัดในสิ่งที่เด็กๆ ชอบ เช่น เล่นของเล่น กินขนม กรณีที่เด็กๆ ทำผิดแทนการใช้กำลัง แต่ต้องเป็นกติกาในครอบครัวที่ตกลงร่วมกันแล้วนะคะ เพื่อลูกจะได้เรียนรู้ว่าทำผิดแล้วผลที่ได้คืออดกินของอร่อย อดเล่นของเล่นค่ะ
การลงโทษลูกนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีที่ไม่แนะนำคือการตีเพราะความรุนแรงจะยิ่งทำให้เด็กๆ ต่อต้านและไม่ทำตามได้ในที่สุด ดังนั้นลงโทษด้วยเหตุผลย่อมดีกว่าใช้ความรุนแรงแน่นอนค่ะ

ลูกพูดคำหยาบ พูดไม่เพราะ พ่อแม่ต้องรีบแก้ ก่อนที่จะติดเป็นนิสัยค่ะ
4 วิธีแก้ลูกพูดคำหยาบ
1.ได้ยินจากคนในบ้าน
พฤติกรรมการพูดคำหยาบในวัยเด็กส่วนใหญ่มาจากคนใกล้ตัว หรือคนในครอบครัว การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดควรเริ่มแก้ไขจากพ่อแม่ หรือคนในครอบครัวก่อน เพราะเด็กเป็นวัยที่จดจำและเลียนแบบจากบุคคลใกล้ตัว
2.ติดมาจากเพื่อนที่โรงเรียน หรือแถวบ้าน
ถ้าเด็กมีพฤติกรรมการพูดคำหยาบมาจากเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนหรือสื่อต่าง ๆ ควรอธิบายให้เด็กเข้าใจว่าทำไมไม่ควรพูดคำหยาบ และข้อเสียของการพูดไม่สุภาพ
3.ละคร การ์ตูน จากโทรทัศน์
คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจ เลือกรายการโทรทัศน์ที่เหมาะกับเด็กเล็ก หรือควรเลือกดูรายการที่ไม่มีคำสบถหรือคำไม่สุภาพแทน เนื้อหาบางอย่างอาจจะไม่เหมาะกับช่วงอายุของลูกคุณ คำอธิบายและคำแนะนำเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีที่ถูกต้องกับสังคมและตัวเราเองว่าควรเป็นในทิศทางไหน
4.สื่อออนไลน์ต่าง ๆ
ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นอินเทอร์เน็ตลำพัง ควรอยู่ใกล้ ๆ คอยแนะนำเว็บไซต์หรือเนื้อหาที่เหมาะสม ถือว่าเป็นการคอยสังเกตลูกไปในตัว ซึ่งเด็กจะรู้สึกอุ่นใจ กล้าพูด กล้าซักถามกับพ่อแม่มากขึ้น กลายเป็นการสร้างเวลาของครอบครัวไปด้วย
วิธีรับมือ เมื่อลูก พูดไม่เพราะ
1.พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น
สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่ในบ้านต้องระวัง ไม่พูดคำหยาบให้เด็กได้ยินเป็นอันขาด เพราะลูกจะไม่เข้าใจว่าทำไมผู้ใหญ่พูดได้ แต่เด็กพูดแล้วกลับถูกลงโทษ อาจทำให้ลูกกลายเป็นคนไม่มีเหตุผลในอนาคตได้ ลองหาแหล่งที่มาของคำหยาบเหล่านั้น แล้วพยายามกันลูกออกจากคน หรือแหล่งนั้นๆ เพราะสิ่งแวดล้อมมีผลกับพฤติกรรมของเด็กด้วยเช่นกัน
2.สอนให้ใช้คำอื่น
เพราะเด็กยังไม่รู้ว่าคำไหนหยาบหรือไม่หยาบ ดังนั้นเมื่อลูกพูดคำหยาบคุณพ่อคุณแม่ต้องชี้เป็นคำ ๆ ไปว่าคำนี้พูดไม่ได้ และสอนด้วยว่าควรใช้คำใดแทน แล้วให้ลูกหัดพูดตาม เช่น หากลูกคำว่า “ตีน” อาจสอนลูกว่าคำนี้ไม่เพราะ พูดแล้วไม่น่ารักเลย พูดแล้วพ่อแม่ไม่ชอบ ให้พูดคำว่า “เท้า” แทน แล้วสอนให้ลูกพูดตาม
3.ห้ามเผลอหัวเราะ ชอบใจ
อย่าเผลอหัวเราะชอบใจเมื่อเด็กพูดคำแปลก ๆ ที่เป็นคำหยาบออกมา ยิ่งคนรอบข้างหัวเราะชอบใจ เป็นการเสริมพฤติกรรมให้เด็กพูดอีกเพราะคิดว่าถูกต้องเหมาะสมแล้ว
