facebook  youtube  line

15 วิธีรับมืออาการแพ้ท้อง อาการคนท้องที่คุณแม่ต้องรู้วิธีจัดการให้อยู่หมัด

แพ้ท้อง-อาการคนท้อง-แก้อาการแพ้ท้อง-ยาแก้แพ้ท้อง-ลดอาการแพ้ท้อง-วิธีแก้แพ้ท้อง-วิธีป้องกันแพ้ท้อง-รักษาอาการแพ้ท้อง-แพ้ท้องอาเจียน-แพ้ท้องเวียนหัว

อาการแพ้ท้องในช่วงตั้งครรภ์เป็นเรื่องธรรมชาติมากค่ะคุณแม่ บางคนแพ้ท้องแค่ช่วง 3 เดือนแรก  บางคนแพ้ท้องยาวไปจนใกล้คลอด บางคนแพ้ท้องหนัก หรือบางคนแทบไม่มีอาการอะไรเลย อาการคนท้องแบบนี้ก็ต้องมีวิธีรับมือให้ถูกต้องนะคะ เพราะหากดูแลไม่ถูกต้อง ตั้งรับไม่ทัน อาจทำให้คุณแม่เกิดความหงุดหงิด ไม่สบายตัวไม่สบายใจ และทารกในครรภ์ก็อาจได้รับผลกระทบไปด้วย นี่คือ 15 วิธีรับมืออาการแพ้ท้อง อาการคนท้องที่คุณแม่ต้องรู้วิธีจัดการให้อยู่หมัด

  1. กินอาหารในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง เลือกทานผลไม้ผักสด และอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ขนมปัง หรือขนมปังกรอบ เป็นต้น

  2. เวลากินข้าว ให้ดื่มน้ำหลังอาหาร ไม่ใช่ประเภทข้าวคำน้ำอีกคำ จะทำให้คุณพะอืดพะอมเพราะอิ่มน้ำมากเกินไป  

  3. พยายามกินอะไรเบา ๆ ก่อนนอน อาจจะเป็นนมสักแก้ว โยเกิร์ต ขนมปังหรือแซนด์วิชจะช่วยป้องกันอาการแพ้ท้องตอนเช้าวันรุ่งขึ้น หรืออาจจะเป็นขนมปังกรอบหลังตื่นนอน หรือก่อนลุกจากเตียงก็ได้ค่ะ  

  4. ลืมตาตื่นแล้ว นอนพักสักครู่ อย่าเพิ่งรีบลุกพรวดพราด เพราะจะทำให้คลื่นไส้ได้ง่าย  

  5. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเครื่องเทศ เช่น แกงกะหรี่ อาหารทอด หรืออาหารที่มีความเป็นกรดสูงเพราะอาหารประเภทนี้ย่อยยาก  

  6. ไม่ควรแปรงฟันหลังอาหารทันที เพราะแปรงสีฟันที่คุณแหย่เข้าไปในปากอาจทำให้คุณอยากอาเจียนได้  

  7. จิบน้ำแร่หรือน้ำอัดลมเวลาคลื่นไส้ช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้เช่นกัน  

  8. รับอากาศบริสุทธิ์อย่างสม่ำเสมอ  
     
  9. ถ้ากลิ่นของอาหารร้อน ๆ ทำให้คุณคลื่นเหียนเวียนหัว ลองเปลี่ยนมาทานอาหารเย็น ๆ ดูบ้างเผื่อจะดีขึ้น  

  10. ทานหรือดื่มอะไรที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว หรือจะฝานมะนาวแผ่นบางๆ ลงไปในน้ำชาก็เข้าทีดีเหมือนกัน

  11. ขิงในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขนมปังขิง น้ำขิง ชาขิง หรือแม้แต่ขิงในรูปแคปซูลช่วยอาการแพ้ท้องได้ค่ะ  

  12. ห้ามเครียด หาเวลาผ่อนคลาย ว่าง ๆ คุณอาจจะนอนแช่น้ำอุ่นในอ่าง หรือนอนนิ่ง ๆ ฟังเพลงสบาย ๆ พูดคุยกับสามีถึงเรื่องที่คุณกังวล  

  13. ทานวิตามินบี 6 ขนาด 50 กรัม วันละ 2 เม็ด แต่ควรปรึกษาคุณหมอว่าจำเป็นสำหรับคุณแค่ไหน  

  14. เลือกทานอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี ซึ่งพบมากในนม เนื้อสัตว์ตับ ไข่ ปลา สัตว์น้ำประเภทมีเปลือก ถั่ว พืชประเภทถั่ว ข้าวโพด หรือในรูปของอาหารเสริมก็ได้ มีงานวิจัยชี้ว่าผู้หญิงที่ทานอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีมีแนวโน้มที่จะแพ้ท้องน้อยกว่าค่ะ  

  15. ข้อสุดท้ายนี้ต้องอาศัยการร่วมมือร่วมแรงจากคนใกล้ตัว ก็ความรักและการดูแลเอาใจใส่จากคุณสามีนั่นล่ะค่ะเป็นวิธีปราบแพ้ท้องได้ชะงัดนัก

 

คนท้องทำสีผมได้ไหม แม่ท้องทำผม อบผม จะส่งผลอะไรกับลูกในท้อง


คนท้องทำสีผมได้ไหม-ทำสีผมตอนตั้งครรภ์-แม่ท้องย้อมผมได้ไหม-แม่ตั้งครรภ์ย้อมสีผมได้ไหม-ทำสีผมอันตรายกับลูกในท้องไหม-อบผมอันตรายกับลูกในท้องไหม-แม่ท้องอบผมได้ไหม

คนท้องก็อยากสวย เพราะต่อให้ท้องยังไงเราก็ยังเป็นหญิง จริงไหมคะ แม่ท้องหลายคนอยากทำสีผม เปลี่ยนสีผม แต่ก็กลัวว่าสารเคมีจากการทำสีผมอาจส่งผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ เรามาหาคำตอบกันค่ะว่า คนท้องทำสีผมได้ไหม คนท้องอบผมได้หรือเปล่า 

คนท้องทำสีผมได้ไหม

คนท้องทำสีผมได้ รวมไปถึงการยืดผม และ ดัดผม โดยไม่เป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ค่ะ แต่มีแพทย์หลายคนแนะนำว่า หากช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ไม่มีความจำเป็นต้องรีบทำสีผมเพื่อไปออกงาน หรือมีผลต่อการทำงานใด ๆ ควรเลี่ยงการทำสีผมช่วงตั้งครรภ์ไปก่อน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • คนท้องมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนสูง บางคนผมร่วงง่าย บางคนผิวบอบบางมากขึ้น สารเคมีจากการทำสีผมที่ไม่เคยแพ้มาก่อน อาจระคายเคืองและทำให้ระคายเคืองหนังศีรษะได้

  • กลิ่นสารเคมีระหว่างการทำสีผม อาจทำให้แม่ท้องเวียนหัว คลื่นไส้ 

  • การอบผม หรือ หมักผมนาน ๆ ที่มีการใช้ความร้อน อาจทำให้แม่ท้องหน้ามืดเป็นลมได้

  • การยืดผม ดัดผม มีการใช้สารเคมีที่มีกลิ่นแรง และ ใช้เวลานานในแต่ละขั้นตอน อาจทำให้หนังศีรษะคุณแม่มีอาการระคายเคือง หรือ เวียนหัวจากกลิ่นสารเคมีได้ 
คนท้องอยากทำสีผมต้องทำอย่างไร
  • เลือกผลิตภัณฑ์ทำสีผมจากธรรมชาติ
  • น้ำยาทำสีผมต้องไม่มีกลิ่นรุนแรง หรือ มีส่วนผสมของแอมโมเนียน้อย
  • ไม่ควรให้สารเคมีโดนผิวหนัง เช่น หนังศีรษะ มือ (กรณีทำสีผมเอง) แขน ใบหน้า เป็นต้น
การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะช่วงตั้งครรภ์
  • เลือกแชมพู ครีมนวด สูตรอ่อนโยน มีส่วนผสมของสารสกัดจากธรรมชาติเป็นหลัก 
  • ไม่เกาหนังศีรษะแรง ๆ ขณะสระผม 
  • แม่ท้องยังสามารถไดร์เป่าผมได้ปกติ แต่ควรใช้ความร้อนไม่สูงมาก ไม่ใช้ไดร์จ่อไปหนังศรีษะ และไม่ดึงยืดผมแรง ๆ ขณะไดร์ 

คนท้องปวดหลัง อาการปวดหลังแก้อาการอย่างไร คนท้องนวดหลังได้ไหม

คน ท้อง ปวด หลัง, อาการ ปวด หลัง คน ท้อง, แม่ ท้อง ปวด หลัง, ปวด หลัง ตอน ท้อง, คน ท้อง ปวด หลัง นวด ได้ ไหม, ปวด หลัง คน ท้อง, อาการ คน ท้อง 1 สัปดาห์ ปวด หลัง, วิธี แก้ ปวด หลัง คน ท้อง, ทำไมคนท้องปวดหลัง, สาเหตุ คนท้อง ปวลดหลัง, แก้อาการ คนท้องปวดหลัง, นวดหลังคนท้องได้ไหม, แม่ท้องนวดแก้ปวดได้ไหม, ท่านอนคนท้อง, หมอนคนท้อง, อาการคนท้อง

อาการคนท้องปวดหลังเป็นเรื่องปกติ และแก้อาการได้ แม่ท้องแก้อาการปวดหลัง ปวดสะโพกได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

คนท้องปวดหลัง อาการปวดหลังแก้อาการอย่างไร คนท้องนวดหลังได้ไหม

สาเหตุของคนท้องปวดหลัง ปวดหลังตอนตั้งครรภ์

  • ข้อต่อต่าง ๆ ของกระดูกเชิงกรานหลวม เพื่อเตรียมตัวคลอดลูก
  • น้ำหนักของมดลูกและตัวทารกในครรภ์เพิ่มมากขึ้น ทำให้น้ำหนักถ่วงมาที่บริเวณด้านหน้า ศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนจุด ทำให้แม่ท้องต้องแอ่นหลัง เกร็งกล้ามเนื้อหลังเพื่อรับน้ำหนักมากกว่าปกติ หากแม่ท้องกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงอยู่ก่อนแล้ว ก่อนตั้งครรภ์ไม่ได้ออกกำลังกาย มีภาวะน้ำหนักตัวมาก หรือ แม่ท้องตัวเล็กมาก อาการปวดหลังจะปรากฏไวและปวดกว่าปกติ

อาการปวดหลังตอนท้องอันตรายไหม

ปกติแล้วอาการปวดหลังตอนท้องไม่อันตรายค่ะ แต่จะทำให้คุณแม่ไม่สบายตัว ปวดเมื่อยทรมาน นอนไม่หลับหรือนอนไม่ได้เลยก็มี แต่อาการเหล่านี้จะบรรเทาลงหากปรับท่านั่ง ยืน เดิน และท่านอนคนท้องได้ถูกต้อง

