facebook  youtube  line

ทำแล้วได้ผล! กับ 7 วิธี ฝึกสมองให้ลูกจดจำได้มากขึ้น

ฝึกสมองให้ลูกจดจำได้มากขึ้น, กระตุ้นให้ลูกมีความจำที่ดี, ความจำของเด็ก, ช่วยลุกความจำดี, ความจำ, ฝึกความจำ, ลุกหัวไม่ดี, เขียนบันทึก, ร้องเพลง, ออกกำลังกาย, เล่นเกม, ฝึกสมาธิ, หยุดพัฒนาการ, เด็กขาดความมั่นใจ, เด็กพูดมาก, ลูกพูดมาก, พูดมาก, เด็กพูดมากคือเด็กฉลาด, แก้ปัญหาลูกพูดมาก, ตำหนิลูก, ด่าลูก, พัฒนาการลูก, พัฒนาการเด็ก 

ทำแล้วได้ผล! กับ 7 วิธี ฝึกสมองให้ลูกจดจำได้มากขึ้น

การฝึกความจำให้ลูกเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพราะถ้าลูกเป็นคนความจำดีก็จะเป็นเด็กฉลาด รู้เรื่องหมดทุกอย่างก็มีชัยไปกว่าครึ่งเเล้วค่ะ ในฐานะพ่อกับแม่แล้วต้องกระตุ้นให้ลูกมีความจำที่ดีนะคะ เพียงแค่ทำกิจกรรมเหล่านี้ก็จะช่วยลูกได้แล้วค่ะ

7 วิธี ฝึกสมองให้ลูกจดจำได้มากขึ้น

1. เขียนบันทึก

คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกจดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ลงในสมุดบันทึกเป็นประจำทุกวัน ช่วยฝึกให้ลูกรู้จักการรวบรวมความคิดและฝึกการจดจำเรื่องราวต่างๆ ที่พบเจอในแต่ละวันที่ผ่านมาได้ด้วย        

 

2. เล่นเกมพัฒนาความจำ

เช่น เกมครอสเวิร์ด เกมปริศนาอักษรไขว้ เกมหาคำศัพท์ เกมบิงโก ต่อจิ๊กซอว์ เล่นบอร์ดเกม เกมเหล่านี้นอกจากจะช่วยเพิ่มความสามารถในการจดจำของสมองแล้ว ยังช่วยให้มีสมาธิและฝึกความอดทนในการแก้ปัญหาอีกด้วย        

 

3. ดนตรีช่วยเพิ่มความจำ

ดนตรีช่วยคลายเครียด ช่วยเพิ่มทักษะความจำได้ดี เพราะการที่เด็กได้ฟังเพลง ร้องเพลงและเล่นเครื่องดนตรี เด็กๆ จะต้องใช้ความจำในเรื่องของการจดจำทำนอง เนื้อร้องและจังหวะของแต่ละบทเพลง        

 

4. ฝึกสมาธิ

การทำสมาธิสำหรับเด็กง่ายๆ คือการที่เขาได้พักสงบกับตนเอง เช่น การได้นอนหนุนตักคุณพ่อคุณแม่ใต้ต้นไม้อย่างเงียบสงบประมาณ 15 นาที ก็เป็นการฝึกสมาธิได้แล้ว        

 

5. กินนอาหารที่ช่วยเพิ่มความจำ

ควรให้ลูกได้ทานอาหารที่ช่วยเพิ่มความจำ เช่น ผัก ผลไม้ ซึ่งมีวิตามินบีสอง กรดโฟลิค นม และปลาทะเลปลาน้ำจืดต่าง ๆ ที่มี DHA ช่วยในการพัฒนาใยประสาทและเสริมการทำงานของสมองส่วนความทรงจำ อาหารบางอย่างช่วยป้องกันสมองเสื่อมได้ด้วย นอกจากนี้ควรให้ลูกทานเนื้อสัตว์ อาหารทะเล เพราะมีธาตุเหล็กที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองซีกซ้ายในเรื่องของความจำได้ 

 

6. การออกกำลังกาย

เป็นกิจกรรมช่วยเพิ่มความจำของเด็กได้เป็นอย่างดี เพราะขณะที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายไม่ว่าจะเดิน กระโดด วิ่ง จะส่งผลในการกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น        

 

7. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 

ควรฝึกให้ลูกนอนอย่างน้อยวันละ 7-9 ชั่วโมง และไม่ควรให้ลูกนอนเดึกเกินไป เนื่องจากจะส่งกระทบกับการหลังโกรทฮอร์โมนของเด็ก ๆ ระวังอย่าให้ลูกนอนนานเกินไปเช่นกัน เพราะการนอนมาก ๆ ทำให้ความตื่นตัวน้อยลงและทำให้ลูกเกิดความซึมเซา ซึ่งมีผลทำต่อประสิทธิภาพของสมองและความจำ

 

นิสัย 5 แบบของพ่อแม่ เมื่อลูกขอเล่นโซเชียล แบบไหนส่งผลต่อพัฒนาการลูก

 การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

โลกโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นกูเกิ้ล เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และยูทูบ กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกยุคดิจิตอลของเราไปแล้วเรียบร้อย การห้ามไม่ให้ลูกเล่น โซเชียลมีเดียเหล่านี้ ก็คงจะเป็นไปไม่ได้เพราะเป็นไปตามยุคสมัย แต่เราจะอยู่ในกลุ่มพ่อแม่แบบไหน มาดูผลสำรวจกันค่ะ

เป็นผลของการสำรวจสรุปกระบวนความคิดของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ในภูมิภาคเอเชีย โดยแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ซึ่งจะสะท้อนวิธีการที่พ่อแม่ให้ความหมายต่อการเรียนรู้ของลูก การให้คุณค่าของการเรียนรู้จากประสบการณ์ของพ่อแม่ และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือลูกในการเรียนรู้ รวมถึงความห่วงใยต่ออนาคตของลูกด้วย

  1. กระบวนความคิดแบบกังวล (The Concerned)

พ่อแม่กลุ่มแรกนี้สนใจและกังวลอย่างมาก เกี่ยวกับอุปกรณ์ดิจิทัลต่อการศึกษาของลูก พ่อแม่จะไม่ยอมให้ลูกเล่นโซเชี่ยลใดๆ เพราะกังวลถึงผลกระทบที่เทคโนโลยี จะส่งผลต่อการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะในด้านสังคมและการเข้าสังคมของลูก พ่อแม่กลุ่ม The Concerned จะให้ความสำคัญกับวิธีการศึกษาแบบดั้งเดิม มากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเชื่อว่าเด็กๆ จะเสียสมาธิได้ง่าย เมื่อต้องอ่านบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเด็กน่าจะได้เรียนรู้มากขึ้นจากสิ่งพิมพ์หรือตำรา

  1. กระบวนความคิดแบบสัจนิยม (The Realist)

พ่อแม่ในกลุ่มนี้ ให้คุณค่ากับการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การเล่น และการเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย พวกเขาพร้อมที่จะเปิดรับ เน้นเรื่องการปฏิบัติ ต้องการให้ลูกได้สัมผัสโลกแห่งความเป็นจริง พวกเขาอยากให้ลูกๆ พัฒนาทักษะที่สามารถนำไปปรับใช้นอกเหนือจากในห้องเรียนและจะช่วยให้พวกเขาเป็นเลิศ กลุ่มพ่อแม่ลักษณะนี้จะชื่นชอบอุปกรณ์ดิจิทัล เนื่องจากสามารถช่วยให้ลูกๆ ได้เรียนรู้ไอเดียใหม่ๆ ได้

  1. กระบวนความคิดตามขนบ (The Typical)

พ่อแม่ในกลุ่มนี้ให้คุณค่ากับการพัฒนาทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงและการเรียนรู้จากประสบการณ์  ผู้ปกครองลักษณะนี้มีแนวโน้มที่จะยอมรับว่า การเรียนรู้ทั้งทางดิจิทัลและจากสิ่งพิมพ์เหมาะสม และให้ผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาทักษะและสติปัญญาด้านคำศัพท์และความเข้าใจ

  1. กระบวนความคิดที่เน้นประสบความสำเร็จ (The Overachiever)

พ่อแม่กลุ่มนี้ เรียกอีกอย่างว่า Tiger Parents มีลักษณะแสดงความต้องการเข้าไปช่วยผลักดันให้เด็กเรียนรู้ ควบคุมเนื้อหา และเส้นทางของการเรียนรู้ ให้ลูกได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ พวกเขาเชื่อว่าอุปกรณ์ดิจิทัลจะช่วยให้เด็กๆ ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมและไอเดียต่างๆ ในขณะที่สื่อการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งพิมพ์และกิจกรรมทางกายภาพช่วยส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

  1. กระบวนความคิดแบบปลีกตัว (The Detached)

พ่อแม่กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่เงียบและเก็บตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกกลุ่ม แม้พวกเขาใช้เวลาเรียนรู้กับลูกน้อยที่สุด แต่พวกเขากระตือรือร้นที่จะพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสังคม ซึ่งอาจเป็นเพราะพ่อแม่กลุ่มนี้มีแนวโน้มที่เป็นคนที่เก็บตัว จึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เประเภทท่องจำ การติวเสริม และร่วมกิจกรรมทางสังคม นอกจากนี้ ในด้านการสร้างความผูกพัน พวกเขาต้องการควบคุมเนื้อหาและเส้นทางการเรียนรู้ของลูกๆ โดยแม่จะมีบทบาทในการเรียนรู้ของลูกมากกว่าฝ่ายพ่อ

หากเป็นพ่อแม่ได้ทุกกลุ่ม และใช้ไปตามสถานการณ์จะดีกว่าเป็นแบบใดแบบหนึ่งไปเลยนะคะ หากจะให้ลูกเล่นมือถือ แท็บเล็ต ก็ควรรู้วิธีดูแลสายตาของลูกยุคดิจิทัล ดังนี้เลยค่ะ

  1. ให้เวลาลูกเล่นแท็บเล็ตแค่ 2 ชม. ต่อวัน เท่านั้น และต้องพักสายตาทุกๆ 20 นาที ด้วย

  2. อย่าจ้องหน้าจอใกล้เกินไป ให้เว้นระยะห่าง ประมาณ 1 ศอกของพ่อ

  3. ปรับความสว่างที่หน้าจอให้พอเหมาะ และห้ามปิดไฟเล่น

  4. กินผักผลไม้ที่มีวิตามินเอและลูทีนสูง เพราะมีประโยชน์ต่อสายตา เช่น กีวี่ แครอท ผักโขม ผักคะน้า ผักบุ้ง ตำลึง ฟักทอง และมะละกอ

เมื่อถึงวัยที่เล่นแท็บเล็ต มือถือ ได้แล้ว เป็นอะไรที่ห้ามยากเรื่องการเรียนรู้ในโลกอินเทอร์เน็ต แต่พ่อกับแม่ก็ต้องรู้วิธีดูแลลูกด้วยวิธีดังกล่าวค่ะ

ข้อมูลจาก : เสวนา “HP New Asian Learning Experience เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ของครอบครัวยุคใหม่” 

พบกับเคล็ดลับง่ายๆที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆ ได้ที่เว็บไซต์ เอชพี ประเทศไทย

มองหน้าลูกแล้วกลัวตาย ต้องรู้ 4 วิธี การเลี้ยงลูกให้อยู่ได้โดยไม่มีพ่อกับแม่

เลี้ยงลูกให้อยู่ได้โดยไม่มีพ่อกับแม่- ตาย- ความตาย- พ่อคนแม่คนกลัวตาย- กลัวตาย- วิธีเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี-การเลี้ยงลูก-เตรียมตัวเรื่องการตายเพื่อลูก- ถ้าพ่อแม่ไม่อยู่จะทำอย่างไร- ฝึกให้ใช้ชีวิตบนความไม่ประมาท-  ครอบครัว- การจากลา- ประกันชีวิต 

การได้เป็นพ่อคนแม่คนแล้วทำให้กลัวตายมาก เพราะกลัวไม่ได้เห็นการเจริญเติบโตของลูก กลัวลูกอยู่ไม่ได้ แต่ความตายสามารถเกิดได้ทุกเมื่อ ฉะนั้นเราควรแปรวิกฤตเป็นโอกาส แล้วเลี้ยงลูกให้อยู่ได้โดยไม่มีเรา แล้วจะทำให้เราอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง เลี้ยงให้ลูกเติบโตอย่างเข้มแข็ง เป็นวิธีคิดที่คุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่กำลังนิยมทำกันอยู่ค่ะ

4 วิธีเลี้ยงลูกให้อยู่ได้โดยไม่มีพ่อกับแม่
  1. เตรียมตัวเรื่องการตายเพื่อลูก เมื่อพ่อแม่เตรียมตัวเรื่องความตาย ก็จะทำให้พ่อแม่มีวิธีคิดในการเลี้ยงลูกที่อยากให้ลูกมีความเข้มแข็ง จะเน้นทักษะให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง ฉะนั้น พ่อแม่จะพยายามให้ลูกฝึกความลำบาก ให้ช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด มั่นใจในตัวเอง ฝึกให้มีทักษะเรื่องการอยู่รอด หรือสามารถอยู่ได้โดยไม่มีพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ในครอบครัว ซึ่งเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญที่จะทำให้เขาเติบโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพด้วย

  2. ตั้งโจทย์เสมอให้ลูกได้คิดว่า ถ้าพ่อแม่ไม่อยู่ ลูกจะทำอย่างไร เพื่อชี้ให้ลูกได้เห็นว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ ถ้าหากเราพูดคุยเรื่องความตายเป็นเรื่องปกติ และทำความเข้าใจกับคนในครอบครัวว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะ อาจจำลองสถานการณ์จริงว่าถ้าแม่ตาย หรือพ่อตาย หรือทั้งพ่อแม่ตาย หรือลูกตาย จะเป็นอย่างไร ลองตั้งคำถามกับลูก และพูดคุยกับลูกว่าสามารถเกิดขึ้นได้จริง และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ทุกคนควรจะต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปให้ได้ และควรจะอยู่อย่างไร

  3. ฝึกให้ใช้ชีวิตบนความไม่ประมาท อาจหยิบยกกรณีเรื่องความตายของคนใกล้ชิดมาเป็นบทเรียนสอนลูกว่า คนที่มีอายุมากกว่าไม่จำเป็นต้องตายก่อนคนที่อายุน้อยกว่าเสมอไป เด็กก็สามารถตายก่อนผู้ใหญ่ได้ ความตายมีหลายสาเหตุ เพราะโรคภัยไข้เจ็บ หรืออุบัติเหตุก็ได้ เพราะฉะนั้น ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงทั้งกายและใจ ใส่ใจเรื่องสภาพแวดล้อม อาหารการกิน รวมไปถึง การใช้ชีวิตอยู่บนความไม่ประมาท ไม่ควรไปในสถานที่อโคจร หรือใช้ชีวิตแบบสุ่มเสี่ยงโลดโผนจนเกินไป