4.สร้างกฏเรื่องการพูดคำหยาบให้ชัดเจน
ควรมีการตั้งกฎ ถ้าทำผิดกฎโดยลงโทษที่ยุติธรรมและเหมาะสมกับความผิด การลงโทษควรให้เด็กเข้าใจว่า ถูกลงโทษมิใช่เพราะว่าพ่อแม่ไม่รักลูก แต่อยากให้เป็นคนดี เมื่อได้รับโทษต้องอธิบายเหตุผลเสมอ ส่วนวิธีการลงโทษมีหลากหลายวิธี เช่น งดขนม งดการดูทีวี การให้ทำงานบ้านชดเชยความผิด แต่ไม่ควรลงโทษทางกายที่รุนแรงเพราะจะทำให้เด็กเป็นเด็กขี้ขลาดและกลายเป็นเด็กก้าวร้าวในที่สุด
คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมชมเป็นรางวัลที่ลูกทำได้ แต่ถ้าเขาทำไม่สำเร็จ ก็ควรให้กำลังใจและให้เวลากับความพยายามของลูกอีกสักนิดนะคะ
ข้อมูลโดย : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
อาจเคยมีคนบอกคุณแม่ให้นมว่าเวลาน้ำนมไม่ไหล น้ำนมน้อย ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ทำยังไงให้น้ำนมไหล ดูแลตัวเองยังไง แต่ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ยังทำให้การให้นมแม่ไม่สำเร็จสักที มาดูคำแนะนำจากคุณหมอกันค่ะ เผื่อจะนำไปปรับใช้ได้
1. เทคนิคให้นมเจ้าตัวเล็ก
- ก่อนและหลังให้นมลูกทุกครั้ง คุณแม่จะต้องเช็ดหรือล้างบริเวณหัวนมและรอบ ๆ ให้สะอาดด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือแล้วเช็ดให้แห้ง จึงให้ลูกดูดนมสลับไปในแต่ละข้างจนอิ่ม ช่วงแรกให้ดูดกระตุ้น 15 - 20 นาทีทั้งสองข้าง (เมื่อน้ำนมมากพอต่อไปดูดทีละข้าง)
- ศีรษะลูกจะต้องอยู่สูงกว่าลำตัวเสมอ
- คอยสังเกตว่าส่วนของเต้านมไม่เบียดจมูกทารกขณะดูด
- เมื่อลูกดูดนมจนอิ่มให้อุ้มลูกพาดบ่าจนลูกเรอลมออกจากกระเพาะอาหารจึงเปลี่ยนท่าอุ้ม
- ช่วงแรกควรงดให้ขวด เพราะเด็กอาจจะปฏิเสธนมแม่
- คุณแม่สามารถปั๊มน้ำนมตนเองใส่ขวดนมที่สะอาดและเก็บไว้ในตู้เย็น แต่ไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง หากลูกดูดนมจากขวดจนอิ่มแล้วน้ำนมเหลือไม่ควรเก็บไว้เพราะนมจะบูดและเสียโดยง่าย แล้วดูดเสร็จถ้ามีนมเหลือควรบีบหรือปั๊มใส่ขวดเก็บใส่ตู้เย็น
2. วิธีดูแลเต้านมคุณแม่
- ใส่เสื้อชั้นในแบบพยุงเต้านม
- ทำความสะอาดหัวนมด้วยน้ำสะอาด
- ใช้สบู่ฟอกได้ แต่ไม่ควรบ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้แห้งแตก
3.ความต้องการพลังงานของแม่ขณะให้นม
คุณแม่ที่ให้นมจะต้องใช้พลังงานสูงในการผลิตน้ำนม โดยใช้พลังงานประมาณ 85 แคลอรี่ในการผลิตน้ำนม 100 ซีซี ซึ่งปริมาณน้ำนมแม่ในแต่ละช่วงจะแตกต่างกันออก
ช่วง 6 เดือนแรกจะอยู่ที่ 700 - 850 มล./วัน
ช่วง 6 - 12 เดือน 600 มล./วัน และ
ช่วง 12 - 24 เดือน 550 มล./วัน
ดังนั้นคุณแม่ที่ให้นมจึงต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นวันละ 500 แคลอรี่ โดยเฉพาะโปรตีนมีความสำคัญมากในการผลิตน้ำนม บำรุงและซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ของคุณแม่ จึงควรได้รับโปรตีนเพิ่มวันละ 25 กรัม
4. อาหารช่วยเพิ่มน้ำนมแม่
