facebook  youtube  line

3 สัญญาณว่าคุณกำลังเป็น พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์แน่นอน! (Helicopter Parents)

พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์- การเลี้ยงดูเด็ก- ลูกไม่กล้าตัดสินใจ- ลูกขี้กลัว- ลูกขาดทักษาการเรียนรู้- เลี้ยงลูกไม่ยอมปล่อย- เลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน- ไข่ในหิน- พ่อแม่รังแกฉัน- เด็กมีปัญหา

3 สัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็น พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์

คุณเป็นพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเฮลิคอปเตอร์หรือไม่ มาดูสัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็น พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ กันค่ะ

พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ คือคำที่ใช้เรียกผู้ปกครองที่พวกเขาต้องการดูแลสอดส่องลูกของตนแทบจะตลอดเวลา มักจะควบคุมบงการและคอยคิดแทนลูก ทำแทนลูกแทบทุก ๆ เรื่อง 

3 สัญญาณว่าคุณกำลังเป็น พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์

1.ตัดสินใจแทนลูก

การตัดสินใจแทนลูก ไม่ว่าจะเรื่องการเรียน สิ่งของ ความถนัด หรือแม้แต่ของเล่นง่าย ๆ ก็เป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เลือกให้ลูกเองซะหมด โดยไม่ถามลูกว่า

..อยากเรียนอะไร?

..ของเล่นชิ้นไหนที่ลูกชอบ หรืออยากได้ที่สุด?

..รองเท้าสีไหนที่ลูกชอบ?

วิธีแก้ไข

คุณพ่อคุณแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้คิดเอง เลือกเอง ถึงแม้จะไม่ใช่ของที่สวยที่สุด หรือดีที่สุดในสายตาเรา แต่อย่างน้อยก็ทำให้ลูกได้คิดได้ทำอะไรด้วยตัวเองค่ะ

 

2.ช่วยเหลือลูกทุกเรื่อง

ยกตัวอย่างเช่น ป้อนข้าวลูก เพราะกลัวลูกเปลื้อน , ทำการบ้านแทนลูก งานประดิษฐ์ต่าง ๆ อาสาทำให้ลูกเองเลยทุกชิ้น เพื่อให้ลูกได้มีงานดี ๆ ไปส่งคุณครู จะได้คะแนนเยอะ ๆ แบบนี้ไม่ได้แน่ค่ะ

วิธีแก้ไข

1.ปล่อยให้ลูกกินข้าวด้วยตัวเอง ถึงแม้จะเปลื้อน เลอะเทอะ แต่อย่างน้อยเขาจะได้ทำอะไรด้วยตัวเองค่ะ

2.ห้ามทำการบ้านแทนลูกเด็ดขาดนะคะ! การบ้านใคร คนนั้นต้องเป็นคนทำเอง เพียงแต่เราจะคอยสอนคอยดูอยู่ใกล้ ๆ แนะนำได้บ้างเล็กน้อยตามสมควรค่ะ

 

3.ติดตามลูกไปทุกที่

การดูแลลูกเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำค่ะ แต่ถ้าหากดูแลมากไป ติดตามลูกไปทุก ๆ ที่ สนามเด็กเล็ก ห้องเรียน ที่ ๆ มีลูกกับเพื่อน หรือกับคุณครู ก็จะคอยอยู่ข้าง ๆ ลูกตลอดเวลา

วิธีแก้ไข

คุณพ่อคุณแม่ต้องปล่อยให้ลูกได้มีเวลากับเพื่อนส่วนตัวบ้างนะคะ ปล่อยให้เด็ก ๆ ได้เล่นกันเองบ้าง ลูกและเพื่อน ๆ จะได้ไม่เกร็งที่ต้องมีคุณพ่อคุณแม่มาคอยดูอยู่ตลอดค่ะ

 

รู้ไวแก้ไขได้ทันค่ะ! รักลูกขอเป็นกำลังใจในการเลี้ยงลูกให้กับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านนะคะ หวังว่าบทความชิ้นนี้จะช่วยเปลี่ยนความคิดของการเลี้ยงลูกแบบ ไข่ในหิน ที่ทำให้ลูกอ่อนแอ พึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา มาเป็นเด็กแข็งแกร่ง ช่วยเหลือตัวเองได้เสมอกันค่ะ

 

3 สาเหตุที่ลูกชอบเถียง แต่พ่อแม่หลายคนไม่รู้

ลูกชอบเถียง, ลูกพูดจายอกย้อน, ลูกไม่เชื่อฟัง, การเลี้ยงลูก, คำพูด, การสอนลูก, วิธีรับมือเมื่อลูกชอบเถียง, ลูกชอบเถียง พูดไม่ฟัง ทำไงดี

ลูกชอบเถียง ลูกพูดจายอกย้อน ลูกไม่เชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร? 

3 สาเหตุที่ลูกชอบเถียง แต่พ่อแม่หลายคนไม่รู้

แม่ ๆ จ๋า ลูกบ้านไหนชอบเถียง พูดจายอกย้อนบ้างคะ? เรามารับมือแก้ไขเรื่องนี้ ให้ลูกกลับมาเป็นเด็กน่ารัก เชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกชอบเถียง

1.พฤติกรรมลอกเลียนแบบ

ไม่ว่าจะคุณพ่อคุณแม่เอง หรือโทรศัพท์ โทรทัศน์ เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ

2.เรียกร้องความสนใจ

ลูกกำลังแสดงออกถึงการต่อต้าน ไม่ต้องการถูกควบคุม

3.ไม่เข้าใจว่า คำพูด ส่งผลอะไร

ทำความเข้าใจก่อนว่า เด็กในวัยนี้จะยังแยกแยะไม่ได้ ว่าอะไรควรพูดไม่ควรพูด และไม่รู้ว่าสิ่งที่พูดออกไปคือ การเถียง

 

วิธีรับมือเมื่อลูกชอบเถียง

1.พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี

เพราะเด็กเล็กที่เริ่มหัดพูดอาจซึมซับพฤติกรรมการพูดจากผู้ใหญ่ในบ้าน ทั้งคำพูด ท่าทาง การใช้โทนเสียง หากไม่อยากให้เด็กโตมาเป็นเด็กช่างเถียง ช่างด่า หรือพูดคำหยาบคาย ผู้ใหญ่ในบ้านก็ต้องไม่ทำพฤติกรรมเหล่านั้นให้เด็กเห็น

2.เปิดใจรับฟัง เข้าใจความคิดของลูก 

บางครั้งก่อนที่จะตัดสินว่าลูกกำลังเถียง คุณพ่อคุณแม่ต้องรับฟังเขาก่อน โดยให้เขาพยายามชี้แจงว่าทำไมถึงคิดอย่างนั้น อาจจะถามถึงสาเหตุและให้เขาพูดอย่างมีเหตุผล ซึ่งหากมีการพูดคุยกันด้วยความเข้าใจอยู่เสมอก็จะลดการเถียงลงได้ และเด็กก็จะเรียนรู้วิธีการสื่อสารที่ดีด้วย

3.สอนลูกด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ในการพูดคุย ไม่ลงโทษ

เมื่อลูกโต้เถียง หรือใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ควรหยุดฟัง โดยแสดงสีหน้าและท่าทางปกติ ไม่ควรต่อปากต่อคำกับลูก และไม่ตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ เพื่อให้เขารู้ว่าพฤติกรรมที่ทำอยู่ไม่ควรทำ เมื่อลูกหยุดเถียงจึงค่อย ๆ สอนและบอกวิธีสื่อสารที่ถูกต้องว่าควรพูดอย่างไร ควรใช้น้ำเสียงพูดกับผู้อื่นอย่างไรจึงจะน่าฟัง

4.เปิดโอกาสให้ลูกขอโทษ และแก้ตัว

เมื่อลูกทำผิด คุณพ่อคุณแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้ขอโทษ และแก้ตัว หากลูกทำได้อย่าลืมชมว่า พยายามดีมาก เพื่อให้เขามีกำลังใจและอยากทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

 

 

 

4 กิจกรรมแอคทีฟสุดสนุกสำหรับแม่ลูก ทั้งในบ้านและนอกบ้าน

Zambuk – อุบัติเหตุ- กิจกรรมสำหรับเด็ก- ของใช้สำหรับเด็ก- ผลิตภัณฑ์เด็ก-กิจกรมเล่นกับลูก-กิจกรรมเล่นกับลูก 3-6 ปี-เล่นกับลูก-เล่นกับลูก 3-6 ปี

คุณหมอเด็กหลายท่านยืนยันแล้วค่ะว่า การเล่นเป็นสิ่งสำคัญของเด็กในช่วงวัยปฐม เพราะลูกได้เรียนรู้ได้เคลื่อนไหวร่างกายที่ช่วยให้เขามีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน ซึ่งคุณแม่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของลูกด้วยนะคะ จะช่วยสานสัมพันธ์แสดงความรักการดูแลกันให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เขากล้าออกไปเรียนรู้โลกกว้างได้อย่างเต็มที่ เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่ามีกิจกรรมแอคทีฟทั้งนอกบ้านและในบ้านอะไรที่คุณแม่สามารถทำร่วมกับลูกได้บ้าง

 

4 กิจกรรมแอคทีฟสุดสนุกสำหรับแม่ลูก

1.พาลูกผจญภัยธรรมชาติ

พาลูกออกไปธรรมชาติ อาจจะเริ่มจากสวนสาธารณะใกล้บ้านหรือไปเที่ยวธรรมชาติสวย ๆ ในวันหยุด เตรียมเต้นท์ กล้องถ่ายรูป กล้องส่องทางไกลและสมุดบันทึกไปด้วยนะคะ โดยระหว่างดูนกดูปลาและเดินสำรวจพันธุ์ต้นไม้ดอกไม้นานาชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อน ปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ใกล้ชิดธรรมชาติ มีคุณแม่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด และพร้อมเล่นเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ไปพร้อมกับลูกค่ะ

 Zambuk – อุบัติเหตุ- กิจกรรมสำหรับเด็ก- ของใช้สำหรับเด็ก- ผลิตภัณฑ์เด็ก-กิจกรมเล่นกับลูก-กิจกรรมเล่นกับลูก 3-6 ปี-เล่นกับลูก-เล่นกับลูก 3-6 ปี

2.ชวนลูกปลูกต้นไม้ร่วมกัน

คุณแม่ลองชวนเจ้าตัวน้อยปลูกต้นไม้ลงกระถางหรือทำสวนเล็ก ๆ ในบริเวณบ้าน หรือหาสถานที่ท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมการปลูกต้นไม้ จะช่วยให้ลูกได้เคลื่อนไหวร่างกายได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะการพรวนดิน การรดน้ำ ถอนหญ้าและวัชพืชออกจากดิน เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ สร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย

และเป็นหนึ่งวิธีที่จะทำให้ลูกมีความรับผิดชอบ เพราะเมื่อลูกลงมือปลูกต้นไม้ด้วยตัวเอง คุณแม่มอบหมายให้ลูกมีหน้าที่รับผิดชอบและดูแลต้นไม้ที่ตัวเองปลูก เช่น รดน้ำพรวนดินด้วยตัวเอง เพื่อให้ลูกได้คอยดูแลเมื่อต้นไม้เติบโตขึ้นค่ะ

 Zambuk – อุบัติเหตุ- กิจกรรมสำหรับเด็ก- ของใช้สำหรับเด็ก- ผลิตภัณฑ์เด็ก-กิจกรมเล่นกับลูก-กิจกรรมเล่นกับลูก 3-6 ปี-เล่นกับลูก-เล่นกับลูก 3-6 ปี

3.ชวนลูกเล่นกีฬาโปรด

คุณแม่ถามลูกว่า อยากเล่นกีฬาอะไร? กีฬาไหนที่ลูกชอบเล่น จะช่วยให้เขาสนใจและอยากทำกิจกรรมนั้นได้นานมากขึ้น เริ่มจากทักษะง่าย ๆ ตามวัยของลูก อาจจะพากันไปว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เตะบอล ตีแบด หรือแม้แต่ชวนลูกเล่นสเก็ตบอร์ด โดยมีคุณแม่คอยดูแลอยู่ใกล้ ๆ นอกจากลูกจะได้ออกกำลังกาย ขยับ เคลื่อนไหวร่างกายแล้ว ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกันมากขึ้นเวลาได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

 Zambuk – อุบัติเหตุ- กิจกรรมสำหรับเด็ก- ของใช้สำหรับเด็ก- ผลิตภัณฑ์เด็ก-กิจกรมเล่นกับลูก-กิจกรรมเล่นกับลูก 3-6 ปี-เล่นกับลูก-เล่นกับลูก 3-6 ปี

4.ชวนลูกทำงานบ้าน

จากกิจกรรมนอกบ้าน ลองเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันภายในบ้านได้ คือ งานบ้านค่ะ คุณแม่มาเปลี่ยนงานบ้านที่แสนน่าเบื่อให้เป็นเกมแสนสนุก ๆ ที่มีการตั้งเวลาและสร้างความท้าทาย กระตุ้นให้ลูกอยากทำงานบ้าน และมีคุณแม่ทำงานบ้านไปพร้อมกับลูก เช่น

  • ให้ลูกเก็บหนังสือ 10 เล่ม วางบนชั้นหนังสือให้เรียบร้อยภายในเวลาที่กำหนด
  • แข่งกันเก็บของเล่นลงในกล่องภายในเวลา 10 นาที

ใครเก็บเสร็จก่อน และเก็บได้อย่างเรียบร้อยคนนั้นชนะ รับรองว่าห้องสะอาดภายในเวลาไม่กี่นาทีแน่นอนค่ะ

งานบ้าน นอกจากจะช่วยให้ลูกได้เคลื่อนไหวร่างกาย และฝึกความอดทนในการทำความสะอาด เก็บของเล่นให้เรียบร้อย ให้บ้านน่าอยู่มากยิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์คุณแม่กับคุณลูกได้ใกล้ชิดกัน ทำกิจกรรมสนุก ๆ ร่วมกัน แถมได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

Zambuk – อุบัติเหตุ- กิจกรรมสำหรับเด็ก- ของใช้สำหรับเด็ก- ผลิตภัณฑ์เด็ก-กิจกรมเล่นกับลูก-กิจกรรมเล่นกับลูก 3-6 ปี-เล่นกับลูก-เล่นกับลูก 3-6 ปี

 

ทุกกิจกรรม ทั้งการออกไปผจญภัยเรียนรู้ธรรมชาติ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย อาจทำให้ลูกรู้สึกเหนื่อยล้า และเวลาเดินเข้าป่าอาจเกิดการบอบช้ำ โดนสัตว์กัดต่อย ไม่ว่าจะเป็นแมลงอย่างมดหรือยุง คุณแม่ดูแลลูกได้ ดังนี้ค่ะ

1.เตรียมอุปกรณ์ เครื่องป้องกันลูกให้พร้อม เช่น ชุดสนับเข่า-ข้อศอก เป็นต้น

2.เตรียมยาที่ไว้สำหรับทา เวลาลูกโดนยุง มด หรือแมลงกัดต่อย เช่น ยาหม่องยูคาลิปตัส ที่มีส่วนผสมของน้ำมันยูคาลิปตัสและการบูร ช่วยบรรเทาอาการปวด บวม อักเสบ จาก ยุง แมลงกัดต่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือ เคล็ดขัดยอก ได้อย่างอ่อนโยน โดยไม่มีฤทธิ์แสบร้อน อย่าลืมพกติดกระเป๋าไว้อุ่นใจแน่นอน จะเวลาไหน คุณแม่กับคุณลูกก็สามารถดูแลกันได้ตลอด

Zambuk – อุบัติเหตุ- กิจกรรมสำหรับเด็ก- ของใช้สำหรับเด็ก- ผลิตภัณฑ์เด็ก-กิจกรมเล่นกับลูก-กิจกรรมเล่นกับลูก 3-6 ปี-เล่นกับลูก-เล่นกับลูก 3-6 ปี

3.อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย เมื่อกลับถึงบ้าน หรือที่พัก

หลังอาบน้ำเสร็จ หากลูกยังรู้สึกปวดเมื่อยล้า ไม่สบายตัว คุณแม่สามารถนำแซมบัค มาทา นวด ๆ ผ่อนคลายให้ลูกได้ หรือจะทาให้ตัวเองและคนในบ้านก็ได้นะคะ ผลัดกันทาถู ๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดีค่ะ ตอนนี้มีแบบฝาเกลียวขนาด 36g เปิดง่าย หาซื้อได้ตามร้านขายยาชั้นนำทั่วไป Boots , Watson, 7-11 Extra

Zambuk – อุบัติเหตุ- กิจกรรมสำหรับเด็ก- ของใช้สำหรับเด็ก- ผลิตภัณฑ์เด็ก-กิจกรมเล่นกับลูก-กิจกรรมเล่นกับลูก 3-6 ปี-เล่นกับลูก-เล่นกับลูก 3-6 ปี 

 

Tips.

แซมบัค ยาหม่องยูคาลิปตัส ชนิดขี้ผึ้ง ใช้ในเด็กอายุ 2 ปี ขึ้นไป มีหลายขนาดให้เลือก คุณแม่ที่สนใจสามารถปรึกษาแพทย์ เภสัชกร ที่ร้านขายยา เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมในการเลือกใช้ได้ค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.zambuk.co.th/product-information/zam-buk/

Zambuk – อุบัติเหตุ- กิจกรรมสำหรับเด็ก- ของใช้สำหรับเด็ก- ผลิตภัณฑ์เด็ก-กิจกรมเล่นกับลูก-กิจกรรมเล่นกับลูก 3-6 ปี-เล่นกับลูก-เล่นกับลูก 3-6 ปี 

(พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์)

 

4 วิธีป้องกันลูกไปกับคนแปลกหน้า โดนลักพาตัว วิธีป้องกันที่พ่อแม่ต้องรู้และสอนลูก

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-การเรียนรู้
ข่าวเด็ก ๆ โดนลักพาตัว ไปกับคนแปลกหน้ามีให้เห็นบ่อยมาก ซึ่งเกิดได้ทั้งลูกเล็ก ลูกโต ทั้งที่โรงเรียน สนามเด็กเล่น หรือแม้แต่ห้างที่มีคนพลุกพล่าน พ่อแม่จึงต้องหาวิธีป้องกันไม่ให้ลูกโดนลักพาตัว รวมถึงสอนให้ลูกปกป้องตัวเองเบื้องต้นด้วยการรู้จักปฏิเสธและไม่ไปกับคนแปลกหน้า เรามี 4 วิธีสอนและป้องกันให้ลูกไม่โดนลักพาตัว และรู้จักปฏิเสธไม่ไปกับคนแปลกหน้ามาแนะนำค่ะ

1.รหัสลับที่รู้กัน

วิธีนี้พ่อแม่ลูกจะต้องสร้างรหัสลับที่รู้กันเอง เพื่อเวลาพ่อแม่ไปรับ ลูกจะต้องถามรหัสนี้ก่อน หรือหากมีความจำเป็นต้องให้ญาติไปรับก็จะต้องรู้รหัสนี้ด้วย เช่น รหัส "เจ้าหญิงเอลซ่ากินกล้วย" เมื่อไปรับลูก ลูกจะต้องถามพ่อแม่ก่อนว่ารหัสคืออะไร เมื่อพ่อแม่ตอบถูกจึงกลับบ้านด้วยกันได้ หากตอบผิด ลูกจะต้องรีบวิ่งไปหาคุณครู

คำแนะนำ

  • รหัสนี้ควรเปลี่ยนทุกสัปดาห์
  • หากจะต้องให้ญาติไปรับแทน ต้องแจ้งรหัสนี้ที่ญาติ และแจ้งครูที่พาน้องมาส่งถึงมือญาติด้วย
  • คุณครูคืออีกหนึ่งคนที่จำเป็นต้องทราบรหัสนี้ ทั้งในกรณีที่พ่อแม่หรือญาติมารับ
-------------------------------------------------
 
2.สอนให้ลูก "ขออนุญาต" ก่อนเสมอ

วิธีนี้ต้องปลูกฝังตั้งแต่ลูกเริ่มเข้าใจคำพูดของพ่อแม่ คือ ทุกครั้งที่ลูกจะรับของจากใคร กินอะไร ไปไหน จะต้องหันหน้ามาถามพ่อแม่ก่อนเสมอ หากพ่อแม่อนุญาตถึงทำได้ หากไม่อนุญาตก็จะไม่ได้ทำ เช่น คุณป้า(พี่สาวพ่อ)ให้ขนม ลูกจะยังไม่รับแม้จะโดนคะยั้นคะยอจากป้า แต่จะหันมามองหาพ่อแม่แล้ววิ่งมาขออนุญาตก่อน หรือ หากมีใครจับแขนหรือมือให้มารับของหรือพาเดิน ลูกจะรู้ว่าต้องขัดขืนไว้ เพราะพ่อแม่ยังไม่อนุญาตให้ไป

คำแนะนำ

  • วิธีนี้เน้น "การทำซ้ำ" จึงจะได้ผล เช่น ทุกครั้งที่มีใครให้ขนม เมื่อเห็นว่าลูกจะรับ พ่อแม่ต้องถามว่า "ลูกควรทำยังไงก่อน" เพื่อเตือนให้ลูกรู้ว่าต้องมาขออนุญาตก่อนทุกครั้ง จนกว่าลูกจะจำและทำได้เองเมื่อมีคนให้ขอหรือจะทำอะไร ต้องมาขอพ่อแม่ก่อน โดยที่เราไม่ต้องร้องเตือน
-------------------------------------------------
 
3.กรี๊ดให้สุดเสียง

ในกรณีที่มีคนแปลกหน้ามาจับตัว จับขน จับมือ ลากดึงมือไปที่อื่น โดยไม่มีพ่อแม่หรือผู้ปกครองอยู่ด้วย วิธีที่ดีที่สุดที่จะสอนให้ลูกทำคือ ร้องสุดเสียง กรี๊ดให้ดังที่สุด เพื่อเรียกให้คนมาช่วย


คำแนะนำ

  • พ่อแม่ควรสอนลูกด้วยว่า คนแปลกหน้าคือคนลักษณะไหน เช่น คนที่บอกรหัสลับไม่ถูกแต่พยายามจับมือแล้วลากหนูไป ก็ให้หนูร้องเลย เป็นต้น
-------------------------------------------------
 
4.นาฬิกาติดตามตัว

สำหรับเด็กๆ ที่โตพอจะใส่นาฬิกาได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย เช่น นาฬิกาติดตามตัวที่มีระบบ GPS เชื่อมต่อกับโทรศัพท์ของพ่อแม่ ซึ่งจะทำให้รู้ความเคลื่อนไหวของลูกว่าอยู่ไหน ออกนอกพิกัดไหม หากลูกออกนอกพิกัดก็สามารถโทรศัพท์เข้าไปที่นาฬิกาได้เลย หรือสามารถติดตามเส้นทางของลูกได้


คำแนะนำ

  • ควรเลือกนาฬิกาติดตามตัวที่เหมาะกับพฤติกรรมของเด็กๆ เช่น กันน้ำ กันกระแทก ฯลฯ
  • สอนลูกเสมอว่าไม่ควรถอด นอกจากต้องทำกิจกรรมที่ใส่นาฬิกาตลอดเวลาไม่ได้ เช่น ว่ายน้ำ ฯลฯ


  เหตุการณ์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนรู้ไว้เป็นทักษะชีวิตในการเอาตัวรอดของลูกเมื่อต้องเจอสถานการณ์ร้ายแบบนี้นะคะ 

4 วิธีรับมือลูกดื้อ ลูกซน

ลูกดื้อ, ลูกซน, เด็กอนุบาล, โรงเรียนอนุบาล, เด็กพิเศษ, สุขภาพเด็ก, พฤติกรรมเด็ก, โรคในเด็ก, กิจกรรมสำหรับเด็ก, การพัฒนาสมองเด็ก, การเลี้ยงลูก, ทำยังไงดีลูกดื้อมาก, ลูกดื้อมาก 

ลูกดื้อเกินไป ซนเกินเหตุ เรามีเคล็ดลับเทคนิคปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของลูก มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำไปใช้กันค่ะ

4 วิธีรับมือ ลูกดื้อ ลูกซน
  1. ตักเตือน ใช้คำพูดบอกว่าอะไรถูกผิด เมื่อลูกทำผิดบอกไปตรงๆ ว่าทำแบบนั้นไม่ดีอย่างไร และส่งผลอย่างไร โดยอธิบายให้ชัดเจนที่สุด  

  2. เพิกเฉย คุณพ่อคุณแม่ต้องนิ่งสงบเข้าไว้ อย่าใช้อารมณ์กับลูกพร้อมบอกกับเขาว่าครั้งหน้าจะมีบทลงโทษตามกติกาที่กำหนดไว้แล้วนะจ๊ะ  

  3. Time out จำกัดพื้นที่และพฤติกรรมเมื่อกระทำผิด อาจเป็นมุมที่ไม่มีอะไรให้เขาได้เล่น แล้วนับ 1-10 หรือเพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้นอีกหน่อยกรณีที่เจ้าหนูไม่เชื่อฟัง  

  4. ลงโทษ ด้วยวิธีตัดในสิ่งที่เด็กๆ ชอบ เช่น เล่นของเล่น กินขนม กรณีที่เด็กๆ ทำผิดแทนการใช้กำลัง แต่ต้องเป็นกติกาในครอบครัวที่ตกลงร่วมกันแล้วนะคะ เพื่อลูกจะได้เรียนรู้ว่าทำผิดแล้วผลที่ได้คืออดกินของอร่อย อดเล่นของเล่นค่ะ

การลงโทษลูกนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีที่ไม่แนะนำคือการตีเพราะความรุนแรงจะยิ่งทำให้เด็กๆ ต่อต้านและไม่ทำตามได้ในที่สุด ดังนั้นลงโทษด้วยเหตุผลย่อมดีกว่าใช้ความรุนแรงแน่นอนค่ะ


 

4 วิธีแก้ลูกพูดคำหยาบ

ลูกพูดไม่เพราะ, ลูกพูดคำหยาบ, ทำไงดีลูกพูดคำหยาบ, อยากให้ลูกพูดเพราะ ๆ, การเลี้ยงลูก

ลูกพูดคำหยาบ พูดไม่เพราะ พ่อแม่ต้องรีบแก้ ก่อนที่จะติดเป็นนิสัยค่ะ

4 วิธีแก้ลูกพูดคำหยาบ

1.ได้ยินจากคนในบ้าน

พฤติกรรมการพูดคำหยาบในวัยเด็กส่วนใหญ่มาจากคนใกล้ตัว หรือคนในครอบครัว การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดควรเริ่มแก้ไขจากพ่อแม่ หรือคนในครอบครัวก่อน เพราะเด็กเป็นวัยที่จดจำและเลียนแบบจากบุคคลใกล้ตัว

2.ติดมาจากเพื่อนที่โรงเรียน หรือแถวบ้าน

ถ้าเด็กมีพฤติกรรมการพูดคำหยาบมาจากเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนหรือสื่อต่าง ๆ ควรอธิบายให้เด็กเข้าใจว่าทำไมไม่ควรพูดคำหยาบ และข้อเสียของการพูดไม่สุภาพ

3.ละคร การ์ตูน จากโทรทัศน์

คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจ เลือกรายการโทรทัศน์ที่เหมาะกับเด็กเล็ก หรือควรเลือกดูรายการที่ไม่มีคำสบถหรือคำไม่สุภาพแทน เนื้อหาบางอย่างอาจจะไม่เหมาะกับช่วงอายุของลูกคุณ คำอธิบายและคำแนะนำเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีที่ถูกต้องกับสังคมและตัวเราเองว่าควรเป็นในทิศทางไหน

4.สื่อออนไลน์ต่าง ๆ

ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นอินเทอร์เน็ตลำพัง ควรอยู่ใกล้ ๆ คอยแนะนำเว็บไซต์หรือเนื้อหาที่เหมาะสม ถือว่าเป็นการคอยสังเกตลูกไปในตัว ซึ่งเด็กจะรู้สึกอุ่นใจ กล้าพูด กล้าซักถามกับพ่อแม่มากขึ้น กลายเป็นการสร้างเวลาของครอบครัวไปด้วย

 

วิธีรับมือ เมื่อลูก พูดไม่เพราะ

1.พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น

สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่ในบ้านต้องระวัง ไม่พูดคำหยาบให้เด็กได้ยินเป็นอันขาด เพราะลูกจะไม่เข้าใจว่าทำไมผู้ใหญ่พูดได้ แต่เด็กพูดแล้วกลับถูกลงโทษ อาจทำให้ลูกกลายเป็นคนไม่มีเหตุผลในอนาคตได้ ลองหาแหล่งที่มาของคำหยาบเหล่านั้น แล้วพยายามกันลูกออกจากคน หรือแหล่งนั้นๆ เพราะสิ่งแวดล้อมมีผลกับพฤติกรรมของเด็กด้วยเช่นกัน

2.สอนให้ใช้คำอื่น

เพราะเด็กยังไม่รู้ว่าคำไหนหยาบหรือไม่หยาบ ดังนั้นเมื่อลูกพูดคำหยาบคุณพ่อคุณแม่ต้องชี้เป็นคำ ๆ ไปว่าคำนี้พูดไม่ได้ และสอนด้วยว่าควรใช้คำใดแทน แล้วให้ลูกหัดพูดตาม เช่น หากลูกคำว่า “ตีน” อาจสอนลูกว่าคำนี้ไม่เพราะ พูดแล้วไม่น่ารักเลย พูดแล้วพ่อแม่ไม่ชอบ ให้พูดคำว่า “เท้า” แทน แล้วสอนให้ลูกพูดตาม

3.ห้ามเผลอหัวเราะ ชอบใจ

อย่าเผลอหัวเราะชอบใจเมื่อเด็กพูดคำแปลก ๆ ที่เป็นคำหยาบออกมา ยิ่งคนรอบข้างหัวเราะชอบใจ เป็นการเสริมพฤติกรรมให้เด็กพูดอีกเพราะคิดว่าถูกต้องเหมาะสมแล้ว

4.สร้างกฏเรื่องการพูดคำหยาบให้ชัดเจน

ควรมีการตั้งกฎ ถ้าทำผิดกฎโดยลงโทษที่ยุติธรรมและเหมาะสมกับความผิด การลงโทษควรให้เด็กเข้าใจว่า ถูกลงโทษมิใช่เพราะว่าพ่อแม่ไม่รักลูก แต่อยากให้เป็นคนดี เมื่อได้รับโทษต้องอธิบายเหตุผลเสมอ ส่วนวิธีการลงโทษมีหลากหลายวิธี เช่น งดขนม งดการดูทีวี การให้ทำงานบ้านชดเชยความผิด แต่ไม่ควรลงโทษทางกายที่รุนแรงเพราะจะทำให้เด็กเป็นเด็กขี้ขลาดและกลายเป็นเด็กก้าวร้าวในที่สุด

 

คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมชมเป็นรางวัลที่ลูกทำได้ แต่ถ้าเขาทำไม่สำเร็จ ก็ควรให้กำลังใจและให้เวลากับความพยายามของลูกอีกสักนิดนะคะ

 

 

ข้อมูลโดย : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

4 เรื่องที่แม่ให้นมต้องรู้

4916 

อาจเคยมีคนบอกคุณแม่ให้นมว่าเวลาน้ำนมไม่ไหล น้ำนมน้อย ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ทำยังไงให้น้ำนมไหล ดูแลตัวเองยังไง แต่ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ยังทำให้การให้นมแม่ไม่สำเร็จสักที มาดูคำแนะนำจากคุณหมอกันค่ะ เผื่อจะนำไปปรับใช้ได้ 

1. เทคนิคให้นมเจ้าตัวเล็ก
  1. ก่อนและหลังให้นมลูกทุกครั้ง คุณแม่จะต้องเช็ดหรือล้างบริเวณหัวนมและรอบ ๆ ให้สะอาดด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือแล้วเช็ดให้แห้ง จึงให้ลูกดูดนมสลับไปในแต่ละข้างจนอิ่ม ช่วงแรกให้ดูดกระตุ้น 15 - 20 นาทีทั้งสองข้าง (เมื่อน้ำนมมากพอต่อไปดูดทีละข้าง)
  2. ศีรษะลูกจะต้องอยู่สูงกว่าลำตัวเสมอ
  3. คอยสังเกตว่าส่วนของเต้านมไม่เบียดจมูกทารกขณะดูด 
  4. เมื่อลูกดูดนมจนอิ่มให้อุ้มลูกพาดบ่าจนลูกเรอลมออกจากกระเพาะอาหารจึงเปลี่ยนท่าอุ้ม
  5. ช่วงแรกควรงดให้ขวด เพราะเด็กอาจจะปฏิเสธนมแม่
  6. คุณแม่สามารถปั๊มน้ำนมตนเองใส่ขวดนมที่สะอาดและเก็บไว้ในตู้เย็น แต่ไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง หากลูกดูดนมจากขวดจนอิ่มแล้วน้ำนมเหลือไม่ควรเก็บไว้เพราะนมจะบูดและเสียโดยง่าย แล้วดูดเสร็จถ้ามีนมเหลือควรบีบหรือปั๊มใส่ขวดเก็บใส่ตู้เย็น
2. วิธีดูแลเต้านมคุณแม่ 
  • ใส่เสื้อชั้นในแบบพยุงเต้านม
  • ทำความสะอาดหัวนมด้วยน้ำสะอาด
  • ใช้สบู่ฟอกได้ แต่ไม่ควรบ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้แห้งแตก
3.ความต้องการพลังงานของแม่ขณะให้นม

คุณแม่ที่ให้นมจะต้องใช้พลังงานสูงในการผลิตน้ำนม โดยใช้พลังงานประมาณ 85 แคลอรี่ในการผลิตน้ำนม 100 ซีซี ซึ่งปริมาณน้ำนมแม่ในแต่ละช่วงจะแตกต่างกันออก

ช่วง 6 เดือนแรกจะอยู่ที่ 700 - 850 มล./วัน

ช่วง 6 - 12 เดือน 600 มล./วัน และ

ช่วง 12 - 24 เดือน 550 มล./วัน

 

ดังนั้นคุณแม่ที่ให้นมจึงต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นวันละ 500 แคลอรี่ โดยเฉพาะโปรตีนมีความสำคัญมากในการผลิตน้ำนม บำรุงและซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ของคุณแม่ จึงควรได้รับโปรตีนเพิ่มวันละ 25 กรัม

4. อาหารช่วยเพิ่มน้ำนมแม่
  • หัวปลี มีธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงเลือดและเพิ่มน้ำนม
  • กะเพรา มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยขับลม แก้ท้องอืด เพิ่มน้ำนม
  • กุยช่าย มีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม ช่วยเพิ่มน้ำนม ลดการอักเสบ ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกาย
  • ขิง มีสารจินจิเบน ช่วยย่อยอาหาร ย่อยไขมัน เพิ่มน้ำนม ขับลม แก้คลื่นไส้อาเจียน
  • เม็ดขนุน มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยเพิ่มน้ำนม

 

การให้นมลูกไม่เพียงแต่มีประโยชน์ในด้านสารอาหารที่ลูกได้รับ แต่การอุ้มลูกขึ้นดูดนมช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทุกส่วนของลูก ทำให้สมองได้รับสัญญาณประสาทสม่ำเสมอ เกิดการแตกแขนงของเซลล์ประสาท ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้นอีกด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.คัคณางค์ มิ่งมิตรพัฒนะกุล สูตินรีแพทย์ประจำศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพ

ศูนย์สุขภาพสตรีกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร. 0 2310 3005, 0 2755 1005 หรือ โทร. 1719

4 โรคที่เด็ก 3 ขวบมักเป็น เพราะภูมิคุ้มกันแย่

โรคเด็ก, การดูแลเมื่อลูกเป็นไข้เลือดออก, สุขภาพลูก, การดูแลสุขภาพลูก, โรคมือเท้าปาก, โรคไข้หวัดใหญ่, โรคติดเชื้อไวรัส RSV, วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกัน, ภูมิคุ้มกันโรค, ไวรัสโรต้า, ท้องเสีย, อุจจาระร่วง

 

เรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยของลูก นับเป็นความกังวลที่สุดของคนเป็นพ่อแม่ค่ะ เพราะระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังไม่แข็งแรง เสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคที่อยู่รอบตัวได้ง่าย โดยเฉพาะโรคต่อไปนี้ ที่ต้องระวังเป็นพิเศษค่ะ

  1. โรคมือเท้าปาก


สาเหตุ: เกิดจากเชื้อไวรัส (Enterovirus 71, Coxsackie) พบได้ตลอดทั้งปี ซึ่งหาเป็นแล้วอาการมักหายได้เองภายใน 3-10 วัน

การติดต่อของโรค: ทางการไอ จาม น้ำลาย หรืออุจจาระ มีระยะฟักตัวของโรค 3 - 6 วัน

อายุกลุ่มเสี่ยง: เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี

อาการ: มีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า มีแผลในปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก บางรายอาจมีผื่นที่ขา และก้นร่วมด้วย ซึ่งต้องระวังอย่าให้ลูกมีไข้สูง เพราะเสี่ยงภาวะชัก รวมถึงอาการแทรกซ้อนอื่นๆ 

อาการต้องรีบพบแพทย์
: ซึม ไม่เล่น ไม่อยากอาหารหรือนม
: ปวดศีรษะมาก
: ปวดต้นคอ
: อาเจียน
:  ตัวสั่น แขนหรือมือสั่นบ้าง
: พูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง

  1. โรคติดเชื้อไวรัส RSV


สาเหตุ: เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ สามารถพบเชื้อได้ตลอดทั้งปี 

การติดต่อของโรค: ทางน้ำมูก น้ำลาย การไอ และละอองเสมหะของเด็กที่ป่วย

อายุกลุ่มเสี่ยง: เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี

อาการ 
: มีอาการหอบเหนื่อย และหายใจลำบาก
: หายใจเร็ว และมีเสียงครืดคราด ๆ จนสังเกตได้จากการยุบบุ๋มลงไป และโป่งพองขึ้นมา
: ไอหนักมาก
: มีเสียงหวีดในปอด จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว
: มีเสมหะมาก
: มีไข้

  1. โรคไข้หวัดใหญ่


สาเหตุ:ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เป็นโรคที่สามารถพบได้ตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝนเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคมากขึ้น

การติดต่อของโรค: ผ่านน้ำมูก หรือเสมหะของผู้ป่วย หรือการสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรคจากผ้าเช็ดหน้า ช้อน หรือแก้วน้ำที่ใช้ร่วมกัน

อายุกลุ่มเสี่ยง: เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี

อาการ
: อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดธรรมดา ซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจในส่วนของจมูก ลำคอ และปอด แต่มีความรุนแรงมากกว่าและพัฒนาทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ คุณแม่สามารถสังเกตอาการที่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดา ได้ดังนี้
: มีไข้สูง ซึ่งมักเกิดอาการอย่างเฉียบพลัน และมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัด
: ปวดเมื่อย ตามกล้ามเนื้อ และรู้สึกอ่อนเพลียมาก
: ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อาจเกิดขึ้นได้ หากพบว่ามีอาการเข้าข่ายไข้หวัดใหญ่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ 
 

  1. โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า


สาเหตุ: เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า

การติดต่อของโรค: ผ่านการหยิบอาหาร หรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก ซึ่งเกิดการแพร่ระบาดได้ง่าย

อายุกลุ่มเสี่ยง: เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี

อาการ
: ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำและถ่ายบ่อยกว่าปกติ หรืออาเจียนร่วมด้วย
: เด็กเล็กอาจมีไข้
: ซึม มือเท้าเย็น
: ปัสสาวะออกน้อยลง
: ขาดน้ำ อาจเกิดภาวะช๊อกได้
: หากท้องร่วงไม่รุนแรงจะหายได้เองใน 3-7 วัน

การรักษา    
: อุจจะระออกไปให้หมดเพื่อไล่เชื้อ
: ดื่มเกลือแร่หรือให้น้ำเกลือ


10 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกัน & ป้องกันลูกจาก 4 โรคร้าย

1. ฉีดวัคซีน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า

2. ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และกินอาหารที่ถูกต้องตามโภชนาการ

  1. นอนหลับอย่างเพียงพอ ควรจัดห้องนอนให้มีบรรยากาศปลอดโปร่ง มืดสนิท  มีเสียงรบกวน เพื่อให้ลูกน้อยนอนหลับสนิทตลอดคืน เพื่อการเจริญเติบโตที่สมวัยและมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรง 

  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น ออกไปวิ่ง ว่ายน้ำ เล่นกีฬา ทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ปอดและหัวใจแข็งแรง

  3. ดื่มนมที่มีประโยชน์สูง เช่น นมแพะ เพราะมีกระบวนการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ ซึ่งพบในนมแม่และนมแพะเท่านั้น ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์น้ำนมหลุดออกมากับน้ำนมในปริมาณสูง จึงมีสารอาหารธรรมชาติสูง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ย่อยง่าย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก ไม่ป่วยง่าย

  4. เสี่ยงไปสถานที่แออัด หรือสถานที่ที่เสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโรค

  5. ล้างมือให้สะอาดเสมอ โดยล้างด้วยสบู่หรือน้ำยาล้างมือให้นานเพียงพอ

  6. ทำความสะอาดของใช้เด็กอยู่เสมอ หมั่นเช็ดแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดของเล่นที่ลูกหยิบเข้าปากได้ หรือของใช้ของลูกให้สะอาดปลอดเชื้ออยู่เสมอ

  7. แยกเด็กป่วยจากเด็กปกติ เมื่อสังเกตว่าลูกมีอาการผิดปกติ ให้รีบแยกลูกออกจากเด็กๆ ที่ปกติดี เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ

  8. พบแพทย์ เมื่อลูกมีอาการผิดปกติ ให้รีบแยกลูกออกจากเด็กๆ ที่ปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ และพาไปพบแพทย์ค่ะ




5 ข้อควรคิดก่อนให้ลูกเลี้ยงสุนัข

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

การให้ลูกได้เล่นกับธรรมชาติและมีอิสระเป็นสิ่งที่พ่อแม่อย่างเราต้องให้ความสำคัญค่ะ การให้ลูกได้มีสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสุนัขก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่พ่อแม่เลือก เพราะนอกจากลูกจะได้เล่นกับสัตว์เลี้ยงแล้ว ลูกยังจะได้เรียนรู้ถึงความอ่อนโยน ความรับผิดชอบ และความมีระเบียบวินัยด้วย  

การจะตัดสินใจให้ลูกเลี้ยงสุนัขสักตัวก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกันค่ะ เพราะในฐานะพ่อแม่อย่างเราแล้วความปลอดภัยของลูกเป็นสิ่งสำคัญเสมอ ดังนั้นเรามี 5 เรื่องควรรู้เมื่อจะให้ลูกเลี้ยงสุนัขมาฝากค่ะ

  1. การเลือกสุนัข 

จะต้องเลือกสุนัขสายพันธุ์ที่ไม่ดุร้าย เข้ากับเด็กๆ ได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่ควรซื้อสุนัขจากฟาร์มสุนัขที่มีความน่าเชื่อถือ มีใบรับรอง และสุนัขต้องได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว รวมถึงต้องได้รับการตรวจจากสัตวแพทย์ด้วยว่าไม่เป็นโรค หรือมีอาการของโรคที่เกิดในสุนัขบ่อยๆ เช่น ขี้ตาแฉะ มีน้ำมูก ผอมโซ เป็นต้น

  1. ตรวจร่ายกายลูก 

เด็กบางคนแพ้ขนสัตว์ ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าลูกจะสามารถเลี้ยงและเล่นกับสุนัขได้ พ่อแม่จะต้องตรวจร่างกายลูกให้แน่ใจว่าเขาจะไม่แพ้ขนสุนัข รวมถึงการแพ้โปรตีนจากขี้ไคล และน้ำลายของสุนัขซึ่งหากเด็กที่มีการแพ้แล้วไปสัมผัสก็อาจจะก่อนให้เกิดอาการ เช่น ผื่นแดง คัน จาม เป็นต้น เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่พ่อแม่จะต้องตรวจสอบ

  1. เวลาและสถานที่ที่เหมาะสม 

คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณาอายุของลูกด้วยค่ะว่าเหมาะสมแล้วกันการเลี้ยงสุนัขหรือไม่ ซึ่งเด็กวัย 3 ปีขึ้นไปเป็นวัยที่เหมาะสมในการให้ลูกเริ่มเล่นกับสุนัขได้ รวมถึงสถานที่ซึ่งหมายถึงบริเวณบ้านมีพื้นที่สำหรับวิ่งเล่นมากพอหรือไม่ จะเลี้ยงสุนัขไว้ส่วนไหนของบ้าน อากาศถ่ายเทสะดวกหรือไม่ ส่วนนี้พ่อแม่จะลิมไม่ได้เลยค่ะ

  1. สอนการเล่นกับสุนัข 

ก่อนที่จะให้ลูกเลี้ยงสุนัขได้ พ่อแม่จะต้องสอนและทำความเข้าใจกับลูกเรื่องการเล่นให้ดีเสียก่อน เพราะหากลูกเล่นรุนแรง หรือไม่ระวังก็อาจเกิดอันตรายได้ เช่น บอกลูกว่าไม่ควรดึงหางสุนัขแรงๆ ไม่ควรขึ้นขี่หลัง ไม่ควรหยิก ไม่ควรเอามือง้างปากหรือแหย่เข้าไปในปากสุนัข เป็นต้น และควรบอกลูกถึงอันตรายและการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นเพื่อที่ลูกกลัวการบาดเจ็บและเล่นอย่างระวังมากขึ้น

  1. สอนเรื่องความรับผิดชอบ 

คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกมีส่วนรับผิดชอบในการเลี้ยงสุนัขด้วย เช่น พาออกไปเดินเล่นซึ่งลูกก็จะได้วิ่งออกกำลังกายด้วย ช่วยอาบน้ำสุนัข ช่วยเก็บอึสุนัข หรือแม้แต่ช่วยกวาดขนสุนัขบนพื้น การฝึกความรับผิดชอบและวินัยเบื้องต้นนี้จะทำให้ลูกของเรานำไปใช้ในสังคมได้เมื่อโตขึ้น

เชื่อว่าหลายๆ บ้านคงโดนลูกอ้อนของลูกๆ ไปกับบ้างแล้วไม่มากก็น้อยค่ะ บางคนนมาอ้อนน่าสงสารน่าเอ็นดู บางคนมาแนวบีบน้ำตา แล้วพ่อแม่อย่าเราจะใจแข็งต่อไปได้ยังไงกัน แต่ไม่ว่าเขาจะอ้อนเราด้วยวิธีไหน ลองใช้ 5 วิธีพิจารณาของเราเข้าไปร่วมในการตัดสินใจนะคะ

5 ข้อดีของการสอนลูกรู้จักออมเงิน

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF
 
เด็กวัยอนุบาลเป็นวัยที่เริ่มรู้จักการใช้จ่ายเงินบ้างแล้ว แต่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจคุณค่าของเงิน เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถอธิบายความสำคัญของเงินแบบง่ายๆ ให้ลูกได้เช่น เงินมีไว้ทำอะไร พ่อแม่หามาได้อย่างไร และเงินมีไว้ใช้สำหรับสิ่งจำเป็นอะไรบ้าง ที่สำคัญ ลูกต้องรู้จักออมเงินด้วยค่ะ
5 ข้อดีสอนลูกรู้จักออมเงิน
1. ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายว่าจะออมเงินเพื่ออะไร เช่น ออมเงินไว้ซื้อของเล่นที่อยากได้ ออมเงินไว้สำหรับซื้อของให้พ่อแม่ เป็นต้น 

2 ลูกได้เรียนรู้การวางแผน ลูกอยากได้ของเล่น ต้องเก็บเงินวันละเท่าไหร่ และต้องใช้ระยะเวลาในการเก็บกี่วัน จึงจะพอซื้อของเล่น 1 ชิ้น เป็นต้น 

3. รู้จักอดทนรอคอย บางครั้งการออมเงินก็เป็นเรื่องสนุกที่เด็กๆ จะรู้สึกตื่นเต้นและเฝ้ารอวันที่กระปุกออมสินเต็ม หรือวันที่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อของที่เขาอยากได้ 

4. เกิดความยืดหยุ่น แม้จุดประสงค์หลักที่ลูกออมเง้นเพื่อซื้อของเล่น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ลูกอาจไม่อยากได้ของเล่นที่เขาเคยอยากเล่นแล้ว เด็กบางคน เมื่อเห็นจำนวนเงินที่ตนเองเก็บออมได้ หลายคนมักจะรู้สึกเสียดาย เพราะฉะนั้นทางที่ดีควรรีบใช้โอกาสนี้พาลูกไปเปิดบัญชีธนาคารค่ะ 

5. เกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หลังจากที่หยอดเงินเต็มกระปุกหมูและพ่อแม่พาไปเปิดบัญชีออมทรัพย์แล้ว เด็กหลายคนมักจะชอบบรรยากาศการฝากเงิน และรู้สึกดีใจเมื่อเห็นยอดเงินในบัญชีเพิ่มขึ้น (ซึ่งผู้ใหญ่อย่างพ่อกับแม่เองก็ชอบเช่นกัน)
 
 
"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข
 

5 คำพูดที่พ่อแม่ไม่ควรเอ่ย เมื่อลูกกำลังวิตกกังวลกลัวบางอย่าง

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-พูดทำร้ายจิตใจลูก- 5 คำพูดที่ไม่ควรพูดเมื่อลูกวิตกกังวล 

คำพูดของพ่อกับแม่นั้นมีผลต่อจิตใจและพัฒนาการของลูกมาก และถ้าหากพูดทำร้ายจิตใจลูกก็จะส่งผลเสียระยะยาว ยิ่งตอนที่ลูกกลัวบางอย่าง เช่น กลัวความมืด กลัวผี กลัวสัตว์ต่าง ๆ กลัวการเข้าโรงเรียน เป็นต้น ก่อนที่พ่อกับแม่จะพูดอะไรต้องคิดให้ดี และนึกถึงจิตใจของลูกให้มาก ๆ ค่ะ

5 คำพูดที่ไม่ควรพูด เมื่อลูกกลัวจนวิตกกังวล
  1. เชื่อแม่เหอะเดี๋ยว มันจะไม่เป็นไร! คำพูดนี้มันตรงข้ามกับใจลูก มันจะต้องมีอะไรเกิดขึ้นแน่นี่คือสิ่งที่ลูกคิด ดังนั้นนั่งอยู่กับลูกสักพัก คุยกันว่าทำไมลูกถึงกลัว ให้กำลังใจลูก ให้ความเห็นทางบวกให้แตกต่างจากสิ่งที่ลูกคิดแล้วลูกจะเชื่อแม่จากใจจริงๆ

  2. ไม่เห็นมีอะไรต้องกลัว! เมื่อลูกกำลังกลัว วิตกกังวลอยู่ภายในจิตใจ คำพูดนี้เหมือนการบอกปัดไม่อยากรับรู้เรื่องราวของลูก แม้จะเป็นการกลัวเล็กๆ น้อยๆ ก็มีผลกับใจลูกมาก ควรถามลูกอย่างเอาใจใส่ สนใจสิ่งที่ลูกเล่า และให้คำแนะนำที่มีทางเลือกให้ลูกตัดสินใจเอง        

  3. เดี๋ยวแม่จะบอกเหตุผลร้อยแปดเหตุผล ที่บอกลูกว่าลูกไม่ต้องกลัว! ลูกรู้ว่าพ่อและแม่พูดถูก แต่ตอนนี้ลูกมีความรู้สึกวิตกกังวลมากและกลุ้มใจในสิ่งนั้น จนไม่สามารถคิดอย่างชัดเจนได้ คำพูดนี้เหมือนการพูดไปลอยๆ แต่ไม่ได้บอกเหตุผลมากมายอย่างนั้นจริงๆ ควรให้คำแนะนำลูกเลย อย่าบอกปัดและเดินหนีไป

  4. หยุดเป็นคนขี้วิตกกังวลสักที! นี่คือคำพูดที่ทำให้ลูกรู้สึกแย่กว่าเดิม ลูกก็อยากจะหยุดความวิตกกังวลนี้เหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร คำพูดแบบนี้ยิ่งทำให้ลูกกลัว

  5. พ่อแม่ไม่เข้าใจเลยว่าทำไมลูกถึงกลัวมากขนาดนั้น! การพูดแบบนี้ยิ่งแย่ไปกว่าเดิม เหมือนการดูถูกความรู้สึกลูกด้วย ลูกรู้ว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจ แต่ลูกอยากให้พ่อแม่พยายามเข้าใจ ว่าลูกกำลังเผชิญอะไรอยู่ ดังนั้นการพูดคุยกันกับลูกให้มากๆ คือทางออกที่ดีจะได้เข้าใจลูกด้วย

รู้แบบนี้แล้ว อย่าเผลอพูดทำร้ายจิตใจลูกอีกนะคะ เราต้องให้กำลังใจใช้เหตุผลพูดคุยกันถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อหาทางออกร่วมกัน แล้วพูดกับลูกว่า พ่อแม่จะอยู่เคียงข้างหนู ไม่ต้องกลัว หนูรู้สึกอย่างไรให้พูดกับพ่อแม่ได้ตลอดเวลา พ่อแม่จะพร้อมรับฟังลูกเสมอค่ะ


 

5 คำพูดให้กำลังใจที่ลูกอยากได้ยินจากแม่

 
 การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

5 คำพูดให้กำลังใจที่ลูกอยากได้ยินจากแม่

คุณแม่คงลืมไปเลยใช่ไหมละคะว่า “คำพูด” นั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ลูกอยากได้ยินจากปากของแม่ รู้หรือไม่ว่าคำพูดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จิตใจของลูก พร้อมที่จะเผชิญปัญหาที่ลูกอาจจะไม่เคยบอกคุณมาก่อน เห็นแบบนี้แล้วลองดูคำพูดที่ลูกมักอยากจะได้ยินว่ามีอะไรกันบ้าง

5 คำพูดที่ลูกอยากได้ยินจากแม่

1.แม่ยังคง “รักลูก” นะ  

เชื่อเถอะว่าร้อยทั้งร้อย ลูกอยากได้ยินคำนี้จากปากของพ่อแม่มากที่สุด เพราะลูกไม่รู้หรอกว่าคุณพ่อคุณแม่รู้สึกอย่างไร เป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ที่บอกรักลูก แต่สำหรับคุณพ่ออาจจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่..ถ้าหากได้บอกกับลูกไปแล้ว บอกได้เลยว่ามันคุ้มค่าเกินกว่าที่นึกคิดไว้แน่นอน

2.แม่ “ขอโทษ” นะลูก

การขอโทษบางครั้งมันยากที่จะพูดออกไป ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ทำผิดกับลูก ก็อย่ามัวคิดแต่ว่า ไม่ขอโทษลูกก็ไม่เป็นไร ยิ่งคุณพ่อแล้วการบอกขอโทษลูกอาจจะยากกว่าคุณแม่เสียอีก แต่คำขอโทษจากปากของคุณพ่อคุณแม่ ยังเป็นการสอนลูกในการยอมรับความผิดที่ได้ทำลงไปอีกด้วย                                                                               

3.แม่ “ภูมิใจ” ในตัวลูก

คำพูดนี้อาจจะเป็นคำพูดธรรมดาสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่จริงๆ แล้วคำพูดนี้มีความหมายสำหรับลูกอย่างคาดไม่ถึง เพราะมันจะเป็นพลังทั้งกายและใจให้ลูกได้อย่างน่ามหัศจรรย์เลยทีเดียว

4.แม่ “ยอมรับ” ในสิ่งที่ลูกเป็น

คุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนอาจจะหวังให้ลูกเป็นในแบบที่ต้องการ แต่ในทางกลับกันลูกอยากเป็นในสิ่งที่คุณต้องการหรือเปล่า หลายคนอาจจะบังคับลูกให้เป็นในแบบนี้ แต่เชื่อเถอะ การให้ลูกเลือกในสิ่งที่ลูกอยากเป็น และยอมรับในสิ่งที่ลูกเป็นนั้น ลูกจะมีอนาคตที่ดี

5.ลูกคือ “คนสำคัญ” ของแม่นะ

ทุกคนก็อยากเป็นคนสำคัญกันทั้งนั้น โดยเฉพาะลูกของคุณที่อยากให้ตัวเองเป็นคนสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่จะมีซักครั้งบ้างไหมที่ลูกจะได้ยินคำนี้ ลองบอกลูกดูซักครั้งแล้วจะรู้เลยว่าคำนี้มีค่ามหาศาล

คำพูดเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะมองว่าเป็นคำพูดที่ธรรมดา จนมองข้ามมันไป แต่ในความคิดของลูกนั้นไม่ใช่แบบนั้นเลย ลองนำไปปรับใช้ที่บ้านกันดูนะคะ 

 

..คำพูดแสนวิเศษที่ออกมาจากใจของคุณพ่อคุณแม่ 

..สร้างพลังให้ลูกมากมายเหลือเกิน

 

5 จุดอ่อนเด็กไทย ที่พ่อแม่ต้องช่วยปรับปรุง มากกว่าการตั้งคำถามหรือตำหนิลูก

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก 

จุดอ่อนของเด็กไทยที่ทำให้คนเป็นพ่อกับแม่บ่นด้วยความเหนื่อยใจว่า "ทำไมลูกเป็นคนแบบนี้นะ" แต่ลองเปลี่ยนจากตั้งคำถามมาเป็นการสังเกตลูกดีไหมคะ ว่าจุดอ่อนเขาคืออะไร เราควรจะส่งเสริมหรือปรับปรุงอย่างไรให้เหมาะกับตัวเขา มาดูจุดอ่อนของเด็กทั้ง 5 ข้อและวิธีแก้ไขกันเลยค่ะ

5 จุดอ่อนเด็กไทย 
  1. ลูกขาดภาวะผู้นำ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ คือ สร้างความมั่นใจให้กับลูกตั้งแต่เล็ก ด้วยการมอบความรัก ความอบอุ่น และความเข้าอกเข้าใจลูก เพราะเมื่อเด็กเกิดความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ก็จะทำให้เชื่อมั่นในตนเอง จากนั้นก็พยายามกระตุ้นให้เขาได้คิดบ่อยๆ สนับสนุนความคิดบางอย่างเพื่อให้เขาได้กล้าที่จะลุกขึ้นมาทำด้วยตัวเองก่อน จากนั้นก็ค่อยๆ ฝึกให้เขาเป็นผู้นำจากเรื่องเล็กๆ และค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเสริมความเป็นผู้นำให้ลูก อาจมอบหมายให้ลูกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยตนเอง และควรชื่นชมเมื่อลูกทำสำเร็จ

  2. ลูกไม่กล้าแสดงออก สิ่งที่พ่อแม่ควรส่งเสริม คือเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กฝึกคิดและแก้ปัญหาได้ เมื่อเขาทำได้และได้รับการยอมรับ เขาจะกล้าแสดงออกและมั่นใจในตัวเองมากขึ้น

  3. ลูกไม่กล้าปฏิเสธ ปัญหานี้จะส่งผลเสียตามมามากมายเมื่อเขาเติบโตขึ้น ต้องรีบฝึกตั้งแต่ยังเล็ก สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ ฝึกให้ลูกปฏิเสธให้เป็น เมื่อเจอสถานการณ์ที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ไม่อยากทำ และค่อยๆ เพิ่มระดับการปฏิเสธด้วยการพูดคุยและสมมติสถานการณ์ต่างๆ เพิ่มเติมด้วยก็ได้

  4. ลูกไม่มีความอดทน ล้วนเกิดขึ้นเพราะตามใจตั้งแต่แรก มาแก้ไขกันเลยค่ะ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ อย่าตามใจลูกเด็ดขาดและห้ามใจอ่อนเพราะลูกจะเคยตัว หากลูกอยากได้อะไร อย่าพึ่งซื้อให้ ให้เขาอดทนรอไปก่อน หรือให้เก็บเงินซื้อเองแล้วพ่อกับแม่ออกเงินให้ครึ่งหนึ่ง หากลูกทำอะไรไม่ได้ดั่งใจอย่ารีบเข้าไปทำให้ลูก ปล่อยให้เขาพยายามด้วยตัวเขาเองก่อน ฝึกไปทีละนิดความอดทนเขาจะมากขึ้นเอง

  5. ลูกเรียนไม่เก่ง สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ อย่าบังคับลูกเรียนพิเศษ หรือกดดันให้เขาทำผลการเรียนให้ดีขึ้นในทันที แต่คอยสังเกตุว่าเขาชอบวิชาอะไร ทำอะไรได้ดีก็สนับสนุนเขา ชมในสิ่งที่เขาทำได้ดีเพื่อเป็นกำลังใจให้เขาไม่ท้อ อะไรที่ทำได้ไม่ดีก็คอยช่วยเขาค่อยๆ แก้ไข หากไม่ได้จริงๆ ก็แค่เอาตัวรอดให้ได้ และไปทำในสิ่งที่ทำได้ดีก็พอ เชื่อเถอะว่ากำลังใจจากพ่อกับแม่จะทำให้ลูกทำอะไรดีๆ ได้มากมายกว่าที่พ่อกับแม่คิด

5 ทิปส์ช่วยให้ลูกเป็นเด็กมีสมาธิ เมื่อต้องฝึกลูกอ่านเขียน

 
การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก 

พ่อแม่หลายคนมีปัญหาเมื่ออยากจะเริ่มสอนลูกอ่าน เขียน หรือทำการบ้าน แต่ลูกไม่มีสมาธิ หรือไม่สนใจที่จะเรียนรู้ แตกต่างจากเวลาอยู่ที่โรงเรียน ก่อนอื่นพ่อแม่ต้องทำความเข้าใจว่าเด็กในวัยนี้แตกต่างจากผู้ใหญ่ เขามีความสนใจอยากรู้อยากเห็นเรื่องต่าง ๆ ตลอดเวลา เมื่อสิ่งที่ทำไม่น่าสนใจหรือมีอย่างอื่นให้ทำให้เล่น ลูกก็จะหันไปทำอย่างอื่นแทน ทำให้ดูเหมือนว่ามีสมาธิจดจ่อได้น้อย ซึ่งแตกต่างจากผู้ใหญ่ แล้วจะมีเทคนิค เคล็ดลับสร้างสมาธิให้ลูกวัยนี้อย่างไรได้บ้าง    

5 ทิปส์ช่วยให้ลูกเป็นเด็กมีสมาธิ เมื่อต้องฝึกลูกอ่านเขียน  
  1. เล่นเกมที่เหมาะสมกับลูก

เล่นเกมฝึกสมาธิเกมเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของลูกได้ดี การเลือกเกมที่เหมาะสมมาเล่นกับลูกจะช่วยฝึก หรือกระตุ้นให้ลูกมีสมาธิเพิ่มขึ้น เช่น เกมจับผิดภาพ หาภาพที่แตกต่าง เกมต่อจิ๊กซอว์ หรือการต่อเลโก้ อาจจะเริ่มจากเกมง่าย ๆ ที่ใช้เวลาในการเล่นไม่นาน แต่ควรเล่นให้จบเพื่อให้ลูกเรียนรู้ที่จะมีสมาธิจดจ่อจนสำเร็จลุล่วง  

2. ทำบ้านให้สงบ

ตัดสิ่งรบกวนสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญกับสมาธิ ลองทำบ้านให้เงียบลง ปิดทีวี ไม่เดินไปเดินมา ส่งเสียงดังรบกวน ปรับไฟ ปรับแสงในบ้านให้สว่างพอดี และเลือกเปิดเพลงคลอเบา ๆ ระหว่างลูกอ่านหนังสือหรือทำการบ้าน จะช่วยให้ลูกมีสมาธิดีกว่าให้เงียบสนิทไปเลย  

3. ลดหรืองดดูทีวี

เล่นมือถือ การให้ลูกดูทีวี หรือเล่นมือถือ แท็บเล็ตนานเกินไป ก็ทำให้ลูกขาดสมาธิได้ เพราะภาพจากหน้าจอที่เปลี่ยนไปมาจะกระตุ้นให้จดจ่อมีสมาธิได้น้อยลง ถ้าให้ลูกงดดูทีวีไม่ได้ลองปรับเวลาให้ลูกดูทีวีหรือเล่นมือถือ แท็บเล็ตเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ต่อวัน ประมาณวันละ 30-45 นาทีต่อวันพอ และชวนลูกทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน   

4. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

อาหารก็สำคัญกับสมาธิของลูก ควรหลีกเลี่ยงขนมขบเคี้ยว น้ำหวาน หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง ซึ่งส่งผลต่อสมองและการเรียนรู้ของลูก ควรให้ลูกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไข่ ถั่ว นม และผักผลไม้  

5. กำหนดเป้าหมายสั้นๆ 

กำหนดเป้าหมายสั้น ๆ ในผู้ใหญ่มีสมาธิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 42 นาที แต่สมาธิในเด็กจะสั้นกว่าผู้ใหญ่ อาจจะอยู่ที่ 15-20 นาที ดังนั้นถ้าจะให้ลูกมีสมาธิทำอะไรควรกำหนดเป้าหมาย หรืองานให้ลูกทำในระยะเวลาสั้น ๆ ที่คาดว่าลูกจะทำได้ เช่น ถ้าให้ทำการบ้านอาจจะให้ลูกทำแค่ 1 บทเรียนสั้น ๆ หรือให้วาดรูป ระบายสี 1 หน้า เพราะยิ่งพยายามบังคับให้ลูกทำเกินเวลาไป สมาธิจดจ่อของลูกก็ยิ่งน้อยลง และอาจทำให้รู้สึกไม่ชอบการเรียนได้ค่ะ

 

 

 

5 ยาอันตรายที่คุณแม่ไม่ควรซื้อให้ลูกเอง

ยา-ยาอันตราย-ยาที่เด็กห้ามกิน-ยาเด็ก-ยาสำหรับเด็ก 

แม่หลายคนที่ต้องการซื้อยารักษาอาการป่วยให้ลูกเอง เพราะคิดว่าสะดวกเเละรวดเร็วกว่าการพาไปตรวจอาการที่โรงพยาบาล แต่คุณแม่ทราบไหมคะว่าการเลือกซื้อยาเอง อาจทำให้เกิดความเสี่ยงหรือตัวยาบางชนิดอาจเป็นอันตรายกับลูกได้ จะมียาอะไรบ้างที่อันตรายไม่ควรซื้อให้ลูกบ้างไปดูกันเลยค่ะ  

5 ยาอันตรายที่คุณแม่ไม่ควรซื้อให้ลูกเอง
  1. ยากลุ่มซัลฟา
  • เป็นยาต้านมาลาเรีย สังเกตหากลูกมีโรคประจำตัวจะทำให้เกิดโรคโลหิตจางตามมา
  1. ยากลุ่มเตตร้าไซคลิน หรือ ยาคลอแรมเฟนิคอล
  • เป็นยาฆ่าเชื้อ เช่น ด็อกซีไซคลิน ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 8 ขวบ เพราะยากลุ่มนี้อาจมีผลทำให้สีของฟันมีสีดำอย่างถาวร และจะทำให้กระดูกหยุดการเจริญเติบโต
  1. ยากลุ่มแอสไพริน
  • เป็นยาบรรเทาอาการปวด ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 8 ขวบ และสำหรับเด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส ควรระวังในการใช้ยาแอสไพริน เนื่องจากอาจทำให้เกิดรายส์ ซินโดรม (Reye’s syndrome) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
  1. ยากลุ่มโลเพอราไมด์
  • เป็นยาบรรเทาอาการท้องเสีย ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และผู้สูงอายุ เพราะยากลุ่มโลเพอราไมด์ อาจส่งผลข้างเคียง ทำให้ปากแห้ง อาเจียน ปวดท้อง และท้องผูก
  1. ยากลุ่มเดกซ์โทรเมทอร์แฟน
  • เป็นยาบรรเทาอาการไอ ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะยาบรรเทาอาการไอกลุ่มนี้ อาจส่งผลข้างเคียงกับระบบการหายใจได้

ข้อสังเกตก่อนให้ลูกกินยา

  1. หมั่นจดชื่อยาที่ลูกเคยแพ้ - หากลูกเคยแพ้มาก่อน เช่น เกิดอาการเป็นผดผื่นลมพิษ เมื่อใช้ซ้ำอาการแพ้อาจรุนแรงกว่าเดิม
  2. ห้ามใช้ยาสำหรับผู้ใหญ่กับเด็ก - เพราะเด็กภูมิคุ้มกันไม่เท่ากับผู้ใหญ่ หากใช้ยาเกินขนาด อาจทำให้กระเพาะลูกเป็นแผลได้
  3. สังเกตวันผลิตและวันหมดอายุของยา - ยาหมดอายุนอกจากฤทธิ์ยาในการรักษาจะเสื่อมลงแล้ว ตัวยาที่กินเข้าไปยังเป็นพิษกับร่างกายอีกด้วย

Tips

  • ควรใช้ยาเท่าที่จำเป็น ไม่ซื้อยาเอง และไม่เชื่อตามคำโฆษณา
  • ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรในการใช้ยาทุกครั้ง
  • ให้รายละเอียดกับแพทย์ หรือเภสัชเกี่ยวกับประวัติการแพ้ยาของลูก
  • อ่านฉลากให้ละเอียดทุกครั้งก่อนใช้ยา

5 วิธีขับรถรับ-ส่งลูกอย่างไรให้ปลอดภัยช่วงหน้าฝน

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก 
ช่วงนี้เป็นช่วงเปิดเทอม แถมยังเป็นช่วงหน้าฝนอีก พ่อแม่หลายคนที่ต้องขับรถรับ-ส่งลูกไปโรงเรียนก็ต้องระวังกันให้มากนะคะ เพราะฝนตกจะทำให้ถนนลื่นจนเกิดอุบัติเหตุได้ แต่ถ้าคุณอยากขับขี่รถไปรับไปส่งลูกอย่างปลอดภัย มาดูเทคนิคง่ายๆที่เรานำมาฝากได้เลยค่ะ
5 วิธีขับรถรับ-ส่งลูกอย่างไรให้ปลอดภัยช่วงหน้าฝน

1.เช็กสภาพรถทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน

ควรตรวจสอบยางรถยนต์ว่าดอกยางยังคงมีเหลือเพียงพอสำหรับเกาะพื้นถนนหรือไม่  และเปลี่ยนใบปัดน้ำฝนทุกครั้งหากมีคราบน้ำเกาะอยู่ เพราะจะทำให้มองถนนชัดขึ้น

2.ใช้สัญญาณไฟให้ถูกต้อง

หากฝนตกขณะขับรถควรเปิดไฟหน้าควบคู่ไว้แม้จะเป็นตอนกลางวัน เพื่อให้รถคันอื่นสังเกตเห็นรถของเรา และจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้ด้วยค่ะ

3.เว้นระยะห่างคันหน้าไว้ให้มากขึ้น

ขับขี่รถช่วงหน้าฝนที่ถนนลื่น ควรเว้นระยะห่างไว้ เพราะถ้าหากเบรครถกะทันหันจะได้ไม่เกิดการชนรถคันหน้าได้

4.เลี่ยงการขับรถลุยน้ำ

หากเจอแอ่งน้ำควรจะขับรถเลี่ยงไปทางอื่น หากเลี่ยงไม่ได้จริงๆก็ควรชะลอความเร็วเพื่อป้องกันการเสียหลักและเสียการควบคุมค่ะ

5.หาที่จอดรถหากฝนตกหนัก

หากขับรถอยู่ดีๆแล้วฝนเกิดเทลงมาอย่างหนักแล้วไม่สามารถมองเห็นทางได้ ควรจะหาที่จอดรถเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายไว้ด้วยนะคะ

 

ตรวจสภาพรถเบื้องต้นต้องทำอย่างไรบ้าง

1.ตรวจดูรอยรั่วซึมภายในรถตามที่ต่างๆ รวมถึงตรวจระดับของเหลวภายในเครื่องด้วย

2.ตรวจสอบระบบไฟ ไม่ว่าจะเป็นไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเลี้ยวฯลฯ เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ

3.เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในยามฉุกเฉินให้พร้อม เช่น ล้ออะไหล่ ไฟฉาย เป็นต้น

Tip: คาดเข็มขัดนิรภัยให้ลูก และของคุณพ่อคุณแม่ก่อนขับขี่รถด้วยนะคะ

 

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ แต่ก็ป้องกันได้เหมือนกัน หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่ต้องขับรถไปรับไปส่งลูกที่โรงเรียนทุกวันก็อย่าลืมทำตามคำแนะนำดีๆ เพื่อความปลอดภัยของลูกรักและของคุณเองด้วยนะคะ

5 วิธีบอก รักพ่อแม่ แบบไม่มีคำว่ารัก ฉบับของลูก

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

เจ้าตัวเล็กก็แอบมีมุมโรแมนติกนะคะ บางครั้งนอกจากการบอกรักพ่อแม่แล้ว ลูก ๆ ก็มีวิธีการแสดงความรักในแบบที่ไม่เหมือนใคร มาดูกันค่ะว่าถ้าลูก ๆ ทำแบบนี้แสดงว่าลูกอาจกำลังบอกรักแบบอ้อม ๆ อยู่

5 วิธีบอก 'รักพ่อแม่' แบบไม่มีคำว่ารัก ฉบับของลูก

1.วาดรูปพ่อแม่

เชื่อว่าถ้าได้เห็นรูปที่ลูกวาดแล้วบอกว่านี่เป็นรูปของพ่อแม่ลูก หรือรูปครอบครัว ต้องปลื้มยิ้มไม่หุบ รีบหยิบมือถือมาถ่ายแล้วโพสต์ลงโซเชียลอวดให้โลกรู้แน่นอนใช่มั้ยคะ ยิ่งไปกว่าแววศิลปินในตัวลูกน้อยแล้ว รูปคุณพ่อคุณแม่ หรือรูปครอบครัวเนี่ยแหละค่ะ ที่เป็นการแสดงความรักความผูกพัน ความรู้สึกพิเศษของลูกกับแม่  

2.ช่วยแม่ทำงานบ้าน

ในวันที่แม่วุ่นกับการทำงานบ้าน ปัดกวาดเช็ดถู แล้วลูกน้อยเสนอตัวช่วยทำงานบ้าน แม้จะเป็นงานเล็ก ๆ น้อย ๆ คงทำให้แม่หายเหนื่อยได้เป็นปลิดทิ้งกับน้ำใจและความรักที่เจ้าตัวเล็กมอบให้  

3.โอบกอด

ปลอบโยนเมื่อแม่เศร้า ถึงแม้จะยังเด็กแต่ลูกก็เข้าใจความรู้สึกของผู้ใหญ่ได้นะคะ ในวันที่แม่มีเรื่องทุกข์ใจ หรือเครียด แล้วลูกน้อยเอื้อมมือน้อย ๆ มาเช็ดน้ำตาหรือโอบกอดแม่ไว้ คงเป็นยาวิเศษที่ช่วยเยียวยาใจแม่ได้  

4.เตรียมอาหาร ยกน้ำมาเสิร์ฟ

เห็นลูกใจดี เอาขนมมาให้แม่กิน ยกน้ำมาให้แม่ดื่ม ถ้าลูกไม่ได้เอาใจแม่หวังของเล่นชิ้นใหม่อยู่ นั่นแสดงว่าลูกกำลังบอกรักแม่ในแบบฉบับของเขาอยู่นะคะ

 



 

5.แอบซื้อของขวัญ เขียนการ์ดให้แม่

ลูก ๆ เรียนรู้ว่าในวันพิเศษเขาจะได้ของขวัญ ได้รางวัลที่ทำให้มีความสุขจากพ่อแม่ ดังนั้นในวันพิเศษ เช่น วันพ่อ วันแม่ วันเกิด ลูก ๆ ก็อยากมอบของขวัญให้เหมือนกับที่ตัวเองเคยได้เช่นกันค่ะ ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นแค่ของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือ การ์ดที่ลูกทำเอง เขียนเอง เชื่อว่าคงทำให้มีความสุขแน่นอนค่ะ   การแสดงความรักระหว่างกันในครอบครัว ลูก ๆ จะเรียนรู้ได้ก็ต้องเริ่มจากพ่อแม่ก่อนค่ะ ถ้าอยากให้ลูกเป็นเด็กที่มีความเอาใจใส่ มีน้ำใจต่อคนอื่น รู้จักการแสดงความรัก พ่อแม่ต้องแสดงออกและมอบความรัก ความมีน้ำใจให้ลูกเห็นก่อนค่ะ และเมื่อลูกโตขึ้นเขาจะสามารถแสดงความรักได้อย่างเหมาะสม

 

5 วิธีป้องกันและแก้ไข นิสัยเด็กติดเกม

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก 

ทุกวันนี้เป็นยุคดิจิทัลที่เด็ก ๆ ทุกคนชอบเล่นเกมในสมาร์ทโฟนหรือเกมคอมพิวเตอร์ ซึ่งการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นมีคุณประโยชน์มากมาย ถ้าใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม แต่หากเด็ก ๆ เล่นเกมมากถึงขั้นติดเกมจนไม่อยากทำอะไร ส่งผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้านแน่นอน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องรีบป้องกันและแก้ไขแล้วค่ะ ป้องกันปัญหาเด็กติดเกมได้ดังนี้

  1. ควรเข้าไปเล่นเกมกับลูกด้วย พ่อกับแม่จะได้สังเกตดูพฤติกรรมและการตอบสนองของลูกต่อเกมต่างๆ สามารถสอดแทรกแนวความคิด ข้อคิดเห็นต่างๆ อีกด้านหนึ่งให้แก่ลูกในแง่ความถูกต้องความเหมาะสม

  2. ปลูกฝังให้ลูกรู้ผลดีผลเสีย ต้องพูดคุยกับลูกอย่างใจเย็น หรือหากิจกรรมทำกับลูก เช่น ชวนลูกไปเล่นกีฬา สร้างสรรค์งานศิลปะ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร อ่านหนังสือ และอาศัยจังหวะช่วงเปิดใจบอกข้อดีข้อเสียให้ลูกรู้เกี่ยวกับเกม ลูกจะเก็บไปคิดแน่นอน

  3. ศึกษาถึงชนิดของเกมที่ลูกเล่น เกมมีความเหมาะสมเรื่องอายุที่ลูกเล่นไหม มีความรุนแรงกระทบพัฒนาการของลูกหรือเปล่า พ่อกับแม่ต้องรู้เพื่อที่จะได้เลือกได้อย่างเหมาะสมกับลูก ทุกวันนี้เกมเสริมพัฒนาการก็มีเยอะพ่อกับแม่เลือกสิ่งที่ดีให้ลูกได้

  4. กำหนดและควบคุมเวลา กำหนดเวลาของลูกให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ลูกใช้เวลากับเกมมากเกินไป อาจต้องลงในรายละเอียดว่าให้เล่นได้วันละกี่ชั่วโมง สัปดาห์ละกี่วัน บางบ้านก็ตั้งกฎไว้เลยว่าจะให้เล่นได้เฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์เท่านั้น 

  5. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเกม ต้องคัดเลือกโปรแกรมเกมที่เหมาะสมกับอายุให้ลูก เช่น โปรแกรมสอนวิชาต่างๆ เกมการศึกษา หรือการสอนภาษาอังกฤษ ช่วยลูกค้นหาข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ทางเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต 

ภาพจาก : warszawa.figlarium.pl

5 วิธีลดไข้ให้ลูก ดูแลลูกตัวร้อนอย่างได้ผล

ลูกมีไข้-ลูกเป็นไข้-ลูกเป็นไข้สูง-ลูกตัวร้อน-ลูกไม่สบาย-ยาลดไข้สำหรับเด็ก-วิธีลดไข้เด็ก-เช็ดตัวลดไข้เด็ก-ยาลดไข้สำหรับเด็กเล็ก-พาราเซตามอลสำหรับเด็ก-ไทลินอลสำหรับเด็ก

เมื่อลูกเป็นไข้ มีไข้สูง ลูกตัวร้อน ลูกไม่สบาย ต้องรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ถูกวิธี เพื่อบรรเทาอาการป่วยให้มากที่สุด

5 วิธีลดไข้ให้ลูก ดูแลลูกตัวร้อนอย่างได้ผล

ไม่ว่าจะฤดูไหน ลูกก็เป็นไข้ ไม่สบาย ตัวร้อน ได้ทุกฤดู สาเหตุหนึ่งจากเชื้อโรคที่มีอยู่ทุกที่ค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าภูมิคุ้มกันในร่างกายลูกจะอ่อนแอเมื่อไหร่ เจ้าเชื้อโรค หรือไข้หวัดก็ทำให้ป่วยได้เสมอ และเมื่อลูกมีไข้ ลูกตัวร้อน คุณแม่ควรช่วยลดไข้ให้ลูกด้วยวิธีใดบ้างถึงจะได้ผลให้ลูกกลับมาแข็งแรง เรามีวิธีลดไข้สำหรับเด็กมาฝากค่ะ

วิธีสังเกตอาการเมื่อลูกเป็นไข้ โดยปกติแล้วอุณหภูมิร่างกายของเราจะอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส แต่เมื่อไม่สบาย เป็นไข้ หรือตัวร้อน อุณหภูมิในร่างกายก็จะสูงขึ้นเพราะร่างกายจะต้องต่อสู้กับเชื้อโรคที่อยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งถ้าอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียสจะถือว่ามีอาการไข้ ตัวร้อน คุณแม่จึงควรมีปรอทวัดไข้สำหรับเด็กประจำบ้านไว้ด้วย และเมื่อลูกมีไข้ เป็นไข้ ตัวร้อน จะได้รีบดูแลกันได้ทันค่ะ    

5 วิธีลดไข้ ลดอาการตัวร้อน ดูแลเมื่อลูกเป็นไข้

1. ให้ลูกพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะระหว่างที่นอนหลับร่างกายจะนำสารอาหารต่าง ๆ ไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ขับของเสียออกจากอวัยวะต่าง ๆ เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และฟื้นฟูพลังงาน ทำให้อาการเป็นไข้ ตัวร้อนลดลงและหายไข้ได้ไวขึ้น

2. อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับหรือร้อนเกินไป ช่วงที่ลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อน ลูกไม่สบาย เขาจะไม่สบายตัว รวมถึงการหายใจที่ไม่ค่อยสะดวก เพราะมีความร้อนออกมาจากลมหายใจด้วย ดังนั้นคุณแม่ควรให้ลูกนอนในที่อากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อช่วยให้ลูกรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย และห้องโปร่ง ๆ ยังช่วยไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคเพิ่มเติมด้วย 

3. หากลูกมีไข้สูงให้ปฐมพยาบาลด้วยการเช็ดตัวลูก ลองเช็ดตัวลดไข้ ลดตัวร้อนให้ลูกด้วยการผสมน้ำอุ่นกับน้ำมะนาว แล้วใช้ผ้าเช็ดตัวผืนเล็กหรือผ้าอ้อมผืนนุ่ม ๆ มาชุบน้ำ บิดหมาด เช็ดถูตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น หน้าผาก ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ และข้อพับต่างๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตที่ผิวหนัง และช่วยลดไข้ ลดอาการตัวร้อน  

4. ดื่มน้ำมาก ๆ พยายามให้ลูกดื่มน้ำเยอะๆเพราะน้ำจะช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย และยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังชุ่มชื่นด้วย  

5. ให้ลูกกินยาลดไข้ Paracetamol เมื่อลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อนสูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ไม่สบายตัว หรือปวดตัว ให้เลือกยาลดไข้สำหรับเด็กที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอล ซึ่งเป็นตัวยาที่เหมาะสำหรับการลดไข้เด็กมากที่สุด

 

2774 2 3

 

เคล็ดลับการป้อนยาลูกให้เป็นเรื่องง่าย

สำหรับลูกที่ไม่ชอบกินยา กินยายาก คุณแม่ลองเลือกยาลดไข้สำหรับเด็กชนิดน้ำ ยาลดไข้สำหรับเด็กกลิ่นผลไม้หอมหวาน จะช่วยให้ลูกกินยาลดไข้ง่ายขึ้นค่ะ ควรให้ลูกกินยาลดไข้สำหรับเด็กในปริมาณและระยะเวลาที่กำหนด โดยคำนวณจากน้ำหนักตัวของเด็กหรืออายุเป็นหลัก คือกินยาลดไข้ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และกินทุก 4-6 ชั่วโมง  

วิธีดูแลลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อน

คุณพ่อคุณแม่ลงมือทำได้เองเบื้องต้น ทั้งการสังเกตอุณหภูมิร่างกายการลดไข้ รวมถึงการใช้ยาลดไข้สำหรับเด็กที่ควรจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญค่ะ

หากลูกยังมีอาการไข้ ตัวร้อนหลายวัน หรือมีไข้ต่อเนื่องหลายวัน คุณแม่รีบพาลูกไปหาหมอ เพื่อตรวจดูอาการอย่างละเอียด เพราะลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อน อาจเกิดจากการติดเชื้อโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่ไข้หวัดปกติธรรมดาค่ะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง 

10 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อลูกมีไข้ ตัวร้อน

​5 วิธีสร้างลูกให้เป็นเด็กมีปฏิภาณไหวพริบ

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก

วิธีสร้างลูกให้เป็นเด็กมีปฏิภาณไหวพริบ

เด็กที่รู้จักคิดและช่วยเหลือตนเองได้ มาจากการฝึกฝนวิธีคิดตั้งแต่เล็กๆ โดยคนสำคัญที่ช่วยให้ลูกมีปฏิภาณไหวพริบดี คือพ่อแม่นั่นเอง ซึ่งการที่เด็กมีปฏิภาณไหวพริบจะช่วยให้เขาเอาตัวรอดจากเหตุการณ์คับขัน หรือสามารถช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย

5 วิธีที่จะสร้างลูกให้มีปฏิภาณไหวพริบกัน

1.ให้โอกาสลูกทำด้วยตัวเอง

เช่น ให้ลูกถือขวดนมเอง ลูกจะเรียนรู้ว่าต้องจับแบบไหน กินอย่างไรนมถึงจะเข้าปาก หรือแม้กระทั่งเรื่องพื้นฐานที่ต้องรับผิดชอบตัวเอง เช่น ให้ลูกวัย 2 ขวบช่วยม้วนผ้าอ้อมไปทิ้งถังขยะด้วยตนเอง นอกจากลูกจะได้เรียนรู้จักหน้าที่แล้ว ยังได้เรียนรู้จักแก้ปัญหา เช่น เปิดฝาถังขยะไม่ออก ลูกจะเกิดความสงสัยว่าต้องทำอย่างไร อาจจะต้องเพิ่มน้ำหนักในการกดที่เปิดให้แรงขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้พ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตว่าลูกทำอะไรได้บ้าง ต้องเปิดโอกาสให้ทำด้วยตัวเอง และต้องไม่กลัวข้อจำกัดใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะความสกปรกเลอะเทอะ หรือลูกหกล้ม เพราะเมื่อไหร่ที่ล้ม ลูกก็จะรู้จักระมัดระวังตัวเองขึ้น  

2.เลี้ยงลูกนอกบ้านบ่อย ๆ

เพราะโลกกว้างจะช่วยกระตุ้นให้ลูกทำอะไรที่ท้าทายมากขึ้น จากการเห็นนั่นเอง

3.ลูกรู้จักคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาได้จากการเล่น

โดยพ่อแม่กำหนดโจทย์ให้ลูก เช่น เอารูปภาพมาต่อกัน จาก 2 ชิ้น เพิ่มเป็น 4 จาก 4 เพิ่มเป็น 8 หรือเอาบล็อกมาต่อกัน ต่ออย่างไรให้สูงๆ เอาปากกามาขีดเส้นให้ลูกลาก ลูกจะต้องลากอย่างไร จากจุดหนึ่งมาอีกจุดหนึ่งต้องหลบเส้นไหนบ้าง เป็นต้น เด็กเรียนรู้ได้มากกว่าที่พ่อแม่คิดเสมอค่ะ จึงไม่ควรให้ลูกทำอะไรซ้ำๆ เดิมๆ แต่ควรกระตุ้นให้ลูกทำอะไรที่ยากขึ้น เพื่อฝึกลูกได้รู้จักคิดและเคยชินกับการแก้ปัญหา

4.ให้ลูกช่วยทำงานบ้าน

เช่น การรดน้ำต้นไม้ ลูกจะเทน้ำอย่างไรไม่ให้หก ทำอย่างไรจะให้น้ำ 1 ขันพอรดทั้ง 2 ต้น หรือพ่อแม่อาจบอกลูกว่ากระบอกนี้ให้รดได้ 3 ต้น ลูกก็จะคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาเองว่าจะทำอย่างไรจึงจะได้ตามนั้น

5.หมั่นสังเกตลูก

เพราะพัฒนาการของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน พ่อแม่ต้องคอยสังเกตว่าลูกทำอะไรได้ดี บางอย่างลูกทำได้ แต่บางอย่างลูกอาจไม่ถนัด ดังนั้นจึงต้องช่วยให้ลูกสนุกกับสิ่งที่ต้องทำ ให้ได้เล่นอิสระ โดยพ่อแม่แค่ต่อยอดความคิดให้ ตั้งโจทย์และคำถามเพื่อกระตุ้นให้ลูกรู้จักแก้ปัญหาอยู่เสมอค่ะ