facebook  youtube  line

รักลูก The Expert Talk EP.126 : Cybercrime รับมือได้ พ่อแม่ต้องเท่าทัน

 

รักลูก The Expert Talk Ep.126 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 7 Cybercrime รับมือได้ พ่อแม่ต้องเท่าทัน

 

เมื่อลูกถูมิจฉาชีพหลอกลวง พ่อแม่จะช่วยลูกและรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

 

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke 

รักลูก The Expert Talk EP.129 : แก้ปัญหาเด็กติดจอเริ่มที่พ่อแม่

 

รักลูก The Expert Talk Ep.129 : โพรไบโอติกและพรีไบโอติก เลือกอย่างไรเหมาะกับเด็ก

ติดจอแล้วลด ละ เลิกอย่างไร

  • กำหนดเวลาในการดูจอ
  • เลือกเนื้อหาที่มีประโยชน์
  • ปิดท้ายด้วยสื่อเย็น

ฟังแนวทางการลดละเลิกจอ และเลือกเนื้อหาที่ดีต่อพัฒนาการ จาก The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่ https://linktr.ee/rakluke

รักลูก The Expert Talk Ep.35 (Rerun) : “Opened Mindset or Fixed Mindset"

 

รักลูก The Expert Talk EP.35 (Rerun) : "Open Mindset or Fixed Mindset"

พ่อแม่ที่ Fixed Mindset จะทำให้ลูกมีวุฒิภาวะต่ำ แต่พ่อแม่ที่มี Open Mindset จะทำให้ลูกมีวุฒิภาวะดี และจะติดตัวอยู่กับลูกไปตลอด

อยากให้ลูกเป็นแบบไหน… พ่อแม่เลือกได้

 

รับฟังวิธีการเลี้ยงลูกสไตล์หมอเดว รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

Mindset  ถ้าแปลเป็นไทยง่ายๆ  ก็คือทัศนคติ คือถ้ามีทัศนคติหรือจิตใจที่เรียกว่าไม่เปิดกว้าง  จิตใจที่ไม่เปิดกว้างกับจิตใจที่เปิดแล้ว สังคมในยุคปัจจุบัน ที่กลายเป็นสังคมที่ไร้พรมแดน เป็นโลกยุคดิจิทัลจะเห็นเลยว่าเด็กๆ  ยุคปัจจุบันนี้เขาสามารถที่จะบริโภคสื่อผ่านระบบโชเชียลมีเดียแม้กระทั่งที่เรากำลังทำ Podcast  มันเป็นวิธีการใหม่หมดเลย พอมันเป็นวิถีชีวิตในลักษณะแบบนี้

เด็กเจนเนอเรชั่นใหม่เขาสามารถเข้าถึงเรื่องพวกนี้ได้หมดเลย สถานภาพของครอบครัวจึงมีอาคันตุกะใหม่เพิ่ม  ถ้าทัศนคติของเราเปิดเราสามารถเรียนรู้ข้ามวัยกัน  เรียนรู้บนความหลากหลายทางเพศ อันนี้จะเป็นลักษณะของ  Open Mindset 

แต่ถ้า  Fix Mindset  เลยเหมือนอุตสาหกรรม เช่น  ระบบการศึกษาปัจจุบันนี้ ที่เข้าสู่สายพาน อันนี้หมอไม่ได้โทษใครแต่โทษทั้งระบบ เช่น  เราต้องมีระบบแพ้คัดออก  เวลาเข้าสู่อนุบาลก็ต้องเข้าไปเรียนประมาณนี้  คิดนอกกรอบไม่ได้ แล้วเวลาขึ้นสู่อนุบาล  1 2 3 เสร็จแล้วก็ต้องสอบเข้า แล้วก็ต้องเข้าโรงเรียนดังๆ  เข้าไปเสร็จก็ต้องเรียนเยอะๆ การบ้านเยอะๆ

 

ตื่นตีห้าล้อหมุน  6 โมงเช้า กินข้าวเช้าบนรถ มาถึงโรงเรียนก็มีการบ้านเช้า ครูเขียนไว้บนกระดาน พอถึงเวลาปุ๊บ ถ้ามาสายเกิน  7 โมงครึ่ง ลบกระดานออก หมอก็ถามว่าแล้วคนที่มาสายกว่าทำอย่างไร ลอกเพื่อนเอาตัวรอด ตามมาด้วยวิชาที่เรียน แล้ววิชาที่เรียนก็กลายเป็น  Fix หมด ลักษณะที่  Fix หมดทั้งหลายที่ไม่สามารถเปิดทางเลือกใดๆ ได้เลย 

การบ้านที่คุณครูก็ให้นึกว่าเรียนวิชาแกวิชาเดียวเทกระจาดเข้าไป จนตกเย็นไปกวดวิชา ดินเนอร์บนรถ รถติดไปถึงบ้าน ทำการบ้านเสร็จกว่าจะเรียบร้อย เข้านอนเกือบเที่ยงคืน  ตื่นตี 5 ล้อหมุน 6 โมงเช้า เหมือนเดิมเป็นแบบนี้จันทร์ถึงจันทร์

หมอมีคนไข้เด็ก ม.4 โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง  เดินเข้ามาอย่างกับซอมบี้ ผีดิบ เขาเรียนจันทร์ถึงจันทร์ เขาภูมิใจมากเลยเรียนจันทร์ถึงจันทร์ แต่ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นบนการเรียนรู้แบบ  Fix Mindset  ไม่ใช่  Open Mindset  

ความปรารถนาดีความรักที่พ่อแม่มีให้กับลูกเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเรา Open Mindset  สักนิดนึงแล้วเราถอยออกมาแล้วเราอยู่ในสถานะที่ เราใช้คำว่า  Scaffolding (นั่งร้าน) คือครูหรือพ่อแม่ในยุคปัจจุบัน จะต้องทำเป็นนักอำนวยการเรียนรู้ ไม่ใช่ไปครอบงำ เพราะโลกมันเปิดหมดแล้ว  สิ่งที่เราเรียนในตำราเรียนแบบเดิม แต่ถ้าไปเรียนรู้ต่างวัฒนธรรมมันอาจจะไม่ใช่ 

แต่ในขณะที่เขาสามารถไปสัมผัสสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เลย แล้วถ้าเรารังสรรค์สิ่งเหล่านี้ให้เกิดในบ้าน  เรียกว่าครอบครัวหัวใจประชาธิปไตยมันเกิดขึ้นในบ้านเลยไม่ได้เหรอ แล้วเกิดขึ้นในโรงเรียนไม่ได้หรอ คือถ้ามันเกิดขึ้นในลักษณะนี้หมอเชื่อแน่ว่าผู้ใหญ่สิ่งที่จะต้องปรับเลยคือ  Open Mindset  ทัศนคติต้องเปิด  ใจต้องเปิด ถ้าใจไม่เปิดสมองไม่เกิดการเรียนรู้ อันนี้เป็นหลักการ คือถ้าใจไม่เปิดแล้วใจเราปิด เราคิดเลยว่าสิ่งที่ลูกคิดอยู่นี้พ่อแม่อาบน้ำร้อนมาก่อน ดีที่มันไม่ลวก

อาบน้ำร้อนมาก่อน ต้องเชื่อพ่อแม่  อย่าลืมว่าพ่อแม่เติบโตในยุคนู้น แล้วถ้ายิ่งเป็นปู่ย่า ตายาย อีกยิ่งในยุคนู้นไปอีก อันนี้มันยุคนี้  ทีนี้จะอยู่อย่างไรให้มันกลายเป็นการ  Open Mindset  ที่เรียกว่าทัศนคติเราเปิดแล้ว ทัศนคติที่เปิดแล้วระบบการศึกษาก็จะไม่ได้เป็นลูฟแบบนี้ พ่อแม่ไม่ต้องแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น  ลูกเรียนเข้าไว้ ต้องเรียนสูงๆ เข้าไว้ จบด็อกเตอร์พูดภาษาคนไม่รู้เรื่อง มันไม่ใช่ในลักษณะนั้น

เราเป็นพ่อแม่ต้องถอยกลับมานั่งมองเลยว่า ลูกจะอยู่ร่วมกับสังคมอย่างไร เวลาลูกเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในรั้วโรงเรียนลูกจะต้องมีวิชาชีวิต ลูกก็ต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับคนอื่น  ในขณะเดียวกันเองเวลาที่มาที่บ้าน 

หมอเคยพูดไว้หลายครั้งเลยว่า เช็ด ปัด กวาด ถูบ้าน ซักผ้า ล้างจาน เป็นเบสิกขั้นพื้นฐานมากเลย ถ้าเราเปิดใจในลักษณะนี้ วันนี้ลูกหลานเราจะไม่เป็นหุ่นยนต์เดินได้ เพราะเรากำลัง Fix Mindset  เข้าสู่สายพานเข้าอนุบาล  1 2 3 จะต้องกวดวิชาแค่ไหน แล้วจะต้องไปสอบเข้า พอสอบเข้าเสร็จปุ๊บ ต้องเข้าโรงเรียนดัง ต้องสายอินเตอร์ เป็นไบลิงกัวร  อันนี้เป็นประชานิยมนิดนึง มีการบลั๊ฟกันระหว่างพ่อแม่อีก ว่าลูกเธอเรียนที่ไหนเนี่

สมมติมีลูก 2 คน คนหนึ่งเรียนโรงเรียนสาธิต อีกคนเรียนโรงเรียนวัด คนที่เรียนโรงเรียนวัดหงอยไปเลยนะ อันนี้คือลักษณะของ Fix Mindset  ทั้งสิ้น ถ้าใจเปิดเราจะรังสรรค์ให้เกิดการเรียนรู้ได้ รูปแบบต่างๆ การสุนทรียสนทนาในบ้านจะเกิดขึ้น 

5 หัวใจที่มันจะกลายเป็น Open Mindset  เป็นกระบวนการที่ทำให้พ่อแม่ทุก Generation จะไม่มีปัญหากับลูกทุก Generation  

 1. รักอบอุ่น  และไว้วางใจ   นัยยะของหมอคือรักร่วมทุกข์ ร่วมสุข วันนี้กลับไปถามใจตัวเองก่อน จริงหรือป่าวว่ารักร่วมทุกข์ร่วมสุข แม้แต่เช็ด ปัด กวาด ถูบ้าน ซักผ้า ล้างจาน  ทุกวันนี้บางคนกางเกงในตัวเองยังไม่ซักเลย ถุงเท้าตัวเองก็ไม่ซัก ถ้ารักต้องรักร่วมทุกข์ร่วมสุข คุณแม่ตอนที่เกิดมาตั้งท้อง แม่ไม่ได้สบายกายนะ ทุกข์กายแต่ใจพองโต 

 แล้วความทุกข์ทางกายสุดยอดตอนที่คลอดลูก เจ็บปวดที่แม่ได้รับ แสดงว่ารักนี้เกิดขึ้นบนความเจ็บปวด แต่เป็นความเจ็บปวดที่หัวใจพองโต ได้ยินเสียงลูกร้อง เอาลูกมาซบอกดูดนมแม่ กลายเป็น  Tender loving care รักนี้จึงกลายเป็นรักที่สมบูรณ์แบบที่ต่อให้ลูกจะเป็นอะไรก็ตามก็รักหมดใจไม่มีเงื่อนไข ทำไมเราไม่ใช้กระบวนการนี้ในการฝึกลูกเราบ้าง 

 เมื่อเขาเติบโตขึ้นไปเขาต้องรักเป็น  รักเป็นไม่ใช่สำลักความรัก แต่ต้องบนรักที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกัน เบสิกพื้นฐานเลย วันนี้คุณพ่อคุณแม่กลับไปถามใจตัวเองเลยว่าลูกเช็ด  ปัด กวาด ถูบ้าน ซักผ้า ล้างจานบ้างไหม แล้วลองฝึกหัดเขาบนเรื่องนี้เลยแล้วคุณธรรมจะเกิด  รักต้องร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่ใช่รักอบอุ่นและไว้วางใจ เทไปเลยลูกอยากได้อะไร เดี๋ยวแม่จะให้คนใช้ไปใส่ถุงเท้าบนห้องนอน อันนี้เยอะไปแล้วคุณพ่อคุณแม่

2.การสื่อสารพลังบวก  การใช้วิธีการสื่อสารซึ่งกันละกันที่ดีๆ ก็จะทำให้เกิดสุนทรียสนทนา เราอาจจะกำหนดกติกาก็ได้ว่าความคิดเห็นแต่ละคนมันหลากหลาย ลูกคนโตกับลูกคนเล็ก ลูกผู้ชายกับลูกผู้หญิง อาจจะไม่เหมือนกัน พ่อแม่ก็อาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน 

 เวลาเราจะสุนทรียสนทนาในบ้านซึ่งกันและกันเราอาจจะกำหนดกติการ่วม ถ้าเมื่อไหร่ที่อินไปกับอารมณ์แล้วเราอาจจะขอพักเบรก กติกาง่ายๆ ในลักษณะแบบนี้จะทำให้เกิดการเปิดใจ  เป็น  Open Mindset  อันนี้คือการสื่อสารที่ดี ที่หมอใช้คำว่าสุนทรียสนทนา

3.บ้านต้องมีวินัย มันเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีวินัย แต่เป็นวินัยเชิงบวกที่หมอใช้คำว่า  Kindly but Firmness คือ มีหลักการ มีเหตุผล แต่ยืดหยุ่นได้ หมายถึงว่าไม่ใช่กฎกติกาที่ออกโดยใครคนใดคนนึง แต่มาจากการมีส่วนร่วม แม้แต่เสียงเด็กเล็กๆ เชื่อไหมว่าแม้แต่อนุบาลเรายังสามารถคุยกับลูกของเราเพื่อกำหนดกติกาได้เลย

 โดยใช้คำพูดง่ายๆ ว่า แม่รู้ว่าลูกเสียใจ แม่รู้ว่าลูกร้องไห้ บอกแม่สิเกิดอะไรขึ้น และถ้าคราวหน้าไม่ไห้เกิดแบบนี้ลูกจะทำยังไง คราวหน้าไม่เกิดแบบนี้จะทำยังไง  มันจะกลายเป็นกติกา  โอเคนะ ลูกสัญญาแล้วนะ ว่าคราวหน้าลูกทำแบบนี้แล้วจะไม่เกิดแบบนี้เกิดขึ้น เป็นกติกาง่ายๆ และลูกเป็นเจ้าของความคิดด้วย เราไม่ได้ไปครอบงำความคิดเขา

เพราะฉะนั้นการใช้หลักการแบบนี้ บ้านต้องมีวินัยด้วย ความหมายคือวินัยอย่างมีส่วนร่วม คือ ทุกคนฟังเสียงซึ่งกันและกัน สามารถเติมเต็ม และเกิดข้อตกลงร่วม แม้แต่ลูกวัยอนุบาลก็ทำได้ 

  วินัยเชิงบวกต้องเข้าใจก่อนว่า ไม่ใช่หมายถึงหันซ้ายหันขวา ไม่ใช่การลงโทษ สมัยก่อนต้องใช้วิธีการลงโทษ อันนี้เป็น  Fix Mindset  คิดแบบเดิม  แต่ถ้าเป็น Open Mindset ยืดหยุ่นได้ อยู่บนเมตตาธรรม 

ถ้าเราน็อตหลุด ไม่ทำตามวินัย กติกาคุยกันไว้แล้วทำไมแกไม่ทำ เราโกรธ เราอาจจะบอกได้ว่าตอนนี้พ่อโกรธ พ่อคุมอารมณ์ไม่ได้ ขอพักออกไปก่อน เรามาคุยกันดีๆ แล้วก็กลับมาเหลาความคิดใหม่

 ถ้าไม่ให้เกิดแบบนี้ลูกจะทำยังไง คือลักษณะการคุยกันจะทำให้เกิดการทบทวนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง  แล้วครั้งหน้าลูกไม่ทำแล้วทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก จะให้พ่อทำยังไง เขาเรียกว่าบ้านต้องมีวินัย

4.รู้จักควบคุมอารมณ์ ซึ่งกันและกัน  อันนี้คือ Mindset ทัศนคติ ที่จะทำให้เปิดได้ เราต้องรู้จักการจัดการอารมณ์ได้  ไม่งั้นไม่สามารถที่จะ  Open Mindset  ได้  คุณลักษณะในลักษณะนี้ของผู้ใหญ่จะกลายเป็นหัวใจเปิด มีสุนทรียสนทนา มีวินัยในการจัดการซึ่งกันและกัน สามารถควบคุมอารมณ์ตนเอง 

 5.มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี แม้แต่เจ้าตัวเล็กๆ  ก็มีศักดิ์ศรี เขามีตัวตนคือถ้าเราเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมามีศักดิ์ศรี ในสถานะของเขา เราจะไม่เหยียดหยาม เราจะไม่ดูถูกซึ่งกันและกัน เราจะไม่บอกว่าอันนี้คือความหลากหลายทางเพศ อันนี้คือคิดมาได้อย่างไร แม่อาบน้ำร้อนมาก่อน  ประโยคแบบนี้จะไม่หลุดออกมาเลย 

เพราะเรารู้อยู่ว่ามนุษย์ทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีของเขา เมื่อเป็นอย่างนั้นการฟังซึ่งกันและกัน ก็จะเกิดขึ้นได้  นี่คือคุณลักษณะที่จะนำไปสู่เรื่องของ  Open Mindset  ใจจะเปิดขึ้นทันที หัวใจสำคัญอันนี้จะกลายเป็นเรื่องของหัวใจแห่งประชาธิปไตย

 วันนี้เราไม่ต้องไปวุ่นวายตรงไหนเลย เรากลับมาเลี้ยงลูกด้วยหัวใจประชาธิปไตย แต่ครอบครัวในปัจจุบันนี้ที่เราเคยสำรวจกัน การเลี้ยงลูกที่เป็นแบบ Fix Mindset  บางจังหวะก็อาจจะโอเคนะ  เช่น ถ้าเรามีวิธีการ กระบวนการ การจัดการทัศนคติ ของเราเองในลักษณะแบบนี้อยู่แล้ว  ในบางเหตุการณ์มันอาจจะจำเป็น เช่น ในตอนที่ลูกเราเล็กๆ  แล้วเราจำเป็นต้องควบคุมเพื่อไม่ให้ลูกเกิดอันตราย ปกป้องคุมครอง ใช้อำนาจในการเลี้ยง อันนั้นอาจจะเหมาะสมในสถานการณ์นั้น แต่เมื่อเขาโตขึ้นลักษณะพวกนี้เราต้องค่อยๆ ถอยลงไป เพราะ  Fix Mindset  ของเราอาจจะทำให้ลูกอ่อนแอในเรื่องวุฒิภาวะ 

ถ้าเรา Open Mindset  วุฒิภาวะเขาจะแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ และจะอยู่กับเขาไปตลอด อย่างตอนที่ลูกเราเล็กๆ เราคิดแทนเขาตัดสินใจแทน ว่าอยากได้อะไร  Mindset  ของเราเป็นแบบไหน เราก็ว่าแบบนั้น เราเลือกเรียนโรงเรียนไหน ให้เข้าอะไรยังไง ลูกก็ทำไปตามนั้น แต่เมื่อโตขึ้นมาเรื่อยๆ  เปิดพื้นที่ให้เขามากขึ้น เขาเริ่มแสดงทัศนคติตัวเอง เริ่มแสดงความคิดเห็น ตรงนี้พ่อแม่ต้องภูมิใจว่าลูกเริ่มมีความคิด และทัศนคติของตนเองแล้ว 

เราจะเริ่มเปลี่ยนจาก Fix ให้กลายเป็น Open  คือเปิดพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ แต่เปิดพื้นที่มากถึงขนาดที่ตอนลูกเข้าวัยรุ่นอำนาจของเราจะเหลืออยู่แค่ 30%  อีก 70% จะกลายเป็น  Open Mindset  แล้วอะไรๆ  ก็จะสามารถมารังสรรค์ซึ่งกันและกันได้ สามารถที่จะออกแบบ สามารถที่จะอยู่ร่วม เกิดพื้นที่ส่วนตัวของเขา การเรียนรู้อยู่ร่วมกันบนวิถีชีวิตที่แตกต่างกันไป ยิ่งถ้าเป็นเยาวชน ขึ้นมาก็อาจจะกลายเป็น  10%  ยิ่งถ้าโตขึ้นไปก็จะลดน้อยลง ทั้งหมดนี้ถ้ามันเกิดขึ้นได้ก็จะสามารถทำให้เกิด Open Mindset  ได้

ลูกช่วยฝึก Open Mindset พ่อแม่ “ลูกคือแบบฝึกหัดชีวิต พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบเปิดใจ รับฟังลูกได้บนความคิดที่แตกต่างกัน พ่อแม่จะเก่งขึ้น มีทักษะเพิ่มขึ้นและจะเลี้ยงลูกได้อย่างมีความสุข เพราะไม่ต้องกังวลกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น” “พ่อแม่ที่มี Open Mindset เปิดใจ ”จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ เพราะต้องอดทน  ต้องเปิดใจ แม้แต่ทัศนคติเราต้องรับฟังลูกเราได้บนความคิดที่ต่าง วิธีการที่แตกต่างกัน  ใจของเราเปิดขึ้น เราเก่งขึ้น  อันนี้คนเป็นพ่อแม่เก่งขึ้นนะ  เก่งขึ้นตามลูกไปด้วย 

ตอนลูกอยู่ปฐมวัยเราก็ปรับตัวอีกแบบ  พอขึ้นวัยเรียนเราก็ต้องปรับตัวตามเขาเรื่อยๆ  ยิ่งบางบ้านมีลูกคนเดียว บางบ้านมีลูกสองสามคน พื้นฐานอารมณ์ไม่เหมือนกันอีก  พ่อแม่ที่ใจเปิดจะเลี้ยงลูกสองแบบที่แตกต่างได้อย่างมีความสุข เพราะไม่ต้องกังวล 

แม้แต่ครูเองถ้าใจเปิดไม้เรียวไม่ต้องมี  Classroom Management  แต่เราจะใช้คำว่า Flipped Classroom เป็นห้องเรียนกลับทาง เกิดขึ้นได้หมดเลย แต่ทุกวันนี้เป็น  Fix Mindset  พอเป็น  Fix Mindset  ก็สอนแบบเดิม ๆ อัดเนื้อหาวิชาเข้าไป เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เด็กไม่สามารถตั้งคำถามได้  ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ อันนี้จะกลายเป็นปัญหาทันที  

แล้วจงภาคภูมิใจเอาไว้ถ้าเมื่อไหร่ที่เราฝึกฝนตนเองให้กลายเป็นคนที่  Open Mindset  ทัศนคติเปิดท่านจะอยู่ในที่ทำงานได้อย่างมีความสุข  อยู่ที่บ้านก็อยู่อย่างมีความสุข อยู่ในสังคมก็กลายเป็นสังคมที่เปิด เราเชิญชวนกันอยากให้เป็น open  Mindset

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่...

