facebook  youtube  line

รักลูก The Expert Talk EP.75 (Rerun) : รุ่นในร่ม ปัญหาใหม่ท้าทายพัฒนาการ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.75 (Rerun) : Indoor Generation The Effect "รุ่นในร่ม" ปัญหาใหม่ท้าทายพัฒนาการ

 

เรื่องใหม่เรื่องใหญ่ท้าทายพัฒนาการ ผลลัพธ์ของการอยู่ในร่ม น่ากลัวและต้องกังวลมากกว่าที่เราคิด กระทบพัฒนาการและการเรียนรู้ด้านใดบ้าง

 

ชวนฟังก่อนกระทบพัฒนาการไปมากกว่าที่เป็น โดย The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.77 (Rerun) : Toxic Parents? คลี่คลายก่อนกลายเป็น (พ่อแม่) เป็นพิษ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.77 (Rerun) : Toxic Parents? คลี่คลายก่อนกลายเป็น (พ่อแม่) เป็นพิษ

 

หาทางออก คลี่คลายตัวเองจากการการเป็นพ่อแม่เป็นพิษ

เข้าใจความต้องการ สื่อสารความคาดหวังและรับมือจัดการด้วยวิธีการเชิงบวก เพื่อลดความเป็นพิษในตัวพ่อแม่ลง

 

ฟังวิธีการโดย The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.78 (Rerun) : ปัญหาระดับชาติ เด็กไทยอ่านไม่ออก แก้ยังไงดี

 

รักลูก The Expert Talk Ep.78 (Rerun) : ปัญหาระดับชาติ เด็กไทยอ่านไม่ออก แก้ยังไงดี

 

รับมือปัญหาลูกวัยประถมยังอ่านหนังสือไม่ออก กระทบอะไรบ้าง พ่อแม่ช่วยลูกยังไงดี

ฟัง ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เว็บไซต์คาสิโนที่น่าตื่นเต้นและน่าสนใจมาแรงที่สุดในโลกนี้! สวัสดีทุกท่านที่หลงไหลในโลกของการพนันออนไลน์, พบกับประสบการณ์การเล่นเกมที่ไม่เหมือนใครที่ pgslot-king.com. เรามีความหลากหลายในเกมคาสิโนที่ท่านต้องการ ทั้งสล็อต, ป๊อกเด้ง, และเกมโต๊ะอื่นๆ

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.79 (Rerun) : รู้จักหนูคนพิเศษ และหนูน้อย “LD”

รักลูก The Expert Talk Ep.79 (Rerun) : รู้จักหนูน้อยคนพิเศษ และหนูน้อย "LD"

 

สถิติของเด็กพิเศษมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของพ่อแม่ จากตัวของโรคและความผิดปกติจากสมอง

 

เพราะเราเข้าใจว่า คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกคนพิเศษ ต้องใช้ความเข้าใจ รวมถึงต้องการวิธีการ และแนวทางการดูแลลูกคนพิเศษ “รักลูกเป็นพิเศษ” จึงเชิญผู้เชี่ยวชาญ รศ. ดร. นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ มาร่วมพูดคุยเพื่อสร้างกำลังใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ เราชวนมารู้จักหนูคนพิเศษและเข้าใจหนูน้อย LD ให้มากขึ้น เพื่อไขความข้องใจ แบบไหนใช่ LD หรือไม่ใช่?

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

รักลูก The Expert Talk Ep.81 (Rerun) : เปลี่ยน “วัยทอง” เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

รักลูก The Expert Talk Ep.81 (Rerun) : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

ช่วงวัยทองของเด็ก คือช่วงเวลาทองของชีวิตเด็ก เขาจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ก็อยู่ที่ช่วงเวลานี้

เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่พ่อแม่ต้องรับมือและมองวัยทองในมุมมองใหม่ เพื่อให้เป็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ดีของลูก

 

ฟังมุมมองการรับมือวัยทองแต่ละช่วงวัยจากครูก้าได้ใน EP นี้

เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ ไม่อยากให้พลาดฟังเพื่อจะได้วิธีการเลี้ยงลูกวัยตั้งต้นของชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.83 : สร้างทุนชีวิต แก้วิกฤตเด็กปฐมวัย

 

รักลูก The Expert Talk Ep.83 : สร้างทุกชีวิต แก้วิกฤตเด็กปฐมวัย

การลงทุนกับเด็กไม่ใช่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของ “เวลาคุณภาพ” และ “ความเข้าใจลูก” และมีอีกหลายเรื่อง ที่พ่อแม่สามารถทำได้ มีอะไรบ้าง

 

ชวนฟัง The Expert ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข นายกสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.84 (Rerun) : เป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริงทางออก "Toxic Stress"

 

รักลูก The Expert Talk Ep.84 (Rerun) : เป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

คลี่คลายความเครียดเป็นพิษ Toxic Stress ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดทุกด้าน ด้วยการเป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง จะเป็นได้อย่างไร

 

ฟังวิธีการจาก The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.92 : ติดจอ ต้นตอทำลูกซึมเศร้า

 

รักลูก The Expert Talk Ep.92 : ติดจอ ต้นตอทำลูกซึมเศร้า

 

ติดจอใสทำลายพัฒนาการมากกว่าที่พ่อแม่คิด ตั้งแต่ออทิสติกและอาการสมาธิสั้นที่น่ากังวล ซ้ำยังส่งผลไปถึงพัฒนาการด้านอารมณ์ ซึ่งหากพ่อแม่ไม่รู้เท่าทัน อาจจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้า และนำไปสู่การฆ่าตัวตายในอนาคต

 โดย The Expert ศ.นพ.วีรศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าสาขาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

"จอใส" กระทบพัฒนาการ

เริ่มจากการวิจัยที่ผมเองก็มีการติดตามเด็กในระยะยาวตั้งแต่เด็กอายุ 6เดือน ติดตามไปเรื่อยๆ จนตอนนี้เด็กที่อยู่ในโครงการอายุ10ขวบแล้ว ผลพบว่าเด็กอายุตั้งแต่6เดือน-18เดือน แนวโน้มถ้าเขาอยู่บริเวณสื่อหน้าจอซึ่งในยุคนั้นเป็นแค่ทีวี พบว่าเด็กจํานวนหนึ่งมีพฤติกรรมไปทางเด็กออทิสติก มากขึ้น แล้วเรื่องของเด็กออทิสติกก็มีข้อมูลงานวิจัยของต่างประเทศพบมากขึ้นว่า ยิ่งให้มากให้เร็วตั้งแต่ตอนเล็กๆ จะทําให้เด็กเนี่ยมีความเสี่ยงไปทางเด็กออทิสติก คืออยู่ในโลกส่วนตัวมากขึ้น ขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านสังคมและอารมณ์ ในงานวิจัยนั้นยังพบอีกว่า เด็กที่ดูหรือว่าได้รับสื่อประเภทพวกทีวีค่อนข้างมาก มีโอกาสที่เขาจะมีปัญหาพฤจิกรรมก้าวร้าวเพิ่มขึ้น มีปัญหาทางด้านปฏิกิริยาทางด้านอารมณ์เพิ่มขึ้น หมายความว่าเวลาหงุดหงิดไม่พอใจก็จะวีนเหวี่ยง ใช้อารมณ์

ซึ่งก็สอดคล้องเลยว่าหลังจากช่วงที่โควิดเคสคต่างๆ เริ่มกลับม คุณพ่อคุณแม่ก็จะเล่าว่าจากที่เคยดีมาโดยตลอด แล้วพอเราเริ่มให้ใช้จอก็จะรู้สึกเหมือนว่าหงุดหงิด ไม่พอใจอะไรต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ขอจอคืน ถึงเวลาต้องไปทํากิจวัตรประจําวันก็ม่ได้ทํา แล้วในงานศึกษายังเจออีกว่าสัมพันธ์กับเรื่องของพฤติกรรม และสมาธิสั้นมากขึ้นด้วย

ต้องเรียนว่าการใช้สื่อจอใสแบบไม่ค่อยเหมาะสม ปัจจุบันมันไม่ใช่แค่ทีวีก็มีสื่ออื่นๆมากมาย มือถือหรือว่าโซเชียลมีเดียต่างๆ ในการศึกษาทั้งในเด็กเริ่มโตขึ้นมาวัยก่อนเรียน วัยอนุบาลหรือว่าในช่วงวัยเรียน รวมถึงวัยรุ่นพบว่ามีความสัมพันธ์กับปัญหาทางด้านอารมณ์เยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือเด็กบางคนปถึงขั้นมีความคิดหรือความพยายามอยากฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น หรือมีปัญหาโรคทางด้านจิตเวชต่างๆ เพิ่มขึ้น พบเด็กมีปัญหาเรื่องของการรับประทานอาหารผิดปกติเพิ่มสูงขึ้น เช่น ถ้าเรียกทางการแพทย์เรียกEating Disorder เช่น ทําไมบางคนเรียกเป็นโรคคลั่งผอมเพราะว่าเราก็คือเข้าไปเสพสื่อประเภทนี้ แต่ก็ไม่อยากให้มองว่าสื่อมันไม่ดีอย่างเดียว จริงๆ เราสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้

เด็กที่เล่นสื่อเยอะๆ ถ้ามองอีกมุมหนึ่งคืออยู่กับความเบื่อไม่เป็น ความเบื่อเป็นอารมณ์อย่างหนึ่งของเราเหมือนกันหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่เหมือนกันบางทีเราก็ไม่รู้จะทําอะไร ทุกวันนี้ทุกคนก็เล่นมือถือตลอดเวลา เพราะว่าเรารู้สึกว่าเราดึงเอาใจไปอยู่ทางอื่นเพราะว่าเราอยู่กับความเบื่อไม่ได้ ซึ่งพออยู่กับความเบื่อไม่ได้เนี่ย ลูกๆก็ไม่รู้จะทํายังไง ซึ่งถ้าจะเป็นสมัยก่อนที่เราไม่มีสื่อเหล่านี้ พอเบื่อเราก็ต้องชวนกันมาเล่น มาคุยกัน ร้องเพลง อ่านหนังสือ แต่เด็กไม่รู้จะทําอะไรดี ก็เลยเข้าไปอยู่กับสื่อหน้าจอมากขึ้น แล้วพอลไม่ได้ดูก็โวยวาย หัวร้อนง่าย

ใช้สื่อกับลูกอย่างไร

  1. Background Media คีย์เวิร์ดสําคัญเลยเด็กถ้าอายุเกินสองปีเล่นได้ แต่ถ้าอายุน้อยกว่าสองปีมีข้อมูลพบว่ากระทบกับพัฒนาการ มีงานวิจัยจากสิงคโปร์รายงานว่าแค่เสียงทีวีที่เปิดทิ้งไว้ สามารถเปลี่ยนคลื่นสมองเด็กได้สัมพันธ์กับการเป็นสมาธิสั้นเพิ่มขึ้น เพราะว่าสื่อต่างๆ เวลาเปิดมันจะเข้าไปเร้าระบบประสาทรับความรู้สึกต่างๆ เพราะสื่อมันมีทั้งภาพและเสียง เมื่อเข้าไปกระตุ้นมากทำให้สมาธิสั้นเพิ่มขึ้นแม้จะไม่ได้ดู และส่วนใหญ่เป็นรายการสําหรับผู้ใหญ่ ซึ่งที่เราศึกษาวิจัยก็พบว่ามีผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก ถ้าเปรียบเทียบกับบ้านที่เปิดBackground Mediaน้อย สติปัญญาของเด็กที่เปิดน้อยกว่ามีแนวโน้มสติปัญญาดีกว่าและพัฒนาการดีเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก

  2. เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมตามวัยและต้องลองเข้าไปดูเนื้อหาก่อน ปัจจุบันมีเว็บไซต์ต่างประเทศที่สามารถเข้าไปเช็กได้ที่ www.commonsense.org/education (Common Sense Media) นอกจากนี้ต้องกําหนดกฎกติกา ถ้าจะให้ลูกใช้หน้าจอก็ต้องหลังจากที่เขารับผิดชอบงานที่ควรจะทำก่อน เช่น กิจวัตรประจําวันเสร็จแล้ว การบ้านเสร็จ รับผิดชอบงานบ้านแล้ว นอกจากเรื่องกฎกติกาแล้ว เด็กต้องเรียนรู้ผลที่ตามมาว่าถ้าไม่ทําตามกฎกติกาจะเกิดอะไรขึ้นบ้างด้วย

  3. ทำข้อตกลงก่อนให้ลูกใช้งาน บ้านที่กำลังจะซื้อจอให้ลูก ต้องมีการทําสัญญากับลูกตั้งแต่เริ่มแรกเลย เช่น มือถือเครื่องนี้เป็นมือถือของแม่ซื้อมาให้ลูก ลูกจะสามารถเล่นได้ตอนไหนบ้าง ถ้าลูกไม่สามารถทําตามกฎอันนี้ได้มือถือเครื่องนี้แม่สามารถริบคืนได้ พ่อแม่มีสิทธิ์เด็ดขาดและให้ลูกเซ็นชื่อกํากับด้วย ซึ่งเด็กบางคนก็ยอมเซ็นไปก่อน แต่ต้องอย่าลืมที่จะบอกถึงผลที่ตามมาและต้องทำตามข้อตกลงร่วมกัน หรือบอกถึงผลกระทบถ้าใช้งานนานเกินไป เช่น หาวบ่อย ปวดต้นคอ ปวดมือ

  4. ดูไปพร้อมกับลูก อยากให้คุณพ่อคุณแม่มีโอกาสเข้าไปดูสื่อกับลูกด้วย เพราะเดี๋ยวนี้จะมี pop up ขึ้นมาระหว่างที่ลูกดูคลิปต่างๆ ซึ่งมันจะทำให้เข้าสู่คอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสมกับวัย อีกเรื่องหนึ่งกฎกติกาที่ว่า หมอคิดว่าเราอาจจะต้องมองกันที่สถานที่ภายในบ้านด้วยว่าตรงที่ไหนที่เราไม่ควรจะใช้สื่อหน้าจอ รวมไปถึงเวลาช่วงไหนที่เราไม่ควรจะใช้ เช่น ห้ามใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างด้วย และในห้องนอนก็ไม่ควรจะใช้สื่อหน้าจอ

นอกจากนี้หน้าจอจะมีแสงสีน้ำเงินออกมาที่เรียกว่า Bluelight ซึ่งแสงเหล่านี้จะไปรบกวนการหลั่งฮอร์โมนการนอนหลับที่ชื่อว่า "ฮอร์โมนเมลาโทนิน" ทําให้เด็กจะนอนหลับยากขึ้น รวมถึงต้องงดเล่นเกม ดูคอนเทนต์ที่เร้าอารมณ์ความสนุก เพราะถ้าเด็กนอนหลับไม่ดีก็ส่งผลต่อเรื่องของการคุมอารมณ์ระหว่างวันด้วย สิ่งที่พ่อแม่ควรทําก็คือ อย่าให้มาก อย่าให้เร็ว

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.95 (Rerun) : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว “ไม่จับจด ไม่เอาแต่ใจ รู้ผิดชอบชั่วดี”

รักลูก The Expert Talk Ep.95 (Rerun) : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว "ไม่จับจด ไม่เอาแต่ใจ รู้ผิดชอบชั่วดี"

ผลลัพธ์ของการเลี้ยงทั้ง 3แบบเด็กจะเป็นอย่างไร หากกำลังเลี้ยงลูกแบบ 3 วิธีการนี้ ลูกจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร และต้องปรับแนวทางการเลี้ยงลูกอย่างไร ฟัง The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

เราเลี้ยงลูกบนความไม่เข้าใจบางเรื่องเป็นความปรารถนาดีอยากให้ลูกมีความสุข ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่ความปรารถนาบางครั้งต้องให้ลูกเจอความผิดหวัง เช่น ลูกผิดหวังไม่ได้เลยก็ต้องสอนให้ลูกผิดหวังบางครั้งพ่อแม่เจ็บปวดที่ลูกร้องไห้เพราะไม่ได้ดั่งหวังซึ่งไม่ผิด แต่เราปรับจูนความเข้าใจกันว่าจะมีจังหวะไหนที่ผ่อน จังหวะไหนที่ตึงบางเรื่องแล้วทำให้พ่อแม่รู้เท่าทันว่าบางเรื่องเราต้องถอยบางเรื่องรักษาระยะห่างเป็นการเรียนรู้ร่วมกันแต่จะผิดคือบกพร่องหน้าที่พ่อแม่

เลี้ยงปกป้องเกินไป เด็กขาดความมั่นใจ (Over Protection)

เป็นหน้าที่พ่อแม่ที่ต้องปกป้องลูกแต่ถ้ามากเกินไปมีปัญหาคือไม่ปกป้องเลย เช่น ตอนเป็นเด็กลูกร้องไห้ ปัสสาวะ อุจจาระราดที่บอกว่าเด็กร้องไห้ไม่ต้องสนใจ จริงๆแล้วเด็กอายุน้อยกว่า 6เดือนไม่มีมารยาไม่มีอารมณ์ไม่มีเงื่อนไขแต่รู้สึกไม่สบายตัวจึงร้องไห้ออกมา พ่อแม่ต้องรีบไปดูทันทีเพื่อปกป้องแต่พ่อแม่ไม่ทำนี่คือบกพร่องต่อหน้าที่ หิวก็ปล่อยลูกร้องอายุน้อยกว่า 6เดือน ซึ่งถ้าน้อยกว่า6เดือนไม่มีเงื่อนไขนอกจากหิวไม่สบายตัวจริงๆ

หรือที่ชัดกว่านี้คือเมื่อเด็กมีอารมณ์แต่พ่อแม่น็อตหลุดแทนที่จะเป็นการปกป้องกลายเป็นทารุณกรรมนี่เป็นปัญหา ซึ่งมีหลากหลาย Under Protection แย่ บกพร่อง มีปัญหา และ Over Protectionก็มีปัญหา เช่น เด็กที่ไปเที่ยวแล้วก็ถามว่า “รู้ไหมชั้นลูกใคร” แล้วพ่อแม่ตามไปปกป้อง แม้กระทั่งลูกทำผิดกฎหมายก็ยังเข้าข้าง ปกป้องคุ้มครองจนไม่รู้รับผิดชอบชั่วดี

หรือกรณีที่ด็กอนุบาลแกล้งกันเด็กจบแล้วแต่พ่อแม่ไม่จบบิวท์อารมณ์กันผ่านSocial mediaใช้อารมณ์ของลูกเป็นตัวตั้งจนยกพวกตีกันในรร.อนุบาล แต่ลูกกำลังเห็นโมเดลว่าพ่อแม่กำลังทำอะไร คือยิ่งมีลูกน้อยลงพ่อแม่จะรักแบบเทหมดใจ ซึ่งดีแต่มันเยอะเกินไปผลคือเด็กไม่รู้ผิดชอบชั่วดี

เลี้ยงอ้วน เด็กเอาแต่ใจ (Overfeeding)

คำว่าอ้วนเอาแต่ใจมาจากระดับโภชนาการและเรื่องการซื้อของ มีอันจะกิน มีข้าวกิน มีอาหาร มีของครบตามความจำเป็นหมวดนี้คือการบริโภคนิยมและทุนนิยมอ้วนเอาแต่ใจ เป็นประเภทที่เยอะ แต่ถ้าบกพร่องคือข้าวไม่มีกินคือเกิดปัญหาเราเห็นเด็กที่มีปัญหาภาวะขาดอาหารทุพภาวะโภชนาการ ส่วนอีกกลุ่มตรงกันข้ามคือ มีอันจะกิน กินทิ้งกินขว้าง กินไม่เลือก กินได้ตลอดเวลา จึงขึ้นว่าอ้วนเอาแต่ใจ

มีเคสหนึ่งที่พ่อจบป.เอกถามหมอว่าสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น แล้วถ้าลูกผมดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์แล้วจู่ๆ จะให้ยกเลิกการดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์ก็เท่ากับว่าผมไปบล็อกความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งลูกอายุ 8ขวบแล้วหมอตกใจมากที่ยังดูดนมอยู่คือไม่ต้องคิดว่าอ้วน ฟันผุ ฟันเหยินหรือไม่ หมอจึงบอกพ่อคนนั้นว่าเป็นหน้าที่ของพ่อไหมต้องสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น หรือพอจะตอบหมอได้ไหมว่าจะอยู่จนชั่วชีวิตลูกจะหาไม่ไหม

Overfeed คือการให้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นการผิดหลักEQทั้งหมดจะเห็นว่าเด็กเอาแต่ใจ ยับยั้งอารมณ์ไม่ได้ ไม่ซื้อของลงไปดิ้นกลางห้าง โตมาหน่อยก็กรี๊ดสนั่นหรือพ่อแม่ที่ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมไม่อั้นลูกก็ซึมซับ ปากเราพูดอย่างแต่เราทำอีกแบบ ลูกเห็นว่าพ่อแม่ก็ไม่ยั้งตัวเองจับจ่ายอย่างสนุกซื้ออาหารเต็มที่เพราะว่ารวย กินทิ้งกินขว้างไม่มี dog bag คือเหลือเอาเก็บมากิน ลักษณะนี้เรียกว่า อ้วนเอาแต่ใจ มีปัญหาEQ โตมาเป็นคนที่บริโภคนิยมทุนนิยมใช้เงินซื้อทั้งหมดเราคงไม่อยากฝึกลูกให้เป็นแบบนี้ การยั้งตัวเองแล้วทำให้ดูมีประสิทธิภาพ กว่าใช้ปากพูดแล้วสอนให้ลูกเป็นแต่วิธีการทำเป็นอีกแบบมันทำไม่ได้พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบ

เลี้ยงอวดรวย (Multiple homes)

หลักการคือการไม่มีบ้านก็เป็นเด็กเร่ร่อนคือบกพร่องไม่มีบ้านอยู่ ส่วนมีหลายบ้านคือมีทั้งบ้านและคอนโด จันทร์ถึงศุกร์อยู่คอนโดเสาร์อาทิตย์อยู่บ้าน ผลคือลูกไม่รู้จักข้างบ้าน ไม่มีการร่วมทุกข์ร่วมสุข ซึ่งเมื่อก่อนเราเติบโตมาเป็นชุมชนมีรากเหง้าเราจะเรียนรู้ซึมซับร่วมทุกข์ร่วมสุขไปกับชุมชนจะรักและเรียนรู้รากเหง้าของเราเองว่าเราเป็นคนจังหวัดนี้ พอย้อนกลับไปก็ภูมิใจว่าบ้านเราเมื่อก่อนเจริญแต่เด็กยุคนี้ไม่มี

การอยู่หลายที่ทำให้ความรักในรากเหง้าการเรียนรู้อยู่ในชุมชนจะอ่อนแอไปด้วย ผลลัพธ์คือโตเป็นคนจับจด เปลี่ยนที่ได้ง่ายเวลาเข้ามาทำงานก็ทำงานตามค่าตอบแทนที่สูงกว่า ความมั่นคงในจิตใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขในองค์กรไม่มี อาจจะบอกว่านี่เป็นเทรนด์ใหม่ของโลกก็เพราะสถานการณ์บีบบังคับจึงทำให้ได้เทนรด์ใหม่ของโลกในลักษณะนี้ แต่เราจำเป็นต้องเติมไม่งั้นจะเป็นประเด็นเกิดขึ้นได้แน่นอน

สร้างวิถีใหม่ปรับเปลี่ยนแนวทางการเลี้ยงลูก

1.เรียนรู้ว่าความรักกับความถูกต้องคนละเรื่องกัน รักลูกก็จริงแต่ผิดลูกก็ต้องเรียนรู้ไม่ปกป้องแม้จะผิด

2.ต้องระมัดระวัง มีบันยะบันยัง วิธีการคือเราเองต้องเป็นต้นแบบที่ดี ทั้งการเลือกกิน เลือกซื้อของ คือหลักพอเพียง หัดเบรคตัวเองมีแล้วหรือยังลูกก็จะเรียนรู้ว่าพ่อแม่ไม่ใช่คนฟุ่มเฟือย

3.ต้องเปิดใจให้ลูกเรียนรู้ อยู่ร่วมกับการมีหลายบ้านให้รักรากเหง้าทำให้ลูกเป็นผู้ให้ในหมู่บ้าน ชุมชนในคอนโด ก็จะทำให้เกิดการรักรากเหง้าร่วมทุกข์ร่วมสุขในชุมชนได้

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.96 (Rerun) : "กล้าพอไหมเปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล"

 

รักลูก The Expert Talk Ep.96 (Rerun) : เข้าใจ "วัยทอง" ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง "กล้าพอไหม เปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล"
 

เปิดศึกกลางบ้าน ไม่มีทีท่าว่าจะสงบและยังเกิดขึ้นถี่ๆ บ้านไหนเป็นแบบนี้ ชวนฟังวิธีแก้ 3 ปัญหาน่าหนักใจ เพื่อไม่ให้กระทบพัฒนาการระยะยาว ได้แก่ ติดจอ, ก้าวร้าวเอาใจ, นิ่ง เนือย เฉื่อยชา ฟังดูเป็นเรื่องยากแต่แก้ไขได้

 

ฟังแนวทางจากครูก้า กรองทอง บุญประคอง ผู้ก่อตั้งโรงเรียนจิตต์เมตต์ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย

จะทำให้พ่อแม่มองเห็นปัญหา เข้าใจพัฒนาเจ้าตัวเล็ก และเห็นแนวทางแก้ที่ไม่ยากเกินไป

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.98 (Rerun) : Toxic Stress เสี่ยงลูกป่วยและกระทบพัฒนาการ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.98 (Rerun) : Toxic Stress เสี่ยงลูกป่วยและกระทบพัฒนาการ 


ความเครียดเป็นพิษส่งผลกระทบกับพัฒนาการและทำให้ลูกป่วย

พบวิธีการรับมือเพื่อลดผลกระทบพัฒนาการลูก เช็กสัญญาณแบบนี้ลูกกำลังเครียด อาการแบบนี้แหล่ะ ที่หนูเครียด พัฒนาการและพฤติกรรมด้านไหนพังบ้างหากหนูเครียดเป็นพิษ Stress Management ฉบับเจ้าหนู แม่รู้ไว้สอนหนูได้ โดย The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

Найти рабочее зеркало Вавада легко! Всегда актуальные ссылки помогут вам оставаться в игре и наслаждаться победами без перерывов.

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รับมือฉุกเฉิน...ลูกตกจากที่สูง

4081

 

ลูกวัยซนมักจะเกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ แถมบางครั้งก็ยังอันตรายมาก ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะป้องกันไว้ดีกว่าแก้อย่างแน่นอน

ลูกเล็กตั้งแต่วัยคลานขึ้นไป โดยเฉพาะเด็กวัย 1-3 ปี นี่กำลังซนสุดๆ เลย เพราะลูกจะเริ่มเคลื่อนที่ได้ดั่งใจต้องการ แถมยังชอบปีนป่ายและไม่รู้จักกลัวเสียด้วย เผลอแค่แป๊บเดียว ลูกก็อาจจะกลิ้งตกลงมาได้ มาดูการรับมือและวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากเจ้าตัวเล็กตกจากที่สูงกันค่ะ

 

1. หลังจากหล่นตุ๊บลงมา ขณะที่เจ้าตัวเล็กร้องไห้ ควรรีบเข้าไปอุ้ม หรือประคองให้ลุกขึ้นนั่ง จะช่วยปลอบโยนให้ลูกหายตกใจ

2. รีบเช็กดูว่าลูกบาดเจ็บบริเวณใดบ้าง แขนขาหักหรือไม่ มีบาดแผลหรือเปล่า โดยเฉพาะตรงบริเวณศีรษะของลูก ต้องตรวจสอบอย่างละเอียด

3. ถ้าศีรษะลูกกระแทกแล้วโนบวมปูดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ก็อย่าตกใจไป เพราะศีรษะมีเส้นเลือดอยู่มาก จึงทำให้เกิดอาการบวมได้ง่าย ควรรีบใช้ผ้าเย็น ประคบบริเวณที่บวม ความเย็นจะช่วยลดอาการเจ็บบวมให้ลดน้อยลง ประมาณ 1 สัปดาห์ศีรษะก็จะหายโนแล้ว

4. หากร่างกายลูกมีบาดแผลเลือดไหลซึมๆ หรือไหลเพียงเล็กน้อย ให้หาผ้าสะอาด กดแผลห้ามเลือด และทำความสะอาด แต่ถ้าแผลลึกเลือดไหลมากควรรีบพาไปพบคุณหมอโดยด่วน

5. หลังเกิดอุบัติเหตุและปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ต้องสังเกตดูว่าภายใน 12-24 ชั่วโมงลูกยังปกติดี ไม่เงียบซึม พูดคุยรู้เรื่อง ขยับแขนยกขาได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ สบายใจได้ว่าลูก ไม่เป็นอะไรมาก แค่ดูแลให้หายเจ็บก็พอ

6. ถ้าระหว่าง 12-24 ชั่วโมง ลูกมีอาการร้องไห้มากและนานผิดปกติ ซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว ดูง่วงนอน ปลุกไม่ยอมตื่น กระสับกระส่าย หรือบ่นว่าปวดหัวมาก ต้องรีบพาไปพบคุณหมอด่วน เพราะศีรษะอาจจะกระทบกระเทือนรุนแรงจนมีเลือดคั่งในสมองได้

รับมือเมื่อลูก เมื่อลูกเล่นใหญ่ ไฟกระพริบ Over Acting ตั่งต่าง

4620

 

พฤติกรรม “Over Acting” เป็นการเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ของเด็ก โดยเฉพาะวัย 1-3 ปี เช่น แสดงความเจ็บปวดมากเกินจริง ร้องคร่ำครวญ โวยวาย ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่พ่อแม่มักแยกไม่ออกว่าลูกแค่เรียกร้องความสนใจตามธรรมชาติของวัย หรือมีปัญหาพฤติกรรมและพัฒนาการทางจิตใจกันแน่

 
เพราะลูกเป็นวัยเรียกร้อง 


เป็นธรรมดาของเด็กวัย 1-3 ปี ที่ยังดูแลตัวเองได้ไม่ดีและยังไม่มีเล่ห์เหลี่ยม โดยเฉพาะช่วง 1-2 ขวบ ที่มักเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง จนพ่อแม่ต้องตามใจและทำตามที่เขาต้องการทั้งหมด ส่วนหนึ่งเพราะเขายังต้องการความช่วยเหลือ แม้ตัวเองจะเดินได้ วิ่งได้ แต่ก็ยังทำอะไรเองไม่ได้ทั้งหมด จึงเป็นธรรมดาที่จะเรียกร้อง หรือรู้สึกว่าหากร้องหรือทำอะไรในระดับที่มากกว่าปกติ ตัวเองจะได้รับความสนใจและการดูแลเป็นพิเศษนั่นเอง 



แบบไหนเรียกว่า Over Acting แบบไหนปกติ 


เส้นแบ่งของพฤติกรรมที่ลูกเรียกร้องความสนใจตามปกติ และเรียกร้องมากเกินไปจนถือเป็นปัญหาพ่อแม่สามารถสังเกตได้ดังนี้ค่ะ
 
หากลูกเรียกร้องความสนใจ แล้วพ่อแม่ไม่ให้จนเขาหยุดไปเอง นั่นคือคาแร็กเตอร์และลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมปกติของลูก
 
หากลูกเคยได้รับการฝึกฝนวินัยรู้จักกฎระเบียบของการได้หรือไม่ได้สิ่งใดอย่างชัดเจนแล้ว พ่อแม่ใจแข็งแล้ว พอถึงเวลาลูกยังเรียกร้อง ไม่ยอมฟัง แบบนี้ถือว่าผิดปกติ
 
ส่วนในกรณีที่ลูกคล้ายกับมี 2 บุคลิก เช่น อยู่ที่บ้านเรียกร้องได้ แต่อยู่โรงเรียนไม่เรียกร้อง เป็นเพราะเขารู้ว่าเรียกร้องไปก็ไม่เป็นผล เขาก็ไม่ทำ ถือว่าปกติค่ะ ไม่ใช่ปัญหา แต่หากที่บ้านและที่โรงเรียนมีการตั้งกติกาชัดเจนแต่ลูกยังเรียกร้อง อันนี้อาจจะก่อปัญหาเรื่องการอยู่ร่วมกับเพื่อนได้ ต้องมาหาสาเหตุแล้วละค่ะว่าเป็นเพราะอะไร

 

ปรับพฤติกรรมเพื่อพัฒนาการที่ดี

ฝึกวินัยด้วยกฎที่ชัดเจนและสม่ำเสมอพ่อแม่หลายคนมักมีคำถามค่ะว่าเด็ก 1-3 ขวบเริ่มฝึกวินัยได้หรือยัง คำตอบคือสามารถฝึกได้ตั้งแต่วัยขวบกว่าๆ แล้วค่ะ เพราะเขาเริ่มเข้าใจภาษาได้ดีแล้ว จึงเริ่มฝึกวินัยโดยการกำหนดกติกา เช่น อันนี้ทำได้ เล่นได้ กินได้ ซึ่งสิ่งสำคัญคือการฝึกต้องสม่ำเสมอและต่อเนื่องอย่างน้อย 3-6 เดือน ไม่ใช่วันนี้ไม่ให้กินขนมอันนี้แต่อีกวันลูกร้องโยเยเลยยอมให้กิน แบบนี้ไม่ได้ค่ะ แต่หากฝึกอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องแล้วลูกยังไม่ดีขึ้น อาจเป็นปัญหาจริงๆ ต้องพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อดูว่าเป็นปัญหาพฤติกรรมหรืออารมณ์ของลูกที่ทำให้ฝึกได้ยาก

สิ่งแวดล้อมต้องคงที่หากที่บ้านเป็นครอบครัวใหญ่ คนในบ้านต้องช่วยกันทั้งปู่ย่าตายาย รวมทั้งต้องระวังเรื่องลูกเลียนแบบสื่อ เช่น บอกว่าถ้าไม่ได้อย่างนี้จะฆ่าตัวตายเพราะจำมาจากทีวีหรือละคร ทั้งที่ยังไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่าฆ่าตัวตายคืออะไร ไม่ได้ห้ามหรอกนะคะว่าเด็กไม่ควรดูทีวี แต่พ่อแม่ควรจะต้องอยู่ด้วยและคอยชี้แนะว่าสิ่งที่เขาเห็นคืออะไร ลูกจะได้เข้าใจว่าอะไรควรหรือไม่ควรทำ และต้องทำให้สภาพแวดล้อมทุกอย่างคงที่ เพราะหากสิ่งแวดล้อมไม่คงที่และมีสื่อต่างๆ ที่ลูกไม่เข้าใจ จะทำให้ลูกทำตามเพราะคิดว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ตัวเองต้องการค่ะ
 
สอนด้วยเหตุผล ไม่ใช่อารมณ์ สิ่งสำคัญอีกอย่าคือตัวอย่างจากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ เมื่อจะพูด จะสอนลูก ต้องไม่ใช้อารมณ์ แต่ใช้เหตุผลว่าที่ให้หรือไม่ให้เขาเพราะอะไร ไม่ใช้เสียงดังโวยวายในการบอกลูกเพราะเขาจะจำไปทำกับเพื่อนหรือคนอื่นๆ ได้ว่าหากอยากให้หยุดต้องโวยวาย
 
สังเกตตัวเอง ยอมรับฟังคนรอบข้าง หากลูกมีปัญหาพัฒนาการแบบ Over Acting จริงๆ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ทำพฤติกรรมเดียวกัน ทั้งที่บ้านและโรงเรียน ฝึกแล้วก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง กรณีนี้คุณหมออาจต้องใช้ยาช่วยนะคะ เพราะลูกอาจมีปัญหาเรื่องการควบคุมตัวเอง พ่อแม่จึงต้องสังเกตจากการเลี้ยงดู และยอมรับฟังคนอื่น เช่น คุณครู ว่าเวลาที่เขาอยู่โรงเรียนเป็นอย่างไร ไม่ใช่ฝังชิพในใจไว้ว่าเราเลี้ยงดีแล้ว ถูกแล้ว ลูกปกติ ไม่เปิดใจยอมปรับพฤติกรรม ลูกก็จะยิ่งมีปัญหาพัฒนาการต่อเนื่องได้ค่ะ
 
สิ่งที่พ่อแม่ต้องใส่ใจอย่างมากเกี่ยวกับพฤติกรรม Over Acting คืออย่าทำให้ลูกไม่มั่นใจ หวั่นไหว และต้องการพึ่งพา ควรส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้การเติบโตและอยู่ได้ด้วยตัวเอง เพราะสุดท้ายหากเขาพึ่งพาและช่วยเหลือตัวเองได้โดยไม่ต้องเรียกร้อง จะทำให้เขาอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขนะคะ




 

ร้ายแรงกว่าที่คิด! เผลอใช้อำนาจกับลูก ทำลูกขาดความมั่นใจ ไม่มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

เคยไหมคะ ที่เผลอใช้อำนาจกับลูกโดยไม่รู้ตัวหรืออดไม่ได้จริง ๆ ที่จะออกคำสั่งเอาชนะลูก ดุ ตวาด หรือบังคับลูก จะด้วยความหวังดี อยากให้ลูกเชื่อฟัง สามารถก่อให้เกิดผลเสียมาก แม้บางครั้งได้ผลลูกยอมทำตาม แต่แค่ระยะสั้นเท่านั้นค่ะ เพราะในที่สุดลูกก็จะกลับไปเป็นอย่างเดิม และในหลาย ๆ ครั้ง กลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมาด้วย