วิธีแก้อาการคนท้องปวดหลัง

  • เปลี่ยนท่าทางตลอดวันอยู่เสมอ ทั้งท่านั่ง ยืน เดิน และท่านอนคนท้อง ไม่อยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ซึ่งอยากจากจะช่วยลดอาการปวดหลังแล้ว ยังลดอาการเท้าบวม และ เส้นเลือดขอดได้ด้วย
  • ใส่รองเท้าสบาย ระบายอากาศดี ไม่ใส่รองเท้าส้นสูงที่ทำให้ต้องเกร็งกล้ามเนื้อหลังรับน้ำหนักในท่าที่ไม่เหมาะสม
  • นวดผ่อนคลายเบา ๆ เช่น นวดบริเวณไหล่ หลัง เป็นต้น โดยสามารถรับคำแนะนำในการนวดจากคุณหมอได้ เพื่อการนวดที่ถูกต้อง
  • ท่านอนแม่ท้องต้องเป็นท่าสบาย มีหมอนคนท้อง หมอนหนุนรับน้ำหนักท้องด้านหน้า และประคองช่วงหลัง
  • เลี่ยงการกินยาคลายกล้ามเนื้อ หรือ ยาแก้ปวด หากคุณแม่มีอาการปวดหลังมาก สามารถพบแพทย์เพื่อรับครีมทาแก้ปวดเมื่อย หรือยาที่ไม่ส่งผลต่อทารกในครรภ์

คนท้องปวดหลัง นวดแก้ปวดหลังได้ไหม

แม่ท้องสามารถนวดน้ำมัน หรือ ครีมแก้ปวด นวดคลึงแก้อาการปวดหลังคล้าย ๆ การนวดน้ำมันผ่อยคลาย แต่ต้องเป็นการนวดที่ได้รับคำแนะนำจากคุณหมอทั้งบริเวณที่นวดได้ การใช้นิ้วและฝ่ามือ และน้ำหนักในการนวด เพราะในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะบอบบางขึ้นและมีจุดที่ไม่ควรนวด เช่น ไม่ควรนวดกดจุด ไม่นวดกดจุดที่บริเวณฝ่าเท้า เป็นต้น

อ้างอิงข้อมูลอาการคนท้อง: หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊กส์

 

คนท้องรักแร้ดำ คอดำ ทั้งที่ไม่เคยดำมาก่อน...ดำได้ก็หายได้นะแม่

คน ท้อง รักแร้ ดํา, คน ท้อง คอ ดํา, รักแร้ ดํา ตอน ท้อง, ครีม ทา รักแร้ ดํา คน ท้อง, ทำไมคนท้องรักแร้ดำ, ทำไมคนท้องคอดำ, คนท้องรักแร้ดำ จะหายไหม, คนท้อง คอดำ จะหายไหม, คนท้องรักแรก้ดำตอนไหน, คนท้องคอดำตอนกี่เดือน, คนท้องทาครีมแก้รักแร้ดำได้ไหม, ครีมคนท้อง, สาเหตุ คนท้องรักแร้ดำ, สาเหตุคนท้อง คอดำ

คนท้องรักแร้ดำ ทั้งที่ก่อนท้องก็ไม่ดำ!!! หลังคลอดแล้วจะหายดำไหม มีวิธีแก้รักแร้ดำสำหรับคนท้องหรือไม่ เรามีคำแนะนำมาบอกแม่ท้องให้หายกังวล เพราะเราจะกลับมาผิวสวยเหมือนเดิมค่ะ 

คนท้องรักแร้ดำ คอดำ ทั้งที่ไม่เคยดำมาก่อน...ดำได้ก็หายได้นะแม่

ทำไมคนท้องรักแร้ดำ คอดำ

แม่ท้องที่รักแร้ดำ คอดำ หรือ มีรอยดำตามข้อพับต่าง ๆ  ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ค่ะ ซึ่งบางคนอาจมีเส้นดำ เป็นขีดสีดำกลางท้องด้วย แต่รอยดำที่เกิดขึ้นกับคนท้องจะค่อย ๆ หายไปได้เองหลังจากคลอดลูกแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ฮอร์โมนในร่างกายกลับคืนสู่สภาวะปกตินั่นเองค่ะ 

คนท้องใช้ครีมทาแก้รอยดำได้ไหม

จริง ๆ แล้วแม่ท้องไม่จำเป็นต้องใช้ครีมทาแก้รอยดำที่เกิดขึ้นตามรักแร้ คอ หรือ ข้อพับเลยค่ะ เพราะอย่างที่บอกว่ารอยดำเหล่านี้จะจางหายไปได้เอง ครีมทาแก้รอยดำที่เราเลือกใช้ อาจมีสารเคมีอันตราย ทำให้ระคายเคืองผิว เป็นผื่นแดงลุกลามอันตรายกว่าเดิมค่ะ... อย่าลืมนะคะว่าช่วงตั้งครรภ์ ผิวของแม่ท้องจะบอบบางและไวต่อสารเคมีมากกว่าปกติด้วยค่ะ 

คนท้องรักแก้ดำ คอดำ แก้ไขอย่างไร

หากคุณแม่ท้องกังวลใจเรื่องรักแร้ดำ คอดำ หรือ รอยดำตามข้อพับ เราก็มีวิธีดูแลผิวง่าย ๆ มาแนะนำ ซึ่งแม้จะไม่ทำให้หายได้ 100% เหมือนตอนก่อนท้อง แต่จะช่วยให้ผิวดูชุ่มชื่นและสะอาดขึ้นค่ะ 

  1. ใช้เบบี้ออยล์เช็ดรอยดำตามผิว 
    โดยใช้เบบี้ออยล์หยดลงสำลี 2-3 หยอด (จะแบบแผ่น หรือ แบบก้อนก็ได้นะคะ) แล้วเช็ดบริเวณรอยดำเบา ๆ ไม่กดหรือขัดถูกแรง ๆ เพราะจะทำให้ผิวแดง ถลอก

  2. ใช้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (สูตรไม่มีน้ำหอม) 
    โดยหยดลงสำลี 2-3 หยอด และเช็ดถูที่รอยดำด้วยขั้นตอนเหมือนกับการใช้เบบี้ออยล์ค่ะ แต่ข้อดีของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นคือ เมื่อเช็ดและนวดผิวเป็นประจำ จะช่วนทำให้ผิวนุ่ม และ ดูกระจ่างใสขึ้น

  3. ใช้ฟองน้ำนุ่ม ขัดเบาๆ ตอนอาบน้ำ
    โดยคุณแม่ควรใช้สบู่อาบน้ำธรรมดา ไม่จำเป็นต้องเป็นสูตรผิวขาวใสค่ะ การอาบน้ำและทำความสะอาดผิวเป็นประจำจะช่วยทำให้ผิวชึ่มชื่น ดูเปล่งปลั่งได้ค่ะ 

หลังคลอดแล้วรอยดำที่รักแร้ รอยดำที่คอจะหายเองได้จริงไหม

  1. ขึ้นอยู่กับเวลา เช่น คุณแม่หลังคลอดบางคนใช้เวลาไม่นานผิวก็กลับมาเป็นปกติ หรือ บางคนใช้เวลาหลายเดือน หรือ เป็นปีก็มีค่ะ แต่สำหรับคุณแม่บางคน รอยดำที่รักแร้ หรือที่คออาจไม่หาย 100% จะมีรอยดำหลงเหลืออยู่ก็เป็นไปได้

  2. ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง เช่น คุณแม่บางคนเริ่มใช้ตัวช่วยอื่น ๆ ที่ปลอดภัย เช่น ใช้มันฝรั่งฝานเป็นแว่นขัดถูกรอยดำ ใช้น้ำมะขามเปียกขัดถู หรือ ใช้ครีมที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ เป็นต้น 

 

ขอแนะนำ COCORO Bright Secret Natural Marks ขนาด 15 ml. มาร์คผิวจุดซ่อนเร้น ปรับผิวให้กระจ่างใส ไร้รอยเหี่ยวย่น ใช้มาร์คผิวแบบไม่ต้องล้างออก ปรับผิวด้วย Niacinamide ระดับเคาเตอร์แบรนด์ เป็นอินเเกรนเดียน ที่ vogue แนะนำ 

วิธีใช้ ทาบริเวณที่ต้องการหลังอาบน้ำ ในตอนเย็น (ทิ้งไว้ได้ยาวนาน ล้างออกตอนไหนก็ได้) สามารถทาซ้ำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ เพื่อผลลัพธ์ที่ไวขึ้น สามารถทาได้แม้จุดซ่อนเร้นค่ะ เพราะอ่อนโยนมาก ๆ และสามารถใช้ได้ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ รวมถึงขณะตั้งครรภ์ด้วยค่ะ

 

S 13189250

S 13189171

สามารถหาซื้อได้ที่ แผนกเด็กของห้าง Central, Robinson, Iconsiam ฝั่งสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น ทาคาชิมายะ และ Facebook Page : COCORO TOKYO

สอบถามเพิ่มเติมที่ Line : @cocorohanako

www.cocorohanako.com

คนท้องเป็นไมเกรนต้องรับมืออย่างไร กินยาแก้ปวดไมเกรนส่งผลกับลูกในท้องไหม

อาการคนท้อง-ไมเกรน-คนท้องเป็นไมเกรน-ยารักษาไมเกรนสำหรับแม่ตั้งครรภ์-แม่ท้องกินยาแก้ปวดหัวได้ไหม-แม่ท้องกินยาไมเกรนได้ไหม-ทำไมคนท้องปวดหัวบ่อย-ทำไมคนท้องเป็นไมเกรน

แม่ท้องที่มีอาการไมเกรนจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร กินยาแก้อาการไมเกรนได้หรือไม่ เรามีคำแนะนำที่ถูกต้องในการดูแลอาการไมเกรนเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อสุขภาพแม่และทารกในครรภ์มาบอกค่ะ 

แม่ท้องอาจมีอาการไมเกรนมากกว่าตอนที่ไม่ท้องจริงหรือไม่

ส่วนใหญ่พบว่า ผู้หญิงที่มีอาการไมเกรนอยู่ก่อนแล้ว เมื่อตั้งครรภ์จะไม่มีอาการกำเริบ 40-70% ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องจริงที่ว่า ยิ่งท้อง ไมเกรนยิ่งหนักกว่าตอนก่อนท้องค่ะ แต่ในแม่ท้องบางรายอาจมีอาการไมเกรนมากกว่าช่วงก่อนท้อง ซึ่งมีความเป็นไปได้หลายสาเหตุ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น ร่างกายมีความร้อนสูงที่ไปกระตุ้นอาการ นอนน้อย กินอาหารที่กระตุ้นอาการไมเกรน เพราะช่วงท้องอาจทำให้คุณแม่อยากกินอาหารจนห้ามใจตัวเองได้ยาก 

แม่ท้องแก้อาการปวดหัวไมเกรนอย่างไร
  1. ควบคุมปัจจัยที่มากระตุ้นให้อาการกำเริบ โดยให้คุณแม่สังเกตตัวเองว่าเวลามีอาการปวดเกิดจากอะไร อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน โดยใช้วิธีจดบันทึกว่าอะไรที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการกำเริบ เมื่อรู้ปัจจัยที่กระตุ้นก็ควรหลีกเลี่ยง เช่น
    • สภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ จากอยู่ในที่เย็นมากแล้วออกมาเจออากาศร้อนมาก
    • สถานที่ที่มีเสียงดังมากๆ หรือสถานที่ที่มีแสงกะพริบหรือแสงสว่างมากๆ
    • อาหารที่มีไทโรนีนสูง เช่น เนย นมสด ช็อกโกแลต กล้วยหอม ผงชูรส ชา กาแฟ เป็นต้น   
    • นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
    • ภาวะทางอารมณ์ ความเครียด เครียดจากการทำงาน หรือเครียดอยู่ตลอดเวลา