- หัวปลี มีธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงเลือดและเพิ่มน้ำนม
- กะเพรา มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยขับลม แก้ท้องอืด เพิ่มน้ำนม
- กุยช่าย มีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม ช่วยเพิ่มน้ำนม ลดการอักเสบ ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกาย
- ขิง มีสารจินจิเบน ช่วยย่อยอาหาร ย่อยไขมัน เพิ่มน้ำนม ขับลม แก้คลื่นไส้อาเจียน
- เม็ดขนุน มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยเพิ่มน้ำนม
การให้นมลูกไม่เพียงแต่มีประโยชน์ในด้านสารอาหารที่ลูกได้รับ แต่การอุ้มลูกขึ้นดูดนมช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทุกส่วนของลูก ทำให้สมองได้รับสัญญาณประสาทสม่ำเสมอ เกิดการแตกแขนงของเซลล์ประสาท ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้นอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.คัคณางค์ มิ่งมิตรพัฒนะกุล สูตินรีแพทย์ประจำศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพ
ศูนย์สุขภาพสตรีกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร. 0 2310 3005, 0 2755 1005 หรือ โทร. 1719

เรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยของลูก นับเป็นความกังวลที่สุดของคนเป็นพ่อแม่ค่ะ เพราะระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังไม่แข็งแรง เสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคที่อยู่รอบตัวได้ง่าย โดยเฉพาะโรคต่อไปนี้ ที่ต้องระวังเป็นพิเศษค่ะ
- โรคมือเท้าปาก
สาเหตุ: เกิดจากเชื้อไวรัส (Enterovirus 71, Coxsackie) พบได้ตลอดทั้งปี ซึ่งหาเป็นแล้วอาการมักหายได้เองภายใน 3-10 วัน
การติดต่อของโรค: ทางการไอ จาม น้ำลาย หรืออุจจาระ มีระยะฟักตัวของโรค 3 - 6 วัน
อายุกลุ่มเสี่ยง: เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
อาการ: มีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า มีแผลในปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก บางรายอาจมีผื่นที่ขา และก้นร่วมด้วย ซึ่งต้องระวังอย่าให้ลูกมีไข้สูง เพราะเสี่ยงภาวะชัก รวมถึงอาการแทรกซ้อนอื่นๆ
อาการต้องรีบพบแพทย์
: ซึม ไม่เล่น ไม่อยากอาหารหรือนม
: ปวดศีรษะมาก
: ปวดต้นคอ
: อาเจียน
: ตัวสั่น แขนหรือมือสั่นบ้าง
: พูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง
- โรคติดเชื้อไวรัส RSV
สาเหตุ: เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ สามารถพบเชื้อได้ตลอดทั้งปี
การติดต่อของโรค: ทางน้ำมูก น้ำลาย การไอ และละอองเสมหะของเด็กที่ป่วย
อายุกลุ่มเสี่ยง: เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
อาการ
: มีอาการหอบเหนื่อย และหายใจลำบาก
: หายใจเร็ว และมีเสียงครืดคราด ๆ จนสังเกตได้จากการยุบบุ๋มลงไป และโป่งพองขึ้นมา
: ไอหนักมาก
: มีเสียงหวีดในปอด จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว
: มีเสมหะมาก
: มีไข้
- โรคไข้หวัดใหญ่