  4. ควรให้ลูกมีส่วนร่วมในทุกเรื่องของครอบครัว ซึ่งจะทำให้ลูกรู้สึกดีที่พ่อแม่ไว้วางใจเขาด้วย พ่อแม่ทำอะไรบ้าง มีทรัพย์สิน หรือหนี้สินหรือไม่ รวมไปถึงเรื่องการทำธุรกรรมต่างๆของครอบครัวร่วมกัน ข้อนี้มีความจำเป็นมาก เนื่องจากเอกสารมากมายของครอบครัวที่ส่วนใหญ่คนเป็นแม่จะเป็นผู้จัดการ และสมาชิกในบ้านก็ไม่ได้ใส่ใจ เวลาจะใช้สิ่งใดก็แจ้งผู้เป็นแม่ และถ้าหากแม่จากไปก่อน ก็จะส่งผลให้เกิดความวุ่นวายตามมามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกรรมใดๆ ฝ่ายเดียว โดยไม่ได้บอกให้สมาชิกในบ้านได้รับรู้ พอจากไปก่อน ก็ไม่มีใครรับรู้เรื่องราวนั้นๆ เป็นการสร้างภาระให้ผู้อื่นอีกด้วย

ข้อมูลจาก : www.manager.com

มากขึ้นทุกวัน! เด็กไทยป่วยสมาธิสั้นกว่า 3 แสนคน ส่งผลเสียกับการใช้ชีวิตระยะยาว

 
เด็กสมาธิสั้น-สมาธิสั้น-โรคสมาธิสั้น-ลูกป่วย-วิธีดูแลเด็กสมาธิสั้น

พ่อแม่ต้องจัดการเวลาของลูกให้ดี เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไป เด็กเติบโตไปกับโลกเทคโนโลยี ทั้ง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ จนมีข่าวมากมายว่าเด็กติดมือถือ ติดเกม จนเป็นโรคสมาธิสั้น บางรายก็ตาอักเสบ ล่าสุดมีผลสำรวจจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ว่าเด็กไทยช่วงชั้น ป.1- 6 เป็นโรคสมาธิสั้นร้อยละ 6.5 กว่า 3 แสนคน 

สุขภาพจิต เปิดเผยว่า โรคในเด็กที่น่าเป็นห่วงและมีผลต่ออนาคตของเด็กไทยคือโรคสมาธิสั้นหรือโรคเอดีเอชดี หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่าโรคไฮเปอร์แอคทีฟ พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าที่ควร เนื่องจากไม่ได้คิดว่าเด็กป่วย โดยโรคนี้มักพบในเด็กชาย เด็กจะไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้นานๆ มีอาการหุนหันพลันแล่น อยู่ไม่สุข ควบคุมตัวเองไม่ได้ 

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญปัญหานี้มาก เนื่องจากหากไม่รักษาตั้งแต่เด็ก จะมีผลต่อการเรียนต่ออนาคตของเด็กเอง และอาจถูกทำร้ายจากผู้ปกครองหรือญาติได้จากความไม่เข้าใจ ผลสำรวจในกลุ่มเด็กไทยที่กำลังเรียนชั้น ป.1-6 ที่มีจำนวนประมาณ 5 ล้านคน พบว่าเป็นโรคสมาธิสั้น ร้อยละ 6.5 คาดว่าจะมีเด็กไทยป่วยเป็นโรคนี้ประมาณ 310,000 ราย ขณะที่ทั่วโลกพบเด็กเป็นโรคนี้ร้อยละ 5

และจากรายงานของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ พบว่าเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้หากไม่รักษาจะทำให้ 2 ใน 3 หรือประมาณร้อยละ 70 ของเด็กที่ป่วยมีอาการจนถึงผู้ใหญ่ จะมีผลเสียต่อทั้งเด็กและสังคม โดยพบว่า 1 ใน 4 ทำผิดกฎจราจร มีบุคลิกก้าวร้าว อีก 1 ใน 10 มีปัญหาใช้สารเสพติด หรือมีปัญหาสุขภาพจิตถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งมีร้อยละ 5 ที่ฆ่าตัวตายได้สำเร็จ

ไม่ใช่เรื่องที่มองข้ามได้เลยนะคะ กับปัญหาโรคสมาธิสั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องหันมาใส่ใจดูแลลูกหลาน จำกัดเวลาเล่นมือถือ เกม และหากิจกรรมอย่างอื่นทำ และควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมผิดปกติของลูกหลาน ว่าอาจสมาธิสั้นหรือไม่เพื่อที่จะพาไปรักษาตั้งแต่ยังเด็ก และรักษาหายขาดได้

หากลูกเริ่มมีอาการสมาธิสั้นแล้ว มาดูแลดังนี้เลยค่ะ
  1. จัดมุมที่เงียบสงบไว้ให้เด็กได้ทำงาน หรือทำการบ้าน ห่างจากโทรทัศน์ไม่ให้มีเสียงเข้ามารบกวนสมาธิ และจัดของใช้ที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อลดสิ่งเร้าที่ดึงความสนใจของเด็ก

  2. ใช้การสื่อสารที่สั้น กระชับ ชัดเจน ให้เด็กทวนคำสั่งว่ามีอะไรบ้าง เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นมักมีความอดทนในการฟังต่ำ

  3. ฝึกฝนวินัยในเด็ก สร้างกรอบกฎเกณฑ์ มีตารางเวลาชัดเจน ไม่ปล่อยปละละเลยหรือตามใจจนเคยตัว

  4. เบี่ยงเบนความสนใจ เมื่อเด็กดื้อหรือซนมากให้หากิจกรรมอื่นมาแทน

  5. ให้เด็กออกกำลังกายและทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว เพื่อช่วยลดพลังงานส่วนเกิน ช่วยให้มีสมาธิและลดความเครียด

  6. การนอนหลับให้เพียงพอก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้เด็กมีสมาธิและมีสุขภาพที่ดี

  7. ลดระยะเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลง แต่ทำบ่อยขึ้น เน้นเรื่องความรับผิดชอบและอดทน ตั้งเป้าหมายของกิจกรรมให้ง่ายๆ สั้นๆ อย่างชัดเจนและเสร็จเป็นชิ้นๆ ไป

  8. ควรให้คำชมหรือรางวัลเมื่อเด็กทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทำพฤติกรรมที่ดีต่อไป

 

รวม 20 เรื่องของหมอประเสริฐที่แม่ถามมากที่สุด

 การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ- เลี้ยงลูกเชิงบวก- ถามตอบกับคุณหมอ- หมอประเสริฐ- คุณหมอประเสริฐ- นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์- จิตแพทย์- หมอจิตแพทย์

รวมเรื่องของหมอประเสริฐที่แม่ถามเข้ามามากที่สุด

รวมคำถามหนักใจแม่ พร้อมคำตอบเบาใจในการเลี้ยงดูแบบเชิงบวก ฉบับ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์และนักเขียน

20 เรื่องของหมอประเสริฐที่แม่ถามเข้ามามากที่สุด

1.เรื่องไหนบ้างที่ต้องเข้มงวดกับลูก

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3szNIQs

 

2.เด็ก 9 ขวบ มีอะไรที่เราควรใส่ใจบ้าง

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3bS6Nqr

 

3.“คุณหมอคะ พี่แกล้งน้องตีน้องประจำเลย สอนไม่รู้กี่ครั้งแล้ว”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2NLeIOu

 

4.“คุณหมอคะ ลูกดื้อและงอแงประจำ พูดก็แล้ว ตีก็แล้ว ก็ไม่ฟัง”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3bOot6w

 

5.“คุณหมอคะ ทำไมหนูพูดอะไรลูกก็ไม่ฟังเลย”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2PqzMdu

 

6.สอนอะไรลูกก็ไม่ยอมเชื่อฟังแม่เลย

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3e10d3E

 

7.ลูกมีมือถือของตัวเองได้เมื่อไร

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2OdokkK

 

8.เลี้ยงลูกอย่างไร ไม่ให้เอาแต่ใจและรักสบาย

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3q2THMh

 

9.ทำไมลูกทำตัวน่ารักกับคนอื่น แต่ดื้อกับพ่อแม่

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2O9bcNA

 

10.หนักใจ พี่น้องชอบทะเลาะกัน

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3e02SKX


 

11.เมื่อจะเป็นแม่ ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3sz7z2i

 

12.ลูก “ดื้อ” รับมือให้ได้

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/30h1Ouh

 

13.การเลิกนมมื้อดึก มิได้อยู่ที่นมแต่อยู่ที่ “แม่”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3sGsZuo

 

14.เลี้ยงลูกอย่างเดียว เป็น Burn Out Syndrome ได้ไหม

คลิกอ่านบทความได้ที่ :https://bit.ly/3b4GIoQ

 

15.เมื่อมีน้อง ควรให้ความสำคัญแก่พี่มากกว่าน้องเล็กน้อย

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/381zMH9

 

16.“ฝึกลูกให้ลำบากก่อนสบายทีหลัง”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2Ppx08l

 

17."เลือกโรงเรียนอย่างไรดี"

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/380sfsk

 

18."เรียกใช้อะไรก็ไม่ทำ การบ้านก็ไม่เสร็จ"

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3uKBir2

 

19.“ให้ลูกดูทีวีได้เมื่อไรคะ และควรมีแนวทางอย่างไร”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/303nIRs

 

20."พ่อแม่ไม่มีเวลา จะให้เวลาลูกได้อย่างไร"

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/37Y8IZi

 

 นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

รักลูก The Expert Talk Ep.84 (Rerun) : เป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริงทางออก "Toxic Stress"

 

รักลูก The Expert Talk Ep.84 (Rerun) : เป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

คลี่คลายความเครียดเป็นพิษ Toxic Stress ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดทุกด้าน ด้วยการเป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง จะเป็นได้อย่างไร

 

ฟังวิธีการจาก The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

ลูกขี้อาย ชอบกลัวใช่ไหม มารู้ 7 วิธี สอนให้ลูกไม่กลัวการเข้าสังคมกันเลย

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก 

พอถึงวัยของลูกที่ต้องเรียนรู้การอยู่กับผู้อื่น พ่อแม่คือคนสำคัญที่เป็นตัวอย่างให้ลูกได้นะคะ การสอนให้ลูกรู้ว่าโลกนี้ยังมีคนอื่นๆ อีกมากมายที่วัยเดียวกับเรา โตกว่าเรา แตกต่างกับเรา แต่เราอยู่ร่วมกันได้ ฉะนั้นการสอนให้ลูกเข้าสังคมตั้งแต่ยังเล็กๆ ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี อนาคตลูกเข้าโรงเรียนก็จะเจอสังคมที่ใหญ่ขึ้น จะได้เข้ากับผู้อื่นได้ค่ะ

7 วิธี เริ่มสอนลูกเล็กๆ ให้เข้าสังคมแบบง่าย ๆ 

1. สอนให้ลูกรู้จักอารมณ์ตัวเองก่อน

โดยถามความรู้สึกของเขาต่อเหตุการณ์ที่อยู่ตรงหน้าบ่อยๆ และถ้าพ่อแม่รู้สึกโกรธลูก ก็ควรบอกความรู้สึกไปตรงๆ เพื่อให้ลูกรู้จักอารมณ์ตัวเอง และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นด้วย

2. สอนให้รู้จักมารยาทพื้นฐาน

ต้องสอนมารยาทสังคมแบบง่ายๆ ก่อนเลย ด้วยการให้ลูกรู้จักไหว้ สวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ โบกมือบ๊ายบายลา คุณพ่อคุณแม่ต้องทำให้ลูกเห็นเป็นตัวอย่างบ่อยๆ จนลูกติดเป็นนิสัย ต่อไปลูกก็จะทำได้เองโดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องสั่ง

3. สอนให้ลูกรู้จักขออนุญาต

เมื่อลูกเริ่มเรียนรู้ว่าของทุกอย่างมีเจ้าของเสมอ หากลูกหยิบข้าวของคนอื่นมาเล่น คุณพ่อคุณแม่ต้องอธิบาย ว่านี่เป็นของเขา และนี่ของหนู หากอยากเล่นให้ขออนุญาตคนอื่นเสมอ

4. พูดคุยกับลูกบ่อยๆ

เล่าเรื่องเพื่อน ญาติ คนอื่นๆ ให้ลูกฟังบ้าง เช่น แม่ไปกินข้าวกับเพื่อนมา ชื่อน้าเชอร์รี่ น้าเชอร์รี่เป็นคนน่ารักมาก ลูกต้องอยากรู้จักแน่เลย เป็นการบอกเล่าว่ายังมีเพื่อนคนอื่นๆ ที่ลูกต้องได้รู้จักในวันข้างหน้า พอไปเจอจะได้ไม่ตื่นกลัวมาก

5. พาไปรู้จักคนรอบข้าง

หลังจากเล่าเรื่องน่ารักๆ ของเพื่อน และญาติให้ลูกฟังแล้ว ก็ต้องพาลูกไปรู้จัก ไปเยี่ยมญาติ ไปเล่นกับเด็กวัยเดียวกัน เพื่อหัดเข้าสังคมเล็กๆ แบบครอบครัว เพื่อที่วันข้างหน้าลูกจะได้เข้าสังคมที่ใหญ่ขึ้นเป็น

6. ให้ผู้ใหญ่สร้างความคุ้นเคยก่อน

พ่อแม่ต้องเข้าใจ เมื่อลูก "กลัวคนแปลกหน้า" เพราะเป็นวัยของลูก ลูกจะไม่ยอมให้ใครอุ้ม ไม่เข้าใกล้คนอื่น ไม่มองหน้าคนแปลกหน้า พ่อแม่อย่าเป็นกังวล หรือบังคับลูกให้เข้ากับคนอื่นมากไป ให้ใช้วิธีผู้ใหญ่เป็นคนเข้าหาแทน ค่อยๆ สร้างความคุ้นเคยทีละน้อย เดี๋ยวก็คุ้นเคยเอง

7. มีโอกาส ก็ควรทดสอบการเข้าสังคมลูก

หากลูกไม่มีอาการกลัวคนแปลกหน้าแล้ว และสามารถเล่นกับคนอื่นได้บ้าง คุณพ่อคุณแม่อาจจะหลบออกมาให้พ้นสายตาลูกสักพัก ถ้าลูกยังร้องหาคุณก็ค่อยลองใหม่ภายหลัง หรือบางครั้งอาจเดินเข้าเดินออกจากห้องเพื่อให้ลูกมั่นใจว่า ถึงแม้แม่ไม่อยู่ แต่อีกเดี๋ยวก็คงกลับมา

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรจะสอนให้ลูกรู้จักให้และรับอย่างเหมาะสมตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กนะคะ เพราะเวลาเข้าโรงเรียนแล้วเขาจะได้เข้าสังคมที่ใหญ่ขึ้น การมีน้ำใจรู้จักแบ่งปัน คือการเริ่มต้นการเข้าสังคมที่ดีเลยค่ะ อย่าปล่อยให้ลูกกลัวการเข้าสังคมนะคะ

 

 