Apple Podcast :https://apple.co/3m15ytB

Spotify :https://spoti.fi/3cvAVcX

YouTube Channel :https://bit.ly/3cxn31u

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.36 (Rerun) : เลี้ยงลูกเชิงบวกตอน ชวนพ่อแม่เป็น "ผู้ประคอง" แทน "ผู้ปกครอง”

 

รักลูก The Expert Talk EP.36 (Rerun) : เลี้ยงลูกเชิงบวก ตอน ชวนพ่อแม่เป็น "ผู้ประคอง" แทน "ผู้ปกครอง"

ชวนเปลี่ยนบทบาทจากเคยเป็น “ผู้ปกครอง” มาเป็น “ผู้ประคอง”

ผลลัพธ์ที่ได้ก็แตกต่างกัน เพราะการเป็น “ผู้ประคอง” เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังผันผวน เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

 

ฟังการ เลี้ยงลูกเชิงบวก เปลี่ยนพ่อแม่เป็นผู้ประคอง โดย ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ความหมายของผู้ประคอง

ที่จริงคำนี้ครูหยิบมาพูดเพราะว่า พอพูดแล้วมันคลิกว่าคุณพ่อคุณแม่ติดเป็นผู้ปกครองลองเป็นผู้ประคอง พอบอกเป็นผู้ประคองคำนี้ทุกคนจะผ่อนคลาย กลายเป็นว่าที่ครูหม่อมอธิบายมาเป็นชั่วโมงมันจบอยู่ที่ผู้ปกครองแต่พอเราคลายคำว่าลองเป็นผู้ประคองดูแล้วความปกครองเราจะหายไป ปรากฏว่าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจครูหม่อมเลยหยิบยกคำนี้ขึ้นมาและพูดถึงอยู่บ่อยๆ ความต่างก็ตามความรู้สึกหรือความหมายตามที่เรารู้สึก

ถ้าเราเป็นผู้ปกครองเมื่อไหร่ก็กลายเป็นเราต้องไปปกครองเขาคอยสั่ง ตัดสิน ควบคุม ตีตรา แต่ถ้าเราลองเป็นผู้ประคองแปลว่าเรากำลังอนุญาตให้ลูกได้รู้สึกในแบบที่เขารู้สึกจริงๆ คิดในแบบที่เขาคิดจริงๆ มันจะผิดหรือถูกไม่รู้มันไม่ใช่ประเด็น ประเด็นอยู่ที่ความคิด ความรู้สึกนึกคิดของลูกเกิดขึ้นจริง แล้วเราจะประคองลูกเราอย่างไรให้กลับมาอยู่บนทิศทางที่ควรจะเป็นถ้าเราประคองเขาได้วันหนึ่งเขาก็จะอยู่ได้ประคองตัวเองได้ แต่ถ้าเราปกครองเขาวันหนึ่งเราไม่อยู่แล้วใครจะไปควบคุมเขา หรือถ้าเราไปทำแทนไปทำให้วันหนึ่งเราไม่ทำให้ใครจะไปทำให้เขา

แต่ตอนนี้เรากำลังให้เขาทำให้เขาคิดให้เขารู้สึกแล้วเราประคองสิ่งที่เขาคิดสิ่งที่เขาทำสิ่งที่เขารู้สึกให้อยู่ในลู่ในทาง คนเป็นพ่อเป็นแม่มักไม่ค่อยอนุญาต บางทีไม่อนุญาตตัวเองให้ทำอย่างนู้นอย่างนี้ด้วย ยิ่งเป็นลูกเราก็เผลอไปปกครอง เราอนุญาตให้เขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้โดยที่เราค่อยๆ เรียกให้เขากลับเข้าลู่ทางที่มันควรจะเป็น อย่างเช่น ถ้าลูกอยากไปพัทยาเราไม่ห้ามลูกไปพัทยาแต่เขาก็จะหาวิธีทางไปของเขาถ้าเขาอ้อมไปหัวหินเราก็ต้องกวักมือกลับมาแต่ในการกวักมือเราก็ต้องอยู่ข้างๆ ทางที่เขาไปหัวหินประคองเขากลับมาเพื่อไปสู่พัทยา แต่ถ้ายืนอยู่ตรงนี้แล้วตะโกนไปตรงนั้น มาทางนี้ ต้องไปทางนี้ แบบนี้ก็จะยากคือการปกครอง

ลูกจะมาเวลาที่เราไปสั่ง ตัดสิน ตีตรา ควบคุมลูก สิ่งที่เกิดขึ้นคือลูกทำเพราะกลัวกับลูกไม่ทำเพราะก้าวร้าวเราจะได้ลูกแบบนี้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราประคองเราจะได้ลูกที่เรียนรู้ลองผิดลองถูกเรียนรู้ได้จากสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมคือเขาจะเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองว่าอันนี้ไม่เหมาะสมและสิ่งที่เขาทำไม่เหมาะสมมันเกิดอะไรไม่ดีกับเขาบ้าง แต่ถ้าเราเป็นผู้ประคอง เป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เขารักอะไรที่เราเสียใจจะกลายเป็นบทลงโทษของลูกเราอย่างหนักมาก แต่ถ้าเรายังเป็นไม้เบื่อไม้เมากับลูก บางครั้งลูกประชดประชันแกล้งทำให้มันไม่ดีเพื่อให้พ่อแม่เสียใจเพราะสะใจลูกอันนี้คือความต่างผลลัพธ์ของผู้ประคองและผู้ปกครอง

Checklist เราเป็นผู้ปกครองหรือผู้ประคอง

1.วันนี้ทั้งวันเราพูดอะไรกับลูกมากที่สุด

ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ส่วนใหญ่ที่ครูหม่อมเจอคือชื่อลูก เสียงหนึ่ง เสียงสอง เสียงสาม ถ้าวันหนึ่งๆ เรามีเสียงไหนเราต้องเรียกลูกด้วยน้ำเสียงอย่างไรตลอดทั้งวัน เราสามารถจะตัดสินเองได้ว่าเราเป็นผู้ประคองหรือผู้ปกครอง

2.ถามตัวเองว่าเราสั่งหรือสอนลูกมากกว่ากัน

ตั้งแต่เช้าเราพูดอะไรกับลูกเป็นคำสั่งหรือคำสอนมากกว่ากัน ถ้าเป็นคำสอนต้องเป็นการสอนจริงๆ ไม่ใช่เป็นการปรับพฤติกรรมเด็กไทยในวันหนึ่งๆ ได้ยินเสียงคำสั่งเยอะ ครูหม่อมเคยทำงานวิจัยเชื่อหรือไม่ภายใน 1 นาที เด็กไทยได้ยินคำว่า ห้าม ไม่ อย่า หยุด เกือบประมาณ 80 ครั้ง ภายใน 1 นาที จากหลายๆ ทาง ลูกไม่ อย่า ห้ามอยู่ตลอดเวลา คำถามคือให้เราลองนึกถึงตัวเรามีคนมาสั่งเราทั้งวันมันกระตุ้นอารมณ์เราไหม

3.คำถามต่อไปลองเช็กดูเราดุหรือปลอบลูกมากกว่ากัน

4.ตำหนิลูกหรือชมลูก

ทั้งวันมานี้เราตำหนิหรือชมลูก วันหนึ่งๆ คุณพ่อคุณแม่ลองเช็คตัวเองดูว่าสายตาเราไปจ้องจับผิดหรือมองเห็นสิ่งดีๆ ของลูกเรา ผู้ปกครองจะคอยมองว่าทำอะไรผิด จับผิด แต่ถ้าจะเป็นผู้ประคองเราต้องประคองเขาจากสิ่งที่เขาทำได้ดี แล้วไปพัฒนาตัวเขาให้ดีขึ้นไปอีกเพราะธรรมชาติของมนุษย์คือการเรียนรู้ เราอยากประสบความสำเร็จก็จะมีกำลังที่จะไปต่อ แต่ถ้าทำอันนี้ก็ย่อท้อ อันนั้นก็ไม่ดีเราจะรู้สึกว่าไม่กล้าทำ ไม่ยากทำ ยิ่งทำแล้วโดนดุด้วย ทำแล้วโดนตัดสินว่าเป็นคนไม่ดี ทำแล้วโดนตัดสินว่าเป็นคนไม่เก่ง มันจะไม่อยากโชว์ ไม่มีใครอยากโชว์ความไม่เก่งของตัวเองความมั่นใจสูญเสีย

แต่ถ้าเกิดทำแล้วมันมีคนเห็นมันเพิ่มพลังใจ มันอยากจะทำเข้าไปอีก 4 ข้อนี้ เอาไว้ Checklist ก่อนนอน หากว่าเราเช็กในวันนี้คืนนี้กลายเป็นว่าสั่งมากกว่า ดุมากกว่า ตำหนิมากกว่า ไม่เป็นไรพรุ่งนี้เริ่มใหม่ เราเริ่มใหม่แล้วเราอยู่กับลูกไม่ใช่แค่วันนี้พรุ่งนี้เราอยู่กับลูกอย่างน้อย 30 ปี ก่อนเขาแต่งงาน

เพราะฉะนั้นใน 30 ปี ตั้งจิตอธิษฐานไว้เลย อะไรที่ผ่านมาลูกเราอาจจะแค่ 5 ขวบ 6 ขวบ หรือ 10 หรือ 15 ขวบ ไม่เป็นไรยังเหลือเวลาอีก 25 ปี เหลือเวลาอีกเยอะที่เราจะปรับและลองใหม่ ค่อยๆ ปรับไป

พ่อแม่เป็น “ผู้ประคอง” สำคัญในยุคนี้

ต้องบอกว่ายุคนี้อะไรก็เปลี่ยนแปลงเร็ว ยิ่งเป็นยุคที่โควิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี เทคโนโลยีเรายังตั้งรับมือได้ไม่ดีเลย แต่สถานการณ์ที่มันผันผวนปรวนแปร โควิดเราก็ไม่เคยคิดว่าจะมีระลอก 2 ระลอก 3 แล้วก็ไม่รู้จะมีอะไรอีก เพราะฉะนั้นเรื่องความมั่นคงทางอารมณ์ของมนุษย์เราจะต้องเจอกับสิ่งที่ผันผวนปรวนแปรอยู่อย่างนี้ ถ้าเราไม่มีคนคอยประคองอารมณ์เราก็จะรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ลำบาก

ผู้ประคองมีเอาไว้สำหรับ เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่ที่จะต้องประคองอารมณ์ตัวเองพอเราประคองอารมณ์ตัวเองเสร็จเราจะไปประคองอารมณ์คนข้างๆ ได้ ถ้าเกิดเราหวั่นไหว คนข้างๆ ก็หวั่นไหว

ในยุคสมัยนี้อารมณ์ของเราจะขึ้นลงเยอะเพราะสิ่งที่มาปะทะหรือข้อมูลภายนอกจะเร็วผันผวนควบคุมไม่ได้มันส่งผลกันมนุษย์เราแน่นอน อะไรที่เราหวังไว้ อะไรที่เราตั้งใจไว้มันไม่เป็นไปตามนั้น ความเครียดก็เกิดถ้าไม่มีผู้ประคองความเครียดเรา เราก็จะประคองความเครียดตัวเองลำบาก แต่ถ้ามีคนมาประคองความเครียดเรา เราก็จะประคองความเครียดตัวเองได้ และเราก็จะไปประคองความเครียดก็คือไปรับมือความเครียดของคนอื่นได้อีก

เพราะฉะนั้นผู้ประคองจะสำคัญมากๆ ในยุคสมัยนี้ เวลาที่เราบอกว่าประคองไม่ไหวแล้วครูว่าอันนี้คือเทคนิค เมื่อไหร่ที่เราเริ่มรู้ตัวว่าเราประคองไม่ไหวแล้วนั่นคือทักษะอารมณ์อีกเช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่คนที่เขวี้ยงอารมณ์ ขว้างปาอารมณ์ เหวี่ยงอารมณ์ใส่คนอื่น คือคนที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังประคองอารมณ์ตัวเองไม่อยู่

เพราะฉะนั้นจุดเริ่มแรกในเทคนิคเลยคือ

1.รู้ความรู้สึกตัวเอง ถ้าเป็นคุณพ่อคุณแม่อยากให้คิดไว้เลยว่าถ้าเมื่อไหร่ที่เราโมโหเราจะทำอย่างไร มันคือเรื่องของ Anger management หรือเรื่องการจัดการความโกรธเป็นเรื่องที่เราต้องฝึกและคิดด้วยตัวเอง เราอาจจะฟังคนอื่นมาเวลาโกรธหายใจเข้า – ออก นับ 1-10 สิ เราอาจจะรู้วิธีแต่เราไม่เคยฝึกก็ต้องฝึกด้วยตัวเองว่าวิธีนี้มันเวิร์คกับเราไหม ถ้าไม่เวิร์คหาวิธีใหม่มันไม่ได้มีวิธีเดียว

2.หาวิธีประคองตัวเอง แต่ต้องคุยกับตัวเองเยอะๆ ทะเลาะกับตัวเองให้เสร็จ อย่างที่ครูบอกทะเลาะกับตัวเองให้เสร็จแล้วเราจะไม่ไปทะเลาะกับใคร เราไม่เคยทะเลาะกับตัวเอง พอเราโมโหเราไปทะเลาะกับคนอื่น แต่ถ้าเราโมโหเมื่อไหร่และเราบอกว่าฉันกำลังโมโหฉันอยากจะพูดคำนี้แต่ฉันจะไม่พูดคำนี้เดี๋ยวจะทำให้สายสัมพันธ์ฉับลูก กับสามี ฉันกับภรรยาเกิดการขัดแย้งกัน ฉันจะต้องทำอย่างไรกับความโกรธนี้ คุยกับตัวเองให้เสร็จ

เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะคิดได้ว่าเราจะจัดการความโกรธอย่างไรเราต้องคิดตอนที่เราไม่โกรธ ว่างๆ คุณพ่อคุณแม่นั่งคิด เป็นอีกหนึ่งเรื่องนะคะนอกจากคิดหาเงินเข้าบ้าน เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราต้องคิดว่าเวลาโกรธเราทำอย่างไร ถ้าเรารำคาญลูกทำอย่างไร นั่งคิดไว้เลย ครูจะเล่าให้ฟังว่ามีงานวิจัย งานวิจัยนี้เขาทำการแบ่งกลุ่มคนที่ไม่เคยชู้ตบาสลงห่วงมาก่อน เขาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เป็นงานวิจัยที่ทำกับเด็กอายุ 15 – 60 แบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 3 กลุ่ม


กลุ่มแรกคือไม่เคยชู้ตบาสอย่างไรก็ไม่เคยชู้ตบาสอย่างนั้นไม่ต้องชู้ตเลย

กลุ่มที่สองให้ดูคลิปวีดิโอให้ดูจนกว่าจะจำได้ พอดูเสร็จในทุกๆ วันจะพาคนกลุ่มที่สองมานั่งเปิดเพลงแล้วให้เรานึกถึงการชู้ตบาสที่เราดูคลิปมา

กลุ่มที่สามคือให้ไปชู้ตบาสจริงเลย ผ่านไป 1 เดือนเขาเอาคนทั้งสามกลุ่มมาชู้ตบาส ปรากฏกลุ่มที่1 ก็ตามคาดชู้ตสะเปะสะปะชู้ตไม่ได้เพราะไม่เคย สิ่งที่เราสนใจกลุ่มที่ 2 ชู้ตได้ไม่ดีเท่าฝึกปฏิบัติเหมือนกลุ่มที่ 3 แต่จุดสำคัญคือบางคนในกลุ่มที่ 2 สามารถทำได้ดีกว่ากลุ่มที่ 3

งานวิจัยชิ้นนี้สรุปไว้แบบนี้ว่ากลุ่มที่ 3 ทำได้ดีฝึกซ้อมด้วยการปฏิบัติจริงทำให้คนที่ไม่มีพรสวรรค์เลยก็สามารถทำได้ แต่กลุ่มที่ 2 ที่ให้ใช้สมองนึกจินตนาการ เขาให้ดูทีเดียวแต่วันที่เหลือนั่งนึกวิธีการชู้ตบาสไม่ให้ทำท่า ให้นั่งแล้วก็นึกว่าต้องชู้ตบาสตามภาพที่เคยเห็นให้มันลงได้อย่างไรคลิปดูทีเดียวแล้วหลังจากนั้น 1 เดือนให้นึกจินตนาการ แล้วเขาก็บอกว่าให้นึกจินตนาการพอมาให้ชู้ตจริงๆ บางคนชู้ตได้ดีมากเป็นเพราะเรื่องของพรสวรรค์ด้วย

แต่ที่น่าแปลกใจคือเขาชู้ตได้ทุกคน แล้วงานวิจัยนั้นก็บอกว่าสมองของคนเราแม้ว่าตัวเราไม่เคยชู้ตบาส แต่การนั่งนึกไปตลอดหนึ่งเดือนนั้นสมองเราได้ฝึกแล้ว

ครูกำลังจะชวนทุกท่านมาเป็นนักบาสกลุ่มที่ 2 คือเราโกรธ เราต้องทำใจไปก่อนเลยว่าเราไม่ได้ฝึกตัวเองว่าไม่ให้โกรธเราต้องโกรธเหมือนที่บอกว่าผู้ประคองจะอนุญาตความรู้สึกนึกคิดเพราะเราเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจ อิจฉาคนอื่นได้ไหม ได้แต่อิจฉาแล้วทำอย่างไรเป็นเรื่องที่เราต้องคิด โกรธคนอื่นได้ไหม โกรธได้แสดงว่าเราปกติแต่การโกรธนั้นเรารู้แล้วว่าเราโกรธ โกรธเสร็จเราจะจัดการกับมันอย่างไร

ผู้ประคองสอนลูกอย่างไร

เหมือนกันเวลาลูกโกรธก็สอนลูกแบบนี้ว่าครั้งหน้าหนูโกรธหนูจะทำอย่างไร เวลาลูกโกรธถ้าเราเป็นผู้ปกครองเราจะบอกว่าอย่าทำอย่างนี้ โกรธแล้วตีแม่ไม่ได้นะ คำพูดนี้ สั่ง ตัดสิน ตีตรา ควบคุม ครบเลยแต่ถ้าเราบอกลูกว่า หนูกำลังโกรธ แล้วหยุดแล้วไม่ต้องพูดอะไร หนูกำลังโกรธหนูเลยตีแม่ แค่นั้นไม่ต้องพูดอะไร ทำไมถึงให้หยุดอยู่แค่นั้น

เพราะว่าเวลาที่ลูกของเรากำลังโกรธอยู่เป็นช่วงเวลาที่ลูกของเราต้องการผู้ประคองมากที่สุด โกรธแล้วเขาไม่รู้จะทำอย่างไร วิธีการที่จะระบายโกรธได้ดีที่สุดก็คือการตีคนอื่น การขว้างของ การตะโกน มันไม่ผิดเป็นเรื่องปกติเหมือนปวดฉี่ก็ต้องระบายออก ปวดฉี่มากมันต้องระบายออกเพราะฉะนั้นการระบายออกที่ดีที่สุดนั่นคือฉี่ราด โกรธแล้วตี โกรธแล้วขว้างของ โกรธแล้วกรี๊ด โกรธแล้วตะโกน นี่คือง่าย

เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำได้คือการบอกให้เขารู้ตัวก่อนว่าหนูกำลังโกรธ แต่พออารมณ์เขาลงสิ่งที่เราจะสอนเขาคือครั้งหน้าแทนการกรี๊ดเมื่อหนูโกรธแทนการตีแม่หนูจะทำอะไรได้ นั่นคือสิ่งที่เราจะสอนลูก ที่ครูถามว่าสั่งหรือสอนมากกว่ากันเราสอนลูกให้ลูกคิดหรือเปล่าเวลาสอนก็บอกเป้าไปว่าถ้าโกรธต้องทำอย่างไรแต่ที่เหลือคือลูกเป็นคนคิด

แต่ถ้าเราบอกว่าถ้าครั้งหน้าหนูโกรธหนูต้องนับ 1-10 ไม่ก็เดินหนีไป ไม่ใช่มาตีแม่ แบบนี้สอนหรือสั่ง ในคำพูดจะบอกเลยว่าเป็นคำสั่งหรือคำสอน ปกติที่ผ่านมาเราอาจจะคิดว่าเราพูดแบบนี้ว่า คราวหน้าถ้าโกรธทำอย่างนี้อีกไม่ได้นะ ไม่น่ารักเลย เราคิดว่าเราสอนอยู่แต่คนฟังไม่ใช่นะ สั่งไม่พอ ตัดสิน ตีตรา ทำแบบนี้ไม่น่ารัก ถ้าแม่ปล่อยไปลูกก็จะไปทำกับคนอื่น.

แบบนี้เราคิดว่าสอน แต่ถามว่าลูกได้คิดอะไรไหม ความรู้สึกนึกคิดของลูกไม่มีเลย มีแต่เราไปปกครองเขาอยู่อย่างเดียว ผู้ประคองประคองอารมณ์ ประคองให้เขาค่อยๆ ฝึกทักษะไปกับเรา เวลาเห็นลูกโมโหสิ่งที่ครูอยากให้มองใหม่คือดีใจในเผ่าพันธุ์ ภูมิใจว่าลูกเรามีสมองส่วนความรู้สึก มีรัก มีหลง มีอารมณ์ มีโกรธ มีอิจฉา มีอยากได้ ถ้าเกิดว่าลูกเราเป็นแบบนี้ดีใจเอาไว้

เพราะมีเด็กที่ไม่รู้สึกอะไรเลย มีตั้งแต่ไม่รู้สึกอะไรเลย ไม่เข้าใจ เด็กเฉย เด็กที่ตัดตัวเองออกจากโลกไม่อยากจะรู้สึกอะไรชินชา เพราะฉะนั้นเวลาที่ลูกเรามีอารมณ์ที่หลากหลายนั่นคือพรอันประเสริฐแล้ว ที่เหลือคือเราจะประคองให้เขาแสดงออกอารมณ์เหล่านั้นอย่างไรให้อยู่บนลู่บนทางที่เหมาะสม

เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่นั่งคิดฝึกตัวเอง ฝึกตัวเองเสร็จเอาวิธีนี้ไปสอนลูก คาถาการเป็นผู้ประคอง คาถาของครูหม่อมจะมีคำว่า มั่นคง ปลอดภัย ไว้ใจได้ ถ้าเมื่อไหร่ที่เราท่องคาถา มั่นคง ปลอดภัย ไว้ใจได้ แล้วคาถานี้เข้าไปอยู่ในใจลูกเราจะกลายเป็นฐานที่มั่นทางใจให้ลูกได้ทันที เพราะฉะนั้นให้ท่องคาถานี้เมื่อไหร่ก่อนจะพูดอะไรก่อนพูด มั่นคง ปลอดภัย ไว้ใจได้ ไหมถ้าพูดไปแล้ว มั่นคง ปลอดภัย ไว้ใจได้ พูดเลย

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่...

Apple Podcast :https://apple.co/3m15ytB

Spotify :https://spoti.fi/3cvAVcX

YouTube Channel :https://bit.ly/3cxn31u

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.37 : ปัญหาระดับชาติ เด็กไทยอ่านไม่ออก แก้ยังไงดี

 

รักลูก The Expert Talk EP.37 : ปัญหาระดับชาติ เด็กไทยอ่านไม่ออก แก้ยังไงดี

จากงานวิจัยของยูนิเซฟล่าสุด พบว่าความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของเด็กไทย มีแนวโน้มลดลงกว่า 30%

แล้วถ้าเด็กไทยอ่านไม่ออก กระทบอะไรบ้าง สะท้อนภาพการศึกษาไทยอย่างไร พ่อแม่จะรับมือกับสถานการณ์นี้ได้อย่างไร

 

ฟัง ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า

รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป้าหมายของการอ่าน

แบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ ช่วงแรก เด็กปฐมวัย และประถมศึกษาตอนต้นอายุ 6-8ปี เป้าหมายเพื่อ Learn to Read เรียนรู้เพื่ออ่านให้ออกเขียนให้ได้ เด็กปฐมวัยรู้ความหมายการอ่าน ไม่ใช่อ่านตัวหนังสือ แต่คือความสามารถของการประมวลการรับสาร ซึ่งสารที่เห็นอาจจะรูปภาพ สัญลักษณ์ สิ่งเหล่านี้ใช้ทักษะของการอ่านหมดเลย

การอ่านวัยนี้หมายถึงการ การรู้ภาพ รู้สัญลักษณ์และบอกความหมายของภาพนั้นได้ ก็เป็นพื้นฐานของการอ่านแล้ว

ประถมศึกษาตอนต้น 6-8ปี สามารถอ่านแบบอ้างอิงตามหลักการทางภาษามากยิ่งขึ้น มีการประสมคำ การแจกลูก การอ่านเพื่อเดาความหมายหรือตีความในลักษณะต่างๆ ในช่วงแรกจะเป็นการ Learn to Read เรียนรู้เพื่ออ่านให้ออกเขียนให้ได้ พอช่วงประถมปลาย ป.4 ขึ้นไปจนถึงมัธยม เป้าหมายเพื่อ Read to Learn ใช้การอ่านเป็นเครื่องมือเรียนรู้ ในชีวิตจริง ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สองของการอ่าน

สำหรับเด็กเล็ก ไม่ได้คาดหวังให้อ่านออกตามตัวหนังสือ เพราะตามธรรมชาติการรับรู้ยังเป็นการรับรู้เชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นการตีความที่เป็นนามธรรม ตัวหนังสือ ข้อความ เป็นเรื่องที่ท้าทายมากเกินไป ถ้าอนุบาลอ่านไม่ออกไม่เป็นไร แต่เรื่องความรู้รอบตัวต้องรู้ ดูสัญลักษณ์รอบตัวได้

ชั้นประถมต้น ต้องอ่านให้ออก เจอคำใหม่ต้องรู้จักการประสมคำ เพราะเป็นพื้นฐานของการ Learn to Read เมื่อจบ ป.1 เด็กต้องอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น รู้พยัญชนะ ก-ฮ การแจกลูก สะกดคำ ต้องทำได้ในป.1 พอป.2 ต้องทำได้คล่องแคล่ว แต่ถ้าป.2 เจอคำใหม่ แจกลูก และประสมคำไมไ่ด้ ต้องกังวลแล้ว แต่สำหรับเด็กอนุบาล3 ยังไม่ต้องกังวล

ระดับการอ่านของเด็ก การอ่านมีหลายระดับ ระดับแรกๆ คือ อ่านแล้วรู้ความหมายเลย ระดับที่สอง อ่านแล้วตีความเชื่อมโยงเหตุและผล ว่าสื่ออะไร สะท้อนถึงเรื่องอะไร และคาดเดาไปถึงเรื่องอะไร ระดับที่สาม อ่านแล้ววิจารณ์ได้ สามารถประเมินและแสดงความคิดเห็น ใครทำอะไรที่ไหน ใคร ทำอะไรที่ไหน ระดับสูง อ่านสร้างสรรค์ คิด ต่อยอด จินตนาการ ไปด้วยตัวเองได้

ปัญหาการอ่านที่ต้องกังวล การอ่านไม่ออก มีหลายระดับ ซึ่งภาษาไทยเรามีพยัญชระ สระ วรรณยุกต์ การอ่านไม่ออกคือ แจกลูกสะกดคำไม่ได้ จับคู่รูปกับเสียงไมไ่ด้ จำพยัญชนะไม่ได้ เป็นปัญหาพื้นฐาน ถ้าเจอตรงนี้ต้องแก้ก่อน เพราะเมื่อไประดับการอ่านที่มากไปกว่านี้ก็ไปต่อไม่ได้

การอ่านที่มาจากการจดจำ เช่น เห็นคำว่าห้องน้ำจะมีภาพผู้ชายกับผู้หญิง เด็กจะจำเป็นภาพ แต่เมื่อถามว่าสะกดยังไง ก็จะตอบไม่ได้ คือเข้ายังแจกลูก ผสมคำไม่ได้ ซึ่งต้องกังวลตรงนี้

ส่วนของการประเมินของยูนิเซฟหรือหน่วยงานต่างๆ เขาจะไม่วัดแค่การอ่านออก แค่การแจกลูกผสมคำอย่างเดียว แต่จะดูว่าอ่านแล้ววิจารณ์ได้ไหม มีความคิดเห็นยังไง เพราะในประถมต้น เด็กควรจะอ่านแล้วบอกได้ว่านี่คืออะไร คือ Litteral Reading แต่หากเด็กยังแจกลูก ผสมคำไม่ได้ ก็จะไปไม่ถึงขั้น Litteral Reading ได้