ผลเสียเมื่อพ่อแม่มักเผลอใช้อำนาจกับลูก

  1. ทำให้ลูกกลัว จนขาดความมั่นใจ

จริง ๆ แล้วลูกมีความเกรงใจพ่อแม่อยู่แล้ว ยิ่งการแสดงอำนาจออกคำสั่งลูกบ่อย ๆ ยิ่งสร้างความกลัวให้ลูกมากขึ้น และจะพยายามทำตัวดี เพื่อไม่ให้พ่อแม่โกรธจนกดดันตัวเอง แต่ลึก ๆ แล้วลูกจะกลายเป็นคนหนีปัญหา มีอารมณ์หวั่นไหวง่ายมาก เกิดความกลัวในจิตใจจนลนลาน เวลาจะทำอะไรก็ไม่กล้า เพราะกลัวพ่อแม่จะดุ ทำให้ไม่กล้าคิด ไม่กล้าแสดงออก จนกลายเป็นคนขาดความมั่นใจในตัวเอง


  1. ลูกจะเลียนแบบการกระทำของพ่อแม่

เมื่อพ่อกับแม่ออกคำสั่งกับลูก ใช้อำนาจทำให้ลูกกลัว ลูกก็จะเรียนรู้และซึมซับเอาพฤติกรรมนั้นไปใช้เมื่อเขาอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน หรือเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน ลูกจะเป็นคนไม่มีเหตุผล ใช้ความรุนแรง แกล้งคนที่อ่อนด้อยกว่าตนเอง 

  1. ลูกจะมีพัฒนาการบกพร่อง

พ่อกับแม่ที่เผลอใช้อานาจกับลูก ออกคำสั่งลูกบ่อย ๆ จนลูกเกิดความกลัว ลูกจะมีพฤติกรรม เช่น เป็นคนขี้กลัว วิตกกังวล ไม่มีเหตุผล ทำอะไรตามอารมณ์ ไม่สมยอมใครง่าย ๆ  ตัดสินใจด้วยกำลังมากกว่าความคิด ไม่กล้าแสดงออก ไม่ปรับตัวเข้ากับคนอื่น และขาดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ทั้งหมดนี้จะทำให้เป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต การปรับตัวให้เข้ากับสังคม

เห็นไหมคะ ว่ามีแต่ข้อเสียสำหรับการเอาชนะลูก ใช้อำนาจกับลูก พ่อแม่ควรจะใจเย็นให้มาก ๆ และควรใช้เหตุผลให้เหมาะกับวัย ใช้ความหนักแน่น เอาจริง อย่างสงบ และจบท้ายด้วยการกอดลูกไว้ ลูบหัวแสดงความรักต่อลูก ว่าพ่อแม่รักลูก เคียงข้างลูก และอยากให้ลูกเป็นเด็กน่ารักเสมอ เมื่อเด็กโตขึ้น ลูกก็จะเป็นคนที่พ่อแม่ปลูกฝังมา

รู้จัก PTSD โรคทางใจในเด็ก หลังเจอเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

รู้จัก PTSD โรคทางใจในเด็ก หลังเจอเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต

ปัจจุบันมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น เมื่อเราต้องเจอเหตุการณ์เหล่านี้จนทำให้ฝังใจ ส่งผลต่อสภาพจิตใจของเด็กและผู้ใหญ่ อาจทำให้เกิดโรค PTSD ได้

โรค PTSD (Post-traumatic Stress Disorder) คือโรคอะไร?

คือภาวะความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้นภายหลังเจอเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น ภัยพิบัติ อุทกภัย แผ่นดินไหว การก่อการจราจล การฆาตกรรม สงคราม การปล้นฆ่า ข่มขืน เป็นต้น

สามารถเกิดขึ้นกับผู้ที่ประสบเหตุร้ายด้วยตัวเอง เป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์ หรือเป็นญาติใกล้ชิดกับผู้ประสบเหตุที่ได้รู้ข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนทำให้เกิดความเครียดและมีพฤติกรรมบางอย่างที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตตามมา ซึ่งผู้ที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจจำเป็นต้องได้รับการรักษา

ความแตกต่างของ 'โรค PTSD' ในเด็กและผู้ใหญ่ 

คือปัญหาเรื่องการสื่อสารและการแสดงออก เมื่ออาการนี้เกิดขึ้นในผู้ใหญ่จะมีการแสดงอาการที่ตรงไปตรงมา สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมอย่างชัดเจน และยังสามารถอธิบายอาการได้ว่าเขามีความคิดอย่างไร เห็นภาพอะไร หรือกำลังรู้สึกอะไรอยู่แต่เมื่อ 'โรค PTSD' เกิดขึ้นในเด็ก แม้จะมีการแสดงออกทางกายที่เหมือนกับผู้ใหญ่ แต่การสื่อสารและการอธิบายอาการที่เป็นอยู่จะค่อนข้างยาก

สำหรับเด็ก เนื่องจากเด็กยังไม่มีความเข้าใจต่อโรค ไม่เข้าใจสภาวะของตัวเอง และไม่รู้จะสื่อสารอาการของตัวเองออกไปอย่างไร ดังนั้นผู้ปกครองอาจวินิจฉัยโรคได้จากการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งมักพบว่าเด็กจะเสียทักษะทางพัฒนาการบางอย่างที่เคยทำได้และมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างน้อยลง


เครียด ,เด็กเครียด ,PTSD ,จิตใจเด็ก ,Post-traumatic Stress Disorder

สาเหตุของ 'โรค PTSD'

1. เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่กระทบต่อจิตใจ
2. ถูกทำร้ายร่างกาย หรือล่วงละเมิดทางเพศ
3. อยู่ในเหตุการณ์ ที่เห็นบุคคลใกล้ชิดบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
4. ปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวล เป็นต้น


อาการที่อาจพบใน 'โรค PTSD'

1.อาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น
2.เห็นภาพเหตุการณ์ซ้ำ หรือฝันร้ายถึงเหตุการณ์นั้น
3.สภาวะทางอารมณ์เปลี่ยนไปมีความรู้สึกผิด แปลกแยกจากสังคม
4.หลีกเลี่ยงสถานที่หรือสิ่งทีทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้นๆ


การป้องกัน 'โรค PTSD'
 

  • สำหรับคุณพ่อคุณแม่

1. หลังประสบเหตุการณ์ร้ายแรง ต้องรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์
2. เปิดใจกับคนสนิท ที่พร้อมจะรับฟังปัญหา
3. ฝึกทำสมาธิ ด้วยการนั่งสมาธิ เล่นโยคะ หรือนวดเพื่อให้รู้จักผ่อนคลาย
 

เครียด ,เด็กเครียด ,PTSD ,จิตใจเด็ก ,Post-traumatic Stress Disorder

 

สำหรับเด็ก

 

1.การบำบัดทางจิตใจ

เด็กที่ป่วยมักจะมีอาการหลีกเลี่ยงเพื่อปกป้องตนเองจากความรู้สึกเจ็บ ปวดและไม่สบายใจที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต ทำให้ดูเหมือนเด็กไม่มีอาการจึงไม่มารับการบำบัด การรักษาทำได้ด้วยการให้ความรู้สุขภาพจิต การผ่อนคลายร่างกายและอารมณ์ ให้เด็กได้เผชิญกับสิ่งที่กลัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยที่เด็กได้รับการฝึกวิธีสร้างความมั่นคงทางจิตใจด้วย แล้วปรับเปลี่ยนความคิดที่ทำให้เกิดความกังวล และฝึกการจัดการกับอารมณ์ ซึ่งในผู้ป่วยเด็กอาจจะใช้วิธีวาดภาพระบายสี หรือใช้งานศิลปะเป็นสื่อใช้แสดงความรู้สึกต่างๆ ออกมา และเด็กสามารถเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ให้ฟังได้หากเด็กต้องการเล่าเอง โดยไม่พยายามกระตุ้นให้เด็กเล่าเรื่องซ้ำๆ หากเด็กยังไม่รู้สึกปลอดภัยเพียงพอ

 

2.การรักษาด้วยยา

นอกเหนือจากการรักษาด้วยการบำบัดทางจิตใจแล้ว จิตแพทย์อาจให้ยาในกลุ่มยาแก้ซึมเศร้าร่วมด้วย โดยยากลุ่มนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์จึงจะเริ่มออกฤทธิ์ และต้องรับประทานยาต่อเนื่องควบคู่กับการทำจิตบำบัดไปด้วย

 

สรุปแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็กหายจากอาการ PTSD หากพ่อแม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการเหล่านี้ก็จะช่วยเด็กในเรื่อง การปรับตัว ทำให้เด็กรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ลดตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความเครียด และเป็นที่ปรึกษาในสถานการณ์ที่เด็กอาจกังวลและต้องการความช่วยเหลือ

 

แพทย์หญิง ชนม์นิภา แก้วพูลศรี  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2

รู้จัก โรควัณโรค ติดง่ายแค่หายใจ ทุกคนเสี่ยงเป็นได้ ให้สังเกตอาการตามนี้

โรควัณโรค-โรคเด็ก-โรคในเด็ก-วัณโรค 

"วัณโรค" ทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นได้ เพราะฉะนั้นเราอยากให้ตื่นตัวกันมากขึ้น จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกในไทยปี 2560 พบคนไข้วัณโรคกว่า 80,000 ราย 83% เป็นวัณโรคในปอด 17% เป็นวัณโรคนอกปอด เช่น กระดูก อวัยวะต่างๆ และ 1 ในวัณโรคนอกปอด ที่พบน้อยกว่า 1% จะพบวัณโรคด้านหลังโพรงจมูก ถือเป็นกรณีที่ไม่ปกติ พบน้อยมาก เพราะมีร่างกายปกติทุกอย่าง เราจะมาทำความรู้จักวัณโรคให้มากขึ้นกันค่ะ

วัณโรค คืออะไร?