  2. รักษาด้วยการใช้ยา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ รักษาเมื่อเป็นระยะเฉียบพลัน กับ รักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการ โดย การรักษาในระยะเฉียบพลัน จะใช้ยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน หรือ พาราเซตามอล แต่จะกินยาควรกินเมื่อมีอาการปวดศีรษะเท่านั้น ไม่ควรกินเพื่อป้องกัน เช่น ไม่กินยาดักไว้ก่อนหากต้องออกไปที่อากาศร้อน เป็นต้น ถึงแม้ยาจะไม่มีผลต่อทารกในครรภ์ แต่ก็ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์  
ยาไมเกรนที่ห้ามแม่ตั้งครรภ์กิน
  1. ยาที่คนท้องห้ามกินเนื่องจากอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ คือ กลุ่มยาลดการอักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ เช่น ไอดูโพรเฟ่น ไดโกฟีแนก พอนสแตนด์ เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะทำให้เกิดการหดขยายของเส้นเลือด ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงกับทารกได้   

  2. ยาแก้ปวดไมเกรน คาเฟอร์ก็อท (Carfergot) แม้จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี แต่มีผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ ส่งผลต่อการพัฒนาระบบไตของทารก และระบบน้ำคร่ำ ทำให้น้ำคร่ำลดลงด้วย   

ตกขาวคนท้อง เป็นตกขาวตอนท้องผิดปกติไหม เช็กอาการคนท้องตกขาวระยะแรก


ตกขาว คน ท้อง, ตกขาว คน ท้อง ระยะ แรก, ตกขาว ตอน ท้อง, คน ท้อง ตกขาว, ลักษณะ ตกขาว ของ คน ท้อง, คน ท้อง มี ตกขาว ไหม, อาการ ตกขาว คน ท้อง, คน ท้อง เป็น ตกขาว, คน ท้อง ตกขาว มี กลิ่น, คน ท้อง ตกขาว ไหม, ตกขาวตอนท้อง อันตรายไหม, คนท้องเป็นตกขาว อันตรายไหม, ตกขาวเยอะตอนท้อง ผิดปกติไหม, ตกขาวเยอะตอนท้อง อันตรายไหม, เป็น ตกขาว ตอน ท้อง, คน ท้อง ตกขาว สี เขียว, คน ท้อง ตกขาว สี เหลือง, อาการ ตกขาว สี น้ํา ตาล ของ คน ท้อง

ตกขาวตอนท้องเป็นเรื่องปกติไหม ตกขาวคนท้องแบบไหนที่ไม่ปกติและต้องไปพบหมอ แม่ท้องมาเช็กลักษณะตกขาวคนท้องตรงนี้เพื่อดูแลสุขภาพครรภ์อย่างถูกต้องค่ะ

ตกขาวคนท้อง เป็นตกขาวตอนท้องผิดปกติไหม เช็กอาการคนท้องตกขาวระยะแรก

ตกขาวคนท้อง คนท้องเป็นตกขาวเกิดจากอะไร

ช่วงตั้งครรภ์มีเลือดหล่อเลี้ยงบริเวณช่องคลอดและมดลูกมากกว่าเดิม รวมถึงฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้นข่วงตั้งครรภ์ ทำให้เกิดตกขาวคนท้องขึ้นได้ ตกขาวคนท้องจึงเป็นอาการคนท้องปกติ แต่อาจจะมีมากกว่าช่วงไม่ได้ตั้งครรภ์ ตกขาวช่วงตั้งครรภ์ช่วยทำให้ช่องคลอดชุ่มชื้นอยู่เสมอ ไม่แห้งและไม่ระคายเคือง

ตกขาวคนท้องแบบไหนปกติ ตกขาวแบบไหนผิดปกติ

  • ตกขาวคนท้องแบบปกติ คือ มีอย่างสม่ำเสมอ (เกือบทุกวัน) แต่ไม่มาก ลักษณะใส ๆ หรือ สีขาวขุ่นเล็กน้อย ถ้าแห้งติดกางเกงในอาจเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ตกขาวไม่มีกลิ่น ไม่มีอาการคันช่องคลอด ไม่แสบช่องคลอดตอนปัสสาวะ ตกขาวในลักษณะนี้ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ค่ะ

  • ตกขาวคนท้องแบบผิดปกติ คือ ตกขาวมีปริมาณมาก จับตัวเป็นก้อนหรือเหลวเป็นน้ำ ตกขาวลักษณะคล้ายหนอง สีเหลืองหรือสีเขียว (ไม่ใสและไม่ขาว) มีกลิ่นเหม็น หรือตกขาวมีเลือดปนออกมา ในบางรายอาจมีอาการคันช่องคลอด แสบช่องคลอดตอนปัสสาวะ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อรา เชื้อพยาธิ หรือเชื้อแบคทีเรีย หากมีอาการตกขาวผิดปกติต้องรีบพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะลูกที่คลอดธรรมชาติอาจติดเชื้อดังกล่าว เสี่ยงต่อการตาอักเสบหรือตาบอดได้

คนท้องเป็นตกขาว ต้องรักษาตกขาวอย่างไร

  • กรณีตกขาวคนท้องที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อพยาธิ และเชื้อรา จะรักษาด้วยการให้ยาสอดช่องคลอด ขนาดยาและจำนวตะวันที่สอดยาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบและการติดเชื้อ ในบางกรณีคุณหมอจะจ่ายยาให้คุณพ่อด้วย เพราะเชื้อโรคนี้อาจติดต่อกันระหว่างสามีภรรยา โดยในผู้ชายมักไม่มีอาการแต่เชื้อจะถ่ายทอดมาสู่ผู้หญิง จึงจำเป็นต้องร่วมมือในการรักษาทั้งสามีและภรรยา

  • กรณีตรวจพบว่าตกขาวคนท้องกลายเป็นโรคหนองใน คุณหมอจะฉีดยาให้คุณแม่และแนะนำให้คุณพ่อไปตรวรักษาด้วยเช่นกัน ระหว่างนี้จะงดการมีเพศสัมพันธ์ และนัดตรวจเพื่อติดตามอาการการรักษา รวมถึงนัดตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อซิฟิลิสด้วย

  • กรณีตกขาวที่เกิดจากโรคเริม และเชื้อไวรัส ยังไม่มียารักษาเฉพาะที่ได้ผลดี หากพบว่าตดขาวมีความผิดปกติจึงควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ซึ่งจะได้รับยาลดความรุนแรงของโรค และลดระยะเวลาการเป็นซ้ำ ยาส่วนใหญ่จะเป็นครีมทาแผลเพื่อลดอาการอักเสบ แสบขัดเวลาปัสสาวะ ซึ่งจะหายเองใน 1-2 สัปดาห์ และอาจเกิดซ้ำ จึงควรงดการมีเพศสัมพันธ์

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อเป็นตกขาวตอนท้อง

  1. ไม่ควรซื้อยาเหน็บมาใช้เอง เพราะแม่ท้องอาจจะยังไม่ทราบว่าตกขาวที่เป็น เป็นลักษณะปกติหรือมีการติดเชื้อ การมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องจึงดีที่สุด 

  2. ไม่ควรล้างสวนช่องคลอด เพราะไม่ได้ทำให้ช่องคลอดสะอาดและไม่มีตกขาวอย่างที่เข้าใจ รวมถึงไม่ใช่วิธีรักษาอาการตกขาวคนท้องที่เกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ ด้วย 

  3. ไม่ควรทำความสะอาดอวัยวะเพศและช่องคลอดด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือแอลกอฮอล เพื่อป้องกันการระคายเคือง

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊กส์
  2. รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ - http://info.muslimthaipost.com
  3. รศ.นพ.ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร - http://www.si.mahidol.ac.th

 

ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน ลูกในท้องตัวเท่ามะพร้าวและเริ่มหมุนกลับหัวแล้ว

ตั้งครรภ์ 7 เดือน-อายุครรภ์ 7 เดือน-ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 26 สัปดาห์-พัฒนาการทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน ลูกในท้องตัวเท่ามะพร้าวและเริ่มหมุนกลับหัว

พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน แม่ตั้งครรภ์ 7 เดือน ลูกในท้อง ตัวเท่ามะพร้าว อายุครรภ์ 28 สัปดาห์  ( ปลายเดือนที่ 7 ทางจันทรคติหรือ 6 1/2 เดือนตามปฏิทิน)

  • ความยาวของตัวทารกตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 35 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 1,000 กรัม 
  • ต่อมไขมันเริ่มทำงานแล้ว ช่วงนี้ผิวลูกในท้องจึงเริ่มมีความชุ่มชื่นมากขึ้น
  • ทารกในท้องลืมตาได้เองแล้ว
  • ช่วงนี้พื้นที่ในท้องแม่แคบลงเพราะลูกตัวใหญ่ขึ้น เมื่อลูกเริ่มยืดแขนขาแม่จึงรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นแรง ดิ้นบ่อย
  • ทารกในท้องบางคนจะเริ่มหมุนตัวเอาส่วนหัวลงในลักษณะคล้ายเตรียมตัวคลอดแล้ว
  • ทารกมีการกลืนน้ำคร่ำ และฝึกการดูดนมด้วยเช่นกัน สำหรับน้ำคร่ำที่ถูกดูดกลืนเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะประมาณ 500 มล.ต่อวัน

 แม่ท้องอายุครรภ์ 7 เดือน มีอาการคนท้องและร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • การตั้งครรภ์เข้าไตรมาสที่ 3 นี้คุณแม่จะเหนื่อยและเพลียง่ายมากเพราะทั้งตัวลูกที่ใหญ่ขึ้น ท้องใหญ่ขึ้น น้ำหนักตัวแม่ที่เพิ่มมากขึ้น เดินนิดหน่อยก็จะเหนื่อย ง่วงนอน
  • แม่เริ่มจะปวดหลังมากขึ้น นอนไม่ค่อยหลับเพราะท้องใหญ่ไม่สบายตัว รวมทั้งลูกอาจจะตื่นมาถีบท้องแม่ตอนกลางคืนทำให้ไม่ค่อยได้นอน คุณแม่ลองนอนโดยใช้หมอนแม่ท้องช่วยประคองหลัง ประคองท้อง หรือนอนในท่าเอนหลังแบบกึ่งนั่งกึ่งนอน และใช้วิธีงีบหลับระหว่างวันช่วยได้
  • คุณแม่บางคนเริ่มมีน้ำนมไหล คุณแม่อาจเริ่มสังเกตว่ามีน้ำสีขุ่น ๆ ไหลออกมาจากหัวนม น้ำนี้มีความใสกว่าน้ำนม มีรสหวาน เรียกว่า "โคลอสตรัม" (Colostrum) เพื่อให้ทารกได้กินเป็นอาหารในช่วง 3-4 มื้อแรกก่อนที่น้ำนมจริง ๆ จากเต้านมจะไหลออกมานั่นเอง
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น คุณแม่จะเริ่มมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้นมาอีก หลังจากหายไปเมื่อเลย 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์แล้ว คราวนี้อาการปัสสาวะบ่อยนั้นเกิดจากมดลูกที่โต และทารกที่อยู่ภายในเริ่มมีแรงกดต่อกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการดังกล่าว

อาหารคนท้องอายุครรภ์ 7 เดือน

  • อาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี จะช่วยให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมแก่ทารก
  • ช่วงนี้วิตามินซีมีความจำเป็นมาก เพราะนอกจากจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กแล้ว ยังช่วยสร้างเม็ดเลือดให้กับทารกด้วย
  • แคลเซียมยังเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่นเดียวกับวิตามินเค ที่จะช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้นและช่วยบรรเทาอาการปวดหลังให้แก่คุณแม่ได้

 *************************************************

เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ได้ที่นี่

  1. ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน 
  2. ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน 
  3. ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน 
  4. ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน 
  5. ตั้งครรภ์ 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน 
  6. ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน 
  7. ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน 
  8. ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน 
  9. ตั้งครรภ์ 9 เดือน อายุครรภ์ 9 เดือน 

 

ท้องแล้วต้องทำอย่างไร คู่มือครบที่สุด สำหรับคุณแม่มือใหม่ ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนคลอด

5436 5 

ตั้งครรภ์แล้ว ต้องฝากท้องเมื่อไหร่ ฝากท้องที่ไหนดี ต้องตรวจร่างกายอะไรบ้าง ควรเจาะน้ำคร่ำไหม ต้องตรวจภาวะดาวน์ซินโดรมรึเปล่า คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอดดี ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่? 