ในชั้นประถมปลาย ตามตำราสามารถไปขึ้น critical reading ได้ คือสามารถวิจารณ์ แสดงความเห็นว่ารู้สึกยังไง แต่ถ้าแจกลูก สะกดคำไม่ได้ก็มาถึงตรงนี้ไม่ได้

ปัญหาเดิมแต่ซ้ำเติมด้วยสถานการณ์

ในห้องจะมีเด็กที่อ่านไม่ออกอยู่แล้วประมาณ 5-10% ซึ่งหน้าที่ของครูก็จะมีการซ่อมเสริมในช่วงเย็นๆ ในสถานการณ์ปกติก็จะมีแบบนี้ เมื่อจบปีการศึกษา เด็กทุกคนจะอ่านได้หมด ยกเว้นเด็กที่มีปัญหา LD แต่จำนวนไม่เยอะ ไม่ได้ถึงขั้นวิกฤต คือมีปัญหาเรื่องนี้อยู่แล้ว เพราะเด็กบางคนไม่ชอบการอ่านจริง แต่ชอบการเคลื่อนไหวร่างกาย ชอบวิทยาศาสตร์ ชอบการคำนวณมากกว่า เมื่อต้องอ่านก็อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าคนอื่น พ่อแม่ต้องเข้าใจและให้เวลา

แต่ในสถานการณ์โควิดลักษณะการอ่านแจกลูก สะกดคำ ต้องอาศัยการสอนอย่างใกล้ชิดกับครู คือ ครูนำ เด็กตาม ซึ่งการสอนอ่านก็มีหลายแบบ เช่น คำว่า ต า = ตา เด็กก็จะรู้ว่า ต. คือเสียงเตอะ รวมกับ สระ า ออกเสียงรวมกันเป็นตา เป็นการสอนแบบแจกลูก คือแจกแล้วมาผสมกัน ซึ่งดูจากคลิปมันแจกลูกไม่ได้

เด็กที่เรียนออนไลน์ก็อาจจะพอได้ พูดตามได้บ้าง แต่เด็กที่ไม่มีโอกาสออนไลน์เลย น่ากังวลมากกว่า แล้วการเรียนแบบ On hand เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเองไม่ได้

ส่วนการอ่านของเด็กป.โตขึ้นไป การอ่านขั้นสูงก็ต้องอาศัยการชี้นำ ตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นความคิดของเด็กให้พัฒนา ซึ่ง On hand มันยากและท้าทายกับพ่อแม่มาก ครูก็ไม่ไ่ด้คาดหวังให้พ่อแม่สอนแจกลูก สะกดคำได้ ก็จึงเป็นปัญหาที่เพิ่มเข้ามาในช่วงที่มีสถานการณ์โควิด

การแจกลูกสะกดคำ ถ้าเด็กรู้พื้นฐานแล้ว เขาจะพยายามทำให้ได้ ซึ่งก็สัมพันธ์กับภาษาการฟัง พูด ปกติคนเราจะฟังพูด แล้วเราได้คำศัพท์ แล้วคำศัพท์ที่มาจากการอ่าน เขียนมาทีหลัง

มีงานวิจัยรายงานว่าเด็กที่มีทักษะการพูด การฟังที่ดี จะมีคลังคำศัพท์เยอะ พอได้หลักการอ่านไป ประกอบกับคลังคำที่มีเยอะ เขาจะไปไวมาก ย้อนมาที่สถานการณ์ตอนนี้ เด็กก็ไม่รู้จะคุยกับใคร คลังคำมาจากไหน และด้วยสภาพแวดล้อมที่อยู่กับพ่อแม่ คำพูดก็จะวนๆ ไปมา ไม่ได้เติมคำศัพท์ใหม่ ในมุมนักวิชาการ กังวลเรื่องการแจกลูก สะกดคำ เป็นพื้นฐานที่สำคัญ เพราะถ้าตรงนี้ไม่ได้ ก็จะไม่ได้อะไร

เด็กอ่านไม่ออกกระทบอะไรกับพัฒนาการ

1.สญเสียเครื่องมือในการเรียนรู้ 2.ส่งผลกับการดำเนินชีวิต เช่น เวลาทำธุรกรรมการเงิน และอาจจะถูกหลอก 3.ขาดโอกาสในการทำงานที่ดี

พ่อแม่สามารถช่วยลูกได้ เติมคลังคำศัพท์ให้ลูก ได้เรียนรู้คำใหม่ๆ เช่น อ่านนิทาน ให้ดูคลิป และดูกับลูก คุยกับลูกเยอะ ให้ได้คำศัพท์อื่นๆ ที่อยู่นอกบริบทเราได้ ปกติเด็กจะตั้งคำถามอยู่แล้วก็จะเป็นต้นทุนที่ดี เมื่อคลังคำเยอะ พอได้เรียนรู้การสะกดคำ ก็จะทำให้ลูกทำได้ดี

คุยกับลูกบ่อยๆ เยอะๆ
ก่อนจบอ.3 อายุประมาณ 5 ปี ก็ให้ลูกคุ้นเคยกับพยัญชนะ ตัวอักษร ให้เรียนจากสิ่งรอบตัว สนุกและไม่ต้องเป็นทางการ ระหว่างที่ขับรถหรือเจออะไรก็สอนเรื่องพยัญชนะลูกได้ ซึ่งภาษาคือการใช้ ก็ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้ใช้บ่อยๆ

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่...

Apple Podcast :https://apple.co/3m15ytB

Spotify :https://spoti.fi/3cvAVcX

YouTube Channel :https://bit.ly/3cxn31u

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.38 : ตั้งรับ ปรับตัว กับเทรนด์การศึกษาใหม่

 

รักลูก The Expert Talk EP.38 : ตั้งรับ ปรับตัว กับเทรนด์การศึกษาใหม่

จากงานวิจัยของยูนิเซฟล่าสุด พบว่าความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของเด็กไทย มีแนวโน้มลดลงกว่า 30%

แล้วถ้าเด็กไทยอ่านไม่ออก กระทบอะไรบ้าง สะท้อนภาพการศึกษาไทยอย่างไร

พ่อแม่จะรับมือกับสถานการณ์นี้ได้อย่างไร ฟัง ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้ารองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตัวเลขเด็กไทยหลุดระบบ 1.2 ล้าน เกิดอะไรขึ้น

เป็นผลกระทบจากโควิด รร.หลายๆ พื้นที่กระทบ ซึ่งก็เกิดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เด็กที่มีควาพร้อม รร.สามารถ onsite ได้ แต่ที่ไปรร.ไม่ได้แต่ online ได้ก็ยังดี แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเด็กที่ไปรร.ไม่ได้ เรียนออนไลน์ไม่ได้ เพราะไม่เข้าถึง แม้จะมีการเรียนแบบ onhand และเรียนรู้ด้วยตัวเอง ก็จะประสบความสำเร็จยาก ทำให้เป็นการเสียโอกาสการเรียน

ปี2564 ทั้งเทอมที่ไม่ได้ไปรร. พอมาเทอมที่2 เดือนพย. ก็เปิดๆปิดๆ ซึ่งก็เป็นโจทย์ยากของรร. ซึ่งครูจะมีเป้าหมายว่าจะสอนให้เด็กเรียนรู้เรื่องและเข้าใจเรื่องอะไรบ้าง รร.ก็จะมีตัววัดมาตฐานในเนื้อหากำหนดว่าเรื่องไหนต้องได้ ปี 2563 ก็มีการคุยกันว่า ลดบางตัวที่ไม่จำเป็นลงได้ เอาเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ ขนาดว่าจัดแล้วก็ยังไปตามเป้าหมายได้ยาก และกังวลว่าถ้าสถานการณ์แบบนี้ไปเรื่อย แต่เด็กต้องเลื่อนชั้นไปเรื่อยๆ แต่ฐานที่ควรจะแน่นมันไม่แน่น พอไปชั้นสูงขึ้นเนื้อหายากขึ้น ซับซ้อนขึ้น ขณะที่รากฐานไม่แน่นโอกาสที่จะประสบความสำเร็จการเรียนรู้ก็จะยาก นี่ละเป็นสิ่งที่กังวล ก็ขอให้ปี 2565 ให้ดีขึ้น นั่งโต๊ะห่างๆ

เพราะเราเสียดายโอกาสกับเด็ก ยิ่งเป็นเด็กประถมต้น ส่วนเด็กอนุบาลก็มีข้อกังวลใจว่าด้วยความที่ไม่ได้ไปรร. การเรียนรู้เนื้อหาวิชาการไม่ค่อยห่วง เพราะเนื้อหาไม่ได้เน้น แต่ที่กังวลคือพัฒนาการด้านภาษา ทักษะทางสังคม เพราะเป็นช่วงที่เวลาที่ถ้าไม่รับการเติมเต็ม ในช่วงเวลาที่ควรจะได้ ช่องทางหรือหน้าต่างที่จะพัฒนาเรื่องนี้ก็จะค่อยๆ ถูกปิดลง ทำให้ตัวตน บุคลิกลักษณะของเขาก็จะฟอร์มเป็นแบบนั้นเลย ซึ่งเรากังวล

เวลาที่เราพูดถึงผลกระทบการเรียนรู้ในช่วงโควิด เราไม่ได้โฟกัสเรื่องวิชาการ แต่เราห้วงมิติอื่นๆอย่างทักษะทางสังคม ถ้าไม่ได้มารร.ไม่ได้เล่นกับเพื่อน ก็จะเกิดไม่ได้ ยิ่งเด็กเกิดน้อย หรืออยู่คอนโด และไม่ได้เล่นกับใคร ทำให้เกิดข้อจำกัด และเกิดผลกระทบเกิดขึ้นตามมา

ระบบการศึกษารับมือยังไง

ว่าตามหลักการคือ ครูต้องรู้ว่าเนื้อหาที่สอนไปมีเด็กกี่% ที่บรรลุได้ และมีเด็กกี่% ที่เป็นพื้นที่สีแดง ต้องยื่นมือเข้าไปช่วย ในแง่หลักการส่วนไหนที่เด็กขาดในระบบที่วิกฤต ครูต้องช่วยก่อน หาวิธีการช่วย เช่น ไปเยี่ยมที่บ้านคืออาจจะต้องสอนตัวต่อ เช่น ถ้าครูเห็นว่ามีเด็กโซนที่น่ากังวล 7 คน หาวิธีสอนตัวต่อตัว อาจจะโทรศัพท์ วันละ 5-10 นาที เป็นกลไกที่ครูช่วยเหลือเด็ก ให้เด็กอยู่ในสายตาครู ที่น่าจะช่วยเหลือได้ในช่วงนี้ 8.26 คือเด็กขาดตรงไหนรีบเติม ขึ้นอยู่กับระดับวิกฤตว่าขาดตรงไหนมากตรงไหนน้อย ท้ายที่สุดเป็นหน้าที่ครูที่จะต้องเติมให้เต็ม เพราะเป็นฐานในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป

รับมือเด็กช่วงรอยต่อ

เพราะธรรมชาติของการเรียนรู้ในสองระดับจะมีความแตกต่างกัน พอมันแตกต่างกันเด็กต้องใช้พลังในการปรับตัวเยอะ แต่ถ้าช่วงการปรับตัวเด็กไม่เคยกับสภาพแวดล้อมจริงเลย อย่างเด็กที่มาจากอ.3 ไป ป. 1 ยังไม่เคยเจอห้องเรียนเลย ทำให้การรับรู้เข้าคือห้องเรียนคือผ่านจอ ไม่รู้จักเพื่อน เป็นการรับรู้ของเด็กว่าชั้นเรียนป.1 เป็นแบบนั้น ซึ่งไม่ใช่ของจริง ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากครูหรือไม่ได้การดูแลใกล้ชิด ทำให้คอนเซ้ปต์ของรร.ที่มีต่อรร.มันหายไป

ระบบของการเรียนนานาชาติ

หลายรร. จัดทีมสนับสนุนการเรียนรู้ Learning Support โดยสำรวจแล้วรู้ว่าเด็กขาดเรื่องอะไรบ้าง มีบทเรียน หรือskill อะไรหายไปบ้าง และใช้ระบบการสนับสนุนนี้เข้าไปช่วยเหลือเด็ก เเพราะเชื่อว่าระบบการช่วยเหลือเด็กที่ดีและมีประสิทธิภาพจะช่วยเติมฐานที่เด็กหายไปได้

ตามหลักการต้องมองว่าเด็กจะช่วยเหลือยังไง และครูอาจจะต้องทำงานหนัก หรือพ่อแม่สังเกตและดูว่าลูกยังทำเรื่องไหนไม่ได้ ก็ปรึกษาครูเพิ่มเติม ซึ่งสิ่งที่พ่อแม่กังวลอาจจะเป็นมาตรฐานจากคนข้างนอก ซึ่งครูอาจจะมีวิธีคิดมุมมองอีกแบบ ทำให้มีทิศทางในการดูแลลูกที่ชัดเจน ดีกับครู เพราะว่าครูมีโอกาสน้อยที่เจอเด็ก การแชร์จากพ่อแม่ทำให้ครูรู้ว่าจะเติมลูกยังไงบ้าง

Model การศึกษาข้ามภูมิภาค

เหมือนการเรียนเก็บหน่วยกิต ระบบนี้เป็นลักษณะเรียนที่เราสะดวก เรียนที่ไหน เรียนอะไรก็ได้ เรียนแล้วก็ประเมิน ก็เก็บคะแนนไว้ เมื่อถึงจุดหนึ่งอาจจะไปเทียบโอนว่าเรียนจบแล้ว ปัจจุบันการศึกษาบ้านเราเป็นแบบไหน การศึกษา มี 3 ลักษณะ

1.ในระบบโรงเรียนมีระยะเวลาการเรียนเปิดปิดภาคเรียน มีช่วงอายุกำหนด มีการใช้หลักสูตรที่มีโครงสร้างหลักสูตร มีการวัดประเมินผลเพื่อเลื่อนชั้น มีเกณฑ์การจบการศึกษา

2.การศึกษานอกระบบ คล้ายๆ ในระบบโรงเรียน เแต่วิธีการเรียนรู้คล่องตัว ยืดหยุ่น เช่น ไม่ได้กำหนดอายุคนเรียน เรียนวันเสาร์ อาทิตย์ เช่น การเรียนกสน. ยืดหยุ่นการสอบวัดประเมินผล การเลื่อนชั้น ช่วงเวลายืดหยุ่น เรียนวันเสาร์ อาทิตย์

3.การศึกษาตามอัธยาศัย ขึ้นอยู่กับความสนใจและความต้องการของคนเรียน เช่น อยากเรียนคอรส์เทควันโด สอบไล่ระดับ

ตามแนวนี้นั้นต้องบอกว่า การศึกษาในระบบได้รับผลกระทบโดยตรงจากโควิด ทำให้เกิด Learning Loss ในหลายมิติ หากมีการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่เด็กมีโอกาสในการเข้าถึงระบบการศึกษา มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น เรียนเวลาไหน สถานที่ไหนก็ได้ และค่อยๆ เก็บเครดิตไปเรื่อยๆ ทำให้เวลาที่เด็กไม่ได้ไปรร. ได้อะไรกลับมาบ้าง นี่คือตามหลักการ

หากมองในความเป็นไปได้ ก็จะต้องมีการวางแผนภาพใหญ่เยอะ เพราะเมื่อเรามองในระบบการศึกษารร. คือจะมีเรื่องวุฒิการศึกษา ซึ่งวุฒินี้จำเป็นในการรับรองการศึกษาที่สูงต่อไป เช่น จบม.6 ถึงจะเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งหากจะทำระบบนี้ในระบบการศึกษาในรร. ก็ต้องทำระบบการเทียบโอนวุฒิ เปรียบเหมือน Homeschool ที่มีหลักเกณฑ์ เทียบเคียงกับเด็กที่เรียนในรร.ปกติ

ซึ่งก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์ในอนาคต ไม่ได้รูปแบบรร. อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ยังคงไม่ใช่เร็วๆ นี้ ต้องคิดทั้งระบบและกระบวน ถึงจะเกิดประโยชน์กับผู้เรียนจริงๆ ซึ่งต้องชัดเจน มีการศึกษาวิจัยก่อน ถึงจะนำมาใช้ได้จริง

สะท้อนเทรนด์การศึกษา

แนวโน้มการศึกษาในอนาคตจะมีพิธีรีตองน้อยลง อาจจะไม่ต้องไปรร. อาจจะไปบางวัน บางช่วง ที่เหลือ work กับครูนอกรอบ เรียนแบบยืดหยุ่น เทอมที่เปิดปิดไม่เหมือนกัน เป็นเทรนด์อนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่ง covid ทำให้สิ่งที่เกิดเร็วขึ้น และรู้ว่าการเรียนรู้เด็กหยุดนิ่งไมไ่ด้ เพราะฉะนั้นมีหนทางอะไรที่ทำให้การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดนิ่ง ต้องเลือก option นี้

พ่อแม่เตรียมอะไรบ้าง

มีเครื่องมือการเรียนรู้ที่ดี อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น logic พื้นฐาน ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน อยากรู้อยากเรียน รู้จักสังเกต ตั้งคำถาม inquiry อยากรู้อะไรก็หาคำตอบของเขาเอง รู้แหล่งข้อมูลที่จะหาคำตอบได้ นี่คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทั่วๆไป ซึ่งพ่อแม่เตรียมทักษะเหล่านี้ให้ลูกได้ ไม่ตกเทรนด์

ครูยังต้องปรับตัวเลย เป็นเรื่องใหม่ หลักคิดคือ เป้าหมายคือการเรียนรู้ของเด็กต้องเกิดขึ้นเต็มตามศักยภาพของเด็กที่ควรจะได้ เพื่อลด Learning Loss

1.ครูจะไม่คาดหวังสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ยุติธรรมกับเด็ก

2.เทรนด์การศึกษาเปลี่ยน ไม่ได้มองว่าแค่เก่ง แต่เริ่มมองการพัฒนาทักษะกระบวนการที่จำเป็นสำหรับเด็ก โลกในการเรียนรู้ยุคนี้ ต่างจากสมัยเรามาก เราจะใช้ความคาดหวังเดิมมาคาดหวังกับลูกไม่ได้

3.พยายามเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับลูก

การเรียนรู้ของเด็กต้องเกิดขึ้นตลอดเวลา

 

รักลูก Podcast ได้ที่...

Apple Podcast :https://apple.co/3m15ytB

Spotify :https://spoti.fi/3cvAVcX

YouTube Channel :https://bit.ly/3cxn31u

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.40 (Rerun) : แก้ปัญหาพฤติกรรมลูกฉบับนักจิตวิทยา แค่พ่อแม่ปรับ ลูกก็เปลี่ยน

 

รักลูก The Expert Talk EP.39 (Rerun) : แก้ปัญหาพฤติกรรมลูก "ฉบับนักจิตวิทยา" แค่พ่อแม่ปรับ ลูกก็เปลี่ยน

ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกมีอยู่มากมาย…แต่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริง เพราะมีสิ่งที่ต้องโฟกัสเยอะรอบด้าน บวกกับการเลี้ยงลูกด้วยกลัว ความกังวล และความไม่เข้าใจ จึงทำให้มองว่าการเลี้ยงลูกเป็นเรื่องยาก

ฟังวิธีการรับมือกับปัญหาพฤติกรรมต่างๆ โดยนักจิตวิทยา อาจารย์อลิสา รัญเสวะ นักจิตวิทยาคลินิก ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ศูนย์กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระรามเก้า

การเลี้ยงลูกเดี๋ยวนี้ยากมาก ถามในมุมมองของนักจิตวิทยา

ด้วย Generation ที่เปลี่ยนไป เรากับลูก Generation ก็เริ่มห่างกันเยอะด้วยความที่เราเองอาจจะขาดความรู้ทั้งๆ ที่ความรู้มันเยอะแทบจะท่วมหัวเลยแต่ความรู้เหล่านั้นไม่มาประกอบกันได้ แล้วเราควรต้องทำแบบคนนี้คนนั้น หรือคนนู้นดี เลยเป็นเหตุให้เรารู้สึกว่าความรู้ที่เรามีอยู่มันเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่จริง

ทั้งหมดมันดีแต่พอมาประกอบกันเราไม่สามารถเป็นอย่างนั้นได้เลยมันยากเพราะเรามีโฟกัสเยอะ เรามีเรื่องงานหนัก ไหนจะเรื่องชีวิตคู่เราอีก พ่อแม่ที่เราต้องรับผิดชอบอีก ไหนจะลูกอีกทุกอย่างเข้ามาพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะในช่วงโควิด 2 ปีนี้หนักหนาสาหัสมาก เพราะทุกอย่างอยู่กับเราหมดเลยไม่ว่าจะเรื่องงานที่ยากขึ้น เรื่องของลูกที่ความเข้าใจของเราก็เหมือนจะไม่ค่อยเข้าใจเขาเท่าไหร่

จริงๆ โดยธรรมชาติเด็กไม่ได้เปลี่ยนไปเยอะก็คือเหมือนเดิม เหมือนเด็กเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เหมือนพวกเรา เพียงแต่ว่าพอเรามาเป็นพ่อแม่เองเรากลับรู้สึกว่ามันยากที่จะเข้าใจเหลือเกิน แล้วด้วยเหตุที่เราไม่เข้าใจเราก็กลัว พอเรากลัวบางครั้งเราก็เอาปมของเรามาแล้วเราก็จะไม่ทำอย่างที่เรามีปม เช่น ถ้าพ่อแม่เข้มงวดกับเรา เราก็ไม่อยากเข้มงวดกับลูก

แล้วเราก็ให้ทุกอย่างเพราะเราไม่เคยได้ อันนี้เราก็ถมปมตัวเองอีก แล้วเราก็ตามใจลูกเพราะรู้สึกว่าตอนเล็กๆ เราโดนพ่อแม่ขัดใจเราอยากจะถูกตามใจ เราเอาปมของเรามาเลี้ยงลูกยุคใหม่ ที่นี้ไปกันใหญ่เลยความเข้าใจก็ไม่ค่อยมี ความรู้ก็เอามารวมกันไม่ได้ สิ่งที่กลัวก็เยอะ เพราะฉะนั้นผลที่ออกมาเราจะเห็นว่า เด็กสมัยใหม่ทำให้เรารู้สึกว่าเราเลี้ยงเขายาก แต่จริงๆ เรารู้เทคนิคเด็กไม่ได้เลี้ยงยาก คนที่ยากทำให้เขายากคือเราเท่านั้นเอง

ปัญหาพฤติกรรมที่พบได้บ่อย

เยอะมาก สิ่งแรกก็คือการเรียนออนไลน์การเรียนรู้ของเด็กโดนฟรีสไป 2 ปี เรียนออนไลน์ไม่ค่อยเวิร์คเท่าไหร่กับเด็ก

สอง เรื่องพัฒนาการเริ่มเกิดเด็กพัฒนาการช้ามากขึ้นเพราะถูกขังไว้ในพื้นที่แคบมันเลยไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีกับเขา

สาม ปัญหาที่ตามมาจากโควิดอีกคือ การติดจอ ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามาอย่างรวดเร็วเด็กติดต่อสิ่งที่เกิดขึ้นคือเขาหมกมุ่นมากที่จะรอเวลาที่จะเล่น พอได้เล่นสิ่งนั้น Passion ในการใช้ชีวิตในการเรียนหนังสือในการทำสิ่งต่างๆ ก็หายไป

ปัญหาที่เข้ามาในโรงพยาบาลตอนนี้เยอะมากคือปัญหาพฤติกรรม ปัญหาทางด้านอารมณ์ ปัญหาทางด้านสมาธิ ปัญหาทางด้านการเรียนรู้ มาครบเลย เมื่อก่อนจะมาแค่ 1 ด้าน แต่ตอนนี้เด็ก 1 คนครบมากแล้วพอเป็นแบบนี้ก็ขาด Social Skill ปัญหาใหญ่เหมือนกันเพราะฉะนั้นตอนนี้คนที่มาถึงมือมีเรียงลำดับอายุ 3 ขวบ 6 ขวบ 10 ขวบ 13 ขวบ เจอโดนผลกระทบกันหมดเป็นเรื่องยากเหมือนกันของพ่อแม่ที่จะรับมือกับสิ่งนี้ที่จะช่วยลูก เลยทำให้สิ่งนี้ทำให้พ่อแม่เครียดมากไม่รู้จะจัดการอย่างไร 2. พ่อแม่ต้องปรับเรื่องไหนก่อน

1.พ่อแม่ต้องปรับทัศนคติตัวเองใหม่ก่อน

ตั้งสติดีๆ ก่อน เวลาที่ปัญหามันเข้ามาหาเราเยอะเราจะรู้สึกแพนิคและวิตกกังวลมันเยอะไปหมดไม่รู้จะจัดการอย่างไร จริงเริ่มที่เรา เราตั้งสติให้ดีแล้วเราเปลี่ยน Mindset ว่าเราจะไม่ทำเหมือนเดิมแล้วนะ

ถ้าเราทำเหมือนเดิมผลก็คือเหมือนเดิมเราต้องเปลี่ยนกระบวนการเลี้ยง เมื่อก่อนเราอาจจะเลี้ยงเขาแบบหนึ่ง ตอนนี้สิ่งที่เราเน้นเสมอเลยว่าตอนนี้ถ้าเราจะแก้มาจดจ่ออยู่กับลูกอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมงอย่างมี Quality Time อยู่กับเขาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเขา ตอนนี้เราเครียดเราก็เอากลับมาให้เขาแล้วเราก็รู้สึกกดดันเขา คาดหวังเขา เราคาดหวังในการเรียนออนไลน์ของเขาอย่างหนัก คำว่า คาดหวังอย่างหนัก พอเราเห็นเขานั่งไม่อยากเรียนเราก็รู้สึกหงุดหงิด พอเขาเปิดจอ 2 จอ 3 จอ 4 เราก็รู้สึกเครียด