ลูกฉลาด พ่อแม่เลี้ยงได้แบบไม่กดดันด้วยพัฒนาการรอบด้าน

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-การเรียนรู้

ลูกฉลาด พ่อแม่เลี้ยงได้แบบไม่กดดันด้วยพัฒนาการรอบด้าน


คุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกฉลาดใช่ไหมเอ่ย อยากให้ลูกเก่งรอบด้านด้วย... จริงไหม แต่จะทำยังไงล่ะถึงจะทำให้ลูกฉลาดได้โดยที่ลูกก็ไม่เครียด พ่อแม่ก็ Happy สุดๆ เรามีคำแนะนำจาก พ.ญ.ตวงพร สุรพงษ์พิวัฒนะ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก และยังเป็นคุณแม่ลูกอ่อนด้วย ซึ่งจะมาบอกเราชัดๆ ว่า เด็กฉลาด เด็กเก่งของยุคนี้ต้องทำยังไง

ในบทบาทของผู้ให้คำปรึกษาด้านพัฒนาการเด็กควบคู่กับการเป็นคุณแม่ลูกอ่อน ช่วยให้เข้าใจและเห็นใจว่าการเป็นพ่อแม่ในยุคปัจจุบันนี้ไม่ง่ายเลยใช่มั๊ยคะ โลกเรามีความซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน ทั้งในด้านความเป็นอยู่ในครอบครัวชุมชน และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เด็กๆ ในสมัยนี้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้กันมากขึ้น มีโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อโรคอุบัติใหม่มากมาย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจทำให้พ่อแม่กังวลและเป็นห่วงในการปรับตัวและใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งมีหลายครอบครัวที่พ่อและแม่ต้องทำงานนอกบ้านทั้งคู่การใช้ชีวิตและบทบาทหน้าที่ต่างๆ ที่ทับซ้อนกันทำให้พ่อแม่จัดการบริหารเวลาหรือทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างจำกัด กลายเป็นความบีบคั้นในการใช้ชีวิต ตั้งแต่การตื่นเช้าออกจากบ้าน พ่อแม่มีเวลาอันน้อยนิดกับลูกในช่วงเช้า การกินและความเป็นอยู่ของลูกที่อาจจะฝากไว้กับคนอื่นหรือเนอร์สเซอรี่ การรีบเร่งเดินทางผ่านการจราจรที่ติดขัดทั้งเช้าและเย็น สิ่งเหล่านี้ช่วงชิงเวลาที่เด็กจะได้อยู่กับพ่อแม่แบบครอบครัวให้น้อยลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในยุคใดมาก่อน


พ่อแม่ที่ไม่สามารถจัดสมดุลชีวิตส่วนตัว การทำงาน และการอยู่กับลูก มักจะเกิดความกังวลและรู้สึกผิดว่า ตนเลี้ยงลูกได้ไม่ดีหรือไม่เต็มที่ และบ่อยครั้งที่พ่อแม่เผลอตัวเปรียบเทียบลูกตัวเองกับลูกคนอื่นทั้งๆ ที่สภาพความเป็นอยู่แต่ละบ้านนั้นไม่เหมือนกัน อาจส่งผลให้พ่อแม่ผลักดันลูกมากเกินไปเพื่อชดเชยความรู้สึกเหล่านี้ด้วยการส่งลูกเรียนพิเศษ ติวเข้มวิชาการ ซึ่งพบเห็นกันตั้งแต่ระดับอนุบาล การที่พ่อแม่ผลักดันลูกมากเกินไปจนกลายเป็นความกดดัน จะทำให้ลูกเสียเวลาและเสียโอกาสในการฝึกพัฒนาการรอบด้าน โดยเฉพาะทักษะการใช้ชีวิตและการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

ถึงเวลาที่ควรพิจารณาอย่างจริงจังว่า การมุ่งเน้นเลี้ยงลูกให้มีความฉลาดเป็นอัจฉริยะ หรือเป็นเลิศทางวิชาการ ไม่ใช่คำตอบที่เป็นสูตรสำเร็จ เด็กในยุคปัจจุบันควรได้รับการเตรียมพื้นฐานของการพัฒนาการแบบความพร้อมรอบด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และทักษะการใช้ชีวิตในสังคมอย่างบูรณาการ หมอมักจะพบปัญหาของพ่อแม่เรื่องลูกไม่มั่นใจ ไม่กล้าแสดงออก ส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากพ่อแม่ดูแลอย่างใกล้ชิดจนเด็กขาดโอกาสในการฝึกทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบตัวและเวลาที่จำกัด อีกคำถามที่พบบ่อยคือ ปัญหาลูกมีสมาธิสั้น พ่อแม่หลายคนโทษว่าเพราะอุปกรณ์ทันสมัยต่างๆ ที่ทำให้ลูกใจร้อน รอไม่ได้ ในขณะที่พ่อแม่ใช้ชีวิตประจำวันอย่างเร่งรีบและใช้อุปกรณ์เหล่านั้นเช่นกัน จนเด็กซึมซับเป็นความเคยชินตั้งแต่เล็ก

พ่อแม่คือศิลปินผู้สร้างโลกผ่านการเลี้ยงลูก ดังนั้น การเลี้ยงลูกต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เช่น การใช้เวลาอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่ว่าพ่อแม่และเด็กอยู่ในห้องเดียวกันแต่ต่างคนต่างจ้องหน้าคอมของตนเองคนละมุม การกอดการสัมผัสแสดงถึงความรักและชื่นชม การได้รับโอกาสในการฝึกทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันทีละนิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในสังคมมีผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มาจากการสอบได้ที่หนึ่งของวิชาหรือห้อง แต่มักเป็นคนที่มีความสามารถหลากหลาย ปรับตัวเข้าหากับคนได้ง่าย มีมนุษยสัมพันธ์ดี แก้ปัญหาเก่ง และรู้จักการวางตัวที่เหมาะสมกับกาลเทศะ พ่อแม่ท่านใดที่ยังกังวลเรื่องการเลี้ยงดูลูก ลองพิจารณาโพลล่าสุดที่สำรวจ ความคิดเห็นของพ่อแม่ แล้วจะพอเห็นภาพว่า เด็กยุคนี้...แค่อัจฉริยะไม่ใช่คำตอบสุดท้าย หมอขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังใส่ใจเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ที่เก่งพร้อมรอบด้าน เพื่อสังคมที่มีคุณภาพและความสุขนะคะ

นอกจากนี้เรายังมีผลการสำรวจจากสวนดุสิตโพลมาฝากค่ะ ลองไปดูกันว่าถ้าอยากให้ลูกฉลาดต้องทำยังไงบ้าง

สวนดุสิตโพล, poll, การเลี้ยงลูก, ลูกฉลาด, เด็กฉลาด, การเรียน, เรียนพิเศษ, สมาธิสั้น, นมแม่, พัฒนาการเด็ก, การเรียนรู้, เคล็ดลับลูกฉลาด, วิธีทำให้ลูกฉลาด, สอนลูกให้ฉลาด, เด็กเก่ง
สวนดุสิตโพล, poll, การเลี้ยงลูก, ลูกฉลาด, เด็กฉลาด, การเรียน, เรียนพิเศษ, สมาธิสั้น, นมแม่, พัฒนาการเด็ก, การเรียนรู้, เคล็ดลับลูกฉลาด, วิธีทำให้ลูกฉลาด, สอนลูกให้ฉลาด, เด็กเก่ง

อ่านผลสำรวจเพิ่มเติมได้ที่ >>> สวนดุสิตโพล


(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)




ลูกชอบแกล้งเพื่อน พ่อแม่ต้องปรับนิสัยลูกอย่างไร

ลูกชอบแกล้งเพื่อน, ​สาเหตุที่ลูกชอบแกล้งเพื่อน, วิธีแก้ไขนิสัยลูก, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, แม่ต้องเชื่อมั่นในตัวลูก, กระตุ้นศักยภาพลูก

ลูกชอบแกล้งเพื่อน พ่อแม่ต้องปรับนิสัยลูกอย่างไร

ทำไมตอนอยู่บ้านแล้วลูกดูปกติดี แต่คุณครูบอกว่าลูกชอบแกล้งเพื่อนร่วมชั้นและเด็กคนอื่นๆ หากลูกเป็นคนแบบนี้คุณพ่อคุณแม่จะมองข้ามไม่ได้นะคะ 

สิ่งที่ต้องทำเมื่อลูกชอบแกล้งเพื่อนมีดังนี้...

1. ต้องเปิดใจฟังเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโรงเรียนอย่างละเอียด เพื่อเข้าใจสถานการณ์จริงๆ ว่ามีตัวละครอะไรบ้าง เช่น เพื่อนคนไหนบ้าง รวมทั้งสถานที่ใดที่มักเกิดปัญหา

2. ช่วยลูกวิเคราะห์เหตุการณ์ว่า เพื่อนทำแบบนี้เพราะอะไร และเหตุใดจึงมักเกิดขึ้นที่ตรงนี้ ต้องสอนให้สมองลูกคิดวิเคราะห์ เพราะถ้าเราเอาแต่บอกอย่างเดียว สมองส่วนวิเคราะห์ของลูกจะไม่พัฒนา พอเจอสถานการณ์จริงจะคิดไม่ออก

3. ช่วยลูกคิดวิธีแก้ปัญหาจากเรื่องที่เกิดขึ้น ว่าเขาแกล้งเพื่อนเพราะอะไร และควรทำอย่างไรให้ดีกว่าการเข้าไปแกล้งเพื่อน ลูกจะมองเห็นภาพว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร คำชี้แนะนี้จับต้องได้ ไม่ใช่แค่การอบรมยาวๆ

4. คุณแม่ต้องเชื่อมั่นในตัวลูกว่าลูกจะเปลี่ยนแปลงได้ คอยถามครูว่าเขาดีขึ้นไหม คอยให้กำลังใจเขา ชื่นชมเขาเมื่อเขาทำตัวดีขึ้น อย่าสอนเขาบ่อยพร่ำเพรื่อ เพราะนั่นอาจสะท้อนว่าเราไม่มั่นใจว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงได้

5. ควรกระตุ้นศักยภาพลูกในด้านอื่น ๆ อย่าเน้นกับกิจกรรมที่ต้องมีที่หนึ่ง หรือต้องเก่ง เช่น ชื่นชอบที่ลูกวาดรูปตามจินตนาการ ชอบที่ลูกร้องเพลง หรือเล่าเรื่องชีวิตประจำวันให้ฟัง เพื่อให้เขาเกิดความภาคภูมิใจ เมื่อไปโรงเรียนสมองจะยืดหยุ่น จะได้ไม่คิดแต่ความเป็นที่หนึ่งเท่านั้น

สาเหตุที่ลูกชอบแกล้งคนอื่นนั้นเป็นเพราะว่าความรู้สึกโดดเดี่ยวในใจ หากพ่อแม่หรือคนใกล้ตัวไม่จับสังเกต ก็ไม่อาจรู้ได้ว่าเด็กมักจะรู้สึกเหงาและเศร้าอยู่ลึกๆ ดังนั้นคุณพ่อและคุณแม่ต้องมาทำความเข้าใจและแก้ไขนิสัยลูกชอบแกล้งกันนะคะ

ลูกสมาธิสั้น กับ ไฮเปอร์ พ่อแม่จะดูแลและเสริมพัฒนาการลูกได้อย่างไร?

 เด็กสมาธิสั้น-ลูกสมาธิสั้น-เด็กไฮเปอร์-ลูกไฮเปอร์-Attention Deficit Hyperactivity Disordes,-ADHD-พัฒนาการเด็กสมาธิสั้น-อาการของเด็กสมาธิสั้น-วิธีรักษาอาการสมาธิสั้น-วิธีดูแลลูกสมาธิสั้น-วิธีช่วยลูกสมาธิสั้น-วิธีสร้างสมาธิให้ลูก-การวินิจฉัยเด็กสมาธิสั้น-วิธีดูแลลูกไฮเปอร์

ลูกสมาธิสั้น กับ ไฮเปอร์ พ่อแม่จะดูแลและเสริมพัฒนาการลูกได้อย่างไร?

 

เด็กสมาธิสั้น เด็กไฮเปอร์ ลูกสมาธิสั้น อาจจะจดจ่อกับอะไรยาก แต่คุณแม่สามารถช่วยเหลือลูกสมาธิสั้นและส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกสมาธิสั้นได้ง่าย ๆ แบบนี้ค่ะ

สาเหตุของการทำให้เป็นเด็กสมาธิสั้น เด็กไฮเปอร์  

กลุ่มอาการสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disordes; ADHD) หรือที่เรียกกันว่า เด็กไฮเปอร์ เกิดจากความผิดปกติของสมอง แต่ระบุไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุใดที่ทำให้สมองผิดปกติ

ปัจจุบัน เชื่อว่าว่าอาจจะเป็นผลมาจากพันธุกรรม แต่พันธุกรรมจะมีผลและมีการถ่ายทอดอย่างไร ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน แต่มีผลต่อสมองทำให้การทำงานของสมองบางส่วนเกิดการบกพร่อง โดยเฉพาะสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมาธิ ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง นี้ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันต่อระบบสั่งงานอื่นๆ พบในเด็กอายุก่อน 7 ปี แต่อาการมักจะเด่นชัด เมื่อเด็กมีอายุ 4 - 5 ปี

และจากการตรวจในครอบครัวเด็กที่ป่วยพบว่า กลุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติเหล่านี้ได้ มักจะเป็นกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น แม่ใช้ยาหรือแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด

 

ข้อสังเกตและอาการบ่งชี้เด็กสมาธิสั้น เด็กไฮเปอร์

อาการที่สำคัญของเด็กกลุ่มสมาธิสั้นแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

1. อาการซนมากกว่าปกติ (Hyper Activity)

ลักษณะความซนจะมากกว่าเด็กทั่วไป ซนแบบไม่อยู่นิ่ง อยู่ไม่เป็นสุข ลุกลี้ลุกลนตลอดเวลา เคลื่อนไหวตลอดเวลา ซึ่งถ้าเป็นเด็กในวัยก่อนอายุ 4 - 5 ปี จะแยกได้ยาก เนื่องจากความสามารถในการควบคุมตัวเองของเด็กปกติจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก ด้านความพร้อมของพัฒนาการ

เด็กอายุก่อน 4 ปี จะมีพฤติกรรมซน ดื้อ และเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก เนื่องจากสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ซึ่งสมองส่วนหน้าทำหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ การยับยั้งชั่งใจ ซึ่งจะเริ่มทำงานได้เต็มที่หลังจากอายุ 4 - 5 ปีไปแล้ว สำหรับเด็กปกติเมื่อพ้นช่วงอายุดังกล่าวไปแล้ว ก็ค่อยๆ ลดลงไปเอง

