facebook  youtube  line

ลูกควรไปโรงเรียนตอนอายุเท่าไหร่? ถึงจะดีที่สุด

 5051

ลูกควรไปโรงเรียนตอนอายุเท่าไหร่? ถึงจะดีที่สุด

 
สมองของเด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะช่วง 0-5 ปีแรก ซึ่งหากเทียบการเติบโตสมองเป็นต้นไม้ กิ่งก้านสาขาจะแตกกิ่งมากมายจนทางการแพทย์เรียกว่า รากประสาท แต่ขณะเดียวกันธรรมชาติของการเจริญเติบโตของสมองจะมีการตัดริดกิ่งของรากประสาท ให้พัฒนาเฉพาะสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวัย 2-5 ปี และเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ จนโต
 
การเรียนรู้ของเด็ก ตามพัฒนาการมาจากการหลอมรวมกันของการกระตุ้นประสาทสัมผัส ซึ่งในเด็กเล็กเรียนรู้ได้ตั้งแต่ที่บ้านผ่านการสัมผัส การเล่น การมีกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะ 4 ด้าน ได้แก่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ภาษา สังคม และอย่าลืมว่าเด็กที่มีรากประสาทเติบโตมากมาย ก็มาจากระบบการศึกษาและตัวอย่างในสังคมที่เด็กรับรู้ด้วย ดังนั้นการเรียนของเด็กวัย 0-5 ปีเรียนรู้ได้ทั้งจากที่บ้านและนอกบ้าน
 
พื้นฐานและตัวอย่างในครอบครัวจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ของเด็ก ควรได้รับการปลูกฝังที่ดีจากครอบครัวที่อบอุ่น และมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาลูกในมุมของพัฒนาการเด็ก ดังนั้นหากครอบครัวที่ไม่พร้อม ไม่มีเวลา ขาดการดูแลที่ไม่เหมาะสมตามวัยก็อาจทำให้เด็กมีพัฒนาล่าช้า ไม่พร้อมสำหรับการเรียนรู้ในโรงเรียนร่วมกับเด็กคนอื่น
 
การตัดสินใจให้เด็กเข้าเรียน ควรคำนึงถึงพัฒนาการทางอารมณ์ด้วย เด็กในวัยก่อน 3 ขวบ โดยปกติทางพัฒนาการจะกลัวคนแปลกหน้า และกลัวแยกจากผู้เลี้ยงดู การเข้าโรงเรียนเร็วกว่า 3 ขวบ อาจจะส่งผลทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวลจากการแยกจาก (Separation Anxiety) ซึ่งบางคนงอแงมาก ปวดท้อง อาเจียน ฉี่ราด อึราด ก้าวร้าว อาละวาด หรือมีพฤติกรรมไม่พูด ต่อต้าน ก็มี ซึ่งหากเด็กมีอาการเหล่านี้ควรไปพบกุมารแพทย์หรือจิตแพทย์เด็กเพื่อรับคำปรึกษาดูแล
 
ดังนั้นเด็กควรจะพิจารณาการเข้าโรงเรียนหลังอายุ 3 ขวบ เด็กบางคนก็ยังมีอาการไม่พร้อมจะไปเรียนได้บ้าง ปัจจัยที่จะเกื้อหนุนให้เด็กปรับตัวได้ ได้แก่ บ้านและโรงเรียน ต้องร่วมมือกันช่วยให้เด็กมั่นใจและมีความพร้อมกายใจในการรับความรู้จากโรงเรียน ซึ่งการเรียนของเด็กเตรียมอนุบาลและอนุบาล ควรเน้นไปที่พัฒนาการเพราะสมองของเด็กเป็นวัยที่กำลังพัฒนาได้รวดเร็วมาก การเรียนควรเรียนรู้ผ่านการเล่น ไม่ควรเน้นวิชาการมากเกินไปจะทำให้เด็กได้รับความเครียด กดดันและเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ในอนาคต และที่สำคัญหากระบบการเรียนการสอนไปทำร้ายเด็ก เช่น บังคับให้เขียน บังคับให้กิน ทำโทษรุนแรง เป็นต้น ก็จะทำให้เด็กเกิดอารมณ์เครียดมาก สมองของเด็กจะจำได้และปิดกั้นการเจริญเติบโตของรากประสาท ทำให้ไม่อยากเรียนหนังสือในระบบได้
 
 
สรุปว่า เด็ก 0-5 ปีรากประสาทในสมองเจริญเติบโตได้เร็ว การเห็นและมีประสบการณ์ที่ดีจะทำให้เด็กมีพัฒนาการดีสมวัย สำหรับเรื่องพัฒนาการร่างกาย ทางอารมณ์และความคิด เด็กควรเข้าสู่ระบบโรงเรียนนอกบ้านหลัง 3 ขวบ
 
 
 
รักลูก Community of The Experts
 
นพ.ธันวรุจน์   บูรณสุขสกุล
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลพระรามเก้า

ลูกจะเลิกติดมือถือได้ พ่อแม่ต้องเริ่มจาก 5 ข้อนี้ ทำได้! ลูกพัฒนาการกลับมาดี

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก 

ลูกจะเลิกติดมือถือได้ พ่อแม่ต้องเริ่มจาก 5 ข้อนี้

ทำได้! ลูกพัฒนาการกลับมาดี

พ่อแม่ติดหน้าจอมือถือ ทำร้ายลูกไม่รู้ตัว เป็นปัญหาที่พยายามหาทางแก้กันหลายครอบครัวเลย เนื่องจากลูกติดหน้าจอมือถือ ไม่ให้เล่นก็ร้องไห้ข้ามวัน สุดท้ายใจอ่อนยื่นให้เล่นอยู่ดี เพราะแบบนี้ก็เลยแก้กันไม่หาย ขอบอกว่าวิธีการแก้ไขต้องเริ่มจากพ่อแม่ก่อนนะคะ พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก

  1. พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้ได้ก่อน

พ่อแม่ต้องคิดเสมอนะคะ ว่าอยากให้ลูกเป็นแบบไหน พ่อแม่ต้องทำให้ได้ก่อน เพราะพฤติกรรมที่เราทำ ลูกอาจจะเลียนแบบได้ตลอด เช่น ชอบเล่นโทรศัพท์ตลอดเวลา แล้วมาเรียกร้องให้ลูกอย่าติดมือถือ มันดูย้อนแย้งเกินไป ฉะนั้นพ่อแม่ต้องทำให้ได้ด้วยค่ะ ถ้าไม่อยากให้ลูกเป็นเด็กก้มหน้า พ่อแม่ก็ต้องไม่มัวแต่ก้มหน้านะคะ

  1. พาทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ห่างจากหน้าจอ

พาลูกทำกิจกรรมครอบครัวในทุก ๆ วัน หรือจัดตารางกิจกรรมประจำสัปดาห์ที่ต้องทำ เช่น อ่านหนังสือนิทาน เล่นเกมตัวต่อ ไปปลูกต้นไม้ ไปเที่ยวนอกบ้าน เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมที่หลากหลาย และฝึกทักษะที่จำเป็น พ่อแม่เองก็ร่วมทำกับลูกด้วย ที่สำคัญทำให้ลูกห่างหน้าจอได้

  1. เลี้ยงลูกด้วยตัวเอง อย่าให้หน้าจอเป็นพี่เลี้ยง

แน่นอนค่ะ ว่าการปล่อยให้ลูกอยู่หน้าจอ ลูกจะนิ่ง เงียบ ไม่กวนใจ แต่ผลเสียคือลูกติดจอ ส่งผลต่อพัฒนาการได้ในระยะยาว ฉะนั้นอย่าเอามือถือมาเป็นพี่เลี้ยงลูกนะคะ วิธีแก้ปัญหาเมื่อลูกว่าง คือพูดคุยกับลูกให้เยอะ ๆ เช่น วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง ลูกทำอะไรบ้างลูกอยากทำกิจกรรมอะไรไหม และเล่าเรื่องของพ่อแม่ให้ลูกฟัง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว

  1. พ่อแม่ต้องตามยุคดิจิทัลให้ทัน

โลกโซเชี่ยลเหมือนดาบสองคม หากจำกัดพื้นที่ให้ลูกเรียนรู้ตามวัยได้ก็เป็นเรื่องดี แต่ถ้าปล่อยให้ลูกท่องโลกโซเชียลโดยไม่ดูแล ก็อาจส่งผลเสียได้แบบคาดไม่ถึง เช่น ตั้งค่ายูทูบสำหรับเด็ก วิธีตั้งค่า YouTube สำหรับเด็ก หรือ ร่วมเล่นไปกับลูกด้วย คอยถาม คอยแนะนำ จะได้รู้ว่าลูกกำลังดูสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ พ่อแม่ต้องตามให้ทันนั่นเอง

  1. ต้องมีกฏที่แหกไม่ได้ ฝึกระเบียบที่เด็ดขาด

พ่อแม่ควรสร้างกติกาของครอบครัว ควบคุมเรื่องเวลา หรืออาจมีข้อตกลงร่วมกัน เช่น มื้ออาหารห้ามใช้มือถือ ให้เล่นได้แค่ 4 ชั่วโมง แบ่งครึ่งเช้าและครึ่งบ่าย แล้วไปทำกิจกรรมอย่างอื่นด้วย ข้อนี้พ่อแม่อย่าหวั่นไหวเมื่อลูกร้องไห้ โวยวาย อยากเล่นต่อ ไม่มีการต่อรอง ให้หนักแน่นเข้าใจ หากลูกเสียใจให้ดึงลูกมากอดไว้ และบอกกติกาอีกครั้ง ทำแบบนี้ประจำลูกจะค่อย ๆ เข้าใจได้เอง

แม้พ่อแม่จะปกป้องลูกไปตลอดไม่ได้ แต่ช่วงวัยเด็ก วัยกำลังเรียนรู้สิ่งรอบตัว อะไรที่ควรรู้เป็นไปตามวัย เราก็ต้องให้ลูกได้รับให้มากที่สุดนะคะ และ 5 วิธีนี้ไม่ยากเลย แถมเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนควรทำด้วยค่ะ อยากให้ลูกเติบโตพัฒนาการสมวัย ก็ต้องดูแลกันตั้งแต่ยังเล็ก ๆ นะคะ




 

ลูกจิตใจดี หรือ ขาดทักษะการปฏิเสธ มาสอนลูกให้ใจดีแบบแฮปปี้กัน

พัฒนาการ-การเลี้ยงลูก- สอนลูกให้แบ่งปัน- ลูกปฏิเสธเพื่อนไม่เป็น- ลูกจิตใจดี- สอนลูกให้จิตใจดี- อยากให้ลูกเป็นเด็กดี- สอนลูกให้แบ่งปัน- สอนลูกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น- สอนลูกไม่ให้เห็นแก่ตัว

ลูกจิตใจดี หรือ'ขาดทักษะการปฏิเสธ' มาสอนลูกให้ใจดีแบบแฮปปี้กัน

เป็นเรื่องดีที่ลูกเราเป็นเด็กมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อแบ่งปัน แต่ถ้าลูกเราเป็นเด็กใจดีเกินไปจนอาจดูว่าลูกขาดทักษะการปฏิเสธล่ะ คุณพ่อคุณแม่จะทำอย่างไร  เพราะถ้าปล่อยไว้นานๆ อาจทำให้เป็นปัญหาในอนาคตได้


แบบนี้เรียกว่าจิตใจดี

  • เป็นเด็กที่มีเมตตา มีน้ำใจ แบ่งปันสิ่งที่ตัวเองมีแก่คนรอบข้าง
  • เป็นเด็กที่นึกถึงใจเขาใจเรา ชอบทำให้เพื่อนมีความสุข

ซึ่งการที่ลูกใจดีแบบนี้ หากลูกแบ่งปันเพื่อนที่โรงเรียน เขาจะกลับมาเล่าให้ฟังด้วยความภูมิใจ อารมณ์ดี รู้สึกเชิงบวกในการแบ่งปัน ถ้าลูกแบ่งปันคนในครอบครัว เวลามีคนถามถึงหรือพ่อแม่ถาม เขาจะเล่าด้วยความภาคภูมิใจ
 
ใจดีแบบนี้ มีปัญหา

  • กลับมาเล่าให้ฟังด้วยความรู้สึกไม่ดี เพราะแบ่งเพื่อนจนหมด จนตัวเองไม่มีเหลือ
  • หากพ่อแม่ถาม แล้วลูกเล่าด้วยอารมณ์หรือความคิดเชิงลบในการแบ่งปันเพื่อน
  • ลูกโดนสั่งหรือบังคับให้แบ่ง ไม่ได้แบ่งให้เพื่อนด้วยความเต็มใจ
  • แบ่งปันสิ่งของที่ไม่ได้เป็นของตัวเอง

      การแบ่งปันเป็นเรื่องไม่มีข้อจำกัดในตัว ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละคนและแต่ละครอบครัวด้วยค่ะ
 
แต่ถ้าลูกใจดีมากเกินไป นั่นอาจหมายถึง...

  • ลูกขาดทักษะการปฏิเสธ เช่น ไม่อยากให้เพื่อน อยากเก็บไว้กินเองหรือเล่นเอง แต่บอกเหตุผลไม่ได้ หรือไม่รู้จะบอกยังไง เป็นต้น   
  • ขาดทักษะการแก้ปัญหา เช่น ขนมเหลือชิ้นสุดท้าย แต่เหลือเพื่อนอีก 1 คน และตัวลูก ลูกจึงจำใจให้เพื่อนไป ทั้งที่แบ่งคนละครึ่งชิ้นก็ได้ เป็นต้น
  • ขาดทักษะการรักษาสิทธิ เช่น อยู่บ้านลูกอาจจะเล่นได้ทุกอย่าง พอไปอยู่ที่โรงเรียนจึงคิดว่าของทุกอย่างเป็นของตัวเอง เลยแจกจ่ายของที่ไม่ใช่ของตัวเองแก่เพื่อนๆ เป็นต้น

            ในอนาคตหากลูกไม่ได้รับการฝึกทักษะที่จำเป็นเหล่านี้ อาจนำไปสู่การแบ่งปันหรือการใจดีเพื่อจุดประสงค์อื่นเมื่อลูกโตขึ้นได้ เช่น ให้เพื่อนหรือกลุ่มเพื่อนยอมรับในตัวเขา เป็นการแบ่งปันเพื่อผลประโยชน์อื่นๆ
 

------------------------------------------------------------------------

 
สอนลูกให้ใจดีแบบแฮปปี้

  1. ปล่อยให้ลูกตัดสินใจเอง ว่าอยากแบ่งอะไร ให้ใคร เมื่อไหร่ เพราะการสั่งหรือบังคับจากพ่อแม่ ครู และคนในครอบครัวไม่เป็นผลดีต่อตัวลูก เนื่องจากจะทำให้ลูกรู้สึกหวงสิ่งของที่เป็นของเขามากขึ้น การโต้ตอบของลูกก็จะแรงขึ้นเรื่อยๆ
  2. สอนทักษะผ่านพ่อแม่ เพราะเด็กในวัยนี้ ยังเป็นวัยที่เรียนรู้จากการเลียนแบบคนที่ใกล้ชิดที่สุด นั่นคือพ่อแม่
    • หากที่ผ่านมาเวลาอยู่บ้าน พ่อแม่ไม่เคยปฏิเสธ ไม่เคยแก้ปัญหา ไม่เคยรักษาสิทธิให้ลูกเห็น ก็ลองจำลองเหตุให้ลูกเห็นบ่อยๆ เช่น พ่อจะเอาของแม่ไปใช้ แม่ไม่ให้ เพราะอะไร พูดคุยกันให้ลูกได้ยิน ต่อจากนั้นพ่อไม่ยอม แม่ทำอย่างไรต่อ เป็นต้น
    • สอนผ่านการพูดคุย ให้ลูกเล่าเหตุการณ์ที่เขาเจอ แล้วลองให้ลูกแก้ปัญหาเองก่อน จากนั้นคอยถามลูกว่าปัญหาได้รับการแก้ไขหรือไม่อย่างไร หากไม่ แม่อาจแนะนำลูกโดยการยกตัวอย่างที่สิ่งแม่เคยเจอ การแก้ปัญหาที่ไม่ได้ผล และการแก้ปัญหาที่ได้ผล ให้ลูกเอาไปปรับใช้ตามใจเขา
    • อ่านนิทานที่สอนเกี่ยวกับทักษะเหล่านี้ให้ลูกฟังก่อนนอน หรืออาจสอนผ่านช่วงเวลาที่เล่นกับลูก
  3. ความต่อเนื่องคือเรื่องสำคัญไม่มีทางที่สอนลูกแค่ครั้งสองครั้ง แล้วลูกจะทำได้สำเร็จ เพราะลูกยังอยู่ในวัยเรียนรู้ และทดลองทำ ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องอดทน และพยายามเข้าใจลูก โดยไม่ไปแก้ปัญหาให้เขาเอง ซึ่งจะทำให้ลูกแก้ปัญหาเองไม่ได้ และต้องคอยถามไถ่ลูกและคุณครูเป็นระยะๆ เพื่อติดตามผลอย่างต่อเนื่องด้วยค่ะ

 
พ่อแม่อาจเพิ่มพลังด้วยคำชม จะเป็นตัวเสริมพฤติกรรมให้ลูก ก็จะช่วยให้ลูกอยากเป็นเด็กที่ใจดีได้อย่างพอดีและมีความสุขค่ะ 

 

ลูกฉลาด พ่อแม่เลี้ยงได้แบบไม่กดดันด้วยพัฒนาการรอบด้าน

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-การเรียนรู้

ลูกฉลาด พ่อแม่เลี้ยงได้แบบไม่กดดันด้วยพัฒนาการรอบด้าน


คุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกฉลาดใช่ไหมเอ่ย อยากให้ลูกเก่งรอบด้านด้วย... จริงไหม แต่จะทำยังไงล่ะถึงจะทำให้ลูกฉลาดได้โดยที่ลูกก็ไม่เครียด พ่อแม่ก็ Happy สุดๆ เรามีคำแนะนำจาก พ.ญ.ตวงพร สุรพงษ์พิวัฒนะ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก และยังเป็นคุณแม่ลูกอ่อนด้วย ซึ่งจะมาบอกเราชัดๆ ว่า เด็กฉลาด เด็กเก่งของยุคนี้ต้องทำยังไง

ในบทบาทของผู้ให้คำปรึกษาด้านพัฒนาการเด็กควบคู่กับการเป็นคุณแม่ลูกอ่อน ช่วยให้เข้าใจและเห็นใจว่าการเป็นพ่อแม่ในยุคปัจจุบันนี้ไม่ง่ายเลยใช่มั๊ยคะ โลกเรามีความซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน ทั้งในด้านความเป็นอยู่ในครอบครัวชุมชน และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เด็กๆ ในสมัยนี้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้กันมากขึ้น มีโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อโรคอุบัติใหม่มากมาย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจทำให้พ่อแม่กังวลและเป็นห่วงในการปรับตัวและใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งมีหลายครอบครัวที่พ่อและแม่ต้องทำงานนอกบ้านทั้งคู่การใช้ชีวิตและบทบาทหน้าที่ต่างๆ ที่ทับซ้อนกันทำให้พ่อแม่จัดการบริหารเวลาหรือทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างจำกัด กลายเป็นความบีบคั้นในการใช้ชีวิต ตั้งแต่การตื่นเช้าออกจากบ้าน พ่อแม่มีเวลาอันน้อยนิดกับลูกในช่วงเช้า การกินและความเป็นอยู่ของลูกที่อาจจะฝากไว้กับคนอื่นหรือเนอร์สเซอรี่ การรีบเร่งเดินทางผ่านการจราจรที่ติดขัดทั้งเช้าและเย็น สิ่งเหล่านี้ช่วงชิงเวลาที่เด็กจะได้อยู่กับพ่อแม่แบบครอบครัวให้น้อยลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในยุคใดมาก่อน


พ่อแม่ที่ไม่สามารถจัดสมดุลชีวิตส่วนตัว การทำงาน และการอยู่กับลูก มักจะเกิดความกังวลและรู้สึกผิดว่า ตนเลี้ยงลูกได้ไม่ดีหรือไม่เต็มที่ และบ่อยครั้งที่พ่อแม่เผลอตัวเปรียบเทียบลูกตัวเองกับลูกคนอื่นทั้งๆ ที่สภาพความเป็นอยู่แต่ละบ้านนั้นไม่เหมือนกัน อาจส่งผลให้พ่อแม่ผลักดันลูกมากเกินไปเพื่อชดเชยความรู้สึกเหล่านี้ด้วยการส่งลูกเรียนพิเศษ ติวเข้มวิชาการ ซึ่งพบเห็นกันตั้งแต่ระดับอนุบาล การที่พ่อแม่ผลักดันลูกมากเกินไปจนกลายเป็นความกดดัน จะทำให้ลูกเสียเวลาและเสียโอกาสในการฝึกพัฒนาการรอบด้าน โดยเฉพาะทักษะการใช้ชีวิตและการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

ถึงเวลาที่ควรพิจารณาอย่างจริงจังว่า การมุ่งเน้นเลี้ยงลูกให้มีความฉลาดเป็นอัจฉริยะ หรือเป็นเลิศทางวิชาการ ไม่ใช่คำตอบที่เป็นสูตรสำเร็จ เด็กในยุคปัจจุบันควรได้รับการเตรียมพื้นฐานของการพัฒนาการแบบความพร้อมรอบด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และทักษะการใช้ชีวิตในสังคมอย่างบูรณาการ หมอมักจะพบปัญหาของพ่อแม่เรื่องลูกไม่มั่นใจ ไม่กล้าแสดงออก ส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากพ่อแม่ดูแลอย่างใกล้ชิดจนเด็กขาดโอกาสในการฝึกทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบตัวและเวลาที่จำกัด อีกคำถามที่พบบ่อยคือ ปัญหาลูกมีสมาธิสั้น พ่อแม่หลายคนโทษว่าเพราะอุปกรณ์ทันสมัยต่างๆ ที่ทำให้ลูกใจร้อน รอไม่ได้ ในขณะที่พ่อแม่ใช้ชีวิตประจำวันอย่างเร่งรีบและใช้อุปกรณ์เหล่านั้นเช่นกัน จนเด็กซึมซับเป็นความเคยชินตั้งแต่เล็ก

พ่อแม่คือศิลปินผู้สร้างโลกผ่านการเลี้ยงลูก ดังนั้น การเลี้ยงลูกต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เช่น การใช้เวลาอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่ว่าพ่อแม่และเด็กอยู่ในห้องเดียวกันแต่ต่างคนต่างจ้องหน้าคอมของตนเองคนละมุม การกอดการสัมผัสแสดงถึงความรักและชื่นชม การได้รับโอกาสในการฝึกทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันทีละนิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในสังคมมีผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มาจากการสอบได้ที่หนึ่งของวิชาหรือห้อง แต่มักเป็นคนที่มีความสามารถหลากหลาย ปรับตัวเข้าหากับคนได้ง่าย มีมนุษยสัมพันธ์ดี แก้ปัญหาเก่ง และรู้จักการวางตัวที่เหมาะสมกับกาลเทศะ พ่อแม่ท่านใดที่ยังกังวลเรื่องการเลี้ยงดูลูก ลองพิจารณาโพลล่าสุดที่สำรวจ ความคิดเห็นของพ่อแม่ แล้วจะพอเห็นภาพว่า เด็กยุคนี้...แค่อัจฉริยะไม่ใช่คำตอบสุดท้าย หมอขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังใส่ใจเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ที่เก่งพร้อมรอบด้าน เพื่อสังคมที่มีคุณภาพและความสุขนะคะ

นอกจากนี้เรายังมีผลการสำรวจจากสวนดุสิตโพลมาฝากค่ะ ลองไปดูกันว่าถ้าอยากให้ลูกฉลาดต้องทำยังไงบ้าง

สวนดุสิตโพล, poll, การเลี้ยงลูก, ลูกฉลาด, เด็กฉลาด, การเรียน, เรียนพิเศษ, สมาธิสั้น, นมแม่, พัฒนาการเด็ก, การเรียนรู้, เคล็ดลับลูกฉลาด, วิธีทำให้ลูกฉลาด, สอนลูกให้ฉลาด, เด็กเก่ง
สวนดุสิตโพล, poll, การเลี้ยงลูก, ลูกฉลาด, เด็กฉลาด, การเรียน, เรียนพิเศษ, สมาธิสั้น, นมแม่, พัฒนาการเด็ก, การเรียนรู้, เคล็ดลับลูกฉลาด, วิธีทำให้ลูกฉลาด, สอนลูกให้ฉลาด, เด็กเก่ง

อ่านผลสำรวจเพิ่มเติมได้ที่ >>> สวนดุสิตโพล


(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)




ลูกฉี่รดที่นอนไม่ใช่เรื่องปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคต่าง ๆ ได้

ลูกฉี่รดที่นอน- ควบคุมการขับถ่าย-ปัสสาวะรดที่นอน- ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ 

ลูกฉี่รดที่นอนไม่ใช่เรื่องปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคต่าง ๆ ได้

ปกติเด็กวัยอนุบาล 3-6 ปี จะสามารถควบคุมการขับถ่ายได้แล้ว แม้จะมีบางครั้งที่เผลอปัสสาวะรดที่นอนบ้าง หากไม่ได้บ่อยเกินไปก็ถือว่าไม่ผิดปกติ แต่ถ้าลูกวัย 5 ปีขึ้นไป ปัสสาวะรดที่นอนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ติดต่อกันนาน 3 เดือน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกสภาวะการเจ็บป่วยของลูกได้ 

นพ.ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ยังไม่พบสาเหตุเฉพาะของการปัสสาวะรดที่นอน แม้ภาวะปัสสาวะรดที่นอนส่วนมากจะหายได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น แต่ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเด็กและครอบครัว ทั้งในด้านจิตใจและความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ปกครอง นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดโรคที่มาจากอาการปัสสาวะรดที่นอนได้ เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ความผิดปกติของโครงสร้างของระบบการขับถ่ายปัสสาวะ โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน เบาจืด เป็นต้น ฉะนั้นเด็กที่มีปัญหาเหล่านี้จึงจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ

นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า การปัสสาวะรดที่นอนเป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็ก แต่น่าจะเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ พันธุกรรม ความผิดปกติในการหลั่งฮอร์โมน ADH ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมปริมาณปัสสาวะการทำงานของกระเพาะปัสสาวะโดยเด็กจะรู้สึกปวดปัสสาวะถึงแม้มีปริมาณปัสสาวะไม่มาก การนอนหลับซึ่งเกิดขึ้นได้ในทุกระยะของวงจรการนอนหลับ ความล่าช้าของพัฒนาการในการควบคุมการปัสสาวะ ท้องผูกเกิดจากก้อนอุจจาระกดทับกระเพาะปัสสาวะทำให้ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลง นอกจากนี้ ความเครียดอาจเป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการปัสสาวะรดเป็นมากขึ้นหรือทำให้อาการกลับมาเป็นใหม่ในเด็กที่เคยควบคุมการปัสสาวะได้แล้ว

เคล็ดลับช่วยลูกไม่ให้ฉี่รดที่นอน

  1. ไม่ควรลงโทษ หรือตำหนิ แต่ควรแสดงความเข้าใจ และเป็นกำลังใจ รวมถึงการปรับพฤติกรรมโดยใช้แรงจูงใจทางบวก เช่น ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสิ่งที่ลูกจะได้รับเมื่อไม่ปัสสาวะรดที่นอน รวมทั้งสิ่งที่ลูกจะต้องปฏิบัติถ้าปัสสาวะรดที่นอน โดยให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก หรือจะเลือกใช้เครื่องปลุกเตือนปัสสาวะรด เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในปัจจุบัน แต่ในประเทศไทยเครื่องมือดังกล่าวยังใช้ไม่แพร่หลาย อีกทั้งมีราคาค่อนข้างสูง

  2. ฝึกกระเพาะปัสสาวะ โดยให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ ในช่วงกลางวันและเมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะให้เด็กฝึกกลั้นไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ร่วมกับปรับอาหารและเครื่องดื่ม โดยปรับให้เด็กดื่มน้ำมากขึ้นในช่วงเช้าถึงบ่ายและลดการดื่มน้ำในช่วงเย็นโดยเฉพาะช่วง 2 ชม. ก่อนเข้านอนควรมีการจำกัดปริมาณน้ำ

เบื้องต้นพ่อแม่ควรพาลูกไปหาหมอ เพื่อให้คุณหมอสอบถามประวัติเพิ่มเติม รวมทั้งตรวจร่างกายและส่งตรวจเพิ่มเติมตามความจำเป็น เพื่อที่จะได้หาสาเหตุและทำการรักษาต่อไป  

 

ที่มา : กรมการแพทย์


 

ลูกชอบเถียง เป็นเพราะวัยหรือพัฒนาการ

4230

 

เด็กวัย 2 ขวบ กำลังเป็นเด็กที่น่ารัก รู้จักทดสอบ ทดลองผิดถูก เด็กวัยนี้กำลังเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุ สิ่งของ บุคคล สถานที่ สิ่งมีชีวิต และคำพูด เป็นช่วงที่เป็นตัวของตัวเองสูงสุด จึงมักจะทำในสิ่งที่ห้ามตลอด ดังนั้นการจะเอาชนะลูก หรือจงใจสอนเกินไปไม่ใช่วิธีจัดการที่ดีแน่นอนค่ะ

เด็กอายุ 2 ปีกำลังเป็นวัยที่อยากจะเป็นตัวของเขาเอง เด็กจึงมักจะทำในสิ่งที่ห้าม ไม่ใช่เพราะเขาดื้อ ไม่เชื่อฟัง หรืออวดดีอย่างผู้ใหญ่หลายท่านเข้าใจ แต่เขากำลังเรียนรู้หลายๆ อย่างในการทดสอบว่า ‘เป็นจริง’ หรือไม่นั้น ไม่ใช่การทดสอบว่าผู้ใหญ่จะจริงจังแค่ไหน แต่เขาทดสอบตัวเขาด้วย ทดสอบความเข้าใจของตน การมองเห็น การสัมผัส เราจึงเห็นเด็กวัยนี้ทำอะไรซ้ำๆ เล่านิทาน ดูรูปภาพก็เป็นเรื่องซ้ำๆ โดยเฉพาะที่เขาชอบ ที่เขาสนใจ บางคนอาจรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง แต่บางคนทั้งๆ ที่รู้ก็ตอบให้ผิด เพื่อดูปฏิกิริยาผู้ใหญ่ หรือเพื่อเป็นตัวตนของเขา เราจึงไม่เอาคำเถียงของเขามาเป็นอารมณ์

เราบอกว่าสีส้ม เด็กบอกสีเขียว แทนที่เราจะไปแย้งกัน เราอาจทำมุขขำก็ได้ เช่น '“หนูเห็นเป็นสีเขียวหรือจ๊ะ” แล้วเราก็ทำหน้าพิศวงสงสัย หรือ เฉยเสีย ไม่เถียงกัน เพราะเด็กยังเรียนรู้สีได้อีกหลายเวลา เช่น ต่อมาคุณให้เขารับประทานส้ม ก็ถามเขาว่าเปลือกส้มสีอะไรเอ่ย พอปอกเปลือกไป ข้างในเป็นสีส้มก็บอก “เอ๊ะ! นี่ก็คงสีเขียวมั้ง” เขาก็จะบอก “ไม่ใช่ สีส้ม”

การสอนเด็กวัยนี้ต้องมีวิธีที่ดีต่อกัน ไม่เอาชนะกัน ไม่สอนกันเป็นพิธีการจริงจังเกินไป และก็ไม่ใช่ว่า เขาโมโหแล้ว เราก็ยอมเรียกผิดๆ ตามเขา ถ้าเขางอแง มีอารมณ์ก็เบนความสนใจไปทางอื่น ดีกว่ามาเอาชนะให้เป็นอารมณ์กัน เพราะเรื่องรู้จักสีเป็นเรื่องเล็กที่เด็กจะเรียนรู้ได้ แต่เรื่องอารมณ์เป็นเรื่องใหญ่ที่เด็กจะใช้ไปเรื่อยๆ ในหลายเรื่อง ถ้าเขารู้ว่า เขาอาละวาด แผลงฤทธิ์แล้วคุณแม่ยอมทำตาม

เราจึงต้องไม่ทำให้เกิดอารมณ์ หรือเมื่อเกิดอารมณ์แล้วก็ไม่ตามใจหรือเอาใจกันผิดๆ เขายังเรียนรู้ไปอีกได้เรื่อยๆ วันนี้ยังไม่รับ วันหน้าค่อยบอกกันใหม่ สอนกันใหม่ ลองให้เขาพูด บอกตามสิ่งที่พบเห็น และปฏิบัติกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งยังมีอีกมากมายค่ะ

ลูกชอบเล่นอวัยวะเพศ

 4165 1

ปัญหาพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในเด็ก สาเหตุและวิธีการแก้ไขปัญหาการเล่นอวัยวะเพศเป็นอย่างไร คุณหมอมีคำแนะนำค่ะ

Q : ลูกสาวเวลานอนตอนกลางคืนทุกวัน แกชอบเอาผ้ายัดอวัยวะเพศค่ะ ถามลูกว่าเป็นอะไร แกบอกว่าคัน แต่ดูแล้วก็ไม่เห็นเป็นอะไร เพราะก่อนเข้านอนจะล้างให้ลูกทุกวัน แต่ก็ยังเหมือนเดิม เริ่มเป็นตั้งแต่อายุ 5 ขวบ เดี๋ยวนี้อายุ 6 ขวบแล้วก็ยังเหมือนเดิม ถ้าไม่ทำก็จะไม่ยอมนอน นอนไม่หลับเสียที จะแก้ไขอย่างไรคะ

 

A : การที่เด็กเอาผ้ามาใส่ไว้ในระหว่างขาบริเวณอวัยวะเพศ ก็เป็นการเล่นอวัยวะเพศอย่างหนึ่ง ซึ่งมีหลายแบบ บางทีก็เอาบริเวณอวัยวะเพศมาถูไถกับขอบเก้าอี้ หมอนข้างหรือเอามือจับ หรือไม่ก็เอาผ้า เช่นกรณีนี้ใส่บริเวณช่องขาทั้งสองข้าง ซึ่งพบได้ในลักษณะปกติของเด็กอายุ 3-5 ปี และทำให้เขาค้นพบความรู้สึกบริเวณนี้ได้

 

ทันทีที่เด็กค้นพบเขาอาจเกิดความรู้สึกตื่นเต้น หรือบางคนมีความรู้สึกเหมือนกับได้มีความรู้สึกสุดยอดทางเพศได้ เลยทำให้เด็กเกิดการติดใจและก็เล่นอวัยวะเพศนี้ได้ซ้ำๆ บ่อยๆ แต่สิ่งที่เราจะต้องดูในฐานะที่เป็นพ่อแม่ ก็คือแม้จะเป็นวัยที่เด็กสามารถสำรวจตัวเองและค้นพบความรู้สึกแบบนี้ได้ แต่ก็ต้องดูด้วยว่ามีอย่างอื่นที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้เด็กสนใจมากกว่าปกติหรือเปล่า ซึ่งสิ่งที่พบได้บ่อยๆ ก็คือ

1.พ่อแม่ที่ระมัดระวังเรื่องความสะอาดมากของบริเวณอวัยวะเพศ

ฉะนั้นเวลาอาบน้ำถูตัวถูสบู่แขนขาก็ไม่ได้เน้นอะไรมากมาย แต่อวัยวะเพศนี้ไม่ได้จะต้องบรรจงถูและใช้เวลานานมากกว่าอวัยวะส่วนอื่น จนทำให้เด็กเกิดความรู้สึกทางเพศขึ้นมา

 

2.มีตัวเร้า มีตัวกระตุ้น

รูปภาพหรือเหตุการณ์ภายในห้องนอนที่เด็กไทยส่วนใหญ่นอนร่วมกับพ่อแม่ อาจทำให้เด็กเห็นขณะที่พ่อแม่แสดงความรักกัน แล้วไปเป็นตัวกระตุ้นทำให้เด็กเกิดความรู้สึก หรือแม้แต่ทีวี หนังโป๊หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่เป็นตัวเร้าความรู้สึกทางเพศ

 

3.มีผู้ทำร้ายเด็ก

ในกรณีที่มีการทำร้ายเด็กทางเพศมักจะเป็นคนใกล้ชิด คนใกล้ชิดแบบนี้มักจะเป็นคนที่ไม่กล้า สามารถเข้าใกล้ตัวเด็กได้ดีโดยที่เด็กไม่รู้ตัวการจับตัวเด็ก การกอดเด็กหรือแม้แต่เอาเด็กมานั่งตักสิ่งเหล่านี้โดยธรรมชาติ เด็กแยกแยะไม่ออกว่าพฤติกรรมไหนเหมาะสม พฤติกรรมไหนที่เกินเลยล่วงเกิน บุคคลพวกนี้มักจะมีวิธีการแยบยลจนทำให้เด็กเองก็สับสน มีความรู้สึกดี ได้ใกล้ชิดได้อบอุ่น ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ในฐานะพ่อแม่คงจำเป็นต้องดูทุกอย่างว่าเกิดจากที่เราไปกระตุ้นเขาจากการใช้ชีวิตด้วยกัน หรือมีคนมาทำร้ายลูก

 

วิธีการแก้ไข ถ้าแน่ใจว่าไม่มีใครทำร้ายเด็กและไม่มีตัวส่งเสริมเร่งเร้าหรือไม่มีคนไปเน้น ถ้าคุณแน่ใจว่าไม่มีสาเหตุอย่างอื่น นอกจากเด็กค้นพบเองและเด็กเกิดติดใจและทำพฤติกรรมนี้บ่อยๆ เพราะฉะนั้นวิธีการแก้ไขคือ

1.หาสาเหตุและแก้ที่ตัวสาเหตุ

2.อาศัยหลักที่เด็กความจำสั้น ลืมง่าย ก็ต้องให้เด็กหยุด เลิก หรือลดพฤติกรรมนี้ให้มีน้อยที่สุด และอาศัยความลืมง่ายของเด็ก ทำให้สิ่งเหล่านี้หายไป การที่จะทำให้การเล่นอวัยวะเพศของเด็กลดลงจะต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า ความรู้สึกทางเพศมันเป็นพลัง เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสามารถทำให้เด็กออกแรงได้มากขั้น

3.ใช้พลังงานของร่างกายไปในการออกกำลังกาย จะทำให้ปัญหาทางเพศลดลง ถ้าออกกำลังกายให้สนุก ให้มันสุดๆ ให้ใช้แรงมาก ผลสุดท้ายจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ทำให้ระยะเวลาก่อนเข้านอนของเด็กสั้นลง เด็กมักจะเล่นอวัยวะเพศตอนก่อนเข้านอน ถ้าเราสามารถทำให้เด็กเหนื่อยเพลียหลับ เรียกว่าหัวถึงหมอนหลับทันทีก็จะทำให้มีระยะเวลาก่อนเข้านอนที่สั้นลง หรือหลับไปก่อนทำได้ค่ะ

4.ข้อสุดท้าย เราคงต้องหยุดทักท้วง หรือพูดเรื่องราวแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมา สิ่งที่ต้องทำคือทำให้เด็กลืม เมื่อไหร่ที่คุณเห็นเด็กทำพฤติกรรมนี้ก็เบี่ยงเบนความสนใจของเด็ก ชวนเด็กให้ลุกขึ้นไปทำอย่างอื่น ไปช่วยหยิบของให้ แต่ไม่ต้องพูดถึงพฤติกรรมที่ต้องการให้เลิกค่ะ

 

ข้อมูลโดย พ.ญ.วินัดดา ปิยะศิลป์

ลูกชอบแกล้งเพื่อน พ่อแม่ต้องปรับนิสัยลูกอย่างไร

ลูกชอบแกล้งเพื่อน, ​สาเหตุที่ลูกชอบแกล้งเพื่อน, วิธีแก้ไขนิสัยลูก, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, แม่ต้องเชื่อมั่นในตัวลูก, กระตุ้นศักยภาพลูก

ลูกชอบแกล้งเพื่อน พ่อแม่ต้องปรับนิสัยลูกอย่างไร

ทำไมตอนอยู่บ้านแล้วลูกดูปกติดี แต่คุณครูบอกว่าลูกชอบแกล้งเพื่อนร่วมชั้นและเด็กคนอื่นๆ หากลูกเป็นคนแบบนี้คุณพ่อคุณแม่จะมองข้ามไม่ได้นะคะ 

สิ่งที่ต้องทำเมื่อลูกชอบแกล้งเพื่อนมีดังนี้...

1. ต้องเปิดใจฟังเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโรงเรียนอย่างละเอียด เพื่อเข้าใจสถานการณ์จริงๆ ว่ามีตัวละครอะไรบ้าง เช่น เพื่อนคนไหนบ้าง รวมทั้งสถานที่ใดที่มักเกิดปัญหา

2. ช่วยลูกวิเคราะห์เหตุการณ์ว่า เพื่อนทำแบบนี้เพราะอะไร และเหตุใดจึงมักเกิดขึ้นที่ตรงนี้ ต้องสอนให้สมองลูกคิดวิเคราะห์ เพราะถ้าเราเอาแต่บอกอย่างเดียว สมองส่วนวิเคราะห์ของลูกจะไม่พัฒนา พอเจอสถานการณ์จริงจะคิดไม่ออก

3. ช่วยลูกคิดวิธีแก้ปัญหาจากเรื่องที่เกิดขึ้น ว่าเขาแกล้งเพื่อนเพราะอะไร และควรทำอย่างไรให้ดีกว่าการเข้าไปแกล้งเพื่อน ลูกจะมองเห็นภาพว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร คำชี้แนะนี้จับต้องได้ ไม่ใช่แค่การอบรมยาวๆ

4. คุณแม่ต้องเชื่อมั่นในตัวลูกว่าลูกจะเปลี่ยนแปลงได้ คอยถามครูว่าเขาดีขึ้นไหม คอยให้กำลังใจเขา ชื่นชมเขาเมื่อเขาทำตัวดีขึ้น อย่าสอนเขาบ่อยพร่ำเพรื่อ เพราะนั่นอาจสะท้อนว่าเราไม่มั่นใจว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงได้

5. ควรกระตุ้นศักยภาพลูกในด้านอื่น ๆ อย่าเน้นกับกิจกรรมที่ต้องมีที่หนึ่ง หรือต้องเก่ง เช่น ชื่นชอบที่ลูกวาดรูปตามจินตนาการ ชอบที่ลูกร้องเพลง หรือเล่าเรื่องชีวิตประจำวันให้ฟัง เพื่อให้เขาเกิดความภาคภูมิใจ เมื่อไปโรงเรียนสมองจะยืดหยุ่น จะได้ไม่คิดแต่ความเป็นที่หนึ่งเท่านั้น

สาเหตุที่ลูกชอบแกล้งคนอื่นนั้นเป็นเพราะว่าความรู้สึกโดดเดี่ยวในใจ หากพ่อแม่หรือคนใกล้ตัวไม่จับสังเกต ก็ไม่อาจรู้ได้ว่าเด็กมักจะรู้สึกเหงาและเศร้าอยู่ลึกๆ ดังนั้นคุณพ่อและคุณแม่ต้องมาทำความเข้าใจและแก้ไขนิสัยลูกชอบแกล้งกันนะคะ

ลูกชายถูกรังแก สอนให้สู้ดีไหม

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-การเรียนรู้ 

ลูกชายถูกรังแก สอนให้สู้ดีไหม

Q : กลุ้มใจครับลูกชายวัย 7 ปี เวลาเขาเล่นกับเพื่อนๆ เขาจะถูกรังแกบ่อยๆ (แอบสังเกตดู) กลับมาบ้านเขาจะร้องไห้ทุกครั้ง แล้วเล่าให้ฟังว่าโดนเพื่อนแกล้ง แต่ระยะหลังเขามักไม่เล่าให้ฟังแล้วครับ ถามก็ไม่ค่อยยอมตอบ ผมอยากสอนให้เขาสู้คนบ้าง ไม่รู้ว่าเหมาะสมไหมครับ

A : ปัญหาการรังแกกัน (bully) ของเด็กนั้น ถือเป็นปัญหาที่ผู้ปกครองควรให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เนื่องจากการปล่อยให้เด็กถูกรังแกไปนานๆ จะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก หรืออาจลุกลามไปถึงผลการเรียนของเขา และอาจพานให้เขาไม่อยากไปโรงเรียนเลยก็ได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหาวิธีช่วยเหลือลูกโดยด่วน ซึ่งทำได้ดังนี้ครับ…
 

1.เลี้ยงลูกให้เข้มแข็ง เด็กหลายคนอาจมีบุคลิกภาพพื้นฐาน (temperament) เป็นเด็กที่ค่อนข้างขี้กลัว หรือปรับตัวยากอยู่แล้ว ดังนั้นหากเราไม่ได้ส่งเสริมความมั่นใจให้เขาแล้วละก็ เมื่อไปโรงเรียนแล้วเจอบรรดาเสือสิงห์กระทิงแรดทั้งหลายลูกคงลำบากแน่ๆ แต่สิ่งสำคัญคือเราเลี้ยงดูให้เขาเป็นคนมีความภาคภูมิใจในตนเอง สามารถช่วยเหลือตนเองและแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตนเองได้
 

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มต้นด้วยการสำรวจว่ามีสิ่งใดที่เด็กวัยประถมควรทำด้วยตัวเองได้ แต่เขายังไม่ยอมทำ หรือยังมีคนที่บ้านคอยทำให้เขาอยู่ เช่น ป้อนข้าว อาบน้ำ แต่งตัว ผูกเชือกรองเท้า เป็นต้น ควรปล่อยให้เขาทำเอง และเมื่อเขาทำได้ก็ควรชมเชยเขา เพื่อให้เขาเกิดความรู้สึกว่า "ไอ้เรานี่มันก็ใช้ได้นี่นา" และหากคุณพ่อคุณแม่ต้องการหลักสูตรเร่งรัด หมอแนะนำว่า หาโอกาสให้เขาได้ช่วยเราทำอะไรบ้าง เช่น ช่วยถือของ ช่วยล้างรถ ช่วยดูน้อง เป็นต้น อย่าลืมชมเชย และขอบอกขอบใจเขาด้วย เด็กที่มีโอกาสช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่นั้นจะเกิดความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองว่า "ขนาดพ่อแม่ยังไว้วางใจให้ฉันช่วยเลย แปลว่าฉันนี่ก็ใช้ได้" หากเราเลี้ยงดูเขาแบบนี้ซักระยะ คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นความมั่นใจในตนเองจากเขามากขึ้น โดยสังเกตได้จากสีหน้า แววตา การนั่งและการเดินของเขาครับ
 