เราต้องปรับ Mindset ใหม่ว่าเด็กคือมนุษย์คนหนึ่ง คิดถึงตัวเองเมื่อตอนเราเป็นเด็กมันก็ควบคุมทุกอย่างยาก 1. คือการเรียนออนไลน์เราต้องยอมรับแล้วว่าไม่เวิร์คมันได้ 50% ตั้งใจเกือบตายก็ได้แค่นี้ เพราะฉะนั้นเลิกกดดันลูก เลิกคาดหวังจากลูกเสียที

2.ตั้งสติ

แล้วดูปัญหาของลูกว่าตอนนี้เขากินอยู่หลับนอนเขาช่วยเหลือตัวเองได้หรือเปล่า ช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันเป็นการกระตุ้นพัฒนาการที่ดีมากๆ กระตุ้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ อย่างใส่เสื้อตัวต้องตั้งขึ้นมากล้ามเนื้อทั้งแท่งของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้ใช้ แขนได้ใช้ ขาได้ใช้ กล้ามเนื้อมัดเล็กได้ใช้ นิ้วได้ใช้จับเสื้อติดกระดุม เรื่องของภาษาได้ใช้เพราะเวลาเราบอกลูกหยิบอันนั้น หยิบอันนี้ เขาต้องฟังต้องเข้าใจมีการสื่อสาร

ในเรื่องของการแก้ปัญหาก็เกิดเพราะฉะนั้นเราต้องกลับไปดูใหม่แล้วว่าการกินอยู่หลับนอนที่เราเคยทำให้ ที่เราเคยให้พี่เลี้ยงทำให้เราต้องเปลี่ยนทัศนคติแล้วโลกโหดร้ายกว่าที่เราคิดถ้าเขาช่วยตัวเองไม่ได้แค่เรื่องง่ายๆ แค่นี้เขาจะผ่านไปสู่เรื่องยากได้อย่างไร

เพราะฉะนั้นในชีวิตประจำวันถ้าเขาสามารถดูแลตัวเองได้เขาก็จะภูมิใจในตัวเองและเราเองก็จะเบาลง พอเราเบาลงเขาทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเองกินได้ด้วยตัวเองได้ สามารถอยู่กับตัวเองเป็น สามารถนอนได้โดยไม่ไปรบกวนคนอื่น พวกนี้กิจวัตรประจำวันทำได้เองเพิ่มเรื่องของการช่วยเหลือคนอื่นหน้าที่งานบ้านมันคือความรับผิดชอบต่อสังคมต่อคนอื่นต้องปลูกฝัง เพราะถ้าเราตามตอนนี้สังคมโหดร้ายมากดูข่าวเด็ก

เอาแต่ตัวเองโฟกัสแต่ตัวเองแล้วเราก็ให้ลูกไปโฟกัสแต่ตัวเองทุกวันนี้เป็นแบบนี้ มันเปลี่ยนไปมากเมื่อก่อนเราจะเป็นห่วงเป็นใยความรู้สึกของคนอื่นเราจะโพสต์เชียลเราจะแคร์ว่าเมนท์ไปแล้วเดี๋ยวเขาเสียใจเดี๋ยวนี้เราไม่มีความแคร์อันนี้เลยเราอยากจะพูดอะไร พิมพ์อะไร เมนท์อะไรเราก็ตรงๆ แรงๆ เราใส่อารมณ์ใส่ความรู้สึกเข้าไปโดยไม่แคร์คนอื่น

เพราะฉะนั้นแปลว่าตอนนี้เราเคารพแต่ตัวเองเราไม่เคารพความรู้สึกของคนอื่น อันนี้ Self Esteem คือการที่เรารู้จักตัวเองรักตัวเองเป็นแล้วต้องรักคนอื่นได้ด้วยเราต้องมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เราต้องมีความเมตตากับคนอื่น

ตอนนี้แทบไม่มีเลยคอมเมนท์ไม่มีความเมตตาเลยแล้วตามด้วย Cyber Bullying อีกปัญหายาวมาก คุณพ่อคุณแม่ตั้งสติก่อนเริ่มที่บ้านและตอนนี้เราพึ่งโรงเรียนไม่ได้เราต้องพึ่งตัวเองเราต้องเป็นครูของลูก เราต้องหากระบวนการเรียนรู้ที่มันใช้ได้จริงวิชาการหรืออินเตอร์เนทไปอ่านมาคนหนึ่งก็ไปทิศหนึ่งอีกคนก็ไปทิศหนึ่ง

บางคนบอกเราว่าต้องทุ่มเทเวลาทั้งหมด แล้วกินอะไรคำถามง่ายๆ แล้วกินอะไร แล้วพอลูกเรียนจบจะอยู่อย่างไรละ ความภาคภูมิใจของเราละ ชีวิตของเราละ พอลูกอายุ 15 ลูกก็ไม่เอาเราแล้วลูกก็ไปอยู่กับแฟน ลูกก็สนใจเพื่อน แล้วเราจะอยู่อย่างไรเราจะเหงาไหมเราจะขาดสังคมหรือเปล่า

ความจริงคือมันต้องไปด้วยกันเราคือมนุษย์หนึ่งคน ลูกคือมนุษย์หนึ่งคนอยู่กันอย่างไรให้เป็นความจริงที่สุดว่าเราอยู่ร่วมกันเรารับผิดชอบเขา เขารับผิดชอบตัวเองและมีปัญหาให้น้อยที่สุด การจะมีปัญหาให้น้อยที่สุดมันต้องเริ่มตั้งแต่ขวบปีแรกได้ปัญหาทุกอย่างมันจะเบาและน้อยที่สุดถ้าเริ่มด้วยความเข้าใจและความรู้ที่แท้จริงในการเลี้ยง

เราตั้ง Mindset ว่า เราฝากลูกไว้กับครูยากแล้วสิ่งที่สำคัญคือพ่อแม่เองเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกด้วยในเรื่องของอารมณ์ในเรื่องของวุฒิภาวะเวลาปกติเราเครียดเราวี๊ดเราก็ลงไปทีเขาเลย เพราะฉะนั้นเราอยากให้เขาโตขึ้นมีเหตุผลเราต้องทำสิ่งนั้นให้เขาเห็นด้วยว่าพ่อแม่ก็เป็นแบบนั้นลูกก็จะได้มีโมเดลที่ดี

ส่วนปัญหาที่มันมามากมายค่อยๆ โฟกัส จริงๆ ลูกไม่ได้แย่หลายๆ คนนั่งมาร์คจุดด้อยของลูกมีเป็นร้อยแต่ตัวเองก็จะมองกลับไปลองดูสิ่งที่เขาทำได้สิ จริงๆ แล้วเขาไม่ได้แย่ขนาดนั้น แต่เราลองมาดูว่าเขาทำอะไรไม่ได้เราก็สอนเขาให้เขาทำได้อะไรที่เป็นปัญหาหนักมือเราทำไม่ได้แล้วต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญก็หาความช่วยเหลือ

หาข้อมูลที่สามารถทำได้จริงเป็นไปได้เราเข้ากับข้อมูลอันนั้นเป็นข้อมูลที่คลิ๊กกับเรา เราจะรู้เลยว่าข้อมูลนี่เป็นไปได้เราทำได้ เพราะนั้นตั้งสติเปลี่ยน Mindset ว่าอย่าพึ่งคนอื่นพึ่งตัวเอง

3. สร้างบ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของลูก

เพราะจริงๆ เมื่อก่อนเราส่งลูกไปที่โรงเรียนแล้วลูกก็อยู่ที่โรงเรียนถึงเย็น เราก็คาดหวังว่าคุณครูจะให้ลูกกลับมา 1 2 3 4 ลูกต้องเพอร์เฟคสำหรับฉันแต่ตอนนี้หน้าที่อยู่ที่พ่อแม่หมดเลย แล้วโรงเรียนก็น่าสงสารในตอนนั้นอย่าลืมว่าในห้องคุณครูต้องสอนวิชาการแล้วคุณครูก็ต้องสอนกติกา

คุณครูก็ต้องสอนมารยาท ต้องให้ Social Skill ลูก เพราะเด็กในห้องเรียนหนึ่ง 30 คน หมอทำกรุ๊ปเด็กเพื่อทำพัฒนา Social Skill รับไม่เกิน 5 คน เพราะเราดูละเอียด เด็กในเรื่องของ Social Skill ไม่ใช่ 30 คนแล้วเราสามารถพัฒนาได้ อยู่ที่บ้านเราทำกับลูกที่บ้านได้เลยเราสามารถพัฒนาเขาได้ทุกๆ ด้าน พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่เราทำได้ที่บ้าน กระโดดโลดเต้นหากิจกรรมเคลื่อนที่ในที่แคบให้ลูกทำ

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กใช้ศิลปะได้ ใช้การเล่นของเล่นได้ พัฒนาการทางด้านภาษาพูดเป็นเพื่อนกับลูกก่อนได้ในช่วงนี้ เราจะเน้นมากช่วงนี้เด็กเวลาคุยไม่ค่อยมองหน้าไม่ค่อยสบตาเพราะเวลาเราคุยกับลูกเราเล่นมือถือ ลูกก็ไม่รู้ว่าต้องมองหน้า

ซึ่งความสัมพันธ์ที่แท้จริงของมนุษย์ที่มันต่างกับอย่างอื่นคือมองหน้า สบตา พูดคุย อันนี้ต้องให้เกิดทักษะสังคม เบสิกอันนี้ต้องเกิดก่อนรู้จักมองหน้าคน รู้จักมองตา สบตา พูดคุย อันนี้เริ่มที่บ้านได้ทำเลยมีเวลา 1 ชั่วโมง สร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกเล่นกับลูกเราก็ต้องรู้ด้วยว่าจะเล่นอะไร บางครั้งการเล่นเราก็เป็นแม่เกินไป เราก็เป็นครูเกินไปหรือบางทีเราก็เป็นเพื่อเกินไป มันพอดี

สร้างหลักความพอดี สร้างจุดสมดุล

เข้าใจก่อนว่าการเป็นเพื่อนเล่นของลูกกับการเลี้ยงลูกเหมือนเพื่อนไม่เหมือนกัน ในช่วงแรกของชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนเข้าวัยรุ่นเลี้ยงลูกให้เป็นลูกได้ ไม่ต้องเป็นเพื่อน

เลี้ยงดูอย่างเข้าใจธรรมชาติของวัย

เพราะเราต้องสอน ต้องสั่ง ต้องออกคำสั่ง เราต้องให้เขาเชื่อฟังเรา แต่หลังจากวัยรุ่นไปแล้ว 10 ขวบไปแล้วเราต้องเลี้ยงเขาแบบเพื่อนเราจะหยุดการสอน

เราจะพูดคุยเราจะใช้เหตุผล เราจะแสดงความเห็นที่ต่างกันได้เราจะรับฟังกันมากขึ้น เพราะฉะนั้น 10 ปีนี้ เวลาที่เล่นคือเล่น เวลาที่เลี้ยงคือเลี้ยง เวลาที่สอนคือสอน แต่เวลาสอนก็ไม่ใช่พูดเรื่องเดิม เราต้องรู้แล้วว่าเราสอนเขามา 5 ปี ในเรื่องนี้เราพูดเหมือนเดิมประโยคเดิมอารมณ์เดิมเขารู้แล้วที่เขาไม่ทำเพราะยังพูดเหมือนเดิมอารมณ์เดิมประโยคเดิมเราไม่เรียนรู้แต่ลูกเรียนรู้

คนฉลาดคือคนที่ต้องเรียนรู้ว่าสิ่งไหนไม่เวิร์คต้องหยุด เพราะฉะนั้นเราพูดจ้ำจี้จ้ำไชมาไม่เกิดผลเราต้องหาวิธีใหม่ วิธีจ้ำจี้จ้ำไชก็ไม่น่าใช่วิธีที่เหมาะกับลูกเรา เราก็ต้องตั้งสติดีๆ ว่าอะไรถึงจะพอดีออกคำสั่งชัดๆ เด็ดขาดแต่ไม่ได้ใช้อารมณ์ อย่างเช่น ไปอาบน้ำ ธรรมดา ลูกบอกว่าเดี๋ยว ก็ค่อยๆอารมณ์เพดาน ขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเป็นตัวเองก็จะให้แค่ 3 ครั้ง ที่จะไปอาบน้ำ รอบที่สอง ไปอาบน้ำ ให้เสียงต่ำลง สูงขึ้นคือใช้อารมณ์

เวลาเราจะกดดันใครให้เราใช้เสียงต่ำ เวลาเราโกหกเราจะใช้เสียงสูงเราจะใช้อารมณ์ ครั้งที่ 3 ไม่พูดลากไปเลยค่ะ คือการกระทำที่ชัดเจนเด็ดขาดว่าแม่ให้แค่นี้ แค่นี้คือแค่นี้ทำไปสัก 2-3 ครั้งเกิดการเรียนรู้ คือลูกเกิดการเรียนรู้ดีกว่าผู้ใหญ่

เรียนรู้ลูก

สังเกตไหมบางคนมีลูกมา 10 แล้วมาเรียนรู้เลยยังใช้วิธีเดิมแต่ลูกเรียนรู้ตลอดเวลา ปรับเพื่อจะสู้กับเราตลอดเวลา แล้วการต่อลองเป็นการดึงที่เขาต้องการ เช่น การบอกว่าเดี๋ยว อีกแป๊บหนึ่ง อีกหน่อยหนึ่ง อีก 10 นาที อีก 5 นาที เหมือนได้ตลอดเลยไม่เคยเดี๋ยว

เพราะฉะนั้นเขาเรียนรู้และรู้จักใช้วิธีแต่เราไม่ได้เรียนรู้เราใช้วิธีเดิม พอรอบที่ 1 ไม่ได้เราก็ใช้ประโยคเดิมซ้ำเดิมแล้วเราก็วี้ด เสียงก็สูงขึ้นๆ อารมณ์ก็สูงขึ้นด้วย ถามว่าแล้วใครได้ประโยชน์ ลูกได้สิ่งที่ลูกต้องการไม่ใช่เรา กลับมาใหม่ว่า

พอดี

พอดี คืออะไร พอดี คือพูดน้อยๆ ชัดๆ เด็ดขาด ให้เขารู้ว่าทำคือต้องทำการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันคือเรื่องซีเรียส แต่เวลาเล่นกับลูก เล่นแบบเพื่อนไม่ใช่เล่นแบบออกคำสั่ง ไม่ใช่เป็นครูไม่ใช่เป็นพ่อแม่ เล่นแบบเพื่อนหมายความว่าอย่างไรเราเป็นคนหนึ่งที่ให้เขาเรียนรู้กติกามีการสลับพลัดเปลี่ยนกันถึงตาลูก ถึงตาแม่มีความสนุก

มีการทำให้ลูกเห็นว่าเราไม่ได้เก่งไปทุกอย่าง ไม่ได้ชนะลูกทุกครั้ง สลับกันแพ้สลับกันชนะ แกล้งแพ้บ้าง แกล้งชนะบ้าง แกล้งเสมอบ้าง เพื่อให้เขาปรับตัวว่าจริงๆ ไม่เป็นไร เราเป็นตัวอย่างให้ดูว่าแพ้ไม่เป็นไร ชนะอย่าเยาะเย้ยลูก ชนะอย่าโห่ฮิ้วมากแล้วเขาจะรู้สึกเยอะ

เพราะฉะนั้นเราก็เล่นให้เขาเรียนรู้กติกา ว่าการเล่นมีกติกาอยู่ เขาสนุกกับเราได้เวลาที่เขาเล่น อย่างของหมอก็จะมีชั่วโมงเรียกว่า Happy Time คือการอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ไม่ต้องมีอะไรไม่ต้องสอนไม่ต้องมีกติกา เป็นยังไง วันนี้ไปเจออะไรมาบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าชั่วโมงนั้นเราจะเอาความทุกข์ไปไว้ที่ลูกไปเราว่าวันนี้แม่เจอความเครียด ไม่ใช่

หรือพ่อแม่บางคนชอบจะเอาความทุกข์ไปใส่ไว้ที่ลูก เช่น ทะเลาะกับพ่อของเขาไปว่าพ่อให้ลูกฟัง ไปบอกลูกว่าพ่อนิสัยไม่ดียังไง หรือพ่อเองก็มาว่าแม่ให้ลูกฟังสิ่งนี้ไม่ควรทำ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ ความทุกข์เรื่องงาน ความทุกข์เรื่องเงิน

เด็กไม่ควรต้องมารับผิดชอบเรื่องนี้ในเวลาที่เขาเป็นเด็ก คุณกำลังจะดับฝันเขาเหมือนคุณกำลังจะบอกเขาว่าชีวิตไม่ได้มีความสุขเลยจริงๆ แล้วมีความทุกข์หนักมาก แล้วเราก็เอาความทุกข์เราไปไว้ในใจเขา เวลาเด็กที่เขาซับเอาความทุกข์ไปเขาไม่เหมือนเรา เขาไม่รู้ว่าความทุกข์สามารถหยุดได้หมดได้ แต่เขาจะเก็บเอาไว้แล้วก็ซึมซับความทุกข์นั้นไว้จนเป็นอารมณ์ตัวเองแล้วก็ไม่อนุญาตให้ตัวเองมีความสุข

เช่น คุณแม่บอกว่าวันนี้แม่ทุกข์ทรมานต่างๆ นาๆ ลูกก็จะรู้สึกว่าฉันมีความสุขไม่ได้ ฉันอยู่หลังแม่ฉันเด็กจะไม่ยอมให้ตัวเองมีความสุข มันก็ส่งผลกระทบไปที่เขาเพราะฉะนั้น Happy Time คือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน พูดคุยกัน ผ่อนคลาย พยายามรับฟังเขา

จริงๆ เป็นช่วงติดตามว่าเทรนด์ของเขา เขาสนใจอะไรกำลังโฟกัสอะไร เขาสามารถเล่าเรื่องทุกอย่างให้เราฟังได้นะ เราเป็นคนที่เขาไว้ใจได้แล้วก็ยังไม่ต้องสอนอะไรเก็บเอาไว้ เวลาเขาเล่าอะไรหรือไปทำอะไรมาก็แล้วแต่คุณพ่อคุณแม่มักใจร้อนเผลอสอน

พอดี หมายความว่า รอเวลาที่พอดีที่จะสอน แล้วการรับฟังไม่ใช่ว่า แม่หนูไปทำอันนี้มา ลูกไม่ควรทำแบบนั้นนะแล้วก็สอนไปยาว แล้วใครจะเล่าให้คุณฟังเพราะมันก็จะมีตำหนิตามมา

พอดี คือ คิดถึงใจตัวเองไว้ว่าถ้าเราเป็นเขาเราอยากได้อะไรคิดถึงใจเราถ้าไม่ใช่เวลาสอนก็อย่าสอนตลอดเวลา สอนให้เป็นเวลาแล้วพูดให้น้อย เพราะเวลาที่เราพูดเยอะๆ เด็กจะเข้าใจว่าเราบ่น เขาจะรู้สึกว่านี่คือบ่นแล้วไม่มีสาระแล้วโทนเสียงระดับเกินมาตรฐานของแม่คือการที่แม่พร่ำเพ้อแล้วลูกก็จะดับหูก็จะไม่อยากฟังเลี้ยงลูกจริงๆ ต้องมีจิตวิทยาเยอะมาก มีดีเทลเยอะ

เป็นแบบอย่างให้ลูก

เป็นแบบอย่างให้ลูก แต่พอช่วงวัยรุ่นมันเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงหมดเลย หยุดสอน ฟังให้เยอะ พูดให้น้อย คอนเซปต์ของการเลี้ยงวัยรุ่น 4. ซ่อมแซม Learning Loss ในมุมมองของนักจิตวิทยา

ตอนนี้ปัญหาเข้ามารอบด้าน กรูเข้ามาทุกทางสมัยก่อนปัญหาก็เยอะแต่ทำไมไม่กรูหาเด็กขนาดนี้ ไม่มาหาเราขนาดนี้ ที่มาเยอะเพราะโซเชียลมีเดีย เพราะการรับข้อมูลเยอะแล้วช่องรับมันเร็ว กว้างและเร็ว มันอิมแพคเร็วมากในการที่มี Respond ของสังคม

การที่ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไรรู้หมด เพราะฉะนั้นตอนนี้เรากลับรู้สึกว่าอยู่ยากขึ้นหนักขึ้น ตัวเด็กเองก็ยากขึ้นหนักขึ้นเช่นกัน แต่ว่าคนที่เป็นผู้ใหญ่ต้องตั้งสติก่อนว่าบางครั้งตัวเราเองเมื่อความรู้ไม่มากพอความกลัวที่เยอะเราก็จะมองมันใหญ่เกินที่จะเป็นจริง

เวลาที่ Learning Loss เกิดขึ้น เวลาจะ Loss อะไรมันมักจะ Loss เป็นชุดใหญ่ๆ มันไม่มีการ Loss ที่มันค่อยๆ แต่พอมัน Impact แล้วมันก็ Impact ในหลายๆ ระบบเหมือนพัฒนาการที่พอมันช้า 1 ก็โดนกระทบไปหมด เด็ดดอกไม้ก็สะเทือนไปถึงดวงดาว

ให้กระบวนการคิดที่ดี

ตั้งสติว่าสิ่งที่เราต้องให้ลูกในเบสิกของชุดกระบวนความคิดของสมองของลูกมันไม่ใช่ว่าจะต้องให้ข้อมูลที่เยอะแต่เราต้องให้กระบวนการคิดที่ดี ถ้าเด็กมีกระบวนการคิดที่ดีเขาจะดีทุกเรื่อง

ถ้ามีกระบวนการคิด มี Process ในการคิดว่าต้องทำสิ่งนั้นต้องทำสิ่งนี้มีกระบวนการคิดที่ดีจะแก้ปัญหาทุกปัญหาได้หมด อย่างเช่น เขาเรียนแล้วเขาไม่ตั้งใจ ถ้าเขามีกระบวนการคิดที่ดีเรื่องนี้จะเป็นปัญหาน้อยมากเพราะเขารู้ว่าเขาจะตั้งใจยังไง จะมีกระบวนการเรียนรู้ยังไง ในชีวิตประจำวันกระบวนการคิดถ้าได้เกิด ได้สร้างจะทำเขาสามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของเขาได้

ในการเรียนหนังสือแก้ปัญหาโจทย์ใช้กระบวนการความคิดหมดเลย รวมไปถึงการโตเป็นผู้ใหญ่อย่างเรากระบวนการคิดสำคัญมากถ้าเราไม่เคยถูกใช้พวกนี้มันจะไม่พัฒนา แล้วใครทำให้กระบวนความคิดอันนี้เกิด เกิดน้อย หรือไม่เกิดก็คือพ่อแม่

ปัญหาสังคมตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเพศ ยาเสพติด อาชญากร โซเชียลมีเดียที่ส่งผลต่ออารมณ์เด็กพวกนี้กระบวนความคิดของเด็กคนนั้นไม่พอที่จะหยุดคิดว่าสิ่งนั้นควรทำหรือไม่ควรทำ สิ่งนั้นดีหรือไม่ดี อย่างยาเสพติดเรารู้เราเรียนแต่ทำไมยังมีกลุ่มที่ติดยาเสพติด เพราะกลุ่มพวกนั้นมีกระบวนความคิดอีกแบบหนึ่ง กลุ่มพวกนั้นไปโฟกัสสิ่งที่ได้จากยาเสพติด

เห็นไหมว่าเด็กมีกระบวนความคิดที่ไม่เหมือนกัน ทำไมเราถึงไม่ยุ่งเพราะเรามีกระบวนการคิดว่ามันไม่เป็นประโยชน์กับเรามันเป็นโทษมากกว่าประโยชน์เราเลือกจะไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษมากกว่าประโยชน์ อันนี้เป็นกระบวนความคิดทั้งหมดเลย

ถ้าเราใส่กระบวนการเรียนรู้ กระบวนความคิดที่ถูก จะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ลูกจะเลือกเพื่อนเป็น ลูกจะเลือกสื่อเป็น ลูกจะเลือกทำในสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำก่อน ลูกจะเลือกสิ่งต่างๆ เข้ามาในชีวิตเป็นสิ่งที่ดีไม่ใช่สิ่งที่แย่

สร้างกระบวนการคิดต้องหยุดคิดแทน

ถามว่าแล้วพ่อแม่จะสนับสนุนให้เกิดกระบวนความคิดนี้ได้อย่างไร คุณต้องหยุดคิดแทนทำแทน ต้องหยุดตอบสนองเกินความจำเป็น สอนให้ลูกคิดเป็น วิธีการง่ายๆ สอนให้ลูกคิดเป็น คุณคิดอย่างไรคุณก็พูดให้ลูกฟัง

เช่น เราเลือกของเล่นให้ลูกมีของเล่นอยู่ 2 ชิ้น แล้วเราเลือกชิ้นนี้มาเราก็บอกเขาว่าชิ้นนี้มันดีกว่ามันคุ้มกว่าอย่างไร ของเล่นเช่นนี้มันทำให้หนูได้เรียนรู้เรื่องของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้สร้างสมอง มีเสียงด้วย ราคาเท่านี้ มันเล่นได้สามปี กับของเล่นชิ้นที่แพงมากแล้วสวยมากแต่เล่นได้ฟังก์ชั่นเดียวแล้วก็พังง่าย