วัณโรคคือเชื้อโรคชนิดหนึ่ง ที่ทำลายร่างกายคนเราแบบช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เหมือนกับแบคทีเรียอื่นๆ ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายปุ๊บ ก็แสดงอาการให้เห็นทันที โดยส่วนใหญ่แล้ววัณโรคจะอาศัยอยู่ในปอด วัณโรคจริงๆ แล้วก่อโรคได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ โดยมีอยู่ด้วยกันหลายสายพันธุ์ แต่ที่พบได้บ่อยในคนเราและเป็นที่รู้จักกันดีก็คือ “TB” ซึ่งพวกนี้เชื้อประจำท้องถิ่นเรา ดังนั้น ทุกคนล้วนมีโอกาสเป็นวัณโรคได้เหมือนกันหมด และจะเป็นเมื่อไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคนและปริมาณเชื้อที่ได้รับ

อาการของวัณโรค?

ไอเรื้อรัง โดยเป็นได้ทั้งไอแห้ง และไอแบบมีเสมหะ จะเป็นเสมหะเหลืองหรือเขียว ก็มีโอกาสเป็นวัณโรคได้หมด หรือจะไอเป็นเลือดนี่ก็ใช่ มีไข้ เหงื่อออก น้ำหนักลด และที่สังเกตได้ง่ายๆ อีกอย่างคือ การมีไข้แบบเฉพาะในตอนกลางคืน ถือว่าเข้าข่ายน่าสงสัยเลยว่าเป็นสัญญาณของวัณโรค ควรรีบมาตรวจคัดกรองและปรึกษาแพทย์โดยด่วน

ใครบ้างมีโอกาสเสี่ยงเป็นวัณโรค?

คนที่ภูมิต้านทานไม่ดี คนโภชนาการไม่ดี ผอม แห้ง อ้วนน้ำหนักเกิน คนที่ป่วยเป็นโรคปอดอยู่แล้ว เสี่ยงมาก เพราะได้รับเชื้อปุ๊บปอดก็อาจทรุดได้เลยทันที  คนชอบสูบบุหรี่ คนทำงานในสายอาชีพที่กระตุ้นให้มีโอกาสเกิดวัณโรคได้ง่าย เช่น คนทำเหมืองแร่ คนงานที่ก่อสร้าง อยู่กับหิน กับฝุ่น กับมลพิษ

เมื่อตัวเองเป็นวัณโรค ต้องทำอย่างไร?

ห้ามแพร่เชื้อ เรามีหน้าที่ในการไม่แพร่เชื้อวัณโรคไปสู่ผู้อื่น” ทั้งนี้ ภายใน 2 อาทิตย์แรกเราต้อง “แยกตัวเอง” ออกจากผู้คนและชุมชน ต้องใส่ผ้าคลุมปิดปาก จะไอ จาม ธรรมดาไม่ได้ ต้องไอจามใส่ผ้า หรือกระดาษชำระ แล้วห่อเก็บทิ้งให้เรียบร้อย แยกจานแยกช้อน เพราะวัณโรคสามารถติดต่อได้ทางน้ำลาย เวลารับประทานอาหารเสร็จแล้ว เราก็ต้องล้างส่วนตัวของเราไม่นำไปปนกับคนอื่น ไม่ควรไปทำงานในช่วง 2 อาทิตย์แรกเด็ดขาด เพราะมีโอกาสสูงที่เราจะไปแพร่เชื้อให้กับคนอื่น แต่หลังจาก 2 อาทิตย์ไปแล้วนั้น สามารถกลับไปทำงานได้ เพราะโดยหลักการแล้วยาที่ได้รับในช่วงแรก เมื่อครบ 2 อาทิตย์ จะทำให้ความสามารถในการแพร่เชื้อลดน้อยลงจนแทบจะไม่มีเหลือ

วัณโรครักษาหายไหม?

ในวงการแพทย์มีเพียงไม่กี่โรคเท่านั้นที่หมอสามารถตอบได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า “รักษาหายได้” หนึ่งในนั้นคือ โปลิโอ และสองคือ “วัณโรค” ดังนั้น สิ่งที่อยากจะบอกให้คนไข้ทุกคนสบายใจก็คือ วัณโรคเป็นได้ แต่ก็สามารถรักษาหายได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่ใช่วัณโรคดื้อยา และคนไข้ไม่ดื้อเอง ทานยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ

วิธีดูแลปอดตัวเอง ทำได้อย่างไรบ้าง?

หาอากาศดีๆ ให้ปอด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงอากาศที่ไม่ดี หลีกเลี่ยงควันเขม่า อย่างควันรถ บ้านเรานั้น เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง เพราะเป็นอันตรายต่อปอดแน่นอน พาตัวเองไปอยู่กับธรรมชาติบ้าง พักปอดจากมลพิษในเมืองบ้าง ปอดก็เหมือนกับเครื่องฟอกอากาศ เลือดทั้งร่างกาย สูบขึ้นหัวใจ หัวใจยิงเข้าสู่ปอด เพื่อมาฟอก เพื่อมารับออกซิเจน แล้วนำกลับไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้น ถ้าเราไม่ดูแลเครื่องฟอกอากาศในตัวเรา ก็คงเป็นเรื่องยากที่ชีวิตนี้เราจะได้สูดลมหายใจอย่างมีความสุขสดชื่นแบบเต็มปอดได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นพ.วินัย โบเวจา อายุรแพทย์ คลินิกอายุรกรรมโรคปอด โรงพยาบาลพญาไท 3  www.phyathai.com

 

ลองเลย! 5 กิจกรรมกระตุ้นลูกฉลาด พัฒนาการสมวัย

กิจกรรม-กิจกรรมครอบครัว-ของเล่นเสริมพัฒนาการ 

ความฉลาดของลูกเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยค่ะ ส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรมและการเตรียมความพร้อมของคุณพ่อคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ เช่น การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ เพื่อหาโรคทางกรรมพันธุ์และความเสี่ยงต่างๆ หรือการรับประทานอาหารและวิตามินที่มีประโชยน์ รวมถึงการผ่อนคลายความเครียดในระหว่างครรภ์ ซึ่งส่งผลให้ลูกมีความพร้อมที่จะเรียนรู้โลกภายนอก

นอกจากกรรมพันธุ์ที่เป็นพื้นฐานตั้งแต่แรกเกิดแล้ว การเลี้ยงดูและการส่งเสริมของคุณพ่อคุณแม่เพื่อกระตุ้นให้ลูกฉลาดก็สำคัญค่ะ เราลองมาดูกันว่ามีเคล็ดลับอะไรบ้างที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้ลูกฉลาดได้อย่างต่อเนื่องและเห็นผล

5 กิจกรรมกระตุ้นลูกฉลาด พัฒนาการสมวัย

1.เลือกหนังสือให้เด็กอ่าน 

ผลวิจัยใหม่ที่ได้ข้อมูลจากการสแกนสมองของเด็กวัย 3-5 ขวบด้วย functional MRI พบว่าสมองซีกซ้ายมีการตื่นตัวในหลายตำแหน่งเมื่อเด็กฟังเรื่องเล่าจากผู้ใหญ่หรืออ่านหนังสือ ซึ่งบริเวณของเนื้อสมองที่ว่านี้เกี่ยวข้องกับความจำ,ความคิดและความเข้าใจศัพท์

เรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Pediatrics โดยพบว่าเด็กที่มาจากครอบครัวรักการอ่านหรือเล่านิทานให้กันฟังจะมีกิจกรรมในสมองส่วนนี้สูงกว่าซึ่งจะช่วยในการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต

หนังสือดีๆ เพื่อลูกรัก ได้ที่ : www.raklukeselect.com/landing

 

2.เป็นอาจารย์ด้านภาษาศาสตร์ 

คุณพ่อคุณแม่คือครูที่ใกล้ชิดลูกได้ดีที่สุด การรู้ภาษาที่ช่วยสมองเด็กนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาต่างชาติเสมอ แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เก่งนั้นสามารถนำเอาภาษาไทยนี่เองมาช่วยสร้างสมองให้เด็ก ด้วยการเช็กสเปลลิ่งหรือเล่นเกมสะกดคำจากวรรณคดีไทย

อย่างพระอภัยมณี หรืออิเหนา ที่เอามาเล่าสนุก เพิ่มสีสันด้วยการวาดกราฟฟิกลงบนแท็บเล็ตก็ได้ ดังในการศึกษาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ 2 ภาษาพบว่ามันช่วยไปถึงเนื้อสมองในการเรียนรู้ต่อไปในอนาคตทั้งรูปธรรมและนามธรรม

 

3.อย่าขาดการเล่นให้เหมาะกับเพศ 

การให้เด็กผู้หญิงเล่นตุ๊กตาและเด็กผู้ชายเล่นรถนั้นถือเป็นการเล่นแบบช่วยสมองได้ เพราะมันช่วยใส่ความรู้สึกประทับใจลงในหัวใจที่ยังเยาว์ ให้เข้าใจบทบาทแต่ละเพศเมื่อเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างเหมาะสม

มีรายงานถึงการเพิ่มระดับ "ฮอร์โมนรัก" หรืออ็อกซิโทซินจากสมองของเด็กหญิงที่สมมติตัวเองเป็นแม่แล้วดูแลตุ๊กตาดุจลูกน้อย ซึ่งอ็อกซิโทซินนี้จะช่วยให้เด็กหญิงเติบโตขึ้นเป็นสาวที่ "รู้จักรัก" อยากมีลูกและถนอมครอบครัวไว้ได้อย่างเป็นสุข    

 

4.ใช้เพจออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ 

โทษของเพจออนไลน์กับจิตใจเด็กนั้นมีมาก หากใช้ไม่ถูก! แต่ถ้าอยากปลูกฝังสิ่งดีให้ในยุคนี้ก็ไม่ต้องหนีสื่อออนไลน์ แต่ขอให้รู้จักใช้ให้เหมาะ เช่น ถ้าลูกจะดูคลิปต่างๆ อย่างช่องของดาราหรือว่าคลิปแรงๆหนักๆก็ขอให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูช่วยใส่ความรักลงไป

อย่าให้เขาคล้อยตามไปกับแอดมินเพจรุนแรง เพราะจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นผลลัพธ์ดังงานวิจัยจาก Ohio State U ได้ศึกษาไว้ ให้เราคอยสอนว่าถ้านำเสนออย่างนี้อาจมีคนเข้ามาดูแต่หนูก็จะไม่ใช่คนน่ารักในสายตาของโลกโซเชียลเสมอไปเพราะความรุนแรงมันไม่ใช่ของยั่งยืนและจะได้รับผลร้ายตอบเป็นต้น

 

5.โปรดใช้วาจาเมตตาและให้อภัย 

ถ้าอยากให้ลูกดีมีวิธีเริ่มที่ง่ายที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่เริ่มวันใหม่ด้วยการคุยกันอย่างพูดหวานขานเพราะมีครับมีค่ะลงท้าย แม้คุยกับแม่บ้านหรือพนักงานเสิร์ฟอาหารก็เอ่ยปากกับเขาอย่างให้เกียรติไม่มีเลือกปฏิบัติอย่างนี้จะจัดระเบียบให้สมองของเด็กพัฒนาไปในทางดี

แม้จะมีพ่อแม่รุ่นใหม่คิดว่าคุยกันด้วยภาษาห้าวอย่างไรก็ได้ไม่มีใครเขาถือแล้ว แต่ขอให้รู้ว่าคำพูดที่เพราะนั้นมันมีผลกับจิตใจเด็กมาก ด้วยวลีที่เอ่ยเป็นบวกนั้นมันจะประทับลงในจิตใจของทั้งผู้พูดและผู้ฟังให้อ่อนโยนโดยไม่รู้ตัว และเมื่อทำไปบ่อยๆเข้าจนติดเป็นนิสัยก็จะทำให้กลายเป็นคนอ่อนโยน ข้อสำคัญคือทำให้เด็กนั้นโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่หาความสุขให้หัวใจได้ง่ายขึ้น

 

สิ่งสำคัญที่สุดในการเลี้ยงลูกในปัจจุบันไม่ใช่แค่เพียงความฉลาดค่ะ แต่ลูกเรายังต้องประสบความสำเร็จอย่างมีความสุข รู้จักช่วยเหลือผู้อ่าน และสามารถเอาตัวรอดในสังคมได้เป็นอย่างดี แม้ลูกเราจะไม่เป็นที่หนึ่งในทุกๆ เรื่อง ขอเพียงแค่เขาสามารถใช้สิ่งที่เรียนรู้และได้รับการส่งเสริมอย่างถูกต้อง เขาก็เป็นเด็กฉลาดแล้วล่ะค่ะ

 

ที่มา : นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ชะลอวัย

ลูกขาดความคิดสร้างสรรค์! เพราะอะไร

การเลี้ยงลูก-ความคิดสร้างสรรค์-พัฒนาการ-ศิลปะ 

หลายครั้งในทุกวันนี้เรามักมองไปที่เด็ก ๆ รุ่นใหม่ แล้วแปะป้ายว่าทำไมเด็ก ๆ จะคิด จะทำอะไรก็ขาดความคิดสร้างสรรค์ ไม่รู้จักคิดอะไรนอกกรอบกันบ้างเลย แล้วผู้ใหญ่อย่างเราเคยคิดบ้างไหมว่า ส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมให้เด็ก ๆ เติบโตขึ้นมาก็จากส่วนหนึ่งของพวกเราเองที่เผลอไผลปิดกั้น หรือผิดพลาดในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขาในวัยเยาว์

 

เรามาดูความผิดพลาด 4 แบบที่จำกัดความคิดสร้างสรรค์เด็ก ๆ ไปโดยไม่รู้ตัวกันค่ะ
  • การให้รางวัล :

มีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าการให้รางวัลกับเด็กเป็นการยับยั้งการค้นคว้าและจินตนาการของเด็ก เด็กๆ จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่แค่พอได้รางวัลหรือของตอบแทนเท่านั้น แล้วก็จะไม่ผลักดันตัวเองให้ทำต่อไป รางวัลหรือดาวในสมุดไม่ได้เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ให้เด็กๆ แต่ว่าเราต้องสร้างให้เขามีแรงขับเคลื่อนมากพอในการการทำกิจกรรมด้วยความสนุก และความคิดสร้างสรรค์ก็จะเกิดขึ้นไม่สิ้นสุด

 

  • เป็นเงาตามตัว :

การอยู่เคียงข้างเด็กๆ มากเกินไป คอยจัดการในทุก ๆ เรื่อง โดยคิดว่านั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง เพราะเป็นความรัก หวังดี และเป็นห่วง นี่จะทำให้เด็ก ๆ ไม่ได้เรียนรู้กับบทเรียน หรือความผิดพลาดเมื่อเขาโตขึ้น และจะเป็นทางหนึ่งที่จำกัดความคิดของเด็ก ๆ ให้กลัวและไม่กล้าคิดอะไรนอกกรอบ

 

  • ทางเลือกที่จำกัด! :

ต้องยอมรับว่าเราให้เด็ก ๆ อยู่ในระบบที่สอนพวกเราเขาว่า "มีคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว" เขาจะคิดผิดไปจากสิ่งที่ผู้ใหญ่คิดไม่ได้ การให้เขาได้เลือก ได้สำรวจเป็นหัวใจสำคัญของการคิดนอกกรอบ เด็กจะมีความคิดสร้างสรรค์ได้ เด็กควรจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เขารู้สึกอิสระที่จะได้เลือก และได้ทำอะไรใหม่ ๆ ด้วยตัวเอง โดยไม่ถูกบีบแค่ทางเลือก หรือคำตอบเดียวเท่านั้น

 

  • ตารางที่อัดแน่น :

พ่อแม่หลายคนจัดกิจกรรมมากมายเต็มที่ให้กับลูก ๆ โดยที่เข้าใจว่าลูก ๆ ต้องการ หรือลูก ๆ ก็มีความสุขดี แน่นอนว่าเด็ก ๆ อาจจะไม่ได้แสดงอาการเบื่อหน่าย แต่กิจกรรมหรืออะไรที่ล้นมากเกินก็ไม่เป็นผลดีทั้งนั้น ผู้ใหญ่อย่างเรายังต้องการเวลาพัก หยุดชาร์จแบต การมีเวลาให้เด็ก ๆ ได้พักจะช่วยให้เขาได้ผ่อนคลาย และเพิ่มจินตนาการให้เขาบรรเจิด

 

ลูกขี้อาย ชอบกลัวใช่ไหม มารู้ 7 วิธี สอนให้ลูกไม่กลัวการเข้าสังคมกันเลย

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก 

พอถึงวัยของลูกที่ต้องเรียนรู้การอยู่กับผู้อื่น พ่อแม่คือคนสำคัญที่เป็นตัวอย่างให้ลูกได้นะคะ การสอนให้ลูกรู้ว่าโลกนี้ยังมีคนอื่นๆ อีกมากมายที่วัยเดียวกับเรา โตกว่าเรา แตกต่างกับเรา แต่เราอยู่ร่วมกันได้ ฉะนั้นการสอนให้ลูกเข้าสังคมตั้งแต่ยังเล็กๆ ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี อนาคตลูกเข้าโรงเรียนก็จะเจอสังคมที่ใหญ่ขึ้น จะได้เข้ากับผู้อื่นได้ค่ะ

7 วิธี เริ่มสอนลูกเล็กๆ ให้เข้าสังคมแบบง่าย ๆ 

1. สอนให้ลูกรู้จักอารมณ์ตัวเองก่อน

โดยถามความรู้สึกของเขาต่อเหตุการณ์ที่อยู่ตรงหน้าบ่อยๆ และถ้าพ่อแม่รู้สึกโกรธลูก ก็ควรบอกความรู้สึกไปตรงๆ เพื่อให้ลูกรู้จักอารมณ์ตัวเอง และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นด้วย

2. สอนให้รู้จักมารยาทพื้นฐาน

ต้องสอนมารยาทสังคมแบบง่ายๆ ก่อนเลย ด้วยการให้ลูกรู้จักไหว้ สวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ โบกมือบ๊ายบายลา คุณพ่อคุณแม่ต้องทำให้ลูกเห็นเป็นตัวอย่างบ่อยๆ จนลูกติดเป็นนิสัย ต่อไปลูกก็จะทำได้เองโดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องสั่ง

3. สอนให้ลูกรู้จักขออนุญาต

เมื่อลูกเริ่มเรียนรู้ว่าของทุกอย่างมีเจ้าของเสมอ หากลูกหยิบข้าวของคนอื่นมาเล่น คุณพ่อคุณแม่ต้องอธิบาย ว่านี่เป็นของเขา และนี่ของหนู หากอยากเล่นให้ขออนุญาตคนอื่นเสมอ

4. พูดคุยกับลูกบ่อยๆ

เล่าเรื่องเพื่อน ญาติ คนอื่นๆ ให้ลูกฟังบ้าง เช่น แม่ไปกินข้าวกับเพื่อนมา ชื่อน้าเชอร์รี่ น้าเชอร์รี่เป็นคนน่ารักมาก ลูกต้องอยากรู้จักแน่เลย เป็นการบอกเล่าว่ายังมีเพื่อนคนอื่นๆ ที่ลูกต้องได้รู้จักในวันข้างหน้า พอไปเจอจะได้ไม่ตื่นกลัวมาก