2.ป้องกันการถูกรังแก วิธีที่ดีที่สุดคือ การอยู่รวมกับเพื่อน การอยู่รวมกับเพื่อนเป็นกลุ่ม เนื่องจากคงไม่มีเด็กเกเรคนไหนกล้าฝ่ากลุ่มเพื่อนของลูกเรา เพื่อมาแกล้งลูกเราคนเดียว ดังนั้น เราควรสอนให้ลูกรู้จักหาเพื่อนไว้มากๆ ยิ่งลูกของคุณพ่อเป็นที่รักของเพื่อนมากเท่าไหร่ หากเขาถูกแกล้งรับรองได้ว่า คนที่แกล้งเขาจะถูกกดดันจากกลุ่มเพื่อนของลูกอย่างแน่นอน
 

สรุปสั้นๆ ว่าหากอยากให้ลูกเข้มแข็งต้องฝึกให้เขาช่วยเหลือตัวเองให้มาก และจะดียิ่งหากเราสอนให้ลูกช่วยเหลือคนอื่นด้วย ส่วนการป้องการการถูกรังแกที่โรงเรียนที่ดีที่สุด คือ อยู่กับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ไม่มีคุณครูอยู่ เท่านี้ก็น่าจะเพียงพอครับ



นพ.อัศวิน นาคพงศ์พันธุ์
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่
 

ลูกซนมาก! แนะนำ 7 วิธีรับมือเมื่อลูกไฮเปอร์เกินไป


ไฮเปอร์, เด็กไฮเปอร์, ลูกไฮเปอร์, อาการไฮเปอร์, ลูกซนมาก, วอกแวกง่าย, หุนหันพลันแล่น, แม่, เด็ก, ลูก, พัฒนาการเด็ก, พัฒนาการลูก, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, กิจกรรมเด็ก  

เด็กไฮเปอร์หรือกลุ่มเด็กสมาธิสั้น คือ เด็กที่มีอาการซนมากกว่าปกติ วอกแวกง่าย และมีอาการหุนหันพลันแล่น ทำให้คุณแม่ของเด็กกลุ่มนี้ต้องรับบทหนักมากกว่าคุณแม่คนอื่นๆ แล้วจะมีวิธีรับมือได้อย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

7 วิธีรับมือเมื่อลูกไฮเปอร์เกินไป
  1. ต้องใจเย็น ๆ ควบคุมสถานการณ์ได้ ทำจิตใจให้สงบ ไม่ใส่อารมณ์เมื่อลูกซน แต่บางครั้งเมื่อหมดความอดกลั้นดุด่าลูกไป ให้รีบขอโทษลูกทันทีและแสดงให้ลูกรู้ว่ายังรักลูกเหมือนเดิมและต้องสอนตอนนั้นเลยว่าลูกควรทำอะไร หรือไม่ควรทำอะไร

  2. จำกัดเวลากิจกรรมบันเทิง เช่น การดูทีวี เล่นเกม ต้องจำกัดเวลาให้ชัดเจน หากหมดเวลาไม่ควรยืดหยุ่น ไม่มีการต่อรอง เพราะต้องทำให้ติดเป็นนิสัย เพื่อรักษาสมาธิลูก ว่าต้องทำการบ้าน ต้องอ่านหนังสือ เป็นต้น

  3. พาลูกไปตรวจการได้ยินและตรวจสายตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากลูกเริ่มมีปัญหาการเรียน เพราะหากเลูกมีปัญหามองไม่ชัดหรือไม่ได้ยิน ส่วนใหญ่จะมาบอกคุณแม่ไม่เป็น หลายครั้งพบว่า เด็กที่คุณครูคิดว่าเป็นเด็กสมาธิสั้นที่จริงแล้วเป็นเพียงเด็กที่มีปัญหาสายตาไม่ดี

  4. ไม่ทะเลาะกันต่อหน้าลูก เพราะการทะเลาะกันของพ่อกับแม่หรือคนในบ้าน จะทำให้ลูกเครียด ลูกจะคิดว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้พ่อแม่มีเรื่องกัน หรือ หย่าร้างกัน อาจจะทำให้ลูกเครียดจนเป็นไฮเปอร์ก็เป็นได้

  5. ใช้เวลากับลูกให้มากที่สุด หากไม่มีเวลาเพราะต้องทำงาน ก็ใช้ช่วงเวลาสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือด้วยกัน เล่นเกมด้วยกัน ระบายสี วิ่งออกกำลังกาย เพื่อจะได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก

  6. ให้ลูกได้ระบายพลังงานส่วนเกิน พ่อกับแม่เตรียมใจไว้เลยว่าลูกพลังเยอะ เราก็ต้องอึดด้วยจะได้ช่วยลูกให้มีสมาธิกับอะไรบางอย่าง อาจจะเป็นการพาลูกไปเล่นกีฬาว่ายน้ำ กระโดเชือก วิ่ง หรือเตะฟุตบอล เพื่อใช้พลังงานที่มีไม่จำกัดของเด็กไฮเปอร์

  7. ไม่ไปในที่ที่ลูกอึดอัด ให้ฝึกลูกให้มีความพร้อมก่อนค่อยไปสถานที่ใหม่ๆ เพราะเด็กไฮเปอร์จะไม่ชอบที่เงียบๆ เขาจะรู้สึกไม่เป็นตัวเองและรู้สึกแปลกจากคนอื่นมากเกินไป ให้หลีกเลี่ยงการพาลูกไปในสถานที่ที่ต้องการความสงบ เช่น ร้านอาหารหรูหรา เป็นต้น 

และทั้งหมดคือการรับมือเมื่อมีลูกมีอาการไฮเปอร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมนะคะ แต่หากอาการลูกน้อยนั้นเกินที่คุณแม่จะรับมือได้ควรไปปรึกษาคุณหมอค่ะ

ลูกดรามาเก่ง ไม่มีเหตุผล พ่อแม่ต้องรับมืออย่างไร

การเลี้ยงลูก-พฤติกรรมเด็ก-ลูกดื้อ-ลูกก้าวร้าว

ลูกดรามาเก่ง ไม่มีเหตุผล พ่อแม่ต้องรับมืออย่างไร

ลูกชอบดรามา เอะอะ! ร้องไห้เป็นประจำ คุณพ่อคุณแม่ต้องลองสังเกตลูกดูนะคะ ว่าลูกเข้าข่ายดราม่าเก่งไหม เช่น ชอบบีบน้ำตาเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการหรือไม่ ชอบร้องไห้เพื่ออยากให้คนสนใจบ่อยแค่ไหน หรือโวยวายไม่ฟังเหตุผลของพ่อกับแม่และคนอื่น ๆ เลย แบบนี้มีวิธีจัดการเด็กดราม่าอย่างไร มาดูกันค่ะ

  1. ให้พูดคุยกับลูกอย่างใจเย็น

การพูดคุยถามถึงเหตุผลอย่างใจเย็น ไม่มีเด็กคนไหนไม่ชอบหรอกนะคะ ให้คุณพ่อคุณแม่เข้าไปหาลูกและบอกให้ลูกใจเย็น ๆ เช่น "ใจเย็น ๆ นะคะ หายใจลึก ๆ ก่อน แม่รู้ว่าลูกโกรธ ลูกกำลังเสียใจอยู่ค่ะ" เมื่อลูกใจเย็นลงแล้ว ค่อยพูดคุยกัน ถามหาเหตุผลของลูก ถามความต้องการของลูก ให้เข้าใจลูกแต่ไม่ตามใจเด็ดขาด และระวังอย่าใช้อารมณ์ เพราะลูกจะยิ่งดื้อ ยิ่งต่อต้าน

  1. ไม่ตอบสนองลูกเร็วเกินไป

การที่ลูกแสดงความต้องการบางอย่าง ควรฝึกให้ลูกรู้จักการรอคอย เช่น ต้องต่อคิวซื้ออาหารทุกครั้ง ห้ามแซงคิวคนอื่น หรือ รอให้แม่เล่นด้วย แม่ควรจะให้รอด้วยการบอกว่า " แม่ทำงานอยู่นะคะ เดี๋ยวแม่เล่นด้วยอีก 5 นาที ให้เข็มยาวชี้เลข 5 ก่อนค่ะ" เป็นการบอกจุดสิ้นสุดให้ลูกรู้ เพราะการรีบตอบสนองลูกเร็วเกินไป จะยิ่งทำให้ลูกใจร้อน รอไม่เป็น และยิ่งเอาแต่ใจมากขึ้นด้วย



การเลี้ยงลูก-พฤติกรรมเด็ก-ลูกดื้อ-ลูกก้าวร้าว

  1. ข้อตกลงมีไว้ทำตาม ไม่ใช่ต่อรอง

บางครั้งพ่อแม่ก็ต้องเด็ดขาดกับบางเรื่อง ไม่อย่างนั้นลูกจะต่อรอง ไม่จริงจังกับกฎในอนาคตได้ เช่น ตกลงกันว่าออกไปกินข้าวนอกบ้านลูกจะนั่งกินข้าวที่โต๊ะ ไม่เล่นเสียงดัง หากไม่เชื่อฟังกลับทันที และเมื่อไปถึงร้านหากลูกเสียงดัง ไม่ฟังพ่อแม่ ก็ต้องพากลับทันที ไม่มีต่อรอง เพื่อให้ลูกเรียนรู้กฎว่าต้องทำตาม พ่อแม่พูดคำไหนคำนั้น ลูกจะขาดวินัย ไม่ทำตามกฎกติกาไม่ได้

  1. พ่อแม่อย่าใจอ่อน

เวลาเห็นลูกร้องไห้มันช่างทรมานเหลือเกิน จนบางครั้งเราก็เผลอใจอ่อนยอมตามใจลูก แต่การยอมตามใจลูกส่งผลเสียมากกว่าผลดี เพราะลูกจะควบคุมพ่อแม่ได้ รู้ว่าใช้การร้องไห้เป็นเครื่องมือในการเอาชนะพ่อแม่ได้ ฉะนั้น หากลูกร้องไห้ก็เขาไปพูดคุยบอกให้ลูกใจเย็น ๆ ก่อน แล้วถามเหตุผลของลูก และบอกเหตุผลของเราไป หรือ เบี่ยงเบนความสนใจของลูกไปหาอย่างอื่นก่อน แล้วค่อยพูดคุยทีหลัง เพื่อให้ลูกเลิกดราม่าและมีเหตุผลมากขึ้น

 8146 1

ลูกดื้อ & ต่อต้าน ไม่ใช่เรื่องใหญ่ พ่อแม่แก้ไขได้


ลูกดื้อ- นมโฟร์โมสต์โอเมก้า369โกลด์- ForemostOmega369Gold- นมกล่องสำหรับเด็ก-โอเมก้า- พัฒนาการเด็ก

ลูกดื้อ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ พ่อแม่แก้ไขได้

ลูกดื้อ อาจเป็นพัฒนาการปกติทั่วไป หากไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือแค่เล่นซนก็ไม่น่าเป็นห่วงค่ะ แต่ถ้าลูกดื้อและแถมยังต่อต้านพ่อแม่ด้วยอารมณ์โกรธด้วยแล้ว ต้องรีบหาทางปรับแก้กันด่วนเลยค่ะ

เพราะตามธรรมชาติของเด็กวัย 2 - 4ขวบ จะชอบสำรวจสิ่งแวดล้อม ชอบทำตามหรือเลียนแบบผู้ใหญ่ เป็นวัยเรียนรู้ ห้ามอย่างไรไม่ค่อยฟังจนดูเหมือนดื้อต่อต้าน และอารมณ์แปรปรวนง่าย หากไม่ได้ดั่งใจก็จะร้องอาละวาด

ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ลูกดื้อต่อต้านนั้นมาจากพัฒนาการ สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู และพื้นฐานอารมณ์ของเด็กแต่ละคน ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจเพื่อจะได้ปรับพฤติกรรมของลูกให้เป็นไปในเชิงบวกได้ โดยการปรับพฤติกรรมเด็กดื้อต่อต้าน สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

 

ลูกดื้อ- นมโฟร์โมสต์โอเมก้า369โกลด์- ForemostOmega369Gold- นมกล่องสำหรับเด็ก-โอเมก้า- พัฒนาการเด็ก  
 
1. ให้แรงเสริมทางบวกทั้งใจและกาย คือการให้คำชมเชยผ่านทั้งคำพูดและการแสดงออกด้วยความจริงใจ เช่น การโอบกอด ลูบศรีษะ การกล่าวชื่นชม จะทำให้เขาได้รู้ว่าเขาทำสิ่งที่ถูกต้องและส่งผลดีกับเขามากแค่ไหน นอกจากนี้แล้วพ่อแม่สามารถสนับสนุนเขาให้ได้รับสิ่งที่ดีในด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น การให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์ ตามหลักโภชนาการ 5 หมู่ และเสริมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบประสาทและสมอง เช่น นมที่มีโอเมก้า3 6 9 , DHA  ที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองของลูก ให้ลูกพร้อมเล่นและเรียนรู้อย่างอิสระ มีความคิดสร้างสรรค์ และทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันได้เป็นอย่างดี

2. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและชี้แนะอย่างมีเหตุผลพ่อแม่ต้องทำความเข้าใจในตัวลูก การบอกหรือสอนลูกให้รู้ว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ พร้อมอธิบายเหตุผล พูดคุยแก้ปัญหา หรือเปิดใจ ว่าเขาไม่พอใจเรื่องอะไร เรามาหาทางแก้ไข หรือหาทางออกร่วมกัน ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างความสัมพันธ์และความไว้ใจระหว่างกันได้


 ลูกดื้อ- นมโฟร์โมสต์โอเมก้า369โกลด์- ForemostOmega369Gold- นมกล่องสำหรับเด็ก-โอเมก้า- พัฒนาการเด็ก
 
3. ฝึกวินัยเพื่อการแสดงออกที่เหมาะสม โดยเฉพาะกิจวัตรประจำวันของลูก เช่น การกิน การตื่น การนอน การขับถ่าย ฯลฯ จะสอนให้ลูกมีระเบียบวินัย และรู้จักเวลามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการฝึกลูกให้กินอาหารเป็นเวลาจะช่วยให้ลูกคุ้นกับการตรงต่อเวลา ลูกจะรู้ว่าช่วงเวลาไหนเป็นเวลาที่ควรจะกินมื้อหลัก เวลาไหนเป็นเวลาของว่าง และช่วงเวลาไหนที่ไม่ควรจะกินอะไรเลย

 
ที่สำคัญถ้าพ่อแม่ฝึกลูกให้กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผัก ผลไม้ อาหารหลัก 5 หมู่ รวมถึงนมที่มีสารอาหารสำคัญเช่น โอเมก้า 3 6 9 , DHA , วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ อย่างครบถ้วน นอกจากจะช่วยให้ร่างกายลูกแข็งแรงดีแล้ว อาหารที่มีประโยชน์ยังช่วยพัฒนาสมองของลูก ให้พร้อมเรียนรู้อย่างรอบด้านอีกด้วย
 
เพราะการเลี้ยงลูกให้น่ารัก ไม่มีรูปแบบตายตัว แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกเป็นเด็กน่ารัก ไม่ดื้อ ไม่ต่อต้านเอาแต่ใจ คือความเอาใจใส่ของพ่อแม่ต้องมีความสม่ำเสมอเพื่อให้ลูกเกิดความเคยชิน และมีความต่อเนื่องของพัฒนาการอย่างเหมาะสมตามวัย
 
Foremost Omega 369 Gold  สนับสนุนให้พ่อแม่เลี้ยงลูกด้วยความรักและความเข้าใจ ปล่อยให้ลูกเล่นอย่างอิสระ เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง และเติบโตขึ้นมาอย่างเป็นธรรมชาติ มีอิสระในการคิดและทำสิ่งต่างๆ นอกกรอบ และมีความคิดสร้างสรรค์ ที่สำคัญ ทุกๆ การสนับสนุนจากพ่อแม่ จะทำให้ลูกรู้สึกได้รับความรักและมีความสุขกับทุกๆ เรื่องที่เขาทำค่ะ 
 
 

#หนูเก่งนะแม่กล้ามั้ย
#ForemostOmega369Gold
 
(พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์)
 

ลูกนอนกัดฟัน ทะลุถึงโพรงประสาทฟันทำอย่างไร

 

นอนกัดฟัน, ลูกนอนกัดฟัน, โพรงประสาทฟัน, ดูแลฟัน 

แม้การนอนกัดฟันของลูกจะดูไม่น่ากังวลนัก แต่หากปล่อยให้เกิดขึ้นต่อเนื่องเรื้อรัง อาจมีผลให้เนื้อฟันค่อย ๆ สึกกร่อน และร้ายแรงถึงขั้นติดเชื้อถึงโพรงประสาทฟันได้

สาเหตุการนอนกัดฟันของลูกไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดค่ะ แต่เกิดได้จากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1.มีฟันขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก 1 ขวบที่ฟันหน้าบนและล่างขึ้นแล้วมีการขบกันไปมาอยู่ตลอด ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับอาการกัดฟัน แต่จะเกิดขึ้นเพียงช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น

2.ความเครียดหรือกังวล  สภาพจิตใจและความเครียดมีผลต่อการนอนกัดฟันของลูก เช่น ช่วงที่ลูกเริ่มเข้าโรงเรียน เพราะต้องเจอเพื่อนใหม่ สังคมใหม่ จึงเกิดความเครียดและกังวลเมื่อต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่แปลกไปจากเดิม

3.พันธุกรรม  หากคุณพ่อคุณแม่หรือคนในครอบครัวมีประวัติการนอนกัดฟัน เจ้าตัวเล็กของเราก็มีความเสี่ยงที่จะนอนกัดฟันด้วย

4.มีความสัมพันธ์ของโรค  เช่น สมาธิสั้น ลมชัก ความพิการทางสมอง ซึ่งเกี่ยวกับการควบคุมกล้ามเนื้อ รวมถึงถ้าลูกมีปัญหาการนอนกรน ละเมอ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจก็สามารถส่งผลให้ลูกนอนกัดฟันได้

กัดฟันแค่ไหนอันตราย

การกัดฟัน คือการที่ฟันขบถูกันอยู่ มักพบขณะนอนหลับ โดยจะกัดเป็นช่วง ๆ ขณะที่ยังหลับไม่ลึก ซึ่งจะทำให้เนื้อเคลือบฟันสึกไปเรื่อย ๆ การนอนกัดฟันของลูกมีแบบที่สังเกตไม่เห็นความผิดปกติ และแบบที่กัดรุนแรงจนมีเสียงดังทุก ๆ วัน ซึ่งจะส่งผลให้ลูกน้อยมีอาการดังนี้

  • เสียวฟัน 

ฟัน 1 ซี่ ประกอบด้วยชั้นเคลือบฟัน เนื้อฟัน และโพรงประสาทชั้นในสุด ถ้ากัดรุนแรงในระยะเวลาต่อเนื่อง จะทำให้ชั้นเคลือบฟันสึกกร่อน และหากถึงเนื้อฟัน ลูกจะรู้สึกเสียวฟันได้

  • ปวดกล้ามเนื้อใบหน้า 

การกัดฟันรุนแรงส่งผลให้ลูกปวดกล้ามเนื้อรุนแรงได้ หากปล่อยไว้จนเป็นเรื้อรัง อาจเกิดปัญหาข้อต่อขากรรไกรได้ สังเกตได้จาก ลูกมักบ่นปวด ๆ เมื่อย ๆ แก้ม เวลาที่อ้าปากหรือเคี้ยวอาหาร หรือปวดหัว ปวดขมับ

  • ทะลุโพรงประสาทฟัน 

ถ้าเข้าถึงโพรงประสาทฟันจนมีการติดเชื้อ มีหนองที่ปลายรากฟัน คุณแม่จะสังเกตเห็นว่าลูกมักบ่นว่าปวดฟัน และมีสีเหลือง หรือบวมเป็นหนอง หากมีการติดเชื้อที่ฟันล่าง อาจทำให้คางบวมจนอุดกั้นทางเดินหายใจ ถ้าติดเชื้อที่ฟันบนใต้ตาจะบวม และเสี่ยงที่จะติดเชื้อในกระแสเลือดได้

การรักษาและป้องกัน

หากลูกนอนกัดฟันถึงขั้นทะลุโพรงประสาทฟัน อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของลูก ต้องรีบพามาพบคุณหมอเพื่อรักษารากฟัน โดยการเอาเนื้อเยื่อที่อักเสบบริเวณโพรงประสาทฟันออก แล้วทำความสะอาดรากฟัน ใส่ยาฆ่าเชื้อและใส่ครอบฟัน ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยป้องกันการติดเชื้อและการอักเสบลุกลามที่รุนแรงได้

ดังนั้นคุณแม่ควรหมั่นสังเกต หากพบว่าลูกมีอาการนอนกัดฟันควรพามาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเบื้องต้น ซึ่งคุณหมออาจพิจารณาให้ใส่เฝือกสบฟัน ที่ทำจากอะคริลิกตอนนอน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันสึก

อย่างไรก็ตามควรหาสาเหตุของการนอนกัดฟันให้พบ เช่น หากเกิดจากความเครียดความกังวลของลูก คุณแม่ควรพูดคุยกับลูก และสร้างความผ่อนคลาย เช่น จัดบรรยากาศห้องนอนให้สงบ แสงไม่จ้าเกินไป ก่อนนอนให้อ่านนิทาน หรือให้ลูกฟังเพลงสบาย ๆ ไม่ควรให้วิ่งเล่นสนุกสนาน หรือกินข้าวอิ่มเกินไปก่อนนอนค่ะ

ลูกน้ำหนักน้อย ให้ลูกดื่มนมแพะดีไหม

น้ำหนักตัวน้อย-ขาดสารอาหาร-นม-นมแพะ-เลือกนมให้ลูกแบบไหนดี 

ลูกน้ำหนักตัวน้อย น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ทำให้คุณแม่กังวลว่าพัฒนาการจะไม่สมวัย การที่ลูกน้ำหนักตัวน้อยอาจมาจากสาเหตุที่ต่างกัน ดังนั้นคุณแม่จำเป็นต้องทราบสาเหตุที่ทำให้ลูกน้ำหนักตัวน้อยเสียก่อน จึงจะหาทางเพิ่มน้ำหนักตัวได้อย่างถูกต้อง 

สาเหตุที่ทำให้ลูกน้ำหนักตัวน้อย  
  1. มีอาการป่วย ไม่สบาย

เด็กในช่วงขวบปีแรกภูมิคุ้มกันอาจจะยังไม่แข็งแรง ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย เมื่อป่วยอาจทำให้ดื่มนมได้น้อย กินไม่ค่อยได้ ส่งผลให้น้ำหนักตัวน้อย น้ำหนักไม่ขึ้น 

  1. ลูกกินยากเบื่ออาหาร

เมื่อลูกโตขึ้นเขาจะเริ่มกินยาก ติดเล่น กินเฉพาะตอนที่อยากกิน หรือมีความรู้สึกเบื่ออาหาร เมื่อลูกกินน้อยจึงทำให้น้ำหนักตัวน้อยตามไปด้วย

  1. ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต

ลูกเริ่มเลือกกิน กินครบ 3 มื้อก็จริงแต่ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนจึงอาจทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโต ทำให้น้ำหนักตัวน้อย และอาจทำให้ป่วยได้ง่ายด้วย 

 

เมื่อคุณแม่ทราบสาเหตุที่ลูกน้ำหนักน้อยจะทำให้แก้ปัญหา หรือดูแลโภชนาการ อาหารการกินของลูกได้ถูกต้อง การให้ลูกดื่มนมแพะเป็นหนึ่งวิธีร่วมกับวิธีอื่นๆ   

  1. นมแพะมีระบบการให้น้ำนมแบบเดียวกับคน

ที่เรียกว่า อะโพไคร์น (Apocrine) ทำให้มีสารอาหารจากธรรมชาติในปริมาณสูง อย่างไบโอแอคทีฟ คอมโพเนนท์ (Bioactive Components) ซึ่งประกอบด้วย นิวคลีโอไทด์ ทอรีน โพลีเอมีนส์ และโกรทแฟคเตอร์ ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต

  1. นมแพะมีโปรตีนย่อยง่าย

ช่วยให้ร่างกายดูดซึมนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารของเด็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นนมที่มีโปรตีนย่อยยาก อาจส่งผลให้เกิดอาการไม่สบายท้อง ท้องอืด ท้องผูก หรือน้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์นมแพะที่มีโปรตีนย่อยง่ายจึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และช่วยส่งเสริมให้ลูกรักมีน้ำหนักตัวดีเหมาะสมตามวัย

  1. ในนมแพะมีไขมัน MCT Oil ตามธรรมชาติ

ซึ่ง MCT Oil เป็นไขมันสายโซ่ปานกลาง ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ากรดไขมันในนมวัว จึงย่อยได้ง่าย ร่างกายลูกน้อยดูดซึมนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีน้ำหนักตัวเหมาะสมตามวัย   4. นมแพะช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันช่วยให้ลูกไม่ป่วยง่าย

ในนมแพะมีพรีไบโอติก ชนิด Oligosaccharide (Inulin &Oligofructose) หรือใยอาหาร ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพในทางเดินอาหาร จึงช่วยป้องกันการติดเชื้อ การอักเสบในทางเดินอาหาร รวมถึงช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำให้ลูกไม่เจ็บป่วยง่าย และมีร่างกายแข็งแรง

นอกจากการให้ลูกดื่มนมแพะแล้ว ต้องพิจารณาใช้หลายวิธีร่วมกัน เช่น ปรับเปลี่ยนอาหารโภชนาการของลูก เพิ่มอาหารที่มีกรดไขมันดี ให้ลูกรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และให้ลูกนอนหลับเป็นเวลาเพื่อกระตุ้นโกรทฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโตที่ดีและสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการพาลูกไปตรวจร่างกาย หรือพบคุณหมอ เพื่อรับวัคซีนตามเวลานัดอย่างสม่ำเสมอ คุณหมอจะพิจารณาเกณฑ์ส่วนสูงน้ำหนักของลูกได้ และให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสม




ลูกพูดติดอ่าง แก้ไขอย่างไร

 พูดติดอ่าง, พัฒนาการการพูด, การพูด, พัฒนาการ, พัฒนาการด้านภาษา, ลูกพูดไม่ชัด, ลูกพูดติดอ่าง, ปัญหาการพูด

อาการพูดติดอ่าง มักเกิดกับเด็กในช่วงวัย 2-4 ปี ซึ่งมีอาการพูดตะกุกตะกัก พูดไม่ออก หรือพูดซ้ำ กว่าจะหลุดออกมาได้แต่ละคำ ใช้เวลาพอสมควร ทำอย่างไรดีจึงจะทำให้อาการพูดติดอ่างของลูกนั้นหายไป มาดูที่มาและวิธีแก้ไขการพูดติดอ่างของลูกกันดีกว่า

พูด(ติด)อ่าง เกิดขึ้นได้อย่างไร

อาการพูดติดอ่างของเด็กเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุค่ะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องลองสังเกตดูหน่อยว่าเจ้าตัวเล็กที่บ้านเข้าข่ายข้อใดต่อไปนี้รึเปล่า

  1. จากกรรมพันธุ์ พ่อ แม่หรือคนในครอบครัวเคยพูดติดอ่างมาก่อน ก็อาจทำให้ลูกพูดติดอ่างได้เช่นกันค่ะ

  2. แม่มีน้องใหม่ เวลาที่มีน้องใหม่ ความรักความสนใจไปอยู่ที่น้องหมด แม่อาจจะไม่มีเวลาเล่นกับเขาได้เหมือนเคย เขาก็จะเหงาและบางทีจะรู้สึกกังวลด้วยกลัวว่าพ่อกับแม่จะไม่รักเขาเหมือนเดิม เลยส่งผลถึงการพูดของเขา หรือค้นพบว่าการพูดแบบนี้ทำให้พ่อแม่หันมาให้ความสนใจเขามากขึ้น

  3. โดนแย่งพูด พี่ น้อง หรือคนในบ้านพูดแทนหมด พอเขาจะขยับปากพูดสักคำก็โดนแย่งพูดไปหมดแล้ว ทำให้ไม่ค่อยมีโอกาสได้พูด หรือรีบพยายามจะพูดให้ทันคนอื่น เลยทำให้ติดอ่าง

  4. ถูกเลี้ยงแบบบังคับ เข้มงวด อาจสร้างความเครียดให้กับเด็ก ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่กล้าที่จะพูด หรือมีความกลัวเวลาพูด

  5. คิดเร็วกว่าพูด เด็กวัยนี้เป็นวัยที่กำลังหัดพูด เพราะฉะนั้นเด็กจะคิดไปไวกว่าที่ปากจะทำงาน เลยทำให้คำพูดสักคำหลุดออกมาช้ากว่าที่ใจคิด

  6. เลียนแบบเพื่อน เดิมก็ไม่ติดอ่างกับเขาหรอกค่ะ แต่พอไปโรงเรียนเจอเพื่อนพูดติดอ่าง เข้าทางเด็กวัยนี้ที่กำลังเลียนแบบพอดี เลยเอาบ้าง

  7. ถูกบังคับให้เปลี่ยนจากการถนัดใช้มือซ้ายมาเป็นมือขวา ทำให้ลูกของเราไม่สบายใจ เกิดความวิตกกังวล และรู้สึกระแวงเพราะมีผู้ใหญ่คอยจับผิด

  8. ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

ช่วยลูกไม่พูดติดอ่าง

การพูดติดอ่างของลูก เป็นพัฒนาการทางการพูดของเด็กที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่นานนัก ถ้าพ่อแม่รับมือและดูแลอย่างถูกวิธี อาการเหล่านี้จะหายได้เองค่ะ

เข้าใจลูก

อาการพูดติดอ่างเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของเด็กวัยนี้ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ลูกกำลังหัดพูด การพัฒนาการภาษาจึงเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้ดีเหมือนการสื่อสารระหว่างผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นอย่าแสดงท่าทีรำคาญ หรือพยายามเร่งรัดให้ลูกพูดไม่ติดอ่างเร็วๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กไม่กล้าพูดหรืออาจจะกลายเป็นพูดติดอ่างไปเลย

  • พ่อแม่เป็นต้นแบบที่ดี พูดช้า ๆ ชัดถ้อยชัดคำ ไม่ใช่พอลูกติดอ่างก็ติดอ่างตามด้วยความเอ็นดู แบบนี้ไม่ดีค่ะ เพราะลูกน่ะจะคิดว่าเป็นสิ่งดีแล้วก็เลียนแบบเราอีกทีหนึ่ง วางเฉย หรือดุว่า ไม่ดีทั้งสองแบบ เพราะถ้าเราขำ ลูกจะคิดว่าดี พ่อแม่ชอบเลยทำอีก หรือถ้าพ่อแม่ดุ คราวนี้จะไม่กล้าพูดไปเลย ขาดความมั่นใจ
  • สังเกตคำที่ลูกพูดติดอ่างบ่อย ๆ เพราะอาจจะเป็นไปได้ว่าลูกมีปัญหากับการออกเสียงคำนั้น ๆ แล้วจึงช่วยลูกด้วยการพูดคำนั้นชัด ๆ
  • ทวนกับลูก ชวนลูกพูด ยิ่งรู้ว่าลูกของเราพูดติดอ่างแบบนี้ ยิ่งต้องชวนลูกคุยมากขึ้น แต่อย่าทำให้ลูกรู้สึกลนลาน หรือเร่งรัดให้เขาพูดคุยกับเรา ให้เขาทำตัวสบายๆ ค่อยๆ พูด ไม่ต้องรีบ
  • สร้างความมั่นใจให้ลูก โดยเป็นนักฟังที่ดี ทำให้เขารู้ว่าพ่อแม่รอฟังเขาพูดได้เสมอ และจะไม่ดุว่า ไม่ว่าจะพูดผิดหรือถูกอย่างไร
  • ในกรณีที่ลูกของเราถนัดซ้าย แต่เราเองพยายามที่จะเปลี่ยนให้ลูกถนัดขวานั้น อาจเป็นสาเหตุให้ลูกเครียดและพูดติดอ่างได้ค่ะ เพราะฉะนั้นทางทีดีคือไม่ควรบังคับ แต่พยายามให้ลูกได้ใช้มือขวามากขึ้น แล้วก็ให้ใช้มือซ้ายด้วย เพื่อให้ลูกได้ฝึกทักษะมือทั้งสองข้าง แล้วลูกจะได้ไม่รู้สึกว่าโดนบังคับ ส่วนว่าเขาจะถนัดมือไหนมากกว่าก็อยู่ที่ตัวเขา
  • หาคำศัพท์ใหม่ ๆ ช่วยฝึกลูกพูด ไม่ว่าจะเป็นการเล่านิทาน การพูดคุย อ่านหนังสือ รูปภาพ ฯลฯ เป็นอีกหนึ่งเทคนิคในการเพิ่มคำศัพท์ที่จะทำให้เด็กรู้จักคำพูดที่เขาจะได้นำมาใช้ในการสื่อสารมากขึ้น เพราะเด็กบางคนคิดเร็วแต่ไม่รู้คำศัพท์ที่จะสื่อสาร
  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้ลูกอึดอัด เช่น การให้พูดต่อหน้าคนเยอะ หรืออยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย คุยกับคนที่ไม่คุ้นเคย เพราะจะทำให้ให้เขารู้สึกเครียด กังวล และเขาจะพูดติดอ่างมากยิ่งขึ้นค่ะ
"พูดติดอ่าง" แบบนี้ปล่อยไว้ไม่ได้แล้ว

พูดติดอ่างเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของเด็กในช่วงวัยนี้ก็จริงค่ะ ถ้าได้ทำตามวิธีที่แนะนำมาแล้วเชื่อว่าลูกของเราน่าจะอาการดีขึ้น แต่ถ้าในรายใดที่เริ่มส่งสัญญาณดังต่อไปนี้ พ่อแม่ไม่ควรวางใจค่ะ

ยิ่งนานวันจำนวนคำที่พูดติดอ่างยิ่งเพิ่มขึ้น เวลาพูดมีทีท่ากังวล เช่น บิดมือไปมา ไม่สบตา ถอนหายใจ พูดน้อยลงกว่าเดิม เริ่มใช้มือและส่งภาษาใบ้ ลองพยายามแก้ไขมานานกว่า 6 เดือนแล้วยังไม่ดีขึ้น หากลูกอายุมากกว่า 5 ขวบไปแล้ว ยังพูดติด ๆ ขัด ๆ หรือยังติดอ่างไม่หายสักที ควรพาไปพบแพทย์ เพราะอาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกมีปัญหาในการพูดค่ะ เด็กวัยนี้ไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่าความรักและความเอาใจใส่ที่พ่อแม่มีให้ ซึ่งถ้าลูกได้รับแบบเต็มร้อยแล้ว จะพูดติดอ่างมากแค่ไหน ยังไงพ่อแม่ก็แกะออกค่ะ

ลูกฟันผุอย่าปล่อยทิ้งไว้ เสี่ยงติดเชื้อรุนแรงลามอวัยวะข้างเคียง

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-แปรงฟัน-ฟันผุ-ลูกฟันผุ

ลูกฟันผุอย่าปล่อยทิ้งไว้ เสี่ยงติดเชื้อรุนแรงลามอวัยวะข้างเคียง

ฟันผุเกิดจากการมีเศษอาหารไปค้างอยู่ตามซอกฟัน หรือมีน้ำตาลจากอาหารที่อยู่ในปากและสัมผัสกับฟันอยู่เป็นเวลานาน จึงทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่บนแผ่นคราบฟันเกิดกระบวนการย่อยสลายเศษอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลให้กลายเป็นกรดแลคติกที่มีฤทธิ์ทำลายแร่ธาตุที่ผิวฟัน  จนทำให้ฟันผุกร่อนไปทีละน้อยจากชั้นเคลือบฟันภายนอกเข้าไปในเนื้อฟันจนทะลุถึงชั้นโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดอาการปวดฟัน หรือฟันอักเสบเป็นหนอง โดยเริ่มจากรูเล็กๆแล้วลุกลามใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นฟันผุ 

สาเหตุการเกิดฟันผุ ดังนี้

1.แบคทีเรียในช่องปาก 

2.การดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม 

3.กินขนมขบเคี้ยวเป็นประจำ 

4.ไม่ชอบแปรงฟัน 

สาเหตุเหล่านี้หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษา อาจลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟันทำให้เกิดการอักเสบ หากเชื้อโรคลุกลามไปที่รากฟัน เกิดหนอง จะส่งผลเสียต่ออวัยวะสำคัญข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็น ตา โพรงไซนัส และสมอง เสี่ยงต่อการติดเชื้อและกระจายไปอวัยวะต่างๆ 

อาการที่พบ

-มีรูหรือมีรอยผุที่ฟัน 

-เสียวฟันมากขึ้นเมื่อดื่มหรือรับประทานอาหารหวาน ร้อนจัดหรือเย็นจัด 

-ปวดฟัน มีอาหารติดบริเวณซอกฟันบ่อยๆ 

วิธีการป้องกันฟันผุสำหรับเด็ก

1.พ่อแม่ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นประจำทุก 6 - 12 เดือน

2.สอนให้ลูกแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งในตอนเช้าและก่อนนอน 

3.ใช้ไหมขัดฟันเพื่อช่วยทำความสะอาดซอกฟันที่ขนของแปรงสีฟันเข้าไปไม่ถึง

4.ลดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลให้น้อยลง เช่น มันฝรั่งทอด ขนมขบเคี้ยว ลูกอม ผลไม้อบแห้ง เป็นต้น

ดังนั้นการป้องกันฟันผุจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเด็กเล็ก พ่อแม่ควรใส่ใจ โดยหมั่นสังเกตฟันของเด็ก เพื่อตรวจหาบริเวณที่ผิวฟันเป็นรู  ฟันที่มีการเปลี่ยนเป็นสีดำหรืออาจมีอาการปวดฟัน 

 

ที่มา : กรมการแพทย์

ลูกยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง บั่นทอนพัฒนาการด้านสังคม ต้องแก้ไขด่วน!

เด็กเอาแต่ใจ- เด็กดื้อ- วิธีอบรมสั่งสอนเด็ก- การปรับพฤติกรรมเด็ก- วิธีทำให้เด็กยอมรับคนอื่น-วิธีแก้ไขเด็กเอาแต่ใจ 

ลูกยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง บั่นทอนพัฒนาการด้านสังคม ต้องแก้ไขด่วน!

เด็กยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง หมายถึงการที่เด็กยึดติดกับความคิดของตนเอง ไม่เข้าใจว่าความคิดและความรู้สึกของตนเองแตกต่างจากผู้อื่น ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ตนมองเห็นกับสิ่งที่คนอื่นมองเห็น มักคิดว่าการรับรู้ของเขาเป็นสิ่งตายตัวเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทำให้มีอุปสรรคต่อการพัฒนาด้านสังคมของเด็ก ดังนั้นพ่อกับแม่ต้องแก้ไขปัญหาลูกยึดติดตนเองดังนี้ค่ะ

วิธีแก้ไขเมื่อลูกยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง

  1. จับเข่าคุยกันถึงเรื่องที่ลูกเห็นต่างจากเพื่อน ให้สอนลูกด้วยการใช้เหตุผลให้เข้าใจง่ายและยกตัวอย่างประกอบที่ลูกจะสนใจ ทั้งนี้ต้องสอนไปด้วยความรัก เข้าใจ และอ่อนโยน

  2. ปรับพฤติกรรมของลูก หากพบว่าลูกเห็นต่างจากเพื่อนจนก้าวร้าว พ่อกับแม่ต้องแก้ไขพฤติกรรมลูก ด้วยการยกตัวอย่างความดีของพ่อกับแม่และเป็นตัวอย่างให้ลูก ลูกจะเกิดการเลียนแบบพฤติกรรมพ่อกับแม่

  3. ฝึกการเข้าสังคม พาลูกไปเยี่ยมญาติ หรือพบปะครอบครัวใหญ่บ่อยๆ เพื่อให้ลูกมีโอกาสเล่นหรือมีปฏิสัมพันธ์ ลูกจะได้เรียนรู้การเข้าสังคม

  4. พูดคุยกับลูกเรื่องชีวิตประจำวัน ชวนลูกคุยเกี่ยวกับโรงเรียน เช่น ถามเกี่ยวกับเพื่อน ครู คนอื่นๆ เพื่อให้ลูกได้ใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นและลดการพูดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเอง

  5. สอนให้ลูกรู้จักแบ่งปัน ลูกรู้จักแบ่งปันจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเห็นใจคนอื่นด้วย เช่น การแบ่งของให้เพื่อนบ้าน แบ่งขนมให้เพื่อน และต้องฝึกการรอคอยตามความเหมาะสมด้วย เช่น การเข้าแถวรับบริการต่างๆ เป็นต้น

  6. เล่านิทานเพื่อให้ลูกมีแรงจูงใจ การเล่านิทานก่อนนอนจะทำให้ลูกคลายการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางลงได้ เนื้อหาจะต้องเป็นเรื่องที่มีการแบ่งปัน ช่วยเหลือคนอื่น มีน้ำใจ เพื่อให้ลูกเลียนแบบพฤติกรรมทางสังคมที่ดีจากตัวละครในนิทาน

สรุปแล้วการเลี้ยงลูกไม่ยากค่ะ แต่ก็ไม่ง่าย คุณพ่อคุณแม่ต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจลูก สิ่งที่ลูกต้องการ ความต้องการ ความรู้สึกที่แท้จริง เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกวิธี และไม่บั่นทอนความรู้สึกของลูกด้วยนะคะ รักลูกต้องเข้าใจลูกค่ะ


 

ลูกร้องอาละวาด (Temper Tantrums) ปัญหาไม่เล็ก แต่พ่อแม่รับมือได้!

การเลี้ยงลูก- สอนลูก- เลี้ยงลูก- ลูกดื้อ- ป้องกันลูกดื้อ- สาเหตุลูกดื้อ- ลูกร้องอาละวาด-อาการร้องอาละวาด-Temper Tantrums-ปรับพฤติกรรมลูก-พฤติกรรมก้าวร้าว-ก้าวร้าว 

ลูกบ้านไหนเป็นหนูน้อยงอแง อาละวาด (Temper Tantrums) บ้างคะ? เด็กบ้านแอดมินร้องไห้งอแงประจำเลยค่ะ แต่วันนี้แม่แอดมินรับมือได้แล้ว เลยมีคำแนะนำดี ๆ มาฝากกันค่ะ

การร้องอาละวาดเป็นพัฒนาการปกติที่เด็กกำลังเรียนรู้การควบคุมตนเอง เริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 1-3 ปี พบร้อยละ 50-80 มีการร้องอาละวาดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในช่วงวัยนี้ และจะค่อย ๆ ลดลงจนหายไปเมื่ออายุ 4 ปี 

การร้องอาละวาดหมายถึง พฤติกรรมแสดงความไม่พอใจ เช่น การกรีดร้อง ตะโกน กระทืบเท้า นอนดิ้นกับพื้น ฟาดแขนขา จนถึงทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น เพื่อระบายความโกรธหรือความคับข้องใจ ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ควบคุมได้ยากในเด็กเล็ก

อาการ

มักเริ่มจากความโกรธ ไม่พอใจ ตามมาด้วยการร้องไห้รุนแรง ล้มตัวนอนกับพื้น ฟาดแขนขาไปมา อาจทำร้ายตนเองหรือคนอื่น บางคนร้องมากจนเกิดการร้องกลั้น (breath holding spell) ส่วนใหญ่การร้องอาละวาดใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที เนื่องจากการร้องอาละวาดอาจเป็นพัฒนาการปกติตามวัยหรือเป็นการร้องอาละวาดที่เป็นปัญหา ผู้ปกครองควรทราบลักษณะของการอาละวาดที่เป็นปัญหา

การร้องอาละวาดที่เป็นปัญหา

1.พ่อแม่คิดว่าเป็นปัญหา หรือเกิดขึ้นบ่อยที่โรงเรียน

2.ร้องตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปต่อวัน แต่ละครั้งร้องนานเกิน 15 นาที

3.มีปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาการนอน ปัญหาการเรียน ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อน

4.มีการทำลายข้าวของ ทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่นร่วมด้วย

การเลี้ยงลูก- สอนลูก- เลี้ยงลูก- ลูกดื้อ- ป้องกันลูกดื้อ- สาเหตุลูกดื้อ- ลูกร้องอาละวาด-อาการร้องอาละวาด-Temper Tantrums-ปรับพฤติกรรมลูก-พฤติกรรมก้าวร้าว-ก้าวร้าว

การช่วยเหลือ การให้ความรู้กับพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญ ควรอธิบายให้พ่อแม่เข้าใจว่าการร้องอาละวาดเป็นพฤติกรรมที่ปกติของเด็กวัยนี้ และจะหายไปหากได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม หากมีปัจจัยที่ทำให้เกิดการร้องอาละวาดควรแก้ไข เช่น เด็กพูดช้าควรส่งฝึกพูด มีภาวะหรือโรคทางกาย ก็ควรรักษาภาวะเหล่านั้น เป็นต้น

การป้องกันการร้องอาละวาด
  • กำหนดขอบเขตของสิ่งที่ทำได้หรือทำไม่ได้ให้ชัดเจน เหมาะสมกับอายุของเด็ก และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้นอย่างสม่ำเสมอ
  • จัดกิจวัตรประจำวันให้เป็นเวลา โดยเฉพาะการกินและการนอน
  • การให้เด็กเลิกกิจกรรมที่เด็กสนใจ เช่น ให้เลิกเล่น อาจกระตุ้นให้เด็กไม่พอใจ ควรเตือนเด็กล่วงหน้าก่อนจะให้เด็กเลิกกิจกรรมนั้น
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เด็กหงุดหงิดหากเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่นการทำกิจกรรมที่เกินตามสามารถตามวัยของเด็ก หากเด็กเริ่มหงุดหงิดพยายามเบี่ยงเบนเด็กให้สนใจอย่างอื่นแทน
  • สอนเด็กให้ใช้คำพูดแสดงความรู้สึกหรือความต้องการแทนการแสดงออกทางกาย
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกบ้าง และตัวเลือกนั้นพ่อแม่ต้องยอมรับได้
  • พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูความเป็นตัวอย่างที่ดีของการควบคุมอารมณ์ ไม่ต่อว่าเด็กด้วยอารมณ์หรือลงโทษด้วยวิธีที่รุนแรง
  • ควรให้ความสนใจทางบวกแก่เด็กอย่างสม่ำเสมอ เช่น ชมเชยหากเด็กมีพฤติกรรมที่ดี เพื่อให้เด็กมีแรงจูงใจที่จะทำพฤติกรรมที่ดีมากขึ้น
 การเลี้ยงลูก- สอนลูก- เลี้ยงลูก- ลูกดื้อ- ป้องกันลูกดื้อ- สาเหตุลูกดื้อ- ลูกร้องอาละวาด-อาการร้องอาละวาด-Temper Tantrums-ปรับพฤติกรรมลูก-พฤติกรรมก้าวร้าว-ก้าวร้าว
การแก้ไขขณะเกิดการร้องอาละวาด

พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรนิ่งสงบไม่ควรตะโกนหรือแสดงอาการโกรธให้เด็กเห็น จะยิ่งทำให้การร้องอาละวาดเป็นมากขึ้น

  1. อาจใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจในช่วงแรกโดยเฉพาะเด็กเล็ก หากไม่ได้ผลควรวางเฉย อาจยืนอยู่ห่าง ๆ โดยไม่ต้องพูดหรือสนใจจนกว่าเด็กจะสงบลง
  2. ในเด็กโตควรแยกให้เด็กอยู่คนเดียว (time-out) และเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก
  3. หากเด็กทำร้ายตนเอง ผู้อื่น หรือข้าวของให้จับเด็กออกมาจากบริเวณนั้น กดหรือจับมือเด็กไว้จนกว่าเด็กจะสงบ
  4. เมื่อเด็กสงบแล้วให้เข้าไปคุยกับเด็กตามปกติ หากเป็นเด็กโต อาจพูดคุยถึงสิ่งเกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขต่อไป
  5. หากเด็กร้องเพราะไม่ต้องการทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ไม่อยากเข้านอน ควรยืนยันในสิ่งที่เด็กต้องทำแม้ว่าเด็กกำลังร้องอาละวาดอยู่ เพราะหากยืดเวลาออกไปจะทำให้เด็กใช้พฤติกรรมนี้ทุกครั้งที่รู้สึกคับข้องใจ
  6. ไม่ควรลงโทษรุนแรงเมื่อเด็กร้องอาละวาด เพราะจะทำให้เด็กโกรธและหงุดหงิดมากขึ้น

 

จากที่กล่าวมาจะพบว่าการร้องอาละวาดเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการปกติ พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูควรมีความรู้ความเข้าใจในการสังเกตลักษณะการร้องอาละวาดที่เป็นปัญหา ตลอดจนวิธีการที่เหมาะสมในการป้องกันและแก้ไขขณะที่เด็กอาละวาด หากเด็กได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมการร้องอาละวาดจะดีขึ้นจนค่อย ๆ หายไปได้

 

เอกสารอ้างอิง

1.วิรงรอง อรัญนารถ. ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็กวัยแรเกิดถึง 3 ปี. ตำราพัฒนาการเด็กและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 3, 2556 : 215-225

ลูกวัย 1-3 ปี ต้องเล่นอะไรถึงจะดีต่อพัฒนาการ

ของเล่น-ของเล่นเด็ก1-3ปี-พัฒนาการ-เสริมพัฒนาการ-ของเล่นตามวัย-ของเล่นเสริมพัฒนาการ-ร้านของเล่น-ขายของเล่นเด็ก

ลูกวัย 1-3 ปี ต้องเล่นอะไรถึงจะดีต่อพัฒนาการ

พัฒนาการทุกด้านของเด็กนั้นเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการที่จะพัฒนาให้ครบรอบด้านมีปัจจัยสำคัญหลายอย่าง และหนึ่งในนั้นก็คือการเล่นที่เหมาะสมกับวัย

วัย 1-2 ปี

เด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองแม้จะไม่มั่นคงนัก แต่ก็ชอบเกาะเกี่ยวเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เป็นการเรียนรู้เรื่องระยะทางและฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่างๆ ลูกจะสนุกกับสิ่งใหม่ๆ ที่ได้พบเห็น ชอบปีนป่ายขึ้นบันได มุดโต๊ะ พ่อแม่จึงต้องใส่ใจเรื่องความปลอดภัยให้มาก และวัยนี้ชอบขีดๆ เขียนๆ เข้าใจคำพูดรวดเร็วมาก ใครพูดอะไรจะพูดตามทันที

เล่นเสริม :

  • พัฒนาการร่างกาย ของเล่นควรเป็นประเภทลากจูงไปมาได้ เช่น รถไฟ หรือรถลากต่อกันเป็นขบวน หรือกล่องกระดาษมีเชือกร้อยต่อกัน
  • พัฒนาการสมอง การเล่นสำรวจที่ใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อน ไหวอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การให้เด็กบริหารแขนขา การเล่นดิน-ทราย-น้ำ การหยิบของตามคำบอก เป็นต้น
  • พัฒนาการทางภาษา หาเพลงง่ายๆ ประเภท Music for Movement สนุกๆ มาให้ลูกฟัง ร้องและเต้นตามจังหวะ หรือจะเล่นเกมร่างกายของหนูสอนให้ลูกรู้จักชื่ออวัยวะต่างๆ ก็ได้เช่นกัน

Concern : ของเล่นที่มีขนาดเล็ก ของเล่นแหลมคมและมีน้ำหนักเกิน อาจเกิดอุบัติเหตุได้จากการขว้างปา ขนาดของรูหรือช่องต่างๆ ในของเล่นควรมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่านิ้วมือทุกนิ้ว เพื่อป้องกันการติดของนิ้วมือ

 

วัย 2-4 ปี

เด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นทุกอย่าง เคลื่อนไหวได้คล่องขึ้นและทรงตัวได้ดีเพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงขึ้นมาก ทำให้ชอบเล่นออกแรงมากๆ ทั้งวิ่งเล่น กระโดด ปีนป่ายม้วนกลิ้งตัว เตะขว้างลูกบอล และขี่จักรยานสามล้อซึ่งช่วยฝึกกล้ามเนื้อใหญ่ให้แข็งแรงและเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น ควบคุมกล้ามเนื้อเล็กได้ดีขึ้น สามารถเล่นใช้นิ้วมือหยิบจับหรือหมุนได้

เล่นเสริม :

  • พัฒนาการร่างกาย กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น กระโดด ปีนป่ายม้วนกลิ้งตัว เตะขว้างลูกบอล และขี่จักรยานสามล้อ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น บล็อกหยอดกล่องรูปทรง ภาพตัดต่อ เป็นต้น
  • พัฒนาการทางสมอง ชอบเล่นอิสระและเลียนแบบท่าทางของคนและสัตว์จำลองบทบาทสมมติด้วยของเล่นเหมือนจริงจะช่วยเสริมจินตนาการให้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งยังสนใจฟังนิทาน เรื่องเล่าและหนังสือภาพ ชอบแสดงท่าทางประกอบและเคลื่อนไหวตามจังหวะเพลง
  • พัฒนาการทางสังคมและภาษา เริ่มเล่นกับเด็กอื่นมากขึ้นและทำงานเป็นกลุ่มได้ เช่น แสดงบทบาทสมมติ และเล่นขายของ ซึ่งเด็กวัยนี้จะมีการพูดจาสื่อสารกันระหว่างที่เล่นมากขึ้น

Concern : ด้วยวัยที่มีจินตนาการสูง พ่อแม่จึงควรการตักเตือนและแนะนำการเล่นด้วยเหตุผล เพื่อให้ลูกไม่นำเอาจินตนาการไปเล่นแบบเสี่ยงๆ หรือเป็นพื้นฐานความรุนแรง เช่น เลี่ยงเล่นต่อสู้ ไม่ซื้อของเล่นที่เลียนแบบอาวุธ ฯลฯ

 

ประโยชน์จากของเล่นเสริมพัฒนาการ

1.ฝึกแก้ไขปัญหา

ของเล่นเสริมพัฒนาการ เช่น การต่อบล็อกไม้ การต่อจิ๊กซอว์ หรือกล่องหยอดรูปทรง จะช่วยให้ลูกรู้จักการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นว่าจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้เล่นได้สำเร็จ

2.เสริมสร้างจินตนาการ

ลองนึกถึงภาพเด็กกำลังเล่นรถถัง รถบังคับ อุลตร้าแมน หรือตัวการ์ตูนยอดฮิต อย่าง Ben 10 สิคะ เขาจะใช้ปากทำเสียงต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน นั่นเพราะเด็กได้นำตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความคิดและจินตนาการที่สร้างขึ้น ซึ่งถือเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กสนใจในสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

3.ร่างกายแข็งแรง

เพราะลูกน้อยได้ใช้ทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ แขนและขาจึงได้ขยับ ซึ่งถือเป็นการออกกำลังกายที่ดี ที่จะช่วยให้เขามีศักยภาพในการเรียนรู้โลกกว้างในอนาคต

ของเล่นเป็นอีกตัวช่วยสำคัญในการสร้างพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยได้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่หาเวลาว่างทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ที่บ้านกันด้วยนะคะ 

 

 

ลูกสมาธิสั้น กับ ไฮเปอร์ พ่อแม่จะดูแลและเสริมพัฒนาการลูกได้อย่างไร?

 เด็กสมาธิสั้น-ลูกสมาธิสั้น-เด็กไฮเปอร์-ลูกไฮเปอร์-Attention Deficit Hyperactivity Disordes,-ADHD-พัฒนาการเด็กสมาธิสั้น-อาการของเด็กสมาธิสั้น-วิธีรักษาอาการสมาธิสั้น-วิธีดูแลลูกสมาธิสั้น-วิธีช่วยลูกสมาธิสั้น-วิธีสร้างสมาธิให้ลูก-การวินิจฉัยเด็กสมาธิสั้น-วิธีดูแลลูกไฮเปอร์

ลูกสมาธิสั้น กับ ไฮเปอร์ พ่อแม่จะดูแลและเสริมพัฒนาการลูกได้อย่างไร?

 

เด็กสมาธิสั้น เด็กไฮเปอร์ ลูกสมาธิสั้น อาจจะจดจ่อกับอะไรยาก แต่คุณแม่สามารถช่วยเหลือลูกสมาธิสั้นและส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกสมาธิสั้นได้ง่าย ๆ แบบนี้ค่ะ

สาเหตุของการทำให้เป็นเด็กสมาธิสั้น เด็กไฮเปอร์  

กลุ่มอาการสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disordes; ADHD) หรือที่เรียกกันว่า เด็กไฮเปอร์ เกิดจากความผิดปกติของสมอง แต่ระบุไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุใดที่ทำให้สมองผิดปกติ

ปัจจุบัน เชื่อว่าว่าอาจจะเป็นผลมาจากพันธุกรรม แต่พันธุกรรมจะมีผลและมีการถ่ายทอดอย่างไร ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน แต่มีผลต่อสมองทำให้การทำงานของสมองบางส่วนเกิดการบกพร่อง โดยเฉพาะสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมาธิ ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง นี้ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันต่อระบบสั่งงานอื่นๆ พบในเด็กอายุก่อน 7 ปี แต่อาการมักจะเด่นชัด เมื่อเด็กมีอายุ 4 - 5 ปี

และจากการตรวจในครอบครัวเด็กที่ป่วยพบว่า กลุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติเหล่านี้ได้ มักจะเป็นกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น แม่ใช้ยาหรือแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด

 

ข้อสังเกตและอาการบ่งชี้เด็กสมาธิสั้น เด็กไฮเปอร์

อาการที่สำคัญของเด็กกลุ่มสมาธิสั้นแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

1. อาการซนมากกว่าปกติ (Hyper Activity)

ลักษณะความซนจะมากกว่าเด็กทั่วไป ซนแบบไม่อยู่นิ่ง อยู่ไม่เป็นสุข ลุกลี้ลุกลนตลอดเวลา เคลื่อนไหวตลอดเวลา ซึ่งถ้าเป็นเด็กในวัยก่อนอายุ 4 - 5 ปี จะแยกได้ยาก เนื่องจากความสามารถในการควบคุมตัวเองของเด็กปกติจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก ด้านความพร้อมของพัฒนาการ

เด็กอายุก่อน 4 ปี จะมีพฤติกรรมซน ดื้อ และเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก เนื่องจากสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ซึ่งสมองส่วนหน้าทำหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ การยับยั้งชั่งใจ ซึ่งจะเริ่มทำงานได้เต็มที่หลังจากอายุ 4 - 5 ปีไปแล้ว สำหรับเด็กปกติเมื่อพ้นช่วงอายุดังกล่าวไปแล้ว ก็ค่อยๆ ลดลงไปเอง

2. อาการสมาธิสั้น หรือไม่มีสมาธิ

เด็กจะวอกแวกได้ง่าย แม้แต่สิ่งเร้าเล็กๆน้อยๆ ก็ทำให้เด็กเสียสมาธิได้ เช่น ขณะกำลังนั่งอ่านหนังสืออยู่ หากมีเสียงของตกพื้น เด็กในกลุ่มสมาธิสั้นจะหันไปทางต้นเสียงทันทีขณะอยู่ในห้องเรียน หากมีคนเดินผ่านก็จะหันไปดูทันที มีความไวต่อสิ่งเร้าภายนอก ผ่านตาหรือหูเกิดจากสิ่งเร้าภายในตัวของเด็กเอง มักจะแสดงออกด้วยอาการเหม่อลอย นั่งนิ่งๆ เป็นเวลานาน เหม่อบ่อยอาจแสดงออกในรูปของการทำงานไม่ค่อยสำเร็จ เพราะในขณะทำงาน ใจก็จะไปคิดถึงเรื่องอื่น ทำให้งานเสร็จช้า ต้องค่อยจ่ำจี้จ่ำไช งานจึงจะสำเร็จลุล่วง ซึ่งเด็กที่ไม่ได้เป็น ไฮเปอร์ อาจทำงานไม่สำเร็จก็ได้ เพราะขาดแรงจูงใจ ไม่มีกำลังใจ หรือซึมเศร้า แต่จะสามารถทำกิจวัตรประจำวัน อย่างสม่ำเสมอส่วนเด็กไฮเปอร์อาจมีอาการขี้เกียจได้ เช่นเดียวกัน แต่ความสามารถทำกิจวัตรประจำวันและความตรงต่อเวลามักพบว่ามีความบกพร่องร่วมด้วย ซึ่งไม่ได้เกิดจากอุปนิสัย แต่เกิดจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ ที่ต่างจากเด็กปกติ

3. อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsive)

เด็กมักจะแสดงออกในลักษณะที่รอคอยไม่เป็น พูดแทรกขึ้นในทันทีขณะที่คนอื่นกำลังคุยกันอยู่ อยากพูดก็จะพูดเลย ไม่คำนึงถึงความเหมาะสม เพราะไม่สามารถอดทนรอให้การสนทนานั้นจบเสียก่อนไม่ฟังคำพูดหรือคำขอให้จบก่อน ก็จะรีบลุก รีบวิ่งไปหยิบของนั้นมาให้ แสดงออกในลักษณะรีบเร่ง หุนหันพลันแล่น รอคอยไม่เป็น ซึ่งมักเป็นเหตุเกิดอุบัติเหตุต่อกับเด็กได้ง่ายหงุดหงิดง่าย เล่นแรง ต้องแยกระหว่างเด็กปกติด้วย เพราะเด็กปกติ ก็จะอาจดูเจ้าอารมณ์ เมื่อถูกขัดใจ เป็นเพราะพัฒนาการที่ยังไม่สมบูรณ์ของสมองส่วนหน้า ทำให้ไม่สามารถควบคุมการการยับยั้งชั่งใจหรืออธิบายความต้องการความคับข้องใจของตนเองได้เต็มที่ ในเด็กปกติ หลังจากอายุ 4 - 5 ปีไปแล้ว ก็ค่อยๆ ลดลงไปเอง

จากลักษณะอาการสำคัญทั้ง 3 ของกลุ่มเด็กสมาธิสั้น เด็กอาจมีลักษณะครบทั้ง 3 กลุ่ม หรืออาจมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่เด่นหรืออาจมีลักษณะเด่นร่วมกัน1 - 2 อาการเลยก็ได้

สำหรับเด็กที่ผ่านการฝึกระเบียบวินัย และความอดทนอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถควบคุมตัวเองได้ดี ได้เรียนรู้ จดจำประสบการณ์ในเชิงลบจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และการถูกทำโทษ ที่จะช่วยเตือนไม่ให้เด็กซนหรือทำผิดซ้ำอีก

ดังนั้น หากเด็กอายุเกิน 5 ปี และการได้รับการดูแลเอาใจใส่ดี ฝึกระเบียบวินัย และเสริมสร้างความอดทนรอคอย แต่ยังคงอาการซุกซนอยู่ไม่สุขไม่เข็ดจำ เจ็บตัวต่อเนื่อง อาจต้องส่งตรวจประเมินความเสี่ยงสมาธิสั้นโดยผู้เชี่ยวชาญหรือพาไปพบแพทย์

การวินิจฉัยทางการแพทย์

ในการวินิจฉัยจะเปรียบเทียบกับเด็กธรรมดาทั่วไป โดยดูจากการทำงานหรือทำกิจกรรม ที่มักไม่ค่อยสำเร็จและชอบรบกวนเด็กคนอื่นมากกว่าปกติทั่วไป

ในการเล่น ก็มักเล่นไม่จบ เช่น เล่นต่อตัวต่อ ซึ่งเด็กทั่วไปในวัย 7 - 8 ปี จะนั่งเล่นตัวต่อจนเป็นรูปเป็นร่างได้ แต่ในเด็กกลุ่มสมาธิสั้นอาจทำไม่สำเร็จ หรือเด็กทั่วไปสามารถนั่งเล่นอยู่กับที่ได้นานประมาณ 15 - 30 นาที แต่หากเด็กนั่งเล่นอยู่กับที่ไม่ได้ อาจสันนิษฐานในเบื้องต้นว่า อยู่ในกลุ่มสมาธิสั้น

แพทย์จะต้องทำการทดสอบและสังเกตจากปัญหาการเรียนเป็นหลัก โดยภาพรวมแพทย์จะประเมินจากอาการและข้อบ่งชี้ของการเป็นสมาธิสั้นก่อน เพื่อดูว่าเป็นไฮเปอร์แท้ หรือไม่

เช่นดูว่า เด็กซนมาก ไม่มีสมาธิจดจ่อ ทำอะไรได้ไม่นาน หุนหันพลันแล่น อยู่ไม่นิ่ง ชอบปีนป่าย ความสามารถในการควบคุมตัวเองต่ำ ชอบทำของหาย หรือลืมเป็นประจำ มีพฤติกรรมไม่สมกับวัยของเด็ก ซึ่งเป็นก่อนอายุ 7 ปี และเป็นต่อเนื่องมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน ทำให้เด็กมีปัญหาในการปรับตัวและการดำรงชีวิตทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน

และยังจะต้องประเมินจากหลายอย่าง เพราะอาจจะเป็น ไฮเปอร์เทียม ที่มีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูก็ได้ เช่น พ่อแม่ตามใจมากเกินไป ไม่ปลูกฝังเด็กเรื่องวินัยในตนเอง เด็กไม่รู้จักควบคุมตนเอง ไม่มีความรับผิดชอบอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นเร้ามากไป ทั้งของเล่นจำนวนมาก ห้องนอนเสียงดัง เป็นต้นอยู่ในภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล เช่น แม่เพิ่งจะคลอดน้องใหม่ หรือตัวเองเด็กเองเพิ่งเข้าโรงเรียน หรือได้ยินพ่อแม่ทะเลาะกัน สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้เด็กเรียกร้องความสนใจ เด็กอาจจะอยู่ไม่นิ่ง จนเข้าใจไปว่าเป็นเด็กไฮเปอร์ฉลาดมากไปหรือไม่ก็ปัญญาอ่อน เพราะเด็กที่ฉลาดมาก จะเบื่ออะไรได้ง่ายๆ เพราะไม่มีอะไรน่าสนใจแล้วก็จะเปลี่ยนไปทำหรือเล่นอย่างอื่น ทำให้ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งไหนได้ง่ายๆ แต่ถ้าเด็กพบสิ่งของหรือกิจกรรมที่ทำให้สนใจขึ้นมา สมาธิก็จะกลับมาได้

และเด็กที่มีปัญหาการเรียน มีได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากคนรอบข้างทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กเรียนไม่ดีได้ ซึ่งแพทย์จะต้องพิจารณาจากหลายๆ ด้าน ก่อนจะสรุปว่า ปัญหาของเด็กมาจากสิ่งแวดล้อมหรือจากความผิดปกติของเด็กเอง


เด็กสมาธิสั้น-ลูกสมาธิสั้น-เด็กไฮเปอร์-ลูกไฮเปอร์-Attention Deficit Hyperactivity Disordes,-ADHD-พัฒนาการเด็กสมาธิสั้น-อาการของเด็กสมาธิสั้น-วิธีรักษาอาการสมาธิสั้น-วิธีดูแลลูกสมาธิสั้น-วิธีช่วยลูกสมาธิสั้น-วิธีสร้างสมาธิให้ลูก-การวินิจฉัยเด็กสมาธิสั้น-วิธีดูแลลูกไฮเปอร์

การรักษาเด็กสมาธิสั้น เด็กไฮเปอร์

แพทย์จะดูประวัติอย่างละเอียด ทั้งสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูที่บ้านและพฤติกรรมที่โรงเรียน เพื่อให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ของเด็ก นำไปปรับพฤติกรรมและวิธีการเลี้ยงดู ถ้าพบว่าเป็นไฮเปอร์แท้ หรือสมาธิสั้นแบบแท้ แพทย์อาจจะให้ยาควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมของเด็ก การปรับพฤติกรรมมีดังนี้

  • จัดตารางชีวิตให้เป็นระบบ มีตารางในชีวิตประจำวัน ให้เด็กทำตามอย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่ตื่นนอน อาบน้ำ แปรงฟัน ถ่ายหนัก-เบา แต่งตัว ทานข้าวและอื่นๆ โดยพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดเป็นคนคอยบอกและดูแลทุกขั้นตอน เพื่อนำไปสู่การรู้จักควบคุมตนเอง เป็นการเสริมให้เด็กมีสมาธิในทางอ้อม
  • เลือกกิจกรรมให้เหมาะสม หากิจกรรมให้เด็กทำ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ชกมวย กระโดดเชือก หรือเตะฟุตบอล เพราะเด็กจะไม่สามารถจดจ่อหรืออยู่นิ่งได้นาน
  • ทำงานบ้าน หัดให้เด็กรู้จักรับผิดชอบงานในบ้าน เช่น ล้างจาน เก็บเศษใบไม้ ล้างรถ ล้างห้องน้ำ เป็นต้น โดยการจัดตารางงานให้ทำเป็นเวลา เพื่อสร้างระเบียบพื้นฐานในบ้าน
  • ช่วยฝึกวินัยในการตรงต่อเวลา ให้เด็กรู้ว่าต้องทำงานเสร็จเมื่อใด เป็นต้น และเมื่อเด็กทำงานชิ้นไหนสำเร็จด้วยดี ควรมีรางวัลให้เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ
  • สอนแบบค่อยเป็นค่อยไป บางเรื่องเด็กอาจจะไม่รู้และไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เช่น ปิดโทรทัศน์เมื่อดูการ์ตูนจบ หรือกดชักโครกเมื่อเข้าห้องน้ำเสร็จแล้ว หรืออื่นๆ

เพราะเด็กสมาธิสั้นส่วนมาก จะไม่รู้ตัวว่าต้องทำอะไร จนกว่าจะมีคนคอยบอกคอยสอน ให้เวลา มีเวลาให้กับเด็ก เล่นกับเด็ก เล่านิทาน หรือพาไปเที่ยวในที่ๆ เด็กอยากไป แต่ไม่ใช่สถานที่อึกทึกวุ่นวาย จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ภายในบ้านต้องไม่มีสิ่งรบกวนหรือสิ่งเร้าต่อเด็กมากเกินไป ต้องจัดห้องและบ้านให้เป็นระเบียบ เก็บของเล่นเข้าที่ มีบรรยากาศสบายๆ ไม่วุ่นวาย ไม่เปิดเพลงเสียงดัง และไม่ปล่อยให้เด็กดูโทรทัศน์หรือเล่นคอมพิวเตอร์มากเกินไป หากเด็กได้รับความเอาใจใส่ เด็กจะรับรู้ได้ถึงความรักและความเข้าใจที่คนใกล้ชิดมีให้ พฤติกรรมต่างๆ เช่น ความก้าวร้าวที่มากับอาการของโรคสมาธิสั้นจะลดลงได้

หากเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีในวัยเด็ก จะส่งผลต่อเนื่องไปจนโต อาจกลายเป็นคนที่ทำอะไรไม่ค่อยสำเร็จ ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้า กลัว ซึมเศร้า ซึ่งคนในกลุ่มนี้จะมองว่า ตัวเองไร้ค่า อาจถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะเปลี่ยนพฤติกรรมเป็น คนเกเร ก้าวร้าว ต่อต้านสังคม ซึ่งคนในสองกลุ่มดังกล่าว มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มเด็กสมาธิสั้นที่เริ่มโตขึ้น แต่ก็มีบางส่วนที่อาจจะเป็นไปในทิศทางที่ดี เพราะมีพรสวรรค์ด้านอื่นเป็นพิเศษมาช่วยชดเชย ทำให้เด็กเกิดความภูมิใจ หรือพ่อแม่และคนในครอบครัว มีความเข้าใจจึงดูแลเป็นอย่างดี

 

การช่วยเหลือทางจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว

ในการปรับพฤติกรรมของเด็กไฮเปอร์หรือเด็กสมาธิสั้น ควรจะไปไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป กว่าที่พฤติกรรมจะเปลี่ยน หรือเกิดการพัฒนาจะต้องอาศัยเวลา ไม่สามารถเปลี่ยนได้ในเวลาสั้นๆ พ่อแม่และคนในครอบครัว จึงมีความสำคัญมาก เพราะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้น แล้วค่อยๆ ลดบทบาทลงทีละน้อยๆ จนเด็กสามารถทำด้วยตนเองได้

นอกจากนั้น ยังต้องสรรหากิจกรรมต่างๆ มาช่วยเสริมทักษะด้านต่างๆ ให้กับเด็ก ต้องเป็นกิจกรรมที่ปลอดความรุนแรง เพราะถ้าเลือกกิจกรรมไม่เหมาะสม จะกลายไปเป็นการกระตุ้นอาการสมาธิสั้นทำให้อาการแย่ลงไปอีก และที่สำคัญต้องไม่ใช้ความรุนแรงในการลงโทษ โดยจะต้องเปลี่ยนการลงโทษเป็นการตกลงกันก่อน เช่น ลดเวลาดูโทรทัศน์ลง เมื่อเด็กไม่ทำตามกติกา เป็นต้น

การฝึกให้เด็กนั่งอยู่กับที่ และทำกิจกรรมอะไรสักอย่างโดยที่เด็กจะค่อยๆ เพิ่มเวลาให้ความสนใจสิ่งนั้นขึ้นเรื่อยๆ จาก 3 นาทีเป็น 5 นาที เป็น 7 นาทีไปเรื่อยๆ พ่อแม่ควรให้คำชมเชย เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และในที่สุดก็จะให้ความร่วมมือกับพ่อแม่อย่างดี

ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องมีทั้งความเข้าใจในโรค ในตัวเด็ก และมีความอดทนเพียงพอ ที่จะดูแลและเพื่อให้เด็กหายจากอาการสมาธิสั้นได้

การช่วยเหลือทางด้านการเรียน

ถ้าไม่ได้รับการรักษา เด็กที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาในการเรียนและนอกจากนั้นยังจะมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เช่น การคบเพื่อน การอยู่ในสังคมร่วมกับคนอื่น เพราะพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นก่อให้เกิดความรำคาญต่อคนอื่นไม่น้อย

ปัญหาการเรียน

        • เมื่อเด็กขาดสมาธิที่จะตั้งใจฟังครู ไม่ตั้งใจเรียน ไม่สนใจฟังครูสอนหรือสั่งการบ้าน ส่งผลให้เด็กเรียนไม่เข้าใจ ทำงานส่งครูไม่ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพตามที่ควรเป็น
        • การเรียนของเด็กไม่ดี เพราะบทเรียนของวันนี้ ยังไม่ทันจะทำความเข้าใจให้ดี วันรุ่งขึ้นก็มีบทเรียนใหม่เข้ามาอีก ทำให้เรียนไม่ทันเพื่อน ก็จะกลายเป็นเบื่อแล้วไม่อยากเรียน
        • เมื่อไม่มีสมาธิก็จะยุกยิกตลอดเวลา แกล้งเพื่อน ชวนเพื่อนคุย ทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง ผลการเรียนก็ออกมาไม่ดี
        • เด็กมักถูกครูทำโทษจากพฤติกรรมของโรคสมาธิสั้นที่แสดงออกมา ทำให้เด็กรู้สึกไม่ดีเพิ่มขึ้นอีก เด็กจึงมักมีปัญหาด้านอารมณ์และความวิตกกังวลตามมา
        • เด็กไม่สามารถอดทนนั่งทำข้อสอบที่ยากและน่าเบื่อได้
        • เมื่อประเมินผลการเรียน ผลที่ได้ออกมาไม่ดีเท่าเด็กปกติ ก็จะส่งผลต่อเนื่อง ทำให้เด็กรู้สึกแย่กับตัวเอง มองตัวเองว่า ไม่เก่ง ไม่ดี โง่กว่าเพื่อน
        • ในเด็กบางคนที่มีไอคิวดี แต่มีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วย เมื่อเด็กไม่ตั้งใจฟังครูสอน แต่ก็สามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดี ทั้งที่แสดงออกเหมือนไม่ได้ตั้งใจฟังเลย ลักษณะอย่างนี้บางครั้งก็กลับกลายไปเป็นผลเสียต่อเพื่อนที่นั่งเรียนอยู่ข้างๆ เพราะในช่วงไม่มีสมาธิก็จะหันไปชวนเพื่อนคุย พลอยทำให้เพื่อนไม่มีสมาธิในการเรียนไปด้วย และเหมือนเป็นตัวปัญหาของชั้นเรียน ทำให้ความสัมพันธ์ต่อคนอื่นไม่ดีไปด้วย

ถ้าครูไม่เข้าใจก็จะตำหนิลงโทษ เด็กก็จะเสียกำลังใจ ไม่อยากไปเรียน ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจก็จะตามมา เริ่มโดดเรียน หนีเรียน หรือไม่ก็แสดงออกอย่างอื่น เช่น ก้าวร้าว อาละวาด เป็นต้น

สิ่งที่ครูควรทำ

ถือเป็นเรื่องสำคัญ ครูจะต้องจัดลำดับกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสม

        • การวาดรูป ระบายสี หรือศิลปะจะช่วยทำให้เด็กสงบ มีสมาธิมากขึ้น เด็กกลุ่มนี้จะเรียนได้ดีในวิชาศิลปะ ครูอาจจะเพิ่มเวลาเรียนวิชาศิลปะให้มากขึ้น
        • เด็กไม่ควรอยู่ในห้องที่มีสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่เยอะ แขวนระโยงระยาง ควรจัดให้เรียนให้ห้องที่สงบ โปร่งโล่ง
        • ครูต้องเลือกวิชาและจัดบรรยากาศให้เหมาะสมกับเด็ก
        • ครูอาจต้องแยกเด็กไฮเปอร์ ออกจากเพื่อนเพื่อไม่ให้รบกวนการเรียนของเด็กคนอื่น
        • ครูต้องคอยสังเกตว่า ยาที่แพทย์ให้มานั้นเด็กกินแล้วเป็นอย่างไร และรายงานผลกลับไปที่แพทย์ด้วย เช่น ยาตัวนี้เด็กกินแล้วไม่ซน แต่ง่วงหลับตลอดวัน ก็ต้องมีการปรับตัวยา เพราะเท่ากับเด็กไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย

สำหรับเด็กไฮเปอร์ ครูจะต้องประสานกับพ่อแม่หรือแพทย์ผู้ดูแลรักษา เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ ของเด็ก และหากครูมีความเข้าใจและให้ความรักเด็กที่เป็นโรคนี้ การปรับพฤติกรรมก็จะง่ายขึ้นเมื่อเด็กให้ความร่วมมือ