สองอย่างนี้พอเทียบกันแล้วแม่เลยเลือกชิ้นนี้ให้ลูก คุณสามารถทำแบบนี้ได้กับทุกๆ อย่าง เช่น คุณเลือกซื้อนมให้เขา นมมีหลายยี่ห้อทำไมแม่เลือกนมอันนี้ กระเป๋ามีหลายยี่ห้อทำไม่แม่เลือกใบนี้ มือถือมีหลายยี่ห้อทำไมแม่เลือกอันนี้ ความคุ้มค่าของมันที่เราต้องสอนลูกว่าเหตุผลวิธีการคิดของเราที่วางแผนในหัวเราพูดมันออกมา

แค่ชีวิตประจำวันทำไมต้องแปรงฟันก่อนล้างหน้า ทำไมต้องล้างหน้าก่อนแปรงฟัน แต่ละบ้านทำไม่เหมือนกัน แต่เราก็ให้ลูกทำเหมือนที่เราทำ เพราะบางทีเราก็ไม่ได้คิด แต่ทุกอย่างเราต้องใส่กระบวนความคิด เขาจะตั้งคำถามขึ้นมาทันทีถ้าเราให้เหตุผลกับทุกอย่างที่เขาทำ เขาจะถามว่าทำไมไม่ทำอย่างนั้น เพราะอะไรต้องทำอย่างนี้

ถ้าคุณถูกฝึกจนชินคุณจะอธิบายเหตุผลได้จนลูกยอมรับ ซึ่งการฟังเหตุผลมันก็วางแผนไปยิ่งวัยรุ่นด้วยว่าถ้ามีสิ่งที่เราต้องคุยกับเขา สังคมการเมือง รุนแรงมากขึ้น วันหนึ่งลูกเราอาจไปอยู่สถานการณ์คับขันที่เราก็พูดไม่ได้ไม่รู้จะสอนอย่างไรไม่รู้จะให้ข้อมูลอย่างไร เพราะอัลกอลิทึ่มของเราไม่เหมือนกัน นอกจากว่าถ้าเราปลูกฝังเหตุผลแล้วเราบอกเขาว่าในมุมของแม่แม่คิดอย่างนี้เราก็สามารถให้เหตุผลกับสิ่งที่เราต้องการได้แล้วลูกเองก็ให้เหตุผลกลับมาในสิ่งที่เขาต้องการได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มนุษย์อยู่รอดตอนนี้คือการสร้างกระบวนการคิดให้เกิดขึ้นก่อนโดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่สร้างได้ที่บ้านเลยว่าทำไมคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกอาบน้ำแล้ว ทำไมอยากให้อาบเดี๋ยวนี้พูดไปเลยสอนกระบวนการคิดไปเลย

ปกติเราใช้อารมณ์ อาบน้ำได้แล้วลูก แล้วไม่เคยบอกลูกเลยว่าทำไมต้องอาบตอนนี้ ทำไมลูกถึงใช้คำว่าเดี๋ยวเพราะเขาไม่คิดว่าต้องเป็นตอนนี้ การจะทำให้ลูกเชื่อเรา เราต้องมีเหตุผล ทำไมหมอเองเวลามีคนไข้แล้วคนไข้จะชอบมาเจอมาคุยเพราะเรามีวิธีการคิดแล้วเราคิดให้ฟัง

เราไม่ได้บอกว่าสิ่งนี้ดีเพราะสิ่งนี้ดีเราจะบอกเหตุผลว่าทำไมเราคิดว่าสิ่งนี้ดีทุกคนต้องการเหตุผล ไม่ใช่ดีเพราะพ่อแม่บอก พ่อแม่ก็อยากรู้ว่าในความคิดของเรามุมมองของเราเหตุผลคืออะไร ไม่ใช่เราบอกว่าต้องทำสิ่งนี้นะต้องทำสิ่งนั้นนะ เราไม่เคยทำอย่างนั้นเลยแต่เราจะบอกว่าทำไมเหตุผลคืออะไรทำไมต้องทำ ไม่ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร ทำแล้วไม่ได้อะไร เลือกเลยข้อมูลคุณมีแล้วเราอยากให้มีกระบวนความคิดเหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าคุณมีกระบวนการคิดที่ดี Product ของคุณก็จะดีด้วย

Learning Loss แก้ได้ด้วยกระบวนการคิด

ใช่ คือพื้นฐานเลย Learning Loss หรืออะไร ก็แก้ได้หมด จริงๆ เริ่มได้ตั้งแต่ 3 ขวบเลยการสร้างกระบวนความคิด 3 ขวบสมัยนี้ กับเรา 3 ขวบ ไม่เหมือนกันเลยนะ ชิพสมอง 3 ขวบสังเกตเรา ฟังเรา ฟังว่าเราพูดอะไร สังเกตว่าเราทำอะไร เก็บมาแล้วมาใช้กับเรา ในขณะที่เราตอนเด็กๆ รู้สึกว่าชิพของเรามันช้า

กว่าจะฟังว่าพ่อแม่คิดอะไร 7 ขวบ กว่าที่เราจะพยายามฟังว่าเขาต้องการอะไร คิดอะไร ทำอะไร แล้วเราอยากเลียนแบบหรือเราอยากจะสู้ ต่อต้าน สมัยนี้ 3 ขวบหูผึ่งเลยเวลาเราคุยกับสามีเขาก็ฟังว่าวิธีการคิดของเราคืออะไร เรากำลังทำอะไรกับเขาอยู่ เวลาเอาเด็กมาที่ห้องบำบัด เวลาเราอยู่ด้วยกันเราจะสังเกตเลยว่าลูกมักจะแอบฟังอย่างตั้งใจ แต่เราก็รู้สึกว่าเขาฟังได้แล้วเขาควรจะได้ฟังเพราะเรามีเหตุผล ซึ่งถ้าฝึกการใช้เหตุผลมาตั้งแต่เด็กๆ โตขึ้นก็ไม่มีปัญหาที่จะใช้เหตุผล พ่อแม่วางแผนเลี้ยงลูกตั้งแต่ยังเด็ก

การเลี้ยงเด็กมันยากและเยอะ อยากให้ตั้งสติดูเขาปีต่อปีเพราะเด็ก 1 ขวบปีก็เปลี่ยน อัตราการเปลี่ยนเขาสูงกว่าผู้ใหญ่ เราผู้ใหญ่ 29 กับ 30 ไม่ต่างกัน แต่เด็ก 1 ขวบ กับ 2 ขวบ ต่างกัน เราไม่จำเป็นต้องไปเสพข้อมูลที่เยอะมาก เวลาใครเข้ามาเราจะบอกว่า สมมติลูก 9 เดือน เราจะมองไปที่ 12 เราจะมองไปแค่ 1 ปีนี้

เพราะฉะนั้นเวลาที่เราเสพข้อมูล เราก็ดูว่า 1 ปีนี้มันนาน 1 ปี คือ 12 เดือน ทำให้มันนี้ในหนึ่งปีนี้วางแผนหาข้อมูลใน 1 ขวบปี 2 ขวบปี ต่อยอดไปเรื่อยๆ อย่าไปมองว่าต้องรู้ทั้งหมด คุณไม่มีทางรู้ทั้งหมดได้เพราะ 1 ปีนี้ในปีนี้ กับ 1 ปีนี้ในปีหน้า

ปัญหาเปลี่ยน สถานการณ์แวดล้อมอย่างโรคระบาดก็เปลี่ยนเขาเปลี่ยนเรา โฟกัสช่วงสั้นๆ มองว่าสิ่งที่เราต้องการวางเป้าให้ชัดว่าเราเลี้ยงลูกต้องการอะไรอยากได้อะไรเพื่อให้เขารอด ไม่ใช่อยากได้อะไรเพื่อให้เรามีความสุข

เราต้องมองว่าอะไรจะเป็นเครื่องมือให้เขาอยู่ได้ถ้าไม่มีเรานี่คือเป้าหมาย หากระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้องถ้าไม่รู้ก็หาผู้เชี่ยวชาญ ถ้าให้แนะนำก็เป็นนักจิตวิทยาคลินิกเด็กและจิตแพทย์ 2 อาชีพนี้ทำงานไม่เหมือนกัน

นักจิตวิทยามีหลายๆ สาขา แต่ในเรื่องของการตรวจวินิจฉัยและบำบัดจะต้องเป็นนักจิตวิทยาคลินิก คำว่า คลินิก คือโรงพยาบาลที่มี License มีใบประกอบวิชาชีพในการตรวจวินิจฉัย ต่างกันกับจิตแพทย์อย่างไร ต่างกันกับคุณหมอพัฒนาการอย่างไร

นักจิตวิทยาคลินิกจะมีเครื่องมือที่สามารถตรวจ เครื่องมือคือแบบทดสอบทางจิตวิทยาสามารถตรวจพัฒนาการได้ สามารถตรวจการทำงานของสมองได้ สามารถตรวจเรื่องของอารมณ์ได้ สามารถตรวจ EQ ได้ นี่ก็คือการตรวจ ที่มีเครื่องมือซึ่งมีความแม่นยำสูงมากผลออกมาเหมือนตรวจเลือดออกมาเป็นตัวเลข

มีรายละเอียดให้เห็นว่า Picture ข้างในของลูกมันคืออะไร เรารักษาด้วยการไม่ใช้ยา แต่จิตแพทย์หรือคุณหมอพัฒนาการรักษาด้วยการใช้ยา ซึ่งนักจิตวิทยาคลินิกก็จะมีเครื่องมือโดยไม่ต้องใช้ยาเลย เช่น ลูกสมาธิสั้นเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก้ไขปัญหาสมาธิสั้นได้

ลูกมีปัญหาการเรียนรู้ก็สามารถแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ได้ คือ ซ่อม สร้างได้โดยไม่ใช้ยา เพราะก็คงไม่มียาที่กินเข้าไปแล้วเด็กฉลาด มันใจในตัวเอง Self Esteem ดี ไม่มีพวกนี้ต้องสร้างเอง นักจิตวิทยาคลินิกเขาจะมีวิธีการบำบัดรักษาการใส้ทรีทเม้นท์เขาไปให้สิ่งนี้เกิด เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากใช้ยาก็มาที่นักจิตวิทยาคลินิกเด็ก

แต่ถ้าอยากใช้ยาก็ไปตรวจกับจิตแพทย์ ทำงานไม่เหมือนกันแต่คล้ายกัน แต่ถ้าสมมติว่าลำบากก็สามารถหาช่องทางที่ใกล้บ้าน หาคนที่คลิกกับเราไม่บังคับว่าต้องมาหาเราเอาคนที่เราคุยแล้วรู้สึกว่ามันเป็นไปได้สำหรับเรา คุยแล้วมีแนวโน้มว่าเราจะทำมันได้ตามที่เขาแนะนำเรา

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.43 : WHAT Indoor Generation รุ่นในร่มคือ? กระทบอะไรกับเด็กยุคใหม่

รักลูก The Expert Talk Ep.43 : WHAT Indoor Generation รุ่นในร่มคือ? กระทบอะไรกับเด็กยุคใหม่

รุ่นใหม่ท้าทายการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กยุคปัจจุบันที่หวาดกลัวการออกนอกบ้านเพราะอยู่ในบ้านแสนจะสบาย แต่รู้ไหมว่าผลกระทบของการเป็นรุ่นในร่ม ส่งผลมากกว่าที่คิด เพราะหากไม่รีบแก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะส่งผลกระทบไปถึงยีนระดับที่จะส่งต่อไปยังรุ่นต่อไป

เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจกับ Indoor Generation รุ่นในร่ม ทั้งหมด 4 EP เพื่อให้รู้จัก เข้าใจ อยู่อย่างไรกับIndoor Generation แบบไม่กระทบพัฒนาการ โดย The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

เริ่มต้นที่ EP 43 ฟังต้นเหตุของการเป็น Indoor Generation เกิดขึ้นจากอะไร

โรคขาดธรรมชาติ คืออะไร

โรคขาดธรรมชาติ Nature Deficit disorder เกิดปี 2016 โดย ริชารด์ ลูฟ นักสังคมศาสตร์และวารสารศาสตร์ อธิบายถึง ภาวะที่คนขาดธรรมชาติ โตมาในสังคมที่เจริญมาก อยู่ในตึก ไม่ได้ออกไปใช้ชัวิตนอกบ้าน มีเทคโนโลยีดิจิตอล เข้ามาเกี่ยวข้องทำให้เราไม่ออกใช้ชีวิตนอกบ้าน และที่สำคัญพื้นที่สีเขียวเข้าถึงยาก มีราคาแพง ถูกจำกัดโดยรัฐบาล

สาเหตุเหล่านี้ทำให้เด็กเจนนี้เกิดภาวะขาดธรรมชาติ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ วิธีการเข้าใจโลก ส่งผลต่อการปรับสมดุลชีวิต เช่น การปรับฮอร์โมน และพัฒนาการเรียนรู็ล่าช้า สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง

สถานการณ์ของเมืองไทยเป็นอย่างไร

นักสังคมศาสตร์จะมาบอกได้ยังไงว่าเป็นโรค แต่ถ้าย้อนไปดูการศึกษา 10ปีที่ผ่านมา สังคมอเมริกาที่เป็นจุดเริ่มต้น ก็มีงานวิจัยศึกษาว่าโรคขาดธรรมชาติ เป็น disorder ซึ่งที่ตปท.หากพบว่าเด็กใช้เทคโนโยลนี ดิจิตอลมากเกินไป มีอาการติดเกม หมอจะเขียนใบสั่งยาสีเขียว Green prescription ให้พ่อแม่พาไปออกเล่นกลางแจ้ง เดินป่า เที่ยวทะเล แคมป์ปิ้ง เพื่อให้เด็กได้เล่นและได้อยู่กับธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งในตปท.มีพัฒนาการเรื่องนี้มาก

สาเหตุที่ทำให้เราเป็นโรคขาดธรรมชาติ

1.ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ทำให้สภาพแวดล้อมไม่ปกติ เรารู้สึกว่าอากาศข้างนอกร้อน เราอยากอยู่ในห้องแอร์ ไม่อยากออกไปไหน มีโควิด มีฝุ่น เด็กก็จะอยู่ในบ้านที่มีแอร์ มีเครื่องฟอกอากาศ ม่านกรองแสง เมืองไทยต้องขาดธรรมชาติแน่นอนเพราะว่าธรรมชาติบ้านเรามันโหดร้าย

2.ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี ที่ทำให้เราสบายมากขึ้น เราไม่จำเป็นต้องออกนอกบ้าน ซื้อของออนไลน์ wfh ความทันทสมัยทางเทคโนโลยี elearning e mobile banking เทคโนโลยีทำให้เราเลือกอยู่ในบ้าน

3.สังคมสูงวัย สังคมที่พึ่งพิง ความจำเป็นที่ต้องออกนอกบ้านไม่มี เพราะปู่ย่าตายายอยู่ในบ้าน เป็นคนติดเตียง และในบ้านเราเป็นสังคมสูงวัย แล้วยังเป็นสังคมที่เด็กเกิดน้อย ทำให้เรามีภาวะแหว่งกลาง พ่อแม่ทำงานในเมืองหลวง ลูกหลานอยู่กับปู่ย่าตายาย แหว่งกลางที่พ่อแม่ไม่มี ทำให้โอกาสไปเล่นนอกบ้านไม่มี

ปู่ย่าตายายเลี้ยงหลานแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นพี่เลี้ยง สื่อดิจิตอลเป็นตัวรั้งไม่ให้ออกไปในนอกบ้าน เรากลัวธรรมชาติ เพราะมีแบคทีเรีย ไม่สะอาด ไม่อนามัย มีสัตว์มีพิษ มีความสกปรก เพราะฉะนั้นเหล่านี้ทำให้พ่อแม่รู้สึกว่าธรรมชาติเป็นสิ่งที่น่ากลัว

นิยามจริงๆ คือพ่อแม่เกิดความกลัวที่จะพาลูกไปอยู่ในพื้นที่outdoor กลางแจ้ง เพราะว่ารู้สึกว่าธรรมชาติเป็นศัตรู และเกิดความหลวงไหลในเทคโนโลยี เพราะว่ามันง่าย สะดวกสบาย เพลิดเพลิน ทำให้เราไม่จำเป็นที่จะต้องออกไปหาความบันเทิงในธรรมชาติ รวมๆ แล้วกว่า 20ปีที่ผ่านมานี้ทำให้โรคขาดธรรมชาติเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ

กระทบกับพัฒนาการยังไง

ทางการแพทย์เริ่มยอมรับ 1.ส่งผลต่อพัฒนาการ ถ้าเราไปอยู่กลางแจ้ง จะได้รับแสงแดดมีผลต่อการปรับฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์และการนอนหลับ เพราะฉะนั้นเวลาเราออกไปเดินเล่น วิ่ง ร่างกายก็จะได้ปรับสมดุลฮอร์โมน

ในธรรมชาติมีแบคทีเรียตามธรรมชาติ ร่างกายจำเป็นต้องได้รับไวรัสเหล่านี้เพราะเราเป็นสิ่งมีชีวิต แต่ถ้าเราอยู่ในห้องที่ปลอดเชื้อตลอดเวลา เมื่อเราป่วยเราจะป่วยหนักมาก เพราะภูมิคุ้มกันสำคัญมาก แต่หากเด็กขาดธรรมชาติ ร่างกายจะอ่อนแอ

มีงานวิจัยที่พบว่าเด็กที่อยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง อยู่กับธรรมชาติ มีระบบภูมิคุ้มกัน ดีกว่าเด็กที่อยู่ในห้องแอร์มากกว่าถึง 5เท่า และมีโอกาสที่เด็กขาดธรรมธรรมชาติ มีโอกาสที่จะมีพัฒนาการเรียนรู้ล่าช้า LD เพราะว่าการเล่นดิจิตอลมากๆ ทำให้เด็กขาดความเข้าใจ เพราะในดิจิตอลมีอัลกอริทึมอยู่ ในธรรมชาติเด็กจะต้องหาวิธีการเหล่านั้นเอง หาวิธีการเล่น

ในธรรมชาติเด็กจะมีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการมากกว่าปกติ บางประเทศที่ใช้การศึกษาแบบ Nature Base Education เด็กจะมีทักษะการเรียนรู้ที่รอบด้านมากกว่า ธรรมชาติเหมือนห้องเรียนที่ดีต่อตัวเด็กเอง แต่ว่าในเมืองไทยอาจจะคิดว่าออกไปแล้วร้อน แดด มลพิษ

บ้านเรารับมือหรือรักษายังไง

ยังไม่ได้นับเป็นโรค เพราะว่า WHO ยังไม่ได้รับรอง ที่ผ่านมาเป็นการศึกษางานวิจัย แต่ถ้าค้นข่าวย้อนหลังไปเมื่อ30ปี คือเจอน้อยมาก แต่เรื่องนี้ส่งผลมายาวนาน พัฒนาการเด็กจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้ง ไปเที่ยวและได้สัมผัสกับธรรมชาติ เด็กที่กักตัว ออกไปข้างนอกไม่ได้ เรารู้สึกเฉา เบื่อๆ ไม่สดชื่น ธรรมชาติเป็นยาอย่างหนึ่งที่ช่วยบำบัดความเครียดได้ เพราะผู้ใหญ่ก็กำลังเป็นกันนะครับ

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

รักลูก The Expert Talk Ep.46 : Indoor Generation How to!! “เลี้ยงยังไง ให้ห่างไกลรุ่นในร่ม”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.46 : Indoor Generation How to!! "เลี้ยงยังไง ให้ห่างรุ่นในร่ม"

 

เปลี่ยนพฤติกรรมออกห่างการเป็นรุ่นในร่ม Indoor Generation เริ่มต้นที่พ่อแม่

 

ฟังมุมมองวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดย The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

รู้เท่าทัน

ตระหนักรู้และอย่ามองว่าธรรมชาติเป็นศัตรู ธรรมชาตินั้นคือยาช่วยเยียวยาเราได้ โรคขาดธรรมชาติ อธิบายว่าเพราะพ่อแม่กลัวธรรมชาติ มองธรรมชาติเป็นศัตรู มองดิจิตอล ความทันสมัย ชีวิตในร่มเป็นมิตรกับเรา ให้เปลี่ยนวิธีการมองใหม่

จัดชั่วโมงการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง

พ่อแม่ต้องคิดว่าสัปดาห์หนึ่งได้เรียนตอนไหน before school หรือ after school

พาลูกไปเล่นกลางแจ้ง เป็นพิ้นที่ Open End 

เด็กสามารถหาอะไรมาเล่นก็ได้เด็กเมื่อไปอยู่ในพื้นที่ปลายเปิด เขาจะมองหาสิ่งต่างๆ ที่อยากจะเล่นได้ด้วยตัวเอง เกิด Inititative การริเริ่มเล่นสร้างสรรค์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

อย่าหลงไหลในดิจิตอลมากเกินไป

การอยู่ในโลกดิจิตอลทำให้เราต้องเสียบสายตลอดเวลาเรียกว่า Plug In Culture วัฒนธรรมแบบเสียบสายตลอดเวลา ขารจ์แบต ต่อสัญญาณไวไฟ ต้องUnplug Culture หรือ Unplug Play

การเล่นที่ถอดสายออกจากอัลกอริทึ่ม ออกจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ออกจากวงจรไฟฟ้า เพราะทุกอย่างเป็นระบบปิด แต่ Unplug Play ทำให้เด็กใช้ความคิดริเริ่มและแสวงหาความเป็นไปได้ในการทำสิ่งนั้นและทำให้ตัวเองเพลิดเพลิน

ธรรมชาติทำให้เด็กต้องออกแบบการเล่น และเป็นผู้เล่นเอง

เป็นการฝึก logical thinking และcreative thinking เด็กที่เล่นกับธรรมชาติคือได้กระตุ้นการเรียนรู้ทุกด้าน

“ใช้สื่ออย่างรู้เท่าทัน”

ดูเพื่อกระตุ้นจิตนาการ หรือให้เห็นสิ่งที่ออกไปมากกว่าชีวิตประจำวัน ให้เห็นความแฟนตาซีบ้าง เป็นการขยายขอบเขตจินตนาการออกไปจากนอกพื้นที่บ้าน จินตนาการต้องอาศัยความแฟนตาซี แต่ขยายไปมากเท่าไหร่ถึงจะพอ

เพราะว่าแฟนตาซีต้องยืนอยู่บนพื้นฐานความจริง และการให้ดูการ์ตูน เล่นเกม มากเกินไป ทำให้เด็กเกิดภาวะคือภาวะเบื่อชีวิตจริง

เด็กเกิดภาวะเบื่อก็มีสองด้านคือ เบื่อแล้วไป Initiative ให้หายเบื่อ กับเบื่อแล้วต้องแสวงหาความแฟนตาซี ที่สนุกมากขึ้น จินตนาการมากขึ้น รุนแรงมากขึ้น เหนือจริงมากขึ้น หากเด็กติดกับดักก็จะไป Metaverse เพราะว่ามันน่าเบื่อ

พ่อแม่ต้องไม่กลัวแต่ใช้มันอย่างเท่าทัน

ใช้อย่างพอประมาณ และวางlimit ไว้ด้วย เราไม่อยากให้ลูกเสพติดโลกดิจิตอล ติดความเสมือนจริง

ที่อันตรายคือโลก Metaverse เด็กเข้าไปอยู่โลกเหนือจริง พ่อแม่ต้องเท่าทันใช้อย่างมีขอบเขตจำกัด และลดภาวะความหวาดกลัวธรรมชาติลง
ทำให้เราเปิดรับธรรมชาติ ธรรมชาติทำให้เราเรียนรู้แบบองค์รวม และการเรียนรู้ในดิจิตอล คือการเรียนรู้แบบตัดขาดความสัมพันธ์

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

En outre, l'utilisation de ces pilules de kamagra 100mg peut être nuisible à la santé, car les dosages ne sont pas adaptés à l'utilisateur et à ses antécédents médicaux.