สาเหตุ:ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เป็นโรคที่สามารถพบได้ตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝนเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคมากขึ้น
การติดต่อของโรค: ผ่านน้ำมูก หรือเสมหะของผู้ป่วย หรือการสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรคจากผ้าเช็ดหน้า ช้อน หรือแก้วน้ำที่ใช้ร่วมกัน
อายุกลุ่มเสี่ยง: เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
อาการ
: อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดธรรมดา ซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจในส่วนของจมูก ลำคอ และปอด แต่มีความรุนแรงมากกว่าและพัฒนาทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ คุณแม่สามารถสังเกตอาการที่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดา ได้ดังนี้
: มีไข้สูง ซึ่งมักเกิดอาการอย่างเฉียบพลัน และมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัด
: ปวดเมื่อย ตามกล้ามเนื้อ และรู้สึกอ่อนเพลียมาก
: ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อาจเกิดขึ้นได้ หากพบว่ามีอาการเข้าข่ายไข้หวัดใหญ่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์
- โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า

สาเหตุ: เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า
การติดต่อของโรค: ผ่านการหยิบอาหาร หรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก ซึ่งเกิดการแพร่ระบาดได้ง่าย
อายุกลุ่มเสี่ยง: เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
อาการ
: ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำและถ่ายบ่อยกว่าปกติ หรืออาเจียนร่วมด้วย
: เด็กเล็กอาจมีไข้
: ซึม มือเท้าเย็น
: ปัสสาวะออกน้อยลง
: ขาดน้ำ อาจเกิดภาวะช๊อกได้
: หากท้องร่วงไม่รุนแรงจะหายได้เองใน 3-7 วัน
การรักษา
: อุจจะระออกไปให้หมดเพื่อไล่เชื้อ
: ดื่มเกลือแร่หรือให้น้ำเกลือ

10 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกัน & ป้องกันลูกจาก 4 โรคร้าย
1. ฉีดวัคซีน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า
2. ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และกินอาหารที่ถูกต้องตามโภชนาการ
-
นอนหลับอย่างเพียงพอ ควรจัดห้องนอนให้มีบรรยากาศปลอดโปร่ง มืดสนิท มีเสียงรบกวน เพื่อให้ลูกน้อยนอนหลับสนิทตลอดคืน เพื่อการเจริญเติบโตที่สมวัยและมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรง
-
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น ออกไปวิ่ง ว่ายน้ำ เล่นกีฬา ทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ปอดและหัวใจแข็งแรง
-