ท้องแล้วต้องทำอย่างไร? คู่มือครบที่สุด สำหรับคุณแม่มือใหม่ ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนคลอด

เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ นอกจากความตื่นเต้นดีใจแล้ว คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจจยังไม่แน่ใจว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป ต้องไปฝากครรภ์เลยไหม หรือต้องตรวจร่างกายอะไรเพิ่มเติมหรือเปล่า ต้องเจาะน้ำคร่ำ หรือตรวจภาวะดาวน์ซินโดรมไหม จะคลอดเองหรือผ่าคลอดดี ที่สำคัญ แต่ละขั้นตอนมีค่าใช้จ่ายเท่าไร วันนี้เราจะมาบอกข้อมูลสำคัญที่ครบถ้วนที่สุดให้ทราบกัน

เมื่อรู้ว่าท้อง...ก็ต้องฝากครรภ์

การฝากครรภ์คือขั้นตอนแรกสำหรับคุณแม่มือใหม่ทุกคน โดยการฝากครรภ์คือ การตรวจสุขภาพของแม่และเด็กเป็นระยะ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งถึงวันคลอด ซึ่งคุณแม่สามารถฝากครรภ์ได้ทันทีที่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ แต่ไม่ควรเกิน 12 สัปดาห์ โดยยิ่งฝากครรภ์เร็วเท่าไร คุณแม่และลูกก็จะได้รับการดูแลที่เหมาะสมเร็วเท่านั้น สาเหตุที่ต้องฝากครรภ์ ก็เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจติดตามสุขภาพของทั้งแม่และลูกอย่างสม่ำเสมอ ว่ามีความเสี่ยงอะไรที่น่ากังวลไหม มีอาการผิดปกติอะไรหรือเปล่า เพื่อให้แม่และลูกปลอดภัยที่สุดจนถึงวันคลอด

ฝากครรภ์ครั้งแรก ต้องตรวจอะไรบ้าง?

ส่วนใหญ่การฝากครรภ์ครั้งแรก แพทย์จะตรวจร่างกายคร่าว ๆ ดังนี้

  • ตรวจยืนยันการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่คุณแม่มือใหม่มักจะตรวจครรภ์ด้วยตนเอง เมื่อพบว่าตั้งครรภ์จึงมาพบแพทย์ ซึ่งจะต้องตรวจยืนยันอีกครั้ง พร้อมตรวจอายุครรภ์จากรอบประจำเดือนล่าสุด
  • ซักประวัติ แพทย์จะถามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น เคยตั้งครรภ์มาก่อนไหม มีโรคประจำตัวหรือเปล่า มียาที่ใช้ประจำไหม ซึ่ง ต้องแจ้งแพทย์อย่างละเอียด เพราะยาบางตัวอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อทารกได้ เช่น ยารักษาสิวบางชนิดอาจทำให้ทารกพิการหรือแท้งได้เลย
  • ตรวจร่างกาย การตรวจร่างกายจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ

- ตรวจร่างกายทั่วไป เช่น วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง การทำงานของปอด ฯลฯ

- ตรวจภายใน เช่น ตรวจความสมบูรณ์ของรังไข่ ท่อนำไข่ ช่องคลอด ฯลฯ

- ตรวจเลือด เช่น ระดับน้ำตาล ไขมัน ความสมบูรณ์ของเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน การติดเชื้อเอชไอวี ซิฟิลิส ฯลฯ

ฝากครรภ์ ต้องไปพบแพทย์บ่อยแค่ไหน?

หลังจากฝากครรภ์ ระยะเวลาในการนัดพบแพทย์จะค่อนข้างตายตัว ดังนี้

  • อายุครรภ์ 1 - 32 สัปดาห์ พบแพทย์ทุก 1 เดือน (4 สัปดาห์)
  • อายุครรภ์ 32 - 36 สัปดาห์ พบแพทย์ทุกครึ่งเดือน (2 สัปดาห์)
  • อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ขึ้นไป พบแพทย์ทุก 1 สัปดาห์

ระยะเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณแม่และลูก

วิธีเลือกสถานที่ฝากครรภ์

ปัจจัยหลักๆ ที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดในการเลือกสถานที่ฝากครรภ์มี 3 ข้อ คือ

  • โรงพยาบาลหรือคลินิกที่ได้มาตรฐาน มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมดูแลหากเกิดความผิดปกติ
  • เดินทางสะดวก ใกล้บ้านหรือที่ทำงาน เพราะต้องเดินทางไปบ่อยๆ ตลอด 9 เดือนเต็ม
  • กรณีมีโรคประจำตัว อาจเลือกฝากครรภ์กับโรงพยาบาลหรือคลินิกที่รักษาอยู่เดิม เพื่อจะได้ตรวจสอบประวัติการรักษาและอาจปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสมในช่วงตั้งครรภ์ด้วย ทั้งนี้โรงพยาบาลหรือคลินิกที่ฝากครรภ์ ไม่จำเป็น ต้องเป็นที่เดียวกับโรงพยาบาลที่จะคลอดลูก สามารถเลือกได้ตามความสะดวก

ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์

ค่าใช้จ่ายการฝากครรภ์มีทั้งแบบรายครั้ง และแบบเหมาจ่าย ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจของโรงพยาบาลหรือคลินิกนั้นๆ โดยราคาเหมาจ่าย เริ่มต้นที่ประมาณ 12,470 บาท

ดูแลทั้งคุณแม่และคุณลูกให้ปลอดภัยแข็งแรง! เปรียบเทียบแพ็กเกจฝากครรภ์ฝากครรภ์จากโรงพยาบาลและคลินิกมากที่สุดที่นี่ พร้อมรับสิทธิ์ผ่อน 0% สูงสุด 10 เดือนและส่วนลดพิเศษสำหรับผู้อ่านรักลูกเท่านั้น


2.อัลตราซาวด์ตรวจเช็กความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์

หลังจากฝากครรภ์เรียบร้อยแล้ว อีกหนึ่งขั้นตอนที่แพทย์แนะนำให้ทำ คือ การอัลตราซาวด์ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์เห็นภาพทารกในครรภ์ได้ชัดเจน สามารถตรวจพัฒนาการ เพศ คัดกรองความเสี่ยงกลุ่มดาวน์ซินโดรมในเบื้องต้น และหาความผิดปกติของทารกได้ด้วย โดยมีทั้งอัลตราซาวด์ 2 มิติ 3 มิติ และ 4 มิติ ซึ่งจะแสดงภาพที่แตกต่างกันออกไป

อัลตราซาวด์ 2 มิติ 3 มิติ 4 มิติ คืออะไร ควรทำช่วงไหน?

อัลตราซาวด์ 2 มิติภาพที่ปรากฏจะเป็นแนวระนาบ เห็นเป็นสีเงาขาว-ดำ ไม่มีความลึกหรือตื้น มองไม่เห็นหน้าทารกอย่างชัดเจน สามารถอัลตราซาวด์ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 11 - 13 สัปดาห์ เพื่อประเมินอายุครรภ์ จำนวนทารกในครรภ์ หรือความผิดปกติต่างๆ ช่วงนี้บางคนจะเริ่มเห็นเพศของลูก แต่ยังไม่ชัดเจนนัก จะเริ่มชัดเมื่ออายุครรภ์ 15 สัปดาห์เป็นต้นไป

ท้องแล้วต้องทำอย่างไร? คู่มือครบที่สุด สำหรับคุณแม่มือใหม่ ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนคลอด-ท้องแล้วต้องทำอย่างไร-แพ็กเกจคลอด-แพ็คเก็จคลอด-อัลตราซาวนด์ 4 มิติ-คู่มือคนท้อง-แพ็คเก็จฝากท้อง-ฝากท้องที่ไหนดี

อัลตราซาวด์ 3 มิติภาพที่ปรากฏจะเป็นรูปแบบเสมือนจริง เห็นอวัยวะ รูปร่าง ใบหน้าได้ชัดเจนมากกว่า 2 มิติ โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการอัลตราซาวด์ 3 มิติ คือเมื่อมีอายุครรภ์ 26 - 32 สัปดาห์ เพราะทารกจะเริ่มมีหน้าตา รูปร่างที่ชัดเจนแล้ว

ท้องแล้วต้องทำอย่างไร? คู่มือครบที่สุด สำหรับคุณแม่มือใหม่ ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนคลอด-ท้องแล้วต้องทำอย่างไร-แพ็กเกจคลอด-แพ็คเก็จคลอด-อัลตราซาวนด์ 4 มิติ-คู่มือคนท้อง-แพ็คเก็จฝากท้อง-ฝากท้องที่ไหนดี

อัลตราซาวด์ 4 มิติคือการเก็บภาพอัลตราซาวด์ 3 มิติ มาเรียงต่อกันจนเกิดเป็นภาพเคลื่อนไหว หรือภาพเสมือนจริงแบบเรียลไทม์ จะเห็นพฤติกรรมของทารกภายในครรภ์ เช่น การหาว ดูดนิ้ว อ้าปาก ยกแขน หรือยิ้มได้ชัดเจน และยังสามารถตรวจความผิดปกติได้แม่นยำมากขึ้นด้วย เช่น เนื้องอกที่ผิวบางชนิด ปากแหว่ง เป็นต้น

ท้องแล้วต้องทำอย่างไร? คู่มือครบที่สุด สำหรับคุณแม่มือใหม่ ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนคลอด-ท้องแล้วต้องทำอย่างไร-แพ็กเกจคลอด-แพ็คเก็จคลอด-อัลตราซาวนด์ 4 มิติ-คู่มือคนท้อง-แพ็คเก็จฝากท้อง-ฝากท้องที่ไหนดี

ค่าใช้จ่ายในการอัลตราซาวด์

ค่าใช้จ่ายในการอัลตราซาวด์จะแตกต่างกันตามเทคโนโลยี แบบ 2 มิติ ถูกที่สุด ตามด้วย แบบ 3 มิติ และ 4 มิติ โดยราคาอัลตราซาวด์ 4 มิติ เริ่มต้นที่ประมาณ 2,390 บาท ต่อครั้ง

พร้อมเจอลูกของคุณหรือยัง? เปรียบเทียบและซื้อแพ็กเกจอัลตราซาวด์จากโรงพยาบาลและคลินิกที่ได้มาตรฐานวันนี้ พร้อมรับสิทธิ์ผ่อน 0% สูงสุด 10 เดือนและส่วนลดพิเศษสำหรับผู้อ่านรักลูกเท่านั้น

3.ถ้าอายุมากกว่า 35 ปี หรือมีความเสี่ยงอาจต้องตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม

การตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม คือการตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วยการตรวจโครโมโซมว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งให้ผลค่อนข้างแม่นยำ และสามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 10 - 12 สัปดาห์

ใครควรตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม

  • คุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • ครอบครัวมีประวัติโครโมโซมผิดปกติ
  • เคยมีบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติ
  • อัลตราซาวด์พบว่าทารกอาจมีโครโมโซมผิดปกติ

ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีกี่วิธี

การตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม นอกเหนือจากการอัลตราซาวด์ มี 2 รูปแบบที่ได้รับความนิยมคือ