2. อาการสมาธิสั้น หรือไม่มีสมาธิ

เด็กจะวอกแวกได้ง่าย แม้แต่สิ่งเร้าเล็กๆน้อยๆ ก็ทำให้เด็กเสียสมาธิได้ เช่น ขณะกำลังนั่งอ่านหนังสืออยู่ หากมีเสียงของตกพื้น เด็กในกลุ่มสมาธิสั้นจะหันไปทางต้นเสียงทันทีขณะอยู่ในห้องเรียน หากมีคนเดินผ่านก็จะหันไปดูทันที มีความไวต่อสิ่งเร้าภายนอก ผ่านตาหรือหูเกิดจากสิ่งเร้าภายในตัวของเด็กเอง มักจะแสดงออกด้วยอาการเหม่อลอย นั่งนิ่งๆ เป็นเวลานาน เหม่อบ่อยอาจแสดงออกในรูปของการทำงานไม่ค่อยสำเร็จ เพราะในขณะทำงาน ใจก็จะไปคิดถึงเรื่องอื่น ทำให้งานเสร็จช้า ต้องค่อยจ่ำจี้จ่ำไช งานจึงจะสำเร็จลุล่วง ซึ่งเด็กที่ไม่ได้เป็น ไฮเปอร์ อาจทำงานไม่สำเร็จก็ได้ เพราะขาดแรงจูงใจ ไม่มีกำลังใจ หรือซึมเศร้า แต่จะสามารถทำกิจวัตรประจำวัน อย่างสม่ำเสมอส่วนเด็กไฮเปอร์อาจมีอาการขี้เกียจได้ เช่นเดียวกัน แต่ความสามารถทำกิจวัตรประจำวันและความตรงต่อเวลามักพบว่ามีความบกพร่องร่วมด้วย ซึ่งไม่ได้เกิดจากอุปนิสัย แต่เกิดจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ ที่ต่างจากเด็กปกติ

3. อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsive)

เด็กมักจะแสดงออกในลักษณะที่รอคอยไม่เป็น พูดแทรกขึ้นในทันทีขณะที่คนอื่นกำลังคุยกันอยู่ อยากพูดก็จะพูดเลย ไม่คำนึงถึงความเหมาะสม เพราะไม่สามารถอดทนรอให้การสนทนานั้นจบเสียก่อนไม่ฟังคำพูดหรือคำขอให้จบก่อน ก็จะรีบลุก รีบวิ่งไปหยิบของนั้นมาให้ แสดงออกในลักษณะรีบเร่ง หุนหันพลันแล่น รอคอยไม่เป็น ซึ่งมักเป็นเหตุเกิดอุบัติเหตุต่อกับเด็กได้ง่ายหงุดหงิดง่าย เล่นแรง ต้องแยกระหว่างเด็กปกติด้วย เพราะเด็กปกติ ก็จะอาจดูเจ้าอารมณ์ เมื่อถูกขัดใจ เป็นเพราะพัฒนาการที่ยังไม่สมบูรณ์ของสมองส่วนหน้า ทำให้ไม่สามารถควบคุมการการยับยั้งชั่งใจหรืออธิบายความต้องการความคับข้องใจของตนเองได้เต็มที่ ในเด็กปกติ หลังจากอายุ 4 - 5 ปีไปแล้ว ก็ค่อยๆ ลดลงไปเอง

จากลักษณะอาการสำคัญทั้ง 3 ของกลุ่มเด็กสมาธิสั้น เด็กอาจมีลักษณะครบทั้ง 3 กลุ่ม หรืออาจมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่เด่นหรืออาจมีลักษณะเด่นร่วมกัน1 - 2 อาการเลยก็ได้

สำหรับเด็กที่ผ่านการฝึกระเบียบวินัย และความอดทนอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถควบคุมตัวเองได้ดี ได้เรียนรู้ จดจำประสบการณ์ในเชิงลบจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และการถูกทำโทษ ที่จะช่วยเตือนไม่ให้เด็กซนหรือทำผิดซ้ำอีก

ดังนั้น หากเด็กอายุเกิน 5 ปี และการได้รับการดูแลเอาใจใส่ดี ฝึกระเบียบวินัย และเสริมสร้างความอดทนรอคอย แต่ยังคงอาการซุกซนอยู่ไม่สุขไม่เข็ดจำ เจ็บตัวต่อเนื่อง อาจต้องส่งตรวจประเมินความเสี่ยงสมาธิสั้นโดยผู้เชี่ยวชาญหรือพาไปพบแพทย์

การวินิจฉัยทางการแพทย์

ในการวินิจฉัยจะเปรียบเทียบกับเด็กธรรมดาทั่วไป โดยดูจากการทำงานหรือทำกิจกรรม ที่มักไม่ค่อยสำเร็จและชอบรบกวนเด็กคนอื่นมากกว่าปกติทั่วไป

ในการเล่น ก็มักเล่นไม่จบ เช่น เล่นต่อตัวต่อ ซึ่งเด็กทั่วไปในวัย 7 - 8 ปี จะนั่งเล่นตัวต่อจนเป็นรูปเป็นร่างได้ แต่ในเด็กกลุ่มสมาธิสั้นอาจทำไม่สำเร็จ หรือเด็กทั่วไปสามารถนั่งเล่นอยู่กับที่ได้นานประมาณ 15 - 30 นาที แต่หากเด็กนั่งเล่นอยู่กับที่ไม่ได้ อาจสันนิษฐานในเบื้องต้นว่า อยู่ในกลุ่มสมาธิสั้น

แพทย์จะต้องทำการทดสอบและสังเกตจากปัญหาการเรียนเป็นหลัก โดยภาพรวมแพทย์จะประเมินจากอาการและข้อบ่งชี้ของการเป็นสมาธิสั้นก่อน เพื่อดูว่าเป็นไฮเปอร์แท้ หรือไม่

เช่นดูว่า เด็กซนมาก ไม่มีสมาธิจดจ่อ ทำอะไรได้ไม่นาน หุนหันพลันแล่น อยู่ไม่นิ่ง ชอบปีนป่าย ความสามารถในการควบคุมตัวเองต่ำ ชอบทำของหาย หรือลืมเป็นประจำ มีพฤติกรรมไม่สมกับวัยของเด็ก ซึ่งเป็นก่อนอายุ 7 ปี และเป็นต่อเนื่องมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน ทำให้เด็กมีปัญหาในการปรับตัวและการดำรงชีวิตทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน

และยังจะต้องประเมินจากหลายอย่าง เพราะอาจจะเป็น ไฮเปอร์เทียม ที่มีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูก็ได้ เช่น พ่อแม่ตามใจมากเกินไป ไม่ปลูกฝังเด็กเรื่องวินัยในตนเอง เด็กไม่รู้จักควบคุมตนเอง ไม่มีความรับผิดชอบอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นเร้ามากไป ทั้งของเล่นจำนวนมาก ห้องนอนเสียงดัง เป็นต้นอยู่ในภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล เช่น แม่เพิ่งจะคลอดน้องใหม่ หรือตัวเองเด็กเองเพิ่งเข้าโรงเรียน หรือได้ยินพ่อแม่ทะเลาะกัน สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้เด็กเรียกร้องความสนใจ เด็กอาจจะอยู่ไม่นิ่ง จนเข้าใจไปว่าเป็นเด็กไฮเปอร์ฉลาดมากไปหรือไม่ก็ปัญญาอ่อน เพราะเด็กที่ฉลาดมาก จะเบื่ออะไรได้ง่ายๆ เพราะไม่มีอะไรน่าสนใจแล้วก็จะเปลี่ยนไปทำหรือเล่นอย่างอื่น ทำให้ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งไหนได้ง่ายๆ แต่ถ้าเด็กพบสิ่งของหรือกิจกรรมที่ทำให้สนใจขึ้นมา สมาธิก็จะกลับมาได้

และเด็กที่มีปัญหาการเรียน มีได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากคนรอบข้างทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กเรียนไม่ดีได้ ซึ่งแพทย์จะต้องพิจารณาจากหลายๆ ด้าน ก่อนจะสรุปว่า ปัญหาของเด็กมาจากสิ่งแวดล้อมหรือจากความผิดปกติของเด็กเอง


เด็กสมาธิสั้น-ลูกสมาธิสั้น-เด็กไฮเปอร์-ลูกไฮเปอร์-Attention Deficit Hyperactivity Disordes,-ADHD-พัฒนาการเด็กสมาธิสั้น-อาการของเด็กสมาธิสั้น-วิธีรักษาอาการสมาธิสั้น-วิธีดูแลลูกสมาธิสั้น-วิธีช่วยลูกสมาธิสั้น-วิธีสร้างสมาธิให้ลูก-การวินิจฉัยเด็กสมาธิสั้น-วิธีดูแลลูกไฮเปอร์

การรักษาเด็กสมาธิสั้น เด็กไฮเปอร์

แพทย์จะดูประวัติอย่างละเอียด ทั้งสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูที่บ้านและพฤติกรรมที่โรงเรียน เพื่อให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ของเด็ก นำไปปรับพฤติกรรมและวิธีการเลี้ยงดู ถ้าพบว่าเป็นไฮเปอร์แท้ หรือสมาธิสั้นแบบแท้ แพทย์อาจจะให้ยาควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมของเด็ก การปรับพฤติกรรมมีดังนี้

  • จัดตารางชีวิตให้เป็นระบบ มีตารางในชีวิตประจำวัน ให้เด็กทำตามอย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่ตื่นนอน อาบน้ำ แปรงฟัน ถ่ายหนัก-เบา แต่งตัว ทานข้าวและอื่นๆ โดยพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดเป็นคนคอยบอกและดูแลทุกขั้นตอน เพื่อนำไปสู่การรู้จักควบคุมตนเอง เป็นการเสริมให้เด็กมีสมาธิในทางอ้อม
  • เลือกกิจกรรมให้เหมาะสม หากิจกรรมให้เด็กทำ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ชกมวย กระโดดเชือก หรือเตะฟุตบอล เพราะเด็กจะไม่สามารถจดจ่อหรืออยู่นิ่งได้นาน
  • ทำงานบ้าน หัดให้เด็กรู้จักรับผิดชอบงานในบ้าน เช่น ล้างจาน เก็บเศษใบไม้ ล้างรถ ล้างห้องน้ำ เป็นต้น โดยการจัดตารางงานให้ทำเป็นเวลา เพื่อสร้างระเบียบพื้นฐานในบ้าน
  • ช่วยฝึกวินัยในการตรงต่อเวลา ให้เด็กรู้ว่าต้องทำงานเสร็จเมื่อใด เป็นต้น และเมื่อเด็กทำงานชิ้นไหนสำเร็จด้วยดี ควรมีรางวัลให้เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ
  • สอนแบบค่อยเป็นค่อยไป บางเรื่องเด็กอาจจะไม่รู้และไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เช่น ปิดโทรทัศน์เมื่อดูการ์ตูนจบ หรือกดชักโครกเมื่อเข้าห้องน้ำเสร็จแล้ว หรืออื่นๆ

เพราะเด็กสมาธิสั้นส่วนมาก จะไม่รู้ตัวว่าต้องทำอะไร จนกว่าจะมีคนคอยบอกคอยสอน ให้เวลา มีเวลาให้กับเด็ก เล่นกับเด็ก เล่านิทาน หรือพาไปเที่ยวในที่ๆ เด็กอยากไป แต่ไม่ใช่สถานที่อึกทึกวุ่นวาย จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ภายในบ้านต้องไม่มีสิ่งรบกวนหรือสิ่งเร้าต่อเด็กมากเกินไป ต้องจัดห้องและบ้านให้เป็นระเบียบ เก็บของเล่นเข้าที่ มีบรรยากาศสบายๆ ไม่วุ่นวาย ไม่เปิดเพลงเสียงดัง และไม่ปล่อยให้เด็กดูโทรทัศน์หรือเล่นคอมพิวเตอร์มากเกินไป หากเด็กได้รับความเอาใจใส่ เด็กจะรับรู้ได้ถึงความรักและความเข้าใจที่คนใกล้ชิดมีให้ พฤติกรรมต่างๆ เช่น ความก้าวร้าวที่มากับอาการของโรคสมาธิสั้นจะลดลงได้

หากเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีในวัยเด็ก จะส่งผลต่อเนื่องไปจนโต อาจกลายเป็นคนที่ทำอะไรไม่ค่อยสำเร็จ ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้า กลัว ซึมเศร้า ซึ่งคนในกลุ่มนี้จะมองว่า ตัวเองไร้ค่า อาจถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะเปลี่ยนพฤติกรรมเป็น คนเกเร ก้าวร้าว ต่อต้านสังคม ซึ่งคนในสองกลุ่มดังกล่าว มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มเด็กสมาธิสั้นที่เริ่มโตขึ้น แต่ก็มีบางส่วนที่อาจจะเป็นไปในทิศทางที่ดี เพราะมีพรสวรรค์ด้านอื่นเป็นพิเศษมาช่วยชดเชย ทำให้เด็กเกิดความภูมิใจ หรือพ่อแม่และคนในครอบครัว มีความเข้าใจจึงดูแลเป็นอย่างดี

 

การช่วยเหลือทางจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว

ในการปรับพฤติกรรมของเด็กไฮเปอร์หรือเด็กสมาธิสั้น ควรจะไปไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป กว่าที่พฤติกรรมจะเปลี่ยน หรือเกิดการพัฒนาจะต้องอาศัยเวลา ไม่สามารถเปลี่ยนได้ในเวลาสั้นๆ พ่อแม่และคนในครอบครัว จึงมีความสำคัญมาก เพราะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้น แล้วค่อยๆ ลดบทบาทลงทีละน้อยๆ จนเด็กสามารถทำด้วยตนเองได้

นอกจากนั้น ยังต้องสรรหากิจกรรมต่างๆ มาช่วยเสริมทักษะด้านต่างๆ ให้กับเด็ก ต้องเป็นกิจกรรมที่ปลอดความรุนแรง เพราะถ้าเลือกกิจกรรมไม่เหมาะสม จะกลายไปเป็นการกระตุ้นอาการสมาธิสั้นทำให้อาการแย่ลงไปอีก และที่สำคัญต้องไม่ใช้ความรุนแรงในการลงโทษ โดยจะต้องเปลี่ยนการลงโทษเป็นการตกลงกันก่อน เช่น ลดเวลาดูโทรทัศน์ลง เมื่อเด็กไม่ทำตามกติกา เป็นต้น

การฝึกให้เด็กนั่งอยู่กับที่ และทำกิจกรรมอะไรสักอย่างโดยที่เด็กจะค่อยๆ เพิ่มเวลาให้ความสนใจสิ่งนั้นขึ้นเรื่อยๆ จาก 3 นาทีเป็น 5 นาที เป็น 7 นาทีไปเรื่อยๆ พ่อแม่ควรให้คำชมเชย เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และในที่สุดก็จะให้ความร่วมมือกับพ่อแม่อย่างดี

ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องมีทั้งความเข้าใจในโรค ในตัวเด็ก และมีความอดทนเพียงพอ ที่จะดูแลและเพื่อให้เด็กหายจากอาการสมาธิสั้นได้

การช่วยเหลือทางด้านการเรียน

ถ้าไม่ได้รับการรักษา เด็กที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาในการเรียนและนอกจากนั้นยังจะมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เช่น การคบเพื่อน การอยู่ในสังคมร่วมกับคนอื่น เพราะพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นก่อให้เกิดความรำคาญต่อคนอื่นไม่น้อย

ปัญหาการเรียน

        • เมื่อเด็กขาดสมาธิที่จะตั้งใจฟังครู ไม่ตั้งใจเรียน ไม่สนใจฟังครูสอนหรือสั่งการบ้าน ส่งผลให้เด็กเรียนไม่เข้าใจ ทำงานส่งครูไม่ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพตามที่ควรเป็น
        • การเรียนของเด็กไม่ดี เพราะบทเรียนของวันนี้ ยังไม่ทันจะทำความเข้าใจให้ดี วันรุ่งขึ้นก็มีบทเรียนใหม่เข้ามาอีก ทำให้เรียนไม่ทันเพื่อน ก็จะกลายเป็นเบื่อแล้วไม่อยากเรียน
        • เมื่อไม่มีสมาธิก็จะยุกยิกตลอดเวลา แกล้งเพื่อน ชวนเพื่อนคุย ทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง ผลการเรียนก็ออกมาไม่ดี
        • เด็กมักถูกครูทำโทษจากพฤติกรรมของโรคสมาธิสั้นที่แสดงออกมา ทำให้เด็กรู้สึกไม่ดีเพิ่มขึ้นอีก เด็กจึงมักมีปัญหาด้านอารมณ์และความวิตกกังวลตามมา
        • เด็กไม่สามารถอดทนนั่งทำข้อสอบที่ยากและน่าเบื่อได้
        • เมื่อประเมินผลการเรียน ผลที่ได้ออกมาไม่ดีเท่าเด็กปกติ ก็จะส่งผลต่อเนื่อง ทำให้เด็กรู้สึกแย่กับตัวเอง มองตัวเองว่า ไม่เก่ง ไม่ดี โง่กว่าเพื่อน
        • ในเด็กบางคนที่มีไอคิวดี แต่มีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วย เมื่อเด็กไม่ตั้งใจฟังครูสอน แต่ก็สามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดี ทั้งที่แสดงออกเหมือนไม่ได้ตั้งใจฟังเลย ลักษณะอย่างนี้บางครั้งก็กลับกลายไปเป็นผลเสียต่อเพื่อนที่นั่งเรียนอยู่ข้างๆ เพราะในช่วงไม่มีสมาธิก็จะหันไปชวนเพื่อนคุย พลอยทำให้เพื่อนไม่มีสมาธิในการเรียนไปด้วย และเหมือนเป็นตัวปัญหาของชั้นเรียน ทำให้ความสัมพันธ์ต่อคนอื่นไม่ดีไปด้วย

ถ้าครูไม่เข้าใจก็จะตำหนิลงโทษ เด็กก็จะเสียกำลังใจ ไม่อยากไปเรียน ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจก็จะตามมา เริ่มโดดเรียน หนีเรียน หรือไม่ก็แสดงออกอย่างอื่น เช่น ก้าวร้าว อาละวาด เป็นต้น

สิ่งที่ครูควรทำ

ถือเป็นเรื่องสำคัญ ครูจะต้องจัดลำดับกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสม

        • การวาดรูป ระบายสี หรือศิลปะจะช่วยทำให้เด็กสงบ มีสมาธิมากขึ้น เด็กกลุ่มนี้จะเรียนได้ดีในวิชาศิลปะ ครูอาจจะเพิ่มเวลาเรียนวิชาศิลปะให้มากขึ้น
        • เด็กไม่ควรอยู่ในห้องที่มีสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่เยอะ แขวนระโยงระยาง ควรจัดให้เรียนให้ห้องที่สงบ โปร่งโล่ง
        • ครูต้องเลือกวิชาและจัดบรรยากาศให้เหมาะสมกับเด็ก
        • ครูอาจต้องแยกเด็กไฮเปอร์ ออกจากเพื่อนเพื่อไม่ให้รบกวนการเรียนของเด็กคนอื่น
        • ครูต้องคอยสังเกตว่า ยาที่แพทย์ให้มานั้นเด็กกินแล้วเป็นอย่างไร และรายงานผลกลับไปที่แพทย์ด้วย เช่น ยาตัวนี้เด็กกินแล้วไม่ซน แต่ง่วงหลับตลอดวัน ก็ต้องมีการปรับตัวยา เพราะเท่ากับเด็กไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย

สำหรับเด็กไฮเปอร์ ครูจะต้องประสานกับพ่อแม่หรือแพทย์ผู้ดูแลรักษา เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ ของเด็ก และหากครูมีความเข้าใจและให้ความรักเด็กที่เป็นโรคนี้ การปรับพฤติกรรมก็จะง่ายขึ้นเมื่อเด็กให้ความร่วมมือ

​ลูกเราจะ‘ช่วยเหลือแบ่งปัน’กันได้เอง ถ้าพ่อแม่ฝึกฝนด้วย 5 วิธีต่อไปนี้

สอนลูกรู้จักการแบ่งปัน, แบ่งปัน, สอนลูก, พี่น้อง, พี่น้องรักกัน, พี่น้องไม่อิจฉากัน, พี่น้องแบ่งปันกัน 

การสอนให้ลูกรู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น คือการเตรียมความพร้อมให้ลูกทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง เพื่อให้ลูกรู้จักปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่ มีเพื่อนใหม่ และการเรียนรู้ใหม่ๆ หากไม่เริ่มตั้งแต่เด็กๆ โตไปอาจจะสอนยากขึ้นนะคะ เราจึงมีคำแนะนำในการสอนให้ได้ผลดังนี้ค่ะ

​ลูกเราจะ‘ช่วยเหลือแบ่งปัน’กันได้เอง ถ้าพ่อแม่ฝึกฝนด้วย 5 วิธีต่อไปนี้

  1. ปล่อยให้ลูกคิดและลงมือทำเอง

เด็กๆ อยู่ในวัยอยากรู้ อยากเห็น อยากลอง คุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ลองคิดและลงมือทำเอง ในขณะที่คุณพ่อคุณแม่คอยดูแลและสนับสนุนอยู่ใกล้ๆ เพื่อทำให้ลูกมีความกล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ทุกวันค่ะ

  1. สอนให้เข้าใจผู้อื่น

โดยสอนจากเรื่องใกล้ตัวได้ เช่น เวลาหนูโดนเพื่อนตีแรงๆ หนูจะเจ็บและไม่อยากเล่นกับเพื่อนคนนั้น ถ้าหนูไปตีเพื่อน เพื่อนก็จะเจ็บไม่อยากเล่นกับหนูเหมือนกันให้สอนทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ ลูกจะได้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น

  1. การสอนให้แบ่งปัน

คุณแม่สอนได้ง่ายๆ ด้วยการให้ลูกแบ่งขนมหรือของเล่นกับคุณแม่ก่อน จากนั้นค่อยๆ สอนให้แบ่งกับเพื่อน ซึ่งจะช่วยให้ลูกไม่หวงของ รู้จักแบ่งปัน

  1. สอนให้ช่วยเหลือผู้อื่น

สิ่งเหล่านี้จะได้ติดเป็นนิสัยที่ทำโดยอัตโนมัติ ไม่หวังสิ่งใดตอบแทนใดๆ เริ่มจากให้ลูกช่วยแม่ถือของ ให้ลูกช่วยพ่อรดน้ำต้นไม้ หรือหากไปเจอเหตุการณ์คนอื่นช่วยคนแก่ข้ามถนน ก็ให้สอนว่าลูกว่า เขากำลังทำความดีอยู่ หากลูกมีโอกาสได้ช่วย ก็ควรช่วยนะ

  1. พาทำกิจกรรมจิตอาสา

ให้คุณพ่อคุณแม่ชวนลูกมาเลือกของเล่น หรือเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วไปบริจาค นอกจากจะช่วยฝึกให้เขารู้จักแยกแยะของที่จำเป็น และไม่จำเป็นแล้ว ยังช่วยฝึกให้ลูกรู้จักกิจกรรมจิตอาสาแบ่งปันผู้อื่น และเมื่อโตขึ้นกว่านี้ ลูกจะเข้าใจได้เองว่าทำไมต้องช่วยเหลือผู้อื่น

 

ไม่ยากเลยใช่ไหมคะที่จะสอนให้ลูกมีน้ำใจ รู้จักแบ่งปัน อีกหนึ่งวิธีที่เด็ดที่สุดคือ พ่อแม่นี่ล่ะค่ะต้องทำตัวเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นเสมอ เช่น พ่อแม่แบ่งขนมให้ลูก แบ่งขนมกับคนข้างบ้าน เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการสอนเรื่องน้ำใจแล้ว ยังเป็นการสร้างสังคมเพื่อนที่ดีที่คอยช่วยเหลือกันได้ด้วยค่ะ

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก





 

สอนลูกให้เอาตัวรอดเมื่อถูกลืมไว้บนรถ

ลืมเด็กไว้ในรถ, สอนลูกรับมือกับเหตุการณ์ลืมเด็กไว้ในรถ, สายด่วน1669, 1669, ป้องกันการลืมเด็กในรถ, การเลี้ยงลูก, รถโรงเรียน, รถรับส่งเด็กนักเรียน, เด็กติดในรถ, เด็กเสียชีวิตในรถ, สถิติเด็กถูกลืมไว้ในรถ, ข้อควรจำ, นับ ตรวจตรา อย่าประมาท, ข่าวเด็ก, เด็กเสียชีวิต, เด็กถูกลืมไว้บนรถ, เด็กถูกลืมไว้บนรถเสียชีวิต, สาเหตุการเสียชีวิตของเด็กไทย 

เหตุการณ์ลืมเด็กในรถเกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทยเรานะคะ ทางรักลูกมีคำแนะนำดีๆ สำหรับสอนลูกเมื่อต้องเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ต้องทำอย่างไร และคำแนะนำสำหรับคนขับรถนักเรียน รวมถึงผู้ปกครอง เพื่อป้องกันการลืมเด็กในรถ มาฝากค่ะ 

ข้อมูลเฝ้าระวังโรคของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค พบว่า ในช่วง 5 ปี มีเหตุการณ์ที่เด็กถูกลืมทิ้งไว้ในรถจำนวน 106 เหตุการณ์ เด็กเสียชีวิตทั้งหมด 5 ราย เป็นเพศหญิง 3 ราย เพศชาย 2 ราย อายุอยู่ระหว่าง 3 - 6 ปี โดยเกิดเหตุขึ้นในรถรับจ้างรับส่งนักเรียน 4 ราย และรถยนต์ส่วนบุคคล 1 ราย ทั้งหมดถูกลืมทิ้งไว้ในรถนานกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป โดยเกิดขึ้นขณะเด็กนอนหลับและจอดรถไว้หลังจากรับส่งนักเรียนเสร็จ  

วิธีสอนลูกเมื่อเกิดเหตุการณ์ลืมเด็กไว้ในรถ ต้องทำอย่างไร
  1. อันดับแรก สอนให้ลูกตั้งสติ ไม่ต้องกลัว เพื่อแก้ไขปัญหา
  2. สอนลูกให้รู้จักช่วยเหลือตัวเอง โดยการให้ลูกบีบแตรรถ หรือเปิดกระจกเพื่อขอความช่วยเหลือ (กรณีที่เสียบกุญแจหรือสตาร์ทรถทิ้งไว้) 
  3. สอนลูกให้รู้จักปลดล็อกประตู เมื่อติดอยู่ด้านใน 
  4. เคาะกระจก เรียกคนมาช่วย และตะโกนขอความช่วยเหลือจากคนข้างนอก  
 3 ข้อควรจำ สำหรับครู คนขับรถ และผู้ปกครอง เพื่อป้องกันการลืมเด็กในรถ “นับ ตรวจตรา อย่าประมาท” 
  1. นับ จำนวนเด็กก่อนขึ้นและหลังลงจากรถทุกครั้ง  เมื่อเด็กลงจากรถเพื่อจะเข้าโรงเรียน ครูพี่เลี้ยงควรเช็คชื่ออีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่ามีจำนวนเด็กขึ้นรถและลงรถเท่ากัน เป็นการตรวจสอบย้ำว่าไม่มีเด็กคนไหนถูกลืมทิ้งไว้บนรถ
  2. ตรวจตรา ก่อนล็อคประตูรถ ตรวจดูให้ทั่วรถ เมื่อเด็กๆ ลงจากรถครบแล้วควรเดินตรวจภายในรถอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบว่ามีเด็กคนไหนหลับหรือหลบอยู่โดยที่ครูไม่ทันสังเกตหรือไม่ รวมถึงจะได้สามารถตรวจสอบสิ่งของที่ลืมไว้บนรถด้วย
  3. อย่าประมาท อย่าทิ้งเด็กไว้เพียงลำพัง แม้ว่าจะลงไปทำธุระเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ก็ตาม  อุ้มหรือพาเด็กลงจากรถด้วยทุกครั้ง ไม่ว่าคุณจะคิดว่าลงรถไปเพื่อซื้อของเล็กน้อย หรือเพียงแต่เดินไปเก็บของที่กระโปรงหลังรถ เพราะเด็กมักซุกซนและไม่รู้ระบบภายในรถ เด็กอาจจะกดเซ็นทรัลล็อก เบรกมือ หรือเหยียบคันเร่ง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ รวมถึงช่วงเวลาอากาศร้อนๆ อาจทำให้เด็กเกิดอาการช๊อค หมดสติ เพราะขาดอากาศหายใจได้นะคะ

หากพบเห็นเด็กถูกลืมไว้ในรถ ขอให้เรียกหาเจ้าของรถ เพื่อให้มาเปิดรถโดยเร็วนะคะ ถ้ากรณีที่ไม่พบเจ้าของรถ ก็ต้องขอให้คนรอบข้างช่วยเหลือค่ะ และรีบโทร.1669 ขอความช่วยเหลือจากทีมแพทย์กู้ชีพ

เกราะป้องกัน ลูก ถูกรังแกในโรงเรียน

 การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

เมื่อลูกถูกรังแก คนเป็นพ่อเป็นแม่คงจะไม่ยอม...และถึงแม้ต้องเตรียมทำใจว่าหลีกเลี่ยงยากอยู่เหมือนกัน แต่นี่ก็น่าจะเป็นการเตือนให้พ่อแม่เตรียมรับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และไม่มองว่าการรังแกกันในโรงเรียนเป็นเพียงการเล่นซนของเด็กเช่นกัน

ถ้าลูกมีอะไรก็เล่าให้เราฟังหมด ค่อยเบาใจว่ารู้ปัญหาเร็ว ช่วยแก้ได้ทันก่อนจะลุกลาม แต่ถ้าเราเป็นพ่อแม่ที่แค่ลูกอ้าปากก็ว้ากใส่ก่อนแล้ว หรือพอเล่าเรื่องให้ฟังกลับถูกตีซ้ำ เด็กก็จะปิดปากเงียบ ทนเจ็บเพียงลำพังดีกว่า ถ้าปล่อยเรื้อรังอาจอันตราย คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดใจและให้เวลากับลูก ต้องรับฟังด้วยท่าทีสนใจและให้กำลังใจเสมอ สำหรับเด็กที่ไม่กล้าบอก ก็พอจะสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของเขาได้  

สัญญาณเตือน..ลูกถูกรังแก

1.เด็กที่ถูกรังแกมักจะมีบุคลิกที่ดูบอบบาง อ่อนแอ ขี้ขลาด ขี้กังวล อ่อนไหว และขี้อาย

2.กลัวการไปโรงเรียน

3.จากที่ร่าเริงกลายเป็นเด็กที่ขี้อาย เก็บตัว ไม่พูดจา ไม่อยากเล่นกับใคร

4.ผลการเรียนตกต่ำ

5.กินน้อยหรือไม่อยากกินอาหาร

6.ร้องไห้ก่อนจะหลับเป็นประจำ

7.ไม่ค่อยมีเพื่อน

8.ทุกครั้งที่ถามว่ามีปัญหาอะไรก็จะบอกเพียงว่า "เปล่า" และอยู่ๆ ก็พูดเรื่องอยากหนีหายไปจากโลก  

หากพบพฤติกรรมเหล่านี้ ลองหาวันที่สบายๆ พูดคุยกับลูกเรื่องที่โรงเรียน ถามถึงเพื่อนๆ ของลูก หากเขายังไม่ปริปากพูด ก็คงต้องเข้าไปปรึกษาไถ่ถามกับคุณครูที่โรงเรียนกันแล้ว  

ช่วยลูกลุกขึ้นเมื่อถูกรังแก เมื่อรับรู้ว่าลูกมีปัญหา ถือโอกาสนี้บอกกับลูกว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาของสังคมที่ต้องมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกันอยู่ ลูกเป็นเด็กดี ส่วนคนที่มารังแกนั้นเป็นเด็กไม่ดี เพราะฉะนั้นอย่าแก้ไขปัญหาด้วยการทำตัวแบบเด็กไม่ดี

ดังนั้นอย่างแรกที่คุณแม่ต้องทำคือตั้งสติ ชวนลูกมานั่งวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเพื่อหาทางออกร่วมกัน คิดว่านี่เป็นโอกาสทองที่ลูกจะได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้กล้าเผชิญกับปัญหาอื่นๆ ต่อไปได้ พ่อแม่ต้องเป็นตัวช่วยและเป็นกำลังใจให้ลูก แนะนำลูกทำวิธีนี้ โดยต้องให้ลูกลองทำเอง พ่อแม่เป็นเพียงพี่เลี้ยงก็พอ  

  • ไม่ต้องไปใส่ใจกับเสียงหัวเราะที่เพื่อนแกล้งด่าว่าเรา เพราะการมีอารมณ์ตอบโต้เป็นอาวุธที่ดีสำหรับเด็กที่ชอบข่มขู่หรือรังแกเพื่อน พวกเขามองว่าเป็นเรื่องสนุก ถ้าทำเฉยๆ ซะให้เขาผิดหวังครั้งต่อไปก็ไม่แกล้งแล้วเพราะหมดสนุก  

  • ไม่ต้องฟังเพื่อนที่ชอบเหน็บแนม ให้เดินหนี หรือตอบว่า "ไม่"แล้วเดินไป  

  • ไปไหนมาไหนกับเพื่อนเป็นกลุ่มๆ อย่าแยกเดินคนเดียว  

  • หาเพื่อนที่ไว้ใจได้ คบกันเป็นกลุ่ม เพราะการมีพวกทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น  

  • ถ้าถึงขั้นรุนแรงก็ควรบอกคุณครู หรือผู้ใหญ่  

  • อย่าตอบโต้ด้วยกำลังเด็ดขาด เพราะผลจะได้ไม่คุ้มเสีย

สร้างเกราะป้องกัน ภูผาไม่หวั่นด้วยแรงลมฉันใด เด็กที่เข้มแข็งทั้งกายและใจ ย่อมไม่หวั่นต่อการถูกรังแกฉันนั้น  

ในระยะยาว เด็กที่ถูกรังแกอาจกลายเป็นคนไม่เชื่อมั่นในตัวเอง และอาจเป็นโรคซึมเศร้า จนถึงขั้นฆ่าตัวตาย ดังนั้นผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่หรือครูจึงต้องจัดการกับปัญหานี้ตั้งแต่แรก และสอนให้เด็กเรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมให้ได้ด้วยตัวเองไปพร้อมๆกัน ด้วยการสร้างลูกให้เข้มแข็งโดยการบ่มเพราะฮีโร่ในตัวเขาให้กลายเป็นอาวุธถาวร

เพราะเด็กที่ถูกรังแกจะสูญเสียความมั่นใจ ต้องเรียกขวัญและกำลังใจกลับมาให้เขามองเห็นคุณค่าของตนเสียก่อน ให้เขามองเข้าไปภายในและภูมิใจในความเป็นตัวเอง แม้จะตัวเล็ก ผิวดำ ผมหยิก พูดน้อย ไม่เก่งเลข เขาก็ยังเป็นลูกรักของพ่อและแม่เสมอ ชี้ให้เขามีทัศนคติที่ดีต่อตัวเองและผู้อื่น  

แม้ปัจจุบันหลายโรงเรียนมีมาตรการในเรื่องนี้ ทั้งตักเตือน ทำโทษ ไล่ออก แต่ถ้าไม่มีการรังแกกันเกิดขึ้นเลยคงดีกว่าจะได้ช่วยลดภาวะการใช้ความรุนแรงที่ล้นโลกอยู่ในขณะนี้ได้ไม่น้อยทีเดียว  

แล้วใครล่ะที่จะกอบกู้สถานการณ์โลกแห่งความรุนแรงนี้ได้ ถ้าไม่ใช่...คุณครูและพ่อแม่ ช่วยกันคนละไม้ละมือค่ะ

 

เด็ก 3 ขวบ ควรฝึกระเบียบวินัย การรอคอย การเข้าสังคม มากกว่าการเรียนเขียนอ่าน

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

เด็ก 3 ขวบ ควรฝึกระเบียบวินัย การรอคอย การเข้าสังคม มากกว่าการเรียนเขียนอ่าน

เนื่องจากปัจจุบันหลักเกณฑ์ใหม่ในการรับเด็กอนุบาล 1 เริ่มต้นที่อายุ 3 ขวบจากเดิมกำหนดที่ 4 ขวบ ก็ทำให้จิตแพทย์เป็นห่วงว่าเด็กจะเข้าเรียนเร็วเกินไป ขาดการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในอีกหลายๆ ด้าน เพราะปัจจุบันพ่อแม่ผู้ปกครองก็มีการแข่งขันความสามารถของลูกว่าใครสามารถอ่านออกเขียนได้ก่อน โดยให้ลูกฝึกเรียนเขียนอ่านตั้งแต่ยังเล็กนั้นจะเป็นปัญหาระยะยาวตามมา
       
โดย พญ.กาญจนา คูณรังษีสมบูรณ์ บอกถึงเรื่องนี้ว่า หากเด็กอายุ 3 ขวบ เข้าโรงเรียนแล้ว การเรียนการสอนก็ควรเป็นเรื่องของการฝึกระเบียบวินัย ฝึกการเข้าสังคม รู้จักการรอคอย การเข้าคิวต่างๆ เพราะเป็นการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งการฝึกพื้นฐานเหล่านี้ตั้งแต่เด็กก็จะติดตัวเขาไปจนโต
       
ส่วนการให้ฝึกเรียนเขียนอ่านตั้งแต่อายุ 3 ขวบ หรือบังคับให้ลูกเรียนเขียนอ่านตั้งแต่อายุน้อยๆ เลยนั้น เพราะกังวลว่าลูกจะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ หรือสู้ลูกคนอื่นไม่ได้ ตรงนี้ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะเป็นการฝืนธรรมชาติของเด็ก ซึ่งเด็กวัยนี้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเขายังต้องได้รับการพัฒนา จึงควรให้เขาได้ขีดเขียนอย่างเป็นอิสระ เพื่อเปิดให้เด็กได้คิดจินตนาการด้วย ไม่ใช่การบังคับให้เขาฝึกเขียนตัวอักษร ซึ่งสุดท้ายก็จะเป็นการปิดกั้นเรื่องความคิดจินตนาการและพัฒนาการของเขา
 
ทั้งนี้ ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เพราะตามอายุแล้วให้เขาเริ่มเรียนเขียนอ่านตอนอายุ 5 ขวบ เด็กก็ยังอ่านออกเขียนได้อยู่ดี จึงไม่ต้องรีบฝึกให้ลูกหัดเขียนอ่าน ซึ่งไม่เป็นผลดีแก่ตัวเด็กเอง สำหรับการฝึกภาษาที่สองให้แก่ลูก เช่น ภาษาอังกฤษ ก็ยึดหลักการคล้ายกัน คือพยายามใช้ภาษาที่สองกับลูกในชีวิตประจำวัน เด็กก็จะรู้สึกถึงความแปลกใหม่ของภาษาและได้เรียนรู้ แต่ไม่ต้องจับมาฝึกเขียนอ่านเช่นเดียวกับภาษาไทย
 
 
พญ.กาญจนา คูณรังษีสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์

เด็กที่ชอบ ถอนผม กัดเล็บ เขย่าขา มีสาเหตุมาจากอะไร มีทางแก้ไขไหม เช็กเลย!

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-การเรียนรู้-ลูกชอบกัดเล็บ-ลูกชอบเขย่าขา-ลูกชอบถอนผม-ปรับพฤติกรรม-กัดเล็บ-ถอนผมตัวเอง-เขย่าขา

การเขย่าขา กัดเล็บ ถอนผม ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ทำ ก็ทำให้เสียบุคลิกได้ทั้งนั้น และยังเกี่ยวข้องกับเรื่องของจิตใจอีกด้วย ทั้ง ความพึงพอใจ ความคาดหวัง การติดในอารมณ์ จิตแพทย์จึงอธิบายไว้ดังนี้ค่ะ  

พฤติกรรมการเขย่าขา กัดเล็บ ถอนผม เริ่มต้นเหมือนกัน คือ จากการกระตุ้นตัวเองเพียงเล็กน้อยจนติดเป็นนิสัย และกลายเป็นความเคยชินในที่สุด แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่า คือ ความรุนแรงของพฤติกรรม ทั้งสามนี้ต่างกัน

  1. เขย่าขา

การเขย่าขาเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงนัก มักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ซึ่งคุณหมอบอกว่าอาจเป็นผลมาจากการดูแลสั่งสอนที่ว่า ผู้หญิงจะต้องเรียบร้อย สาวน้อยจึงบังคับกิริยาอาการมากกว่า ในขณะที่พื้นฐานอารมณ์ของเด็กผู้ชายก็มักจะอยู่ไม่ค่อยนิ่งกว่าอยู่แล้ว ทั้งผู้ใหญ่ก็มักปล่อยไม่เข้มงวดเรื่องกิริยาอาการเท่าเด็กหญิง

เกิดจากความเบื่อ จึงต้องทำอะไรเพื่อกระตุ้นตัวเอง แล้วก็เคยชิน เมื่อความเคยชินของเด็กเกิดไปขัดกับสิ่งที่พ่อแม่คาดหวัง การเขย่าขาจึงถูกมองว่าเป็นปัญหา เรามักจะพบบ่อยในครอบครัวที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยม เวลาเห็นเด็กนั่งเขย่าขาก็จะทนไม่ได้ กลายเป็นความขัดแย้ง และเกิดปัญหาทางอารมณ์ตามมา แทนที่จะหยุด โดนจี้จุดก็ยิ่งเขย่ามากขึ้นอีก ทางแก้คือ ควรหากิจกรรมอื่นมาเบนความสนใจ อย่าไปจี้จุดเขา หมอก็เป็นคนหนึ่งที่สมัยเด็ก ติดนิสัยเขย่าขา แล้วอยู่ ๆ มัน ก็หายไปได้เอง ตรงนี้ขึ้นอยู่กับคนมองมากกว่า

สามารถพบเด็กที่มีการกระตุ้นตัวเองสูง และค่อนข้างรุนแรงได้ตามสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ ด้วยการเอาหัวโขกพื้นบ้าง โขกฝาบ้าง เพียงเพราะเขาเบื่อ หรืออยากให้คนสนใจ เด็กอีกกลุ่มที่พบว่ามีการกระตุ้นตัวเองสูงคือ เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น ซึ่งมักจะนั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ ก็ไม่ใช่ว่าเห็นเด็กเขย่าขาแล้ว จะต้องเป็นสมาธิสั้นหมดทุกคน ต้องดูอาการอื่นประกอบด้วย เช่น ความสนใจสั้น ซุกซนมาก หกล้มหกลุกบ่อย เจ็บตัวได้ง่าย และค่อนข้างก้าวร้าวกว่าเด็กทั่วไป  

แต่ทั้งนี้ต้องดูเรื่องการเลี้ยงดูโดยไม่ได้สอนวินัยให้กับลูกด้วย เพราะเด็กที่ไม่ได้ถูกสอนวินัยนี้ เวลาที่เขาเครียดมักจะแสดงออกในลักษณะซนมาก แต่ถ้าตัดประเด็นนี้ได้ก็ให้สงสัยว่า เด็กอาจเป็นโรคสมาธิสั้นได้  

  1. กัดเล็บ

สิ่งที่พบบ่อยในเด็กกัดเล็บคือ เด็กมีภาวะ เครียด หรือเศร้า เป็นการแสดงออกถึงภาวะเก็บกดในจิตใจ แต่คุณหมอก็บอกว่าไม่เสมอไปอีกเช่นกัน

เด็กบางคนเครียดจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เรื่องที่เป็นไปตามพัฒนาการหรือของครอบครัว เช่น แม่มีน้อง ซึ่งเด็กอาจแสดงออกด้วยการกัดเล็บ แต่พอช่วงวิกฤตผ่านพ้นไป เด็กสามารถปรับตัวปรับใจได้แล้ว อาการก็จะหายไปเอง แต่จะมีส่วนหนึ่งที่กัดจนติดเป็นนิสัย จะยังไม่วินิจฉัยว่าเป็นโรค แต่เรียกว่าเป็นการแสดงออกของความรู้สึกมากกว่า และพบว่าเป็นลูกวัยประถมมากกว่าวัยรุ่นเพราะพอโตเป็นวัยรุ่น เพื่อนล้อก็จะหยุด แต่จะแสดงออกภาวะเก็บกดนี้ทางอื่นแทน เช่น นั่งซึม เที่ยวเตร่ คบเพื่อนไม่ดี กลายเป็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหา  

เมื่อเป็นเช่นนี้ พ่อแม่ต้องสังเกตว่าปัญหาการกัดเล็บของลูกเกิดจากอะไร แก้ไขได้ไหม เช่น เกิดจากพ่อแม่ทะเลาะตบตีกัน ตรงนี้พ่อแม่แก้ได้ไหม ถ้าเกิดจากความเครียดที่แก้ไขไม่ได้ เช่น แม่มีน้องใหม่ พ่อแม่ก็อาจแสดงความรักความใกล้ชิดกับลูกให้เหมือนเดิม หรืออย่างน้อยก็ไม่ให้เด็กรู้สึกแย่จนเกินไป แล้วก็ค่อยๆ ปรับพฤติกรรมการกัดเล็บของเขา

อาจใช้การสร้างแรงจูงใจทางบวก เพื่อเบี่ยงเบนให้ออกจากกิจกรรมนี้ เช่น ถ้าวันนี้ลูกไม่กัดเล็บเลย จะได้หนึ่งดาว หรือใช้สติ๊กเกอร์ติดไว้ที่เล็บ โดยให้เด็กเลือกเองว่า จะใช้รูปไหนทำให้เด็กกัดไม่ได้ แต่ชื่นชมตัวการ์ตูนในสติ๊กเกอร์แทน เรียกว่าเป็นกิจกรรมแฝง

ที่สำคัญ ไม่ควรไปชี้นิ้วว่าเด็กเพราะการย้ำแบบนี้ทำให้เด็กเครียดมากขึ้น และกระตุ้นให้ทำมากขึ้นไปอีก เวลาที่เด็กอยู่ลับหลังพ่อแม่ หมั่นสังเกตว่าลูกเรา เหงาหรือเปล่า เบื่อหรือเปล่า แก้เสียโดยหากิจกรรมให้เขาทำ  

  1. ถอนผม

เมื่อมีความกังวล เด็กๆ ก็ทำได้เช่นกัน ถอนน้อยๆ ไม่เป็นไร แต่ถ้าถอนมากจนเป็นวงขาวนั้นไม่ดีแน่ๆ โรคนี้ดูเหมือนเป็นปัญหาทางพฤติกรรม แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีปัญหาอารมณ์แฝงอยู่ เท่าที่พบเด็กที่มีพฤติกรรมแบบนี้มักจะเก็บกด ไม่ช่างพูด และรู้สึกอะไรก็อดทนกับความรู้สึกเหล่านั้น แสดงออกไม่เป็น ทักษะการแก้ปัญหาไม่ดี สะท้อนถึงพื้นฐานเด็ก ที่เราต้องแก้ไข  

เรื่องถอนผมนี่ดูเหมือนจะเป็นพฤติกรรมที่หนักที่สุด ถึงขั้นเป็นโรคได้ทีเดียว หากเด็กมีพฤติกรรมถอนผมซ้ำๆ กันมากๆ จนสังเกตเห็นหัวล้านเป็นหย่อมๆ ตรงนี้แพทย์สามารถวินิจฉัยว่า เด็กมีความผิดปกติทางจิตใจ เรียกว่า โรคทิโชทิโลมาเนีย (Trichotilomania) คือโรคที่ไม่สามารถควบคุมความต้องการที่พุ่งขึ้นมาจากภายในได้ พบตั้งแต่เด็กวัยเรียนไปจนถึงผู้ใหญ่  

ถ้าลูกของเราอยู่ในข่าย อย่ารอช้า ช่วยกันปรับกิริยาท่าทีของสาวน้อยหนุ่มน้อยกันหน่อย ก่อนที่จะเป็นบุคลิกติดตัวไปจนโต ให้เพื่อนฝูงล้อเลียนจนต่อมกลุ้มของพ่อแม่ลูกต้องทำงานกันอีกครั้ง

 

โดย : พ.ญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์

 

เตือน! อย่าขู่ลูก พร้อมแนะนำวิธีการพูดกับลูกที่พ่อแม่ควรรู้

 การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

เตือนอย่าขู่ลูก พร้อมแนะนำวิธีการพูดกับลูกที่พ่อแม่ควรรู้

การขู่ลูกเป็นวิธีที่ง่าย ไม่ต้องใช้ความรุนแรง แค่ทำเสียงเข้มขึ้นนิด ทำหน้าจริงจังอีกหน่อย ลูกก็จะหยุดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ได้ แต่การหยุดเหล่านั้น ไม่ถาวรและก็มีผลเสียตามมาแบบที่เราอาจจะไม่เคยคิดเลยทีเดียว ! เคยมั้ยที่เคยขู่ลูกเช่นนี้

-เดี๋ยวให้ตำรวจจับเลย 

-เดี๋ยวผีมาหลอกนะ 

-เดี๋ยวพาไปหาหมอ ให้หมอฉีดยาเลย..

-ไม่รักแล้ว อีกหนึ่งคำขู่ยอดฮิต “ถ้าหนูทำแบบนี้ แม่จะไม่รักแล้วนะ”

ทุกๆ อย่างที่แกล้งพูดขู่เด็กไป เป็นสิ่งที่จะฝังลงไปในความรู้สึกของเขา เขาจะรู้สึกกลัวอย่างไร้เหตุผล และกลัวในสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องกลัว

อุปสรรคต่อความเข้มแข็งของเด็กคือความกลัว (FEAR) ซึ่งก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในจิตใจ ว้าวุ่น หวาดกลัว ไม่มั่นใจในตัวเอง และพาลเป็นผลเสียต่อสุขภาพ จึงต้องพยายามเลี้ยงลูกอย่าให้เป็นคนขี้กลัว กลัวอะไรโดยไม่มีเหตุผล

ผลกระทบ หากหลอกให้ลูกกลัว

1.ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจอย่างมาก

2.ความกลัวจะฝังแน่นในความรู้สึก ส่งผลมากกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า ยิ่งทำให้เด็กกลัวการมาพบแพทย์

3.ทำให้เสียบุคลิกภาพ เป็นคนขี้ระแวงจนเกินเหตุ

4.ฝึกนิสัยการโกหก หลอกลวงเด็ก ไม่พูดความจริงกับเด็ก

5.ทำให้เด็กชอบโทษคนอื่น 

 

วิธีที่ถูกต้องที่ควรทำ

1.ให้คำชมแทน  เช่น ถ้าทำแบบนี้คุณแม่จะไม่ชมเชยหนูนะ หรือ ถ้าหนูไม่ทำหนูจะเป็นเด็กดีของแม่เลย เป็นต้น

2.คุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่างที่ดี คือถ้าอยากให้ลูกใส่รองเท้าเวลาออกจากบ้าน คุณแม่ต้องใส่เสมอ แล้วบอกลูกว่าเห็นมั้ยคุณแม่ก็ยังใส่เลย

3.บอกผลที่จะเกิดขึ้น  ถ้าลูกอยากทำอะไรที่เสี่ยงต่อการเจ็บตัว แล้วคุณแม่ดูว่าไม่อันตรายมากนัก ก็บอกเงื่อนไขให้ลูกรู้ค่ะว่าถ้าปีนเก้าอี้แล้วตกลงมาเจ็บคุณแม่จะไม่โอ๋ไม่ช่วยนะลูก เพื่อให้ลูกรู้ว่าถ้ายังตัดสินใจจะเล่น ตกลงมาเจ็บก็ห้ามเรียกร้องความสนใจ และคุณแม่ก็จะต้องไม่โอ๋จริงๆ นะคะ เพื่อให้ลูกรู้จักรับผิดชอบตัวเอง

4.ให้รางวัล ถ้าลูกทำตามที่เราบอกอาจจะให้รางวัลที่ลูกชอบค่ะ

5.งดของชอบ เพื่อเป็นการทำโทษ  เช่น วันนี้หนูดื้อกับแม่ แม่จะไม่ให้กินขนม 1 วัน แล้วคุณแม่ห้ามใจอ่อน ต้องทำจริงๆ

6.บอกรักลูก  เปลี่ยนจากการพูดว่าคุณแม่ไม่รักแล้ว มาเป็น คุณแม่เสียใจนะ คุณแม่โกรธแล้วนะที่ลูกทำแบบนี้ แต่ต้องย้ำให้ลูกรู้ว่าแม่ยังรักเขาอยู่ ลูกยังเป็นที่รักในสายตาแม่เสมอ แต่ว่าหากทำผิดก็ต้องโดนทำโทษ ซึ่งเป็นกฎตามปกติ

7.สอนเด็กถึงความเป็นจริง ลูกไม่สบาย ต้องไปหาคุณหมอ คุณหมอจะช่วยหนูให้หาย เดี๋ยวหมอจะเจาะเลือดหนู เจ็บนิดหน่อย ต้องอดทนนะลูก จะได้หายป่วย ให้กำลังใจลูก ลูกทำได้อยู่แล้ว คนเก่งของแม่

เมื่อน้องทำได้ดี เช่นไม่ร้อง ให้ความร่วมมือกับหมอ ต้องชื่นชม เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดี “แม่ภูมิใจในตัวหนู ที่เป็นเด็กดี ให้คุณหมอตรวจ”

8.เวลาลูกหกล้ม ก็อย่าไปโทษพื้นตีพื้น  ต้องบอกลูกตรงๆ ว่า หนูล้มเพราะหนูวิ่งเร็ว ไม่ระวัง ต่อไปจะเดินจะวิ่งต้องช้าๆ ระวัง ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเจ็บอีกนะคะ

จริงๆ แล้วเรายังใช้วิธีขู่ลูกได้ แต่ต้องขู่ด้วยความจริง ด้วยเหตุและผล เพื่อให้เด็กรับรู้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง มีโอกาสตัดสินใจ และทำให้ลูกได้ตระหนักเมื่อโตขึ้นว่าพ่อแม่คือคนที่พูดความจริงกับเขามาอย่างสม่ำเสมอและยังเป็นการสร้างลูกให้เป็นคนมีเหตุผลด้วย

 

ขอบคุณข้อมูล : เพจInfectious ง่ายนิดเดียว

เทคนิคง่าย ๆ สอนให้พี่น้องรักกัน ไม่สร้างปมให้พี่รู้สึกน้อยใจอิจฉาน้อง

พี่อิจฉาน้อง, อิจฉา, พี่คนโต, พี่ไม่รักน้อง, พี่เกลียดน้อง, น้องไม่รักพี่, พี่ไม่ชอบน้อง, พี่รังแกน้อง, พี่ชอบตีน้อง, พี่ชอบตบหัวน้อง, พี่ด่าน้อง, พี่เบื่อน้อง, พี่น้องไม่รักกัน, พี่น้องเกลียดกัน, สอนยังไงให้พี่รักน้อง, แก้ไขพี่ไม่รักน้อง, พี่น้องทะเลาะกัน

เทคนิคง่าย ๆ สอนให้พี่น้องรักกัน ไม่สร้างปมให้พี่รู้สึกน้อยใจอิจฉาน้อง

“ตอนนี้หนูกำลังจะได้เป็นพี่คนโตแล้ว เพราะมีน้องเล็กอีกคนอยู่ในท้องคุณแม่” ความรู้สึกหนึ่งของพี่คนโตก็ดีใจ แต่อีกใจกลัวว่าจะตกกระป๋อง และอาจเลยเถิดไปถึงขั้นอิจฉาน้องได้ แบบนี้มาช่วยส่งเสริมให้พี่คนโตสวมบทพี่ตัวจริงด้วยความมั่นใจ ภูมิใจ และไม่อิจฉาน้องกันค่ะ

เข้าใจพี่ก่อนมีน้อง

สำหรับเด็กวัย 4-5 ขวบ การมีสมาชิกเพิ่มเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเขา เด็กรู้สึกว่าทุกคนในบ้านเปลี่ยนไปเทคะแนนให้เจ้าตัวเล็กอีกคนกันหมด พอจะเข้าไปดูน้องหรือร่วมวงสนทนาด้วย ก็ถูกกีดกันออกมาเพราะกลัวว่าเขาจะไปทำให้น้องร้องไห้ สุดท้ายเลยต้องอยู่หัวเดียวกระเทียมลีบ แล้วก็นึกโทษว่าเป็นเพราะน้องที่แย่งทุกอย่างจากเขาไป

หลังจากนั้นพี่จะเริ่มเรียกร้องความสนใจ ทำพฤติกรรมเหมือนเด็กทารก พัฒนาการถดถอย เช่น ขอดูดนมแม่ ไม่ได้ดังใจก็ร้องไห้โวยวายหรือร้องให้อุ้ม ร้องไห้แข่งกับน้อง แต่ถ้าพ่อแม่เริ่มวางแผนรับมือแต่เนิ่น ๆ เหตุการณ์ทั้งหมดข้างต้นจะไม่เกิดขึ้น ลองนำเทคนิคต่าง ๆ นี้ไปใช้ดู

เทคนิคสอนพี่คนโตให้รักน้อง

1. ยิ่งบอกเร็วยิ่งดี

เนื่องจากลูกวัยนี้มีพัฒนาการทางอารมณ์ซับซ้อนขึ้น เช่น โกรธ น้อยใจ โมโห เหงา จึงต้องการระยะเวลาในการปรับตัวและปรับอารมณ์ เพราะฉะนั้นถ้าคุณวางแผนจะมีน้องอยู่แล้ว ลองเริ่มถามลูกดูว่า อยากมีน้องไหม ถ้ามีแล้วใครจะช่วยเลี้ยงน้อง

 

พี่อิจฉาน้อง, อิจฉา, พี่คนโต, พี่ไม่รักน้อง, พี่เกลียดน้อง, น้องไม่รักพี่, พี่ไม่ชอบน้อง, พี่รังแกน้อง, พี่ชอบตีน้อง, พี่ชอบตบหัวน้อง, พี่ด่าน้อง, พี่เบื่อน้อง, พี่น้องไม่รักกัน, พี่น้องเกลียดกัน, สอนยังไงให้พี่รักน้อง, แก้ไขพี่ไม่รักน้อง, พี่น้องทะเลาะกัน

2. หน้าที่ดูแลน้องเป็นของทุกคน

พ่อและทุกคนในบ้านควรมีบทบาทตั้งแต่แม่เริ่มท้องค่ะ เพื่อให้ลูกเห็นว่าทุกคนในบ้านช่วยกันดูแลน้องเล็กอีกคน และควรเปิดโอกาสให้เขาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ด้วย เช่น เตรียมของ ดูแลแม่ ดูแลกิจวัตรของตัวเอง

3. ไปโรงพยาบาลด้วยกัน

พี่จะได้เห็นและรับรู้ว่าน้องอยู่ในท้องแม่ และครั้งหนึ่งพี่ก็เคยอยู่ในท้องแม่เหมือนกัน กว่าจะโตแม่ต้องคอยดูแลหนู แต่ตอนนี้แม่มีพี่มาช่วยดูแลน้องเพิ่มขึ้นอีกคน

4. ครั้งแรกที่เจอหน้ากัน

ลองคุยกับลูกคนเล็กให้พี่ได้ยินว่านี่คือพี่หนูนะ เขารักหนูและจะช่วยแม่ดูแลหนู พี่จะภูมิใจกับความเป็นพี่สุด ๆ เลยค่ะ

5. ให้ของขวัญพี่คนโต

พ่อแม่ควรจะให้ญาติสนิทที่มาเยี่ยมให้ซื้อของสัก 1-2 ชิ้น ฝากลูกคนโตด้วย แล้วบอกว่านี่คือรางวัลที่พี่ช่วยแม่ดูแลน้อง จังหวะนี้ควรก็เล่าให้ญาติฟังว่าพี่คนโตช่วยดูแลแม่และน้องก่อนคลอดอย่างไรบ้าง เท่าที่วัยอย่างเขาทำได้

6. อย่าเบื่อที่จะอธิบาย

ถ้าเกิดอาการอิจฉาขึ้นมาจริง ๆ หรือเรียกร้องความสนใจเป็นครั้งคราว เช่น ตีน้อง ให้รีบจับแยกทันทีแล้วบอกให้พี่รู้ว่าน้องเจ็บ แต่ต้องดูด้วยว่าเกิดจากน้องคว้าผมหรือดึงผมให้พี่เจ็บหรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้นอธิบายให้พี่รู้ว่าน้องเล่นด้วยแต่ยังไม่รู้กำลังของตัวเอง และบอกด้วยว่าถ้าจะเล่นกับน้องควรทำอย่างไรจึงจะไม่ถูกดึงผม เช่น รัดผมให้เรียบร้อย

7. มีส่วนร่วม

ถ้าพี่คนโตมาป้วนเปี้ยนอยากเล่นกับน้อง ก็ให้เขามีส่วนร่วมกับการดูแลน้อง เช่น หยิบของใช้ ดูน้องระหว่างแม่เข้าห้องน้ำ ใช้เพลงจากที่โรงเรียนมากล่อมน้อง แต่ข้อควรระวังคือ อย่าบังคับจนพี่คนโตรู้สึกว่าน้องเป็นภาระ จนอดไปเล่นหรือทำกิจกรรมที่เขาชอบ

8. พูดคุยกับพี่คนโตบ่อย ๆ

ระหว่างให้นมลูก ให้พี่ช่วยลูบเท้าหรือขาน้อง พ่อแม่อาจจะคุยและถามเรื่องทั่ว ๆ ไป หรือให้เขาทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ อย่าปล่อยให้ลูกคนโตนั่งทำตาปริบ ๆ อยู่ข้าง ๆ เพราะทำตัวไม่ถูก

9. หาเวลาอยู่กับพี่คนโต 2 คน 

อาจจะขอความช่วยเหลือจากสามีหรือปู่ย่าตายายว่าแม่จะขอไปเที่ยวกับลพี่คนโตสัก 3 ชั่วโมง พาพี่คนโตไปเล่นนอกบ้าน เที่ยวสวนสนุก เข้าคาเฟ่ พาไปกินไอศกรีมที่พี่ชอบ เพื่อให้เขารู้ว่าแม่ไม่เคยละเลยเค้า และพี่ยังเป็นคนสำคัญของพ่อแม่

10.ตามใจพี่คนโตบ้าง 

หากพี่คนโตอยู่ในวัยที่ไม่ห่างจากน้องคนเล็กมากนัก ถ้าพี่หย่านมไปแล้วแต่อ้อนอยากกินนมเหมือนน้อง แม่สามารถปั๊มนมให้ลูกกินได้เลยค่ะ แต่ให้บอกพี่ว่า แม่แค่ให้ชิมและมีนมน้อยสำหรับน้องเท่านั้น เพราะน้องตัวเล็กกินนมทีละน้อย แต่หนูเป็นพี่ต้องดื่มนมจากแก้ว ถ้าน้องโตกว่านี้แม่ก็ให้น้องดื่มนมจากแก้วเหมือนกัน เพราะแม่ไม่มีน้ำนม

11. หาเพื่อนใหม่ให้ลูก

เช่น คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย หรือเพื่อนวัยเดียวกัน เพื่อทำกิจกรรมอย่างอื่น ลูกจะได้ไม่รู้สึกว่าถูกทิ้ง อีกอย่างเด็กวัยนี้เริ่มมีช่วงเวลาส่วนตัวที่เขาอยากเล่นคนเดียวแล้วค่ะ

12. อย่าพูดกับพี่คนโตแบบนี้

ประโยคต้องห้ามอย่าเผลอพูดไปนะ เพราะจะยิ่งสร้างปมให้พี่น้อยใจ รู้สึกพ่อแม่ลำเอียง   

  • เป็นพี่ต้องดูแลน้อง
  • เป็นพี่ต้องแบ่งปันน้อง 
  • เอาให้น้องก่อน 
  • ยอมน้องไม่ได้หรือ
  • น้องยังเล็กอยู่
  • ห้ามดื้อ ห้ามซนด้วย ดูซิน้องยังไม่ดื้อเลยนะ สู้น้องก็ไม่ได้

ทั้งหมดนี้เป็นแค่หนทางรับมือกับบางสถานการณ์เท่านั้นค่ะ แต่เชื่อแน่ว่าความเป็นพ่อเป็นแม่ของคุณ จะทำให้ผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ เด็กบางคนปรับตัวเร็ว บางคนปรับตัวช้า จึงต้องให้เวลาและโอกาสลูกในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ด้วยค่ะ

เลี้ยงลูกอย่างไรให้โตไปไม่โกง แบบทำได้จริง รู้จักผิดชอบจริง

 

โตไปไม่โกง จะไม่ใช่แค่คำพูดให้ดูเท่ ดูเก๋ ถ้าพ่อแม่สอนลูกด้วยวิธีที่ได้ผลจริง แค่เริ่มจากตัวเองค่ะ เพราะทุกวันนี้จิตสำนึกของคนเราหายไปเยอะมาก ไม่ว่าเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ ทั้ง โกงข้อสอบ โกงเงิน โกงการงาน เห็นข่าวก็บ่อยครั้ง ฉะนั้นมาเร่ิมที่สถาบันครอบครัวกันก่อนเลยค่ะ ว่าจะสอนเด็กๆ อย่างไรดี ให้โตไปไม่โกง

5 วิธีสอนลูกให้โตไปไม่โกง

1. ซื่อสัตย์สุจริตให้ลูกเห็น

การยึดมั่นในความสัตย์จริง และสิ่งที่ถูต้องดีงาม รู้จักแยกแยะถูกผิด ปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นโดยชอบ ไม่คดโกง เช่น สอนให้เขาไม่หยิบของของคนอื่น ซื่อสัตย์ต่อการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพราะปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เราพบกันบ่อยคือ การไม่ซื่อสัตย์ต่อเวลางาน ไม่รับผิดชอบต่องาน ทำให้งานที่ออกมาไม่มีคุณภาพ   

2. สอนให้ลูกรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง

มีจิตสำนึกในบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง และปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เคารพกฎเกณฑ์กติกา พร้อมให้ตรวจสอบการกระทำได้เสมอ หากมีการทำผิดก็พร้อมที่จะยอมรับและแก้ไข ที่สำคัญคือรับผิดชอบต่อผลของการกระทำของตนเอง เช่น เมื่อทำความผิด เมื่อลูกยอมรับว่าหนูเป็นคนทำเอง พ่อแม่ต้องบอกว่าไม่เป็นไร แล้วก็ช่วยกันแก้ไข ซึ่งจะทำให้เขารับผิดชอบกับสิ่งที่เขาทำ    

3. มีความเป็นธรรมทางสังคม

การปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันอย่างมีเหตุผล โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อเพศ เชื้อชาติ ชนชั้น สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และการที่ไม่เอาเปรียบใคร เพราะคนที่ทุจริตคือคนที่เอาเปรียบคนอื่น คนไม่เคารพกฎเกณฑ์กติกา นึกถึงตัวเองเป็นหลัก ดังนั้น การจะสอนเด็กๆ ให้เข้าใจได้ด้วยเรื่องง่ายๆ เช่น เรื่องการเคารพกติกา ไฟแดง ไฟเขียว มีไว้เพื่ออะไร เพื่อที่จะผลัดกันใช้ คนที่ใช้รถก็ต้องเคารพคนที่เดินถนน คนที่เดินถนนก็ต้องให้ผู้ใช้รถไปด้วย เป็นการจัดการให้สังคมเป็นระบบระเบียบมากขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม

หรือสอนเรื่องพื้นฐานง่ายๆ อย่างในโรงเรียน ทำไมห้องสมุดต้องเงียบ ก็เพราะว่าเพื่อนเราอ่านหนังสืออยู่ ทำไมห้ามกินขนม เพราะว่ามดหรือแมลงสาบจะไปทำลายหนังสือ เด็กๆ ก็จะไม่กินขนม เพราะกลัวว่าหนังสือของเขาจะเสียหาย หรือการเรียงแถวรับขนม เพื่อให้รู้จักความเป็นธรรม การมาก่อนมาหลัง ได้สิทธิ์ตามนั้น ก็จะเป็นการปลูกฝังความเป็นธรรมให้เด็กได้

4. มีจิตสาธารณะ

การมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ตระหนักรู้และนึกถึงสังคมส่วนรวม มีความรับผิดชอบในการกระทำของตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียหายต่อส่วนรวม และพร้อมที่จะเสียสละส่วนตนเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม การทำเพื่อส่วนรวม คือการอาสา ที่มีภาระส่วนตัวด้วย แต่ก็ต้องทำ เพราะว่าเราแคร์ส่วนรวม เช่น มีคนทำน้ำหก แม้เราจะไม่ได้ทำ แต่เด็กดีจะรับอาสามาช่วยเช็ดน้ำให้ อาจจะเซ็งบ้าง แต่ก็ทำ แม้การช่วยผู้อื่นมันคือภาระอย่างหนึ่งแต่ก็เป็นความเมตตากรุณาในสังคม เมื่อโตไป เวลามีเรื่อง หรือเห็นใครเดือนร้อนเขาก็จะเข้าไปช่วยทันที

5. เป็นอยู่อย่างพอเพียง

การดำเนินชีวิตโดยยึดหลักความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่ละโมบโลภมาก รู้จักยับยั้งชั่งใจ และไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้เราระลึกได้ว่า เงินไม่ใช่คำตอบทุกอย่าง มันคือการที่เรามีความสุข อยู่กับตัวเอง อยู่กับครอบครัวพอใจกับสิ่งที่มี สิ่งที่เป็น  

เมื่อพ่อแม่สอนให้ลูกรู้จักความดี รู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น และปลูกฝังด้วยกระบวนการเหล่านี้แล้ว เด็ก ๆ จะซาบซึ้ง และซึมซับความดีงามได้อย่างง่าย ๆ เลยค่ะ

 

เลี่ยงได้เลี่ยง! 7 อาการของลูก ที่ถูกพ่อแม่สปอยล์มากเกินไป จนเสียคน

1100 1

เลี่ยงได้เลี่ยง! 7 อาการของลูก ที่ถูกพ่อแม่สปอยล์มากเกินไป จนเสียคน

คุณพ่อคุณแม่กำลังสปอยล์ หรือเอาใจลูกจนเกินไปหรือเปล่า แต่หลายคนอาจจะคิดว่า ไม่ใช่หรอกมั้ง ไม่จริงนะ ไม่ได้ตามใจ คำตอบแบบนี้คงอยู่ในใจคุณพ่อคุณแม่หลายคนใช่ไหมคะ งั้นเรามาดูกันว่าลูกน้อยของคุณเริ่มมีอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่

7 อาการของลูก ที่ถูกสปอยล์มากเกินไป

1. อารมณ์ร้อนเกรี้ยวกราดบ่อยครั้ง

หากหนูน้อยเริ่มมีอาการหงุดหงิดบ่อยๆ กรีดร้อง เกรี้ยวกราด ชักสีหน้าแสดงอาการให้รู้ว่าไม่พอใจ นับเป็นหนึ่งอาการที่เป็นสัญญาณเตือนแล้วว่า ลูกเริ่มถูกสปอยล์มากไปแล้วนะ

2. เถียงคำไม่ตกฟาก

คำนี้เราๆ คงได้ยินมาแต่โบราณรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย หากมีเด็กพูดเถียง ไม่ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองทำผิด หรือผู้ใหญ่พูดเตือนอะไรแล้วเถียงกลับทันที แบบนี้ที่เขาเรียกว่าเถียงคำไม่ตกฟาก เป็นการแสดงอาการของเด็กที่ไม่น่ารัก แต่ถ้าลูกน้อยไม่ได้ทำผิดแล้วพยายามอธิบาย นับว่าเป็นคนละสาเหตุกันนะคะ

3. จอมบงการเสียจริง

หากพ่อแม่ที่มัวแต่ตามใจลูกจนทำให้ทุกอย่าง หรือจ้างพี่เลี้ยงส่วนตัวดูแลทุกฝีก้าว จนลูกไม่สามารถทำอะไรได้เองเลยนั้น เมื่อถึงเวลาที่คุณอยากให้ลูกลองทำสิ่งใหม่ๆ ดูบ้าง ลูกจะไม่ยอมที่จะทำเผลอๆ จะสั่งกลับให้คุณทำให้แทนเสียด้วยซ้ำ

4. ขายหน้าทุกทีที่ต้องออกไปข้างนอก

เมื่อคุณสปอยล์ลูกมากเกินไป อาการเหล่านี้จะตามมาแน่นอน เช่น หากลูกกรีดร้องอยากได้สิ่งของที่ชอบ หรือขนมที่ถูกอกถูกใจ แต่เมื่อไม่ได้จะแสดงอาการร้องไห้ กรีดร้อง ลงไปดิ้นลงกับพื้น เพื่อเรียกร้องความสนใจทันที แล้วถ้าคุณยิ่งให้สิ่งของกับเขาเพื่อตัดปัญหา นั้นจะยิ่งทำให้ลูกเคยชินเข้าไปอีก อาการนี้เรียกว่าถูกสปอยล์มากไปแล้วค่ะ

5. หวงของ ไม่รู้จักแบ่งปันคนอื่น

เมื่อลูกน้อยได้รับมากๆ เราควรจะบอกให้เขารู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่นบ้าง เด็กสามารถรับรู้การแบ่งปันได้ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป เป็นช่วงวัยที่เขาเริ่มเข้าใจหลายสิ่งมากขึ้น เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่บ่งบอกถึงทักษะทางด้านอารมณ์และจิตใจ หากเขารู้จักแบ่งปัน อาการที่ถูกสปอยล์หรือการถูกเอาแต่ใจจะค่อยๆ ดีขึ้นค่ะ

6. ต้องมีข้อแลกเปลี่ยนเสมอ

เมื่อไหร่ที่ลูกไม่ยอมทำหน้าที่ของตนเอง เช่น เล่นของเล่นแล้วไม่ยอมเก็บ ปล่อยให้บ้านรก เมื่อคุณสั่งให้เก็บแต่ลูกยังดื้อรั้นไม่ยอมเก็บอีก และหากคุณใช้เงื่อนไขว่า “เก็บของเล่นแล้วแม่จะพาไปเที่ยว” การใช้เงื่อนไขแบบนี้บ่อยๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดนะคะ ควรสอนให้ลูกยอมรับว่านี่คือหน้าที่ของเขา มากกว่าใช้เงื่อนไขเพื่อแลกเปลี่ยน

7. กระทืบเท้า ปิดประตูเสียดัง

เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นแล้วแสดงถึงความไม่พอใจถึงขั้นกระทืบเท้า ร้องไห้เสียงดัง เดินหนีเข้าห้อง ปิดประตูเสียงดังใส่ อาการแบบนี้ต้องแก้ไขแล้วล่ะค่ะ การโกรธ โมโหไม่ใช้เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ แต่หากปล่อยให้ลูกมีอารมณ์โมโหอยู่บ่อยครั้ง ถึงขั้นทำสิ่งเหล่านี้กับผู้ใหญ่ในบ้านแล้ว ไม่มีการช่วยเหลือเขา จะส่งผลถึงตอนโตได้ แก้ไขตอนโตยากยิ่งกว่าแก้ตั้งแต่เด็ก ดั่งคำที่ว่า "ไม่อ่อนดัดง่าย ไม่แก่ดัดยาก"

ความรักที่พ่อแม่ให้ไม่มีคำว่าสิ้นสุด แต่ถ้าให้จนสุดเกินลิมิต ทำให้ลูกต้องเสียนิสัยเกินไปจะไม่น่ารักนะคะ เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาวอยู่ที่เราจะใส่สีมากน้อยแค่ไหน ใส่ให้พอเหมาะกับวัยก็เพียงพอแล้วค่ะ

  • 1
  • 2