ดื่มนมที่มีประโยชน์สูง เช่น นมแพะ เพราะมีกระบวนการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ ซึ่งพบในนมแม่และนมแพะเท่านั้น ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์น้ำนมหลุดออกมากับน้ำนมในปริมาณสูง จึงมีสารอาหารธรรมชาติสูง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ย่อยง่าย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก ไม่ป่วยง่าย
-
เสี่ยงไปสถานที่แออัด หรือสถานที่ที่เสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโรค
-
ล้างมือให้สะอาดเสมอ โดยล้างด้วยสบู่หรือน้ำยาล้างมือให้นานเพียงพอ
-
ทำความสะอาดของใช้เด็กอยู่เสมอ หมั่นเช็ดแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดของเล่นที่ลูกหยิบเข้าปากได้ หรือของใช้ของลูกให้สะอาดปลอดเชื้ออยู่เสมอ
-
แยกเด็กป่วยจากเด็กปกติ เมื่อสังเกตว่าลูกมีอาการผิดปกติ ให้รีบแยกลูกออกจากเด็กๆ ที่ปกติดี เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
-
พบแพทย์ เมื่อลูกมีอาการผิดปกติ ให้รีบแยกลูกออกจากเด็กๆ ที่ปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ และพาไปพบแพทย์ค่ะ

การให้ลูกได้เล่นกับธรรมชาติและมีอิสระเป็นสิ่งที่พ่อแม่อย่างเราต้องให้ความสำคัญค่ะ การให้ลูกได้มีสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสุนัขก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่พ่อแม่เลือก เพราะนอกจากลูกจะได้เล่นกับสัตว์เลี้ยงแล้ว ลูกยังจะได้เรียนรู้ถึงความอ่อนโยน ความรับผิดชอบ และความมีระเบียบวินัยด้วย
การจะตัดสินใจให้ลูกเลี้ยงสุนัขสักตัวก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกันค่ะ เพราะในฐานะพ่อแม่อย่างเราแล้วความปลอดภัยของลูกเป็นสิ่งสำคัญเสมอ ดังนั้นเรามี 5 เรื่องควรรู้เมื่อจะให้ลูกเลี้ยงสุนัขมาฝากค่ะ
- การเลือกสุนัข
จะต้องเลือกสุนัขสายพันธุ์ที่ไม่ดุร้าย เข้ากับเด็กๆ ได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่ควรซื้อสุนัขจากฟาร์มสุนัขที่มีความน่าเชื่อถือ มีใบรับรอง และสุนัขต้องได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว รวมถึงต้องได้รับการตรวจจากสัตวแพทย์ด้วยว่าไม่เป็นโรค หรือมีอาการของโรคที่เกิดในสุนัขบ่อยๆ เช่น ขี้ตาแฉะ มีน้ำมูก ผอมโซ เป็นต้น
- ตรวจร่ายกายลูก
เด็กบางคนแพ้ขนสัตว์ ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าลูกจะสามารถเลี้ยงและเล่นกับสุนัขได้ พ่อแม่จะต้องตรวจร่างกายลูกให้แน่ใจว่าเขาจะไม่แพ้ขนสุนัข รวมถึงการแพ้โปรตีนจากขี้ไคล และน้ำลายของสุนัขซึ่งหากเด็กที่มีการแพ้แล้วไปสัมผัสก็อาจจะก่อนให้เกิดอาการ เช่น ผื่นแดง คัน จาม เป็นต้น เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่พ่อแม่จะต้องตรวจสอบ
- เวลาและสถานที่ที่เหมาะสม
คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณาอายุของลูกด้วยค่ะว่าเหมาะสมแล้วกันการเลี้ยงสุนัขหรือไม่ ซึ่งเด็กวัย 3 ปีขึ้นไปเป็นวัยที่เหมาะสมในการให้ลูกเริ่มเล่นกับสุนัขได้ รวมถึงสถานที่ซึ่งหมายถึงบริเวณบ้านมีพื้นที่สำหรับวิ่งเล่นมากพอหรือไม่ จะเลี้ยงสุนัขไว้ส่วนไหนของบ้าน อากาศถ่ายเทสะดวกหรือไม่ ส่วนนี้พ่อแม่จะลิมไม่ได้เลยค่ะ