1. NIPD (Non-invasive prenatal diagnosis)คือวิธีการตรวจคัดกรองด้วยวิธีเจาะเลือดของคุณแม่ ที่มีดีเอ็นเอบางส่วนของลูกปะปนอยู่ จึงสามารถตรวจสอบความผิดปกติได้ โดยให้ผลแม่นยำประมาณ 98% วิธีนี้นับเป็นวิธีที่ทันสมัยที่สุดและปลอดภัย ไม่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ซึ่งอาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันตามบริษัทที่ให้บริการตรวจ เช่น NICE Test, Panorama, myNIPS, Qualify NIPT, Harmony เป็นต้น

2. การเจาะน้ำคร่ำ (Amniotic Fluid Aspiration)วิธีการตรวจที่ให้ผลแม่นยำมากที่สุด 99% สามารถคัดกรองความเสี่ยงดาวน์ซินโดรม บอกเพศและความผิดปกติอื่นๆ ได้ถูกต้อง แต่การเจาะน้ำคร่ำก็มีความเสี่ยงอาจทำให้แท้งได้ จึงเหมาะสำหรับคุณแม่ที่ตรวจด้วยวิธีการอื่นๆ แล้วพบความผิดปกติ แพทย์จึงแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันอีกครั้ง

ค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองแบบ NIPA เริ่มต้นที่ 9,120 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายในการเจาะน้ำคร่ำ เริ่มต้นที่ 9,504 บาท ขึ้นอยู่กับค่าบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลหรือคลินิกนั้นๆ

เช็กเพื่อความชัวร์ ให้ลูกปลอดภัยและสมบูรณ์แข็งแรงที่สุด

เปรียบเทียบแพ็กเกจคัดกรองดาวน์ซินโดรมจากโรงพยาบาลและคลินิกมากที่สุดที่นี่


4.วางแผนคลอด คลอดธรรมชาติ VS ผ่าคลอด

หลังจากผ่านกระบวนการทุกขั้นตอนแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการวางแผนว่าจะคลอดธรรมชาติ หรือผ่าคลอด เราจะมาเปรียบเทียบให้ทราบกัน

คลอดธรรมชาติ

คือทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการคลอด โดยทั่วไปหากคุณแม่และลูกมีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง แพทย์จะแนะนำให้คลอดธรรมชาติ

ข้อดี

  • คุณแม่เสียเลือดน้อยกว่า แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว
  • ไม่มีปัญหาพังผืดในช่องท้อง
  • ทารกได้รับภูมิคุ้มกันจากเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด
  • โอกาสเกิดปัญหาทางระบบทางเดินหายใจค่อนข้างน้อย
  • โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่าง หรือหลังคลอดน้อยกว่าการผ่าคลอด

ข้อจำกัด

  • กำหนดเวลาคลอดไม่ได้ (อาจเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ที่ทำงานประจำ)
  • เจ็บท้องคลอดค่อนข้างนาน
  • มีข้อจำกัดที่ทำให้คุณแม่บางคนเลือกวิธีนี้ไม่ได้ เช่น ลูกตัวใหญ่มากจนออกจากช่องคลอดไม่ได้ ลูกอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะกับการคลอด รกเกาะต่ำ คุณแม่มีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงจะเกิดอันตราย เป็นต้น

ผ่าคลอด

คือทางเลือกสำหรับคุณแม่ที่มีข้อจำกัด ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ เช่น แม่และเด็กอาจเป็นอันตรายขณะคลอด

ข้อดี

  • ไม่ต้องรอเจ็บท้องนาน
  • สะดวก สามารถกำหนดช่วงเวลาคลอดได้ตามต้องการ
  • เป็นทางเลือกที่ปลอดภัย สำหรับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติไม่ได้

ข้อจำกัด

  • คุณแม่เสียเลือดมากกว่า มีแผลขนาดค่อนข้างใหญ่ที่หน้าท้องและมดลูก ฟื้นตัวช้า
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาพังผืดในช่องท้อง
  • ทารกไม่ได้รับภูมิคุ้มกันจากเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด
  • ทารกอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ
  • เสี่ยงเกิดอาการข้างเคียงขณะคลอด และหลังคลอด เช่น แพ้ยาสลบหรือยาระงับความรู้สึก อวัยวะข้างเคียงบาดเจ็บ แผลผ่าตัดติดเชื้อ
  • การตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ส่วนใหญ่จำเป็นต้องผ่าคลอด เพราะมดลูกมีแผลผ่าตัดทำให้ไม่แข็งแรง หากรอเจ็บท้องคลอดอาจมีความเสี่ยงที่มดลูกจะปริ แตกได้

ค่าใช้จ่ายในการคลอดลูก

ค่าใช้จ่ายในการคลอดโดยส่วนใหญ่เป็นแบบเหมาจ่าย มักรวมค่าห้องพักในโรงพยาบาลด้วย โดยแพ็กเกจคลอดธรรมชาติรวมค่าห้องพัก เริ่มต้นที่ 23,880 บาท และแพ็กเกจคลอดแบบผ่าคลอดรวมค่าห้องพัก เริ่มต้นที่ 33,950 บาท

จ่ายค่าคลอดราคาเต็มทำไม? รับสิทธิ์ผ่อน 0% สูงสุด 10 เดือนและส่วนลดพิเศษสำหรับผู้อ่านรักลูก จากโรงพยาบาลใกล้บ้านคุณ เช็กราคาแพ็กเกจคลอดเหมาจ่ายที่นี่

สำหรับว่าที่คุณแม่ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ หรือกำลังตั้งครรภ์อยู่ สามารถเลือกดูแพ็กเกจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่หลากหลาย ในราคาคุ้มค่า ได้ทาง HDmall.co.th หรือปรึกษาแอดมินจิ๊บได้ทุกเรื่องทางไลน์ @hdcoth

พิเศษ! สำหรับคุณแม่ที่จอง/ซื้อแพ็กเกจผ่าน HDmall.co.th รับส่วนลดสุดคุ้ม

👉จองแพ็กเกจหมวดหมู่ตั้งครรภ์เกิน 10,000 บาทขึ้นไป รับส่วนลดเพิ่ม 300 บาททันที! โค้ดส่วนลด HDRUKLUK300

👉จองแพ็จเกจคลอดทุกแพ็กเกจ รับส่วนลดเพิ่ม 1,000 บาททันที! โค้ดส่วนลด HDRUKLUK1000

  • แพ็กเกจอัลตราซาวด์ 4 มิติ
  • แพ็กเกจฝากครรภ์
  • แพ็กเกจตรวจคัดกรองความผิดปกติของลูกในครรภ์
  • แพ็กเกจคลอด เพียงแจ้งแพ็กเกจที่ต้องการและโค้ดส่วนลด กับแอดมินทางไลน์ @hdcoth ได้เลย จองด่วน! หมดเขต 31 ธันวาคม 2564 เท่านั้น

 

ที่มา

  1. HDmall, ฝากครรภ์ เรื่องสำคัญของคุณแม่ทุกคน (https://hdmall.co.th/c/what-you-need-to-know-about-antenatal-care) 20 SEP 2021.
  2. โรงพยาบาลพญาไท,ตรวจอัลตร้าซาวด์บ่อยๆ_จะส่งผลกับลูกน้อยในครรภ์หรือไม่, (https://www.phyathai.com/article_detail/3126/th/ตรวจอัลตร้าซาวด์บ่อยๆ_จะส่งผลกับลูกน้อยในครรภ์หรือไม่?) 20 SEP 2021.
  3. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, อัลตร้าซาวด์กับการวินิจฉัยทารกในครรภ์ (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=459) 20 SEP 2021.
  4. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, NIFTY Test มิติใหม่ของการตรวจโรคพันธุกรรมทารกในครรภ์ (https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/251/NIFTYTest-ตรวจโรคพันธุกรรมทารกในครรภ์/) 20 SEP 2021.
  5. ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, จะคลอดธรรมชาติ หรือ ผ่าคลอด ดีนะ? (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=430) 20 SEP 2021.

 

 

 

ทำไมคนท้องง่วงบ่อย แม่ท้องง่วงนอนตลอดเวลาเพราะอะไร

คนท้องง่วงบ่อย, แม่ท้องง่วงบ่อย, ทำไมคนท้องง่วงบ่อย, สาเหตุ คนท้องง่วงบ่อย, คนท้องขี้เกียจ, แม่ท้องขี้เกียจ, คนท้องนอนทั้งวัน, คนท้องนอน, คนท้องงีบหลับ, ท่านอนคนท้อง, แม่ตั้งครรภ์ง่วงบ่อย, อาการคนท้องง่วงบ่อย, อาการคนท้อง

คนท้องง่วงบ่อย ง่วงตลอดวันจนโดนนินทาว่าขี้เกียจ อาการคนท้องง่วงบ่อยเกิดจากอะไร และแม่ท้องจะดูแลตัวเองอย่างไรเพื่อให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ

ทำไมคนท้องง่วงบ่อย แม่ท้องง่วงนอนตลอดเวลาเพราะอะไร

แม่ท้องง่วงบ่อย แม่ท้องรู้สึกเหนื่อยเพลียทั้งวัน มาจากหลายสาเหตุ เช่น

  • ฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์
  • ท้องที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้คุณแม่หายใจไม่ค่อยสะดวก หายใจไม่เต็มปอดจึงทำให้ง่วงนอนบ่อย อ่อนเพลียกว่าปกติ เนื่องจากออกซิเจนไม่เพียงพอ
  • แม่ท้องนอนหลับยาก นอนไม่หลับในตอนกลางคืน เพราะอาการปวดหลัง ลูกดิ้น ทำให้รู้สึกง่วงนอนในช่วงกลางวัน

แม่ท้องง่วงบ่อยต้องรับมืออย่างไร

  • แม่ท้องที่ง่วงบ่อยควรหาเวลางีบ ครั้งละ 30 นาที เพื่อให้ร่างกายได้พักและรู้สึกสดชื่น
  • ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ เพื่อทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น หรือ ดื่มน้ำผลไม้ น้ำขิง เป็นต้น 
  • ท่านอนคนท้องในตอนกลางคืน ควรนอนในท่าที่ลดอาการปวดหลังได้ มีหมอนหนุนท้อง หรือ หมอนคนท้องหนุนหลัง เพื่อหลับได้สบายตลอดคืน

แม่ท้องง่วงบ่อย แปลว่าขี้เกียจใช่ไหม

อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า แม่ท้องที่ง่วงบ่อยมาจากหลายสาเหตุค่ะ แต่ขี้เกียจไม่ใช่สาเหตุ เพียงแต่แม่ท้องจะรู้สึกอ่อนเพลียกว่าเดิม ลุก เดิน ขยับตัวทำกิจกรรมต่าง ๆ ยากขึ้น หรือบางกิจกรรมก็อาจทำเองไม่ได้แล้ว เช่น ตัดเล็บเท้าเองไม่ได้เพราะท้องใหญ่ขึ้นจนก้มไม่ได้ ยืนทำกับข้าวนาน ๆ ไม่ได้เพราะเป็นตะคริว เป็นต้น ดังนั้น อย่างเพิ่งตัดสินนะคะว่าแม่ท้องเอาแต่นอนเพราะเพราะขี้เกียจ แต่เพราะร่างกายเปลี่ยนแปลงค่ะ 

คนท้องง่วงบ่อยควรระวังเรื่องต่อไปนี้

  1. แม่ท้องที่ง่วงบ่อยและเคยมีอาการหลับไปเลย (เหมือนวูบหลับใน) ไม่ควรขับรถเอง หรือ ทำงานใกล้เครื่องจักรเครื่องมืออันตรายเด็ดขาด
  2. ระวังเรื่องการเดินในพื้นต่างระดับ หรือบันได เพราะช่วงที่รู้สึกง่วง อาจทำให้ตาพร่า ทรงตัวได้ไม่ดี
  3. แม่ท้องที่ง่วงบ่อย แต่ต้องทำงานตลอดวัน ไม่ควรดื่มกาแฟ ชา เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ลองเปลี่ยนเป็นน้ำเย็น น้ำผลไม้สดชื่น ลุกขึ้นเดิน สูดหายใจลึก ๆ รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น จะช่วยได้

 

ทำไมแม่ท้องปัสสาวะทั้งกลางวันและกลางคืน คนท้องปัสสาวะบ่อย

คน ท้อง ปัสสาวะ บ่อย, คนท้องฉี่บ่อย, ทำไมคนท้องฉี่บ่อย, คนท้องฉี่บ่อย ผิดปกติไหม, ฉี่คนท้อง, ปัสสาวะคนท้อง, คน ท้อง ฉี่ บ่อย ตอน กลางคืน, อาการ ฉี่ บ่อย ของ คน ท้อง, แม่ ท้อง ฉี่ บ่อย, คนท้องฉี่ขัด, แม่ท้องฉี่ขัด, คนท้องปัสาาวะขัด, แม่ท้องฉี่บ่อย, คนท้องปวดฉี่บ่อย, คนท้องปวดปัสสาวะบ่อย, คนท้องปวดฉี่ทั้งวัน, คนท้องลุกฉี่ตอนกลางคืน, คนท้องลุกปัสสาวะตอนกลางคืน

ทำไมคนท้องถึงปัสสาวะบ่อยตลอดวัน ลุกไปปัสสาวะตอนกลางคืนตลอด คนท้องฉี่บ่อยเป็นอาการปกติหรือไม่ เรามีคำตอบค่ะ

ทำไมแม่ท้องปัสสาวะทั้งกลางวันและกลางคืน คนท้องปัสสาวะบ่อย

ช่วงตั้งครรภ์แม่ท้องจะปัสสาวะบ่อยมากขึ้น ซึ่งมักพบตั้งแต่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรกเลยค่ะ บางคนเป็นเฉพาะไตรมาสแรกและไตรมาสสุดท้าย

  1. คนท้องปัสสาวะบ่อยเพราะช่วงตั้งครรภ์ใหม่ ๆ ไตทำงานมากกว่าปกติ เพราะปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มากขึ้น ทั้งนี้ช่วงตั้งครรภ์มดลูดโตขึ้น จึงต้องการเลือดไปเลี้ยงมดลูกมากกว่าปกติ ร่างกายจึงปรับตัวให้มีเลือดมากขึ้น ชีพจรเต้นเร็วขึ้น เลือดผ่านไตมากกว่าเดิม ทำให้ไตกลั่นกรองปัสสาวะออกมามากขึ้นนั่นเอง

  2. คนท้องปัสสาวะบ่อยเพราะมดลูกที่อยู่ติดกับด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะจะขยายตัวขึ้น จึงไปเบียดและกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้บรรจุปัสสาวะได้น้อยลง ต้องถ่ายปัสสาวะบ่อย ๆ ซึ่งเป็นอาการเริ่มแรกอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ค่ะ แต่เมื่อถึงช่วงกลางของการตั้งครรภ์ แม่ท้องจะปัสสาวะไม่ถี่มากนัก เพราะมดลูกจะขยับสูงขึ้น ไม่กดทับกระเพาะปัสสาวะ และเมื่อใกล้คลอด ช่วงหัวเด็กจะต่ำลงอีกครั้ง ก็จะเป็นช่วงที่แม่ท้องกลับมาปัสสาวะบ่อย ฉี่บ่อยมากขึ้น

อาการคนท้องปัสสาวะบ่อยแบบไหนที่ควรพบหมอ

หากแม่ท้องปัสสาวะไปแล้วเพียงไม่กี่นาที แต่ยังรู้สึกอยากปัสสาวะอีก หรือ ทุกครั้งที่ปัสสาวะมีอาการแสบขัด จนปวดมากและปัสสาวะไม่ออกจนต้องเบ่ง คุณแม่ท้องควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการเพิ่มเติมและรักษาอย่างถูกต้องค่ะ

อ้างอิงข้อมูลอาการคนท้อง: หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊กส์

 

เจ็บเต้านมตอนท้อง เจ็บตึงเต้านม อาการที่คนท้องต้องรู้และรับมือ

คัดเต้านม, เจ็บคัดเต้า, คนท้องเจ็บนม, คนท้องเจ็บคัดเต้านม, อาการคัดเต้า, อาการ คัด เต้า คน ท้อง, นมคัดเต้า, คัดเต้ากี่วัน, ทำไมคัดเต้า, แก้อาการคัดเต้า, อาการ คัด เต้า คน ท้อง หาย ไป, อาการ คัด เต้า เกิด จาก, ทำไมคนท้องคัดเต้า, ลดอาการคัดเต้า, คนท้องคัดเต้า ผิดปกติไหม, แม่ท้องคัดเต้า ปกติไหม, อาการคนท้อง, เต้านมคนท้อง

แม่ท้องเจ็บคัดเต้านมทั้งที่ยังไม่คลอดลูกเกิดจากอะไร ผิดปกติไหม และแม่ท้องต้องดูแลเต้านมตัวเองอย่างไร เรามีคำแนะนำค่ะ

เจ็บเต้านมตอนท้อง เจ็บตึงเต้านม อาการที่คนท้องต้องรู้และรับมือ

อาการเจ็บเต้านม เจ็บตึงเต้าของแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการคล้ายตอนช่วงที่ใกล้ประจำเดือนมา แต่สำหรับแม่ท้อง อาการเจ็บคัดเต้า เจ็บตึงเต้าจะเจ็บและนานกว่า ซึ่งเป็นอาการปกติที่เต้านมเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมเต้าให้พร้อมสร้างน้ำนม ทำให้เต้านมขยายใหญ่ขึ้น แต่ก็จะมีอาการไม่นานแล้วจะค่อย ๆ หายไป แต่บางคนจะเจ็บมากจนอาจไม่สามารถจับเต้านมตัวเองได้ (แค่จับเบา ๆ ก็เจ็บมาก) แต่ก็ยังเป็นอาการปกติ โดยหลังอายุครรภ์ 3 เดือนไปแล้วจะหายเจ็บไปเอง

อาการเจ็บคัดเต้า เจ็บตึงเต้าจะหายหรือไม่

อย่างที่บอกว่า อาการคัดเจ็บเต้าจะมีช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ เหมือนเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของคุณแม่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงทั้งฮอร์โมนและพัฒนาการทารกในครรภ์ โดยปกติแล้วหลังตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกไปก็จะหายเจ็บคัดเต้า หรือหายปวดตึงได้ และอาจะเจ็บอีกครั้งตอนใกล้คลอด เพราะร่างกายเริ่มกระบวนการสร้างน้ำนมค่ะ

วิธีแก้อาการปวดตึงเต้านม เจ็บคัดเต้าช่วงตั้งครรภ์

  1. วิธีแก้อาการปวดตึงเต้านมด้วยการประคบอุ่นที่เต้านมด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็ก ชุบน้ำอุ่น บิดหมาด แล้วลองประคบบริเวณรอบเต้าก่อน ถ้ายังร้อนเกินไปปล่อยให้ผ้าคลายความร้อนออกอีกเล็กน้อย แล้วประคบรอบ ๆ เต้า ให้พออุ่น ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น บรรเทาอาการเจ็บตึงได้

  2. หากคุณแม่บางคนรู้สึกเจ็บมาก วิธีแก้อาการปวดตึงเต้านมควรเปลี่ยนขนาดชุดชั้นในให้ใส่สบายขึ้น ไม่รัดกดเต้าแน่น ซึ่งจะยิ่งทำให้เจ็บตึงเต้ามากขึ้น

อ้างอิงข้อมูลอาการคนท้อง: หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊กส์

 

แพ้ท้อง อาการแพ้ท้อง แพ้ท้องกี่เดือนและวิธีแก้อาการแพ้ท้อง


แพ้ท้อง, อาการ แพ้ท้อง, แพ้ท้อง แทน เมีย, อาการ คน แพ้ท้อง, แพ้ท้อง หนัก มาก, แพ้ท้อง ตอน กี่ เดือน, วิธี แก้ แพ้ท้อง, วิธี แก้ อาการ แพ้ท้อง, แพ้ท้อง ตอน ไหน, แพ้ท้อง กี่ เดือน หาย, อาหาร แก้ แพ้ท้อง, อาหาร คน แพ้ท้อง, ไม่ แพ้ท้อง เลย, แพ้ท้อง หนัก มาก ต้อง ทํา ยัง ไง, เวียนหัว คลื่นไส้ แพ้ท้อง, ทำไมแพ้ท้อง, ทำไมไม่แพ้ท้อง, ยาแก้แพ้ท้อง

อาการแพ้ท้องเกิดจากอะไร แพ้ท้องหนักมาก แพ้ท้องแทนเมีย ยาแก้แพ้ท้อง มาหาคำตอบพร้อมวิธีรับมืออาการคนท้องแพ้ท้องได้ที่นี่ค่ะ

แพ้ท้อง อาการแพ้ท้อง แพ้ท้องกี่เดือนและวิธีแก้อาการแพ้ท้อง

อาการแพ้ท้องเกิดจากอะไร

  1. แพ้ท้องเพราะฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์

    เมื่อตั้งครรภ์ฮอร์โมนหลายชนิดในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งฮอร์โมนที่สร้างมาจากรกที่เรียกว่า human Chorlonic Gonadotroin (hCG) ซึ่งจะมีระดับสูงสุดในช่วงเดือนแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ รวมถึงการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์ไข่ปลาอุก ภาวะเหล่านี้ทำให้ฮอร์โมนจากรกเข้ามาอยู่ในกระแสเลือดของแม่มากขึ้น อาจทำให้แพ้ท้องหนักกมากว่าปกติได้

  2. แพ้ท้องเพราะความเครียด ความกังวล

    คุณแม่บางคนมีภาวะเครียดเมื่อตั้งครรภ์ เช่น กังวลเรื่องสุขภาพ การเลี้ยงดูลูก รูปร่างตัวเองที่เปลี่ยนไป การเงินทางบ้าน เป็นต้น ภาวะเครียดนี้อาจส่งผลให้คุณแม่มีอาการเวียนหัว ปวดหัว คลื่นไส้แพ้ท้อง ได้เช่นกัน 

อาการแพ้ท้องมีอะไรบ้าง

  • เวียนหัว ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน
  • ไวต่อการรับกลิ่น เช่น ได้กลิ่นผิดไปจากเดิม เหม็นกลิ่นที่เคยอาจชอบ บางคนอาจรู้สึกเหม็นกลิ่นสามี เป็นต้น
  • มีน้ำลายมากกว่าปกติ
  • หิวหรืออยากกินอาหารตลอดเวลา บางครั้งอยากกินของที่ไม่เคยชอบ ของกินแปลก ๆ ของเปรี้ยว ๆ ขนมหวาน เป็นต้น
  • บางคนอาจมีอาการเบื่ออาหาร ผอมลง
  • บางคนไม่มีอาการแพ้ท้องเลย แต่จะรู้สึกง่วง อ่อนเพลียตลอดเวลา

อาการแพ้ท้องแทนเมียมีจริงไหม เกิดจากอะไร

สามีที่แพ้ท้องภรรยามักเกิดจากความตื่นเต้น กังวล และความเครียดในการวางแผนอนาคตเป็นหลัก เพราะถึงแม้ว่าผู้ชายจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่บ้าง แต่ก็มีน้อยและไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์ จึงไม่ใส่สาเหตุของการแพ้ท้องแทนเมีย


แพ้ท้อง, อาการ แพ้ท้อง, แพ้ท้อง แทน เมีย, อาการ คน แพ้ท้อง, แพ้ท้อง หนัก มาก, แพ้ท้อง ตอน กี่ เดือน, วิธี แก้ แพ้ท้อง, วิธี แก้ อาการ แพ้ท้อง, แพ้ท้อง ตอน ไหน, แพ้ท้อง กี่ เดือน หาย, อาหาร แก้ แพ้ท้อง, อาหาร คน แพ้ท้อง, ไม่ แพ้ท้อง เลย, แพ้ท้อง หนัก มาก ต้อง ทํา ยัง ไง, เวียนหัว คลื่นไส้ แพ้ท้อง, ทำไมแพ้ท้อง, ทำไมไม่แพ้ท้อง, ยาแก้แพ้ท้อง

อาการแพ้ท้องจะเป็นกี่เดือน จะหายแพ้ท้องตอนกี่เดือน

อาการแพ้ท้องปกติมักจะมีอาการในตอนเช้า และดีขึ้นในช่วงสาย ๆ บางคนอาจมีอาการแพ้ท้องในช่วงบ่ายหรือเย็น ซึ่งโดยปกติแล้วอาการแพ้ท้องจะพบมากในช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ หลังจาก 3 เดือนไปแล้วอาการแพ้ท้องจะหายไปได้เอง แต่ในบางรายอาจมีอาการแพ้ท้องไปเรื่อย ๆ จนถึงใกล้คลอด หรือบางคนแพ้ท้องหนักมาก ถึงขนาดกินอาหารแล้วอาเจียนออกมาก ผอมลง อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หากมีอาการแพ้ท้องหนักมากจะต้องรีบพบแพทย์ค่ะ เพราะอาจทำให้คุณแม่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หน้ามืด เป็นลมได้รับอุบัติเหตุได้

อาการแพ้ท้องหนักมาก แพ้ท้องจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ กินยาแก้แพ้ท้องได้ไหม

แม่ท้องที่มีอาการแพ้ท้องหนักมาก แพ้ท้องอาเจียนจนกินไม่ได้ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ จะต้องรับและกินยาแก้อาการแพ้ท้องอย่างไรให้ได้ผล และ เป็นยาแก้แพ้ท้องที่ปลอดภัยกับทารกในครรภ์ โดยยาแก้แพ้ท้องที่คุณหมอจ่ายให้แม่ตั้งครรภ์ ประกอบด้วย dimenhydrinate (ไดเมนฮายดริเนต) และ Vitamin B6 (วิตามินบี 6) เป็นกลุ่มที่แม่ตั้งครรภ์อ่อน ๆ ที่มีอาการแพ้ท้องหนักมากสามารถกินได้ ให้กินยาแก้แพ้ท้อง 1 เม็ดก่อนนอน ซึ่งยาจะออกฤทธิ์ได้นานเกือบตลอดวันในวันรุ่งขึ้น แต่ถ้ายังอาการแพ้ท้องอาเจียนมากในช่วงบ่าย ๆ หรือ เย็น ๆ อาจเพิ่มได้อีก 1 เม็ดตอนเช้า หรือ ตอนสาย อาการข้างเคียงของยาแก้อาการแพ้ท้องหนักคือ ทำให้คุณแม่ง่วงนอน ดังนั้นจึงไม่ควรขับรถ หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร เพราะอาจเกิดอันตรายได้

วิธีแก้อาการแพ้ท้อง

  1. อาการแก้อาการแพ้ท้อง - ช่วงเช้าควรเริ่มด้วยเครื่องดื่มอุ่น ๆ เช่น น้ำสะอาด นม น้ำเต้าหู้ หรือน้ำส้มคั้นสดสะอาด เพื่อปรับสมดุลในร่างกาย ทำให้รู้สึกสดชื่น ส่วนอาาหรในระหว่างวันควรเป็นอาการย่อยง่าย เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เป็นต้น ควรเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน หรืออาหารที่มีกลิ่นแรง เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้รู้สึกเวียนหัว 

  2. ปรับพฤติกรรมการกินแก้แพ้ท้อง - แม่ท้องควรกินมื้อละน้อย ๆ แต่กินถี่ๆ ไม่ควรกินมื้อเดียวแบบอิ่มเต็มที่มากเกินไป เพื่อให้กระเพาะค่อย ๆ รับและย่อยอาหาร ไม่พะอืดพะอมอยากอาเจียน

  3. แก้อาการแพ้ท้องด้วยเครื่องดื่มอุ่น - ในระหว่างวันควรดื่มน้ำหรือน้ำขิงอุ่น ๆ ที่ช่วยให้รู้สึกสดชื่น 

  4. พักผ่อนให้เพียงพอช่วยแก้อาการแพ้ท้อง - แม่ท้องควรนอนให้เพียงพอ ตอนกลางคืนควรนอนในท่าสบาย มีหมอนหนุนท้องและหลังเพื่อทำให้นอนหลับสบายมากขึ้น หากนอนไม่ค่อยหลับ ให้เพิ่มเวลางีบนอนตอนกลางวันซัก 30 นาที 

  5. เลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการแพ้ท้อง - เลี่ยงอาหารหรือของใช้ที่มีกลิ่นเหม็น ไม่ลุกนั่งไว เป็นต้น

  6. บอกให้สามีรู้ว่าต้องการการดูแลอย่างไรเมื่อแพ้ท้อง - อาการแพ้ท้องจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากคนใกล้ชิดด้วยค่ะ จึงต้องให้คุณพ่อมาช่วยดูแล นวดตัว ทำอาหาร หรือ หากิจกรรสนุก ๆ ให้ได้ยิ้มหัวเราะกัน เมื่อคุณแม่อารมณ์ก็จะช่วยลดความเครียด ลดอาการแพ้ท้องได้

 

แม่ท้องต้องอ่าน! 5 วิธีรับมือผมร่วงช่วงตั้งครรภ์

แม่ท้องผมร่วง

แม่ท้องต้องอ่าน! 5 วิธีรับมือผมร่วงช่วงตั้งครรภ์

หนึ่งในปัญหาอาการของคนท้องที่คุณแม่หลายคนเผชิญอยู่คือ อาการผมร่วง ซึ่งอาการผมร่วงในช่วงตั้งครรภ์เกิดจากฮอร์โมนิมีการเปลี่ยนแปลงมากในช่วงตั้งครรภ์ แต่อาการผมร่วงจะหายไป และผมใหม่จะขึ้นได้หลังคลอดลูกแล้ว แต่ในระหว่างนี้คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถดูแลอาการผมร่วง ดูแลสุขภาพผมและหนังศีรษะได้ดังต่อไปนี้ค่ะ 

  1. ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
    ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผมและดูแลเส้นผมที่ทำมาจากส่วนผสมธรรมชาติ เพื่อลดอาการแพ้และระคายเคืองหนังศีรษะจนทำให้ผมหลุดร่วงมากขึ้น อีกทั้งผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติยังทำให้เส้นผมและหนังศีรษะชุ่มชื่นขึ้นโดยไม่มีอันตรายอีกด้วย

  2. นวดหนังศีรษะด้วยน้ำมันธรรมชาติ
    อย่าง น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันอัลมอนด์ โดยนำน้ำมันมาอุ่นเล็กน้อยก่อนนวดศีรษะเบาๆ จากนั้นทิ้งไว้ประมาณสิบนาทีแล้วล้างออก ช่วยให้หนังศีรษะชุ่มชื้นแข็งแรงและกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่หนังศีรษะ ช่วยลดการหลุดร่วงและกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม

  3. เจลว่านหางจระเข้
    ใช้เจลว่านหางจระเข้ ปอกเปลือกและล้างเมือกที่ติดอยู่บนเจลให้สะอาด จากนั้นนำมาทาหรือนวดหนังศีรษะ จะช่วยบำรุงเส้นผมได้เป็นอย่างดีและป้องกันผมร่วง

  4. ใช้หวีห่าง
    แปรงผมเบาๆโดยใช้หวีซี่ห่าง เพื่อช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม

  5. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก
    เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีรวมทั้งเส้นผมและหนังศีรษะด้วย ช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม

คุณแม่หลายคนผมร่วงในช่วงตั้งครรภ์  ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงและการขาดธาตุเหล็กในช่วงตั้งครรภ์  ทำให้คุณแม่เลือกที่จะแก้ไขปัญหาโดยการตัดผมสั้น แต่บางคนตัดแล้วก็ยังคงร่วงเหมือนเดิมหรือมากขึ้นค่ะ คุณแม่ต้องทานอาหารมีประโยชน์ และกินยาบำรุงที่คุณหมอให้อย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการขาดร่วงสุขภาพผมที่ดี

แม่ท้องปวดขาหนีบ เจ็บขาหนีบตอนท้อง เป็นสัญญาณใกล้คลอดจริงไหม

 อาการคนท้องปวดขาหนีบ, คนท้องปวดขาหนีบ, ปวดขาหนีบ, คนท้องเจ็บขาหนีบ, ทำไมแม่ท้องปวดขาหนีบ,  ทำไมคนท้องปวดขาหนีบ, ปวดขาหนีบตอนท้อง, ปวดขาหนีบตอนตั้งครรภ์, แม่ตั้งครรภ์ปวดขาหนีบ, เจ็บขาหนีบ, ปวด โคน ขา หนีบ, อาการปวดคนท้อง, คนท้องปวดขาหนีบใกล้คลอด, สัญญาณเตือนคลอดลูก, อาการคนท้อง

อาการปวดขาหนีบตอนท้อง แม่ท้องเจ็บขาหนีบเป็นสัญญาณเตือนใกล้คลอดของแม่ตั้งครรภ์จริงหรือไม่ มาหาคำตอบและการแก้อาการแม่ท้องปวดขาหนีบกันได้ที่บทความนี้ค่ะ

แม่ท้องปวดขาหนีบ เจ็บขาหนีบตอนท้อง เป็นสัญญาณใกล้คลอดจริงไหม

สาเหตุอาการคนท้องปวดขาหนีบเกิดจากอะไร

  1. อาการปวดขาหนีบตอนท้องเกิดจากการที่มดลูกขยายตัวและเส้นเอ็นที่ยึด ระหว่างมดลูกกับหัวหน่าวตึง

  2. ทารกในท้องตัวใหญ่ขึ้นจนไปกดทับบริเวณกระดูกเชิงกราน ทำให้เวลาที่คุณแม่เคลื่อนไหวร่างกายจะรู้สึกปวดที่ท้องน้อยและบริเวณขาหนีบทั้ง 2 ข้าง 

  3. นั่ง ยืน เดิน อยู่ในท่าเดิมนาน ๆ จนมีอาการเกร็งปวดตึง

อาการคนท้องปวดขาหนีบ เจ็บขาหนีบ คือสัญญาณเตือนใกล้คลอดจริงไหม

อาการปวดขาหนีบไม่ใช่สัญญาณเตือนใกล้คลอด และไม่เป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ค่ะ แต่เป็นอาการที่ทำให้คุณแม่ไม่สบายตัว ไม่ว่าจะอยู่ในท่าไหนก็อาจจะยังปวดขาหนีบ ขยับตัวลำบาก หรือ บางคนอาจมีอาการปวดมากจนนอนหลับไม่สนิทค่ะ

วิธีรับมืออาการปวดขาหนีบตอนท้อง เจ็บขาหนีบ

  1. เลี่ยงการนั่ง ยืน เดินเป็นเวลานาน ๆ ควรได้พักนั่ง เอนหลัง หรือ เปลี่ยนท่าบ่อย ๆ

  2. นอนในท่าสบาย ยกขาสูงกว่าศีรษะเล็กน้อย

  3. เลี่ยงการใส่รองเท้ามีส้นสูง ๆ เพราะจะทำให้การเดิน หรือ ยืน มีอาการเกร็ง ส่งผลให้เกิดอาการปวดขาหนีบได้

  4. บีบนวดเบา ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว แต่ห้ามกดจุดนะคะ เพราะบริเวณขาหนีบ โคนขาเป็นจุดที่มีเส้นเลือดใหญ่อยู่ การนวดกดจุดอาจส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตได้ค่ะ 

  5. หากคุณแม่มีอาการปวดขาหนีบมาก ปวดบ่อย หรือ ปวดต่อเนื่องหลายวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและอาจรับยาแก้ปวดที่สามารถกินได้อย่างปลอดภัยค่ะ 

แม่ท้องปวดหลัง อาการคนท้องที่รับมือได้ง่ายๆ ด้วย 4 ท่านี้

คนท้องปวดหลัง-ทำไมคนท้องปวดหลัง-แม่ตั้งครรภ์ปวดหลัง-แก้อาการปวดหลังตอนท้อง-ท่านอนแก้ปวดหลัง-ท่ายืนแก้ปวดหลัง-ท่านั่งแก้ปวดหลัง-อาการคนท้อง-อาการปวดของคนท้อง-แม่ตั้งครรภ์นวดแก้ปวดหลัง

หนึ่งในอาการคนท้องที่แม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ คือ อาการปวดหลัง ยิ่งช่วงท้องแก่ ท้องใหญ่ขึ้นมากเท่าไหร่ อาการคนท้องปวดหลังยิ่งตามไปแทบจะ 24 ชั่วโมงเลยก็ว่าได้ค่ะ แต่เราสามารถบรรเทาอาการปวดหลังช่วงตั้งครรภ์ได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน และบางวิธีก็ต้องให้คุณพ่อช่วยด้วยค่ะ 

ทำไมแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหลัง
  • การแบกน้ำหนักครรภ์มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนักขึ้น
  • ยืน เดิน นั่งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในท่าที่ไม่สบายตัว ไม่มีหมอนรองรับหลังของคุณแม่
  • นอนในท่าไม่สบายตัว นอนโดยไม่มีหมอนหนุนท้องหรือหนุนหลังเพื่อประคองรับน้ำหนัก
  • คุณแม่เปลี่ยนแปลงท่าทาง หรือ การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันไวเกินไป หรือ บิดเอี้ยวตัวเฉพาะช่วงเอว ไม่หันหรือหมุนไปทั้งตัวแบบช้าๆ (ท่าที่มักทำตอนก่อนตั้งครรภ์) 
ท่าเดิน ยืน นั่ง นอน ช่วยลดอาการปวดหลังให้แม่ตั้งครรภ์
  • ท่าเดิน ช่วยลดอาการปวดหลังสำหรับแม่ท้อง:แม่ท้องควรเดินหลังตรง ไม่งอหลังหรือห่อไหล่ จะแยกขา(ถ่างขา) หน่อยก็ได้เพื่อให้เดินได้สะดวก รักษาสมดุลในการเดิน และหากต้องเดินนาน ๆ อาจต้องนั่งพักเป็นระยะ เพื่อลดอาการปวดขา และปวดหลัง

  • ท่ายืน ช่วยลดอาการปวดหลังสำหรับแม่ท้อง: แม่ท้องไม่ควรยืนนาน ๆ นะคะ หากต้องยืนทำงาน ควรมีเวลาได้นั่งพัก หรือปรับเปลี่ยนการทำงานให้มีการนั่งมากกว่าการยืนค่ะ 

  • ท่านั่ง ช่วยลดอาการปวดหลังสำหรับแม่ท้อง: เลือกนั่งเก้าอี้ที่สูงพอดี นั่งแล้วเท้าไม่ลอย หรือขาไม่พับมากเกินไป นั่งหลังตรง ไหล่ และสะโพกชิดพนักพิงของเก้าอี้ วางเท้าบนพื้นเรียบ หรือพาดเท้าสูงระดับตัวเพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวกขึ้น

  • ท่านอน ช่วยลดอาการปวดหลังสำหรับแม่ท้อง: นอนตะแคงซ้ายและใช้หมอนรองใต้เข่าทั้งสองข้าง หรือนอนตะแคงกอดหมอนข้างแทน

นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและท่าทางของคุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว คุณพ่อเองก็ต้องช่วยนะคะ เช่น นวดนวดหลัง นวดไหล่ หรือ ทำตัวเป็นหมอนให้คุณแม่ท้องนั่งพิงเอนหลังสบายๆ แต่สิ่งที่คุณพ่อต้องให้ความสำคัญคือ การนวดหลังคุณแม่ควรนวดเบา ๆ ทั่วทั้งแผ่นหลัง ไม่ใช่การนวดกดจุด เพราะบางจุดหากกดและใช้น้ำหนักแรง อาจส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและการตั้งครรภ์ เช่น ฝ่าเท้า เป็นต้น 

ไม่ท้องไม่รู้หรอก! 8 อาการที่คนเป็นแม่ต้องเจอช่วงตั้งท้อง

อาการคนท้อง-ท้องแตกลาย-คนท้องท้องผูก-คนท้องเป็นตะคริว-คนท้องเป็นกรดไหลย้อน

รู้ไหมคะว่า อาการคนท้องที่แม่ตั้งครรภ์ต้องเจอตลอดการอุ้มท้อง 9 เดือน "มันเหนื่อยมาก" ใครที่ไม่เคยท้องไม่มีทางรู้แน่นอนว่าแม่ต้องรับมือกับอะไรบ้าง นี่คือ 8 อาการที่คนท้องต้องเจอแน่นอน พร้อมวิธีดูแลรับมืออย่างถูกต้องเพื่อลดอาการกวนใจเหล่านั้นค่ะ 

  1. แม่ท้องเป็นฝ้า และผิวหนังสีคล้ำ ฝ้า กระ ผิวหนังบริเวณรักแร้ ขาพับ และขาหนีบมีสีคล้ำ ในช่วงตั้งครรภ์เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจน ปริมาณเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผิวหนังคล้ำขึ้น

วิธีป้องกันและรักษา

    • ทาครีมบำรุงให้ผิวชุมชื่น
    • ต้องเลี่ยงแสงแดด และใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ
    • หากคุณแม่เป็นเยอะ ควรใช้ยารักษา โดยการปรึกษาแพทย์

2. แม่ท้องหน้าท้องลาย ช่วงตั้งครรภ์ผิวหนังของคุณแม่จะขยายอย่างรวดเร็ว บวกกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่หน้าท้อง สะโพก ต้นขา และก้น ทำให้เกิดการแตกลาย

วิธีป้องกันและรักษา

    • ทาโลชั่นบำรุงผิว หรือออยล์ เป็นประจำ
    • นวดน้ำมันจะช่วยให้ผิวเกิดความยืดหยุ่น
    • เลี่ยงการอาบน้ำอุ่นที่ร้อนจัด
    • ไม่เกาผิวเมื่อคัน
    • ดื่มน้ำมากๆ สร้างความชุ่มชื่นให้ผิว

3. แม่ท้องเป็นตะคริว การหมุนเวียนของเลือดที่ลดประสิทธิภาพลง เดินมาก ยืนนานๆ ทำให้เลือดมาคั่งบริเวณน่องทำให้เกิดตะคริว และร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็น เช่น แคลเซียม วิตามินบีรวม เป็นต้น 

วิธีป้องกันและรักษา

    • นวดขาเบาๆ ให้เลือดไหลเวียน
    • นำหมอน 2 ใบ มารองเท้าเวลานอน
    • ดื่มนมให้มากขึ้น เพิ่มแคลเซียม
    • รับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ

 

4. แม่ท้องท้องผูก สาเหตุมาจากมดลูกเข้าไปกดลำไส้ และขาดการออกกำลังกาย ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวน้อย

วิธีป้องกันและรักษา

    • ออกกำลังกายเบาๆ
    • ดื่มน้ำวันละหลายๆ แก้ว
    • กินอาหารพวกผัก และผลไม้ที่มีกากใยมากๆ

  อาการคนท้อง-ท้องแตกลาย-คนท้องท้องผูก-คนท้องเป็นตะคริว-คนท้องเป็นกรดไหลย้อน

5. แม่ท้องปวดหลัง เมื่อท้องขยายใหญ่ขึ้น ข้อต่างๆ ของกระดูกเชิงกรานหลวม และน้ำหนักของมดลูกกับเด็กเพิ่มมากขึ้น ทำให้แม่ท้องปวดหลัง

วิธีป้องกันและรักษา

    • ออกกำลังกาย ยืน เดิน
    • ใส่รองเท้าสบายๆ ไม่ใส่ส้นสูง
    • ให้สามีช่วยนวดหลัง จะช่วยผ่อนคลายอาการมาก

6. แม่ท้องเป็นกรดไหลย้อน อายุครรภ์มากขึ้น มดลูกมีขนาดใหญ่ จะทำให้กดเบียดลำไส้และกระเพาะอาหารมีความจุลดลง ระบบการย่อยอาหารจะช้าลง กรดที่ออกมาย่อยอาหารก็จะค้างในกระเพาะอาหารเช่นกัน

วิธีป้องกันและรักษา

    • พยายามหลีกเลี่ยงอาหารมัน รสจัด ย่อยยาก
    • ควรรับประทานอาหารทีละน้อยๆ แต่ให้บ่อยมื้อขึ้น
    • ไม่ควรนอนหลังรับประทานอาหารทันที
    • หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ

 

7.แม่ท้องปัสสาวะบ่อย คุณแม่จะเริ่มมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น ช่วง3เดือนแรก และ3เดือนสุดท้าย อาการปัสสาวะบ่อยขึ้นนั้นเกิดจากมดลูกที่โต และทารกที่อยู่ภายในเริ่มมีแรงกดต่อกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการดังกล่าว

วิธีป้องกันและรักษา

    • ห้ามกลั้นปัสสาวะ
    • บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานตลอด
    • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนจะออกเดินทางสัก 1 ชั่วโมง เมื่อไปถึงที่หมายดื่มน้ำชดเชย

 

8. นอนไม่หลับ นอนไม่ค่อยหลับเพราะท้องใหญ่ไม่สบายตัว รวมทั้งลูกอาจจะตื่นมาถีบท้องแม่ตอนกลางคืนทำให้ไม่ค่อยได้นอน

วิธีป้องกันและรักษา

    • ใช้หมอนแม่ท้องช่วยประคองหลัง ประคองท้อง
    • นอนในท่าเอนหลังแบบกึ่งนั่งกึ่งนอน
    • ใช้วิธีงีบหลับระหว่างวันช่วยได้

คุณแม่ควรศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและทารกในครรภ์ รวมถึงเรียนรู้อาการที่เป็นสัญญาณผิดปกติ หากคุณแม่พบอาการเล็กน้อยอื่น ๆ ก็ไม่ควรละเลยสัญญาณเหล่านั้น ควรปรึกษาแพทย์หากมีข้อสงสัยหรือพบอาการผิดปกติ เพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงและพร้อมให้กำเนิดเจ้าตัวน้อยอย่างปลอดภัย