5. พาไปรู้จักคนรอบข้าง

หลังจากเล่าเรื่องน่ารักๆ ของเพื่อน และญาติให้ลูกฟังแล้ว ก็ต้องพาลูกไปรู้จัก ไปเยี่ยมญาติ ไปเล่นกับเด็กวัยเดียวกัน เพื่อหัดเข้าสังคมเล็กๆ แบบครอบครัว เพื่อที่วันข้างหน้าลูกจะได้เข้าสังคมที่ใหญ่ขึ้นเป็น

6. ให้ผู้ใหญ่สร้างความคุ้นเคยก่อน

พ่อแม่ต้องเข้าใจ เมื่อลูก "กลัวคนแปลกหน้า" เพราะเป็นวัยของลูก ลูกจะไม่ยอมให้ใครอุ้ม ไม่เข้าใกล้คนอื่น ไม่มองหน้าคนแปลกหน้า พ่อแม่อย่าเป็นกังวล หรือบังคับลูกให้เข้ากับคนอื่นมากไป ให้ใช้วิธีผู้ใหญ่เป็นคนเข้าหาแทน ค่อยๆ สร้างความคุ้นเคยทีละน้อย เดี๋ยวก็คุ้นเคยเอง

7. มีโอกาส ก็ควรทดสอบการเข้าสังคมลูก

หากลูกไม่มีอาการกลัวคนแปลกหน้าแล้ว และสามารถเล่นกับคนอื่นได้บ้าง คุณพ่อคุณแม่อาจจะหลบออกมาให้พ้นสายตาลูกสักพัก ถ้าลูกยังร้องหาคุณก็ค่อยลองใหม่ภายหลัง หรือบางครั้งอาจเดินเข้าเดินออกจากห้องเพื่อให้ลูกมั่นใจว่า ถึงแม้แม่ไม่อยู่ แต่อีกเดี๋ยวก็คงกลับมา

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรจะสอนให้ลูกรู้จักให้และรับอย่างเหมาะสมตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กนะคะ เพราะเวลาเข้าโรงเรียนแล้วเขาจะได้เข้าสังคมที่ใหญ่ขึ้น การมีน้ำใจรู้จักแบ่งปัน คือการเริ่มต้นการเข้าสังคมที่ดีเลยค่ะ อย่าปล่อยให้ลูกกลัวการเข้าสังคมนะคะ

 

 

ลูกขี้โม้ ขี้อวด เป็นแค่พัฒนาการหรือพฤติกรรมเลียนแบบ พ่อแม่จะรับมืออย่างไร

 เด็กขี้โม้ ขี้อวด-เด็กขี้โม้-เด็กขี้อวด-ลูกชอบอวด-ลูกขี้โม้-แก้นิสัยเด็กชอบอวด-แก้นิสัยเด็กชอบโม้-คนชอบอวด-โรคขี้อวด-นิสัยคนขี้อวด-เลิกนิสัยขี้อวด-วิธีรับมือคนขี้อวด-เข้าสังคมยาก-ทำอย่างไรลูกเป็นคนขี้อวดขี้โม้

ลูกเราขี้โม้กับเด็กคนอื่นๆ เก่งมาก ช่างไม่ธรรมดาจริง ๆ แต่บางครั้งก็มากเกินไปหน่อย ก็กระทบการเข้าสังคมเหมือนกัน

ลูกขี้โม้ ขี้อวด เป็นแค่พัฒนาการหรือพฤติกรรมเลียนแบบ พ่อแม่จะรับมืออย่างไร

เคยไหมคะ? ลูกหลานเรานี่ขี้โม้กับเด็กคนอื่น ๆ เก่งมาก เช่น เรามีหุ่นยนต์ตัวใหญ่มาก ใหญ่เท่าบัมเบิ้ลบีเลยนะ, เรามีตุ๊กตาบาร์บี้เยอะมาก มีเป็นร้อยเลย, เราวาดรูปสวยกว่าตั้งเยอะ, เราได้ที่หนึ่งแหละ โอ้โห! ลูกหลานเรานี่ช่างไม่ธรรมดาจริงๆ บางครั้งเราก็แอบขำกับสิ่งที่เด็กๆ โม้ หรือ ขี้อวดออกมา

แต่ไม่ใช่เรื่องแปลกนะคะ ที่หนูน้อยวัย 3-6 ปี จะชอบอวด หรือ เล่าเรื่องเกินเบอร์ไปหน่อย เพราะวัยนี้มีพัฒนาการทางภาษา มีความรู้รอบตัว และภูมิใจในตัวเองมากขึ้น จนต้องนำมาพูด แต่บางครั้งก็มากเกินไปหน่อย อาจกระทบต่อลักษณะนิสัยและการเข้าสังคมเหมือนกัน อย่างนี้ต้องหาวิธีรับมือแต่พอดีพองามแล้วค่ะ

 

สาเหตุที่เด็กๆ ชอบพูด ช่างคุย ชอบโม้ 

1. เด็กวัยนี้กำลังช่างพูดช่างจา

เด็กวัยนี้มีความเป็นตัวของตัวเองแล้ว เลือกเสื้อผ้าใส่เองได้ เลือกของกินเองได้ แถมชอบแข่งขันกับเด็กคนอื่นๆ ไม่ว่าจะกินข้าว เล่นสนุก หรือพูดคุย เค้าชอบการเปรียบเทียบและไม่อยากแพ้ใครเลยค่ะ

2. เป็นไปตามสภาพแวดล้อม

นอกจากเป็นไปตามพัฒนาการแล้ว ก็ยังเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมได้เหมือนกัน เช่น ในโรงเรียนชอบมีการแข่งขัน กลุ่มเพื่อนชอบแย่งกันเป็นที่หนึ่ง พ่อแม่ชอบโอ้อวด เป็นต้นค่ะ

 

เด็กขี้โม้ ขี้อวด-เด็กขี้โม้-เด็กขี้อวด-ลูกชอบอวด-ลูกขี้โม้-แก้นิสัยเด็กชอบอวด-แก้นิสัยเด็กชอบโม้-คนชอบอวด-โรคขี้อวด-นิสัยคนขี้อวด-เลิกนิสัยขี้อวด-วิธีรับมือคนขี้อวด-เข้าสังคมยาก-ทำอย่างไรลูกเป็นคนขี้อวดขี้โม้

วิธีรับมือกับหนูน้อยจอมขี้โม้

1. บอกลูกไปตรง ๆ

หากลูกกำลังเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น และโม้ว่าดีกว่าและเก่งกว่าเพื่อน ให้คุณพ่อคุณแม่พูดไปตรงๆ ว่า พ่อแม่รู้ว่าหนูเก่ง แต่คนอื่นคงไม่ชอบที่หนูบอกว่าตัวเองดีและคนอื่นไม่ดี ตัวเองเก่งและคนอื่นไม่เก่งหรอกลูก ถ้าหนูพูดบ่อยๆ เพื่อนจะไม่ชอบและไม่อยากเล่นกับหนูนะ ลองมองเพื่อนตอนที่ลูกพูดสิ เพื่อนมีอาการอย่างไรล่ะ แบบนี้ลูกจะลองสังเกตและเรียนรู้ได้ว่าเพราะเขาพูดไม่น่ารัก เพื่อนจึงไม่อยากเล่นด้วย

2. ทำให้เพื่อนประทับใจ ดีกว่าอวด

สอนลูกทำให้เพื่อนประทับใจแทนที่จะโอ้อวดความเก่ง ความดีของตัวเอง เช่น ลูกวาดรูปสวยได้คะแนนดีกว่าเพื่อน แทนที่จะอวดว่าเก่งกว่า ให้ลูกบอกวิธีวาดรูปให้สวยกับเพื่อนจะดีกว่า หรือ ลูกได้ของเล่นใหม่ ให้ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกัน แทนที่จะอวดของเล่นใหม่กับเพื่อน สร้างความประทับใจให้เพื่อน น่าภูมิใจกว่าอวดอีกนะคะ

3. สอนหนูน้อยด้วยความใจดี

เมื่อลูกโอ้อวด คุณพ่อคุณแม่ต้องบอกลูกด้วยรอยยิ้ม น้ำเสียงนุ่มนวล ค่อยๆ สอนไปเรื่อยๆ อย่าไปบังคับให้ลูกทำ และเมื่อสอนลูกแล้ว ควรจบท้ายประโยคการสอนว่า ลูกอยากลองทำดูไหม ลูกอยากลองพูดดูไหม ให้เป็นการถามตอบไปในตัว เพราะความคิดเห็นของลูกสำคัญมากที่สุดค่ะ

4. พูดคุยกับลูกเสมอ

คอยถามเรื่องที่โรงเรียนในทุกๆ วัน ว่าวันนี้กินข้าวกับอะไร เล่นกับเพื่อนคนไหน วันนี้งอนใครหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ติดตามพฤติกรรมลูก เค้าจะเล่าให้ฟังตามประสาเด็กเองค่ะ และคุณพ่อคุณแม่ก็ค่อยๆ สอนไปจากเรื่องที่ลูกเล่า วัยอนุบาล 3 ไม่เล็กเกินไปที่จะเรียนรู้ว่าเขาควรปรับตัวอย่างไร เพียงพ่อแม่ต้องอดทนคอยสอนเสมอนะคะ  

 

ปรับลดนิสัยกันได้ตั้งแต่เด็กก็ควรทำนะคะ เพราะถ้าโตไปแล้วยังขี้โม้ ขี้อวดอยู่ละก็ มีเพื่อนยาก เข้าสังคมยาก แน่ ๆ ค่ะ