- สอนการเล่นกับสุนัข
ก่อนที่จะให้ลูกเลี้ยงสุนัขได้ พ่อแม่จะต้องสอนและทำความเข้าใจกับลูกเรื่องการเล่นให้ดีเสียก่อน เพราะหากลูกเล่นรุนแรง หรือไม่ระวังก็อาจเกิดอันตรายได้ เช่น บอกลูกว่าไม่ควรดึงหางสุนัขแรงๆ ไม่ควรขึ้นขี่หลัง ไม่ควรหยิก ไม่ควรเอามือง้างปากหรือแหย่เข้าไปในปากสุนัข เป็นต้น และควรบอกลูกถึงอันตรายและการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นเพื่อที่ลูกกลัวการบาดเจ็บและเล่นอย่างระวังมากขึ้น
- สอนเรื่องความรับผิดชอบ
คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกมีส่วนรับผิดชอบในการเลี้ยงสุนัขด้วย เช่น พาออกไปเดินเล่นซึ่งลูกก็จะได้วิ่งออกกำลังกายด้วย ช่วยอาบน้ำสุนัข ช่วยเก็บอึสุนัข หรือแม้แต่ช่วยกวาดขนสุนัขบนพื้น การฝึกความรับผิดชอบและวินัยเบื้องต้นนี้จะทำให้ลูกของเรานำไปใช้ในสังคมได้เมื่อโตขึ้น
เชื่อว่าหลายๆ บ้านคงโดนลูกอ้อนของลูกๆ ไปกับบ้างแล้วไม่มากก็น้อยค่ะ บางคนนมาอ้อนน่าสงสารน่าเอ็นดู บางคนมาแนวบีบน้ำตา แล้วพ่อแม่อย่าเราจะใจแข็งต่อไปได้ยังไงกัน แต่ไม่ว่าเขาจะอ้อนเราด้วยวิธีไหน ลองใช้ 5 วิธีพิจารณาของเราเข้าไปร่วมในการตัดสินใจนะคะ

เด็กวัยอนุบาลเป็นวัยที่เริ่มรู้จักการใช้จ่ายเงินบ้างแล้ว แต่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจคุณค่าของเงิน เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถอธิบายความสำคัญของเงินแบบง่ายๆ ให้ลูกได้เช่น เงินมีไว้ทำอะไร พ่อแม่หามาได้อย่างไร และเงินมีไว้ใช้สำหรับสิ่งจำเป็นอะไรบ้าง ที่สำคัญ ลูกต้องรู้จักออมเงินด้วยค่ะ
5 ข้อดีสอนลูกรู้จักออมเงิน
1. ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายว่าจะออมเงินเพื่ออะไร เช่น ออมเงินไว้ซื้อของเล่นที่อยากได้ ออมเงินไว้สำหรับซื้อของให้พ่อแม่ เป็นต้น
2 ลูกได้เรียนรู้การวางแผน ลูกอยากได้ของเล่น ต้องเก็บเงินวันละเท่าไหร่ และต้องใช้ระยะเวลาในการเก็บกี่วัน จึงจะพอซื้อของเล่น 1 ชิ้น เป็นต้น
3. รู้จักอดทนรอคอย บางครั้งการออมเงินก็เป็นเรื่องสนุกที่เด็กๆ จะรู้สึกตื่นเต้นและเฝ้ารอวันที่กระปุกออมสินเต็ม หรือวันที่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อของที่เขาอยากได้
4. เกิดความยืดหยุ่น แม้จุดประสงค์หลักที่ลูกออมเง้นเพื่อซื้อของเล่น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ลูกอาจไม่อยากได้ของเล่นที่เขาเคยอยากเล่นแล้ว เด็กบางคน เมื่อเห็นจำนวนเงินที่ตนเองเก็บออมได้ หลายคนมักจะรู้สึกเสียดาย เพราะฉะนั้นทางที่ดีควรรีบใช้โอกาสนี้พาลูกไปเปิดบัญชีธนาคารค่ะ
5. เกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หลังจากที่หยอดเงินเต็มกระปุกหมูและพ่อแม่พาไปเปิดบัญชีออมทรัพย์แล้ว เด็กหลายคนมักจะชอบบรรยากาศการฝากเงิน และรู้สึกดีใจเมื่อเห็นยอดเงินในบัญชีเพิ่มขึ้น (ซึ่งผู้ใหญ่อย่างพ่อกับแม่เองก็ชอบเช่นกัน)
"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG