facebook  youtube  line

'อัลตร้าซาวด์' ดูหน้าลูกแบบไหนดีที่สุด และในแต่ละเดือนจะเห็นพัฒนาการอะไรบ้าง

อัลตราซาวน์ 2 มิติ-อัลตราซาวน์ 3 มิติ-อัลตราซาวน์ 4 มิติ-อัลตราซาวน์ลูกในท้อง-อัลตราซาวน์แม่ตั้งครรภ์-อัลตราซาวน์อันตรายไหม-อัลตราซาวน์กี่มิติดี-จำเป็นต้องอัลตราซาวน์ไหม-ทำไมต้องอัลตราซาวน์-อัลตราซาวน์ดูลูกในท้อง

'อัลตร้าซาวด์'ดูหน้าลูกแบบไหนดีที่สุด และในแต่ละเดือนจะเห็นพัฒนาการอะไรบ้าง


อัลตร้าซาวด์ คือการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง มีความปลอดภัย และสามารถทำได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ ปัจจุบันพัฒนาการของเครื่องอัลตราซาวด์ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก จากปกติทั่วไป 2 มิติ พัฒนาสู่ 3 และ 4 มิติ ทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเห็นหน้าลูกได้ชัดแจ๋วเลยค่ะ  แต่จะเลือกวิธีไหนดี เรามีมาแนะนำให้ความรู้กันก่อนไปหาคุณหมอค่ะ

ประโยชน์ของการตรวจอัลตร้าซาวด์แบบใหม่

สิ่งสำคัญที่ได้จากการตรวจอัลตร้าซาวด์ 3 และ 4 มิติ คือ ทำให้ได้ข้อมูลและรายละเอียดที่มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของความผิดปกติที่พื้นผิว เช่น ปากแหว่ง หรือเนื้องอกที่ผิวบางชนิด ที่สำคัญ สามารถเก็บข้อมูลในลักษณะของปริมาตร จึงสามารถพิจารณารายละเอียดได้ในลักษณะหลายระนาบ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยความผิดปกติบางอย่าง เช่น เพดานโหว่ เป็นต้น
 


ความแตกต่างของมิติอัลตร้าซาวด์

ตรวจอัลตร้าซาวด์ภาพ 2 มิติ

คือ เป็นภาพตัดขวางทีละภาพ ตามแนวของคลื่นเสียงความถี่สูงที่ส่งออกไปในแนวระนาบ (มิติที่ 1 คือความกว้าง มิติที่ 2 คือ ความยาว) ภาพที่จะได้ออกมาจะเป็นภาพแบบไม่มีความลึกหรือตื้นใด ๆ เลยและยังเห็นหน้าของลูกไม่ค่อยชัดอีกด้วย เพราะภาพที่ได้จะเป็นเงาดำ ๆ เท่านั้นเองค่ะ
 


 

ตรวจอัลตร้าซาวด์ภาพ 3 มิติ

หัวตรวจและอุปกรณ์ประมวลผลจะมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยหัวตรวจจะส่งคลื่นเสียงในลักษณะหลายระนาบพร้อมกัน ทำให้เกิดการเก็บข้อมูลติดต่อกัน จากนั้นข้อมูลที่ได้จะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผลของเครื่องและทำการสร้างเป็นภาพ 3 มิติ สำหรับมิติที่ 3 ที่เพิ่มขึ้นมาคือความลึก ซึ่งจะทำให้ภาพนั้นเสมือนวัตถุจริงไม่ใช่ภาพตัดขวางของวัตถุ ภาพที่ได้ออกมาจะมีมิติมากขึ้น ดูเหมือนเด็กมากขึ้น จะสามารถมองภาพที่ออกมาได้เสมือนจริง และยังสามารถหมุนดูภาพไปมาได้อีกด้วย
 


 

ตรวจอัลตร้าซาวด์ภาพ 4 มิติ

การประมวลผลจะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น  โดยเครื่องจะทำการเก็บภาพ 3 มิติแต่ละภาพแล้วแสดงผลเรียงต่อกัน ทำให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหวเช่นเดียวกับภาพยนตร์ซึ่งมีมิติที่ 4  หรือก็คือเวลานั่นเอง ในการตรวจทารกในครรภ์ด้วยอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ จะสามารถเห็นภาพทารกเคลื่อนไหวอยู่ในครรภ์ ตลอดจนเห็นกิริยาอาการที่ทารกกำลังทำอยู่ในขณะตรวจได้ เช่น การเคลื่อนไหวใบหน้าไปมา ยกแขน ขยับนิ้ว อ้าปาก กลืน เป็นต้น
 

ช่วงเวลาอัลตร้าซาวด์ บอกอะไรได้บ้าง
 
6-8 สัปดาห์
  • ตรวจยืนยันการตั้งครรภ์, จำนวนทารก และดูการเต้นหัวใจ
  • ตรวจภาวะตั้งครรภ์ ว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะท้องนอกมดลูก-ท้องลม หรือไม่
  • ตรวจว่ามีเนื้องอกมดลูก หรือ ถุงน้ำรังไข่ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการตั้งครรภ์ หรือไม่
 
10-14 สัปดาห์
  • ตรวจหาความพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรงบางอย่าง
  • วัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอ เพื่อช่วยในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลุ่มอาการดาวน์
 
18-22 สัปดาห์
  • ตรวจความผิดปกติหรือความพิการของทารกอย่างละเอียด
  • ตรวจการเจริญเติบโต และน้ำหนักตัวของทารก
  • ตรวจตำแหน่งรก สายสะดือ และปริมาณน้ำคร่ำ
 
28-36 สัปดาห์
  • ตรวจความผิดปกติของทารกอีกครั้งก่อนคลอด
  • ตรวจการเจริญเติบโต และน้ำหนักตัวของทารก
  • ตรวจสุขภาพทารก, การหายใจ และการเคลื่อนไหว
  • ตรวจสุขภาพรก, ปริมาณน้ำคร่ำ, ประเมินภาวะรกเสื่อม
  • ตรวจความเร็วเลือดในสายสะดือและทารก
  • ตรวจยืนยันท่าของทารกก่อนการคลอด

 

 



 

(คลิป) พัฒนาการทารกในครรภ์ 40 สัปดาห์ ลูกในท้องโตยังไง มาส่องท้องแม่กัน

คลิปลูกในท้อง, คลิป พัฒนาการ ทารกในครรภ์, คลิปทารกในท้อง, คลิป คนท้อง, อัลตราซาวน์ ทารกในครรภ์, คลิป ทารก, คลิปเด็กแรกเกิด, คลิปคลอดลูก, คลิปเด็ก 

นแต่ละสัปดาห์ ลูกในท้อง ทารกในครรภ์โตแบบไหน เป็นอย่างไร คลิปแม่ท้องนี้จะบอกคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้ชัดเจนว่า ลูกในท้องมีพัฒนาการอย่างไรและแข็งแรงพร้อมคลอดแค่ไหน

(คลิป) พัฒนาการทารกในครรภ์ 40 สัปดาห์ แต่ละสัปดาห์ลูกโตยังไง มาแอบส่องท้องแม่กัน

ที่มาคลิปพัฒนาการทารกในครรภ์ 40 สัปดาห์ 

https://ultrasound.ie/
 https://www.facebook.com/ultrasound.ie

 

Mozart Effect ดีต่อสมองและพัฒนาการทารกในท้องจริงไหม?


Mozart-Effect-เพลงกระตุ้นสมอง

Mozart Effect ดีต่อสมองและพัฒนาการทารกในท้องจริงไหม?

กระแสที่พูดถึงกันมานานว่า Mozart Effect หรือ การฟังเพลงโมซาร์ทส่งผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ ให้มีพัฒนาการ พัฒนาการทางสมองเติบโตอย่างรวดเร็ว แท้ที่จริงแล้ว Mozart Effect มีผลอย่างไร เรามีผลวิจัยมาไขข้อข้องใจนี้ให้คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนค่ะ 


ความเชื่อที่ว่า ฟัง Mozart แล้วฉลาด เดิมเกิดจากการทดลองที่ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยกลุ่มหนึ่ง ฟัง Mozart ก่อนสอบเป็นเวลา 10 นาที แล้วเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ฟังเพลง ผลปรากฏว่า

  • กลุ่มที่ฟัง Mozart ทำคะแนนได้ดีกว่า! (1)
  • หลังจากนั้นก็มีไอเดียจาก รัฐจอร์เจียแจก CD Mozart ให้คุณแม่ตั้งครรภ์เอาไปฟังเลยทีเดียว (คงอยากให้ American น้อยเป็นอัจฉริยะกันถ้วนหน้า)
  • ต่อมาเริ่มมีคนสงสัย เลยทำวิจัยซ้ำ เพราะตามหลักวิทยาศาสตร์ ถ้ามันจริง ผลมันต้องเหมือนเดิมสินะ เลยจัดการทดลองที่ละเอียดขึ้น (2)
  • ผลการทดลองคือ นักศึกษากลุ่มที่นั่งเฉยๆ 10 นาที ทำคะแนนได้ดีที่สุด ดีกว่ากลุ่มที่ฟังเพลง
  • และมีหลากหลายการทดลองที่ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก และผลก็ออกมาว่า การฟังเพลงของ Mozart ไม่ได้ช่วยให้คะแนนดีขึ้น

** ถึงแม้จะมีการทดลองใหม่ๆ ชี้ให้เห็นแล้วว่า Mozart effect อาจจะแค่เรื่องบังเอิญนะคะ แต่ก็ไม่ได้ช่วยลบล้างความเชื่อเดิมสักเท่าไร่ คนบางกลุ่มยังคงปักใจเชื่ออยู่อย่างเหนียวแน่นค่ะ

สรุป Mozart Effect เชื่อมโยงกับพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ว่า

  • ตามผลทดลองเลยค่ะ ฟังเพลง Mozart ไม่ได้เกี่ยวกับการพัฒนาอัจฉริยภาพใดๆ
  • เด็กที่เก่ง อารมณ์ดี มีความมั่นใจ สร้างได้จากในครรภ์ เป็นเรื่องจริงค่ะ ลองสังเกตนะว่า เด็กบางคนนิดหน่อยก็ยิ้ม เข้ากับคนง่าย กล้าเล่นกล้าสำรวจ ในขณะที่เด็กบางคนจะหน้ายุ่งตลอด เล่นด้วยยาก ที่กล่าวมาทั้งหมดจะบอกคุณแม่ๆ ว่า ลูกจะเป็นอย่างไร มันขึ้นอยู่กับสภาวะจิตใจของมารดาขณะตั้งครรภ์ ดังนั้นฟังอะไรที่เพลินๆ อย่างตลก เพลงอะไรที่แม่ฟังแล้วมีความสุขดีกว่าค่ะ
  • เคยมีคนไข้เคสเด็กชายไทย อายุ 3 ปี พ่อแม่เปิดเพลง Mozart ให้ฟังตั้งแต่ในครรภ์ พอคลอดปุ๊ปก็เปิดคลอในบ้านตลอดเวลา ปรากฎว่าลูกเวลาอยากได้อะไร ก็จะร้องฮัมเพลง ไม่ยอมพูด ต้องมาสอนกระตุ้นการพูดใหม่
  • กระตุ้นสมองให้ลูกมีหลายวิธีค่ะ แต่วิธีนี้อย่าไปจริงจังกับมันดีกว่านะคะ


References:
(1) Rauscher, Frances H.; Shaw, Gordon L.; Ky, Catherine N. (1993). "Music and spatial task performance". Nature 365 (6447): 611. doi:10.1038/365611a0. PMID 8413624

(2) Steele, Kenneth M.; Bella, Simone Dalla; Peretz, Isabelle; Dunlop, Tracey; Dawe, Lloyd A.; Humphrey, G. Keith; Shannon, Roberta A.; Kirby, Johnny L. et al. (1999). "Prelude or requiem for the 'Mozart effect'?". Nature 400 (6747): 827. doi:10.1038/23611. PMID 10476959

บทความโดย : คุณพรินทร์ อัศเรศรังสรร เวชศาสตร์การสื่อความหมาย คลินิกเฉพาะทางกระตุ้นพัฒนาการ-ฝึกพูด คลินิกกระตุ้นพัฒนาการฝึกพูด

กล้ามเนื้อและกระดูกทารกในครรภ์ แม่ไม่ดูแล ลูกโต!

กระดูกทารกในครรภ์-กล้ามเนื้อทารกในครรภ์-พัฒนาการกล้ามเนื้อทารกในครรภ์-พัฒนาการกระดูทารกในครรภ์-พัฒนาการทารกในครรภ์-พัฒนาการทางร่างกายทารก-กระดูกทารก-กล้ามเนื้อทารก

กล้ามเนื้อและกระดูกของลูกในท้องสำคัญนะคะ เราจะมีวิธีเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกของทารกในครรภ์ได้อย่างไร คุณหมอมีคำแนะนำไปคุณแม่ตั้งครรภ์ไปลองทำตามอายุครรภ์ค่ะ 

วิธีเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกของทารกในครรภ์ตามอายุครรภ์
อายุครรภ์ 4-5 สัปดาห์

พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงอายุครรภ์ 4-5 สัปดาห์ เป็นช่วงเริ่มกำเนิดของเซลล์ชั้นกลางในระยะตัวอ่อน การพัฒนาของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกของลูกเริ่มขึ้นแล้วค่ะ รวมไปคถึงความสมบูรณ์ของระบบสมองและไขกระดูกสันหลังของลูกด้วยค่ะ

อายุครรภ์ 4-5 สัปดาห์

เริ่มเห็นปุ่มแขนและขารวมทั้งนิ้วในช่วง 6-8 สัปดาห์ หลังไตรมาสที่ 2 สมองและระบบไขสันหลังจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกเจริญอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน แต่การดิ้นของลูกในช่วงนี้ ยังไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ แต่อย่างใด

อายุครรภ์ 28-34 สัปดาห์

ช่วงนี้ประสาทสัมผัสของลูกจะเริ่มสมบูรณ์เต็มที่ทำให้มีการประสานการทำงานของกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง อารมณ์ของคุณแม่ เป็นต้น จึงเป็นช่วงที่สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกในครรภ์ได้อย่างไม่น่าเชื่อค่ะ เช่น การเล่านิทาน พูดคุย ร้องเพลง ฟังเพลง เป็นต้น ลูกจะจดจำและตอบสนองอย่างพึงพอใจได้ และพบว่าสามารถกระตุ้นเซลล์สมองของลูกให้มีเครือข่ายของเส้นใยสมองมากขึ้นได้

เสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกของทารกในครรภ์อย่างไรดี 

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินอาหารที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้เพียงพอ โดยเฉพาะโปรตีนและแคลเซียม ได้แก่ ไข่ขาววันละ 2-3 ฟอง เนื้อต่าง ๆ นมหรือผลิตภัณฑ์จากนม รวมทั้งปลาทะเลซึ่งมีสาร DHA ที่เสริมสร้างสมองและไขสันหลังของลูก และสารอาหารที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับแม่ตั้งครรภ์คือ โฟเลต ที่มีอยู่มากในผักใบเขียว เพื่อช่วยป้องกันความพิการของระบบประสาทของทารกในครรภ์


กล้ามเนื้อทั้งหมดในร่างกายของเรา มีมากกว่า 600 ชิ้น มีขนาดและความเฉพาะในหน้าที่แตกต่างกันไป ทั้ง ยึดติดกับกระดูกและข้อต่อ รวมทั้งเนื้อเยื่อที่ประสานหรือเชื่อมต่อกับอวัยวะต่าง ๆ เพื่อทำงานได้อย่างเหมาะสม

กล้ามเนื้อมีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้

  1. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscles)

เป็นเนื้อเยื่อที่เป็นองค์ประกอบของร่างกาย 23 % ของน้ำหนักตัวของผู้หญิง และ 40 % ของน้ำหนักตัวของผู้ชายที่โตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่แล้ว และอาจมากกว่านั้นถ้าเป็นนักกีฬา กล้ามเนื้อประเภทนี้จะยึดเกาะติดกับกระดูกและข้อต่อต่างๆ ทำให้เราเคลื่อนไหวและทำกิจกรรมได้

  1. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscles)

เป็นองค์ประกอบของอวัยวะภายในทุกระบบ ซึ่งจะประกอบกับเนื้อเยื่อของอวัยวะนั้น ๆ เพื่อช่วยในการทำงาน เช่น ในกระเพาะอาหารและลำไส้ การหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อก็จะช่วยย่อยอาหารและทำให้กากอาหารเคลื่อนผ่านไปได้ การหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อในท่อไตก็ช่วยขับปัสสาวะให้เคลื่อนไปได้เร็วขึ้น เป็นต้น

  1. กล้ามเนื้อของหัวใจ (Cardiac Muscles)

มีความพิเศษเฉพาะตัวในการหดเกร็งตัวแบบปั๊มเลือดผ่านลิ้นหัวใจที่กั้นห้องต่าง ๆ ของหัวใจ ให้เกิดจังหวะสูบฉีดเลือดได้อย่างลงตัวและเหมาะสม เราไม่สามารถควบคุมหรือบังคับการทำงานของกล้ามเนื้อได้

ระบบกระดูกสำคัญไม่แพ้กัน

กระดูกนับจากกะโหลกศีรษะถึงกระดูกนิ้วเท้า ก็จะมีกล้ามเนื้อลายมายึดติดด้วยเนื้อเยื่อหรือเส้นเอ็น (Ligaments) ในบางตำแหน่งตามความเฉพาะของหน้าที่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานของส่วนโครงสร้างนั้น ๆ แต่ทั้งระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่เป็นโครงสร้างของร่างกายทั้งหมดจะถูกควบคุมการทำงานด้วยระบบประสาทที่แตกออกมาเป็นแขนงจากแนวกระดูกสันหลัง นับจากกระดูกต้นคอถึงก้นกบ และจะป้อนข้อมูลไปกลับที่สมองทั้งส่วนล่างและส่วนบน ให้สามารถควบคุมและฝึกฝนการทำงานของกล้ามเนื้อทุกส่วนได้อย่างลงตัว

ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.พญ.เฉลิมศรี ธนันตเศรษฐ์




 

คนท้องเอกซเรย์ร่างกายได้ไหม และไม่ควรได้รับรังสีเกินเท่าไหร่

3024

ถ้าแม่ตั้งครรภ์ไม่สบาย หรือ ต้องตรวจสุขภาพที่มีการเอกซ์เรย์ (X-Ray) จะสามารถทำได้หรือไม่ อันตรายกับทารกใครครรภ์หรือไม่ และหากทำได้จะมีข้อควรระวังอะไรบ้างที่ต้องรู้ก่อนทำการเอกซ์เรย์

การเอกซเรย์ทำงานอย่างไร

เอกซเรย์เป็นการใช้รังสีประเภทหนึ่งที่มีความสามารถในการผ่านทะลุร่างกายของมนุษย์ได้ คนเราไม่สามารถมองเห็นหรือรู้สึกถึงรังสีนี้ได้ ขณะที่รังสีทะลุผ่านร่างกายไป พลังงานของรังสีเอกซ์จะถูกอวัยวะส่วนต่างๆ ดูดซับเข้าไปในอัตราที่ต่างกัน โดยอีกด้านของร่างกายจะมีตัวตรวจจับรังสี ซึ่งคอยรับรังสีที่ผ่านทะลุร่างกายและเปลี่ยนข้อมูลที่ได้ออกมาเป็นภาพ

ส่วนร่างกายที่มีความหนาแน่นอย่างกระดูก จะทำให้รังสีเอกซ์ทะลุผ่านได้ยาก ทำให้ปรากฏตำแหน่งของสิ่งๆ นั้นออกมาเป็นสีขาวเข้ม ส่วนที่มีสีขาวจางๆ จะแสดงให้เห็นว่ารังสีสามารถผ่านสิ่งนั้นได้ง่ายดายกว่า ซึ่งมักจะเป็นหัวใจและปอด ที่ปรากฏบนฟิล์มเป็นจุดสีดำ

ข้อควรระวังเมื่อเอกซเรย์ระหว่างตั้งครรภ์
  • ต้องแจ้งให้แพทย์และผู้เชี่ยวชาญทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ก่อนเอกซ์เรย์ "ทุกครั้ง" 

  • ไม่ควรเอกซ์เรย์ในช่วงอายุครรภ์ 10 - 17 สัปดาห์ เพราะรังสีจะส่งผลต่อระบบประสาทของทารกในครรภ์

  • แม่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับรังสีเกิน 5 rad 

  • หากรับรังสีมากกว่า 10 ถึง 150 rads อาจส่งผลให้ทารกมีศีรษะเล็ก หรือ อาจมีความพิการทางสมอง

หากคุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องรับการรักษาหรือตรวจโรคที่มีการเแกซ์เรย์รับรังสีจริงๆ ควรปรึกษาและเข้ากระบวนการรักษาภายใต้การดูแลจากผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดค่ะ

คุณแม่ระวัง! มลพิษทางอากาศ PM 2.5 ทำให้ลูกน้อยในท้องเสี่ยงโรคออทิสซึม

 
อันตรายของฝุ่น PM 2.5-แม่ตั้งครภ์-ทารกในครรภ์
 

คุณแม่ระวัง! มลพิษทางอากาศ PM 2.5 ทำให้ลูกน้อยในท้องเสี่ยง โรคออทิสซึม

ปัจจุบัน ฝุ่น PM 2.5 กลายเป็นปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นทุกปี และส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างชัดเจนค่ะ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ การสูดอากาศที่มี ฝุ่น PM 2.5 ไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตัวเองเท่านั้น แต่ผลงานวิจัยล่าสุดพบว่า ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลไปถึงพัฒนาการทารกในครรภ์มากด้วยค่ะ 
 
ผลวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จากสหรัฐ บอกว่า ผู้หญิงท้องที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษมาก มีโอกาสเสี่ยง 2 เท่า ที่จะทำให้ลูกในท้องเป็น โรคออทิสซึม เมื่อเทียบกับคนที่อยู่ในพื้นที่อากาศปกติหรือมีมลพิษน้อย โดยโรคดังกล่าวจะทำให้สมองของเด็กผิดปกติ หรือ อาจเป็นหนึ่งในตัวการทำให้เกิด อาการออทิสติก ได้ ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรป้องกันตัวเองจากการสูดรับ ฝุ่น PM 2.5 อย่างถึงที่สุดเพื่อปกป้องลูกน้อยจากการรับอันตรายจากฝุ่นพิษค่ะ 
 

แนวทางการป้องกันฝุ่น PM 2.5 สำหรับแม่ตั้งครรภ์

  1. หลีกเลี่ยงการออกจากบ้านในช่วงที่มี ฝุ่น PM 2.5 มีความหนาแน่นสูง เช่น ช่วงสินปี และ ต้นปี หรือ ช่วงที่มีรายงานข่าวเกี่ยวกับไฟไหม้ป่า การเผาขยะ เป็นต้น

  2. หากกจำเป็นต้องออกจากบ้าน ต้องสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถกรอง ฝุ่น PM 2.5 ได้ เช่น หน้ากากชนิด N 95 หรือชนิดที่ระบุว่ากรอง ฝุ่น PM 2.5 ได้

  3. หากมีงบประมาณสักหน่อย อาจซื้อเครื่องกรองอากาศมาใช้ในบ้าน เพื่อช่วงฟอกและกรอง ฝุ่น PM 2.5ในบ้าน

ฝุ่น PM 2.5 อาจจะยังอยู่กับเราไปแบบนี้ทุกปีนะคะ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ที่มีลูกเล็ก หรือ ลูกโต การปรับตัวและเลือกใช้เครื่องป้องกัน ฝุ่น PM 2.5 เป็นแนวทางที่ดีที่สุดค่ะ

คุณแม่เช็กได้เลย! ลูกในท้องมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดหรือเปล่า

หัวใจของลูกในท้อง-ลูกในท้องเป็นโรคหัวใจไหม-วิธีตรวจความเสี่ยงทารกเป็นโรคหัวใจ-อัลตราซาวนด์หัวใจทารก-วิธีตรวจโรคหัวใจลูกในท้อง

คุณแม่รู้ไหมคะว่าความผิดปกติทางโครงสร้างของหัวใจทารกที่อาจทำให้เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ในประเทศไทยพบได้มากที่สุดประมาณ 8 ใน 1,000 หรือ ในเด็กแรกเกิด 1,000 คนจะมีเด็กทารกป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดถึง 8 คน เลยทีเดียว ซึ่งปัจจุบันเราสามารถตรวจได้ว่า ลูกในท้องมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงค่ะ 

สาเหตุที่อาจทำให้ทารกเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด

  1. ทางคุณแม่ ได้แก่ คุณแม่ที่เป็นเบาหวาน เป็น SLE ได้รับ teratogen (สารก่อมะเร็ง) เช่น lithium carbonate alcohol และ anti convulsant ติดเชื้อไวรัสบางอย่าง เช่น หัดเยอรมัน มีภาวะแฝดน้ำ มีหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด เป็นต้น  
  2. ทารก ได้แก่ มีความผิดปกติ ใน level 1 scan มีความผิดปกติของอวัยวะในระบบอื่นที่ไม่ใช่ระบบหัวใจ มีความผิดปกติของโครโมโซมของคุณแม่ ทารกในครรภ์มีการเต้นผิดปกติของหัวใจ บวมน้ำ เจริญเติบโตช้า เป็นต้น  
  3. ครอบครัว คือ มีประวัติโรคหัวใจแต่กำเนิดในครอบครัว มีประวัติในครอบครัวเป็น Noonan หรือ Marfan sysdrome

การตรวจหัวใจทารกด้วยอัลตราซาวด์

การตรวจหัวใจทารกในครรภ์ จะเริ่มจากภาพโครงสร้างหัวใจทารกในหลาย ๆ ระนาบทั้ง 4 ห้องที่เรียกว่า ภาพ 4 chamber ซึ่งสามารถคัดกรองความผิดปกติของหัวใจทารกในครรภ์ได้ถึงร้อยละ 92 แต่ในภายหลังพบว่าความไวในการคัดกรองลดต่ำลง และต่างกันไปได้ตั้งแต่ร้อยละ 33-69 ซึ่งความแตกต่างของตัวเลขดังกล่าว อาจสืบเนื่องจากชนิดของพยาธิสภาพของหัวใจทารกแตกต่างกันในกลุ่มประชากรที่ศึกษา

การตรวจหัวใจทารกในครรภ์ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถบอกความผิดปกติของหัวใจทารกแรกคลอดได้หมด ซึ่งพยาธิสภาพบางอย่างที่พบได้บ่อยหลังคลอด เช่น รูรั่วระหว่างหัวใจส่วนบนและส่วนล่างซ้ายและขวา จะไม่สามารถบอกได้ คุณแม่จึงควรเข้าใจถึงโอกาสของความผิดพลาดที่อาจเกิดจากการตรวจหัวใจพิการของทารกในครรภ์ไว้ด้วย

หัวใจของลูกในท้องเติบโตและมีพัฒนาการอย่างไร

  1.  ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์: หัวใจเริ่มพัฒนาถือเป็นอวัยวะชุดแรกที่ตัวอ่อนทารกจะเริ่มพัฒนาขึ้น ขณะนั้นตัวอ่อนจะประกอบด้วยเซลล์เพียง 150 เซลล์เท่านั้น แต่จะมีการแบ่งชั้นเนื้อเยื่อออกเป็น 3 ชั้น คือ นอก กลาง และใน เนื้อเยื่อชั้นกลางนี้เอง จะมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นอวัยวะที่มีความพิเศษในด้านความทนทานในการทำงาน คือ หัวใจ ไต ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ กระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นนั่นเอง จากนั้นใน 2 สัปดาห์ต่อมา หัวใจจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ตามโครงสร้างที่กำหนดไว้แล้วในแบบแผนภูมิของยีนส์

    การตั้งครรภ์ช่วงนี้ จึงเป็นช่วงที่คุณแม่ต้องระวังมากที่สุดในการดูแลตนเอง เพราะถ้าได้รับเชื้อโรคบางอย่าง เช่น ไวรัสหัดเยอรมัน หรือคุณแม่ที่เป็นเบาหวานและควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี หรือสูบบุหรี่ กินยาบางอย่างที่เป็นอันตราย ก็จะเป็นผลให้ลูกมีหัวใจพิการได้
     
  2. ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์: จะเริ่มเห็นหัวใจของลูกเต้นจากการดูด้วยอุลตร้าซาวนด์ ซึ่งช่วงนี้ตัวอ่อนจะตัวเล็กมาก วัดได้จากหัวถึงก้นเพียง 0.08 -0.16 นิ้วฟุต เท่านั้น
     
  3. ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์: หัวใจจะมีโครงสร้างเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะเปลี่ยนชื่อเรียกจากตัวอ่อนเป็นทารก
     
  4. ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์: ฟังเสียงหัวใจทารกได้ด้วยการใช้เครื่อง doppler sound wave stethoscope ซึ่งเป็นเครื่องมือฟังเสียงหัวใจทารกได้ ตอนนี้ทารกจะยาว 1.75 - 2.4 นิ้วฟุต
     
  5. ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ – 38 สัปดาห์: หัวใจเริ่มมีการตกแต่งส่วนประกอบปลีกย่อยของหัวใจจนเสร็จสมบูรณ์ แล้วจากนั้นหัวใจก็จะเริ่มขยายขนาดให้เต็มโครงสร้างเมื่อครบกำหนดคลอด

 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์




 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องไม่โต ทารกในครรภ์มีพัฒนาการผิดปกติ

ลูกในท้องไม่โต-รู้ได้ยังว่าลูกในท้องโต-รู้ได้ยังไงว่าลูกในท้องไม่โต-ลูกในท้องตัวเล็ก-ลูกในท้องโตไหม-อัลตราซาวนด์ลูก-ทารกในครรภ์ตัวเล็ก

ทารกในครรภ์ไม่โต มีพัฒนาการผิดปกติจนส่งผลต่อการคลอด คุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องไม่โต เราสามารถเช็กได้จากการตรวจสุขภาพครรภ์ตามอายุครรภ์ เพื่อเช็กการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้ค่ะ 

รู้ทันพัฒนาการทารกในครรภ์ ว่าเติบโตเป็นปกติหรือไม่
  • ฮอร์โมนการตั้งครรภ์: ช่วงการตั้งครรภ์ 3-4 เดือนแรก เมื่อลูกในท้องมีพัฒนาการมากขึ้น จะมีการสร้างฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ซึ่งคุณแม่จะแสดงอาการที่เกิดจากฮอร์โมนออกมา เช่น เจ็บเต้านม ปัสสาวะบ่อย อารมณ์เปลี่ยนแปลง หงุดหงิดมากขึ้น อาการแพ้ท้อง เป็นต้น

  • นับจังหวะลูกดิ้น: คุณแม่ท้องแรกจะเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นตอนอายุครรภ์ 18 สัปดาห์ ถ้าเป็นท้องสองจะเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นตอนอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ แต่คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นจนนับจังหวะได้ชัดเจนตอนอายุครรภ์ได้ 20 สัปดาห์หรือไตรมาสที่ 2 ไปแล้ว

    เทคนิคในการนับลูกดิ้น คือ ใน 12 ชั่วโมง ลูกควรจะดิ้นเกิน 10 ครั้ง เช่น 9 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม ถ้าลูกดิ้นเกิน 10 ครั้ง ก็แสดงว่าปกติค่ะ ถ้าวันไหนที่รอดูมาทั้งวันแล้วรู้สึกว่าลูกไม่ค่อยดิ้นเลย อาจเป็นเพราะลูกกำลังหลับอยู่ คุณแม่ลองดื่มน้ำผลไม้ แล้วรอประมาณ 1 ชั่วโมง พอลูกตื่น เขาจะดิ้นจนคุณแม่รู้สึกได้ ซึ่งถ้าลองทำวิธีเหล่านี้แล้ว ลูกยังดิ้นน้อยอยู่จะต้องมาพบแพทย์ค่ะ
  • น้ำหนักตัวแม่ตั้งครรภ์บอกพัฒนาการทารกในครรภ์: น้ำหนักของคุณแม่จะเป็นสิ่งที่บอกว่าลูกได้รับสารอาหารและออกซิเจนเพียงพอหรือไม่ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ประมาณ 10-15 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์

  • ดูจากยอดมดลูก: เมื่อมีการตั้งครรภ์ มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสามารถดูพัฒนาการของลูกน้อยได้จากการขยายตัวของมดลูก
    • เมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะอยู่เหนือกระดูกหัวเหน่า โดยแบ่งส่วนที่ต่ำกว่าสะดือเป็น 3 ส่วน
    • เมื่ออายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะอยู่เหนือกระดูกหัวเหน่าประมาณ 1 ใน 3 และจะเริ่มสูงประมาณ 2 ใน 3 เหนือกระดูกหัวเหน่า เมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ และจะอยู่ตรงสะดือพอดีเมื่ออายุครรภ์ 24 สัปดาห์
    • เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงประมาณ 1 ใน 4 เหนือสะดือ จากนั้นจะสูง 2 ใน 4 เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ สูงประมาณ 3 ใน 4 เมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์ และจะอยู่สูงสุดคือ 4 ใน 4 หลังจาก 37 สัปดาห์

      หากเป็นท้องแรกเมื่อศีรษะเด็กเข้าสู่อุ้งเชิงกราน ช่วงนั้นท้องก็จะเริ่มลดลง ซึ่งวิธีสังเกตยอดมดลูกนี้ แพทย์จะเป็นผู้ประเมินเวลาที่คุณแม่มาตรวจอัลตราซาวนด์ค่ะ
5 วิธีปฏิบัติสำหรับแม่ตั้งครรภ์ เมื่อทารกในครรภ์มีพัฒนาการช้า ลูกในท้องไม่โต
  1. พบแพทย์เพื่อประเมินหาสาเหตุที่ลูกในท้องไม่พัฒนาตามอายุครรภ์ ซึ่งเกิดขึ้นได้จาก 3 สาเหตุหลัก คือ
    1. คุณแม่มีความผิดปกติ เช่น มีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน เกิดความผิดปกติที่เส้นเลือดทำให้อาหารส่งไปถึงลูกได้น้อยลง หรือคุณแม่ที่น้ำหนักขึ้นไม่ค่อยตามเกณฑ์ น้ำหนักน้อยหรือมีประวัติได้รับยา หรือสารอันตราย เช่น สูบบุหรี่จัด ดื่มเหล้า ใช้สารเสพติด เป็นต้น
    2. รกและสายสะดือผิดปกติ เช่น มีปัญหารกลอกตัวก่อนกำหนด เส้นเลือดบริเวณใต้รกฉีกขาด รกเสื่อมสภาพ
    3. เกิดจากความผิดปกติของลูก เช่น มีความผิดปกติของโครโมโซม มีการติดเชื้อไวรัส หรือมีความพิการแต่กำเนิด ซึ่งเมื่อทราบสาเหตุแล้วคุณหมอจะแก้ไขที่สาเหตุ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนโภชนาการและพฤติกรรมของคุณแม่

  2. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และควรเพิ่มพลังงานจากอาหารวันละ 300 กิโลแคลลอรี เมื่อไปฝากครรภ์ทางโรงพยาบาลจะมีทีมโภชนาการคอยดูแล ซึ่งนักโภชนาการจะวิเคราะห์ว่าคุณแม่กินอาหารไปเท่าไหร่ และเพียงพอหรือไม่

  3. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 8-10 ชั่วโมง นอนกลางวันประมาณ ½ -1 ชั่วโมง เป็นต้น

  4. ทำตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น การนับลูกดิ้นใน 12 ชั่วโมง ควรจะเกิน 10 ครั้ง เป็นต้น

  5. พบตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ หากคุณแม่มีอาการผิดปกติ ควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อการป้องกันแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ควรสังเกตอาการและดูแลครรภ์อย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนาการของลูกน้อยที่ปกตินะคะ



เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์: พญ.ธิศรา วีรสมัย สูติแพทย์ โรงบาลพญาไท1


จำเป็นไหม? อัลตราซาวด์ทารกในครรภ์ ต้องทำบ่อยและต้องทำ 3 มิติ 4 มิติ

อัลตราซาวน์ 2 มิติ-อัลตราซาวน์ 3 มิติ-อัลตราซาวน์ 4 มิติ-อัลตราซาวน์ลูกในท้อง-อัลตราซาวน์แม่ตั้งครรภ์-อัลตราซาวน์อันตรายไหม-อัลตราซาวน์กี่มิติดี-จำเป็นต้องอัลตราซาวน์ไหม-ทำไมต้องอัลตราซาวน์-อัลตราซาวน์ดูลูกในท้อง

การอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ดูพัฒนาการและความผิดปกติของทารกในครรภ์เป็นเรื่องจำเป็นค่ะ แต่จริงไหมที่ต้องอัลตราซาวด์ทารกในครรภ์บ่อย ๆ และต้องอัลตราซาวด์ 3 มิติ อัลตราซาวด์ 4 มิติ อย่างที่แม่ท้องหลายคนเข้าใจ เรามีคำแนะนำจากคุณหมอมาบอกค่ะ 

ทำไมคนท้องต้องอัลตราซาวด์ดูทารกในครรภ์ 

การตรวจอัลตราซาวด์ทารกในครรภ์ไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงเพื่อให้ทราบเพศของทารกเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในทางการแพทย์มากมายเพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น

  1. ทราบจำนวนทารก
  2. ทราบกำหนดอายุครรภ์ที่แน่นอน ในกรณีหญิงตั้งครรภ์จำประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้
  3. วินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์ โดยบางโรคอาจจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์ บางโรคสามารถให้การรักษาทารกในครรภ์ได้ หรือช่วยในการวางแผนการดูแลรักษาหลังคลอด
  4. ทราบตำแหน่งรก ปริมาณน้ำคร่ำ
  5. ทราบความผิดปกติของมดลูก รังไข่
  6. คาดคะเนน้ำหนักทารก ประเมินสุขภาพทารก ตรวจยืนยันท่าของทารกในครรภ์ ในกรณีที่แพทย์ตรวจร่างกายแล้วพบความผิดปกติ
ตรวจอัลตราซาวด์แล้วรับประกันว่าลูกปกติร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่

การตรวจอัลตราซาวด์มีขีดจำกัดในการวินิจฉัยเช่นเดียวกับการตรวจด้วยเครื่องมืออื่น ๆ ความถูกต้องแม่นยำขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของโรคหรือความผิดปกติของทารกเอง โดยโรคบางอย่างอาจเกิดขึ้นภายหลัง โรคบางอย่างวินิจฉัยได้ยากหรือไม่สามารถเห็นได้จากภาพอัลตราซาวด์ ในบางกรณีภาพอัลตราซาวด์เห็นไม่ชัด เช่น หญิงตั้งครรภ์หน้าท้องหนาทารกนอนคว่ำ อายุครรภ์น้อย เครื่องอัลตราซาวด์ที่มีความละเอียดต่ำรวมไปถึงแพทย์ผู้ตรวจที่มีความชำนาญแตกต่างกัน

การตรวจอัลตราซาวด์มีอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่

แม้ว่าการตรวจอัลตราซาวด์โดยทั่วไปจะปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ แต่แนะนำให้ทำเฉพาะเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้ การตรวจอัลตราซาวด์โดยไม่จำเป็นก็เป็นการสิ้นเปลืองค่ะ 

อัลตราซาวด์ 2 มิติ 3 มิติ 4 มิติ กี่มิติถึงจะดีที่สุด

การตรวจอัลตราซาวด์ 2 มิติ ก็เพียงพอต่อการวินิจฉัยความผิดปกติดังกล่าวข้างต้น โดยควรตรวจอัลตราซาวด์ในช่วงอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ หรือ อายุครรภ์ 4 เดือน แต่สำหรับการอัลตราซาวด์ 3 มิติ และ 4 มิติ จะทำเฉพาะกรณีพบความผิดปกติจากการตรวจแบบ 2 มิติ และต้องการการวินิจฉัยเพิ่มเติมในบางโรคเท่านั้น

ปัจจุบันแม่ท้องนิยมอัลตราวซาวด์ 3 มิติ และ 4 มิติ เพื่อดูพัฒนาการและหน้าตาของลูกในท้องอย่างชัดเจน หรือ แม้แต่อยากได้ภาพถ่ายอัลตราซาวด์แบบ 4 มิติมาเป็นที่ระลึก แต่จริง ๆ หากลูกไม่มีอาหารผิดปกติที่แพทย์บ่งชี้ว่าต้องทำ ก็ไม่จำเป็นต้องทำ เนื่องจากมีราคาสูง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

รศ.พญ.เฟื่องลดา ทองประเสริฐ
คณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

ตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารก เพื่อรักษาชีวิตลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

 การตรวจครรภ์-การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์-สุขภาพครรภ์-สุขภาพทารกในครรภ์-ทารกในครรภ์

ตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารก เพื่อรักษาชีวิตลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

เชื่อว่าผู้หญิงทุกคนเมื่อรู้ว่าตัวเองกำลังจะได้เป็นคุณแม่ ก็จะต้องให้ความใส่ใจดูแลลูกน้อยในครรภ์เป็นพิเศษ ซึ่งการตรวจคัดกรองหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ เป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ต้องใส่ใจด้วยเช่นกัน เพราะความผิดปกติบางอย่างสามารถรักษาได้ตั้งแต่ในครรภ์ ช่วยให้ลูกน้อยคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัยและสมบูรณ์แข็งแรง

แพทย์หญิงจิตรนพิน ดุลยเกษม สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ อธิบายว่าความผิดปกติของทารกในครรภ์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. ความผิดปกติทางพันธุกรรม (Genetic abnormalities) ความผิดปกติกลุ่มนี้มีทั้งชนิดที่ตรวจได้และตรวจไม่ได้ มีทั้งแบบโรคทางโครโมโซม และโรคของยีนส์
  2. ความผิดปกติทางโครงสร้าง (Structural abnomalities) คือความผิดปกติทางรูปร่าง ทั้งอวัยวะภายนอกและอวัยวะภายใน
  3. ความผิดปกติทางหน้าที่การทำงาน (Functional abnormalities) ความผิดปกติในกลุ่มนี้บางอย่างจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว เช่น ปอด ลำไส้ หู ตา สมองและสติปัญญา แต่บางอวัยวะเราสามารถตรวจได้ว่าทำงานปกติดีหรือไม่ เช่น หัวใจ การเคลื่อนไหวของแขน ขา หรือการสร้างน้ำปัสสาวะจากไต เป็นต้น การตรวจคัดกรองหาความผิดปกติ สามารถช่วยให้คุณแม่ทราบได้เบื้องต้นว่าทารกในครรภ์มีความเสี่ยงหรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจได้ทั้งวิธีเจาะเลือดเพื่อดูความผิดปกติทางโครโมโซม และวิธีอัลตราซาวนด์เพื่อดูความผิดปกติทางโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะ ทั้งนี้ หากพบว่ามีความเสี่ยง จะต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยเป็นการทำหัตถการที่มีความเสี่ยงต่อทารก เนื่องจากต้องใช้วิธีที่ไปข้องเกี่ยวกับความสมดุลของทารกที่อยู่ในครรภ์

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการตรวจวินิจฉัย ถึงแม้จะมีโอกาสไม่เยอะ เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 0.5 – 1 % แต่ก็ไม่มีใครอยากได้รับความเสี่ยงนั้น เพราะฉะนั้นอยากแนะนำให้คุณแม่ทุกท่านเข้ารับการตรวจคัดกรองก่อน โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์เป็นต้นไป ขึ้นอยู่กับชนิดของการตรวจ แต่แนะนำช่วง 11 – 13 สัปดาห์ เพราะเป็นช่วงที่สามารถวางแผนเลือกวิธีตรวจได้หลากหลาย และเหมาะสมกับความผิดปกติที่ตรวจพบ

ความผิดปกติของทารกในครรภ์มีด้วยกันหลายระดับ ตั้งแต่ระดับน้อยไปจนถึงระดับรุนแรงมาก ความผิดปกติที่รุนแรง เช่น พิการรุนแรง อวัยวะขาดชัดเจน จะสามารถเห็นได้จากการตรวจคัดกรองตั้งแต่การตั้งครรภ์ช่วง 12 สัปดาห์แรก ส่วนในความผิดปกติที่ไม่รุนแรง เช่น มีความพิการของอวัยวะที่มีขนาดเล็ก หรือการทำงานของหัวใจผิดปกติ จะสามารถเห็นได้ชัดขึ้นจากการตรวจคัดกรองเมื่ออายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่ควรเกิน 20 สัปดาห์ เนื่องจากหากพบความผิดปกติในช่วงนี้ คุณแม่ยังสามารถเลือกรักษาหรือยุติการตั้งครรภ์ได้

อย่างไรก็ตาม ความผิดปกติบางอย่างของทารกที่ไม่เกี่ยวข้องกับความพิการและโครโมโซม หากตรวจพบเร็ว ก็สามารถรักษาได้ตั้งแต่ในครรภ์ เช่น ภาวะซีดหรือบวมน้ำจากการติดเชื้อบางชนิด, มีถุงน้ำผิดปกติในช่องลำตัว, หัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภท, หรือโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดผิดปกติในกลุ่มแฝด แพทย์ก็สามารถจี้ทำลายเส้นเลือดที่ผิดปกตินั้นได้

โดยในกรณีสตรีตั้งครรภ์ที่มีเสี่ยงสูงหรือตรวจพบทารกมีความผิดปกติในครรภ์นั้น ควรได้รับการดูแลใกล้ชิดโดยแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ หรือดูแลร่วมกันกับสูติแพทย์ประจำที่ฝากครรภ์เพื่อให้คำปรึกษาและการรักษาที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด   

ยิ่งคุณแม่มาตรวจคัดกรองเร็ว และพบความผิดปกติเร็วเท่าไหร่ การวางแผนการรักษาก็จะมีทางเลือกให้มากขึ้น เพราะบางโรคมีข้อจำกัดการรักษาด้วยอายุครรภ์ เพราะฉะนั้น การพบเร็ว รักษาเร็ว ก็จะทำให้ทารกมีโอกาสคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัย สมบูรณ์และแข็งแรงขึ้น

 

 การตรวจครรภ์-การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์-สุขภาพครรภ์-สุขภาพทารกในครรภ์-ทารกในครรภ์

 

พญ.จิตรนพิน ดุลยเกษม สูตินรีแพทย์เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน ลูกตัวเท่าเม็ดงาและมีหัวใจแล้ว

ตั้งครรภ์ 1 เดือน-อายุครรภ์ 1 เดือน-ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์-พัฒนาการทารกในครรภ์

แม่ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน ลูกตัวเท่าเม็ดงาและมีหัวใจแล้ว

รู้ไหมคะว่า อายุครรภ์ 1 เดือน เกิดอะไรขึ้นกับลูกในท้องตัวเองบ้าง ลูกในท้องตัวแค่ไหนแล้ว ลูกในท้องกำลังทำอะไรอยู่ และตัวแม่เองมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แม่ตั้งครรภ์ 1 เดือน จะต้องดูแลตัวเองอย่างไร มาค่ะคุณแม่ท้องทุกคน มาดู พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือน พร้อมวิธีดูแลตัวเอง กันค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน ลูกในท้องตัวเท่าเม็ดงาจิ๋วหลิว

  1. ทารกในครรภ์มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร น้ำหนักไม่ถึง 1 กรัม ลักษณะเหมือนลูกน้ำ หรือ ตุ่มกลม ๆ เล็ก ๆ
  2. หัวโตมีติ่งสองคู่โผล่ออกมา ซึ่งติ่งคู่หนึ่งจะพัฒนาเป็นแขน 2 ข้าง ส่วนติ่งอีกคู่หนึ่งจะพัฒนาไปเป็นขาสองข้างนั่นเอง
  3. สายสะดือค่อนข้างใหญ่ มีเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำจากรก เป็นเส้นทางนำอาหารไปสู่ตัวทารก และถ่ายเทของเสียกลับคืน
  4. อายุครรภ์ 1 สัปดาห์หลังจากการปฏิสนธิทารกในครรภ์จะเป็นเพียงเซลล์เล็ก ๆ ที่ค่อย ๆ แบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วน
    • ส่วนแรก: เริ่มพัฒนาไปเป็นรกและถุงน้ำคร่ำ มีหน้าที่ปกป้องทารก และเป็นเส้นทางลำเลียงอาหาริและของเสียของลูกในระหว่างที่อยู่ในครรภ์ รวมทั้งสร้างฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์
    • ส่วนที่สอง: มีการพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนหรือทารก โดยเซลล์นี้จะแบ่งออกไปเรื่อยิๆ จนพัฒนาไปเป็นอวัยวะต่างิๆ เช่น ตับ ปอด ต่อมไทรอยด์ ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ บางส่วนพัฒนาไปเป็นโครงกระดูก กล้ามเนื้อทั่วไป กล้ามเนื้อหัวใจ อัณฑะ รังไข่ หลอดเลือด ฯลฯ จนครบเป็นอวัยวะที่สมบูรณ์
  5. อายุครรภ์ 2 สัปดาห์ เริ่มเห็นตำแหน่งที่จะพัฒนาไปเป็นไขสันหลัง และส่วนหลังของตัวอ่อน
  6. อายุครรภ์ 3 สัปดาห์ อวัยวะสำคัญเริ่มเจริญเติบโตขึ้น ช่วงสัปดาห์นี้หัวใจของลูกเริ่มเต้นแล้ว
  7. อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ ตัวอ่อนจะมีลักษณะคล้ายกุ้ง เอวคอดตรงกลาง ส่วนหัว ส่วนข้าง และส่วนล่างเหมือนหางโค้งงอ

แม่ท้องอายุครรภ์ 1 เดือน มีอาการคนท้องและต้องทำอะไรบ้าง

  1. เมื่อรู้ตัวว่าท้องก็ต้องรีบไปฝากครรภ์นะคะ เพื่อคุณหมอจะได้ตรวจร่างกายคุณแม่และสุขภาพของทารกในครรภ์ และแนะนำการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง
  2. กินอาหารที่มีโฟเลทต่อเนื่องยาว ๆ ไปจนถึง 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์ของตัวอ่อนแข็งแรง ป้องกันการพิการแต่กำเนิด
  3. งดออกกำลังกายหนัก ๆ เพราะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนบอบบางมาก เป็นระยะที่เราต้องให้ตัวอ่อนได้ฝังตัวกับผนังมดลูกให้ดี
  4. นอนพักผ่อนเยอะ ๆ เพราะช่วงนี้อาหารแพ้ท้องมาแล้ว ทั้งเวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลียง่าย เจ็บตึงเต้านม ปัสสาวะบ่อย หรือบางคนจะหงุดหงิดง่าย เพราะฮรอ์โมนเปลี่ยนแปลงด้วย


*** เมื่อไปพบคุณหมอ อย่าลืมสอบถามเรื่องวัคซีนที่คนท้องต้องฉีด และรับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กเล่มสีชมพูกลับมาด้วยนะคะ
 

 *************************************************

เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ได้ที่นี่

  1. ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน 
  2. ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน 
  3. ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน 
  4. ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน 
  5. ตั้งครรภ์ 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน 
  6. ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน 
  7. ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน 
  8. ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน 
  9. ตั้งครรภ์ 9 เดือน อายุครรภ์ 9 เดือน 

 

ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน ลูกในท้องตัวลูกเชอร์รี่

ตั้งครรภ์ 2 เดือน-อายุครรภ์ 2 เดือน-ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์-พัฒนาการทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน  ลูกในท้องตัวลูกเชอร์รี่

แม่ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน หรือเราจะนับว่าเป็นการตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ (ครบ 2 เดือนทางจันทรคติ-เดือนไทย) ช่วงเดือนนี้ พัฒนาการทารก ในครรภ์ มีมากกว่าเดือนแรกถึง 4 เท่า เราลองมาส่องท้อง คุณแม่ อายุครรภ์ 2 เดือน กันค่ะว่าลูกในท้อง เป็นยังไงกันบ้าง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน ลูกในท้องตัวเท่าลูกเชอร์รี่

  • ร่างกาย ส่วนหัวของลูกยังโตไม่มาก ลำตัวค่อย ๆ ยืดยาวออกมีความยาว 2.5 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัว 3 กรัม
  • ส่วนของแขนขาก็เริ่มแยกให้เห็นนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก และเริ่มมีการพัฒนาให้เห็นเค้าโครงของใบหน้า สามารถมองเห็นลูกตาดำราง ๆ จมูก ริมฝีปาก และหู
  • ผิวหนัง เริ่มแบ่งเป็นสองชั้น และมีการพัฒนาต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน รวมทั้งเริ่มมีขนงอกออกมาจากรูขุมขน
  • อวัยวะภายใน ครบสมบูรณ์ทั้งหมด รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างหลักใหญ่ ๆ ของอวัยวะอื่นๆ ด้วย
  • อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจลูกจะเต้นเร็วกว่าคุณแม่ประมาณเท่าตัว คือ 140-150 ครั้งต่อนาที

แม่ท้องอายุครรภ์ 2 เดือน มีอาการคนท้องและร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  1. ช่วงอายุครรภ์ 2 เดือนสำหรับแม่ท้องบางคนจะแพ้ท้องหนักมาก อาการคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ อาเจียน เหนื่อยง่าย เหม็นบางสิ่งบางอย่างจนทนไม่ได้ อารมณ์แปรนปรวนง่าย ดังนั้นพยายามพักผ่อนและดื่มน้ำเยอะ ๆ เลี่ยงอาหารที่มีกลิ่น และเลี่ยงบรรยากาศที่อาจจะทำให้หงุดหงิดง่ายค่ะ (แต่ถ้าเหม็นเบื่อสามีช่วงนี้ก็ช่วยไม่ได้จริง ๆ ค่ะ)  
     
  2. อายุ 2 เดือนยังต้องงดการออกกำลังกายหรือทำงานหนัก ๆ เพราะอาจจะมีความเสี่ยงเกิดภาวะแท้งได้ง่าย และช่วงนี้อาจจะมีตกขาวมากกว่าปกติ หรือมีเลือดออกบ้าง ไม่ควรซื้อยาใด ๆ มากินเองนะคะ ควรพบแพทย์เพื่อรับการดูแลและแนะนำอย่างถูกต้องค่ะ

อาหารคนท้องอายุครรภ์ 2 เดือนควรกินอะไร

    1. โฟเลท ยังต้องกินอย่างต่อเนื่องและขาดไม่ได้นะคะ ซึ่งโดยปกติแล้วคุณหมอผู้ดูแลครรภ์จะให้วิตามินแบบเม็ดมาด้วย
       
    2. โอเมก้า 3 ที่มีอยู่ในเนื้อปลาทะเลและถั่วต่าง ๆ เพราะเป็นช่วงที่ลูกน้อยกำลังพัฒนาสมอง ระบบประสาท และไขสันหลัง
       
    3. แคลเซียม คุณแม่ควรได้รับวันละ 700-800 มิลลิกรัมต่อวัน กินปลา ไข่ นม เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น และควรออกไปรับวิตามินดีจากแสงแดดอ่อนยามเช้า
       
    4. วิตามินบี 2 จำเป็นต่อเอนไซม์ต่าง ๆ ที่ช่วยให้กระบวนการเผาผลาญพลังงานทำงานได้ดี ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดด้วย ขณะเดียวกันก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและมีรสจัด

 *************************************************

เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ได้ที่นี่

      1. ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน 
      2. ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน 
      3. ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน 
      4. ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน 
      5. ตั้งครรภ์ 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน 
      6. ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน 
      7. ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน 
      8. ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน 
      9. ตั้งครรภ์ 9 เดือน อายุครรภ์ 9 เดือน 

ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน ลูกในท้องตัวเท่ามะนาว

ตั้งครรภ์ 3 เดือน-อายุครรภ์ 3 เดือน-ตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์-พัฒนาการทารกในครรภ์

 การตั้งครรภ์อายุครรภ์ 3 เดือน ลูกในท้องตัวเท่ามะนาว-การตั้งครรภ์

ผ่านเข้าเดือนที่ 3 กับ คุณแม่ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน แล้วนะคะ หรือ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ( ครบ 3 เดือนทางจันทรคติ ) ช่วงนี้เริ่มเห็น การเปลี่ยนแปลงของร่างกายแม่ท้องมากขึ้น ลูกในท้องก็พัฒนาการดีขึ้นมากด้วย เราลองมาเช็กกันค่ะ ว่าเมื่อ แม่ตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 3 เดือนร่างกายแม่เปลี่ยนแปลงแค่ไหน น้ำหนักตัวขึ้นเท่าไหร่ ลูกในท้อง อายุครรภ์ 3 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร และ แม่ท้อง 3 เดือน ควรกินอะไรบ้าง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน ลูกในท้องตัวเท่าลูกมะนาว

  1. ทารกจะมีความยาวตั้งแต่หัวจรดเท่า ประมาณ 9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 15 กรัม
  2. ส่วนหัวทารกจะดูใหญ่กว่าลำตัว มีซี่โครง และ กระดูกลำตัวชัด
  3. อวัยวะเพศเริ่มพัฒนาภายนอกให้เห็น แต่ยังระบุเพศที่ชัดเจนไม่ได้
  4. ขากรรไกร เหง้าฟันแท้ทั้ง 32 ซี่ จะซ่อนอยู่ในปุ่มเหงือกอย่างครบถ้วน
  5. ทารกเริ่มกลืนน้ำคร่ำได้ เพราะลำไส้เริ่มทำงานแล้ว
  6. ปัสสาวะออกมาได้เล็กน้อยในถุงน้ำคร่ำด้วย เนื่องจากระบบขับถ่ายเริ่มทำงาน
  7. หัวใจจะเต้นเร็วมาก ประมาณ 160-170 ครั้งต่อนาที แต่ในบางรายหมออาจจะยังฟังเสียงหัวใจไม่ได้เพราะผนังท้องคุณแม่หนามาก

แม่ท้องอายุครรภ์ 3 เดือน มีอาการคนท้องและร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  1. คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่จะยังไม่มากนัก บางคนน้ำหนักอาจลดลงด้วยซ้ำ เนื่องจากอาการแพ้ท้อง และ หากเพิ่มก็ไม่เกิน 2 กิโลกรัม ซึ่งจะเป็นส่วนของทารกเพียง 48 กรัม ที่เหลือเป็นส่วนขยายของมดลูก เต้านม รกและน้ำคร่ำ รวมทั้งปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นระบบไหลเวียนโลหิต
     
  2. ยอดมดลูกชัดจนคุณหมอคลำเจอแล้ว เมื่อคุณหมอคลำจะพบยอดมดลูกบริเวณหัวหน่าวโตขึ้น ทำให้คุณแม่มั่นใจได้ว่าตั้งครรภ์แน่นอน ซึ่งขนาดครรภ์ก็จะสมดุลกับอายุของทารก
     
  3. อารมณ์ช่วงเดือนที่ 3 นี้ คุณแม่ยังคงมีอารมณ์แปรปรวนอยู่บ้าง แต่ก็เริ่มทุเลาลง ซึ่งเกิดจากระดับฮอร์โมนที่เริ่มปรับสภาพให้สมดุล

อาหารคนท้องอายุครรภ์ 3 เดือน

  1. โฟเลทยังสำคัญอยู่เช่นเคย แต่ควรเริ่มกินอาหารที่มีโฟเลทเพิ่มมากขึ้นนอกเหนือจากวิตามินของคุณหมอ เช่น นม ผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ เป็นต้น
  2. ช่วงนี้อาจอยากกินอะไรแปลกๆ หรือ รสชาติจัด คุณแม่วครระวังเรื่องความสะอาด หรือทางที่ดีควรเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารดิบ อาหารหมักดอง ฯลฯ ไปก่อน
  3. ช่วงนี้ใครที่ยังแพ้ท้องอยู่ ควรกินอาหารร้อน ๆ เช่น ข้าวต้ม ซุป ต้มจืดต่าง ๆ จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นและยังได้สารอาหรรครบถ้วนสำหรับลูกในท้อง
  4. แม่ท้อง 3 เดือนบางคนเริ่มมีปัญหาช่องปากบ้างแล้ว ควรเพิ่มการกินผลไม้ที่มีวิตามินซีมากขึ้น จะช่วยป้องกันโรคเหงือกบวมและเลือดออกตามไรฟันให้คุณแม่ และที่สำคัญยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวหนัง ลดโอกาสแตกลายบริเวณผิวหน้าท้องได้ด้วย

 *************************************************

เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ได้ที่นี่

  1. ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน 
  2. ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน 
  3. ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน 
  4. ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน 
  5. ตั้งครรภ์ 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน 
  6. ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน 
  7. ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน 
  8. ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน 
  9. ตั้งครรภ์ 9 เดือน อายุครรภ์ 9 เดือน 

 

ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน ลูกตัวเท่าอะโวคาโคและรู้เพศลูกแล้ว

ตั้งครรภ์ 4 เดือน-อายุครรภ์ 4 เดือน-ตั้งครรภ์ 16 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์-พัฒนาการทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน ลูกตัวเท่าอะโวคาโค และรู้เพศแล้ว

พัฒนาการทารกในครรภ์ 4 เดือน แม่ตั้งครรภ์ 4 เดือนหรือ อายุครรภ์ 4 เดือนหรือ อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ (16 สัปดาห์ 4 เดือนทางจันทรคติ)สามารถ ระบุเพศด้วยการอัลตราซาวนด์ ได้แล้ว มา เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ 4 เดือนกันว่าเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน ร่างกายแม่มีอะไรต้องดูแล และ แม่ท้องต้องกินอะไรในช่วงตั้งครรภ์ 4 เดือนนี้

พัฒนาการทารกในครรภ์ 4 เดือน ลูกในท้องตัวเท่าอะโวคาโด

(16 สัปดาห์ 4 เดือนทางจันทรคติ)

  1. ความยาวหัวจรดเท้าประมาณ 16 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 100 กรัม 
  2. ส่วนหัวยังใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว ผิวหนังบางใส สีแดงเรื่อ ๆ มองเห็นเส้นเลือดได้เลย เริ่มมีขนตา ขนคิ้ว และเส้นผมงอกขึ้น
  3. อวัยวะเพศพัฒนาจนระบุเพศชัดเจนได้แล้วจากการอัลตราซาวนด์ว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย
  4. ปุ่มรับรสบนลิ้นพัฒนาแล้ว
  5. เปลือกตายังติดกัน แต่สามารถรับรู้ความสว่าง และเริ่มไวต่อแสงที่ส่องไปถึงได้มากขึ้น ช่วงนี้ลองส่องไฟเล่นกับลูกได้บ้างแล้วนะคะ
  6. เริ่มได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น และอาจจะมีการเตะเบา ๆ เมื่อได้ยินเสียงดังหรือได้ยินเสียงแม่ แต่แม่จะไม่รู้สึกว่าลูกเตะหรือดิ้นเพราะยังเบามาก
  7. ปอดเริ่มทำงาน ขยับขึ้นลงเหมือนหายใจ แต่ยังไงลูกก็ยังรับออกซิเจนผ่านรกไปจนกว่าจะคลอด

 แม่ท้องอายุครรภ์ 4 เดือน มีอาการคนท้องและร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  1. หน้าท้องเริ่มโตเพราะมดลูกจะลอยสูงขึ้นจากอุ้งเชิงกรานเข้าสู่ช่องท้อง คุณแม่จะคลำยอดมดลูกได้ และเริ่มเห็นเส้นดำกลางหน้าท้อง
     
  2. หัวนมเริ่มดำคลำขึ้น หัวนมมักเจ็บเมื่อถูกสัมผัส เส้นเลือดดำที่เห็นเป็นริ้วสีเขียวจะดูชัดขึ้น
     
  3. ช่วงนี้คุณแม่จะมีโอกาสเป็น ตะคริว เส้นเลือดขอดและริดสีดวงทวารได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของมดลูกอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อระบบไหลเวียนของโลหิตนั่นเอง

 อาหารคนท้องอายุครรภ์ 4 เดือน

  1. อาหารที่วิตามินบี 1 เช่น ธัญพืช ข้าวกล้อง เนื้อวัว หรือเนื้อหมู เต้าหู้ ถั่วหมัก งา กระเทียม เป็นต้น จะช่วยปกป้องคุณแม่จากโรคเหน็บชา อันเนื่องมาจากน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้นและไปกดทับเส้นเลือด ทำให้การหมุนเวียนของเลือดติดขัดได้
  2. คุณแม่ควรเริ่มให้ความสำคัญกับอาหารที่มีสังกะสีที่มีมากในเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และถั่วอบแห้ง เพราะช่วยเสริมการเติบโตของทารกในครรภ์ และยังช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนดด้วย

 *************************************************

เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ได้ที่นี่
  1. ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน 
  2. ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน 
  3. ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน 
  4. ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน 
  5. ตั้งครรภ์ 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน 
  6. ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน 
  7. ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน 
  8. ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน 
  9. ตั้งครรภ์ 9 เดือน อายุครรภ์ 9 เดือน 

 

ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน ลูกตัวเท่าดอกกะหล่ำและได้ยินเสียงแม่แล้ว

ตั้งครรภ์ 6 เดือน-อายุครรภ์ 6 เดือน-ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์-พัฒนาการทารกในครรภ์

การตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน ลูกตัวเท่าดอกกะหล่ำและได้ยินเสียงแม่แล้ว

พัฒนาการทารภในครรภ์ 6 เดือน หรือ แม่ตั้งครรภ์ 6 เดือนที่ อายุครรภ์ 6 เดือน คุณแม่กำลังย่างเข้าสู่ การตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 3 ( อายุครรภ์ 21 สัปดาห์, อายุครรภ์ 22 สัปดาห์,อายุครรภ์ 23 สัปดาห์,อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ )แล้วนะคะ ช่วงนี้ พัฒนาการทารกในครรภ์ มีอะไรเพิ่มเติมบ้าง แม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน ดูแลตัวเองอย่างไรและ ร่างกาย แม่ท้องอายุครรภ์ 6 เดือน เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง มาเช็กกันตรงนี้ค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน ลูกในท้องตัวหัวดอกกะหล่ำ

(24 สัปดาห์ สิ้นเดือนที่ 6 ทางจันทรคติ หรือ 5 1/2 เดือนตามปฏิทิน)

  • ความยาวตัวทารกตั้งหัวจรดเท่าประมาณ 33 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 600 กรัม 
  • ตามร่างกายมีขนอ่อนปกคลุมมากขึ้น และเปลือกตาเริ่มเปิดออกได้แล้ว
  • ปอดเริ่มทำงานได้ แต่หลอดลมของปอดยังทำงานได้ไม่เต็มที่
  • ลูกในท้องเริ่มไวต่อคลื่นเสียงความถี่สูง ๆ และจะเคลื่อนตัวตามจังหวะเสียงพูดของคุณพ่อคุณแม่ได้ การที่คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับทารกเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ทารกสามารถจดจำเสียงได้ ยิ่งพูดคุยด้วยบ่อย ๆ ก็จะยิ่งดี

แม่ท้องอายุครรภ์ 6 เดือน มีอาการคนท้องและร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณอาทิตย์ละครึ่งกิโลกรัม คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าท้องจะเล็กหรือใหญ่แล้วมีผลกับพัฒนาการทารกในครรภ์นะคะ ขอแค่ดูแลตัวเองดี กินอาหารหลากหลายครบถ้วน ลูกในท้องจะแข็งแรงแน่นอนค่ะ
  • เวลาแม่เปลี่ยนอิริยาบทอาจจะเกิดการเสียดท้องน้อยได้ เพราะมดลูกจะเกิดการหดตัวและเกร็ง
  • คุณแม่อาจจะปวดชายโครงได้ เนื่องจากขนาดครรภ์ใหญ่ขึ้น และขณะที่ทารกดิ้นก็อาจเกิดการกดทับกระเพาะอาหารและแสบร้อนได้เหมือนกัน
  • สิ่งที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้คือ โรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ภาวะเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ การอักเสบจากเชื้อรา เป็นต้น ดังนั้นจะต้องระวังเรื่องอาหาร และหากตรวจพบภาวะดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด


อาหารคนท้องอายุครรภ์ 6 เดือน

  • แคลเซียม ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดตะคริว
  • กากใย การกินอาหารที่มีกากใยสูงตลอดช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ นอกจากจะช่วยป้องกันท้องผูกหรือริดสีดวงทวารแล้ว ยังลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้

 *************************************************

เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ได้ที่นี่

  1. ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน 
  2. ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน 
  3. ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน 
  4. ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน 
  5. ตั้งครรภ์ 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน 
  6. ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน 
  7. ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน 
  8. ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน 
  9. ตั้งครรภ์ 9 เดือน อายุครรภ์ 9 เดือน 

 

ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน ลูกในท้องตัวเท่ามะพร้าวและเริ่มหมุนกลับหัวแล้ว

ตั้งครรภ์ 7 เดือน-อายุครรภ์ 7 เดือน-ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 26 สัปดาห์-พัฒนาการทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน ลูกในท้องตัวเท่ามะพร้าวและเริ่มหมุนกลับหัว

พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน แม่ตั้งครรภ์ 7 เดือน ลูกในท้อง ตัวเท่ามะพร้าว อายุครรภ์ 28 สัปดาห์  ( ปลายเดือนที่ 7 ทางจันทรคติหรือ 6 1/2 เดือนตามปฏิทิน)

  • ความยาวของตัวทารกตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 35 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 1,000 กรัม 
  • ต่อมไขมันเริ่มทำงานแล้ว ช่วงนี้ผิวลูกในท้องจึงเริ่มมีความชุ่มชื่นมากขึ้น
  • ทารกในท้องลืมตาได้เองแล้ว
  • ช่วงนี้พื้นที่ในท้องแม่แคบลงเพราะลูกตัวใหญ่ขึ้น เมื่อลูกเริ่มยืดแขนขาแม่จึงรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นแรง ดิ้นบ่อย
  • ทารกในท้องบางคนจะเริ่มหมุนตัวเอาส่วนหัวลงในลักษณะคล้ายเตรียมตัวคลอดแล้ว
  • ทารกมีการกลืนน้ำคร่ำ และฝึกการดูดนมด้วยเช่นกัน สำหรับน้ำคร่ำที่ถูกดูดกลืนเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะประมาณ 500 มล.ต่อวัน

 แม่ท้องอายุครรภ์ 7 เดือน มีอาการคนท้องและร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • การตั้งครรภ์เข้าไตรมาสที่ 3 นี้คุณแม่จะเหนื่อยและเพลียง่ายมากเพราะทั้งตัวลูกที่ใหญ่ขึ้น ท้องใหญ่ขึ้น น้ำหนักตัวแม่ที่เพิ่มมากขึ้น เดินนิดหน่อยก็จะเหนื่อย ง่วงนอน
  • แม่เริ่มจะปวดหลังมากขึ้น นอนไม่ค่อยหลับเพราะท้องใหญ่ไม่สบายตัว รวมทั้งลูกอาจจะตื่นมาถีบท้องแม่ตอนกลางคืนทำให้ไม่ค่อยได้นอน คุณแม่ลองนอนโดยใช้หมอนแม่ท้องช่วยประคองหลัง ประคองท้อง หรือนอนในท่าเอนหลังแบบกึ่งนั่งกึ่งนอน และใช้วิธีงีบหลับระหว่างวันช่วยได้
  • คุณแม่บางคนเริ่มมีน้ำนมไหล คุณแม่อาจเริ่มสังเกตว่ามีน้ำสีขุ่น ๆ ไหลออกมาจากหัวนม น้ำนี้มีความใสกว่าน้ำนม มีรสหวาน เรียกว่า "โคลอสตรัม" (Colostrum) เพื่อให้ทารกได้กินเป็นอาหารในช่วง 3-4 มื้อแรกก่อนที่น้ำนมจริง ๆ จากเต้านมจะไหลออกมานั่นเอง
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น คุณแม่จะเริ่มมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้นมาอีก หลังจากหายไปเมื่อเลย 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์แล้ว คราวนี้อาการปัสสาวะบ่อยนั้นเกิดจากมดลูกที่โต และทารกที่อยู่ภายในเริ่มมีแรงกดต่อกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการดังกล่าว

อาหารคนท้องอายุครรภ์ 7 เดือน

  • อาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี จะช่วยให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมแก่ทารก
  • ช่วงนี้วิตามินซีมีความจำเป็นมาก เพราะนอกจากจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กแล้ว ยังช่วยสร้างเม็ดเลือดให้กับทารกด้วย
  • แคลเซียมยังเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่นเดียวกับวิตามินเค ที่จะช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้นและช่วยบรรเทาอาการปวดหลังให้แก่คุณแม่ได้

 *************************************************

เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ได้ที่นี่

  1. ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน 
  2. ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน 
  3. ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน 
  4. ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน 
  5. ตั้งครรภ์ 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน 
  6. ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน 
  7. ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน 
  8. ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน 
  9. ตั้งครรภ์ 9 เดือน อายุครรภ์ 9 เดือน 

 

ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน ลูกตัวเท่าสับปะรดและถีบท้องแรงมาก

 ตั้งครรภ์ 8 เดือน-อายุครรภ์ 8 เดือน-ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์-ท้องใกล้คลอด-ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์-พัฒนาการทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน ลูกตัวเท่าสับปะรดและถีบท้องแรงมาก

พัฒนาการทารกในครรภ์ 8 เดือน แม่ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือนลูกในท้องมีพัฒนาการครบถ้วนแค่ไหน พร้อมคลอดแล้วหรือยัง คุณแม่ท้องเช็ค พัฒนาการทารกในครรภ์อายุ 8 เดือนกันได้ตรงนี้ พร้อมวิธีเตรียมตัวคุณแม่อายุครรภ์ 8 เดือนก่อนคลอดค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 8 เดือน ลูกในท้องตัวเท่าสับปะรด

( อายุครรภ์ 29 สัปดาห์, อายุครรภ์ 30 สัปดาห์, อายุครรภ์ 31 สัปดาห์, อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ปลายเดือน 8 ตามจันทรคติ หรือ 7 เดือนเศษตามปฏิทิน)

  • ทารกจะมีความยาวหัวจรดเท้าประมาณ 40 ซม. และ มีน้ำหนักตัวประมาณ 1,600 กรัม
  • ผิวหนังยังเหี่ยวย่นเนื่องจากชั้นไขมันยังน้อย
  • ทารกในท้องจะปัสสาวะออกมามาก ดังนั้นในถุงน้ำคร่ำจึงจะปนด้วยปัสสาวะลูกค่อยข้างมาก
  • ทารกจะขยับแขนและเหยียดขาเตะผนังหน้าท้องของคุณแม่ อาจทำให้คุณแม่นอนไม่ค่อยหลับ คุณแม่สามารถใช้มือลูบท้องและพูดคุยกับทารกในครรภ์ได้ เดือนนี้ทารกบางคนอาจจะอยู่ในท่าเตรียมตัวคลอดแล้ว (ท่าก้น) ไปจนถึงครบกำหนดคลอด
  • ผมของทารกเริ่มขึ้นเต็มศีรษะ ผิวเริ่มเป็นสีชมพู เพราะมีไขมันสีขาวสะสมใต้ผิวหนัง และเล็บมือเล็บเท้าจะงอกยาว

แม่ท้องอายุครรภ์ 8 เดือน มีอาการคนท้องและร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • คุณแม่จะเริ่มเคลื่อนไหวได้ช้าลง อุ้ยอ้าย ปวดหลัง เดินแอ่นหลัง ขาถ่างมากขึ้น เนื่องจากท้องเริ่มโตเต็มที่ เดือนนี้คุณหมอจะนัดตรวจครรภ์ถี่ขึ้น เพราะเป็นช่วงที่พบโรคแทรกซ้อนได้มาก เช่น ครรภ์เป็นพิษ จึงต้องหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตและปัสสาวะของคุณแม่
  • มดลูกขยายตัวใหญ่ขึ้นตามขนาดของทารกในครรรภ์ ยอดมดลูกดันยอดอกและชายโครง จึงอาจทำให้คุณแม่มีอาการจุกเสียด สะดือตื้นขึ้นและคล้ำ เส้นดำกลางลำตัวจะมีสีเข้มขึ้น
  • มดลูกจะฝึกหดตัวเป็นระยะ เพื่อเตรียมเข้าสู่ระยะการเจ็บคลอดจริง มดลูกจะนูนแข็งขึ้นมาเป็นครั้ง คราวละไม่เกิน 30 วินาที คุณแม่อาจรู้สึกว่าท้องตึง แต่ไม่เจ็บมาก

อาหารคนท้องอายุครรภ์ 8 เดือน

  • กินอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี และโอเมก้า 3 จะช่วยให้กะโหลกศีรษะของทารกแข็งแรงและพร้อมผ่านช่องคลอดไปได้ด้วยดี
  • กินอาหารที่มีธาตุเหล็ก เพราะคุณแม่ต้องการปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นทั้งในช่วงตั้งครรภ์และการคลอด

 *************************************************

เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ได้ที่นี่

  1. ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน 
  2. ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน 
  3. ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน 
  4. ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน 
  5. ตั้งครรภ์ 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน 
  6. ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน 
  7. ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน 
  8. ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน 
  9. ตั้งครรภ์ 9 เดือน อายุครรภ์ 9 เดือน 

ท้องเด็กยักษ์! ลูกในท้องหนักเกิน 4,000 กรัม อันตรายกันแม่ท้องแค่ไหน

ทารกตัวใหญ่ผิดปกติ-ทารกตัวใหญ่กว่าปกติ-ทารกยักษ์-ทารกน้ำหนักเกินเกณฑ์-ทารกตัวใหญ่เกินเกณฑ์-คลอดลูกตัวใหญ่

"กินเยอะ ๆ ลูกในท้องจะได้ตัวโต" แต่รู้ไหมคะว่า ลูกในท้องตัวโตก็อันตรายเหมือนกัน โดยเฉพาะลูกที่น้ำหนักเยอะแต่ไม่แข็งแรง เพราะมีโอกาสเกิดอันตรายได้ทั้งกับตัวคุณแม่เองและลูกในท้องด้วยค่ะ

รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายกสมาคมอัลตราซาวด์ทางการแพทย์ อธิบายถึงความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกรณีที่ลูกในท้องน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ไว้ดังนี้

ลูกในท้องน้ำหนักเท่าไหร่ถึงเรียกว่าทารกตัวใหญ่เกินเกณฑ์ หรือ ทารกตัวใหญ่ผิดปกติ

ทารกในท้องที่น้ำหนักตัวมากกว่า 4,000 กรัม ขึ้นไป จะเข้าข่ายหรือเรียกได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ทารกตัวใหญ่กว่าปกติ ซึ่งข้อมูลของน้ำหนักทารกในแต่ละกลุ่มประชากรก็จะมีความแตกต่างกันในการที่จะกำหนดน้ำหนักของทารก สำหรับเกณฑ์ของทารกที่ถือว่าตัวใหญ่ที่ใช้กันมากคือ 4,000 กรัม หรือ 4,500 กรัมขึ้นไป ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะใช้เกณฑ์น้ำหนักทารกตั้งแต่ 4,500 กรัมขึ้นไป ส่วนในบ้านเราและประเทศแถบเอเชียใช้เกณฑ์น้ำหนัก 4,000 กรัมขึ้นไป

สาเหตุที่พบบ่อย ที่ทำให้ทารกในครรภ์ตัวใหญ่กว่าเกณฑ์
  1. แม่อ้วน หรือ เป็นเบาหวาน
  2. พ่อหรือแม่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์
  3. มักเกิดขึ้นในท้องหลังตั้งครรภ์นานเกินกำหนด
  4. คุณแม่เคยคลอดบุตรหนักกว่า 4,000 กรัม
  5. แม่ที่สูบบุหรี่ 
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องตัวใหญ่เกินเกณฑ์หรือไม่

แพทย์มักจะวินิจฉัยน้ำหนักหรือขนาดตัวเด็กไม่ได้ 100% จนกว่าทารกจะคลอด ทั้งที่ได้มีการพยายามนำคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตร้าซาวด์) มาใช้ในการตรวจหาน้ำหนักทารกในครรภ์ ด้วยวิธีการวัดขนาดของศีรษะ ขนาดของกระดูกขา และขนาดเส้นรอบวงท้อง เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณหาน้ำหนัก จากสถิติการประเมินด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ที่พบว่าทารกมีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัมนั้น มีความถูกต้องเพียง 65% และไม่ได้ให้ผลที่แม่นยำมากกว่าวิธีตรวจจากหน้าท้องของแม่มากนัก เนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนสูง ยิ่งคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมากโอกาสที่จะผิดพลาดก็จะยิ่งสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้การประเมินน้ำหนักทารกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจึงยังไม่เป็นที่ยอมรับว่าเชื่อถือได้

จากผลการศึกษาการประเมินน้ำหนักทารกเทียบกัน ระหว่างการวัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงกับการตรวจจากหน้าท้องของแม่พบว่า ให้ค่าความแม่นยำใกล้เคียงกัน คือ มีความคลาดเคลื่อน +- ร้อยละ 10 และ ค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนโดยการตรวจทางหน้าท้องคือ +- 296 กรัม ส่วนของคลื่นเสียงความถี่สูงเป็น +- 294 กรัม ยิ่งกรณีที่ทารกมีก้นเป็นส่วนนำ ความแม่นยำในการคำนวณน้ำหนักจะลดลง


ลูกในท้องตัวใหญ่เกินเกณฑ์อันตรายกับแม่ท้องแค่ไหน
  • อาจทำให้มีการคลอดติดไหล่เกิดขึ้น คือ คลอดศีรษะออกมาได้แต่ช่วงไหล่ลูกใหญ่กว่าอุ้งเชิงกรานแม่เลยคลอดยาก ซึ่งอาจอันตรายต่อเส้นประสาท พบว่า 30% ของเส้นประสาทที่แขนจะถูกทำลายจากการคลอด และอาจพบว่าทารกมีไหปลาร้าหักหรือมีเลือดออกในสมอง ซึ่งจะทำให้ทารกพิการต่อไปในอนาคต กรณีนี้สามารถเลี่ยงได้โดยการผ่าท้องคลอด หากสูติแพทย์คะเนน้ำหนักทารกที่คาดว่ามากกว่า 4,000 กรัม จะพิจารณาให้ผ่าท้องคลอด เพื่อลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อทารกจากการคลอดยาก

  • ในกรณีที่แม่เป็นเบาหวาน ยิ่งคุณแม่ที่เป็นโรคนี้มาเป็นเวลานานหรือมีอาการมาก จะมีความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานและไต มีผลให้อัตราการแท้งบุตรเพิ่มขึ้น และภาวะความดันเลือดสูงขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า และอาจพบการติดเชื้อจากการผ่าท้องทำคลอดด้วย ทำให้เด็กมีอัตราทุพลภาพและอัตราชีวิตเพิ่มขึ้น

  • การเสียชีวิตในครรภ์สูงกว่าปกติ 3-8 เท่า หรือ 4-12% เนื่องจากภาวะขาดน้ำตาล

  • เสียชีวิตหลังคลอด 4-10% หรือ 7 เท่าของรายปกติ เนื่องจากการทำงานของปอดผิดปกติ ภาวะขาดน้ำตาล ภาวะระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ

  • รูปร่างผิดปกติตั้งแต่เกิดเพิ่มจากปกติ 2-3 เท่า นอกจากนี้ยังเสียชีวิตจากความบอบช้ำที่เกิดจากการคลอดยากด้วย สิ่งสำคัญที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ ความเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจนและการติดเชื้อ

  • คลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า เนื่องจากมีโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ ครรภ์แฝดน้ำ เป็นต้น

  • อัตราทุพลภาพในทารกพบได้มากกว่าปกติ และโอกาสที่เด็กเป็นเบาหวานจะมากกว่าเด็กปกติ โดยการสืบทอดทางพันธุกรรม มีผลกระทบต่อจิตใจเด็กในระยะยาว

  • หัวใจของทารกเกิดใหม่จากแม่ที่เป็นเบาหวานจะมีลักษณะโต

  • อัตราการตายหลังคลอด 4% ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อน ความดันเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ และหากมีอาการไตอักเสบจะมีการตายเพิ่มสูงถึง 17%

  • พบภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการที่ปริมาณน้ำตาลในเลือดแม่ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดทารกสูง ซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนของทารกทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดทารกต่ำ และผลกระทบระยะยาวยังมีการศึกษาว่าทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4,000 กรัม มีความเสี่ยงต่อภาวะ Acute lymphooyte leukemia (มะเร็งในเม็ดเลือด) มากขึ้นด้วย
ทำอย่างไรไม่ให้ลูกในท้องตัวใหญ่เกินเกณฑ์
  • เริ่มจากการไปฝากครรภ์กับสูติแพทย์ ควรควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้ขึ้นมากเกินไป โดยทั่วไปน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนคลอด แพทย์จะแนะนำไม่ให้เกิน 10-12 กิโลกรัม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดอาหารหวานจัด หรือเค็ม เผ็ด เปรี้ยวจัด ควรควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม เพื่อให้ลูกน้อยมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม

  • ในกรณีที่เป็นเบาหวานหรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน ควรรีบปรึกษาสูติแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อสูติแพทย์จะได้ตรวจติดตามขนาดของทารกในครรภ์และให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทั้งแม่และลูกมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์แข็งแรงและการคลอดดำเนินไปด้วยดี

พัฒนาการสมองทารกในครรภ์เก่งยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์อีกนะแม่

 

พัฒนาการสมองทารกในครรภ์

พัฒนาการสมองทารกในครรภ์เก่งยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์อีกนะแม่

สมองของลูกทารกในท้องแม่พัฒนาได้ไว และสามารถทำงานได้แล้วตั้งแต่ยังไม่คลอดเลยนะคะ สำหรับใครที่ท้องอยู่ลองมาเช็กกันหน่อยว่าแต่ใหญ่แค่ไหน โตยังไง และพัฒนายังไง คุณแม่ต้องรู้ และเรามีวิธีกระตุ้นพัฒนาการทางสมองลูกได้ตั้งแต่ในท้องมาแนะนำด้วย

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน

  1. พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์เดือนที่ 1  
    หลังการปฏิสนธิประมาน 18 วัน เนื้อเยื่อสมองเริ่มปรากฏขึ้น เริ่มแรกจะเป็นเพียงแผ่นบางๆ ค่อยโค้งเข้าหากันเหมือนหลอดกาแฟ ในระยะต่อมาก็จะโป่งพองและกลายเป็นสมอง ในแต่ละส่วน

  2. พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์เดือนที่ 2 และ 3 
    เซลล์สมองเริ่มมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ประมาณ 250,000 เซลล์ทุกๆ นาที ซึ่งสามารถแบ่งแยกระหว่างสมองและไขสันหลังได้ชัดเจน และช่วงนี้เริ่มมีเส้นใยประสาทโผล่ออกมาให้เห็นแล้วค่ะ

  3. พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์เดือนที่ 4  
    ระบบสมองของลูกเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น  สมองของลูกในระยะนี้จะมีขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วแขกค่ะ เส้นใยประสาทเริ่มมีมันสมองมาล้อมรอบ ซึ่งช่วงนี้ประสาทสัมผัส หู ตา ของลูกน้อยเริ่มทำงานได้แล้ว

  4. พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์เดือนที่ 5 และ 6 
    คุณแม่คงจะรู้สึกกันแล้วใช่ไหมค่ะว่าลูกกำลังดิ้นอยู่ นั่นเป็นเพราะเซลล์สมองได้เริ่มเคลื่อนย้ายตัวเองไปยังตำแหน่งของเส้นประสาทอย่างทั่วถึง ลูกเริ่มรับรู้ประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น รสชาติอาหารของคุณแม่ หรือการเริ่มได้ยินเสียงพูดคุย เพราะ ระบบประสาทของลูกนั้นมีการพัฒนาจนเริ่มที่จะสมบูรณ์แล้ว

  5. พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์เดือนที่ 7 
    สมองของลูกจะเริ่มมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนนี้ค่ะ เซลล์สมองเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกับเส้นใยและจุดเชื่อมต่างๆ

  6. พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์เดือนที่ 8 และ 9 
    ตอนนี้เซลล์สมองของลูกสามารถทำงานประสานกันได้แล้วค่ะ อีกทั้งรอยหยักของสมองเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งรอยหยักของสมองนี้เองที่เป็นตัวเพิ่มฟื้นที่ให้กับสมองของลูกน้อย

สมองมีเซลล์สมองอยู่ประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ ไม่มีการสร้างเพิ่มเติมอีก แต่เราสามารถสร้างเส้นใยประสาทได้โดยการกระตุ้นการเรียนรู้และส่งเสริมประสบการณ์ให้กับลูกได้ค่ะ

 

อาหารบำรุงสมองทารกในครรภ์

เคล็ดลับส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการทางสมองให้ลูกในท้อง

  • คุณแม่ควรวางแผนตั้งครรภ์และกินกรดโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์ล่วงหน้าประมาณ 1-3 เดือนเป็นอย่างน้อย เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดกรดโฟลิก คุณแม่ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า ผักโขม ควบคู่กับการกินโฟลิกชนิดเม็ด
     
  • กินอาหารที่มีกรดโฟลิกหรือ"โฟเลต" ที่มีความสำคัญในการสังเคราะห์ DNA ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเซลล์ต่างๆ และมีบทบาทต่อการสร้างสารคาร์บอน อันเป็นกลไกการทำงานของดีเอ็นเอในการถ่ายทอดคำสั่งทางพันธุกรรมเพื่อสร้างโปรตีนชนิดต่างๆ และที่สำคัญ กรดโฟลิกมีความจำเป็นต่อการสร้างเซลล์ประสาทและเซลล์สมองของลูกอย่างมาก

มารู้จัก 'การตรวจนิฟตี้' NIFTY เจาะเลือดแม่ รู้โรคทางพันธุกรรมของลูกได้เลย

ตรวจโรคกรรมพันธุ์-โรคที่ไม่ควรตั้งครรภ์-โรคที่ห้ามตั้งครรภ์-โรคที่ส่งต่อถึงลูก-การตรวจนิฟตี้-NIFTY: Non-Invasive Fetal TrisomY test

การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์เพื่อหาความผิดปกติ รวมไปถึงโรคทางพันธุกรรมเป็นเรื่องสำคัญค่ะ ปัจจุบันจึงมีเทคนิคทางการแพทย์ นิฟตี้ NIFTY มาช่วยให้แม่ตั้งครรภ์สามารถตรวจและรู้โรคทางพันธุกรรม เพื่อดูแลและป้องกันได้อย่างถูกต้องค่ะ 

การตรวจนิฟตี้ หรือ NIFTY Test คืออะไร

การตรวจนิฟตี้  หรือ NIFTY Test คือ วิธีการตรวจกรองหาลักษณะความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์มารดาโดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ เพียงแค่เจาะเลือดคุณแม่เพียง 10 มิลลิลิตร ก็สามารถตรวจลักษณะทางพันธุกรรมของลูกได้ วิธีดังกล่าวนี้ คุณแม่สามารถเข้ารับการตรวจได้เมื่อมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 10 สัปดาห์ขึ้นไป การตรวจอาศัยหลักการวิเคราะห์หาลำดับของสารพันธุกรรม เพื่อตรวจสอบการเกินของโครโมโซมคู่ที่ 21 คู่ที่ 18 และ 13 และนอกจากนี้ยังสามารถตรวจความผิดปกติอื่นๆ ได้อีกเช่นความผิดปกติของโครโมโซมเพศ

การตรวจนิฟตี้ NIFTY Test ให้ข้อมูลความผิดปกติของโรคพันธุกรรมชนิดใดได้บ้าง

เบื้องต้นการตรวจนิฟตี้จะเน้นกลุ่มความผิดปกติที่พบบ่อยคือ การมีโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง เช่น กลุ่มดาวน์ซินโดรมโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง กลุ่มเอ็ดเวิร์ดซินโดรม โครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง และกลุ่มพาทัวซินโดรมโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง นอกจากนั้นยังสามารถตรวจโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ เช่นความผิดปกติของโครโมโซมเพศ หรือแม้แต่การตรวจเพศทารกในครรภ์ 

การตรวจนิฟตี้ NIFTY Test  มีหลักการอย่างไร

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ประมาณ 8 สัปดาห์ลูกน้อยจะมีพัฒนาการสร้างอวัยวะที่สมบูรณ์ และเมื่อถึงสัปดาห์ที่ 10 หรือประมาณ 2 เดือนครึ่ง อวัยวะภายในของทารกจะทำงานเพิ่มขึ้น ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารและขับของเสียผ่านทางสายรกที่เชื่อมต่อกับคุณแม่ แต่ระบบเลือดของแม่กับลูกไม่ได้แลกเปลี่ยนสารอาหารโดยตรงแต่จะมีเยื่อบางๆ ในการทำหน้าที่เพื่อป้องกันเซลล์ของลูกและแม่ไม่ให้พบกัน และต่อต้านกันเพราะเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของแม่จะตรวจสอบว่าเซลล์ของทารกเป็นสิ่งแปลกปลอม เยื่อบางๆ นี้ยอมให้สารพันธุกรรม (DNA) ของลูกผ่านเข้าไปในระบบเลือดของแม่ได้

ด้วยเหตุนี้เพียงเราเก็บเลือดของแม่ที่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป จะสามารถตรวจหาโรคทางพันธุกรรมจาก DNA ของลูกน้อยที่ปนออกมาในเลือดของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ โดยคุณแม่ไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งมีความเสี่ยงและเจ็บตัวมากกว่า 

การตรวจนิฟตี้ NIFTY Test  มีความแม่นยำกว่าการตรวจน้ำคร่ำหรือไม่

ข้อมูลจากการวิจัยทางคลินิคพบว่า การตรวจนิฟตี้มีความไวในการตรวจหาโรคถึง 99% เทียบกับวิธีเจาะน้ำคร่ำร่วมกับการวิเคราะห์หาสารเคมีในเลือดที่มีความไวเพียง 60% จากการทดสอบในอาสาสมัครหญิงตั้งครรภ์ 112,000 คน นอกจากนั้นยังพบว่าอัตราการตรวจผิดพลาดว่าเป็นโรคทั้งที่ไม่เป็นเหลือเพียง 0.1% เทียบกับวิธีเจาะน้ำคร่ำที่มีความผิดพลาดสูงถึง 5% ในปัจุบันมีคุณแม่ตั้งครรภ์มากกว่า 400,000 คนทั่วโลกเลือกวิธีการตรวจนิฟตี้ในการหาความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารก


คุณแม่ตั้งครรภ์ประเภทไหนบ้างที่แนะนำให้ทำการทดสอบนิฟตี้ NIFTY Test

วิธีการทดสอบนิฟตี้เป็นวิธีที่ใหม่ซึ่งหลายคนไม่คุ้นเคยและยังมีค่าใช้จ่ายสูง ข้อมูลในแต่ละข้อต่อไปนี้อาจจะทำให้เราเลือกพิจารณาความเหมาะสมได้มากขึ้น ว่าควรเข้ารับการตรวจด้วยวิธีนิฟตี้หรือไม่ หากท่านเป็นคุณแม่ที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้

  • คุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป

  • แพทย์ตรวจพบความผิดปกติของทารกที่อาจมีความเสี่ยงต่อโรคพันธุกรรมด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์

  • ต้องการตรวจยืนยันผลความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกจากการตรวจครั้งแรกด้วยวิธีอื่น

  • มีสภาวะเสี่ยงที่ไม่แนะนำให้ทำตรวจน้ำคร่ำ เช่น ภาวะแท้งบุตรง่าย ภาวะรกเกาะต่ำหรือรกของทารกนั้นมาเกาะอยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูกใกล้กับปากมดลูก หรือมารดาติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี (HBV, HCV infection)

  • มีประวัติความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกชนิด trisomy จากการท้องครั้งก่อน

  • เข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีการเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือมีภาวะแท้งซ้ำซ้อน

  • มีประวัติครอบครัวหรือญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคที่ผิดปกติทางพันธุกรรม


การตรวจนิฟตี้ NIFTY Test ต้องเตรียมตัวอย่างไร มีที่ไหนรับตรวจบ้าง

การตรวจกรองด้วยวิธีนิฟตี้ เหมือนกับการตรวจสุขภาพทั่วไป ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหาร ทีมแพทย์จะซักประวัติและให้ลงนามในเอกสารในการตรวจ จากนั้นจะเจาะเลือดคุณแม่ 10 มิลลิลิตร (ประมาณ 3 ซ้อนโต๊ะ) ตัวอย่างเลือดจะถูกนำส่งไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ และจะทราบผลภายใน 10 วัน จากนั้นแพทย์จะนัดมาฟังผลและให้คำปรึกษา สถาบันทางการแพทย์ที่ให้บริการตรวจมีทั้งหน่วยงานรัฐบาลหรือเอกชน คุณแม่ท่านใดสนใจสามารถหาข้อมูลได้จากโรงพยาบาลโดยตรง หรือเอกสารเชิญชวนในระหว่างขั้นตอนฝากครรภ์

ข้อมูลจาก: อาจารย์ ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร

  • 1
  • 2