รักลูก The Expert Talk Ep.47 (Rerun) : รักลูกเชิงบวก “พ่อแม่มีอยู่จริง สร้างฐานที่มั่นทางใจของลูก”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.47 : เลี้ยงลูกเชิงบวก

 

Family Attachment คำตอบและทางออกของปัญหาความสัมพันธ์ในบ้าน

เพราะแค่รักไม่พอ ต้องผูกพันและเข้าใจ จึงจะสร้างฐานที่มั่นทางใจให้แข็งแรงขึ้นมาได้ เพราะจิตใจที่มั่นคงจะสามารถสู้อุปสรรค ล้มแล้วลุกได้

พบวิธีการสร้าง Family Attachment กับ ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

Family Attachment คืออะไร

เรื่องของความผูกพันในครอบครัว ถ้าถามว่ามันคืออะไร คือ ฐานที่มั่นทางใจ ถ้าเราบอกว่าฐานที่มั่นทางใจเหมือนคนเราต้องมีฐานทัพ ทัพเราแข็งแค่ไหน ฐานก็ต้องแข็งกว่า คนเราก็ออกไปต่อสู้โจมตีข้างนอก ก็ต้องมีอู่ข้าวอู่น้ำ แต่ถ้าเราฐานที่มั่นทางใจที่ดีเราก็จะมีอู่ข้าวอู่น้ำทางใจ เราออกไปข้างนอกไปสู้รบปรบมือกับใครกลับมาเราก็ยังมีที่ๆ ให้เราคอยพักพิง มีที่ๆ ค่อยทำให้จิตใจเราคลายกังวล ก็ไปสู้รบปรบมือได้ใหม่ อันนี้ในแง่ของการสู้รบปรบมือ

แต่ถ้าเราไม่ต้องไปสู้รบปรบมือกับใครคุณค่าของพวกเรา เราจะออกไปพิชิตอะไรสักอย่าง แล้วพิชิตให้ใคร ลองนึกถึงว่าถ้าเราประสบความสำเร็จแล้วมีคนมายินดีกับเราด้วย ฐานที่มั่นทางใจคอยสนับสนุนเรา พอเราสำเร็จก็ยินดีกับเรามันน่าจะมีความสุข แต่ถ้าเกิดเราทำอะไรสำเร็จแล้วดีใจคนเดียว เหงานะแค่คิดก็เหงา

ถึงเราจะประสบความสำเร็จมากแต่ไม่มีทัพหลังคอย Support เพราะฉะนั้นเรื่องของความผูกพันในครอบครัวคือฐานที่มั่นทางใจของมนุษย์คนหนึ่ง ที่เรามีปัญหาอะไรมีคนอยู่ข้างๆ เราประสบความสำเร็จอะไรมีคนดีใจกับเรา เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องของอาหารใจที่เราต้องการ ทางร่างกายก็ต้องการข้าวต้องการน้ำ ถ้าเป็นอาหารใจจิตใจเราจะแข็งแกร่ง จิตใจเราจะมั่นคงเราสามารถสู้อุปสรรคได้ ล้มได้ลุกได้ ฐานที่มั่นทางใจสำคัญมาก

สร้างฐานที่มั่นทางใจ

ถ้าถามว่าความรักอย่างเดียวพอไหม เรื่องของความรักเป็นเรื่องของความรู้สึก ความรู้สึกจะมีอาการของมันมีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามอารมณ์ แต่ความมั่นคงทางจิตใจมันเกี่ยวข้องกับเรื่องของความผูกพัน รักอย่างเดียวพอไหม เรื่องของความรักเป็นเรื่องของความรู้สึก เป็นเรื่องของความรู้สึกที่ดี ที่ทำให้เราหลงใหลทำให้เรารู้สึกอยากเข้าไปเรียนรู้หรืออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

แต่ความรักมันจะแปลกพอเราได้ลิ้มรสมันแล้วก็จะทำให้ความรู้สึกของเราเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ถ้ารักอย่างมั่นคงรักและให้มันพัฒนาต้องอาศัยการฝึกฝนด้วย เราจะรักอย่างไรให้พัฒนาทั้งแม่ทั้งลูกทั้งพ่อคือพัฒนาทั้งครอบครัว เพราะฉะนั้นถามว่ารักอย่างเดียวพอไหม ไม่พอ รักแล้วเราต้องรู้วิธีที่จะรักษาความรัก รวมไปถึงให้ทุกคนให้คุณค่าและให้ความสำคัญกับความรักของครอบครัวถ้าเราพาไปจนถึงจุดนี้ได้อะไรเราก็ผ่านไปได้

รักลูก ตามใจลูก คือการสร้างฐานที่มั่นทางใจ?

เวลาที่เราเห็นพ่อแม่ตามใจลูกครูหม่อมจะไม่ได้มองเห็นว่าพ่อแม่ตามใจลูก แต่ครูหม่อมกำลังเห็นพ่อแม่ตามใจตัวเอง เวลาที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องฝืนใจตัวเองเพื่อที่จะสอนลูกไปในทางที่ถูกที่ควร แน่นอนพ่อแม่ไม่อยากเสียอารมณ์ไปกับลูกไม่อยากจะทะเลาะกัน

เพราะฉะนั้นการตามใจเป็นอะไรที่ง่ายที่สุด แล้วตัวของคุณพ่อคุณแม่เองมีความคาดหวังกับลูกก็จริง แต่ที่เราไม่รู้เท่าทันก็คือเราค่อนข้างคาดหวังกับตัวเองว่าเราจะหาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ให้กับลูกให้ได้โดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นทำอย่างไรละให้รู้สึกว่าเราสมหวังแล้วในการคาดหวังตัวเองโดยที่เราไม่รู้ตัวว่าเราต้องหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก กดดันตัวเอง กดดันมากๆ ไม่รู้ทำอย่างไร เพราะฉะนั้นการที่เราตามใจลูก มันเหมือนทำให้การคาดหวังของตัวเองมันสำเร็จได้ง่าย

เราจะเห็นได้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะมีตั้งแต่ไม่ให้พอลูกง้อมากๆ ก็ให้ด้วยการตัดความรำคาญ อารมณ์ดีให้ อารมณ์เสียไม่ให้ การที่เราอารมณ์เสียแล้วต้องพูดจาดีๆ กับลูกเราก็ไม่ต้องตามใจตัวเอง ตามใจอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ฉะนั้นเวลาที่ครูหม่อมเห็นคุณพ่อคุณแม่ตามใจลูก คุณพ่อคุณแม่เหวี่ยงลูก สิ่งที่ครูหม่อมเห็นไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่ตามใจลูกครูหม่อมกำลังเห็นคุณพ่อคุณแม่ตามใจตัวเองอยู่

เพราะฉะนั้นการตามใจตัวเองเป็นเรื่องของคนเดียว ถ้าเราพูดถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน ความสัมพันธ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมันต้องเป็นเรื่องของกันและกัน เราต้องทะเลาะกับตัวเองให้เสร็จแล้วเราจะไม่ทะเลาะกับคนอื่น

Family Attachment เริ่มสร้างตั้งแต่เมื่อไหร่

เริ่มได้เลย เมื่อไหร่ที่เราจะเริ่มที่จะเป็นครอบครัว เราต้องเริ่มสร้างได้เลยเรื่องของครอบครัวเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ การที่เราเริ่มเป็นแฟนกันศึกษากันและกันเริ่มแล้วนะที่เราต้องค่อยๆ ปรับตัวเป็นแค่หนึ่งเดียวไม่ได้ เมื่อไหร่ที่เราเริ่มรู้สึกว่าฉันอยู่ของฉันเองได้ไม่ต้องตามใจเธอไม่ต้องมีเธอก็ได้ อย่าเพิ่งมีครอบครัวยังไม่พร้อม การมีครอบครัวก็คือเราต้องมีกันและกัน

คำถามที่ครูหม่อมมักจะถามลูกศิษย์ เวลาที่เราจะแต่งงานเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราพร้อม ทุกคนก็จะตอบว่าเมื่อมันถึงเวลา นี่คือคำตอบเมื่อมันถึงเวลา เวลานั้นคือเวลาอะไร ครูหม่อมก็จะถามต่อ เขาก็จะตอบ ก็น่าจะเรียนจบ ก็น่าจะทำงานได้ มีบ้านมีรถ ครูหม่อมจะบอกเลยว่าถ้าอย่างนั้นยังไม่ใช่ ยังไม่พร้อมถ้าเกิดมันยังไม่ชัด สิ่งที่ครูหม่อมจะถามคือพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุขหรือยัง เมื่อไหร่ที่คิดว่าตัวเองพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคู่เราได้

Family หรือครอบครัวจะเกิด ครอบครัวไม่ได้อยู่ที่บ้านครอบครัวไม่ได้อยู่ที่รถ ครอบครัวอยู่ที่เรา คนบางคนอาจไม่รู้ตัว แต่ครูหม่อมเจอคนหลายคนมากที่ถามว่าแต่งงานรู้ได้อย่างไรว่าพร้อม เขาก็ตอบว่ารอคนนี้เรียนจบ รอเขาได้งานก็เท่ากับพร้อม ครูหม่อมถามต่อว่ายังทะเลาะกันอยู่ไหม เขาตอบว่าคู่เราไม่เคยทะเลาะกันเลย ครูหม่อมก็จะทดไว้ในใจ แล้วค่อยๆ ตั้งคำถามขึ้นมาว่าแล้วถ้าเกิดเขาไม่มีงานจะแต่งงานกันไหม เขาก็ตอบว่าไม่แต่ง แล้วถ้าแต่งงานไปแล้วเขาตกงานจะทำอย่างไรจะหย่าหรือ

เพราะฉะนั้นพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุขกับใครได้เมื่อไหร่ Family Attachment จะเกิดขึ้น ไม่ใช่ร่วมทุกข์แล้วไม่มีทางสุข หรือไม่ใช่ร่วมสุขอย่างเดียวพอทุกข์แยกกัน คำตอบแรกคือเริ่มที่ตัวเราสองคน

อันที่สองที่อยากให้ฝึกๆ กันไปก็คือเมื่อไหร่ที่เราเริ่มมีใจอีกคนมาอยู่ในตัวเรา ทำอะไรก็ต้องคิดถึงเขาทำอะไรจะพูดอะไร แน่นอนพวกเราอยู่ตัวคนเดียวอยากพูดอะไรอยากนอนท่าไหนอยากทำอะไรทำได้ แต่ถ้าพอเรามีอีกคนเข้ามาจะต้องมีการฝึกตัวเองอะไรที่เราเคยทำบางอย่างเราอาจจะได้ทำมากขึ้นก็ได้ แต่บางอย่างเราอาจจะได้ทำน้อยลงก็ได้ ถ้าเราฝึกฝืนได้เราก็อาจจะมีความสุขกับคนนี้ได้ มีลูกเรื่องง่ายไหม มันขัดเกลาตัวเองมาทีละระดับ

ครูหม่อมกำลังจะบอกว่า Family Attachment มีขั้นมีตอนของมัน เมื่อกี้เราร่วมทุกข์ร่วมสุขกันได้ละ อันที่สองคือเราเริ่มขัดเกลาตัวเองได้แล้วยอมรับความไม่น่ารักของกันและกันได้บ้างแล้ว อันนี้ครูหม่อมเรียกตามพัฒนาการด้านตัวตนด้วย แล้วก็เรียกตามคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ มักจะเรียก ขั้นแรกเป็นขั้นที่แม่มีอยู่จริงสำหรับเด็กๆ ถ้าเราถามว่า Family Attachment กับลูกเราควรสร้างเมื่อไหร่ คือลูกเกิดมาเมื่อไหร่พยายามทำตัวเองให้เป็นคุณพ่อคุณแม่ที่มีอยู่จริง เรากำลังพูดถึงความสัมพันธ์ที่พอเราเริ่มเป็นครอบครัวสามีภรรยา ภรรยาคุณก็ต้องมีอยู่จริง ภรรยาก็ต้องมีสามีที่มีอยู่จริง

พ่อแม่มีอยู่จริง

คำว่า มีอยู่จริงหมายความว่าอะไร มีอยู่จริงหมายความว่า มีอยู่แม้ไม่เห็นด้วยสายตา แม้ว่ามือสัมผัสไม่ได้แต่มีอยู่ นั้นแปลว่าไม่เห็นภรรยาอยู่ในสายตาแต่มีภรรยาอยู่ ความเกรงใจเกิดขึ้น ไม่มีสามีมาด้วยแต่สามีก็ยังอยู่กับเราการวางตัวพฤติกรรมของเราจะเป็นไปตามนั้น ไม่มีคำว่าแอบทำ ไม่มีคำว่าโกหก แต่อย่างไรก็ตามคำว่ามันมีอยู่จริง ยังเกี่ยวข้องกับถ้าเรารู้สึกว่าสามีเรามีอยู่จริงมันไม่ได้อยู่ที่ว่าแต่งงานแล้วเท่ากับสามีมีอยู่จริง หรือแต่งงานเท่ากับภรรยามีอยู่จริง มันอยู่ที่ภรรยาเราหรือสามีเราทำตัวอย่างไรด้วยให้มีอยู่จริง

เพราะฉะนั้นก็กลับมาที่ตัวเราพอเราเริ่มแต่งงานกันแล้วตัวเราเองก็ต้องเป็นภรรยาที่มีอยู่จริง ภรรยาหรือสามีที่มีอยู่จริงคือสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจของคู่เราได้

คำว่าความต้องการพื้นฐานทางจิตใจร่างกายเรารู้เรื่องของอาหาร ยารักษาโรค การนอนหลับพักผ่อน แต่ทางจิตใจมันคือความรัก ความปลอดภัยทางอารมณ์ ถ้าเกิดเรานอกใจกันสามีเรามีอยู่จริงไหมหรือเป็นของคนอื่นด้วย หรือในยามที่เราต้องการความช่วยเหลือสามีเราอยู่ไหมถ้าเกิดสามีเราอยู่เราก็จะรู้สึกว่าสามีเรามีอยู่จริง

เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกมั่นคงในความรัก มั่นคงว่าสามีเรามีอยู่จริงเราไปไหนทำอะไรก็ได้สบายใจ สามีเราก็เช่นกันถ้าเราเป็นภรรยาที่มีอยู่จริงคอย Support ทางจิตใจ กลับมาถึงหิวไหม เหนื่อยไหม หรือกลับมาถึง ไปไหนมา จริงหรือเปล่า เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ฝึกไปเลยแม้ว่าเราจะรู้สึกว่ากลับมาบ้านแล้วฉันก็ทำงานบ้านเหนื่อยนะแต่กลับมาเขาต้องมาเอาใจฉันสิ ไม่ใช่นะต้องเอาใจซึ่งกันและกันเป็นเรื่องของกันและกัน

มาที่การเลี้ยงลูก วิธีเดียวกัน ก็คือถ้าเป็นลูกเรื่องของคำว่า “มีอยู่จริง” หมายความว่าตอบสนองความต้องการพื้นฐานได้ต่อเนื่องไม่ใช่ทำแค่วันนี้พรุ่งนี้ไม่ทำ ต้องทำจนถูกฝังไปเลยว่าถ้าอยากได้อันนี้เรียกหาพ่ออยากได้อันนี้เรียกหาแม่ นี่คือเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หากว่าเราเจอที่บอกว่าลูกฉลาดพออยากได้อันนี้แล้วต้องเรียกหาใคร ใช่เลยค่ะลูกเราฉลาด แต่ที่มากไปกว่านั้นคือเขามีพ่อมีแม่หรือใครก็ตามที่มีอยู่จริง

ครูหม่อมจะยกตัวอย่างเช่นที่บ้านคุณแม่ของครูซึ่งเป็นทั้งคุณยายคุณย่าด้วยสำหรับหลานๆ จะเป็นคนเดียวในบ้านเลยที่ทำกับข้าวแจกทุกคนในครอบครัว ครอบครัวครูเป็นครอบครัวใหญ่ เวลาที่หลานหิวเขาไม่ได้วิ่งหาพ่อแม่เขาเพราะย่าเขามีอยู่จริงวิ่งไปหาย่าได้กิน แล้วฉลาดแม้กระทั่งหยิบอะไรผิดไปหาย่าดีกว่า เช่น สมมุติเราบอกว่าทอดไข่ดาวให้กินง่ายๆ ถ้าเราหยิบไข่ก่อนกระทะ เขาจะไม่เอาหาย่าดีกว่า ทำไมละ ถ้าเป็นย่าย่าจะตั้งกระทะร้อนก่อน

นั่นคือความหมายที่ครูหม่อมบอกว่าความสม่ำเสมอที่เค้าเห็น พ่อแม่ก็ต้องทำแบบนี้ปฏิบัติกับลูกแบบนี้ เคยทำอะไรให้ได้ลูกจะเกิดภาพจำว่าเราทำแบบนี้ให้มันก็จะเป็นความผูกพัน หรือความสัมพันธ์ที่เราเรียกว่า Attachment

ที่ครูหม่อมบอก ฐานที่มั่นทางใจ เวลาที่เราอยากกินข้าวแล้วเรามีย่าความมั่นคงทางจิตใจเกิด แต่ถ้าเกิดเราหิวข้าวแล้วมองไปใครจะทำให้ ทำเองก็อาจจะทำได้แต่จะเหงาหน่อย เพราะฉะนั้นเรื่องของการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจเป็นฐานรากของเรื่องความผูกพันทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองมีอยู่จริงให้กับคนที่อยู่ข้างๆ เราหันมาเมื่อไหร่ไม่ว่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งคนที่อยู่ข้างๆ เราจะต้องรู้ให้ได้ว่ามีเราอยู่ไม่สามารถช่วยเหลือได้แต่ช่วยปลอบใจได้หรือเราอาจจะทำอะไรที่เขาชินว่าต้องเป็นเรามันก็เป็นการสร้างฐานที่มั่นทางใจให้

วิธีการสร้างพ่อแม่มีอยู่จริง

1.ตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจ

ถ้าเป็นเด็กเล็กแบเบาะเลยก็คือร้องไห้ก็ไปหา หิวก็ต้องเจอ เหงาก็ต้องมากลัวกังวลอะไรก็คืออยู่ตรงนั้น สำหรับเด็กเล็กเลยหรือตัวพวกเราเองสิ่งหนึ่งที่ทำได้ง่ายเลยคือเรื่องของสัมผัส สายตาท่าทาง สัมผัส น้ำเสียง เป็นอวัจนภาษาซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของสมอง

เราอาจจะเคยได้ยิน ซ้ายภาษา ขวาอารมณ์ เป็นเรื่องของการรับข้อมูลถ้าเราใช้ภาษาพูดสิ่งที่เขาจะถูกประมวลคือสมองซีกซ้ายจะเริ่มประมวลเราพูดอะไรหมายความว่าอะไร แต่ก่อนซีกซ้ายจะไปประมวลว่ากำลังพูดอะไร แปลว่าอะไร น้ำเสียงของเรา ท่าทางของเราถูกแปลโดยเร็วจากซีกขวาก่อนแล้ว

เพราะฉะนั้นถ้าเราพูดว่า อะไรนะคะ อะไร คือซีกขวาจะเร็วมากในการรับอารมณ์เข้าไป เด็กเล็กสัมผัสเหมือนกันแต่ถ้าสัมผัสนั้นมาพร้อมความอบอุ่น สัมผัสอบอุ่นคิดว่าไม่ต้องต้องอธิบายเยอะคุณพ่อคุณแม่น่าจะรู้ สัมผัสที่นุ่มนวล อบอุ่น อ่อนโยน แม้ว่าไม่พูดอะไรก็ไปถึงกอดกันก็พอ

เพราะฉะนั้นในเรื่องของน้ำเสียง ท่าทาง สัมผัส สายตาต้องไปพร้อมคำพูดที่ดีๆ ด้วยเวลาที่เราเดินมาหาลูก โอ๋ลูกปลอบลูกใช้ท่าทางน้ำเสียงสัมผัสที่นุ่มนวลอ่อนโยนก็จะฝังตรึงตาเอาไว้กับลูก ต่อให้คุณพ่อคุณแม่ประชุมลูกแค่งอแงหรือต้องการความสนใจเราแค่เอื้อมมือไปสัมผัสเดิมๆ ตบเบาๆ ก็สื่อสารกับลูกได้แล้วแม้ไม่ต้องพูดเรียกว่าขั้นเบสิก ขั้น

2.การร่วมทุกข์ร่วมสุข

ต่อมาพอลูกเราโตสัก 2-3 ขวบ พอลูกเราเริ่มโตขึ้นเราไม่ได้พาเขาไปวางตรงไหนเขาก็อยู่ตรงนั้นเวลาที่ลูกเดินได้เวลาที่ลูกพูดได้ สังเกตได้ว่าเวลาลูกพูดอะไรกับเดินไปไหนมักสวนทางกับเราตรงนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขา เขาเดินไปเจอปัญหาอะไร หรือมีปัญหาอะไรที่เกิดความคับข้องใจ

อยากให้คุณพ่อคุณแม่อย่าปล่อย ห้ามเด็ดขาด ไม่ปล่อยให้ลูกอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งคนเดียวนานๆ อยากให้เข้าไปร่วมทุกข์ร่วมสุขกับลูกด้วย อย่างเช่นถ้าลูกเล่นเกมมือถือ สนุก อยู่คนเดียวได้ แต่อยู่นานไปกำลังอยู่ด้วยความสุขกับมือถือนานแปลว่าเขากำลังสร้างความสัมพันธ์ตัวเองกับมือถือเขาก็จะไม่ติดพ่อแม่ก็จะติดมือถือ

ฉะนั้นพยายามเข้าไปร่วมสุขกับเขาด้วยเล่นมือถือเมื่อไหร่ เห็นเขาสนุกนานเกินไปพาตัวเองเขาไปมีความสุขกับลูกอย่าให้ลูกมีความสุขอยู่คนเดียวนานไป ถ้าลูกมีอารมณ์ที่ Negative เชิงลบ เสียใจ โกรธ โมโห กังวล อย่าให้เขาอยู่กับอารมณ์นั้นนานเข้าไปอยู่กับเขาด้วยไปร่วมสุขร่วมทุกข์กับเขา ความมั่นคงทางจิตใจหรือฐานที่มั่นทางใจจะเกิด สุดท้ายเป็นผู้ประคองก็คือคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องประคองอารมณ์ตัวเอง

เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่มีเวลาน้อย

ในหนึ่งวันเรามี 24 ชั่วโมง เราทำงานกี่ชั่วโมง 8-10 ชั่วโมง มีเวลากับลูกได้กี่ชั่วโมง กลับมาที่เคล็ดลับของเราอยากเป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริงจะมีเวลาเท่าไหร่ก็ตามขอให้เวลานั้นเป็นเวลาที่ลูกมองหาเจอ เช่น เราจะมีเวลากับลูก 5-10 นาทีก็ได้แต่มันต้องเกิดขึ้นสม่ำเสมอทุกๆ วันจนลูกรู้ว่าช่วงเวลานี้ 10 นาที ฉันต้องได้พ่อมาเป็นของฉัน ฉันต้องได้แม่มาเป็นของฉัน

หากทำได้เราก็เป็นฐานที่มั่นทางใจให้กับลูกได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกถามแล้วเราก็บอกว่าทำงานอยู่ไม่ได้เลยแม้แต่นาทีเดียวลูกก็จะไม่มีฐานที่มั่นทางใจ ก็จะเกิดลูกเผื่อฟลุคขึ้นมาก็คือจะคอยกวนเราอยู่อย่างนี้ เผื่อฟลุคพ่อแม่ตัดความรำคาญแล้วก็มาเล่นกับเรา หรือแม้แต่แม่หยุดดุเราแล้วได้รับความสนใจจากพ่อแม่ก็เอา นี่ก็เป็นเรื่องเศร้าเป็นฐานที่มั่นทางใจแบบเศร้าๆ แต่ถ้าเราบอกว่าเรามีเวลาและเราใช้การสื่อสาร เราให้เขารอแบบมีเป้าหมายแปลว่าเขารอได้ แม้จะรอไม่ได้แต่อย่างน้อยมีที่ยึดเหนี่ยวว่าเดี๋ยวได้เจอ

วิธีการก็คือเราอาจจะนัดกับลูกไปเลยทุกก่อนนอนอาจจะไม่ใช่เป็นเวลาที่กำหนด 2-3 ทุ่ม ก่อนนอนจะเป็นพ่อหรือแม่ที่พาหนูเข้านอนแล้วจะมีเวลาคุณภาพด้วยกัน บ้านครูหม่อมจะมีข้าวเย็นเป็นเวลาคุณภาพ คือทุกคนจะไปเรียน ไปทำงาน ไปไหน ทุกคนก็ไปพอถึงเวลา 18.30 น. ทุกคนพร้อมเพียงกันที่โต๊ะอาหาร มันทำให้เราติดจนโตขึ้นมา เวลาเพื่อชวนกินข้าวข้างนอกครูหม่อมจะนัดหลัง 2 ทุ่ม เจอกัน คือต้องกินข้าวกับที่บ้านก่อนใจไม่ได้จริงๆ เพราะมันชิน มันต้องอยู่ที่ฐานนี้

แต่สิ่งหนึ่งที่มากไปกว่านั้นก็คือว่าเรารู้เลยเวลาที่เราไปโรงเรียน หรือไปทำงานไปเจออะไรก็ตาม ไม่เป็นไรครูหม่อมจะรอให้ 18.30 น. เราจะเล่าให้ที่บ้านฟังคือมีฐานที่มั่นทางใจ

การที่เด็กคนหนึ่งกำลังอยู่ในความทุกข์หรือความรู้สึกในเชิงลบแต่สามารถเก็บแล้วรู้ว่าจะสามารถไประบายได้เมื่อไหร่ นี่คือทักษะอารมณ์ เหมือนกับว่าฐานที่มั่นทางใจจะทำให้คนเราเกิดความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่เก็บกด ไม่ก้าวร้าว มีทางออก พอถึงช่วงวัยรุ่นถ้าเราสร้างฐานที่มั่นที่แข็งแรง เหมือนที่ครูหม่อมเคยบอกว่าทักษะ EF มันคือ 6 ปีแรก ถ้าเขายึดฐานที่มั่นนี้ไว้แล้วเขาโตไปไปเจออะไรเขาก็จะกลับมาฐานที่มั่นของเราได้เป็นฐานที่มั่นที่มีคุณภาพ

แล้วการสร้าง Family Attachment ไม่มีคำว่าไม่ทัน ครูหม่อมให้กำลังใจและคอนเฟิร์มด้วย สิ่งที่จะมีคือเราต้องฝืนตัวเองมากขึ้นเท่านั้นเอง แต่แพทเทิร์นเหมือนเดิมคือไปเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่มีอยู่จริง แล้วเมื่อไหร่ที่เราทำฐานที่มั่นนี้ที่มีอยู่จริงขึ้นมาแล้วความผูกพันมันจะถูกรีเซทใหม่จากที่ไม่ไว้ใจก็กลายเป็นไว้ใจ แล้วเมื่อไหร่ที่คนเราสามารถไว้ใจใครได้มันไม่ใช่แค่คนนั้นที่มีอยู่จริงมันคือตัวเราที่เรารู้สึกว่าเราสำคัญ เรามีอยู่จริงเราถึงมีคนที่เรารู้สึกมั่นคงปลอดภัยไว้ใจได้

ท้ายที่สุดเลยที่เรานั่งคุยกันตรงนี้มันคือการมองย้อนกลับมา แน่นอนเราอยากให้ลูกเรามีฐานที่มั่นทางใจแต่วันนี้เราสร้างฐานของเราอย่างไร ถ้าลูกมองหันหลังกลับมาที่ฐานเป็นความไม่ไว้ใจเป็นความระแวงความไม่มั่นคงปลอดภัยเป็นสิ่งที่พ่อแม่บ่น เป็นสิ่งที่พ่อแม่คอยต่อว่าตำหนิ สั่ง ตัดสิน ตีตรา ฐานนี้ไม่น่ากลับ กลับไปเจอระเบิด ไปตายเอาดาบหน้าดีกว่า

แต่ถ้ารู้ว่ากลับมาที่ฐานนี้แล้วมีกินมีใช้ ไปร่อแร่อยู่ข้างนอกแต่กลับมาจะได้สมานแผลใจ เดี๋ยวจะได้มีคนมาปลอบใจถ้าคุณพ่อคุณแม่ปลอบใจลูกได้ ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับลูกได้อย่างไรลูกก็กลับมา หากว่าเลยไปแล้วแสดงว่าฐานเราไม่เหลืออะไร

เพราะฉะนั้นเราค่อยๆ ระดมกำลังใจอีกทีหนึ่งอาจจะต้องใช้เวลาเพราะว่าลูกเขาอาจจะตีตราเราไปแล้วว่าฐานนี้มันไม่มี แต่ถ้าเราค่อยทำให้เห็นว่าฐานนี้มี กำลังสนับสนุนเยอะอย่างไรเขาก็ต้องกลับมานี่คือธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้วเราจะไม่ไปที่แห้งแล้ง

ขอทิ้งท้ายคำนี้เลย เราจะไม่ไปที่แห้งแล้ง คำว่า Family Attachment ฐานที่มั่นทางใจฐานที่มั่นที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าเราจะเหือดแห้งมาจากข้างนอก ถูกข้าศึกโจมตีมาอย่างไรลูกก็จะอยากจะกลับมาฐานที่มั่นทางใจ

พบกับ รายการ รักลูก The Expert Talk ทุกวันพฤหัสบดีที่ 1 2 และ 3 ของเดือน

ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk 

Apple Podcast:   https://apple.co/3m15ytB

Spotify:   https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:   https://bit.ly/3cxn31u

www.rakluke.com/community-of-the-experts.html

  

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

รักลูก The Expert Talk Ep.48 (Rerun): เลี้ยงลูกสไตล์หมอเดว "มหัศจรรย์แห่งการฟัง"

 

รักลูก The Expert Talk EP.48 (Rerun): เลี้ยงลูกสไตล์หมอเดว "มหัศจรรย์แห่งการฟัง"

 เปลี่ยนจาก “พูด” “บ่น” “สอน” มาเป็นการ “ฟัง” ลูก จะช่วยลดความพังในบ้าน ผ่อนคลายความเครียดและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้

บางบ้านหาคนฟังไม่เจอ ต่างฝ่ายต่างพูด ปากเปียกปากแฉะลูกก็ยังเป็นเหมือนเดิม ลองใช้มหัศจรรย์แห่งการฟัง แค่เริ่มต้น “ฟัง” แล้วทุกอย่างจะเปลี่ยน โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

ชวนคุณพ่อคุณแม่ มาสร้างมหัศจรรย์แห่งการฟัง เพราะทุกวันนี้ที่เกิดปัญหา จริงๆ แล้วเกิดจากการที่เราไม่ฟังในปัญหาต่างๆ การสื่อสารสร้างสายสัมพันธ์ในบ้าน

การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารซึ่งกันและกัน

การสื่อสารมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ

1.ภาษาที่เราพูดออกไป  2.การฟัง และอีกอันคือ 3.อวัจนภาษา คือ ไม่พูดออกมาแต่ดูจากท่าทางก็รู้ว่าเป็นมิตรหรือไม่เป็นมิตร สื่อสารออกมาด้วยท่าทาง ฉะนั้นการฟังถือเป็นเรื่องของการสื่อสาร การสื่อสารพลังบวกถือว่ามีความหมายมาก

การสื่อสารที่ดีต่อกันก็จะช่วยให้มิตรภาพหรือสัมพันธภาพยิ่งดี แต่ถ้าการสื่อสารไม่ดีก็จะกลายเป็นปัญหาขึ้นมาได้ด้วย แม้กระทั่งการฟังเองก็มี 3 แบบ

ระดับแรก คือฟังอย่างเดียว แต่ทุกวันนี้คือพูดอย่างเดียว ยิ่งคนเป็นแม่ บ่นมากกว่าฟัง บางบ้านหาคนฟังไม่เจอ มีแต่ต่างฝ่ายต่างพูดกันเต็มไปหมด ปากเปียกปากแฉะ เป็นประโยคที่พ่อแม่ใช้ประจำเลยว่า พูดปากเปียกปากแฉะก็ยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม

ระดับที่สอง คือฟังแล้วสะท้อนความรู้สึกที่ทำให้คนเล่าอยากเล่าต่อ

ระดับที่สาม คือฟังแล้วเหลาความคิดฟังสองระดับแรกไม่ต้องฝึก ถ้าตั้งใจจริงๆ ทำได้ ไม่ต้องไปเข้าค่ายฝึกการฟัง เพราะฟังอยากเดียวถ้าเราตั้งใจฟังก็ทำได้ แต่หลายบ้านหาคนฟังไม่เจอ คนฟังกลายเป็นเด็กไป หมอจะเปรียบเทียบให้คนที่ฟังเราอยู่ตอนนี้

เคยไหมเวลาเช้าตื่นมา เราจะเปิดทีวีเป็นเพื่อนขณะที่เราทำกิจวัตรของเราไป แล้วเราก็ไม่ได้ฟังว่าทีวีพูดอะไร แล้วเราก็ทำกิจกรรมไปเรื่อยๆ ต่อเมื่อมีข่าวที่กระชากอารมณ์ขึ้นมา เราก็จะหันไปมองทีวีสักทีนึงว่าข่าวอะไร เป็นมั้ย เวลาพ่อแม่พูดมาก พูดเยอะแยะไปหมด แม้แต่ลูกเค้าก็จะทำคล้ายๆ เหมือนที่เราฟังทีวี คือเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา พ่อแม่พูดไปเถอะเข้าซ้ายออกขวา จนแม่ถามว่าแกไม่ฟังฉันบ้างเลยหรอ ลูกก็ถามแม่พูดอะไรหรอขออีกที สังเกตเลยว่าหัวใจแห่งการรับฟังมีความหมายมาก

หมอเคยมีเคสนึง นักจิตวิทยาป่วยเป็นภาวะซึมเศร้า เราให้ยาภาวะซึมเศร้า แต่พอผ่านไปประมาณเดือนเศษ เราติดตามผลพบว่าเขามีอาการดีขึ้น หมอก็ถามว่าคุณใช้วิธีการอะไร นักจิตวิทยาเล่าว่า เขามีหน้าที่ไปเยี่ยมบ้าน เพื่อไปให้กำลังใจ แล้วมีอยู่บ้านหนึ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย นอนเตียง หายใจรวยริน ไม่มีเรี่ยวแรง นักจิตวิทยาก็ทำทุกทางลูบแขน กายสัมผัส แล้วก็พยายามคุย เนื่องจากผู้ป่วยเองก็ไม่มีแรงจะโต้ตอบอะไรทั้งสิ้น

นักจิตวิทยาก็เล่าทุกอย่างจนไม่รู้จะเล่าอะไรแล้ว ก็เลยเริ่มเล่าเรื่องส่วนตัวให้กับผู้ป่วยมะเร็งฟัง แล้วสบายใจในการเล่า เพราะอะไรรู้มั้ย เพราะผู้ป่วยไม่มีแรงโต้ตอบ ฟังอย่างเดียวจริงๆ นักจิตวิทยาสบายใจอีกขั้น คือเค้ามั่นใจว่าผู้ป่วยจะไม่ไปซุบซิบนินทา และจะไม่เอาความลับเค้าไปเปิดเผย ก็เลยเล่า นักจิตวิทยาของผมดีวันดีคืนครับ จนในที่สุดหายป่วยแต่คนไข้ตาย รู้มั้ยใครเป็นคนรักษา ไม่ใช่ยานะครับ มหัศจรรย์แห่งการฟัง เห็นไหมว่าการฟังอย่างเดียวเยี่ยวยานักจิตวิทยาให้หายป่วยจากภาวะซึมเศร้าได้

ฟังให้เป็น

วันนี้กลับไปถามคุณพ่อคุณแม่ที่ฟังเราอยู่ตกลงวันๆ เราฟังเสียงหัวใจลูกไหม และเสียงของเด็กมีความหมายมาก ฟังลูก แค่เปิดใจรับฟังอย่างไม่ต้องติเตียน ฟังอย่างเดียว ฟังอย่างมีสติ ไม่ใช่แม่ทำกับข้าวไป ลูกมาสะกิด หนูทำผลงาน.......เออรู้แล้วแม่ทำกับข้าวอยู่ อย่างนี้ไม่เรียกว่าฟังในระดับแรกอย่างที่คุณหมอบอก เพราะการฟังในระดับแรกคือการฟังอย่างมีสติ ถ้าไม่พร้อมก็บอกลูกเลยว่าแม่กำลังทำกับข้าวอยู่ เดี๋ยวแม่เสร็จแล้วจะไปนั่งฟังลูกเลย ถ้าส่งสัญญาณแบบนี้ปุ๊ป แสดงว่าเรากำลังใช้ประเด็นแรก คือการฟังอย่างมีสติ แล้วฟังในระดับนี้ไม่ต้องพูดเลย ฟังอย่างเดียว

ผมยังมีคนไข้อีกหนึ่งนะ เด็กคนนี้อยู่ชั้น ม.1 แล้วสอบเข้าติดโรงเรียน ด้วยความที่เป็นเด็กผู้ชายอยากเล่นฟุตบอลมาก แล้วเขาก็ไปเตะฟุตบอล แต่เนื่องจากเพื่อนของเขาหายไปไหนไม่รู้ สรุปคือเพื่อนๆ ไปสูบบุหรี่ในห้องน้ำ แต่เด็กคนนี้ไม่ได้สูบนะ แค่อยากรู้ว่าไปไหนกัน

แต่คงเป็นคราวเคราะห์ที่ครูฝ่ายปกครองมาเจอแล้วก็รวบทั้งหมดเรียกผู้ปกครองพบรวมทั้งผู้ปกครองของเด็กคนนี้ด้วย เด็กคนนี้ก็พยายามสะท้อนว่าไม่ได้ยุ่งอะไรกับพวกนี้เลย แต่ผู้ปกครองถูกทำทัณฑ์บน แล้วครูก็ย้ำกับผู้ปกครองว่าทุกครั้งที่เจอลูก ใ้ห้ถามว่ายังคบกับเพื่อนกลุ่มเดิมอยู่ไหม ยังสูบบุหรี่อยู่หรือเปล่าทำนองนี้

ซึ่งคุณพ่อท่านนี้ทำหน้าที่ได้อย่างซื่อสัตย์มาก ก็ถามแบบนี้ทุกครั้งที่เจอหน้า ปรากฏว่าทำไปทำมาเด็กเริ่มจิตตกแล้วก็เป็นเหตุให้มาพบหมอ วันที่มาพบหมอ หมอก็ถามคุณพ่อ ว่าคุณพ่อมีเรื่องอะไรที่ไม่สบายใจ ในครอบครัวเป็นยังไงบ้างสัมพันธภาพระหว่างภรรยาเป็นยังไงบ้างพ่อก็ตอบว่า ดีไม่มีปัญหาเลย ทุกอย่างดีหมด มีเรื่องเดียวผมกลัวลูกจะติดยา แล้วหมอก็ถามว่าพ่อใช้เทคนิคอะไรถึงไม่มีปัญหาอะไรกับภรรยาเลย เขาตอบว่าผมก็ทำหน้าที่เป็นผู้ฟังอย่างเดียว หมอเลยถามว่าฟังยังไง

เขาก็เล่าเวลาภรรยาผมกลับจากที่ทำงานมีเรื่องราวเยอะแยะมากมายเขาก็จะมานั่งข้างๆ ผมก็โอบไหล่ นั่งฟังอย่างเดียว มีบ้างที่บางครั้งผมโอบไหล่และตบไปเบาๆ แล้วบอกเอาน่า เดี๋ยวเวลาผ่านไปมันจะดีเอง แล้วหมอก็ถามต่อว่าผลลัพธ์เป็นยังไง ภรรยาก็เล่าเรื่องต่างๆ เสร็จเรียบร้อย ก็เดินผิวปากสบายใจ แล้วแกก็ไปทำงานต่อ

เห็นอะไรไหมครับ หมอเลยถามคุณพ่อว่า คุณพ่อครับแล้วแบบนี้เคยทำกับลูกบ้างมั้ย คุณพ่อนิ่งเงียบเลย ไม่เคยเลย ในการที่จะนั่งลงแล้วถามว่าลูกมีเรื่องอะไรที่ไม่สบายใจ หรือมีเรื่องอะไรดีๆ มาเล่าสู่กันฟังบ้าง และทำหน้าที่ในการฟังอย่างเดียว แถมถ้าโอบไหล่เบาๆ แล้วอาจจะบอกลูก เอาน่า เดี๋ยวเวลาผ่านไป มันจะดีขึ้นเอง

การฟัง 3ระดับ

เพราะฉะนั้น ฟังในระดับที่หนึ่งคือฟังอย่างมีสติ ฟังอย่างเดียวเลย ไม่ต้องสะท้อนความรู้สึก ฟังอย่างเดียวจริงๆ ถ้าท่านทำอะไรไม่ได้ ฟังอย่างเดียวเยียวยาไปแล้วครึ่งหนึ่งแล้ว ถ้าอยากจะเติมเพิ่มสะท้อนความรู้สึกที่ดี ที่คนเล่าอยากเล่าต่อ

หมอยกตัวอย่าง เช่น ตั้ม สมัยแม่เป็นวัยรุ่นคิดเหมือนตั้มเลย ไหนลองเล่าต่อสิเกิดอะไรขึ้น อันนี้ตั้มอยากเล่ามั้ย? เอาใหม่เปลี่ยนใหม่แทนที่จะสะท้อนความรู้สึกที่ดี สมองมีแค่นี้หรอ คิดได้แค่นี้หรอ หมอไม่คิดว่าคนๆ นั้นจะเล่าต่อ

ฟังในระดับที่สองสะท้อนความรู้สึกจริงๆ พ่อแม่ทุกคนก็ทำได้ แต่โจทย์อยากคือมันสะกดอารมณ์ตัวเองไม่อยู่ คือเราก็จะรู้สึกว่าทำไมลูกไม่ดีดั่งใจอาจจะมีความรู้สึกแบบนั้น เลยทำให้มันปนเปกับความรู้สึกแล้วก็สะท้อนออกความรู้สึก แทนที่จะสะท้อนแบบดีออกมา ดีที่ลูกเล่า ก็กลายเป็นออกมากระบุงโกรธ

แต่ฟังในระดับสามอันนี้ต้องฝึกจริงๆ คือการใช้คำถามปลายเปิด ลูกรู้สึกยังไง ลูกคิดเห็นยังไง ถ้าเป็นลูกจะแก้ปัญหายังไง พวกนี้ต้องฝึก ซึ่งอันนี้เป็นมหัศจรรย์แห่งการฟัง สิ่งที่หมออยากฝากพ่อเลยคือว่า เราจะได้หัวใจของลูกกลับคืนมาทันทีที่เราใช้มหัศจรรย์แห่งการฟัง ฟังอย่างเดียว

วันนี้คุณพ่อคุณแม่ลองเปลี่ยนบุคลิกเลย เปลี่ยนจากวิธีการที่พูดปากเปียกปากแฉะ พูดแบบที่ท่านบอกปากจะฉีกถึงรูหู เปลี่ยนใหม่เป็นวันนี้ฟัง ลองดูถ้าเปลี่ยนทันทีคนแรกที่รู้สึกทันทีเลยคือลูก วันนี้แม่เปลี่ยนไป แม่ไม่เหมือนเดิม แล้วยิ่งถ้าเขาเล่าอะไรออกมา อย่าเพิ่งไปวิพากษ์วิจารณ์ ถ้าอยากจะพูอะไรออกไปก็ใช้เทคนิคเหมือนคุณพ่อคนนี้ที่เค้าโอบไหล่เบาๆ เอาน่าเดี๋ยวเวลาผ่านไปจะดีขึ้นเอง

แต่หากต้องการเหลาความคิด คำถามปลายเปิดแบบที่หมอฝากไว้ ก็คือความรู้สึก เช่น ลูกรู้สึกอย่างไร เหตุการณ์ที่เล่ามาทั้งหมดตอนนี้ แม่รู้ว่าลูกเสียใจ แม่รู้ว่าลูกโกรธ อันนี้เป็นการสะท้อนความรู้สึกเพื่อให้เค้าจับอารมณ์เค้าได้ว่าเรื่องราวที่เล่ามาแบบนี้ แม่จับความได้แล้วละว่าลูกคงรู้สึกโกรธมากใช่มั้ย พอจะบอกได้มั้ยว่าอารมณ์โกรธเกิดจากอะไร แล้วถ้าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้จะจัดการอย่างไร อันนี้คือวิธีการในการเหลาความคิด

ซึ่งถ้าเราเชฟแบบนี้ไปเรื่อยๆ ต่อไปเค้าจะเป็นเจ้าของความคิด เจ้าของวิธีการจัดการโดยที่พ่อแม่เองจะทำหน้าที่รังสรรค์ค่อยๆ เหลาเค้าไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเค้าสามารถไปในทิศทางที่บวกได้

ประสบการณ์สไตล์หมอเดว

เทคนิคในลักษณะแบบนี้หมอเคยใช้บ่อย โดยเฉพาะตัวหมอเองตอนที่ประพฤติปฏิบัติตลอดก็คือ ครั้งหนึ่งที่ลูกสาวเคยเล่าให้ฟัง ตอนเขาเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลายคุณครูถามวิธีการจัดการความเครียดของนักเรียนแต่ละคน แต่ละคนก็จะตอบ ไปร้องเพลง ไปดูหนัง ฟังเพลง ไปเที่ยว แต่ลูกสาวตอบว่า หนูเดินเล่นกับพ่อหายเครียด ทำไมกลายเป็นอย่างนั้นละ ก็เมื่อไหร่ก็ตามที่พ่อนั่งอยู่ริมสระเป็นเวลาที่เรียกว่าเรามอบให้แล้วว่าจะเป็นผู้ฟัง แล้วก็ไม่ไปวิพากษ์วิจารณ์เราก็นั่งฟัง

วิธีการก็คือเหลาความคิด ลูกเราจะแก้ปัญหายังไงดี แล้วถ้าเป็นแบบนี้เราจะทำยังไง การโยนคำถามให้ เวลาเราโยนคำถามให้แล้วเห็นความคิดของเค้าออกมา

หมอจะยกตัวอย่างหนึ่ง คือตอนซีรส์ เรื่องฮอร์โมนวัยว้าวุ่นกลายเป็นประเด็น หมอไม่ดูเรื่องเหล่านี้นะ ก็ถามลูกสาวได้ดูไหม เขาก็บอกว่าดูทุกตอน หมอเลยให้เขาช่วยวิเคราะห์ให้พ่อหน่อยว่าดูแต่ละตอนแล้วรู้สึกอย่างไร เค้าก็สะท้อนเลยว่า เจ้าวินเป็นยังไง สไปรท์เป็นยังไง แล้วคนดูจะได้อะไร

เวลาเราฟังลูกของเราเองวิเคราะห์หนังในลักษณะนี้มันทำให้เรารู้ทันนี้ว่าลูกดูหนังอย่างคิดเป็น และเขาสามารถวิเคราะห์ได้ และบทวิเคราะห์ของเค้าก็เป็นส่วนหนึ่งตอนที่หมอเข้าไปดูจริงๆ ปรากฏก็เป็นแบบนั้นจริงๆ แล้วตอนที่มีคนมาขอข้อวิพากษ์วิจารณ์ของหมอในเรื่องนี้ ส่วนที่หมอวิพากษ์วิจารณ์ไป ต้องบอกเลยว่าเคารพความคิดเห็นของลูก ที่หมอเอามาใช้

เราสบายใจอย่างหนึ่งว่าเวลาเขาบริโภคสื่อในลักษณะนี้จะด้วยความบังเอิญหรืออะไรก็แล้วแต่ หรือจะเป็นช่วงวัยของความเป็นวัยรุ่นแล้วมีบางเรื่องที่เขาอยากรู้ หรือพอดูแล้วมันมีเนื้อหาบางเรื่องมันดูแล้วอาจจะไม่เหมาะ แต่ถ้าถูกฝึกให้เหลาความคิดไปด้วย นสื่อที่ไม่เหมาะมันจะกลายเป็นสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเขาเองได้ เป็นจุดหนึ่งที่สบายใจได้มากขึ้น

หมอจึงอยากฝากพ่อแม่ว่าหัวใจสำคัญที่สุดเราต้องรู้จักในการที่จะเป็นผู้ฟัง ช่วยลองเปลี่ยนแปลงตัวเองสักหน่อย เปลี่ยนจากที่เราพูดมาทุกวัน อย่าให้ลูกปฏิบัติกับเราเหมือนเป็นทีวีเครื่องหนึ่งที่กำลังพูดอะไรออกมาเยอะแยะ พอถึงเวลากลายเป็นว่าลูกเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา พอถึงเวลาเราถาม แกไม่ได้ยินฉันหรอ แม่พูดอะไรนะขออีกที อย่าให้เป็นลักษณะนั้นเลย

จงใช้มหัศจรรย์แห่งการฟัง มาเป็นตัวเปลี่ยนแล้วมันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ อะไรก็ตามที่เราคิดว่าทำยาก เริ่มต้น แล้วเราเริ่มต้นจากการเป็นผู้ฟังก่อน ฟังอย่างเดียว หมอเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าจะเอาให้เก่งขึ้นไปอีก ฟังแล้วสะท้อนความรู้สึกที่ดี ถ้าให้สุดยอดเลยคือฟังแล้วเหลาความคิดไปด้วย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.56 : Toxic Parents? คลี่คลายก่อนกลายเป็น (พ่อแม่) เป็นพิษ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.56 : Toxic Parents? คลี่คลายก่อนกลายเป็น (พ่อแม่) เป็นพิษ

 

หาทางออก คลี่คลายตัวเองจากการการเป็นพ่อแม่เป็นพิษ เข้าใจความต้องการ สื่อสารความคาดหวังและรับมือจัดการด้วยวิธีการเชิงบวก เพื่อลดความเป็นพิษในตัวพ่อแม่ลง

 

ฟังวิธีการโดย The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิด

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.57 : พ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

 

รักลูก The Expert Talk Ep.57 : พ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

 

คลี่คลายความเครียดเป็นพิษ Toxic Stress ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดทุกด้าน ด้วยการเป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง จะเป็นได้อย่างไร

 

ฟังวิธีการจาก The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.65 : เปลี่ยน “วัยทอง” เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

 รักลูก The Expert Talk Ep.65 : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

ช่วงวัยทองของเด็ก คือช่วงเวลาทองของชีวิตเด็ก เขาจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ก็อยู่ที่ช่วงเวลานี้ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่พ่อแม่ต้องรับมือและมองวัยทองในมุมมองใหม่ เพื่อให้เป็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ดีของลูก

ฟังมุมมองการรับมือวัยทองแต่ละช่วงวัยจากครูก้าได้ใน EP นี้ รอพบกับอีกหนึ่ง EP สุดท้ายในสัปดาห์ถัดไปกับ ไม่ใช่แค่ "เรียน" แต่วัยอนุบาลต้อง “เรียนรู้” และสามารถย้อนกลับไปฟัง EP ใน Series เข้าใจ “วัยทอง” ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง ได้ในช่องทางของรักลูก Podcast

เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ ไม่อยากให้พลาดฟังเพื่อจะได้วิธีการเลี้ยงลูกวัยตั้งต้นของชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

 

รักลูก The Expert Talk EP.66 : “เรียนรู้” แบบไหนในวัยอนุบาล

 

 รักลูก The Expert Talk Ep.66 : "เรียนรู้" แบบไหนในวัยอนุบาล

พ่อแม่มักจะเหมารวมการเรียน เข้ากับการเรียนรู้ ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาแตกต่างกัน

สำหรับเด็กปฐมวัยช่วงวัยอนุบาล ควรเน้นที่การเรียนรู้ แล้วการเรียนรู้รูปแบบใดที่เหมาะสมฟัง The Expert บอกความหมายและคุณค่าของการเรียนรู้เพื่อให้เป็นรากฐานที่แข็งแรงให้กับเด็กไปตลอดชีวิต

 

ฟังย้อนหลัง Series เข้าใจ “วัยทอง” ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง เพื่อให้พ่อแม่เลี้ยงลูกช่วงทองน้องอนุบาลได้อย่างเข้าใจ และไม่ทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ได้ ในช่องทางของรักลูก Podcast เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ ไม่อยากให้พลาดฟังเพื่อจะได้วิธีการเลี้ยงลูกวัยตั้งต้นของชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

ด้วย Longex , ชีวิตเพศที่มีความอุ่นใจและเต็มไปด้วยความสุขไม่เพียงแค่ความฝัน - มันกลายเป็นความเป็นจริงทุกวัน!

รักลูก The Expert Talk EP.67 : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว “Dysfunctional Family” บทบาทหน้าที่ครอบครัวบกพร่อง

 

รักลูก The Expert Talk Ep.67 : Dysfunctional Family บทบาทหน้าที่ครอบครัวบกพร่อง?

เลี้ยงลูกแบบหมอเดว พบกัน 4 EP ต่อเนื่อง เริ่มต้น EP67 คุณหมอเดวชวนมองภาพกว้างครอบครัวไทยในปัจจุบัน โครงสร้างที่เปลี่ยนไปส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

ครอบครัว 3 แบบที่คุณหมอชี้ให้เห็นภาพ : ครอบครัวใช้อำนาจในการเลี้ยงลูก ครอบครัวปล่อยปละละเลย และครอบครัวหัวใจประชาธิปไตย พร้อมวิธีการเป็นครอบครัวที่ไร้ปัญหาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทำได้อย่างไร และใน EP ถัดไปฟัง 9 รูปแบบในการเลี้ยงลูกที่ทำให้เกิดปัญหา

 

ฟัง The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

ปัญหาสภาพครอบครัวไทย

ครอบครัวไทยตอนนี้มี20ล้านครอบครัว ในจำนวนนี้มีประเด็นใหม่ๆเกิดขึ้น 2หมวดใหญ่ๆ คือ

โครงสร้างครอบครัวมีขนาดเล็กลง TFR (Total Fatality Rate) อัตราการมีลูกของเด็กในประเทศไทยตอนนี้ค่าเฉลี่ยที่ 1.4 เดิม 1.6 คือส่วนใหญ่มีลูก 1คน ซึ่งประเทศเสียเปรียบเพราะปิรามิดของประชากรเปลี่ยนแต่เดิมผู้สูงวัยน้อยฐานวัยแรงงานเยอะ คือ 10:1 (ทำงาน 10คน ผู้สูงอายุ 1คน) เมื่อ20ปีที่แล้วลดลงมาเหลือ 5:1 ปัจจุบันเหลือ 2:1 ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านั้นหมายถึงว่าประชากรวัยแรงงานจะต้องดูผู้สูงอายุ 1:1 ต้องทำงานและดูแลผู้สูงอายุด้วย ซึ่งถ้าเป็นสภาพนี้ผู้สูงอายุจะเยอะมากคือ ประชากร 10คนจะมีอย่างน้อย 3 คนที่อายุเกิน 60ปีและหนึ่งในสามนั้นมีหนึ่งคนที่อายุเกิน 65ปี และเริ่มมีคำใหม่คือ ชมรม DINK (Double Income No Kids)แต่งงานแต่ไม่มีลูก นี่คือโครงสร้างที่มีปัญหา ดังนั้นโครงสร้างใหม่คือSmall Family คือครอบครัวพ่อแม่ลูกชุมชนก็ไม่รู้จัก ไซซ์เล็ก ครอบครัวหย่าร้างซึ่งอัตราอยู่ระหว่าง 5-10% ก็จะมีพ่อเลี้ยงเดี่ยวแม่เลี้ยงเดี่ยว มีครอบครัวแหว่งกลาง บางภาคตามหัวเมืองจะเห็นภาพที่ปู่ย่าตายายเลี้ยงหลาน พ่อแม่ทำงานในเมือง

Unicef รายงานข้อมูลว่าเด็กที่อายุน้อยกว่า 18ปี สามล้านคนที่พ่อแม่มีชีวิตแต่ไม่ได้เลี้ยง ในจำนวนนี้ 500,000คนเป็นเด็กปฐมวัย ซึ่งเรารับรู้ว่าเด็กวัยนี้พ่อแม่ต้องเลี้ยงดู นี่คือโครงสร้างของครอบครัวที่มีปัญหา ซึ่งต้องยอมรับว่ามีปัญหาเดิมและมีปัญหามากขึ้น

และอีกประเด็นคือ Dysfunction คือการทำหน้าที่ของครอบครัวบกพร่องทั้งลบและบวกมีปัญหาทั้งนั้น หน้าที่ของครอบครัวคือให้ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุข การมีความสุขคือการมีข้าวกินมีบ้านอยู่ เพราะฉะนั้นบทบาทของครอบครัวต้องดูแลร่วมกันเพื่อให้ได้ปัจจัยสี่ ขั้นพื้นฐาน และอีกปัจจัยคือ Psychological ทางด้านจิตใจ อารมณ์ เช่น สมาชิกเมื่ออยู่ในบ้านแล้วมีปฏิสัมพันธ์ มีความรู้สึกที่อบอุ่น ปลอดภัย Sense of security ถ้าเข้าบ้านแล้วมีทารุณกรรม แสดงว่าบ้านมีปัญหาหรือเข้ามาในบ้านไม่คุยกันเลย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างสังคมไม่เกี่ยวกับเรื่องหย่าร้าง แต่ฟังก์ชั่นมีปัญหานี่คือระดับทางจิตใจ

ส่วนด้านสังคมสมาชิกในครอบครัวต้องดูแลให้มีปฏิสัมพันธ์ทั้งในบ้าน นอกบ้าน ในชุมชนต้องรู้จักกัน เยี่ยมญาติพี่น้อง พบเพื่อนฝูง รู้จักการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม นี่คือลักษณะ Socialogical ถ้าดูง่ายเลยๆ Physical ปัจจัยขั้นพื้นฐาน Psychological ปัจจัยทางด้านจิตใจและอารมณ์และปัจจัยทางด้านสังคม ซึ่งถ้าบกพร่อง บ้านไม่มีให้อยู่ก็เดือดร้อนข้าวไม่มีกินนี่คือบกพร่อง แต่อีกฟากหนึ่งคือมีหลายบ้านหรืออีกบ้าน Ovefeed คือกินทิ้งกินขว้างทั้งลบและบวกจึงมีปัญหาเลยสุขภาพไม่ได้รับการดูแลก็มีปัญหา แต่ถ้าดู Over เกินไปก็มีปัญหาเหมือนกัน

Dysfunctional Family

ครอบครัวที่พ่อแม่รักลูก แต่เลี้ยงลูกแบบใช้อำนาจ

มีทั้งหมด 9ประเภทแต่ก่อนที่จะไปตรงนั้นมีประเด็นที่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูคือ ครอบครัวในประเทศไทยมีการเลี้ยงลูกคือ ใช้อำนาจในการเลี้ยงลูกพ่อแม่เป็นใหญ่เป็นกันเยอะ ไม่ได้เจตนาแต่ตัดสินใจแทนลูกทั้งหมด ทำบนฐานของความรักซึ่งมีเกิน50% ไม่ได้ทำสำรวจแต่ด้วยประสบการณ์เวลาที่เอาลูกมาปรึกษาหมอจับทางได้ว่าใช้อำนาจ คือจับทางจากประสบการณ์และความรู้ที่หมอมีมาร้อยเคสครึ่งหนึ่ง คือรักษาคนที่พามาและอีก 25% ตามไปซ่อมคนส่งมา บริวารของเด็กมีปัญหามากกว่าตัวเด็ก บางคนที่พามาได้ยาแทนคือพ่อแม่อาการหนักเกินเด็ก อำนาจมีไว้ให้กับพ่อแม่นั้นถูกต้องแต่มีไว้ให้ผ่อนลงเรื่อยๆ

ก่อนที่จะลงไปการเลี้ยงดูผิดประเภทหมออยากให้เข้าใจก่อนว่า ด้วยอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กพ่อแม่จะต้องช่วยทำให้ลูกทุกคนอยู่รอดและปลอดภัย ได้รับการเลี้ยงดู ปกป้องคุ้มครองและได้การรับการพัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วม

เมื่อลูกเป็นทารกอำนาจจึงอยู่เต็มที่พ่อแม่ในการทำให้ลูกอยู่รอดปลอดภัย ต่อเมื่อพัฒนาการเติบโตและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตรงนี้อำนาจของพ่อแม่ต้องถอย คืออายุ 2ปีแรกพ่อแม่มีอำนาจเต็ม100% แต่พอหลัง2ขวบเริ่มเดินเองได้ นั่งเล่นกับเพื่อนแม้ไม่แบ่งปันแต่ก็นั่งเล่น ช่วยเหลือตัวเองได้อำนาจของพ่อแม่ต้องค่อยๆถอยลงมา เหลือประมาณ 80% แต่พอเข้าสามขวบพ่อแม่เอาลูกไปฝากที่อนุบาลระบบนิเวศน์เปลี่ยน อำนาจของพ่อแม่จะถอยลงมาเหลือ 60 -40% พออยู่ชั้นประถม เพื่อนครู รร. เป็นบ้านหลังที่สองอำนาจของพ่อแม่จะถอยลงไปเรื่อยๆแล้วจะเหลือแค่30%ตอนเข้าสู่วัยรุ่น

ถ้าเป็นวัยรุ่นตอนกลางและเป็นเด็กโตด้วยอำนาจพ่อแม่เหลืออยู่10% แล้วพอเข้ามหาวิทยาลัยพ่อแม่เป็นติ่งห้อยอยู่อยากมาปรึกษาก็มา ไม่อยากก็อย่าเข้าไปยุ่ง แต่ปัญหาของการใช้อำนาจครอบครัวบ้านเรากลับหัวหมดเลย ตอนเด็กใช้ทีวีเลี้ยงลูกใช้พี่เลี้ยงimportมาดูแลลูกเราไม่ได้ใช้อำนาจเต็มตรงนั้น แต่พอโตกลับลาออกแล้วมานั่งเฝ้าลูกแล้วไปรุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวจึงทำให้เกิดปัญหาแล้วยิ่งไม่ผ่อนด้วย พ่อแม่มีปัญหากับลูกเร่งรัดกับลูกแล้วก็ไม่ดึงลูกเข้ามาแก้ปัญหาร่วมกัน ถามตัวเองว่าคุยกับลูกกับลูกวัยรุ่นรู้เรื่องไหม

ครอบครัวที่อยากได้ลูกเป็นคนดี จะเห็นว่าสังคมสมัยนี้พ่อแม่เริ่มมีฐานะก็กลายเป็นว่าอยากให้ลูกเป็นคนดีแต่ช่วยเลี้ยงลูกฉันให้เป็นคนดีนะคือการซื้อระบบนิเวศน์ลงทุนเต็มที่ รร.อินเตอร์จะแพงแค่ไหนก็ยอมจ่าย และความคาดหวังก็ตามมา ได้รร.ดีแล้วช่วยเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีหน่อยแต่ไม่ได้กลับมาดูว่าตัวเองกำลังทุ่มอะไรอยู่

ครอบครัวปล่อยปละละเลย บางบ้านไม่ได้ทำหน้าที่บทบาทพ่อแม่ซึ่งคาดหวังสูงมากแต่ใช้เงินซื้อหรือให้คนอื่นทุ่มเทซึ่งเริ่มมีเยอะขึ้นมาจากครอบครัวที่ปล่อยปละละเลย

ครอบครัวหัวใจประชาธิปไตย สร้างการมีส่วนร่วมตั้งแต่อนุบาล ลูกทุกคนมีความหมาย ลูกมีศักดิ์และศรี ไม่เปรียบเทียบเวลาจะตั้งกฏเกณฑ์ก็มีการพูดคุยแบบนี้อยากให้มีเยอะขึ้น ซึ่งมีเยอะก็จะเป็นประโยชน์กับการเลี้ยงลูกสร้างครอบครัวหัวใจประชาธิปไตย

Functional Family  คุณลักษณะที่ดีของพ่อแม่ 

1.รักอบอุ่นและไว้วางใจ ต้องไม่สำลักความรักหรือเยอะเกินไป รักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุขพ่อแม่ที่รักกันอยู่ได้ต้องมองว่าตอนที่รักกันไม่ได้มีแต่เรื่องดีแต่เป็นการฝ่าฟันมาด้วยกัน รักต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขไม่ใช่เจอแต่ความสุขทุกข์ไม่ได้

2.สื่อสารที่ดีต่อกัน สื่อสารพลังบวก สื่อสารดีบ้านป็นสุข

3.การจัดการควบคุมอารมณ์ตัวเอง เริ่มคุมอารมณ์ตัวพ่อแม่คุมสถานการณ์ได้ แต่การจะให้ลูกเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ลูกดูเราเป็นตัวอย่างที่ดีจะเรียนรู้วิธีการจากเรา ถ้าทำเป็นและมีศิลปะในการควบคุมอารมณ์เอาอยู่ในทุกสถานการณ์

4.มีวินัย วินัยเกิดขึ้นจากส่วนร่วมไม่ใช่พ่อแม่เป็นคนกำหนดกติกาและมีผลบังคับใช้ทุกคนยกเว้นตัวเอง

5.เด็กไม่ใช่ผ้าขาวอย่าเข้าใจผิด เด็กทุกคนเกิดมาล้วนมีความหมายหมอต้องการให้ปรับจูนทัศนคติในการเลี้ยงลูก พ่อแม่ต้องล้างทัศนคติไม่ได้เรียนเก่งแต่ชอบวาดรูป พ่อแม่ก็ต้องเข้าใจและอย่าเอาลูกไปวัดกับระบบการศึกษาแบบแพ้คัดออก อย่าเลี้ยงลูกแบบเปรียบเทียบ จะไม่มีปัญหาในการเลี้ยงลูก

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

ในขณะที่เกมสำหรับเด็กมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้ คาสิโนออนไลน์เช่น sa88 ให้ความสำคัญกับผู้ใหญ่ที่แสวงหาความบันเทิงและความตื่นเต้นของการพนัน

รักลูก The Expert Talk EP.69 : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว “ไม่สำลักความรัก จนเป็นเหยื่อถูกล่อลวง”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.69 : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว "ไม่สำลักความรัก จนเป็นเหยื่อถูกล่อลวง"

 

เลี้ยงลูกแบบสำลักความรัก รักแบบเร่งรัดลูกอยากให้ลูกได้ดี และประคบประหงมจนไม่ให้ลูกทำอะไร ทุกอย่างล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรัก แต่รักมากไปทำลายลูก แก้ปัญหาความรักมากไปนี้อย่างไร 

เลี้ยงประคบประหงม เด็กป่วยได้ง่าย (Munchausen Syndrome by Proxy)

เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องเลี้ยงดูและดูแลสุขภาพแต่มีประเภทที่เยอะเกินไป มีเคสที่ลูกตกเตียงซึ่งอยู่กับพี่เลี้ยงตกตอนเที่ยงแต่พอตกเย็นก็พาลูกมาที่รพ. ให้หมอเช็กอย่างละเอียดเพราะว่ามีลูกคนเดียวและแม่ก็อ่านมาแล้วว่าเลือดที่ซึมออกมาจากในสมองมันจะไม่มีอาการ แต่อยากให้หมอรับรอง100% ว่าลูกไม่มีปัญหา หมอถามว่าเกิดอะไรขึ้น ความจริงคือเด็กตกเบาะเลี้ยงเด็กซึ่งกลิ้งแล้วหัวกระแทกพื้นไม่ปาร์เก้ลูกตกใจ ร้องไห้ เสร็จแล้วก็เล่นปกติ แต่ว่าแม่ไม่ไว้ใจ และอยากให้ทำMRI ซึ่งการทำกับเด็ก 9เดือนไม่ได้ง่าย แต่ด้วยความที่มีลูกคนเดียวและไม่พลาดไม่ได้เลยขอให้แม่ยืนยันซึ่งไแพงแค่ไหนก็ยอมจ่าย

การทำMRIเด็กต้องนิ่งมากซึ่งทางเดียวที่จะทำคือเพื่อให้เด็กหลับ แล้วฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดว่ามีปัญหาเกิดขึ้นตรงไหนใช้เวลาเป็นชั่วโมงก็อาจจะต้องดมยา พอแม่ได้ยินก็บอกหมอว่าเต็มที่ไม่อั้นแต่คนเจ็บตัวคือลูก ลักษณะแบบนี้คือ Munchausen Syndrome by Proxy เครียดมากและวิตกกังวลมาก อาจจะมาจากการเห็นคนในบ้านป่วยจากประสบการณ์เดิม จึงตรวจหาความเสี่ยงของลูกทุกอย่างเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพที่เยอะเกินไป

อีกเคสคือคนในครอบครัวคุณย่าเป็นมะเร็งไตแล้วเสียชีวิต แม่ต้องการทำRenal scan (การตรวจสแกนไต) ซึ่งทำไม่ได้ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้แม่ก็ไปเอาน้ำแดงมาผสมในปัสสาวะ แล้วให้หมอตรวจคือสำหรับหมอตรวจไม่ยากว่าเป็นน้ำแดงหรือเลือด แบบนี้คือทำให้เกิดเครียด วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ เครียดแล้วมาลงที่ลูก ผลที่เกิดกับลูกคือเกิดความหวาดระแวงไปกับแม่ ลูกซึมซับความหวาดระแวงจากแม่นี่คือในแง่ของสุขภาพ ลูกกังวล เครียดมาก

เลี้ยงแบบเร่งรัด เด็กต่อต้าน (Overstimulation)

ตอนนี้มีปัญหาเยอะเพราะด้วยระบบแพ้คัดออก เรียนทุกวัน ตื่นตั้งแต่ตีห้าเลิกเรียนก็กวดวิชาแล้วก็ติวกลับมาทำการบ้าน นอนตี1 ตื่นตี5วนไปแบบนี้ทั้งสัปดาห์ พอเสาร์อาทิตย์ก็กวดวิชาเช้าบ่าย หมอเคยเจอเคสรร.สาธิตชื่อดังพอลูกสอบเสร็จพ่อก็ให้ไปเรียนกวดวิชาที่ลงเรียนไว้ ลูกก็โมโหว่าทำไมไม่ถามว่าลูกอยากเรียนไหม เขาอาจจะอยากเล่นไวโอลิน อยากไปเที่ยว พ่อบอกว่าก็อยากจะเป็นหมอ ตอนที่มาหาหมอคือแม่ร้องไห้ พ่อความดันขึ้นเพราะว่าหวังดีแต่ทำไมเป็นแบบนี้

หมอก็ถามว่านี้เป็นเป้าของใครพ่อบอกว่าเป็นของลูก แล้วพอเราลงกวดวิชาเต็มที่แล้วแต่ลูกไม่ได้เป็นหมอจะเสียใจไหมพ่อบอกว่าไม่เสียใจเพราะว่าไม่ใช่เป้าของพ่อ เป็นเป้าของลูกและพ่อก็บอกว่าการที่พ่อจะทำให้ลูกคนหนึ่งมันผิดด้วยหรือ ซึ่งพอคุยไปพ่อก็บอกว่าผมไม่ได้อยากให้ลูกเป็นหมอเขาจะทำอาชีพอะไรก็ได้ที่รักและชอบและขอให้เป็นคนดี หมอก็บอกว่าพูดดีมากให้กลับไปบอกลูก ซึ่งหลังจากนั้นความดันในบ้านก็ลดลงมากเพราะที่ผ่านมาทะเลาะกันตลอด

ตอนนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่วางเป้าให้ลูกเรียบร้อยเลยแล้วลูกก็มีหน้าที่เดินตามเป้าและบอกตัวเองว่าการที่พ่อแม่ทำให้ลูกมันผิดด้วยเหรอ ไม่ผิดแต่เป็นเป้าของพ่อแม่หรือของลูก แล้วการที่ส่งสัญญาณว่าไม่ได้อยากให้เป็นแบบนั้นแบบนี้ ได้บอกตรงๆหรือยัง ซึ่งถ้าทำแบบนี้ได้ก็จะไม่เจอกับการเรียนแบบOverstimulationเร่งรัดบังคับจันทร์ถึงจันทร์ แต่จะได้ใจถึงใจ

เลี้ยงแบบสำลักความรัก (Over Indulgence/Spoiled Child)

มีบ้านไหนที่ลูกทำงานบ้านบ้าง นี่เป็นการร่วมทุกข์ร่วมสุขในบ้านเรามีเด็กเยอะที่ไม่ปัดกวาด ถูบ้านล้างจาน พ่อแม่สปอยทุกอย่างจนทัศนคติของลูกเปลี่ยนว่า งานบ้านไม่ใช่หน้าที่เขาไม่จำเป็นต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขในบ้าน ความรักไม่เกิดบนการร่วมทุกข์ร่วมสุข มีแต่สุขอย่างเดียว เด็กจะกลายเป็นคนที่ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นเพื่อนมนุษย์

เวลาจะรักใครก็รักแบบฉาบฉวย พ่อแม่ไม่รู้ตัวว่ากำลังพัฒนาลูกไปเป็นแบบนั้นไม่สามารถรักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุข ปรนเปรอให้ทุกอย่าง นี่คือการสปอยล์ รักเยอะ ผิดหวังไม่ได้ เจอกับความผิดหวังก็เบรคเลย ไปไกล่เกลี่ยก็ลงเอยด้วยการใช้ความรุนแรง พ่อแม่ต้องรักแบบร่วมทุกข์ร่วมสุขไม่ใช่มีแต่ความสุข ปรนเปรอแต่ความสุขเจอความยากลำบากไม่ได้ ต้องเจอความยากลำบากร่วมกันง่ายๆ คือ ปัดกวาด ถูกบ้าน ซักผ้า ล้างจาน

เลี้ยงขาดพื้นที่ส่วนตัว เด็กเกิดความเครียด (Parenting Enmeshment)

หมอเคยเจอบ้านที่ไม่ดูทีวีจนอายุ 18ปีจะใช้เครื่องมือสื่อสารไม่ได้ เมื่อเข้าบ้านห้ามใช้ใช้ได้อย่างอิสระเมื่ออายุ 18ปีขึ้นไป ลูกมีห้องส่วนตัวแต่ปิดไม่ได้เพราะว่าพ่อสามารถ เข้าไปดูได้ทุกเมื่อสามารถไปดูแชทส่วนตัวได้ มีเคสที่แม่ลูกชายอายุ 14ปี ยังอาบน้ำกับแม่ขาดพื้นที่ส่วนตัวมาก ถ้าบ้านไหนทำอยู่ให้กลับมาตั้งหลักใหม่

ลูกไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ที่อยากทำอะไรก็ได้เป็นความเข้าใจผิดการให้เกียรติและเคารพศักดิ์ศรีของลูกจึงมีนัยยะแม้ลูกโตมาถึงชั้นประถมไม่ต้องรอถึงมัธยม การที่พ่อไม่จับที่สงวนของลูกเลย เคารพในพื้นที่ส่วนตัว ลูกจะเกิดการเรียนรู้เลยว่าขนาดคนเป็นพ่อยังเคารพพื้นที่ส่วนตัว แล้วคนอื่นที่เป็นคนนอกจะมารุกล้ำได้อย่างไร ถ้าไม่สอนด้วยวิธีนี้จะสอนด้วยการท่องจำหรือ

การที่พ่อแม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่างซึ่งจะเป็นสิ่งที่ติดตัวลูกเมื่อโตขึ้น อยากให้ลูกเป็นแบบนั้นไหน อยากให้ลูกเป็นคนเคารพพื้นที่ส่วนตัวก็ต้องทำแบบนั้นกับลูกเช่นเดียวกัน ศรัทธาและสัจจะของลูกมีความหมาย วันนี้เราไม่มั่นใจลูกเลยก็ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ซึ่งศรัทธาเกิดขึ้นจากพลังบวก เช่นเดียวกันเด็กที่โตมาในครอบครัวที่เข้มงวด ก็จะขาดความมั่นใจไม่เหลือเลย ขาดภาวะผู้นำไม่มีsense of propority การเคารพพื้นที่ส่วนตัวไม่มีถูกล่อลวงโดยไม่รู้ตัวและเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

 

รักลูก The Expert Talk EP.70 : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว "โตไปไม่เป็นปัญหา เร่งสร้างต้นทุนชีวิตให้ลูก"

รักลูก The Expert Talk Ep.70 : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว "โตไปไม่สร้างปัญหา เร่งสร้างต้นทุนขีวิตให้ลูก"

 

อีก 2 วิธีของการเลี้ยงลูกที่สร้างปัญหา ได้แก่ เลี้ยงลูกแบบเลี้ยงเข้มงวดมากเกินไป (Insular Family) และเลี้ยงแบบอิสระไร้กฎเกณฑ์กติกา (Boundaryless) เรียกว่าเคร่งครัดมากไปก็ไม่ดีหย่อนยานเกินไปก็เกิดปัญหา

ชวนฟังวิธีการรับมือเลี้ยงลูกจากหมอเดว พร้อมสถานการณ์ต้นทุนชีวิตเด็กไทย ทางออกของปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ฟัง หมอเดว The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.71 (Rerun) : อยากให้ลูกสูง ต้องรู้ก่อนเสริม

รักลูก The Expert Talk Ep.71 (Rerun) : อยากให้ลูกสูง ต้องรู้ก่อนเสริม

 

ทำความเข้าใจเรื่องความสูงของลูก เป็นประจำเดือนแล้วหยุดสูงจริงหรือ กินยาหรือวิตามินช่วยให้สูงได้ไหม

ฟังรักลูก The Expert Talk พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาล พญาไท1

มาพูดคุยเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจพัฒนาการความสูงของเด็ก พร้อมวิธีการกระตุ้นให้ลูกสูงอย่างถูกต้อง

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.73 (Rerun) : "รักลูก" เลี้ยงลูกแบบนักจิตวิทยา

 

รักลูก The Expert Talk Ep.73 (Rerun) : "รักลูก" เลี้ยงลูกแบบนักจิตวิทยา

 

เลี้ยงแบบไหนที่นักจิตวิทยาแนะนำ

 

ฟังวิธีการเลี้ยงลูก โดยนักจิตวิทยา อาจารย์อลิสา รัญเสวะ

นักจิตวิทยาคลินิก ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ศูนย์กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระรามเก้า 

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues